Forex-Currency Trading-Swiss based forex related website. Home ----- กระดานสนทนาหน้าแรก ----- Gold Chart,Silver,Copper,Oil Chart ----- gold-trend-price-prediction ----- ติดต่อเรา
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 6   ลงล่าง
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: ประวัติ ตำนาน เรื่องเล่า  (อ่าน 33166 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
jainu
Moderator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #15 เมื่อ: มีนาคม 03, 2012, 07:45:52 PM »

9 คำพ่อสอน



1. ความเพียร

การ สร้างสรรค์ตนเอง การสร้างบ้านเมืองก็ตาม มิใช่ว่าสร้างในวันเดียว ต้องใช้เวลา ต้องใช้ ความเพียร ต้องใช้ความอดทน เสียสละ แต่สำคัญที่สุดคือความอดทนคือไม่ย่อท้อ ไม่ย่อท้อในสิ่งที่ดีงาม สิ่งที่ดีงามนั้นทำมันน่าเบื่อ บางทีเหมือนว่าไม่ได้ผล ไม่ดัง คือดูมันครึทำดีนี่ แต่ขอรับรองว่าการทำให้ดีไม่ครึต้องมีความอดทน เวลาข้างหน้าจะเห็นผลแน่นอนในความอดทนของตนเอง

ราโชวาท พระราชทานแก่นักเรียน นักศึกษา ครู และอาจารย์ ในโอกาสเข้าเฝ้าฯ วันที่ 27 ตุลาคม 2516

2. ความพอดี

ใน การสร้างตัวสร้างฐานะนั้นจะต้องถือหลักค่อยเป็นค่อยไป ด้วยความรอบคอบ ระมัดระวังและความพอเหมาะพอดี ไม่ทำเกินฐานะและกำลัง หรือทำด้วยความเร่งรีบ เมื่อมีพื้นฐานแน่นหนารองรับพร้อมแล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญก้าวหน้าในระดับสูงขึ้น ตามต่อกันไปเป็นลำดับผลที่เกิดขึ้นจึงจะแน่นอน มีหลักเกณฑ์ เป็นประโยชน์แท้และยั่งยืน

ราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยขอนแก่น วันที่ 18 ธันวาคม 2540

3. ความรู้ตน

เด็กๆ ทำอะไรต้องหัดให้รู้ตัว การรู้ตัวอยู่เสมอจะทำให้เป็นคนมีระเบียบและคนที่มีระเบียบดีแล้ว จะสามารถเล่าเรียนและทำการงานต่างๆ ได้โดยถูกต้องรวดเร็ว จะเป็นคนที่จะสร้างความสำเร็จและความเจริญ ให้แก่ตนเองและส่วนรวมในอนาคตได้อย่างแน่นอน

ราโชวาท พระราชทานลงพิมพ์ในหนังสือวันเด็ก ประจำปี 2521


4. คนเราจะต้องรับและจะต้องให้

คน เราจะเอาแต่ได้ไม่ได้ คนเราจะต้องรับและจะต้องให้ หมายความว่าต่อไป และเดี๋ยวนี้ด้วยเมื่อรับสิ่งของใดมา ก็จะต้องพยายามให้ ในการให้นั้น ให้ได้โดยพยายามที่จะสร้างความสามัคคีให้หมู่คณะและในชาติ ทำให้หมู่คณะและชาติประชาชนทั้งหลายมีความไว้ใจซึ่งกันและกันได้ ช่วยที่ไหนได้ก็ช่วย ด้วยจิตใจที่เผื่อแผ่โดยแท้

ราโชวาท พระราชทานแก่นักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น วันที่ 20 เมษายน 2521

5. อ่อนโยน แต่ไม่อ่อนแอ

ใน วงสังคมนั้นเล่า ท่านจะต้องรักษามารยาทอันดีงามสำหรับสุภาพชน รู้จักสัมมาคารวะ ไม่แข็งกระด้าง มีความอ่อนโยนแต่ไม่อ่อนแอ พร้อมจะเสียสละประโยชน์ส่วนตัวเพื่อส่วนรวม

ราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ 25 มิถุนายน 2496

6. พูดจริง ทำจริง

ผู้ หนักแน่นในสัจจะพูดอย่างไร ทำอย่างนั้น จึงได้รับความสำเร็จ พร้อมทั้งความศรัทธาเชื่อถือและความยกย่องสรรเสริญ จากคนทุกฝ่าย การพูดแล้วทำ คือ พูดจริง ทำจริง จึงเป็นปัจจัยสำคัญในการส่งเสริมเกียรติคุณของบุคคลให้เด่นชัด และสร้างเสริมความดี ความเจริญ ให้เกิดขึ้นทั้งแก่บุคคลและส่วนรวม

ราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ 10 กรกฎาคม 2540


7. หนังสือเป็นออมสิน

หนังสือ เป็นการสะสมความรู้และทุกสิ่งทุกอย่างที่มนุษย์ได้สร้างมา ทำมา คิดมา แต่โบราณกาลจนทุกวันนี้ หนังสือจึงเป็นสิ่งสำคัญ เป็นคล้ายๆ ธนาคารความรู้และเป็นออมสิน เป็นสิ่งที่จะทำให้ มนุษย์ก้าวหน้าได้โดยแท้

ราโชวาท พระราชทานแก่คณะสมาชิกห้องสมุดทั่วประเทศ ในโอกาสที่เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท วันที่ 25 พฤศจิกายน 2514

8. ความซื่อสัตย์

ความ ซื่อสัตย์สุจริตเป็นพื้นฐานของความดีทุกอย่าง เด็กๆ จึงต้องฝึกฝนอบรมให้เกิดมีขึ้นในตนเอง เพื่อจักได้เติบโตขึ้นเป็นคนดีมีประโยชน์ และมีชีวิตที่สะอาด ที่เจริญมั่นคง

ราโชวาท พระราชทานเพื่อเชิญลงพิมพ์ในหนังสือวันเด็ก ปีพุทธศักราช 2531

9. การเอาชนะใจตน

ใน การดำเนินชีวิตของเรา เราต้องข่มใจไม่กระทำสิ่งใดๆ ที่เรารู้สึกด้วยใจจริงว่าชั่วว่าเสื่อม เราต้องฝืนต้องต้านความคิดและความประพฤติทุกอย่างที่รู้สึกว่าขัดกับธรรมะ เราต้องกล้าและบากบั่นที่จะกระทำสิ่งที่เราทราบว่าเป็นความดี เป็นความถูกต้อง และเป็นธรรม ถ้าเราร่วมกันทำเช่นนี้ ให้ได้จริงๆ ให้ผลของความดีบังเกิดมากขึ้นๆ ก็จะช่วยค้ำจุนส่วนรวมไว้มิให้เสื่อมลงไป และจะช่วยให้ฟื้นคืนดีขึ้นได้เป็นลำดับ

พระ ราชดำรัส พระราชทานเพื่อเชิญไปอ่าน ในพิธีเปิดการประชุมยุวพุทธิกสมาคมทั่วประเทศ ครั้งที่ 12 ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา วันที่ 12 ธันวาคม 2513

บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Moderator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #16 เมื่อ: มีนาคม 03, 2012, 07:47:02 PM »

กังหันชัยพัฒนา

เครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย



พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงความรุนแรงของปัญหาที่เกิดขึ้น และทรงห่วงใยต่อพสกนิกรที่ต้องเผชิญในเรื่องดังกล่าวเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2531 ได้พระราชทานพระราชดำริ ในการแก้ไขปัญหาน้ำเสีย ด้วยการใช้เครื่องกลเติมอากาศ โดยพระราชทานรูปแบบสิ่งประดิษฐ์ที่เรียบง่าย แต่มีประสิทธิภาพสูงในการบำบัดน้ำเสีย ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในชื่อ กังหันน้ำชัยพัฒนา และนำมาใช้ในการปรับปรุงคุณภาพน้ำตามสถานที่ต่างๆ ทั่วทุกภูมิภาค

ส่วนประกอบและการทำงาน


ส่วนประกอบ : กังหันชัยพัฒนา เป็น เครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย (สามารถลอยขึ้นลงได้เองตามระดับน้ำ)   ประกอบด้วยซองวิดน้ำ มีใบพัดที่ออกแบบเป็น ซองตักน้ำรูปสี่เหลี่ยมคางหมูจำนวน 6 ซองแต่ละซองจะถูกแบ่งออกเป็น 3 ห้องเท่าๆ กัน ทั้งหมดถูกติดตั้งบนโครงเหล็ก 12 โครงใน 2 ด้าน     มีศูนย์กลางของกังหันที่เรียกว่า "เพลากังหัน" ซึ่งวางตัวอยู่บนตุ๊กตารองรับเพลา ที่ติดตั้งอยู่บนทุ่นลอย และมีระบบขับส่งกำลัง ด้วยเฟืองจานขนาดใหญ่ ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าขนาด 2 แรงม้า สำหรับขับเคลื่อนซองน้ำ ให้หมุนรอบเป็นวงกลม อยู่บนโครงเหล็กที่ยึดทุ่นทั้ง 2 ด้านเข้าไว้ด้วยกัน  ด้านล่างของกังหันในส่วนที่จมน้ำ จะมีแผ่นไฮโดรฟอยล์ยึดปลายของทุ่นลอยด้านล่าง

หลักการทำงาน : ตามทฤษฎีเครื่องกลเติมอากาศ นับว่าการเติมอากาศหรือออกซิเจนเป็นหัวใจของระบบบำบัดน้ำเสีย เพราะถ้ามีออกซิเจนอยู่มาก จุลินทรีย์ก็สามารถบำบัดน้ำได้ดี และบำบัดน้ำเสียได้มากขึ้น แต่ที่ความดันบรรยากาศซึ่งเป็นความดันที่ค่อนข้างต่ำ สำหรับออกซิเจนในการละลายน้ำ จึงต้องมีการเพิ่มพื้นที่สัมผัส ระหว่างอากาศกับน้ำให้ได้มากที่สุด กังหันชัยพัฒนา เป็น กังหันน้ำที่มีโครงเป็นรูปเหลี่ยมบนทุ่นลอย และมีซองตักวิดน้ำซึ่งเจาะเป็นรูพรุน เราจึงเห็นสายน้ำพรั่งพรู จากซองวิดน้ำขณะที่กังหันหมุนวนเวียน ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ใช้หลักการวิดน้ำขึ้นไปสาดกระจายให้เป็นฝอยในอากาศ ทำให้น้ำสัมผัสกับอากาศได้อย่างทั่วถึง ส่งผลให้ปริมาณ ออกซิเจนในอากาศสามารถ ละลายผสมผสาน เข้าไปในน้ำได้อย่างรวดเร็ว ทุกครั้งที่น้ำถูกตักขึ้นมา ออกซิเจนในอากาศจะละลายในน้ำได้ดีขึ้น เพราะพื้นที่ในการทำปฏิกิริยามีมากกว่าเดิม ทำให้น้ำเสีย ซึ่งเป็นปัญหาของแหล่งน้ำในหลายพื้นที่ มีคุณภาพที่ดีขึ้น

                การเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำจะช่วยให้จุลินทรีย์ย่อยสลายสิ่งสกปรกในน้ำเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นกระบวนการทางชีวภาพ ที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสีย ที่ได้รับความนิยมอย่างมาก เพราะเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพ และใช้ค่าใช้จ่ายในการบำบัดน้ำเสียน้อย และแหล่งน้ำเสียที่กระจายไปตามแหล่งต่างๆ จึงทำให้ยากแก่การรวบรวมน้ำเสีย เพื่อนำไปบำบัดในโรงบำบัดน้ำเสีย และต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง

                การประยุกต์ใช้งานสามารถใช้ประโยชน์เพื่อเติมอากาศให้กับน้ำหรือใช้เพื่อขับเคลื่อนน้ำได้ โดยการใช้งานทั้งในรูปแบบ ที่ติดตั้งอยู่กับที่ และใช้ในรูปแบบเคลื่อนที่ เพื่อเติมอากาศให้กับแหล่งน้ำขนาดใหญ่ หรือตามคลองส่งน้ำที่มีความยาวมาก ซึ่งดัดแปลงได้ด้วยการใช้พลังงาน จากเครื่องยนต์ของกังหัน


แหล่งข้อมูลอ้างอิง
http://chaipat.or.th/chaipat/index.php?option=com_content&view=article&id=18:chaipattana-water-turbine-development&catid=19&Itemid=220
บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Moderator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #17 เมื่อ: มีนาคม 03, 2012, 07:58:12 PM »

คำขวัญประจำจังหวัดต่างๆ




คำขวัญกรุงเทพมหานคร (กทม.)
"ช่วยชุมชนแออัด ขจัดมลพิษ แก้ปัญหารถติด ทุกชีวิตรื่นรมย์"

คำขวัญ จังหวัดกระบี่ (กบ.)
"กระบี่เมืองน่าอยู่ ผู้คนน่ารัก"

คำขวัญ จังหวัดกำแพงเพชร (กพ.)
"กรุพระเครื่อง เมืองคนแกร่ง ศิลาแลงใหญ่ กล้วยไข่หวาน น้ำมันลานกระบือ"

คำขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี (กจ.)
"แคว้นโบราณ ด่านเจดีย์ มณีเมืองกาญจน์ สะพานข้ามแม่น้ำแคว แหล่งแร่น้ำตก"

คำขวัญ จังหวัดกาฬสินธุ์ (กส.)
"เมืองฟ้าแดนยาง โปงลางเลิศล้ำ วัฒนธรรมภูไท ผ้าไหมแพรวา ผาเสวยภูพาน มหาธารลำปาว ไดโนเสาร์สัตว์โลกล้านปี"

คำขวัญ จังหวัดขอนแก่น (ขก.)
"พระธาตุขามแก่น เสียงแคนดอกคูน ศูนย์รวมผ้าไหม ร่วมใจผูกเสี่ยว เที่ยวขอนแก่นนครใหญ่ ไดโนเสาร์ลือก้อง เหรียญทองมวยโอลิมปิก"

คำขวัญ จังหวัดจันทบุรี (จบ.)
"น้ำตกลือเลื่อง เมืองผลไม้ พริกไทยพันธุ์ดี อัญมณีมากเหลือ เสื่อจันทบูร สมบรูณ์ธรรมชาติ สมเด็จพระเจ้าตากสิน**้ชาติ รวมญาติที่จันทบุรี"

คำขวัญ จังหวัดฉะเชิงเทรา (ฉช.)
"เมืองธรรมะ พระศักดิ์สิทธิ์ ชิดเมืองหลวง มะม่วงหวาน ข้าวสารขาว มะพร้าวน้ำหอม"

คำขวัญ จังหวัดเชียงราย (ชร.)
"เหนือสุดในสยาม ชายแดนสามแผ่นดิน ถิ่นวัฒนธรรมล้านนา ล้ำค่าพระธาตุดอยตุง ..."

คำขวัญ จังหวัดชุมพร (ชพ.)
"ประตูภาคใต้ ไหว้เสด็จในกรมฯ ชมไร่กาแฟ แลหาดทรายรี ดีกล้วยเล็บมือ ขึ้นชื่อรังนก"

คำขวัญ จังหวัดชลบุรี (ชบ.)
"ทะเลงาม ข้าวหลามอร่อย อ้อยหวาน จักสานดี ประเพณีวิ่งBuffolo"

คำขวัญ จังหวัดชัยภูมิ (ชย.)
"ชัยภูมิทิวทัศน์สวย รวยป่าใหญ่ มีช้างหลาย ดอกไม้งาม ลือนามวีรบุรุษ สุดยอดผ้าไหม พระใหญ่ทราวดี"

คำขวัญ จังหวัดปทุมธานี (ปท.)
"ถิ่นบัวหลวง เมืองรวงข้าว เชื้อชาวมอญ นครธรรมะ"

คำขวัญ จังหวัดประจวบศีรีขันธ์ (ปข.)
"เมืองทองเนื้อเก้า มะพร้าว สัปรด สวยสดหาด เขา ถ้ำ งามล้ำน้ำใจ"

คำขวัญ จังหวัดชัยนาท (ชน.)
"หลวงปู่ศุขลือชา เขื่อนเจ้าพระยาลือชื่อ นามระบ์อสวนนก ส้มโอดกขาวแตงกวา"

คำขวัญ จังหวัดนนทบุรี (นบ.)
"พระตำหนักสง่างาม ลือนามสวนสมเด็จ เกาะเกล็ดแหล่งดินเผา วัดเกาะนามระบือ เลื่องลือทุเรียนนท์ งามน่ายลศูนย์ราชการ"

คำขวัญ จังหวัดนครปฐม (นฐ.)
"ส้มโอหวาน ข้าวสารขาว ลูกสาวงาม ข้าวหลามหวานมัน สนามจันทร์งามล้น พุทธมณฑลคู่ธานี พระปฐมเจดีย์เสียดฟ้า"

คำขวัญ จังหวัดนครนายก (นย.)
"เมืองในฝันที่ใกล้กรุง ภูเขางาม น้ำตกสวย รวยธรรมชาติ ปราศจากมลพิษ"

คำขวัญ จังหวัดสระแก้ว (สก.)
"ชายแดนเบื้องบูรพา ป่างาม น้ำตกสวย มากด้วยอารยธรรมโบราณ ย่านการค้าไทย-เขมร"

คำขวัญ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (พย.)
"ราชธานีเก่า อู่ข้าวอู่น้ำ เลิศล้ำกานท์กวี คนดีศรีอยุธยา"

คำขวัญ จังหวัดสมุทรปราการ (สป.)
"ป้อมยุทธนาวี พระเจดีย์กลางน้ำ ฟาร์มจระเข้ใหญ่ งามวิไลเมืองโบราณ สงกรานต์พระประแดง ปลาสลิดแห้งรสดี ประเพณีรับบัว ครบถ้วนทั่วอุตสาหกรรม"

คำขวัญ จังหวัดสมุทรสาคร (สค.)
"เมืองประมง ดงโรงงาน ลานเกษตร เขตประวัติศาสตร์"

คำขวัญ จังหวัดสมุทรสงคราม (สส.)
"ดอนหอยหลอด ยอดลิ้นจี่ มีอุทยาน ร.2 แม่กลองไหลผ่าน นมัสการหลวงพ่อบ้านแหลม"

คำขวัญ จังหวัดสระบุรี (สบ.)
"พระพุทธบาทลือนาม แหล่งน้ำอุดม นมเนื้อมากมาย หลากหลายโรงงาน ถิ่นข้าวพันธุ์ดี มีมะม่วงรสเลิศ งามบรรเจิดธรรมชาติ"

คำขวัญ จังหวัดราชบุรี (รบ.)
"คนสวยโพธาราม คนงามบ้านโป่ง เมืองโอ่งมังกร วัดขนอนหนังใหญ่ ตื่นใจถ้ำงาม ตลาดน้ำดำเนิน เพลินค้างคาวร้อยล้าน ย่านยี่สกปลาดี"

คำขวัญ จังหวัดลพบุรี (ลบ.)
"วังนารายณ์คู่บ้าน ศาลพระกาฬคู่เมือง ปรางค์สามยอดลือเลื่อง เมืองแห่งดินสอพอง เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เกริกก้องแผ่นดินทอง สมเด็จพระนารายณ์"

คำขวัญ จังหวัดสิงห์บุรี (สห.)
"ถิ่นวีรชนคนกล้า คู่หล้าพระนอน นามกระฉ่อนปลาแม่ลา ย่านการค้าภาคกลาง"

คำขวัญ จังหวัดสุพรรณบุรี (สพ.)
"เมืองยุทธหัตถี วรรณคดีขึ้นชื่อ เลื่องลือพระเครื่อง รุ่งเรืองเกษตรกรรม สูงล้ำประวัติศาสตร์ แหล่งปราชญ์ศิลปิน ภาษาถิ่นชวนฟัง"

คำขวัญ จังหวัดปราจีนบุรี (ปจ.)
"ศรีมหาโพธิ์คู่บ้าน ไผ่ตงหวานคู่เมืง ผลไม้ลือเลื่อง เขตเมืองทวาราวดี"

คำขวัญ จังหวัดเพชรบุรี (พบ.)
"เขาวังคู่บ้าน ขมนหวาน เมืองพระ เลิศล้ำศิลปะ แดนธรรม ทะเลงาม"

คำขวัญ จังหวัดอุทัยธานี (อน.)
"อุทัยธานีเมืองพระชนก ปลา**รสดี ประเพณีเทโว ส้มโอบ้านน้ำตก มรดกห้วยขาแข้ง แหล่งต้นน้ำ สะแกกรัง ตลาดนัดดังโคกระบือ"

คำขวัญ จังหวัดนครสวรรค์ (นว.)
"เมืองสี่แคว แห่มังกร พักผ่อนบึงบอระเพ็ด ปลารสเด็ดปากน้ำโพ"

คำขวัญ จังหวัดพิจิตร (พจ.)
"เมืองชาละวัน แข่งขันเรือยาว ข้าวเจ้าอร่อย ส้มท่าข่อยรสเด็ด หลวงพ่อเพรชรวมใจ บึงสีไฟลือเลื่อง ยอดพระเครื่องหลวงพ่อเงิน"

คำขวัญ จังหวัดพิษณุโลก (พล.)
"พระพุทธชินราชงามเลิศ ถิ่นกำเนิดพระนเรศวร สองฝั่งน่านล้วนเรือนแพ หวานฉ่ำแท้กล้วยตาก ถ้ำและน้ำตกหลากตระการตา"

คำขวัญ จังหวัดตาก (ตก.)
"ธรรมชาติน่ายล ภูเขื่อนใหญ่ พระเจ้าตากเกรียงไกร เมืองไม้และป่างาม"

คำขวัญ จังหวัดสุโขทัย (สท.)
"มรดกโลกล้ำเลิศ กำเนิดลายสือไทย เล่นไฟลอยกระทง ดำรงพุทธศาสนา งามตาผ้าจก สังคโลกทองโบราณ สักการะแม่ย่าพ่อขุน รุ่งอรุณแห่งความสุข"

คำขวัญ จังหวัดอุตรดิตถ์ (อต.)
"เหล็กน้ำพี้ลือเลื่อง เมืองลางสาดหวาน บ้านพระยาพิชัยดาบหัก ถิ่นสักใหญ่ของโลก"

คำขวัญ จังหวัดแพร่ (พร.)
"ม่อฮ่อม ไม่สัก ถิ่นรักพระลอ พระธาตุช่อแฮศรีเมือง ลือเลื่องแพะเมืองผี คนแพร่มีน้ำใจงาม"

คำขวัญ จังหวัดเพชรบรูณ์ (พช.)
"เมืองมะขามหวาน อุทยานน้ำหนาว ศรีเทพเมืองเก่า เขาค้ออนุสรณ์ นครพ่อขุนผาเมือง"

คำขวัญ จังหวัดลำปาง (ลป.)
"ถ่านหินลือชา รถม้าลือลั่น เครื่องปั้นลือนาม งามพระธาตุลือไกล ฝึกช้างใช้ลือโลก"

คำขวัญ จังหวัดน่าน (นน.)
"แข่งเรือลือเลื่อง เมืองงาช้างดำ จิตรกรรมวัดภูมินทร์ แดนดินส้มสีทอง เรืองรองพระธาตุแช่แห้ง"

คำขวัญ จังหวัดลำพูน (ลพ.)
"พระธาตุเด่น พระรอดขลัง ลำใยดัง กระเทียมดี ประเพณีงาม จามเทวี ศรีหริภุญไชย"

คำขวัญ จังหวัดเชียงใหม่ (ชม.)
"ดอยสุเทพเป็นศรี ประเพณีเป็นสง่า บุปผาชาติล้วนงามตา งามล้ำค่านครพิงค์"

คำขวัญ จังหวัดพะเยา (พย.)
"กว๊านพะเยาแหล่งชีวิต ศักดิ์สิทธิ์พระเจ้าตนหลวง บวงสรวงพ่อขุนงำเมือง งามลือเลื่องดอยบุษราคัม"

คำขวัญ จังหวัดแม่ฮ่องสอน (มส.)
"หมอกสามฤดู กองมูเสียดฟ้า ป่าเขียวขจี ผู้คนดี ประเพณีงาม ลือนามถิ่นบัวตอง"

คำขวัญ จังหวัดระยอง (รย.)
"ผลไม้รสล้ำ อุตสาหกรรมก้าวหน้า น้ำปลารสเด็ด เกาะเสม็ดสวยหรู สุนทรภู่กวีเอก"

คำขวัญ จังหวัดตราด (ตร.)
"เมืองเกาะครึ่งร้อย พลอยแดงค่าล้ำ ระกำแสนหวาน หลังอานหมาดี ยุทธนาวีเกาะช้าง สุดทางบูรพา"

คำขวัญ จังหวัดนครราชสีมา (นม.)
"เมืองหญิงกล้า ผ้าไหมดี หมี่โคราช ปราสาทหิน ดินด่านเกวียน"

คำขวัญ จังหวัดบุรีรัมย์ (บร.)
"เมืองปราสาทหิน ถิ่นภูเขาไฟ ผ้าไหมสวย รวยวัฒนธรรม"

คำขวัญ จังหวัดมหาสารคาม (มค.)
"พุทธมณฑลอีสาน ถิ่นฐานอารยธรรม ผ้าไหมล้ำเลอค่า ตักศิลานคร"

คำขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด (รอ.)
"ร้อยเอ็ดเพชรอีสาน พลาญชัยบึงงาม เรืองนามพระสูงใหญ่ ผ้าไหมชั้นดี สตรีโสภา ทุ่งกุลาสดใส งานใหญ่บุญผะเหวด"

คำขวัญ จังหวัดยโสธร (ยส.)
"เมืองประชาธิปไตย บั้งไฟโก้ แตงโมหวาน หมอนขวาน ผ้าขิด แหล่งผลิตข้าวหอมมะลิ"

คำขวัญ จังหวัดศรีสะเกษ (ศก.)
"ศรีสะเกษแดนปราสาทขอม หอมกระเทียมดี มีสวนสมเด็จ เขตดงลำดวน หลากล้วนวัฒนธรรม เลิศล้ำสามัคคี"

คำขวัญ จังหวัดสุรินทร์ (สร.)
"สุรินทร์ถิ่นช้างใหญ่ ผ้าไหมงาม ประคำสวย ร่ำรวยปราสาท ผักกาดหวาน ข้าวสารหอม งามพร้อมวัฒนธรรม"

คำขวัญ จังหวัดมุกดาหาร (มห.)
"เมืองชายโขงงาม มะขามหวานเลิศ ถิ่นกำเนิดลำพญา ภูผาเทิบพิสดาร กลองโบราณล้ำค่า วัฒนธรรมไทยแปดเผ่า"

คำขวัญ จังหวัดสกลนคร (สน.)
"พระธาตุเชิงชุมคู่บ้าน พระตำหนักภูพานคู่เมือง งามลือเลื่องหนองหาร แลตระการปราสาทผึ้ง สวยสุดซึ้งสาวภูไท ถิ่นมั่นในพุทธธรรม"

คำขวัญ จังหวัดหนองบัวลำภู (นภ.)
"ศาลสมเด็จพระนเรศวร อุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ แผ่นดินธรรมหลวงปู่ขาว เด่นสกาวถ้ำเอราวัณ นครเขื่อนขันธ์ กาบแก้วบัวบาน"

คำขวัญ จังหวัดเลย (ลย.)
"เมืองแห่งทะเลภูเขา สุดหนาวในสยาม ดอกไม้งามสามฤดู"

คำขวัญ จังหวัดหนองคาย (นค.)
"วีรกรรมปราบฮ่อ หลวงพ่อพระใส สะพานไทย-ลาว"

คำขวัญ จังหวัดนครพนม (นพ.)
"พระธาตุพนมล้ำค่า วัฒนธรรมหลากหลาย เรณูภูไท เรือไฟโสภา งามตาสองฝั่งโขง"

คำขวัญ จังหวัดระนอง (รน.)
"คอคอดกระ ภูเขาหญ้า กาหยูหวาน ธารน้ำแร่ มุกแท้เมืองระนอง"

คำขวัญ จังหวัดสุราษฎร์ธานี (สฎ.)
"เมืองร้อยเกาะ เงาะอร่อย หอยใหญ่ ไข่แดง แหล่งธรรมะ"

คำขวัญ จังหวัดนครศรีธรรมราช (นศ.)
"เราชาวนคร อยู่เมืองพระ มั่นอยู่ในสัจจะศีลธรรม กอรปกรรมดี มีมานะพากเพียร ไม่เบียดเบียน ทำอันตรายผู้ใด"

คำขวัญ จังหวัดพังงา (พง.)
"แร่หมื่นล้าน บ้านกลางน้ำ ถ้ำงามตา ภูผาแปลก แมกไม้จำปูน บริบรูณ์ด้วยทรัพยากร"

คำขวัญ จังหวัดพัทลุง (พท.)
"เมืองหนังโนราห์ อู่นาข้าว พราวน้ำตก แหล่งนกน้ำ ทะเลสาปงาม เขาอกทะลุ น้ำพุร้อน"

คำขวัญ จังหวัดภูเก็ต (ภก.)
"ไข่มุกอันดามัน สวรรค์เมืองใต้ หาดทรายสีทอง สองวีรสตรี บารมีหลวงพ่อแช่ม"

คำขวัญ จังหวัดตรัง (ตง.)
"เมืองพระยารัษฎา ปวงประชาใจกว้าง หมูย่างรสเลิศ ถิ่นกำเนิดยางพารา เด่นสง่าดอกศรีตรัง ปะการังใต้ทะเล เสน่ห์หาดทรายงาม น้ำตกสวยตระการตา"

คำขวัญ จังหวัดสงขลา (สข.)
"นกน้ำเพลินตา สมิหราเพลินใจ เมืองใหญ่สองทะเล เสน่ห์สะพานป๋า ศูนย์การค้าแดนใต้"

คำขวัญ จังหวัดสตูล (สต.)
"สตูล สงบ สะอาด ธรรมชาติบริสุทธิ์"

คำขวัญ จังหวัดปัตตานี (ปต.)
"บูดูสะอาด หาดทรายสวย รวยน้ำตก นกเขาดี ลูกหยีอร่อย หอยแครงสด"

คำขวัญ จังหวัดยะลา (ยล.)
"ใต้สุดสยาม เมืองงามชายแดน"

คำขวัญ จังหวัดนราธิวาส (นธ.)
ทักษิณราชตำหนัก ชนรักศาสนา นราทัศน์เพลินตา บาโจตรึงใจ แหล่งใหญ่แร่ทอง ลองกองหอมหวาน"

คำขวัญ จังหวัดอ่างทอง (อท.)
"พระสมเด็จเกศไชโย หลวงพ่อโตองค์ใหญ่ วีรชนใจกล้า ตุ๊กตาชาววัง โด่งดังจักสาน ถิ่นฐานทำกลอง เมืองสองพระนอน"

คำขวัญ จังหวัดอำนาจเจริญ (อจ.)
"พระมงคลมิ่งเมือง แหล่งรุ่ง เรืองเจ็ดลุ่มน้ำ งามล้ำถ้ำศักดิ์สิทธิ์ เทพนิมิตรพระเหลา เกาะแก่งเขาแสนสวย เลอค่าด้วยผ้าไหม ราษฎร์เสื่อมใสใฝ่ธรรม"

คำขวัญ จังหวัดอุดรธานี (อด.)
"น้ำตกจากสันภูพาน อุทยานแห่งธรรมะ อารยธรรมห้าพันปี ธานีผ้าหมี่ขิด แดนเนรมิตรหนองประจักษ์ เลิศลักษณ์กล้วยไม้หอม อุดรซันไฌน์"

คำขวัญ จังหวัดอุบลราชธานี (อบ.)
"เมืองดอกบัวงาม แม่น้ำสองสี มีปลาแซบหลาย หาดทรายแก่งหิน ถิ่นไทยนักปราชญ์ ทวยราษฎร์ใฝ่ธรรม งามล้ำเทียนพรรษา ผาแต้มก่อนประวัติศาสตร์"
บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Moderator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #18 เมื่อ: มีนาคม 03, 2012, 07:59:58 PM »

ต้นไม้พันธุ์ไม้ประจำจังหวัด

ต้นไทรย้อยใบแหลม
ต้นไม้ประจำจังหวัดกรุงเทพมหานคร


ต้นทุ้งฟ้า
ต้นไม้ประจำจังหวัดกระบี่


ต้นขานาง
ต้นไม้ประจำจังหวัดกาญจนบุรี


ต้นมะหาด
ต้นไม้ประจำจังหวัดกาฬสินธุ์


ต้นสีเสียดแก่น
ต้นไม้ประจำจังหวัดกำแพงเพชร


ต้นกัลปพฤกษ์
ต้นไม้ประจำจังหวัดขอนแก่น


ต้นจัน
ต้นไม้ประจำจังหวัดจันทบุรี


ต้นนนทรีป่า
ต้นไม้ประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา


ต้นประดู่ป่า
ต้นไม้ประจำจังหวัดชลบุรี


ต้นมะตูม
ต้นไม้ประจำจังหวัดชัยนาท


ต้นขี้เหล็กบ้าน
ต้นไม้ประจำจังหวัดชัยภูมิ


ต้นมะเดื่อชุมพร
ต้นไม้ประจำจังหวัดชุมพร


ต้นกาซะลองคำ
ต้นไม้ประจำจังหวัดเชียงราย


ต้นทองกวาว
ต้นไม้ประจำจังหวัดเชียงใหม่


ต้นศรีตรัง
ต้นไม้ประจำจังหวัดตรัง


ต้นหูกวาง
ต้นไม้ประจำจังหวัดตราด


ต้นแดง
ต้นไม้ประจำจังหวัดตาก


ต้นสุพรรณิการ์
ต้นไม้ประจำจังหวัดนครนายก


ต้นจันทน์หอม
ต้นไม้ประจำจังหวัดนครปฐม


ต้นกันเกรา
ต้นไม้ประจำจังหวัดนครพนม


ต้นสาธร
ต้นไม้ประจำจังหวัดนครราชสีมา


ต้นแซะ
ต้นไม้ประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช


ต้นเสลา
ต้นไม้ประจำจังหวัดนครสวรรค์


ต้นนนทรีบ้าน
ต้นไม้ประจำจังหวัดนนทบุรี


ตะเคียนชันตาแมว
ต้นไม้ประจำจังหวัดนราธิวาส


ต้นกำลังเสือโคร่ง
ต้นไม้ประจำจังหวัดน่าน


ต้นกาฬพฤกษ์
ต้นไม้ประจำจังหวัดบุรีรัมย์


ต้นทองหลางลาย
ต้นไม้ประจำจังหวัดปทุมธานี


ต้นเกด
ต้นไม้ประจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์


ต้นโพศรีมหาโพธิ
ต้นไม้ประจำจังหวัดปราจีนบุรี


ต้นตะเคียนทอง
ต้นไม้ประจำจังหวัดปัตตานี


ต้นหมัน
ต้นไม้ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา


ต้นสารภี
ต้นไม้ประจำจังหวัดพะเยา


ต้นเทพทาโร
ต้นไม้ประจำจังหวัดพังงา


ต้นพะยอม
ต้นไม้ประจำจังหวัดพัทลุง


ต้นบุนนาค
ต้นไม้ประจำจังหวัดพิจิตร


ต้นปีบ
ต้นไม้ประจำจังหวัดพิษณุโลก


ต้นหว้า
ต้นไม้ประจำจังหวัดเพชรบุรี


ต้นมะขาม
ต้นไม้ประจำจังหวัดเพชรบูรณ์


ต้นยมหิน
ต้นไม้ประจำจังหวัดแพร่


ต้นประดู่บ้าน
ต้นไม้ประจำจังหวัดภูเก็ต


ต้นพฤกษ์
ต้นไม้ประจำจังหวัดมหาสารคาม


ต้นช้างน้าว
ต้นไม้ประจำจังหวัดมุกดาหาร


ต้นกระพี้จั่น
ต้นไม้ประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอน


ต้นกระบาก
ต้นไม้ประจำจังหวัดยโสธร


ต้นโสกเหลือง (ศรียะลา)
ต้นไม้ประจำจังหวัดยะลา


ต้นกระบก
ต้นไม้ประจำจังหวัดร้อยเอ็ด


ต้นอบเชย
ต้นไม้ประจำจังหวัดระนอง


ต้นสารภีทะเล
ต้นไม้ประจำจังหวัดระยอง


ต้นโมกมัน
ต้นไม้ประจำจังหวัดราชบุรี


ต้นพิกุล
ต้นไม้ประจำจังหวัดลพบุรี


ต้นขะจาว
ต้นไม้ประจำจังหวัดลำปาง


ต้นจามจุรี
ต้นไม้ประจำจังหวัดลำพูน


ต้นสนสามใบ
ต้นไม้ประจำจังหวัดเลย


ต้นลำดวน
ต้นไม้ประจำจังหวัดศรีสะเกษ


ต้นอินทนิลน้ำ
ต้นไม้ประจำจังหวัดสกลนคร


ต้นสะเดาเทียม
ต้นไม้ประจำจังหวัดสงขลา


ต้นกระซิก
ต้นไม้ประจำจังหวัดสตูล


ต้นโพทะเล
ต้นไม้ประจำจังหวัดสมุทรปราการ


ต้นจิกทะเล
ต้นไม้ประจำจังหวัดสมุทรสงคราม


ต้นสัตบรรณ
ต้นไม้ประจำจังหวัดสมุทรสาคร


ต้นมะขามป้อม
ต้นไม้ประจำจังหวัดสระแก้ว


ต้นตะแบก
ต้นไม้ประจำจังหวัดสระบุรี


ต้นมะกล่ำต้น
ต้นไม้ประจำจังหวัดสิงห์บุรี


ต้นมะค่าโมง
ต้นไม้ประจำจังหวัดสุโขทัย


ต้นมะเกลือ
ต้นไม้ประจำจังหวัดสุพรรณบุรี


ต้นเคี่ยม
ต้นไม้ประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี


ต้นมะค่าแต้
ต้นไม้ประจำจังหวัดสุรินทร์


ต้นชิงชัน
ต้นไม้ประจำจังหวัดหนองคาย


ต้นพะยูง
ต้นไม้ประจำจังหวัดหนองบัวลำภู


ต้นมะพลับ
ต้นไม้ประจำจังหวัดอ่างทอง


ต้นตะเคียนหิน
ต้นไม้ประจำจังหวัดอำนาจเจริญ


ต้นรัง
ต้นไม้ประจำจังหวัดอุดรธานี


ต้นสัก
ต้นไม้ประจำจังหวัดอุตรดิตถ์


ต้นสะเดา
ต้นไม้ประจำจังหวัดอุทัยธานี


ต้นยางนา
ต้นไม้ประจำจังหวัดอุบลราชธานี

บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Moderator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #19 เมื่อ: มีนาคม 03, 2012, 08:01:59 PM »

วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร



สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ )

รวบรวมและเรียบเรียง

วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร เป็นวัดโบราณ เดิมเรียกชื่อว่าวัดสะแก มามีตำนานเนื่องในพระราชพงศาวดาร เมื่อปีขาล จัตวาศก จุลศักราช ๑๑๔๔ พุทธศักราช ๒๓๒๕ ปัจจุบันเป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิด ราชวรมหาวิหาร ตั้งอยู่แขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร

เขตด้านตะวันออก จดคลองซึ่งแยกจากคลองมหานาค ตอนเหนือสะพานโค้ง ผ่านไปทางวัดจักรวรรดิ ราชาวาส ปัจจุบันคลองนี้ถูกถมไปแล้ว

เขตวัดดานตะวันตก จดคลองโอ่งอ่าง

เขตวัดด้านเหนือ จดคลองมหานาค

เขตวัดด้านใต้ มีคูวัดซึ่งขุดจากคลองโอ่งอ่าง เลียบเสนาสนะสงฆ์ไปจดกับคลลองด้านตะวันออก ปัจจุบันคูนี้ถูกถมไปแล้ว





พระราชทานนามใหม่

วัดสระเกศเป็นวัดโบราณดังกล่าวข้างต้น มีข้อความปรากฏตามตำนานว่า เป็นวัดเก่าแก่สร้างมาแต่สมัยโบราณ สันนิษฐานว่าจะได้สร้างมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมมีชื่อว่า “วัดสระแก” เพิ่งมาเปลี่ยนเป็นวัดสระเกศเมื่อสมัยที่ ๑ ตอนที่ได้สร้างกรุงเทพพระมหานครครั้งแรก มีปรากฏตามพระราชพงศาวดารว่า เมื่อจุลศักราช ๑๑๔๕ เบญจศก ตรงกับพุทธศักราช ๒๓๒๖ นั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้โปรดให้ลงมือก่อสร้างพระนครรวมทั้งมหาราชวัง และพระราชวังบวรสถานมงคล ได้รวมผู้คนให้ขุดคลองรอบเมืองตั้งแต่บางลำพูเรื่อยไปจนจดแม่น้ำด้านใต้ตอนเหนือวัดจักรวรรดิราชาวาส แล้วโปรดให้ขุดคลองหลอด และขุดคลองใหญ่เหนือวัดสระแกอีกคลองหนึ่ง พระราชทานนามว่าคลองมหานาค เพื่อเป็นที่สำหรับประชาชนชาวพระนคร ได้ลงประชุมเล่นเพลงและสักวาในเทศกาลฤดูน้ำเหมือนอย่างครั้งกรุงศรีอยุธยา และวัดสะแกนั้นเมื่อขุดคลองมหานาคแล้ว พระราชทานเปลี่ยนนามใหม่ว่า “วัดสระเกศ”และทรงปฏิสังขรณ์วัดสระเกศทั้งพระอาราม ตั้งต้นแต่พระอุโบสถตลอดถึงเสนาสนะสงฆ์ แลขุดคลองรอบวัดด้วย

คำว่า “สระเกศ” นี้ ตามรูปคำก็แปลว่าชำระ หรือ ทำความสะอาดพระเกศานั่นเอง มูลเหตุที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระราชทานเปลี่ยนชื่อวัดสระแกเป็นวัดสระเกศนี้ มีหลักฐานที่ควรอ้างถึง คือพระราชวิจารณ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่อจดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวี ข้อ ๑๑๖ ว่า “รับสั่งพระโองการตรัสวัดสะแกให้เรียกว่าสระเกศ แล้วบูรณปฏิสังขรณ์ เห็นควรที่ต้นทางเสด็จพระนคร” ทรงพระราชวิจารณ์ไว้ว่า “ปฏิสังขรณ์วัดสะแกและเปลี่ยนชื่อเป็นวัดสระเกศเอามากล่าวปนกับวัดโพธิ์ เพราะเป็นต้นทางที่เสด็จเข้ามาพระนคร มีคำเล่าๆ กันว่า เสด็จเข้าโขลนทวาร สรงพระมรุธาภิเษกตามประเพณี กลับจากทางไกลที่วัดสะแกจึงเปลี่ยนนามว่า “วัดสระเกศ”




และยังมีลายพระหัตถ์สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทูลสมเด็จกรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ในสาสน์สมเด็จ ฉบับลงวันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๘๕ เรื่องเกี่ยวกับวัดสระเกศที่น่ารู้อย่างหนึ่งว่า “ชื่อ” วัดสระเกศ ดูถือว่า เป็นชื่อสำคัญ

ทางมณฑลอีสาน มีเกือบทุกเมือง แต่เขาเรียกว่า “วัดศรีสระเกศ” วัดสระเกศในกรุงเทพฯนี้ เดิมชื่อว่า “วัดสะแก” มีเรื่องตำนานว่า เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เสด็จกลับจากเมืองเขมรเข้ามาเสวยราชย์ ประทับทำพิธีพระกระยาสนานที่วัดสระเกศแล้วจึงเดินกระบวนแห่เสด็จมายังพลับพลาหน้าวัดโพธาราม(ปัจจุบันคือวัดพระเชตุพน) อันเป็นท่าเรือข้ามไปยังพระราชวังธนบุรี เมื่อทรงสร้างเป็นพระอารามหลวงในที่ ๑ จึงโปรดให้เปลี่ยนนามวัดสระเกศ พระธรรมทานาจารย์ (จุ่น)เคยบอกหม่อมฉันว่าพระในวัดสระเกศบอกเล่าสืบกันมาว่า สระที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ สรงน้ำนั้นโปรดฯให้ถมเสียแล้วสร้างการเปรียญขึ้นตรงนั้น อยู่ทางข้างตะวันออกของกุฏิหมู่ใหญ่อันเป็นที่อยู่ของพระราชาคณะบัดนี้”

ในตำนานของวัดสระเกศนี้ได้กล่าวไว้ว่า “เมื่อปีขาล จัตวาศก จุลศักราช ๑๑๔๔ ตรงกับพุทธศักราช ๒๓๒๕ เมื่อครั้งกรุงธนบุรีเกิดจลาจนขึ้น ในเวลานั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เสด็จดำรงพระยศเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก สมเด็จพระอนุชาธิราช กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท เสด็จดำรงพระยศเป็นเจ้าพระยาสุรสีห์พิษณวาธิราช เสด็จยกกองทัพไปทำสงครามที่กรุงกัมพูขาทั้งสองพระองค์เมื่อได้ทรงทราบว่าเกิดจลาจลขึ้นในกรุงธนบุรี จึงเสด็จยกกองทัพกลับมา พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เสด็จเข้าโขลนทวารประทับสรงมุรธาภิเษกที่วัดสะแก เมื่อ ณ วันเสาร์ เดือน ๕ แรม ๙ ค่ำ ปีขาล จัตวาศก จุลศักราช ๑๑๔๔ ตรงกับพุทธศักราช ๒๓๒๕ ประทับอยู่เป็นเวลา ๓ วัน แล้วเสด็จจากพลับพลาวัดสะแก โดยกระบวนทางสถลมารคไปประทับ ณ หน้าวัดโพธาราม (ปัจจุบันคือวัดรพะเชตุพน)เสด็จลงเรือพระที่นั่งข้ามไปยังพระราชวังธนบุรีทรงระงับดับยุคเข็ญในพระนครเรียบร้อยแล้วเหล่าเสนาอำมาตย์ผู้ใหญ่ทั้งปวงเชิญเสด็จขึ้นผ่านพิภพปราบดาภิเษกประดิษฐานดำรงรัฐสีมาเป็นใหญ่ในสยามประเทศสืบมาพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาทรงย้ายพระนครมาสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ข้างฝั่งตะวันออก เมื่อสร้างพระราชวังในพระนครใหม่ จึงโปรดให้สร้างวัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรแก้วมรกต อันเป็นสิริมิ่งขวัญสำหรับพระนคร และเมื่อสร้างวัดพระศรีรัตนศาสดารามนั้น ทรงพระราชดำริว่า ระฆังที่วัดสะแกเสียงไพเราะไม่มีระฆังอื่นจะเสมอ สมควรเอามาไว้ในวัดสำคัญสำหรับพระนคร จึงโปรดให้เอาระฆังที่วัดสะแกมาแขวนไว้ที่หอระฆังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม สำหรับตีย่ำเช้าเย็นยังปรากฏอยู่จนทุกวันนี้”


วัดสระเกศได้เป็นวัดสำคัญเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของชาติไทย และเกี่ยวกับมาแต่ต้น จึงเป็นอารามหลวงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตั้งแต่ที่ ๑ เป็นต้นมา ได้ทรงบริจาคพระราชทรัพย์เป็นจำนวนมากปฏิสังขรณ์ก่อสร้างถาวรวัตถุและเสนาสนะสงฆ์สืบมาโดยลำดับ


เขตพุทธาวาส สังฆาวาส

วัดนี้อาจแบ่งเป็น ๒ เขต คือ ทางด้านเหนือของวัดเป็นที่ตั้งบรมบรรพต พระวิหารพระอัฏฐารส และบริเวณพระอุโบสถจัดเป็นพุทธาวาส ส่วนทางด้านใต้ของเขตพุทธาวาส มีถนนคั่นเป็นเสนาสนะสงฆ์ที่อยู่ของพระภิกษุสามเณร จัดเป็นสังฆาวาส จะเห็นได้ว่าวัดสระเกศมีเขตที่แบ่งไว้อย่างเหมาะสม และสวยงาม



บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Moderator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #20 เมื่อ: มีนาคม 03, 2012, 08:03:06 PM »

เที่ยวชมวัดสระเกศ




พระอุโบสถ

พระระเบียง

พระระเบียงพุทธเจย์ดี

พระวิหาร

บรมบรรพต พระเจดีย์ภูเขาทอง

พระศรีมหาโพธิ์

หอพระไตรปิฏก

พิธีห่มผ้าแดงในงานนมัสการสารีริกธาตุ 

พอสังเขป น้ะค่ะ
เข้าไปดูเวปไซด์ทางวัดเพิ่มเติมได้ที่
www.watsraket.com


บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Moderator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #21 เมื่อ: มีนาคม 03, 2012, 08:06:50 PM »

ตำนานดอกกุหลาบ   

             

    กุหลาบเป็นดอกไม้ที่นิยมปลูกไว้ชื่นชมมาแต่โบราณ ประมาณกันว่ากุหลาบเกิดขึ้นเมื่อกว่า 70 ล้านปีมาแล้ว เคยมีการค้นพบฟอสซิลของกุหลาบใน รัฐโคโลราโด และ รัฐโอเรกอน ประเทศสหรัฐอเมริกา และได้พิสูจน์ว่ากุหลาบป่าเป็นพืชที่มีอายุถึง 40 ล้านปี แต่กุหลาบป่าสมัยโลกล้านปีนี้ มีรูปร่างหน้าตาไม่เหมือนกุหลาบสมัยนี้ เนื่องจากมนุษย์ได้นำเอากุหลาบป่ามาปลูกและผสมพันธุ์ ขยายพันธุ์เป็นพันธุ์ต่างๆ มากมาย   

           
     ความจริงแล้วกำเนิดของกุหลาบหรือกุหลาบป่านี้มีเฉพาะในแถบบริเวณเหนือเส้นศูนย์สูตรของโลกเท่านั้น คือกำเนิดในภาคกลางของทวีปเอเชีย แล้วแพร่ขยายพันธุ์ไปตลอดซีกโลกเหนือ ไม่ว่าจะเป็นแถบที่มีอากาศหนาวจัดอย่าง อาร์กติก อลาสก้า ไซบีเรีย หรือแถบอากาศร้อนอย่าง อินเดีย แอฟริกาเหนือ แต่ในบริเวณแถบใต้เส้นศูนย์สูตรอย่างทวีปออสเตรเลีย หรือเกาะต่างๆ ในมหาสมุทรรวมทั้งแอฟริกาใต้ ไม่เคยมีปรากฏว่ามีกุหลาบป่าเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติเลย

                ตามประวัติศาสตร์เล่าว่า กุหลาบป่าถูกนำมาปลูกไว้ในพระราชวังของจักรพรรดิจีน ในสมัยฮั่นราว 5,000 ปีมาแล้ว ขณะที่อียิปต์เองก็ปลูกกุหลาบเป็นไม้ดอก ส่งไปขายให้แก่ชาวโรมัน ชาวโรมันเป็นชาติที่รักดอกกุหลาบมากถึงจะสั่งซื้อจากประเทศอียิปต์แล้ว ยังลงทุนสร้างเนอร์สเซอรี่ขนาดใหญ่สำหรับปลูกดอกกุหลาบอีกด้วย สำหรับชาวโรมันแล้วเรียกได้ว่าดอกกุหลาบมีความสำคัญกับชีวิตประจำวัน เพราะชาวโรมันถือว่าดอกกุหลาบเป็นสัญลักษณ์ของความรัก ซึ่งเป็นทั้งของขวัญ เป็นดอกไม้สำหรับทำเป็นมาลัยต้อนรับแขก เป็นดอกไม้สำหรับงานเฉลิมฉลองต่างๆ ใช้เป็นส่วนประกอบสำหรับทำขนม ทำไวน์ ส่วนน้ำมันกุหลาบยังใช้ทำเป็นยาได้อีกด้วย

               กุหลาบถือเป็นสัญลักษณ์แห่งความรักและความโรแมนติก ซึ่งมีบางตำนานเล่าว่า ดอกกุหลาบเป็นเสมือนเครื่องหมายแทนการกำเนิดของ เทพธิดาวีนัส ซึ่งเป็นเทพแห่งความงาม และความรัก วีนัสเป็นที่รู้จักกันในชื่อ อโฟรไดท์ ในตำนานเทพของกรีกได้กล่าวไว้ว่า น้ำตาของเธอหยดลงปะปนกับเลือดของ อคอนิส คนรักของเธอที่ถูกหมูป่าฆ่า เลือดและน้ำตาหยดลงสู่พื้นแล้วกลายเป็นดอกไม้สีแดงเข้มหรือดอกกุหลาบนั่นเอง แต่บางตำนานก็เล่าว่าดอกกุหลาบเกิดจากเลือดของ อโฟรไดท์ เองที่หยดลงสู่พื้น เมื่อเธอแทงตัวเองด้วยหนามแหลม     

          บางตำนานกล่าวว่ากุหลาบเกิดจากการชุมนุมของบรรดาทวยเทพ เพื่อประทานชีวิตใหม่ให้กับนางกินรีนางหนึ่ง ซึ่งเทพธิดาแห่งบุปผาชาติ หรือ คลอริส บังเอิญไปพบนางนอนสิ้นชีพอยู่ ในตำนานนี้กล่าวว่า อโฟรไดท์ เป็นเทพผู้ประทานความงามให้ มีเทพอีกสามองค์ประทานความสดใส เสน่ห์ และความน่าอภิรมย์ และมี เซไฟรัส ซึ่งเป็นลมตะวันตกได้ช่วยพัดกลุ่มเมฆ เพื่อเปิดฟ้าให้กับแสงของเทพ อพอลโล หรือแสงอาทิตย์ส่องลงมาเพื่อประทานพรอมตะ จากนั้น ไดโอนีเซียส เทพเจ้าแห่งเหล้าองุ่นก็ประทานน้ำอมฤต และกลิ่นหอม เมื่อสร้างบุปผาชาติดอกใหม่นี้ขึ้นมาได้แล้ว เทพทั้งหลายก็เรียกดอกไม้ซึ่งมีกลิ่นหอมและทรงเสน่ห์นี้ว่า Rosa จากนั้น เทพธิดาคลอริส ก็รวบรวมหยดน้ำค้างมาประดับเป็นมงกุฎ เพื่อมอบให้ดอกไม้นี้เป็นราชินีแห่งบุปผาชาติทั้งมวล จากนั้นก็ประทานดอกกุหลาบให้กับเทพ อีโรส ซึ่งเป็นเทพแห่งความรัก กุหลาบจึงกลายเป็นสัญลักษณ์ของความรัก แล้วเทพ อีโรส ก็ประทานกุหลาบนี้ให้แก่ ฮาร์โพเครติส ซึ่งเป็นเทพแห่งความเงียบ เพื่อที่จะเก็บซ่อนความอ่อนแอของทวยเทพทั้งหลาย ดอกกุหลาบจึงกลายเป็นสัญลักษณ์ของความเงียบและความเร้นลับอีกอย่างหนึ่ง

               กุหลาบกลายเป็นของขวัญ ของกำนัลสำหรับการแสดงความรัก และมักจะมีผู้เปรียบเทียบความงามของผู้หญิงเป็นเสมือนดอกกุหลาบ และผู้หญิงคนแรกในประวัติศาสตร์โลกที่ได้รับสมญาว่าเป็นผู้หญิงงามเสมือนดอกกุหลาบคือ พระนางคลีโอพัตรา ซึ่งพระนางยังได้เคยต้อนรับ มาร์ค แอนโทนี คนรักของพระนาง ในห้องซึ่งโรยด้วยดอกกุหลาบหนาถึง 18 นิ้ว หอมฟุ้งไปด้วยกลิ่นกุหลาบ

ตำนานดอกกุหลาบในเมืองไทย


               กุหลาบมาจากคำว่า "คุล" ในภาษาเปอร์เชีย แปลว่า "สีแดง ดอกไม้ หรือดอกกุหลาบ" และเข้าใจว่าจากเปอร์เซียได้แพร่เข้าไปในอินเดีย เพราะในภาษาฮินดีมีคำว่า "คุล" แปลว่า "ดอกไม้" และคำว่า "คุลาพ" หมายถึงกุหลาบอย่างที่ไทยเราเรียกกัน แต่ออกเสียงเป็น "กุหลาบ"  ส่วนคำว่า "Rose" ในภาษาอังกฤษนั้นมาจากคำว่า "Rhodon" ที่แปลว่ากุหลาบในภาษากรีก       

         กุหลาบเข้ามาเมืองไทยสมัยใดไม่ทราบแน่ชัด แต่จากบันทึกของ ลา ลูแบร์ ราชทูตฝรั่งเศสในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช บันทึกไว้ว่าได้เห็นกุหลาบที่กรุงศรีอยุธยา และที่แน่นอนอีกแห่งก็คือ ในกาพย์ห่อโคลงนิราศธารโศกสมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งเป็นพระนิพนธ์ของเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ กล่าวถึงกุหลาบไว้ว่า

         
กุหลาบกลิ่นเฟื่องฟุ้ง
         หอมรื่นชื่นชมสอง
           นึกกระทงใส่พานทอง
             หยิบรอจมูกเจ้า   เนืองนอง
                 สังวาส
                      ก่ำเก้า
                        บ่ายหน้าเบือนเสีย


   
     


     สำหรับตำนานดอกกุหลาบของไทยเล่ากันว่า เป็นบทละครพระราชนิพนธ์ของที่ 6 เรื่อง มัทนะพาธา ในเรื่องเล่าถึงเทพธิดาองค์หนึ่งชื่อ "มัทนา" ซึ่งนางได้มีเทพบุตรองค์หนึ่งชื่อ "สุเทษณะ" ซึ่งพระองค์ทรงหลงรักเทพธิดา "มัทนา" มากแต่นางไม่มีใจรักตอบ จึงถูกสาบให้ไปเกิดเป็นดอกกุหลาบ จึงกลายเป็นตำนานดอกกุหลาบแต่นั้นมา

กุหลาบขาว กับ กุหลาบแดง สีไหนเกิดก่อน ?




               มีหลายตำนานเล่าถึงการเกิดกุหลาบสีขาวและกุหลาบสีแดงไว้แตกต่างกัน ตำนานหนึ่งเล่าว่า กุหลาบขาว เกิดขึ้นก่อน กุหลาบแดง เดิมทีมีนกไนติงเกลตัวหนึ่งมาหลงรักเจ้าดอกกุหลาบขาวแสนสวย ขณะที่มันกำลังจะโอบกอดดอกกุหลาบด้วยความรักนั้นเอง หนามกุหลาบก็ทิ่มแทงที่หน้าอกของมัน หยดเลือดของเจ้านกไนติงเกลเลยทำให้ดอกกุหลาบสีขาวกลายเป็นสีแดง เลยมีดอกกุหลาบสีแดงนับแต่นั้นเป็นต้นมา ส่วนอีกตำนานหนึ่งก็เล่าว่ากุหลาบสีแดงใน สวนอีเดน เกิดจาการจุมพิตของ อีฟ เจ้าดอกกุหลาบขาวที่หญิงสาวจุมพิต เลยเกิดอาการขวยเขินจึงเปลี่ยนเป็นสีแดง 

            นอกจากนี้ ความหมายของความรักในศาสนาคริสต์ ถือว่ากุหลาบสีขาวแทนความบริสุทธิ์ของ พระแม่มาเรีย และกุหลาบสีแดงเกิดจากหยาดพระโลหิตของ พระเยซูเจ้า เมื่อถูกสวมมงกุฎหนาม มันจึงเป็นสัญลักษณ์ของผู้ประกาศศาสนาที่พลีชีพเพื่อพระผู้เป็นเจ้า


สีกุหลาบสื่อความหมาย       

       ในวันวาเลนไทน์ ซึ่งเป็นวันแห่งความรัก ดอกกุหลาบถือเป็นสัญลักษณ์ และของกำนัลของวันนี้ ดังนั้นเวลาที่คิดจะให้ดอกกุหลาบแก่ใครสักคน เราก็น่าจะรู้ความหมายของสีอันเป็นสื่อความหมายของดอกกุหลาบไว้บ้างก็น่าจะดี ซึ่งก็จะมีความดังนี้


สีแดง สื่อความหมายถึง ความรักและความปรารถนา เป็นดอกไม้ของกามเทพ คิวปิด และอีรอส เป็นสิ่งนำโชคนำความรักมาให้แก่หญิงหรือชายที่ได้รับ


สีชมพู สื่อความหมายถึง ความรักที่มีความสุขอย่างสมบูรณ์

สีขาว สื่อความหมายถึง ความมีเสน่ห์ ความบริสุทธิ์ มิตรภาพ และความสงบเงียบ และนำโชคมาให้แก่หญิงหรือชายเช่นเดียวกับกุหลาบแดง

สีเหลือง สื่อความหมายถึง เราเป็นเพื่อนที่ดีต่อกันเสมอนะ

สีขาวและแดง สื่อความหมายถึง ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

กุหลาบตูม สื่อความหมายถึง ความงามและความเยาว์วัย
 

ช่อกุหลาบสื่อความหมาย

               จำนวนดอกกุหลาบในช่อก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สื่อความหมายได้เช่นกัน และในวันวาเลนไทน์หรือวันไหนๆ ถ้าคุณได้ช่อดอกกุหลาบจากใครสักคน เค้าคนนั้นอาจกำลังต้องการสื่อความหมายอะไรบางอย่างให้คุณรู้ก็เป็นได้

จำนวนดอกกุหลาบ
ความหมาย


1       รักแรกพบ
2       แสดงความรู้สึกที่ดีให้กัน
3       ฉันรักเธอ
7       คุณทำให้ฉันหลงเสน่ห์
9       เราสองคนจะรักกันตลอดไป
10      คุณเป็นคนที่ดีเลิศ
11      คุณเป็นสมบัติชิ้นที่มีค่าชิ้นเดียวของฉัน
12      ขอให้เธอเป็นคู่ของฉันเพียงคนเดียว
13      เพื่อนแท้เสมอ
15      ฉันรู้สึกเสียใจจริงๆ
20     ฉันมีความจริงใจต่อเธอ
21     ชีวิตินี้ฉันมอบเพื่อเธอ
36     ฉันยังจำความหลังอันแสนหวาน
40     ความรักของฉันเป็นรักแท้
99     ฉันรักเธอจนวันตาย
1oo   ฉันอุทิศชีวิตนี้เพื่อเธอ
101   ฉันมีคุณเพียงคนเดียวเท่านั้น
108   คุณจะแต่งงานกับฉันไหม
999   ฉันจะรักคุณจนวินาทีสุดท้าย
 


 
บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Moderator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #22 เมื่อ: มีนาคม 03, 2012, 08:13:26 PM »

“ข้าวแช่”

 เป็นอาหารที่มีถิ่นกำเนิดจากชาวมอญในดินแดนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา และใช้ประกอบในเทศกาลสงกรานต์ของชาวมอญ จนถือเป็นประเพณีสืบต่อกันมาว่า ในวันสงกรานต์จะต้องทำข้าวแช่ถวายพระ เพื่อความเป็นสิริมงคล จากนั้นคนไทยได้รับเอาวัฒนธรรมข้าวแช่ของชาวมอญมาใช้ ซึ่งในตอนแรกข้าวแช่จะมีอยู่แค่ในรั้วในวังเท่านั้น แต่ต่อมาได้แพร่หลายไปทั่วในหลายจังหวัดของภาคกลาง

ประวัติข้าวแช่
ของชาวมอญนั้น จากหนังสือสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคกลาง เล่ม ๒ ของมูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า จากการสอบถามชายไทยเชื้อสายมอญ ที่ชุมชนวัดม่วง จังหวัดราชบุรี ซึ่งเป็นชุมชนเก่าแก่ได้กล่าวถึงวันสงกรานต์ซึ่งเป็นวันที่ ดวงอาทิตย์โคจรจากราศีมีนเข้าสู่ราศีเมษเป็นวันปีใหม่ เรียกว่า “วันมหาสงกรานต์” ซึ่งเล่าว่าเป็นวันที่เทวดาที่รักษาโลกเสด็จกลับสู่สวรรค์เป็นวันสิ้นปีเก่า วันที่ ๒ เป็น “วันเนา” หรือ “วันว่าง” ซึ่งวันนี้จะไม่มีเทวดาที่รักษาโลกอยู่หรือเรียกวันนี้ว่า “วันกระหนาบ” เพราะอยู่ระหว่างกลางระหว่าง สิ้นปีเก่าและวันขึ้นปีใหม่ ส่วนวันที่ ๓ จัดเป็น  “วันขึ้นปีใหม่” หรือ “วันเถลิงศก” ซึ่งเป็นวันที่เทวดาองค์ใหม่เสด็จมารักษาโลกมนุษย์ก่อนวันสงกรานต์ ๑ วัน ชาวมอญจะบวงสรวงเทวดาที่ลานดิน ซึ่งเป็นศูนย์กลางของหมู่บ้านด้วยการสร้างศาลซึ่งทำด้วยไม้ไผ่ผ่าซีก ประดับด้วยผ้าขาวและกาบกล้วยและประดับศาลด้วยดอกสงกรานต์ (ดอกราชพฤกษ์หรือดอกคูน) กางร่มบนศาล (ซึ่งในปัจจุบันแต่ละบ้านจะทำศาลที่เรียกว่าบ้านสงกรานต์ ไว้ที่หน้าบ้านของตนเอง) สำหรับอาหารที่ใช้ในการบวงสรวงจะมีข้าวแช่ ประกอบด้วยอาหาร ๗ อย่าง ได้แก่ กะปิทอด ปลาป่นหวาน กระเทียมดองผัดไข่ ผักกาดหวานผัด ยำขนุนอ่อน  ยำปูเค็มกับมะม่วงดิบ และก๋วยเตี๋ยวผัด (คือผัดไทย) มีขนมปัง กะละแมและข้าวเหนียวแดง สำหรับวิธีการหุงข้าวแช่เพื่อใช้ในพิธีบวงสรวง จะทำโดยหุงกลางแจ้งมีราชวัติฉัตรธง เมื่อหุงแล้วเทลงในผ้าขาวบางบนกระบุง ใช้น้ำเย็นราดข้าวให้เย็นแล้วใช้มือขัดข้าวแล้วล้างยางออก ๗ ครั้ง จึงนำไปใช้ได้ วิธีดังกล่าวเรียกว่าข้าวพิธี นอกจากนี้ยังมีวิธีการหุงข้าวแช่อีกหนึ่งวิธีที่มาจากคำบอกเล่าของชาวบ้านคือ ใช้ข้าวสารหุงจนเป็นตาปลาไม่ให้ข้าวบาน จากนั้นเทใส่ในกระบุงล้างน้ำจนเย็นแล้วจึงใส่หม้อดิน ก่อนจะใส่หม้อดินมีวิธีอบหม้อดินให้หอมด้วยการใช้แกลบเผาไฟ โดยตะแคงหม้อให้ควันไฟเข้าไปอบหม้อดิน อบ ๑ วัน ๑ คืน หรือบางคนก็อบ ๓ วัน ๓ คืน แล้วแต่ความชอบ นำข้าวใส่หม้อและเทน้ำลง จะไม่มีการอบควันเทียนหรืออบน้ำดอกไม้เลย

สำหรับข้าวแช่ของไทยนั้น ไม่ปรากฏหลักฐานว่าเริ่มขึ้นเมื่อใด แต่เมื่อพูดถึงข้าวแช่มักจะนึกถึงอาหารของชาววังและข้าวแช่ของจังหวัดเพชรบุรี และจากการได้รับคำบอกเล่าว่าเป็นตำรับอาหารอันเก่าแก่ของวังบ้านหม้อ ซึ่งราชสกุลกุญชรจะทำบุญเลื้ยงข้าวแช่ในวันที่ ๑๖ เมษายนของทุกปี เพื่ออุทิศกุศลถวายพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระพิทักษเทเวศร องค์ต้นราชสกุล “กุญชร” และเป็นโอกาสที่จะทำบุญในวันสงกรานต์ไปพร้อมกัน
ข้าวแช่ของไทยนั้นมีวิวัฒนาการต่อมาโดยการใช้น้ำแข็ง ซึ่งแตกต่างจากชาวมอญซึ่งไม่ใช้น้ำแข็ง อย่างไรก็ตามข้าวแช่ทั้งแบบไทยหรือมอญก็มักจะรับประทานกันในฤดูร้อนโดยเฉพาะช่วงเทศกาลสงกรานต์
วิวัฒนาการของการใช้น้ำแข็งนั้นนำมาจากต่างประเทศ ในระยะแรกสันนิษฐานว่านำเข้ามาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ ๔ โดยเรือกลไฟชื่อ “เจ้าพระยา” เดินทางระหว่างกรุงเทพฯ และสิงคโปร์ ซึ่งเดินทางเข้ามาทุก ๑๕ วัน จากพระนิพนธ์ของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เรื่องความทรงจำ ตอนหนึ่งความว่า “เมื่อรู้ว่าเรือเจ้าพระยาเข้ามาถึงก็พากันยินดี ด้วยมักมีผู้ส่งของเข้ามาถวายทูลกระหม่อมบางทีมีของเล่นแปลกๆ ได้พระราชทานเนืองๆ ของประหลาดอย่างหนึ่งนั้นคือ น้ำแข็ง เพิ่งทำได้ที่เมืองสิงคโปร์ ไม่ช้านัก มีผู้ส่งแท่งน้ำแข็งใส่หีบกลบขี้เลื่อยมาถวายเนืองๆ ได้น้ำแข็งมาเมื่อใดก็มักโปรดให้แจกเจ้านายและข้าราชการผู้ใหญ่”
จากพระนิพนธ์ดังกล่าว ถ้าสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพประสูติเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๕ ทรงเห็นน้ำแข็งและเคยเสวยน้ำแข็งเมื่อทรงพระเยาว์ ถ้าพระองค์มีพระชนม์ ๗ – ๘ พรรษา (พ.ศ. ๒๔๑๒) น้ำแข็งก็น่าจะมาถึงเมืองไทยแล้ว ที่กล่าวเช่นนี้อาจสันนิษฐานว่าข้าวแช่อาจจะเริ่มขึ้นในที่ ๔ และอาจมีการใส่น้ำแข็งในข้าวแช่แล้วในรัชสมัยนั้น ถ้าเป็นเช่นนั้นข้าวแช่ก็เป็นอาหาร  อันเก่าแก่สำหรับเราอยู่ดี
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแปรพระราชฐานประทับแรม ณ พระนครคีรี  (เขาวัง) อยู่เสมอ อาจทรงพบเห็นหรือนำข้าวแช่ไปจากพระนครก็ไม่อาจสันนิษฐานได้ แต่ข้าวแช่ของทั้ง ๓ เมืองนี้ก็มีอะไรคล้ายๆ กัน โดยรวมแล้วอาหารที่ทานกับข้าวแช่หรือที่เรียกว่า เครื่องข้าวแช่นั้น จะเป็นของที่ปรุงจากของแห้งของเค็ม ซึ่งค่อนข้างจะมีรสจัด เพื่อให้เหมาะกับข้าวแช่ที่จะต้องผสมน้ำรับประทาน ส่วนใหญ่จะเป็นอาหารจำพวกของผัดของทอด ถ้าของไทยรามัญ จะมีกะปิทอด       หอมสอดไส้ทอด เนื้อเค็มผัด หัวผักกาดเค็มผัด กระเทียมดองผัด ไข่เค็มต้ม แตงโมจิ้มกับปลาป่นผสมน้ำตาล ส่วนของชาวบ้านไทยสมัยเก่าจะมีหลายอย่างเช่นกัน เช่น กะปิทอด หอมสอดไส้ทอด      พริกหยวกสอดไส้ เนื้อเค็มฝอย ปลายี่สนฝอยผัดหวาน และจะขาดไม่ได้ คือ ผักสด ส่วนการหุงข้าวแช่ในสมัยก่อน จะทำให้ข้าวสูญเสียวิตามินไป ดังนั้นในปัจจุบันนี้จึงมีการประยุกต์เปลี่ยนแปลงเป็นการนึ่งหรือหุงด้วยหม้อไฟฟ้า แต่ผสมด้วยน้ำลอยดอกไม้หอม ใครรับประทานแบบไหนก็แล้วแต่ชอบ
กรรมวิธีในการหุงข้าวแช่และอาหารประกอบข้าวแช่นั้น มีวิธีทำคล้ายๆ กับชาวเพชรบุรี ส่วนความแตกต่างนั้นขึ้นอยู่กับรสมือและเคล็ดลับในการทำ และอาหารเพิ่มเติมบางอย่าง

การหุงข้าวแช่นั้นเริ่มจากข้าวสารชนิดดี หุงในหม้อขนาดใหญ่ เมื่อน้ำเดือดเมล็ดข้าวเริ่มจะสุกขนาดตาปลา ยกลงแช่ในน้ำเย็นผึ่งในตะแกรง เลือกเอาข้าวที่เละหรือไม่ดีออก นำไปแช่น้ำดอกไม้  พอชุ่มจนดูดกลิ่นดี แล้วใช้ผ้าขาวบางห่อนำไปนึ่งจนสุกแล้วจึงแช่น้ำแข็ง
การทำอาหารประกอบข้าวแช่นั้น ขอเริ่มด้วยวิธีการทำกะปิทอด ประกอบด้วยเครื่องปรุง     มี กระชาย ๓ ถ้วย ตะไคร้ ๑ ถ้วย หัวหอม ๑ ถ้วย ข่าเล็กน้อย น้ำตาลปี๊บ กะปิดีประมาณสองขีดครึ่ง ปลาดุกย่าง ๒ ถ้วย (อาจใส่ปลาเนื้ออ่อนกรอบก็ได้) มะพร้าวครึ่งกิโล

วิธีทำ
กระชาย ตะไคร้ หัวหอม ข่า หั่นละเอียด ตำรวมกันให้ละเอียด ปลาดุกย่างหรือปลาเนื้ออ่อน แกะเอาแต่เนื้อ ๒ ถ้วย ใส่ลงตำให้เข้ากัน ใส่กะปิ น้ำตาลปี๊บ ตำต่อไปจนเข้ากันดี ถ้าเค็มไปให้เติมปลาดุกย่างลงไปอีก เมื่อละเอียดดีแล้วคั้นมะพร้าวไม่ต้องใส่น้ำเคี่ยวจนแตกมัน เอาเครื่องกะปิที่ตำไว้ลงผัดจนสุกแห้งดี ทิ้งไว้ให้เย็นแล้วปั้นกลมๆ ชุบไข่ทอด
การทำหัวหอมทอด ประกอบด้วย หอมแดงปอกเปลือกนอกออก อย่าปอกจนถึงเนื้อให้เหลือเปลือกไว้บ้างเพราะจะชุบแป้งไม่ติด ปลาช่อนแห้ง ปิ้งแล้วตำหรือป่นให้ละเอียด เอาใส่กระทะคลุกกับน้ำตาลปี๊บ ผัดไปจนแล้งเหนียว แป้งสำหรับชุบ ใช้แป้งข้าวเหนียวผสมกับหัวกะทิ เกลือ พริกไทย ขยำให้เข้ากันจนเป็นน้ำข้นๆ เอาหัวหอมผ่าพอเป็นช่องหรือคว้านที่ก้นพอเป็นรูยัดใส่ปลาแล้วชุบแป้งทอด
การทำถั่วทอด เป็นการประยุกต์จากถั่วทอดซึ่งรับประทานกับขนมจีนน้ำพริก เข้าใจว่า    พระยาเทเวศรวงศวิวัฒน (ม.ล.วราห์  กุญชร) เป็นผู้ดำริ วิธีการทำจะใช้แป้งข้าวเจ้าผสมกับหัวกะทิและน้ำปูนใสคนจนเข้ากันดีเป็นน้ำข้นๆ คล้ายกับแป้งชุบหัวหอมทอด จากนั้นใช้ถั่วทอดแช่น้ำค้างคืนจนบานพอง นึ่งแล้วนำมาผสมกับแป้งจนเข้ากันดีแล้วนำมาทอดในกะทะทอง
การทำพริกหยวกยัดไส้ ประกอบด้วยหมูติดมันสับละเอียด กุ้งสับละเอียด ไข่เป็ด น้ำปลา พริกไทย พริกหยวก เกลือ วิธีทำโดยใช้หมูและกุ้งครึ่งต่อครึ่งสับจนเข้ากัน อย่าให้เละ ผสมน้ำปลา ไข่ พริกไทย ผ่าพริกหยวกเอาเม็ดออกล้างน้ำเกลือผึ่งให้แห้งใส่ไส้แล้วนึ่งให้สุก เมื่อสุกดีแล้วใส่ตะแกรงผึ่งไว้ ตีไข่ให้ละเอียดใช้มือจุ่มโรยให้เป็นฝอย (เป็นตาข่าย) ทาน้ำมันที่กระทะนิดหน่อยหน่อยพอไม่ให้ไข่ติดกระทะ นำพริกหยวกที่ยัดไส้แล้วห่อด้วยไข่ให้ทั่ว
การทำปลาผัดหวาน วิธีการทำจะใช้ปลาแห้งดีๆ เช่น ปลาช่อนแห้งตัวโตๆ มาปิ้ง แต่ก่อนจะนิยมใช้ปลายี่สน ซึ่งเป็นปลาเค็มที่มีรสอร่อย ฉีกฝอยเป็นเส้น แต่ปลายี่สนเป็นปลาที่หายาก จึงต้องใช้ปลาชนิดอื่นแทนเมื่อปิ้งสุกก็เอามาทุบให้นุ่ม ฉีกเป็นฝอย นำไปผัดกับน้ำมันพอจวนกรอบ จึงใส่น้ำตาลปี๊บซึ่งจะให้ความกรอบกว่าน้ำตาลทราย
จากประวัติและกรรมวิธีของการทำข้าวแช่ จะเห็นได้ว่า ข้าวแช่เป็นอาหารซึ่งมีมานานและไทยเราก็นำมาประยุกต์ใช้ในสมัยรัตนโกสินทร์ แต่ข้าวแช่ก็ไม่ได้เป็นอาหารที่แพร่หลายเช่นอาหารอื่น คนทั่วไปจึงมักกล่าวว่า เป็นอาหารชาววัง ด้วยเห็นว่าเป็นสิ่งที่ทำยาก และต้องใช้ความละเอียดอ่อนในการทำ นอกจากนี้ ข้าวแช่ยังเป็นอาหารที่สอดรับกับสภาพภูมิอากาศได้เป็นอย่างดี เพราะช่วงฤดูร้อนการทานอาหารที่มีน้ำเป็นองค์ประกอบจะทำให้ย่อยง่าย ลดอุณหภูมิและสร้างความสมดุลภายในร่างกาย คลายร้อน ทำให้ผิวพรรณมีความชุ่มชื่น ลดความเสี่ยงต่อการเจ็บไข้ได้ป่วย เช่น ผิวแห้ง ปากแตก ท้องผูกอีกด้วย
ทั้งนี้แม้ไม่อาจสรุปได้ว่าข้าวแช่เกิดขึ้นเมื่อใดก็ตาม แต่ก็อาจกล่าวได้ว่าข้าวแช่เป็นอาหารที่มีประวัติอันยาวนานและถือเป็นวัฒนธรรมทางด้านอาหารที่มากด้วยคุณค่าทางโภชนาการ จึงเป็นอาหารที่และควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้อย่างหนึ่งของไทย


บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Moderator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #23 เมื่อ: มีนาคม 27, 2012, 07:40:42 PM »

นางสงกรานต์ปี 55 กิมิทาเทวี มือถือดาบทำนายเกิดพระเพลิง  



นางสงกรานต์ ปี 2555 มีนามว่า กิมิทาเทวี ทรงพาหุรัด ทัดดอกจงกลนี เครื่องประดับบุษราคัม ภักษาหารกล้วยน้ำ หัตถ์ขวาทรงขรรค์ หัตถ์ซ้ายทรงพิณ เสด็จไสยาสน์ลืมเนตร (นอนลืมตา) มาเหนือหลังมหิงส์ (กระบือ,ควาย) เป็นพาหนะ ทำนายว่าปีนี้ บ้านเมืองจะเกิดยุทธสงคราม พระมหากษัตริย์จะรุ่งเรือง ขุนนางจะต้องโทษ

กรม ส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ออกประกาศ วันมหาสงกรานต์ ประจำปี 2555 ตรงกับวันศุกร์ที่ 13 เมษายน 2555 เวลา 19.46 น. 12 วินาที ในปีนี้ นางสงกรานต์ มีนามว่า กิมิทาเทวี ทรงพาหุรัด ทัดดอกจงกลนี อาภรณ์แก้วบุษราคัม ภักษาหารกล้วยน้ำ หัตถ์ขวาทรงขรรค์ หัตถ์ซ้ายทรงพิณ เสด็จไสยาสน์ลืมเนตร (นอนลืมตา) มาเหนือหลังมหิงส์ (กระบือ) เป็นพาหนะ


เกณฑ์ พิรุณศาสตร์ ปีนี้ พฤหัสบดี เป็นอธิบดีฝน บันดาลให้ฝนตก 500 ห่า ตกในเขาจักรวาล 200 ห่า ตกในป่าหิมพานต์ 150 ห่า ตกในมหาสมุทร 100 ห่า ตกในโลกมนุษย์ 50 ห่า เกณฑ์ธาราธิคุณ ชื่อ วาโย (ธาตุลม) น้ำพอประมาณ พายุจัด เกณฑ์นาคราชให้น้ำ ปีมะโรง นาคราช ให้น้ำ 3 ตัวทำนายว่า ฝนต้นปีมาก กลางปีงาม แต่ปลายปีน้อยแล เกณฑ์ธัญญาหารชื่อ วิบัติ ข้าวกล้าในไร่นา จะเกิด กิมิชาติ คือ มีด้วงแมลงรบกวน ข้าวกล้า จะได้ผล ๑ ส่วน เสีย ๕ ส่วน บ้านเมืองจะเกิดยุทธสงครามจะฆ่าฟันกัน จะนิราชจากกัน จะฉิบหายเป็นอันมากแล



คำทำนาย วันศุกร์ เป็นวันมหาสงกรานต์ : ข้าวน้ำ ลูกหมากรากไม้ทั้งหลายจะอุดม แต่จะแพ้เด็ก ฝนและพายุชุมจะเจ็บตายกันมากนักแลฯ, วันเสาร์ เป็นวันเนา : ข้าวปลาจะแพง จะเกิดเพลิงกลางใจเมือง ขุนนางจะต้องโทษ ข้าวจะตายฝอย น้ำจะน้อยกว่าทุกปี สมณชีพราหมณ์ จะร้อนใจนัก ผักปลาจะแพงแลฯ, วันอาทิตย์ เป็นวันเถลิงศก : พระมหากษัตริย์จะรุ่งเรือง ด้วยพระเดชานุภาพ จะมีชัยชนะแก่ศัตรูทั่วทิศาทั้งปวงแลฯ, นางสงกรานต์ ไสยาสน์ลืมเนตร (นอนลืมตา) : ประชาชนจะอยู่เย็นเป็นสุข

บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Moderator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #24 เมื่อ: เมษายน 13, 2012, 07:40:20 AM »

ตำนานนางสงกรานต์


นางสงกรานต์ เป็นคติความเชื่ออยู่ในตำนานสงกรานต์ อันเป็นเรื่องเล่าถึงความเป็นมาของประเพณีดังกล่าว เป็นอุบายเพื่อให้คนโบราณได้รู้ว่าวัน มหาสงกรานต์ คือ วันที่พระอาทิตย์ยกขึ้นสู่ราศีเมษ ซึ่งสมัยนั้นถือเป็นการเถลิงศกใหม่ หรือวันขึ้นปีใหม่ตามสุริยคติตรง กับวันใด โดยสมมุติผ่านนางสงกรานต์ทั้งเจ็ดเทียบกับแต่ละวันในสัปดาห์ ปีไหนตรงกับวันใดนางสงกรานต์ที่มีชื่อสมมุติเข้ากับวันนั้นๆก็จะเป็น ผู้อัญเชิญพระเศียรท้าวกบิลพรหมออกแห่ไปสรงน้ำ ซึ่งนางสงกรานต์ทั้งเจ็ดนี้ เป็นเทพธิดาลูกสาวท้าวกบิลพรหม และเป็นบาทบริจาริกาของพระอินทร์


นางสงกรานต์ทั้ง 7

จากตำนานเล่าถึงท้าวกบิลพรหมแพ้พนันธรรมบาลกุมาร ต้องตัดเศียรออกบูชาธรรมบาลกุมารตามสัญญาแต่เนื่องจากพระเศียรของพระองค์ตก ไปอยู่ที่ใด ก็จะเป็นอันตรายต่อที่นั้นไม่ว่าจะเป็นบนอากาศ บนดินหรือในน้ำ ดังนั้น ธิดาทั้งเจ็ดจึงต้องนำพานมารองรับ และนำไปประดิษฐานไว้ในถ้ำคันธชุลี ณ เขาไกรลาส ครั้นถึงกำหนด ๓๖๕ วัน ซึ่งโลกสมมุติว่าเป็นปีหนึ่งเวียนมาถึงวันมหาสงกรานต์ เทพธิดาทั้งเจ็ดก็จะทรงพาหนะต่างๆ ผลัดเวรกันมาเชิญพระเศียรของบิดาออกแห่ โดยที่เทพธิดาทั้งเจ็ดนี้ปรากฏในวันมหาสงกรานต์เป็นประจำ จึงได้ชื่อว่า “นางสงกรานต์” ส่วนท้าวกบิลพรหมนั้น โดยนัยก็คือ พระอาทิตย์ นั่นเอง เพราะกบิล หมายถึง สีแดง นอกจากตำนานข้างต้น

ยังมีเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับนางสงกรานต์ที่กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม จะขอนำมาเล่าให้ฟังเพิ่มเติมดังนี้

นางสงกรานต์ของแต่ละวัน จะมีนาม อาหาร อาวุธ และสัตว์ที่เป็นพาหนะ ต่างๆ กันดังต่อไปนี้

วันอาทิตย์ ชื่อ ทุงษ
ทัดดอกทับทิม เครื่องประดับปัทมราค ภักษาหารผลมะเดื่อ อาวุธขวาจักร ซ้ายสังข์ พาหนะครุฑ

วันจันทร์ ชื่อ โคราค
ทัดดอกปีบ เครื่องประดับมุกดา ภักษาหารน้ำมัน อาวุธขวาพระขรรค์ ซ้ายไม้เท้า พาหนะเสือ

วันอังคาร ชื่อ รากษส
ทัดดอกบัวหลวง เครื่องประดับโมรา ภักษาหารโลหิต อาวุธขวา ตรีศูล ซ้ายธนู พาหนะสุกร

วันพุธ ชื่อ มัณฑา
ทัดดอกจำปา เครื่องประดับไพฑูรย์ ภักษาหารนมเนย อาวุธขวาเข็ม ซ้ายไม้เท้า พาหนะลา

วันพฤหัสบดี ชื่อ กิริณี
ทัดดอกมณฑา เครื่องประดับมรกต ภักษาหารถั่วงา อาวุธขวาขอ ซ้ายปืน พาหนะช้าง

วันศุกร์ ชื่อ กิมิทา
ทัดดอกจงกลนี เครื่องประดับบุษราคัม ภักษาหารกล้วยน้ำว้า อาวุธขวาพระขรรค์ ซ้ายพิณ พาหนะกระบือ

วันเสาร์ ชื่อ มโหทร
ทัดดอกสามหาว เครื่องประดับนิลรัตน์ ภักษาหารเนื้อทราย อาวุธขวาจักร ซ้ายตรีศูล พาหนะนกยูง






ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก : http://www.songkran.net
บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Moderator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #25 เมื่อ: เมษายน 15, 2012, 11:02:02 AM »

อนุสาวรีย์พระนางจามเทวี


อนุสาวรีย์พระนางจามเทวี   ตั้งอยู่ตำบลในเมืองบริเวณสวนสาธารณะหนองดอก ห่างจากศาลากลางจังหวัดประมาณ ๑ กิโลเมตรสร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แด่พระนางจามเทวีซึ่งเป็นองค์ปฐมกษัตริย์แห่งนครหริภุญไชย พระนางเป็นปราชญ์ที่มีคุณธรรมความสามารถและกล้าหาญได้นำพุทธศาสนาศิลปวัฒนธรรมมาเผยแพร่ในดินแดนแถบนี้จนมีความรุ่งเรืองสืบมาจนถึงปัจจุบัน สมเด็จโอรสาธิราชสยามกุฏราชกุมาร ได้เสด็จมาทรงเปิดอนุสาวรีย์เมื่อวันที่ ๒ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๕

แหล่งข้อมูล: thai.tourismthailand.org
บันทึกการเข้า

finghting!!!
thaidanishzz
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #26 เมื่อ: พฤษภาคม 01, 2012, 10:57:59 PM »

ขอขอบคุณข้อมูลมากคับ
บันทึกการเข้า
paul711
Hero Member
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 4406


Gold is value because it's value!


« ตอบ #27 เมื่อ: พฤษภาคม 02, 2012, 12:27:13 AM »

 Grin ขอบคุณครับคุณหนูใจ
บันทึกการเข้า

ผมไม่ใช่กูรูเรื่องทอง ไม่เคยเขียนหรือพูดแม้แต่ครั้งเดียวว่าเก่งเรื่องทองอ่านที่ผมเขียน แล้วตัดสินใจเอง เกิดผิดพลาด ต้องรับผิดชอบเองอย่าโทษผู้อื่นว่าพลาดเพราะไปเชื่อคนอื่น ไม่มีใครบังคับให้ท่านเชื่อ ผมเป็นแค่ชาวบ้านธรรมดา----Paul711 
จุดหมาย 1) ทองแท่ง ให้ได้กําไร อย่างน้อย 10% ทุก 3 เดือน 2) Gold Future ให้ได้กําไรอย่างน้อย 5% ทุกเดือน 3) gold online ให้ได้กําไร อย่างน้อย 5% ทุกเดือน 
ชีวิตต้องมีหลักและจุดหมายที่ดีและแน่นอน ชีวิตที่ไม่มีหลักที่ดีเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวก็เปรียบเหมือนเรือที่ไม่มีหางเสือ ใครชวนให้ทําดีก็ดีไป ใครชวนให้ทําเรื่องไม่ดี ก็จะพบกับความล้มเหลวและภัยพิบัติได้


http://ichpp.egat.co.th/

Gold2Gold.com
jainu
Moderator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #28 เมื่อ: พฤษภาคม 03, 2012, 08:42:08 PM »

กว่าจะมาเป็น หอไอเฟล ที่ไม่มีใครไม่รู้จัก  



หอไอเฟล (อังกฤษ: Eiffel Tower, ฝรั่งเศส: Tour Eiffel) หอคอยโครงสร้างเหล็ก ที่Champ de Mars บริเวณแม่น้ำแซน ในเมืองปารีส ประเทศฝรั่งเศส สถานที่และสัญลักษณ์ที่สำคัญแห่งหนึ่งของฝรั่งเศส ก่อสร้างในปี พ.ศ. 2432 (ค.ศ. 1889) โดย กุสตาฟ ไอเฟล ผู้ออกแบบคนเดียวกับเทพีเสรีภาพ เพื่อเป็นสัญลักษณ์การจัดงานแสดงสินค้าโลกในปี 1889 (พ.ศ. 2413) ฉลองครบรอบ 100 ปีแห่งการปฏิวัติอุตสาหกรรม หอไอเฟลทำขึ้นจากโลหะ 15,000 ชิ้น หนักถึง 7,000 ตัน ยึดต่อด้วยน๊อต 2,500,000 ตัว สีทาทั้งหมด 35 ตัน สูง 1,050 ฟุต สิ้นเงินค่าก่อสร้าง 7,799,401 ฟรังก์ แรกๆที่หอไอฟสร้างเสร็จ หอไอเฟลได้รับการประณามโดยทั่วไปว่าเป็นไอเดียที่ประหลาดและไม่เข้าท่า หอคอยไอเฟลได้ชื่อว่าเป็นสิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในช่วงเวลา พ.ศ. 2432 - 2473 ในปัจจุบัน หอคอยไอเฟลมีนักท่องเที่ยวเยี่ยมชมประมาณ 5.5 ล้านคนต่อปี นับเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคใหม่











หอไอเฟลมีความสูง 300 เมตร (986 ฟุต) ซึ่งไม่รวม เสาอากาศ 24 เมตร (72 ฟุต) ด้านบนนั้น ถ้าเปรียบเทียบกับตึกแล้วจะมีประมาณ 75 ชั้น ในขณะที่ก่อสร้างปี พ.ศ. 2432(ค.ศ. 1889) หอไอเฟลนั้นเป็นสิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดบนโลก โดยถูกล้มตำแหน่งเมื่อเมืองนิวยอร์กได้สร้าง ตึกไครสเลอร์ สูง 319 เมตร(1046 พุต)

น้ำหนักเหล็กที่ใช้ก่อสร้างนั้นทั้งหมด 7,300 ตัน และถ้ารวมทั้งหมดก็เป็น 10,000 ตัน ส่วนจำนวนบันไดนั้นเปลี่ยนแปลงตลอด เมื่อแรกเริ่มนั้นมี 1710 ขั้น ในทศวรรษที่ 1980 มี 1920 ขั้น และในปัจจุบัน มี 1665 ขั้น


บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Moderator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #29 เมื่อ: พฤษภาคม 03, 2012, 08:46:24 PM »

ประวัติวันแรงงาน ประวัติวันแรงงานแห่งชาติ 


ในต่างประเทศมีวันแรงงานมาช้านานแล้ว หลายประเทศกำหนดวันที่ 1 พฤษภาคม หรือ "May Day" เป็นวันแรงงาน แต่ก็มีบางประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกาและแคนาดา ถือวันอื่นเป็นวันแรงงาน แต่โบราณในยุโรปถือว่า วันเมย์เดย์

เป็นวันเริ่มต้นเข้าสู่ฤดูใหม่ในทางเกษตรกรรม จึงมีพิธีเฉลิมฉลองรื่นเริงในพิธีการนำเอาต้นไม้มาตกแต่งประดับให้สวยงาม และสมมติคนหรือตุ๊กตาให้เป็นเทพเจ้าแห่งเกษตรขึ้น เพื่อทำการบวงสรวงบนบานขอให้ปลูกพืชได้ผลดี ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุข ทางภาคเหนือของยุโรปมีการจัดงานรอบกองไฟในวันนี้ด้วย ประเพณีนี้ยังสืบทอดปฏิบัติต่อมาในชนบทของเกาะอังกฤษจนกระทั่งทุกวันนี้



จากการที่มีวันเมย์เดย์เป็นวันหยุดพักผ่อนประจำปี ต่อมาประเทศอุตสาหกรรมหลายประเทศ จึงถือเป็นวัรหยุดงานของคนทำงาน วันหยุดตามประเพณีของแรงงานทั่วไป วันฉลองและวันรื่นเริงของผู้ใช้แรงงาน ความหมายของวันเมย์เดย์จึงเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ครั้น พ.ศ. 2433 จึงมีการเรียกร้องในหลายประเทศในทางตะวันตก ให้ถือวันที่ 1 พฤษภาคม เป็นวันแรงงานสากล ในปี พ.ศ.2433 ประเทศไทยในยุโรปหลายประเทศได้เริ่มฉลองวันแรงงานในวันที่ 1 พฤษภาคม และดำเนินสืบมาจนถึงปัจจุบัน ในประเทศอังกฤษ มีการฉลองวันแรงงานเป็นครั้งแรก ในปี พ.ศ.2435 โดยถือเอาวันอาทิตย์แรกหลังวันที่ 1 พฤษภาคมเป็นวันแรงงานที่กรุงลอนดอน มักจะมีการชุมนุมกันที่ไฮด์ปาร์ค



วัตถุประสงค์ของวันแรงงานที่นานาประเทศกำหนดขึ้น ก็เพื่อเป็นวันเตือนใจให้ประชาชนตระหนักถึงผู้ใช้แรงงานที่ได้ทำประโยชน์แก่เศรษฐกิจของประเทศ ความสะดวกสะบายในการดำเนินชีวิตของประชาชนทุกวันนี้ ผู้ใช้แรงงานมีส่วนสร้างขึ้นทั้งสิ้น จึงได้ควรมีการระลึกถึงและตระหนักในความสำคัญของแรงงานพอสมควร วันแรงงานถือเป็นเรื่องของแรงงานโดยเฉพาะ การฉลองวันแรงงานทั่วๆ ไปจะไม่นิยมแสดงออกทางการเมือง



สำหรับในประเทศไทย เมื่อระหว่าง พ.ศ.2496-2499 มีการตื่นตัวในเรื่องการก่อตั้งองค์การลูกจ้าง ขณะนั้นกฏหมายแรงงานยังไม่มี จึงตั้งขึ้นในนามของสมาคมกรรมกรไทยและสมาคมเสรีแรงงานแห่งประเทศไทย กรรมการและผู้แทนของสมาคมเหล่านี้ มีโอกาสประชุมกิจกรรมด้านแรงงานในต่างประเทศ และได้ความรู้ว่าหลายประเทศถือเอาวันที่ 1 พฤษภาคมเป็น "วันแรงงาน" ต่อมาในวันที่ 20 เมษายน 2499 คณะกรรมการจัดงานที่ระลึกวันแรงงานได้จัดให้มีการประชุมขึ้น ที่ประชุมมีความเห็นว่าควรกำหนดควรกำหนดให้วันที่ 1 พฤษภาคม เป็นวันที่ระลึกแรงงานในประเทศไทย จึงได้มีหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีขอให้ทางราชการรับรองวันที่ 1 พฤษภาคม เป็นวันที่ระลึกของแรงงาน ดังนั้น ในวันที่ 30 เมษายน 2499 ได้มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีให้ถือเอาวันที่ 1 พฤษภาคม เป็นวันกรรมกรแห่งชาติ ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นวันแรงงานแห่งชาติ ต่อมาใน พ.ศ.2500 ได้มีพระราชบัญญัติแรงงาน พ.ศ.2499 บัญญัติให้ลูกจ้างมีสิทธิหยุดงานประจำปีในวันกรรมกรแห่งชาติ คือวันที่ 1 พฤษภาคม



พระราชบัญญัติแรงงาน พ.ศ.2499 มีอายุได้ 18 เดือน ก็ถูกยกเลิกไป จึงมีประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 เข้ามาแทนที่ โดยให้อำนาจกระทรวงมหาดไทยออกประกาศกระทรวงมหาดไทยกำหนดเรื่องการคุ้มครองแรงงาน และกำหนดวันกรรมกรเป็นวันหยุดตามประเพณีเช่นเดียวกัน แต่เนื่องจากสถานการณ์ในขณะนั้นผันแปรเป็นช่วงๆ ไป จึงมีคำชี้แจงจากกระทรวงออกมาแต่ละปีเตือนให้นายจ้างให้ลูกจ้างหยุดงานในวันที่ 1 พฤษภาคม แต่ขอร้องมิให้มีการเฉลิมฉลองทั้งนี้เพื่อความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง จนกระทั่ง พ.ศ.2517 ทางการเห็นว่าถึงเวลาแล้วที่จะเปิดให้มีการเฉลิมฉลองตามสมควร จึงมอบให้กรมแรงงาน กระทรวงมหาดไทย เริ่มจัดการฉลองวันแรงงานแห่งชาติขึ้นที่สวนลุมพินี ซึ่งมีการทำบุญตักบาตรตามประเพณีไทย มีนิทรรศการแสดงความรู้และกิจกรรมของแรงงาน มีการอภิปราย มีการละเล่นต่างๆ และนายกรัฐมนตรีกล่าวคำปราศรัยแก่พี่น้องชาวแรงงานทั่วราชอาณาจักร



การบริหารแรงงานแต่เดิมอยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงมหาดไทยแต่ต่อมารัฐบาลเล็งเห็นว่า ควรจะได้มีการยกระดับหน่วยงานบริหารด้านแรงงานให้มีงบประมาณและเจ้าหน้าที่อย่างเพียงพอ เพื่อการคุ้มครองดูแลผู้ใช้แรงงานที่มีอยู่ประมาณ 30 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่มีรายได้ต่ำและด้อยโอกาสในสังคม ดังนั้นในวันที่ 25 กรกฎาคม 2536 จึงได้มีประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา ให้จัดตั้งกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมขึ้น เพื่อให้การบริหารแรงงานได้มีความก้าวหน้าทัดเทียมนานาอารยประเทศ

 
 

ขอบคุณ : holidaythai.com
 

บันทึกการเข้า

finghting!!!
Gold Price today, Gold Trend Price Prediction, ราคาทองคํา, วิเคราะห์ทิศทางทองคํา
   

images by free.in.th
Thanks: ฝากรูป dictionary ---------------------Charts courtesy of Moore Research Center, Inc. For more information on Moore Research products and services click here. --- http://www.mrci.com ---------- ---------------------------------------------รูปกราฟแสดงราคาทองในอดีตปี 1974-1999 ของ Moore Research Center, Inc. แสดงฤดูกาลที่ราคาทองขึ้นสูงสุดและตําสุด เอาแบบคร่าวๆ เส้นนําตาลหรือนําเงินก็ใกล้เคียงกัน เส้นนําตาลเฉลี่ย 15 ปี เส้นนําเงินเฉลี่ย 26 ปี ราคาตําสุดของเส้นนําตาล หรือเฉลี่ย 15 ปี ในเดือน ปลายเดือน เมษ และปลายเดือน สค ต่อต้นเดือน กย[/color] สูงสุดในเดือน กพ กับ พย / ส่วนเฉลี่ย 26 ปี ราคาตําสุด ต้น กค กับ ปลาย สค และราคาสูงสุดในเดือน กพ และ กลางเดือน ตค ----- แค่ดูคร่าวๆ เป็นแนวทาง อย่ายึดมั่นว่าจะต้องเป็นตามนี้ ข้างล่างเป็นกราฟราคานํามัน ตามฤดูกาล จาก Charts courtesy of Moore Research Center, Inc. images by free.in.th
Thanks: ฝากรูป dictionary
 บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 6   ขึ้นบน
พิมพ์
กระโดดไป: