Gold Price today, Gold Trend Price Prediction, ราคาทองคํา, วิเคราะห์ทิศทางทองคํา

เรื่องอาหารการกิน วิธีทํา แนะนําร้านอร่อย => ใครหิวเชิญทางนี้โดยหนูใจ => ข้อความที่เริ่มโดย: jainu ที่ กุมภาพันธ์ 26, 2012, 09:59:36 AM

Forex-Currency Trading-Swiss based forex related website. Home ----- กระดานสนทนาหน้าแรก ----- Gold Chart,Silver,Copper,Oil Chart ----- gold-trend-price-prediction ----- ติดต่อเรา

หัวข้อ: ประวัติ ตำนาน เรื่องเล่า
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ กุมภาพันธ์ 26, 2012, 09:59:36 AM
พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง 9 องค์ พร้อมคาถาบูชา


(http://www.mthai.com/yog/b01.jpg)
พระแก้วมรกต 
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เขตพระนคร กทม.

คาถาบูชา (ตั้งนะโม 3 จบ)

"พุทธะมะหามะณีระตะนะปะฏิมากะรัง นะมามิหัง เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โสตถิ เม โหตุ สัพพะทา,

ทุติยัมปิ พุทธะมะหามะณีระตะนะปะฏิมากะรัง นะมามิหัง เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โสตถิ เม โหตุ สัพพะทา,

ตะติยัมปิ พุทธะมะหามะณีระตะนะปะฏิมากะรัง นะมามิหัง เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โสตถิ เม โหตุ สัพพะทาฯ"




(http://www.mthai.com/yog/b02.jpg)
พระพุทธโสธร
วัดโสธรวรารามวรวิหาร อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา

คาถาบูชา (ตั้งนะโม 3 จบ)

"นะ ทรงฟ้า โม ทรงดิน พุทธ ทรงสินธุ์ ธา ทรงสมุทร ยะ ทรงอากาศ พุทธังแคล้วคลาด ธัมมังแคล้วคลาด สังฆังแคล้วคลาด ศัตรูภัยพาลวินาสสันติ นะ กาโล กะกุสันโธ สิโร มัชเฌ โม กโร โกนาคะมะโน นานาจิตเต พุทธะกาโล กัสสะโป พุทโธ จะ ทะเวเนเต ธา กโร สีสักยะมุนี โคตะโม ยะ กันเต ยะ กาโล อะริยะเมตเตยโย ชิวหาทีเต ปัญจะพุทธา นะมามิหัง" 



(http://www.mthai.com/yog/b03.jpg)
พระพุทธชินราช
 วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร อ.เมือง จ.พิษณุโลก

คาถาบูชา (ตั้งนะโม 3 จบ)

"อิเมหิ นานาสักกาเรหิ อะภิปูชิเตหิ ทีฆายุโก โหมิ อะโรโค สุขิโต สิทธิกิจจัง สิทธิกัมมัง ปิยัง มะมะ ปะสิทธิ ลาโภ ชะโย โหตุ สัพพะทา พุทธะชินะราชา อภิปาเลตุ มัง นะโมพุทธายะฯ" 




(http://www.mthai.com/yog/b04.jpg)
พระพุทธไตรรัตนนายก(หลวงพ่อโต)
วัดพนัญเชิง วรวิหาร จ.พระนครศรีอยุธยา

คาถาบูชา (ตั้งนะโม 3 จบ)

"อิมินา สักกาเรนะ พุทธัง อะภิปูชะยามิ, ทุติยัมปิ อิมินา สักกาเรนะ พุทธัง อะภิปูชะยามิ, ตะติยัมปิ อิมินา สักกาเรนะ พุทธัง อะภิปูชะยามิ"




(http://www.mthai.com/yog/b05.jpg)
หลวงพ่อวัดไร่ขิง
วัดไร่ขิง อ.สามพราน จ.นครปฐม

คาถาบูชา (ตั้งนะโม 3 จบ)

"กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา มะเหสักขายะ เทวะตายะ อะธิปาถิตัง อิทธิปาฏิหาริกัง มังคะละจินตารามพุทธะปะฏิมากะรัง ปูชามิหัง ยาวะชีวัญจะ สุกัมมิโก สุขะปัตถิตายะ 



(http://www.mthai.com/yog/b06.jpg)
หลวงพ่อวัดบ้านแหลม
วัดเพชรสมุทรวรวิหาร อ.เมือง สมุทรสงคราม

คาถาบูชา (ตั้งนะโม 3 จบ)

"นะ มะ ระ อะ นะ เท วะ อะ" หรือ "สะทา วะชิระสะมุททะวะระวิหาเร ปะติฏฐิตัง นะระเทเวหิ ปูชิตัง ปัตตะหัตถัง พุทธะรูปัง อะหัง วันทามิ ทูระโต" 




(http://www.mthai.com/yog/b07.jpg)
พระพุทธสิหิงค์
หอพระพุทธสิหิงค์ ศาลากลางจ.นครศรีธรรมราช

คาถาบูชา (ตั้งนะโม 3 จบ)

"อิติ ปะวะระสิหิงโค อุตตะมะยะโสปิ เตโช ยัตถะ กัตถะ จิตโต โส สักกาโร อุปาโท สะการะพุทธะสาสะนัง โชตะยันโต วะ ทีโป สุระณะเรหิ มะหิโต ธะระมาโน วะ พุทโธติ" 




(http://www.mthai.com/yog/b08.jpg)
พระใส
วัดโพธิ์ชัย อ.เมือง จ.หนองคาย

คาถาบูชา (ตั้งนะโม 3 จบ)

"อะระหัง พุทโธ โพธิชะโย เสยยะคุโณ โพธิสัตโต มะหาลาโภ ปิยัง มะมะ ภะวันตุ โน โหตุ สัพพะทา" 




(http://www.mthai.com/yog/b09.jpg)
พระพุทธนเรศร์สักชัยไพรีพินาศ
วัดบุพพาราม อ.เมือง จ.เชียงใหม่[/size

คาถาบูชา (ตั้งนะโม 3 จบ)

"อิติจิตตัง เอหิ เทวะตาหิ จะ มะหาเตโช นะระปูชิโต โสระโส ปัจจะยาธิปะติ นะเรโส จ มะหาลาภัง สะทา โสตถี ภะวันตุ เม" 




หัวข้อ: Re: ประวัติ ตำนาน เรื่องเล่า
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ กุมภาพันธ์ 26, 2012, 11:17:59 AM
พระประจำวันเกิด

(http://variety.teenee.com/foodforbrain/img2/126435.JPG)

(http://variety.teenee.com/foodforbrain/img2/126436.JPG)

(http://variety.teenee.com/foodforbrain/img2/126437.JPG)

(http://variety.teenee.com/foodforbrain/img2/126438.JPG)

(http://variety.teenee.com/foodforbrain/img2/126439.JPG)

(http://variety.teenee.com/foodforbrain/img2/126440.JPG)

(http://variety.teenee.com/foodforbrain/img2/126441.JPG)

(http://variety.teenee.com/foodforbrain/img2/126442.JPG)




หัวข้อ: Re: ประวัติ ตำนาน เรื่องเล่า
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ กุมภาพันธ์ 26, 2012, 11:21:10 AM
ประวัติสมเด็จพระสังฆราช

สมเด็จพระสังฆราช เป็นตำแหน่งที่มีมานานแล้ว ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย ดังมีหลักฐานจากศิลาจารึก ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ได้จารึกคำว่าสังฆราชไว้ด้วย
สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก เป็นตำแหน่งสมณศักดิ์สูงสุดฝ่ายพุทธจักรของคณะสงฆ์ไทย ทรงเป็นประธานการปกครองคณะสงฆ์ ตำแหน่งนี้น่าจะมีที่มาจากคณะสงฆ์ไทย นำแบบอย่างมาจาก ลัทธิลังกาวงศ์ ซึ่งพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ได้ทรงอัญเชิญพระเถระผู้ใหญ่ของลังกา ที่เชี่ยวชาญในพระไตรปิฎก เข้ามาเผยแผ่พระพุทธศาสนาฝ่าย เถรวาทในประเทศไทย

ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้เพิ่มตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชเป็น สกลมหาสังฆปรินายก มีอำนาจว่ากล่าวออกไปถึงหัวเมือง โดยมีพระสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ เจ้าคณะใหญ่ฝ่าย คามวาสี เป็นสังฆราชขวา สมเด็จพระวันรัตเจ้าคณะฝ่ายอรัญวาสี เป็นสังฆราชซ้าย องค์ใดมีพรรษายุกาลมากกว่า ก็ได้เป็นพระสังฆราช ในปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา พระอริยมุนี ได้ไปสืบอายุพระพุทธศาสนาที่ลังกาทวีป มีความชอบมาก เมื่อกลับมาได้รับสมณศักดิ์สูงขึ้นตามลำดับจนเป็นสมเด็จพระสังฆราช พระเจ้าเอกทัศน์มีพระราชดำริให้คงราชทินนามนี้ไว้ จึงทรงตั้งราชทินนามสมเด็จพระสังฆราชเป็น สมเด็จพระอริยวงศาสังฆราชาธิบดี และมาเป็น สมเด็จพระอริยวงศาญาณ ในสมัยกรุงธนบุรี และได้ใช้ต่อมาจนถึง รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ จึงได้ทรงปรับปรุงเพิ่มเติมเป็น สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ ซึ่งได้ใช้มาจนถึงปัจจุบัน

ตามทำเนียบสมณศักดิ์ตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ที่มีตำแหน่งสังฆปรินายก ๒ องค์ ที่เรียกว่า พระสังฆราชซ้าย ขวา ดังกล่าวแล้ว ยังมีคำอธิบายอีกประการหนึ่งว่า สมเด็จพระอริยวงศ์ เป็นพระสังฆราชฝ่ายขวาว่า คณะเหนือ พระพนรัตน์เป็นพระสังฆราชฝ่ายซ้ายว่า คณะใต้ มีสุพรรณบัตรจารึกพระนามเมื่อทรงตั้งทั้ง ๒ องค์ แต่ที่สมเด็จพระพนรัตน์ โดยปกติไม่ได้เป็นสมเด็จ ส่วนพระสังฆราชฝ่ายขวานั้นเป็นสมเด็จทุกองค์

จึงเรียกว่าสมเด็จพระสังฆราช จึงเป็นมหาสังฆปรินายก มีศักดิ์สูงกว่าพระสังฆราชฝ่ายซ้าย ที่พระพนรัตน์แต่เดิม ทรงยกเกียรติยศเป็นสมเด็จแต่บางองค์ มาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จึงเป็นสมเด็จทุกองค์ เมื่อครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี วิธีการปกครองพระราชอาณาจักรในครั้งนั้น หัวเมืองใหญ่ที่ห่างไกลจากราชธานี เป็นเมืองประเทศราชโดยมาก แม้เมืองใหญ่ที่อยู่ใกล้ราชธานี ก็ตั้งเจ้านายในออกไปครอง ทำนองเจ้าประเทศราช เมืองใหญ่แต่ละเมือง จึงน่าจะมีสังฆราชองค์หนึ่ง เป็นสังฆปรินายกของสังฆบริษัทในเมืองนั้น ดังปรากฎเค้าเงื่อนในทำเนียบชั้นหลัง ยังเรียกเจ้าคณะเมืองว่าพระสังฆราชอยู่หลายเมือง จนมาถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ จึงได้ทรงเปลี่ยนมาเป็นสังฆปาโมกข์

พระสงฆ์ฝ่ายคามวาสีและอรัญวาสีนี้มีมาแต่ครั้งพุทธกาล คือฝ่ายที่พำนักอยู่ใกล้เมืองเพื่อศึกษาพระธรรมวินัย เรียกว่า คามวาสี อีกฝ่ายหนึ่งบำเพ็ญสมณธรรมในที่สงบเงียบตามป่าเขา ห่างไกลจากบ้านเมืองเรียกว่า อรัญวาสี ภิกษุ แต่ละฝ่ายยังแบ่งออกเป็นคณะ แต่ละคณะจะมีพระราชาคณะปกครอง หัวหน้าพระราชาคณะเรียกว่า สมเด็จพระราชาคณะ

แบบแผนการปกครองคณะสงฆ์ของไทย เริ่มจัดวางหลักตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย มีการพัฒนาเพิ่มเติมใน สมัยกรุงศรีอยุธยาและต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ก็ได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงบ้างเล็กน้อยมาตามลำดับ จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ฯ การปกครองคณะสงฆ์ก็ยังจัดโดยมีตำแหน่งเปรียบเทียบดังนี้

สกลสังฆปรินายก ได้แก่สมเด็จพระสังฆราช
มหาสังฆนายก ได้แก่เจ้าคณะใหญ่
สังฆนายก ได้แก่เจ้าคณะรอง
มหาสังฆปาโมกข์ ได้แก่เจ้าคณะมณฑล
สังฆปาโมกข์ ได้แก่เจ้าคณะจังหวัดที่เป็นพระราชาคณะ
สังฆวาห ได้แก่เจ้าคณะจังหวัดที่เป็นพระครู
 

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้สถาปนาเปลี่ยนคำนำพระนาม ราชวงค์ผู้ดำรงสมณศักดิ์ในตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชขึ้นใหม่ว่า สมเด็จพระมหาสมณเจ้า ทรงเศวตฉัตร ๕ ชั้น พระราชวงค์ชั้นรองลงมา เท่าที่ปรากฎ มีชั้นหม่อมเจ้าผู้ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช มีคำนำหน้า พระนามว่า สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ทรงฉัตร ๕ ชั้น

ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช ๒๕๐๕ ได้บัญญัติถึงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชได้ว่า ในกรณีตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชว่างลง ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการประกาศนาม สมเด็จพระราชาคณะ ที่มีอาวุโสสูงสุดโดยพรรษา เพื่อปฎิบัติหน้าที่ในตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช จากนั้นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นำพระนามสมเด็จพระราชาคณะ ๔ รูป คือ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ สมเด็จพระวันรัต สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ และสมเด็จพระพุฒาจารย์ เสนอนายกรัฐมนตรี เพื่อนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี แล้วนำกราบถวายบังคมทูล ให้พระมหากษัตริย์ทรงวินิจฉัย และจะมีราชโองการโปรดเกล้า ฯ สถาปนาสมเด็จพระราชาคณะรูปใดรูปหนึ่ง ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นสมเด็จพระสังฆราชต่อไป


 

ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ปัจจุบัน มีสมเด็จพระสังฆราช 19 องค์ ดังต่อไปนี้

 
(http://www.dhammathai.org/thailand/pic/sangkharaja01.gif)
 องค์ที่ ๑ สมเด็จพระสังฆราช (ศรี)
วัดระฆังโฆสิตาราม   
 

 ประวัติ
ทรงดำรงตำแหน่ง พ.ศ. ๒๓๒๕-๒๓๓๖
ในที่ ๑ รวมเป็นเวลา ๑๑ ปี
พระนามเดิม ศรี
พระฉายา ไม่ปรากฏหลักฐาน
นามสกุล -
พระชนก ไม่ปรากฏหลักฐาน
พระชนนี ไม่ปรากฏหลักฐาน
ประสูติ ไม่ปรากฏหลักฐาน
ทรงอุปสมบท ณ วัดพนัญเชิง ตำบลคลองสวนพลู อำเภอกรุงเก่า(อำเภอพระนครศรี อยุธยาในปัจจุบัน) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. ๒๓๒๕
สิ้นพระชนม์ พ.ศ. ๒๓๓๖


(http://www.dhammathai.org/thailand/pic/sangkharaja02.gif)
  องค์ที่ ๒ สมเด็จพระสังฆราช (สุก)
วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์


ประวัติ
ทรงดำรงตำแหน่ง พ.ศ. ๒๓๓๖-๒๓๕๙
ในที่ ๑ รวมเป็นเวลา ๒๓ ปี
พระนามเดิม สุก
พระฉายา ไม่ปรากฏหลักฐาน
นามสกุล -
พระชนก ไม่ปรากฏหลักฐาน
พระชนนี ไม่ปรากฏหลักฐาน
ประสูติ ประสูติในสมัยกรุงศรีอยุธยา หลัก ฐานเอกสารต่างๆ ได้หายไป มา ปรากฏหลักฐานตอนที่มาอยู่วัด สลัก(วัดมหาธาตุ) โดยมีสมณศักดิ์ เป็น พระญาณสมโพธิ์ และได้ เลื่อนสมณศักดิ์ขึ้นเป็น พระธรรม เจดีย์ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๓
ทรงอุปสมบท -
ดำรงตำแหน่ง เมื่อ พ.ศ. ๒๓๓๖
สิ้นพระชนม์ พ.ศ. ๒๓๕๙ สิริรวมพระชนมายุ ๘๕ ปี

 
(http://www.dhammathai.org/thailand/pic/sangkharaja03.gif)
องค์ที่ ๓ สมเด็จพระสังฆราช (มี) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์     
ประวัติ
ทรงดำรงตำแหน่ง พ.ศ. ๒๓๕๙-๒๓๖๒ ในที่ ๒ รวมเป็นเวลา ๔ ปี
พระนามเดิม มี
พระฉายา ไม่ปรากฏหลักฐาน
นามสกุล -
พระชนก ไม่ปรากฏหลักฐาน
พระชนนี ไม่ปรากฏหลักฐาน
ประสูติ วันพุธที่ ๑๕ เดือน ๘ ขึ้น ๑๒ ค่ำ ปี มะเมีย จ.ศ.๑๑๑๒ พ.ศ. ๒๒๙๓ (ไม่ ปรากฏภูมิลำเนาเดิม)
ทรงอุปสมบท   
ดำรงตำแหน่ง เมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๙
สิ้นพระชนม์ วันที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ. ๒๓๖๒ สิริ รวมพระชนมายุ ๗๐ ปี




(http://www.dhammathai.org/thailand/pic/sangkharaja04.gif)
 องค์ที่ ๔ สมเด็จพระสังฆราช (สุก)
วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ เดิมอยู่วัดราชสิทธาราม   
 
 ประวัติ
ทรงดำรงตำแหน่ง พ.ศ. ๒๓๖๓-๒๓๖๔ ในที่ ๑ รวมเป็นเวลา ๒ ปี
พระนามเดิม สุก
พระฉายา ญาณสํวโร
นามสกุล -
พระชนก ไม่ปรากฏหลักฐาน
พระชนนี ไม่ปรากฏหลักฐาน
ประสูติ วันศุกร์ เดือนยี่ พ.ศ.๒๒๗๖ ในของพระเจ้าแผ่นดิน พระเจ้าบรมโกษฐ์ กรุงศรีอยุธยา
ทรงอุปสมบท 
ดำรงตำแหน่ง วันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๖๓
สิ้นพระชนม์ วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๓๖๔ สิริรวมพระชนมายุ ๘๙ ปี



(http://www.dhammathai.org/thailand/pic/sangkharaja05.gif)
องค์ที่ ๕ สมเด็จพระสังฆราช (ด่อน)
วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ เดิมอยู่วัดสระเกศ
   
 ประวัติ
ทรงดำรงตำแหน่ง พ.ศ. ๒๓๖๕-๒๓๘๕ ในที่ ๒-๓ รวมเป็นเวลา ๒๐ ปี
พระนามเดิม ด่อน
พระฉายา ไม่ปรากฏหลักฐาน
นามสกุล -
พระชนก ไม่ปรากฏหลักฐาน
พระชนนี ไม่ปรากฏหลักฐาน
ประสูติ วันศุกร์ เดือน ๔ ขึ้น ๑๑ ค่ำ ปี มะเส็ง พ.ศ.๒๓๐๔ ในของ พระเจ้าเอกทัศน์ กรุงศรีอยุธยา
ทรงอุปสมบท -
ดำรงตำแหน่ง เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๓๖๕
สิ้นพระชนม์ วันศุกร์ เดือน ๑๐ แรม ๑๔ ค่ำ ปี ขาล ตรงกับวันที่ ๒๓ กันยายน พ. ศ. ๒๓๘๕



หัวข้อ: Re: ประวัติ ตำนาน เรื่องเล่า
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ กุมภาพันธ์ 26, 2012, 11:21:58 AM
(http://www.dhammathai.org/thailand/pic/sangkharaja06.gif)
 องค์ที่ ๖ สมเด็จพระสังฆราช (นาค)
วัดราชบุรณะ (วัดเลียบ)

 ประวัติ
ทรงดำรงตำแหน่ง พ.ศ. ๒๓๘๖-๒๓๙๒ ในที่ ๓ รวมเป็นเวลา ๗ ปี
พระนามเดิม นาค
พระฉายา ไม่ปรากฏหลักฐาน
นามสกุล -
พระชนก ไม่ปรากฏหลักฐาน
พระชนนี ไม่ปรากฏหลักฐาน
ประสูติ วันอาทิตย์ เดือน ๔ แรม ๔ ค่ำ ปี ชวด พ.ศ.๒๓๐๑ ในแผ่นดิน พระ เจ้าเอกทัศน์ กรุงศรีอยุธยา
ทรงอุปสมบท -
ดำรงตำแหน่ง วันที่ ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๓๘๖
สิ้นพระชนม์ ปีระกา พ.ศ. ๒๓๙๒ สิริรวมพระชน มายุ ๘๖ ปี


(http://www.dhammathai.org/thailand/pic/sangkharaja07.gif) 
องค์ที่ ๗ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส วัดพระเชตุพน วิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์)  
ประวัติ
ทรงดำรงตำแหน่ง พ.ศ. ๒๓๙๔-๒๓๙๖ ในที่ ๔ รวมเป็นเวลา ๒ ปี
พระนามเดิม พระองค์เจ้าวาสุกรี
พระฉายา ไม่ปรากฏหลักฐาน
นามสกุล -
พระชนก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า จุฬาโลก (เป็นพระเจ้าลูกยาเธอ องค์ที่ ๒๘)
พระชนนี เจ้าจอมมารดาจุ้ย (ภายหลังได้ เป็นท้าวทรงกันดาล)
ประสูติ วันเสาร์ เดือนอ้าย ขึ้น ๕ ค่ำ ปีจอ จ.ศ. ๑๑๕๒ ตรงกับวันที่ ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๓๓ ชวด พ.ศ.๒๓๐๑ ในแผ่นดิน พระ เจ้าเอกทัศน์ กรุงศรีอยุธยา
ทรงอุปสมบท -
ดำรงตำแหน่ง เมื่อวันศุกร์ เดือน ๙ ขึ้น ๕ ค่ำ ปี กุน ตรงกับวันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๓๙๔ เดิมไม่ได้เรียกว่า สมเด็จ พระสังฆราช แต่เรียกว่า กรมสม เด็จพระปรมานุชิตชิโนรส ศรีสุคตขัติยวงศ์ แต่ที่ ๖ ได้ ทรงมีราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศ สถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระ ปรมานุชิตชิโนรส ศรีสุคตขัติยวงศ์ เมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๔)
สิ้นพระชนม์ วันศุกร์ เดือนอ้าย ขึ้น ๙ ค่ำ ตรงกับวันที่ ๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๙๖ สิริรวมพระชนมายุ ๖๓ ปี
 

(http://www.dhammathai.org/thailand/pic/sangkharaja08.gif) 
 องค์ที่ ๘ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ วัดบวรนิเวศวิหาร 
ประวัติ
ทรงดำรงตำแหน่ง พ.ศ. ๒๓๙๖ – ๒๔๓๕ ในที่ ๔-๕ รวมเป็นเวลา ๓๙ ปี
พระนามเดิม พระองค์เจ้าฤกษ์
พระฉายา ปญฺญาอคฺคโต
นามสกุล -
พระชนก กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์
พระชนนี เจ้าจอมมารดาน้อยเล็ก
ประสูติ วันพฤหัสบดี เดือน ๑๐ ขึ้น ๖ ค่ำ ปีมะเส็ง เอกศก จ.ศ. ๑๑๗๑ ตรงกับวันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๓๕๒ ในที่ ๒
ทรงอุปสมบท -
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. ๒๓๙๖ ในที่ ๔
สิ้นพระชนม์ วันพฤหัสบดี ที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๔๓๕ สิริรวมพระชนมายุ ๘๓ ปี


(http://www.dhammathai.org/thailand/pic/sangkharaja09.gif) 
 องค์ที่ ๙ สมเด็จพระสังฆราช (สา ป.ธ.๙)
วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม 
 
ประวัติ
ทรงดำรงตำแหน่ง พ.ศ. ๒๔๓๖ – ๒๔๔๒ ในที่ ๕ รวมเป็นเวลา ๖ ปี
พระนามเดิม สา
พระฉายา ปุสฺสเทโว
นามสกุล -
พระชนก จัน เป็นชาวตำบลบางเชิงกราน จังหวัดราชบุรี
พระชนนี ศุข เป็นชาวตำบลไผ่ใหญ่ แขวง เมืองนนทบุรี
ประสูติ วันพฤหัสบดีที่ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๓๕๖ ในที่ ๒
ทรงอุปสมบท ครั้งที่ ๑ พ.ศ. ๒๓๗๖ และได้ลา สิกขา ครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๓๙๔ เมื่อ ผนวชครั้งใหม่ได้ ๗ พรรษา ก็ทรง สอบได้ ๙ ประโยค อีกครั้งหนึ่ง (คนจึงมักพูดว่า สมเด็จพระ สังฆราชสา ๑๘ ประโยค)
ดำรงตำแหน่ง วันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๔๓๖
สิ้นพระชนม์ วันที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๒ สิริรวมพระชนมายุ ๘๗ ปี


(http://www.dhammathai.org/thailand/pic/sangkharaja10.gif)
องค์ที่ ๑๐ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส (พระองค์เจ้า มนุษยนาคมานพ ป.ธ.๕) วัดบวรนิเวศวิหาร 
ประวัติ
ทรงดำรงตำแหน่ง ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๔๒ – ๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๖๔ ในที่ ๕-๖ รวมเป็นเวลา ๒๒ ปี
พระนามเดิม มนุษย์นาคมานพ
พระฉายา ไม่ปรากฏหลักฐาน
นามสกุล -
พระชนก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ทรงเป็นพระราชโอรส องค์ที่ ๔๗)
พระชนนี เจ้าจอมมารดาน้อยแพ
ประสูติ วันพฤหัสบดีที่๑๒ เดือน ๕ แรม ๗ ค่ำ ปีวอก พ.ศ. ๒๔๐๓ ณ ตำหนักหลังพระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน ในมหาราชวัง
การศึกษา พ.ศ. ๒๔๒๔ ทรงสอบได้ ป.ธ. ๕
ทรงอุปสมบท วันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๔๒๒
ทรงบรรพชา พ.ศ. ๒๔๑๖ ขณะมีพระชนมายุ ๑๔ พรรษา ทรงผนวชได้ ๗๘ วันก็ทรงลาสิกขา
ดำรงตำแหน่ง วันที่ ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๔๒
สิ้นพระชนม์ ๒ สิงหาคม ๒๔๖๔ สิริรวมพระชนมายุ ๖๒ ปี
 


หัวข้อ: Re: ประวัติ ตำนาน เรื่องเล่า
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ กุมภาพันธ์ 26, 2012, 11:23:21 AM
(http://www.dhammathai.org/thailand/pic/sangkharaja11.gif)
องค์ที่ ๑๑ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ ( หม่อมเจ้าภุชงค์ ป.ธ. ๕ ) วัดราชบพิธ
ประวัติ
ทรงดำรงตำแหน่ง ๒๐ สิงหาคม ๒๔๖๔ – ๒๕ สิงหาคม ๒๔๘๐ ใน ๖-๗-๘ รวมเป็น เวลา ๑๗ ปี
พระนามเดิม หม่อมเจ้าภุชงค์
พระฉายา สิริวฑฺฒโน
นามสกุล ชมพูนุช
พระชนก กรมขุนเจริญผลพูลสวัสดิ์
พระชนนี หม่อมปุ่น
ประสูติ วันศุกร์ที่ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๐๒
การศึกษา พ.ศ. ๒๔๒๙ ทรงสอบได้ ป.ธ. ๕
 
ทรงอุปสมบท พ.ศ. ๒๔๒๒
ทรงบรรพชา พ.ศ. ๒๔๑๖
ดำรงตำแหน่ง วันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๔๖๔
สิ้นพระชนม์ วันที่ ๒๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ สิริ รวมพระชนมายุ ๗๙ พรรษา ๕๘

 
(http://www.dhammathai.org/thailand/pic/sangkharaja12.gif)
องค์ที่ ๑๒ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ป.ธ. ๕)
วัดสุทัศนเทพวราราม

 ประวัติ
ทรงดำรงตำแหน่ง ๑๕ พฤศจิกายน ๒๔๘๑ – ๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๘๗ ในที่ ๘ รวมเป็นเวลา ๖ ปี
พระนามเดิม แพ
พระฉายา ติสฺสเทโว
นามสกุล พงษ์ปาละ
พระชนก นุตร์
พระชนนี อ้น
ประสูติ วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๓๙๙ ณ บางลำภูล่าง อำเภอคลองสาน จังหวัดธนบุรี
การศึกษา พ.ศ. ๒๔๒๘ ทรงสอบได้ ป.ธ. ๕
 
ทรงอุปสมบท ณ วัดเศวตฉัตร และเสด็จมาประทับ ณ วัดสุทัศน์ฯ
ทรงบรรพชา พ.ศ. ๒๔๑๑ จำพรรษา ณ วัดทองนพคุณ
ดำรงตำแหน่ง วันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๔๘๑
สิ้นพระชนม์ วันที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๗ สิริรวมพระชนมายุ ๘๙ พรรษา
 

(http://www.dhammathai.org/thailand/pic/sangkharaja13.gif)
องค์ที่ ๑๓ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์
(ม.ร.ว. ชื่น ป.ธ. ๗) วัดบวรนิเวศวิหาร

ประวัติ
ทรงดำรงตำแหน่ง ๓๑ มกราคม ๒๔๘๘ – ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๐๑ ใน ๘-๙ รวมเป็นเวลา ๑๓ ปี ๙ เดือน ๑๐ วัน
พระนามเดิม หม่อมชื่น
พระฉายา สุจิตฺโต
นามสกุล นพวงษ์
พระชนก หม่อมเจ้าถนอม
พระชนนี หม่อมเอม
ประสูติ วันที่ ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๑๕
การศึกษา พ.ศ. ๒๔๓๗ ทรงสอบได้ ป.ธ. ๗
 
ทรงอุปสมบท พ.ศ. ๒๔๓๕
ทรงบรรพชา พ.ศ. ๒๔๓๐ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร
ดำรงตำแหน่ง วันที่ ๓๑ มกราคม ๒๔๘๘
สิ้นพระชนม์ วันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๐๑ สิริรวมพระชนมายุ ๘๕ พรรษา ๖๖


(http://www.dhammathai.org/thailand/pic/sangkharaja14.gif)
องค์ที่ ๑๔ สมเด็จพระสังฆราช (ปลด ป.ธ. ๙)
วัดเบญจมบพิตร

 
ประวัติ
ทรงดำรงตำแหน่ง ๔ พฤษภาคม ๒๕๐๓ –๑๗ มิถุนายน ๒๕๐๕ ในที่ ๙ รวมเป็นเวลา ๒ ปี
พระนามเดิม ปลด
พระฉายา กิตฺติโสภโณ
นามสกุล เกตุทัต์
พระชนก ขุนพิษณุโลกประชานาถ (ล้ำ เกตุทัต)
พระชนนี ปลั่ง
ประสูติ วันจันทร์ที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๓๒ ณ บ้านในตรอกหลังตลาด พาหุรัดติดกับวัดราชบุรณะ กรุงเทพมหานคร
การศึกษา พ.ศ. ๒๔๕๑ ทรงสอบได้ ป.ธ. ๙ ขณะเป็นสามเณร
 
ทรงอุปสมบท วันที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๕๒
ทรงบรรพชา พ.ศ. ๒๔๔๓ ขณะอายุได้ ๑๒ ปี
ดำรงตำแหน่ง วันที่ ๔ พฤษภาคม ๒๕๐๓
สิ้นพระชนม์ วันที่ ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๐๕ สิริรวมพระชนมายุ ๗๓ พรรษา ๕๓


(http://www.dhammathai.org/thailand/pic/sangkharaja15.gif)
องค์ที่ ๑๕ สมเด็จพระสังฆราช (อยู่ ป.ธ. ๙)
วัดสระเกศ
 
ประวัติ
ทรงดำรงตำแหน่ง ๔ พฤษภาคม ๒๕๐๖ – ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๐๘ ในที่ ๙ รวมเป็นเวลา ๒ ปี
พระนามเดิม อยู่
พระฉายา ญาโณทโย
นามสกุล ช้างโสภา (แซ่ฉั่ว)
พระชนก ตรุษ
พระชนนี จันทน์
ประสูติ วันจันทร์ที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๑๗ ในที่ ๕ ที่เรือนแพ หน้าวัดกัลยาณมิตร อำเภอบางกอกใหญ่ จังหวัดธนบุรี
การศึกษา พ.ศ. ๒๔๔๕ ทรงสอบได้ ป.ธ. ๙
 
ทรงอุปสมบท พ.ศ. ๒๔๓๗ ณ วัดสระเกศ
ทรงบรรพชา เมื่อพระชนมายุได้๑๒ พรรษา (พ.ศ. ๒๔๒๙)
ดำรงตำแหน่ง วันที่ ๔ พฤษภาคม ๒๕๐๖
สิ้นพระชนม์ วันที่ ๑๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๘ สิริรวมพระชนมายุ ๙๑ พรรษา ๗๑


(http://www.dhammathai.org/thailand/pic/sangkharaja16.gif)
องค์ที่ ๑๖ สมเด็จพระสังฆราช (จวน ป.ธ. ๙)
วัดมกุฏกษัตริยาราม

 ประวัติ
ทรงดำรงตำแหน่ง ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๐๘ –๑๘ ธันวาคม ๒๕๑๔ ในที่ ๙ รวมเป็นเวลา ๖ ปี
พระนามเดิม จวน
พระฉายา อุฏฺฐายี
นามสกุล ศิริสม
พระชนก หงส์
พระชนนี จีน
ประสูติ วันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๐ ณ ตำบลบ้านโป่ง อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี
การศึกษา พ.ศ. ๒๔๗๒ ทรงสอบได้ ป.ธ. ๙
 
ทรงอุปสมบท วันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๔๖๐ ณ วัดมกุฏกษัตริยาราม
ทรงบรรพชา วันที่ ๒ กรกฎาคม ๒๔๕๗ ณ วัดมกุฏกษัตริยาราม
ดำรงตำแหน่ง วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๐๘
สิ้นพระชนม์ วันที่ ๑๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๔ สิริรวมพระชนมายุ ๗๔ พรรษา ๕๔


(http://www.dhammathai.org/thailand/pic/sangkharaja17.gif)
องค์ที่ ๑๗ สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น ป.ธ. ๖)
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม

ประวัติ
ทรงดำรงตำแหน่ง ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๑๕ – ๗ ธันวาคม ๒๕๑๖ ในที่ ๙ รวมเป็นเวลา ๑ ปี
พระนามเดิม ปุ่น
พระฉายา ปุณฺณสิริ
นามสกุล สุขเจริญ
พระชนก เน้า
พระชนนี วัน
ประสูติ วันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๓๙ ณ ตำบลบ้านสองพี่น้อง อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี
การศึกษา พ.ศ. ๒๔๖๗ ทรงสอบได้ ป.ธ. ๖
 
ทรงอุปสมบท พ.ศ. ๒๔๖๐ ณ วัดสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี แล้วมาจำพรรษา ณ วัดพระเชตุพนฯ
ทรงบรรพชา เมื่อพระชนมายุได้ ๑๖ ปี ได้บรรพชาที่วัดสองพี่น้อง พอได้ ๑ ปี ก็ลาสิกขากลับไปช่วยบิดามารดาทำนา ๑ ปี แล้วจึงกลับมา บรรพชาใหม่
ดำรงตำแหน่ง วันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๑๕
สิ้นพระชนม์ วันที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๖ สิริรวมพระชนมายุ ๗๗ พรรษา ๕๖


(http://www.dhammathai.org/thailand/pic/sangkharaja18.gif)
องค์ที่ ๑๘ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ ป.ธ. ๔)
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม

ประวัติ
ทรงดำรงตำแหน่ง ๒๒ มิถุนายน ๒๕๑๗ –๒๗ สิงหาคม ๒๕๓๑ ในที่ ๙ รวมเป็นเวลา ๑๔ ปี ๒ เดือน ๕ วัน
พระนามเดิม วาสน์
พระฉายา วาสโน
นามสกุล นิลประภา
พระชนก บาง
พระชนนี ผาด
ประสูติ วันพุธที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๔๐ ณ ตำบลบ่อโพง อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
การศึกษา พ.ศ. ๒๔๕๓ ทรงสอบเทียบได้ชั้นมัธยมปีที่ ๒ ทรงสอบได้ ป.ธ. ๔
 
ทรงอุปสมบท วันที่ ๒ กรกฎาคม ๒๔๖๑ ณ วัดราชบพิธ
ทรงบรรพชา วันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๔๕๕ ณ วัดราชบพิธใหม่
ดำรงตำแหน่ง วันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๑๗
สิ้นพระชนม์ วันที่ ๒๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๑ สิริรวมพระชนมายุ ๙๑ พรรษา ๗๐


(http://www.dhammathai.org/thailand/pic/sangkharaja19.gif)
องค์ที่ ๑๙ สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ ป.ธ. ๙)
วัดบวรนิเวศวิหาร (องค์ปัจจุบัน )

ประวัติ
ทรงดำรงตำแหน่ง ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๒ - ปัจจุบัน
พระนามเดิม เจริญ
พระฉายา สุวฑฺฒโน
นามสกุล คชวัตร
พระชนก น้อย
พระชนนี กิมน้อย
ประสูติ วันศุกร์ที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๖ ที่ ตำบลบ้านเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี
การศึกษา พ.ศ. ๒๔๗๕ ทรงสอบได้ น.ธ. เอก พ.ศ. ๒๔๘๔ ทรงสอบได้ ป.ธ. ๙
 
ทรงอุปสมบท วันที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๔๗๖ ณ วัดเทวสังฆาราม ๑ พรรษา พอออกพรรษาแล้วได้ทรงทำทัฬหีกรรม(ญัตติซ้ำ) เป็นธรรมยุต ที่วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๖ โดยมีสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ (หม่อมชื่น สุจิตฺโต นพวงษ์ ป.ธ. ๗) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระเทพเมธี (จู อิสฺสรญาโณ ทีปรักษพันธุ์ ป.ธ. ๗) เป็นพระกรรมวาจาจารย์
ทรงบรรพชา พ.ศ. ๒๔๖๙ ณ วัดเทวสังฆาราม (วัดเหนือ) จังหวัดกาญจนบุรี
ดำรงตำแหน่ง วันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๒
สมณศักดิ์ พ.ศ. ๒๔๙๐ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ที่พระโศภนคณาภรณ์
พ.ศ. ๒๔๙๕ เป็นพระราชาคณะชั้น ราช ในราชทินนามเดิม
พ.ศ. ๒๔๙๘ เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ในราชทินนามเดิม
พ.ศ. ๒๔๙๙ เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ที่พระธรรมวราภรณ์
พ.ศ. ๒๕๐๔ เป็นพระราชาคณะชั้นเจ้าคณะรอง ที่พระสาสนโสภณ
พ.ศ. ๒๕๑๕ เป็นสมเด็จพระราชาคณะ ที่สมเด็จพระญาณสังวร


หัวข้อ: Re: ประวัติ ตำนาน เรื่องเล่า
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ กุมภาพันธ์ 26, 2012, 12:08:49 PM
ย้อนตำนาน…ครุฑ

กางกรอุ้มโอบแก้ว กากี
ปีกกระพือพาศรี สู่งิ้ว
ฉวยฉาบคาบนาคี เป็นเหยื่อ
หางกระหวัดรัดหิ้ว สู้ไม้รังเรียงฯ


(http://www.arts65.net/postboard/photo/artsmen-dot-net_ans38_63966396.jpg)

คง ไม่มีใครที่ไม่เคยเห็นรูป “ครุฑ” เพราะจะมีให้เจอกันอย่างชินตา โดยเฉพาะสถานที่ หรือทรัพย์สินทางราชการ หน้าธนาคาร หรือแม้กระทั่งในธนบัตร รวมถึงวรรณกรรมหลายเรื่องก็มีการกล่าวถึงครุฑ เรื่องที่คนไทยรู้จักกันดีก็คือ กากี ซึ่งได้หยิบยกโคลงเห่ขึ้นมาเกริ่นข้างต้น แต่ก็คงมีคนจำนวนไม่น้อยที่ไม่ทราบถึงประวัติความเป็นมาของพญานกเจ้าเวหานาม ว่า ครุฑ

ครุฑ เป็นพญานก มีรูปครึ่งมนุษย์ ครึ่งนกอินทรี เป็นโอรสของพระกัศยปมุนี กับนางวินตา พระกัศยปมุนีนั้นเป็นฤษีที่มีอำนาจมาก ส่วนนางวินตาเป็นธิดาของพระทักษประชาบดี ซึ่งมีธิดาถึง 50 องค์ และได้ยกให้พระกัศยปมุนี ถึง 13 องค์ อีกองค์ที่โด่งดังคือนางกัทรู ซึ่งเป็นพี่ของนางวินตา


(http://www.arts65.net/postboard/photo/artsmen-dot-net_ans39_99499949.jpg)

นาง กัทรูได้ขอพรจากสามีให้มีลูกจำนวนมาก จึงให้กำเนิด นาค ถึง 1,000 ตัว อาศัยอยู่ในแดนบาดาล ส่วนนางวินตาขอลูกเพียง 2 องค์ แต่ขอให้ลูกมีอำนาจวาสนา จึงได้คลอดลูกออกมาคือ อรุณ และ ครุฑ ซึ่งต่อมาอรุณได้ไปเป็นสารถีของพระสุริยเทพ ส่วนครุฑเมื่อแรกเกิดออกจากไข่ว่ากันว่ามีร่างกายขยายตัวออกใหญ่โตจนจดฟ้า ดวงตาเมื่อกะพริบเหมือนฟ้าแลบ เวลาขยับปีกทีใด ขุนเขาจะตกใจหนีหายไป รัศมีที่พวยพุ่งออกจากกายมีลักษณะดั่งไฟไหม้ทั่วสี่ ทิศ

ต่อมา นางกัทรูและนางวินตามีเรื่องถกเถียงกันว่าม้าที่เกิดคราวทวยเทพและอสูรกวน น้ำอมฤตจะสีอะไร จึงพนันกันว่าใครแพ้จะต้องยกเป็นทาสของอีกฝ่าย 500 ปี นางวินตาทายว่าสีขาว นางกัทรูทายว่าสีดำ ซึ่งความจริงม้าเป็นสีขาว แต่นางกัทรูใช้อุบายให้นาคลูกของตนแปลงเป็นขนสีดำไปแซม อยู่เต็มตัวม้า นางวินตาไม่ทราบจึงต้องเป็นทาสถึง 500 ปี จึงทำให้ครุฑและนาคต่างไม่ถูกกันนับแต่นั้นมา


(http://www.arts65.net/postboard/photo/artsmen-dot-net_ans41_66386638.jpg)

แต่ เพื่อช่วยแม่ให้เป็นอิสระ ครุฑได้เจรจาทำความตกลงกับพวกพญานาคที่ต้องการเป็นอมตะว่าจะไปนำน้ำอมฤตที่ อยู่กับพระจันทร์มาให้ ครั้นแล้วก็บินไปสวรรค์ คว้าพระจันทร์มาซ่อนไว้ใต้ปีก แต่ถูกพระอินทร์และทวยเทพติดตามมาจึงเกิดต่อสู้กัน ทวยเทพทั้งหมดแพ้ครุฑ ยกเว้นพระวิษณุที่ต่อสู้กันไม่มีใครแพ้หรือชนะเลยต้องทำความตกลงหย่าศึก โดยพระวิษณุหรือพระนารายณ์สัญญาว่าจะให้ครุฑเป็นอมตะ และให้อยู่ตำแหน่งสูงกว่าพระองค์ ส่วนครุฑก็ถวายสัญญาว่าขอเป็นพาหนะของพระวิษณุ และเป็นธงครุฑพ่าห์สำหรับปักอยู่บนรถศึกของพระวิษณุอันเป็นที่สูงกว่า

(http://www.arts65.net/postboard/photo/artsmen-dot-net_data9_48634863.jpg)

ส่วน หม้อน้ำอมฤตนั้น พระอินทร์ตามมาขอคืน แต่ครุฑขอร้องว่าต้องรักษาสัตย์ ที่จะนำไปให้นาคเพื่อไถ่มารดาให้พ้นจากการเป็นทาส ขอให้พระอินทร์ไปเอาคืน จากนาคเอง เมื่อครุฑเอาน้ำอมฤตไปให้นาคก็วางไว้บนหญ้าคา แต่ ทำหกบนหญ้าคา 2-3 หยด ด้วยเหตุนี้ หญ้าคาจึงถือเป็นสิ่งมงคล ใช้ประพรมน้ำมนต์ ส่วนงูเมื่อเห็นน้ำอมฤตบนหญ้าคาก็ไปเลียกิน ด้วยความไม่ระวังจึงถูกคมหญ้าบาดเป็นทางยาว งูจึงมีลิ้นแตกเป็น 2 แฉก ฝ่ายนาคเมื่อเห็นน้ำอมฤตก็ยินดีปล่อยนางวินตามารดาของครุฑเป็นอิสระ แต่ขณะ พากันไปสรงน้ำชำระกายก่อนจะกินน้ำอมฤต พระอินทร์ก็นำหม้อน้ำอมฤตกลับไป ทำให้นาคยิ่งเพิ่มความเป็นศัตรูกับครุฑยิ่งขึ้น

ตาม วรรณคดีพุทธศาสนา เช่นเรื่อง สุสันธีชาดก และกากาติชาดก ระบุว่าครุฑมีขนาดใหญ่มาก วัดจากปีกข้างหนึ่งไปยังอีกข้างหนึ่งได้ 150 โยชน์ เวลากระพือปีกสามารถทำให้เกิดพายุใหญ่มืดมนทำลายบ้านเมืองให้พังทลายได้ ครุฑมีชายานามว่า อุนนติ หรือวินายกา โอรสชื่อ สัมปาติหรือสัม พาที และ ชฎายุ ที่อยู่ของครุฑคือสุบรรณพิภพ เป็นวิมานอยู่บนต้นสิมพลีหรือต้นงิ้ว เชิงเขาพระสุเมรุ

นอกจากตำนานข้างต้น ครุฑยังมีความเกี่ยวข้องกับคนไทยอีกหลายอย่าง โดย เฉพาะการถือว่าครุฑเป็นสัญลักษณ์สำคัญเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ ที่มีมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ด้วยว่าไทยเราได้รับลัทธิเทวราชของอินเดีย ที่ถือว่าพระมหากษัตริย์คืออวตารของพระนารายณ์ ดังนั้น ครุฑซึ่งทรงอิทธิฤทธิ์ และเป็นพาหนะของพระนารายณ์ จึงเป็นสัญลักษณ์แทนพระมหากษัตริย์


(http://www.arts65.net/postboard/photo/artsmen-dot-net_ans43_3792.gif)

พระ ราชลัญจกร ตั้งแต่สมัยอยุธยา มีองค์หนึ่งเป็นรูปนารายณ์ทรงครุฑ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริว่าไม่ควรมีองค์พระนารายณ์ ควรมี แต่ครุฑ จึงโปรดให้ สมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระยา นริศรานุวัตติวงศ์ ทรงเขียนถวายใหม่ และ โปรดให้ทำขึ้นใช้ประทับพระปรมาภิไธย ปัจจุบันตราดวงนี้อยู่ที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำหรับประทับกำกับพระปรมาภิไธย ในหนังสือสำคัญ เช่น ประกาศนียบัตรเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ต่อมาจึงได้มีการใช้ตราครุฑ เป็นหัวกระดาษของหนังสือของราชการทั่ว ๆ ไปด้วย เพื่อให้ทราบว่างานนั้นเป็นราชการ

สำหรับรูปครุฑที่เป็นธงแทนองค์ พระมหากษัตริย์เรียกว่า ธงมหาราช เป็นรูปครุฑสีแดงอยู่บนพื้นธงสีเหลือง เริ่มใช้ในสมัยรัชกาลที่ 4 ธงมหาราชนี้เมื่อเชิญขึ้นเหนือเสา ณ พระราชวังใดแสดงว่าพระมหากษัตริย์ประทับอยู่ ณ ที่นั้น ส่วนครุฑที่ปรากฏอยู่ในขบวนเรือหลวงมีอยู่ 3 ลำ คือ เรือครุฑเหินเห็จ เป็นหัวโขนรูปพญาครุฑ  สีแดงยุดนาค เรือครุฑเตร็จไตรจักร เป็นหัวโขนรูปพญาครุฑสีชมพูยุดนาค และ เรือนารายณ์ทรงสุบรรณรัชกาลที่ 9 เป็นรูปพระนารายณ์ทรงครุฑ


(http://www.arts65.net/postboard/photo/artsmen-dot-net_ans44_65936593.jpg)

นอก จาก “ตราครุฑ” จะปรากฏในส่วนราชการต่าง ๆ แล้ว ภาคเอกชนก็สามารถรับพระราชทานราชานุญาตให้ใช้ตราครุฑหรือตราแผ่นดินใน กิจการได้ด้วย โดยเริ่มมีมาแต่รัชกาลที่ 5 ซึ่งเดิมเป็นตราอาร์ม โดยมีข้อความประกอบว่า “โดยได้รับราชานุญาต” ต่อมาในรัชกาลที่ 6 ได้เปลี่ยนตราแผ่นดินเป็นตราพระครุฑพ่าห์ การพระราชทานตรานี้แต่เดิมถือเป็นพระมหากรุณาธิคุณที่จะพระราชทานตามพระราช อัธยาศัย ผู้ได้รับนอกจากจะเป็นช่างหลวง เช่น ช่างทอง ช่างถ่ายรูป เป็นต้นแล้วก็มักจะเป็นผู้ประกอบกิจการค้ากับราชสำนัก และเป็นประโยชน์ต่อราชการงานแผ่นดิน

ปัจจุบันการขอพระราชทานตรา ตั้งนี้ต้องยื่นคำขอต่อสำนักพระราชวัง เพื่อพิจารณานำความขึ้นกราบบังคมทูลขอพระราชทานราชานุญาต ซึ่งตราตั้งนี้ถือเป็นของพระราชทานเฉพาะบุคคล สิทธิรับพระราชทานและการใช้เครื่องหมายนี้จะสิ้นสุดเมื่อสำนักพระราชวัง เรียกคืนเนื่องจากบุคคล ห้างร้าน บริษัทที่ได้รับพระราชทานฯ เสียชีวิต หรือเลิกประกอบกิจการ หรือโอนกิจการให้ผู้อื่น หรือสำนักพระราชวังเห็นสมควรเพิกถอนสิทธิ



‘สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ : ข้อมูล


หัวข้อ: Re: ประวัติ ตำนาน เรื่องเล่า
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มีนาคม 02, 2012, 09:24:24 PM
ประวัติหลวงพ่อชา

(http://www.kanlayanatam.com/special/image001.gif)

พระโพธิญาณเถร นามเดิมว่า ชา ช่วงโชติ เกิดเมื่อวันที่ ๑๗ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๖๑ ณ บ้านจิกก่อ หมู่ที่ ๙ ตำบลธาตุ อำเภอ วารินชำราบ จังหวัด อุบลราชธานี ตามประวัติท่านมีจิตฝักใฝ่ธรรมมาแต่เด็กบรรพชาเป็นสามเณรเมื่อเดือนมีนาคม ๒๔๗๔ ได้ ๓ พรรษา แล้วก็ลาสิกขาอุปสมบทเป็นภิกษุเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๒ ปี พ.ศ. ๒๔๘๔ ออกศึกษาปริยัติต่างถิ่นโดยเริ่มที่วัดสวนสวรรค์ อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี การที่ท่านบวชแต่เยาว์วัยยังผลให้ท่านมีโอกาสศึกษาเล่าเรียนทางโลกเพียงแค่ชั้นประถมปีที่ ๑

หลวงพ่อชาเป็นผู้สนใจธรรมมาก ท่านมีความปรารถนาอยากรู้แจ้งเห็นจริงตามคำสอนของพระพุทธองค์ จึงเริ่มศึกษาธรรมจากสำนักต่าง ๆ หลายสำนักระยะแรกในช่วงปี พ.ศ. ๒๔๘๕-๒๔๘๖ ศึกษาปริยัติธรรมกับพระมหาแจ้ง วัดเค็งใหญ่ อ.อำนาจเจริญ จ.อุบลราชธานี และพระครูอรรถธรรมวิจารณ์ วัดหนองหลัก อ.ม่วงสามสิบ จ.อุบลราชธานี ปี ๒๔๘๖ เมื่อโยมบิดาถึงแก่กรรม หลวงพ่อชาสิ้นภาระห่วงใย มองเห็นความเป็นอนิจจังของชีวิต หลังจากสอบนักธรรมเอกได้เกิดเบื่อหน่ายด้านปริยัติ พิจารณาว่าไม่ใช้ทางพ้นทุกข์ ประสงค์จะศึกษาด้านวิปัสสนาธุระบ้าง จึงออกธุดงค์ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๘๙ เพื่อค้นหาอาจารย์ที่จะสอนด้านวิปัสสนาธุระ โดยระยะแรกมุ่งหน้าไปจังหวัดสระบุรี-ลพบุรี ที่ลพบุรีมุ่งตรงมาที่สำนักวัดป่าของหลวงพ่อเภา แต่น่าเสียดายที่หลวงพ่อเภามรณภาพเหลือแต่อาจารย์วันลูกศิษย์ จึงได้แต่ศึกษาระเบียบข้อปฏิบัติที่หลวงพ่อเภาวางไว้ และจากอาจารย์วัน อาจารย์ที่สำคัญอีกองค์หนึ่ง คืออาจารย์ชาวเขมร (ซึ่งธุดงค์จากเขมรมาไทย และมุ่งไปพม่า) เป็นผู้วางหลักแนวทางปฏิบัติโดยใช้หนังสือ บุพพสิกขาวรรณนาวินัยกถา ซึ่งแต่งโดยพระอมรมภิรักขิต (เกิด) ในคณะธรรมยุตินิกาย หลวงพ่อชาจึงได้ใช้หนังสือบุพพสิกขาวรรณนาวินัยกถา เป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับวัตรปฏิบัติของพระสงฆ์ในวัดหนองป่าพงและสาขามาจนทุกวันนี้

ปี ๒๔๙๐ หลังจากจำพรรษาที่เขาวงกต อยู่ได้หนึ่งพรรษา ได้ทราบข่าวว่าท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต (หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต) เป็นผู้มีคุณธรรมสูงทั้งเชี่ยวชาญด้านวิปัสสนาธุระ มีประชาชนเคารพเลื่อมใสมาก จึงเดินทางมาที่วัดหนองผือนาใน อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนครวันแรกย่างเหยียบเข้าสำนัก เห็นบริเวณร่มรื่น ปฏิปทาของพระภิกษุเคร่งครัดเป็นที่น่าเลื่อมใสศรัทธา หลวงปู่มั่นได้เทศนาสั่งสอนเกี่ยวกับหลักธรรม อาทิศีลนิเทศ ปัญญานิเทศ พละ ๕ อิทธิบาท ๔ ให้แก่หลวงพ่อชาและศิษย์จนเป็นที่พอหายสงสัย สิ่งที่น่าสังเกตคือหลวงปู่มั่นไม่มีความคิดที่จะให้หลวงพ่อชาแปลงนิกายเป็นธรรมยุติกาย ท่านให้ข้อชี้แจ้งเป็นปรัชญาคมคายว่าในความเป็นภิกษุที่แท้จริงไม่ได้มีนิกาย ทั้งหมดคือพระสงฆ์สาวกของพระพุทธองค์ ดังคำกล่าวของหลวงปู่มั่นต่อหลวงพ่อชาว่า “ ไม่ต้องสงสัยนิกายทั้งสอง ” หลังจากฟังเทศน์จากหลวงปู่มั่น หลวงพ่อชามีจิตอิ่มเอิบ เป็นสมาธิ และได้ยึดคำสอนปฏิปทาของท่านไว้เป็นแนวปฏิบัติต่อไปองค์ที่ตรัสว่า “ ทำตนให้ตั้งอยู่ในคุณอันสมควรเสียก่อน แล้วจึงสอนคนอื่นทีหลัง จึงจักไม่เป็นบัณฑิตสกปรก ” ดังนั้นไม่ว่าจะทำกิจวัตรอันใด เช่น กวาดวัด จัดที่ฉันล้างบาตร นั่งสมาธิ ตักน้ำ ทำวัตร สวดมนต์ เดินจงกรม ในระหว่างวันพระถือเนสัชชิไม่นอนตลอดคืน หลวงพ่อชาลงมือทำเป็นตัวอย่างของศิษย์โดยถือหลักว่า “ สอนคนด้วยการทำให้ดู ทำเหมือนพูด พูดเหมือนทำ ” ดังนั้นศิษย์และญาติโยมจึงเกิดความเลื่อมใสเคารพยำเกรงในปฏิปทาที่หลวงพ่อดำเนินอยู่

ในระยะแรกของการมาอยู่ป่าพงค่อนข้างลำบาก ชาวบ้าน ญาติโยมผู้ศรัทธาเข้ามาสร้างวัดเป็นกระท่อมเล็ก ๆ ให้ได้อาศัย ไข้ป่าชุกชุม เพราะเป็นป่าทึบ เมื่อเจ็บป่วยยารักษาก็หายาก โยมอุปัฏฐากยังน้อย อาหารการกินฝืดเคือง แต่กระนั้นหลวงพ่อก็ไม่เคยออกปากของญาติโยม แม้จะเลียบเคียงก็ยังไม่ยอมทำ ปล่อยให้ผู้พบเห็นพิจารณาด้วยตนเอง เดือนต่อมาเกิดสำนักชีขึ้นที่วัดเพื่อสนองคุณต่อโยมมารดาให้ได้ปฏิบัติธรรม โยมแม่พิมพ์จึงเป็นแม่ชีคนแรกของวัดหนองป่าพง และมีแม่ชีติดต่อกันมาถึงปัจจุบันเป็นจำนวนมากและทางวัดมีการแบ่งเขตสงฆ์เขตชีไว้เรียบร้อยไม่ก้าวกายปะปนกัน

วัดหนองป่าพงได้รับอนุญาตให้สร้างในปี ๒๕๑๓ ปี ๒๕๑๖ หลวงพ่อได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดหนองป่าพงและได้รับสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่ “ พระโพธิญาณเถร ” ปี ๒๕๑๙ สิ้นเงิน ๕ ล้านบาท ปี ๒๕๒๐ ได้เดินทางไปประกาศสัจธรรมในภาคพื้นยุโรปเป็นครั้งแรกปี ๒๕๒๒ ได้เดินทางไปอังกฤษ อเมริกา คานาดา เพื่อประกาศสัจธรรม เป็นครั้งที่ ๒

ปี ๒๕๒๕ หลวงพ่อชาอาพาธ เป็นโรคเกี่ยวกับสมอง มีอาการเวียนศีรษะความจำเสื่อม จนต้องผ่าตัดสมอง หลังจากการผ่าตัด ท่านไม่สามารถพูดได้เคลื่อนไหวไม่ได้ ต้องอาศัยพระภิกษุในวัดช่วยปรนนิบัติเอาใจใส่ดูแลอย่างใกล้ชิด การบริหารวัดทั้งหมดมอบให้อาจารย์เหลื่อมเป็นผู้รักษาการแทน

หลวงพ่อชาถึงแก่มรณภาพเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๓๕ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ ราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานเพลิงศพ เมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๓๖

วัดหนองป่าพง

(http://www.kanlayanatam.com/special/NongPa_image001.gif)

(http://www.kanlayanatam.com/special/NongPa_image002.gif)

วัดหนองป่าพง เป็นวัดป่าฝ่ายอรัญวาสี ตั้งอยู่ที่ตำบลโนนผึ้ง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี เป็นสำนักปฎิบัติธรรมที่แวดล้อมด้วยธรรมชาติอันสงบเงียบ มีบรรยากาศอันร่มรื่น เหมาะแก่การปฎิบัติธรรม สร้างโดยหลวงพ่อชา สุภทโท หรือ พระโพธิญาณเถระ

 ประวัติความเป็นมา

ระหว่างที่มาอยู่วัดหนองป่าพง หลวงพ่อได้ยึดหลักคำสอนของพระพุทธองค์ที่ตรัสว่า " ทำตนให้ตั้งอยู่ในคุณธรรมสมควรเสียก่อน แล้วจึงสอนคนอื่นที่หลัง จึงจะไม่เป็นบัณฑิตสกปรก" ฉะนั้นไม่ว่าจะทำกิจวัตรอันใด เช่น การกวาดลานวัด จัดที่ฉัน ล้างบาตร นั่งสมาธิ ตักน้ำ ทำวัตร หลวงพ่อจะลงมือทำเป็นตัวอย่างของศิษย์โดยยึดหลักว่า "สอนคนด้วยการทำให้ดู ทำเหมือนพูดพูดเหมือนทำ" ดังนั้นศิษย์ และญาติโยมจึงเกิดความเคารพเลื่อมใสในปฏิปทาที่หลวงพ่อดำเนินอยู่

ศิลปสถาปัตยกรรม

นอกจากจะเป็นที่บำเพ็ญสมณธรรมของพระธุดงค์กรรมฐานสายพระอาจาย์มั่น ภูริทตโต แล้ววัดหนองป่าพงยังเป็นที่สำคัญด้านสถาปัตยกรรม ผสมผสานระหว่างศิลปะอีสานกับศิลปะร่วมสมัย อาทิ การก่อสร้างโบสถ์ วิหาร พิพิธภัณฑ์ และเจดีย์ที่บรรจุอัฐิหลวงพ่อชา

โบสถ์วัดหนองป่าพง
เป็นอุโบสถอเนกประสงค์สมัยใหม่ที่เอื้อต่อประโยชน์ใช้สอย พื้นอุโบสถยกลอยจากพื้นดิน เบื้องล่างเป็นถังเก็บน้ำฝนตัดสิ่งประดับฟุ่งเฟื่อย อาทิ ช่อฟ้า ใบระกา ไม่มีผนังประตูหน้าต่าง สามารถจุคนได้จำนวนประมาณ 200 กว่าคน เสาอาคารและผนังประดับด้วยเครื่องปั้นดินเผา อีสานจากบ้านด่านเกวียนวิหาร เป็นลักษณะศิลปแบบอีสานเรียบง่ายแต่เน้นประโยชน์ใช้สอย สามารถจุประชาชนได้ เป็นนับพันคน

เจดีย์บรรจุอัฐิหลวงพ่อชา
มีรูปแบบสถาปัตยกรรมผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมอีสานกับ ล้านช้าง

ความสำคัญต่อชุมชน
 
วัดหนองป่าพงเป็นต้นแบบของวัดป่ากว่า 100 แห่งในประเทศไทย และอีกหลายแห่งในยุโรป ออสเตรเลีย และแคนาดา หลวงพ่อชาเป็นตัวอย่าง ของพระสงฆ์ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ แม้จะมีศาสนิกชนมากมายแต่ก็ไม่สร้าง ความแตกแยกให้เกิดนิกาย หรือเข้าไปพัวพันกับการเมืองจนเป็นเรื่อง แตกแยก วัดเน้นความเรียบง่าย ใกล้ชิดธรรมชาติ ไม่ฟุ่งเฟือยหรือสะสม คงความเป็นพุทธ คือ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน อย่างแท้จริง หน้าที่หลักของ พระสงฆ์ คือ เป็นที่พึ่งทางจิตใจ อบรมสั่งสอนให้ศาสนิกชนปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบตามหลักแห่งพระพุทธศาสนา

วัดหนองป่าพงมีเนื้อที่ประมาณ 300 ไร่ ประกอบด้วย โบสถ์ วิหาร พิพิธภัณฑ์พระโพธิญาณเถระ กุฏิพยาบาลหลวงพ่อชา กุฎิพระ กุฎิแม่ชี กุฎิหลวงพ่อชา


(http://www.kanlayanatam.com/voice/LP_cha/1.jpg)
หลวงปู่มั่น อาจารย์หลวงพ่อชา

(http://www.kanlayanatam.com/voice/LP_cha/lp_cha1.jpg)

(http://www.kanlayanatam.com/voice/LP_cha/lp_cha2.jpg)

(http://www.kanlayanatam.com/voice/LP_cha/lp_cha4.jpg)

(http://www.kanlayanatam.com/voice/LP_cha/lp_cha5.jpg)

(http://www.kanlayanatam.com/voice/LP_cha/lp_cha6.jpg)

(http://www.kanlayanatam.com/voice/LP_cha/lp_cha8.jpg)

(http://www.kanlayanatam.com/voice/LP_cha/lp_cha9.jpg)

(http://www.kanlayanatam.com/voice/LP_cha/lp_cha10.jpg)
หลวงพ่อชา กับ พระฝรั่ง                    พระฝรั่งรูปแรก ท่านอาจารย์สุเมโท



(http://www.thummada.com/public_html/images/th_02.gif)


หัวข้อ: Re: ประวัติ ตำนาน เรื่องเล่า
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มีนาคม 02, 2012, 09:26:05 PM
ความหมายของธูปที่จุด  


(http://variety.teenee.com/foodforbrain/img3/125528.jpg)


ธูป 1 ดอก วิญญาณธรรมดา ที่ไม่ได้ขึ้นชั้นเทพ

ธูป 2 ดอก ใช้บูชาเจ้าที่เจ้าทาง

ธูป 3 ดอก ใช้บูชาพระรัตนตรัย (พระปัญญาคุณ พระกรุณาคุณ และพระเมตตาคุณ)

ธูป 5 ดอก ใช้บูชาธาตุทั้งห้า หรือทิศทั้งห้า บูชาเสด็จพ่อ ร.5

ธูป 7 ดอก ไหว้พระพรหม บูชาพระอาทิตย์ ถือคติคุ้มครองทั้ง 7 วันในสัปดาห์

ธูป 8 ดอก บูชาเทพเจ้าตามความเชื่อของชาวฮินดู

ธูป 9 ดอก บูชาพระพุทธคุณ ทั้งเก้า และพระเทพารักษ์

ธูป 11 ดอก บูชาพระโพธิ์สัต และสมมุติเทพ

ธูป 10 ดอก ใช้บูชาเจ้าที่ เจ้าป่า เจ้าเขา ตามความเชื่อของชาวจีน
 
ธูป 12 ดอก บูชาเจ้าแม่กวนอิม บูชาพระคุณของแม่

ธูป 16 ดอก บูชาเทพชั้นครู หรือ พิธีกลางแจ้ง ที่มีการอัญเชิญเทวดา ที่สำคัญหมายถึงสวรรค์ 16 ชั้น

ธูป 19 ดอก บูชาเทวดาทั้ง 10 ทิศ

ธูป 21 ดอก บูชาพระคุณของพ่อ

ธูป 32 ดอก ใช้สวดชุมนุมเทวดาทั้ง 4 ทิศ

ธูป 108 ดอก บูชาทุกสัพสิ่งสูงสุดทั่วทั้งโลกทุกชั้นฟ้า

 
 

ขอบคุณ : wechampion.igetweb.com
 


หัวข้อ: Re: ประวัติ ตำนาน เรื่องเล่า
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มีนาคม 02, 2012, 09:27:17 PM
พิธีสู่ขวัญ


พิธีสู่ขวัญ บางทีเรียกว่า "พิธีบายศรี" หรือ "บายศรีสู่ขวัญ" เป็นประเพณีสำคัญอย่างหนึ่งของชาวอีสาน ประเพณีสู่ขวัญทำกันแทบทุกโอกาส ทั้งในมูลเหตุแห่งความดีและไม่ดี ชาวอีสานถือว่าเป็นประเพณีเรียกขวัญ ให้มาอยู่กับตัว พิธีสู่ขวัญนี้เป็นได้ทั้งการแสดงความชื่นชมยินดี และเป็นการปลอบใจให้เจ้าของขวัญจากคณะ ญาติมิตรและบุคคลทั่วไป

ผู้ได้ดีมีโชคหรือผู้หลักผู้ใหญ่ที่เราเคารพนับถือมาเยี่ยมเราก็ยินดีจัดพิธีสู่ขวัญให้ ประเพณีสู่ขวัญจึงเป็น ประเพณีทำกันอย่างกว้างขวาง คำว่า"ขวัญ"นั้นเชื่อว่าเป็นสิ่งไม่มีตัวตนคล้ายกับจิตหรือวิญญาณแฝง อยู่ในตัวคนและสัตว์ ตั้งแต่เกิดมาทุกคนมีขวัญกันทั้งนั้นและในบางแห่งเรามักแปลว่า "กำลังใจ" ก็มีคำว่า "ขวัญ" ยังมีความหมายอีกว่าเป็นที่รักที่บูชา เช่นเรียกเมียที่รักว่า "เมียขวัญ" หรือ "จอมขวัญ" เรียกลูกรักหรือลูกแก้วว่า "ลูกขวัญ" สิ่งของที่ผู้เคารพรักใคร่นับถือกันนำมาฝาก นำมาให้เพื่อเป็นการทะนุ ถนอมน้ำใจกันเราก็เรียกว่า "ของขวัญ"

"ขวัญ" อีกความหมายหนึ่ง หมายถึง ขน หรือผม ที่ขึ้นเวียนเป็นก้นหอย พิธีสู่ขวัญเป็นพิธีเก่า แก่ของชาวไทยเราแทบทุกภาค การทำพิธีก็ผิดเพี้ยนกันไปบ้างแต่ก็ยังยึดหลักใหญ่อยู่เหมือนกัน พิธีสุ๋ขวัญในบทความนี้ จะกล่าวถึงพิธีของชาวอีสานเป็นส่วนใหญ่ การทำพิธีสู่ขวัญเราอาจทำได้ถึง ๒ วิธีพร้อม ๆ กัน คือวิธีทางพุทธศาสนาและวิธีทางพราหมณ์ศาสนา

วิธีทางพุทธศาสนา โดยการนิมนต์พระสงฆ์อย่างน้อย ๕ รูป มาเจริญพระพุทธมนต์ ตั้งบาตรน้ำมนต์ เสร็จแล้วประพรมน้ำมนต์ พระสงฆ์สวดชัยมงคลคาถาถ้ามีศรัทธาพอจะถวายภัตตาหารเช้า หรือเพลพระสงฆ์ด้วยก็ได้ ส่วนพิธีทางพราหมณ์ ก็คือการสู่ขวัญซึ่งจะได้อธิบายให้ละเอียดต่อไป

การทำพิธีสู่ขวัญต้องเตรียมอุปกรณ์ต่างๆ หลายอย่างดังนี้...


 

(http://www.horasaadrevision.com/images/1132557279/1AmainJpgSmallfile.jpg)(http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/sakolnakorn/niwait-s/picture/PAN.JPG)


พาขวัญหรือพานบายศรี คำว่า "บายศรี" นี้น่าจะมาจากภาษาเขมร คือคำว่า บาย + ศรีข้าว (สุก) ที่เป็นมงคลข้าวนี้จะ เป็นส่วนประกอบของการจัดพานบายศรี จะขาดไม่ได้ การจัดพาขวัญนี้ ปกติต้องจัดด้วยพาน ทองเหลืองและมีสัมฤทธิ์ (ขันลงหิน) หลาย ๆใบ ซ้อนกัน มีใบตอง ดอกไม้สด ด้ายสำหรับผูกข้อมือ (ผูกแขน) ปัจจุบันเริ่มมีการนำเอากระดาษสีต่างๆ แต่ก็ผิดธรรมเนียมของท้องถิ่นไป

พาขวัญอาจจัดเป็นชั้นๆ จะเป็น ๓ ชั้น ๕ ชั้น ๗ ชั้น แล้วแต่ความสามารถ แต่คนเก่าคนแก่ของเมืองอุบล ฯ กล่าวว่าพาขวัญ ๓ ชั้น ๕ ชั้น เป็นของบุคคลธรรมดา ส่วน ๗ ชั้น และ ๙ ชั้นนิยมจัดเฉพาะสำหรับเชื้อพระวงศ์ และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ชั้นล่างของพาขวัญจะเป็นพานมีบายศรี (ทำด้วยใบตอง) ดอกไม้ ข้างต้ม ไข่ต้ม ขนม กล้วย อ้อย ปั้นข้าว เงินฮาง มีดด้ามแก้ว ชั้น ๒ , ๓, ๔ จะได้รับการตกแต่งด้วยใบศรี และ ดอกไม้ซึ่ง มักจะเป็นดอกฝาง ดอกดาวเรือง ดอกรัก ใบเงิน ใบคำ ใบคูณ ใบยอป่า อย่างสวยงาม ส่วนชั้นที ๕ จะมีใบศรี และด้ายผูกข้อมือ เทียนเวียนหัว (ทำด้วยขี้ผึ้ง) ของเจ้าของขวัญ นอกจากพาขวัญแล้วจะมีเครื่องบูชาและอื่นๆ เช่น ขันบูชา มีพานขนาดกลางสำหรับวางผ้า ๑ ผืน แพร ๑ วา หวี กระจกเงา น้ำอบ น้ำหอม สร้อย แหวน ของผู้เป็นเจ้าของขวัญ
 

ด้ายสำหรับผูกข้อมือ (ด้ายผูกแขน) นั้นต้องเป็นด้ายดิบนำมาจับเป็นวงยาวพอที่จะพันรอบข้อมือได้ โบราณถือว่า คนธรรมดา วงละ ๓ เส้นผู้ดีมีศักดิ์ตระก้ล ๕ เส้น (อาชญา ๕ ขี้ข้า ๓)เมื่อวงแล้วให้เด็ดหรือดึงให้ขาด เป็นเส้นๆห้ามใช้มีดตัดจะใช้มีดตัดได้เฉพาะด้ายที่มัดศพเท่านั้น ถ้าเป็นพาขวัญงานแต่ง คนจะเริ่มจัดพาขวัญต้อง เป็นคนบริสุทธิ์ (ปลอด) คือเป็นคนดีผัวเดียวเมียเดียว ถ้าจัดไม่เป็นเพียงมาจับพอเป็นพิธีแล้วให้คนอื่นๆจัดต่อ ไปจนเสร็จต้องจัดทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง พาขวัญฝ่ายชายจะให้หญิงบริสุทธิ์ (เด็กหญิงยังไม่มีประจำเดือน) หาบด้วยไม้ม้วนผ้าทอหูกเพราะถือเคล็ดเอาความสามัคคีรักใคร่ของผ้าและไม้ และการสูตรขวัญต้องสูตรเวลา ค่ำประมาณ ๓ - ๔ ทุ่มหลังรับประทานอาหารค่ำเสร็จถือว่าเป็นเวลาหนูเข้ารู (ยามหนูเข้าฮู) พาขวัญงานแต่ง จะต้องมีอาหารคาวหวานเป็นส่วน ประกอบอีกด้วย

พาขวัญแต่งเสร็จแล้วจะตั้งวางไว้ในที่อันเหมาะสมก่อนพอได้เวลาสูตรขวัญ คือจะทำพิธีจึงให้ยกไป ตั้งท่ามกลางญาติมิตรบนผ้าห่มหรือผ้าเช็ดตัวของเจ้าของขวัญ ข้างๆพาขวัญนอกจากจะมีอุปกรณ์ต่างๆ ดังกล่าวแล้ว ยังต้องมีแก้วน้ำเย็น แก้วใส่น้ำส้มป่อย (กระถินป่า) และแก้วเหล้าสำหรับหมอสูตรขวัญจะได้ดื่ม หรือพ่นหรือจุ่ด้วยดอกไม้สลัดใส่พาขวัญซึ่งเรียกว่า "ฮดฟาย"


การสวดหรือการสูตรขวัญ เจ้าภาพผู้จัดพิธีสู่ขวัญจะต้องจัดหาหมอนวดหรือสูตรขวัญซึ่งมักเรียกว่า "พราหมณ์" หรือ"พ่อพราหมณ์" ไว้ล่วงหน้า ปกตินี้พ่อพราหมณ์มักจะเป็นผู้ที่ทราบประเพณีสู่ขวัญเป็นที่นับถือของ ชาวบ้านในหมู่บ้านนั้น หมอสูตรขวัญสมัยก่อนๆ นุ่งห่มธรรมดาเพียงให้มีผ้าขาวหรือให้มีผ้าขาวม้าพาดบ่า ก็พอปัจจุบันนิยมนุ่งขาวห่มขาว นับว่าเป็นการพัฒนาให้เหมาะ สมกับสังคมสมัยใหม่

ก่อนลงมือสวด เจ้าภาพต้องเตรียม "ด้ายผูกแขนพราหมณ์" ไว้เป็นด้ายผูกข้อมือธรรมดาเป็นแต่เพียง มัดธนบัตรเป็นค่าบูชาพราหมณ์จำนวนมากหรือน้อยแล้วแต่เจ้าภาพจะเห็นสมควร และเจ้าภาพจะเป็นคนผูกข้อ มือพราหมณ์ด้วยด้ายผูกแขนพิเศษนี้

พราหมณ์จะจัดให้เจ้าของขวัญนั่งให้หันหน้าไปในทิศทางต่างๆ ตามตำรา เจ้าของขวัญนั่งลงแล้วยกมือไหว้ พราหมณ์เสร็จแล้วใช้มือขวาจับพาขวัญตั้งจิตรอธิฐานขอให้เทวดาบันดาลให้เป็นไปดังหมอขวัญหรือพราหมณ์สูตร ญาติพี่น้องจะนั่งล้อมเป็นวงด้านหลังตั้งจิตรอธิฐานให้เจ้าของขวัญมีความสุขความเจริญ จงเกิดแก่เจ้าของขวัญแล้ว อ้อนวอนเทวดาเป็นภาษาบาลีว่า "สัค เค กา เม จ รูเป" … จบแล้วว่านโม ๓ จบแล้วกล่าวคำบูชาพระรัตนตรัย ครั้นจบแล้วจะสู่ขวัญอะไรก็เลือกว่าเอาตามต้องการให้เหมาะกับงาน การสวดต้องให้เสียงชัดเจน สละสลวย ไพเราะฟังแล้วเกิดความดีใจ ศรัทธาอุตสาหะ ในการทำความดียิ่งขึ้นจึงจะเป็นสิริมงคลแก่เจ้าตัวถ้าป่วยไข้ ไข้จะหาย ถ้าได้ดีได้เลื่อนยศ เลื่อนตำแหน่งก็จะรักษาความดีไว้ให้คงทนไม่ฟุ้งเฟ้อเห่อเหิมจนลืมตัวเมื่อสวดเสร็จ จะว่า " สัพพพุทธานุภาเวน สัพพธัมมานุภาเวน สัพพสังฆานุภาเวนสัพพโสตถี ภวันตุ เต ยถา สัพพี ภวตุ สัพ " ฯลฯ การเข้านั่งล้อมพาขวัญถ้าเป็นการแต่งงานคู่บ่าวสาวพร้อมด้วยเพื่อนเจ้าบ่าวเจ้าสาวจะเข้าร่วมพิธีด้วย จะจัดให้เจ้าบ่าวเจ้าสาวนั่งชิดกันเวลาจับพาขวัญให้แขนเจ้าบ่าวทับแขนเจ้าสาวเพื่อนๆ เจ้าบ่าวจะ พยายามเบียดให้เจ้าสาวนั่งชิดกับเจ้าบ่าวให้มากๆ จะมีการแกล้งเจ้าบ่าวต่างๆ นานาเป็นที่สนุกสนาน

การมาร่วมพิธีสู่ขวัญนี้คนโบราณได้เล่าว่าเมื่อครั้ง ๗๐ ปีก่อนบ้านเมืองอุบลฯ อุดมสมบูรณ์ไปด้วยการเลี้ยงไหมของขวัญผู้มาร่วมพิธีขวัญจึงเป็นไหมเส้นเป็นไจๆนับว่าเป็นของขวัญที่พอ เหมาะพอควรและไม่เคยมีการนำเอาเงินมาเป็นของขวัญไหมที่เจ้าของขวัญรับไว้ก็จะนำไปทอเป็นผ้าได้ภายหลัง

การเชิญขวัญ ก่อนสูตรขวัญถ้ามีเวลาพอก็ให้ว่าคำเชิญขวัญเสียก่อนทุกครั้งการเชิญขวัญเป็นพิธีที่ดีอย่าง หนึ่งคือเราขอความสำเร็จความศักดิ์สิทธิ์จากพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เทวดา อินทร์ พรหม ผู้มีอิทธิฤทธิ์มาประสิทธิ์ประสาทพรให้จะได้มีวาจาศักดิ์สิทธิ์เพราะผู้สวดและผู้ฟังไม่ใช่คนมีอิทธิฤทธิ์เมื่อ เราขอท่านท่านก็คงเมตตาประทานให้ตามคำขอ

คำเชิญขวัญ คำเชิญขวัญนั้นมีหลายสำนวนไม่มีแบบตายตัว ต่างหมอต่างสรรหาสำนวนที่เห็นว่า เหมาะกับเหตุการณ์เช่น คำเชิญขวัญสำหรับบุคคลธรรมดา ก็อีกสำนวนหนึ่ง สำหรับเชื้อพระวงศ์ก็อีกสำนวน หนึ่งเป็นต้น

การผูกแขนหรือข้อมือ

เมื่อพราหมณ์สูตรขวัญจบแล้วญาติพี่น้องจะเอาข้าว ไข่ กล้วย ใส่มือเจ้าของขวัญมือซ้ายหรือมือขวา ก็ได้ให้พราหมณ์ผูกข้อมือให้ก่อนปกติจะผูกข้อมือซ้ายเพราะแขนซ้ายถือเป็นแขนขวัญ เป็นแขนที่อ่อนแอใช้งาน หนักไม่ได้ เป็นแขนที่น่ารักทะนุถนอม ในเวลาผูกข้อมือนั้นทุกคนยื่นมือขวาออกไปพยุง (โจม) แขนของเจ้าของ ขวัญที่พราหมณ์กำลังทำพิธีผูกข้อมือให้ถ้าอยู่ห่างก็ยื่นมือจับแขนหรือแตะตัวกันต่อๆ มาเป็นเส้นสายเหมือน เชือกส่อแสดงถึงความสัมพันธ์ทางกายและใจเป็นอย่างยิ่ง แล้วตั้งจิตอธิฐานขอให้เจ้าของขวัญมีความสุขความเจริญเมื่อผูกข้อมือเสร็จแล้วให้ผู้เป็นเจ้าของขวัญมีความ สุขความเจริญเมื่อผูกข้อมือเสร็จแล้วให้ผู้เป็นเจ้าของขวัญประนมมือไหว้ผู้ให้พร เป็นการรับเอาพร เมื่อพราหมณ์ผูก เสร็จแล้ว ต่อไปก็เป็นโอกาสของญาติมิตรทั่วๆไปจะเข้ามาผูกข้อมือให้กับเจ้าของขวัญ

ด้ายผูกแขน (ด้ายผูกข้อมือ) ถือเป็นของดี ของศักดิ์สิทธิ์ควร รักษา ไว้อย่าพึ่งดึงทิ้ง ให้ล่วง ๓ วันเสียก่อนจึงดึงออกเวลาทิ้งอย่าทิ้ง ลงที่สกปรก เพราะด้ายผูกแขนเป็นของขาวของบริสุทธิ์ เป็นจุดรวมแห่งจิตใจบริสุทธิ์หลาย ดวงจึงควรรักษาไว้ให้ดี ผู้เฒ่าผู้แก่เคยเล่าให้ฟังว่าด้ายผูกแขนที่เก็บรักษา ไว้เป็นของศักดิ์สิทธิ์ ป้องกันอันตรายได้เช่น มีโจรมาปล้น อธิฐานขอให้จิต ทุกดวงช่วยก็ปลอดภัยจากอันตรายได้และเป็นเสน่ห์ดึงดูดจิต ใจให้คนรัก-ใคร่ชอบ พอได้

การผูกแขน (ผูกข้อมือ) การผูกแขนที่จะอำนวยประโยชน์สุขให้แก่เจ้าของ ขวัญควรประกอบ
ด้วยองค์ ๔ คือ :-

- ผู้ผูก หรือพราหมณ์
- ผู้รับผูก หรือเจ้าของขวัญ
- ผู้เกี่ยวข้อง คือญาติมิตร
- คำกล่าวขณะที่ผูก

คำกล่าวขณะที่ผูกเป็นคำเรียกร้องเชิญขวัญซึ่งเป็นคำที่ไพเราะ อ่อนหวาน สุภาพ เรียบร้อยมีความหมาย ไปในทางที่ดีงาม

โอกาสจัดพิธีสู่ขวัญ มีหลายโอกาสเช่น คารวะพระพุทธรูป บายศรีพระสงฆ์ สู่ขวัญแม่ออกกรรม (คลอดบุตรออกไฟ) สู่ขวัญเด็กน้อย สู่ขวัญเฮือน สู่ขวัญคนธรรมดา สู่ขวัญแต่งงาน สู่ขวัญหลวง สู่ขวัญเกวียน สู่ขวัญขึ้นเล้า (ยุ้ง) สู่ขวัญน้อยก่อนแต่งงาน สู่ขวัญคนป่วย สู่ขวัญขึ้นบ้านใหม่ สู่ขวัญวัวขวัญควาย

จะเห็นได้ว่าพิธีสู่ขวัญนี้เป็นประเภท "ขนบประเพณี" คือประเพณีชาวอีสานได้เคยตั้งหรือร่างเป็นระเบียบแบบ แผนขึ้นไว้เป็นธรรมดาของประเพณีที่อาจมีส่วนปลีกย่อย แปลก แตกต่างกันออกไปบ้างในลักษณะของการพัฒนาเป็นลักษณะของความเจริญให้เหมาะสมกับกาลสมัยแต่ส่วนสำคัญ อันเป็นมูลฐานของประเพณีนี้ก็ยังคงอยู่และเป็นหน้าที่ของพวกรุ่นต่อไปจะเป็นผู้รับช่วงระวังรักษาไว้ให้มรดก อันสำคัญนี้ยั่งยืนสืบไป เพื่อแสดงความเก่าแก่ของชาติบ้านเมืองเรา...ฯ




หนังสืออ้างอิง : ปริญญาณ ภิกขุ ประเพณีโบราณไทยอีสาน อุบลราชธานี โรงพิมพ์ศิริธรรม. ๒๕๑๖



หัวข้อ: Re: ประวัติ ตำนาน เรื่องเล่า
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มีนาคม 02, 2012, 09:28:14 PM
บายศรีแบบต่างๆ

(http://www.baanjomyut.com/library/thai_offering/01.jpg)

บายศรีเทพ

ใช้ในพระราชพิธีต่างๆ สำหรับบวงสรวง เทพ พรหม เทวาอารักษ์ ประกอบด้วยตัวบายศรี 9 ชั้น ทั้งหมด 8 ตัว ประดับพานด้วยดอกดาวเรือง กุหลาบและดอกรัก ยอดตัวบายศรีปักด้วยเม็ดโฟมและเข็มหมุด ห้อยอุบะดอกรัก ประดับยอดด้วยดอกดาวเรืองและดอกบัว


(http://www.baanjomyut.com/library/thai_offering/02.jpg)

บายศรีพรหม

ใช้ในงานพิธีใหญ่ สำหรับบวงสรวงเทพยาดา หรือองค์พรหม ประกอบด้วยตัวบายศรี 9 ชั้น 4 ตัว และตัวบายศรี 16 ชั้น 4 ตัว ประดับด้วย ดอกดาวเรือง ดอกกุหลาบ ดอกบานไม่รู้โรย ห้อยอุบะดอกรัก ยอดประดับด้วยดอกบัวและดอกดาวเรือง


(http://www.baanjomyut.com/library/thai_offering/03.jpg)

บายศรีตอ

ใช้ในงานพิธีบวงสรวงครูแขนงต่างๆ ประกอบด้วยตัวบายศรีตัวแม่ 9 ชั้น ตัวลูก 7 ชั้น ประดับพานด้วยดอกแอสเตอร์ ดาวเรือง กุหลาบ ยอดบายศรีปักด้วยเม็ดโฟมและเข็มหมุด ห้อยอุบะดอกรัก และประดับยอดด้วยดอกดาวเรืองและดอกบัวสตตบงกช


(http://www.baanjomyut.com/library/thai_offering/04.jpg)

บายศรีปรางค์สามยอด

ใช้ในงานบวงสรวงสังเวย และงานพิธีมงคลต่างๆ ประกอบด้วยบายศรีตัวแม่ 7 ชั้น ตัวลูก 5 ชั้น เป็นบายศรีที่มียอด 3 ยอด พานประดับด้วยดอกดาวเรือง ดอกกุหลาบ ยอดกรวยบายศรีประดับด้วย ดอกบัว 3 ดอก ดอกดาวเรือง ดอกรัก ดอกบานไม่รู้โรย ห้อยอุบะดอกรัก


(http://www.baanjomyut.com/library/thai_offering/05.jpg)

บายศรีพิฆเนศ

เป็นที่ใช้ในพิธีบวงสรวง พรหมครู เทพพรหมแขนงศิลปะต่างๆ ประกอบด้วยตัวบายศรีตัวแม่ 9 ชั้น ตัวลูก 7 ชั้น ยอดบายศรีประกอบด้วย ดอกดาวเรือง แอสเตอร์ ห้อยอุบะดอกรัก ปลายคู่อุบะติดดอกกุหลาบ ปักยอดด้วยดอกดาวเรือง และดอกบัว


(http://www.baanjomyut.com/library/thai_offering/06.jpg)

บายศรีพรหม 2 หน้า
 
ใช้ในงานพิธีต่างๆ โดยเฉพาะพิธีใหญ่ๆ สำหรับเป็นเครื่องสังเวยบูชา ครูบาอาจารย์ ชั้นพรหม ประกอบด้วยตัวบายศรี ตัวแม่ 32 ชั้น ตัวลูก 9 ชั้น รอบพานประกอบด้วยดอกแอสเตอร์ ดาวเรือง ห้อยอุบะดอกรัก ปักยอดด้วยดอกดาวเรือง และดอกบัวสัตตบงกช


(http://www.baanjomyut.com/library/thai_offering/07.jpg)

บายศรีพานทรงพุ่ม 5 ยอดลายข้าวหลามตัด
 
ใช้ในโอกาสเฝ้าทูลเกล้าถวาย รับขวัญหรือพิธีมงคลต่างๆ ประกอบด้วยตัวบายศรีตัวแม่ 5 ชั้น ตัวลูก 3 ชั้น ตัวพุ่มประดับด้วยดอกบานไม่รู้โรยและดอกรัก เป็นรูปข้าวหลามตัด ปลายยอดปักด้วยดอกดาวเรืองและดอกบัว ห้อยอุบะดอกรักและกุหลาบ


(http://www.baanjomyut.com/library/thai_offering/08.jpg)

บายศรีพานทรงพุ่ม 5 ยอด
 
ใช้ในพิธีใหญ่ๆ ประกอบด้วยตัวบายศรีตัวแม่ 5 ชั้น ตัวลูก 3 ชั้น ใช้ดอกบานไม่รู้โรยและดอกรักตกแต่งพุ่ม ประดับพานด้วยดอกดาวเรือง ยอดบายศรีปักด้วยโฟมและเข็มหมุด ห้อยอุบะดอกรัก ปลายยอดปักด้วยดอกดาวเรืองและดอกบัว


(http://www.baanjomyut.com/library/thai_offering/09.jpg)

บายศรีปากชาม 7 ยอด

ใช้ในพิธีต่างๆ เช่น ตั้งศาลพระภูมิ ศาลเจ้าที่ ทำบุญต่างๆ ยอดกรวยเสียบด้วยไข่ ประกอบด้วยตัวบายศรีตัวแม่ 7 ชั้น ตัวลูก 5 ชั้น


(http://www.baanjomyut.com/library/thai_offering/10.jpg)

บายศรีปากชาม 7 ยอด [เล็ก]

เป็นบายศรีขนาดเล็กที่มีความศักดิ์สิทธิ์และสำคัญมาก ใช้ในงานพิธีต่างๆ เช่น ตั้งศาลพระภูมิ ศาลเจ้าที่ ทำบุญต่างๆ โกนจุก ประกอบด้วยบายศรีตัวแม่ 7 ชั้น ตัวลูก 5 ชั้น ยอดกรวยเสียบด้วยไข่ และดอกไม้ที่มีชื่อเป็นมงคล


(http://www.baanjomyut.com/library/thai_offering/11.jpg)

บายศรีปากชาม 7 ยอด

ใช้ในพิธีต่างๆ เช่น ทำขวัญเด็กเกิดใหม่ โกนผมไฟ การจุก การทำขวัญนาค สร้างบ้านทำขวัญเสาเอก ตั้งศาลพระภูมิประจำบ้าน และใช้ในงานไหว้ครู เป็นประจำทุกปี ประกอบด้วยตัวบายศรีตัวแม่ 7 ชั้น ตัวลูก 5 ชั้น


(http://www.baanjomyut.com/library/thai_offering/12.jpg)

บายศรีปากชาม 9 ยอด

ใช้ในงานพระราชพิธีใหญ่ๆ เพื่อสักการะบูชา ครูบาอาจารย์ บวงสรวงเทพยดา ประกอบด้วยบายศรีตัวแม่ 9 ชั้น รอบพานประดับด้วย ดอกดาวเรือง ดอกบานไม่รู้โรย ประดับยอดด้วยดอกดาวเรือง


หัวข้อ: Re: ประวัติ ตำนาน เรื่องเล่า
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มีนาคม 02, 2012, 09:31:26 PM
(http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/1/18/Taksin_the_Great.jpg/396px-Taksin_the_Great.jpg)



สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี หรือ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หรือ สมเด็จราชาที่ 4 (จีน: 鄭昭; พินอิน: Zhèng Zhāo; แต้จิ๋ว: Dênchao) มีพระนามเดิมว่า สิน (ชื่อจีนเรียกว่า เซิ้นเซิ้นซิน) พระราชบิดาเป็นจีนแต้จิ๋ว ได้สมรสกับหญิงไทยชื่อ นกเอี้ยง ภายหลังเป็นกรมสมเด็จพระเทพามาตย์ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวในสมัยอาณาจักรธนบุรี ทรงปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2310 เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 เมื่อมีพระชนมายุได้ 48 พรรษา รวมสิริดำรงราชสมบัติ 15 ปี พระราชโอรส-พระราชธิดา รวมทั้งสิ้น 30 พระองค์


พระราชกรณียกิจที่สำคัญในรัชสมัยของพระองค์ คือ การกอบก้้เอกราชจากพม่าภายหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง โดยขับไล่ทหารพม่าออกจากราชอาณาจักรจนหมดสิ้น และยังทรงทำสงครามตลอดรัชสมัยเพื่อรวบรวมแผ่นดินซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของขุนศึกก๊กต่าง ๆ ให้เป็นปึกแผ่น เช่นเดียวกับขยายพระราชอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงมุ่งมั่นที่จะฟื้นฟูประเทศในด้านต่าง ๆ ให้กลับคืนสู่สภาวะปกติหลังสงคราม ทรงส่งเสริมทางด้านเศรษฐกิจ ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม วรรณกรรม และการศึกษา เนื่องจากพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อแผ่นดินไทย รัฐบาลจึงได้ประกาศให้วันที่ 28 ธันวาคมของทุกปีเป็น "วันสมเด็จพระเจ้าตากสิน" และยังทรงได้รับสมัญญานามมหาราช


(http://upload.wikimedia.org/wikipedia/th/thumb/b/b5/%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%9E%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%81.jpg/800px-%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%9E%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%81.jpg)


เดือนยี่ พ.ศ. 2309 ขณะพระยาตากตั้งค่ายอยู่ในค่ายวัดพิชัย ก็ได้รวบรวมไพร่พลจำนวนหนึ่ง (มักระบุเป็น 500 นาย) มุ่งหน้าไปทางเมืองระยอง ทางหัวเมืองฝั่งทะเลด้านตะวันออก ระหว่างเส้นทางที่ผ่านไปนั้นได้ปะทะกับกองกำลังของพม่าหลายครั้ง แต่ก็สามารถตีฝ่าไปได้ทุกครั้ง และสามารถรวบรวมไพร่พลตลอดจนอาวุธยุทโธปกรณ์ได้มากขึ้น

หลังจากพระองค์ยึดเมืองระยองได้ ขณะพระยาวชิรปราการพักอยู่บริเวณวัดลุ่มมหาชัยชุมพล ได้เกิดเหตุการณ์อัศจรรย์พายุหมุนจนบิดต้นตาลเป็นเกลียวโดยไม่คลายตัว ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า ตาลขด บรรดาทหารทั้งหลายต่างก็ยกพระยาวชิรปราการเป็น เจ้าตาก มีศักดิ์เทียบเท่าวงศานุวงศ์ อย่างไรก็ตาม ก็อาจพิจารณาจากแนวคิดทางการเมืองได้เช่นกันว่า พระยาตากประกาศตนเป็นพระเจ้าแผ่นดินนับตั้งแต่ยกทัพออกจากกรุงศรีอยุธยาแล้ว

เจ้าตากมุ่งยึดเมืองจันทบูร ซึ่งก่อนเข้าตีเมือง ได้มีรับสั่งให้ทหารทุกคนทำลายหม้อข้าวให้หมด หมายจะให้ไปกินข้าวในเมืองจันทบูร จนตีได้เมืองจันทบูรเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2310 หลังจากนั้น ก็มีผู้คนสมัครใจเข้ามาร่วมด้วยกับพระองค์เป็นจำนวนมาก เนื่องจากเมืองจันทบูรและเมืองตราดไม่ถูกยึดครองโดยทหารพม่า

เจ้าตากทรงรวบรวมกำลังพลจนมีจำนวน 5,000 นาย จึงได้ยกกองทัพเรือออกจากจันทบูร ล่องมาตามฝั่งทะเลในอ่าวไทย จนถึงปากแม่น้ำเจ้าพระยา ต่อสู้จนยึดธนบุรีคืนจากพม่าได้ นายทองอิน เจ้าเมืองธนบุรีซึ่งพม่าแต่งตั้งให้นั้น ถูกประหารชีวิต ต่อจากนั้น ได้ยกกองทัพเรือต่อไปถึงกรุงศรีอยุธยา เข้าโจมตีค่ายโพธิ์สามต้นจนสามารถขับไล่ทหารพม่าออกจากอาณาจักรได้ และสามารถกอบก้้กรุงศรีอยุธยาจากการยึดครอง ใช้เวลาเพียงเจ็ดเดือนหลังเสียกรุง


(http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/1/19/KingTaksin%27s_coronation.jpg/800px-KingTaksin%27s_coronation.jpg)

ด้วยเหตุผลทางยุทธศาสตร์และการเมืองเป็นสำคัญ ทำให้เจ้าตากมา "ยับยั้ง" อยู่ ณ เมืองธนบุรี ซึ่งมีลักษณะเป็นราชธานีไม่ถาวร[36] ก่อนหน้านั้น เมืองธนบุรีถูกทิ้งร้าง มีต้นไม้ขึ้นและซากศพทิ้งอย่างเกลื่อนกลาด ทำให้ต้องมีการเกณฑ์แรงงานจัดการพื้นที่ขึ้นมาใหม่ เจ้าตากยังมีรับสั่งให้คนไปอัญเชิญวงศานุวงศ์ในสมัยตอนปลายอยุธยาจากเมืองลพบุรีมายังเมืองธนบุรี และได้ถวายพระเพลิงศพสมเด็จพระเจ้าเอกทัศตามโบราณราชประเพณี

หลังจากที่อพยพผู้คนและทรัพย์สินลงมาทางใต้และตั้งราชธานีใหม่ขึ้นที่เมืองธนบุรี เรียกนามว่า กรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร เจ้าตากทรงปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์ตามแบบพระเจ้าแผ่นดินครั้งกรุงเก่า จดหมายเหตุโหรระบุว่าเป็นวันอังคาร แรมสี่ค่ำ จุลศักราช 1129 ซึ่งตรงกับวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2310 เฉลิมพระนามว่า สมเด็จราชาที่ 4 ในขณะที่ยังทรงมีพระชนมายุ 34 พรรษา ความสำเร็จดังกล่าวทำให้มีผู้ที่มีแนวคิดต้องการรื้อฟื้นราชอาณาจักรอยุธยาขึ้นมาใหม่มาเข้าร่วมด้วยกับชุมนุมของพระองค์เป็นอันมาก ทำให้สถานะพระมหากษัตริย์ของพระองค์เด่นชัดยิ่งขึ้น  อีกทั้งพระองค์ยังทรงเริ่มประกอบพระราชกรณียกิจตามแบบอย่างพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาเพื่อแสดงถึงสิทธิธรรมการเลือกกรุงธนบุรีเป็นราชธานียังถือได้ว่าเป็นก้าวสำคัญในการฟื้นฟูเศรษฐกิจที่เสียหายจากสงครามกับพม่าด้วย

หลังจากทรงสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานีแล้ว สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังกรุงธนบุรี หรือ พระราชวังเดิมขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2310 เป็นพระราชวังหลวงซึ่งใช้เป็นที่ประทับและว่าราชการ พร้อมกับปรับปรุง "ป้อมวิไชยเยนทร์" และเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "ป้อมวิไชยประสิทธิ์" ตำแหน่งของพระราชวังนี้เป็นจุดสำคัญทางยุทธศาสตร์ สามารถสังเกตการณ์ได้ในระยะไกล อีกทั้งยังใกล้กับเส้นทางคมนาคมและเส้นทางการเดินทัพที่สำคัญอีกด้วย ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของกองทัพเรือ


หัวข้อ: Re: ประวัติ ตำนาน เรื่องเล่า
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มีนาคม 02, 2012, 09:43:19 PM
"29 กุมภาพันธ์" ทำไมต้องถึง 4ปี มีครั้งเดียว 

(http://variety.teenee.com/foodforbrain/img9/127113.jpg)

9 กุมภาพันธ์ จะมีก็ต่อเมื่อเป็นปีที่หารได้ด้วย 4 ลงตัว กว่าจะมี 29 วัน ก็จะเป็นปี 2012 ซึ่งในประเทศไทยเรียกว่า "ปีอธิกสุรทิน"

"ปีอธิกสุรทิน" คือ ปีที่มีวันหรือเดือนเพิ่มเข้ามา เพื่อทำให้ปีปฏิทินสอดคล้องกับปีดาราศาสตร์หรือปีฤดูกาล


ทั้งนี้เป็นผลจากการที่ฤดูกาลและปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ไม่ได้วนกลับมาเป็นจำนวนวันที่ลงตัว ใน"ปฏิทินเกรโกเรียน" ซึ่งเป็นต้นแบบของปฏิทินสุริยคติไทยในปัจจุบัน จะเพิ่มวันในเดือนกุมภาพันธ์ให้มี 29 วัน


ในปีที่เป็นปีอธิกสุรทิน จึงทำให้ปีอธิกสุรทินมี 366 วัน ใน"ปฏิทินฮิจญ์เราะหฺ" จะกำหนดให้เดือนซุลฮิจญะหฺซึ่งเป็นเดือนสุดท้ายมี 30 วัน จึงทำให้ปีอธิกสุรทินของปฏิทินฮิจเราะหฺมี 355 วันการตรวจสอบว่าปีใดในระบบคริสต์ศักราชเป็นปีอธิกสุรทินหรือไม่ ทำได้โดยการหารปีนั้นด้วย 4 หากหารลงตัวจะเป็นปีอธิกสุรทิน


อย่างไรก็ตาม ด้วยกฎเหล่านี้จึงทำให้ ค.ศ. 1800, 1900, 2100, 2200 เป็นปีปกติสุรทิน แต่ ค.ศ. 1600, 2000, 2400 เป็นปีอธิกสุรทิน


ทั้งนี้เมื่อเอ่ยถึงคำว่า "อธิกวาร" "อธิกมาส" และ "อธิกสุรทิน" เป็น ไปได้ว่าคนไทยส่วนใหญ่ในปัจจุบันอาจไม่รู้ความหมายของคำเหล่านี้ เพราะเป็นคำที่มีความหมายเข้าใจยาก และเป็นคำที่ไม่ได้ใช้บ่อยครั้งในชีวิตประจำวัน คำทั้งสามคำเหล่านี้เกี่ยวข้องกับปฏิทิน หรือการนับวันเดือนปี ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในวัฒนธรรม ผู้เขียนจึงต้องการอธิบายความหมายของคำเหล่านี้พอเป็นสังเขปเพื่อให้คนที่ ยังไม่รู้จักคำเหล่านี้เข้าใจความหมายเมื่อได้ยินหรืออ่านพบคำดังกล่าวใน สื่อต่างๆ


คำว่า "อธิกวาร" "อธิกมาส" และ "อธิกสุรทิน" ประกอบด้วย คำที่มาจากภาษาบาลีสันสกฤตทั้งหมด หน่วยหน้าศัพท์ อธิก- (อ่านว่า อะ-ทิ-กะ) ในที่นี้หมายถึง "เกิน, เพิ่ม" ส่วนคำว่า วาร แปลว่า "วัน" มาส แปลว่า "เดือน" คำว่า สุรทิน มาจาก สุร + ทิน ทิน แปลว่า "วัน" สุร ในที่นี้น่าจะแปลว่า "พระอาทิตย์"


ในจำนวนคำทั้งสามดังกล่าว คำว่า อธิกสุรทิน น่าจะเป็นคำที่คุ้นเคยมากที่สุดสำหรับคนไทยปัจจุบัน เพราะเป็นคำที่เกี่ยวข้องกับปฏิทินแบบสุริยคติ ซึ่งใช้ในสังคมไทยปัจจุบัน พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายของ อธิกสุรทิน ไว้ว่า "วันที่เพิ่มขึ้นในปีสุริยคติ คือในปีนั้นเพิ่มวันเข้าในเดือนกุมภาพันธ์อีกวันหนึ่งเป็น 29 วัน" ตามธรรมดาเดือนกุมภาพันธ์มี 28 วัน ปฏิทินบางฉบับเรียกปีที่เดือนกุมภาพันธ์มี 28 วันว่า "ปีปกติสุรทิน" และเรียกปีที่เดือนกุมภาพันธ์มี 29 วัน ว่า "ปีอธิกสุรทิน"


ปีอธิกสุรทินจะมี 4 ปีครั้ง ปีพ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) เป็นปีอธิกสุรทิน ปีอธิกสุรทินต่อไปคือปีพ.ศ. 2547 ข้อสังเกตง่ายๆว่าปีใดเป็นปีอธิกสุรทินคือให้เอาปีค.ศ. ตั้งหารด้วยเลข 4 ถ้าหารลงตัวจะเป็นปีอธิกสุรทิน ถ้าหารไม่ลงตัวก็เป็นปีปรกติ เช่นปีค.ศ. 1996 (พ.ศ. 2539) ค.ศ. 2000 (พ.ศ. 2543) ค.ศ. 2004 (พ.ศ. 2547) ค.ศ. 2008 (พ.ศ. 2551) หารด้วยเลข 4 ลงตัว และทั้งหมดเป็นปีอธิกสุรทิน


เหตุที่จะต้องมีปีอธิกสุรทินทุก 4 ปี เพราะตามระบบของปฏิทินทางสุริยคติ จะต้องเพิ่มวันเข้าไป 1 วันเพื่อให้ปีนั้นมี 366 วัน วันที่เพิ่มเข้าไปนี้เรียกว่า "อธิกสุรทิน" การที่ต้องเพิ่มวันเนื่องจากในปีหนึ่งๆนั้นตามความเป็นจริงมีจำนวนวัน 365.25 วัน ไม่ใช่ 365 วันถ้วนอย่างที่เราเข้าใจกันทั่วไป

"ดังนั้นเพื่อรวมเศษที่ตกค้างในแต่ละปีให้เป็น 1 วันได้ก็จะทำได้ทุก 4 ปี ทำให้สะดวกในการนับจำนวนวันในแต่ละปี คือนับจำนวนถ้วนๆ โดยให้ปีที่ 1, 2, และ3 มี 365 วัน และปีที่ 4 มี 366 วัน เป็นดังนี้เรื่อยไป"


"อธิกมาส" และ"อธิกวาร" เป็นคำที่คนไทยสมัยใหม่อาจไม่คุ้นเคยเพราะเกี่ยวข้องกับปฏิทินแบบจันทรคติ ซึ่งปัจจุบันเลิกใช้อย่างเป็นทางการแล้วในสังคมไทย อย่างไรก็ตามหากเราเข้าใจที่มาหรือเหตุผลของการเพิ่มวันเป็นอธิกสุรทิน ก็คงไม่ยากนักที่จะเข้าใจเหตุผลของการเพิ่มเดือนหรือเพิ่มวันเข้าไปในปฏิทิน ทางจันทรคติเช่นกัน


"อธิกมาส" หมายถึง เดือนที่เพิ่มขึ้นในปีจันทรคติ คือในปีนั้นมี 13 เดือน มีเดือน 8 สองหน สาเหตุที่ต้องเพิ่มเดือน 8 เข้าไปอีก 1 เดือน เช่นในปีนี้ (พ.ศ. 2545) ก็เพื่อให้ปฏิทินทางจันทรคติเทียบได้กับปฏิทินทางสุริยคติได้ โดยจำนวนวันไม่ต่างกันมากเกินไป ดังรายละเอียดที่ผเคยอธิบายไว้แล้วในเรื่อง "ปฏิทินไทยดั้งเดิม" ปฏิทินบางฉบับเรียกปีที่มีอธิกมาสหรือปีที่มีเดือน 8 สองหนว่า "ปีอธิกมาส" และเรียกปีที่มีเดือน 8 หนเดียวว่า "ปีปกติมาส"


"อธิกวาร" หมายถึงวันที่เพิ่มขึ้นในปีจันทรคติ คือในปีนั้นเดือน 7 เป็นเดือนเต็มมี 30 วัน ตามปรกติเดือนที่เป็นเลขคี่ ในปฏิทินทางจันทรคติจะเป็นเดือนขาด มี 29 วัน และเดือนเลขคู่เป็นเดือนเต็มมี 30 วัน แต่ด้วยเหตุผลทำนองเดียวกันกับการเพิ่มเดือนเป็นอธิกมาส ในรอบประมาณ 5 ปี ปฏิทินทางจันทรคติซึ่งแม้จะมีอธิกมาสแล้ว แต่ก็จะมีจำนวนวัน ต่างจากปฏิทินทางสุริยคติอยู่อีกหนึ่งวัน จึงต้องเพิ่มเสีย เพื่อให้เท่ากัน


โดยเพิ่มวันเข้าไป ในเดือน 7 ทำให้เดือน 7 ในปีนั้นมี 30 วัน วันสุดท้ายของเดือน 7 ดังกล่าวจะเป็นวันแรม 15 ค่ำแทนที่จะเป็นวันแรม 14 ค่ำเหมือนเดือนขาดทั่วไป วันที่เพิ่มเข้าไปนี้เรียกว่า "อธิกวาร" ปีที่มีอธิกวารเรียกว่า "ปีอธิกวาร" ที่ไม่มีเรียกว่า "ปีปกติวาร" คำทั้งสามคำที่ได้อธิบายไปนั้นแสดงให้เห็นว่าคนไทยมีระบบในการนับและการ คำนวณวันเดือนปี ที่น่าสนใจ จึงทำให้คนไทยสามารถเข้าใจความคล้ายคลึงและความมีส่วนร่วมกันของมโนทัศน์ ทั้งสามประการได้เป็นอย่างดี


ส่วนทางฝั่งตะวันตกจะเรียกปีที่มีวันที่ 29 กุมภาพันธ์ว่า "Leap year" และคนโชคดีที่เกิดวันนี้จะถูกเรียกว่า "Leaper" ซึ่งด้วยความแปลกอันนี้ในบางประเทศ เช่น ไอร์แลนด์ รัฐบาลจะให้เงินรางวัลเป็นการเฉลิมฉลองกับครอบครัวที่มีเด็กเกิดในวันนี้เลย ทีเดียว


แม้ว่าความพิเศษของ 29 กุมภาพันธ์จะไม่ได้เป็นวันหยุดทำงานสากล แต่กิจกรรมพิเศษของวันนี้ตามธรรมเนียมของทางตะวันตก ซึ่งริเริ่มในประเทศสกอตแลนด์คือ ผู้หญิงจะได้รับการยินยอมให้เป็นฝ่ายขอผู้ชายไปเดท ขอความรัก หรือแม้กระทั่งขอแต่งงานกับฝ่ายชายได้โดยไม่ขัดกับจารีตธรรมเนียมประเพณีแต่ อย่างใด และ "ถ้าฝ่ายชายปฏิเสธก็ต้องหาผ้าพันคอ หรือถุงมือให้เป็นการปลอบใจ"




ที่มา http://news.voicetv.co.th/ (http://news.voicetv.co.th/)


หัวข้อ: Re: ประวัติ ตำนาน เรื่องเล่า
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มีนาคม 02, 2012, 09:52:08 PM
เล่าขานตำนานตุ๊กตา

(http://www.arts65.net/artsmen/postboard/photo/artsmen-dot-net_ans6496_97909790.jpg)

อัน ว่าตุ๊กตาตัวเล็กตัวน้อยนั้น อย่าได้นึกว่าฝรั่ง เป็นต้นคิดประดิษฐ์ขึ้นมาเมื่อไม่กี่ร้อยปีมานี้นะครับ ความจริงแล้วอายุอานามของตุ๊กตาย้อนหลังไปจนถึงยุคไอยคุปต์สมัยปี 1900 ก่อน ค.ศ. ก็กว่าสามพันแปดร้อยปีเศษแล้วนั่นแน่ะ

ชาวไอยคุปต์โบราณ เขานิยมปั้นตุ๊กตาเพื่องานพิธีกรรมสำคัญๆ ด้วย พิธีกรรมอันสำคัญยิ่งยวดของชาวไอยคุปต์ เห็นจะได้แก่พิธีศพนั่นเอง ในงานฝังศพบรรจุศพของคนใหญ่ คนโตที่มีกะตังค์จึงมักนิยมบรรจุตุ๊กตาพิธี หรือ ritual doll เข้าไว้ในห้องบรรจุศพด้วย ตุ๊กตาเหล่านี้เรียกว่า “ชวาบติ” (shwabti) บ้าง “เซอร์ดับ” (Serdub) บ้าง มีความหมายต่างกันคนละจุดประสงค์เลยเชียว คือ ชวาบตินั่นเป็นตุ๊กตาคนรับใช้ที่ให้ไปรับใช้คนตายในโลกหน้า แต่ “เซอร์ดับ” เป็นตุ๊กตากลประกอบด้วยเดือยกลไกกระเดื่องต่างๆ ให้สามารถทิ่มแทงคนที่บุกรุกสุสานจนเท่งทึงได้

นอกจากไอยคุปต์ซึ่งมีอารยธรรมความเจริญก่อนหน้าใครแล้ว จีนก็เป็นชาติเก่าแก่อีกชาติหนึ่งที่ทำตุ๊กตาให้ลูกหลานเล่น ตุ๊กตาสมัยถัง ซึ่งทำด้วยดินเผาที่น่าจะแตกหักทำลายได้ง่ายกลับอยู่ยงคงกระพันมาจนถึงยุค นี้ แสดงว่าสมัยนั้นนิยมทำตุ๊กตาดินเผากันมากมายเหลือเกิน บรรจุลงไปในฮวงซุ้ยก็มาก เป็นส่วนหนึ่งของพิธีศพเช่นกัน

อินเดีย, ญี่ปุ่น, อินเดียนแดงตลอดจนถึงคนไทยโบราณ ล้วนทำตุ๊กตาขึ้นเป็นของสำหรับผู้ใหญ่พอๆ กับเป็นของเด็ก  สำหรับเด็กนั้นตุ๊กตาเป็นของเล่น แต่ว่าสำหรับผู้ใหญ่ตุ๊กตาเป็น “ของจริง”  เพราะเอาไปใช้ในพิธีการอันเอาจริงเอาจังหลายอย่าง ซึ่งส่วนใหญ่หนักไปในทางพิธีไสยเวท เช่น ตุ๊กตาเสียกบาลของไทยสมัยสุโขทัย เป็นต้น


(http://www.arts65.net/artsmen/postboard/photo/artsmen-dot-net_ans6497_72177217.jpg)


คนโบราณไม่จำกัดว่าตุ๊กตาต้องเล่นเพราะเด็กผู้หญิงเท่านั้น เขาให้ตุ๊กตาแก่เด็กชายพอๆ กับให้แก่เด็กผู้หญิงด้วย ชาติโบราณอย่างจีน ญี่ปุ่น อินเดีย ตลอดจนอินเดียนแดงหลายเผ่าล้วนให้ตุ๊กตาแก่เด็กผู้ชาย แต่รูปร่างของตุ๊กตาจะทะมัดทะแมงกว่าตุ๊กตาสำหรับเด็กผู้หญิง เด็กผู้ชายจะ ได้รับตุ๊กตาทหารบ้าง นักรบบ้าง ในขณะที่เด็กหญิงได้ตุ๊กตาเพศเดียวกันที่สะสวยอ่อนหวาน

ว่ากันว่าตุ๊กตา เป็นศูนย์รวมแห่งจินตนาการของเด็กชายเด็กหญิงพอๆ กัน นอกจากนี้ยังเป็นเพื่อนเล่น, เป็นที่ระบายอารมณ์เวลาโกรธ, เป็นที่เกิดของความคิดสร้างสรรค์ แก่เด็ก และที่สำคัญก็คือสำหรับเด็กผู้หญิง ตุ๊กตาช่วยกระตุ้นสัญชาตญาณความเป็นแม่ให้เพิ่มขึ้นโดยไม่รู้ตัว เมื่อเติบโตขึ้นจนถึงวัยมีเหย้ามีเรือน สัญชาตญาณนั้นก็ทำให้ เธอรักและผูกพันต่อลูก


(http://www.arts65.net/artsmen/postboard/photo/artsmen-dot-net_ans6499_843843.jpg)

ท่านที่สนใจ ศิลปกรรมกรีกโรมันคงนึกในใจ ว่าตุ๊กตาสำหรับเด็กกรีกและโรมันไม่มีกะเขาบ้างเหรอ?…มีแน่นอน มากเสียด้วย ตุ๊กตากรีกเก่าที่สุดมีอายุประมาณ 3,200 ปี พบที่เกาะครีต ทำด้วยดินเผาอย่างประณีต ส่วนตุ๊กตาโรมันในยุคแรกๆ นั้นเป็นดินเผาเหมือนกัน พบในหีบศพของเด็กหญิงจากตระกูลขุนนางผู้มั่งคั่งของโรม มีอายุราวๆ ศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาลหรือราว 2,100 ปีมาแล้ว เป็นตุ๊กตาดินเผาที่มีเครื่องประดับเป็นทองคำแท้สวมอยู่ด้วย นับว่าเป็นตุ๊กตาที่มีค่าที่สุดตัวหนึ่งเท่าที่พบมา

เมื่อ เวลาผ่านไปตุ๊กตาก็พัฒนาตัวเองไปด้วย ในฐานะของเล่นเด็ก ตุ๊กตาจะมีรูปร่างและแต่งกายตามสมัยนิยม ในยุคกลางตุ๊กตามักทำด้วยไม้แกะ ตกแต่งด้วยเสื้อผ้าอาภรณ์ ตามแฟชั่นของสาวน้อยยุคนั้น สมัยเรอเนสซองส์ ตุ๊กตาก้าวหน้าไปอีกนิดหนึ่งครับสำหรับเด็กหญิงในตระกูลสูง หรือร่ำรวยจะ สั่งทำตุ๊กตาที่มีหน้าตาเหมือนเจ้าของ ซึ่งไอเดียนี้ย้อนกลับมาฮิตอีก มีคุณแม่รายหนึ่งซึ่งมีลูกสาวน่ารักมากหลายคน เธอจึงทำตุ๊กตาหน้าเหมือนลูกสาวเปี๊ยบออกขาย เรียกว่า “ตุ๊กตาฝาแฝด” ปรากฏว่าขายดิบขายดีทีเดียว นอกจากนี้ ตุ๊กตายังพัฒนาไปมีบ้านของตนเอง เรียกว่าบ้านตุ๊กตา ซึ่งเหมือนบ้านจริงๆ ย่อส่วนลงมาเหลือขนาดกระจิ๋ว พร้อมด้วยตุ๊กตาตัวกระจิ๋วอยู่ในบ้านด้วย


(http://www.arts65.net/artsmen/postboard/photo/artsmen-dot-net_ans6500_56655665.jpg)

[color=navy]ฝรั่งโดยเฉพาะ ชาวยุโรป มีความเชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า ตุ๊กตาชายหญิงอาจเป็นสัญลักษณ์ แห่งความอุดมสมบูรณ์ และการมีครรภ์ได้ ดังนั้น ท่านผู้อ่านจึงอย่าแปลกใจ ที่เห็นเค้กแต่งงานของคู่สมรสฝรั่ง เขาทำตุ๊กตาบ่าวสาว ไว้ตรงยอดขนมเค้กด้วย ที่ทำยังงั้นไม่ใช่ให้เป็นของประดับสวยๆ เท่านั้น แต่มีความหมายว่า ขอให้คู่สมรสจงสมบูรณ์ พูนสุขและตั้งครรภ์เร็วๆ ไงล่ะ[/color]

(http://www.arts65.net/artsmen/postboard/photo/artsmen-dot-net_ans6498_41294129.jpg)

ตุ๊กตา เพื่อความอุดมสมบูรณ์อย่างเดียว ไม่เกี่ยวกับการมีครรภ์ของคนก็มีอีกประการหนึ่ง ที่นิยมใช้ในประเทศที่มีการเพาะปลูกเป็นหลัก ในอังกฤษและบางส่วนของยุโรปเขามีตุ๊กตาข้าวโพด (corn dollies) ซึ่งทำจากต้นข้าวชนิดต่างๆ ไม่จำเป็นต้องเป็นข้าวโพดเสมอไป เมื่อประดิษฐ์ ต้นข้าวมัดเป็นรูปตุ๊กตาแล้วก็ทำพิธีเชิญเทพแห่งความอุดมสมบูรณ์ มาอยู่ในตุ๊กตาตัวนี้เพื่อจะอำนวยความอุดมแก่การเพาะปลูกไปตลอดทั้งปี พิธีใช้ข้าวและธัญพืชมาทำเป็นตุ๊กตาส่วนทางเอเชียก็มีเช่นกันเช่น ตุ๊กตา “ชายา” ของชวา รวมไปทั้งตุ๊กตาขอฝนของอิ๊กคิวซังด้วย

(http://www.arts65.net/artsmen/postboard/photo/artsmen-dot-net_ans6501_56105610.jpg)

ในญี่ปุ่นมีเทศกาลตุ๊กตา สำหรับเด็กหญิงโดยเฉพาะ เรียกว่า “ฮีนะ มัตชูริ” บ้านที่มีลูกสาวทุกบ้าน จะจัดมุมหนึ่งเป็นสถานที่ทำพิธี เรียกว่า มุม “โตโกะนามะ” ซึ่งนำเอาตุ๊กตามาตั้งเรียงไว้ มีสองตัวที่สวยที่สุด จะแต่งเป็นรูปจักรพรรดิ และพระราชินี แล้วแม่จะพาลูกสาวมาในห้องนี้ สอนสั่งวิธีการเป็นกุลสตรีที่ดี ให้ต่อหน้าตุ๊กตาทั้ง หลายในห้อง

ใน ยุคปัจจุบันเด็กมีของเล่นมากมายหลายอย่างนอกเหนือไปจากตุ๊กตา แต่ถึงอย่างไรตุ๊กตาก็ยังเป็นขวัญใจของเด็กผู้หญิงอยู่น่านเอง  ม่ายงั้นตุ๊กตาบาร์บี้จะขายดีเป็นเทน้ำ เทท่าเรอะ…




หัวข้อ: Re: ประวัติ ตำนาน เรื่องเล่า
เริ่มหัวข้อโดย: paul711 ที่ มีนาคม 02, 2012, 10:04:51 PM
 :D ขอบคุณครับคุณหนูใจ  บทความดีๆทั้งนั้น อ่านเรื่องพระเจ้าตากมหาราช อ่านไปขนลุกไป
เหมือนอยู่ในเหตุการณ์จริงๆ


หัวข้อ: Re: ประวัติ ตำนาน เรื่องเล่า
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มีนาคม 02, 2012, 10:14:09 PM
:D ขอบคุณครับคุณหนูใจ  บทความดีๆทั้งนั้น อ่านเรื่องพระเจ้าตากมหาราช อ่านไปขนลุกไป
เหมือนอยู่ในเหตุการณ์จริงๆ


 :) ด้วยความยินดีค่ะคุณพอล หนูใจก็ได้ความรู้ไปด้วยค่ะ
   

        ติ  ชม แนะนำ ด้วยน้ะค่ะ  พี่ๆ เพื่อนสมาชิกทุกท่าน

                             ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาอ่านด้วยน้ะค่ะ


                                                                             :D


หัวข้อ: Re: ประวัติ ตำนาน เรื่องเล่า
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มีนาคม 03, 2012, 07:45:52 PM
9 คำพ่อสอน


(http://www.chaoprayanews.com/wp-content/uploads/2009/03/e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b8a1e0b8abe0b8b2e0b88ae0b899e0b881.jpg)

1. ความเพียร

การ สร้างสรรค์ตนเอง การสร้างบ้านเมืองก็ตาม มิใช่ว่าสร้างในวันเดียว ต้องใช้เวลา ต้องใช้ ความเพียร ต้องใช้ความอดทน เสียสละ แต่สำคัญที่สุดคือความอดทนคือไม่ย่อท้อ ไม่ย่อท้อในสิ่งที่ดีงาม สิ่งที่ดีงามนั้นทำมันน่าเบื่อ บางทีเหมือนว่าไม่ได้ผล ไม่ดัง คือดูมันครึทำดีนี่ แต่ขอรับรองว่าการทำให้ดีไม่ครึต้องมีความอดทน เวลาข้างหน้าจะเห็นผลแน่นอนในความอดทนของตนเอง

ราโชวาท พระราชทานแก่นักเรียน นักศึกษา ครู และอาจารย์ ในโอกาสเข้าเฝ้าฯ วันที่ 27 ตุลาคม 2516

2. ความพอดี

ใน การสร้างตัวสร้างฐานะนั้นจะต้องถือหลักค่อยเป็นค่อยไป ด้วยความรอบคอบ ระมัดระวังและความพอเหมาะพอดี ไม่ทำเกินฐานะและกำลัง หรือทำด้วยความเร่งรีบ เมื่อมีพื้นฐานแน่นหนารองรับพร้อมแล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญก้าวหน้าในระดับสูงขึ้น ตามต่อกันไปเป็นลำดับผลที่เกิดขึ้นจึงจะแน่นอน มีหลักเกณฑ์ เป็นประโยชน์แท้และยั่งยืน

ราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยขอนแก่น วันที่ 18 ธันวาคม 2540

3. ความรู้ตน

เด็กๆ ทำอะไรต้องหัดให้รู้ตัว การรู้ตัวอยู่เสมอจะทำให้เป็นคนมีระเบียบและคนที่มีระเบียบดีแล้ว จะสามารถเล่าเรียนและทำการงานต่างๆ ได้โดยถูกต้องรวดเร็ว จะเป็นคนที่จะสร้างความสำเร็จและความเจริญ ให้แก่ตนเองและส่วนรวมในอนาคตได้อย่างแน่นอน

ราโชวาท พระราชทานลงพิมพ์ในหนังสือวันเด็ก ประจำปี 2521

(http://www.chaoprayanews.com/wp-content/uploads/2009/02/e0b881e0b8b2e0b8a3e0b8a8e0b8b6e0b881e0b8a9e0b8b22.jpg)

4. คนเราจะต้องรับและจะต้องให้

คน เราจะเอาแต่ได้ไม่ได้ คนเราจะต้องรับและจะต้องให้ หมายความว่าต่อไป และเดี๋ยวนี้ด้วยเมื่อรับสิ่งของใดมา ก็จะต้องพยายามให้ ในการให้นั้น ให้ได้โดยพยายามที่จะสร้างความสามัคคีให้หมู่คณะและในชาติ ทำให้หมู่คณะและชาติประชาชนทั้งหลายมีความไว้ใจซึ่งกันและกันได้ ช่วยที่ไหนได้ก็ช่วย ด้วยจิตใจที่เผื่อแผ่โดยแท้

ราโชวาท พระราชทานแก่นักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น วันที่ 20 เมษายน 2521

5. อ่อนโยน แต่ไม่อ่อนแอ

ใน วงสังคมนั้นเล่า ท่านจะต้องรักษามารยาทอันดีงามสำหรับสุภาพชน รู้จักสัมมาคารวะ ไม่แข็งกระด้าง มีความอ่อนโยนแต่ไม่อ่อนแอ พร้อมจะเสียสละประโยชน์ส่วนตัวเพื่อส่วนรวม

ราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ 25 มิถุนายน 2496

6. พูดจริง ทำจริง

ผู้ หนักแน่นในสัจจะพูดอย่างไร ทำอย่างนั้น จึงได้รับความสำเร็จ พร้อมทั้งความศรัทธาเชื่อถือและความยกย่องสรรเสริญ จากคนทุกฝ่าย การพูดแล้วทำ คือ พูดจริง ทำจริง จึงเป็นปัจจัยสำคัญในการส่งเสริมเกียรติคุณของบุคคลให้เด่นชัด และสร้างเสริมความดี ความเจริญ ให้เกิดขึ้นทั้งแก่บุคคลและส่วนรวม

ราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ 10 กรกฎาคม 2540

(http://www.chaoprayanews.com/wp-content/uploads/2009/02/x25-400.jpg)

7. หนังสือเป็นออมสิน

หนังสือ เป็นการสะสมความรู้และทุกสิ่งทุกอย่างที่มนุษย์ได้สร้างมา ทำมา คิดมา แต่โบราณกาลจนทุกวันนี้ หนังสือจึงเป็นสิ่งสำคัญ เป็นคล้ายๆ ธนาคารความรู้และเป็นออมสิน เป็นสิ่งที่จะทำให้ มนุษย์ก้าวหน้าได้โดยแท้

ราโชวาท พระราชทานแก่คณะสมาชิกห้องสมุดทั่วประเทศ ในโอกาสที่เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท วันที่ 25 พฤศจิกายน 2514

8. ความซื่อสัตย์

ความ ซื่อสัตย์สุจริตเป็นพื้นฐานของความดีทุกอย่าง เด็กๆ จึงต้องฝึกฝนอบรมให้เกิดมีขึ้นในตนเอง เพื่อจักได้เติบโตขึ้นเป็นคนดีมีประโยชน์ และมีชีวิตที่สะอาด ที่เจริญมั่นคง

ราโชวาท พระราชทานเพื่อเชิญลงพิมพ์ในหนังสือวันเด็ก ปีพุทธศักราช 2531

9. การเอาชนะใจตน  

ใน การดำเนินชีวิตของเรา เราต้องข่มใจไม่กระทำสิ่งใดๆ ที่เรารู้สึกด้วยใจจริงว่าชั่วว่าเสื่อม เราต้องฝืนต้องต้านความคิดและความประพฤติทุกอย่างที่รู้สึกว่าขัดกับธรรมะ เราต้องกล้าและบากบั่นที่จะกระทำสิ่งที่เราทราบว่าเป็นความดี เป็นความถูกต้อง และเป็นธรรม ถ้าเราร่วมกันทำเช่นนี้ ให้ได้จริงๆ ให้ผลของความดีบังเกิดมากขึ้นๆ ก็จะช่วยค้ำจุนส่วนรวมไว้มิให้เสื่อมลงไป และจะช่วยให้ฟื้นคืนดีขึ้นได้เป็นลำดับ

พระ ราชดำรัส พระราชทานเพื่อเชิญไปอ่าน ในพิธีเปิดการประชุมยุวพุทธิกสมาคมทั่วประเทศ ครั้งที่ 12 ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา วันที่ 12 ธันวาคม 2513



หัวข้อ: Re: ประวัติ ตำนาน เรื่องเล่า
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มีนาคม 03, 2012, 07:47:02 PM
กังหันชัยพัฒนา

เครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย

(http://www.mylifewithhismajestytheking.com/freepage/images/a_chaipattana01/sample_a_chaipattana01.jpg)

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงความรุนแรงของปัญหาที่เกิดขึ้น และทรงห่วงใยต่อพสกนิกรที่ต้องเผชิญในเรื่องดังกล่าวเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2531 ได้พระราชทานพระราชดำริ ในการแก้ไขปัญหาน้ำเสีย ด้วยการใช้เครื่องกลเติมอากาศ โดยพระราชทานรูปแบบสิ่งประดิษฐ์ที่เรียบง่าย แต่มีประสิทธิภาพสูงในการบำบัดน้ำเสีย ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในชื่อ กังหันน้ำชัยพัฒนา และนำมาใช้ในการปรับปรุงคุณภาพน้ำตามสถานที่ต่างๆ ทั่วทุกภูมิภาค

ส่วนประกอบและการทำงาน
(http://www.igetweb.com/www/dofordad/private_folder/image/kang1.1.gif)

ส่วนประกอบ : กังหันชัยพัฒนา เป็น เครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย (สามารถลอยขึ้นลงได้เองตามระดับน้ำ)   ประกอบด้วยซองวิดน้ำ มีใบพัดที่ออกแบบเป็น ซองตักน้ำรูปสี่เหลี่ยมคางหมูจำนวน 6 ซองแต่ละซองจะถูกแบ่งออกเป็น 3 ห้องเท่าๆ กัน ทั้งหมดถูกติดตั้งบนโครงเหล็ก 12 โครงใน 2 ด้าน     มีศูนย์กลางของกังหันที่เรียกว่า "เพลากังหัน" ซึ่งวางตัวอยู่บนตุ๊กตารองรับเพลา ที่ติดตั้งอยู่บนทุ่นลอย และมีระบบขับส่งกำลัง ด้วยเฟืองจานขนาดใหญ่ ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าขนาด 2 แรงม้า สำหรับขับเคลื่อนซองน้ำ ให้หมุนรอบเป็นวงกลม อยู่บนโครงเหล็กที่ยึดทุ่นทั้ง 2 ด้านเข้าไว้ด้วยกัน  ด้านล่างของกังหันในส่วนที่จมน้ำ จะมีแผ่นไฮโดรฟอยล์ยึดปลายของทุ่นลอยด้านล่าง

หลักการทำงาน : ตามทฤษฎีเครื่องกลเติมอากาศ นับว่าการเติมอากาศหรือออกซิเจนเป็นหัวใจของระบบบำบัดน้ำเสีย เพราะถ้ามีออกซิเจนอยู่มาก จุลินทรีย์ก็สามารถบำบัดน้ำได้ดี และบำบัดน้ำเสียได้มากขึ้น แต่ที่ความดันบรรยากาศซึ่งเป็นความดันที่ค่อนข้างต่ำ สำหรับออกซิเจนในการละลายน้ำ จึงต้องมีการเพิ่มพื้นที่สัมผัส ระหว่างอากาศกับน้ำให้ได้มากที่สุด กังหันชัยพัฒนา เป็น กังหันน้ำที่มีโครงเป็นรูปเหลี่ยมบนทุ่นลอย และมีซองตักวิดน้ำซึ่งเจาะเป็นรูพรุน เราจึงเห็นสายน้ำพรั่งพรู จากซองวิดน้ำขณะที่กังหันหมุนวนเวียน ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ใช้หลักการวิดน้ำขึ้นไปสาดกระจายให้เป็นฝอยในอากาศ ทำให้น้ำสัมผัสกับอากาศได้อย่างทั่วถึง ส่งผลให้ปริมาณ ออกซิเจนในอากาศสามารถ ละลายผสมผสาน เข้าไปในน้ำได้อย่างรวดเร็ว ทุกครั้งที่น้ำถูกตักขึ้นมา ออกซิเจนในอากาศจะละลายในน้ำได้ดีขึ้น เพราะพื้นที่ในการทำปฏิกิริยามีมากกว่าเดิม ทำให้น้ำเสีย ซึ่งเป็นปัญหาของแหล่งน้ำในหลายพื้นที่ มีคุณภาพที่ดีขึ้น

                การเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำจะช่วยให้จุลินทรีย์ย่อยสลายสิ่งสกปรกในน้ำเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นกระบวนการทางชีวภาพ ที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสีย ที่ได้รับความนิยมอย่างมาก เพราะเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพ และใช้ค่าใช้จ่ายในการบำบัดน้ำเสียน้อย และแหล่งน้ำเสียที่กระจายไปตามแหล่งต่างๆ จึงทำให้ยากแก่การรวบรวมน้ำเสีย เพื่อนำไปบำบัดในโรงบำบัดน้ำเสีย และต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง

                การประยุกต์ใช้งานสามารถใช้ประโยชน์เพื่อเติมอากาศให้กับน้ำหรือใช้เพื่อขับเคลื่อนน้ำได้ โดยการใช้งานทั้งในรูปแบบ ที่ติดตั้งอยู่กับที่ และใช้ในรูปแบบเคลื่อนที่ เพื่อเติมอากาศให้กับแหล่งน้ำขนาดใหญ่ หรือตามคลองส่งน้ำที่มีความยาวมาก ซึ่งดัดแปลงได้ด้วยการใช้พลังงาน จากเครื่องยนต์ของกังหัน

แหล่งข้อมูลอ้างอิง
http://chaipat.or.th/chaipat/index.php?option=com_content&view=article&id=18:chaipattana-water-turbine-development&catid=19&Itemid=220 (http://chaipat.or.th/chaipat/index.php?option=com_content&view=article&id=18:chaipattana-water-turbine-development&catid=19&Itemid=220)


หัวข้อ: Re: ประวัติ ตำนาน เรื่องเล่า
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มีนาคม 03, 2012, 07:58:12 PM
คำขวัญประจำจังหวัดต่างๆ

(http://variety.teenee.com/foodforbrain/img9/117912.jpg)


คำขวัญกรุงเทพมหานคร (กทม.)
"ช่วยชุมชนแออัด ขจัดมลพิษ แก้ปัญหารถติด ทุกชีวิตรื่นรมย์"

คำขวัญ จังหวัดกระบี่ (กบ.)
"กระบี่เมืองน่าอยู่ ผู้คนน่ารัก"

คำขวัญ จังหวัดกำแพงเพชร (กพ.)
"กรุพระเครื่อง เมืองคนแกร่ง ศิลาแลงใหญ่ กล้วยไข่หวาน น้ำมันลานกระบือ"

คำขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี (กจ.)
"แคว้นโบราณ ด่านเจดีย์ มณีเมืองกาญจน์ สะพานข้ามแม่น้ำแคว แหล่งแร่น้ำตก"

คำขวัญ จังหวัดกาฬสินธุ์ (กส.)
"เมืองฟ้าแดนยาง โปงลางเลิศล้ำ วัฒนธรรมภูไท ผ้าไหมแพรวา ผาเสวยภูพาน มหาธารลำปาว ไดโนเสาร์สัตว์โลกล้านปี"

คำขวัญ จังหวัดขอนแก่น (ขก.)
"พระธาตุขามแก่น เสียงแคนดอกคูน ศูนย์รวมผ้าไหม ร่วมใจผูกเสี่ยว เที่ยวขอนแก่นนครใหญ่ ไดโนเสาร์ลือก้อง เหรียญทองมวยโอลิมปิก"

คำขวัญ จังหวัดจันทบุรี (จบ.)
"น้ำตกลือเลื่อง เมืองผลไม้ พริกไทยพันธุ์ดี อัญมณีมากเหลือ เสื่อจันทบูร สมบรูณ์ธรรมชาติ สมเด็จพระเจ้าตากสิน**้ชาติ รวมญาติที่จันทบุรี"

คำขวัญ จังหวัดฉะเชิงเทรา (ฉช.)
"เมืองธรรมะ พระศักดิ์สิทธิ์ ชิดเมืองหลวง มะม่วงหวาน ข้าวสารขาว มะพร้าวน้ำหอม"

คำขวัญ จังหวัดเชียงราย (ชร.)
"เหนือสุดในสยาม ชายแดนสามแผ่นดิน ถิ่นวัฒนธรรมล้านนา ล้ำค่าพระธาตุดอยตุง ..."

คำขวัญ จังหวัดชุมพร (ชพ.)
"ประตูภาคใต้ ไหว้เสด็จในกรมฯ ชมไร่กาแฟ แลหาดทรายรี ดีกล้วยเล็บมือ ขึ้นชื่อรังนก"

คำขวัญ จังหวัดชลบุรี (ชบ.)
"ทะเลงาม ข้าวหลามอร่อย อ้อยหวาน จักสานดี ประเพณีวิ่งBuffolo"

คำขวัญ จังหวัดชัยภูมิ (ชย.)
"ชัยภูมิทิวทัศน์สวย รวยป่าใหญ่ มีช้างหลาย ดอกไม้งาม ลือนามวีรบุรุษ สุดยอดผ้าไหม พระใหญ่ทราวดี"

คำขวัญ จังหวัดปทุมธานี (ปท.)
"ถิ่นบัวหลวง เมืองรวงข้าว เชื้อชาวมอญ นครธรรมะ"

คำขวัญ จังหวัดประจวบศีรีขันธ์ (ปข.)
"เมืองทองเนื้อเก้า มะพร้าว สัปรด สวยสดหาด เขา ถ้ำ งามล้ำน้ำใจ"

คำขวัญ จังหวัดชัยนาท (ชน.)
"หลวงปู่ศุขลือชา เขื่อนเจ้าพระยาลือชื่อ นามระบ์อสวนนก ส้มโอดกขาวแตงกวา"

คำขวัญ จังหวัดนนทบุรี (นบ.)
"พระตำหนักสง่างาม ลือนามสวนสมเด็จ เกาะเกล็ดแหล่งดินเผา วัดเกาะนามระบือ เลื่องลือทุเรียนนท์ งามน่ายลศูนย์ราชการ"

คำขวัญ จังหวัดนครปฐม (นฐ.)
"ส้มโอหวาน ข้าวสารขาว ลูกสาวงาม ข้าวหลามหวานมัน สนามจันทร์งามล้น พุทธมณฑลคู่ธานี พระปฐมเจดีย์เสียดฟ้า"

คำขวัญ จังหวัดนครนายก (นย.)
"เมืองในฝันที่ใกล้กรุง ภูเขางาม น้ำตกสวย รวยธรรมชาติ ปราศจากมลพิษ"

คำขวัญ จังหวัดสระแก้ว (สก.)
"ชายแดนเบื้องบูรพา ป่างาม น้ำตกสวย มากด้วยอารยธรรมโบราณ ย่านการค้าไทย-เขมร"

คำขวัญ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (พย.)
"ราชธานีเก่า อู่ข้าวอู่น้ำ เลิศล้ำกานท์กวี คนดีศรีอยุธยา"

คำขวัญ จังหวัดสมุทรปราการ (สป.)
"ป้อมยุทธนาวี พระเจดีย์กลางน้ำ ฟาร์มจระเข้ใหญ่ งามวิไลเมืองโบราณ สงกรานต์พระประแดง ปลาสลิดแห้งรสดี ประเพณีรับบัว ครบถ้วนทั่วอุตสาหกรรม"

คำขวัญ จังหวัดสมุทรสาคร (สค.)
"เมืองประมง ดงโรงงาน ลานเกษตร เขตประวัติศาสตร์"

คำขวัญ จังหวัดสมุทรสงคราม (สส.)
"ดอนหอยหลอด ยอดลิ้นจี่ มีอุทยาน ร.2 แม่กลองไหลผ่าน นมัสการหลวงพ่อบ้านแหลม"

คำขวัญ จังหวัดสระบุรี (สบ.)
"พระพุทธบาทลือนาม แหล่งน้ำอุดม นมเนื้อมากมาย หลากหลายโรงงาน ถิ่นข้าวพันธุ์ดี มีมะม่วงรสเลิศ งามบรรเจิดธรรมชาติ"

คำขวัญ จังหวัดราชบุรี (รบ.)
"คนสวยโพธาราม คนงามบ้านโป่ง เมืองโอ่งมังกร วัดขนอนหนังใหญ่ ตื่นใจถ้ำงาม ตลาดน้ำดำเนิน เพลินค้างคาวร้อยล้าน ย่านยี่สกปลาดี"

คำขวัญ จังหวัดลพบุรี (ลบ.)
"วังนารายณ์คู่บ้าน ศาลพระกาฬคู่เมือง ปรางค์สามยอดลือเลื่อง เมืองแห่งดินสอพอง เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เกริกก้องแผ่นดินทอง สมเด็จพระนารายณ์"

คำขวัญ จังหวัดสิงห์บุรี (สห.)
"ถิ่นวีรชนคนกล้า คู่หล้าพระนอน นามกระฉ่อนปลาแม่ลา ย่านการค้าภาคกลาง"

คำขวัญ จังหวัดสุพรรณบุรี (สพ.)
"เมืองยุทธหัตถี วรรณคดีขึ้นชื่อ เลื่องลือพระเครื่อง รุ่งเรืองเกษตรกรรม สูงล้ำประวัติศาสตร์ แหล่งปราชญ์ศิลปิน ภาษาถิ่นชวนฟัง"

คำขวัญ จังหวัดปราจีนบุรี (ปจ.)
"ศรีมหาโพธิ์คู่บ้าน ไผ่ตงหวานคู่เมืง ผลไม้ลือเลื่อง เขตเมืองทวาราวดี"

คำขวัญ จังหวัดเพชรบุรี (พบ.)
"เขาวังคู่บ้าน ขมนหวาน เมืองพระ เลิศล้ำศิลปะ แดนธรรม ทะเลงาม"

คำขวัญ จังหวัดอุทัยธานี (อน.)
"อุทัยธานีเมืองพระชนก ปลา**รสดี ประเพณีเทโว ส้มโอบ้านน้ำตก มรดกห้วยขาแข้ง แหล่งต้นน้ำ สะแกกรัง ตลาดนัดดังโคกระบือ"

คำขวัญ จังหวัดนครสวรรค์ (นว.)
"เมืองสี่แคว แห่มังกร พักผ่อนบึงบอระเพ็ด ปลารสเด็ดปากน้ำโพ"

คำขวัญ จังหวัดพิจิตร (พจ.)
"เมืองชาละวัน แข่งขันเรือยาว ข้าวเจ้าอร่อย ส้มท่าข่อยรสเด็ด หลวงพ่อเพรชรวมใจ บึงสีไฟลือเลื่อง ยอดพระเครื่องหลวงพ่อเงิน"

คำขวัญ จังหวัดพิษณุโลก (พล.)
"พระพุทธชินราชงามเลิศ ถิ่นกำเนิดพระนเรศวร สองฝั่งน่านล้วนเรือนแพ หวานฉ่ำแท้กล้วยตาก ถ้ำและน้ำตกหลากตระการตา"

คำขวัญ จังหวัดตาก (ตก.)
"ธรรมชาติน่ายล ภูเขื่อนใหญ่ พระเจ้าตากเกรียงไกร เมืองไม้และป่างาม"

คำขวัญ จังหวัดสุโขทัย (สท.)
"มรดกโลกล้ำเลิศ กำเนิดลายสือไทย เล่นไฟลอยกระทง ดำรงพุทธศาสนา งามตาผ้าจก สังคโลกทองโบราณ สักการะแม่ย่าพ่อขุน รุ่งอรุณแห่งความสุข"

คำขวัญ จังหวัดอุตรดิตถ์ (อต.)
"เหล็กน้ำพี้ลือเลื่อง เมืองลางสาดหวาน บ้านพระยาพิชัยดาบหัก ถิ่นสักใหญ่ของโลก"

คำขวัญ จังหวัดแพร่ (พร.)
"ม่อฮ่อม ไม่สัก ถิ่นรักพระลอ พระธาตุช่อแฮศรีเมือง ลือเลื่องแพะเมืองผี คนแพร่มีน้ำใจงาม"

คำขวัญ จังหวัดเพชรบรูณ์ (พช.)
"เมืองมะขามหวาน อุทยานน้ำหนาว ศรีเทพเมืองเก่า เขาค้ออนุสรณ์ นครพ่อขุนผาเมือง"

คำขวัญ จังหวัดลำปาง (ลป.)
"ถ่านหินลือชา รถม้าลือลั่น เครื่องปั้นลือนาม งามพระธาตุลือไกล ฝึกช้างใช้ลือโลก"

คำขวัญ จังหวัดน่าน (นน.)
"แข่งเรือลือเลื่อง เมืองงาช้างดำ จิตรกรรมวัดภูมินทร์ แดนดินส้มสีทอง เรืองรองพระธาตุแช่แห้ง"

คำขวัญ จังหวัดลำพูน (ลพ.)
"พระธาตุเด่น พระรอดขลัง ลำใยดัง กระเทียมดี ประเพณีงาม จามเทวี ศรีหริภุญไชย"

คำขวัญ จังหวัดเชียงใหม่ (ชม.)
"ดอยสุเทพเป็นศรี ประเพณีเป็นสง่า บุปผาชาติล้วนงามตา งามล้ำค่านครพิงค์"

คำขวัญ จังหวัดพะเยา (พย.)
"กว๊านพะเยาแหล่งชีวิต ศักดิ์สิทธิ์พระเจ้าตนหลวง บวงสรวงพ่อขุนงำเมือง งามลือเลื่องดอยบุษราคัม"

คำขวัญ จังหวัดแม่ฮ่องสอน (มส.)
"หมอกสามฤดู กองมูเสียดฟ้า ป่าเขียวขจี ผู้คนดี ประเพณีงาม ลือนามถิ่นบัวตอง"

คำขวัญ จังหวัดระยอง (รย.)
"ผลไม้รสล้ำ อุตสาหกรรมก้าวหน้า น้ำปลารสเด็ด เกาะเสม็ดสวยหรู สุนทรภู่กวีเอก"

คำขวัญ จังหวัดตราด (ตร.)
"เมืองเกาะครึ่งร้อย พลอยแดงค่าล้ำ ระกำแสนหวาน หลังอานหมาดี ยุทธนาวีเกาะช้าง สุดทางบูรพา"

คำขวัญ จังหวัดนครราชสีมา (นม.)
"เมืองหญิงกล้า ผ้าไหมดี หมี่โคราช ปราสาทหิน ดินด่านเกวียน"

คำขวัญ จังหวัดบุรีรัมย์ (บร.)
"เมืองปราสาทหิน ถิ่นภูเขาไฟ ผ้าไหมสวย รวยวัฒนธรรม"

คำขวัญ จังหวัดมหาสารคาม (มค.)
"พุทธมณฑลอีสาน ถิ่นฐานอารยธรรม ผ้าไหมล้ำเลอค่า ตักศิลานคร"

คำขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด (รอ.)
"ร้อยเอ็ดเพชรอีสาน พลาญชัยบึงงาม เรืองนามพระสูงใหญ่ ผ้าไหมชั้นดี สตรีโสภา ทุ่งกุลาสดใส งานใหญ่บุญผะเหวด"

คำขวัญ จังหวัดยโสธร (ยส.)
"เมืองประชาธิปไตย บั้งไฟโก้ แตงโมหวาน หมอนขวาน ผ้าขิด แหล่งผลิตข้าวหอมมะลิ"

คำขวัญ จังหวัดศรีสะเกษ (ศก.)
"ศรีสะเกษแดนปราสาทขอม หอมกระเทียมดี มีสวนสมเด็จ เขตดงลำดวน หลากล้วนวัฒนธรรม เลิศล้ำสามัคคี"

คำขวัญ จังหวัดสุรินทร์ (สร.)
"สุรินทร์ถิ่นช้างใหญ่ ผ้าไหมงาม ประคำสวย ร่ำรวยปราสาท ผักกาดหวาน ข้าวสารหอม งามพร้อมวัฒนธรรม"

คำขวัญ จังหวัดมุกดาหาร (มห.)
"เมืองชายโขงงาม มะขามหวานเลิศ ถิ่นกำเนิดลำพญา ภูผาเทิบพิสดาร กลองโบราณล้ำค่า วัฒนธรรมไทยแปดเผ่า"

คำขวัญ จังหวัดสกลนคร (สน.)
"พระธาตุเชิงชุมคู่บ้าน พระตำหนักภูพานคู่เมือง งามลือเลื่องหนองหาร แลตระการปราสาทผึ้ง สวยสุดซึ้งสาวภูไท ถิ่นมั่นในพุทธธรรม"

คำขวัญ จังหวัดหนองบัวลำภู (นภ.)
"ศาลสมเด็จพระนเรศวร อุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ แผ่นดินธรรมหลวงปู่ขาว เด่นสกาวถ้ำเอราวัณ นครเขื่อนขันธ์ กาบแก้วบัวบาน"

คำขวัญ จังหวัดเลย (ลย.)
"เมืองแห่งทะเลภูเขา สุดหนาวในสยาม ดอกไม้งามสามฤดู"

คำขวัญ จังหวัดหนองคาย (นค.)
"วีรกรรมปราบฮ่อ หลวงพ่อพระใส สะพานไทย-ลาว"

คำขวัญ จังหวัดนครพนม (นพ.)
"พระธาตุพนมล้ำค่า วัฒนธรรมหลากหลาย เรณูภูไท เรือไฟโสภา งามตาสองฝั่งโขง"

คำขวัญ จังหวัดระนอง (รน.)
"คอคอดกระ ภูเขาหญ้า กาหยูหวาน ธารน้ำแร่ มุกแท้เมืองระนอง"

คำขวัญ จังหวัดสุราษฎร์ธานี (สฎ.)
"เมืองร้อยเกาะ เงาะอร่อย หอยใหญ่ ไข่แดง แหล่งธรรมะ"

คำขวัญ จังหวัดนครศรีธรรมราช (นศ.)
"เราชาวนคร อยู่เมืองพระ มั่นอยู่ในสัจจะศีลธรรม กอรปกรรมดี มีมานะพากเพียร ไม่เบียดเบียน ทำอันตรายผู้ใด"

คำขวัญ จังหวัดพังงา (พง.)
"แร่หมื่นล้าน บ้านกลางน้ำ ถ้ำงามตา ภูผาแปลก แมกไม้จำปูน บริบรูณ์ด้วยทรัพยากร"

คำขวัญ จังหวัดพัทลุง (พท.)
"เมืองหนังโนราห์ อู่นาข้าว พราวน้ำตก แหล่งนกน้ำ ทะเลสาปงาม เขาอกทะลุ น้ำพุร้อน"

คำขวัญ จังหวัดภูเก็ต (ภก.)
"ไข่มุกอันดามัน สวรรค์เมืองใต้ หาดทรายสีทอง สองวีรสตรี บารมีหลวงพ่อแช่ม"

คำขวัญ จังหวัดตรัง (ตง.)
"เมืองพระยารัษฎา ปวงประชาใจกว้าง หมูย่างรสเลิศ ถิ่นกำเนิดยางพารา เด่นสง่าดอกศรีตรัง ปะการังใต้ทะเล เสน่ห์หาดทรายงาม น้ำตกสวยตระการตา"

คำขวัญ จังหวัดสงขลา (สข.)
"นกน้ำเพลินตา สมิหราเพลินใจ เมืองใหญ่สองทะเล เสน่ห์สะพานป๋า ศูนย์การค้าแดนใต้"

คำขวัญ จังหวัดสตูล (สต.)
"สตูล สงบ สะอาด ธรรมชาติบริสุทธิ์"

คำขวัญ จังหวัดปัตตานี (ปต.)
"บูดูสะอาด หาดทรายสวย รวยน้ำตก นกเขาดี ลูกหยีอร่อย หอยแครงสด"

คำขวัญ จังหวัดยะลา (ยล.)
"ใต้สุดสยาม เมืองงามชายแดน"

คำขวัญ จังหวัดนราธิวาส (นธ.)
ทักษิณราชตำหนัก ชนรักศาสนา นราทัศน์เพลินตา บาโจตรึงใจ แหล่งใหญ่แร่ทอง ลองกองหอมหวาน"

คำขวัญ จังหวัดอ่างทอง (อท.)
"พระสมเด็จเกศไชโย หลวงพ่อโตองค์ใหญ่ วีรชนใจกล้า ตุ๊กตาชาววัง โด่งดังจักสาน ถิ่นฐานทำกลอง เมืองสองพระนอน"

คำขวัญ จังหวัดอำนาจเจริญ (อจ.)
"พระมงคลมิ่งเมือง แหล่งรุ่ง เรืองเจ็ดลุ่มน้ำ งามล้ำถ้ำศักดิ์สิทธิ์ เทพนิมิตรพระเหลา เกาะแก่งเขาแสนสวย เลอค่าด้วยผ้าไหม ราษฎร์เสื่อมใสใฝ่ธรรม"

คำขวัญ จังหวัดอุดรธานี (อด.)
"น้ำตกจากสันภูพาน อุทยานแห่งธรรมะ อารยธรรมห้าพันปี ธานีผ้าหมี่ขิด แดนเนรมิตรหนองประจักษ์ เลิศลักษณ์กล้วยไม้หอม อุดรซันไฌน์"

คำขวัญ จังหวัดอุบลราชธานี (อบ.)
"เมืองดอกบัวงาม แม่น้ำสองสี มีปลาแซบหลาย หาดทรายแก่งหิน ถิ่นไทยนักปราชญ์ ทวยราษฎร์ใฝ่ธรรม งามล้ำเทียนพรรษา ผาแต้มก่อนประวัติศาสตร์"  


หัวข้อ: Re: ประวัติ ตำนาน เรื่องเล่า
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มีนาคม 03, 2012, 07:59:58 PM
ต้นไม้พันธุ์ไม้ประจำจังหวัด

ต้นไทรย้อยใบแหลม
ต้นไม้ประจำจังหวัดกรุงเทพมหานคร
(http://panmai.com/PvTree/Gallery/tr_02.jpg)

ต้นทุ้งฟ้า
ต้นไม้ประจำจังหวัดกระบี่
(http://panmai.com/PvTree/Gallery/tr_01.jpg)

ต้นขานาง
ต้นไม้ประจำจังหวัดกาญจนบุรี
(http://panmai.com/PvTree/Gallery/tr_03.jpg)

ต้นมะหาด
ต้นไม้ประจำจังหวัดกาฬสินธุ์
(http://panmai.com/PvTree/Gallery/tr_04.jpg)

ต้นสีเสียดแก่น
ต้นไม้ประจำจังหวัดกำแพงเพชร
(http://panmai.com/PvTree/Gallery/tr_05.jpg)

ต้นกัลปพฤกษ์
ต้นไม้ประจำจังหวัดขอนแก่น
(http://panmai.com/PvTree/Gallery/tr_06.jpg)

ต้นจัน
ต้นไม้ประจำจังหวัดจันทบุรี
(http://panmai.com/PvTree/Gallery/tr_07.jpg)

ต้นนนทรีป่า
ต้นไม้ประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา
(http://panmai.com/PvTree/Gallery/tr_08.jpg)

ต้นประดู่ป่า
ต้นไม้ประจำจังหวัดชลบุรี
(http://panmai.com/PvTree/Gallery/tr_09.jpg)

ต้นมะตูม
ต้นไม้ประจำจังหวัดชัยนาท
(http://panmai.com/PvTree/Gallery/tr_10.jpg)

ต้นขี้เหล็กบ้าน
ต้นไม้ประจำจังหวัดชัยภูมิ
(http://panmai.com/PvTree/Gallery/tr_11.jpg)

ต้นมะเดื่อชุมพร
ต้นไม้ประจำจังหวัดชุมพร
(http://panmai.com/PvTree/Gallery/tr_12.jpg)

ต้นกาซะลองคำ
ต้นไม้ประจำจังหวัดเชียงราย
(http://panmai.com/PvTree/Gallery/tr_13.jpg)

ต้นทองกวาว
ต้นไม้ประจำจังหวัดเชียงใหม่
(http://panmai.com/PvTree/Gallery/tr_14.jpg)

ต้นศรีตรัง
ต้นไม้ประจำจังหวัดตรัง
(http://panmai.com/PvTree/Gallery/tr_15.jpg)

ต้นหูกวาง
ต้นไม้ประจำจังหวัดตราด
(http://panmai.com/PvTree/Gallery/tr_16.jpg)

ต้นแดง
ต้นไม้ประจำจังหวัดตาก
(http://panmai.com/PvTree/Gallery/tr_17.jpg)

ต้นสุพรรณิการ์
ต้นไม้ประจำจังหวัดนครนายก
(http://panmai.com/PvTree/Gallery/tr_18.jpg)

ต้นจันทน์หอม
ต้นไม้ประจำจังหวัดนครปฐม
(http://panmai.com/PvTree/Gallery/tr_19.jpg)

ต้นกันเกรา
ต้นไม้ประจำจังหวัดนครพนม
(http://www.saunmitpranee.com/gallery/1264429547.jpg)

ต้นสาธร
ต้นไม้ประจำจังหวัดนครราชสีมา
(http://panmai.com/PvTree/Gallery/tr_21.jpg)

ต้นแซะ
ต้นไม้ประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช
(http://www.fwdder.com/data/mail/2008/12/14/1229266265729/image/__fwdDer.com__-215105736-pro05141251p2.jpg)

ต้นเสลา
ต้นไม้ประจำจังหวัดนครสวรรค์
(http://panmai.com/PvTree/Gallery/tr_23.jpg)

ต้นนนทรีบ้าน
ต้นไม้ประจำจังหวัดนนทบุรี
(http://panmai.com/PvTree/Gallery/tr_24.jpg)

ตะเคียนชันตาแมว
ต้นไม้ประจำจังหวัดนราธิวาส
(http://panmai.com/PvTree/Gallery/tr_25.jpg)

ต้นกำลังเสือโคร่ง
ต้นไม้ประจำจังหวัดน่าน
(http://panmai.com/PvTree/Gallery/tr_26.jpg)

ต้นกาฬพฤกษ์
ต้นไม้ประจำจังหวัดบุรีรัมย์
(http://panmai.com/PvTree/Gallery/tr_27.jpg)

ต้นทองหลางลาย
ต้นไม้ประจำจังหวัดปทุมธานี
(http://panmai.com/PvTree/Gallery/tr_28.jpg)

ต้นเกด
ต้นไม้ประจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
(http://panmai.com/PvTree/Gallery/tr_29.jpg)

ต้นโพศรีมหาโพธิ
ต้นไม้ประจำจังหวัดปราจีนบุรี
(http://panmai.com/PvTree/Gallery/tr_30.jpg)

ต้นตะเคียนทอง
ต้นไม้ประจำจังหวัดปัตตานี
(http://panmai.com/PvTree/Gallery/tr_31.jpg)

ต้นหมัน
ต้นไม้ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
(http://school.obec.go.th/prbr/wisdom/mhun.jpg)

ต้นสารภี
ต้นไม้ประจำจังหวัดพะเยา
(http://panmai.com/PvTree/Gallery/tr_33.jpg)

ต้นเทพทาโร
ต้นไม้ประจำจังหวัดพังงา
(http://panmai.com/PvTree/Gallery/tr_34.jpg)

ต้นพะยอม
ต้นไม้ประจำจังหวัดพัทลุง
(http://panmai.com/PvTree/Gallery/tr_35.jpg)

ต้นบุนนาค
ต้นไม้ประจำจังหวัดพิจิตร
(http://panmai.com/PvTree/Gallery/tr_36.jpg)

ต้นปีบ
ต้นไม้ประจำจังหวัดพิษณุโลก
(http://panmai.com/PvTree/Gallery/tr_37.jpg)

ต้นหว้า
ต้นไม้ประจำจังหวัดเพชรบุรี
(http://panmai.com/PvTree/Gallery/tr_38.jpg)

ต้นมะขาม
ต้นไม้ประจำจังหวัดเพชรบูรณ์
(http://panmai.com/PvTree/Gallery/tr_39.jpg)

ต้นยมหิน
ต้นไม้ประจำจังหวัดแพร่
(http://panmai.com/PvTree/Gallery/tr_40.jpg)

ต้นประดู่บ้าน
ต้นไม้ประจำจังหวัดภูเก็ต
(http://panmai.com/PvTree/Gallery/tr_41.jpg)

ต้นพฤกษ์
ต้นไม้ประจำจังหวัดมหาสารคาม
(http://panmai.com/PvTree/Gallery/tr_42.jpg)

ต้นช้างน้าว
ต้นไม้ประจำจังหวัดมุกดาหาร
(http://panmai.com/PvTree/Gallery/tr_43.jpg)

ต้นกระพี้จั่น
ต้นไม้ประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอน
(http://panmai.com/PvTree/Gallery/tr_44.jpg)

ต้นกระบาก
ต้นไม้ประจำจังหวัดยโสธร
(http://panmai.com/PvTree/Gallery/tr_45.jpg)

ต้นโสกเหลือง (ศรียะลา)
ต้นไม้ประจำจังหวัดยะลา
(http://panmai.com/PvTree/Gallery/tr_46.jpg)

ต้นกระบก
ต้นไม้ประจำจังหวัดร้อยเอ็ด
(http://panmai.com/PvTree/Gallery/tr_47.jpg)

ต้นอบเชย
ต้นไม้ประจำจังหวัดระนอง
(http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/images/hb_56.jpg)(http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/e/e1/Cinnamomum_verum1.jpg/243px-Cinnamomum_verum1.jpg)

ต้นสารภีทะเล
ต้นไม้ประจำจังหวัดระยอง
(http://panmai.com/PvTree/Gallery/tr_49.jpg)

ต้นโมกมัน
ต้นไม้ประจำจังหวัดราชบุรี
(http://panmai.com/PvTree/Gallery/tr_50.jpg)

ต้นพิกุล
ต้นไม้ประจำจังหวัดลพบุรี
(http://panmai.com/PvTree/Gallery/tr_51.jpg)

ต้นขะจาว
ต้นไม้ประจำจังหวัดลำปาง
(http://sps.lpru.ac.th/resources/12/53/2738.jpg)(http://sps.lpru.ac.th/resources/12/53/2743.jpg)

ต้นจามจุรี
ต้นไม้ประจำจังหวัดลำพูน
(http://panmai.com/PvTree/Gallery/tr_53.jpg)

ต้นสนสามใบ
ต้นไม้ประจำจังหวัดเลย
(http://panmai.com/PvTree/Gallery/tr_54.jpg)

ต้นลำดวน
ต้นไม้ประจำจังหวัดศรีสะเกษ
(http://panmai.com/PvTree/Gallery/tr_55.jpg)

ต้นอินทนิลน้ำ
ต้นไม้ประจำจังหวัดสกลนคร
(http://panmai.com/PvTree/Gallery/tr_56.jpg)

ต้นสะเดาเทียม
ต้นไม้ประจำจังหวัดสงขลา
(http://panmai.com/PvTree/Gallery/tr_57.jpg)

ต้นกระซิก
ต้นไม้ประจำจังหวัดสตูล
(http://panmai.com/PvTree/Gallery/tr_58.jpg)

ต้นโพทะเล
ต้นไม้ประจำจังหวัดสมุทรปราการ
(http://panmai.com/PvTree/Gallery/tr_59.jpg)

ต้นจิกทะเล
ต้นไม้ประจำจังหวัดสมุทรสงคราม
(http://panmai.com/PvTree/Gallery/tr_60.jpg)

ต้นสัตบรรณ
ต้นไม้ประจำจังหวัดสมุทรสาคร
(http://panmai.com/PvTree/Gallery/tr_61.jpg)

ต้นมะขามป้อม
ต้นไม้ประจำจังหวัดสระแก้ว
(http://panmai.com/PvTree/Gallery/tr_62.jpg)

ต้นตะแบก
ต้นไม้ประจำจังหวัดสระบุรี
(http://panmai.com/PvTree/Gallery/tr_63.jpg)

ต้นมะกล่ำต้น
ต้นไม้ประจำจังหวัดสิงห์บุรี
(http://panmai.com/PvTree/Gallery/tr_64.jpg)

ต้นมะค่าโมง
ต้นไม้ประจำจังหวัดสุโขทัย
(http://panmai.com/PvTree/Gallery/tr_65.jpg)

ต้นมะเกลือ
ต้นไม้ประจำจังหวัดสุพรรณบุรี
(http://panmai.com/PvTree/Gallery/tr_66.jpg)

ต้นเคี่ยม
ต้นไม้ประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี
(http://www.pakxe.com/nuke/flower/tree/keam.jpg)(http://studentwork.srp.ac.th/Suratthani/Award2/images_st/symbol_04.gif)

ต้นมะค่าแต้
ต้นไม้ประจำจังหวัดสุรินทร์
(http://panmai.com/PvTree/Gallery/tr_68.jpg)

ต้นชิงชัน
ต้นไม้ประจำจังหวัดหนองคาย
(http://panmai.com/PvTree/Gallery/tr_69.jpg)

ต้นพะยูง
ต้นไม้ประจำจังหวัดหนองบัวลำภู
(http://panmai.com/PvTree/Gallery/tr_70.jpg)

ต้นมะพลับ
ต้นไม้ประจำจังหวัดอ่างทอง
(http://panmai.com/PvTree/Gallery/tr_71.jpg)

ต้นตะเคียนหิน
ต้นไม้ประจำจังหวัดอำนาจเจริญ
(http://panmai.com/PvTree/Gallery/tr_72.jpg)

ต้นรัง
ต้นไม้ประจำจังหวัดอุดรธานี
(http://panmai.com/PvTree/Gallery/tr_73.jpg)

ต้นสัก
ต้นไม้ประจำจังหวัดอุตรดิตถ์
(http://panmai.com/PvTree/Gallery/tr_74.jpg)

ต้นสะเดา
ต้นไม้ประจำจังหวัดอุทัยธานี
(http://panmai.com/PvTree/Gallery/tr_75.jpg)

ต้นยางนา
ต้นไม้ประจำจังหวัดอุบลราชธานี
(http://panmai.com/PvTree/Gallery/tr_76.jpg)


หัวข้อ: Re: ประวัติ ตำนาน เรื่องเล่า
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มีนาคม 03, 2012, 08:01:59 PM
วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร

(http://www.watsraket.com/images/stories/article/2009/03/07.jpg)

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ )

รวบรวมและเรียบเรียง

วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร เป็นวัดโบราณ เดิมเรียกชื่อว่าวัดสะแก มามีตำนานเนื่องในพระราชพงศาวดาร เมื่อปีขาล จัตวาศก จุลศักราช ๑๑๔๔ พุทธศักราช ๒๓๒๕ ปัจจุบันเป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิด ราชวรมหาวิหาร ตั้งอยู่แขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร

เขตด้านตะวันออก จดคลองซึ่งแยกจากคลองมหานาค ตอนเหนือสะพานโค้ง ผ่านไปทางวัดจักรวรรดิ ราชาวาส ปัจจุบันคลองนี้ถูกถมไปแล้ว

เขตวัดดานตะวันตก จดคลองโอ่งอ่าง

เขตวัดด้านเหนือ จดคลองมหานาค

เขตวัดด้านใต้ มีคูวัดซึ่งขุดจากคลองโอ่งอ่าง เลียบเสนาสนะสงฆ์ไปจดกับคลลองด้านตะวันออก ปัจจุบันคูนี้ถูกถมไปแล้ว


(http://www.watsraket.com/images/stories/article/2009/03/04.jpg)

พระราชทานนามใหม่

วัดสระเกศเป็นวัดโบราณดังกล่าวข้างต้น มีข้อความปรากฏตามตำนานว่า เป็นวัดเก่าแก่สร้างมาแต่สมัยโบราณ สันนิษฐานว่าจะได้สร้างมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมมีชื่อว่า “วัดสระแก” เพิ่งมาเปลี่ยนเป็นวัดสระเกศเมื่อสมัยที่ ๑ ตอนที่ได้สร้างกรุงเทพพระมหานครครั้งแรก มีปรากฏตามพระราชพงศาวดารว่า เมื่อจุลศักราช ๑๑๔๕ เบญจศก ตรงกับพุทธศักราช ๒๓๒๖ นั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้โปรดให้ลงมือก่อสร้างพระนครรวมทั้งมหาราชวัง และพระราชวังบวรสถานมงคล ได้รวมผู้คนให้ขุดคลองรอบเมืองตั้งแต่บางลำพูเรื่อยไปจนจดแม่น้ำด้านใต้ตอนเหนือวัดจักรวรรดิราชาวาส แล้วโปรดให้ขุดคลองหลอด และขุดคลองใหญ่เหนือวัดสระแกอีกคลองหนึ่ง พระราชทานนามว่าคลองมหานาค เพื่อเป็นที่สำหรับประชาชนชาวพระนคร ได้ลงประชุมเล่นเพลงและสักวาในเทศกาลฤดูน้ำเหมือนอย่างครั้งกรุงศรีอยุธยา และวัดสะแกนั้นเมื่อขุดคลองมหานาคแล้ว พระราชทานเปลี่ยนนามใหม่ว่า “วัดสระเกศ”และทรงปฏิสังขรณ์วัดสระเกศทั้งพระอาราม ตั้งต้นแต่พระอุโบสถตลอดถึงเสนาสนะสงฆ์ แลขุดคลองรอบวัดด้วย

คำว่า “สระเกศ” นี้ ตามรูปคำก็แปลว่าชำระ หรือ ทำความสะอาดพระเกศานั่นเอง มูลเหตุที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระราชทานเปลี่ยนชื่อวัดสระแกเป็นวัดสระเกศนี้ มีหลักฐานที่ควรอ้างถึง คือพระราชวิจารณ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่อจดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวี ข้อ ๑๑๖ ว่า “รับสั่งพระโองการตรัสวัดสะแกให้เรียกว่าสระเกศ แล้วบูรณปฏิสังขรณ์ เห็นควรที่ต้นทางเสด็จพระนคร” ทรงพระราชวิจารณ์ไว้ว่า “ปฏิสังขรณ์วัดสะแกและเปลี่ยนชื่อเป็นวัดสระเกศเอามากล่าวปนกับวัดโพธิ์ เพราะเป็นต้นทางที่เสด็จเข้ามาพระนคร มีคำเล่าๆ กันว่า เสด็จเข้าโขลนทวาร สรงพระมรุธาภิเษกตามประเพณี กลับจากทางไกลที่วัดสะแกจึงเปลี่ยนนามว่า “วัดสระเกศ”

(http://www.watsraket.com/images/stories/article/2009/03/05.jpg)

และยังมีลายพระหัตถ์สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทูลสมเด็จกรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ในสาสน์สมเด็จ ฉบับลงวันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๘๕ เรื่องเกี่ยวกับวัดสระเกศที่น่ารู้อย่างหนึ่งว่า “ชื่อ” วัดสระเกศ ดูถือว่า เป็นชื่อสำคัญ

ทางมณฑลอีสาน มีเกือบทุกเมือง แต่เขาเรียกว่า “วัดศรีสระเกศ” วัดสระเกศในกรุงเทพฯนี้ เดิมชื่อว่า “วัดสะแก” มีเรื่องตำนานว่า เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เสด็จกลับจากเมืองเขมรเข้ามาเสวยราชย์ ประทับทำพิธีพระกระยาสนานที่วัดสระเกศแล้วจึงเดินกระบวนแห่เสด็จมายังพลับพลาหน้าวัดโพธาราม(ปัจจุบันคือวัดพระเชตุพน) อันเป็นท่าเรือข้ามไปยังพระราชวังธนบุรี เมื่อทรงสร้างเป็นพระอารามหลวงในที่ ๑ จึงโปรดให้เปลี่ยนนามวัดสระเกศ พระธรรมทานาจารย์ (จุ่น)เคยบอกหม่อมฉันว่าพระในวัดสระเกศบอกเล่าสืบกันมาว่า สระที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ สรงน้ำนั้นโปรดฯให้ถมเสียแล้วสร้างการเปรียญขึ้นตรงนั้น อยู่ทางข้างตะวันออกของกุฏิหมู่ใหญ่อันเป็นที่อยู่ของพระราชาคณะบัดนี้”

ในตำนานของวัดสระเกศนี้ได้กล่าวไว้ว่า “เมื่อปีขาล จัตวาศก จุลศักราช ๑๑๔๔ ตรงกับพุทธศักราช ๒๓๒๕ เมื่อครั้งกรุงธนบุรีเกิดจลาจนขึ้น ในเวลานั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เสด็จดำรงพระยศเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก สมเด็จพระอนุชาธิราช กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท เสด็จดำรงพระยศเป็นเจ้าพระยาสุรสีห์พิษณวาธิราช เสด็จยกกองทัพไปทำสงครามที่กรุงกัมพูขาทั้งสองพระองค์เมื่อได้ทรงทราบว่าเกิดจลาจลขึ้นในกรุงธนบุรี จึงเสด็จยกกองทัพกลับมา พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เสด็จเข้าโขลนทวารประทับสรงมุรธาภิเษกที่วัดสะแก เมื่อ ณ วันเสาร์ เดือน ๕ แรม ๙ ค่ำ ปีขาล จัตวาศก จุลศักราช ๑๑๔๔ ตรงกับพุทธศักราช ๒๓๒๕ ประทับอยู่เป็นเวลา ๓ วัน แล้วเสด็จจากพลับพลาวัดสะแก โดยกระบวนทางสถลมารคไปประทับ ณ หน้าวัดโพธาราม (ปัจจุบันคือวัดรพะเชตุพน)เสด็จลงเรือพระที่นั่งข้ามไปยังพระราชวังธนบุรีทรงระงับดับยุคเข็ญในพระนครเรียบร้อยแล้วเหล่าเสนาอำมาตย์ผู้ใหญ่ทั้งปวงเชิญเสด็จขึ้นผ่านพิภพปราบดาภิเษกประดิษฐานดำรงรัฐสีมาเป็นใหญ่ในสยามประเทศสืบมาพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาทรงย้ายพระนครมาสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ข้างฝั่งตะวันออก เมื่อสร้างพระราชวังในพระนครใหม่ จึงโปรดให้สร้างวัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรแก้วมรกต อันเป็นสิริมิ่งขวัญสำหรับพระนคร และเมื่อสร้างวัดพระศรีรัตนศาสดารามนั้น ทรงพระราชดำริว่า ระฆังที่วัดสะแกเสียงไพเราะไม่มีระฆังอื่นจะเสมอ สมควรเอามาไว้ในวัดสำคัญสำหรับพระนคร จึงโปรดให้เอาระฆังที่วัดสะแกมาแขวนไว้ที่หอระฆังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม สำหรับตีย่ำเช้าเย็นยังปรากฏอยู่จนทุกวันนี้”


วัดสระเกศได้เป็นวัดสำคัญเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของชาติไทย และเกี่ยวกับมาแต่ต้น จึงเป็นอารามหลวงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตั้งแต่ที่ ๑ เป็นต้นมา ได้ทรงบริจาคพระราชทรัพย์เป็นจำนวนมากปฏิสังขรณ์ก่อสร้างถาวรวัตถุและเสนาสนะสงฆ์สืบมาโดยลำดับ

เขตพุทธาวาส สังฆาวาส

วัดนี้อาจแบ่งเป็น ๒ เขต คือ ทางด้านเหนือของวัดเป็นที่ตั้งบรมบรรพต พระวิหารพระอัฏฐารส และบริเวณพระอุโบสถจัดเป็นพุทธาวาส ส่วนทางด้านใต้ของเขตพุทธาวาส มีถนนคั่นเป็นเสนาสนะสงฆ์ที่อยู่ของพระภิกษุสามเณร จัดเป็นสังฆาวาส จะเห็นได้ว่าวัดสระเกศมีเขตที่แบ่งไว้อย่างเหมาะสม และสวยงาม




หัวข้อ: Re: ประวัติ ตำนาน เรื่องเล่า
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มีนาคม 03, 2012, 08:03:06 PM
เที่ยวชมวัดสระเกศ

(http://www.watsraket.com/images/stories/article/2009/10/02.jpg)

(http://www.watsraket.com/images/stories/article/2009/31/02.jpg)
พระอุโบสถ
(http://www.watsraket.com/images/stories/article/2009/29/01.jpg)
พระระเบียง
(http://www.watsraket.com/images/stories/article/2009/30/01.jpg)
พระระเบียงพุทธเจย์ดี
(http://www.watsraket.com/images/stories/article/2009/28/01.jpg)
พระวิหาร
(http://www.watsraket.com/images/stories/article/2009/27/01.jpg)
บรมบรรพต พระเจดีย์ภูเขาทอง
(http://www.watsraket.com/images/stories/article/2009/25/30.jpg)
พระศรีมหาโพธิ์
(http://www.watsraket.com/images/stories/article/2009/24/01.jpg)
หอพระไตรปิฏก
(http://www.watsraket.com/images/stories/article/2009/18/01.jpg)
พิธีห่มผ้าแดงในงานนมัสการสารีริกธาตุ 

พอสังเขป น้ะค่ะ
เข้าไปดูเวปไซด์ทางวัดเพิ่มเติมได้ที่
www.watsraket.com (http://www.watsraket.com)




หัวข้อ: Re: ประวัติ ตำนาน เรื่องเล่า
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มีนาคม 03, 2012, 08:06:50 PM
ตำนานดอกกุหลาบ   

(http://play.kapook.com/files/play/photo/original/7/32572_6.jpg)             

    กุหลาบเป็นดอกไม้ที่นิยมปลูกไว้ชื่นชมมาแต่โบราณ ประมาณกันว่ากุหลาบเกิดขึ้นเมื่อกว่า 70 ล้านปีมาแล้ว เคยมีการค้นพบฟอสซิลของกุหลาบใน รัฐโคโลราโด และ รัฐโอเรกอน ประเทศสหรัฐอเมริกา และได้พิสูจน์ว่ากุหลาบป่าเป็นพืชที่มีอายุถึง 40 ล้านปี แต่กุหลาบป่าสมัยโลกล้านปีนี้ มีรูปร่างหน้าตาไม่เหมือนกุหลาบสมัยนี้ เนื่องจากมนุษย์ได้นำเอากุหลาบป่ามาปลูกและผสมพันธุ์ ขยายพันธุ์เป็นพันธุ์ต่างๆ มากมาย   

           
     ความจริงแล้วกำเนิดของกุหลาบหรือกุหลาบป่านี้มีเฉพาะในแถบบริเวณเหนือเส้นศูนย์สูตรของโลกเท่านั้น คือกำเนิดในภาคกลางของทวีปเอเชีย แล้วแพร่ขยายพันธุ์ไปตลอดซีกโลกเหนือ ไม่ว่าจะเป็นแถบที่มีอากาศหนาวจัดอย่าง อาร์กติก อลาสก้า ไซบีเรีย หรือแถบอากาศร้อนอย่าง อินเดีย แอฟริกาเหนือ แต่ในบริเวณแถบใต้เส้นศูนย์สูตรอย่างทวีปออสเตรเลีย หรือเกาะต่างๆ ในมหาสมุทรรวมทั้งแอฟริกาใต้ ไม่เคยมีปรากฏว่ามีกุหลาบป่าเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติเลย

                ตามประวัติศาสตร์เล่าว่า กุหลาบป่าถูกนำมาปลูกไว้ในพระราชวังของจักรพรรดิจีน ในสมัยฮั่นราว 5,000 ปีมาแล้ว ขณะที่อียิปต์เองก็ปลูกกุหลาบเป็นไม้ดอก ส่งไปขายให้แก่ชาวโรมัน ชาวโรมันเป็นชาติที่รักดอกกุหลาบมากถึงจะสั่งซื้อจากประเทศอียิปต์แล้ว ยังลงทุนสร้างเนอร์สเซอรี่ขนาดใหญ่สำหรับปลูกดอกกุหลาบอีกด้วย สำหรับชาวโรมันแล้วเรียกได้ว่าดอกกุหลาบมีความสำคัญกับชีวิตประจำวัน เพราะชาวโรมันถือว่าดอกกุหลาบเป็นสัญลักษณ์ของความรัก ซึ่งเป็นทั้งของขวัญ เป็นดอกไม้สำหรับทำเป็นมาลัยต้อนรับแขก เป็นดอกไม้สำหรับงานเฉลิมฉลองต่างๆ ใช้เป็นส่วนประกอบสำหรับทำขนม ทำไวน์ ส่วนน้ำมันกุหลาบยังใช้ทำเป็นยาได้อีกด้วย

               กุหลาบถือเป็นสัญลักษณ์แห่งความรักและความโรแมนติก ซึ่งมีบางตำนานเล่าว่า ดอกกุหลาบเป็นเสมือนเครื่องหมายแทนการกำเนิดของ เทพธิดาวีนัส ซึ่งเป็นเทพแห่งความงาม และความรัก วีนัสเป็นที่รู้จักกันในชื่อ อโฟรไดท์ ในตำนานเทพของกรีกได้กล่าวไว้ว่า น้ำตาของเธอหยดลงปะปนกับเลือดของ อคอนิส คนรักของเธอที่ถูกหมูป่าฆ่า เลือดและน้ำตาหยดลงสู่พื้นแล้วกลายเป็นดอกไม้สีแดงเข้มหรือดอกกุหลาบนั่นเอง แต่บางตำนานก็เล่าว่าดอกกุหลาบเกิดจากเลือดของ อโฟรไดท์ เองที่หยดลงสู่พื้น เมื่อเธอแทงตัวเองด้วยหนามแหลม     

          บางตำนานกล่าวว่ากุหลาบเกิดจากการชุมนุมของบรรดาทวยเทพ เพื่อประทานชีวิตใหม่ให้กับนางกินรีนางหนึ่ง ซึ่งเทพธิดาแห่งบุปผาชาติ หรือ คลอริส บังเอิญไปพบนางนอนสิ้นชีพอยู่ ในตำนานนี้กล่าวว่า อโฟรไดท์ เป็นเทพผู้ประทานความงามให้ มีเทพอีกสามองค์ประทานความสดใส เสน่ห์ และความน่าอภิรมย์ และมี เซไฟรัส ซึ่งเป็นลมตะวันตกได้ช่วยพัดกลุ่มเมฆ เพื่อเปิดฟ้าให้กับแสงของเทพ อพอลโล หรือแสงอาทิตย์ส่องลงมาเพื่อประทานพรอมตะ จากนั้น ไดโอนีเซียส เทพเจ้าแห่งเหล้าองุ่นก็ประทานน้ำอมฤต และกลิ่นหอม เมื่อสร้างบุปผาชาติดอกใหม่นี้ขึ้นมาได้แล้ว เทพทั้งหลายก็เรียกดอกไม้ซึ่งมีกลิ่นหอมและทรงเสน่ห์นี้ว่า Rosa จากนั้น เทพธิดาคลอริส ก็รวบรวมหยดน้ำค้างมาประดับเป็นมงกุฎ เพื่อมอบให้ดอกไม้นี้เป็นราชินีแห่งบุปผาชาติทั้งมวล จากนั้นก็ประทานดอกกุหลาบให้กับเทพ อีโรส ซึ่งเป็นเทพแห่งความรัก กุหลาบจึงกลายเป็นสัญลักษณ์ของความรัก แล้วเทพ อีโรส ก็ประทานกุหลาบนี้ให้แก่ ฮาร์โพเครติส ซึ่งเป็นเทพแห่งความเงียบ เพื่อที่จะเก็บซ่อนความอ่อนแอของทวยเทพทั้งหลาย ดอกกุหลาบจึงกลายเป็นสัญลักษณ์ของความเงียบและความเร้นลับอีกอย่างหนึ่ง

               กุหลาบกลายเป็นของขวัญ ของกำนัลสำหรับการแสดงความรัก และมักจะมีผู้เปรียบเทียบความงามของผู้หญิงเป็นเสมือนดอกกุหลาบ และผู้หญิงคนแรกในประวัติศาสตร์โลกที่ได้รับสมญาว่าเป็นผู้หญิงงามเสมือนดอกกุหลาบคือ พระนางคลีโอพัตรา ซึ่งพระนางยังได้เคยต้อนรับ มาร์ค แอนโทนี คนรักของพระนาง ในห้องซึ่งโรยด้วยดอกกุหลาบหนาถึง 18 นิ้ว หอมฟุ้งไปด้วยกลิ่นกุหลาบ

ตำนานดอกกุหลาบในเมืองไทย

(http://play.kapook.com/files/play/photo/original/7/32572_7.jpg)

               กุหลาบมาจากคำว่า "คุล" ในภาษาเปอร์เชีย แปลว่า "สีแดง ดอกไม้ หรือดอกกุหลาบ" และเข้าใจว่าจากเปอร์เซียได้แพร่เข้าไปในอินเดีย เพราะในภาษาฮินดีมีคำว่า "คุล" แปลว่า "ดอกไม้" และคำว่า "คุลาพ" หมายถึงกุหลาบอย่างที่ไทยเราเรียกกัน แต่ออกเสียงเป็น "กุหลาบ"  ส่วนคำว่า "Rose" ในภาษาอังกฤษนั้นมาจากคำว่า "Rhodon" ที่แปลว่ากุหลาบในภาษากรีก       

         กุหลาบเข้ามาเมืองไทยสมัยใดไม่ทราบแน่ชัด แต่จากบันทึกของ ลา ลูแบร์ ราชทูตฝรั่งเศสในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช บันทึกไว้ว่าได้เห็นกุหลาบที่กรุงศรีอยุธยา และที่แน่นอนอีกแห่งก็คือ ในกาพย์ห่อโคลงนิราศธารโศกสมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งเป็นพระนิพนธ์ของเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ กล่าวถึงกุหลาบไว้ว่า

         
กุหลาบกลิ่นเฟื่องฟุ้ง
         หอมรื่นชื่นชมสอง
           นึกกระทงใส่พานทอง
             หยิบรอจมูกเจ้า   เนืองนอง
                 สังวาส
                      ก่ำเก้า
                        บ่ายหน้าเบือนเสีย
 


(http://play.kapook.com/files/play/photo/original/7/32572_3.jpg)   
     


     สำหรับตำนานดอกกุหลาบของไทยเล่ากันว่า เป็นบทละครพระราชนิพนธ์ของที่ 6 เรื่อง มัทนะพาธา ในเรื่องเล่าถึงเทพธิดาองค์หนึ่งชื่อ "มัทนา" ซึ่งนางได้มีเทพบุตรองค์หนึ่งชื่อ "สุเทษณะ" ซึ่งพระองค์ทรงหลงรักเทพธิดา "มัทนา" มากแต่นางไม่มีใจรักตอบ จึงถูกสาบให้ไปเกิดเป็นดอกกุหลาบ จึงกลายเป็นตำนานดอกกุหลาบแต่นั้นมา  

กุหลาบขาว กับ กุหลาบแดง สีไหนเกิดก่อน ?

(http://play.kapook.com/files/play/photo/original/7/32572_4.jpg)


(http://play.kapook.com/files/play/photo/original/7/32572_8.jpg)

               มีหลายตำนานเล่าถึงการเกิดกุหลาบสีขาวและกุหลาบสีแดงไว้แตกต่างกัน ตำนานหนึ่งเล่าว่า กุหลาบขาว เกิดขึ้นก่อน กุหลาบแดง เดิมทีมีนกไนติงเกลตัวหนึ่งมาหลงรักเจ้าดอกกุหลาบขาวแสนสวย ขณะที่มันกำลังจะโอบกอดดอกกุหลาบด้วยความรักนั้นเอง หนามกุหลาบก็ทิ่มแทงที่หน้าอกของมัน หยดเลือดของเจ้านกไนติงเกลเลยทำให้ดอกกุหลาบสีขาวกลายเป็นสีแดง เลยมีดอกกุหลาบสีแดงนับแต่นั้นเป็นต้นมา ส่วนอีกตำนานหนึ่งก็เล่าว่ากุหลาบสีแดงใน สวนอีเดน เกิดจาการจุมพิตของ อีฟ เจ้าดอกกุหลาบขาวที่หญิงสาวจุมพิต เลยเกิดอาการขวยเขินจึงเปลี่ยนเป็นสีแดง 

            นอกจากนี้ ความหมายของความรักในศาสนาคริสต์ ถือว่ากุหลาบสีขาวแทนความบริสุทธิ์ของ พระแม่มาเรีย และกุหลาบสีแดงเกิดจากหยาดพระโลหิตของ พระเยซูเจ้า เมื่อถูกสวมมงกุฎหนาม มันจึงเป็นสัญลักษณ์ของผู้ประกาศศาสนาที่พลีชีพเพื่อพระผู้เป็นเจ้า


สีกุหลาบสื่อความหมาย       

       ในวันวาเลนไทน์ ซึ่งเป็นวันแห่งความรัก ดอกกุหลาบถือเป็นสัญลักษณ์ และของกำนัลของวันนี้ ดังนั้นเวลาที่คิดจะให้ดอกกุหลาบแก่ใครสักคน เราก็น่าจะรู้ความหมายของสีอันเป็นสื่อความหมายของดอกกุหลาบไว้บ้างก็น่าจะดี ซึ่งก็จะมีความดังนี้


สีแดง  สื่อความหมายถึง ความรักและความปรารถนา เป็นดอกไม้ของกามเทพ คิวปิด และอีรอส เป็นสิ่งนำโชคนำความรักมาให้แก่หญิงหรือชายที่ได้รับ

สีชมพู  สื่อความหมายถึง ความรักที่มีความสุขอย่างสมบูรณ์

สีขาว  สื่อความหมายถึง ความมีเสน่ห์ ความบริสุทธิ์ มิตรภาพ และความสงบเงียบ และนำโชคมาให้แก่หญิงหรือชายเช่นเดียวกับกุหลาบแดง

สีเหลือง  สื่อความหมายถึง เราเป็นเพื่อนที่ดีต่อกันเสมอนะ

สีขาวและแดง สื่อความหมายถึง ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

กุหลาบตูม สื่อความหมายถึง ความงามและความเยาว์วัย
 

ช่อกุหลาบสื่อความหมาย

               จำนวนดอกกุหลาบในช่อก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สื่อความหมายได้เช่นกัน และในวันวาเลนไทน์หรือวันไหนๆ ถ้าคุณได้ช่อดอกกุหลาบจากใครสักคน เค้าคนนั้นอาจกำลังต้องการสื่อความหมายอะไรบางอย่างให้คุณรู้ก็เป็นได้

จำนวนดอกกุหลาบ
ความหมาย


1       รักแรกพบ
2       แสดงความรู้สึกที่ดีให้กัน
3       ฉันรักเธอ
7       คุณทำให้ฉันหลงเสน่ห์
9       เราสองคนจะรักกันตลอดไป
10      คุณเป็นคนที่ดีเลิศ
11      คุณเป็นสมบัติชิ้นที่มีค่าชิ้นเดียวของฉัน
12      ขอให้เธอเป็นคู่ของฉันเพียงคนเดียว
13      เพื่อนแท้เสมอ
15      ฉันรู้สึกเสียใจจริงๆ
20     ฉันมีความจริงใจต่อเธอ
21     ชีวิตินี้ฉันมอบเพื่อเธอ
36     ฉันยังจำความหลังอันแสนหวาน
40     ความรักของฉันเป็นรักแท้
99     ฉันรักเธอจนวันตาย
1oo   ฉันอุทิศชีวิตนี้เพื่อเธอ
101   ฉันมีคุณเพียงคนเดียวเท่านั้น
108   คุณจะแต่งงานกับฉันไหม
999   ฉันจะรักคุณจนวินาทีสุดท้าย
 


 (http://play.kapook.com/files/play/photo/original/7/32572_2.jpg)


หัวข้อ: Re: ประวัติ ตำนาน เรื่องเล่า
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มีนาคม 03, 2012, 08:13:26 PM
“ข้าวแช่”

 เป็นอาหารที่มีถิ่นกำเนิดจากชาวมอญในดินแดนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา และใช้ประกอบในเทศกาลสงกรานต์ของชาวมอญ จนถือเป็นประเพณีสืบต่อกันมาว่า ในวันสงกรานต์จะต้องทำข้าวแช่ถวายพระ เพื่อความเป็นสิริมงคล จากนั้นคนไทยได้รับเอาวัฒนธรรมข้าวแช่ของชาวมอญมาใช้ ซึ่งในตอนแรกข้าวแช่จะมีอยู่แค่ในรั้วในวังเท่านั้น แต่ต่อมาได้แพร่หลายไปทั่วในหลายจังหวัดของภาคกลาง  

ประวัติข้าวแช่
ของชาวมอญนั้น จากหนังสือสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคกลาง เล่ม ๒ ของมูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า จากการสอบถามชายไทยเชื้อสายมอญ ที่ชุมชนวัดม่วง จังหวัดราชบุรี ซึ่งเป็นชุมชนเก่าแก่ได้กล่าวถึงวันสงกรานต์ซึ่งเป็นวันที่ ดวงอาทิตย์โคจรจากราศีมีนเข้าสู่ราศีเมษเป็นวันปีใหม่ เรียกว่า “วันมหาสงกรานต์” ซึ่งเล่าว่าเป็นวันที่เทวดาที่รักษาโลกเสด็จกลับสู่สวรรค์เป็นวันสิ้นปีเก่า วันที่ ๒ เป็น “วันเนา” หรือ “วันว่าง” ซึ่งวันนี้จะไม่มีเทวดาที่รักษาโลกอยู่หรือเรียกวันนี้ว่า “วันกระหนาบ” เพราะอยู่ระหว่างกลางระหว่าง สิ้นปีเก่าและวันขึ้นปีใหม่ ส่วนวันที่ ๓ จัดเป็น  “วันขึ้นปีใหม่” หรือ “วันเถลิงศก” ซึ่งเป็นวันที่เทวดาองค์ใหม่เสด็จมารักษาโลกมนุษย์ก่อนวันสงกรานต์ ๑ วัน ชาวมอญจะบวงสรวงเทวดาที่ลานดิน ซึ่งเป็นศูนย์กลางของหมู่บ้านด้วยการสร้างศาลซึ่งทำด้วยไม้ไผ่ผ่าซีก ประดับด้วยผ้าขาวและกาบกล้วยและประดับศาลด้วยดอกสงกรานต์ (ดอกราชพฤกษ์หรือดอกคูน) กางร่มบนศาล (ซึ่งในปัจจุบันแต่ละบ้านจะทำศาลที่เรียกว่าบ้านสงกรานต์ ไว้ที่หน้าบ้านของตนเอง) สำหรับอาหารที่ใช้ในการบวงสรวงจะมีข้าวแช่ ประกอบด้วยอาหาร ๗ อย่าง ได้แก่ กะปิทอด ปลาป่นหวาน กระเทียมดองผัดไข่ ผักกาดหวานผัด ยำขนุนอ่อน  ยำปูเค็มกับมะม่วงดิบ และก๋วยเตี๋ยวผัด (คือผัดไทย) มีขนมปัง กะละแมและข้าวเหนียวแดง สำหรับวิธีการหุงข้าวแช่เพื่อใช้ในพิธีบวงสรวง จะทำโดยหุงกลางแจ้งมีราชวัติฉัตรธง เมื่อหุงแล้วเทลงในผ้าขาวบางบนกระบุง ใช้น้ำเย็นราดข้าวให้เย็นแล้วใช้มือขัดข้าวแล้วล้างยางออก ๗ ครั้ง จึงนำไปใช้ได้ วิธีดังกล่าวเรียกว่าข้าวพิธี นอกจากนี้ยังมีวิธีการหุงข้าวแช่อีกหนึ่งวิธีที่มาจากคำบอกเล่าของชาวบ้านคือ ใช้ข้าวสารหุงจนเป็นตาปลาไม่ให้ข้าวบาน จากนั้นเทใส่ในกระบุงล้างน้ำจนเย็นแล้วจึงใส่หม้อดิน ก่อนจะใส่หม้อดินมีวิธีอบหม้อดินให้หอมด้วยการใช้แกลบเผาไฟ โดยตะแคงหม้อให้ควันไฟเข้าไปอบหม้อดิน อบ ๑ วัน ๑ คืน หรือบางคนก็อบ ๓ วัน ๓ คืน แล้วแต่ความชอบ นำข้าวใส่หม้อและเทน้ำลง จะไม่มีการอบควันเทียนหรืออบน้ำดอกไม้เลย

สำหรับข้าวแช่ของไทยนั้น ไม่ปรากฏหลักฐานว่าเริ่มขึ้นเมื่อใด แต่เมื่อพูดถึงข้าวแช่มักจะนึกถึงอาหารของชาววังและข้าวแช่ของจังหวัดเพชรบุรี และจากการได้รับคำบอกเล่าว่าเป็นตำรับอาหารอันเก่าแก่ของวังบ้านหม้อ ซึ่งราชสกุลกุญชรจะทำบุญเลื้ยงข้าวแช่ในวันที่ ๑๖ เมษายนของทุกปี เพื่ออุทิศกุศลถวายพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระพิทักษเทเวศร องค์ต้นราชสกุล “กุญชร” และเป็นโอกาสที่จะทำบุญในวันสงกรานต์ไปพร้อมกัน
ข้าวแช่ของไทยนั้นมีวิวัฒนาการต่อมาโดยการใช้น้ำแข็ง ซึ่งแตกต่างจากชาวมอญซึ่งไม่ใช้น้ำแข็ง อย่างไรก็ตามข้าวแช่ทั้งแบบไทยหรือมอญก็มักจะรับประทานกันในฤดูร้อนโดยเฉพาะช่วงเทศกาลสงกรานต์
วิวัฒนาการของการใช้น้ำแข็งนั้นนำมาจากต่างประเทศ ในระยะแรกสันนิษฐานว่านำเข้ามาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ ๔ โดยเรือกลไฟชื่อ “เจ้าพระยา” เดินทางระหว่างกรุงเทพฯ และสิงคโปร์ ซึ่งเดินทางเข้ามาทุก ๑๕ วัน จากพระนิพนธ์ของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เรื่องความทรงจำ ตอนหนึ่งความว่า “เมื่อรู้ว่าเรือเจ้าพระยาเข้ามาถึงก็พากันยินดี ด้วยมักมีผู้ส่งของเข้ามาถวายทูลกระหม่อมบางทีมีของเล่นแปลกๆ ได้พระราชทานเนืองๆ ของประหลาดอย่างหนึ่งนั้นคือ น้ำแข็ง เพิ่งทำได้ที่เมืองสิงคโปร์ ไม่ช้านัก มีผู้ส่งแท่งน้ำแข็งใส่หีบกลบขี้เลื่อยมาถวายเนืองๆ ได้น้ำแข็งมาเมื่อใดก็มักโปรดให้แจกเจ้านายและข้าราชการผู้ใหญ่”
จากพระนิพนธ์ดังกล่าว ถ้าสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพประสูติเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๕ ทรงเห็นน้ำแข็งและเคยเสวยน้ำแข็งเมื่อทรงพระเยาว์ ถ้าพระองค์มีพระชนม์ ๗ – ๘ พรรษา (พ.ศ. ๒๔๑๒) น้ำแข็งก็น่าจะมาถึงเมืองไทยแล้ว ที่กล่าวเช่นนี้อาจสันนิษฐานว่าข้าวแช่อาจจะเริ่มขึ้นในที่ ๔ และอาจมีการใส่น้ำแข็งในข้าวแช่แล้วในรัชสมัยนั้น ถ้าเป็นเช่นนั้นข้าวแช่ก็เป็นอาหาร  อันเก่าแก่สำหรับเราอยู่ดี
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแปรพระราชฐานประทับแรม ณ พระนครคีรี  (เขาวัง) อยู่เสมอ อาจทรงพบเห็นหรือนำข้าวแช่ไปจากพระนครก็ไม่อาจสันนิษฐานได้ แต่ข้าวแช่ของทั้ง ๓ เมืองนี้ก็มีอะไรคล้ายๆ กัน โดยรวมแล้วอาหารที่ทานกับข้าวแช่หรือที่เรียกว่า เครื่องข้าวแช่นั้น จะเป็นของที่ปรุงจากของแห้งของเค็ม ซึ่งค่อนข้างจะมีรสจัด เพื่อให้เหมาะกับข้าวแช่ที่จะต้องผสมน้ำรับประทาน ส่วนใหญ่จะเป็นอาหารจำพวกของผัดของทอด ถ้าของไทยรามัญ จะมีกะปิทอด       หอมสอดไส้ทอด เนื้อเค็มผัด หัวผักกาดเค็มผัด กระเทียมดองผัด ไข่เค็มต้ม แตงโมจิ้มกับปลาป่นผสมน้ำตาล ส่วนของชาวบ้านไทยสมัยเก่าจะมีหลายอย่างเช่นกัน เช่น กะปิทอด หอมสอดไส้ทอด      พริกหยวกสอดไส้ เนื้อเค็มฝอย ปลายี่สนฝอยผัดหวาน และจะขาดไม่ได้ คือ ผักสด ส่วนการหุงข้าวแช่ในสมัยก่อน จะทำให้ข้าวสูญเสียวิตามินไป ดังนั้นในปัจจุบันนี้จึงมีการประยุกต์เปลี่ยนแปลงเป็นการนึ่งหรือหุงด้วยหม้อไฟฟ้า แต่ผสมด้วยน้ำลอยดอกไม้หอม ใครรับประทานแบบไหนก็แล้วแต่ชอบ
กรรมวิธีในการหุงข้าวแช่และอาหารประกอบข้าวแช่นั้น มีวิธีทำคล้ายๆ กับชาวเพชรบุรี ส่วนความแตกต่างนั้นขึ้นอยู่กับรสมือและเคล็ดลับในการทำ และอาหารเพิ่มเติมบางอย่าง

การหุงข้าวแช่นั้นเริ่มจากข้าวสารชนิดดี หุงในหม้อขนาดใหญ่ เมื่อน้ำเดือดเมล็ดข้าวเริ่มจะสุกขนาดตาปลา ยกลงแช่ในน้ำเย็นผึ่งในตะแกรง เลือกเอาข้าวที่เละหรือไม่ดีออก นำไปแช่น้ำดอกไม้  พอชุ่มจนดูดกลิ่นดี แล้วใช้ผ้าขาวบางห่อนำไปนึ่งจนสุกแล้วจึงแช่น้ำแข็ง
การทำอาหารประกอบข้าวแช่นั้น ขอเริ่มด้วยวิธีการทำกะปิทอด ประกอบด้วยเครื่องปรุง     มี กระชาย ๓ ถ้วย ตะไคร้ ๑ ถ้วย หัวหอม ๑ ถ้วย ข่าเล็กน้อย น้ำตาลปี๊บ กะปิดีประมาณสองขีดครึ่ง ปลาดุกย่าง ๒ ถ้วย (อาจใส่ปลาเนื้ออ่อนกรอบก็ได้) มะพร้าวครึ่งกิโล

วิธีทำ
กระชาย ตะไคร้ หัวหอม ข่า หั่นละเอียด ตำรวมกันให้ละเอียด ปลาดุกย่างหรือปลาเนื้ออ่อน แกะเอาแต่เนื้อ ๒ ถ้วย ใส่ลงตำให้เข้ากัน ใส่กะปิ น้ำตาลปี๊บ ตำต่อไปจนเข้ากันดี ถ้าเค็มไปให้เติมปลาดุกย่างลงไปอีก เมื่อละเอียดดีแล้วคั้นมะพร้าวไม่ต้องใส่น้ำเคี่ยวจนแตกมัน เอาเครื่องกะปิที่ตำไว้ลงผัดจนสุกแห้งดี ทิ้งไว้ให้เย็นแล้วปั้นกลมๆ ชุบไข่ทอด
การทำหัวหอมทอด ประกอบด้วย หอมแดงปอกเปลือกนอกออก อย่าปอกจนถึงเนื้อให้เหลือเปลือกไว้บ้างเพราะจะชุบแป้งไม่ติด ปลาช่อนแห้ง ปิ้งแล้วตำหรือป่นให้ละเอียด เอาใส่กระทะคลุกกับน้ำตาลปี๊บ ผัดไปจนแล้งเหนียว แป้งสำหรับชุบ ใช้แป้งข้าวเหนียวผสมกับหัวกะทิ เกลือ พริกไทย ขยำให้เข้ากันจนเป็นน้ำข้นๆ เอาหัวหอมผ่าพอเป็นช่องหรือคว้านที่ก้นพอเป็นรูยัดใส่ปลาแล้วชุบแป้งทอด
การทำถั่วทอด เป็นการประยุกต์จากถั่วทอดซึ่งรับประทานกับขนมจีนน้ำพริก เข้าใจว่า    พระยาเทเวศรวงศวิวัฒน (ม.ล.วราห์  กุญชร) เป็นผู้ดำริ วิธีการทำจะใช้แป้งข้าวเจ้าผสมกับหัวกะทิและน้ำปูนใสคนจนเข้ากันดีเป็นน้ำข้นๆ คล้ายกับแป้งชุบหัวหอมทอด จากนั้นใช้ถั่วทอดแช่น้ำค้างคืนจนบานพอง นึ่งแล้วนำมาผสมกับแป้งจนเข้ากันดีแล้วนำมาทอดในกะทะทอง
การทำพริกหยวกยัดไส้ ประกอบด้วยหมูติดมันสับละเอียด กุ้งสับละเอียด ไข่เป็ด น้ำปลา พริกไทย พริกหยวก เกลือ วิธีทำโดยใช้หมูและกุ้งครึ่งต่อครึ่งสับจนเข้ากัน อย่าให้เละ ผสมน้ำปลา ไข่ พริกไทย ผ่าพริกหยวกเอาเม็ดออกล้างน้ำเกลือผึ่งให้แห้งใส่ไส้แล้วนึ่งให้สุก เมื่อสุกดีแล้วใส่ตะแกรงผึ่งไว้ ตีไข่ให้ละเอียดใช้มือจุ่มโรยให้เป็นฝอย (เป็นตาข่าย) ทาน้ำมันที่กระทะนิดหน่อยหน่อยพอไม่ให้ไข่ติดกระทะ นำพริกหยวกที่ยัดไส้แล้วห่อด้วยไข่ให้ทั่ว
การทำปลาผัดหวาน วิธีการทำจะใช้ปลาแห้งดีๆ เช่น ปลาช่อนแห้งตัวโตๆ มาปิ้ง แต่ก่อนจะนิยมใช้ปลายี่สน ซึ่งเป็นปลาเค็มที่มีรสอร่อย ฉีกฝอยเป็นเส้น แต่ปลายี่สนเป็นปลาที่หายาก จึงต้องใช้ปลาชนิดอื่นแทนเมื่อปิ้งสุกก็เอามาทุบให้นุ่ม ฉีกเป็นฝอย นำไปผัดกับน้ำมันพอจวนกรอบ จึงใส่น้ำตาลปี๊บซึ่งจะให้ความกรอบกว่าน้ำตาลทราย
จากประวัติและกรรมวิธีของการทำข้าวแช่ จะเห็นได้ว่า ข้าวแช่เป็นอาหารซึ่งมีมานานและไทยเราก็นำมาประยุกต์ใช้ในสมัยรัตนโกสินทร์ แต่ข้าวแช่ก็ไม่ได้เป็นอาหารที่แพร่หลายเช่นอาหารอื่น คนทั่วไปจึงมักกล่าวว่า เป็นอาหารชาววัง ด้วยเห็นว่าเป็นสิ่งที่ทำยาก และต้องใช้ความละเอียดอ่อนในการทำ นอกจากนี้ ข้าวแช่ยังเป็นอาหารที่สอดรับกับสภาพภูมิอากาศได้เป็นอย่างดี เพราะช่วงฤดูร้อนการทานอาหารที่มีน้ำเป็นองค์ประกอบจะทำให้ย่อยง่าย ลดอุณหภูมิและสร้างความสมดุลภายในร่างกาย คลายร้อน ทำให้ผิวพรรณมีความชุ่มชื่น ลดความเสี่ยงต่อการเจ็บไข้ได้ป่วย เช่น ผิวแห้ง ปากแตก ท้องผูกอีกด้วย
ทั้งนี้แม้ไม่อาจสรุปได้ว่าข้าวแช่เกิดขึ้นเมื่อใดก็ตาม แต่ก็อาจกล่าวได้ว่าข้าวแช่เป็นอาหารที่มีประวัติอันยาวนานและถือเป็นวัฒนธรรมทางด้านอาหารที่มากด้วยคุณค่าทางโภชนาการ จึงเป็นอาหารที่และควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้อย่างหนึ่งของไทย




หัวข้อ: Re: ประวัติ ตำนาน เรื่องเล่า
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มีนาคม 27, 2012, 07:40:42 PM
นางสงกรานต์ปี 55 กิมิทาเทวี มือถือดาบทำนายเกิดพระเพลิง  

(http://variety.teenee.com/foodforbrain/img9/128132.jpg)


นางสงกรานต์ ปี 2555 มีนามว่า กิมิทาเทวี ทรงพาหุรัด ทัดดอกจงกลนี เครื่องประดับบุษราคัม ภักษาหารกล้วยน้ำ หัตถ์ขวาทรงขรรค์ หัตถ์ซ้ายทรงพิณ เสด็จไสยาสน์ลืมเนตร (นอนลืมตา) มาเหนือหลังมหิงส์ (กระบือ,ควาย) เป็นพาหนะ ทำนายว่าปีนี้ บ้านเมืองจะเกิดยุทธสงคราม พระมหากษัตริย์จะรุ่งเรือง ขุนนางจะต้องโทษ

กรม ส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ออกประกาศ วันมหาสงกรานต์ ประจำปี 2555 ตรงกับวันศุกร์ที่ 13 เมษายน 2555 เวลา 19.46 น. 12 วินาที ในปีนี้ นางสงกรานต์ มีนามว่า กิมิทาเทวี ทรงพาหุรัด ทัดดอกจงกลนี อาภรณ์แก้วบุษราคัม ภักษาหารกล้วยน้ำ หัตถ์ขวาทรงขรรค์ หัตถ์ซ้ายทรงพิณ เสด็จไสยาสน์ลืมเนตร (นอนลืมตา) มาเหนือหลังมหิงส์ (กระบือ) เป็นพาหนะ


เกณฑ์ พิรุณศาสตร์ ปีนี้ พฤหัสบดี เป็นอธิบดีฝน บันดาลให้ฝนตก 500 ห่า ตกในเขาจักรวาล 200 ห่า ตกในป่าหิมพานต์ 150 ห่า ตกในมหาสมุทร 100 ห่า ตกในโลกมนุษย์ 50 ห่า เกณฑ์ธาราธิคุณ ชื่อ วาโย (ธาตุลม) น้ำพอประมาณ พายุจัด เกณฑ์นาคราชให้น้ำ ปีมะโรง นาคราช ให้น้ำ 3 ตัวทำนายว่า ฝนต้นปีมาก กลางปีงาม แต่ปลายปีน้อยแล เกณฑ์ธัญญาหารชื่อ วิบัติ ข้าวกล้าในไร่นา จะเกิด กิมิชาติ คือ มีด้วงแมลงรบกวน ข้าวกล้า จะได้ผล ๑ ส่วน เสีย ๕ ส่วน บ้านเมืองจะเกิดยุทธสงครามจะฆ่าฟันกัน จะนิราชจากกัน จะฉิบหายเป็นอันมากแล



คำทำนาย วันศุกร์ เป็นวันมหาสงกรานต์ : ข้าวน้ำ ลูกหมากรากไม้ทั้งหลายจะอุดม แต่จะแพ้เด็ก ฝนและพายุชุมจะเจ็บตายกันมากนักแลฯ, วันเสาร์ เป็นวันเนา : ข้าวปลาจะแพง จะเกิดเพลิงกลางใจเมือง ขุนนางจะต้องโทษ ข้าวจะตายฝอย น้ำจะน้อยกว่าทุกปี สมณชีพราหมณ์ จะร้อนใจนัก ผักปลาจะแพงแลฯ, วันอาทิตย์ เป็นวันเถลิงศก : พระมหากษัตริย์จะรุ่งเรือง ด้วยพระเดชานุภาพ จะมีชัยชนะแก่ศัตรูทั่วทิศาทั้งปวงแลฯ, นางสงกรานต์ ไสยาสน์ลืมเนตร (นอนลืมตา) : ประชาชนจะอยู่เย็นเป็นสุข



หัวข้อ: Re: ประวัติ ตำนาน เรื่องเล่า
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ เมษายน 13, 2012, 07:40:20 AM
ตำนานนางสงกรานต์


นางสงกรานต์ เป็นคติความเชื่ออยู่ในตำนานสงกรานต์ อันเป็นเรื่องเล่าถึงความเป็นมาของประเพณีดังกล่าว เป็นอุบายเพื่อให้คนโบราณได้รู้ว่าวัน มหาสงกรานต์ คือ วันที่พระอาทิตย์ยกขึ้นสู่ราศีเมษ ซึ่งสมัยนั้นถือเป็นการเถลิงศกใหม่ หรือวันขึ้นปีใหม่ตามสุริยคติตรง กับวันใด โดยสมมุติผ่านนางสงกรานต์ทั้งเจ็ดเทียบกับแต่ละวันในสัปดาห์ ปีไหนตรงกับวันใดนางสงกรานต์ที่มีชื่อสมมุติเข้ากับวันนั้นๆก็จะเป็น ผู้อัญเชิญพระเศียรท้าวกบิลพรหมออกแห่ไปสรงน้ำ ซึ่งนางสงกรานต์ทั้งเจ็ดนี้ เป็นเทพธิดาลูกสาวท้าวกบิลพรหม และเป็นบาทบริจาริกาของพระอินทร์

(http://variety.teenee.com/foodforbrain/img8/128995.jpg)

นางสงกรานต์ทั้ง 7

จากตำนานเล่าถึงท้าวกบิลพรหมแพ้พนันธรรมบาลกุมาร ต้องตัดเศียรออกบูชาธรรมบาลกุมารตามสัญญาแต่เนื่องจากพระเศียรของพระองค์ตก ไปอยู่ที่ใด ก็จะเป็นอันตรายต่อที่นั้นไม่ว่าจะเป็นบนอากาศ บนดินหรือในน้ำ ดังนั้น ธิดาทั้งเจ็ดจึงต้องนำพานมารองรับ และนำไปประดิษฐานไว้ในถ้ำคันธชุลี ณ เขาไกรลาส ครั้นถึงกำหนด ๓๖๕ วัน ซึ่งโลกสมมุติว่าเป็นปีหนึ่งเวียนมาถึงวันมหาสงกรานต์ เทพธิดาทั้งเจ็ดก็จะทรงพาหนะต่างๆ ผลัดเวรกันมาเชิญพระเศียรของบิดาออกแห่ โดยที่เทพธิดาทั้งเจ็ดนี้ปรากฏในวันมหาสงกรานต์เป็นประจำ จึงได้ชื่อว่า “นางสงกรานต์” ส่วนท้าวกบิลพรหมนั้น โดยนัยก็คือ พระอาทิตย์ นั่นเอง เพราะกบิล หมายถึง สีแดง นอกจากตำนานข้างต้น

ยังมีเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับนางสงกรานต์ที่กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม จะขอนำมาเล่าให้ฟังเพิ่มเติมดังนี้

นางสงกรานต์ของแต่ละวัน จะมีนาม อาหาร อาวุธ และสัตว์ที่เป็นพาหนะ ต่างๆ กันดังต่อไปนี้

วันอาทิตย์ ชื่อ ทุงษ
ทัดดอกทับทิม เครื่องประดับปัทมราค ภักษาหารผลมะเดื่อ อาวุธขวาจักร ซ้ายสังข์ พาหนะครุฑ

วันจันทร์ ชื่อ โคราค
ทัดดอกปีบ เครื่องประดับมุกดา ภักษาหารน้ำมัน อาวุธขวาพระขรรค์ ซ้ายไม้เท้า พาหนะเสือ

วันอังคาร ชื่อ รากษส
ทัดดอกบัวหลวง เครื่องประดับโมรา ภักษาหารโลหิต อาวุธขวา ตรีศูล ซ้ายธนู พาหนะสุกร

วันพุธ ชื่อ มัณฑา
ทัดดอกจำปา เครื่องประดับไพฑูรย์ ภักษาหารนมเนย อาวุธขวาเข็ม ซ้ายไม้เท้า พาหนะลา

วันพฤหัสบดี ชื่อ กิริณี
ทัดดอกมณฑา เครื่องประดับมรกต ภักษาหารถั่วงา อาวุธขวาขอ ซ้ายปืน พาหนะช้าง

วันศุกร์ ชื่อ กิมิทา
ทัดดอกจงกลนี เครื่องประดับบุษราคัม ภักษาหารกล้วยน้ำว้า อาวุธขวาพระขรรค์ ซ้ายพิณ พาหนะกระบือ

วันเสาร์ ชื่อ มโหทร
ทัดดอกสามหาว เครื่องประดับนิลรัตน์ ภักษาหารเนื้อทราย อาวุธขวาจักร ซ้ายตรีศูล พาหนะนกยูง






ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก : http://www.songkran.net (http://www.songkran.net)


หัวข้อ: Re: ประวัติ ตำนาน เรื่องเล่า
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ เมษายน 15, 2012, 11:02:02 AM
อนุสาวรีย์พระนางจามเทวี

(http://www.travelbestforyou.com/uploads/85df0f.jpg)

อนุสาวรีย์พระนางจามเทวี   ตั้งอยู่ตำบลในเมืองบริเวณสวนสาธารณะหนองดอก ห่างจากศาลากลางจังหวัดประมาณ ๑ กิโลเมตรสร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แด่พระนางจามเทวีซึ่งเป็นองค์ปฐมกษัตริย์แห่งนครหริภุญไชย พระนางเป็นปราชญ์ที่มีคุณธรรมความสามารถและกล้าหาญได้นำพุทธศาสนาศิลปวัฒนธรรมมาเผยแพร่ในดินแดนแถบนี้จนมีความรุ่งเรืองสืบมาจนถึงปัจจุบัน สมเด็จโอรสาธิราชสยามกุฏราชกุมาร ได้เสด็จมาทรงเปิดอนุสาวรีย์เมื่อวันที่ ๒ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๕

แหล่งข้อมูล: thai.tourismthailand.org


หัวข้อ: Re: ประวัติ ตำนาน เรื่องเล่า
เริ่มหัวข้อโดย: thaidanishzz ที่ พฤษภาคม 01, 2012, 10:57:59 PM
ขอขอบคุณข้อมูลมากคับ


หัวข้อ: Re: ประวัติ ตำนาน เรื่องเล่า
เริ่มหัวข้อโดย: paul711 ที่ พฤษภาคม 02, 2012, 12:27:13 AM
 ;D ขอบคุณครับคุณหนูใจ  


หัวข้อ: Re: ประวัติ ตำนาน เรื่องเล่า
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ พฤษภาคม 03, 2012, 08:42:08 PM
กว่าจะมาเป็น หอไอเฟล ที่ไม่มีใครไม่รู้จัก  

(http://variety.teenee.com/foodforbrain/img9/129904.jpg)


หอไอเฟล (อังกฤษ: Eiffel Tower, ฝรั่งเศส: Tour Eiffel) หอคอยโครงสร้างเหล็ก ที่Champ de Mars บริเวณแม่น้ำแซน ในเมืองปารีส ประเทศฝรั่งเศส สถานที่และสัญลักษณ์ที่สำคัญแห่งหนึ่งของฝรั่งเศส ก่อสร้างในปี พ.ศ. 2432 (ค.ศ. 1889) โดย กุสตาฟ ไอเฟล ผู้ออกแบบคนเดียวกับเทพีเสรีภาพ เพื่อเป็นสัญลักษณ์การจัดงานแสดงสินค้าโลกในปี 1889 (พ.ศ. 2413) ฉลองครบรอบ 100 ปีแห่งการปฏิวัติอุตสาหกรรม หอไอเฟลทำขึ้นจากโลหะ 15,000 ชิ้น หนักถึง 7,000 ตัน ยึดต่อด้วยน๊อต 2,500,000 ตัว สีทาทั้งหมด 35 ตัน สูง 1,050 ฟุต สิ้นเงินค่าก่อสร้าง 7,799,401 ฟรังก์ แรกๆที่หอไอฟสร้างเสร็จ หอไอเฟลได้รับการประณามโดยทั่วไปว่าเป็นไอเดียที่ประหลาดและไม่เข้าท่า หอคอยไอเฟลได้ชื่อว่าเป็นสิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในช่วงเวลา พ.ศ. 2432 - 2473 ในปัจจุบัน หอคอยไอเฟลมีนักท่องเที่ยวเยี่ยมชมประมาณ 5.5 ล้านคนต่อปี นับเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคใหม่


(http://variety.teenee.com/foodforbrain/img9/129905.jpg)

(http://variety.teenee.com/foodforbrain/img9/129906.jpg)

(http://variety.teenee.com/foodforbrain/img9/129907.jpg)

(http://variety.teenee.com/foodforbrain/img9/129908.jpg)

(http://variety.teenee.com/foodforbrain/img9/129909.jpg)

หอไอเฟลมีความสูง 300 เมตร (986 ฟุต) ซึ่งไม่รวม เสาอากาศ 24 เมตร (72 ฟุต) ด้านบนนั้น ถ้าเปรียบเทียบกับตึกแล้วจะมีประมาณ 75 ชั้น ในขณะที่ก่อสร้างปี พ.ศ. 2432(ค.ศ. 1889) หอไอเฟลนั้นเป็นสิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดบนโลก โดยถูกล้มตำแหน่งเมื่อเมืองนิวยอร์กได้สร้าง ตึกไครสเลอร์ สูง 319 เมตร(1046 พุต)

น้ำหนักเหล็กที่ใช้ก่อสร้างนั้นทั้งหมด 7,300 ตัน และถ้ารวมทั้งหมดก็เป็น 10,000 ตัน ส่วนจำนวนบันไดนั้นเปลี่ยนแปลงตลอด เมื่อแรกเริ่มนั้นมี 1710 ขั้น ในทศวรรษที่ 1980 มี 1920 ขั้น และในปัจจุบัน มี 1665 ขั้น




หัวข้อ: Re: ประวัติ ตำนาน เรื่องเล่า
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ พฤษภาคม 03, 2012, 08:46:24 PM
ประวัติวันแรงงาน ประวัติวันแรงงานแห่งชาติ 

(http://variety.teenee.com/foodforbrain/img0/129780.jpg)

ในต่างประเทศมีวันแรงงานมาช้านานแล้ว หลายประเทศกำหนดวันที่ 1 พฤษภาคม หรือ "May Day" เป็นวันแรงงาน แต่ก็มีบางประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกาและแคนาดา ถือวันอื่นเป็นวันแรงงาน แต่โบราณในยุโรปถือว่า วันเมย์เดย์

เป็นวันเริ่มต้นเข้าสู่ฤดูใหม่ในทางเกษตรกรรม จึงมีพิธีเฉลิมฉลองรื่นเริงในพิธีการนำเอาต้นไม้มาตกแต่งประดับให้สวยงาม และสมมติคนหรือตุ๊กตาให้เป็นเทพเจ้าแห่งเกษตรขึ้น เพื่อทำการบวงสรวงบนบานขอให้ปลูกพืชได้ผลดี ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุข ทางภาคเหนือของยุโรปมีการจัดงานรอบกองไฟในวันนี้ด้วย ประเพณีนี้ยังสืบทอดปฏิบัติต่อมาในชนบทของเกาะอังกฤษจนกระทั่งทุกวันนี้



จากการที่มีวันเมย์เดย์เป็นวันหยุดพักผ่อนประจำปี ต่อมาประเทศอุตสาหกรรมหลายประเทศ จึงถือเป็นวัรหยุดงานของคนทำงาน วันหยุดตามประเพณีของแรงงานทั่วไป วันฉลองและวันรื่นเริงของผู้ใช้แรงงาน ความหมายของวันเมย์เดย์จึงเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ครั้น พ.ศ. 2433 จึงมีการเรียกร้องในหลายประเทศในทางตะวันตก ให้ถือวันที่ 1 พฤษภาคม เป็นวันแรงงานสากล ในปี พ.ศ.2433 ประเทศไทยในยุโรปหลายประเทศได้เริ่มฉลองวันแรงงานในวันที่ 1 พฤษภาคม และดำเนินสืบมาจนถึงปัจจุบัน ในประเทศอังกฤษ มีการฉลองวันแรงงานเป็นครั้งแรก ในปี พ.ศ.2435 โดยถือเอาวันอาทิตย์แรกหลังวันที่ 1 พฤษภาคมเป็นวันแรงงานที่กรุงลอนดอน มักจะมีการชุมนุมกันที่ไฮด์ปาร์ค



วัตถุประสงค์ของวันแรงงานที่นานาประเทศกำหนดขึ้น ก็เพื่อเป็นวันเตือนใจให้ประชาชนตระหนักถึงผู้ใช้แรงงานที่ได้ทำประโยชน์แก่เศรษฐกิจของประเทศ ความสะดวกสะบายในการดำเนินชีวิตของประชาชนทุกวันนี้ ผู้ใช้แรงงานมีส่วนสร้างขึ้นทั้งสิ้น จึงได้ควรมีการระลึกถึงและตระหนักในความสำคัญของแรงงานพอสมควร วันแรงงานถือเป็นเรื่องของแรงงานโดยเฉพาะ การฉลองวันแรงงานทั่วๆ ไปจะไม่นิยมแสดงออกทางการเมือง



สำหรับในประเทศไทย เมื่อระหว่าง พ.ศ.2496-2499 มีการตื่นตัวในเรื่องการก่อตั้งองค์การลูกจ้าง ขณะนั้นกฏหมายแรงงานยังไม่มี จึงตั้งขึ้นในนามของสมาคมกรรมกรไทยและสมาคมเสรีแรงงานแห่งประเทศไทย กรรมการและผู้แทนของสมาคมเหล่านี้ มีโอกาสประชุมกิจกรรมด้านแรงงานในต่างประเทศ และได้ความรู้ว่าหลายประเทศถือเอาวันที่ 1 พฤษภาคมเป็น "วันแรงงาน" ต่อมาในวันที่ 20 เมษายน 2499 คณะกรรมการจัดงานที่ระลึกวันแรงงานได้จัดให้มีการประชุมขึ้น ที่ประชุมมีความเห็นว่าควรกำหนดควรกำหนดให้วันที่ 1 พฤษภาคม เป็นวันที่ระลึกแรงงานในประเทศไทย จึงได้มีหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีขอให้ทางราชการรับรองวันที่ 1 พฤษภาคม เป็นวันที่ระลึกของแรงงาน ดังนั้น ในวันที่ 30 เมษายน 2499 ได้มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีให้ถือเอาวันที่ 1 พฤษภาคม เป็นวันกรรมกรแห่งชาติ ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นวันแรงงานแห่งชาติ ต่อมาใน พ.ศ.2500 ได้มีพระราชบัญญัติแรงงาน พ.ศ.2499 บัญญัติให้ลูกจ้างมีสิทธิหยุดงานประจำปีในวันกรรมกรแห่งชาติ คือวันที่ 1 พฤษภาคม



พระราชบัญญัติแรงงาน พ.ศ.2499 มีอายุได้ 18 เดือน ก็ถูกยกเลิกไป จึงมีประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 เข้ามาแทนที่ โดยให้อำนาจกระทรวงมหาดไทยออกประกาศกระทรวงมหาดไทยกำหนดเรื่องการคุ้มครองแรงงาน และกำหนดวันกรรมกรเป็นวันหยุดตามประเพณีเช่นเดียวกัน แต่เนื่องจากสถานการณ์ในขณะนั้นผันแปรเป็นช่วงๆ ไป จึงมีคำชี้แจงจากกระทรวงออกมาแต่ละปีเตือนให้นายจ้างให้ลูกจ้างหยุดงานในวันที่ 1 พฤษภาคม แต่ขอร้องมิให้มีการเฉลิมฉลองทั้งนี้เพื่อความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง จนกระทั่ง พ.ศ.2517 ทางการเห็นว่าถึงเวลาแล้วที่จะเปิดให้มีการเฉลิมฉลองตามสมควร จึงมอบให้กรมแรงงาน กระทรวงมหาดไทย เริ่มจัดการฉลองวันแรงงานแห่งชาติขึ้นที่สวนลุมพินี ซึ่งมีการทำบุญตักบาตรตามประเพณีไทย มีนิทรรศการแสดงความรู้และกิจกรรมของแรงงาน มีการอภิปราย มีการละเล่นต่างๆ และนายกรัฐมนตรีกล่าวคำปราศรัยแก่พี่น้องชาวแรงงานทั่วราชอาณาจักร



การบริหารแรงงานแต่เดิมอยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงมหาดไทยแต่ต่อมารัฐบาลเล็งเห็นว่า ควรจะได้มีการยกระดับหน่วยงานบริหารด้านแรงงานให้มีงบประมาณและเจ้าหน้าที่อย่างเพียงพอ เพื่อการคุ้มครองดูแลผู้ใช้แรงงานที่มีอยู่ประมาณ 30 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่มีรายได้ต่ำและด้อยโอกาสในสังคม ดังนั้นในวันที่ 25 กรกฎาคม 2536 จึงได้มีประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา ให้จัดตั้งกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมขึ้น เพื่อให้การบริหารแรงงานได้มีความก้าวหน้าทัดเทียมนานาอารยประเทศ

 
 

ขอบคุณ : holidaythai.com
 



หัวข้อ: Re: ประวัติ ตำนาน เรื่องเล่า
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ พฤษภาคม 07, 2012, 08:58:01 PM
วันฉัตรมงคล


(http://variety.teenee.com/foodforbrain/img4/130151.jpg)


ความสำคัญ


วันฉัตรมงคล เป็นวันที่ระลึกในการครบรอบปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูอดุลยเดช ทรงรับราชาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์แห่งประเทศไทยโดยสมบูรณ์ คือ พระองค์ได้ขึ้นครองราชสมบัติสืบต่อจากสมเด็จเชษฐาธิราช พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 แล้วเสด็จพระราชดำเนินไปทรงศึกษาอยู่ ณ ทวีปยุโรป จนกระทั่งทรงบรรลุนิติภาวะแล้วจึงได้เสด็จนิวัติในประเทศไทย และรัฐบาลไทยได้น้อมเกล้า ฯ จักพระราชพิธีบรมราชาภิเษกถวาย เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ.2493 เหล่าพสกนิกรชาวไทย ได้ถือเอาวันที่ 5 พฤษภาคม ของทุกปี เป็นวันฉัตรมงคลรำลึก  

พระราชพิธีราชาภิเษก


1. ขั้นเตรียมงานพระราชพิธี เริ่มตั้งแต่พิธีตักน้ำ และทำพิธีเสกน้ำ ณ เจดีย์สถานสำคัญจากสถานที่ตักน้ำ ก่อนที่จะส่งเข้ามาทำพิธีต่อไปในพระนคร น้ำที่เสกนี้ใช้สำหรับถวายบสำหรับถวายเป็น น้ำอภิเษก และสรงมุรธาภิเษก โดยมีระเบียบกำหนดให้ ใช้น้ำจากแม่น้ำ 5 สาย ได้แก่ แม่น้ำคงคา ยมนา อิรวดี มหิ และสรภู ในชมภูทวีป หรือที่เรียกว่า "ปัญจมหานที" แต่เนื่องจากประเทศไทยอยู่ห่างจากชมภูทวีปมาก ไม่สะดวกในการเดินทาง จึงเปลี่ยนมาใช้น้ำจากแม่น้ำ 18 แห่ง จากภายในพระราชอาณาจักรแทน นอกจากนี้ยังมีพิธีจารึกดวงพระราชสมภพในพระสุพรรณบัฏ และแกะพระราชสัญจกร



2. พิธีเบื้องต้น เริ่มตั้งแต่ตั้งนำวงด้วย จุดเทียนชัย และเจริญพระพุทธมนต์



3. พระราชพิธีราชาภิเษก เริ่มจากสรงมุรธาภิเษก ต่อจากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะเสด็จพระราชดำเนินไปประทับเหนือพระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และพราหมณ์นั่งประจำทิศทั้ง 8 กล่าวคำถวายพระพรชัยมงคล และถวายดินแดนให้อยู่ในความคุ้มครองของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ต่อจากนั้นทรงรับน้ำอภิเษก ขึ้นสู่พระที่นั่งภัทรบิฐพระราชอาสน์องค์ใหม่ พระมหาราชครูเริ่มร่ายเวทย์พิธีพราหณ์เมื่อร่ายเวทย์เสร็จแล้วจึงกราบทูลเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวลงพระปรมาภิไธย ถวายเครื่องราชกกุธ คือ เครื่องหมายแสดงความเป็นพระมหากษัตริย์ ไดแก่พระมหาพิชัยมงกุฎ พระแสงขรรค์ชัยศรี ธารพระกร วาลวิชนี ฉลองพระบาทเมื่อทรงรับพระมหาพิชัยมงกุฎสวมพระเศียร เจ้าพนักงานจะประโคมดนตรี ทหารยิงปืนใหญ่ พระสงฆ์เคาะระฆัง และสวดชัยมงคลคาถาทั่วพระราชอาณาจักร หลังจากนั้นพราหมณ์ถวายพระแสงศาสตราวุธเป็นอันเสร็จพระราชพิธีราชาภิเษก



4. พิธีเบื้องปลาย เมื่อเสร็จพระราชพิธีราชาภิเษกแล้ว จะเสด็จออก ณ มหาสมาคม เพื่อให้เหล่าข้าราชการ และประชาชนได้ถวายพระพรชัยมงคลเนื่องในวโรกาศสถาปนาสมเด็จราชาภิเษก และตั้งแต่รัชกาลที่ 7 เป็นต้นมา ได้มีพระราชพิธีประกาศสถาปนาสมเด็จราชินี นอกจากนั้นเสร็จพระราชดำเนินเพื่อประกาศพระองค์เป็นศาสนูปถัมภกษัตริยาธิราชเจ้า ในมหาราชวัง



5. เสด็จเยี่ยมราษฎร เมื่อทรงเสด็จพระราชพิธีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จพระราชดำเนินให้ราษฎรได้มีโอกาสชมพระบารมี


(http://variety.teenee.com/foodforbrain/img4/130152.jpg)


การจัดพระราชพิธีเฉลิมฉลองวันฉัตรมงคลในอดีต

แต่เดิมเป็นงานพิธีเฉลิมฉลองของเจ้าพนักงานในพระราชฐานที่มีหน้าที่รักษาเครื่องราชชูปโภคและพระทวารประตูวัง ได้จัดการสมโภชสังเวยเครื่องราชูปโภคที่ตนรักษาทุกปีในหกเดือน ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริว่า ในอารยประเทศย่อมนับถือว่า วันคล้ายวันบรมราชาบรมราชาภิเษกเป็นวันมงคลสมัยควรเฉลิมฉลอง จึงทรงริเริ่มวันฉัตรมงคลขึ้นแต่เนื่องจากเป็นธรรมเนียมใหม่ อธิบายให้ฟังก็ไม่เข้าใจ เผอิญวันบรมราชาภิเษกไปตรงกับวันสมโภชเครื่องราชูปโภคที่มีแต่เดิม จึงทรงอธิบายว่า  ฉัตรมงคลเป็นวันสมโภชเครื่องราชูปโภคทำให้ไม่มีใครติดใจสงสัย พระบาทสมเด็จรพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการเฉลิมฉลองโดยนิมนต์พระสงฆ์มาสวดเจริญพุทธมนต์ ในวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 6 รุ่งขึ้นมีการถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ที่พระที่นั่งดิสิมหาปราสาทด้วยเหตุนี้จึงถือว่า การเฉลิมฉลองพระราชพิธีฉัตรมงคลเริ่มมีในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นครั้งแรก


ในสมัยรัชกาลที่ 5 วันบรมราชาภิเษกตรงกับเดือน 12 จะโปรดเกล้า ฯ ให้จัดงานฉัตรมงคลในเดือน 12 ก็ไม่มีผู้ใหญ่ท่านใดยินยอม จึงทรงแก้ไขด้วยการออกพระราชบัญญัติว่าด้วยตราจุลจอมเกล้าสำหรับตระกูลขึ้น ให้มีพระราชทานตรานี้ตรงวันคล้ายบรมราชาภิเษกท่านผู้ใหญ่จึงยินยอมให้เลื่อนงานฉัตรมงคลมาตรงกับวันบรมราชาภิเษก แต่ยังให้รักษา ประเพณีสมโภชเครื่องราชูโภคอยู่ตามเดิม รูปงานวันฉัตรมงคลจึงเป็นดังนี้จนถึงปัจจุบัน




การจัดงานวันฉัตรมงคลในปัจจุบัน



ในขั้นตอนการจัดงานฉัตรมงคลในปัจจุบัน มักกำหนดให้เป็น 3 วัน คือ

วันที่ 3 พฤษภาคม มีงานบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุประทาน คือ พิธีทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ราชบุพการี ซึ่งเป็นพิธีสงฆ์ ณ พระที่นั่งอมรินทน์วินิจฉัย ซึ่งในวันนี้ได้เพิ่มพระราชพิธีตรึงหมุดธงชัยเฉลิมพลที่จะพระราชทานแก่หน่วยทหารบางหน่วยเข้าไว้ด้วย



ในวันที่ 4 พฤษภาคม เป็นวันเริ่มพระราชพิธีฉัตรมงคล เจ้าพนักงานจะได้อัญเชิญเครื่องราชกกุธภัณฑ์ขึ้นประดิษฐานบนพระแท่นใต้พระมหาปฎเศวตฉัตร พระครูหัวหน้าพราหมณ์อ่านประกาศพระราชพิธีฉัตรมงคล แล้วทรงสดับพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์



ในวันที่ 5 ซึ่งเป็นวันฉัตรมงคล พระบาทสมเด็จเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ ทรงบูชาเครื่องกกุธภัณฑ์ พราหมณ์เบิกแว่นเวียนเทียนสมโภช พระมหาเศวตฉัตรและราชกกุธภัณฑ์



ตอนเย็นพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าแก่ผู้มีความดีความชอบ แล้วเสด็จนมัสการพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร และถวายบังคมรูปสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้าที่ปราสาทพระเทพบิดร เป็นเสร็จพระราชพิธี



ในวันฉัตรมงคลสำนักพระราชวังได้เปิดปราสาทหลายแห่งให้ประชาชนได้เข้าชมและถวายบังคม งานพระราชพิธีฉัตรมงคล เป็นเครื่องหมายยืนยันว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติมาครบรอบปีด้วยดีอีกวาระหนึ่ง และตลอดเวลาที่ผ่านมา พระองค์ได้ประกอบพระราชกรณียกิจอันเป็นคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติและปวงชนชาวไทยนับอเนกอนันต์




ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ ประชาชนชาวไทยจึงได้จัดให้มีการเฉลิมฉลองเนื่องในวันฉัตรมงคลเป็นประจำทุกปี




บทความจาก story.thaimail


หัวข้อ: Re: ประวัติ ตำนาน เรื่องเล่า
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ พฤษภาคม 20, 2012, 07:43:26 PM
30 วันสำคัญของไทยที่..เยาวชนควรรู้

(http://www.jaowka.com/wp-content/uploads/2012/05/3125.jpg)

ใน แต่ละปี ประเทศไทยเราจะมีวันสำคัญของชาติหลายวันด้วยกัน ทั้งที่เป็นวันสำคัญเกี่ยวกับชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และวันสำคัญทางประเพณี ซึ่งในจำนวนวันเหล่านี้ รัฐบาลได้ประกาศให้เป็นหยุดราชการ 16 วันด้วยกัน เช่น วันขึ้นปีใหม่ วันมาฆบูชา วันจักรี วันสงกรานต์ และวันฉัตรมงคล เป็นต้น

                  วันสำคัญ หมายถึง วันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญๆในอดีต และเพื่อเป็นการระลึกถึงความสำคัญของวันนั้นๆ รัฐ /ชุมชน หรือหน่วยงานจึงได้จัดให้มีพิธีการหรือกิจกรรมต่างๆขึ้น เพื่อเป็นการกระตุ้นเตือนให้ประชาชนหรือคนในสังคมได้ตระหนัก และระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในวันนั้นด้วยความภาคภูมิใจ หรือเพื่อเป็นแบบอย่างในการประพฤติปฏิบัติที่ดีงามสืบทอดต่อกันมา ซึ่งวันสำคัญนี้จะมีหลายระดับ เช่น ระดับบุคคล ได้แก่ วันเกิด วันแต่งงาน ระดับหน่วยงาน ได้แก่ วันสถาปนาของหน่วยงานนั้นๆ ระดับชาติ ได้แก่ วันเฉลิมพระชนมพรรษา วันวิสาขบูชา และวันภาษาไทยแห่งชาติ เป็นต้น

อนึ่ง เพื่อให้เยาวชนของเราได้รู้จักวันสำคัญของไทย กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม จึงขอสรุปวันสำคัญๆที่ควรรู้จักในรอบปีให้ทราบดังนี้

วันสำคัญเกี่ยวเนื่องกับพระมหากษัตริย์ไทย

1.วันยุทธหัตถี ตรงกับวันที่ 18 มกราคม เป็นวันที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกระทำยุทธหัตถีมีชัยชนะต่อพระมหาอุปราชา เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2135 ยุทหัตถี หมาย ถึง การต่อสู้ด้วยอาวุธบนหลังช้าง เป็นการรบอย่างกษัตริย์สมัยโบราณ ถือป็นยอดยุทธวิธีของนักรบ เพราะเป็นการต่อสู้อย่างตัวต่อตัว กษัตริย์พระองค์ใดกระทำยุทธหัตถีชนะจะได้รับการยกย่องว่า มีพระเกียรติยศสูงสุด และแม้แต่ผู้แพ้ก็ได้รับการยกย่องสรรเสริญว่าเป็นนักรบแท้เช่นกัน

2.วันศิลปินแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 24 กุมภาพันธ์ เป็นวันประกาศยกย่องและเชิดชูเกียรติศิลปินชั้นครูของไทยที่ได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติให้เป็น “ ศิลปินแห่งชาติ ” โดยยึดถือเอาวันคล้ายวันพระราชสมภพของรัชกาลที่ 2 “ พระปฐมบรมศิลปินแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ” ผู้ทรงรอบรู้และเชี่ยวชาญในศิลปะทุกแขนงอย่างกว้างขวางลึกซึ้ง เป็น “ วันศิลปินแห่งชาติ ” ปัจจุบันมีศิลปินแห่งชาติ(ถึงปีพ.ศ. 2548) จำนวน 172 คน

3.วันพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า ตรงกับวันที่ 31 มีนาคม เป็นระลึกถึงวันคล้ายวันพระราชสมภพของรัชกาลที่ 3 ที่ ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจในการทำนุบำรุงบ้านเมืองทั้งในด้านการศาสนา การศึกษาและอื่นๆอีกมากมายที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติอย่างยิ่ง ในสมัยของพระองค์ได้ทรงเก็บเงินบางส่วนใส่ “ ถุงแดง ” เอาไว้ ซึ่งต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้ทรงนำมาใช้เป็นค่าปรับในกรณีพิพาทกับประเทศฝรั่งเศส เมื่อ ร.ศ.112 ช่วยให้ประเทศไทยรอดพ้นวิกฤตการณ์ทางการเมืองและ สงครามระหว่างประเทศไปได้

4.วันจักรี ตรงกับวันที่ 6 เมษายน หมาย ถึง วันที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ พระปฐมบรมจักรี เสด็จกรีฑาทัพถึงพระนคร และทรงรับอัญเชิญขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติดำรงราชอาณาจักรสยามประเทศเป็นวัน แรก ตลอดพระชนมชีพของรัชกาลที่ 1 ต้องทรงออกศึกใหญ่เพื่อกอบกู้อิสรภาพถึง 11 ครั้งโดยทรงเป็นแม่ทัพถึง 10 ครั้ง และทรงร่วมกับพระเจ้ากรุงธนบุรี 1 ครั้ง และเมื่อทรงเป็นพระเจ้าแผ่นดินแล้ว ยังต้องออกศึกเพื่อปกป้องอิสรภาพของชาติไทยอีกถึง 7 ครั้ง นับว่าพระองค์ทรงเป็นพระกษัตริย์ยอดนักรบที่ยิ่งใหญ่และเก่งกล้าสามารถยิ่ง

5.วันฉัตรมงคล ตรงกับวันที่ 5 พฤษภาคม คือวันรำลึกถึงวันที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูอดุลยเดช รัชกาล ปัจจุบันได้ทรงกระทำพิธีบรมราชาภิเษกเสด็จขึ้นครองราชย์ เป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ ๙ แห่งจักรีอย่างสมบูรณ์ เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2491 และทรงมีพระปฐมบรมราชโองการว่า “ เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม ” (ซึ่ง ในวันที่ 9 มิถุนายน 2489 เมื่อพระองค์เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติสืบต่อจากเชษฐาธิราชรัชกาลที่ 8 นั้น ยังไม่ได้ทรงกระทำพิธีบรมราชาภิเษก เนื่องจากต้องเสด็จกลับไปศึกษาต่อ)

6.วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ตรงกับวันที่ 18 สิงหาคม เป็น วันเกิดสุริยุปราคาเต็มดวง อันเป็นปรากฏการณ์ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงคำนวณทำนายไว้ก่อนล่วงหน้าถึง 2 ปีอย่างแม่นยำ และได้เสด็จฯไปทอดพระเนตรที่ ตำบลหว้ากอ จ.ประจวบคีรีขันธ์ในวันดังกล่าว เมื่อปีพ.ศ. 2411

7.วันเยาวชนแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 20 กันยายน ด้วย ถือว่าวันนี้เป็นวันที่เป็นสิริมงคลยิ่ง เนื่องจากเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระมหากษัตริย์แห่งจักรีถึง สองพระองค์คือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอนันทมหิดล รัชกาลที่ 8 ซึ่งทั้งสองพระองค์นอกจากจะทรงครองราชย์สมบัติตั้งแต่ทรงพระเยาว์แล้ว ยังทรงพระปรีชาสามารถยิ่ง สมควรที่เยาวชนไทยจะเจริญรอยตามเบื้องยุคลบาท

8.วันปิยมหาราช ตรงกับวันที่ 23 ตุลาคม เป็น วันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นที่รักยิ่งของปวงชนชาวไทย พระราชกรณียกิจของพระองค์ไม่ว่าจะเป็น การเลิกทาส การพัฒนาระบบการบริหารราชการแผ่นดิน การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อสาธารณูปการ การเจริญสัมพันธไมตรีกับนานาประเทศ ฯลฯ ล้วนเป็นพื้นฐานแห่งความเจริญสืบต่อมาจนปัจจุบัน

9.วันวชิราวุธ ตรงกับวันที่ 25 พฤศจิกายน เป็น วันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเปี่ยมไปด้วยพระปรีชาสามารถ ทรงได้รับพระราชสมัญญาว่า “ สมเด็จพระมหาธีรราช เจ้า ” เพราะ ทรงเป็นปราชญ์ทางอักษรศาสตร์ เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวที่ทรงพระราชนิพนธ์วรรณกรรมประเภท ต่างๆ เป็นจำนวนมาก เท่าที่รวบรวมได้ในปัจจุบันมีถึง 1,236 เรื่อง นอกจากนั้นยังทรงบัญญัติศัพท์ และทรงตั้งนามสกุลพระราชทาน ซึ่งได้รวบรวมไว้ขณะนี้เป็นจำนวนประมาณ 6,432 นามสกุล

10.วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตรงกับ วันที่ 5 ธันวาคม วันนี้ถือเป็น “ วันพ่อแห่งชาติ ” และ “ วันชาติไทย ” ด้วย ตลอดระยะเวลายาวนานร่วม 60 ปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงอุทิศพระวรกาย พระราชหฤทัย และพระสติปัญญาของพระองค์ บำเพ็ญพระราชกรณียกิจอันยังประโยชน์สุขให้แก่ราษฎรของพระองค์มาโดยตลอด ดังจะเห็นได้จากพระราชกรณียกิจที่มีอยู่มากมายนับไม่ถ้วนนับพันโครงการ ซึ่งในปีนี้ถือเป็นปีพิเศษ ด้วยว่าจะเป็นวันที่ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 80 พรรษา และได้โปรดเกล้าฯพระราชทานชื่อมาว่า “ พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 ”

11.วันรัฐธรรมนูญ เป็น วันที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยามฉบับถาวร เป็นฉบับแรกให้แก่ปวงชนชาวไทย เมื่อปีพ.ศ. 2475 ภายหลังจากมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชเป็นระบอบ ประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศ และมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด ซึ่งนับตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาจนปีพ.ศ. 2549 ไทยเรามีรัฐธรรมนูญมาแล้ว 16 ฉบับ(และอยู่ระหว่างการเตรียมร่างฉบับใหม่ หลังการปฏิรูปการปกครองฯเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549)

12.วันพระเจ้าตากสินมหาราช ตรงกับวันที่ 28 ธันวาคม เป็น วันคล้ายวันปราบดาภิเษกของพระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงเป็นวีรกษัตริย์ไทยอีกพระองค์หนึ่งที่ได้รับการเทิดทูน และเคารพบูชาจากประชาชนชาวไทยมาโดยตลอด ไม่เพียงเพราะพระปรีชาสามารถในการรบที่กอบกู้ชาติไทยให้เป็นเอกราช และสร้างความเป็นปึกแผ่นแก่บ้านเมืองของเราเท่านั้น แต่พระองค์ยังเป็นผู้นำที่เปี่ยมไปด้วยความกล้าหาญ เด็ดเดี่ยว มีความกตัญญูและเสียสละต่อผืนแผ่นดินไทยอย่างยากที่จะหาผู้ใดเสมือนเหมือน อีกด้วย

วันสำคัญหลักๆทางศาสนา ในปี 2550 นี้ จะประกอบด้วย

13.วันมาฆบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 3 หรือวันที่ 3 มีนาคม 2550 เป็นวันที่พระอรหันต์ที่พระพุทธเจ้าทรงบวชให้จำนวน 1,250 รูปมาประชุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย พระพุทธองค์จึงได้ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ในที่ประชุมสงฆ์เหล่านั้น ปัจจุบันเราถือว่าวันนี้เป็น “ วันแห่งความรักทางพุทธศาสนา ” ทั้งนี้ เนื่องจากวันดังกล่าวได้เกิดเหตุการณ์พิเศษที่เรียกว่า “ จาตุรงคสันนิบาต ” ขึ้น และเป็นวันที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ประกาศหลักการและอุดมการณ์ แห่งพุทธศาสนา อันมีเนื้อหาหลัก ว่าด้วยการส่งเสริมให้มวลมนุษย์ตั้งมั่นในการทำความดี ละความชั่ว ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน นั่นก็คือ ทรงสอนให้ทุกคนมีความรักอันยิ่งใหญ่ เป็นรักที่ไม่เห็นแก่ตัว เพราะสอนให้รู้จักรัก และเมตตาต่อเพื่อนร่วมโลก โดยมีพระสงฆ์เป็นผู้นำพระธรรมคำสั่งสอนดังกล่าวไปเผยแพร่

14.วันวิสาขบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 6 (ปีนี้เป็นปีอธิกมาสจึงเลื่อนไปเป็นวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 7) ซึ่งตรงกับวันที่ 31 พฤษภาคม เป็นวันคล้ายวันประสูติ ตรัสรู้และปรินิพพานขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งสิ่งที่สำคัญยิ่งในการบังเกิดพระพุทธเจ้าในโลกก็คือ “ ธรรมะ ” ที่ พระองค์ทรงตรัสรู้ อันเป็นหลักในการดำเนินชีวิต ทรงเปรียบเสมือนบรมครูผู้มาสอน มาชี้แนะแก่มวลมนุษย์ มิฉะนั้นคนเราก็คงไม่รู้จักหนทางแห่งการปฏิบัติธรรมเพื่อล่วงพ้นความทุกข์ เป็นแน่แท้ และ วันวิสาขบูชา นี้องค์การสหประชาชาติได้มีมติรับรองให้ เป็นวันสำคัญสากล เมื่อปีพ.ศ.2542

15.วันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 8 หรือวันที่ 29 กรกฎาคม 2550 เป็นวันที่มีพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ครบเป็นองค์รัตนตรัยครั้งแรกในโลก ซึ่งพระสงฆ์องค์แรกคือ พระอัญญาโกณฑัญญะ และปฐมเทศนาที่ทรงแสดงคือ ธรรมจักกัปวัตนสูตร หมาย ถึง พระสูตรว่าด้วยการยังธรรมจักรให้เป็นไป นั่นคือ ธรรมะของพระพุทธองค์เหมือนวงล้อธรรมที่ได้เริ่มเคลื่อนแล้วจากจุดเริ่มต้นใน วันนี้

16.วันเข้าพรรษา ตรง กับวันที่ 30 กรกฎาคม 2550 เป็นวันเริ่มต้นที่พระภิกษุสงฆ์จะต้องอธิษฐานจำพรรษาอยู่กับที่ไม่เที่ยว จาริกไปยังที่ต่างๆเป็นเวลา 3 เดือน นับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำเดือน 8 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 ของทุกปี (30ก.ค.-26 ต.ค.) ซึ่งการให้จำพรรษาในสมัยพุทธกาลก็เพื่อป้องกันมิให้พระสงฆ์ไปเหยียบย่ำข้าว และพืชผลของชาวบ้านเสียหาย ต่อมาถือเป็นโอกาสดีที่พระภิกษุจะได้มาอยู่ร่วมกันเพื่อศึกษาธรรมะ ส่วนชาวบ้านก็ได้เข้าวัดถวายทาน รักษาศีล ฟังธรรม และเจริญภาวนาเพื่อเพิ่มพูนบุญกุศลโดยมีพระภิกษุเป็นแบบอย่าง ครั้นต่อมาจึงเกิดประเพณีนิยมบวช 3 เดือน ขณะเดียวกันก็มีพุทธศาสนิกชนจำนวนหนึ่งนิยมถือเอาวันเข้าพรรษาเป็นวันเริ่ม ต้นที่จะอธิฐานจิตลด ละ ความชั่วทั้งหลาย และทำความดีเพิ่มขึ้น สำหรับประเพณีที่เกี่ยวเนื่องกับวันนี้คือ การถวายผ้าอาบน้ำฝนและการแห่งถวายเทียนพรรษา

17.วันออกพรรษา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 หรือ วันที่ 26 ตุลาคม 2550 เป็นวันที่พระภิกษุพ้นข้อกำหนดทางวินัยที่จะอยู่จำพรรษา นับตั้งแต่วันเข้าพรรษาเป็นต้นมา และสามารถจาริกไปค้างแรมที่อื่นได้ ซึ่งจะมีประเพณีที่เกี่ยวข้อง คือ การตักบาตรเทโวโรหนะ คือวันถัดจากวันออกพรรษา 1 วัน (27ต.ค. 50) ซึ่ง พุทธศาสนิกชนมักจะตักบาตรในวันนี้ ด้วยนิยมว่าเป็นวันคล้ายวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ หลังจากเสด็จไปโปรดพุทธมารดาอยู่ 3 เดือน และถัดจากออกพรรษา 1 เดือนถือเป็น เทศกาลกฐิน ที่จะทำบุญถวายผ้ากฐินตามวัดต่างๆ

วันสำคัญอื่นๆของชาติและวันสำคัญทางประเพณี

18.วันขึ้นปีใหม่ ก่อนที่ไทยเราจะมีวันปีใหม่แบบสากลเช่นปัจจุบัน เราได้มีการเปลี่ยนแปลงปีใหม่มาแล้วถึง 3 ระยะ คือ เริ่มแรก ถือวันแรม 1 ค่ำเดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ ระยะที่สอง เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันขึ้น 1 ค่ำเดือน 5 คือราวช่วงสงกรานต์ โดยใช้ปีนักษัตรและการเปลี่ยนจุลศักราชเป็นเกณฑ์ ระยะที่สาม ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ 1 เมษายนอันเป็นนับวันทางสุริยคติ ซึ่งได้ประกาศใช้มาตั้งแต่พ.ศ. 2432 ระยะที่สี่ คือในปีพ.ศ. 2483 รัฐบาลได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ไทยให้เป็นไปตามแบบสากลนิยม คือวันที่ 1 มกราคม โดย มีเหตุผลว่าวันดังกล่าวกำหนดขึ้นโดยการคำนวณด้วยวิทยาการทางดาราศาสตร์ และเป็นที่นิยมใช้กันมากว่าสองพันปี อีกทั้งไม่เกี่ยวข้องกับลัทธิศาสนา หรือการเมืองของชาติใด แต่สอดคล้องกับจารีตประเพณีของไทยแต่โบราณที่ใช้ฤดูหนาวเป็นต้นปี

19.วันเด็กแห่งชาติ ปีนี้ตรงกับวันที่ 13 มกราคม จัด ขึ้นเพื่อกระตุ้นให้เด็กได้ตระหนักถึงความสำคัญของตน และขณะเดียวกันก็ส่งเสริมให้ประชาชน และสังคมเห็นความสำคัญของเด็กที่จะเติบโตเป็นอนาคตของชาติ และเป็นทรัพยากรบุคคลที่สำคัญที่ควรได้รับการดูแล เอาใจใส่

20.วันครู ตรงกับวันที่ 16 มกราคม จัดขึ้นเพื่อให้สังคมได้ระลึกถึงความสำคัญของ “ ครู ” ในฐานะผู้เสียสละและประกอบคุณงามความดีเพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชน โดยเฉพาะช่วยสร้างบุคลากรที่เป็นอนาคตของชาติ

21.วันอนุรักษ์มรดกไทย ตรงกับวันที่ 2 เมษายน อัน เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ผู้ทรงเป็นแบบอย่างในการบำเพ็ญพระราชกรณียกิจและพระราชจริยวัตรในด้าน อนุรักษ์มรดกของชาติในสาขาต่างๆ ทรงได้รับการถวายพระสมัญญาเป็น “ เอกอัครราชูปถัมภกมรดกวัฒนธรรมไทย ” และ “ วิศิษฏศิลปิน ” อันหมายถึง ผู้เป็นเลิศในทางศิลปะ ทรงเป็นเมธีทางวัฒนธรรม และทรงมีคุณูปการต่องานศิลปะวัฒนธรรม

22.วันสงกรานต์ เป็นปีใหม่แบบเดิมของไทย ที่นับวันที่พระอาทิตย์ย่างเข้าสู่ราศีเมษ เป็นวันเริ่มต้นปี โดยเรียกวันที่ 13 เมษายน เป็น “ วันมหาสงกรานต์ ” และถือเป็น “ วันผู้สูงอายุแห่งชาติ ” ด้วย ส่วนวันที่ 14 เมษายน เรียก “ วันเนา ” และถือเป็น “ วันครอบครัว ” ส่วนวันที่ 15 เมษายนเรียกว่า “ วันเถลิงศก ” หรือวันขึ้นจุลศักราชใหม่ ปีนี้นางสงกรานต์ชื่อ มโหธรเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกสามหาว อาภรณ์แก้วนิลรัตน์ ภักษาหารเนื้อทราย หัตถ์ขวาทรงจักร หัตถ์ซ้ายทรงตรีศูรย์ เสด็จนั่งมาเหนือหลังนกยูง

23.วันพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ตรงกับวันที่ 10 พฤษภาคม นอกจากจะเป็นพระราชพิธีโบราณเก่าแก่ที่จะทำเพื่อเป็นการเสริมสร้างความเป็นสิริมงคลแก่การเกษตรกรรมแล้ว วันดังกล่าวยังถือเป็น “ วันเกษตรกร ” อีก ด้วย ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้มีอาชีพทางการเกษตรได้ระลึกถึงความสำคัญของการเกษตร โดยเฉพาะประชาชนทั่วไปจะได้ระลึกถึงความสำคัญของข้าวและธัญญพืชที่มีคุณเอนก อนันต์ในการหล่อเลี้ยงชีวิตให้เติบโตสมบูรณ์ทั้งกายใจ และเหนือสิ่งอื่นใดเพื่อพึงระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัว ที่ทรงมีพระราชกรณียกิจอันเป็นแบบอย่างทางด้านเกษตรกรรมแก่ราษฎร ชักนำให้มีใจมั่นในการประกอบอาชีพและเป็นเหตุของความตั้งมั่นความเจริญ ไพบูลย์ของประเทศมาโดยตลอด

24.วันสุนทรภู่ ตรงกับวันที่ 26 มิถุนายน เป็น วันคล้ายวันเกิดของพระสุนทรโวหาร (สุนทรภู่) ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นกวีเอกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น และมีผลงานประพันธ์มากมาย เฉพาะเรื่อง พระอภัยมณี วรรณกรรมชิ้นเอกของท่าน ก็มีความยาวถึง 12,706 บท ถือได้ว่าเป็นกวีนิพนธ์ที่ยาวที่สุดในโลก ในขณะที่บทประพันธ์เรื่องอีเลียต ( Iliad ) ) และโอเดดซี (Odyssey) ของ ฝรั่งที่ว่ายาวที่สุด ยังมีเพียง 12,500 บทเท่านั้น เมื่อปีพ.ศ. 2529 ท่านได้รับยกย่องจากยูเนสโกให้เป็นบุคคลผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมระดับ โลก

25.วันภาษาไทยแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 29 กรกฎาคม เป็นวันคล้ายวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันได้ทรงพระกรุณา เสด็จฯไปทรงร่วมอภิปรายกับผู้ทรงคุณวุฒิทางภาษาไทยของชุมนุมภาษาไทยคณะอักษร ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เกี่ยวกับปัญหาการใช้คำไทย เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2505 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถ ความสนพระราชหฤทัย และความห่วงใยในภาษาไทยของพระองค์ท่านเป็นอย่างมาก

26.วันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าฯราชินีนาถ และ “ วันแม่แห่งชาติ ” ตรงกับวันที่ 12 สิงหาคม เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ราชินีนาถผู้ทรงเปรียบประดุจ “ แม่แห่งแผ่นดิน ” ที่ ทรงดูแลทุกข์สุขของราษฎรดังลูกๆของพระองค์ และทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่เพื่อปวงชนชาวไทยเคียงคู่กับพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาโดยตลอด โดยเฉพาะด้านศิลปาชีพ และการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมของไทย

27.วันพิพิธภัณฑ์ไทย ตรงกับวันที่ 19 กันยายน เป็นวันน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของรัชกาลที่ 5 ผู้ทรงให้กำเนิด “ พิพิธภัณฑสถานสำหรับประชาชน ” ขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่19 กันยายน พ.ศ. 2417 ณ ศาลาสหทัยสมาคม หรือ “ หอคองคอเดีย ” ในมหาราชวัง

28.วันมหิดล ตรงกับวันที่ 24 กันยายน เป็น วันคล้ายวันสวรรคตของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรมราชชนก ผู้ทรงมีคุณูปการต่อการแพทย์สมัยใหม่ จนได้รับการเฉลิมพระเกียรติว่าทรงเป็น “ พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบัน ”

29.วันลอยกระทง ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 12 หรือวันที่ 24 พฤศจิกายน 2550 เป็นประเพณีที่สืบทอดมาแต่โบราณ โดยมีวัตถุประสงค์ที่หลากหลาย เช่น ลอยเคราะห์ บูชาพระพุทธเจ้า แต่ปัจจุบันนิยมทำเพื่อขอขมาและระลึกถึงคุณแม่พระคงคาที่ได้อำนวยประโยชน์ ต่างๆแก่มนุษย์

30.วันกีฬาแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 16 ธันวาคม เป็นวันระลึกถึงวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงชนะเลิศได้รับเหรียญทอง ในการแข่งขันเรือใบประเภทโอ.เค.ในกีฬาแหลมทอง ครั้งที่ 4 เมื่อปีพ.ศ. 2510 และเพื่อให้ประชาชน เยาวชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของกีฬาที่มีส่วนช่วยส่งเสริมให้เรามีสุขภาพ ที่ดีทั้งกายและใจ

ทั้ง หมดคือวันสำคัญของไทยในรอบปีหนึ่งๆ ที่แม้จะมิใช่วันหยุดราชการทั้งหมด แต่ก็เป็นวันสำคัญของชาติที่เยาวชนไทยควรได้ทราบเพื่อเป็นความรู้ต่อไป


หัวข้อ: Re: ประวัติ ตำนาน เรื่องเล่า
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มิถุนายน 02, 2012, 07:08:25 PM


(http://www.buddhadham.com/article/art_243246.jpg)


วันวิสาขบูชา

วันวิสาขบูชา ตรงกับวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ หรือราวเดือนพฤษภาคม แต่หากตรงกับปีอธิกมาส
คือ มีเดือน ๘ สองหน
วันวิสาขบูชาจะเลื่อนไปเป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ กลางเดือน ๗ หรือราวเดือนมิถุนายน

วิสาขบูชา ย่อมาจากคำว่า "วิสาขปุรณมีบูชา" แปลว่า การบูชาพระในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ
(คือเดือน ๖)
ซึ่งปีนี้ตรงกับ วันอังคารที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๕๔
มีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้น ๓ ประการ ในวันวิสาขบูชา ดังนี้


(http://www.numtan.com/story_2/picupreply/119-4-1091282405.jpg)

(http://www.lasallechote.ac.th/upload/visakhabusha_1.jpg)



หัวข้อ: Re: ประวัติ ตำนาน เรื่องเล่า
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มิถุนายน 02, 2012, 07:08:47 PM

(http://www.bloggang.com/data/vinitsiri/picture/1274958208.jpg)

ประสูติ

๑. เป็นวันประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ ณ ลุมพินีสถาน เมื่อวันเพ็ญเดือน ๖ ตรงกับวันศุกร์
ขึ้น ๑๕ ค่ำ ปีจอ ก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปี  

เมื่อพระนางสิริมหามายา พระมเหสีของพระเจ้าสุทโธทนะ แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ ทรงพระครรภ์แก่จวนจะประสูติ
พระนางได้รับราชานุญาต จากพระสวามี

ให้แปรพระราชฐานไปประทับ ณ กรุงเทวทหะ ซึ่งเป็นพระนครเดิมของพระนาง เพื่อประสูติในตระก้ล
ของพระนางตามประเพณีนิยมในสมัยนั้น

ขณะเสด็จแวะพักผ่อนพระอิริยาบถใต้ต้นสาละ  ณ สวนลุมพินีวัน พระนางก็ได้ประสูติพระโอรส
 ณ ใต้ต้นสาละนั้น ครั้นพระกุมารประสูติได้ ๕ วัน

ก็ได้รับการถวายพระนามว่า  "สิทธัตถะ"  ซึ่งต่อมาพระองค์ได้ออกบวช จนบรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
(ญาณอันประเสริฐสูงสุด)
สำเร็จเป็นพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า จึงถือว่าวันนี้เป็นวันประสูติของพระพุทธเจ้า
 
 
 
 


หัวข้อ: Re: ประวัติ ตำนาน เรื่องเล่า
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มิถุนายน 02, 2012, 07:14:27 PM
(http://upic.me/i/ee/wallpaper.gif)

ตรัสรู้

๒. เป็นวันที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ อนุตตรสัมโพธิญาณ ณ ร่มพระศรีมหาโพธิบัลลังก์
 ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา
ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม เมื่อวันเพ็ญเดือน ๖ ก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี

การตรัสอริยสัจสี่ คือของจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ ของพระพุทธเจ้า
เป็นการตรัสรู้ อันยอดเยี่ยม ไม่มีผู้เสมอเหมือน  
วันตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า จึงจัดเป็นวันสำคัญ เพราะเป็นวันที่ให้เกิดมี
พระพุทธเจ้าขึ้นในโลก ชาวพุทธทั่วไป จึงเรียกวันวิสาขบูชาว่า วันพระพุทธ(เจ้า)
อันมีประวัติว่า พระมหาบุรุษทรงบำเพ็ญเพียรต่อไป ที่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์นั้น
ทรงเริ่มบำเพ็ญสมาธิให้เกิดในพระทัย เรียกว่าการเข้า "ฌาน" เพื่อให้บรรลุ "ญาณ"
จนเวลาผ่านไปจนถึง ...

(http://hilight.kapook.com/img_cms2/user/pimjun/bhudda03.jpg)

ยามต้น : ทรงบรรลุ "ปุพเพนิวาสานุติญาณ" คือทรงระลึกชาติในอดีตทั้งของตนเองและผู้อื่น

ยามสอง : ทรงบรรลุ "จุตูปปาตญาณ" คือการรู้แจ้งการเกิดและดับของสรรพสัตว์ทั้งหลาย

ยามสาม : ทรงบรรลุ "อาสวักขญาณ" คือรู้วิธีกำจัดกิเลสด้วย อริยสัจสี่
( ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ) ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ในคืนวันเพ็ญเดือน ๖  ซึ่งขณะนั้น พระพุทธองค์มีพระชนมายุได้ ๓๕ พรรษา

ธรรมะที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ อริยสัจ ๔ หรือ ความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ ได้แก่

๑. ทุกข์ คือ ความลำบาก ความไม่สบายกายไม่สบายใจ
๒. สมุทัย คือ เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์
๓. นิโรธ คือ ความดับทุกข์ และ
๔. มรรค คือ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งทุกข์

ทั้ง ๔ ข้อนี้ถือเป็นสัจธรรม เรียกว่า อริยสัจ เพราะเป็นสิ่งที่พระอริยเจ้าทรงค้นพบ
เป็นสัจธรรมชั้นสูง ประเสริฐกว่าสัจธรรมสามัญทั่วไป



หัวข้อ: Re: ประวัติ ตำนาน เรื่องเล่า
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มิถุนายน 02, 2012, 07:21:15 PM

(http://2.bp.blogspot.com/-brXi0rF7Z6A/TiCqjr892kI/AAAAAAAAChs/Q4OStoj6mH8/s1600/280352_126956990725173_100002326178893_219002_7576375_oa_resize.jpg)

ปรินิพพาน

๓. เป็นวันปรินิพพานของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ณ ร่มไม้รัง (ต้นสาละ) คู่
ในสาลวโนทยานของมัลลกษัตริย์ ใกล้เมืองกุสินารา
เมื่อวันเพ็ญเดือน ๖ ก่อนพุทธศักราช ๑ ปี  วันที่พระพุทธเจ้าเสด็จเข้าสู่
ปรินิพพาน (ดับสังขารไม่กลับมาเกิดสร้างชาติ สร้างภพอีกต่อไป)

การปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ก็ถือเป็นวันสำคัญของชาวพุทธทั่วโลก
เพราะชาวพุทธทั่วโลกได้สูญเสียดวงประทีปของโลก  
เป็นการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่และครั้งสำคัญ ชาวพุทธทั่วไปมีความเศร้าสลดเสียใจ
และอาลัยสุดจะพรรณนา อันมีประวัติว่าเมื่อพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้และแสดงธรรม
มาเป็นเวลานานถึง ๔๕ ปี ซึ่งมีพระชนมายุได้ ๘๐ พรรษา

ได้ประทับจำพรรษา ณ เวฬุคาม ใกล้เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี ในระหว่างนั้น
ทรงประชวรอย่างหนัก ครั้นเมื่อถึงวันเพ็ญเดือน ๖ พระพุทธองค์กับพระภิกษุสงฆ์
ทั้งหลาย ก็ไปรับภัตตาหารบิณฑบาตที่บ้านนายจุนทะ ตามคำกราบทูลนิมนต์
พระองค์เสวยสุกรมัททวะที่นายจุนทะตั้งใจทำถวาย ก็เกิดอาพาธลง
แต่ทรงอดกลั้นมุ่งเสด็จไปยังเมืองกุสินารา ประทับ ณ ป่าสาละ
เพื่อเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ในราตรีนั้น ได้มีปริพาชกผู้หนึ่ง ชื่อสุภัททะขอเข้าเฝ้า

และได้อุปสมบทเป็นพระพุทธสาวกองค์สุดท้าย เมื่อถึงยามสุดท้ายของคืนนั้น
พระพุทธองค์ก็ทรงประทานปัจฉิมโอวาทว่า

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอันว่าสังขารทั้งหลายย่อมมีความเสื่อมสลายไปเป็น
ธรรมดา

 ท่านทั้งหลายจงยังกิจทั้งปวง
อันเป็นประโยชน์ของตนและประโยชน์ของผู้อื่นให้บริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด"


(http://www.igetweb.com/www/buddhadham/private_folder/02_19.jpg)

หลังจากนั้นก็เสด็จเข้าดับขันธ์ปรินิพพาน ในราตรีเพ็ญเดือน ๖ นั้น  
วันวิสาขบูชา จึงนับว่าเป็นวันที่มีความสำคัญสำหรับพุทธศาสนิกชนทุกคน
เป็นวันที่มีการทำพิธีพุทธบูชา เพื่อเป็นการน้อมรำลึก
ถึงพระคุณของพระองค์ ที่มีต่อปวงมนุษย์และสรรพสัตว์อันหาที่สุดมิได้

การประกอบพิธีในวันวิสาขบูชา จุดมุ่งหมายในการประกอบพิธีในวันวิสาขบูชา
เพื่อรำลึกถึง พระวิสุทธิคุณ พระปัญญาคุณ และพระมหากรุณาธิคุณ
ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่มีต่อมวลมนุษย์และสรรพสัตว์ อีกทั้งเพื่อเป็นการ
รำลึกถึงเหตุการณ์ อันน่าอัศจรรย์ทั้ง ๓ ประการ ที่มาบังเกิดในวันเดียวกัน
และนำหลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์มาเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติ


ขอบพระคุณที่มาทั้งหมดมากมาย
อนุโมทนาสาธุค่ะ


หัวข้อ: Re: ประวัติ ตำนาน เรื่องเล่า
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ สิงหาคม 11, 2012, 08:47:26 AM
พระราชประวัติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ ราชินีนาถ
๑๒ สิงหาคม วันแม่แห่งชาติ  

(http://queen.kapook.com/images/ins01.jpg)

ทรงพระราชสมภพ เมื่อวันศุกร์ที่ ๑๒ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๗๕ ที่บ้านพลเอกเจ้าพระยาวงศานุประพันธ์ (หม่อมสท้าน สนิทวงศ์) ผู้เป็นบิดาของหม่อมหลวงบัว ณ บ้านเลขที่ ๑๘๐๘ ถนนพระราหก ตำบลวังใหม่ อำเภอปทุมวัน จังหวัดพระนคร ขณะนั้น เป็นระยะที่ประเทศเพิ่งเปลี่ยนแปลง การปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นระบอบประชาธิปไตย ก่อนหน้านั้นพระบิดาของพระองค์ ทรงดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเสนาธิการทหารบก มียศเป็นพันเอกหม่อมเจ้านักขัตรมงคล กิติยากร

หลังจากเปลี่ยนแปลงการปกครองในวันที่ ๒๔ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๗๕ หม่อมเจ้านักขัตรมงคลต้อง ทรงออกจากราชการทหาร โดยรัฐบาลแต่งตั้งให้ ไป รับราชการในตำแหน่งเลขานุการเอก ประจำสถานทูตสยาม ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ประเทศสหรัฐอเมริกา ส่วนหม่อมหลวงบัว ยังคงพำนักอยู่ในประเทศไทย จนให้ กำเนิดหม่อมสิริกิติ์แล้วจึงเดินทางไป สมทบมอบหม่อมสิริกิติ์ให้ อยู่ในความดูแลของเจ้าพระยาวงศา นุประพันธ์และ ท้าววนิดา พิจาริณี ผู้เป็นบิดาและ มารดาของหม่อมหลวงบัว

หม่อมสิริกิติ์ ต้องอยู่ห่างไกลพระบิดามารดาตั้งแต่อายุพียงน้อยนิด บางคราวต้องระหกระเหินไป ต่างจังหวัดกับวงศานุวงศ์ตามเหตุการณ์ผันผวนทางการเมือง เช่น ในปีพุทธศักราช ๒๔๗๖ หม่อมเจ้าอัปษรสมาน กิติยากร พระมารดาของหม่อมเจ้านักขัตรมงคล ได้ ทรงรับนัดดาตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวไป สงขลาด้วย

ปลายปีพุทธศักราช ๒๔๗๗ หม่อมจ้านักขัตรมงคล ทรงลาออกจากราชการ กลับประเทศไทยพร้อมครอบครัว อันมีหม่อมกัลยาณกิติ์บุตรคนโตและ หม่อมบุษบาบุตรีคนเล็กผู้เกิดที่สหรัฐอเมริกาแล้วมารับหม่อมอดุลยกิติ์บุตรคนรอง กับหม่อมสิริกิติ์จากหม่อมเจ้าอัปษรสมาน กลับมาอยู่รวมกันที่ตำหนักซึ่งตั้งอยู่ที่ถนนกรุงเกษม ปากคลองผดุงกรุงเกษม ริมแม่น้ำเจ้าพระยา


(http://queen.kapook.com/images/ins02.jpg)

หม่อมสิริกิติ์เริ่มเรียนชั้นอนุบาลที่โรงเรียนราชินี ปากคลองตลาดในพุทธศักราช ๒๔๗๙ แต่เมื่อสงครามมหาเอเชียบูรพาลุกลามมาถึงประเทศไทย จังหวัดพระนครถูกโจมตีทางอากาศบ่อย ๆ ทำให้ การเดินทางไม่สะดวกและ ปลอดภัย หม่อมสิริกิติ์ จึงต้องย้ายไป โรงเรียนที่โรงเรียนเซ็นต์ฟรังซิสซาเวียร์คอนแวนต์ และ ในเวลาต่อมาได้ตั้งใจที่จะเป็นนักเปียโนผู้มีชื่อเสียง

หม่อมสิริกิติ์ได้เผชิญสภาพของสงครามโลกเช่นเดียวกับคนไทยทั้งหลาย พระบิดาผู้ ทรงเป็นทหารเป็นผู้ปลูกฝังให้ บุตร และ บุตรีรู้จักความมีวินัย ความอดทน ความกล้าหาญ และ ความเสียสละ โดยอาศัยเหตุการณ์ในสงครามเป็นตัวอย่าง และ สงครามก็ทำให้ ผู้คนต้องหันหน้าเข้าช่วยเหลือกันในยามทุกข์ยากสิ่งเหล่านี้หล่อหลอมให้ หม่อมสิริกิติ์มีความเมตตาต่อผู้อื่น และ รักความมีระเบียบแบบแผนมาตั้งแต่เยาว์วัย

หลังจากสงครามสงบแล้ว นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น คือ นายควง อภัยวงศ์ ได้แต่งตั้งให้ หม่อมเจ้านักขัตรมงคลเป็นรัฐทูตวิสามัญและ อัครราชทูตผู้มีอำนาจเต็มประจำสำนักเซ็นต์เจมส์ ประเทศอังกฤษ หม่อมเจ้านักขัตรมงคลจึง ทรงพาครอบครัวทั้งหมดไป ด้วยในกลางปีพุทธศักราช ๒๔๘๙ ขณะนั้นหม่อมสิริกิติ์ เรียนจบชั้นมัธยมปีที่ ๓ ของโรงเรียนเซ็นต์ฟรังซิสซาเวียร์คอนแวนต์แล้ว


(http://queen.kapook.com/images/ins03.jpg)

ระหว่างที่อยู่ในประเทศอังกฤษ หม่อมสิริกิติ์ตั้งใจเรียนเปียโน ภาษาอังกฤษ และ ภาษาฝรั่งเศสกับครูพิเศษ แต่อยู่อังกฤษได้ไม่นานหม่อมเจ้านักขัตร มงคลก็ ทรงย้ายไป ประเทศเดนมาร์กและ ประเทศฝรั่งเศสตามลำดับ ระหว่างนี้หม่อมสิริกิติ์ยังคงตั้งใจเรียนเปียโนอย่างขะมักเขม้นเพื่อเตรียมสอบเข้าวิทยาลัยการดนตรีที่มีชื่อเสียงของกรุงปารีส

พุทธศักราช ๒๔๙๑ ขณะที่หม่อมเจ้านักขัตรมงคลและ ครอบครัวอยู่ในปารีส ได้รับเสด็จสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูอดุลยเดช ซึ่งโปรดเสด็จพระราชดำเนินไป ทอดพระเนตรโรงงานทำรถยนต์ในกรุงปารีสอยู่เสมอ จนเป็นที่คุ้นเคยต่อพระยุคลบาทและ ต้องพระราชอัธยาศัย ฉะนั้นเมื่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงประสบอุปัทวเหตุทางรถยนต์ในประเทศสวิสเซอร์แลนด์ต้องประทับรักษาพระองค์ในสถานพยาบาล จึง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ หม่อมหลวงบัวพาบุตรีทั้งสง คือหม่อมสิริกิติ์ และ หม่อมบุษบา เข้าเฝ้าทูลละอองพระบาทเยี่ยมอาการเป็นประจำ จนพระอาการประชวรทุเลาลง เสด็จกลับพระตำหนักได้ สมเด็จพระราชชนนีได้รับสั่งขอให้ หม่อมสิริกิติ์อยู่ศึกษาต่อที่เมืองโลซานน์ในโรงเรียนประจำ Riante Rive ซึ่งเป็นโรงเรียนที่มีชื่อเสียงในการสอนวิชาพิเศษแก่กุลสตรี คือ ภาษา ศิลปะ ดนตรี ประวัติวรรณคดี และ ประวัติศาสตร์

ต่อมาอีก ๑ ปี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ หม่อมเจ้านักขัตรมงคลและ ครอบครัวมาเฝ้าฯ แล้วสมเด็จพระราชชนนีรับสั่งขอหม่อมสิริกิติ์ต่อหม่อมเจ้านักขัตรมงคล และ ประกอบพระราชพิธีหมั้นอย่างเงียบ ๆ ในวันที่ ๑๙ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๙๒ ทรงใช้พระธำมรงค์ที่สมเด็จพระราชบิดา ทรงหมั้นสมเด็จพระราชชนนี เป็นพระธำมรงค์หมั้น แล้วคงให้ หม่อมสิริกิติ์ศึกษาต่อไป จนเสด็จนิวัตพระนคร จึงโปรดเกล้าฯ ให้ หม่อมสิริกิติ์ตามเสด็จกลับมาถวายพระเพลิงศพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ในเดือนมีนาคม พุทธศักราช ๒๔๙๓


(http://queen.kapook.com/images/ins04.jpg)

วันที่ ๒๘ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๙๓ มีพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส ณ วังสระปทุม สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ทรงเป็นประธานพระราชทานน้ำพระพุทธมนต์และ เทพมนต์ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูอดุลยเดชและ หม่อมสิริกิติ์ ได้ ทรงจดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย และ ในวันนั้นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ ทรงสถาปนาหม่อมสิริกิติ์เป็นสมเด็จพระราชินี

วันที่ ๕ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๙๓ เป็นวันพระราชพิธีบรมราชาภิเษก สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงรับเฉลิมนามาภิไธยว่า “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” และ ทรงสถาปนาเฉลิมพระยศสมเด็จพระราชินีเป็น “สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ ราชินี”

วันที่ ๕ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๙๓ ทั้งสองพระองค์เสด็จกลับประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เพราะแพทย์ผู้รักษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกราบบังคมทูลแนะนำให้ ทรงพักรักษาพระองค์อีกระยะหนึ่ง พุทธศักราช ๒๔๙๔ สมเด็จพระนางเจ้าฯ ราชินี มีพระประสูติกาลสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญาฯ ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อเจริญพระชันษาได้ ๗ เดือน ทั้งสามพระองค์จึงเสด็จนิวัตประเทศ ประทับ ณ พระที่นั่งอัมพรสถานพระราชวังดุสิต หลังจากนั้น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์ฯ ซึ่งต่อมา ทรงได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนราชสุดาฯ ซึ่งต่อมา ทรงได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุวลัยลักษณ์ฯ ได้ประสูติต่อมาตามลำดับ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน รวมพระราชโอรสและ พระราชธิดา ๔ พระองค์

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ ราชินีนาถ ได้ ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่เป็นลำดับมา ทั้งในฐานะที่ ทรงเป็นสมเด็จราชินีของไทยและ ในฐานะคู่พระราชหฤทัยแห่งพระบาทสมเด็จพระจ้าอยู่หัว กล่าวคือ ทรงช่วยแบ่งเบาพระราชภาระทั้งหลายไป ได้มาก อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย ทรัพยากรธรรมชาติ และ การพัฒนาประเทศอยู่เนือง ๆ เห็นได้ชัดจากพระราชกรณียกิจที่เผยแพร่สู่สายตาประชาชนอยู่ทุกวันนี้


หัวข้อ: Re: ประวัติ ตำนาน เรื่องเล่า
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ สิงหาคม 11, 2012, 09:58:02 AM
(http://lh4.ggpht.com/_eExCYLlliEg/SnKyxyeWTEI/AAAAAAAAA9I/tmJS_vO_qkc/s800/queen5.jpg)

(http://lh5.ggpht.com/_eExCYLlliEg/SnKyztYs1tI/AAAAAAAAA9g/ZX1IWnuNNRc/s800/queen10.jpg)


(http://lh3.ggpht.com/_eExCYLlliEg/SnKywP2s20I/AAAAAAAAA84/wQHzO0TkVnA/s800/queen1.jpg)


(http://lh3.ggpht.com/_eExCYLlliEg/SnKyweo3MXI/AAAAAAAAA88/tGM1W5rcKPA/s800/queen2.jpg)


(http://lh6.ggpht.com/_eExCYLlliEg/SnKyw3LMOZI/AAAAAAAAA9A/BSOKIbySrAE/s800/queen3.jpg)


(http://lh5.ggpht.com/_eExCYLlliEg/SnKyxl04sDI/AAAAAAAAA9E/6xSO1K60nzw/s800/queen4.jpg)


(http://lh4.ggpht.com/_eExCYLlliEg/SnKyyXwYRiI/AAAAAAAAA9M/nMDfVeZsQKU/s800/queen6.jpg)



(http://lh5.ggpht.com/_eExCYLlliEg/SnKyzJ6i8sI/AAAAAAAAA9Y/k8vq-WDL_vo/s800/queen9.jpg)


(http://lh3.ggpht.com/_eExCYLlliEg/SnKyyjQaKTI/AAAAAAAAA9Q/CPatf6zyEXU/s800/queen7.jpg)


หัวข้อ: Re: ประวัติ ตำนาน เรื่องเล่า
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ สิงหาคม 11, 2012, 10:13:23 AM
(http://lh3.ggpht.com/_eExCYLlliEg/SnKzGB24hzI/AAAAAAAAA-w/UyPS3BitIQw/s800/queen33.jpg)

(http://lh3.ggpht.com/_eExCYLlliEg/SnKzD5DlJgI/AAAAAAAAA-g/hkZlfFYiqNE/s800/queen32.jpg)


(http://lh3.ggpht.com/_eExCYLlliEg/SnKzFIe4YdI/AAAAAAAAA-o/0akXp2etJkU/s800/queen35.jpg)

(http://lh3.ggpht.com/_eExCYLlliEg/SnKzKKoElbI/AAAAAAAAA_Q/8t69G4T1ZuU/s800/queen38.jpg)


(http://lh6.ggpht.com/_eExCYLlliEg/SnKzKRiWMAI/AAAAAAAAA_U/7WB0mgIVdJo/s800/queen39.jpg)

(http://lh6.ggpht.com/_eExCYLlliEg/SnKzLI8HNBI/AAAAAAAAA_Y/-JJ97hgdiTU/s800/queen40.jpg)

(http://lh6.ggpht.com/_eExCYLlliEg/SnLFIBILSpI/AAAAAAAABCI/Z47nnE5vRV8/s800/queen73.jpg)


(http://lh4.ggpht.com/_eExCYLlliEg/SnLExkcLHPI/AAAAAAAABAQ/hvof0QbGUjk/s800/queen78.jpg)

(http://lh3.ggpht.com/_eExCYLlliEg/SnLEyY3fqWI/AAAAAAAABAU/RAzMo7MoLvw/s800/queen79.jpg)


(http://lh3.ggpht.com/_eExCYLlliEg/SnLEzMd8dHI/AAAAAAAABAY/d_H76lHdU8s/s800/queen80.jpg)

(http://lh3.ggpht.com/_eExCYLlliEg/SnLFHu5yKWI/AAAAAAAABCE/l1IYdHARuts/s800/queen72.jpg)

(http://lh6.ggpht.com/_eExCYLlliEg/SnLFIr8xHjI/AAAAAAAABCM/JGyJNswm05s/s800/queen74.jpg)

(http://lh4.ggpht.com/_eExCYLlliEg/SnKzHHyZUhI/AAAAAAAAA-4/8iAKK5FHB1I/s800/queen30.jpg)


(http://lh5.ggpht.com/_eExCYLlliEg/SnKzIa2pqmI/AAAAAAAAA_A/PU3EARf8DgM/s800/queen25.jpg)

(http://lh3.ggpht.com/_eExCYLlliEg/SnKzHwj1nsI/AAAAAAAAA-8/WJW6v0IETdY/s800/queen24.jpg)


(http://lh6.ggpht.com/_eExCYLlliEg/SnKzCWKW0UI/AAAAAAAAA-U/yzhmvV2j4og/s800/queen22.jpg)

(http://lh5.ggpht.com/_eExCYLlliEg/SnKzDLUGw5I/AAAAAAAAA-Y/gpyJKQY1yKQ/s800/queen23.jpg)


หัวข้อ: Re: ประวัติ ตำนาน เรื่องเล่า
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ สิงหาคม 11, 2012, 10:21:49 AM
(http://lh6.ggpht.com/_eExCYLlliEg/SnLFHKfHa_I/AAAAAAAABCA/-2CWemM6yLg/s800/queen71.jpg)

(http://lh3.ggpht.com/_eExCYLlliEg/SnLE-cmbX4I/AAAAAAAABBI/TIqd__53kag/s800/queen58.jpg)

(http://lh4.ggpht.com/_eExCYLlliEg/SnLFDFBBV7I/AAAAAAAABBo/ebjfd_5PGFU/s800/queen65.jpg)



หัวข้อ: Re: ประวัติ ตำนาน เรื่องเล่า
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ สิงหาคม 11, 2012, 10:34:35 AM
(http://lh4.ggpht.com/_eExCYLlliEg/SnLFBj17LPI/AAAAAAAABBg/vRyFWYseZlQ/s800/queen63.jpg)


(http://lh4.ggpht.com/_eExCYLlliEg/SnLE748S2HI/AAAAAAAABBA/imCVArkSdCY/s800/queen56.jpg)


(http://lh5.ggpht.com/_eExCYLlliEg/SnLFCQTlF7I/AAAAAAAABBk/MNYwadIKRDo/s800/queen64.jpg)


(http://lh6.ggpht.com/_eExCYLlliEg/SnLE8wk83yI/AAAAAAAABBE/Gs7Xmtu5ARE/s800/queen57.jpg)


(http://lh4.ggpht.com/_eExCYLlliEg/SnLE_5HuB2I/AAAAAAAABBQ/B3u3tN9-qw0/s800/queen60.jpg)


(http://lh6.ggpht.com/_eExCYLlliEg/SnLFFj5tyZI/AAAAAAAABB4/hUQ73TYpnlA/s800/queen69.jpg)


(http://lh6.ggpht.com/_eExCYLlliEg/SnLE7PnL58I/AAAAAAAABA8/tSbkIMSomvU/s800/queen55.jpg)


(http://lh5.ggpht.com/_eExCYLlliEg/SnLE1b2ZQhI/AAAAAAAABAk/e8HpLqYqabc/s800/queen45.jpg)


(http://lh3.ggpht.com/_eExCYLlliEg/SnLEwRxH0PI/AAAAAAAABAI/rgE9EgCewww/s800/queen48.jpg)


หัวข้อ: Re: ประวัติ ตำนาน เรื่องเล่า
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ สิงหาคม 11, 2012, 10:38:58 AM


(http://img.kapook.com/u/patcharin/Variety/Flower/jasm1.jpg)

(http://img.kapook.com/u/patcharin/Variety/Flower/jasmine2.jpg)


หัวข้อ: Re: ประวัติ ตำนาน เรื่องเล่า
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ ธันวาคม 05, 2012, 09:51:58 AM
วันพ่อ


(http://imagehost.thaibuzz.com/iz/421547_180408595396407_138703632900237_264607_1208943861_n.jpg)


(http://imagehost.thaibuzz.com/ig/15148291.jpeg)


(http://imagehost.thaibuzz.com/il/loveking.jpg)


(http://www.chaoprayanews.com/wp-content/uploads/2009/03/mykings.jpg)


(http://imagehost.thaibuzz.com/it/384128_347863795304266_1360179612_n.jpg)


(http://imagehost.thaibuzz.com/iv/271132_348892798534699_685127111_n.jpg)


(http://imagehost.thaibuzz.com/ii/542131_348211781936134_1850955058_n.jpg)


(http://imagehost.thaibuzz.com/ix/76267_419125111479865_854897553_n.jpg)


(http://imagehost.thaibuzz.com/is/459kk.jpg)


(http://sphotos-e.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-ash4/3695_119145684899863_270600956_n.jpg)


(http://sphotos-f.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-snc7/c77.0.403.403/p403x403/375930_416301578418142_1394551567_n.jpg)




ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน





หัวข้อ: Re: ประวัติ ตำนาน เรื่องเล่า
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ ธันวาคม 05, 2012, 10:05:36 AM


(http://sphotos-c.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-ash3/523093_452526461464823_17220542_n.jpg)


(http://sphotos-g.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-snc7/386671_203738243043799_429518884_n.jpg)


(http://sphotos-d.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-ash3/523111_454441337940002_465726114_n.jpg)


(http://sphotos-f.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-ash4/381014_185561454861478_1126867118_n.jpg)



ศิโรราบก้มกราบแทบพระบาท   
มหาราชดวงใจไทยทั่วหล้า
ด้วยซาบซึ้งตรึงใจในพระกรุณา   
เหล่าปวงข้าฯขอน้อมใจและกายถวายพระพร...

ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน...



หัวข้อ: Re: ประวัติ ตำนาน เรื่องเล่า
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มกราคม 30, 2013, 07:58:42 PM
ความเชื่อโบราณเรื่องโชคลางในวันตรุษจีน

(http://variety.teenee.com/foodforbrain/img7/144392.jpg)

วันตรุษจีน คือ วันหยุดตามประเพณีของจีนที่สำคัญที่สุดในประเทศจีน แต่ทว่าตรุษจีนในประเทศไทยมักนิยมถือประเพณีปฏิบัติอยู่ 3 วัน คือวันจ่าย วันไหว้ และวันเที่ยว โดยสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของตรุษจีน คือ อั่งเปา (ซองแดง) คือ ซองใส่เงินที่ผู้ใหญ่แล้วจะมอบให้ผู้น้อย และมีการแลกเปลี่ยนกันเอง หรือ หรือจะใช้คำว่า แต๊ะเอีย (ผูกเอว) นอกจากนี้แล้ว คนจีนหรือคนไทยเชื้อสายจีน ยังมีความเชื่อเรื่องโชคลางในวันตรุษจีน ดังต่อไปนี้

1. ในช่วงวันตรุษจีนจะต้องไม่พูดคำหยาบหรือพูดคำที่ไม่เป็นมงคล ต้องไม่มีการพูดถึงความตายหรือการใกล้ตาย และเรื่องผีสางเป็นเรื่องที่ต้องห้าม เรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้นในปีเก่าๆ ก็จะไม่เอามาพูดถึง ซึ่งการพูดควรมีแต่เรื่องอนาคต และทุกอย่างที่ดีกับปีใหม่และการเริ่มต้นใหม่

2. ห้ามไม่ให้ร้องไห้ในวันปีใหม่หรืวันตรุษจีน เพราะถ้าคุณร้องไห้ในวันปีใหม่หรืวันตรุษจีนแน่นอนว่าจะมีเรื่องที่ทำให้ต้องเสียใจไปตลอดปี ดังนั้นแม้แต่เด็กดื้อที่ปฎิบัติตัวไม่ดีผู้ใหญ่ก็จะทน และไม่ตีสั่งสอนอย่างเด็ดขาด

3. ในวันตรุษจีนห้ามไม่ให้มีการสระผมเพราะจะชะล้างความโชคดีของเราออกไป และควรหาเสื้อผ้าสีแดงมาสวมใส่ เนื่องจากว่าสีแดง คือ สีแห่งความสุข ซึ่งจะนำความสว่างและเจิดจ้ามาให้แก่ผู้สวมใส่ เชื่อกันว่าอารมณ์และการปฏิบัติตนในวันปีใหม่ จะส่งให้มีผลดีหรือผลร้ายได้ตลอดทั้งปี เด็ก ๆ และคนโสด เพื่อรวมไปถึงญาติใกล้ชิดจะได้ อังเปา ซึ่งเป็นซองสีแดงใส่ด้วย ธนบัตรใหม่เพื่อโชคดี

4. สำหรับคนที่มีเหตุให้ต้องเดินทางออกจากบ้านช่องในช่วงวันตรุษจีน ก่อนออกจากบ้านเพื่อไปเยี่ยมเยียนเพื่อนหรือญาติ อาจมีการเชิญซินแส เพื่อหาฤกษ์ที่เหมาะสมในการออกจากบ้านเพื่อเป็นความเป็นสิริมงคลในการเดินทางอีกด้วย

5. บุคคลแรกที่พบและคำพูดที่ได้ยินคำแรกของปีมีความหมายสำคัญมาก ถือว่าจะส่งให้มีผลได้ตลอดทั้งปี การได้ยินนกร้องเพลงหรือเห็นนกสีแดงหรือนกนางแอ่น ถือเป็นโชคดี

6. การเข้าไปหาใครในห้องนอนในวันตรุษจีน ถือว่าป็นโชคร้ายมากๆ ดังนั้นไม่ว่าจะเจ็บป่วยไข้หรือไม่สบายอย่างไร ก็ต้องแต่งตัวออกมานั่งในห้องรับแขกห้ามให้คนอื่นเข้าไปหาในห้องนอนอย่างเด็ดขาด

7. ห้ามใช้มีดหรือกรรไกรตัดผ้า ตัดผม หรือตัดสิ่งของใดๆในช่วงวันตรุษจีน เพราะคนจีนมีความเชื่อว่าการกระทำเช่นนั้นจะเป็นการตัดโชคลาภดีๆออกจากตัว (ควรงดเว้นการกวาดบ้านในช่วงตรุษจีนด้วย)


หัวข้อ: Re: ประวัติ ตำนาน เรื่องเล่า
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ กุมภาพันธ์ 06, 2013, 07:38:56 PM
ของมงคล ต้อนรับตรุษจีน


(http://variety.teenee.com/foodforbrain/img5/144885.jpg)


วันตรุษจีนหรือวันปีใหม่ของชาวจีน เป็นวันเริ่มต้นปีใหม่เริ่ิมทำสิ่งดีๆ และในวันตรุษจีนนี่เองที่คนจีนหรือคนไทยเชื่อสายจีนต่างพากันหาของมงคลมาเสริมดวง ให้ตนเองและคนในครอบครัวพบเจอแต่ความเจริญรุ่งเรืองมีเงินทองไหลมาเทมา มีกินมีใช้ไปตลอดปี งั้นเราลองมาดูกันหน่อยดีกว่าค่ะ ว่าของมงคลที่ว่านี้มีอะไรกันบ้างจะได้หามาไว้ในครอบครองเพื่อเสริมดวงนะคะ
 
ของอย่างแรก ได้แก่ คำอวยพรอักษรสีทอง บนกระดาษสีแดง หรือที่เรียกว่า ตุ้ยเหลียน ธรรมเนียมคำอวยพรจีนแบบนี้มีมานานหลายพันปี แสดงให้เห็นถึงประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวิถีชีวิตที่อยู่คู่กับชาวจีนมานาน ชาวจีนถือว่าคำอวยพรเหล่านี้เป็นของมงคล ติดที่หน้าบ้าน เมื่อถึงเทศกาลตรุษจีน จะทำให้ดีไปทั้งปี โดยมากมักจะอวยพรให้บ้านอยู่เย็นเป็นสุข ทำมาค้าขึ้น เฮง ๆ ไปตลอดปี


คำอวยพร หรือตุ้ยเหลียนนั้น มีทั้งแบบสำเร็จรูป และแบบเขียน ซึ่งจะพบเห็นอยู่มาก ที่ย่าน เยาวราช เลือกซื้อหากันได้ตามใจ


อั่งเปา ซองใส่เงินสีแดง ๆ ที่ญาติผู้ใหญ่ ชอบแจกเด็ก ๆ หลายคนคุ้นชินกับคำว่า แต๊ะเอีย ซึ่งหมายถึงการให้เงินนั่นเอง เป็นธรรมเนียมที่เป็นวัตรปฏิบัติมาเป็นประจำทุกปี ใครญาติเยอะก็ให้เยอะ บางบ้าน ลูกหลานก็จะให้ญาติผู้ใหญ่ด้วย แล้วผู้ใหญ่ก็จะให้คืนมา นอกจากนี้ก็จะมีการอวยพรให้แก่กัน โดยขอให้รวย ๆ เฮง ๆ ยิ่ง ๆ ขึ้นไป ทำมาค้าขายกิจการดี เป็นต้น


ของมงคลตั้งโต๊ะหรือประดับบ้าน เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ เพราะเชื่อกันว่า สิ่งของชนิดต่าง ๆ จะช่วยเสริมบารมี ช่วยให้ทำมาค้าขึ้น หรือมีเงินถุงเงินถังตลอดปี แล้วแต่ตามจุดประสงค์ของใครของมัน ซึ่งของมงคลเหล่านี้มีคุณค่าทางจิตใจของผู้ที่มีไว้ไม่น้อย บางคนไปให้ซินแสช่วยดูว่า ปีนี้ควรมีของอะไรประดับตั้งโต๊ะ หรือติดตัวเพื่อเป็นมงคลแก่ตนเองบ้าง หรือบางคนอาจจะไปไหว้พระไหว้เจ้าที่ตนเองนับถือ เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตด้วย


สิ่งของมงคลนั้นมีทั้ง ก้อนทอง สัตว์มงคลตามราศีต่าง ๆ หยก โคมแดง พัด (หรือที่เรียกว่าซ่าน) ถั่วง น้ำเต้า เป็นต้น หาซื้อได้ตาม เยาวราช ซึ่งถือเป็นแหล่ง และมีมากที่สุดด้วย


ส้มสีทอง หรือที่ชาวจีนเรียกว่า ส้มไต่กิก นิยมให้แก่กันในวันตรุษจีน โดยมีนัยยะสำคัญว่าเป็นสิ่งที่เป็นมงคล มีความสวัสดีแก่ผู้ที่รับ และโดยธรรมเนียมก็จะมีการให้ส้มแลกเปลี่ยนกัน ทำให้สุขใจกันทั้ง 2 ฝ่าย


ของใช้ ของใหม่ที่มีสีแดง ชาวจีนจะถือว่าสีแดง เป็นสีแห่งความโชคดี เป็นสีที่เป็นมงคล ดังนั้นจึงไม่แปลกใจเลยว่า เวลาไปไหน ที่มีชาวจีนอยู่ หรือ บริเวณที่มีการจัดงานตรุษจีน ทั่วอาณาบริเวณจะต้องเป็นสีแดง ทำให้การเริ่มต้นอะไรใหม่ ๆ ในวันตรุษจีน จะต้องเป็นสีแดง ทั้งข้าวของเครื่องใช้ หรือแม้แต่เสื้อผ้า ที่เป็นธรรมเนียมว่าต้องใส่สีแดง และต้องเป็นเสื้อใหม่ ดังนั้นในวันตรุษจีน จึงมีแต่สีแดง เต็มไปหมด


นอกจากนี้แล้ว ในวันตรุษจีน ชาวจีนทำจิตใจให้ผ่องใส ไม่พูดคำหยาบ พูดแต่สิ่งดี ๆ ให้แก่กันและกัน และจะไม่ปัดกวาดบ้านในวันปีใหม่เพราะจะเป็นการปัดกวาดสิ่งดี ๆ ที่รับมา ออกไป แต่จะทำความสะอาดกันตั้งแต่ก่อนวันไหว้ เพื่อต้อนรับเทพเจ้าไฉซิ้งเอี๊ย หรือเทพเจ้าแห่งโชคลาภ


ท้ายนี้ ก็คงต้องอวยพรกันว่า ” ซินเจียอยู่อี่ ซินนี้ฮวดใช้ “ ขอให้มีความสุข เฮง ๆ รวย ๆ กันทุกคน
 
 


ขอบคุณ : www.never-age.com (http://www.never-age.com)
 


หัวข้อ: Re: ประวัติ ตำนาน เรื่องเล่า
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ เมษายน 13, 2013, 10:36:08 AM
นางสงกรานต์

เป็นที่ทราบกันดีว่า "วันสงกรานต์" คือ วันขึ้นปีใหม่ไทย โดยมีตำนานความเชื่อที่เกี่ยวเนื่องในวันสงกรานต์ก็คือ "นางสงกรานต์" ซึ่งมีการบันทึกเรื่องราวความเป็นมาของนางสงกรานต์ไว้บนจารึกที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) กล่าวตามพระบาลีฝ่ายรามัญว่า ครั้งหนึ่งนานมาแล้วมีเศรษฐีคนหนึ่งรวยทรัพย์แต่ไม่มีบุตรไว้สืบสกุล โดยบ้านของเศรษฐีคนนี้ตั้งอยู่ใกล้กับนักเลงสุราที่มีบุตร 2 คน วันหนึ่งนักเลงสุราต่อว่าเศรษฐีที่ไม่มีบุตร จนกระทั่งเศรษฐีน้อยใจ จึงได้บวงสรวงพระอาทิตย์ พระจันทร์ ตั้งจิตอธิษฐานขอบุตร แต่แม้ว่าเศรษฐีจะตั้งจิตอธิษฐานอยู่นานกว่า 3 ปี ก็ยังไม่มีวี่แววว่าจะมีบุตร
    จนกระทั่งวันหนึ่ง เป็นช่วงที่พระอาทิตย์ยกขึ้นสู่ราศีเมษ เศรษฐีได้พาบริวารไปยังต้นไทรริมน้ำ พอไปถึงก็ได้นำข้าวสารลงล้างในน้ำเจ็ดครั้ง แล้วหุงบูชาอธิษฐานขอบุตรกับรุกขเทวดาในต้นไทรนั้น
    รุกขเทวดาเห็นใจเศรษฐีจึงเหาะไปเฝ้าพระอินทร์ ไม่ช้าพระอินทร์ก็มีเมตตาประทานเทพบุตรให้องค์หนึ่งนาม "ธรรมบาล" ลงไปปฏิสนธิในครรภ์ภรรยาเศรษฐี ไม่ช้าเทพบุตรก็คลอดออกมา เศรษฐีจึงตั้งชื่อให้กุมารน้อยนี้ว่า "ธรรมบาลกุมาร" และได้ปลูกปราสาทไว้ใต้ต้นไทรให้กุมารนี้อยู่อาศัย
    ต่อมาเมื่อธรรมบาลกุมารโตขึ้นก็ได้เรียนรู้ภาษานก และเมื่ออายุเจ็ดขวบก็ได้เรียนไตรเภทจบ ธรรมบาลกุมารจึงได้เป็นอาจารย์บอกมงคลต่างๆ แก่คนทั้งหลาย อยู่มาวันหนึ่ง ท้าวกบิลพรหมได้ลงมาถามปัญหากับธรรมบาลกุมาร 3 ข้อ โดยตั้งเงื่อนไขไว้ว่า ถ้าธรรมบาลกุมารตอบได้ก็จะตัดเศียรบูชา แต่ถ้าตอบไม่ได้จะตัดศีรษะธรรมบาลกุมาร
    ปัญหาที่ท้าวกบิลพรหมถามธรรมบาลกุมารก็คือ "ตอนเช้าศรีอยู่ที่ไหน ตอนเที่ยงศรีอยู่ที่ไหน และตอนค่ำศรีอยู่ที่ไหน"
    เมื่อได้ฟังคำถามดังนั้น ธรรมบาลกุมารไม่สามารถตอบได้ จึงขอผัดผ่อนท้าวกบิลพรหมไปอีก 7 วัน ระหว่างนั้น ธรรมบาลกุมารก็ได้พยายามคิดหาคำตอบ กระทั่งล่วงเข้าวันที่ 6 ธรรมบาลกุมารก็ลงจากปราสาทมานอนอยู่ใต้ต้นตาล โดยคิดว่าหากไม่สามารถตอบปัญหานี้ได้ ก็ขอตายในที่ลับยังดีกว่าไปตายด้วยอาญาของท้าวกบิลพรหม
    นับเป็นโชคดีที่ธรรมบาลกุมารสามารถฟังภาษานกได้ และบังเอิญบนต้นไม้มีนกอินทรี 2 ตัวผัวเมียเกาะทำรังอยู่ ธรรมบาลกุมารจึงได้ยินนก 2 ตัวผัวเมียสนทนากัน โดยนางนกอินทรีถามสามีว่า พรุ่งนี้จะไปหาอาหารแห่งใด สามีได้ตอบนางนกไปว่า เราจะไปกินศพธรรมบาลกุมาร ซึ่งจะถูกท้าวกบิลพรหมฆ่า เพราะตอบปัญหาไม่ได้
    นางนกจึงถามว่าคำถามที่ท้าวกบิลพรหมถามคืออะไร สามีก็เล่าให้ฟัง ซึ่งนางนกก็ไม่สามารถตอบได้ สามีจึงเฉลยว่า ตอนเช้าศรีจะอยู่ที่หน้า คนจึงต้องล้างหน้าทุกๆ เช้า ตอนเที่ยงศรีจะอยู่ที่อก คนจึงเอาเครื่องหอมประพรมที่อก ส่วนตอนเย็นศรีจะอยู่ที่เท้า คนจึงต้องล้างเท้าก่อนเข้านอน
    เมื่อได้ยินดังนั้น ธรรมบาลกุมารก็ได้จดจำสิ่งที่สามีนกพูดไว้ กระทั่งวันรุ่งขึ้น ธรรมบาลกุมารได้นำคำตอบดังกล่าวไปตอบกับท้าวกบิลพรหม เมื่อท้าวกบิลพรหมเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ ท้าวกบิลพรหมจึงตรัสเรียกธิดาทั้งเจ็ด อันเป็นบาทบริจาริกาพระอินทร์มาประชุมพร้อมกัน แล้วบอกว่าจะตัดเศียรบูชาธรรมบาลกุมารตามคำท้าไว้
    แต่ปัญหาก็คือ พระเศียรของพระองค์หากตกไปอยู่ที่ใดก็จะเป็นอันตรายต่อที่นั้น อย่างเช่น หากตั้งเศียรไว้บนแผ่นดิน ไฟก็จะไหม้โลก แต่ถ้าจะโยนขึ้นไปบนอากาศ ฝนก็จะแล้ง หรือถ้าจะทิ้งในมหาสมุทรน้ำก็จะแห้ง
    ด้วยเหตุนี้ ท้าวกบิลพรหมจึงมอบหมายให้ธิดาทั้งเจ็ด ผลัดเวรกันนำพานมารองรับเศียร โดยให้นางทุงษะ ผู้เป็นธิดาองค์โตเป็นผู้เริ่มต้น ซึ่งนางทุงษะก็เชิญพระเศียรของท้าวกบิลพรหมเวียนขวารอบเขาพระสุเมรุ 60 นาที
    จากนั้นประดิษฐานไว้ในถ้ำคันธชุลี ณ เขาไกรลาศ และเมื่อครบกำหนด 365 วัน ซึ่งโลกสมมุติว่าเป็นปีหนึ่งเวียนมาถึงวันมหาสงกรานต์ เทพธิดาทั้งเจ็ดก็จะทรงพาหนะของตน ผลัดเวรกันมาเชิญพระเศียรของบิดาออกแห่ ทำเช่นนี้ทุกๆ ปี
    เนื่องจากเทพธิดาทั้งเจ็ดปรากฏตัวในวันมหาสงกรานต์เป็นประจำ จึงได้ชื่อว่า "นางสงกรานต์" ส่วนท้าวกบิลพรหมนั้น นัยก็คือ พระอาทิตย์ เพราะกบิล หมายถึง สีแดง
    ทั้งนี้ ในแต่ละปีนางสงกรานต์แต่ละนางจะทำหน้าที่ผลัดเปลี่ยนกันตามวันมหาสงกรานต์ และจะมีนาม อาหาร อาวุธ และสัตว์ที่เป็นพาหนะต่างๆ กันคือ
    ถ้าวันอาทิตย์เป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม "ทุงษะเทวี" ทรงพาหุรัดทัดดอกทับทิม อาภรณ์แก้วปัทมราช ภักษาหารอุทุมพร (ผลมะเดื่อ) พระหัตถ์ขวาทรงจักร พระหัตถ์ซ้ายทรงสังข์ เสด็จมาบนหลังครุฑ
    ถ้าวันจันทร์เป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม "โคราคะเทวี" ทรงพาหุรัดทัดดอกปีบ อาภรณ์แก้วมุกดา ภักษาหารเตลัง (น้ำมัน) พระหัตถ์ขวาทรงพระขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายทรงไม้เท้า เสด็จมาบนหลังพยัคฆ์ (เสือ)
    ถ้าวันอังคารเป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม "รากษสเทวี" ทรงพาหุรัดทัดดอกบัวหลวง อาภรณ์แก้วโมรา ภักษาหารโลหิต (เลือด) พระหัตถ์ขวาทรงตรีศูล พระหัตถ์ซ้ายทรงธนู เสด็จมาบนหลังพระยาวราหะ (หมู)
    ถ้าวันพุธเป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม "มัณฑาเทวี" ทรงพาหุรัดทัดดอกจำปา อาภรณ์แก้วไพฑูรย์ ภักษาหารนมเนย พระหัตถ์ขวาทรงเหล็กแหลม พระหัตถ์ซ้ายทรงไม้เท้า เสด็จมาบนหลังคัทรภะ (ลา)
    ถ้าวันพฤหัสบดีเป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม "กิริณีเทวี" ทรงพาหุรัดทัดดอกมณฑา อาภรณ์แก้วมรกต ภักษาหารถั่วงา พระหัตถ์ขวาทรงของ้าว พระหัตถ์ซ้ายทรงปืน เสด็จมาบนหลังพระยาคชสาร (ช้าง)
    ถ้าวันศุกร์เป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม "กิมิทาเทวี" ทรงพาหุรัดทัดดอกจงกลนี อาภรณ์แก้วบุษราคัม ภักษาหารกล้วยน้ำ พระหัตถ์ขวาทรงพระขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายทรงพิณ เสด็จมาบนหลังมหิงสา (ควาย)
    ถ้าวันเสาร์เป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม "มโหธรเทวี" ทรงพาหุรัดทัดดอกสามหาว อาภรณ์แก้วนิลรัตน์ ภักษาหารเนื้อทราย พระหัตถ์ขวาทรงจักร พระหัตถ์ซ้ายทรงตรีศูล เสด็จไสยาสน์หลับเนตร (นอนหลับตา) มาบนหลังมยุรา (นกยูง)
    สำหรับในปี 2556 นี้ วันเสาร์ที่ 13 เมษายน 2556 ตรงกับวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นามว่า "มโหธรเทวี" มีคำทำนายไว้ว่า วันเสาร์ เป็นวันมหาสงกรานต์ : จะเกิดอันตรายกลางเมือง จะเกิดเพลิง และโจรผู้ร้าย และจะเจ็บไข้นักแลฯ, วันอาทิตย์ เป็นวันเนา : ข้าวจะตายฝอย จะได้ยินเสียงคนต่างภาษา ท้าวพระยาจะร้อนใจนักแลฯ, วันจันทร์ เป็นวันเถลิงศก : พระราชเทวี และหมู่นางสนม ราชบริพาร จะประกอบไปด้วยสุขและสมบัติทั้งปวง, นางสงกรานต์ ไสยาสน์หลับเนตร (นอนหลับตา) : พระมหากษัตริย์จะเจริญรุ่งเรืองดี
    ข้อสังเกตเกี่ยวกับวันสงกรานต์ ในแต่ละปีนางสงกรานต์จะมาในเวลาต่างกัน และประทับบนพาหนะในอากัปกิริยาแตกต่างกัน เช่น บางปีนางสงกรานต์อาจจะขี่พาหนะ บางปียืนมา และบางปีก็นอนมา โดยมีหลักพิจารณาเวลาใดเวลาหนึ่งก็ได้ ถ้าดวงอาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีเมษเวลานั้น
    รวมทั้งยังมีคำทำนายนางสงกรานต์ที่ทำนายตามความเชื่อเกี่ยวกับอิริยาบถของนางสงกรานต์ ดังนี้ 1.ดวงอาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีเมษเวลารุ่งถึงเที่ยง นางสงกรานต์ยืนมาบนหลังพาหนะ จะเกิดความเดือดร้อนเจ็บไข้ 2.ดวงอาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีเมษเวลาเที่ยงวันถึงย่ำค่ำ นางสงกรานต์นั่งมาบนหลังพาหนะ จะเกิดความเจ็บไข้ ผู้คนล้มตายและเกิดเหตุเภทภัยต่างๆ
    3.ดวงอาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีเมษเวลาพลบค่ำถึงเที่ยงคืน นางสงกรานต์นอนลืมตาบนหลังพาหนะ ประชาชนจะอยู่เย็นเป็นสุข และ 4.ดวงอาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีเมษเวลาเที่ยงคืนถึงรุ่งเช้า นางสงกรานต์นอนหลับตาบนหลังพาหนะ พระมหากษัตริย์จะเจริญรุ่งเรืองดี.   


หัวข้อ: Re: ประวัติ ตำนาน เรื่องเล่า
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ เมษายน 13, 2013, 10:41:39 AM

นางสงกรานต์และคำทำนายปี 2556

(http://variety.teenee.com/foodforbrain/img7/148988.jpg)


เป็นประจำทุกวันสงกรานต์ของทุกปีที่จะมีการประกาศนางสงกรานต์ โดย นางสงกรานต์ปี 2556 ชื่อว่า นางมโหทรเทวี โดยปีนี้มีคำทำนายค่อนข้างดุเดือด


วันมหาสงกรานต์ ตรงกับวันอาทิตย์ที่ 14 เมษายน เวลา 1 นาฬิกา 58 นาที 48 วินาที ตรงกับเวลา 2 นาฬิกา 16 นาที 48 วินาที (เวลามาตรฐานประเทศไทยปัจจุบัน) จันทรคติตรงกับ วันเสาร์ขึ้น 3 ค่ำ เดือนห้า(5) ปีมะเส็ง


นางสงกรานต์ปี 2556 คือนางมโหทรเทวี ทรงพาหุรัด ทัดดอกสามหาว(ผักตบชวา) อาภรณ์แก้วนิลรัตน์ ภักษาหารเนื้อทราย หัตถ์ขวาทรงจักร หัตถ์ซ้ายทรงตรีศูล เสด็จไสยาสน์หลับเนตร (นอนหลับตา) มาเหนือหลังมยุรา(นกยูง) เป็นพาหนะ


เกณฑ์พิรุณศาสตร์ ปีนี้ ศุกร์ เป็นอธิบดีฝน บันดาลให้ฝนตก 600 ห่า ตกในเขาจักรวาล 240 ห่า ตกในป่าหิมพานต์ 180 ห่า ตกในมหาสมุทร 120 ห่า ตกในโลกมนุษย์ 60 ห่า เกณฑ์ธาราธิคุณ ชื่อ อาโป (ธาตุน้ำ) น้ำมาก น้ำท่วม


เกณฑ์นาคราชให้น้ำ ปีมะเส็ง นาคราชให้น้ำ 1 ตัว ทำนายว่าฝนต้นปีมาก กลางปีงาม แต่ปลายปีน้อยแล


เกณฑ์ธัญญาหารชื่อ ปาปะ ข้าวกล้าในไร่นา จะได้ 1 ส่วน เสีย 10 ส่วน คนทั้งหลายจะตกทุกข์ได้ยากลำบากแค้น เพราะกันดารอาหารบ้าง จะฉิบหายเป็นอันมากแล


วันเถลิงศก ตรงกับ วันอังคารที่ 16 เมษายน เวลา 5 นาฬิกา 56 นาที 24 วินาที ตรงกับเวลา 6 นาฬิกา 14 นาที 24 วินาที (เวลามาตรฐานประเทศไทยปัจจุบัน)


จันทรคติตรงกับ วันจันทร์ ขึ้น 5 ค่ำ เดือนห้า(5) ปีมะเส็ง


คำทำนายสงกรานต์ 2556 วันเสาร์เป็นวันมหาสงกรานต์ : จะเกิดอันตรายกลางเมือง จะเกิดเพลิง และ โจรผู้ร้าย และจะเจ็บไข้นักแล ฯ วันจันทร์ เป็นวันเนา : เกลือจะแพง นางพระยาจะร้อนใจ มักจะเกิดความไข้ต่างๆ วันจันทร์ เป็นวันเถลิงศก : พระราชเทวี และหมู่นางสนม ราชบริพาร จะประกอบไปด้วยสุขและสมบัติทั้งปวง นางสงกรานต์ ไสยาสน์หลับเนตร (นอนหลับตา) : พระมหากษัตริย์จะเจริญรุ่งเรืองดี


หัวข้อ: Re: ประวัติ ตำนาน เรื่องเล่า
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ เมษายน 13, 2013, 10:47:08 AM
'ดอกลำดวน'และวัน'ผู้สูงอายุแห่งชาติ' 13 เมษายน

(http://variety.teenee.com/foodforbrain/img3/148978.jpg)

วันที่ 13 เมษายน ของทุกปีนอกจากจะเป็นวันสงกรานต์ วันขึ้นปีใหม่ของไทย ยังถือว่าเป็นวันผู้สูงอายุ


ผู้สุงอายุ หมายถึง บุคคลทั้งเพศชายและเพศหญิงที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป และสหประชาชาติได้ศึกษารวบรวมข้อมูลประชากรผู้สูงอายุได้แบ่งผู้สูงอายุออกเป็น 2 กลุ่มคือ ผู้สูงอายุตอนต้นและผู้สูงอายุตอนปลาย


ผู้สูงอายุตอนต้น หมายถึง บุคคลที่มีอายุ 60-69 ปี ทั้งชายและหญิง


ผู้สูงอายุตอนปลาย หมายถึง บุคคลที่มีอายุ 70 ปีขึ้นไป ทั้งชายและหญิง


เฉลี่ยเมื่อแรกเกิด หมายถึงจำนวนปีที่บุคคลหนึ่งเมื่อเกิดมาแล้วมีโอกาสที่จะมีชีวิตอยู่ต่อไปจนกระทั่งตาย


อายุขัยเฉลี่ยเมื่ออายุ 60 ปี หมายถึง จำนวนปีที่บุคคลหนึ่งเมื่ออายุครบ 60 ปี แล้วมีโอกาสที่จะมีชีวิตอยู่ต่อไป จนกระทั่งตาย


ความเป็นมาของวันผู้สูงอายุ สืบเนื่องจาก สหประชาชาติ ได้จัดการประชุมสมัชชาโลกว่าด้วย ผู้สูงอายุขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2525 ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย โดยองค์การอนามัยโลกได้เล็งเห็นว่าผู้สูงอายุมีบทบาทสำคัญทั้งทางด้านสังคม ครอบครัวและประเทศชาติ จึงได้กำหนดให้เป็นปีรณรงค์เพื่อส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโดยกำหนดคำขวัญว่า "Add Life to year" ทั้งนี้ ทางองค์การอนามัยโลกต้องการให้ประเทศต่างๆ ทั้งโลก ช่วยกันส่งเสริมสถานะของผู้สูงอายุโดยกำหนดคำขวัญว่า "ให้ความรักพิทักษ์อนามัยผู้สูงวัยอายุยืน"


จากการประชุมสหประชาชาติ ในปี พ.ศ.2525 ว่าด้วยเรื่องของผู้สูงอายุได้พิจารณาประเด็นสำคัญเกี่ยวกับผู้สูงอายุไว้ 3 ประการ


- ด้านมนุษยธรรม


- ด้านการพัฒนา


- ด้านการศึกษา


สำหรับประเทศไทยในสมัย จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้กำหนดนโยบายที่สำคัญประการหนึ่งในอันที่จะส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดี มีคุณภาพ และดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างปกติสุข จึงได้มอบให้กรมประชาสงเคราะห์จัดตั้งสถานสงเคราะห์คนชราขึ้น เพื่อให้การสงเคราะห์ผู้สูงอายุที่เดือดร้อนมีความทุกข์ยากประสบปัญหาและไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยตนเอง กรมประชาสงเคราะห์จึงได้จัดตั้งสถานสงเคราะห์คนชราบ้านบางแค เป็นแห่งแรกในปี พ.ศ.2496


โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้


1.เพื่อให้การสงเคราะห์คนชราที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ หรือประสบปัญหาความทุกข์ยากเดือดร้อน ยากจน ไม่มีที่อยู่อาศัย หรือไม่สามารถอยู่กับครอบครัวได้


2.เพื่อให้บริการแก่คนชราที่อยู่กับครอบครัวของตน แต่มีความต้องการบริการสงเคราะห์คนชราบางอย่าง เช่น การรักษาพยายาม กายภาพบำบัด นันทนาการ


3.เพื่อแบ่งเบาภาระของครอบครัวผู้มีรายได้น้อย หรือยากจน ที่ไม่สามารถจะอุปการะเลี้ยงดูคนชราไว้ในครอบครัวได้


4.เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาสังคมอันเกี่ยวกับคนชรา ไม่ให้เร่ร่อน ทำความเดือดร้อนรำคาญแก่สังคมและให้สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างผาสุกตามสมควรแก่อัตภาพ


5.เพื่อเป็นการตอบแทนคุณความดีที่คนชราได้ทำประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติ


6.เพื่อผู้สูงอายุจะได้คลายวิตกกังวล เมื่อชราภาพ ไม่สามารถประกอบอาชีพต่อไปได้แล้วทางรัฐบาลมีหน้าที่จะเป็นผู้อุปการะเลี้ยงดูต่อไป


ดังนั้น คณะรัฐมนตรีได้ลงมติ เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ.2525 อนุมัติให้วันที่ 13 เมษายนของทุกปี เป็นวันผู้สูงอายุแห่งชาติ การกำหนดวันผู้สูงอายุแห่งชาติ และปลัดกระทรวงมหาดไทยเล็งเห็นว่าผู้สูงอายุนั้นถือว่าเป็นบุคคลที่มีบทบาทสำคัญทั้งทางด้านสังคม ครอบครัวและประเทศชาติ ทางรัฐบาลมีหน้าที่จะต้องเป็นผู้อุปการะเลี้ยงดูต่อไป



(http://variety.teenee.com/foodforbrain/img3/148980.jpg)


รัฐบาลในสมัย พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ นอกจากจะอนุมัติให้วันที่ 13 เมษายน ของทุกปีเป็นวันผู้สูงอายุ แล้ว


ยังได้เลือก "ดอกลำดวน" เป็นสัญลักษณ์ของผู้สูงอายุด้วย


"ลำดวน" มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Melodorum fruticosum Lour. อยู่ในวงศ์ Annonaceae ภาคเหนือเรียกว่า หอมนวล มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ไม่ผลัดใบ สูงราว 3-15 เมตร ลำต้นตรง เปลือกสีน้ำตาล เรียบหรือแตกเป็นสะเก็ด แตกกิ่งก้านสาขาตามลำต้น ใบออกเรียงสลับ เป็นใบเดี่ยว ปลายใบแหลม โคนใบมนขอบ ใบเรียบ ผิวใบเกลี้ยงเป็นมันสีเขียวเข้ม ส่วนใต้ใบสีจะอ่อนกว่า ดอกเป็นดอกเดี่ยว สีเหลืองนวลมีกลิ่นหอม ออกตามซอกใบและปลายกิ่ง กลีบดอกและกลีบรองดอกมีลักษณะคล้ายกัน มีความหนาและแข็ง ดอกหนึ่งมี 6 กลีบ เรียงเป็น 2 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ กลีบชั้นในจะมีขนาดเล็กกว่าและโค้งกว่า ปลายกลีบแหลม เริ่มออกดอกราวเดือนธันวาคม-มีนาคม


ส่วนผลมีสีเขียวอ่อน กลมเล็ก ผิวเรียบเกลี้ยง ภายในมีเมล็ดประมาณ 1-2 เมล็ด ออกรวมกันเป็นกลุ่ม เมื่อสุกสีดำ รสหวานอมเปรี้ยว สรรพคุณทางพืชสมุนไพรนั้น


เปลือก ใช้แก้ไข้ ดับพิษร้อนในร่างกาย


ดอก แก้ไข้ แก้ลมวิงเวียน เป็นยาบำรุงหัวใจ บำรุงโลหิต


เกสร ผสมเป็นยาบำรุงเลือด บำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ และแก้ลม ด้วยเหตุที่ลำดวนเป็นพืชยืนต้นที่มีอยู่มากในสวนสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เป็นต้นไม้ที่ให้ความร่มเย็น ลำต้นมีอายุยืน มีใบเขียวตลอดปี ให้ร่มเงาดีและดอกมีสีนวล กลิ่มหอม กลีบแข็งไม่ร่วงง่าย เหมือนกับผู้ทรงวัยวุฒิ ที่คงคุณธรรมความดีงามไว้ให้เป็นแบบอย่างแก่ลูกหลานตลอดไปประการสำคัญ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีทรงดำริให้จัดสวนนี้ขึ้น เพื่อให้เป็นตัวอย่างที่ดีของผู้สูงอายุ


ในวันผู้สูงอายุ 13 เมษายน 2556 ขอเชิญชวนให้เด็ก เยาวชน และประชาชนเห็นความสำคัญของผู้สูงอายุ แสดงความกตัญญูกตเวทีแก่ท่านโดยการปฏิบัติตัวเป็นคนดีของครอบครัว สังคมและประเทศชาติแสดงความรัก เอื้ออาทร โดยไปกราบขอพรผู้สูงอายุที่เป็นพ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย รดน้ำขอพร นำสิ่งของไปมอบให้เพื่อระลึกถึงพระคุณที่ท่านได้อุปการะเลี้ยงดูมา


และเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยให้คงอยู่สืบไป


หัวข้อ: Re: ประวัติ ตำนาน เรื่องเล่า
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ เมษายน 13, 2013, 11:01:44 AM
(http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/4/4d/Songkran_in_Wat_Kungthapao_01.jpg)


(http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/4/4a/Songkran_in_Wat_Kungthapao_03.jpg/800px-Songkran_in_Wat_Kungthapao_03.jpg)


(http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/4/4a/Songkran_in_Wat_Kungthapao_02.jpg/614px-Songkran_in_Wat_Kungthapao_02.jpg)


(http://www.educatepark.com/story/images/songkran2.jpg)

(http://www.educatepark.com/story/images/songkran3.jpeg)


หัวข้อ: Re: ประวัติ ตำนาน เรื่องเล่า
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ เมษายน 13, 2013, 11:05:02 AM
กิจกรรม วันสงกราน ประเพณีสงกรานต์


(http://i.kapook.com/photofolder/photo7/Songkran_22.jpg)


(http://i.kapook.com/photofolder/photo7/Songkran_23.jpg)


(http://i.kapook.com/photofolder/photo7/Songkran_24.jpg)


(http://i.kapook.com/photofolder/photo7/Songkran_25.jpg)


(http://i.kapook.com/photofolder/photo7/Songkran_26.jpg)


(http://i.kapook.com/photofolder/photo7/Songkran_27.jpg)


(http://i.kapook.com/photofolder/photo7/Songkran_28.jpg)


(http://i.kapook.com/photofolder/photo7/Songkran_29.jpg)


(http://i.kapook.com/photofolder/photo7/Songkran_30.jpg)


หัวข้อ: Re: ประวัติ ตำนาน เรื่องเล่า
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ พฤษภาคม 24, 2013, 10:54:40 AM


(http://www.panmai.com/Calendar/May_b-1.jpg)

วันวิสาขบูชา
วันต้นไม้ประจำปีของชาติ


วันต้นไม้ประจำปีของชาติ ตรงกับวันวิสาขบูชาของทุกปี เป็นวันสำคัญของชาติที่ประชาชนทุกหมู่เหล่าจะได้ร่วมกันปลูกต้นไม้ไว้เป็น ที่ระลึกและช่วยเพิ่มพูนทรัพยากรป่าไม้ อันเป็นการบำเพ็ญประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติ อีกทางหนึ่งด้วย
การส่งเสริมให้ปลูกต้นไม้ในประเทศไทยมีจุดเริ่มต้นมาตั้งแต่ พ.ศ.2484 โดยกรมป่าไม้ จากนั้นในปี พ.ศ.2495 ได้มีการกำหนดให้มีวันปลูกต้นไม้ประจำปีขึ้น โดยคณะรัฐมนตรี ได้มีมติเมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ.2495 กำหนดให้วันชาติ วันที่ 24 มิถุนายน ของทุกปี เป็นวันปลูกต้นไม้ประจำปี และส่งเสริมให้ประชาชนขอรับกล้าไม้ไปปลูกในสถานที่ต่างๆ
วันปลูกต้นไม้ประจำปี ได้มีการเปลี่ยนแปลงชื่อและระยะเวลา ไปตามความเหมาะสม กล่าวคือในปี พ.ศ.2503 ทางราชการประกาศยกเลิกวันชาติ ดังนั้นคณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ.2503 กำหนดให้วันเข้าพรรษาของทุกปีเป็น “วันต้นไม้ประจำปีของชาติ”
เนื่องจากอยู่ในช่วงฤดูฝน มีฝนตก เหมาะสมกับการปลูกต้นไม้
ปัจจุบันวันต้นไม้ประจำปีของชาติ ตรงกับวันวิสาขบูชาของทุกปี เนื่องจากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงทำให้ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล กล่าวคือ
จะมีฝนตกก่อนถึงวันเข้าพรรษา และฝนจะทิ้งช่วงในระหว่างฤดูกาลเข้าพรรษา ทำให้การปลูกต้นไม้ในช่วงเข้าพรรษาไม่ได้ผลเท่าที่ควร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงได้เสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอาอนุมัติให้วันวิสาขบูชา เป็นวันรักต้นไม้ประจำปีของชาติแทนวันเข้าพรรษา ซึ่งคณะรัฐมนตรีก็ได้มีมติเมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ.2532 กำหนดให้วันวิสาขบูชาของทุกปีเป็น “วันต้นไม้ประจำปีของชาติ” เพราะเป็นระยะเริ่มต้นฤดูฝน มีฝนตกลงมาแล้ว ซึ่งจะทำให้กิจกรรมการปลูกต้นไม้ได้ผลดียิ่งขึ้น



(http://www.panmai.com/Calendar/May_b-2.jpg)
http://www.panmai.co (http://www.panmai.co)...dar/May_b.shtml



หัวข้อ: Re: ประวัติ ตำนาน เรื่องเล่า
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มิถุนายน 03, 2013, 01:21:55 PM
ตามรอย “พุทธทาส” ในมุมที่คุณอาจไม่เคยรู้!


(http://pics.manager.co.th/Images/556000006882901.JPEG)


“พุทธทาสภิกขุ” นามนี้ดังก้องโลก หลายคนอาจเคยมีโอกาสเดินตามรอยท่าน จากบทธรรมคำสอนที่ฝากเอาไว้อย่างมากล้น มากเสียจนแม้กระทั่งผู้ที่ไม่เคยก้าวย่ำลงไปศึกษาพระธรรมด้วยตนเอง คงเคยได้รับอานิสงส์แห่งความเมตตาไปแล้วหลายต่อหลายครั้ง ผ่านตัวอักษรในหน้าหนังสือ ผ่านคำเทศน์ที่ยังถูกเปิดซ้ำๆ ดั่งเจ้าของสำเนียงไม่เคยลาลับไปไหน
       ในวาระครบรอบ 20 ปีมรณกาล และรำลึกเดือนแห่งการเกิดของท่าน (พ.ค.) จึงเป็นโอกาสอันดีที่จะได้ตามรอย ปัดฝุ่นอดีตผู้ยิ่งใหญ่ จากปากคำของคนใกล้ชิด ในอีกหลายแง่มุมที่คุณอาจไม่เคยรู้!


(http://pics.manager.co.th/Images/556000006882902.JPEG)
เด็กชายเงื่อม (ท่านพุทธทาสภิกขุ)

เลือด “ศิลปิน” จากโยมพ่อ
       “เขามีส่วน เลวบ้าง ช่างหัวเขา
       จงเลือกเอา ส่วนที่ดี เขามีอยู่
       เป็นประโยชน์ โลกบ้าง ยังน่าดู
       ส่วนที่ชั่ว อย่าไปรู้ ของเขาเลย
       จะหาคน มีดี โดยส่วนเดียว
       อย่ามัวเที่ยว ค้นหา สหายเอ๋ย
       เหมือนเที่ยวหา หนวดเต่า
       ตายเปล่าเลย ฝึกให้เคย มองแต่ดี มีคุณจริง”
       
       “มองแต่แง่ดีเถิด” คือหนึ่งในบทธรรมคำสอนจากท่านพุทธทาส หากลองติดตามงานเขียนของท่าน จะรู้ว่าบทกลอนคือกลวิธีอีกอย่างหนึ่งที่มักถูกหยิบมาใช้เพื่อถ่ายทอดธรรมะ สะท้อนให้เห็นอารมณ์ศิลปินในตัวท่านที่มีอยู่อย่างเต็มเปี่ยม ว่ากันว่าคุณสมบัติข้อนี้สืบทอดมาจากโยมพ่อ “นายเซี้ยง พานิช” ซึ่งเป็นชาวจีนฮกเกี้ยน มีทักษะในการต่อเรือและมีศิลปะในการวาดภาพ



(http://pics.manager.co.th/Images/556000006882905.JPEG)
ตามรอยไปยังบ้านเกิด

ลองตามรอยท่านไปยังสถานที่เกิด ณ ตำบลพุมเรียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ถึงแม้จะถูกเปลี่ยนมือ เปลี่ยนผู้อยู่อาศัยมาหลายรุ่นแล้ว แต่ตัวบ้านยังคงสภาพรอยอดีตเดิมเอาไว้ ไม่ได้ทุบทิ้งไปไหน ตัวเรือนมีความกว้างประมาณ 3 เมตร และลึกเข้าไปสัก 9 เมตร ยังคงเป็นอู่ต่อเรือซึ่งเชื่อมต่อกับลำธารกว้างใหญ่ ความร่มรื่นและร่มเย็นของบรรยากาศโดยรอบในขณะนี้ ช่วยให้พอจะจินตนาการได้ว่า “เด็กชายเงื่อม พานิช” หรือ “ท่านพุทธทาส” ที่ใครๆ ต่างเทิดทูนในวันนี้ โตมากับความสงบเงียบเช่นไร
       
       ถึงแม้บ้านเก่าของท่านจะเป็นร้านขายของชำประจำหมู่บ้าน “ร้านไชยาพานิช” มีชีวิตอยู่กับเรื่องเงินๆ ทองๆ ซื้อมาขายไปตลอดเวลา แต่ท่านกลับไม่ได้พกเอานิสัยเห็นแก่ได้อย่างที่พ่อค้าทั่วๆ ไปมักติดตัวมาด้วย ทั้งที่เคยใช้เวลาอยู่ดูแล เป็นผู้จัดการร้านแทนโยมแม่ “นางเคลื่อน พานิช” หลังโยมพ่อเสียชีวิตอยู่ระยะหนึ่ง อาจเป็นเพราะท่านเอาจิตใจใส่ลงไปในกองหนังสือมากมายภายในร้านมากกว่า
       
       เพราะบ้านของท่าน นอกจากจะขายสินค้าเรือกสวนไร่นาและสินค้าจากทะเลแล้ว ยังมีสินค้าประเภทหนังสือขนส่งมาจากกรุงเทพฯ ด้วย เป็นหนังสือเหลือเอามาโละขายลดราคา ทางร้านจึงรับซื้อไว้ ทำให้เด็กชายใฝ่รู้ตัวน้อยๆ ในตอนนั้นติดหนังสือ และกลายเป็นนักอ่านตัวยงตลอดชีวิตของเขา


(http://pics.manager.co.th/Images/556000006882903.JPEG)

“มัธยัสถ์” เช่นโยมแม่
       ส่วนนิสัยประหยัด-มัธยัสถ์ น่าจะได้มาจากโยมแม่ ด้วยความที่เป็นพี่ชายคนโต มีน้องชายหนึ่งคน น้องสาวอีกหนึ่งคน เด็กชายเงื่อมจึงต้องแบกความรับผิดชอบเอาไว้แต่เล็กๆ ต้องค้าขายช่วยคุณพ่อ ควบคู่กับการช่วยงานครัวคุณแม่ ทำให้สามารถทำกับข้าว-เข้าครัวได้อย่างไม่เคอะเขิน และช่วยให้ซึมซับวินัยหลายๆ อย่างจากคุณแม่มาไว้กับตัว
       
       
       ยกตัวอย่างง่ายๆ ในสมัยก่อนนั้น ทุกคนยังคงดื่มน้ำจากขันกันอยู่ ทั้งๆ ที่น้ำสมัยก่อนเป็นน้ำฝน ไม่ใช่น้ำประปา เรียกว่าเป็นน้ำฟรีก็ว่าได้ แต่ท่านจะถูกสอนให้ตักกินแต่พอดี ไม่ให้ตักดื่มครึ่งหนึ่งแล้วเททิ้งอย่างที่หลายคนนิยมทำ เพราะคุณแม่สอนไว้ว่าถือเป็นการสิ้นเปลือง
       แม้กระทั่งเรื่องการใช้ฟืนใช้ไฟในระหว่างหุงต้ม ฟืนแดงๆ หลังหุงข้าวเสร็จก็ไม่ให้เปล่าประโยชน์ ให้วางแผงใช้ทำอย่างอื่นต่อ เช่น การปิ้งปลา การคั้นกะทิก็ต้องให้คุ้ม คนอื่นอาจจะคั้นกันแค่ 2 เที่ยว แต่โยมแม่ของท่าน สอนให้คั้นถึง 4 เที่ยว โดยให้เอาฝอยมะพร้าวเหล่านั้นมาตำให้ละเอียดหลังจากคั้นไปแล้ว 2 รอบ แล้วมาคั้นอีก 2 รอบ จะช่วยให้ได้น้ำจากกะทิออกมาเพิ่มขึ้น
         
       
       ในสมัยที่ยังเรียนหนังสือ ท่านได้ค่าขนมเพียงวันละ 1 สตางค์ เทียบกับปริมาณอาหารสมัยนั้น แทบแลกอะไรกินไม่ได้เลย ถ้าวันไหนไม่ได้หอบอาหารมาจากบ้าน ก็ต้องซื้อขนมจีนอย่างเดียว และอาศัยเด็ดยอดผักบุ้งละแวกนั้นเอามาใส่จานกินเพิ่มให้อิ่มท้อง ซึ่งท่านได้เขียนเล่าชีวิตในช่วงนั้นเอาไว้ว่า “ก็อิ่มท้องและอยู่มาได้จนถึงทุกวันนี้” ยิ่งช่วยตอกย้ำให้เห็นนิสัยมัธยัสต์ของท่านได้อย่างชัดเจน
       นิสัย “ช่างคิด” ก็เป็นอีกหนึ่งคุณสมบัติที่บ่มเพาะอยู่ในตัวท่านพุทธทาส จากเรื่องเล่าการเป็นเด็กวัดบางช่วงบางตอน สามารถบอกเล่าความมีวินัยในตัวท่านได้อย่างน่าทึ่ง
       
       
       “สุภาพบุรุษเด็กวัด ตื่นสายไม่ได้ ต้องตื่นก่อนไก่ลงคอน ถ้าไก่ลงจากคอนแล้วยังนอนอยู่ จะโดนเพื่อนเอาน้ำสาดและโดนแกล้งด้วย, สุภาพบุรุษเด็กวัดต้องอดกลั้นอดทน ไม่เป็นคนช่างฟ้อง ถ้าเพื่อนแกล้ง สุภาพบุรุษเด็กวัด ไม่ฟ้องอาจารย์, รู้จักจัดสำรับให้พระให้พร้อม รวมทั้งน้ำดื่มน้ำใช้ ระหว่างที่พระฉันอาหาร ไปไหนไม่ได้ ต้องคอยรับใช้ไม่ให้มีผิดพลาด,
       ถอยอาหารเมื่อพระฉันเสร็จ แบ่งให้หมาแมวกินก่อนคน, กินอาหารต้องไม่มูมมาม ต้องอย่าเคี้ยวเสียงดัง สั่งขี้มูก แคะขี้มูกไม่ได้, ล้างถ้วยจานชามเก็บให้เรียบร้อย เรียนหนังสือ อ่านหนังสือ สวดมนต์ทำวัดเช้า-เย็นได้ นี่ประโยชน์ของการเป็นเด็กวัด, นวดเฟ้นบีบนวดพระอาจารย์ จะได้ฟังเรื่องตลกๆ เรื่องตาเถร-ยายชี เป็นเรื่องตลก ไม่หยาบ, หัดมวยไว้ป้องกันตัว เมื่อจะต้องชกต่อยกับวัดอื่นเพื่อแสดงความเป็นนักสู้”


(http://pics.manager.co.th/Images/556000006882904.JPEG)
สมุดพกของเด็กชายเงื่อม

บวกกับบันทึกแห่งประวัติศาสตร์ “สมุดพกชั้นประถมศึกษาของเด็กชายเงื่อม” แห่งโรงเรียนวัดโพธาราม บันทึกด้วยแรงมือของอาจารย์ผู้ดูแล บอกเล่าอุปนิสัยการเล่าเรียนเอาไว้ว่า “ประพฤติเป็นคนอยู่ปกติไม่ค่อยได้ ท่าทางอยู่ข้างองอาจ ในเวลาทำการมักชักเพื่อนคุย มารยาทพอใช้ ทำการงานสะอาด” ทั้งยังเขียนสรุปรวบยอดในปลายปีว่า “1.มีความหมั่นดีทำการงานรวดเร็ว 2.ยังไม่เคยประพฤติรังแกเพื่อน และยังไม่เคยต้องบังคับให้มาเรียน 3.นิสัยจำอะไรแม่น และชอบทำสิ่งที่เป็นจริง 4.ปัญญาพออย่างธรรมดาคน”
       
       
       หลายคนอาจเคยวาดภาพไว้ว่า ผู้ได้รับการยกย่องจากองค์การยูเนสโกให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก สร้างผลงานอันล้ำค่ามากมายประดับเอาไว้อย่าง “พุทธทาส อินทปัญโญ” จะต้องเป็นเติบโตมาบนเส้นทางสวยหรู เป็นเด็กหน้าห้อง หรือมีไอคิวระดับสูงสุดๆ แต่ตัวท่านเองเคยพูดถึงช่วงชีวิตวัยเรียนของท่าน ขณะเรียนโรงเรียนสารภีอุทิศ ชั้นมัธยมฯ เอาไว้ว่า
       “การเรียนหนังสือนั้น ผมไม่รู้สึกว่าเรียนเก่ง แต่สอบได้ไม่เคยตก แต่เรียนไม่ค่อยสนุกแรกๆ ไปคิดถึงบ้าน ยังไม่ทันหยุดตอนเที่ยงก็คิดถึงบ้าน เศร้า คิดถึงบ้านเหมือนอย่างกับเราไปเสียไกลจากพ่อแม่ เรียนมันไม่สนุก สอบซ้อม สอบไล่พอทำได้” และหลังจากจบชั้น ม.3 ท่านก็ต้องลาออกจากโรงเรียน เพราะโยมพ่อเสียชีวิตด้วยโรคลมปัจจุบัน ชีวิตในช่วงต่อมาจึงเป็นช่วงลองเรียนลองรู้นอกโรงเรียนด้วยตัวท่านเองทั้งสิ้น
       
 


(http://pics.manager.co.th/Images/556000006882910.JPEG)

“พระบ้า” ที่น่านับถือ
       ตั้งแต่สมัยยังเป็นวัยรุ่น ยังไม่ได้ตัดสินใจละทางโลกอยู่ในผ้าเหลือง นายเงื่อมมีนิสัยใฝ่ธรรมตั้งแต่ไหนแต่ไรมา ศึกษานักธรรมตรี-โท-เอก มาตั้งแต่ก่อนบวช และมักจะใช้พื้นที่บริเวณบ้าน โต้ธรรมะกับบุรุษไปรษณีย์นายหนึ่งอยู่เสมอ ผลัดกันโต้แย้งแสดงเหตุผลว่าธรรมะข้อไหนเป็นอย่างไร ทำแบบนี้เป็นกิจวัตรทุกเช้า จนเป็นที่รู้กันว่านี่คือเหตุผลที่ทำให้ “นายดาว ใจสะอาด” บุรุษไปรษณีย์นายนั้นไปทำงานสายเป็นประจำ
       
       
       หลังจากมีอายุครบบวช 20 ปี ฉายาทางธรรม “อินฺทปญฺโญ” ซึ่งแปลว่า ผู้มีปัญญามาก ก็เกิดขึ้น เริ่มเดินอยู่บนครรลองแห่งธรรมจากนั้นก็บวชแบบไม่สึกอีกเลย หลังบวชไม่นาน ท่านก็สามารถออกเทศน์ได้ เพราะศึกษานักธรรมมาล่วงหน้านานแล้ว ว่ากันว่าญาติโยมนิยมฟังเทศน์จากพระรูปนี้มาก เพราะท่านเทศน์ไม่เหมือนรูปอื่นๆ พระรูปอื่นมาถึงก็จะกางใบลาน เทศน์ตามตัวหนังสือ รุ่นไหนมาก็เทศน์เหมือนกัน
       แต่ท่านพุทธทาส ใช้วิธีกางใบลาน เริ่มต้นเทศน์ตามธรรมเนียม แต่หยิบเรื่องที่ท่านค้นพบมาแทรก เอาเหตุการณ์ปัจจุบันมาพูดถึง ชาวบ้านก็เลยติดฟังเทศน์จากท่าน ติดมากถึงขนาดถ้ามีพระรูปไหนเทศน์ชนกับท่านในวันเดียวกัน จะไม่มีใครไปฟังเลย จนต้องแก้ปัญหาด้วยการจัดตารางไม่ให้ชนกัน


(http://pics.manager.co.th/Images/556000006882906.JPEG)
กุฏิกลางวัดร้าง “ตระพังจิก”

แล้วก็มาถึงช่วงชีวิตพลิกผัน เมื่อท่านเข้ากรุงเทพฯ เพื่อเรียนภาษาบาลีและคาดหวังว่าจะได้เจอพระอรหันต์ แต่กลับผิดหวังเมื่อพบว่าพระที่กรุงเทพฯ ไม่เคร่งเท่าพระบ้านนอกเสียด้วยซ้ำ บวกกับนิสัยคิดไม่เหมือนใคร ชอบตีความพระธรรมในความหมายต่างออกไป ทำให้สอบไม่ผ่าน เกิดกลายเป็นความรู้สึกเบื่อหน่ายกรุงเทพฯ จนลั่นวาจากับตัวเองไว้ว่า
       “เอาดีที่กรุงเทพฯ ไม่ได้ ก็ต้องกลับมาเอาดีที่บ้านแทน” จึงตัดสินใจหาทางค้นพบพระอรหันต์ด้วยตนเอง มองหาสถานที่ที่จะสามารถสืบทอดการปฏิบัติและเผยแผ่ธรรม จนได้มาเจอเข้ากับวัดร้าง “ตระพังจิก” และกลายมาเป็นสวนโมกข์แห่งแรก เป็นต้นกำเนิดแห่ง “โมกขพลาราม” มาจนถึงทุกวันนี้
       
       
       80 ปี คืออายุของวัดที่ร้างมานานก่อนท่านจะเข้ามาบุกเบิก เข้ามาอยู่ในป่าเพียงลำพังพร้อมสมบัติติดตัวไม่กี่ชิ้น สร้างเพิงเล็กๆ ขึ้นมาเป็นกุฏิเพื่อเขียน-อ่าน และจำพรรษา ไม่มีแม้กระทั่งมุ้งลวดไว้กันยุง ทั้งที่รู้กันดีว่า ท่ามกลางป่าอับชื้นเช่นนี้ ยุงป่าช่างดุร้ายกระหายเลือดยิ่งนัก แต่ท่านก็ใช้วิธีหลบยุง คือออกจากกุฏิก่อนมืด แล้วค่อยกลับมาใหม่หลัง 2 ทุ่ม และไม่เคยตบฆ่ายุง
       ถึงคราวพลาดพลั้ง เผลอลูบตามเนื้อตัวแล้วฆ่าสิ่งมีชีวิตชนิดนี้โดยไม่ตั้งใจ ท่านจะลงโทษตัวเองด้วยการเข้าไปนั่งในป่าให้ยุงกินเลือด ฆ่าไปตัวหนึ่ง ท่านจะชดใช้ให้ยุงกัดกินไปอีก 10-20 ตัว เพื่อทดแทน

 
  (http://pics.manager.co.th/Images/556000006882909.JPEG)
ที่ประจำ นั่งอ่าน-เขียน
 
 
       ชาวบ้านละแวกนั้นต่างลือกันว่าท่านเป็น “พระบ้า” ที่ส่งมาจากกรุงเทพฯ มารักษาตัวอยู่ที่นี่ เพราะไม่เชื่อว่าพระสติดีๆ ที่ไหนจะมาอยู่ท่ามกลางป่าร้าง อยู่กับสิงสาราสัตว์มากมาย ทั้งกระจง ค่าง กระรอก ไก่ป่า และหมูป่า มีหมด อันตรายรอบตัว แต่ท่านสามารถสร้างความคุ้นเคยกับสถานที่และหาความสุขสงบจากการปฏิบัติธรรมได้
       ด้วยศรัทธาอย่างแรงกล้าในพุทธศาสนา เวลาจึงพิสูจน์ว่าท่านไม่ใช่พระบ้า แต่คือพระที่ญาติโยมต่างเคารพศรัทธา เดินทางมากราบไหว้และขอเดินตามรอยท่านนับแต่นั้นมา สมกับนาม “พุทธทาส” ที่มีความหมายว่า ทาสของพระพุทธเจ้า
       
       
       และนี่คือตอนหนึ่งของบทสวดมนต์ทำวัตรเย็น ซึ่งเป็นที่มาของนาม “พุทธทาส”... “ข้าพเจ้ามอบชีวิตและร่างกายนี้แด่พระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าเป็นทาสของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าเป็นนายของข้าพเจ้า เพราะเหตุดั่งว่ามานี้ ข้าพเจ้าจึงชื่อว่า พุทธทาส (ทาสของพระพุทธเจ้า)”
       
       
--------------------------------------------------------------------------------

ห้องพักก่อนวาระสุดท้าย
 (http://pics.manager.co.th/Images/556000006882907.JPEG)
 
 
ภายในห้องพัก ช่างเรียบง่าย
(http://pics.manager.co.th/Images/556000006882908.JPEG)
 
       “เราจะตายแล้วโว้ย!!”
       ในโลกแห่งธรรม คำสอนของท่านยังคงเคลื่อนไหวอยู่เสมอ... ทุกขณะจิต แม้ในวาระสุดท้ายของชีวิต ท่านก็ยังคงใช้ร่างกายและจิตใจของตน พิจารณาสังขาร เป็นแบบอย่างให้คนบนโลกนี้ได้เดินรอยตาม โดยเฉพาะ “พระอาจารย์สิงห์ทอง เขมิโย” พระอุปัฏฐาก หรือพระผู้คอยดูแลรับใช้มากว่าสิบปี ตั้งแต่ท่านยังสุขภาพดี กระทั่งอาพาธด้วยโรคตามอายุขัย ได้บอกเล่าลมหายใจช่วงสุดท้ายของท่านด้วยสำเนียงซื่อๆ เอาไว้ว่า
       
       
       “ด้วยพระเดชพระคุณของหลวงพ่อ ตื่นมาตอนตีสี่ ปลุกเราบอก “ทอง ตื่นๆๆ เราจะตายแล้วโว้ย” เรายังนอนไม่ตื่น เอามือลูบที่ตา มองไปแล้วเห็นท่านนั่งเขียนหนังสืออยู่ เราก็คิดในใจ จะตายก็สมควรตาย ถ้ายังเขียนหนังสือได้แบบนี้ (หัวเราะ) เราก็คิดแบบคนซื่อน่ะนะ
       ท่านบอกให้ไปตามคนที่ดูเรื่องพิมพ์หนังสือมาให้ท่าน ท่านบอกว่า “ไม่ไหวแล้วโว้ย เอามันไม่อยู่แล้ว” แสดงว่าท่านดูร่างกายและจิตใจตัวเองไปทุกขณะ รู้ตัวมีสติตลอด เรื่องกายและลมหายใจที่ท่านสอนมา ท่านเอามาใช้แม้กระทั่งลมหายใจสุดท้าย”

 (http://pics.manager.co.th/Images/556000006882912.JPEG)
 
พระสิงห์ทอง พระผู้คอยดูแลรับใช้อย่างใกล้ชิด
 
 
       ตอนที่ท่านป่วยหนัก เรื่องได้ยินถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงส่งหมอหลวงมานิมนต์ให้ไปรักษาตัว “มาถึงก็รายงานตัวเลยว่าเป็นหมอ เป็นตัวแทนในหลวงมานิมนต์ เป็นคนทั่วไปจะตอบว่าอะไร คงรีบไปเลย ดีใจมาก แต่ท่านตอบว่า “เราไม่หอบสังขารหนีความตายโว้ย ไปบอกในหลวงท่านด้วย” แล้วหมอเขาจะกล้าไปรายงานแบบนี้ไหม (หัวเราะ) นี่คือความเด็ดขาดของท่าน พอถึงเวลาที่รู้ว่าสู้กับมันไม่ไหวแล้ว ท่านก็พิจารณามันไปเรื่อยๆ และปล่อยวางไปตามอาการ”
       
       ด้วยโรคที่รุมเร้ามากมาย ในหลวงท่านจึงทรงส่งหมอมาดูแล “ท่านป่วยเป็นความดันโลหิตสูง โรคอ้วน โรคเก๊า เป็นสารพัดโรค กินยาวันละเป็นกำๆ ตอนนั้นก็อายุ 80 กว่าแล้ว แต่ท่านไม่เคยมีปัญหาเรื่องอารมณ์ ไม่เคยหงุดหงิดเลย เพราะถ้าเป็นแบบนั้น คงจะไม่เป็นพุทธทาส ถ้าคุณทำได้แบบท่าน คุณรวยอารมณ์แน่นอน

 (http://pics.manager.co.th/Images/556000006882914.JPEG)
  บทเรียนจากร่างกาย ฝากไว้ให้พุทธศาสนิกชน 
 
 
       ท่านเป็นโรคเก๊า ปวดจนลุกไม่ขึ้น ก็แค่เอายาลดกรดเล็กๆ เข้าไปในปาก แล้วบอกว่าไปตามคนทำหนังสือมา มาทำหนังสือกัน ถ้าเป็นเรา เราจะมีใจทำไหม ปวดเก๊าแบบนี้ แต่ท่านรู้ทันไง ท่านก็ปล่อยให้ร่างกายเจ็บปวดไป ส่วนท่านก็เอาจิตไปเพ่งไว้ที่การเขียนหนังสือ ไม่เดือดร้อนกับมัน ในเมื่อเอามันไม่อยู่ ห้ามมันไม่ได้ ก็ปล่อยมันไป ให้พิจารณาหนังสือ พร้อมกับปล่อยให้มันปวดไป เดี๋ยวความปวดมันก็หายไปพร้อมๆ กับหนังสือเสร็จตอนเย็นนั่นแหละ
       
       เวลานัดใคร เขาจะมาไม่มาก็ช่าง นายกฯ จะมาเยี่ยมก็ช่างเขา ไม่ไปนั่งกังวล ท่านก็นั่งเขียนหนังสือของท่านไปเรื่อย พอแขกมาท่านก็ไปต้อนรับ เสร็จท่านก็มาเขียนหนังสือต่อ ท่านจัดสรรชีวิตของท่าน ไม่เคยปล่อยให้ขึ้นลงไปตามอารมณ์ แต่คนทั่วไป ไม่เคยจัดสรร เพราะมัวแต่ไปนอนกอดอารมณ์ ทุกข์มันก็เลยเกิด”

 
  (http://pics.manager.co.th/Images/556000006882913.JPEG)
 
 
       เวลาล่วงเลย จากตอนปลุกพระสิงห์ทองจนถึงหกโมงเช้า ท่านสั่งลาว่า “เธอฉันเพลแทนเราด้วยนะ” แล้วก็หยิบพวงกุญแจที่บั้นเอวออกมาและบอกว่า “เราไม่อยากตายคาพวงกุญแจ” จากนั้น ยื่นพระสิงห์ทอง
       “ท่านจัดการทุกอย่างไว้หมดเลย แสดงว่าท่านรู้ว่ากำลังจะตาย จนประมาณ 7 โมง คนอื่นที่นั่งเฝ้าอยู่ด้วยกันก็เลยบอกว่า อย่ากวนท่านเลย ไปเถอะ หลังจากนั้น 30 นาทีให้หลัง ท่านก็ถึงเริ่มบอกว่า “ทอง ลิ้นเราแข็งแล้วนะ”
       ท่านลองตามอาการไปเรื่อยๆ นี่แหละคือธรรมะข้อสุดท้ายที่ท่านให้ไว้ ใช้สังขารของท่านสอน ให้ตามรู้ตามเห็นทุกอย่าง ท่านไม่เผลอ มองเห็นสภาวะการเปลี่ยนแปลงของร่างกายทุกขณะจริงๆ”
       
       
       กระทั่งวาระปลงศพในวัย 87 “พุทธทาส อินทปัญโญ” ก็ยังได้แสดงธรรมบทสุดท้ายเอาไว้ เป็นธรรมบนกองเพลิงให้เห็นความไม่เที่ยงแท้ ทั้งยังฝากฝังแนวคิดสำคัญ เตือนใจพุทธศาสนิกชนทุกผู้ทุกนามเอาไว้ว่า
       
       “โลงศพของอาตมา ก็คือ ความดีที่ทำไว้ในโลก ด้วยการเผยแผ่พระธรรม, ป่าช้าสำหรับอาตมา ก็คือ บรรดาประโยชน์และคุณทั้งหลาย ที่ทำไว้ในโลกเพื่อประโยชน์แก่เพื่อนมนุษย์”

 
(http://pics.manager.co.th/Images/556000006882911.JPEG) 
 
 
             
       ข่วโดย ASTV ผู้จัดการ LITE
 
 



หัวข้อ: Re: ประวัติ ตำนาน เรื่องเล่า
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มิถุนายน 10, 2013, 02:02:30 PM

กระดานชนวนโบราณ

กระดานชนวน มีหน้าตาคล้าย ipad ในปัจจุบัน มีใช้ในประเทศไทยเมื่อ 50 ปีที่แล้วทำจากหินบางๆ หนาเพียง 2-3 มิลลิเมตร กรอบแตกง่าย เวลาเขียนต้องใช้ดินสอหินฝนปลายให้แหลมก่อน ต่อมาใช้ชอล์กแทนใช้ผ้าชุบน้ำแทนยางลบกระดานชนวนเขียนได้ครั้งละ 2 หน้า การบ้านจึงมีแค่ 2 หน้าพอหมดหน้าก็ให้ครูตรวจแล้วลบทิ้งทำใหม่

(http://www.nextsteptv.com/khongdee/wp-content/uploads/2012/12/boardth_lg1.jpg)

ในกรุงเทพฯ น่าจะเลิกใช้กระดานชนวนก่อนปี พ.ศ. 2504 ส่วนในต่างจังหวัด มีการยืนยันว่าคนที่เกิดปี พ.ศ.2508 ยังได้ใช้กระดานชนวนอยู่ ตอนเรียน ป.1-3 ดังนั้นกระดานชนวนน่าจะเลิกใช้จากประเทศไทยประมาณปี 2516

(http://www.nextsteptv.com/khongdee/wp-content/uploads/2012/12/boardth_a.jpg)

พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย) ได้อธิบายไว้ว่า กระดานที่ใช้เขียน มีสองอย่าง สำหรับ นักเรียนชั้นแรกหัดเขียน ก ข เรียกว่า กระดานดำ ทำด้วยไม้กระดานกว้างประมาณ ๑ คืบ ยาวประมาณ ๒-๓ ศอก หนาราว ๒ กระเบียด ด้านที่ใช้เขียนหนังสือ ไสกบ จนเกลี้ยงเรียบ ทาด้วย เขม่าหม้อ กับน้ำข้าว ผึ่งแดดให้แห้ง เมื่อจะลบตัวหนังสือ ที่เขียนด้วยดินสอขาว ใช้น้ำลบทำให้ กระดานเปียก ฉะนั้นจึงต้องหยุด ตากกระดาน ให้แห้งเสียก่อน แล้วจึงเรียนต่อไป

(http://www.nextsteptv.com/khongdee/wp-content/uploads/2012/12/boardth_b.jpg)

กระดานชนวนอีกชนิดหนึ่งไว้สำหรับนักเรียนชั้น ๓ ทำด้วยไม้ทองหลางหรือไม้งิ้ว โดยทำให้เป็นแผ่นกระดาน กว้างศอก ยาวศอกคืบ แล้วก็มีกรอบ ดินสอที่ใช้เขียนกับกระชนวน ใช้ดินสอพอง คือเอาดินสอพองแช่น้ำให้เปียก

(http://www.nextsteptv.com/khongdee/wp-content/uploads/2012/12/boardth_c.jpg)

กระดานดำในปัจจุบัน เป็นอุปกรณ์ในการเขียนที่สามารถใช้ซ้ำได้ โดยสามารถเขียนอักษรหรือวาดภาพได้โดยใช้ชอล์ก หรืออุปกรณ์อื่นๆ ที่สามารถเขียนแล้วลบได้ซึ่งมีต้นแบบมาจากกระดานชนวน


หัวข้อ: Re: ประวัติ ตำนาน เรื่องเล่า
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มิถุนายน 12, 2013, 12:27:39 PM
เทศกาลไหว้บ๊ะจ่าง

ในวันที่ 5 เดือน 5 ตามปฏิทินจันทรคติ เป็นอีกหนึ่งวันเทศกาลสำคัญของจีน นั้นคือวันเทศกาลไหว้บ๊ะจ่าง หรืออีกชื่อเรียกว่าเทศกาลตวนอู่ เป็นงานเทศกาลเพื่อรำลึกถึงคุดก้วน หรือ ชูหยวน จินตกวีเอกสำคัญของจีน

(http://www.thongkasem.com/wysiwyg/uploaded/7%202013/images%20(1).jpg)

ในสมัยจ้านกว๋อ (เลียดก๊ก) ชูหยวน เกิดเมื่อปี พ.ศ. 203 ในรัชสมัยของฉู่ซวนหยาง ด้วยความสามารถ ฉลาดเฉลียว  และความซื่อสัตย์สุจริต ทำให้ชูหยวนได้รับความไว้วางใจเป็นอย่างมากจากฉู่ไหวหวาง จนได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง “จั่วถู” ซึ่งเทียบเท่าตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีในปัจจุบัน ตั้งแต่อายุเพียง 25 ปี

(http://www.thongkasem.com/wysiwyg/uploaded/7%202013/651px-EN-WarringStatesAll260BCE.jpg)

ชูหยวนมีความตั้งใจแน่วแน่ที่จะใช้ความรู้ความสามารถของตนสร้างให้แคว้นฉู่เจริญรุ่งเรือง ให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีมีความสุข โดยคิดที่จะปฏิรูปกฎหมายเสียใหม่ ถึงแม้ว่าในช่วงต้นจะได้รับการสนับสนุนจากฉู่ไหวหวาง  แต่แนวคดิของชูหยวนทำให้ต้องขัดแย้งกับกลุ่มอำนาจเก่าที่เสียผลประโยชน์ นำโดยจิ้นซ่าง ซึ่งมีสนมคนโปรดของฉู่ไหวหวางหนุนหลังอยู่ โดยพยายามที่จะใส่ร้ายชูหยวนตลอดเวลา จนฉู่ไหวหวางเริ่มไม่สนพระทัยต่อชูหยวนแม้ว่าจะเสนอความคิดที่โดดเด่นสักเพียงใด ทำให้ชูหยวนหมดหวังในการปฏิบัติหน้าที่และใช้เวลาไปกับการแต่งบทกวีมากยิ่งขึ้น
 
                 แคว้นฉินเองก็มีความคิดที่จะยึดครองแคว้นฉู่ให้ได้ แต่สนธิสัญญาเป็นพันธมิตรกับแคว้นฉีซึ่งชูหยวนสร้างไว้กลับเป็นอุปสรรคในการยึดครอง แคว้นฉินจึงใช้เงินและทองคำติดสินบนจิ้นซ่างและนางเจิ้งสิ้ว แกนนำของกลุ่มอำนาจเก่าที่เป็นศัตรูของชูหยวน ให้ดำเนินการขับไล่ชูหยวนออกจากราชการ และให้ฉู่ไหวหวางดำเนินการประกาศตัดความสัมพันธ์กับแคว้นฉี โดยที่ว่าแคว้นฉินจะมอบดินแดน 600 ลี้เป็นข้อแลกเปลี่ยน แต่เมื่อฉู่ไหวหวางดำเนินการแล้วแคว้นฉินหาได้ดำเนินการตามที่สัญญาไม่ ฉู่ไหวหวางจึงยกกองทัพบุกแค้วนฉินในปี พ.ศ.231 แต่ก็พ่ายแพ้กลับมา อีกทั้งยังเสียดินแดนไปบางส่วนอีกด้วย
 
                ทางด้านแคว้นฉีที่ไม่พอใจที่แคว้นฉู่ประกาศตัดความสัมพันธ์จึงยกทัพมายึดครองดินแดนบางส่วนด้วยเช่นกัน แต่ไม่นานจางอี้ได้วางแผนเสนอข้อตกลงให้ฉู่ไหวหวางเดินทางไปเจรจากับฉินอ๋อง ด้วยคำยุยงจากจิ้นซ่างทำให้ถูกกองกำลังแคว้นฉินจับตัว กักขังจนเสียชีวิตในอีกสามปีต่อมา
 
                เมื่อฉู่ไหวหวางถึงแก่กรรมแล้ว ฉู่ฉิงเซี่ยงหวาง ได้ขึ้นครองราชย์แทน ชูหยวนหวังว่าอ๋องคนใหม่จะโกรธแค้นที่บิดาถูกยุยงจนถูกจับตัว จึงเสนอให้ฉู่ฉิงเซี่ยงหวางลงโทษจิ้นซ่างและพวก แต่กลับเป็นชูหยวนเองที่ถูกลงโทษขับไล่ออกจากราชการและเนรเทศไปอยู่แถวเชียงหนาน ห้ามกลับสู่เขตเมืองหลวงอีกต่อไป
 
                ขณะนั้นเป็นปี พ.ศ. 247 ชูหยวนมีอายุได้ 48 ปี เมื่อถูกเนรเทศ ชูหยวนได้ประพันธ์บทกวีต่างๆ มากมาย ที่แสดงถึงความคิดทางสังคมและการเมือง รวมถึงปณิธานของชูหยวนเองที่มีต่อประเทศชาติ เช่น จี๋ซ่ง, จิ่วเกอ, หลี่เซ่า, เทียนเวิ่น เป็นต้น
 
                ในปี พ.ศ. 265 ขณะที่ชูหยวนอายุได้ 66 ปี หยิ่งตูเมืองหลวงของแคว้นฉู่ถูกแคว้นฉินเข้ายึดครองได้เป็นผลสำเร็จ ชูหยวนได้แต่งบทกวี อายหยิ่ง (สมเพชหยิ่งตู) ขึ้น บทกวีชิ้นนี้มีเนื้อหาแสดงความโศกเศร้าที่ต้องสิ้นชาติ และ เส้อเจียง, ซือหว่างยือ และ หวนซา จากนั้นเขาได้อุ้มก้อนหินก้อนใหญ่และกระโดดลงสู่แม่น้ำมี่หลอเจียง เมื่อวันที่ 5 เดือน 5 ปีเดียวกัน
 
                ชูหยวนเป็นกวีและขุนนางที่ประชาชนรักเพราะยืนหยัดเคียงข้างประชาชนเรื่อยมา เมื่อทราบข่าวที่ชูหยวนกระโดดน้ำฆ่าตัวตายแล้ว ชาวประมงในแถบนั้นต่างก็พากันออกเรือเพื่อไปค้นหาศพ และเพื่อป้องกันไม่ให้ปลาเล็กปลาน้อยมาแทะกินศพ จึงเอาข้าวปลาอาหาร โยนลงน้ำ แต่ก็หาศพของซูหยวนไม่พบ ในปีต่อมาชาวบ้านก็มาโยนอาหารเช่นนี้เพื่อเป็นการรำลึกถึงชูหยวน เมื่อทำไปได้ 2 ปี มีชาวบ้านในละแวกนั้นฝันเห็นชูหยวนในชุดอันสวยงาม มาบอกว่าที่ชาวบ้านโยนอาหารนั้น เขาขอบคุณเป็นอย่างมากแต่อาหารที่ส่งมานั้นถูกปลาเล็กปลาน้อยกินไปหมดแล้ว เหลือถึงชูหยวนเพียงเล็กน้อย ชาวบ้านได้ถามกลับไปว่าให้ทำอย่างไร ชูหยวนบอกว่าให้นำข้าวห่อในใบไม้แล้วโยน เพื่อเป็นการหลอกปลาว่าเป็นเพียงต้นไม้ จะไม่แทะกิน ในปีต่อมาเขาก็ยังมาเข้าฝันชาวบ้านอีกว่า เขาได้รับอาหารมากขึ้นแต่ก็ยังมีบางส่วนที่ถูกแทะกิน เขาจึงบอกให้ชาวบ้านออกเรือเป็นรูปมังกร เพื่อหลอกว่าเป็นการนำมาถวายเทพเจ้ามังกร ปลาทั้งหลายจะได้ไม่แทะกิน


(http://www.thongkasem.com/wysiwyg/uploaded/7%202013/images.jpg)

ดังนั้น เทศกาลไหว้บ๊ะจ่าง จึงเป็นเทศกาลที่ชาวจีนจัดขึ้นทุกปี เพื่อรำลึกถึงการจากไปของกวีเอกของจีน นามว่า ชูหยวน โดยการใช้อาหารที่ห่อด้วยใบไม้ หรือที่เรียกว่า บ๊ะจ่าง ซึ่งเป็นอาหารคาวที่ทำด้วยข้าวเหนียวนำมาผัดน้ำมัน มีไส้หมูเค็มหรือหมูพะโล้ กุนเชียง ไข่เค็มเฉพาะไข่แดง กุ้งแห้ง เห็ดหอม เป็นต้น ห่อด้วยใบไผ่แล้วนึ่งให้สุก นอกจากนี้ ในเทศกาลดังกล่าวบางพื้นที่ยังจัดให้มีการแข่งเรือมังกรขึ้นด้วย

(http://www.thongkasem.com/wysiwyg/uploaded/7%202013/images%20(2).jpg)



หัวข้อ: Re: ประวัติ ตำนาน เรื่องเล่า
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มิถุนายน 26, 2013, 12:10:03 PM
วันที่ ๒๖ มิถุนายน วันสุทรภู่

(http://sphotos-b.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-frc3/s403x403/1043999_676233739070107_1148588470_n.jpg)

วันที่ ๒๖ มิถุนายน วันสุทรภู่

ประเทศไทยอยู่ตรงไหน
ประเทศไทยอยู่ตรงไหน ในสายตาของ "สุนทรภู่"

พระสุนทรโวหาร (ภู่) ดูจะเป็นภาพแทนของความเป็นไทยแท้แต่ดั้งเดิมในสายตาของประชาชนชาวไทย

ชนิดที่ว่าขึ้นกาพย์กลอนบทใดมาก็ยัดใส่ปากสุนทรภู่ว่าเป็นคนแต่งเสียหมด

หากแต่สุนทรภู่นั้นเป็นคนเช่นไร? และประเทศไทยในยุคสุนทรภู่นั้นอยู่ตรงไหน?

บทประพันธ์ชิ้นเอกของสุนทรภู่ "พระอภัยมณี"

เป็นเครื่องชี้ให้เห็นถึงความเป็นอยู่ของประเทศไทยร่วมสมัยขณะนั้นเป็นอย่างดี โดย

"กาญจนาคพันธุ์" (ขุนวิจิตรมาตรา) ได้สันนิษฐานชื่อเมืองต่างๆ ใน "พระอภัยมณี"

ไว้ในหนังสือ "ภูมิศาสตร์สุนทรภู่"(2490) ดังนี้

"กรุงรัตนา" เมืองที่เป็นต้นกำเนิดของ "พระอภัยมณี" และ "ศรีสุวรรณ" สองศรีพี่น้องตัวละครเอก

เห็นจะไม่ใช่ที่ไหนอื่นไกล คือ "กรุงเทพทวาราวดีศรีรัตนโกสินทร์" หรือ Bangkok

"เมืองผลึก" ของนางสุวรรณมาลี นั่นก็คือ "ภูเก็ต" ที่มีหาดทรายขาวราวแก้วผลึก

"ลังกา" ของอุศเรนและนางละเวงวันฬา ซึ่งเป็นฝรั่ง คือเกาะศรีลังกา ซึ่งขณะนั้นปกครองโดยบริติชราช

อาณานิคมอังกฤษในสมัยพระนางเจ้าวิคตอเรีย

"เกาะแก้วพิสดาร" นั้นหรือ ก็หาใช่เกาะเสม็ดไม่ แต่คือเกาะหนึ่งในหมู่เกาะนิโคบาร์ ซึ่งรวมเรียกว่า

"นาควารินสินสมุทร" ซึ่งมีเกาะแก่งน้อยใหญ่เป็นที่อาศัยของสิ่งมีชีวิตและชนเผ่าประหลาดมากมาย

รวมทั้งผีเสื้อสมุทร ชีเปลือย ม้านิลมังกร เงือก

นอกจากนี้ สุนทรภู่ยังได้ยกเอาหัวเมืองประเทศน้อยใหญ่ในโลก เข้ามาพูดถึงในเรื่อง "พระอภัยมณี"

อย่างมากมายมหาศาล ดังปรากฏในบทสงครามเก้าทัพซึ่งกรุงลังกายกทัพมารบกับเมืองผลึกว่า

เมืองละหุ่งกรุงเตนกุเวนลวาด
เมืองวิลาศวิลยาชวาฉวี
ถึงเมืองเงาะเกาะวลำสำปะลี
จะชิงตีเมืองผลึกเป็นศึกรุม...

...ล้วนมีธงลงหนังสือชื่อประเทศ
เมืองละเมดมลิกันสำปันหนา
กรุงกวินจีนตั๋งอังคุลา
ที่ยกมาทางบกอีกหกทัพ

สงครามโลกระหว่าง "ฝรั่ง" - นางละเวงและพันธมิตร อันได้แก่ เมืองวิลาศ (อังกฤษ)

วิลยา (สเปน) ชวา (ในอาณัติดัทช์) มลิกัน (อเมริกา) ฯลฯ กับ "ไทย"

(พระอภัยมณีเมืองผลึกและพันธมิตร) จบลงได้ด้วยกลอุบายของพระอภัยมณี คือ

รวบหัวรวบหางนางละเวงเอาเป็นมเหสีเสียอีกคนหนึ่งด้วยเพลงปี่

ต้อยตะริดติดตี่เจ้าพี่เอ๋ย
จะละเลยเร่ร่อนไปนอนไหน
แอ้อีอ่อยสร้อยฟ้าสุมาลัย
แม้นเด็ดได้แล้วไม่ร้างให้ห่างเชย

ฉุยฉายชื่นรื่นรวยระทวยทอด
จะกล่อมกอดกว่าจะหลับกับเขนย
หนาวน้ำค้างพร่างพรมลมรำเพย
ใครจะเชยโฉมน้องประคองนวล

นัยว่าเปลี่ยนการรบ เป็นการรัก make love not war รักษาเอกราชของเมืองผลึก

และกรุงรัตนาจากกองทัพต่างชาติแบบไม่เสียเลือดเสียเนื้อทหารพินาศกันไปหมดมากกว่านี้

ประเทศไทยในสายตาของสุนทรภู่นั้น จึงดูเป็นประเทศที่เล็กและยังอ่อนแอ

ไม่สามารถรับศึกกับนักล่าอาณานิคมด้วยกำลังได้ และต้องคบประเทศต่างๆ ผูกไมตรี

ใช้วาทศิลป์และวิชาดนตรีกล่อมให้เป็นมิตรไว้ เพื่อเรียนรู้สรรพวิชาให้ก้าวทันสมัยต่อไป

สุนทรภู่เองก็เป็นผู้ที่มีสายตากว้างไกล คบมิตรสหายพ่อค้าและผู้รู้ที่ผ่านประสบการณ์เดินเรือต่างชาติมากมาย จึงประพันธ์นิทานกลอนชั้นเอก "พระอภัยมณี" เป็นภาพแทนสยามและโลกในยุคล่าอาณานิคมได้ประทับใจชาวบ้านร้านตลาด ติดแน่นฝังตรึงในโลกหนังสือไทยมาจนบัดนี้

มหากวีแห่งชาติไทย "สุนทรภู่" ยังทอดสายตาดูประเทศรอบข้างและตระหนักในความจริงของประเทศ

และสถานการณ์ทั่วโลกตั้งแต่เมื่อสองร้อยกว่าปีมาแล้ว แล้วชาวไทยทุกวันนี้ล่ะ?




หัวข้อ: Re: ประวัติ ตำนาน เรื่องเล่า
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มิถุนายน 26, 2013, 12:13:42 PM
วันที่ ๒๖ มิถุนายน วันสุทรภู่

ถ้าเอ่ยชื่อ "สุนทรภู่" เชื่อว่าน้อยคนนักที่จะไม่รู้จักกวีชาวไทยที่มีชื่อเสียงก้องโลก โดยเฉพาะกลอนนิทานเรื่อง "พระอภัยมณี" จนได้รับยกย่องจากองค์การยูเนสโกให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก ด้านงานวรรณกรรม  หรือ “มหากวีแห่งรัตนโกสินทร์" หรือ “เชกสเปียร์แห่งประเทศไทย" และคงเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า "วันที่ 26 มิถุนายน" ของทุกปีคือ "วันสุนทรภู่" ซึ่งมักจะมีการจัดนิทรรศการ ประกวดแต่งคำกลอน เพื่อแสดงถึงการรำลึกถึง เพราะฉะนั้น วันนี้กระปุกดอทคอมจึงไม่พลาด ขอพาไปเปิดประวัติ "วันสุนทรภู่" ให้มากขึ้นค่ะ...

ชีวประวัติ "สุนทรภู่"

          สุนทรภู่ กวีสำคัญสมัยต้นรัตนโกสินทร์ เกิดวันจันทร์ เดือน 8 ขึ้น 1 ค่ำ ปีมะเมีย จุลศักราช 1148 เวลา 2 โมงเช้า หรือตรงกับวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2329 เวลา 8.00 น. นั่นเอง ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ณ บริเวณด้านเหนือของพระราชวังหลัง (บริเวณสถานีรถไฟบางกอกน้อยปัจจุบัน) บิดาของท่านเป็นชาวกร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ชื่อพ่อพลับ ส่วนมารดาเป็นชาวเมืองฉะเชิงเทรา ชื่อแม่ช้อย สันนิษฐานว่ามารดาเป็นข้าหลวงอยู่ในพระราชวังหลัง เชื่อว่าหลังจากสุนทรภู่เกิดได้ไม่นาน บิดามารดาก็หย่าร้างกัน บิดาออกไปบวชอยู่ที่วัดป่ากร่ำ ตำบลบ้านกร่ำ อำเภอแกลง อันเป็นภูมิลำเนาเดิม ส่วนมารดาได้เข้าไปอยู่ในพระราชวังหลัง ถวายตัวเป็นนางนมของพระองค์เจ้าหญิงจงกล พระธิดาในเจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ ดังนั้น สุนทรภู่จึงได้อยู่ในพระราชวังหลังกับมารดา และได้ถวายตัวเป็นข้าในกรมพระราชวังหลัง ซึ่งสุนทรภู่ยังมีน้องสาวต่างบิดาอีกสองคน ชื่อฉิมและนิ่ม อีกด้วย

          "สุนทรภู่" ได้รับการศึกษาในพระราชวังหลังและที่วัดชีปะขาว (วัดศรีสุดาราม) ต่อมาได้เข้ารับราชการเป็นเสมียนนายระวางกรมพระคลังสวน ในกรมพระคลังสวน แต่ไม่ชอบทำงานอื่นนอกจากแต่งบทกลอน ซึ่งสามารถแต่งได้ดีตั้งแต่ยังรุ่นหนุ่ม เพราะตั้งแต่เยาว์วัยสุนทรภู่มีนิสัยรักแต่งกลอนยิ่งกว่างานอื่น ครั้งรุ่นหนุ่มก็ไปเป็นครูสอนหนังสืออยู่ที่วัดศรีสุดารามในคลองบางกอกน้อย ได้แต่งกลอนสุภาษิตและกลอนนิทานขึ้นไว้ เมื่ออายุราว 20 ปี

          ต่อมาสุนทรภู่ลอบรักกับนางข้าหลวงในวังหลังคนหนึ่ง ชื่อแม่จัน ซึ่งเป็นบุตรหลานผู้มีตระกูล จึงถูกกรมพระราชวังหลังกริ้วจนถึงให้โบยและจำคุกคนทั้งสอง แต่เมื่อกรมพระราชวังหลังเสด็จทิวงคตในปี พ.ศ. 2349 จึงมีการอภัยโทษแก่ผู้ถูกลงโทษทั้งหมดถวายเป็นพระราชกุศล หลังจากสุนทรภู่ออกจากคุก เขากับแม่จันก็เดินทางไปหาบิดาที่ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง และมีบุตรด้วยกัน 1 คน ชื่อ “พ่อพัด” ได้อยู่ในความอุปการะของเจ้าครอกทองอยู่ ส่วนสุนทรภู่กับแม่จันก็มีเรื่องระหองระแหงกันเสมอ จนภายหลังก็เลิกรากันไป

          หลังจากนั้น สุนทรภู่ ก็เดินทางเข้าพระราชวังหลัง และมีโอกาสได้ติดตามพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ในฐานะมหาดเล็ก ตามเสด็จไปในงานพิธีมาฆบูชา ที่อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2350 และเขาก็ได้แต่ง “นิราศพระบาท” พรรณนาเหตุการณ์ในการเดินทางคราวนี้ด้วย และหลังจาก “นิราศพระบาท” ก็ไม่ปรากฏผลงานใดๆ ของสุนทรภู่อีกเลย

          จนกระทั่งเข้ารับราชการในปี พ.ศ. 2359 ในรัชสมัยรัชกาลที่ 2 สุนทรภู่ได้เข้ารับราชการในกรมพระอาลักษณ์ และเป็นที่โปรดปรานของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จนแต่งตั้งให้เป็นกวีที่ปรึกษาและคอยรับใช้ใกล้ชิด เนื่องจากเมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงแต่งกลอนบทละครในเรื่อง "รามเกียรติ์" ติดขัดไม่มีผู้ใดต่อกลอนได้ต้องพระราชหฤทัย จึงโปรดให้สุนทรภู่ทดลองแต่ง ปรากฏว่าแต่งได้ดีเป็นที่พอพระทัย จึงทรงพระกรุณาฯ เลื่อนให้เป็น "ขุนสุนทรโวหาร"

          ต่อมาในราว พ.ศ. 2364 สุนทรภู่ต้องติดคุกเพราะเมาสุราอาละวาดและทำร้ายท่านผู้ใหญ่ แต่ติดอยู่ไม่นานก็พ้นโทษ เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงติดขัดบทพระราชนิพนธ์เรื่อง "สังข์ทอง" ไม่มีใครแต่งได้ต้องพระทัย ทรงให้สุนทรภู่ทดลองแต่งก็เป็นที่พอพระราชหฤทัยภายหลังพ้นโทษ สุนทรภู่ได้เป็นพระอาจารย์ถวายอักษรสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอาภรณ์ พระราชโอรสในรัชกาลที่ 2 และ เชื่อกันว่าสุนทรภู่แต่งเรื่อง "สวัสดิรักษา" ในระหว่างเวลานี้ ซึ่งในระหว่างรับราชการอยู่นี้ สุนทรภู่แต่งงานใหม่กับแม่นิ่ม มีบุตรด้วยกันหนึ่งคน ชื่อ "พ่อตาบ

          "สุนทรภู่" รับราชการอยู่เพียง 8 ปี เมื่อถึงปี พ.ศ. 2367 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จสวรรคต หลังจากนั้นสุนทรภู่ก็ออกบวชที่วัดราชบูรณะ (วัดเลียบ) อยู่เป็นเวลา 18 ปี ระหว่างนั้นได้ย้ายไปอยู่วัดต่าง ๆ หลายแห่ง ได้แก่ วัดเลียบ, วัดแจ้ง, วัดโพธิ์, วัดมหาธาตุ และวัดเทพธิดาราม ซึ่งผลจากการที่ภิกษุภู่เดินทางธุดงค์ไปที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ปรากฏผลงานเป็นนิราศเรื่องต่าง ๆ มากมาย งานเขียนชิ้นสุดท้ายที่ภิกษุภู่แต่งไว้ก่อนลาสิกขา คือ รำพันพิลาป โดยแต่งขณะจำพรรษาอยู่ที่วัดเทพธิดาราม พ.ศ. 2385 ทั้งนี้ ระหว่างที่ออกเดินทางธุดงค์ ภิกษุภู่ได้รับการอุปการะจากพระองค์เจ้าลักขณานุคุณจนพระองค์ประชวรสิ้นพระชมน์ สุนทรภู่จึงลาสิกขา รวมอายุพรรษาที่บวชได้ประมาณ 10 พรรษา สุนทรภู่ออกมาตกระกำลำบากอยู่พักหนึ่งจึงกลับเข้าไปบวชอีกครั้งหนึ่ง แต่อยู่ได้เพียง 2 พรรษา ก็ลาสิกขาบท และถวายตัวอยู่กับเจ้าฟ้าน้อย หรือสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ พระราชวังเดิม รวมทั้งได้รับอุปการะจากกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพอีกด้วย

          ในสมัยรัชกาลที่ 4 เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ครองราชย์ ทรงสถาปนาเจ้าฟ้า กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ เป็นพระบาทสมเด็จพระปิ่นกล้าเจ้าอยู่หัว ประทับอยู่วังหน้า (พระบวรราชวัง) สุนทรภู่จึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น "พระสุนทรโวหาร" ตำแหน่งเจ้ากรมพระอาลักษณ์ฝ่ายบวรราชวังในปี พ.ศ. 2394 และรับราชการต่อมาได้ 4 ปี ก็ถึงแก่มรณกรรมใน พ.ศ. 2398 รวมอายุได้ 70 ปี ในเขตพระราชวังเดิม ใกล้หอนั่งของพระยามนเทียรบาล (บัว) ที่เรียกชื่อกันว่า "ห้องสุนทรภู่"

          สำหรับทายาทของสุนทรภู่นั้น เชื่อกันว่าสุนทรภู่มีบุตรชาย 3 คน คือ"พ่อพัด" เกิดจากภรรยาคนแรกคือแม่จัน "พ่อตาบ" เกิดจากภรรยาคนที่สองคือแม่นิ่ม และ "พ่อนิล" เกิดจากภรรยาที่ชื่อแม่ม่วง นอกจากนี้ ปรากฏชื่อบุตรบุญธรรมอีกสองคน ชื่อ "พ่อกลั่น" และ "พ่อชุบ" อย่างไรก็ตาม ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ทรงตราพระราชบัญญัตินามสกุลขึ้น และตระกูลของสุนทรภู่ได้ใช้นามสกุลต่อมาว่า "ภู่เรือหงส์"

ผลงานของสุนทรภู่

          หนังสือบทกลอนของสุนทรภู่มีอยู่มาก เท่าที่ปรากฏเรื่องที่ยังมีฉบับอยู่ในปัจจุบันนี้คือ…

ประเภทนิราศ

          - นิราศเมืองแกลง (พ.ศ. 2349) - แต่งเมื่อหลังพ้นโทษจากคุก และเดินทางไปหาพ่อที่เมืองแกลง

          - นิราศพระบาท (พ.ศ. 2350) - แต่งหลังจากกลับจากเมืองแกลง และต้องตามเสด็จพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ไปนมัสการรอยพระพุทธบาทที่จังหวัดสระบุรีในวันมาฆบูชา

          - นิราศภูเขาทอง (ประมาณ พ.ศ. 2371) - แต่งโดยสมมุติว่า เณรหนูพัด เป็นผู้แต่งไปนมัสการพระเจดีย์ภูเขาทองที่จังหวัดอยุธยา

          - นิราศสุพรรณ (ประมาณ พ.ศ. 2374) - แต่งเมื่อครั้งยังบวชอยู่ และไปค้นหายาอายุวัฒนะที่จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นผลงานเรื่องเดียวของสุนทรภู่ที่แต่งเป็นโคลง

          - นิราศวัดเจ้าฟ้า (ประมาณ พ.ศ. 2375) - แต่งเมื่อครั้งยังบวชอยู่ และไปค้นหายาอายุวัฒนะตามลายแทงที่วัดเจ้าฟ้าอากาศ (ไม่ปรากฏว่าที่จริงคือวัดใด) ที่จังหวัดอยุธยา

          - นิราศอิเหนา (ไม่ปรากฏ, คาดว่าเป็นสมัยรัชกาลที่ 3) แต่งเป็นเนื้อเรื่องอิเหนารำพันถึงนางบุษบา

          - รำพันพิลาป (พ.ศ. 2385) - แต่งเมื่อครั้งจำพรรษาอยู่ที่วัดเทพธิดาราม แล้วเกิดฝันร้ายว่าชะตาขาด จึงบันทึกความฝันพร้อมรำพันความอาภัพของตัวไว้เป็น "รำพันพิลาป" จากนั้นจึงลาสิกขา

          - นิราศพระประธม (พ.ศ. 2385) –เชื่อว่าแต่งเมื่อหลังจากลาสิกขาและเข้ารับราชการในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ไปนมัสการพระประธมเจดีย์ (หรือพระปฐมเจดีย์) ที่เมืองนครชัยศรี

          - นิราศเมืองเพชร (พ.ศ. 2388) - แต่งเมื่อเข้ารับราชการในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เชื่อว่าไปธุระราชการอย่างใดอย่างหนึ่ง นิราศเรื่องนี้มีฉบับค้นพบเนื้อหาเพิ่มเติมซึ่ง อ.ล้อม เพ็งแก้ว เชื่อว่า บรรพบุรุษฝ่ายมารดาของสุนทรภู่เป็นชาวเมืองเพชร

ประเภทนิทาน

          เรื่องโคบุตร, เรื่องพระอภัยมณี, เรื่องพระไชยสุริยา, เรื่องลักษณวงศ์, เรื่องสิงหไกรภพ

ประเภทสุภาษิต

          - สวัสดิรักษา- คาดว่าประพันธ์ในสมัยรัชกาลที่ 2 ขณะเป็นพระอาจารย์ถวายอักษรแด่เจ้าฟ้าอาภรณ์

          - สุภาษิตสอนหญิง - เป็นหนึ่งในผลงานซึ่งยังเป็นที่เคลือบแคลงว่า สุนทรภู่เป็นผู้ประพันธ์จริงหรือไม่

          - เพลงยาวถวายโอวาท - คาดว่าประพันธ์ในสมัยรัชกาลที่ 3 ขณะเป็นพระอาจารย์ถวายอักษรแด่เจ้าฟ้ากลางและเจ้าฟ้าปิ๋ว

ประเภทบทละคร

          - เรื่องอภัยณุรา ซึ่งเขียนขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 เพื่อถวายพระองค์เจ้าดวงประภา พระธิดาในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว

ประเภทบทเสภา

          - เรื่องขุนช้างขุนแผน (ตอนกำเนิดพลายงาม)

          - เรื่องพระราชพงศาวดาร

ประเภทบทเห่กล่อม

          แต่งขึ้นสำหรับใช้ขับกล่อมหม่อมเจ้าในพระองค์เจ้าลักขณานุคุณ กับพระเจ้าลูกยาเธอในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เท่าที่พบมี 4 เรื่องคือ เห่จับระบำ, เห่เรื่องพระอภัยมณี, เห่เรื่องโคบุตร เห่เรื่องพระอภัยมณี, เห่เรื่องกากี


ตัวอย่างวรรคทองที่มีชื่อเสียงของสุนทรภู่

          ด้วยความที่สุนทรภู่เป็นศิลปินเอกที่มีผลงานทางวรรณกรรม วรรณคดีมากมาย ทำให้ผลงานหลาย ๆ เรื่องของ สุนทรภู่ ถูกนำไปเป็นบทเรียนให้เด็กไทยได้ศึกษา จึงทำให้มีหลาย ๆ บทประพันธ์ที่คุ้นหู หรือ "วรรคทอง" ยกตัวอย่างเช่น

 บางตอนจาก นิราศภูเขาทอง



ถึงโรงเหล้าเตากลั่นควันโขมง
มีคันโพงผูกสายไว้ปลายเสา
โอ้บาปกรรมน้ำนรกเจียวอกเรา
ให้มัวเมาเหมือนหนึ่งบ้าเป็นน่าอาย

ทำบุญบวชกรวดน้ำขอสำเร็จ
สรรเพชญโพธิญาณประมาณหมาย
ถึงสุราพารอดไม่วอดวาย
ไม่ใกล้กรายแกล้งเมินก็เกินไป

ไม่เมาเหล้าแล้วแต่เรายังเมารัก
สุดจะหักห้ามจิตคิดไฉน
ถึงเมาเหล้าเช้าสายก็หายไป
แต่เมาใจนี้ประจำทุกค่ำคืนฯ



ถึงบางพูดพูดดีเป็นศรีศักดิ์
มีคนรักรสถ้อยอร่อยจิต
แม้นพูดชั่วตัวตายทำลายมิตร
จะชอบผิดในมนุษย์เพราะพูดจา



 บางตอนจาก นิราศอิเหนา


จะหักอื่นขืนหักก็จักได้
หักอาลัยนี้ไม่หลุดสุดจะหัก
สารพัดตัดขาดประหลาดนัก
แต่ตัดรักนี้ไม่ขาดประหลาดใจ


 บางตอนจาก พระอภัยมณี


บัดเดี๋ยวดังหงั่งเหง่งวังเวงแว่ว
สะดุ้งแล้วเหลียวแลชะแง้หา
เห็นโยคีขี่รุ้งพุ่งออกมา
ประคองพาขึ้นไปจนบนบรรพต

แล้วสอนว่าอย่าไว้ใจมนุษย์
มันแสนสุดลึกล้ำเหลือกำหนด
ถึงเถาวัลย์พันเกี่ยวที่เลี้ยวลด
ก็ไม่คดเหมือนหนึ่งในน้ำใจคน

(พระฤาษีสอนสุดสาคร)




แม้นใครรักรักมั่งชังชังตอบ
ให้รอบคอบคิดอ่านนะหลานหนา
รู้สิ่งไรไม่สู้รู้วิชา
รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี

(พระฤาษีสอนสุดสาคร)



อันนินทากาเลเหมือนเทน้ำ
ไม่ชอกช้ำเหมือนเอามีดมากรีดหิน
แค่องค์พระปฏิมายังราคิน
คนเดินดินหรือจะสิ้นคนนินทา



เขาย่อมเปรียบเทียบความว่ายามรัก     
แต่น้ำผักต้มขมชมว่าหวาน
ครั้นรักจางห่างเหินไปเนิ่นนาน
แต่น้ำตาลว่าเปรี้ยวไม่เหลียวแล



ถึงม้วยดินสิ้นฟ้ามหาสมุทร
ไม่สิ้นสุดความรักสมัครสมาน
แม้เกิดในใต้ฟ้าสุธาธาร
ขอพบพานพิศวาสไม่คลาดคลา

แม้เนื้อเย็นเป็นห้วงมหรรณพ
พี่ขอพบศรีสวัสดิ์เป็นมัจฉา
แม้เป็นบัวตัวพี่เป็นภุมรา
เชยผกาโกสุมประทุมทอง

แม้เป็นถ้ำอำไพใคร่เป็นหงส์
จะร่อนลงสิงสู่เป็นคู่สอง
ขอติดตามทรามสงวนนวลละออง
เป็นคู่ครองพิศวาสทุกชาติไป

(ตอน พระอภัยมณีเกี้ยวนางละเวง ได้ถูกนำไปดัดแปลงเล็กน้อยกลายเป็นเพลง "คำมั่นสัญญา")


 บางตอนจาก เพลงยาวถวายโอวาท


อันความคิดวิทยาเหมือนอาวุธ
ประเสริฐสุดซ่อนใส่เสียในฝัก
สงวนคมสมนึกใครฮึกฮัก
จึงค่อยชักเชือดฟันให้บรรลัย



อันอ้อยตาลหวานลิ้นแล้วสิ้นซาก
แต่ลมปากหวานหูไม่รู้หาย
แม้นเจ็บอื่นหมื่นแสนจะแคลนคลาย
เจ็บจนตายเพราะเหน็บให้เจ็บใจ





 บางตอนจาก สุภาษิตสอนหญิง


มีสลึงพึงบรรจบให้ครบบาท
อย่าให้ขาดสิ่งของต้องประสงค์
จงมักน้อยกินน้อยค่อยบรรจง
อย่าจ่ายลงให้มากจะยากนาน



จะพูดจาปราศรัยกับใครนั้น
อย่าตะคั้นตะคอกให้เคืองหู
ไม่ควรพูดอื้ออึ้งขึ้นกู
คนจะหลู่ล่วงลามไม่ขามใจ



เป็นมนุษย์สุดนิยมเพียงลมปาก
จะได้ยากโหยหิวเพราะชิวหา
แม้นพูดดีมีคนเขาเมตตา
จะพูดจาพิเคราะห์ให้เหมาะความ



รู้วิชาก็ให้รู้เป็นครูเขา
จึงจะเบาแรงตนช่วยขนขวาย
มีข้าไทใช้สอย ค่อยสบาย
ตัวเป็นนายโง่เง่าบ่าวไม่เกรง





 บางตอนจาก ขุนช้างขุนแผน ตอนกำเนิดพลายงาม


แม่รักลูก ลูกก็รู้ อยู่ว่ารัก
ใครอื่นสัก หมื่นแสน ไม่แม้นเหมือน
จะกินนอนวอนว่า เมตตาเตือน
จะจากเรือน ร้างแม่ ก็แต่กาย



ลูกผู้ชายลายมือนั้นคือยศ
เจ้าจงอตส่าห์ทำสม่ำเสมียน

(ขุนแผนสอนพลายงาม)


 บางตอนจาก นิราศภูเขาทอง

ถึงบางพูดพูดดีเป็นศรีศักดิ์
มีคนรักรสถ้อยอร่อยจิต
แม้พูดชั่วตัวตายทำลายมิตร
จะชอบผิดในมนุษย์เพราะพูดจาฯ


 บางตอนจาก นิราศพระบาท

เจ้าของตาลรักหวานขึ้นปีนต้น
เพราะดั้นด้นอยากลิ้มชิมรสหวาน
ครั้นได้รสสดสาวจากจาวตาล
ย่อมซาบซ่านหวานซึ้งตรึงถึงทรวง

ไหนจะยอมให้เจ้าหล่นลงเจ็บอก
เพราะอยากวกขึ้นลิ้นชิมของหวง
อันรสตาลหวานละม้ายคล้ายพุ่มพวง
พี่เจ็บทรวงช้ำอกเหมือนตกตาล...



ที่มาของวันสุนทรภู่

          องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ซึ่งเป็นผู้ที่มีหน้าที่ส่งเสริมและเผยแพร่ผลงาน ด้านวัฒนธรรมของประเทศสมาชิกต่างๆ ทั่วโลก ด้วยการประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติบุคคลผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมระดับโลก ในวาระครบรอบ 100 ปีขึ้นไป ประจำทุกปี โดยมีวัตถุประสงค์คือ เพื่อเผยแพร่เกียรติคุณและผลงานของผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรมระดับโลกให้ปรากฏแก่มวลสมาชิกทั่วโลก และเพื่อเชิญชวนให้ประเทศสมาชิกมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมเฉลิมฉลองร่วมกับประเทศที่มีผู้ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ

          ในการนี้ รัฐบาลไทยโดยคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ กระทรวงศึกษาธิการ จะเป็นผู้สืบค้นบรรพบุรุษไทยผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม เพื่อให้ยูเนสโกประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติและได้ประกาศยกย่อง "สุนทรภู่" ให้เป็นบุคคลผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมระดับโลก โดยในวาระครบรอบ 200 ปีเกิด เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2529 ต่อมาในปี พ.ศ. 2530 นายเสวตร เปี่ยมพงศ์สานต์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ได้ดำเนินการจัดตั้งสถาบันสุนทรภู่ขึ้น เพื่อสนับสนุนการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับชีวิตและงานของสุนทรภู่ ให้แพร่หลายในหมู่เยาวชนและประชาชนชาวไทยมากยิ่งขึ้น ดังนั้น ทางรัฐบาลจึงได้กำหนดให้ วันที่ 26 มิถุนายน ของทุกปีเป็น "วันสุนทรภู่" ซึ่งนับแต่นั้น เมื่อถึงวันสุนทรภู่ จะมีการจัดงานรำลึกถึงสุนทรภู่ตามสถานที่ต่างๆ เช่น ที่พิพิธภัณฑ์สุนทรภู่ "วัดเทพธิดาราม" และ ที่จังหวัดระยอง และมีการจัดกิจกรรมเชิดชูเกียรติคุณและส่งเสริมศิลปะการประพันธ์บทกวีจากองค์กรต่างๆ โดยทั่วไป

          ทั้งนี้ ผลงานของสุนทรภู่ยังเป็นที่นิยมในสังคมไทยอย่างต่อเนื่องตลอดมาไม่ขาดสาย และมีการนำไปดัดแปลงเป็นสื่อต่างๆ เช่น หนังสือการ์ตูน ภาพยนตร์ เพลง รวมถึงละคร มีการก่อสร้างอนุสาวรีย์สุนทรภู่ ไว้ที่ ตำบลบ้านกร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ซึ่งเป็นบ้านเกิดของบิดาของสุนทรภู่ และเป็นกำเนิดผลงานนิราศเรื่องแรกของท่านคือ นิราศเมืองแกลง

กิจกรรมที่ควรปฏิบัติ ในวันสุนทรภู่

          1. มีการจัดนิทรรศการเกี่ยวกับประวัติชีวิตและผลงาน
          2. มีการแสดงผลงานประเภทนิทานฯ ของสุนทรภู่
          3. มีการประกวด แข่งขัน ประชันสักวา ตอบคำถามเกี่ยวกับประวัติชีวิต และผลงานของสุนทรภู่






หัวข้อ: Re: ประวัติ ตำนาน เรื่องเล่า
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ กรกฎาคม 08, 2013, 08:54:39 PM
10 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับพุทธทาสภิกขุ

เนื่องในวันนี้ในครั้งอดีต วันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 เป็นวันที่พุทธทาสภิกขุ มรณภาพด้วยอาการเส้นเลือดในสมองแตก ด้วยวัย 87 ปี ทีมงาน toptenthailand ขอรำลึกถึงท่านด้วยหัวข้อ “10 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ พุทธทาสภิกขุ”

เครดิต : คุณชายสิบหน้า

แหล่งที่มา : Wiki pedia



10. มรณภาพ

(http://toptenthailand.com/2013/img/img_topten/img_icon/1373272723.jpg)

ท่านพุทธทาสภิกขุ อาพาธด้วยโรคหลอดเลือดในสมองแตก ตั้งแต่วันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๖ หลังจากที่ท่านเคยอาพาธมาหลายครั้งด้วยโรคต่าง ๆ ตามวัยและสังขารตามธรรมชาติ ในการอาพาธครั้งนี้ ท่านหมดสติ (ไม่รู้สึกตัว) แพทย์บอกว่า ถ้าเป็นในคนหนุ่มสาวคงตายแล้ว เพราะในคนหนุ่มสาว เนื้อสมองจะแน่นเต็มกระโหลกศีรษะ เลือดออกไม่มากนักก็กดเนื้อสมองได้มาก ทำให้ตายได้อย่างรวดเร็ว แต่ในคนสูงอายุ เนื้อสมองหดเล็กลง (สมองฝ่อ) จึงมีช่องว่างให้เลือดออกมาแทรกอยู่ได้โดยไม่กดเนื้อสมองมากนัก แต่ท่านก็มรณภาพด้วยอาการเส้นเลือดในสมองแตก ในวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2536

9. ได้รับการยกย่อง

(http://toptenthailand.com/2013/img/img_topten/img_icon/1373272717.jpg)

ท่านพุทธทาสภิกขุได้รับการสดุดีว่าเป็นมหาปราชญ์แห่งพุทธธรรมทางบูรพาทิศ ที่มีเกีตรติคุณไม่น้อยไปกว่าท่านนาคารชุน ปราชญ์ใหญ่ฝ่ายมหายานในอดีต ปัญญาชนทั้งไทยและต่างประเทศถือว่า ท่านเป็นนักปฏิรูปพระพุทธศาสนาที่สำคัญที่สุดรูปหนึ่งของเมืองไทย


8. ผลงานเด่น


(http://toptenthailand.com/2013/img/img_topten/img_icon/1373272711.jpg)

ผลงานเด่นของทาสพุทธทาสคืองานหนังสือ อาทิ หนังสือพุทธธรรม, ตามรอยพระอรหันต์ และคู่มือมนุษย์ และเป็นสงฆ์ไทยรูปแรกที่บุกเบิกการใช้โสตทัศนูปกรณ์สมัยใหม่สำหรับการเผยแพร่ธรรมะ และท่านมีสหายธรรมคนสำคัญ คือ ปัญญานันทภิกขุ แห่งวัดชลประทานรังสฤษฎ์ และ ท่าน บ.ช. เขมาภิรัตน์


7. สมณศักดิ์

(http://toptenthailand.com/2013/img/img_topten/img_icon/1373272705.jpg)

ท่านรับได้ชื่อ พระเงื่อม ใน พ.ศ. 2469 ต่อมาในปี 2473 เป็น พระมหาเงื่อม และเลื่อนเป็น พระครูอินทปัญญาจารย์ พระอริยนันทมุนี พระราชาคณะชั้นสามัญ , พระราชชัยกวี พระราชาคณะชั้นราช , พระเทพวิสุทธิเมธี พระราชาคณะชั้นเทพ ตามลำดับ และ สมณศักดิ์สุดท้ายคือ พระธรรมโกศาจารย์ พระราชาคณะชั้นธรรม


6. ชีวิตวัยเยาว์

(http://toptenthailand.com/2013/img/img_topten/img_icon/1373272699.jpg)

เมื่ออายุได้ 8 ขวบ บิดามารดาได้พาท่านพุทธทาสภิกขุไปฝากตัวเป็นเด็กวัดที่วัดพุมเรียง หรือวัดใหม่ ซึ่งเป็นวัดที่คนในสกุลพานิชเคยบวชสืบต่อกันมา โดยในสมัยก่อนที่จะมีโรงเรียนนั้น พ่อแม่มักจะให้ลูกชายได้อยู่ที่วัด เพื่อที่จะให้ได้รับการศึกษาขั้นต้นตามแบบโบราณ รวมทั้งจะได้มีการคุ้นเคยกับพระพุทธศาสนา


5. ชีวิตวัยหนุ่ม


(http://toptenthailand.com/2013/img/img_topten/img_icon/1373272692.jpg)

เมื่ออายุได้ 11 ขวบ ท่านพุทธทาสภิกขุได้กลับมาอยู่ที่บ้าน และเข้าเรียนที่วัดโพธาราม หรือวัดเหนือ โรงเรียนในวัดนี้เป็นโรงเรียนแผนใหม่ ซึ่งใช้หลักสูตรที่ปรับปรุงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยในสมัยนั้นมีการเกณฑ์พระจากทั่วประเทศไปอบรมครูที่วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ ก่อนที่จะกลับมาสอนยังท้องถิ่นเดิมของตน ที่วัดโพธาราม มีครูที่ไปอบรมในครั้งนั้นชื่อครูวัลย์ จากนั้นก็สืบต่อมายัง ครูทับ สุวรรณ และท่านพุทธทาสภิกขุก็ได้เล่าเรียนกับครูผู้นี้ ในสมัยก่อนที่ท่านพุทธทาสภิกขุจะมีอายุครบบวชนั้น วงการศาสนาท้องถิ่นในพุมเรียงกำลังตื่นเต้นกับการศึกษานักธรรม ซึ่งเป็นการศึกษาธรรมะแบบใหม่ที่พระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงดำริให้มีขึ้น ท่านพุทธทาสภิกขุในสมัยนั้นก็ค้นคว้าหาหนังสือนักธรรมตรี โท เอก รวมทั้งหนังสือพระอภิธรรมมาอ่าน แล้วอาศัยบ้านของตนเองเป็นเวทีสังกัจฉา คอยพูดคุยตอบโต้ปัญหาธรรมะกับผู้อื่นในละแวกเดียวกัน ซึ่งถึงแม้ท่านพุทธทาสภิกขุจะยังมีอายุน้อย แต่ก็เชี่ยวชาญและฉะฉานในข้อธรรมจนผู้ที่มาคุยด้วยต่างยอมรับ

4. บรรพชิต

(http://toptenthailand.com/2013/img/img_topten/img_icon/1373272686.jpg)

ท่านพุทธทาสภิกขุได้บวชเรียนตามประเพณี เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2469 ที่โรงอุโบสถวัดอุบล หรือวัดนอก ก่อนจะย้ายมาประจำอยู่ที่วัดพุมเรียง มีพระอุปัชฌาย์คือ พระครูโสภณเจตสิการาม (คง วิมาโล) รองเจ้าคณะเมืองในสมัยนั้น และมีพระปลัดทุ่ม อินทโชโต เจ้าอาวาสวัดอุบล และ พระครูศักดิ์ ธมฺรกฺขิตฺโต เจ้าอาวาสวัดวินัย หรือวัดหัวคู เป็นพระคู่สวด ท่านพุทธทาสภิกขุได้รับฉายาว่า อินทปญฺโญ ซึ่งแปลว่าผู้มีปัญญาอันยิ่งใหญ่ การบวชของท่านพุทธทาสภิกขุเป็นไปตามธรรมเนียม และไม่คิดที่จะบวชไม่สึก หลังจากบวชได้เพียง 10 วัน ท่านพุทธทาสภิกขุก็ได้รับโอกาสให้ขึ้นแสดงธรรม ในการนี้ท่านได้ปฏิวัติการเทศน์เสียใหม่ คือแทนที่จะเทศน์โดยอ่านจากคัมภีร์ใบลานอย่างเดียว ก็นำเนื้อหาจากหลักสูตรนักธรรมไปประกอบขยายความ ทำให้การเทศน์เป็นไปด้วยความสนุกและเข้าใจง่าย ผู้ที่ได้ฟังจึงติดใจและเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ ในขณะนั้น พระที่พอจะเทศน์ได้ในวัดล้วนแต่อิดเอื้อนไม่อยากเทศน์ จึงเป็นเป็นโอกาสให้ท่านพุทธทาสภิกขุได้ขึ้นเทศน์ทุกวันในพรรษาเทศน์ และเทศน์ทุกวันพระในช่วงนอกพรรษา ซึ่งท่านพุทธทาสภิกขุก็รักชอบที่จะทำงานนี้ นอกจากการเทศน์แล้ว ช่วงพรรษาแรกท่านพุทธทาสภิกขุยังได้เรียนนักธรรม และเพลิดเพลินอยู่กับการอ่านและเขียนหนังสือ รวมทั้งการคัดลอกและซ้อมแต่งกระทู้ จนทำให้ท่านพุทธทาสภิกขุสอบได้นักธรรมตรีในพรรษานี้เอง กิจวัตรการนั่งกับที่เป็นเวลานานทำให้ท่านพุทธทาสภิกขุเป็นโรคกระษัย แต่ท่านก็รักษาด้วยตนเองจนหายในพรรษาต่อๆ ไป


3. ครอบครัว

(http://toptenthailand.com/2013/img/img_topten/img_icon/1373272680.jpg)

บิดาของท่านพุทธทาสภิกขุชื่อ เซี้ยง พานิช ประกอบอาชีพหลักคือการค้าขายของชำ บิดาของท่านพุทธทาสภิกขุมีเชื้อสายจีน มารดาของท่านพุทธทาสภิกขุชื่อ เคลื่อน พานิช เกิดที่อำเภอท่าฉาง ท่านพุทธทาสภิกขุมีน้องสองคน ซึ่งมีอายุห่างจากท่านพุทธทาสภิกขุ 3 ปี และ 6 ปี ตามลำดับ น้องคนโตเป็นชาย ชื่อ ยี่เกย พานิช ซึ่งภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเป็น ธรรมทาส พานิช และได้เป็นกำลังหลักของคณะธรรมทานในการเผยแพร่พระพุทธศาสนา และสนองงานของท่านพุทธทาสภิกขุ ส่วนน้องสาวคนสุดท้องของท่านพุทธทาสภิกขุชื่อ กิมซ้อย พานิช ซึ่งภายหลังแต่งงานไปอยู่บ้านดอน และใช้นามสกุลสามีว่า เหมะกุล


2. เกิด

(http://toptenthailand.com/2013/img/img_topten/img_icon/1373272674.jpg)

เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๔๙ ณ บ้านกลาง ต.พุมเรียง อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี


1. ชื่อเสียงเรียงนาม

(http://toptenthailand.com/2013/img/img_topten/img_icon/1373272668.jpg)

ท่านมีนามว่า พระธรรมโกศาจารย์ ชื่อจริงท่านคือ เงื่อม อินทปัญโญ หรือเรารู้จักท่านในนาม พุทธทาสภิกขุ

**หมายเหตุ

ข้อมูลทั้งหมดที่ทาง Toptenthailand.com นำเสนอได้มาจากการสำรวจความคิดเห็นเชิงสถิติ ด้วยขั้นตอนที่ต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม ของหัวข้อนั้นๆ ทางเว็บไซต์ Toptenthailand.com มิได้มีเจตนาที่จะนำเสนอข้อมูลดังกล่าวเพื่อชี้นำ หรือ ก่อให้เกิดความแตกแยกใดๆ ในสังคมทั้งสิ้น เราและทีมงานเพียงแต่ต้องการนำเสนอข้อมูลทางสถิติที่เรารวบรวมเพื่อเป็นสาระ และเป็นการสะท้อนอีกด้านหนึ่งของสังคม ให้ผู้ใช้อินเตอร์เน็ต และประชาชน ทั่วไปรับชมเท่านั้น (โปรดใช้วิจารณญาณในการชม และบริโภคข้อมูลจาก Toptenthailand.com) และหรือในบางกรณี www.Toptenthailand.com (http://www.Toptenthailand.com) จะทำหน้าที่ เป็นสื่อกลางในการรวบรวม และนำเสนอข้อมูลในการจัดอันดับที่มีอยู่แล้วในสื่อต่างๆ ทั้งทาง Internet และสิ่งพิมพ์ โดยเราจะอ้างอิง ให้เครดิต ถึงแหล่งที่มาในทุกๆ ครั้งไป




หัวข้อ: Re: ประวัติ ตำนาน เรื่องเล่า
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ กรกฎาคม 15, 2013, 10:29:43 AM
"เข้าพรรษา" ประเพณีสำคัญของชาวพุทธ


(http://variety.teenee.com/foodforbrain/img8/153303.jpg)


วันเข้าพรรษา เป็นวันสำคัญในพุทธศาสนาวันหนึ่ง ที่พระสงฆ์จะอธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ตลอดระยะเวลาฤดูฝนที่มีกำหนดเป็นระยะเวลา 3 เดือน ตามที่พระธรรมวินัยบัญญัติไว้ โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น หรือที่เรียกติดปากกันโดยทั่วไปว่า จำพรรษา ("พรรษา" แปลว่า ฤดูฝน, "จำ" แปลว่า พักอยู่) พิธีเข้าพรรษานี้ถือเป็นข้อปฏิบัติสำหรับพระสงฆ์โดยตรง ละเว้นไม่ได้ ไม่ว่ากรณีใด ๆ ก็ตาม


การเข้าพรรษาตามปกติเริ่มนับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี (หรือเดือน 8 หลัง ถ้ามีเดือน 8 สองหน) และสิ้นสุดลงในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หรือวันออกพรรษา


วันเข้าพรรษา (วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8) หรือเทศกาลเข้าพรรษา (วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ถึง วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11) มีระยะเวลาประมาณ 3 เดือนในช่วงฤดูฝน เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่ต่อเนื่องมาจากวันอาสาฬหบูชา คือวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8


สาเหตุที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตการจำพรรษาอยู่ ณ สถานที่ใดสถานที่หนึ่งตลอด 3 เดือนแก่พระสงฆ์นั้น มีเหตุผลเพื่อให้พระสงฆ์ได้หยุดพักการจาริกเพื่อเผยแพร่ศาสนาไปตามสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นไปด้วยความยากลำบากในช่วงฤดูฝน เพื่อป้องกันความเสียหายจากการอาจเดินเหยียบย่ำธัญพืชของชาวบ้านที่ปลูกลงแปลงในฤดูฝน และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ช่วงเวลาจำพรรษาตลอด 3 เดือนนั้น เป็นช่วงเวลาและโอกาสสำคัญในรอบปีที่พระสงฆ์จะได้มาอยู่จำพรรษารวมกันภายในอาวาสหรือสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง เพื่อศึกษาพระธรรมวินัยจากพระสงฆ์ที่ทรงความรู้ ได้แลกเปลี่ยน

ประสบการณ์และสร้างความสามัคคีในหมู่คณะสงฆ์ด้วย

ในวันเข้าพรรษาและช่วงฤดูพรรษากาลตลอดทั้ง 3 เดือน พุทธศาสนิกชนชาวไทยถือเป็นโอกาสอันดีที่จะบำเพ็ญกุศลด้วยการเข้าวัดทำบุญใส่บาตร ฟังพระธรรมเทศนา ซึ่งสิ่งที่พิเศษจากวันสำคัญอื่น ๆ คือ มีการถวายหลอดไฟหรือเทียนเข้าพรรษา และผ้าอาบน้ำฝน (ผ้าวัสสิกสาฏก) แก่พระสงฆ์ด้วย เพื่อสำหรับให้พระสงฆ์ได้ใช้สำหรับการอยู่จำพรรษา โดยในอดีต ชายไทยที่เป็นพุทธศาสนิกชนเมื่ออายุครบบวช (20 ปี) จะนิยมถือบรรพชาอุปสมบทเป็นพระสงฆ์เพื่ออยู่จำพรรษาตลอดฤดูพรรษากาลทั้ง 3 เดือน โดยพุทธศาสนิกชนไทยจะเรียกการบรรพชาอุปสมบทเพื่อจำพรรษาตลอดพรรษากาลว่า "บวชเอาพรรษา"


นอกจากนี้ ในปี พ.ศ. 2551 รัฐบาลไทยได้ประกาศให้วันเข้าพรรษาเป็น "วันงดดื่มสุราแห่งชาติ" โดยในปีถัดมา ยังได้ประกาศให้วันเข้าพรรษาเป็นวันห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั่วราชอาณาจักร ทั้งนี้เพื่อรณรงค์ให้ชาวไทยตั้งสัจจะอธิษฐานงดการดื่มสุราในวันเข้าพรรษาและในช่วง 3 เดือนระหว่างฤดูเข้าพรรษา เพื่อส่งเสริมค่านิยมที่ดีให้แก่สังคมไทย


การเข้าพรรษาของพระสงฆ์ตามพระวินัยปิฎก

ตามพระวินัย พระสงฆ์รูปใดไม่เข้าจำพรรษาอยู่ ณ ที่แห่งใดแห่งหนึ่ง พระพุทธองค์ทรงปรับอาบัติแก่พระสงฆ์รูปนั้นด้วยอาบัติทุกกฎ


และพระสงฆ์ที่อธิษฐานรับคำเข้าจำพรรษาแล้วจะไปค้างแรมที่อื่นไม่ได้ แต่ถ้าหากเดินทางออกไปแล้วและไม่สามารถกลับมาในเวลาที่กำหนด คือ ก่อนรุ่งสว่าง ก็จะถือว่าพระภิกษุรูปนั้น"ขาดพรรษา" และต้องอาบัติทุกกฎเพราะรับคำนั้น รวมทั้งพระสงฆ์รูปนั้นจะไม่ได้รับอานิสงส์พรรษา ไม่ได้อานิสงส์กฐินตามพระวินัย และทั้งยังห้ามไม่ให้นับพรรษาที่ขาดนั้นอีกด้วย


ประเภทของการเข้าพรรษาของพระสงฆ์

การเข้าพรรษาตามพระวินัยแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ

ปุริมพรรษา  (เขียนอีกอย่างว่า บุริมพรรษา) คือ การเข้าพรรษาแรก เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 (สำหรับปีอธิกมาส คือ มีเดือน 8 สองหน จะเริ่มในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 หลัง) จนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หลังจากออกพรรษาแล้ว พระที่อยู่จำพรรษาครบ 3 เดือน ก็มีสิทธิที่จะรับกฐินซึ่งมีช่วงเวลาเพียงหนึ่งเดือน นับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12

ปัจฉิมพรรษา คือ การเข้าพรรษาหลัง ใช้ในกรณีที่พระภิกษุต้องเดินทางไกลหรือมีเหตุสุดวิสัย ทำให้กลับมาเข้าพรรษาแรกในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ไม่ทัน ต้องรอไปเข้าพรรษาหลัง คือวันแรม 1 ค่ำ เดือน 9 แล้วจะไปออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ซึ่งเป็นวันหมดเขตทอดกฐินพอดี ดังนั้นพระภิกษุที่เข้าปัจฉิมพรรษาจึงไม่มีโอกาสได้รับกฐิน แต่ก็ได้พรรษาเช่นเดียวกับพระที่เข้าปุริมพรรษาเหมือนกัน


ข้อยกเว้นการจำพรรษาของพระสงฆ์

แม้การเข้าพรรษานี้ถือเป็นข้อปฏิบัติสำหรับพระภิกษุโดยตรง ที่จะละเว้นไม่ได้ ไม่ว่ากรณีใด ๆ ก็ตาม แต่ว่าในการจำพรรษาของพระสงฆ์ในระหว่างพรรษานั้น อาจมีกรณีจำเป็นบางอย่าง ทำให้พระภิกษุผู้จำพรรษาต้องออกจากสถานที่จำพรรษาเพื่อไปค้างที่อื่น พระพุทธองค์ก็ทรงอนุญาตให้ทำได้โดยไม่ถือว่าเป็นการขาดพรรษาโดยมีเหตุจำเป็นเฉพาะกรณี ๆ ไป ตามที่ทรงระบุไว้ในพระไตรปิฎก ซึ่งส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับการพระศาสนาหรือการอุปัฏฐานบิดามารดา แต่ทั้งนี้ก็จะต้องกลับมาภายในระยะเวลาไม่เกิน 7 วัน การออกนอกที่จำพรรษาล่วงวันเช่นนี้เรียกว่า "สัตตาหกรณียะ" ซึ่งเหตุที่ทรงระบุว่าจะออกจากที่จำพรรษาไปได้ชั่วคราวนั้นเช่น


- การไปรักษาพยาบาล หาอาหารให้ภิกษุหรือบิดามารดาที่เจ็บป่วย เป็นต้น กรณีนี้ทำได้กับสหธรรมิก 5 และมารดาบิดา

- การไประงับภิกษุสามเณรที่อยากจะสึกมิให้สึกได้ กรณีนี้ทำได้กับสหธรรมิก 5

- การไปเพื่อกิจธุระของคณะสงฆ์ เช่น การไปหาอุปกรณ์มาซ่อมกุฏิที่ชำรุด หรือ การไปทำสังฆกรรม เช่น สวดญัตติจตุตถกรรมวาจาให้พระผู้ต้องการอยู่ปริวาส เป็นต้น

- หากทายกนิมนต์ไปทำบุญ ก็ไปให้ทายกได้ให้ทาน รับศีล ฟังเทสนาธรรมได้ กรณีนี้หากโยมไม่มานิมนต์ ก็จะไปค้างไม่ได้.


ซึ่งหากพระสงฆ์ออกจากอาวาสแม้โดยสัตตาหกรณียะล่วงกำหนด 7 วันตามพระวินัย ก็ถือว่า ขาดพรรษา และเป็นอาบัติทุกกฎเพราะรับคำ (รับคำอธิษฐานเข้าพรรษาแต่ทำไม่ได้)

ในกรณีที่พระสงฆ์สัตตาหกรณียะและกลับมาตามกำหนดแล้ว ไม่ถือว่าเป็นอาบัติ และสามารถกลับมาจำพรรษาต่อเนื่องไปได้ และหากมีเหตุจำเป็นที่จะต้องออกจากที่จำพรรษาไปได้ตามวินัยอีก ก็สามารถทำได้โดยสัตตาหกรณียะ แต่ต้องกลับมาภายในเจ็ดวัน เพื่อไม่ให้พรรษาขาดและไม่เป็นอาบัติทุกกฎดังกล่าวแล้ว


ประเพณีถวายเทียนพรรษา

ประเพณีหนึ่งที่เนื่องด้วยวันเข้าพรรษาและจัดเป็นประเพณีที่สำคัญและสืบทอดกันเรื่อยมา ก็คือ ประเพณีหล่อเทียนพรรษา สำหรับให้พระภิกษุและพุทธศาสนิกชนทั่วไปได้จุดบูชาพระประธานในโบสถ์ซึ่งเทียนพรรษาสามารถอยู่ได้ตลอด 3 เดือน และเป็นกุศลทานอย่างหนึ่งในการให้ทานด้วยแสงสว่าง ซึ่งในปัจจุบันได้พัฒนามาเป็นงานประเพณี "ประกวดเทียนพรรษา" ของแต่ละจังหวัดโดยจัดเป็นขบวนแห่ทั้งทางบกและทางน้ำ


ประเพณีถวายผ้าอาบน้ำฝน (ก่อนเข้าพรรษา)

ผ้าอาบน้ำฝน หรือ ผ้าวัสสิกสาฏก คือผ้าเปลี่ยนสำหรับสรงน้ำฝนของพระสงฆ์ เป็นผ้าลักษณะเดียวกับผ้าสบง โดยปรกติเครื่องใช้สอยของพระภิกษุตามพุทธานุญาตที่ให้มีประจำตัวนั้น มีเพียง อัฏฐบริขาร ซึ่งได้แก่ สบง จีวร สังฆาฏิ เข็ม บาตร รัดประคด หม้อกรองน้ำ และมีดโกน แต่ช่วงหน้าฝนของการจำพรรษาในสมัยก่อนนั้น พระสงฆ์ที่มีเพียงสบงผืนเดียวจะอาบน้ำฝนจำเป็นต้องเปลือยกาย ทำให้ดูไม่งามและเหมือนนักบวชนอกศาสนา นางวิสาขามหาอุบาสิกาจึงคิดถวาย "ผ้าวัสสิกสาฏก" หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า ผ้าอาบน้ำฝน เพื่อให้พระสงฆ์ได้ผลัดเปลี่ยนกับผ้าสบงปกติ จนเป็นประเพณีทำบุญสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน


ประเพณีถวายผ้าจำนำพรรษา (หลังออกพรรษา)

ผ้าจำนำพรรษา หรือ ผ้าวัสสาวาสิกสาฎก เป็นผ้าไตรจีวรที่ถวายแก่พระสงฆ์ที่อยู่จำพรรษาครบ 3 เดือน ที่ผ่านวันปวารณาไปแล้ว หรือที่ผ่านวันปวารณาและได้กรานและอนุโมทนากฐินแล้ว ซึ่งผ้าจำนำพรรษานี้พระสงฆ์สามารถรับได้ภายในกำหนด 5 เดือน ที่เป็นเขตอานิสงส์กฐิน คือ ตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4

แต่สำหรับพระสงฆ์ที่จำพรรษาครบ 3 เดือน และผ่านวันปวารณาไปแล้ว ซึ่งไม่ได้กรานและอนุโมทนากฐิน ก็สามารถรับและใช้ผ้าจำนำพรรษาได้เช่นกัน แต่สามารถรับได้ในช่วงกำหนดเพียง 1 เดือน ในเขตจีวรกาลสำหรับผู้ไม่ได้กรานกฐินเท่านั้น


การถวายผ้าจำนำพรรษาในช่วงดังกล่าว เพื่ออนุเคราะห์แก่พระสงฆ์ที่ต้องการจีวรมาเปลี่ยนของเก่าที่ชำรุด พุทธศาสนิกชนจึงนิยมถวายผ้าจำนำพรรษามาตั้งแต่สมัยพุทธกาล






หัวข้อ: Re: ประวัติ ตำนาน เรื่องเล่า
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ สิงหาคม 12, 2013, 08:40:40 PM
Mother's day

(https://fbcdn-sphotos-b-a.akamaihd.net/hphotos-ak-ash3/1097958_569444939763930_166013487_n.jpg)

ประวัติความเป็นมาของวันแม่แห่งชาติ

(https://fbcdn-sphotos-g-a.akamaihd.net/hphotos-ak-prn1/21671_431244253611273_53581940_n.jpg)

วันแม่แห่งชาติในประเทศไทย ปัจจุบันตรงกับวันที่ 12 สิงหาคมของทุกปี


ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ ราชินีนาถ โดยเริ่มใช้วันดังกล่าวเป็นวันแม่แห่งชาติเมื่อ พ.ศ. 2519 ก่อนหน้านั้นเคยใช้วันที่ 10 มีนาคม, 15 เมษายน, และ 4 ตุลาคม


สัญลักษณ์ที่ใช้ในวันแม่คือ ดอกมะลิ ซึ่งมีสีขาว ส่งกลิ่นหอมได้ไกลและได้นาน อีกทั้งยังออกดอกได้ตลอดทั้งปี โดยตีความเปรียบกับความรักบริสุทธิ์ของแม่ที่มีต่อลูกไม่เสื่อมคลาย


ความเป็นมาของวันแม่แห่งชาติในประเทศไทย


งานวันแม่จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2486 ณ.สวนอัมพร โดยกระทรวงสาธารณสุข แต่ช่วงนั้นเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 งานวันแม่ในปีต่อมาจึงต้องงดไป เมื่อวิกฤติสงครามสงบลง หลายหน่วยงานได้พยายามให้มีวันแม่ขึ้นมาอีก แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร และมีการเปลี่ยนกำหนดวันแม่ไปหลายครั้ง ต่อมาวันแม่ที่รัฐบาลรับรอง คือวันที่ 15 เมษายน โดยเริ่มจัดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 แต่ก็ต้องหยุดลงอีกในหลายปีต่อมา เนื่องจากกระทรวงวัฒนธรรมถูกยุบไป ส่งผลให้สภาวัฒนธรรมแห่งชาติซึ่งรับหน้าที่จัดงานวันแม่ขาดผู้สนับสนุน


ต่อมาสมาคมครูคาทอลิกแห่งประเทศไทย ได้จัดงานวันแม่ขึ้นอีกครั้ง ในวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2515 แต่จัดได้เพียงปีเดียวเท่านั้น จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2519 คณะกรรมการอำนวยการสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในราชูปถัมภ์ จึงได้กำหนดวันแม่ขึ้นใหม่ให้เป็นวันที่แน่นอน โดยถือเอาวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ ราชินีนาถ วันที่ 12 สิงหาคมเป็นวันแม่แห่งชาติ และกำหนดให้ดอกไม้สัญลักษณ์ของวันแม่ คือ ดอกมะลิ นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา


(http://img.kapook.com/u/patcharin/Variety/Flower/jasmine2.jpg)

แม่ เป็นภาระให้แก่ลูกทุกคนมาตั้งแต่เกิด นั่นเป็นความจริงที่เราไม่อาจจะปฏิเสธได้ก็ลองคิดดูสิ ตั้งแต่เราเกิดมายังไม่เคยเห็นหน้าค่าตากันเลย อยู่ดีๆผู้หญิงคนนี้ก็มาโอบอุ้ม ถูกเนื้อต้องตัวเรามิวายที่เราจะแหกปากร้องไห้ขับไล่ไสส่งยายผู้หญิงคนนี้ขนาดไหน เธอก็ยังพยายามปลอบโยนเห่กล่อมเราอยู่นั่นแหละเป็นภาระให้เราต้องจำใจเงียบยอมนอนดูดนมเธออยู่จั่บ ๆ ๆ

พอเราเริ่มเตาะแตะตั้งไข่จะเดินไปไหนต่อไหนมั่งคุณเธอก็ยังคอยเรียกหาเราอยู่นั่นแหละ

"มานี่มาลูก มานี่มา อีกนิดเดียวลูก อีกนิดเดียว อีกก้าวเดียว" ไม่รู้จะเรียกทำไมนักหนาเราก็เดินล้มลุกคลุกคลานอยู่เห็นมั้ยเป็นภาระที่เราต้องเดินไปให้เธอกอดอีก

โตขึ้นมาอีกนิดเราเริ่มกินอาหารได้หล่อนก็เอาอะไรนักหนาไม่รู้เละ ๆ เทะ ๆมาบดให้เรากิน เราจะไม่กินก็ไม่ได้เดี๋ยวแม่จะน้อยใจก็เอาวะเอาซะหน่อยเคี้ยวไปเเจ่บ ๆอย่างนั้นแหละ แม่คุณก็ยิ้มปลื้มคงนึกว่าเราอร่อยตายล่ะมั้งนั่นน่ะกล้วยบดนะจ๊ะ เธอจ๋าในปากฉันตอนนี้น่ะถ้าคิดว่ามันอร่อยขนาดนั้น ทำไมไม่ลองทานเองดูมั่งล่ะ

ทีนี้พอเราเริ่มพูดจารู้เรื่องขึ้นมาหน่อย คราวนี้ยังไงล่ะผู้หญิงคนนี้กลับขับไล่ไสส่งให้เราไปโรงเรียนซะอีกไม่ไปก็ไม่ได้ด้วยนะ บางทีมีตีเราเข้าให้อีกภาษาอะไรนักก็ไม่รู้ เอามาให้เราหัดอ่านหัดเรียนใช่มั้ย ลองคิดดูนะสัปดาห์หนึ่งต้องไปโรงเรียนตั้งห้าวันน่ะมันภาระหนักหนาแก่เราแค่ไหน

แต่พอถึงเวลาเราจะดูทีวี ดูหนังการ์ตูนนอนดึกขึ้นมาสักหน่อยลองนึกย้อนไปสิ ใครกันเคี่ยวเข็ญให้เราไปนอนด้วยตัวเองง่วงจะนอนคนเดียวก็ไม่ได้นะ ต้องบังคับให้เราไปนอนเป็นเพื่อนด้วย ใช่มั้ย ที่พูดนี่ไม่ใช่ลำเลิกหรอกนะเพียงแค่อยากให้เห็นใจกัน บ้างเท่านั้น

วันเวลาผ่านไป เราโตขึ้นแต่แม่ก็ยังไม่ยอมโตตามเราสักที ลูกอยากจะทำผมทำเผ้าแต่งเนื้อเเต่งตัวให้มันดูอินเทรนด์ดูทันสมัย ใคร ใครกันเป็นตัวสกัดดาวรุ่งพูดแล้วขนลุกผู้หญิงคนนี้มีพัฒนาการไม่คืบหน้าไปไหนเลย..ว่ามั้ย

พอเราสำเร็จจบการศึกษาเเล้วเป็นยังไง... เธอร้องไห้ครับ เชื่อเถอะว่าเธอต้องร้องไห้ ถ้าเราไม่เห็นก็แปลว่าเธอต้องแอบร้องไห้มีอย่างที่ไหนเราคร่ำเคร่งร่ำเรียนมาแทบตาย แล้วตัวเองแท้ ๆ ที่เป็นคนเริ่มเรื่อง พอเราเรียบจบแทนที่จะดีใจดันมาร้องไห้ มีอย่างที่ไหน

ดีนะว่าเราเข้าใจ คู่มือการเลี้ยงแม่ก็เลยทำใจได้ ฝากเอาไว้ก่อนเถอะ ตอนนี้ขอไปฉลองการสำเร็จการศึกษากับพวกเพื่อนๆที่นอกบ้านก่อนก็แหมเรียนจบทั้งที จะมาให้นั่งดูผู้หญิงแก่ ๆนั่งร้องไห้ทำไมล่ะ..ใช่มั้ย

เป็นหนุ่มเป็นสาวกันแล้วนี่ คราวนี้ใครๆก็ต้องอยากมีแฟน คนโน้นก็ไม่ดีคนนี้ก็เรื่องมาก ผมยาวไปมั่งล่ะดูไม่มีความรับผิดชอบมั่งล่ะ...แม่ แม่จะไปรู้อะไรแม่เคยคบกับเขาเหรอ

ไม่ใช่แค่เรื่องคู่ครองเท่านั้นนะ แม่เขายังอยากรู้ไปจนถึงเรื่องอาชีพการงานด้วยว่าเราจะไปทำอะไร อยากเป็นอะไร

แม่ครับ แม่ไม่รู้สักเรื่องจะได้มั้ยพวกเราจะเป็นอะไรมันก็เรื่องของพวกเราอนาคตของเรา ขอให้เราได้ตัดสินมันเอง แต่เรารับรองกับแม่ได้อย่างหนึ่งว่า เราจะไม่เป็นเหมือนแม่หรอก... เชย

นับจากบรรทัดแรกจนมาถึงบรรทัดนี้ เวลาก็ผ่านไปหลายปีแล้วสมควรที่พวกเราจะแต่งงานมีครอบครัวเป็นของตนเองสักที ว่าแล้วเราก็ย้ายออกจากบ้านแม่ มายืนด้วยลำแข้งของตัวเองอย่างที่แม่เคยพูดไง แล้วทำไมต้องมาทำตาละห้อยด้วยล่ะ วันที่เราย้ายออกมาน่ะมันก็ไม่ได้ใกล้มันก็ไม่ได้ไกลหรอกนะ ที่ย้ายออกมาน่ะ แต่เวลามันรัดตัวจริงๆใช้โทร.คุยกันก็ได้นะแม่นะ

ถึงวันที่เรามีลูก แม่ยังพยายามอยากมาทำตัวเป็นภาระกับลูกเราด้วย เราบอกแม่ว่าไม่ต้องมายุ่งหรอก เราดูแลลูกของเราได้ เด็กสมัยนี้มันไม่เหมือนกับสมัยแม่แล้วล่ะ

แม่อายุเกือบหกสิบปีแล้ว โทร.มาไอแค่ก ๆ บอกไม่ค่อยสบาย เราบอกแม่ว่าอย่าคิดมาก ในใจเรารู้อยู่แล้วว่าแม่พยายามเรียกร้องความสนใจ นั่นเป็นพัฒนาการตามธรรมชาติของคุณแม่วัยนี้

จวบจนกระทั่งวันหนึ่ง คุณโทร.กลับไปที่บ้านแม่ แต่... ไม่มีคนรับสายแล้ว อย่าเพิ่งตกใจ แม่อาจจะออกไปทำบุญที่วัดตามประสาคนแก่ก็ได้ ลองโทร.เข้ามือถือแม่ดูซิ...ไม่มีสัญญาณตอบรับจากเลขหมายที่ท่านเรียก...

อย่าเพิ่งด่วนสรุป มือถือแม่อาจจะแบตหมดก็ได้ ผู้หญิงคนนี้กระดูกเหล็กจะตายไปเธอต้องไม่เป็นอะไรแน่ ๆ คิดฟุ้งซ่านไปได้ยังไงแม่ก็ต้องรอเราอยู่เหมือนเดิมน่ะแหละ ไปหาเมื่อไหร่ก็ต้องเจอ อย่างมากแกก็อาจจะงอนนิดๆหน่อยๆพอเห็นหลานตัวเล็กๆวิ่งเข้าไปกอดก็ขี้คร้านจะอ่อนยวบเป็นขี้ผึ้ง หลายวันผ่านไปทำไมแม่ยังไม่โทร.กลับมาอีกนะ ทำบุญตักบาตรก็ไม่น่าจะรอคิวนานขนาดนี้ ชาร์จแบตมือถือไม่เต็มก็เป็นไปไม่ได้ ต่อให้เป็นแบตเตอรี่รถสิบล้อป่านนี้ไฟทะลักแล้ว

วันนี้แวะไปหาแม่สักหน่อยดีกว่า ระหว่างทางที่คุณขับรถไป ลูกคุณซนเป็นลิงอยู่ข้างๆประโยคมากมายที่หลุดจากปากคุณ ล้วนเเต่เป็นคำที่แม่คุณเคยพูดมาแล้วทั้งสิ้น คุณเพิ่งสัมผัสได้ ภาพเก่าๆมากมายที่ผู้หญิงคนนั้นทำวิ่งวนอยู่ในหัวคุณ ช่างเถอะ.. เดี๋ยวเจอเธอแล้วคุณจะสารภาพผิด แล้วทำทุกอย่างให้มันดีขึ้น แล้วคุณก็ได้เจอคนที่คุณรู้สึกว่าเธอเป็นภาระให้กับคุณมาตั้งแต่เกิด

ผู้หญิงคนนั้น นอนตายในท่าที่คอยคุณมาตลอดชีวิต...


ขอขอบคุณข้อมูลจาก Forward Mail


(http://guru.sanook.com/picfront/pedia/5223__09082007103817.jpg)


หัวข้อ: Re: ประวัติ ตำนาน เรื่องเล่า
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ สิงหาคม 21, 2013, 09:36:38 AM
วันนี้ (21 ส.ค.) วันที่ 15 เดือน 7 ตามปฏิทินจีนโบราณ เป็นวันสารทจีน วันสำคัญที่ลูกหลานชาวไทยเชื้อสายจีนจะแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ โดยพิธีเซ่นไหว้ และยังถือเป็นเดือนที่ภพภูมิอื่นเปิดให้วิญญาณทั้งหลายมารับกุศลผลบุญได้ค่ะ ดูเกร็ดเรื่องวันสารทจีน คลิก http://hilight.kapook.com/view/14 (http://hilight.kapook.com/view/14)


(http://www.thaigold.info/Board/uploads/monthly_08_2013/post-775-0-67597700-1377051208_thumb.jpg)


หัวข้อ: Re: ประวัติ ตำนาน เรื่องเล่า
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ สิงหาคม 21, 2013, 11:01:12 AM
ที่มาของวันสารทจีน
วันสารทจีน (鬼节/中元节)


พี่จิ๋วเชื่อว่าน่าจะมีน้อง ๆ หลายคนสงสัยว่า "วันสารทจีน" ภาษาจีนกลางเรียกว่าอะไรกันแน่น่ะ แล้วมีที่มาที่ไปอย่างไร วันนี้พี่จิ๋วมีข้อมูลให้น้อง ๆ ได้คลายข้อสงสัยกันค่ะ
ตามปฎิทินจีนโบราณ ทุกวันที่ 15 เดือน 7 เป็นวันหรือเทศกาลสำคัญที่ตกทอดกันมาชาวไทยอย่างเราจะรู้จักกันว่า "วันสารทจีน" ซึ่งชาวจีนลัทธิเต๋าเรียกกันว่า " 中元节 จงเอวียน เจี๋ย" หากเป็นชาวจีนที่นับถือพุทธจะเรียกว่า “盂兰盆节 อวี๋หลัน เผินเจี๋ย" และชาวบ้านชาวจีนจะเรียกกันติดปากว่าวัน "鬼节 กุ่ย เจี๋ย (วันผี)"
วันนี้(15/08/2008)ด้วยความสงสัยว่าในปัจจุบันชาวจีนเรียกวัน "สารทจีน"กันติดปากว่าอะไรกันบ้างน่ะ จึงได้สอบถามเพื่อนชาวจีนจำนวน 10 คนว่าวันนี้ (วันสารทจีน)ชาวจีนเรียกว่าอะไร คำตอบที่พบทำให้ต้องตกใจหงายหลังเพราะดันมีคำตอบที่มากกว่าที่กล่าวไว้ในข้างต้นค่ะ บางคนเค้าก็บอกกันว่าเป็นวัน "七月节 ชีเอวี้ย เจี๋ย " บางคนก็บอกว่าเป็นวัน "七姐诞 ชี เจี่ยต้าน" บ้างก็ว่า "七月半鬼节 ชี เอวี้ยป้านกุ่ยเจี๋ย" ในที่สุดจึงได้ข้อสรุปมาว่า ส่วนใหญ่ชาวจีนจะเรียกวันสารทจีนโดยรู้กันทั่วประเทศว่า "鬼节 กุ่ย เจี๋ย (วันผี)" ซึ่งกล่าวกันได้ว่าเป็นภาษาพูด หากเป็นทางการจะเรียกว่าวัน" 中元节 จงเอวียน เจี๋ย" แต่ที่มีคำเรียกกันอย่างมากมายอาจเนื่องจากแต่ละเมืองอาจมีภาษาเรียกในท้องถิ่นที่แตกต่างหรือมีเรื่องเล่าที่สืบทอดต่อกันมาแตกต่างกันไปนั้นเอง
วันสารทจีน ลูกหลานจะแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษโดยพิธีเซ่นไหว้ โดยหญิงที่แต่งงานแล้วไม่สามารถที่จะกลับมาไหว้บรรพบุรุษของตนเองนอกเสียจากมีพ่อหรือแม่ของตนเสียชีวิตไปแล้วจึงสามารถกลับมาบ้านตนเองเพื่อกราบไหว้ได้ แต่หากพ่อหรือแม่ของฝ่ายหญิงที่แต่งงานแล้วยังไม่เสียชีวิต ฝ่ายหญิงก็ต้องไหว้บรรพบุรุษของบ้านสามีนั้นเอง (ข้อมูลตรงนี้ต้องขอขอบคุณเพื่อนชาวจีนของพี่จิ๋วชื่อสวี อ้ายจวี๋ ที่ให้ข้อมูลแนะนำมา)
แหล่งที่มาจากบางที่กล่าวไว้ว่า เรื่องวันสารทจีนนี้ได้ไปปะปนกับเรื่องของพระโมคคัลลานะ ที่ช่วยมารดาให้พ้นจากนรก จึงมีความเชื่อว่าเป็นเวลาที่ประตูนรกนั้นได้ถูกเปิด เพื่อให้บรรดาภูตผีออกเร่ร่อนตามสถานที่ต่างๆ ชาวจีนจะมีการเซ่นไหว้เพิ่มขึ้นมาอีกพิธีหนึ่ง คือ ในตอนเช้าจะเซ่นไหว้เจ้าที่ และเซ่นไหว้บรรพบุรุษ ตอนบ่ายจะเซ่นไหว้ผีไม่มีญาติ หรือบรรพบุรุษต้นตระกูลของชาวจีน ที่ล่วงลับไปแล้ว แต่ไม่มีลูกหลานสืบสกุล แต่ในบางแห่งก็นิยมไหว้ในตอนเช้าด้วยเช่นกัน ประเพณีนี้ได้ยึดถือปฏิบัติสืบทอดกันมายาวนาน
ในรอบหนึ่งปีชาวจีนจะมีไหว้เจ้าใหญ่ 8 ครั้ง การไหว้สารทจีนเป็นการไหว้ครั้งที่ 5 ตรงกับวันที่ 15 เดือน 7 ซึ่งถือกันว่าเป็นเดือนผี เป็นเดือนที่ประตูนรกปิดเปิด ให้ผีทั้งหลายมารับกุศลผลบุญได้


การไหว้
การไหว้ในเทศกาลสารทจีนต่างจากการไหว้ในเทศกาลอื่นๆ ตรงที่แบ่งการไหว้ออกเป็น 3 ชุด
ชุดแรก สำหรับไหว้เจ้าที่
จะไหว้ในตอนเช้า มีอาหารคาวหวาน ขนมไหว้ก็ใช้ ถ้วยฟู กุ้ยไช่ ซึ่งต้องมีสีแดงแต้มเป็นจุดเอาไว้ ส่วนขนมไหว้พิเศษที่ต้องมี ซึ่งเป็นประเพณีของสารทจีน คือ ขนมเข่ง ขนมเทียน นอกจากนั้นก็มีผลไม้ น้ำชา หรือเหล้าจีน และกระดาษเงิน กระดาษทอง

ชุดที่สอง สำหรับไหว้บรรพบุรุษ
คล้ายของไหว้เจ้าที่ พร้อมด้วยกับข้าวที่ บรรพบุรุษชอบ ตามธรรมเนียมต้องมีน้ำแกง หรือขนมน้ำใสๆ วางข้างชามข้าวสวย และน้ำชา จัดชุดตามจำนวนของบรรพบุรุษ ถ้าเป็นคนมีฐานะก็นิยมไหว้โหงวแซ คือมี เป็ด ไก่ หมู ตับ ปลา พร้อมด้วยกับข้าวอีกหลายอย่าง แล้วแต่ว่าจะจัดที่บรรพบุรุษชอบ หรือจะจัดแบบที่ลูกหลานคนที่ได้กินจริงชอบ

แต่ตามธรรมเนียมการไหว้บรรพบุรุษ ต้องมีของน้ำสำหรับซดให้คล่องคอ จะเป็นน้ำแกงก็ได้ หรือเป็นขนม น้ำใส ๆ เช่น อี๊ (คือขนมบัวลอย) ก็ได้ วางเคียงกับชามข้าวสวยและน้ำชา ของหวานก็มี ขนมเข่ง ขนมเทียน ผลไม้ และกระดาษเงินกระดาษทอง ที่ขาดไม่ได้ก็คือ ขนมเข่ง ขนมเทียน ผลไม้ และกระดาษเงินกระดาษทอง

ชุดที่สาม สำหรับไหว้วิญญาณพเนจร
ผีไม่มีญาติ ซึ่งไม่มีลูกหลานกราบไหว้ เรียกว่า ไป๊ฮ้อเฮียตี๋ หรือบางแห่งเรียกว่า ฮ้อเฮียตี๋

จะต้องไหว้นอกบ้าน ของไหว้มีทั้งของคาวหวาน กับผลไม้ตามต้องการ และที่พิเศษคือ มีข้าวหอมแบบจีนโบราณ คอปึ่ง เผือกนึ่งผ่าซีกเป็นเสี้ยวใส่ถาด เส้นหมี่ห่อใหญ่ เหล้า น้ำชา และกระดาษเงินกระดาษทองแบบเฉพาะ ที่เรียกว่า อ่วงแซจิว จัดทุกอย่างวางอยู่ด้วยกันสำหรับเซ่นไหว้

พิธีไหว้
การไหว้เจ้าที่ จะไหว้ก่อนในตอนเช้า เผากระดาษเงินกระดาษทองจนเรียบร้อย สายๆ จึงตั้งโต๊ะไหว้บรรพบุรุษและไหว้ฮ้อเฮียตี๋ บางบ้านนิยมไหว้ตอนบ่าย ถ้าไหว้พร้อมกัน ให้ตั้งโต๊ะแยกจากกัน แต่เผากระดาษเงินกระดาษทองร่วมกันได้ สำหรับการไหว้ขนมเข่งขนมเทียนในเทศกาลสารทจีนนี้ ที่เมืองจีนไม่มี ขนมที่ใช้ไหว้ที่เมืองจีนจะเป็นขนม 5 อย่าง เรียกว่า “โหงวเปี้ย” หรือ เรียกชื่อเป็นชุดว่า ปัง เปี้ย หมี่ มั่ว กี

ปัง คือ ขนมทึงปัง เป็นขนมที่ทำจากน้ำตาล
เปี้ย คือ ขนมหนึงเปี้ย คล้ายขนมไข่
หมี่ คือ ขนมหมี่เท้า ทำจากแป้งข้าวเจ้า ข้างในไส้เต้าซา
มั่ว คือ ขนมทึกกี่ เป็นขนมข้าวพองสีแดง ตรงกลางมีไส้เป็นแผ่นบาง
กี คือ ขนมทึงกี ทำเป็นชิ้นใหญ่ยาว เวลาจะกินต้องตัดเป็นชิ้นเล็กๆ

เนื่องจากที่เมืองไทยหาส่วนผสมที่ใช้ทำขนมทั้งห้านี้ไม่ได้ครบถ้วน จึงงดไป แล้วเปลี่ยนมาเป็นการไหว้ขนมเข่ง ขนมเทียน ในการไหว้เทศกาลสารทจีนแทน
ปัจจุบันชาวจีนแผ่นดินใหญ่ยังคงให้ความสำคัญกับวันสารทจีน เนื่องจากเป็นวันที่แสดงถึงความเคารพและความกตัญญูต่อบรรพบุรุษไม่มีวันเสื่อมคลาย**

จิรวรรณ จิรันธร

แหล่งอ้างอิงเพิ่มเติมจาก http://zhidao.baidu.com (http://zhidao.baidu.com)
http://www.decha.com (http://www.decha.com)...pic.php?id=1107


หัวข้อ: Re: ประวัติ ตำนาน เรื่องเล่า
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ พฤศจิกายน 24, 2013, 11:12:43 AM
ตำนานของดอกกุหลาบ

(https://fbcdn-sphotos-c-a.akamaihd.net/hphotos-ak-frc3/1470348_774041402613371_186900124_n.jpg)


กุหลาบเป็นดอกไม้ที่นิยมปลูกไว้ชื่นชมมาแต่โบราณ ประมาณกันว่ากุหลาบเกิดขึ้นเมื่อกว่า 70 ล้านปีมาแล้ว เคยมีการค้นพบฟอสซิลของกุหลาบใน รัฐโคโลราโด และ รัฐโอเรกอน ประเทศสหรัฐอเมริกาและได้พิสูจน์ว่ากุหลาบป่าเป็นพืชที่มีอายุถึง 40 ล้านปี แต่กุหลาบป่าสมัยโลกล้านปีนี้ มีรูปร่างหน้าตาไม่เหมือนกุหลาบสมัยนี้ เนื่องจากมนุษย์ได้นำเอากุหลาบป่ามาปลูกและผสมพันธุ์ ขยายพันธุ์เป็นพันธุ์ต่างๆ มากมาย

        ความจริงแล้วกำเนิดของกุหลาบหรือกุหลาบป่านี้มีเฉพาะในแถบบริเวณเหนือเส้นศูนย์สูตรของโลกเท่านั้น คือกำเนิดในภาคกลาง

ของทวีปเอเชีย แล้วแพร่ขยายพันธุ์ไปตลอดซีกโลกเหนือ ไม่ว่าจะเป็นแถบที่มีอากาศหนาวจัดอย่าง อาร์กติก อลาสก้า ไซบีเรีย หรือแถบอากาศร้อนอย่าง อินเดีย แอฟริกาเหนือ แต่ในบริเวณแถบใต้เส้นศูนย์สูตรอย่างทวีปออสเตรเลีย หรือเกาะต่างๆ ในมหาสมุทรรวมทั้งแอฟริกาใต้ ไม่เคยมีปรากฏว่ามีกุหลาบป่าเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติเลย

         บางตำนานกล่าวว่ากุหลาบเกิดจากการชุมนุมของบรรดาทวยเทพ เพื่อประทานชีวิตใหม่ให้กับนางกินรีนางหนึ่ง ซึ่งเทพธิดาแห่งบุปผาชาติ หรือ คลอริส บังเอิญไปพบนางนอนสิ้นชีพอยู่ ในตำนานนี้กล่าวว่า อโฟรไดท์ เป็นเทพผู้ประทานความงามให้ มีเทพอีกสามองค์ประทานความสดใส เสน่ห์ และความน่าอภิรมย์ และมี เซไฟรัส ซึ่งเป็นลมตะวันตกได้ช่วยพัดกลุ่มเมฆ เพื่อเปิดฟ้าให้กับแสงของเทพ อพอลโล หรือแสงอาทิตย์ส่องลงมาเพื่อประทานพรอมตะ จากนั้น ไดโอนีเซียส เทพเจ้าแห่งเหล้าองุ่นก็ประทานน้ำอมฤต และกลิ่นหอม เมื่อสร้างบุปผาชาติดอกใหม่นี้ขึ้นมาได้แล้ว เทพทั้งหลายก็เรียกดอกไม้ซึ่งมีกลิ่นหอมและทรงเสน่ห์นี้ว่า Rosa จากนั้น เทพธิดาคลอริส ก็รวบรวมหยดน้ำค้างมาประดับเป็นมงกุฎ เพื่อมอบให้ดอกไม้นี้เป็นราชินีแห่งบุปผาชาติทั้งมวล จากนั้นก็ประทานดอกกุหลาบให้กับเทพ อีโรส ซึ่งเป็นเทพแห่งความรัก กุหลาบจึงกลายเป็นสัญลักษณ์ของความรัก แล้วเทพ อีโรส ก็ประทานกุหลาบนี้ให้แก่ ฮาร์โพเครติส ซึ่งเป็นเทพแห่งความเงียบ เพื่อที่จะเก็บซ่อนความอ่อนแอของทวยเทพทั้งหลาย ดอกกุหลาบจึงกลายเป็นสัญลักษณ์ของความเงียบและความเร้นลับอีกอย่างหนึ่ง

           กุหลาบกลายเป็นของขวัญ ของกำนัลสำหรับการแสดงความรัก และมักจะมีผู้เปรียบเทียบความงามของผู้หญิงเป็นเสมือนดอกกุหลาบ และผู้หญิงคนแรกในประวัติศาสตร์โลกที่ได้รับสมญาว่าเป็นผู้หญิงงามเสมือนดอกกุหลาบคือ พระนางคลีโอพัตรา ซึ่งพระนางยังได้เคยต้อนรับ มาร์ค แอนโทนี คนรักของพระนาง ในห้องซึ่งโรยด้วยดอกกุหลาบหนาถึง 18 นิ้ว หอมฟุ้งไปด้วยกลิ่นกุหลาบ



(http://www.oknation.net/blog/home/user_data/file_data/201311/24/670746535.jpg)


ตำนานดอกกุหลาบในเมืองไทย

(http://www.oknation.net/blog/home/user_data/file_data/201311/24/67074aa84.jpg)


กุหลาบมาจากคำว่า "คุล" ในภาษาเปอร์เชีย แปลว่า "สีแดง ดอกไม้ หรือดอกกุหลาบ" และเข้าใจว่าจากเปอร์เซียได้แพร่เข้าไปในอินเดีย เพราะในภาษาฮินดีมีคำว่า "คุล" แปลว่า "ดอกไม้" และคำว่า "คุลาพ" หมายถึงกุหลาบอย่างที่ไทยเราเรียกกัน แต่ออกเสียงเป็น "กุหลาบ"  ส่วนคำว่า "Rose" ในภาษาอังกฤษนั้นมาจากคำว่า "Rhodon" ที่แปลว่ากุหลาบในภาษากรีก

(http://www.oknation.net/blog/home/user_data/file_data/201311/24/67074d9f6.jpg)

กุหลาบเข้ามาเมืองไทยสมัยใดไม่ทราบแน่ชัด แต่จากบันทึกของ ลา ลูแบร์ ราชทูตฝรั่งเศสในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช บันทึกไว้ว่าได้เห็นกุหลาบที่กรุงศรีอยุธยา และที่แน่นอนอีกแห่งก็คือ ในกาพย์ห่อโคลงนิราศธารโศกสมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งเป็นพระนิพนธ์ของเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ กล่าวถึงกุหลาบไว้ว่า

 

           กุหลาบกลิ่เฟื่องฟุ้ง   เนืองนอง

หอมรื่นชื่นชมสอง             สังวาส

นึกกระทงใสพานทอง        ก่ำเก้า

                  หยิบรอจมูกเจ้า                 บ่ายหน้าเบือนเสีย

 

       สำหรับตำนานดอกกุหลาบของไทยเล่ากันว่า เป็นบทละครพระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ 6 เรื่อง มัทนะพาธา ในเรื่องเล่าถึงเทพธิดาองค์หนึ่งชื่อ "มัทนา" ซึ่งนางได้มีเทพบุตรองค์หนึ่งชื่อ "สุเทษณะ" ซึ่งพระองค์ทรงหลงรักเทพธิดา "มัทนา" มากแต่นางไม่มีใจรักตอบ จึงถูกสาบให้ไปเกิดเป็นดอกกุหลาบ จึงกลายเป็นตำนานดอกกุหลาบแต่นั้นมา



กุหลาบขาว กับ กุหลาบแดง สีไหนเกิดก่อน

มีหลายตำนานเล่าถึงการเกิดกุหลาบสีขาวและกุหลาบสีแดงไว้แตกต่างกัน ตำนานหนึ่งเล่าว่า กุหลาบขาว เกิดขึ้นก่อน กุหลาบแดง เดิมทีมีนกไนติงเกลตัวหนึ่งมาหลงรักเจ้าดอกกุหลาบขาวแสนสวย ขณะที่มันกำลังจะโอบกอดดอกกุหลาบด้วยความรักนั้นเอง หนามกุหลาบก็ทิ่มแทงที่หน้าอกของมัน หยดเลือดของเจ้านกไนติงเกลเลยทำให้ดอกกุหลาบสีขาวกลายเป็นสีแดง เลยมีดอกกุหลาบสีแดงนับแต่นั้นเป็นต้นมา ส่วนอีกตำนานหนึ่งก็เล่าว่ากุหลาบสีแดงใน สวนอีเดน เกิดจาการจุมพิตของ อีฟ เจ้าดอกกุหลาบขาวที่หญิงสาวจุมพิต เลยเกิดอาการขวยเขินจึงเปลี่ยนเป็นสีแดง

         นอกจากนี้ ความหมายของความรักในศาสนาคริสต์ ถือว่ากุหลาบสีขาวแทนความบริสุทธิ์ของ พระแม่มาเรีย และกุหลาบสีแดงเกิดจากหยาดพระโลหิตของ พระเยซูเจ้า เมื่อถูกสวมมงกุฎหนาม มันจึงเป็นสัญลักษณ์ของผู้ประกาศศาสนาที่พลีชีพเพื่อพระผู้เป็นเจ้า


สีกุหลาบสื่อความหมาย

  ในวันวาเลนไทน์ ซึ่งเป็นวันแห่งความรัก ดอกกุหลาบถือเป็นสัญลักษณ์ และของกำนัลของวันนี้ ดังนั้นเวลาที่คิดจะให้ดอกกุหลาบแก่ใครสักคน เราก็น่าจะรู้ความหมายของสีอันเป็นสื่อความหมายของดอกกุหลาบไว้บ้างก็น่าจะดี ซึ่งก็จะมีความดังนี้

 

•สีแดง      สื่อความหมายถึง ความรักและความปรารถนา เป็นดอกไม้ของกามเทพ คิวปิด และอีรอส      เป็นสิ่งนำโชคนำความรักมาให้แก่หญิงหรือชายที่ได้รับ
•สีชมพู      สื่อความหมายถึง ความรักที่มีความสุขอย่างสมบูรณ์
•สีขาว      สื่อความหมายถึง ความมีเสน่ห์ ความบริสุทธิ์ มิตรภาพ และความสงบเงียบ      และนำโชคมาให้แก่หญิงหรือชายเช่นเดียวกับกุหหลาบ
•สีเหลือง      สื่อความหมายถึง เราเป็นเพื่อนที่ดีต่อกันเสมอนะ
•สีขาวและแดง      สื่อความหมายถึง ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
•กุหลาบตูม      สื่อความหมายถึง ความงามและความเยาว์วัย
 

ช่อกุหลาบสื่อความหมาย

 

       จำนวนดอกกุหลาบในช่อก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สื่อความหมายได้เช่นกัน และในวันวาเลนไทน์หรือวันไหนๆ ถ้าคุณได้ช่อดอกกุหลาบจากใครสักคน เค้าคนนั้นอาจกำลังต้องการสื่อความหมายอะไรบางอย่างให้คุณรู้ก็เป็นได้

จำนวนดอกกุหลาบ                                                ความหมาย

         1                                                                รักแท้พบ

         2                                                         แสดงความรู้สึกที่ดีให้กัน

         3                                                                 ฉันรักเธอ

         7                                                      คุณทำให้ฉันหลงเสน่ห์

        9                                                         เราสองคนจะรักกันตลอดไป

        10                                                           คุณเป็นคนเป็นที่ดีเลิศ

        11                                               คุณเป็นสมบัติขึ้นที่มีค่าชิ้นเดียวของฉัน

        12                                                     ขอให้เธอเป็นคู่ของฉัีนเพียงคน

        13                                                                เพื่อนแท้เสมอ

        15                                                                 เพื่อนแท้เสมอ

        20                                                              รู้สึกเสียใจต่อเธอ

        21                                                         ชีวิตนี้ฉันมอบเพื่อเธอ

       36                                                     ฉันยังจำความหลังอ้นแสนหวาน

       40                                                        ความรักของฉันเป็นรักแท้

       99                                                            ฉันรักเธอจนวันตาย

       100                                                       ฉันอุทิศชีวิตนี้เพื่อเธอ

       101                                                     ฉันมีคูณเพียงคนเดียวเท่านั้น

       108                                                        คุณจะแต่งงานกับฉันไหม

       999                                                         ฉันจะรักคุณจนวินาทีสุดท้าย

 

                                                                  http://www.panmai.com (http://www.panmai.com)





หัวข้อ: Re: ประวัติ ตำนาน เรื่องเล่า
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ พฤศจิกายน 25, 2013, 09:27:16 AM
13 หลัก บัตรประชาชน


 
nachart@yahoo.com

อยากทราบว่าเลขบัตรประชาชน 13 หลัก แต่ละหลักมีความหมายว่าอย่างไรคะ-ปริญญา ศ.น. / บัตรประชาชนมีเลขอะไรนำหน้า-เด็กเทพ

ตอบ ปริญญา และเด็กเทพ


คำตอบมาจากอธิบดีกรมการปกครอง ชาญชัย สุนทรมัฎฐ์ ว่า พี่น้องประชาชนหลายท่านคงเกิดความสงสัยว่าเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก ที่สำนักทะเบียนกำหนดขึ้น หมายถึงอะไร และสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างไรบ้าง


จุดเริ่มต้นของเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก มาจากโครงการจัดทำเลขประจำตัวประชาชนเพื่อจัดตั้งคลังข้อมูลประวัติทะเบียนราษฎรของประชาชนทั่วประเทศด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ไว้ที่สำนักทะเบียนกลางกรมการปกครอง พร้อมทั้งจัดทำระบบมาตรฐานกลางในการให้เลขประจำตัวแก่ประชาชน โดยประชาชนแต่ละคนจะมีเลขประจำตัวประชาชนเพียงเลขเดียวตั้งแต่เกิดจนตายไว้ใช้อ้างอิงและพิสูจน์ตัวบุคคลในการติดต่อราชการ


ความหมายของเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก แต่ละหลักมีความหมาย ดังนี้


หลักที่ 1 หมายถึงประเภทของบุคคลซึ่งมี 10 ประเภท ประกอบด้วย
หมายเลข 1 ได้แก่ คนที่เกิดและมีสัญชาติไทย ซึ่งได้แจ้งเกิดภายในกำหนดเวลา (ตั้งแต่ 1 ม.ค.2527)
หมายเลข 2 ได้แก่ คนที่เกิดและมีสัญชาติไทย ได้แจ้งเกิดเกินกำหนดเวลา (ตั้งแต่ 1 ม.ค.2527)
หมายเลข 3 ได้แก่ คนไทยและคนต่างด้าวที่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว และมีที่อยู่ในทะเบียนบ้าน ก่อนวันที่ 31 พ.ค.2527
หมายเลข 4 ได้แก่ คนไทยและคนต่างด้าวที่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว และได้ย้ายเข้าทะเบียนบ้าน ขณะยังไม่มีเลขประจำตัวประชาชน (ระหว่างวันที่ 1 ม.ค.-31 พ.ค.2527)

หมายเลข 5 ได้แก่ คนไทยที่ได้รับอนุมัติให้เพิ่มชื่อเข้าในทะเบียนบ้านในกรณีตกสำรวจหรือกรณีอื่นๆ
หมายเลข 6 ได้แก่ ผู้ที่เข้าเมืองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และผู้ที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายแต่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในลักษณะชั่วคราว หมายเลข 7 ได้แก่ บุตรของบุคคลหมายเลข 6 ซึ่งเกิดในประเทศไทย
หมายเลข 8 ได้แก่ คนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยถูกต้องตามกฎหมาย คือ ได้รับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว คนได้รับการแปลงสัญชาติเป็นสัญชาติไทย และคนที่ได้รับสัญชาติไทย

หมายเลข 0 หมายถึง บุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน ได้แก่ บุคคลที่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยแต่ไม่มีรายการในทะเบียน เนื่องจากไม่ปรากฎหลักฐานยืนยันถิ่นกำเนิด หรือประวัติของบุคคล หรือมีหลักฐานไม่เพียงพอที่นายทะเบียนจะพิจารณาเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน หมายเลข 00 หมายถึง คนต่างด้าวที่เข้ามาอยู่ในประเทศไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ออกประกาศอนุญาตให้อยู่ในประเทศไทยเป็นกรณีพิเศษตามมติคณะรัฐมนตรี



หลักที่ 2 ถึงหลักที่ 5 หมายถึง รหัสสำนักทะเบียนที่ออกเลขประจำตัวประชาชนให้กับประชาชน

หลักที่ 6 ถึงหลักที่ 12 หมายถึง ลำดับที่ของบุคคลในแต่ละประเภทของแต่ละสำนักทะเบียน

หลักที่ 13 คือ ตัวเลขตรวจสอบความถูกต้องของเลขประจำตัวประชาชนทั้งหมด



nachart@yahoo.com


 


หัวข้อ: Re: ประวัติ ตำนาน เรื่องเล่า
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ พฤศจิกายน 25, 2013, 07:09:26 PM
(https://fbcdn-sphotos-g-a.akamaihd.net/hphotos-ak-prn2/1466307_619790604751561_1801760971_n.jpg)

ลูกที่เกิดตรงนี้นั้นยังอยู่ และยังอยู่เพื่อคอยรักษา ให้ " ต้นไม้ของพ่อ" ยังงดงาม


หัวข้อ: Re: ประวัติ ตำนาน เรื่องเล่า
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ ธันวาคม 12, 2013, 06:41:49 PM
ที่มาของ ...'หม้อหุงข้าว'

(http://www.priceza.com/img/product/1082-20130809015427-274373.jpg)


หม้อหุงข้าว ประดิษฐ์ ขึ้นครั้งแรกในญี่ปุ่น เพื่อสนองความต้องการในประเทศ ในอดีตสตรีชาวญี่ปุ่นต้องหุงข้าวด้วยเตาถ่าน


ซึ่งต้องเสียเวลามานั่งเฝ้า และในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 สตรีญี่ปุ่นต้องใช้แรงงานในการสงครามด้วย ความสะดวกรวดเร็วและประหยัดเวลาในการหุงข้าวจึงจำเป็นอย่างยิ่ง

ดังนั้นความสำเร็จในการประดิษฐ์หม้อหุงข้าวและเริ่มจำหน่ายขึ้นครั้งแรกในปีค.ศ.1956 จึงได้รับการตอบรับจากชาวญี่ปุ่นอย่างท่วมท้น


วิวัฒนาการหม้อหุงข้าวที่เก่าแก่ที่สุดเดิมมีชื่อเรียกว่า คามาโดะ มีมาตั้งแต่ยุคสมัยโคฟุน ค.ศ. 300-710 คามาโดะเป็นเตาดินเสริมด้วยอิฐหักเพื่อเพิ่มความแข็งแรงและทนทานต่อความร้อน ใช้ฟืนในการหุงต้ม นอกจากใช้หุงข้าวแล้วก็ยังนำมาต้มซุปถั่ว แต่มีข้อเสียคือเคลื่อนย้ายไม่ได้


ต่อมาสมัยนารา-เฮอัน ราวปีค.ศ.710-794 หม้อหุงข้าวพัฒนามาเป็น โอกิ-คามาโดะ สร้างขึ้นให้ใช้งานกลางแจ้ง และมีภาชนะแยกส่วนสำหรับบรรจุอาหารที่เรียกว่าฮากามะ สำหรับหย่อนลงในหลุมที่ด้านล่างมีกองฟืนสำหรับหุงต้ม


ภายหลังมีการประดิษฐ์ภาชนะบรรจุข้าวสำหรับหุงโดยเฉพาะ ลักษณะทรงรีทำด้วยโลหะ เรียกว่า โอกามา เรียกหม้อหุงข้าวชนิดนี้ว่า มูชิ-คามาโดะ


ปลายยุคสมัยไตโช กลางทศวรรษ 1920 เริ่มมีการทดลองผลิตหม้อหุงข้าวไฟฟ้าเป็นครั้งแรก ปลายทศวรรษ 1940 บริษัทมิตซูบิชิ อิเลคทริก ผลิตหม้อหุงข้าวที่มีหม้อและขดลวดนำความร้อนอยู่ภายใน ซึ่งเป็นรูปแบบที่ใกล้เคียงที่สุดกับหม้อหุงข้าวในปัจจุบัน แต่ก็ยังไม่สะดวกสบายนัก เพราะคนหุงต้องนั่งเฝ้าเนื่องจากยังไม่มีระบบอัตโนมัติ ภายหลังบริษัทมัตซูชิตะและโซนี่ผลิตหม้อหุงข้าวออกจำหน่าย แต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จเช่นกัน


กระทั่งวันที่ 10 ธันวาคม 1956 บริษัทโตชิบานำหม้อหุงข้าวอัตโนมัติออกวางจำหน่าย 700 ใบ ประสบความสำเร็จมาก โตชิบาเริ่มผลิตหม้อหุงข้าวอีก 200,000 ใบ ในเวลาเพียง 1 เดือน อีก 4 ปี ต่อมาหม้อหุงข้าวเริ่มแพร่หลายไปเกือบครึ่งประเทศ


สาเหตุที่บริษัทโตชิบาประสบความสำเร็จในครั้งนี้ เนื่องจากเวลาที่รวดเร็วและแม่นยำในการหุงข้าว ที่ใช้เวลาเพียง 20 นาที หม้อหุงข้าวในยุคนั้นมี 2 ชั้น ชั้นนอกสำหรับบรรจุน้ำ ส่วนชั้นในสำหรับบรรจุข้าว รูปแบบนี้ใช้อยู่นานถึง 9 ปี จึงเปลี่ยนมาเป็นหม้อหุงข้าวในยุคปัจจุบัน




ที่มา: หนังสือพิมพ์ข่าวสด


หัวข้อ: Re: ประวัติ ตำนาน เรื่องเล่า
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ ธันวาคม 12, 2013, 06:47:29 PM
ที่มาของวันทั้ง 7 ในรอบสัปดาห์

ต้นกำเนิด และที่มาทำไมต้อง 7 วัน

จากการค้นคว้าหาข้อมูล พบว่า การใช้สัปดาห์มี 7 วัน มีมาตั้งแต่ยุคสุเมเรีย และบาบิโลน โดยมีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์โลกว่า ว่าได้มีการกำหนดให้หนึ่งสัปดาห์มี 7 วัน เมื่อประมานปีที่ 2350 ก่อนคริสตศักราช (2350 BC) โดยกษัตริย์ซาร์ก้อนที่หนึ่งแห่งนครอัคคาด (Sargon I, King of Akkad) ภายหลังจากที่ได้ยึดครองเมืองอูร์ (Ur) และเมืองอื่นๆ ในคว้นซูเมอร์เรีย (Sumeria) ชื่อของกษัตริย์องค์นี้ และเมืองนี้มีการอ้างถึงในหนังสือคัมภีร์สูตรเรือนชะตาของอาจารย์ประยูร ผมจะไปค้นคว้าเพิ่มเติม แล้วกลับมาเล่าให้ฟังในโอกาสต่อไป

นอกจากเมืองอูร์จะเป็นต้นกำเนิดของการกำหนดให้สัปดาห์หนึ่งมีเจ็ดวันแล้ว ยังเป็นต้นกำเนิดของการกำหนดให้หนึ่งชั่วโมงมี 60 นาทีด้วย เพราะในยุคนั้น ชาวซุเมอร์เรียนใช้ระบบเลขหลัก 60 ในการคำนวน (แทนการใช้ระบบทศนิยมในปัจจุบัน)

ในยุคสมัยนั้น มนุษย์มีความเชื่อว่า โลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาล หรือเรียกว่า Geocentric ดวงอาทิตย์ และสิ่งต่างบนท้องฟ้าต่างโคจรรอบโลก และค้นพบว่ามีดาวเคราะห์ที่สามารถสังเกตุได้ด้วยตาเปล่า (naked eye planets) อยู่ 5 ดวง ซึ่งประกอบด้วย ดาวพุธ ดาวอังคาร ดาวศุกร์ ดาวพฤหัส และดาวเสาร์ เคลื่อนที่ผ่านกลุ่มดาวฤกษ์ (Fix Stars) หรือกลุ่มดาวในจักรราศี และเมื่อรวมกับ ดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์ ก็จะมีดาวบริวารของโลกทั้งสิ้น 7 ดวง ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำไมสัปดาห์จึงมี 7 วัน จะเห็นได้จากชื่อที่ใช้เรียกในแต่ละวันยังคงมีความหมายที่เกี่ยวข้องกับดาว หรือตามตำนานของเทพเจ้าประจำดาว ทั้ง 7


การเรียงลำดับของวันในสัปดาห์ (Order)


และเมื่อค้นลึกลงไปอีก ก็เป็นที่น่าประหลาดใจและเหลือเชื่ออย่างยิ่งว่า จริงๆแล้วการเรียงวันในสัปดาห์ มีรากฐานมาจากโหราศาสตร์นั้นเอง


เมื่อโลกเป็นสูตรกลางของจักรวาล โดยมีดาวทั้ง 7 ดวงที่โคจรอยู่รอบโลกนั้น ดาวก็ถูกจัดเรียงลำดับตามระบบ ปโตเลมี (Ptolemaic system) คือ เรียงจากดาวไกลสุดจากโลกมากที่สุดมายังดาวใกล้โลกมากที่สุด โดยใช้อัตราการโคจรรอบโลกเป็นตัววัด จึงได้การเรียงลำดับดังนี้ เสาร์ พฤหัส อังคาร อาทิตย์ ศุกร์ พุธ และจันทร์

เรื่อยๆ ซึ่งเรียกว่า “Planetary Hour” ซึ่งก็คือ ระบบยามแบบสากล นั้นเอง

[/Planetary Hour หรือ ยามแบบสากล เป็นวิธีการทำนายกาลชะตา (Horary) แบบหนึ่ง ซึ่งยังคงได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย แล้วผมจะมาเล่าเพิ่มเติม ว่าน่าสนใจเพียงใด มีวิธีการทำนาย และการคำนวนอย่างไร

[size]

(http://image.dek-d.com/23/1003748/104494935)

รูปที่แสดง ดาว 7 แฉก ตามยามแต่ละชั่วโมง (Heptagram of the week)

ชั่วโมงแรกของรุ่งอรุณของวันที่ 1 เริ่มต้นที่ ดาวเสาร์ ให้ชื่อว่า "ชั่วโมงของเสาร์" ถัดไปชั่วโมงที่ 2 เป็น "ชั่วโมงของพฤหัส" ชั่วโมงที่ 3 เป็น "ชั่วโมงของอังคาร" ชั่วโมงต่อไป เป็น "ชั่วโมงของอาทิตย์", "ชั่วโมงของศุกร์", "ชั่วโมงของพุธ" และ "ชั่วโมงของจันทร์" ตามลำดับ และเมื่อครบรอบ 7 ชั่วโมง ก็จะวนกลับมาที่ “ชั่วโมงของเสาร์” ใหม่ เป็นวงรอบไปเรื่อยๆไม่รู้จบ

ดังนั้นชั่วโมงที่ 25 หรือชั่วโมงที่ 1 ของวันที่ 2 ก็จะเป็น “ชั่วโมงของอาทิตย์” และชั่วโมงที่ 49 หรือชั่วโมงที่ 1 ของวันที่ 3 คือ “ชั่วโมงของจันทร์”

และเมื่อเรียงลำดับชั่วโมงไปเรื่อย ครบทั้ง 7 วัน เราก็จะพบว่าชื่อของวันนั้น คือ ดาวที่ประจำของรุ่งอรุณในแต่ละวัน ดังนั้นจริงๆ แล้ววันแรกในสัปดาห์จะเริ่มต้นด้วย “วันเสาร์” และถัดไปคือ วันอาทิตย์ จันทร์ อังคาร พฤหัสบดี และ ศุกร์ ตามลำดับ

หากท่านใดมีความรู้เรื่องยามอัฐกาล ของโหราศาสตร์ไทย ก็จะพบว่าลำดับดาวพระเคราห์ประจำยามในภาคกลางวัน มีการเรียงลำดับตามระบบปโตเลมี ซึ่งอาจาร์ยพลูหลวง เคยเขียนบทความถึงความมหัศจรรย์ของดาว 7 แฉกนี้ ทั้งเรื่องของยามอัฐกาล และ เลข 7 ตัว

ชื่อวัน ใน 1 สัปดาห์ (The Names of the Days)

การกำหนดชื่อวันในแต่ละสัปดาห์ในทุกชาติทุกภาษาจะตั้งชื่อให้เกี่ยวข้องกับเทพเจ้าในตำนาน หรือมีความหมายตามดาวดาวทั้ง 7 แทบทั้งสิ้น สมัยแรกๆ จะให้วันเสาร์ (Saturday) เป็นวันแรกของสัปดาห์ ต่อมา ได้นับถือดวงอาทิตย์มากขึ้น จึงให้วันของดวงอาทิตย์ (Sun's day) เลื่อนอันดับ จากวันอันดับที่ 2 ของสัปดาห์ เป็นวันแรกของสัปดาห์แทน ทำให้วันเสาร์ กลายเป็นวันลำดับที่ 7 ของสัปดาห์ไปในที่สุด


วันอาทิตย์ (Sunday)

มีชื่อมาจากภาษาละติน ว่า "dies solis" หมายถึง "วันของดวงอาทิตย์" (Sun's day) เป็นชื่อวันหยุดของคนนอกศาสนา และต่อมา ถูกเรียกว่า "Dominica" (ภาษาละติน) หมายถึง "วันของพระเจ้า" (the Day of God) ต่อมา ภาษาที่มีรากศัพท์มาจากภาษาละติน เช่น ฝรั่งเศส, สเปน, อิตาเลี่ยน ก็ยังคงใช้คำที่คล้ายกับรากศัพท์ดังกล่าว เช่น

• ภาษาฝรั่งเศส: dimanche;
• ภาษาอิตาเลี่ยน: domenica;
• ภาษาสเปน: domingo
• ภาษาเยอรมัน: Sonntag;
• ภาษาดัทช์: zondag ทั้งหมดมีความหมายว่า "Sun-day"


วันจันทร์ (Monday)

มีชื่อมาจากคำว่า "monandaeg" หมายถึง "วันของดวงจันทร์" (The Moon's day) เป็นวันที่สองของสัปดาห์ ที่ตั้งขึ้นมา เพื่อสักการะ "เทพธิดาแห่งดวงจันทร์" (The goddess of the moon)

• ภาษาฝรั่งเศส: lundi;
• ภาษาอิตาเลี่ยน: lunedi;
• ภาษาสเปน: lunes (มาจากคำว่า Luna หมายถึง "ดวงจันทร์")
• ภาษาเยอรมัน: Montag;
• ภาษาดัทช์: maandag ทั้งหมดมีความหมายว่า "Moon-day"


วันอังคาร (Tuesday)

เป็นชื่อเทพเจ้า Tyr ของชาวนอรเวโบราณ (The Norse god Tyr) ส่วนชาวโรมัน เรียกเป็นชื่อสำหรับเทพเจ้าสงคราม แห่งดาวอังคาร (the war-god Mars) ว่า "dies Martis"

• ภาษาฝรั่งเศส: mardi;
• ภาษาอิตาเลี่ยน: martedi;
• ภาษาสเปน: martes
• ภาษาเยอรมัน: Diensdag;
• ภาษาดัทช์: dinsdag;
• ภาษาสวีเดน: tisdag

วันพุธ (Wednesday)

เป็นวันที่ตั้งเป็นเกียรติสำหรับ เทพเจ้า Odin ของชาวสวีเดน และนอรเวโบราณ ส่วนชาวโรมันเรียกว่า "dies Mercurii" สำหรับใช้เรียกเทพเจ้า Mercury (ประจำดาวพุธ)

• ภาษาฝรั่งเศส: mercredi;
• ภาษาอิตาเลี่ยน: mercoledi;
• ภาษาสเปน: miercoles
• ภาษาเยอรมัน: Mittwoch;
• ภาษาดัทช์: woensdag

วันพฤหัสบดี (Thursday)

เป็นชื่อเทพเจ้า Thor ของชาวนอรเวโบราณ (The Norse god Thor) เรียกว่า "Torsdag" ส่วนชาวโรมัน เรียกเป็นชื่อสำหรับเทพเจ้า Jove หรือ Jupiter ซึ่งเป็นเทพเจ้า แห่งเทพทั้งปวง และเรียกวันนี้ว่า "dies Jovis" หมายถึง วันของ Jove (Jove's Day)

• ภาษาฝรั่งเศส: jeudi;
• ภาษาอิตาเลี่ยน: giovedi;
• ภาษาสเปน: el jueves
• ภาษาเยอรมัน: Donnerstag;
• ภาษาดัทช์: donderdag ทั้งหมดมีความหมายว่า "วันสายฟ้า" (Thundar day)


วันศุกร์ (Friday)

เป็นชื่อเทพธิดา Frigg ของชาวนอรเวโบราณ (The Norse goddess Frigg) ภาษาเยอรมันเคยเรียกว่า "frigedag" ส่วนชาวโรมัน เรียกเป็นชื่อสำหรับเทพธิดา Venus ว่า "dies veneris"

• ภาษาฝรั่งเศส: vendredi;
• ภาษาอิตาเลี่ยน: venerdi;
• ภาษาสเปน: viernes
• ภาษาเยอรมัน: Freitag;
• ภาษาดัทช์: vrijdag

วันเสาร์ (Saturday)

ชาวโรมันใช้เรียกเป็นชื่อสำหรับเทพเจ้า Saturn ว่า "dies Saturni" หมายถึง Saturn's Day.

• ภาษาฝรั่งเศส: samedi;
• ภาษาอิตาเลี่ยน: sabato;
• ภาษาสเปน: el sabado
• ภาษาเยอรมัน: Samstag;
• ภาษาดัทช์: zaterdag;
• ภาษาสวีเดน: Lordag
• ภาษาเดนมาร์คและนอรเว: Lordag หมายถึง "วันชำระล้าง" (Washing day)


หัวข้อ: Re: ประวัติ ตำนาน เรื่องเล่า
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ พฤศจิกายน 13, 2015, 08:38:32 AM
อัศจรรย์การค้นพบ ขุมทรัพย์สุสานฟาร์โรโบราณ เมื่อหลายปีก่อน !

ภาพการขุดค้นพบ ขุมทรัพย์สุสานฟาร์โรโบราณ ที่เกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1923 ซึ่งเมื่อสมัยก่อนจะเป็นภาพ ขาว-ดำ แต่ได้นำเอามาทำใหม่ให้เป็นภาพสี โดยที่เชื่อว่าจะเป็นของขององค์ฟาโรห์ตุตันคาเมนในอดีต



เครดิตจาก : http://ck101.com/thread-3396604-1-1.html?ref=banner (http://ck101.com/thread-3396604-1-1.html?ref=banner)

(http://s3.imgs.cc/img/eEiUcK8t.jpg?fe4)

(http://s1.imgs.cc/img/W413D3U.jpg?fe4)

(http://s1.imgs.cc/img/WvFPXVA.jpg?fe4)

(http://s1.imgs.cc/img/VuDHCz7.jpg?fe4)

(http://s1.imgs.cc/img/JtwsoPb.jpg?fe4)

(http://s1.imgs.cc/img/u9BpZ3I.jpg?fe4)

(http://s1.imgs.cc/img/gJ1kUTn.jpg?fe4)

(http://s1.imgs.cc/img/K1D2oEH.jpg?fe4)

(http://s1.imgs.cc/img/f38Roy8.jpg?fe4)

(http://s1.imgs.cc/img/v4PsrM1.jpg?fe4)

(http://s1.imgs.cc/img/0BCvLdr.jpg?fe4)

(http://s1.imgs.cc/img/Z2Wistv.jpg?fe4)

(http://s1.imgs.cc/img/jzn6Sit.jpg?fe4)

(http://s1.imgs.cc/img/reg4SeJ.jpg?fe4)

(http://s1.imgs.cc/img/D6ZxaWT.jpg?fe4)

(http://s1.imgs.cc/img/iFHvpAj.jpg?fe4)

(http://s1.imgs.cc/img/aRmjjDJ.jpg?fe4)

(http://s1.imgs.cc/img/m4S32dc.jpg?fe4)

(http://s1.imgs.cc/img/Urrwmwb.jpg?fe4)

(http://s1.imgs.cc/img/fUueDqP.jpg?fe4)

เครดิตจาก : http://ck101.com/thread-3396604-1-1.html?ref=banner (http://ck101.com/thread-3396604-1-1.html?ref=banner)


หัวข้อ: Re: ประวัติ ตำนาน เรื่องเล่า
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ พฤศจิกายน 13, 2015, 09:08:20 AM
Sea gypsies กลุ่มคนที่ไม่มีพื้นดินอยู่ และต้องใช้ชีวิตอยู่แต่ผิวน้ำ
เครดิตจาก : http://batona.net/62888-zhizn-na-vode-17-foto.html (http://batona.net/62888-zhizn-na-vode-17-foto.html)

(http://batona.net/uploads/posts/2015-05/1432186351_1.jpg)

(http://batona.net/uploads/posts/2015-05/1432186309_2.jpg)

(http://batona.net/uploads/posts/2015-05/1432186287_3.jpg)

(http://batona.net/uploads/posts/2015-05/1432186312_4.jpg)

(http://batona.net/uploads/posts/2015-05/1432186281_5.jpg)

(http://batona.net/uploads/posts/2015-05/1432186323_6.jpg)

(http://batona.net/uploads/posts/2015-05/1432186290_7.jpg)

(http://batona.net/uploads/posts/2015-05/1432186294_8.jpg)

(http://batona.net/uploads/posts/2015-05/1432186370_9.jpg)

(http://batona.net/uploads/posts/2015-05/1432186369_10.jpg)

(http://batona.net/uploads/posts/2015-05/1432186279_11.jpg)

(http://batona.net/uploads/posts/2015-05/1432186289_12.jpg)

(http://batona.net/uploads/posts/2015-05/1432186292_13.jpg)

(http://batona.net/uploads/posts/2015-05/1432186352_14.jpg)

(http://batona.net/uploads/posts/2015-05/1432186279_15.jpg)

(http://batona.net/uploads/posts/2015-05/1432186371_16.jpg)

(http://batona.net/uploads/posts/2015-05/1432186300_17.jpg)
 Sea gypsies กลุ่มประชากรที่ใช้พื้นที่ของทะเลระหว่างประเทศ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ที่พวกเขาต้องใช้ชีวิตอยู่บนพื้นน้ำ ไม่มีไฟฟ้า ไม่มีน้ำดื่มสะอาด ในการดำรงชีวิต แต่พวกเขาก็มีวิถีการใช้ชีวิตที่สวยงามและมีความสุขได้ในแบบของตัวเอง

เครดิตจาก : http://batona.net/62888-zhizn-na-vode-17-foto.html (http://batona.net/62888-zhizn-na-vode-17-foto.html)


หัวข้อ: Re: ประวัติ ตำนาน เรื่องเล่า
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ พฤศจิกายน 13, 2015, 08:04:40 PM
เปิดตัว 'เขาเล่าว่า' 24 แหล่งท่องเที่ยว ผ่านวิถีเรื่องเล่า

http://www.mthai.com/ (http://www.mthai.com/)

จากวิถีชีวิตของชาวบ้านในท้องถิ่นต่างๆทั่วประเทศไทย ที่มีการทำมาหากิน พักผ่อนบันเทิง ความเชื่อ และ ศาสนา บวกกับความเจ้าบทเจ้ากลอนของคนไทย จนเกิดเป็นบทร้องรำ ศิลปะ นิทาน นิยาย คำบอกเล่า หรือ ตำนานต่างๆที่สืบสานกันมาจากรุ่นสู่รุ่น

ในปี 2559 นี้ จะเป็นการเปิดเป็นประสบการณ์การเดินทางครั้งใหม่ให้กับการท่องเที่ยวภายในประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้คนอยากออกไปค้นหาเรื่องราวที่มาจากเรื่องเล่า ในโครงการ “เขาเล่าว่า” ที่ถือได้ว่าเป็นมิติใหม่ของการท่องเที่ยวในเชิงลึกมากขึ้นเป็น “กลยุทธ์ท่องเที่ยวแบบสี่มิติ” คือ
1.AWARENESS “รับรู้” เรื่องราววิถีและความเชื่อแบบไทยๆที่น่าสนใจจากพื้นที่ต่างๆ
2.EXPERIENCE “เข้าไปเห็น” กระตุ้นให้ออกเดินทางไปท่องเที่ยวไปสัมผัสกับเรื่องราวต่างๆทั่วเมืองไทย
3.ENGAGEMENT “มีส่วนร่วม” ได้ลงไปสัมผัสกับธรรมชาติและชุมชน
4.VALUE “เข้าถึง” เรื่องราวความเป็นมา ความเชื่อ ตลอดจนคุณค่าต่างๆของพื้นที่

โดยแนวคิดหลักของโครงการเขาเล่าว่า คือความเชื่อที่ว่า..เบื้องหลังทุกๆที่ในเมืองไทยนั้นก็เต็มไปด้วย.. เรื่องราวเรื่องเล่า ของพื้นบ้าน บ้างก็เป็นคล้ายตำนานจากเมืองเก่า... บ้างก็เป็นเรื่องเล่าของคนในท้องถิ่น... บ้างให้คุณประโยชน์ ในแก่ผู้ไปสัมผัส.... บ้างเป็นมงคลแก่ผู้ที่ได้ไปกราบไหว้... บ้างคล้ายความเชื่อที่ท้าทาย เร้นลับ...ททท. จึงขอเชิญคนไทยออกไป รับรู้ สัมผัส มีส่วนร่วม และ เข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวทั่วเมืองไทย ที่นอกจากจะมีความสวยงาม หรือมีความศักดิ์สิทธิ์แล้ว ยังเต็มไปด้วยเรื่องราว “เขาเล่าว่า”….. ที่ไม่ได้เล่าเพียงให้เราแค่เชื่อ …. แต่เล่าให้เราออกไปเห็น

“เขาเล่าว่า” ภาคเหนือ

1. “สะพานอธิษฐานสำเร็จ” สะพานซูตองเป้ อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน


(http://img-s-msn-com.akamaized.net/tenant/amp/entityid/BBmokkL.img?h=416&w=624&m=6&q=60&o=f&l=f)
© สนับสนุนโดย Monotech สะพานชูตองเป้

เขาเล่าว่า … ก่อนจะทำการใหญ่ ก่อนที่จะก้าวไปสู่ความสำเร็จใดๆ ให้ถามใจตัวเองก่อนว่ามีแรงศรัทธามากพอหรือเปล่า? ด้วยพลังแห่งศรัทธาและการร่วมแรงร่วมใจของชาวบ้านที่ก่อประสานกันเป็นสะพานที่มีความงดงาม จนกลายเป็นความเชื่อที่ว่า...ใครที่มาที่นี่ให้เดินข้ามผ่านสะพานอธิษฐานสำเร็จ แล้วไปอธิษฐาน ณ วัดที่ปลายสะพาน...ความสำเร็จในสิ่งที่หวัง ก็คงจะอยู่ไม่ไกลเกินเอื้อม

(http://img-s-msn-com.akamaized.net/tenant/amp/entityid/BBmouEN.img?h=180&w=270&m=6&q=60&o=f&l=f)
© สนับสนุนโดย Monotech Su Tong Pe Bridge, Mae Hong Son

2. “ประตูรักแห่งขุนเขา” ประตูผาบ่อง ดอยผาตั้ง อ.เวียงแก่น จ.เชียงราย

(http://img-s-msn-com.akamaized.net/tenant/amp/entityid/BBmomYB.img?h=400&w=267&m=6&q=60&o=f&l=f)
© สนับสนุนโดย Monotech ประตูรักแห่งขุนเขา อ.เวียงแก่น จ.เชียงราย

เขาเล่าว่า ... รักแท้คือการเดินทางที่ต้องไปค้นพบ ที่หินผาแข็งแกร่งที่นิ่งสงบนับล้านปีถือเป็นแหล่งสะสมพลังงานของโลกใบนี้ จะมีประตูรักแห่งขุนเขา...ที่เต็มไปด้วยพลังรักอันบริสุทธิ์ ให้จับมือคนที่เรารักแล้วเดินก้าวข้ามผ่านไปด้วยกัน จะช่วยเสริมความรักให้แข็งแกร่งดั่งภูผา

3. “เมืองที่ห้ามพูดโกหก” เมืองลับแล อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์


(http://img-s-msn-com.akamaized.net/tenant/amp/entityid/BBmozXJ.img?h=400&w=600&m=6&q=60&o=f&l=f)
© สนับสนุนโดย Monotech เมืองที่ห้ามพูดโกหก1 อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์

เขาเล่าว่า ... จากตำนานที่เล่าต่อๆ กันมา มีเมืองอยู่เมืองหนึ่ง ที่คนมีบุญเท่านั้นจึงจะได้เข้าไปถึง เมืองนี้เป็นเมืองของคนดี ถือวาจาสัตย์ ใครประพฤติผิดไร้ซึ่งสัจจะวาจา ต้องถูกออกจากเมืองไปทันที

4. “พระยาช้างชนะศึก” กู่ช้าง กู่ม้า อ.เมือง จ.ลำพูน


(http://img-s-msn-com.akamaized.net/tenant/amp/entityid/BBmokkS.img?h=400&w=600&m=6&q=60&o=f&l=f)
© สนับสนุนโดย Monotech พระยาช้างชนะศึก2 อ.เมือง จ.ลำพูน

เขาเล่าว่า ... “ภู่ก่ำงาเขียว” เป็นช้างคู่บารมีของพระนางจามเทวีแห่งหริภุญไชย เป็นพระยาช้างที่มีฤทธิ์มาก เมื่อออกศึกสงครามเพียงแค่ช้างหันหน้าไปทางศัตรูก็ทำให้ศัตรูอ่อนแรงลงได้ ว่ากันว่า...ครั้งหนึ่งในชีวิต หากมีโอกาสได้ลอดท้องพระยาช้างชนะศึกงาเขียว เท่ากับได้รับพรแห่งชัยชนะให้สมหวังในทุกสนามแข่งขัน ทั้งเรื่องเรียน เรื่องงาน และการดำเนินชีวิต

(http://img-s-msn-com.akamaized.net/tenant/amp/entityid/BBmozXS.img?h=400&w=600&m=6&q=60&o=f&l=f)
© สนับสนุนโดย Monotech พระยาช้างชนะศึก1 อ.เมือง จ.ลำพูน

“เขาเล่าว่า” ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

5. “หินชมนภา” หาดชมดาว อ.นาตาล จ.อุบลราชธานี


(http://img-s-msn-com.akamaized.net/tenant/amp/entityid/BBmomYK.img?h=400&w=600&m=6&q=60&o=f&l=f)
© สนับสนุนโดย Monotech หินชมนภา2 อ.นาตาล จ.อุบลฯ

เขาเล่าว่า … ณ หาดหินรูปทรงประหลาดอันกว้างใหญ่ ในฤดูน้ำโขงลด จะมีหินกลางน้ำผุดขึ้นมาให้เราได้เห็น ชาวบ้านเชื่อกันว่าให้หาหินนี้ให้เจอ เพราะเป็นจุดชมท้องฟ้าที่ส่องแสงและสีสันได้สวยที่สุด ทั้งแสงแรกแห่งรุ่งอรุณ และทะเลดวงดาว สวยระยิบระยับเต็มท้องฟ้าในยามคืนข้างแรมท้องฟ้าที่สวยและงดงามดั่งฝัน ใครได้มาเซล์ฟฟี่ตรงนี้ก็จะทำให้เราได้สัมผัสกับชีวิตที่สวยงามดั่งฝัน และอย่าลืมแชร์ความสวยงามนี้ไปให้คนอื่นๆได้เห็นกันด้วย

(http://img-s-msn-com.akamaized.net/tenant/amp/entityid/BBmomYO.img?h=399&w=600&m=6&q=60&o=f&l=f)
© สนับสนุนโดย Monotech หินชมนภา1 อ.นาตาล จ.อุบลฯ

6. “มหายุทธแดนอีสาน” พิพิธภัณฑ์พญาคันคาก อ.เมือง จ.ยโสธร

(http://img-s-msn-com.akamaized.net/tenant/amp/entityid/BBmokl2.img?h=416&w=624&m=6&q=60&o=f&l=f)
© สนับสนุนโดย Monotech “มหายุทธแดนอีสาน” พิพิธภัณฑ์พญาคันคาก

เขาเล่าว่า ... กาลครั้งหนึ่งที่อีสานแล้ง เพราะฝนไม่ตกต่อเนื่องกันถึง 7 ปี 7 เดือน 7 วัน !!! จนทำให้พญามหายุทธแดนอีสานอาสานำสัตว์ต่างๆ เช่น ช้าง, ม้า, วัว, ควาย, ปลวก, ผึ้ง และต่อแตน ขึ้นไปรบพญาแถนจนชนะ ฝนจึงตกมาตามเดิม โดยมีข้อแม้ว่า ต้องจุดบั้งไฟขึ้นไปบอกกล่าวทุกปี ทั้งหมดนี้จึงเป็นเรื่องราวที่มาของประเพณีบั้งไฟและแลนด์มาร์คพญามหายุทธแดนอีสานแห่งใหม่ ของเมืองไทย... ที่ใครเห็นต้องตะลึง

7. “ถ้ำพญานาค” ศาลพญานาค ใต้สะพานมิตรภาพไทยลาวแห่งที่ 2 อ.เมือง จ.มุกดาหาร


(http://img-s-msn-com.akamaized.net/tenant/amp/entityid/BBmopoO.img?h=399&w=600&m=6&q=60&o=f&l=f)
© สนับสนุนโดย Monotech ถ้ำพญานาค1 อ.เมือง จ.มุุกดาหาร

เขาเล่าว่า … จากความเชื่อทางพุทธศาสนาและศรัทธาของชุมชนลุ่มแม่น้ำโขงที่มีต่อพญานาค เชื่อกันว่า ณ เสาต้นที่ 2 ของสะพานมิตรภาพข้ามแม่น้ำโขงเป็น “ถ้ำพญานาค” ที่มีความศักดิ์สิทธิ์ ชาวบ้านเชื่อว่า เป็นจุดที่ท่านจะขึ้นมาเพื่อให้พรและปกปักรักษาลูกหลาน ใครที่ได้มาสักการะให้ขอพรพญานาค ณ ถ้ำพญานาค ขอโชคลาภ ความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน และความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตมักสำเร็จผล

(http://img-s-msn-com.akamaized.net/tenant/amp/entityid/BBmoxom.img?h=400&w=600&m=6&q=60&o=f&l=f)
© สนับสนุนโดย Monotech ถ้ำพญานาค2 อ.เมือง จ.มุกดาหาร


8. “วิมานเทวดา” ภูทอก อ.ศรีวิไล จ.บึงกาฬ

(http://img-s-msn-com.akamaized.net/tenant/amp/entityid/BBmohK3.img?h=400&w=600&m=6&q=60&o=f&l=f)
© สนับสนุนโดย Monotech วิมานเทวดา1อ.ศรีวิไล จ.บึงกาฬ

เขาเล่าว่า ... เส้นทางสู่โลกแห่งการหลุดพ้นนั้นคือ ความเพียรพยายาม ที่นี่คือแดนสวรรค์บนดินที่ทุกคนสามารถไปสัมผัสปรัชญาทางธรรม โดยใช้ความเพียรและครองสติขึ้นจากชั้นที่ 1 จนถึงชั้นที่ 7 เชื่อกันว่าเป็นเสมือนวิมานของเทวดาแห่งป่าหิมพานต์ ใครที่มีโอกาสได้ขึ้นไปปฏิบัติธรรมบนยอดของภูสวรรค์ 7 ชั้น จะถือว่าเป็นมหาบารมี

9. “ผ้าผิวสวย” ผ้าย้อมคราม จ.สกลนคร และ จ.อุดรธานี


(http://img-s-msn-com.akamaized.net/tenant/amp/entityid/BBmopoV.img?h=401&w=600&m=6&q=60&o=f&l=f)
© สนับสนุนโดย Monotech ผ้าผิวสวย จ.สกลนคร และ จ.อุดรธานี

เขาเล่าว่า … “ผ้า” สามารถช่วยบำรุงผิวของเราให้สวยได้จากภูมิปัญญาชาวบ้าน ที่นำพืชโบราณที่เป็นที่เลื่องลือในสรรพคุณด้านสุขภาพมาย้อมสีผ้าแบบไร้สารเคมี ที่ทำให้เมื่อใส่จะรู้สึกเย็นสบาย ไม่ร้อน และถูกวิจัยมาแล้วโดยประเทศญี่ปุ่นและอเมริกาว่า สามารถป้องกันรังสียูวีได้ แพทย์พื้นบ้านโบราณยังเชื่อว่า กลิ่นหอมของผ้าทำให้รู้สึกผ่อนคลาย และยังสามารถนำไปนึ่งเพื่อประคบบาดแผลลดอาการอักเสบได้อีกด้วย

10. “แห่นาคโหด” แห่นาคโหด บ้านโนนเสลา อ.ภูเขียว จ.ชัยภูมิ

(http://img-s-msn-com.akamaized.net/tenant/amp/entityid/BBmoskk.img?h=400&w=600&m=6&q=60&o=f&l=f)
© สนับสนุนโดย Monotech แห่นาคโหด อ.ภูเขียว จ.ชัยภูมิ 

เขาเล่าว่า ... พิธีแห่นาคที่นี่...แปลก...ประหลาด...และโหดที่สุดในโลก!! บททดสอบความอดทนอดกลั้นของลูกผู้ชาย เพื่อทดแทนพระคุณของ “แม่” ที่ต้องอดทนอดกลั้นกับความเจ็บปวดเมื่อตอนคลอดลูกออกมา และต้องอดทนกับความทรมานในการ “อยู่ไฟ” บนแคร่ไม้ไผ่ ฉะนั้นนาคที่นี่จะสามารถบวชได้ ต้องอดทนกับความเจ็บปวดและครองตัวให้มั่นบนแคร่ไม้ไผ่ที่ถูกเซิ้ง ถูกโยนอย่างรุนแรง และถูกหามแห่ไปรอบๆหมู่บ้าน






หัวข้อ: Re: ประวัติ ตำนาน เรื่องเล่า
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ พฤศจิกายน 13, 2015, 09:03:42 PM
เขาเล่าว่า” ภาคกลาง

11. “พระประทานพร”


(http://img-s-msn-com.akamaized.net/tenant/amp/entityid/BBmohK5.img?h=373&w=624&m=6&q=60&o=f&l=f)
พระประทานพร1 วัดจันทรังษี อ.เมือง จ.อ่างทอง

เขาเล่าว่า … ที่นี่มีพระที่จะประทานพร 3 ข้อ ให้กับผู้ที่ปกราบไหว้และสัมผัสได้ครบทั้ง 3 ที่ 3 องค์- หลวงพ่อสด (พระสงฆ์องค์ใหญ่) วัดจันทรังษี อ.เมือง จ.อ่างทอง ให้ไปสัมผัสลูกแก้วที่ฐานพระ ท่านจะประทานพรให้สุขภาพสดใสแข็งแรง- หลวงพ่อใหญ่ (พระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย) วัดม่วง อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง ให้ไปสัมผัสที่ปลายพระหัตถ์พระพุทธเจ้าองค์ใหญ่ ท่านจะประทานพรให้ตำแหน่งหน้าที่การงาน กิจการเจริญรุ่งเรือง เป็นใหญ่เป็นโต- พระนอน (พระนอนองค์ที่ยาวที่สุดในประเทศไทย) วัดขุนอินทประมูล อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง ให้ไปสัมผัสที่ฝ่าพระบาทพระนอน ท่านจะประทานพรให้มีอายุยืนยาว

12. “เขาหนุมานวัดใจ” เขาวงพระจันทร์ อ.โคกสำโรง จ.ลพบุรี


(http://img-s-msn-com.akamaized.net/tenant/amp/entityid/BBmoppL.img?h=351&w=624&m=6&q=60&o=f&l=f)
© สนับสนุนโดย Monotech เขาหนุมานวัดใจ อ.โคกสำโรง จ.ลพบุรี

เขาเล่าว่า ... ระยะทางกับความยากลำบาก พิสูจน์มิตรภาพและรักแท้ เสริมพลังรัก กับลพบุรีเมืองลิงหากได้พาคนที่เรารักไปร่วมพิสูจน์รักแท้ โดยการพิชิตยอดเขาศักดิ์สิทธิ์แห่งเมืองหนุมาน ด้วยการเดินขึ้นบันได 3,790 ขั้นไปด้วยกัน พร้อมสักการะรอยพระพุทธบาทและสิ่งศักดิ์สิทธิ์บนยอดเขาแห่งนี้ เราจะรู้เลยว่าเขาคือ “รักแท้” ของเราอย่างแน่นอน หรือผู้ที่เกิดปีนักษัตรปีวอก (ปีลิง) ไปกราบไหว้ขอพรเสริมพลัง เป็นสิริมงคลแห่งปีกับเจ้าพ่อพระกาฬ (ศาลพระกาฬ อ.เมือง จ.ลพบุรี)

13. “มหาเทพแห่งความสำเร็จ”

เขาเล่าว่า …พระศิวะเคยกล่าวไว้ว่า การบูชาเหล่ามหาเทพผู้ยิ่งใหญ่ ผู้ใดต้องการความสำเร็จ ความมั่งคั่ง อุดมสมบูรณ์ ให้บูชา “มหาเทพ” เทพแห่งปัญญาและศิลปะองค์นี้ก่อนทุกครั้ง และตามความเชื่อโบราณเชื่อว่า ถ้าอยากขอพรท่านให้สมหวังเร็วขึ้น หลังขอพรจากองค์เทพ “พระพิฆเนศ” แล้ว อย่าลืมไปกระซิบขอพรที่หูหนู บริวารของเทพ หนูบริวารนี้จะนำความไปเตือนท่านให้ประทานสิ่งที่ต้องการกลับมา โดยมีเคล็ดลับว่าจะต้องเอามืออีกข้างปิดที่หูหนู

- พระพิฆเนศองค์นอน วัดสมานรัตนาราม อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา


(http://img-s-msn-com.akamaized.net/tenant/amp/entityid/BBmohKa.img?h=400&w=600&m=6&q=60&o=f&l=f)
© สนับสนุนโดย Monotech พระพิฆเนศองค์นอน วัดสมานรัตนาราม

- พระพิฆเนศองค์ยืน อุทยานพระพิฆเนศคลองเขื่อน อ.คลองเขื่อน จ.ฉะเชิงเทรา

(http://img-s-msn-com.akamaized.net/tenant/amp/entityid/BBmoskx.img?h=400&w=600&m=6&q=60&o=f&l=f)
© สนับสนุนโดย Monotech พระพิฆเนศองค์ยืน อุทยานพระพิฆเนศคลองเขื่อน


- พระพิฆเนศองค์นั่ง วัดโพรงอากาศ อ.บางน้ำเปรี้ยว จ.ฉะเชิงเทรา

(http://img-s-msn-com.akamaized.net/tenant/amp/entityid/BBmoklj.img?h=400&w=600&m=6&q=60&o=f&l=f)
© สนับสนุนโดย Monotech พระพิฆเนศองค์นั่ง วัดโพรงอากาศ

ฉะเชิงเทรา…เป็นเมืองแห่งมหาเทพ “พระพิฆเนศ” ทั้งปางนอน-ปางนั่ง-ปางยืน ที่ใหญ่ที่สุดของเมืองไทย   ครั้งหนึ่งในชีวิตอย่าลืมไปสักการะให้ครบทุกที่ เพื่อเสริมสิริมงคลครั้งยิ่งใหญแก่ชีวิต

14. “พระปางขอฝน” พระพุทธเมตตาประชาไทยไตรโลกนาถคันธารราฐอนุสรณ์ ในราชินูปถัมภ์วัดทิพย์สุคนธาราม อ.ห้วยกระเจา จ.กาญจนบุรี


(http://img-s-msn-com.akamaized.net/tenant/amp/entityid/BBmouFl.img?h=400&w=600&m=6&q=60&o=f&l=f)
© สนับสนุนโดย Monotech พระปางขอฝน อ.ห้วยกระเจา จ.กาญจนบุรี

เขาเล่าว่า … ครั้งหนึ่งในสมัยพุทธกาลนั้นฝนแล้งมาก แต่ด้วยพระพุทธบารมี...ได้ทรงพลิกพื้นที่แห้งแล้งให้มีน้ำฝนหลั่งไปทั่วทุกสารทิศ และที่อำเภอห้วยกระเจา คืออีสานจังหวัดกาญจนบุรี จึงเป็นที่มาของพระปางขอฝน ที่สุดแห่งความศรัทธากับประติมากรรมทางพุทธศิลป์ ...พระพุทธรูปสำริดปางขอฝนที่สูงที่สุดในประเทศไทยและงดงามว่ากันว่า หากได้มากราบไหว้ ชีวิตจะพบแต่ความร่มเย็นเป็นสุขดั่งแผ่นดินที่ได้รับสายฝน

"เขาเล่าว่า" ภาคตะวันออก

15. “เกาะแห่งรัก” สะพานอัษฎางค์ และช่องอิศริยาภรณ์ (ช่องเขาขาด) เกาะสีชัง จ.ชลบุรี


(http://img-s-msn-com.akamaized.net/tenant/amp/entityid/BBmozYi.img?h=399&w=600&m=6&q=60&o=f&l=f)
© สนับสนุนโดย Monotech สะพานอัษฎางค์

เขาเล่าว่า … ที่ใดมีรักของบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ ที่นั่นย่อมอบอวลไปด้วยพลังแห่งรัก ณ เกาะแห่งนี้ เต็มไปด้วยเรื่องราวของ  ความรัก ว่ากันว่า...ใครที่อยากเติมความหวานให้ชีวิต ยามเช้าให้ชวนกันมาเติมพลังแห่งรักกับแสงแรกของวัน ณ ปลายสะพานแห่งรัก และยามพระอาทิตย์ตกให้ไปอธิษฐานขอพรกลางช่องเขา

(http://img-s-msn-com.akamaized.net/tenant/amp/entityid/BBmoppT.img?h=416&w=624&m=6&q=60&o=f&l=f)
© สนับสนุนโดย Monotech เกาะแห่งรัก2 อ.เกาะสีชัง จ.ชลบุรี


16. “สะดือมังกร” หาดเตยงาม อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี

(http://img-s-msn-com.akamaized.net/tenant/amp/entityid/BBmoxoA.img?h=399&w=600&m=6&q=60&o=f&l=f)
© สนับสนุนโดย Monotech สะดือมังกร อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี

เขาเล่าว่า … ผืนทะเลใดที่มีสะดือมังกร ทะเลตรงนั้นจะเป็นเหมือนศูนย์รวมแห่งพลังจักรวาล เป็นจุดที่ครบธาตุทั้งสี่ ดิน น้ำ ลม ไฟ ชาวบ้านที่นี่เขาเชื่อกันว่า ใครได้ไปยืนแช่ ณ ทะเลนั้น จะได้รับพลังชีวิตใหม่ที่ดีเข้ามา โดยเฉพาะถ้าเป็นผู้ประพฤติดี ประพฤติชอบ เชื่อว่าจะยิ่งส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าในทุกๆ ด้าน

17. “มหัศจรรย์ทรายดำ” ศูนย์การท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติหาดทรายดำและป่าชายเลน อ.แหลมงอบ จ.ตราด


(http://img-s-msn-com.akamaized.net/tenant/amp/entityid/BBmoskE.img?h=399&w=600&m=6&q=60&o=f&l=f)
© สนับสนุนโดย Monotech มหัศจรรย์ทรายดำ อ.แหลมงอบ จ.ตราด


เขาเล่าว่า ... ความมหัศจรรย์ของธรรมชาติ ก่อเกิดเป็นเม็ดทรายสีดำสนิท เชื่อกันว่า มีสรรพคุณของแร่ธาตุธรรมชาติที่สามารถทำให้ผ่อนคลายสุขภาพได้ เพียงแค่ได้นอนหมกตัวอยู่ใต้ผืนทรายดำ ก็จะทำให้รู้สึกถึงพลังบำบัดเหมือนได้ทำสปาธรรมชาติ

18. “ป่าสีทอง” ทุ่งโปรงทอง ปากน้ำประแส อ.แกลง จ.ระยอง


(http://img-s-msn-com.akamaized.net/tenant/amp/entityid/BBmohKf.img?h=400&w=600&m=6&q=60&o=f&l=f)
© สนับสนุนโดย Monotech ป่าสีทอง อ.แกลง จ.ระยอง

เขาเล่าว่า ... แหล่งธรรมชาติที่บริสุทธิ์ ดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ จะมีพลังที่สุดแสนบริสุทธิ์ปกคลุมอยู่ เมื่อก้าวเข้าไปจะพบกับ 1 กิโลเมตร ความสุขบนสะพานไม้ทอดยาวกลางป่าอันสมบูรณ์ และมีความงดงาม 3 เวลา 3 อารมณ์ สบาย ๆ กับแสงสีทองกว้างไกลสุดสายตา ยามเช้าสว่างไสวเหลืองทองอร่าม ดุจจิตรกรนำสีทองมาแต่งแต้มธรรมชาติให้ตระการตา ยามบ่ายป่าสีทองสงบเงียบมีความสุข ในยามเย็นไปสูดอากาศบริสุทธิ์ให้เต็มปอดกับมวลความบริสุทธิ์ของพลังงานธรรมชาติป่าชายเลน ที่ผ่านเกณฑ์ประเมินมาตรฐานคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ  จำนวนป่าสีทองมหาศาล ที่จะช่วยเติมเต็มพลังกับร่างกาย จิตใจ และความคิด

"เขาเล่าว่า" ภาคใต้

 19. “พระแอด-ปวดหาย” พระกัจจายนะ (พระแอด) วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช


(http://img-s-msn-com.akamaized.net/tenant/amp/entityid/BBmoskH.img?h=400&w=268&m=6&q=60&o=f&l=f)
© สนับสนุนโดย Monotech พระแอด-ปวดหาย อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช

เขาเล่าว่า ... ที่วัดพระมหาธาตุเมืองนครศรี มีพระศักดิ์สิทธิ์องค์หนึ่ง ที่เชื่อกันว่า ท่านมีอภินิหารบันดาลลูกให้แก่ผู้ที่ไปขอแบบที่ไม่เหมือนใคร ชาวบ้านเชื่อว่าหากใครปวดเมื่อย ปวดเอว ปวดหลัง นำไม้ไปค้ำยันที่ด้านหลังองค์พระ อาการปวดก็จะหายไปอย่างน่าอัศจรรย์

20. “ไข่ขอได้” ไข่วัดเจดีย์ อ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช


(http://img-s-msn-com.akamaized.net/tenant/amp/entityid/BBmomZf.img?h=400&w=267&m=6&q=60&o=f&l=f)
© สนับสนุนโดย Monotech ไข่ขอได้ อ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช

เขาเล่าว่า ...“วิญญาณเด็กศักดิ์สิทธิ์” เมื่อเกือบ ๒oo ปี เชื่อกันว่า “ขอได้ไหว้รับ” โดยเฉพาะโชคลาภ และการค้าขาย ที่นี่ไม่มีการโฆษณาใดๆ แต่ทุกคนที่มาเพราะความเลื่อมใสอย่างแท้จริง ทุกวันผู้คนต่างหลั่งไหลไปขอพรไม่ขาดสาย จะเห็นได้ว่าในวัดเต็มไปด้วยสิ่งของที่ผู้เลื่อมใสศรัทธาเอามาแก้บน (รูปปั้นไก่ชน ของเล่นเด็ก และการจุดประทัด) บ่งบอกถึงแรงศรัทธาที่มีต่อไข่ และแสดงถึงผลสัมฤทธิ์จากผู้ที่มาขอแล้วได้รับ








หัวข้อ: Re: ประวัติ ตำนาน เรื่องเล่า
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ พฤศจิกายน 13, 2015, 09:20:03 PM
21. “น้ำตาศักดิ์สิทธิ์” เขาหงอนนาค อ.เมือง จ.กระบี่

(http://img-s-msn-com.akamaized.net/tenant/amp/entityid/BBmouFx.img?h=417&w=624&m=6&q=60&o=f&l=f)
© สนับสนุนโดย Monotech น้ำตาศักดิ์สิทธิ์ อ.เมือง จ.กระบี่่

เขาเล่าว่า … ณ ดินแดนอันชวนฝันของนักเดินทางที่ถูกโอบล้อมด้วยวิวพาโนรามาอันสวยงามที่สุดแห่งหนึ่งของเมืองไทย แต่ใครเล่าจะรู้ว่า ดินแดนแห่งนี้เป็นจุดจบเรื่องราวความรักของพญานาคจนต้องหลั่งน้ำตาออกมา เกิดเป็นบ่อน้ำเล็กๆ ที่มีน้ำใสไหลตลอดปี ชาวบ้านเชื่อว่า เมื่อได้อธิษฐานขอพรพร้อมทั้งนำน้ำมาลูบหน้า จะสมปรารถนาในสิ่งที่ขอ และเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต

22. “สะพานแห่งความสุข” สะพานเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 อ.ควนขนุน จ.พัทลุง


(http://img-s-msn-com.akamaized.net/tenant/amp/entityid/BBmouFy.img?h=400&w=600&m=6&q=60&o=f&l=f)
© สนับสนุนโดย Monotech สะพานแห่งความสุข2 อ.ควนขนุน จ.พัทลุง 


เขาเล่าว่า … บนสะพานที่ถูกขนาบข้างไปด้วยทะเลสาบและเชื่อมระหว่างสองจังหวัด ที่นี่....เป็นสะพานที่เต็มไปด้วยพลัง แห่งความสุข เพราะสองข้างทางคือภาพอันงดงามของวิถีธรรมชาติอันสมบูรณ์และเรียบง่าย...วิวสวยๆ ของทะเลสาบสุดลูกหูลูกตา...วิถีชีวิตควายน้ำ...และนกนานาพันธุ์ แค่ได้ไปเห็นและได้สูดอากาศบริสุทธิ์ให้เต็มปอดจะช่วยฟอกความรู้สึกเหนื่อยล้าให้แปรเปลี่ยนเป็นพลังแห่งความสุข

23. “สันหลังมังกร” หาดสันหลังมังกร จ.สตูล


(http://img-s-msn-com.akamaized.net/tenant/amp/entityid/BBmouFz.img?h=417&w=624&m=6&q=60&o=f&l=f)
© สนับสนุนโดย Monotech สันหลังมังกร จ.สตูล

เขาเล่าว่า ... ที่เมืองพระสมุทรเทวาอันศักดิ์สิทธิ์ เมื่อน้ำลดเราจะได้เห็นแนวสันทรายคล้ายมังกรโผล่พ้นน้ำทะเล ราวกับมังกรกำลังพลิ้วกายแหวกว่ายอยู่กลางทะเล เมื่อได้เห็น...ให้ไปยืนอยู่บนสันทรายเกล็ดมังกรนี้ แล้วรับพลังบริสุทธิ์จากฮวงจุ้ยแห่งท้องทะเล จะช่วยเติมเต็มพลังกายพลังใจให้กับทุกร่างกายและจิตใจ ที่อ่อนล้าให้กลับมาเข้มแข็งพร้อมสู้ต่อไป

24. “อุโมงค์แสงมรกต” ลานแสงมรกต ถ้ำภูผาเพชร อ.มะนัง จ.สตูล


(http://img-s-msn-com.akamaized.net/tenant/amp/entityid/BBmopq5.img?h=416&w=624&m=6&q=60&o=f&l=f)
© สนับสนุนโดย Monotech อุโมงค์แสงมรกต

เขาเล่าว่า … ชีวิตคนเราขอเพียงแห็นแสงที่ปลายอุโมงค์ มันก็เกิดพลังที่จะเดินก้าวต่อไปในชีวิต ในความมืดของถ้ำที่ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก แต่มีอยู่โถงหนึ่ง ถ้าไปในเวลาที่แสงจากภายนอกทำมุมเข้ามา จะเกิดเป็นถ้ำแสงมรกตให้เห็น เชื่อกันว่า นี่คือแสงปลายอุโมงค์ที่เล่าขานกันมา ใครได้มาเห็นสักครั้ง ... ก็จะเกิดพลังชีวิต

ขอขอบคุณ : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย


หัวข้อ: Re: ประวัติ ตำนาน เรื่องเล่า
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ ธันวาคม 31, 2015, 03:03:29 PM
ประวัติวันปีใหม่ 1 มกราคม วันขึ้นปีใหม่

ปีใหม่ หรือ วันขึ้นปีใหม่ 2559 หรือ ปีใหม่ภาษาอังกฤษ Happy New Year 2016  ใกล้มาถึงแล้ว วันขึ้นปีใหม่ หลาย ๆ คนคงชอบที่จะได้หยุดหลาย ๆ วัน ว่าแต่ที่หยุดและฉลองปีใหม่กันอยู่ทุกปี แล้วรู้หรือไม่ว่า ประวัติปีใหม่ หรือวันขึ้นปีใหม่ มีความเป็นมาอย่างไร วันนี้เรามีความหมายวันขึ้นปีใหม่ ประวัติวันขึ้นปีใหม่ มาฝาก 

ความหมายของวันขึ้นปีใหม่

          วันขึ้นปีใหม่ ตามความหมายในพจนานุกรมให้ความหมายคำว่า "ปี" หมายถึง เวลาชั่วโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ครั้งหนึ่งราว 365 วัน หรือ เวลา 12 เดือนตามสุริยคติ ดังนั้น "ปีใหม่" จึงหมายถึง การขึ้นรอบใหม่หลังจาก 12 เดือน หรือ 1 ปี

ความเป็นมาของ วันขึ้นปีใหม่

          วันขึ้นปีใหม่ มีประวัติความเป็นมาซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยตามความเหมาะสม ตั้งแต่ในสมัยเริ่มแรกเมื่อชาวบาบิโลเนีย เริ่มคิดค้นการใช้ปฏิทินโดยอาศัยระยะต่าง ๆ ของดวงจันทร์เป็นหลักในการนับ เมื่อครบ 12 เดือน ก็กำหนดว่าเป็น 1 ปี และเพื่อให้เกิดความพอดีระหว่างการนับปีตามปฏิทินกับปีตามฤดูกาล จึงได้เพิ่มเดือนเข้าไปอีก 1 เดือน เป็น 13 เดือนในทุก ๆ 4 ปี

          ต่อมาชาวอียิปต์ กรีก และชาวเซมิติก ได้นำการปฏิบัติของชาวบาบิโลเนียมาดัดแปลงแก้ไขอีกหลายคราวเพื่อให้ตรงกับฤดูกาลมากยิ่งขึ้น จนถึงสมัยของกษัตริย์จูเลียต ซีซาร์ (ประมาณ 46 ปี ก่อนคริสต์ศักราช) ได้นำความคิดของนักดาราศาสตร์ชาวอียิปต์ชื่อโยซิเยนิส มาปรับปรุงให้หนึ่งปีมี 365 วัน โดยทุก ๆ 4 ปี ให้เติมเดือนที่มี 28 วัน เพิ่มขึ้นอีก 1 วัน เป็น 29 วัน คือเดือนกุมภาพันธ์ เรียกว่า อธิกสุรทิน เมื่อเพิ่มให้เดือนกุมภาพันธ์มี 29 วัน ให้ทุกๆ 4 ปี แต่วันในปฏิทินก็ยังไม่ค่อยตรงกับฤดูกาลนัก คือเวลาในปฏิทินยาวกว่าปีตามฤดูกาล เป็นเหตุให้ฤดูกาลมาถึงก่อนวันในปฏิทิน

          และในวันที่ 21 มีนาคม ตามปีปฏิทินของทุก ๆ ปี จะเป็นช่วงที่มีเวลากลางวันและกลางคืนเท่ากัน คือเป็นวันที่ดวงอาทิตย์จะขึ้นตรงทิศตะวันออก และลับลงตามทิศตะวันตก วันนี้ทั่วโลกจึงมีช่วงเวลาเท่ากับ 12 ชั่วโมงเท่ากัน เรียกว่า วันทิวาราตรีเสมอภาคมีนาคม (Equinox in March)

          แต่ในปี พ.ศ. 2125 วัน Equinox in March กลับไปเกิดขึ้นในวันที่ 11 มีนาคม แทนที่จะเป็นวันที่ 21 มีนาคม ดังนั้นพระสันตะปาปาเกรกอรี่ที่ 13 จึงทำการปรับปรุงแก้ไขหักวันออกไป 10 วัน จากปีปฏิทิน และให้วันหลังจากวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2125 แทนที่จะเป็นวันที่ 5 ตุลาคม ก็ให้เปลี่ยนเป็นวันที่ 15 ตุลาคมแทน (ใช้เฉพาะในปี พ.ศ. 2125) ปฏิทินแบบใหม่นี้จึงเรียกว่าปฏิทินเกรกอเรี่ยน จากนั้นได้ปรับปรุงประกาศใช้ วันที่ 1 มกราคม เป็นวันเริ่มต้นของปีเป็นต้นมา

ความเป็นมาวันปีใหม่ในประเทศไทย

          สำหรับวันปีใหม่ในประเทศไทยนั้น แต่เดิมเราถือเอาวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย ซึ่งตรงกับเดือนมกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับคติแห่งพระพุทธศาสนา ที่ถือช่วงเหมันต์หรือหน้าหนาวเป็นการเริ่มต้นปี ต่อมาได้เปลี่ยนแปลงไปตามคติพราหมณ์ คือถือเอาวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 เป็นวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งตรงกับวันสงกรานต์ ดังนั้นในสมัยโบราณเราจึงถือเอาวันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทย

          แต่การนับวันปีใหม่หรือวันสงกรานต์ตามวันทางจันทรคติ เมื่อเทียบกับวันทางสุริยคติ ย่อมคลาดเคลื่อนกันไปในแต่ละปี ดังนั้นในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ปี พ.ศ. 2432 (ร.ศ. 108) ซึ่งตรงกับวันที่ 1 เมษายน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงให้ถือเอาวันที่ 1 เมษายนเป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยนับแต่นั้นมา เพื่อวันปีใหม่จะได้ตรงกันทุกปีเมื่อนับทางสุริยคติ (แม้ว่าวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ปีต่อ ๆ มาจะไม่ตรงกับวันที่ 1 เมษายน แล้วก็ตาม) ดังนั้นจึงถือเอาเดือนเมษายนเป็นเดือนแรกของปีนับแต่นั้นมา  อย่างไรก็ดีประชาชนส่วนใหญ่โดยเฉพาะตามชนบทยังคงยึดถือเอาวันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่อยู่

          ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย ทางราชการจึงเห็นว่าวันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน มักจะไม่มีงานรื่นเริงอะไรมากนักและเห็นสมควรที่จะฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ จึงได้ประกาศให้มีงานรื่นเริงวันขึ้นปีใหม่ในวันที่ 1 เมษายน 2477 ขึ้นในกรุงเทพฯ เป็นครั้งแรก จนแพร่หลายออกไปต่างจังหวัดในปีต่อ ๆ มา โดยในปี พ.ศ. 2479 ก็ได้มีการจัดงานปีใหม่ทั่วทุกจังหวัด มีชื่อทางราชการ "วันตรุษสงกรานต์"

เหตุผลเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จาก 1 เมษายน เป็น 1 มกราคม

          ต่อมาก็ได้มีการพิจารณาเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาโดยมี หลวงวิจิตรวาทการ เป็นประธานคณะกรรมการ และที่ประชุมก็ได้มีมติเป็นเอกฉันท์ให้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2484 ในวันที่ 24 ธันวาคม ในสมัยคณะรัฐบาลของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม โดยเหตุผลสำคัญก็คือ

           เป็นการไม่ขัดกับหลักพุทธศาสนาในด้านการนับวัน เดือน และการร่วมฉลองปีใหม่ด้วยการทำบุญ

           เป็นการเลิกวิธีนำเอาลัทธิพราหมณ์มาคร่อมศาสนาพุทธ

           ทำให้เข้าสู่ระดับสากลที่ใช้อยู่ในประเทศทั่วโลก

           เป็นการฟื้นฟูวัฒนธรรม คตินิยม และจารีตประเพณีของชาติไทย

          ตั้งแต่นั้นมา วันขึ้นปีใหม่ของไทยจึงตรงกับวันที่ 1 มกราคมของทุกปี เหมือนดังเช่นวันขึ้นปีใหม่ของประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก

เพลงวันปีใหม่

          แน่นอนว่า เพลงที่มักจะได้ยินบ่อย ๆ ในช่วงวันขึ้นปีใหม่ ก็คือ "เพลงพรปีใหม่" ซึ่งเป็นเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 13 ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูอดุลยเดช ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2494 เมื่อครั้งเสด็จนิวัตพระนครและประทับ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต โดยมีพระราชประสงค์ให้เพลงนี้ เป็นพรปีใหม่ที่พระราชทานแก่พสกนิกรทุกหมู่เหล่า

          ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ นิพนธ์คำร้องเป็นคำอำนวยพรปีใหม่ แล้วพระราชทานแก่วงดนตรี 2 วง คือ วงดนตรีนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำออกบรรเลง ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และวงดนตรีสุนทราภรณ์ นำออกบรรเลง ณ ศาลาเฉลิมไทยเป็นครั้งแรกในวันปีใหม่ วันอังคารที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2495 โดยเพลงพรปีใหม่ มีเนื้อร้องดังนี้


          เพลงวันปีใหม่ (เพลงพรปีใหม่ เพลงพระราชนิพนธ์ในหลวง)
         
                ทำนอง: พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูอดุลยเดช
                คำร้อง: พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ

                สวัสดีวันปีใหม่พา ให้บรรดาเราท่านรื่นรมย์
                ฤกษ์ยามดีเปรมปรีดิ์ชื่นชม ต่างสุขสมนิยมยินดี
                ข้าวิงวอนขอพรจากฟ้า ให้บรรดาปวงท่านสุขศรี
                โปรดประทานพรโดยปรานี ให้ชาวไทยล้วนมีโชคชัย

                ให้บรรดาปวงท่านสุขสันต์ ทุกวันทุกคืนชื่นชมให้สมฤทัย
                ให้รุ่งเรืองในวันปีใหม่ ผองชาวไทยจงสวัสดี
                ตลอดปีจงมีสุขใจ ตลอดไปนับแต่บัดนี้
                ให้สิ้นทุกข์สุขเกษมเปรมปรีดิ์ สวัสดีวันปีใหม่เทอญ


ประวัติการส่ง ส.ค.ส. ในวันปีใหม่

          การส่ง ส.ค.ส. หรือบัตรอวยพรนั้น ประเทศไทยรับวัฒนธรรมมาจากต่างประเทศ ซึ่งนิยมส่งบัตรอวยพรกันมาเป็นเวลากว่า 200 ปีแล้ว ตั้งแต่ราวศตวรรษที่ 18 หรือตรงกับปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา บัตรอวยพรนี้ปรากฏในรูปแบบ "บัตรเยี่ยม" (Visiting Card) เป็นบัตรกระดาษขนาดเท่าไพ่ นิยมเขียนข้อความ หรือพิมพ์รูปภาพต่าง ๆ ลงไปเพื่อเยี่ยมเยียนกันในวันขึ้นปีใหม่ ต่อมาแพร่หลายไปในเทศกาลต่าง ๆ เช่น วาเลนไทน์ คริสต์มาส มีการส่งพิมพ์และส่งบัตรอวยพรกันอย่างแพร่หลายมากขึ้น

          สำหรับในประเทศไทยนั้น เชื่อกันว่าบัตรอวยพรปีใหม่ที่เก่าแก่ที่สุด คือ บัตรอวยพรที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประดิษฐ์ขึ้น เมื่อ 120 กว่าปีก่อน โดยในรัชสมัยของพระองค์ เป็นยุคที่มีการติดต่อสื่อสารกับต่างประเทศเป็นจำนวนมาก จึงมีการรับเอาขนบธรรมเนียมของตะวันตกมาด้วย

          ทั้งนี้การส่งบัตรอวยพรของพระองค์นั้น ยังไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าเริ่มต้นตั้งแต่เมื่อใด แต่ได้ปรากฏสำเนาคำพระราชทานพรขึ้นปีใหม่ ในปี พ.ศ. 2409 ของพระองค์ ในหนังสือพิมพ์บางกอกรีคอร์ดเดอร์ (ภาษาอังกฤษ) ฉบับวันที่ 13 มกราคม 2409 แปลได้ใจความว่า "ทรงขอส่งบัตรตีพิมพ์คำอวยพรนี้ถึงบรรดากงสุล เจ้าหน้าที่กงสุลต่าง ๆ และชาวต่างประเทศที่ทรงคุ้นเคยโดยทั่วถึงกัน"

          ต่อมาในช่วงต้นรัชสมัยของรัชกาลที่ 5 ความนิยมการส่งบัตรอวยพรแพร่หลายอย่างมาก มีหลักฐานบัตรอวยพรประเภทต่างๆ ถูกเก็บรวบรวมไว้ที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติเป็นจำนวนมาก โดยมักนิยมส่งกันในช่วงเดือนเมษายน ตามวันขึ้นปีใหม่เดิมที่ตรงกับวันที่ 1 เมษายน และบนบัตรอวยพรเหล่านั้น ยังพบคำว่า "ส.ค.ศ." หรือ "ส.ค.ส." ปรากฏอยู่ จึงเชื่อกันว่า คำว่า "ส.ค.ส." เกิดขึ้นในรัชสมัยนี้ โดยย่อมาจากคำว่า "ส่งความศุข" หรือ "ส่งความสุข"

          หลังจากนั้น ส.ค.ส. ก็เป็นสิ่งที่นิยมส่งให้กันในวันขึ้นปีใหม่ จนถึงปัจจุบันนี้ และ ส.ค.ส. ก็ได้เปลี่ยนรูปแบบไปมีการนำวัสดุต่าง ๆ มาประดิษฐ์ ตกแต่ง มีรูปแบบ ลวดลายหลากหลายมากขึ้น
           

ส.ค.ส. พระราชทาน

          ทุก ๆ ปี พสกนิกรจะเฝ้ารอการพระราชทานพรปีใหม่ จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผ่าน ส.ค.ส. พระราชทานซึ่ง ส.ค.ส พระราชทานนี้ พระองค์จะทรงประดิษฐ์ขึ้นเอง เพื่อพระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทย เนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ โดยปีแรกที่พระองค์พระราชทาน ส.ค.ส. คือ ปี ส.ค.ส. พระราชทานสำหรับปี พ.ศ. 2530 โดยทรงพิมพ์ออกจากคอมพิวเตอร์ และแฟกซ์พระราชทานให้แก่หน่วยงาน และเจ้าหน้าที่ผู้ทำงานรับใช้ใต้เบื้องพระยุคลบาท โดยทรงใช้รหัสแทนพระองค์ว่า กส.9 เช่นเดียวกับที่ทรงใช้ติดต่อทางวิทยุสื่อสาร



http://hilight.kapook.com/view/18913 (http://hilight.kapook.com/view/18913)


หัวข้อ: Re: ประวัติ ตำนาน เรื่องเล่า
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มกราคม 11, 2016, 11:26:46 AM
หาดูยาก! ชีวิตประจำวันชาวเกาหลีเหนือ

(http://img-s-msn-com.akamaized.net/tenant/amp/entityid/CCjlS2.img?h=373&w=624&m=6&q=60&o=f&l=f&x=703&y=1139)
As North Koreans cheer their country’s successful testing of a hydrogen bomb, here’s a rare look into the lives of common citizens. (Pictured) People dance near the Pyongyang Indoor Stadium in Pyongyang after the testing.

(http://img-s-msn-com.akamaized.net/tenant/amp/entityid/CCjoli.img?h=373&w=624&m=6&q=60&o=f&l=f&x=1148&y=712)
Members of North Korean military rest on their bicycles on the banks of Yalu River in Sakchu county.

(http://img-s-msn-com.akamaized.net/tenant/amp/entityid/CCjolg.img?h=373&w=624&m=6&q=60&o=f&l=f&x=1298&y=288)
A traffic police woman directs vehicles at an intersection in Pyongyang as residents commute at the end of a work day.

(http://img-s-msn-com.akamaized.net/tenant/amp/entityid/CCjolh.img?h=373&w=624&m=6&q=60&o=f&l=f)
Girls walk along an alley on the banks of Yalu River in Sakchu county.

(http://img-s-msn-com.akamaized.net/tenant/amp/entityid/CCjeGk.img?h=373&w=624&m=6&q=60&o=f&l=f)
North Koreans dressed in their swim suits play a round of volleyball at the Munsu water park in Pyongyang. The water park is open to the public

(http://img-s-msn-com.akamaized.net/tenant/amp/entityid/CCjgJU.img?h=373&w=624&m=6&q=60&o=f&l=f&x=739&y=746)
A North Korean family walks with their belongings along a road in Hyangsan county in North P'yongan as the winter season starts.

Disclaimer: In the following pictures, The Associated Press was granted permission to embark on a week-long road trip across North Korea to the country’s spiritual summit Mount Paektu. The trip was on North Korea's terms. An AP reporter and photographer couldn't interview ordinary people or wander off course, and government "minders" accompanied them the entire way.

(http://img-s-msn-com.akamaized.net/tenant/amp/entityid/BBlZaHO.img?h=373&w=624&m=6&q=60&o=f&l=f)
North Korean men, above, are seen on an airport transport bus headed to an Air Koryo flight for Beijing.

(http://img-s-msn-com.akamaized.net/tenant/amp/entityid/BBlZaHP.img?h=373&w=624&m=6&q=60&o=f&l=f&x=123&y=133)
Residents of Pyongyang, North Korea, walk by a mosaic of the late leader Kim Jong Il on the second anniversary of his death.

(http://img-s-msn-com.akamaized.net/tenant/amp/entityid/BBlYXQW.img?h=373&w=624&m=6&q=60&o=f&l=f&x=316&y=403)
Gas station in Hamhung in North Korea.

(http://img-s-msn-com.akamaized.net/tenant/amp/entityid/BBlZ0oO.img?h=373&w=624&m=6&q=60&o=f&l=f&x=342&y=567)
North Korean soldiers gather at a cemetery for military veterans near Pyongyang as they observe Chuseok, Korea's traditional Thanksgiving holiday.

(http://img-s-msn-com.akamaized.net/tenant/amp/entityid/BBlZ0oP.img?h=373&w=624&m=6&q=60&o=f&l=f&x=260&y=207)
Chests festooned with medals, North Korean retired military members stand at attention in Pyongyang.

(http://img-s-msn-com.akamaized.net/tenant/amp/entityid/BBlYXR0.img?h=373&w=624&m=6&q=60&o=f&l=f)
North Korean workers sort seafood at a factory in Rajin.

(http://img-s-msn-com.akamaized.net/tenant/amp/entityid/BBlZ5wg.img?h=373&w=624&m=6&q=60&o=f&l=f&x=333&y=114)
North Korean veterans of the Korean War sit under portraits of the late leaders Kim Il Sung and Kim Jong Il at a mass military parade to mark the 60th anniversary of the Armistice agreement.

(http://img-s-msn-com.akamaized.net/tenant/amp/entityid/BBlZ0oS.img?h=373&w=624&m=6&q=60&o=f&l=f&x=345&y=93)
North Korean seamstresses work at rows of sewing machines at the Sonbong Textile Factory inside the Rason Special Economic Zone.

(http://img-s-msn-com.akamaized.net/tenant/amp/entityid/BBlZaI1.img?h=373&w=624&m=6&q=60&o=f&l=f)
North Korean nurses care for infants in cribs inside a maternity hospital, in Pyongyang, North Korea.

msn-com


หัวข้อ: Re: ประวัติ ตำนาน เรื่องเล่า
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มกราคม 11, 2016, 11:39:47 AM
(http://img-s-msn-com.akamaized.net/tenant/amp/entityid/BBlZ5wp.img?h=373&w=624&m=6&q=60&o=f&l=f)
Dresses and suits are displayed in a dress shop in Pyongyang.

(http://img-s-msn-com.akamaized.net/tenant/amp/entityid/BBlYVhm.img?h=373&w=624&m=6&q=60&o=f&l=f&x=336&y=524)
Off-duty North Korean traffic policemen lace up ice skates at an ice skating rink in Pyongyang

(http://img-s-msn-com.akamaized.net/tenant/amp/entityid/BBlYVhl.img?h=373&w=624&m=6&q=60&o=f&l=f&x=797&y=1110)
A woman walks on a Pyongyang street in front of the pyramid-shaped 105-story Ryugyong Hotel.

(http://img-s-msn-com.akamaized.net/tenant/amp/entityid/BBlZ0oV.img?h=373&w=624&m=6&q=60&o=f&l=f)
A sign showing photos of examples of haircuts hangs in a barbershop in Pyongyang.

(http://img-s-msn-com.akamaized.net/tenant/amp/entityid/BBlZ0p4.img?h=373&w=624&m=6&q=60&o=f&l=f)
A north Korean traveler boards an airport bus on his way to board a flight from Pyongyang International Airport to Beijing, China.

(http://img-s-msn-com.akamaized.net/tenant/amp/entityid/BBlZ0oX.img?h=373&w=624&m=6&q=60&o=f&l=f&x=1222&y=637)
A North Korean woman works behind a counter in the entrance to the Golden Lane bowling alley in Pyongyang.

(http://img-s-msn-com.akamaized.net/tenant/amp/entityid/BBlZ5wB.img?h=373&w=624&m=6&q=60&o=f&l=f)
North Koreans walk along a Pyongyang street as seen through a coffee shop window curtain

(http://img-s-msn-com.akamaized.net/tenant/amp/entityid/BBlZdiM.img?h=373&w=624&m=6&q=60&o=f&l=f&x=747&y=86)
School children attend an art class at the Mangyongdae Children's Palace in Pyongyang

(http://img-s-msn-com.akamaized.net/tenant/amp/entityid/BBlZ86m.img?h=373&w=624&m=6&q=60&o=f&l=f)
A North Korean tour guide uses a pointer in front of a mosaic map at the start of a tour of a temple at the base of Mt. Myohyang, North Korea.

(http://img-s-msn-com.akamaized.net/tenant/amp/entityid/BBlYXRe.img?h=373&w=624&m=6&q=60&o=f&l=f&x=1013&y=701)
A North Korean bride and groom pose for a wedding photo with loved ones in front of statues of the late leaders Kim Il Sung and Kim Jong Il in Pyongyang.

(http://img-s-msn-com.akamaized.net/tenant/amp/entityid/BBlZ0pb.img?h=373&w=624&m=6&q=60&o=f&l=f&x=856&y=436)
A woman works behind a table selling popcorn on the ground floor of a grocery and department store in Pyongyang

(http://img-s-msn-com.akamaized.net/tenant/amp/entityid/BBlZ2Vn.img?h=373&w=624&m=6&q=60&o=f&l=f)
Caricatures of American and Japanese soldiers are stored in a room at Kaeson Kindergarten in Pyongyang

(http://img-s-msn-com.akamaized.net/tenant/amp/entityid/BBlZ5wF.img?h=373&w=624&m=6&q=60&o=f&l=f&x=332&y=357)
A North Korean nurse studies in a hallway at a pediatric hospital in Pyongyang.

(http://img-s-msn-com.akamaized.net/tenant/amp/entityid/BBlZaIj.img?h=373&w=624&m=6&q=60&o=f&l=f)
Painted Propaganda, showing North Korean children in armed services uniforms attacking U.S., Japanese and South Korean soldiers, hangs in a room inside a Pyongyang kindergarten

(http://img-s-msn-com.akamaized.net/tenant/amp/entityid/BBlZdiY.img?h=373&w=624&m=6&q=60&o=f&l=f&x=1262&y=716)
North Korean school boys play with an Associated Press photographer's camera in front of statues of the late leaders Kim Il Sung and Kim Jong Il, on Mansu Hill in Pyongyang.

(http://img-s-msn-com.akamaized.net/tenant/amp/entityid/BBlZ2Vs.img?h=373&w=624&m=6&q=60&o=f&l=f)
North Korean soldiers. Two on the bike, one in the sidecar.

(http://img-s-msn-com.akamaized.net/tenant/amp/entityid/BBlZaIo.img?h=373&w=624&m=6&q=60&o=f&l=f)
An artificial tree is decorated inside a restaurant in Pyongyang.


หัวข้อ: Re: ประวัติ ตำนาน เรื่องเล่า
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มกราคม 11, 2016, 11:50:59 AM
(http://img-s-msn-com.akamaized.net/tenant/amp/entityid/BBlZ0pe.img?h=373&w=624&m=6&q=60&o=f&l=f)
A park swing made to look like the North Korean Unha-3 rocket, stands in a park in Pyongyang.

(http://img-s-msn-com.akamaized.net/tenant/amp/entityid/BBlYXRj.img?h=373&w=624&m=6&q=60&o=f&l=f)
A frilly yellow dust cover protects a desktop computer monitor inside a Pyongyang office

(http://img-s-msn-com.akamaized.net/tenant/amp/entityid/BBlZaIf.img?h=373&w=624&m=6&q=60&o=f&l=f)
An apartment blocks stands above the playground equipment of a kindergarten in Pyongyang.

(http://img-s-msn-com.akamaized.net/tenant/amp/entityid/BBlYXRn.img?h=373&w=624&m=6&q=60&o=f&l=f)
North Korean soldiers work on a mountaintop ski slope construction site in DPRK's Masik Pass.

(http://img-s-msn-com.akamaized.net/tenant/amp/entityid/BBlYVhD.img?h=373&w=624&m=6&q=60&o=f&l=f)
Tractor, wagon and bicycle in the North Korean countryside.

(http://img-s-msn-com.akamaized.net/tenant/amp/entityid/BBlZ2Vx.img?h=373&w=624&m=6&q=60&o=f&l=f)
A pre-school playground set, shaped like the North Korean Unha rocket near Pyongyang.

(http://img-s-msn-com.akamaized.net/tenant/amp/entityid/BBlZ2Vy.img?h=373&w=624&m=6&q=60&o=f&l=f)
A North Korean woman wears silver, glittery shoes and a colorful traditional dress in Pyongyang.

(http://img-s-msn-com.akamaized.net/tenant/amp/entityid/BBlZ5wR.img?h=373&w=624&m=6&q=60&o=f&l=f)
A North Korean cleaning woman sweeps behind potted azaleas at the Koryo Hotel in Pyongyang.

(http://img-s-msn-com.akamaized.net/tenant/amp/entityid/BBlZ0pi.img?h=373&w=624&m=6&q=60&o=f&l=f)
Greetings Earthlings from Pyongyang.

(http://img-s-msn-com.akamaized.net/tenant/amp/entityid/BBlYVhH.img?h=373&w=624&m=6&q=60&o=f&l=f)
Passengers walk across the snowy tarmac at Pyongyang's airport as an Air Koryo flight arrives from Beijing.

(http://img-s-msn-com.akamaized.net/tenant/amp/entityid/BBh3ERe.img?h=373&w=624&m=6&q=60&o=f&l=f)
A man takes shelter in the rain next to long propaganda billboards in the town of Samjiyon in Ryanggang province.


(http://img-s-msn-com.akamaized.net/tenant/amp/entityid/BBh3ERZ.img?h=373&w=624&m=6&q=60&o=f&l=f)
A woman walks along an open road southeast of Pyongyang in North Hwanghae province

(http://img-s-msn-com.akamaized.net/tenant/amp/entityid/BBh3PzG.img?h=373&w=624&m=6&q=60&o=f&l=f)
A man works on his car as others sit next to the sea Wonsan.

(http://img-s-msn-com.akamaized.net/tenant/amp/entityid/BBh3Hqk.img?h=373&w=624&m=6&q=60&o=f&l=f)
Statues of animals playing musical instruments stand along the roadside south of Samsu in Ryanggang province

(http://img-s-msn-com.akamaized.net/tenant/amp/entityid/BBh3EQz.img?h=373&w=624&m=6&q=60&o=f&l=f)
An exclamation point punctuates a long propaganda slogan in a field in North Hamgyong province.

msn-com


หัวข้อ: Re: ประวัติ ตำนาน เรื่องเล่า
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มกราคม 11, 2016, 12:42:51 PM
(http://img-s-msn-com.akamaized.net/tenant/amp/entityid/BBh3UEr.img?h=373&w=624&m=6&q=60&o=f&l=f)
A man stands in front of a row of homes in the town of Kimchaek in North Hamgyong province.

(http://img-s-msn-com.akamaized.net/tenant/amp/entityid/BBh3HiC.img?h=373&w=624&m=6&q=60&o=f&l=f)
An Associated Press vehicle climbs the slopes of Mount Paektu in Ryanggang province.

(http://img-s-msn-com.akamaized.net/tenant/amp/entityid/BBh3PvY.img?h=373&w=624&m=6&q=60&o=f&l=f)
A boulder lies on a path near the peak of Mount Paektu in Ryanggang province.

(http://img-s-msn-com.akamaized.net/tenant/amp/entityid/BBh3PwR.img?h=373&w=624&m=6&q=60&o=f&l=f)
A deer's hoof, used as a door handle, hangs from the front door of the home where North Koreans say the late leader Kim Jong Il was born around Mount Paektu in Ryanggang province.

(http://img-s-msn-com.akamaized.net/tenant/amp/entityid/BBh3UAe.img?h=373&w=624&m=6&q=60&o=f&l=f)
A hotel employee walks in the lobby of a hotel that accommodates foreign visitors in Chongjin

(http://img-s-msn-com.akamaized.net/tenant/amp/entityid/BBh3MWH.img?h=373&w=624&m=6&q=60&o=f&l=f)
An apartment block stands behind hotel room curtains on the main street in Hamhung.

(http://img-s-msn-com.akamaized.net/tenant/amp/entityid/BBh3MXC.img?h=373&w=624&m=6&q=60&o=f&l=f)
A man sits by a cooking fire he built to roast potatoes and chicken in the town of Samjiyon in Ryanggang province.

(http://img-s-msn-com.akamaized.net/tenant/amp/entityid/BBbh3Zw.img?h=373&w=624&m=6&q=60&o=f&l=f&x=889&y=862)
Young North Korean school children help to fix pot holes in a rural road in North Korea's North Hamgyong province.

(http://img-s-msn-com.akamaized.net/tenant/amp/entityid/BBbhjFl.img?h=373&w=624&m=6&q=60&o=f&l=f)
Portraits of the late North Korean leaders Kim Il Sung and Kim Jong Il are illuminated on a building side as the sun rises over Pyongyang.

(http://img-s-msn-com.akamaized.net/tenant/amp/entityid/BBbgZ9m.img?h=373&w=624&m=6&q=60&o=f&l=f)
North Korean people rest next to the railroad tracks in a town in North Korea's North Hamgyong province.

(http://img-s-msn-com.akamaized.net/tenant/amp/entityid/BBbhjXr.img?h=373&w=624&m=6&q=60&o=f&l=f)
Boys play soccer in the town of Hyesan in North Korea's Ryanggang province.

(http://img.s-msn.com/tenant/amp/entityid/BBbgWUb.img?h=373&w=624&m=6&q=60&o=f&l=f)
Farmers walk in a rainstorm with their cattle near the town of Hyesan, North Korea in Ryanggang province.

(http://img-s-msn-com.akamaized.net/tenant/amp/entityid/BBbhuZL.img?h=373&w=624&m=6&q=60&o=f&l=f)
North Korean men share a picnic lunch and North Korean-brewed and bottled Taedonggang beer along the road in North Korea's North Hwanghae province.

(http://img-s-msn-com.akamaized.net/tenant/amp/entityid/BBbhtt9.img?h=373&w=624&m=6&q=60&o=f&l=f)
North Korean residents walk on a road along a river in the town of Kimchaek, in North Korea's North Hamgyong province.

(http://img-s-msn-com.akamaized.net/tenant/amp/entityid/BBbhksy.img?h=373&w=624&m=6&q=60&o=f&l=f)
A North Korean man pushes his bicycle to a village in North Korea's North Hamgyong province.

(http://img.s-msn.com/tenant/amp/entityid/BBbhI9l.img?h=373&w=624&m=6&q=60&o=f&l=f)
The remains of lunch sit on a restaurant table in the city of Wonsan, North Korea.

(http://img-s-msn-com.akamaized.net/tenant/amp/entityid/BBbhtSg.img?h=373&w=624&m=6&q=60&o=f&l=f)
A group of young North Koreans enjoys a picnic on the beach in Wonsan, North Korea.

msn-com


หัวข้อ: Re: ประวัติ ตำนาน เรื่องเล่า
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มกราคม 16, 2016, 02:02:08 PM
https://www.youtube.com/watch?v=gMObmX532GE (https://www.youtube.com/watch?v=gMObmX532GE)

เมืองลับแล ตำนาน เมืองลึกลับที่ถูกซ่อนเร้น | Remake


หัวข้อ: Re: ประวัติ ตำนาน เรื่องเล่า
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มกราคม 17, 2016, 11:23:00 AM
แบบนี้ก็มีด้วย ! คนญี่ปุ่น จัดเทศกาลแห่ กระปู๋ยักษ์ สยิวได้ใจสุดๆ

https://www.youtube.com/watch?v=sFJ3cW453uU (https://www.youtube.com/watch?v=sFJ3cW453uU)

Kanamara Matsuri 2014 - Kawasaki


หัวข้อ: Re: ประวัติ ตำนาน เรื่องเล่า
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มีนาคม 26, 2020, 07:46:31 PM
พระบำราศนราดูร รัฐมนตรีปราบโรคระบาด ที่มาชื่อสถาบันบำราศนราดูร
.
สถาบันบำราศนราดูร เป็นสถาบันสังกัดกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เป็นสถาบันที่ดูแลเรื่องโรคติดต่อร้ายแรงอย่างเช่นโรคเอดส์ รวมถึงหน้าที่ในการกักกันผู้ป่วยโรคติดต่ออันตรายตามข้อตกลงระหว่างประเทศ สถาบันแห่งนี้จึงถูกกล่าวบ่อยครั้งเมื่อมีการรายงานข่าวที่เกี่ยวพันกับการระบาดของไวรัสอันตราย (เช่น COVID-19)
.
ที่มาของสถาบันแห่งนี้เริ่มจากหลังการฉลองกึ่งพุทธกาลในปี 2500 ตามด้วยการรัฐประหารของ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ จากนั้นก็เกิด "ห่าลง" เมืองไทย โชคดีที่ "คุณ" สฤษดิ์ มีมือดีดูแลกระทรวงสาธารณสุข ไม่ใช่นายทุนที่ไม่มีความรู้ทางสาธารณสุขแต่ถูกแต่งตั้งให้มานั่งเก้าอี้เพื่อตอบแทนการสนับสนุนให้ตนมีโอกาสได้ยึดอำนาจ ทำให้การควบคุมโรคอหิวาต์สมัยนั้นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สฤษดิ์พอใจในผลงานของรัฐมนตรีรายนี้มาก เมื่อมีการสร้างโรงพยาบาลใหม่เพื่อดูแลโรคระบาด จึงเสนอชื่อโรงพยาบาลตามชื่อของรัฐมนตรีท่านนี้
.
นั่นคือ "พระบำราศนราดูร"
.
พระบำราศนราดูร หรือ นายแพทย์บำราศ เวชชาชีวะ เดิมมีชื่อว่า ฮกหลง พอโตหน่อยจึงมาใช้ชื่อว่า "หลง" ให้ฟังดูเป็นไทย และเปลี่ยนอีกครั้งเป็น บำราศ ใน พ.ศ. 2485  เพื่อให้ดูเป็นไทยยิ่งขึ้นไปอีกตามนโยบายรัฐนิยมของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม และได้ใช้ชื่อนี้มาโดยตลอด ส่วนสกุล "เวชชาชีวะ" นั้น เป็นนามสกุลพระราชทานที่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานให้แก่ พระบำราศ ขึ้นไปถึง เบ๋ง ผู้เป็นปู่
.
พระบำราศ เป็นบุตรของแสง (จิ้นเสง) กับ พร (ชุมพร) เวชชาชีวะ เกิดเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2439 ส่วนสถานที่เกิดนั้น หนังสืออนุสรณ์งานศพของพระบำราศนราดูรให้ข้อมูลที่ขัดกันไว้ โดยในหนังสือประวัติของพระบำราศระบุว่าเกิดที่ตำบลพุงทลายฝั่งตะวันออก อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี แต่พระบำราศเองเคยบอกปากเปล่าเอาไว้ว่าตนเกิดที่ระยอง ระหว่างที่พ่อไปหาซื้อเรือฉลอม เพราะที่บ้านมีกิจการค้าทางเรือ
.
ในวัยเด็ก พระบำราศบวชเณรอยู่วัดจันทนารามอยู่ราวหนึ่งปี จึงได้ขึ้นเรียนตามระบบสามัญ จบแล้วก็ไปเรียนบาลีที่วัดบวรนิเวศวิหารอีกราวสองปี จึงสึกแล้วไปสอบเข้าเป็นนักเรียนแพทย์ที่โรงเรียนราชแพทยาลัย กระทรวงธรรมการ วังหลัง ธนบุรี เมื่อต้นเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2453 ขณะมีอายุได้เพียง 14 ปีเศษ ถือเป็นนักเรียนแพทย์ที่อายุน้อยที่สุดในชั้น สำเร็จการศึกษาแล้วก็ได้รับราชการในกรมพยาบาล กระทรวงมหาดไทย ตำแหน่งแพทย์ กรมพยาบาล ในช่วงกลางปี พ.ศ. 2457 ก่อนถูกส่งตัวไปให้ประจำอยู่ที่ลพบุรี
.
ระหว่างเป็นแพทย์อยู่ที่ลพบุรี พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นชัยนาทนเรนทร อธิบดีกรมสาธารณสุข ทรงประสงค์จะเลือกให้พระบำราศไปเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยจอห์น ฮอปกินส์ แต่พระบำราศไม่พร้อมเรื่องภาษาอังกฤษจึงไม่ได้ไปเรียนต่อ ครั้น ม.จ. สกลวรรณากร วรวรรณ ขึ้นเป็นอธิบดีแทน ก็พยายามจะส่งพระบำราศไปเรียนต่ออีกรอบ แต่ก็ยังคงติดขัดเรื่องภาษาและด้วยงานราชการที่มากล้น สุดท้ายพระบำราศจึงมิได้เรียนต่อ แต่ก็ก้าวหน้าในระบบราชการอย่างรวดเร็ว
.
ต่อมาในปี 2469 พระบำราศได้ย้ายมาดำรงตำแหน่งสาธารณสุขมณฑลอยุธยา ระหว่างนี้มีโรคอหิวาต์ระบาดในกรุงเก่า พระบำราศลงพื้นที่ไปดูแลด้วยตัวเองเป็นส่วนมาก มีการสั่งให้สร้างเรือนโรคติดต่อขึ้นที่โรงพยาบาลปัญจมาธิราชอุทิศ เพราะก่อนนั้น มีผู้ติดโรคถูกปฏิเสธการรักษาโดยเหตุว่าไม่มีที่จะรับ ผู้ติดโรคอหิวาต์บางรายจึงถูกพบว่าไปตายในเรือจ้าง พระบำราศจึงได้วางระเบียบว่า จะต้องรับผู้ป่วยทุกรายที่มาถึงโรงพยาบาล พร้อมจัดระเบียบการรักษาให้ดีขึ้น ก่อนที่เขาจะย้ายเข้ากรุงเทพฯ ในปี 2472 รับตำแหน่งผู้อำนวยการกองสาธารณสุข   
.
เมื่อได้เข้าส่วนกลาง พระบำราศก็เติบโตในสายงานเรื่อยมา ได้รับบรรดาศักดิ์เป็น พระบำราศนราดูร ถือศักดินา 800 ไร่ ในปี 2474 ก่อนหน้าการปฏิวัติหนึ่งปี จนได้เป็นถึงปลัดกระทรวงสาธารณสุขในปี 2497 (กรมสาธารณสุขได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นกระทรวงสาธารณสุขในปี 2485) อยู่ในตำแหน่งจนเกษียณก็ยังได้รับการต่ออายุราชการไปอีก ถึงปี 2501 จึงพ้นจากตำแหน่งปลัดกระทรวงฯ แต่ก็ยังทำหน้าที่ช่วยราชการพิเศษให้กับทางกระทรวงต่อไป
.
ช่วงนี้เอง สฤษดิ์หัวหน้าคณะปฏิวัติ (พ.ศ. 2500) ประสงค์จะขึ้นมานั่งเก้าอี้นายกรัฐมนตรีเอง หลังให้ลูกน้องอย่าง จอมพลถนอม กิตติขจร นั่งขัดตาทัพมาได้ไม่ทันครบปี และอยากได้พระบำราศมาเป็นรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข แม้ทั้งคู่จะมิเคยรู้จักพบหน้ากันมาก่อน เพื่อตอกย้ำภาพลักษณ์ว่ารัฐบาลของเขาปราศจากนักการเมืองที่แสวงหาประโยชน์ จึงหวังเอาข้าราชการเก่าที่มีผลงานมารับตำแหน่งช่วยสร้างความชอบธรรมให้กับรัฐบาลของตัวเอง ตามประวัติระบุว่า เบื้องต้นพระบำราศให้คำปฏิเสธไปอ้างว่ามีคนที่เหมาะสมกว่า ทั้งความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ รวมถึงภาษาอังกฤษของตนเองก็ไม่ดี เกรงจะไม่เหมาะ แต่สุดท้ายเขาก็ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้รับตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข ในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2502
.
"พอเริ่มเป็นรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข ก็ดำเนินการป้องกันและปราบปรามอหิวาตกโรคทันที ซึ่งขณะนั้นกำลังระบาดหนัก ได้ออกไปตรวจดูการป้องกันและรักษาพยาบาลด้วยตนเองตามท้องที่ต่าง ๆ หลายแห่ง ต่อมาไม่นานโรคก็สงบ ฯพณฯ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรี พอทราบว่ารัฐมนตรีออกไปตรวจดูด้วยตนเองก็มีความยินดีมาก และเร่งให้รีบสร้างโรงพยาบาลโรคติดต่อเป็นการด่วน โดยให้ย้ายโรงพยาบาลโรคติดต่อเดิมจากถนนดินแดงไปหาที่ก่อสร้างใหม่ที่เหมาะสมกว่า ในที่สุดก็ได้ที่ดินของโรงพยาบาลศรีธัญญา นนทบุรี เป็นที่สร้างโรงพยาบาล
.
"เมื่อสร้างเสร็จแล้ว ฯพณฯ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรี ได้เสนอคณะรัฐมนตรีให้ชื่อโรงพยาบาลนี้ว่า 'โรงพยาบาลบำราศนราดูร' และ ฯพณฯ จอมพลฯ เองก็ได้เป็นประธานกระทำพิธีเปิดโรงพยาบาลเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2503 โดยมีรัฐมนตรี ข้าราชการ และผู้มีเกียรติอื่น ๆ ไปร่วมพิธีด้วยเป็นจำนวนมาก" ความตอนหนึ่งจากหนังสืออนุสรณ์งานศพพระบำราศนราดูร ระบุ
.
(โรงพยาบาลบำราศนราดูร ถูกปรับโครงสร้างและเปลี่ยนชื่อเป็น สถาบันบำราศนราดูร ใน พ.ศ. 2545)
.
ระหว่างดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี พระบำราศสร้างผลงานหลายอย่าง เช่น โครงการบำบัดโรคคุดทะราด โครงการควบคุมวัณโรค โครงการกำจัดกวาดล้างไข้มาลาเรีย โครงการควบคุมและบำบัดโรคเรื้อน และเป็นผู้ริเริ่มกราบบังคมทูลขอเงินพระราชทานช่วยเหลือคนโรคเรื้อนตั้งเป็นมูลนิธิ ซึ่งต่อมาพระราชทานนามว่า "มูลนิธิราชประชาสมาสัย" มีการส่งเสริมบทบาทของอนามัยชนบท ประสานงานในการป้องกันและปราบปรามโรคไข้เลือดออก โดยขอแรงหน่วยราชการต่าง ๆ รวมกันจัดตั้งโรงพยาบาลทำการวิจัย และรักษาไข้เลือดออกขึ้นที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า เมื่อปี 2507 ทั้งยังเป็นผู้ให้กำเนิดสถาบันมะเร็งแห่งชาติ ในกระทรวงสาธารณสุข "อาคารดำรงนิราดูร" ก็เป็นนามพระราชทาน เนื่องจากผลงานของพระบำราศนั่นเอง
.
พระบำราศ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีในรัฐบาลของสฤษดิ์ จนสฤษดิ์เสียชีวิต เมื่อถนอมขึ้นมารับตำแหน่งแทน บำราศก็ยังได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีสืบมาจนถึงปี 2512 หลังมีการเลือกตั้งและจัดรัฐบาลชุดใหม่ (ที่ยังมีนายกฯ หน้าเดิม) บำราศก็ไม่ได้รับโอกาสให้ทำหน้าที่เดิมต่ออีก
.
ในบั้นปลายหลังวัยเกษียณ พระบำราศที่แข็งแรงมาโดยตลอด แทบไม่เคยเจ็บป่วย ก็ถูกตรวจพบอาการผิดปกติทางหัวใจ คือหัวใจเต้นผิดจังหวะ เส้นเลือดโคโรนารีตีบ และหัวใจอ่อน แต่ก็รักษาสุขภาพเป็นอย่างดี ทำให้อาการต่าง ๆ อยู่ในภาวะที่ควบคุมได้ จนกระทั่งปลายปี 2527 พระบำราศก็ล้มป่วยลงอีกครั้ง เบื้องต้นแพทย์เข้าใจว่าเป็นอาการไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลัน ครั้นเมื่อทำการตรวจอย่างละเอียดก็พบว่าน่าจะเป็นอาการลำไส้เล็กอุดตัน แต่เมื่อลงมือผ่าตัดจริงจึงพบว่าเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารขั้นสุดท้าย หลังทำการผ่าตัดได้เพียงราวสองอาทิตย์ พระบำราศก็จากไปในวันที่ 12 พฤศจิกายน 2527 ในวัย 88 ปี
.
เรื่อง: อดิเทพ พันธ์ทอง
.
อ่าน "พระบำราศนราดูร รัฐมนตรีปราบโรคระบาด ที่มาชื่อสถาบันบำราศนราดูร" แบบเว็บไซต์ที่ https://thepeople.co/phra-bamrad-naradura-public-health-minister/
.
#ThePeople #History #บำราศเวชชาชีวะ #พระบำราศนราดูร #สถาบันบำราศนราดูร #โควิด19 #โรคระบาด

*แก้ไขคำเรียก จาก "บำราศ" อย่างลำลอง เป็น "พระบำราศ" ตามคำทักท้วงของญาติ เนื่องจาก แม้จะมีการยกเลิกบรรดาศักดิ์ในปี 2485 แต่ในปี 2487 ได้มีประกาศยกเลิกคำสั่งดังกล่าวออกมาทำให้ผู้มีบรรดาศักดิ์กลับไปใช้บรรดาศักดิ์ได้ตามเดิม
**นามสกุล เวชชาชีวะ มิได้มอบให้กับ เบ๋ง แต่มอบให้กับ พระบำราศ และย้อนขึ้นไปถึงบุพการี


หัวข้อ: Re: ประวัติ ตำนาน เรื่องเล่า
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มิถุนายน 18, 2020, 10:23:58 PM
จาก ‘ประเสริฐ’ สู่ ‘แม่โขง’
เพราะ ‘จิม ทอมป์สัน’

‘สุราแม่โขง’ ที่คนไทยรู้จักกันดีเกือบ ๘๐ ปี ผู้ตั้งชื่อให้ก็คือ ‘จิม ทอมป์สัน’ ราชาไหมไทย-ฝรั่งที่เข้าถึงฟีลลิ่งคนไทยอย่างลึกซึ้ง.

สืบเนื่องจากความประทับใจในรสชาติของสุราบางยี่ขันในขณะที่ล่องเรือแม่น้ำโขงกับเพื่อนชาวไทย เมื่อปี ๒๔๘๙ และเกิดปิ๊งไอเดียว่า เขาพร้อมจะสั่งซื้อสุรายี่ห้อนี้จำนวนมาก แต่ขอเปลี่ยนชื่อจาก ‘สุราประเสริฐ’ มาเป็น ‘สุราแม่โขง’ จะให้ความรู้สึกดีกว่าเป็นชื่อของผู้ปรุงเหล้า คือ ‘คุณประเสริฐ เทพหัสดิน ณ อยุธยา’ แต่ภายหลังคุณประเสริฐได้แยกทางกับโรงงานสุราบางยี่ขันพร้อมเก็บเอาสูตรคลาสสิคเอาไปด้วย ต่อมา  ‘คุณจุล กาญจนลักษณ์’ นักปรุงสุราระดับตำนานได้คิดค้นสูตรใหม่ใกล้เคียงกับสูตรเดิมจน โดยใช้ชื่อ ‘สุราแม่โขง’ ต่อไปตามที่มร.จิม ทอมป์สันลูกค้ากิตติมศักดิ์นำเสนอ จนเป็นที่เฟื่องฟูมากที่สุดในตลาดประเทศไทย ชื่อของคุณประเสริฐเจ้าเก่า จึงค่อยๆเลือนหายไปพร้อมกับ ‘สุราประเสริฐ’.

จากความทรงจำของ ‘คุณสวัสดิ์ ตราชู’ คัดจากหนังสือ ‘เตียง ศิริขันธ์ฯ’ สำนักพิมพ์แม่คำผาง ๒๕๕๓ บันทึกว่า

“...วันหนึ่ง นายเตียงนำมิสเตอร์จิม ทอมป์สันลงเรือกลไฟล่องรอนแรมไปตามน้ำโขง ตั้งแต่เวียงจันทน์จนถึงนครพนม เป็นการพักผ่อนไปในตัว ขณะที่อยู่ในเรือก็มีการกินเลี้ยง และดื่มสุราผสมยี่ห้อ ‘ประเสริฐ’ (ผลิตโดยโรงงานสุราบางยี่ขัน) ซึ่งมีรสชาติกลมกล่อมเป็นที่ถูกอกถูกใจมิสเตอร์จิม ทอมป์สันเป็นอย่างมาก  เมื่อมาถึงกรุงเทพฯก็ให้เตียงติดต่อจัดซื้อสุราประเสริฐจากโรงงานบางยี่ขันหลายลัง แต่ต้องให้โรงงานเปลี่ยนชื่อยี่ห้อ ‘ประเสริฐ’ เป็นยี่ห้อ ‘แม่โขง’ เสียก่อน เพราะเขายังฝังอกฝังใจอยู่กับทัศนียภาพของสองฝั่งโขงอย่างมิรู้ลืม.

“ทางโรงงานบางยี่ขันก็ไม่ขัดข้อง ยินดีเปลี่ยนชื่อยี้ห้อให้ตามต้องการ นี่แหละคือชื่อที่มาของชื่อสุรา ‘แม่โขง’ ซึ่งเป็นที่นิยมชมชอบของนักดื่มมาตราบจนปัจจุบัน.”


หัวข้อ: Re: ประวัติ ตำนาน เรื่องเล่า
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มิถุนายน 18, 2020, 10:30:24 PM
"ตอนที่ ลาว เวียดนาม กัมพูชา แตกในช่วงปี 2517 - 18 นั้น ผมเรียน ม.ปลาย ที่เตรียมอุดม  ตอนนั้นพอเลิกเรียนก็จะไปหาแม่ที่ทำงานอยู่แถวถนนสุริวงศ์ ใกล้ รร.ทรอคาเดโร 

ยังจำภาพคนเวียดนาม ที่หนีออกจากเวียดนามมาไทย และพักที่ รร.ทรอคาเดโร ซึ่งเป็น รร.ที่ทาง UNHCR  จัดให้เป็นที่พักก่อนที่จะนำพวกเขาไปประเทศที่ 3   

ยังจำภาพได้ติดตา น่าสงสารมาก พวกเขาหอบลูกจูงหลาน หอบทรัพย์สมบัติเท่าที่มีมาเป็นกระเป๋าๆ เต็มไปหมด   บางคนนั่งกอดลูกหลานร้องไห้  บางคนนั่งซึมเศร้าเหม่อลอยเหมือนไม่รู้โชคชะตาในวันข้างหน้าจะเป็นอย่างไร

หลังจาก ลาว เวียดนาม กัมพูชา แตกแล้วอีกหลายปี ก็ยังมีผู้อพยพหนีตายจากภัยคอมมิวนิสต์เข้าไทยตลอดเวลา

ยังจำเรื่องราวของพ่อแม่ดาราดัง "อนันดา เอเวอริ่งแฮม" ได้ดี  พ่อเขาเป็นผู้สื่อข่าวชาวออสเตรเลีย  พาแม่ของอนันดาซึ่งเป็นคนลาว ว่ายน้ำข้ามโขงมาขึ้นที่ฝั่งหนองคายสำเร็จ เป็นข่าวดังมาก จนถึงกับ Hollywood เอาไปสร้างเป็นหนัง

ตอนประมาณปี 24 ตอนนั้นผมสอบติดเข้าเป็นข้าราชการที่ กต.แล้ว ตอนนั้นมีท่าน พล.อ.อ.สิทธิ เศวตศิลา เป็น รมว.กต. ผมเข้าทำงานที่กรมพิธีการทูตเป็นที่แรก

ได้มีโอกาสตามคณะผู้ใหญ่ไปเยี่ยมชมค่ายผู้ลี้ภัยที่ชายแดนด้านตะวันออก  ส่วนใหญ่เป็นชาวลาว และชาวกัมพูชาที่หนีตายมา 

ตอนนั้น สมเด็จพระนางเจ้าฯราชินีนาถ พระพันปีหลวง ใน ร.9 ในฐานะองค์ประธานสภานายิกา  ได้ทรงให้เปิดพรมแดนทุกด้านที่ติดกับลาว และกัมพูชา รับเอาผู้ลี้ภัยชาวลาวและกัมพูชาจำนวนนับแสน นับล้านคน ให้ข้ามมาฝั่งไทย 

โดยไทยเราระดมสรรพกำลังทุกหน่วยงาน โดยมี สภากาชาดไทย เป็นหัวหอกในการดูแลผู้ลี้ภัย ร่วมกับ UNHCR  ทุกอย่างฉุกละหุก อลหม่าน ยุ่งเหยิง เพราะต้องดูแลคนเป็นหมื่นๆแสนๆคนต่อวัน ทุกวัน เป็นเวลาหลายปี

เป็นงานที่หนักและต้องเสียสละมาก จนกระทั่ง UN ได้ทูลเกล้าฯถวายเหรียญเชิดชูเกียรติ "เซเรส" ให้พระพันปีหลวงด้วย

บรรยากาศที่ค่ายผู้อพยพลี้ภัยนั้น สุดจะบรรยาย ลูกเด็กเล็กแดงร้องไห้กันกระจองอแง  มีโรคภัยไข้เจ็บระบาดด้วย 

ยังจำได้ดีว่าหากมีทริปไหนที่พวกเราต้องไปค่ายผู้ลี้ภัยชายแดน กลับมาจะต้องป่วยด้วยโรคใดโรคหนึ่งเสมอ  แม้กระทั่ง พล.อ.อ.สิทธิ รมว.กต.ก็ยังเจ็บเพราะไปค่ายผู้ลี้ภัย

ตอนนั้นผมเป็นขรก.กต.แล้ว ก็ได้อ่านรายงานข่าวเรื่องที่มีความพยายามจากหลายหน่วยงานทั้งไทยและต่างชาติ ร่วมกับลาวฝ่ายขวา ที่จะนำ สมเด็จพระสังฆราชลาว ข้ามโขงหนีมาไทย เกือบข้ามโขงได้แล้วแต่ไม่สำเร็จ ในที่สุดท่านก็ไปมรณภาพในค่ายอบรม ถ้าจำไม่ผิด เรื่องนี้อ่านแล้วสะเทือนความรู้สึกมาก

ที่พยายามเล่ามาให้ฟังนี้ เพียงเพื่อจะถ่ายทอดให้เด็กรุ่นใหม่บางคน ถ้าหากมีโอกาสได้เข้ามาอ่าน จะได้รู้ว่าในยามที่ "บ้านแตกสาแหรกขาด" นั้นมันเศร้าสะเทือนใจอย่างไร 

ประเทศไทยเราโชคดีที่ในช่วงนั้นเรามีสถาบันที่มั่นคง มิฉะนั้น เราอาจจะต้องแตกพ่ายกับภัยคอมมิวนิสต์ไปแล้ว  ตอนนั้นสำนักข่าวต่างชาติทำนายไว้แล้วว่า ไทยจะเป็นโดมิโนตัวต่อไป  แต่สุดท้ายเราก็รักษาเอกราชและความมั่นคงไว้ได้ ไม่เป็นโดมิโน

อ่านเรื่องราวที่เด็กรุ่นใหม่แสดงความผยอง ท้าทาย อยากให้เมืองไทยพลิกฟ้าคว่ำแผ่นดิน โดยที่พวกเขาไม่เคยรับรู้หรือมีประสบการณ์ตรงกับเหตุการณ์ที่ลาว เวียดนาม กัมพูชา แตก แล้วเศร้าใจ

พวกเขาเกิดไม่ทันไม่เป็นไร แต่พวกเขาไม่ขวนขวายในการศึกษาอ่านประวัติศาสตร์  เอาแต่ตั้งคำถามรุกไล่ผู้ใหญ่แบบท้าทาย ถ้าวันนั้นประเทศไทยแตกเป็นเสี่ยงๆ  น้องฟ้า น้องกะปอม อาจเกิดหรือโตในค่ายผู้ลี้ภัย ไม่มีแผ่นดินเป็นของตัวเอง (แต่พวกเขาอาจชอบก็เป็นได้)

ตอนผมอยู่ที่อาร์เจนตินา ก็มีชุมชนลาวอพยพที่รัฐบาลอาร์เจนตินารับไว้ ส่วนใหญ่เป็นพวกรากหญ้าที่ทางสหรัฐ และ ยุโรป ไม่เอา เลยต้องระเห็จมาอยู่ที่อาร์เจนตินา  มีอยู่ 2 ชุมชนใหญ่ อันแรกอยู่ที่ Chascomus  และอีกแห่งอยู่ที่เมือง Posada ใกล้พรมแดนบราซิล  ทั้ง 2 ชุมชนนี้มีจำนวนรวมแล้วหลายพันคน

เวลาผมไปเยี่ยมพวกเขาจะดีใจมาก สาเหตุที่ผมต้องไปเยี่ยม เพราะในชุมชนเหล่านี้มีพี่น้องคนไทยจากจังหวัดต่างๆทางภาคอีสานที่ตอนนั้นแฝงตัวเป็นคนลาวเข้าไปในค่ายผู้ลี้ภัย หวังจะได้ไปใช้ชีวิตที่อเมริกาหรือยุโรป แต่สุดท้ายถูกส่งมาที่อาร์เจนตินาแทนจำนวนนับร้อยคน

ได้ไปคุยส่งภาษาไทย ภาษาลาว กับพี่น้องคนไทย คนลาว ที่ชุมชนทั้ง 2 แห่ง ถ้าเป็นคนรุ่นเก่าๆก็ยังพูดได้ดี รวมทั้งลูกหลานที่ไปโตที่นั่น หลายคนยังพอพูดได้ แต่ถ้าเป็นลูกหลานที่ไปเกิดที่อาร์เจนตินา ส่วนใหญ่เกือบทั้งหมดจะพูดไทย พูดลาวไม่ได้แล้ว พูดได้แต่ภาษาสเปน
อยากบอกน้องฟ้า น้องกะปอม ว่า การเป็นพลเมืองชั้นสอง ในประเทศอื่น มันไม่ได้สวยงามอย่างที่คิด หรืออย่างที่กระแนะกระแหน ดูถูกชังชาติไว้หรอก เชื่อลุงนิคเหอะ 

ลุงได้เห็นตั้งแต่ตอนลาว เวียดนาม กัมพูชา แตก ได้เห็นสภาพที่อเน็จอนาถใจของการพลัดพรากจากคนที่รัก พลัดพรากจากบ้านเกิดเมืองนอน  มันหดหู่ใจมาก ถ้าใครอยากรู้ว่าเป็นอย่างไร แนะนำให้ไปหาหนังเรื่อง  Killing Fields ดู

น้องฟ้า น้องกะปอม หรือ เพื่อนอีฉ้อ อย่าดูถูกดูหมิ่นสถาบันนักเลย ที่เราอยู่รอดมาได้จนถึงทุกวันนี้ถ้าไม่ได้ในหลวง ร.9 และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระพันปีหลวง  พวกหนูอาจไม่ได้เป็นคนไทย อาจไปตกระกำลำบากอยู่ที่ไหนสักแห่ง หรือ อาจไม่ได้เกิดเลย เพราะพ่อแม่หนูอาจถูกฆ่าตายไปก่อนที่จะมีหนูด้วยซ้ำ

อย่าบ้าหลงคารมนักการเมืองที่ลืมกำพืด ลืมรากเหง้า ที่เขาอัดข้อมูลใส่ล้างสมองพวกหนู จนเสีย self ความเป็นคนไทยเลย มันไม่คุ้มหรอก"

ขอบคุณข้อมูลจาก ท่านทูตนริศโรจน์ เฟื่องระบิล


หัวข้อ: Re: ประวัติ ตำนาน เรื่องเล่า
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ พฤศจิกายน 29, 2020, 08:44:11 AM
อรุณสวัสดิ์ครับ วันนี้มาเสริมความรู้เกี่ยวกับคุณประโยชน์ของ “มันสีม่วง”ที่เอามาทำเมนูอะไรก็อร่อย มันม่วงเป็นพืชกินหัวมีถิ่นกำเนิดอยู่ในอเมริกากลางและอเมริกาใต้ มันม่วงมีสารต้านอนุมูลอิสระ สารแอนโทไซยานิน ช่วยยับยั้งเซลมะเร็ง,ช่วยบำรุงสายตา,บำรุงผิวพรรณช่วยชะลอวัย,ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด

“มันม่วง” ดีอย่างไร กระแสมันม่วงมีมาสักพักแล้วแต่ก็ยังไม่มีวี่แววว่าความฮอตของมันม่วงจะลดน้อยลงไปสักเท่าไร เพราะนอกจากจะมีการนำมันม่วงมาทำขนม ทาร์ต,ไอศกรีมมันม่วง เดี๋ยวนี้เริ่มเห็นเมนูขนมไทย ๆ อย่างขนมมันม่วง บัวลอยมันม่วง ไข่นกกระทามันม่วง ตะโก้มันม่วง เรียกว่ามองไปทางไหนก็มีแต่มันม่วงเต็มบ้านเต็มเมืองไปหมด แสดงให้เห็นว่ามันม่วงเป็นอาหารที่นำมาทำเมนูอะไรก็อร่อย สีมันเทศสีม่วงก็สวยน่ารับประทาน และในส่วนสรรพคุณของมันม่วงนั้นมีประโยชน์มากเช่นกัน

@มันม่วง คือมันอะไรกันแน่
         จริง ๆ แล้วกระแสมันม่วงที่ฮิตกันมาจากมันม่วงของญี่ปุ่น แต่มันม่วงที่เห็นขายกันตามท้องตลาดบ้านเรา เป็นมันเทศสีม่วงที่ปลูกในไทย เรียกว่า”มันต่อเผือก” ซึ่งมันเทศสีม่วงมีชื่อภาษาอังกฤษว่า Sweet Potato ส่วนชื่อทางวิทยาศาสตร์ของมันม่วงนั้นคือ Ipomoea batatas (L.) Lam. มันเทศจัดเป็นพืชในวงศ์ Convolvulaceae

          มันเทศสีม่วงจัดเป็นพืชกินหัว มีลำต้นเป็นเถาหรือเป็นพุ่มตั้งตรง ถิ่นกำเนิดของมันเทศสีม่วงอยู่ในเขตร้อนแถบอเมริกากลางและอเมริกาใต้ ส่วนมันเทศสีม่วงในไทยมีแหล่งเพาะปลูกอยู่ทั่วทุกภาค โดยมีพื้นที่เพาะปลูกมันเทศสำคัญแบ่งตามภูมิภาคได้ ดังนี้

          - ภาคเหนือ : เชียงใหม่ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ และสุโขทัย
          - ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : เลย สุรินทร์ และบุรีรัมย์
          - ภาคกลาง : อยุธยา สุพรรณบุรี และปทุมธานี
          - ภาคใต้ : นครศรีธรรมราช ชุมพร และปัตตานี

@มันม่วง อร่อยและดีต่อสุขภาพ
          ประโยชน์ของมันม่วงที่เด่น ๆ นอกจากจะมีไฟเบอร์เยอะแล้ว ตัวสารต้านอนุมูลอิสระที่ชื่อว่าแอนโทไซยานินก็เป็นสรรพคุณสุดยอดของมันม่วง โดยกินมันม่วงแล้วก็จะได้ประโยชน์ตามนี้

1. ลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด
          แอนโทไซยานินที่มีอยู่ในมันเทศสีม่วงมีคุณสมบัติต้านปฏิกิริยาออกซิเดชั่นของไขมัน โดยจะทำหน้าที่ยับยั้งการรวมตัวระหว่างออกซิเจนกับคอเลสเตอรอลชนิด LDL จากกระบวนการออกซิเดชั่น จึงถือว่ามันเทศสีม่วงมีส่วนช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือด ลดความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดได้

2.  ช่วยบำรุงผิวพรรณ และผม
          สารต้านอนุมูลอิสระอย่างแอนโทไซยานินและสารฟลาโวนอยด์ในมันเทศสีม่วงมีคุณสมบัติช่วยดูดซับอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ในร่างกาย อีกทั้งสารต้านอนุมูลอิสระเหล่านี้ยังมีฤทธิ์ต้านรังสียูวี ช่วยให้ผิวพรรณไม่โดนรังสียูวีทำร้าย นอกจากนี้สารอาหารในมันม่วงยังมีส่วนกระตุ้นให้เส้นผมดำ ชะลอการเกิดผมหงอกอีกด้วย

3. ช่วยชะลอวัย
          ผลการศึกษาของ น.ส.พัชรี มั่นคง นักศึกษาหลักสูตรพิษวิทยาทางอาหารและโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยทดลองกับแมลงหวี่ ซึ่งมีระบบเอนไซม์คล้ายกับมนุษย์ พบว่า มันเทศสีม่วงมีส่วนช่วยชะลอวัยได้ 13% มันเทศสีเหลืองช่วยชะลอวัยได้ 11% โดยสารต้านอนุมูลอิสระในมันเทศสีม่วงมีคุณสมบัติต้านการเกิดไกลเคชั่น ซึ่งเป็นการทำปฏิกิริยาระหว่างน้ำตาลกับโปรตีนในร่างกาย อันเป็นปัจจัยที่โน้มน้าวให้เซลล์เสื่อมหรือแก่ลง ซึ่งภาวะนี้มักจะพบได้มากในผู้สูงอายุ หรือในผู้ป่วยเบาหวาน ที่น้ำตาลในเลือดจะไปจับโปรตีนในเซลล์ ส่งผลให้เส้นเลือดเสื่อมสภาพเร็วกว่าที่ควร

4. ช่วยลดโรคแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวาน
          ด้วยความที่สารต้านอนุมูลอิสระในมันเทศสีม่วงมีคุณสมบัติต้านการเกิดไกลเคชั่นระหว่างน้ำตาลกับโปรตีนในร่างกาย ดังนั้นการได้รับแอนโทไซยานินจากมันเทศสีม่วงก็ช่วยยับยั้งการจับตัวของน้ำตาลกับโปรตีนในระดับเซลล์ ส่งผลให้เซลล์ในร่างกายและเส้นเลือดเสื่อมน้อยลง ลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวานได้

5. ต้านมะเร็ง
         การศึกษาจากต่างประเทศโดยนักวิทยาศาสตร์ Wargovich, Chen, Jimenez, and Steele เมื่อปี ค.ศ. 1996 พบว่า สารสกัดจากแอนโทไซยานินมีคุณสมบัติป้องกันมะเร็งได้ โดยการใช้แอนโทไซยานินที่ระดับความเข้มข้นต่ำ สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเต้านมของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่เป็นอาสาสมัครได้

          อีกทั้งยังมีการศึกษาที่สนับสนุนคุณสมบัติต้านมะเร็งของแอนโทไซยานินในมันม่วงด้วยว่า สารต้านอนุมูลอิสระชนิดนี้มีคุณสมบัติต้านมะเร็งลำไส้ โดยมีไฟเบอร์เป็นตัวช่วยกระตุ้นระบบขับถ่าย ทำให้ระบบขับถ่ายทำงานคล่องตัว ลดความเสี่ยงมะเร็งในระบบทางเดินอาหารได้

@มันม่วง แคลอรีเยอะไหม กินมันม่วงช่วยลดน้ำหนักได้หรือไม่
          อย่างที่เห็นว่ามันม่วงมีแคลอรีอยู่ 114 กิโลแคลอรีต่อ 100 กรัม ซึ่งก็จัดว่าเป็นอาหารที่ให้พลังงานในระดับปานกลาง แต่ทั้งนี้อย่าลืมว่ามันม่วงมีคาร์โบไฮเดรตสูงมากเช่นกัน แต่คาร์โบไฮเดรตในมันม่วงนั้นเป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน ทำให้เราอิ่มเร็วและอิ่มอยู่ท้องได้นาน

          ดังนั้นคนที่จะกินมันเทศลดน้ำหนัก ก็ควรเลือกกินคาร์โบไฮเดรตจากอาหารชนิดใดชนิดหนึ่งต่อมื้อ เช่น หากเลือกกินมันเทศก็ควรเลี่ยงข้าว ขนมปัง รวมไปถึงแป้งในรูปแบบต่าง ๆ ที่สำคัญควรเลือกรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ตามหลักโภชนาการที่ดี ร่วมกับหมั่นออกกำลังกายอย่างน้อย 3-4วันต่อสัปดาห์ด้วยจะทำให้ร่างกายแข็งแรงยิ่งขึ้น


*ขอขอบคุณข้อความดีๆ ไว้ ณ ที่นี้ด้วยค่ะ*
ขอขอบคุณ พี่ภาคินที่นำข้อมูลดีๆมาให้อ่านค่ะ


หัวข้อ: Re: ประวัติ ตำนาน เรื่องเล่า
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ ธันวาคม 05, 2020, 12:31:09 PM
https://www.blockdit.com/articles/5f47be12d596b75779e520f5 (https://www.blockdit.com/articles/5f47be12d596b75779e520f5)
ย้อนวันวานเกือบ 50 ปี!! "ตลาดนัดสนามหลวง"
จำได้มั้ยคะ สมัยวัยรุ่นเรียนจบใหม่ๆ เสาร์อาทิตย์ไปเดินเล่นที่ตลาดนัดสนามหลวง..คิดถึงวันวานนะ


หัวข้อ: Re: ประวัติ ตำนาน เรื่องเล่า
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ ธันวาคม 22, 2020, 09:58:12 AM
https://www.msn.com/th-th/news/newstechnology/%e0%b8%ad%e0%b8%a2%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%81%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b8%ab%e0%b8%99%e0%b8%b1%e0%b8%87-taken-%e0%b8%9b%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%a2-56-%e0%b8%95%e0%b8%b2%e0%b8%a1%e0%b8%a5%e0%b9%88%e0%b8%b2-10-%e0%b8%97%e0%b8%a3%e0%b8%8a%e0%b8%99-%e0%b8%a5%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b9%81%e0%b8%84%e0%b9%89%e0%b8%99%e0%b9%83%e0%b8%ab%e0%b9%89%e0%b8%a5%e0%b8%b9%e0%b8%81%e0%b8%aa%e0%b8%b2%e0%b8%a7%e0%b8%95%e0%b8%b1%e0%b8%a7%e0%b9%80%e0%b8%ad%e0%b8%87/ar-BB1c71tm?ocid=mailsignout&li=BB16vLIq (https://www.msn.com/th-th/news/newstechnology/%e0%b8%ad%e0%b8%a2%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%81%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b8%ab%e0%b8%99%e0%b8%b1%e0%b8%87-taken-%e0%b8%9b%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%a2-56-%e0%b8%95%e0%b8%b2%e0%b8%a1%e0%b8%a5%e0%b9%88%e0%b8%b2-10-%e0%b8%97%e0%b8%a3%e0%b8%8a%e0%b8%99-%e0%b8%a5%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b9%81%e0%b8%84%e0%b9%89%e0%b8%99%e0%b9%83%e0%b8%ab%e0%b9%89%e0%b8%a5%e0%b8%b9%e0%b8%81%e0%b8%aa%e0%b8%b2%e0%b8%a7%e0%b8%95%e0%b8%b1%e0%b8%a7%e0%b9%80%e0%b8%ad%e0%b8%87/ar-BB1c71tm?ocid=mailsignout&li=BB16vLIq)

ไม่รู้จะทำให้ลิงค์มันสั้นยังไงค่ะ แต่ลองอ่านดู

อ้างอิง https://www.yahoo.com/lifestyle/miriam-rodr-guez-hunted-her-010047917.html (https://www.yahoo.com/lifestyle/miriam-rodr-guez-hunted-her-010047917.html)
อ้างอิง https://www.nytimes.com/2020/12/13/world/americas/miriam-rodriguez-san-fernando.html?fbclid=IwAR0BjYDKRGAwqo4mBACdGubGOXUnuGYSXQes-8eCYVQIdAdSAiCger6mTQ4 (https://www.nytimes.com/2020/12/13/world/americas/miriam-rodriguez-san-fernando.html?fbclid=IwAR0BjYDKRGAwqo4mBACdGubGOXUnuGYSXQes-8eCYVQIdAdSAiCger6mTQ4)


หัวข้อ: Re: ประวัติ ตำนาน เรื่องเล่า
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ กุมภาพันธ์ 06, 2021, 10:01:55 AM
https://www.youtube.com/watch?v=urbREiYdz30 (https://www.youtube.com/watch?v=urbREiYdz30)

ข้าวซอย เป็นอาหารอีกจานที่เป็นเสมือนสัญลักษณ์ของคนเหนือ ข้าวซอยเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของการรับเอาวัฒนธรรมธรรมต่างถิ่นที่หลั่งไหลมาสู่ดินแดนล้านนา และผสมผสานกับรสนิยมการกินของคนพื้นถิ่น จนกลายเป็นอาหารที่มีอัตลักษณ์ของตนเอง

 #ข้าวซอยเชียงใหม่​ #ชุมชนบ้านฮ่อ​ #ข้าวซอยเนื้อ​ #ประวัติศาสตร์นอกตำรา​

ขอขอบคุณข้อมูลประวัติข้าวซอย โดยภูรินทร์ เทพเทพินทร์

 ติดต่อรายการ email: untoldhistory.officail@gmail.com


หัวข้อ: Re: ประวัติ ตำนาน เรื่องเล่า
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มีนาคม 09, 2022, 09:56:48 AM
“สะดือประเทศ” หรือจุดศูนย์กลางประเทศไทยเรานั้น ถูกกำหนดให้อยู่บริเวณยอดภูเขาทอง วัดสระเกศ
  สาเหตุที่ภูเขาทองต้องถูกกำหนดให้เป็น สะดือประเทศ นั้น เพราะสมัยก่อนการกำหนดระวางพิกัดแผนที่ของกรมแผนที่ทหารและกรมที่ดิน ใช้มาตราส่วน 1 : 4,000 เป็นมาตรฐาน โดยกำหนดจุดยอดของภูเขาทองเป็น 0,0 แล้วแบ่งตามโซนต่างๆ โดยใช้เส้น Grid ลากเป็นแนวตั้งและแนวนอนกระจายไปทั่วทั้ง 4 ทิศ ทำให้เกิดเป็นพื้นที่สี่เหลี่ยม ดังที่เราเห็นเป็นเส้นสี่เหลี่ยมบนแผนที่ ซึ่งแต่ละเส้นมีระยะทาง 2 กิโลเมตร โดยจุดกึ่งกลางนั้นมีชื่อเรียกว่า “ศูนย์กำเนิด” และศูนย์กำเนิดนี้เองที่ถูกเรียกว่า “สะดือประเทศ” และได้มีการตอกหมุดหลักฐานประเทศเพื่อใช้เป็นหมุดอ้างอิงค่าพิกัดศูนย์กำเนิดบนยอดภูเขาทองด้วย (ตามระบบ 29 ศูนย์กำเนิด)

ปัจจุบัน ระวางแผนที่แบบจุดกำเนิดไม่ถูกนำมาใช้แล้ว เพราะถูกแทนที่ด้วยระบบ UTM ซึ่งเป็นมาตรฐานสากล ศูนย์กำเนิดบนแผนที่บนภูเขาทองจึงเหลือไว้เพียงความเชื่อที่เป็นมงคลเมืองว่าเป็น “สะดือประเทศ” ส่วนหมุดหลักฐานได้กลายเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธ์สำหรับขอพร โดยเชื่อว่าหากต้องการขายที่ดินหรือทำธุรกิจเกี่ยวกับที่ดินต้องมาขอพรที่หมุดนี้

ขอบคุณ​ข้อมูลดีๆจาก​ GNSS Thai


หัวข้อ: Re: ประวัติ ตำนาน เรื่องเล่า
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มีนาคม 09, 2022, 01:39:45 PM
ตำนานเขาวงพระจันทร์
          ท้าวกกขนาก ยักษ์ตนสุดท้ายที่ไม่ยอมแพ้พระราม จึงถูกพระรามแผลงศร โดนยักษ์กระเด็นลอยละลิ่วข้ามมหาสมุทรอินเดียมาตกที่ยอดเขาลูกนี้ แล้วพระรามก็สาปให้ศรปักอกเอาไว้หากวันใดที่ศรเขยื้อนให้หนุมานลูกพระพาย (ลูกลม ถ้าตายเมื่อต้องลมพัดผ่าน จะกลับฟื้นคืนชีพ หนุมานจึงไม่รู้จักตาย) เอาฆ้อนมาตอกย้ำลูกศร ให้ปักอกไว้เช่นเดิม แต่ยักษ์โดนเข้าขนาดนี้ก็ยังไม่ตายนอนรอความตาย
 
          ฝ่ายนางนงประจันทร์ ลูกสาวยักษ์ก็เหาะตามพ่อมา เพื่อปฏิบัติพ่อ เพราะพ่อยังไม่ตาย นอนแอ้งแม้งอยู่ในถ้ำยอดเขานางพระจันทร์นี้และนางทราบว่าหากได้น้ำส้มสายชูมารดที่โคนศรแล้วศรจะเขยื้อนหลุดออกมาได้ แต่หากศรเขยื้อน ไก่แก้วก็จะขันเรียกหนุมานเอาฆ้อนมาตอกศร 
 
          ตำนานนี้เป็นผลให้ลพบุรีไม่มีน้ำส้มสายชูขายมานาน จากตำนานนี้จึงเรียกเขาลูกนี้ว่า เขานงประจันต์หรือนางพระจันทร์ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๖ หลวงพ่อโอภาสี ได้ขึ้นมาบนเขานี้ และเห็นว่าบริเวณเขาทั้ง ๔ ด้าน เป็นรูปเขาโค้ง มองทางไหนก็เห็นเป็นวงโอบล้อมอยู่ จึงขนานนามว่า "เขาวงพระจันทร์"

ภาพ : เอกนรินทร์ ทำชอบ, ธานี สุวรรณรัตน์
และภาพจาก Internet

แบ่งปันภาพถ่ายและเรื่องราวดีดี ได้ที่
www.facebook.com/raoruklopburi (http://www.facebook.com/raoruklopburi)
... เพราะทุกที่ คือ "ความทรงจำ" ...


หัวข้อ: Re: ประวัติ ตำนาน เรื่องเล่า
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ สิงหาคม 29, 2022, 08:56:59 PM
“ซาแต๊ปึ่ง” ถึง “ข้าวพระรามลงสรง” และความทรงจำจาก ม.ร.ว.ถนัดศรี สมัยเป็นนร.ขาสั้น

ราว 10 กว่าปีที่แล้ว ผมได้ไปกินก๋วยเตี๋ยวหมูและอาหารจานเดียวสารพัดอย่างรสอร่อยเลิศ ที่ร้านซำไถ่ หลังสถานีรถไฟศีขรภูมิ สุรินทร์

นอกจากถูกปากกับหมูแดงย่างเกรียมๆ หอมๆ ลูกชิ้นและหมูยอที่เขาทำเองกับมือ ผมสะดุดตากับเมนู “ซาแต๊” บนป้ายรายการ ครั้นลองถามไถ่ เจ้าของร้านใจดีอธิบายว่า คือข้าวหรือเส้นแป้ง (แล้วแต่เราชอบ) ราดน้ำเขละๆ ที่คล้ายน้ำสะเต๊ะ จะใช้เนื้อหมู ไก่ วัว หรือกุ้งสดลวกก็ได้ แนมกับผักบุ้งจีนหรือผักกาดขาวลวก ผมเลยสั่งมากิน 1 จาน และไม่เคยลืมรสชาตินั้นจนบัดนี้ แม้ซำไถ่จะเลิกขายซาแต๊ไปเมื่อไม่กี่ปีนี้แล้วก็ตาม
มันช่างน่าเสียดายแกมน่าประหลาด อาจเป็นเพราะผมมี “รักแรกลิ้ม” กับซาแต๊ของซำไถ่ ดังนั้น แม้เมื่อต่อมาได้มากินร้านที่ว่าดังๆ ในกรุงเทพฯ ผมพานรู้สึกหวานไปบ้าง ไม่ถึงเครื่องเทศบ้าง เรียกว่าไม่สมใจสักที อย่าว่าร้านรวงที่ทำซาแต๊ขายนับวันก็ลดน้อยลงเรื่อยๆ ในที่สุด หลังจากสอบถามและค้นสูตรอยู่นาน ผมตัดสินใจทำซาแต๊กินเองในวันหนึ่ง

ซาแต๊ปึ่ง (ข้าวซาแต๊) เป็นสิ่งเดียวกับ “ข้าวพระรามลงสรง” (ชาวโลกรู้จักอาหารไทยชนิดนี้ดีในนาม swimming Rama) สูตรโดยทั่วไปเท่าที่ผมค้นได้ ทำโดยเคี่ยวกะทิกับพริกแกงเผ็ดรสอ่อนๆ เติมเกลือ น้ำตาลปี๊บ ถั่วงบดหยาบ แล้วตักส่วนผสมร้อนๆ นี้ราดบนข้าว/เส้นหมี่ที่วางชิ้นหมูลวก ตับลวก ผักบุ้งลวกหั่นท่อน โปะน้ำพริกเผาแบบผัดน้ำมัน 1 ช้อนพูนๆ

เครื่องเทศผงที่ประสมกันเป็นตัวชูกลิ่นให้ซาแต๊สูตรนี้มีลูกจันทน์ป่น พริกไทยขาว ลูกผักชี ยี่หร่า และกานพลู โดยเพิ่มพริกผงอินเดียอีกเล็กน้อย

ฟังดูง่ายมากใช่ไหมครับ แต่สูตรที่ผมถามพี่บรรเทิง นราภิรมย์ พี่ชายผู้รอบรู้ภาษาและวัฒนธรรมจีนอีกคนหนึ่งไม่ยักง่ายอย่างนั้น พี่บรรเทิงบอกว่า เตี่ยทำซาแต๊โดยผสมผงเครื่องเทศ 5 ชนิด คือ ดอกจันทน์ป่น ลูกจันทน์ป่น พริกไทยขาวป่น ลูกผักชี-ยี่หร่าป่น เคี่ยวในกะทิ เติมเกลือ ถั่วบดและงาขาวคั่วบด

เมื่อประมวลผลสูตรต่างๆ แล้ว ผมทำแบบสูตรผมเองดังนี้ครับ

โขลกลูกผักชี ยี่หร่า พริกไทยขาวให้ละเอียด ผสมลูกจันทน์ป่น ส่วนดอกจันทน์ผมหาไม่ได้ จึงแทนด้วยกานพลูแห้งสี่ห้าดอก แล้วสับหอมแดงมากหน่อย กระเทียมเล็กน้อย ใส่ตำพอเข้ากัน

เอาถั่วงและงาขาวมาคั่วทีละอย่างจนหอม บดในครกพอหยาบๆ

ล้างผักบุ้งจีน ลวกให้สุก แต่ยังกรอบอยู่ แล้วสงในน้ำเย็น หั่นท่อนยาวเตรียมไว้

ตั้งหม้อหางกะทิจนเดือด เอาสันคอหมูหั่นชิ้นบางลงลวกพอสุก ตักขึ้นพักไว้

ตอนนี้เอาหม้อหางกะทิลงก่อนก็ได้ครับ ตั้งกระทะหัวกะทิแทน เคี่ยวไฟกลางให้งวดเป็นน้ำมันขี้โล้เลยนะครับ ทีนี้ก็ใส่เครื่องตำลงไปผัด ทยอยเติมหัวกะทิทีละหน่อย ใส่ถั่วและงาบดลงไป ปรุงเค็มด้วยเกลือ ถึงตอนนี้ กลิ่นกะทิขี้โล้ผนวกกับเครื่องเทศจะหอมมากๆ ถ้าเห็นว่าสีอ่อนไปก็อาจเติมพริกผงอินเดียและผงขมิ้นชันได้นิดหน่อยตามชอบ

เมื่อส่วนผสมข้นดังใจแล้ว ก็ตักข้าวหรือหยิบเส้นหมี่จัดลงในจานใบใหญ่ เคียงด้วยผักบุ้งลวก บรรจงตักซาแต๊ราดจนชุ่ม กินกับน้ำพริกเผา ถ้ามีน้ำมันพริกก็เหยาะสักเล็กน้อย จะช่วยชูกลิ่นให้น่ากินขึ้น

ความเผ็ดและหวานของน้ำพริกเผาจะเติมรสชาติให้ “ซาแต๊ปึ่ง” จานนี้มีรสสมดุลพอดี ถ้ารู้สึกว่าเลี่ยนไป อาจเพิ่มพริกชี้ฟ้าเขียวแดงหั่นหนาดองน้ำส้มเร็วๆ กินแกล้มด้วยก็ได้

แค่นี้ก็ดูเหมือนจะไม่ยากเย็นเกินไปนักใช่ไหมครับ…

เพื่อให้มีกลิ่นหอมแบบที่คุ้นเคยประสมเข้าไปด้วย จึงใช้หอมแดงและกระเทียมสับตำรวมกับเครื่องเทศ ส่วนความข้นมันขณะเคี่ยว ใช้ถั่วงและงาขาวคั่วบดพอหยาบๆ

นึกถึงครั้งแรกที่ผมรู้จักซาแต๊ที่ร้านซำไถ่ ผมเองก็สงสัยว่า อะไรคือ “ซาแต๊” เคยถามเพื่อนหลายคน พอเขาแปลคำจีนตรงๆ ว่าชาสามอย่าง ก็ไม่เห็นความเข้าเค้าใดๆ

อย่างไรก็ดี ผมแอบนึกมาตลอดว่า ซาแต๊น่าจะมาจากการเพี้ยนเสียงเวลาคนจีนเรียก “สะเต๊ะ” (satay) คำมลายู-อินโด ที่หมายถึงเนื้อหมักเครื่องเทศปิ้ง จิ้มน้ำเกรวี่เขละๆ กลิ่นเครื่องเทศแรงๆ แบบที่คนไทยเรียกเนื้อสะเต๊ะ-ไก่สะเต๊ะนั่นเอง แต่มันตลกตรงที่ผมดันไม่รู้ว่า ที่จริงคนอื่นๆ หลายคนเขารู้เรื่องนี้กันมาตั้งนานแล้ว

ในบทวิจารณ์หนังสือ 60 ปีโพ้นทะเล (อู๋จี้เยียะ เขียน, ปนัดดา เลิศล้ำอำไพ บรรณาธิการแปล, 2554) ของ อาจารย์แสงอรุณ กนกพงศ์ชัย แห่งคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรตินั้น พี่แสงอรุณอ้างคำกล่าวของผู้เขียนว่า

“…ต้นทศวรรษ 1930 (พ.ศ. 2473) กรุงเทพฯ ยังมีชาวเกาะชวามาทำอาชีพขายเนื้อสะเต๊ะปิ้งอยู่บ้าง เป็นผู้ชาย อายุอานามอยู่ระหว่าง 40-50 ปี…มาจากซาเรมบังของชวากลาง…”

และเขา (อู๋จี้เยียะ) ยังเล่าเหตุที่มีการเรียกสำรับชนิดนี้เป็นศัพท์คำไทยอีกว่า “…จีนแต้จิ๋วเรียกซาเต้ปึ่ง ที่แปลงมาจากเนื้อสะเต๊ะของพี่น้องชาวมุสลิม…ใช้เนื้อหมู ตับหมู ผักบุ้งจีน ลวกแล้ววางบนข้าวสวย ราดน้ำที่เคี่ยวผสมเครื่องแกงและถั่วป่น (แบบน้ำจิ้มเนื้อสะเต๊ะ) ด้วยหน้าตาอาหารที่เป็นสีเขียว อันเกิดจากการนำพระราม (ผักบุ้ง) ไปจุ่มในน้ำร้อน (คืออาบน้ำหรือสรงน้ำ)…”

ส่วนคุณสีหวัชร (นามแฝง) เล่าไว้ใน sihawatchara.blogspot.com ลงวันที่ 20 มกราคม 2558 ของเขาว่า สมัยก่อนนั้น

“…ย่านเยาวราชไปถึงแถบวรจักรสะพานเหล็ก จะมีอาหารคล้ายกันกับข้าวราดแกงของคนไทยอย่างหนึ่ง เรียกว่าข้าวพระรามลงสรง…มีผักบุ้ง หมู ตับ ลวกพอสุก โปะบนข้าว แล้วราดน้ำแกงที่เขละๆ มีน้ำพริกเผา พริกชี้ฟ้า…” แถมยังบอกว่ามีอาแปะเร่หาบขาย ร้องว่า “ซาแต๊ ซัวเถาๆๆ” ด้วย ผมเดาว่าอาแปะคนที่คุณสีหวัชรเห็นคงจงใจยกระดับความแท้ของสินค้าแก ย้อนไปให้เกี่ยวพันถึงย่านซัวเถาในเมืองจีน ที่เป็นต้นเค้าแบบแผนของชุมชนจีนในเยาวราชนั่นเอง

แต่คุณชาย ม.ร.ว. ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ ก็ยังเคยเล่าความหลังครั้งนุ่งขาสั้นเป็นนักเรียนไว้ในเว็บไซต์ของสมาคมนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์ว่า

“…พระรามลงสรง ที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ก็มีกิน ไม่ต้องไปถึงเฉลิมบุรี ขายไม้ละตังค์ พวกเรากินกันได้ไม่กี่ไม้ อย่างเก่งก็ 5 ไม้ เอาผักบุ้งมากๆ ราดน้ำจิ้มเยอะๆ กินกับข้าวสวยหรือปาท่องโก๋…”

แม้ผมจะยังค้นไม่พบว่า ใครตั้งชื่อ “พระรามลงสรง” ให้กับ “ซาแต๊” อาหารจีนที่มีพื้นเพเดิมมาจากกับข้าวมุสลิม หากได้ดัดแปลงตัดทอนกลิ่นรสเครื่องเทศให้อ่อนลง ทั้งยังประยุกต์เอามากินกับผักลวกจนถูกลิ้นคนแต้จิ๋วและฮกเกี้ยน แต่อย่างไรก็ดี การได้ลองทำกินจริงๆ ได้สูดกลิ่นเครื่องเทศบางชุดบางตัว ก็ชวนให้คิดต่อไปได้อีกมาก

เป็นต้นว่า เครื่องเทศทั้งห้าที่พี่บรรเทิงบอกว่าเป็นสูตรลับซาแต๊ที่เตี่ยเคยปรับไปใช้ทำขาหมูตุ๋นด้วยนั้น ทำให้ผมเข้าใจที่มาที่ไปของกลิ่นน้ำเกรวี่ขาหมูนางรองเจ้าดัง 1 ใน 2 เจ้านั้น ซึ่งครั้งแรกๆ ที่ได้กินเมื่อสามสิบปีที่แล้ว ผมงุนงงมากว่าทำไมเขาจึงใส่ยี่หร่าลงในเครื่องขาหมู เพราะกลิ่นมันช่างไม่เข้ากันเอาเสียเลย จนเมื่อไม่นานมานี้เอง ที่ผมกลับพบว่าตัวเองชอบรสชาติขาหมูเจ้านี้ขึ้นมาเฉยๆ

ฉันทะ หรือความพึงใจในรูป รส และกลิ่นอาหารมีความเป็นพลวัตเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา ดังนั้นผมคิดว่าคงไม่แปลก ถ้าวันหนึ่ง “ซาแต๊ปึ่ง” หรือ “ข้าวพระรามลงสรง” จะกลับมาฮิตติดตลาดอีกครั้ง หลังจากผ่านการนิยามความหมาย ดัดแปลงวัตถุดิบ และปรับปรุงส่วนผสมอย่างที่คนรุ่นใหม่ๆ พอจะคุ้นชินรับได้

บางครั้ง อาหารโบราณก็เหมือนญาติผู้ใหญ่ ที่การทำความรู้จักมักคุ้น จำต้องกระทำไปพร้อมๆ กันทั้ง 2 ทาง คือทั้งตัวอาหารนั้นๆ และตัวเราเอง…สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่
เผยแพร่ครั้งแรกในระบบออนไลน์ เมื่อ 20 กันยายน พ.ศ.2559


ข้อมูลจาก
https://www.msn.com (https://www.msn.com)


หัวข้อ: Re: ประวัติ ตำนาน เรื่องเล่า
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ พฤศจิกายน 10, 2022, 06:12:10 PM
เปิดประวัติ "พระพรหมเอราวัณ" ที่มาแห่งศรัทธาของชาวไทยและต่างชาติ


ประวัติพระพรหมเอราวัณ
“พระพรหมเอราวัณ” หรือศาลท้าวมหาพรหม ตั้งอยู่หน้าโรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ บริเวณสี่แยกราชประสงค์ ถนนราชดำริ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร เป็นหนึ่งในบรรดาศาลบริเวณแยกราชประสงค์ที่ผู้คนจำนวนมากทั้งชาวไทย และต่างชาติ ให้ความศรัทธาและมากราบไหว้บูชาอย่างต่อเนื่อง ถึงกับเป็นหนึ่งในไฮไลต์ของการทัวร์กรุงเทพฯ ที่ชาวต่างชาติโดยเฉพาะชาวจีนต้องแวะมาให้ได้

ที่มาของการตั้งพระพรหมเอราวัณที่บริเวณแยกราชประสงค์เริ่มต้นขึ้นในปี พ.ศ. 2494 พลตำรวจเอก‪เผ่า ศรียานนท์ กำหนดให้มีการก่อสร้าง‪โรงแรมเอราวัณขึ้นบริเวณสี่แยกราชประสงค์ เพื่อรองรับแขกต่างประเทศ ว่ากันว่าในช่วงแรกของการก่อสร้างเกิดอุบัติเหตุขึ้นมากมาย เมื่อการก่อสร้างใกล้แล้วเสร็จ ปลายปี ‪พ.ศ. 2499 ทาง ‪บริษัท สหโรงแรมไทยและการท่องเที่ยว จำกัด ผู้บริหารโรงแรมได้ติดต่อ พลเรือตรี‪หลวงสุวิชาน แพทย์ ร.น. นายแพทย์ใหญ่ กองทัพเรือ ผู้ทรงคุณวุฒิในเรื่องการนั่งทางใน เข้าดำเนินการหาฤกษ์วันเปิดโรงแรม

พลเรือตรีหลวงสุวิชานแพทย์ได้ท้วงติงว่า ในการก่อสร้างโรงแรมไม่ได้มีการทำพิธีบอกกล่าวสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในบริเวณนั้นก่อน ฤกษ์ในการวางศิลาฤกษ์ของโรงแรมก็ไม่ถูกต้อง อีกทั้งชื่อของโรงแรม "เอราวัณ" นั้น เป็นชื่อของช้างทรงของ‪พระอินทร์ ถือเป็นชื่อที่ศักดิ์สิทธิ์ จำเป็นต้องมี‪การบวงสรวงที่เหมาะสม วิธีการแก้ไขจะต้องขอพรจาก‪พระพรหมเพื่อช่วยให้อุปสรรคหมดไป และจะต้องสร้างศาลพระพรหมขึ้นทันทีหลังจากการก่อสร้างโรงแรมแล้วเสร็จ และสร้างศาลพระภูมิขึ้นไว้ในโรงแรม

จากนั้นจึงได้มีการตั้งศาล “พระพรหมเอราวัณ” ขึ้น ออกแบบตัวศาลโดยนาย‪ระวี ชมเสรี และ ม.ล.‪ปุ่ม มาลากุล องค์ท้าวมหาพรหมปั้นด้วย‪ปูนปลาสเตอร์ปิดทอง ออกแบบและปั้นโดยนาย‪จิตร พิมพ์โกวิท ช่างกองหัตถศิลป์ กรมศิลปากร และอัญเชิญพระพรหมมาประดิษฐานที่หน้าโรงแรมเอราวัณ เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499 โรงแรมเอราวัณจึงได้ถือเอาวันที่ 9 พฤศจิกายน ของทุกปีทำพิธีบวงสรวงเทวสถานแห่งนี้เป็นประจำตลอดมา

พระพรหมเอราวัณ ถือเป็นศาลพระพรหมศาลแรกที่มีขนาดใหญ่ ตามความเชื่อของศาสนาฮินดู พระพรหมเป็นพระผู้สร้าง และทรงมีสี่พระพักตร์ แต่ละพระพักตร์เป็นดั่งสัญลักษณ์แทนทิศทั้งสี่ คือ เหนือ ใต้ ตะวันออก และตะวันตก ทำให้พระองค์สามารถมองเห็นและปกปักรักษาได้ทั้งโลกมนุษย์และสวรรค์ พระองค์ช่วยปัดเป่าความขัดข้อง อุปสรรค และส่งเสริมโชคและความสำเร็จ ของผู้สักการะที่มีจิตศรัทธาสมปรารถนา

ปัจจุบัน พระพรหมเอราวัณ อยู่ในความดูแลของ "มูลนิธิทุนท่านท้าวมหาพรหม" นักท่องเที่ยวหรือผู้สนใจเข้าเยี่ยมชมสักการะศาลท่านท้าวมหาพรหม โรงแรมเอราวัณอันศักดิ์สิทธิ์ ก็สามารถเข้าชมสักการะได้ทุกวัน ไม่มีวันหยุด โดยไม่เสียค่าธรรมเนียมแต่อย่างใด

วิธีบูชาพระพรหมเอราวัณที่ถูกต้อง

เนื่องจากพระพรหมมี 4 พักตร์ 4 ทิศ จึงแนะนำว่าควรบูชาให้ครบทั้ง 4 พักตร์ 4 ทิศด้วย หากบูชาเพียงหน้าเดียวก็ไม่ใช่เรื่องผิด แต่เชื่อกันว่าจะได้พรเพียงเรื่องเดียวจากท่าน หากต้องการได้รับพรครบทุกประการ ก็ต้องมีวิธีการที่ถูกต้อง อันดับแรกคือ เตรียมของในการสักการะพระพรหมให้ครบ 4 ธาตุก่อน ได้แก่

ธาตุดิน คือ ดอกบัว
ธาตุน้ำ คือ น้ำสะอาด
ธาตุลม คือ ธูป
ธาตุไฟ คือ เทียน

การสักการะ “พระพรหมเอราวัณ” เริ่มจากพักตร์แรกและเวียนขวามือของเรา ซ้ายมือของท่าน จนไปถึงหน้าสุดท้าย การขอพรทุกพักตร์จะมีความหมายต่างกัน

พักตร์แรก ใช้ธูป 16 ดอก เทียน 9 เล่ม ดอกบัว 9 ดอก น้ำ 1 ขวด
 สำหรับความหมายพักตร์แรกให้ขอเกี่ยวกับเรื่องการงาน การเรียน สิ่งที่ต้องรับผิดชอบในชีวิต การสอบ ขอเกี่ยวกับการเลื่อนตำแหน่งงาน และความก้าวหน้าในชีวิต ขอเกี่ยวกับเรื่องพ่อ

พักตร์ที่สอง ใช้ธูป 36 ดอก เทียน 9 เล่ม ดอกบัว 9 ดอก น้ำ 1 ขวด พักตร์ที่สองขอเกี่ยวกับเรื่องอสังหาริมทรัพย์ สังหาริมทรัพย์ เรื่องเงินๆ ทองๆ ที่ดิน บ้าน คอนโด รถยนต์ อยากมีหรืออยากได้ให้ขอหน้านี้ รวมทั้งหนี้สิน ที่มีคนยืมไปแล้วไม่คืน

พักตร์ที่สาม ใช้ธูป 39 ดอก เทียน 9 เล่ม ดอกบัว 9 ดอก น้ำ 1 ขวด พักตร์ที่สามให้ขอเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพ คู่ชีวิต ครอบครัว ญาติพี่น้อง เรื่องเกี่ยวกับแม่ คู่สัญญา หุ้นส่วน ความมั่นคงของชีวิต

พักตร์ที่สี่ ใช้ธูป 19 ดอก เทียน 9 เล่ม ดอกบัว 9 ดอก น้ำ 1 ขวด พักตร์ที่สี่ขอเกี่ยวกับเรื่องโชคลาภ สิ่งที่ได้มาโดยบังเอิญ การขอกู้ยืมเงิน ขอออเดอร์สินค้า เรื่องของบุตร ใครยังไม่มีบุตรให้มาขอได้ ประสบผลสำเร็จ


ที่มา
https://www.msn.com (https://www.msn.com)