Forex-Currency Trading-Swiss based forex related website. Home ----- กระดานสนทนาหน้าแรก ----- Gold Chart,Silver,Copper,Oil Chart ----- gold-trend-price-prediction ----- ติดต่อเรา
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7   ลงล่าง
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: วิธีสร้างบุญบารมี  (อ่าน 22185 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 6 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
jainu
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #75 เมื่อ: มิถุนายน 23, 2012, 07:09:29 PM »

สมุดภาพพระพุทธประวัติ
ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร
ภาพที่ ๕๘
พระแม่น้าทูลถวายเฝ้า โปรดให้ถวายอชิตภิกษุ ซึ่งต่อไปจะตรัสรู้




ตามหลักฐานที่ปรากฎอยู่ในตำราศาสนาพุทธทั่วไป    โดยเฉพาะอย่างยิ่งตำราชั้นอรรถกถาที่
แต่งขึ้นโดยนักเขียนรุ่นหลังพระพุทธเจ้านิพพานแล้ว     ปรากฎว่าพระพุทธเจ้าเสด็จกลับกรุงกบิลพัสดุ์หลาย
ครั้ง

   ที่เห็นอยู่ในภาพสาธกนั้นก็เป็นตอนหนึ่งที่พระพุทธเจ้าเสด็จกรุงกบิลพัสดุ์  ปฐมสมโพธิว่าเป็น
การเสด็จครั้งที่สอง   สตรีที่นั่งอยู่เบื้องพระพักตร์นั้น   คือพระนางปชาบดีโคตมี  ซึ่งมีฐานันดรศักดิ์เป็นพระ
น้านางของพระพุทธเจ้า  เพราะพระนางเป็นน้องสาวแม่ของพระพุทธเจ้า  นี่ว่าอย่างสามัญ   เมื่อพระนางสิริ
มหามายาสิ้นพระชนม์แล้ว  พระเจ้าสุทโธทนะทรงได้พระนางปชาบดีโคตมีนี้เป็นชายา

   ตามท้องเรื่องว่า    พระนางปชาบดีโคตมี   ทรงดำริเมื่อคราวพระพุทธเจ้าเสด็จกรุงกบิลพัสดุ์
ครั้งแรกนั้น  พระนางไม่ได้ถวายอะไรพระพุทธเจ้าเลย  คราวนี้พระนางจึงนำผ้าสาฎก  ๒ ผืน ยาว  ๑๔ ศอก 
กว้าง  ๗  ศอกเสมอกัน  ไปถวายพระพุทธเจ้า   ปฐมสมโพธิว่า  ฝ้ายนั้นมีสีเหลืองดังทอง  โดยพระนางปลูก
ต้นฝ้ายเอง   ฝ้ายออกดอกมาเป็นสีเหลืองหม่น   เสร็จแล้วทอเองจนสำเร็จเป็นผืน  แล้วใส่ผอบทองนำไปถวาย
พระพุทธเจ้า

   พระพุทธเจ้าไม่ทรงรับ  พระนางเสียพระทัยจึงไปหาพระอานนท์เล่าความให้ฟัง พระอานนท์
จึงเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้ากราบทูลให้ทรงรับ   พระพุทธเจ้าก็ไม่ทรงรับ   ทรงชี้บอกพระนางให้นำไปถวายพระ
สงฆ์  แต่ก็ไม่มีพระสงฆ์องค์ใดยอมรับอีก   มีอยู่องค์เดียวเท่านั้นที่นั่งอยู่หางแถวอาสน์สงฆ์สุดยอมรับ   ท่าน
เป็นพระบวชใหม่  นามว่า  "อชิต"  ยังเป็นพระปุถุชน  แต่ในอนาคตปฐมสมโพธิว่าอชิตภิกษุนี้   คือ   พระศรี
อาริย์  ซึ่งจะเสด็จมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าเพื่อโปรดโลกสืบต่อไป 

   ที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงรับผ้าของพระนางปชาบดีโคตมี   เพราะทรงต้องการจะยกย่องความดี
ของพระสงฆ์สาวกให้เห็นว่า    แม้เพียงพระบวชใหม่ทรงศีลก็ควรแก่การรับของทำบุญของพุทธศาสนิกชน 
เพราะถ้าไม่ทรงทำให้เห็นอย่างนี้  ใครๆ  ก็จะถือว่าทำบุญกับพระพุทธเจ้านั้นจึงจะได้บุญ  แล้วเมื่อพระพุทธ
เจ้านิพพานล่วงไปแล้ว  พระสงฆ์สาวกก็จะลำบากเพราะทัศนะดังกล่าว


บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #76 เมื่อ: มิถุนายน 23, 2012, 07:15:09 PM »

สมุดภาพพระพุทธประวัติ
ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร
ภาพที่ ๕๙
ทรงห้ามพระญาติฝ่ายพระบิดากับฝ่ายพระมารดา
ซึ่งแย่งกันทดน้ำเข้านามิให้วิวาทกัน



ภาพที่เห็นอยู่นั้นแสดงถึงเหตุการณ์ตอนหนึ่งที่พระพุทธเจ้าเสด็จกลับเมืองพระญาติ  แต่คราว
นี้เสด็จมาลำพังพระองค์เดียว   เสด็จมาเพื่อทรงระงับสงครามระหว่างพระญาติทั้งสองฝ่าย   พระญาติฝ่าย
หนึ่งเป็นพระญาติฝ่ายพุทธบิดา  ปกครองกรุงกบิลพัสดุ์  อีกฝ่ายหนึ่งเป็นพระญาติฝ่ายพุทธมารดา  ปกครอง
โกลิยนคร  หรือเทวทหนครก็เรียก  ทั้งสองฝ่ายตั้งบ้านเมืองอยู่คนละริมฝั่งแม่น้ำโรหิณี  แล้วเกิดพิพาทกันใน
ปัญหาเรื่องน้ำที่ทดขึ้นทำนา   เมื่อฝ่ายอยู่ทางเหนือน้ำทดน้ำจากแม่น้ำเข้านา   ฝ่ายทางใต้ก็ขาดน้ำ    ทั้งสอง
ฝ่ายเปิดประชุมเพื่อตกลงกันก่อน    แต่ก็ตกลงกันไม่ได้จึงเกิดปะทะคารมกันอย่างรุนแรงถึงกับขุดบรรพบุรุษ
ขึ้นมาประณามกัน

   "พวกสุนัขจิ้งจอกสมสู่กันเอง"  ฝ่ายที่ถูกด่าว่าอย่างนี้   เพราะต้นสกุลหลายชั่วคนมาแล้วได้
อภิเษกสมรสกันเองระหว่างพี่ชายกับน้องสาว

   "พวกขี้เรื้อน"  ฝ่ายตรงกันข้ามที่ถูกด่าตอบอย่างนี้  ก็เพราะต้นสกุลเป็นโรคเรื้อนถูกเนรเทศ
ออกนอกเมืองไปอยู่ป่า

   ทั้งสองฝ่ายเตรียมกำลังคนคือทหารและอาวุธจะเข้าห้ำหั่นกัน  พระพุทธเจ้าทรงทราบเข้า จึง
เสด็จมาทรงระงับสงคราม  ทรงประชุมพระญาติทั้งสองฝ่ายแล้วทรงซักถามถึงต้นตอของตัวปัญหา

   พระพุทธเจ้า      "ทะเลาะกันเรื่องอะไร"
   พระญาติ      "เรื่องน้ำ  พระพุทธเจ้าข้า"   
             พระพุทธเจ้า      "ระหว่างน้ำกับชีวิตคนนี่อย่างไหนจะมีค่ามากกว่ากัน"
   พระญาติ      "ชีวิตคนมากกว่า  พระพุทธเจ้าข้า"
   พระพุทธเจ้า      "ควรแล้วหรือที่ทำอย่างนี้"
   พระญาติดุษณีภาพทุกคน   ไม่มีใครกราบทูลเลย
   พระพุทธเจ้า      "ถ้าเราตถาคตไม่มาที่นี่วันนี้  ทะเลเลือดจะไหลนอง"
         (โลหิตนที ปวัตติสสติ)

   พระญาติทั้งสองฝ่ายเลยเลิกเตรียมทำสงครามกัน    เหตุการณ์ตอนนี้เป็นบทบาทสำคัญตอน
หนึ่งของพระพุทธเจ้า  เพราะเห็นความสำคัญนี้  คนรุ่นต่อมาจึงสร้างพระพุทธรูปขึ้นปางหนึ่งเป็นอนุสรณ์
ที่เรียกกันว่า "พระปางห้ามญาติ"  นั่นเอง

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 03, 2012, 07:08:57 PM โดย nujai » บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #77 เมื่อ: มิถุนายน 23, 2012, 07:18:11 PM »

สมุดภาพพระพุทธประวัติ
ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร
ภาพที่ ๖๐
พระพุทธบิดาประชวร เสด็จไปโปรดกระทั่งสำเร็จพระอรหันต์แล้วนิพพาน


ในปีที่ ๕  นับตั้งแต่ตรัสรู้เป็นต้นมา  กำหนดเวลานี้ว่าตามปฐมสมโพธิ  พระพุทธเจ้าเสด็จประ
ทับอยู่ที่ป่ามหาวัน   ใกล้กรุงไพศาลี  ได้ทรงทราบข่าวว่าพระเจ้าสุทโธทนะพุทธบิดาทรงประชวรหนักด้วย
พระโรคชรา  ทรงปรารถนาจะได้เฝ้าพระพุทธเจ้า  ตลอดถึงพระภิกษุสงฆ์ที่เป็นเจ้าศากยะและเป็นพระญาติ
อีกหลายรูปที่เสด็จออกบวชตามพระพุทธเจ้า  เช่น  พระอานนท์  พระนันทะ  และสามเณรราหุลผู้เป็นหลาน

   พระพุทธเจ้าจึงรับสั่งพระอานนท์ให้แจ้งข่าวพระสงฆ์     ถึงเรื่องที่พระองค์จะเสด็จกรุงกบิล
พัสดุ์อีกวาระหนึ่ง

   การเสด็จกรุงกบิลพัสดุ์ของพระพุทธเจ้า     เพื่อทรงเยี่ยมพุทธบิดาที่กำลังทรงประชวรครั้งนี้  
ดูเหมือนจะเป็นครั้งสุดท้าย

   เมื่อเสด็จถึงกรุงกบิลพัสดุ์ได้เสด็จเข้าเยี่ยมพุทธบิดา ซึ่งมีพระอาการเพียบหนักแล้ว  ทรงแสดง
ธรรมโปรดพุทธบิดาด้วยเรื่องความเป็นอนิจจังของสังขาร ปฐมสมโพธิบันทึกพระธรรมเทศนาของพระพุทธ
เจ้าครั้งนี้ไว้ตอนหนึ่งว่า

   "ดูกรบพิตร      อันว่าชีวิตแห่งมนุษย์ทั้งหลายนี้น้อยนักดำรงอยู่    โดยพลันบ่มิได้ยั่งยืนอยู่ช้า
ครุวนาดุจสายฟ้าแลบอันปรากฎมิได้นาน..."


   พระเจ้าสุทโธทนะซึ่งทรงสำเร็จอนาคามิผลอยู่ก่อนแล้ว  ได้สดับพระธรรมเทศนา  ตั้งแต่ต้น
จนจบก็ได้สำเร็จอรหันต์ในบั้นปลายแห่งพระชนม์ชีพ  หลังจากนั้นอีก  ๗  วันก็สิ้นพระชนม์ (ปรินิพพาน)

   พระพุทธเจ้าเสด็จสรงน้ำพระศพพุทธบิดา  และถวายพระเพลิงพร้อมด้วยพระสงฆ์พระประ
ยูรญาติศากยะทั้งมวลจนเสร็จสิ้น


 
 

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 03, 2012, 07:12:49 PM โดย nujai » บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #78 เมื่อ: มิถุนายน 23, 2012, 07:21:23 PM »

สมุดภาพพระพุทธประวัติ
ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร
ภาพที่ ๖๑
พระแม่น้ามหาปชาบดีโคตมี นำนางกษัตริย์บริวารไปทูลขออุปสมบทเป็นภิกษุณี




ภายหลังพระเจ้าสุทโธทนะสิ้นพระชนม์แล้วไม่นาน   พระนางปชาบดีโคตมี  พระน้านางของ
พระพุทธเจ้า   หรือนัยหนึ่งพระชายาของพระเจ้าสุทโธทนะ   พร้อมด้วยนางกษัตริย์ผู้บริวาร   ได้เข้าไปเฝ้า
พระพุทธเจ้า  ซึ่งขณะนั้นยังเสด็จประทับอยู่ที่นิโครธาราม  กรุงกบิลพัสดุ์  เพื่อทูลขอบวช

   พระนางทูลถามพระพุทธเจ้าว่า  ธรรมดาสตรีจะบวชในพระพุทธศาสนาได้ (อย่างบุรุษ) หรือ
ไม่พระพุทธเจ้าทรงตอบบ่ายเบี่ยงว่า  อย่าได้มายินดีในการบวชเลย  ทรงตอบอย่างนี้ถึงสามครั้ง

   หลังจากนั้น   พระพุทธเจ้าเสด็จกลับกรุงไพศาลี    พระนางปชาบดีโคตมีพร้อมด้วยบริวารได้
ตามเสด็จไปอีก   คราวนี้ทุกนางต่างปลงผม   นุ่งห่มผ้าย้อมฝาดอย่างนักบวช  เข้าไปทูลขอบวชกับพระพุทธ
เจ้า  พระพุทธเจ้าทรงปฏิเสธอีก

   พระนางจึงเข้าไปขอพึ่งพระบารมีพระอานนท์   เพื่อให้กราบทูลพระพุทธเจ้าให้ทรงอนุญาต  
พระอานนท์จึงเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า    กราบทูลขอร้องพระพุทธเจ้าให้ทรงอนุญาตให้พระนางปชาบดีโคตมี
และบริวารได้บวชเป็นนางภิกษุณี

   พระพุทธเจ้าทรงปฏิเสธอยู่ถึงสามครั้ง  ในที่สุดจึงทรงอนุญาตอย่างมีเงื่อนไขว่า  ถ้าพระนาง
  ปชาบดีโคตมียอมรับ ครุธรรม ๘  ข้อได้  ก็จะให้บวชเป็นนางภิกษุณีได้  ครุธรรม  คือ  หลักการเบื้องต้นสำ
หรับสตรีที่จะบวชเป็นนางภิกษุณี  เช่นว่า  สตรีบวชเป็นนางภิกษุณีแล้ว แม้จะมีพรรษาตั้งหนึ่งร้อย  ก็จะต้อง
กราบไหว้พระภิกษุซึ่งบวชใหม่ในวันนั้น  จะต้องรักษาศีล ๖  ข้อไม่ให้ขาดอยู่จนครบสองปีก่อนจึงจะบวชได้  
เป็นต้น

   พระนางปชาบดีโคตมีมีศรัทธาแรงกล้ามาก  จึงยอมรับและได้บวชเป็นนางภิกษุณีเป็นคนแรก
ในศาสนาพุทธ     แต่คณะสงฆ์ภิกษุณีก็อยู่ได้ไม่นาน    เพราะมีหลักฐานเชื่อได้ว่าสูญสิ้นไปก่อนพระพุทธเจ้า
นิพพานด้วยซ้ำไป   เหตุผลก็เพราะบทบัญญัติที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติขึ้น   เป็นดุจกำแพงล้อมนางภิกษุณี
นั้น  เข้มงวดกว่าฝ่ายพระภิกษุหลายเท่า  จนคนไม่มีศรัทธาจริงๆ จะบวชอยู่ไม่ได้เลย


 
 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 03, 2012, 07:12:26 PM โดย nujai » บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #79 เมื่อ: มิถุนายน 23, 2012, 07:24:48 PM »

สมุดภาพพระพุทธประวัติ
ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร
ภาพที่ ๖๒
ทรงสำแดงยมกปาฏิหาริย์ข่มพวกเดียรถีย์ที่ต้นมะม่วงคัณฑามพฤกษ์


ภาพที่เห็นนั้น  เป็นตอนพระพุทธเจ้าทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ที่เมืองสาวัตถี  แคว้นโกศล  ใน
วันเพ็ญกลางเดือนแปดก่อนวันเข้าพรรษาหนึ่งวัน

   ปาฏิหาริย์   คือ   การแสดงให้คนเห็นเป็นที่อัศจรรย์    ซึ่งสามัญชนหรือคนที่ไม่เคยเรียนรู้มา
ก่อนแสดงไม่ได้  มีตั้งแต่อย่างต่ำ  เช่น  เล่นกล  หรือที่เรียกว่าแสดงปาหี่  ขึ้นไปจนถึงเดินบนน้ำ  ดำดิน   ลุย
ไฟ  กลืนกินตะปู  ที่พวกฤาษีแสดง   ตลอดถึงการเหาะเหินเดินอากาศที่ผู้มีฤทธิ์แสดง  ปุถุชนแสดงได้   พระ
อรหันต์ผู้ได้ฌาณได้ฤทธิ์ก็แสดงได้

   ยมก  แปลว่า  คู่หรือสอง  ยมกปาฏิหาริย์  คือ  การแสดงคู่  น้ำคู่กับไฟ  คือเวลาแสดง  ท่อน้ำ
ใหญ่พุ่งออกจากพระกายเบื้องบนของพระพุทธเจ้า  เปลวไฟพุ่งเป็นลำออกจากพระกายเบื้องล่าง  เป็นต้น

   ยมกปาฏิหาริย์แสดงได้แต่ผู้เดียว  คือผู้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า  ส่วนพระอรหันตสาวก  และ
เดียรถีย์  ฤาษีชีไพรแสดงได้แต่ปาฏิหาริย์ธรรมดา  เช่น  เดินบนน้ำ  ดำดิน  เป็นต้น

   สถานที่ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ครั้งนี้   คือที่โคนต้นมะม่วง  หรือ  คัณฑาม
พฤกษ์  ในเมืองสาวัตถี  มูลเหตุที่ทรงแสดงคือ   เพราะพวกเดียรถีย์นักบวชนอกศาสนาพุทธ  ท้าพระพุทธ
เจ้าแข่งแสดงปาฏิหาริย์ว่าใครจะเก่งกว่ากัน     พวกเดียรถีย์ทราบว่าพระพุทธเจ้าจะแสดงยมกปาฏิหาริย์ที่
โคนต้นมะม่วง   จึงให้สาวกและชาวบ้านที่นับถือพวกตน  จัดการโค่นต้นมะม่วงเสียสิ้น   ทราบว่าบ้านใคร
สวนใครมีต้นมะม่วงก็ใช้อิทธิพลทางการเงินซื้อ  แล้วโค่นทำลายหมด   แม้หน่อมะม่วงที่เกิดในวันนั้นก็ทำ
ลายไม่เหลือ

   แต่พระพุทธเจ้าก็ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ที่โคนต้นมะม่วงจนได้    โดยมีผู้นำผลมะม่วงสุก
มาถวาย  ทรงฉันเสร็จแล้ว รับสั่งให้คนปลูกเมล็ดลงดิน  แล้วพระองค์ทรงใช้น้ำที่ล้างพระหัตถ์รด ปรากฎ
ว่าหน่อมะม่วงโตพรวดพราด  แตกกิ่งก้านสูงขึ้นถึง  ๕๐  ศอก  ผลที่สุดพวกเดียรถีย์พ่ายแพ้ไป


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 03, 2012, 07:12:05 PM โดย nujai » บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #80 เมื่อ: กรกฎาคม 03, 2012, 06:55:08 PM »

สมุดภาพพระพุทธประวัติ
ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร
ภาพที่ ๖๓
แล้วเสด็จขึ้นไปจำพรรษาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อโปรดพระพุทธมารดา


ภายหลังทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์เสร็จสิ้น    จนพวกเดียรถีย์ที่มาท้าแข่งพ่ายแพ้ไปแล้ว  พระ
พุทธเจ้าทรงมีพุทธดำริถึงจารีตธรรมเนียมของบรรดาพระพุทธเจ้าทั้งหลายในปางก่อนว่า    เมื่อทรงแสดง
ยมกปาฏิหาริย์แล้ว   เสด็จทรงจำพรรษา  ณ  ที่ใด  ก็ทรงทราบได้ด้วยพุทธญาณว่าทรงจำพรรษาที่สวรรค์
ชั้นดาวดึงส์

   ปฐมสมโพธิลำดับการเสด็จจำพรรษาของพระพุทธเจ้าไว้ว่า   ในพรรษาที่  ๗   (นับแต่ตรัสรู้
เป็นต้นมา)  ได้เสด็จจำพรรษาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์

   ตามนิยายท้องเรื่องทั้งจากปฐมสมโพธิ   และข้อเขียนโดยนักเขียนทางศาสนาพุทธอื่นๆ   ยุค
หลังพระพุทธเจ้านิพพานแล้ว  ที่เรียกกันว่า  'อรรถกถา'   กล่าวตรงกันว่า  เหตุที่พระพุทธเจ้าเสด็จจำพรร
ษาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์   ก็เพราะทรงต้องการจะแสดงธรรมโปรดพุทธมารดา  คือ   พระนางสิริมหามายา  
ซึ่งเมื่อสิ้นพระชนม์แล้ว  เสด็จบังเกิดที่สวรรค์ชั้นดุสิต

   พระพุทธเจ้าเสด็จประทับจำพรรษาที่โคนต้นปาริฉัตร   ต้นไม้สวรรค์   มีผู้แปลกันว่า   ได้แก่  
ต้นทองหลาง  ผิดถูกอย่างไรไม่ทราบ  ภายใต้ต้นไม้สวรรค์นี้มีแท่นแผ่นหิน ปูลาดด้วยผ้ากัมพลสีแดง  เรียก
ว่า  'บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์'

   พระอินทร์จอมเทพได้ทรงทราบว่าพระพุทธเจ้าเสด็จมาทรงจำพรรษาที่นี้     ก็ทรงป่าวประ
กาศหมู่เทพยดาในสรวงสวรรค์ให้มาร่วมชุมนุม  เพื่อฟังธรรมพระพุทธเจ้า  ปฐมสมโพธิว่า  เสียงป่าวประ
กาศของพระอินทร์นั้น  ดังปกแผ่ทั่วไปในสกลเทพยธานีทั้งหมื่นโยชน์  เทพเจ้าทั้งปวงได้สดับก็บังเกิดโสม
นัสพิศวง  ต่างองค์ร้องเรียกซึ่งกันและกันต่อๆ  กันไปจนตลอดถึงหมื่นจักรวาล

   แม้พระนางสิริมหามายาพุทธมารดา  ซึ่งทรงอยู่ในเพศเทพบุตรในสวรรค์ชั้นดุสิตก็ได้เสด็จ
มาฟังธรรมพระพุทธเจ้า  พระพุทธเจ้าทรงแสดงอภิธรรมโปรดพุทธมารดาตลอดพรรษา   พุทธมารดาได้
สดับแล้วทรงบรรลุโสดาปัตติผลในที่สุด    ส่วนเทพนอกนั้นอีกจำนวนมาก    ได้บรรลุมรรคผลตามสมควร
อุปนิสัยแห่งตน


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 03, 2012, 07:11:42 PM โดย nujai » บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #81 เมื่อ: กรกฎาคม 03, 2012, 06:57:36 PM »

สมุดภาพพระพุทธประวัติ
ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร
ภาพที่ ๖๔
ถึงวันมหาปวารณา เสด็จลงจากดาวดึงส์โดยบันไดแก้ว บันไดทอง บันไดเงิน





ภาพที่เห็นนั้น  เป็นตอนพระพุทธเจ้าเสด็จลงจากเทวโลก  คือ  จากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์  เมื่อภาย
หลังเสด็จจำพรรษาที่สวรรค์ชั้นดังกล่าวเพื่อแสดงธรรมโปรดพุทธมารดาแล้ว วันที่เสด็จลงคือวันออกพรรษา  
เมืองที่เสด็จลงคือเมืองสังกัสนคร   เสด็จลงตรงประตูเมือง  พระบาทแรกที่ทรงเหยียบพื้นโลกนั้น    ต่อมาได้
กลายเป็นสถานที่ระลึกเรียกว่า  'อจลเจดีย์'   เรียกอย่างไทยเราก็ว่า  'รอยพระพุทธบาท'  ตามตำนานว่าที่นี่เป็น
ที่แห่งหนึ่งซึ่งมีรอยพระพุทธบาทปรากฎอยู่

   ก่อนพระพุทธเจ้าเสด็จลง    เทพเจ้าคือพระอินทร์ได้เนรมิตบันได  ๓  บันไดเป็นที่เสด็จลง  คือ
บันไดทอง  บันไดเงิน  และบันไดแก้วมณี    บันไดทองสำหรับหมู่เทพลงอยู่ด้านขวา  บันไดเงินอยู่ด้านซ้ายสำ
หรับท้าวมหาพรหม   และบันไดแก้วมณีอยู่ตรงกลางสำหรับพระพุทธเจ้า   หัวบันไดแต่ละอันพาดที่เขาสิเนรุ  
เชิงบันไดทอดลงยังประตูเมืองสังกัสนคร

   หมู่คนทางเบื้องขวาของพระพุทธเจ้าอย่างที่เห็นในภาพ   จึงคือหมู่เทพที่ตามส่งเสด็จ   เบื้อง
ซ้ายผู้ถือฉัตรกั้นถวายพระพุทธเจ้าคือท้าวมหาพรหม    ผู้อุ้มบาตรนำเสด็จพระพุทธเจ้าคือพระอินทร์    ผู้ถือ
พิณบรรเลงถัดมาคือปัญจสิงขรคนธรรพ์เทพบุตร  ถัดมาเบื้องขวาคือมาตุลีเทพบุตร  ซึ่งถือพานดอกไม้ทิพย์
โปรยปรายนำทางเสด็จพุทธดำเนิน

   พระพุทธเจ้าทรงเป็นวิสุทธิเทพผู้บริสุทธิ์        นักเขียนศาสนาพุทธรุ่นต่อมาจึงถวายพระนาม
เฉลิมพระเกียรติอย่างหนึ่งว่า  'เทวาติเทพ'  แปลว่า  ทรงเป็นเทพยิ่งกว่าเทพทุกชั้น   เทพต่างๆ ที่คนอินเดีย
ในสมัยนั้นนับถือกัน  เช่น  พระอินทร์  และท้าวมหาพรหม  เป็นต้น

   คนผู้นับถือศาสนาพุทธในเมืองไทย  ถือกันว่าวันออกพรรษาเป็นวันสำคัญวันหนึ่ง   จึงนิยมทำ
บุญตักบาตรกันในวันนี้   เพราะถือว่าเป็นวันที่พระพุทธเจ้าเคยเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์    เรียกการตัก
บาตรนี้ว่า  'ตักบาตรเทโว'    ย่อมาจากเทโวโรหณะ  แปลว่า  ตักบาตรเนื่องในวันคล้ายวันพระพุทธเจ้าเสด็จ
ลงจากเทวโลกนั่นเอง


 
 

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 03, 2012, 07:11:23 PM โดย nujai » บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #82 เมื่อ: กรกฎาคม 03, 2012, 07:00:25 PM »

สมุดภาพพระพุทธประวัติ
ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร
ภาพที่ ๖๕
ครั้นแล้วก็ทรงเปิดโลก บันดาลให้เทวดา มนุษย์ และสัตว์นรกแลเห็นซึ่งกันและกัน





วันที่พระพุทธองค์เสด็จลงจากดาวดึงส์นั้น  พระองค์ได้แสดงปาฏิหาริย์อีกครั้งหนึ่ง  คือขณะ
ที่พระองค์ประทับยืนอยู่ที่บันไดแก้ว    ทรงทอดพระเนตรไปทางทิศเบื้องบน    เทวโลกและพรหมโลกก็เปิด
มองเห็นโล่ง  เมื่อทรงทอดพระเนตรไปในทิศเบื้องต่ำ นิรยโลกทั้งหลายก็เปิดโล่ง  ในครั้งนั้น สวรรค์  มนุษย์
และสัตว์นรก  ต่างก็เห็นซึ่งกันและกันทั่วจักรวาล

   ภาพนี้อยู่ในเหตุการณ์ตอนเดียวกับวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์  เรียกเหตุ
การณ์ตอนนี้ว่าพระพุทธเจ้าทรงเปิดโลก  โลกที่ทรงเปิดในเหตุการณ์คราวนี้มี  ๓  โลก  คือ  เทวโลก   มนุษย
โลก  และยมโลก

   เทวโลก  หมายถึง  ตั้งแต่พรหมโลกลงมาจนถึงสวรรค์ทุกชั้น   มนุษย์โลกก็คือโลกมนุษย์   และ
ยมโลกซึ่งอยู่ทางเบื้องต่ำ  คือ  นรกทุกขุมจนกระทั่งถึงอเวจีมหานรก

   พระพุทธเจ้าขณะเสด็จลงจากสวรรค์  ทอดพระเนตรดูเบื้องบนโลกทั้งมวลตั้งแต่มนุษย์ก็สว่าง
โล่งขึ้นไปถึงเทวโลก  เมื่อทรงเหลียวไปรอบทิศรอบด้านสากลจักรวาลก็โล่งถึงกันหมด และเมื่อทอดพระเนตร
ลงเบื้องล่าง  ความสว่างก็เปิดโล่งลงไปถึงนรกทุกขุม

   ผู้อาศัยอยู่ในสามโลกต่างมองเห็นกัน   มนุษย์เห็นเทวดา   เทวดาเห็นมนุษย์   มนุษย์และเทวดา
เห็นสัตว์นรก  สัตว์นรกเห็นเทวดาและมนุษย์ แล้วต่างเหลียวมองดูพระพุทธเจ้าผู้เสด็จลงจากสวรรค์ด้วยพระ
เกียรติยศอันยิ่งใหญ่

   คัมภีร์ธรรมบทที่พระพุทธโฆษาจารย์เป็นผู้แต่งบอกว่า "วันนี้คนทั้งสามโลกได้เห็นแล้ว  ที่ไม่
อยากเป็นพระพุทธเจ้านั้นไม่มีเลยสักคน"
 ปฐมสมโพธิพรรณนาไว้ยิ่งกว่านี้เสียอีก  คือว่า

   "ครั้งนั้นเทพยดามนุษย์แลสัตว์เดรัจฉาน กำหนดที่สุดมดดำมดแดง  ซึ่งได้เห็นองค์พระชินสีห์  
แลสัตว์คนใดคนหนึ่งซึ่งจะมิได้ปรารถนาพุทธภูมินั้นมิได้มีเป็นอันขาด"


   พุทธภูมิ  คือ  ความเป็นพระพุทธเจ้า


 
 

 
 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 03, 2012, 07:11:07 PM โดย nujai » บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #83 เมื่อ: กรกฎาคม 03, 2012, 07:02:54 PM »

สมุดภาพพระพุทธประวัติ
ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร
ภาพที่ ๖๖
ครั้งหนึ่งเสด็จไปจำพรรษา ณ ป่าปาเลไล โดยมีช้างกับลิง เป็นพุทธอุปัฏฐาก


ภาพที่เห็นนี้เป็นภาพเหตุการณ์ตอนหนึ่งในพระประวัติของพระพุทธเจ้า  เป็นตอนที่พระพุทธ
เจ้าเสด็จไปจำพรรษาในป่าโดยลำพังพระองค์       ไม่มีพระภิกษุหรือใครอื่นตามเสด็จไปจำพรรษาอยู่ด้วยเลย  
ป่าที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปจำพรรษาครั้งนี้เป็นป่าใหญ่  เป็นที่อยู่อาศัยของช้างโทนเชือกหนึ่ง  ชื่อว่า  'ปาลิไลย
กะ'  หรือ  'ปาลิไลยก์'   ป่าแห่งนี้จึงได้นามตามช้างนี้ว่า  'ป่าปาลิไลยก์'    คนไทยเราเรียกว่า  'ป่าปาเลไล'  อัน
เดียวกันนั่นเอง

   มูลเหตุที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปจำพรรษาที่ป่าแห่งนี้  เพราะทรงรำคาญพระภิกษุชาวเมืองโกสัม
พีสองคณะพิพาทและแตกสามัคคีกัน   ถึงกับไม่ยอมลงโบสถ์ร่วมกัน   พระพุทธเจ้าทรงทราบเข้า  ได้เสด็จมา
ทรงระงับให้ปรองดองกัน    แต่พระภิษุทั้งสองคณะก็ไม่เชื่อฟัง  พระพุทธเจ้าจึงเสด็จหลีกไปจำพรรษาอยู่ใน
ดังกล่าว

   ด้วยอำนาจพุทธบารมีและพระเมตตาของพระพุทธเจ้า  ช้างชื่อปาลิไลยก์ได้เข้ามาอุปัฏฐากพระ
พุทธเจ้า    เช้าขึ้นหาผลไม้ในป่ามาถวาย   ตอนเย็นต้มน้ำร้อยถวายพระพุทธเจ้าด้วยวิธีกลิ้งก้อนหินที่เผาไฟให้
ร้อนลงในแอ่งน้ำ

   ลิงตัวหนึ่งเห็นช้างปรนนิบัติถวายพระพุทธเจ้า   ก็ได้นำรวงฝึ้งมาถวายพระพุทธเจ้าบ้าง  พระ
พุทธเจ้าทรงรับแต่ไม่ทรงฉัน  ลิงจึงเข้าไปนำรวงผึ้งกลับมาพิจารณาดู  เมื่อเห็นตัวอ่อนของฝึ้ง  จึงนำตัวอ่อน
ออกหมดแล้วนำแต่ผึ้งหวานเข้าไปถวายใหม่  คราวนี้พระพุทธเจ้าทรงรับแล้วฉัน  ลิงแอบดูอยู่บนต้นไม้  เห็น
พระพุทธเจ้าทรงฉันรวงผึ้งของตน  ก็ดีใจ  กระโดดโลดเต้นบนกิ่งไม้    จนพลัดตกลงมาถูกตอไม้แหลมเสียบ
ท้องทะลุตาย

   เมื่อออกพรรษา   พระภิกษุที่แตกกันเป็นสองฝ่ายยอมสามัคคีกัน  เพราะชาวบ้านไม่ยอมทำบุญ
ใส่บาตรให้  ได้ส่งผู้แทนไปกราบทูลพระพุทธเจ้าเสด็จกลับเข้าเมือง  ช้างปาลิไลยก์อาลัยพระพุทธเจ้านักหนา  
เดินตามพระพุทธเจ้าออกจากป่า  ทำท่าจะตามเข้าไปในเมืองด้วย  พระพุทธเจ้าจึงทรงหันไปตรัสบอกช้างว่า  
"ปาลิไลยก์!  ถิ่นของเธอหมดแค่นี้  แต่นี้ไปเป็นถิ่นที่อยู่ของมนุษย์  ซึ่งเป็นภัยต่อสัตว์เดรัจฉานเช่นเธอ   เธอไป
ด้วยไม่ได้หรอก"


   ช้างปาลิไลยก์ยืนร้องไห้เสียใจไม่กล้าเดินตามพระพุทธเจ้า  พอพระพุทธเจ้าลับสายตาก็เลยอก
แตกตายอยู่  ณ  ที่นั้น  คัมภีร์บอกว่าทั้งลิงและช้างตายแล้วไปเกิดเป็นเทพบุตรอยู่ที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 03, 2012, 07:10:43 PM โดย nujai » บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #84 เมื่อ: กรกฎาคม 03, 2012, 07:04:39 PM »

สมุดภาพพระพุทธประวัติ
ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร
ภาพที่ ๖๗
ถึงเพ็ญเดือน ๓ พรรษาที่ ๔๕
พญามารเข้าเฝ้าทูลให้เสด็จปรินิพพานทรงรับอาราธนา


พระพุทธเจ้าเสด็จจาริกประกาศพระศาสนาตามแคว้นและเมืองต่างๆ   เป็นเวลา  ๔๕  พรรษา
นับตั้งแต่วันตรัสรู้เป็นต้นมา พรรษาที่ ๔๕  จึงเป็นพรรษาสุดท้ายของพระพุทธเจ้า  และเป็นเวลาที่พระพุทธ
เจ้าทรงมีพระชนมายุได้  ๘๐  ปี  นับแต่ประสูติเป็นต้นมา

   พรรษาสุดท้าย   พระพุทธเจ้าเสด็จประทับอยู่ที่เวฬุคาม  แขวงเมืองไพศาลี   ระหว่างพรรษา
ทรงพระประชวรเพราะอาพาธหนัก  จวนเจียนจะเสด็จนิพพาน  พระสงฆ์ทั้งปวงที่ยังเป็นปุถุชน หรือแม้แต่
พระอานนท์  องค์อุปัฏฐากต่างก็หวั่นไหว  เพราะตวามตกใจที่เห็นพระพุทธเจ้าประชวรหนัก   พระพุทธเจ้า
ตรัสบอกพระอานนท์ว่า   เวลานี้พระกายของพระองค์ถึงอาการชรามาก  มีสภาพเหมือนเกวียนชำรุด  ที่ซ่อม
แซมด้วยไม้ไผ่

   ทรงหายจากอาพาธคราวนี้แล้ว  และเมื่อออกพรรษาแล้ว  พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระอานนท์
เสด็จไปประทับที่ร่มพฤกษาแห่งหนึ่งในปาวาลเจดีย์   แขวงเมืองไพศาลี    เวลากลางวัน    พระพุทธเจ้าทรง
แสดงโอภาศนิมิตแก่พระอานนท์ว่า  'อิทธิบาทสี่'  (ชื่อของธรรมหมวดหนึ่งมี  ๔  ข้อ)   ถ้าผู้ใดได้บำเพ็ญได้
เต็มเปี่ยมแล้ว  สามารถจะต่ออายุให้ยืนยาวไปได้อีกกำหนดระยะเวลาหนึ่ง

   'โอภาสนิมิต'  แปลเป็นภาษาชาวบ้านว่าบอกใบ้   คือพระพุทธเจ้ามีพระชนมายุจะสิ้นสุดลงใน
ปีที่กล่าวนี้    จึงทรงบอกใบ้ให้พระอานนท์กราบทูลอาราธนาให้พระพุทธเจ้าทรงมีพระชนมายุยืนยาวต่อไป
อีกระยะหนึ่ง  แต่พระอานนท์ท่านนึกไม่ออก  ทั้งๆ  ที่พระพุทธเจ้าทรงบอกใบ้ถึง  ๓  หน

   ปฐมสมโพธิบอกว่า   เมื่อพระอานนท์นึกไม่ออกเช่นนั้น  พระพุทธเจ้าจึงตรัสบอกพระอานนท์
ให้ไปนั่งอยู่ที่ใต้ร่มไม้อีกแห่งหนึ่ง  แล้วมารก็เข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า  กราบทูลพระพุทธเจ้าให้เสด็จนิพพาน  
พระพุทธเจ้าทรงรับคำแล้วทรงปลงอายุสังขาร

   'ปลงอายุสังขาร'    แปลเป็นภาษาสามัญได้ว่ากำหนดวันตายไว้ล่วงหน้า     วันนั้นเป็นวันเพ็ญ
เดือนสาม  พระพุทธเจ้าตรัสว่า  นับจากนี้ไปอีก  ๓  เดือนข้างหน้า  (กลางเดือนหก)    พระองค์จะนิพพานที่
เมืองกุสินารา


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 03, 2012, 07:10:15 PM โดย nujai » บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #85 เมื่อ: กรกฎาคม 03, 2012, 07:07:08 PM »

สมุดภาพพระพุทธประวัติ
ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร
ภาพที่ ๖๘
มีพระพุทธฎีกาตรัสแก่พระอานนท์ว่า ทรงปลงอายุสังขารแล้ว
อีกสามเดือนจะนิพพาน


เมื่อพระพุทธเจ้าทรงปลงอายุสังขาร  คือ  ทรงประกาศกำหนดวันจะเสด็จนิพพานไว้ล่วงหน้า
ถึง  ๓  เดือน   พลันก็ยังเกิดอัศจรรย์แผ่นดินไหว  ผู้คนที่ได้ทราบข่าวต่างๆ  เกิดขนลุก   ปฐมสมโพธิว่ากลอง
ทิพย์ก็บันลือไปในอากาศ  พระอานนท์ประสบเหตุอัศจรรย์นั้น  จึงออกจากร่มพฤกษาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าแล้ว
ทูลถามถึงเหตุเกิดอัศจรรย์  คือแผ่นดินไหว  พระพุทธเจ้าจึงตรัสกับพระอานนท์ว่า  เหตุที่จะเกิดแผ่นดินไหว
นั้นมี  ๘  อย่าง  คือ

         ๑.   ลมกำเริบ
         ๒.   ผู้มีฤทธิ์บันดาล
         ๓.   พระโพธิสัตว์จุติจากชั้นดุสิต  มีสติสัมปชัญญะ  ลงสู่พระครรภ์พระมารดา
         ๔.   พระโพธิสัตว์มีสติสัมปชัญญะ  ประสูติจากพระครรภ์พระมารดา
         ๕.   พระพุทธเจ้าตรัสรู้
         ๖.   พระพุทธเจ้าตรัสปฐมเทศนา
         ๗.   พระพุทธเจ้าทรงปลงอายุสังขาร
         ๘.   พระพุทธเจ้านิพพาน

   พระพุทธเจ้าตรัสบอกพระอานนท์ว่า  ที่เกิดแผ่นดินไหวครั้งนี้ในวันนี้   เกิดจากพระองค์ทรง
ปลงอายุสังขาร  พอได้ฟังดังนั้น  พระอานนท์นึกได้  คือ  ได้สติตอนนี้  จึงจำได้ว่าพระพุทธเจ้าเคยตรัสบอก
ท่านว่า  ธรรมะ  ๔  ข้อที่เรียกว่า   อิทธิบาท  ๔  คือ    ความพอใจ  ความเพียง  ความฝักใฝ่  และความใตร่
ตรอง   ถ้าผู้ใดได้บำเพ็ญปฏิบัติให้เต็มเปี่ยมแล้ว  ปรารถนาจะให้ชีวิตซึ่งถึงกำหนดดับหรือตาย  ได้มีอายุยืน
ยาวต่อไปอีกระยะหนึ่งก็ย่อมทำได้

   พอนึกได้เช่นนี้   พระอานนท์จึงกราบทูลอาราธนาพระพุทธเจ้า  ให้ทรงใช้อิทธิบาท  ๔  นั้น
ต่อพระชนมายุยืนยาวต่อไปอีก  พระพุทธเจ้าทรงปฏิเสธถึง ๓  ครั้ง  ตรัสว่าพระองค์เคยทรงแสดงโอภาส
นิมิต  (บอกใบ้)  ให้พระอานนท์ทูลอารธนาพระองค์ให้มีพระชนมายุสืบต่อไปอีกก่อนหลายครั้ง  และหลาย
แห่งแล้ว    ซึ่งถ้าพระอานนท์นึกได้แล้วทูลอาราธนา    พระองค์ก็จะทรงรับคำอาราธนาเพื่อต่อพระชนมายุ
ของพระองค์ออกไปอีก    ว่าอย่างสามัญก็ว่า  พระพุทธเจ้าตรัสบอกพระอานนท์ว่า  "สายเสียแล้ว"  เพราะ
พระองค์ได้ประกาศปลงอายุสังขารว่าจะนิพพานเสียแล้ว


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 03, 2012, 07:09:45 PM โดย nujai » บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #86 เมื่อ: กรกฎาคม 20, 2012, 08:44:17 PM »

สมุดภาพพระพุทธประวัติ
ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร
ภาพที่ ๖๙
รุ่งเช้าเสด็จกลับจากทรงบาตร เยื้องพระกายดูกรุงไพศาลี เป็นครั้งสุดท้าย






หลังจากพระพุทธเจ้าทรงปฏิเสธคำทูลอาราธนาของพระองค์  เรื่องให้ทรงต่อพระชนมายุออก
ไปอีกระยะหนึ่ง  อย่าเพิ่งนิพพานเลย  แล้วพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระอานนท์เสด็จไปยังกุฏาคารศาลา  ในป่า
มหาวัน  แขวงกรุงไพศาลี

   กุฏาคารศาคา  คือ  อาคารที่ปลูกเป็นเรือน  มียอดแหลมเหมือนยอดปราสาท  ป่ามหาวันเป็นป่า
ใหญ่ดงดิบ    คัมภีร์ศาสนาพุทธหลายคัมภีร์บันทึกไว้ตรงกันว่า  ป่าแห่งนี้เป็นที่อาศัยบำเพ็ญพรตของบรรดา
ฤาษี  นักพรต  นักบวช   พระพุทธเจ้า  และพระสงฆ์ก็เคยอาศัยป่าแห่งนี้เป็นที่ประทับ  และแวะพักหลายครั้ง  
พระพุทธเจ้าเสด็จมายังป่ามหาวันแล้วประชุมพระสงฆ์  เพราะขณะนี้  ข่าวพระพุทธเจ้าจะนิพพานได้แพร่สะ
พัดไปทั่วแล้ว    พระพุทธเจ้าตรัสประทานโอวาทพระสงฆ์ที่ยังไม่สำเร็จมรรคผล   ให้รีบขวยขวาย   อย่าได้
ประมาท  อย่าได้เสียใจว่าพระองค์จะนิพพานจากไปเสียก่อน

   "ชนทั้งหลายเหล่าใด  ทั้งหนุ่มทั้งแก่  ทั้งพาลทั้งบัณฑิต  ทั้งมั่งคั่งทั้งยากไร้   ชนเหล่านั้นต่าง
ตายด้วยกันในที่สุด    ภาชนะดินที่ช่างหม้อปั้นแล้ว  ไม่ว่าเล็กหรือใหญ่  ไม่ว่าเผาสุกหรือดิบ  ไม่ว่าขนาดไหน  
มีแตกสลายในที่สุด  ชีวิตคนและสัตว์ทุกชนิดในโลกนี้ก็เหมือนกัน"

   ความในอัญญประกาศ  คือ   พระพุทธดำรัสที่พระพุทธเจ้าประทานพระสงฆ์  ในการเสด็จมา
ยังป่ามหาวัน  ดังกล่าว

   รุ่งขึ้นพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระอานนท์ได้เสด็จเข้าไปบิณฑบาตในเมืองไพศาลี    ตอนเสด็จ
ออกจากเมือง    พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระอาการทางพระกายซึ่งตามปกติไม่เคยทรงทำอย่างนั้นมาก่อนเลย
ไม่ว่าเสด็จจากเมืองใดๆ      คือเยื้องพระกายทั้งพระองค์พระองค์กลับทอดพระเนตรเมืองไพศาลี   เป็นอย่าง  
'นาคาวโลก'  แปลว่า  ช้างเหลียวหลัง

   ตรัสว่า  "อานนท์!   การเห็นเมืองไพศาลีครั้งนี้ของเรา   นับเป็นครั้งสุดท้าย   ต่อนี้ไปจักไม่ได้
เห็นอีก"  ครั้นแล้วตรัสว่า  "มาเดินทางต่อไปยังภัณฑคามกันเถิด"

   ภัณฑคามเป็นตำบลแห่งหนึ่ง     ซึ่งอยู่ในระหว่างทางที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปยังเมืองกุสินารา  
ซึ่งเป็นเมืองที่พระองค์จะนิพพาน


 
 


 
 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 02, 2012, 07:34:14 PM โดย nujai » บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #87 เมื่อ: สิงหาคม 02, 2012, 07:36:53 PM »

สมุดภาพพระพุทธประวัติ
ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร
ภาพที่ ๗๐
เช้าวันเพ็ญเดือน ๖ ทรงเสวยมังสะสุกรอ่อนที่บ้านนายจุนทะ
นับเป็นปัจฉิมบิณฑบาต




พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระสงฆ์บริวาร    ได้เสด็จออกจากเขตแขวงเมืองไพศาลีไปโดยลำดับ 
เพื่อเสด็จไปยังเมืองกุสินารา  สถานที่ทรงกำหนดว่าจะนิพพานเป็นแห่งสุดท้าย  จนไปถึงเมืองปาวาในวันขึ้น 
๑๔  ค่ำ  เดือน  ๖  ซึ่งเป็นวันก่อนเสด็จนิพพานเพียงหนึ่งวัน

   เสด็จเขัาไปประทับอาศัยที่สวนมะม่วงของนายจุนทะกัมมารบุตร   นายจุนทะเป็นลูกนายช่าง
ทอง  ได้ทราบข่าวว่า  พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระสงฆ์บริวารเสด็จมาพักอยู่ที่สวนมะม่วงของตน  ก็ออกไป
เฝ้าและฟังธรรม  ฟังจบแล้ว  นายจุนทะกราบทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระสงฆ์เสด็จไปรับภัตตา
หารที่บ้านของตนในเวลาเช้าวันรุ่งขึ้น

   เวลาเช้าวันรุ่งขึ้น  นายจุนทะได้ถวายอาหารพระพุทธเจ้าและพระสงฆ์ที่บ้านของตน  อาหาร
อย่างหนึ่งที่นายจุนทะปรุงถวายพระพุทธเจ้าในวันนี้มีชื่อว่า  'สูกรมัททวะ'

   คัมภีร์ศาสนาพุทธชั้นอรรถกถาและมติของเกจิอาจารย์ทั้งหลายยังไม่ลงรอยกันว่า 'สูกรมัททวะ'
นั้นคืออะไรแน่  บางมติว่าได้แก่สุกรอ่อน  (แปลตามตัว  สูกร-สุกร  หรือหมู  มัททวะ-อ่อน)   บางมติว่า
ได้แก่  เห็ดชนิดหนึ่ง  และบางมติว่าได้แก่  ชื่ออาหารอันประณีตชนิดหนึ่ง    ซึ่งชาวอินเดียปรุงขึ้นเพื่อถวาย
แก่ผู้ที่ตนเคารพนับถือที่สุด  เช่น  เทพเจ้า  เป็นต้น  เป็นอาหารประณีตชั้นหนึ่งยิ่งกว่าข้าวมธุปายาส

   พระพุทธเจ้าตรัสบอกนายจุนทะให้จัดถวายสูกรมัททวะนั้นถวายแต่เฉพาะพระองค์     ส่วน
อาหารอย่างอื่นให้จัดถวายพระสงฆ์  และเมื่อพระพุทธเจ้าทรงฉันเสร็จแล้ว  รับสั่งให้นายจุนทะนำเอาสูกร
มัททวะที่เหลือจากที่พระองค์ทรงฉันแล้ว  ไปฝังเสียที่บ่อ  เพราะคนอื่นนองจากพระองค์นั้นฉันแล้ว    ร่าง
กายไม่อาจจะทำให้อาหารนั้นย่อยได้    เสร็จแล้วพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมให้นายจุนทะฟังเป็นที่ชื่นชม 
และรื่นเริงในกุศลบุญจริยาของ  แล้วทรงอำลานายจุนทะเสด็จต่อไปยังเมืองกุสินาราต่อไป
บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #88 เมื่อ: สิงหาคม 02, 2012, 07:39:39 PM »

สมุดภาพพระพุทธประวัติ
ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร
ภาพที่ ๗๑
เสด็จไปกรุงกุสินารา ทรงกระหายน้ำ โปรดให้พระอานนท์ ไปตักน้ำมาถวาย





ระหว่างทางเสด็จไปเมืองกุสินารา  ภายหลังทรงฉันสูกรมัททวะของนายจุนทะแล้ว    พระ
พุทธเจ้าทรงประชวรด้วยพระโรคปักขันธิกาพาธอย่างหนัก  จวนเจียนจะเสด็จนิพพาน  ณ  ที่นั้นเสีย  ก่อน
กำหนด  แต่ทรงระงับอาพาธนั้นเสียได้ด้วยขันติบารมี  คือ  ความอดกลั้น

   ปักขันธิกาพาธเป็นพระโรคอย่างหนึ่งซึ่งเกิดประจำพระองค์พระพุทธเจ้า    คือทรงพระบัง
คนถ่ายออกมาเป็นโลหิต  มีผู้สันนิษฐานกันว่าคงได้แก่  ริดสีดวงลำไส้

   เพราะเหตุที่ประชวรพระโรคดังกล่าว  พระพุทธเจ้าจึงทรงลำบากพระกายมาก  แต่ทรงมี
พระสติสัมปชัญญะ  ไม่ทรงทุรนทุราย

   เสด็จถึงระหว่างทางแห่งหนึ่ง    ซึ่งมีแม่น้ำเล็กๆ  มีน้ำไหล    พระพุทธเจ้าแวะลงข้างทาง 
เข้าประทับใต้ร่มพฤกษาแห่งหนึ่ง      ตรัสบอกพระอานนท์ให้พับผ้าสังฆาฏิเป็น   ๔   ชั้นแล้วปูลาดถวาย 
เสด็จนั่งเพื่อพักผ่อน  แล้วตรัสให้พระอานนท์นำบาตรไปตักน้ำในแม่น้ำ

   "เราจักดื่มระงับความกระหายให้สงบ"  พระพุทธเจ้าตรัสบอกพระอานนท์

   พระอานนท์กราบทูลว่าแม่น้ำตื้นเขิน  เกวียนประมาณ  ๕๐๐  เล่มของพวกพ่อค้าเกวียนเพิ่ง
ข้ามแม่น้ำผ่านไปเมื่อสักครู่นี้    เท้าโคล้อเกวียนบดย่ำทำให้น้ำในแม่น้ำขุ่น      แล้วกราบทูลพระพุทธเจ้าว่า 
"อีกไม่ไกลแต่นี้  มีแม่น้ำสายหนึ่งชื่อกุกกุฏนที  มีน้ำใส  จืดสนิท  เย็น  มีท่าน้ำสำหรับลงเป็นที่รื่นรมย์  ขอ
เชิญเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า  ไปที่แม่น้ำนั้นเถิด  พระเจ้าข้า"

   พระพุทธเจ้าตรัสปฏิเสธคำทูลทัดทานของพระอานนท์ถึง ๓ ครั้ง  พระอานนท์จึงอุ้มบาตร
เดินลงไปตักน้ำในแม่น้ำ  ครั้นเห็นน้ำ  พระอานนท์ก็อัศจรรย์ใจนักหนา  พลางรำพึงว่า

   "ความที่พระตถาคตพุทธเจ้ามีฤทธิ์และอานุภาพใหญ่หลวงเช่นนี้เป็นที่น่าอัศจรรย์มาก  แม่
น้ำนี้ขุ่นนัก  เมื่อเราเข้าไปใกล้เพื่อจะตัก  น้ำกลับใสไม่ขุ่นมัว"

   ครั้นแล้วพระอานนท์ก็นำบาตรตักน้ำนั้นไปถวายพระพุทธเจ้า



 
 
บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #89 เมื่อ: สิงหาคม 02, 2012, 07:41:28 PM »

สมุดภาพพระพุทธประวัติ
ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร
ภาพที่ ๗๒
ปุกกุสะบุตรแห่งมัลลกษัตริย์แวะเข้าเฝ้าถวายผ้าเนื้อเกลี้ยงสีทอง



ในขณะที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ภายใต้ร่มพฤกษาริมฝั่งแม่น้ำ  ซึ่งอยู่ในระหว่างทางที่จะไป
ยัง เมืองกุสินารานั้น  ได้มีชายผู้หนึ่งนามว่าปุกกุสะ ผู้เป็นบุตรของมัลลกษัตริย์  เดินทางมาจากเมืองกุสินารา
จะไปยังเมืองปาวา  มาถึงตรงที่พระพุทธเจ้าประทับหยุดพักจึงเข้าไปพัก

   พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมให้เขาฟังเกี่ยวกับเรื่องธรรมอันเป็นสันติ       ปุกกุสะฟังแล้วเกิด
ความเลื่อมใส  จึงถวายผ้าสิงคิวรรณสองผืนแด่พระพุทธเจ้า   ผ้าสิงคิวรรณ  คือผ้าเนื้อดี  ละเอียด  ประณีต 
มีสีเหมือนสิงคี  'สิงคี'  แปลว่า  ทองคำ

   เขากราบทูลพระพุทธเจ้าว่า  ผ้าสิงคิวรรณคู่นี้ผืนหนึ่งสำหรับห่ม  อีกผืนหนึ่งสำหรับนุ่งเป็น
ผ้าพิเศษเนื้อเกลื้อง    ตัวเขาเคยนุ่งห่มเป็นครั้งคราว    เขาได้เก็บรักษาไว้   แต่บัดนี้จะขอถวายพระพุทธเจ้า 
พระพุทธเจ้าทรงรับผืนหนึ่ง    อีกผืนหนึ่งทรงบอกให้ปุกกุสะนำไปถวายพระอานนท์   ชายผู้นั้นได้ทำตาม
พุทธประสงค์  กราบถวายอภิวาทพระบาทพระพุทธเจ้า  แล้วออกเดินทางต่อไป

   หลังจากนั้น  พระอานนท์ได้นำผ้าที่ชายผู้นั้นถวายท่านเข้าไปถวายพระพุทธเจ้า  พระพุทธเจ้า
ทรงนุ่งผืนหนึ่งและห่มอีกผืนหนึ่ง     พอพระพุทธเจ้าทรงนุ่งและห่มผ้าสิงคิวรรณแล้ว    ปรากฎว่าพระกาย
ของพระพุทธเจ้าฉายพระรัศมีเปล่งปลั่งและผุดผ่องผิดปกติยิ่งกว่าครั้งใดๆ  ที่พระอานนท์เคยเห็นมา   พระ
อานนท์จึงกราบทูลกับพระพุทธเจ้าว่าเป็นที่น่าอัศจรรย์มาก

   พระพุทธเจ้าตรัสพระอานนท์บอกว่า  พระกายของพระองค์มีพระรัศมีเปล่งปลั่งผิดปกติ  มีอยู่
สองครั้งเท่านั้น  ครั้งหนึ่งเมื่อตรัสรู้ใหม่ๆ  อีกครั้งหนึ่งคือเมื่อก่อนวันจะปรินิพพานคือวันนี้  แล้วตรัสว่า

   "ดูก่อนอานนท์!  สิ้นสุดคืนวันนี้  เราจักนิพพานแล้ว  มาเดินทางต่อไปยังกุสินารากันเถิด"

   พระอานนท์รับพุทธาณัติ  คือคำสั่งจากพระพุทธเจ้า  แล้วเรียนให้พระสงฆ์ทั้งปวงที่ตามเสด็จ
ให้ทราบเพื่ออกเดินทางต่อไป
บันทึกการเข้า

finghting!!!
Gold Price today, Gold Trend Price Prediction, ราคาทองคํา, วิเคราะห์ทิศทางทองคํา
   

images by free.in.th
Thanks: ฝากรูป dictionary ---------------------Charts courtesy of Moore Research Center, Inc. For more information on Moore Research products and services click here. --- http://www.mrci.com ---------- ---------------------------------------------รูปกราฟแสดงราคาทองในอดีตปี 1974-1999 ของ Moore Research Center, Inc. แสดงฤดูกาลที่ราคาทองขึ้นสูงสุดและตําสุด เอาแบบคร่าวๆ เส้นนําตาลหรือนําเงินก็ใกล้เคียงกัน เส้นนําตาลเฉลี่ย 15 ปี เส้นนําเงินเฉลี่ย 26 ปี ราคาตําสุดของเส้นนําตาล หรือเฉลี่ย 15 ปี ในเดือน ปลายเดือน เมษ และปลายเดือน สค ต่อต้นเดือน กย[/color] สูงสุดในเดือน กพ กับ พย / ส่วนเฉลี่ย 26 ปี ราคาตําสุด ต้น กค กับ ปลาย สค และราคาสูงสุดในเดือน กพ และ กลางเดือน ตค ----- แค่ดูคร่าวๆ เป็นแนวทาง อย่ายึดมั่นว่าจะต้องเป็นตามนี้ ข้างล่างเป็นกราฟราคานํามัน ตามฤดูกาล จาก Charts courtesy of Moore Research Center, Inc. images by free.in.th
Thanks: ฝากรูป dictionary
 บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7   ขึ้นบน
พิมพ์
กระโดดไป: