Gold Price today, Gold Trend Price Prediction, ราคาทองคํา, วิเคราะห์ทิศทางทองคํา

คุยเรื่องธรรมะ ทําบุญ => ธรรม พาให้มีสุข => ข้อความที่เริ่มโดย: ~ uma ~ ที่ กันยายน 26, 2009, 10:14:02 AM

Forex-Currency Trading-Swiss based forex related website. Home ----- กระดานสนทนาหน้าแรก ----- Gold Chart,Silver,Copper,Oil Chart ----- gold-trend-price-prediction ----- ติดต่อเรา

หัวข้อ: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: ~ uma ~ ที่ กันยายน 26, 2009, 10:14:02 AM
(http://img.zuzaa.com/image.php?id=ACF6_4ABD88EF&jpg) (http://img.zuzaa.com/share.php?id=ACF6_4ABD88EF)

เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม


พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)


          มนุษย์ทุกคนต้องการชีวิตที่ดีและมีความสุขที่แท้จริง  และเราก็ดำเนินชีวิตเพียรพยายามทำทุกอย่างเพื่อหาสิ่งนี้ แต่แล้วมนุษย์ก็ประสบปัญหากันอยู่อย่างนี้แหละ เพราะเพียรพยายามไปโดยไม่รู้ไม่เข้าใจว่าชีวิตที่ดีและความสุขที่แท้จริงนั้นคืออะไร ขอรวบรัดว่า หลักในการสร้างชีวิตที่ดีและมีความสุขนี้ไม่มีอะไรมาก ก็คือการเข้าถึงธรรมนั่นเอง เป็นอันเดียวกัน เมื่อใดเราเข้าถึงชีวิตที่ดีมีความสุขที่แท้จริง ก็คือ เข้าถึงธรรม พูดสั้นๆ ว่า เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม เมื่อพูดอย่างนี้แล้วทุกท่านจะได้ไม่หนักใจ คือ จะได้เห็นการก้าวเข้าไปหาธรรม เป็นเรื่องที่ตรงกับจุดหมายของชีวิตของเราอยู่แล้ว

          ถ้าหากท่านใดยืนยันกับตัวเองได้ว่า ฉันเข้าถึงชีวิตที่ดีมีความสุขแท้จริงแล้ว ถ้าท่านยืนยันได้อย่างนั้น ท่านก็บอกกับตัวเองได้เลยว่า ข้าพเจ้าเข้าถึงธรรมแล้ว แต่ท่านจะยืนยันได้หรือเปล่า ถ้าท่านยืนยันไม่ได้ก็ต้องบอกว่า ฉันยังต้องพยายามเข้าถึงชีวิตที่ดีมีความสุขต่อไป นั่นก็คือ ฉันจะต้องเข้าถึงธรรมต่อไป สองอย่างนี้เป็นอันเดียวกัน คือ เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม และเมื่อถึงธรรมก็สุขแท้ พระพุทธศาสนาก็ได้บอกแล้วว่า การเข้าถึงชีวิตที่ดีมีความสุข หรือการเข้าถึงธรรมนั้นมีให้เราเข้าถึงได้อยู่แล้วเป็นขั้นๆ หลายขั้น ซึ่งจัดรวมได้เป็น ๓ ขั้น คือ

          ๑. ขั้นกามอามิส ได้แก่ ชีวิตที่วุ่นวายหรือวนเวียนอยู่กับการหารูป เสียง กลิ่น รส และสิ่งสัมผัสกาย ที่สวยงาม ไพเราะ หอมหวาน ซู่ซ่า เอร็ดอร่อย มาเสพบริโภคบำรุงบำเรอ ตา หู จมูก ลิ้น และร่างกาย เป็นสุขสนุกสนานเพลิดเพลินอยู่กับสิ่งเหล่านั้น ชีวิตและความสุขขั้นนี้แบ่งซอยออกไปได้เป็น ๒ ระดับ คือ

          ก.) ระดับที่ไร้การศึกษาหรือยังไม่พัฒนา การบำรุงบำเรอตา หู จมูก ลิ้น กาย ด้วยรูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัสเนื้อหนังนั้น เป็นเรื่องที่แต่ละคนทำให้แก่ตัวเองและเมื่อหาไป เสพไป ก็ไม่รู้จักอิ่มไม่รู้จักพอ จึงต้องหามาเสพให้มากที่สุด และหามาเติมเรื่อยไป

          สิ่งเสพนั้นอยู่นอกตัวซึ่งจะต้องหาเอามา ความสุขขั้นกามจึงเป็นความสุขจากการได้การเอา เมื่อทุกคนต่างก็หาให้แก่ตัวให้ได้มากที่สุดและให้ยิ่งขึ้นไป ก็ต้องแย่งชิงเบียดเบียนข่มเหงเอารัดเอาเปรียบ ตลอดจนทำลายกัน จนกลายเป็นว่าทุกคนแย่งกันเอา จนอดไปด้วยกันหรือคนที่แข็งแรงกว่าได้เต็มที่เพียงสองสามคน แต่คนอื่นอดแย่ไปหมด รวมแล้วมนุษย์ก็อยู่กันอย่างไม่มีความสงบสุข ชีวิตและความสงบสุขของคนในขั้นกามระดับที่ยังไม่พัฒนานี้ ว่าโดยคุณภาพไม่แตกต่างจากสัตว์ทั้งหลายที่คนดูถูกว่าเป็นชั้นต่ำ เพราะมนุษย์มีมือ สมอง และอุปกรณ์ที่จะใช้แย่งชิงและทำลายกันได้หนักหนากว่า

          ข.) ระดับที่เข้าสู่การศึกษา หรือเริ่มมีการพัฒนา ถึงแม้ว่าแต่ละคนจะแสวงหาทรัพย์สินเงินทอง และยศศักดิ์ ฐานะ ตำแหน่งกันไป เพื่อจะได้มีสิ่งเสพบริโภคและมีโอกาสเสพบริโภคได้มากๆ ท่านก็ไม่ว่า แต่ขอให้มีเครื่องยับยั้งหรืออยู่ในขอบเขตที่จะไม่ก่อปัญหาแก่ชีวิตและสังคมมากเกินไป และให้รู้จักพัฒนาชีวิตขึ้นสู่ขั้นที่สูงขึ้นไปอีก เพื่อจะได้สร้างสรรค์ประโยชน์สุขแก่ชีวิตและสังคมให้มากขึ้น

          เครื่องยับยั้งหรือขอบเขตที่ว่านั้น ก็คือ ศีล โดยเฉพาะในขั้นพื้นฐาน ก็คือ ศีล ๕ ซึ่งอาจจะมาในรูปของกฎหมาย และกติกาสังคมอย่างอื่นๆ ศีลนั้นจะเป็นเครื่องยังยั้ง และเป็นกรอบกั้นทำให้การแสวงหากามอยู่ในขอบเขตที่จะไม่แย่งชิงเบียดเบียนกันเกินไป ทำให้มนุษย์พออยู่กันไปได้ ทำให้สังคมพอมีสันติสุขบ้าง อย่างน้อยแต่ละคนก็พอจะได้พอจะมีวัตถุมาบำรุงความสุขของตัวบ้าง ต่างคนก็มีโอกาสเสวยสุขจากสิ่งบำเรอประสาททั้ง ๕ กันได้ตามสมควร

          ในระดับนี้ ท่านให้เอาทาน มาช่วยเสริมความมั่นคงปลอดภัยและความสงบสุขของสังคม โดยให้มนุษย์รู้จักให้แก่กัน มีการแบ่งปัน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เฉลี่ยรายได้ ช่วยเหลือผู้ตกทุกข์หรือยากไร้ พอมีศีลเป็นฐาน และมีทานมาเสริม มนุษย์ก็อยู่ร่วมกันได้ดีขึ้น มีการเอื้อเฟื้อเกื้อกูลกัน สังคมมีสันติสุขพอสมควร เมื่อมนุษย์พัฒนามาถึงขั้นนี้ ซึ่งทำให้มีโอกาสได้รับความสุขจากกามามิสที่สนุกสนานหวานอร่อยทั่วๆ กันแล้ว ก็น่าจะเป็นชีวิตและสังคมที่สมบูรณ์ แต่ความจริงไม่เป็นอย่างนั้น เพราะกามอามิสนอกจากหากันเสพกันไม่รู้จักอิ่มไม่รู้จักพอ ซึ่งทำให้เบียดเบียนกดขี่ข่มเหงกันแล้ว ยังมีจุดอ่อนที่ทำให้เกิดปัญหาอย่างอื่นอีก

          ความสุขจากกามอามิสหรือกามามิสนั้น ต้องอาศัยสิ่งที่อยู่นอกตัว เช่น วัตถุบริโภคต่างๆ จึงเป็นความสุขแบบพึ่งพาขึ้นต่อภายนอก ไม่เป็นอิสระแก่ตัว นอกจากนั้นทั้งสิ่งเสพที่อยู่ข้างนอกเหล่านั้น และตัวเราคือคนที่เสพเอง ต่างก็ตกอยู่ภายใต้กฎธรรมชาติแห่งความไม่เที่ยงเปลี่ยนแปลง มีการเกิดดับเสื่อมสลาย

          เมื่อจุดอ่อนเหล่านี้มาบวกเข้ากับลักษณะที่แสวงหา และเสพไม่รู้จักอิ่มไม่รู้จักพอก็ทำให้เกิดปัญหาเพิ่มขึ้นอีก ถึงแม้จะผ่อนเบาปัญหาจากการเบียดเบียนกันลงไปได้แล้ว ก็ยังเจอกับปัญหาของชีวิตจิตใจ ที่พ่วงเอาอาการของความทุกข์เข้ามาแฝงไว้กับความสุขในการเสพกามอามิส  เช่น ความหวาดที่มาคู่กับความหวัง ความห่วงหวงระแวงหวั่นใจที่ซ่อนตัวซ้อนอยู่ในการได้ครอบครอง ความชินชาเบื้อหน่ายที่ตามติดมาต่อจากการได้เสพสมปรารถนา การตกเป็นทาสหมดอำนาจในตัวเมื่อหลงใหลเมามัว ความรันทดเมื่ออดหรือหมดหวังและความโศกเศร้าเ***่ยวแห้งใจ เมื่อต้องการสูญเสียหรือพลัดพรากจากไป

          แม้แต่ที่ประพฤติอยู่ในศีล รักษาระเบียบวินัย และทำทานให้ปัน ก็เป็นการฝืนใจ ทำด้วยความจำใจ เพราะการมีศีลทำให้หาและเสพไม่ได้เต็มที่ตามใจอยาก ทานก็ทำให้ต้องเสียสละ เกิดความเสียดาย เพราะฉะนั้น ท่านจึงบอกว่า แค่นี้ยังไม่พอนะ เธอเป็นมนุษย์มีศักยภาพที่จะพัฒนาตัวได้อีก ถ้าพัฒนาเพียงแค่นี้ ยังหนีทุกข์ไม่พ้นหรอก ยังจะเจอทั้งทุกข์นอกและทุกข์ใน เพราะเป็นสุขที่ตั้งอยู่บนสิ่งที่เป็นทุกข์ ฐานมันไม่มั่น ฉะนั้น เราจะต้องพัฒนาชีวิตต่อไป

          มนุษย์ที่มีการศึกษา (ในความหมายที่ถูกต้อง) จึงก้าวต่อไปสู่การพัฒนาในขั้นจิต และขั้นแห่งอิสระภาพด้วยปัญญาและเอาผลจากการพัฒนาในขั้นของจิตใจ และปัญญานั้นมาช่วยแก้ปัญหาของชีวิตในขั้นกามอามิส ทำให้การปฏิบัติต่อกามอามิสเกิดโทษทุกข์ภัยน้อยที่สุดและได้ประโยชน์มากที่สุด พร้อมทั้งมีความสุขในขั้นที่สูงขึ้นไปมาเสริมเพิ่มขึ้นอีกด้วย

          ๒. ขั้นจิตวัฒนะ พอพัฒนาจิตใจให้มีคุณธรรมเกิดมีเมตตาหรือกรุณาขึ้น ก็มีความรักความปรารถนาดีต่อผู้อื่น อยากให้เขามีความสุข แล้วก็อยากทำให้เขามีความสุข ก็เลยให้ สละ แบ่งปันช่วยเขา เมื่อเห็นเขามีความสุข ตัวเองก็มีความสุขด้วย การให้หรือ ทาน แทนที่จะเกิดความเสียดาย ก็กลายเป็นความสุข ก่อนนี้รู้จักแต่ความสุขจากการได้และเอา แต่เดี๋ยวนี้มีความสุขอย่างใหม่เกิดเพิ่มขึ้น คือ ความสุขจากการให้และการสละ การให้หรือเสียกลายเป็นความสุขไปได้ ในเมื่อจิตใจได้พัฒนาเปลี่ยนไป

          จากการพัฒนาจิตเช่นเดียวกัน เกิดมีศรัทธา เชื่อมั่นในสิ่งที่ดีงาม ในการสร้างสรรค์ทำสิ่งที่ดีงาม ก็เอาเงินทองออกมาให้ สละบำเพ็ญประโยชน์ แล้วก็มีความสุขสบายเอิบอิ่มปลาบปลื้มใจ จากการให้หรือเสียสละนั้น ก่อนนี้เคยมองทรัพย์สินเงินทองและยศศักดิ์ตำแหน่งฐานะตลอดจนอำนาจ เห็นความหมายเพียงว่าเป็นเครื่องมือและช่องทางที่จะแสวงหากามอามิสหรือสิ่งเสพต่างๆ มาบำรุงบำเรอตนเองให้มากมายเต็มที่ที่สุดแต่พอได้พัฒนาจิตปัญญาขึ้นบ้างแล้ว ก็มองเห็นความหมายใหม่ว่า ทรัพย์สินเงินทองและยศศักดิ์อำนาจเป็นเครื่องมือขยายโอกาสให้สามารถสร้างสรรค์ความดีงาม  และประโยชน์สุขได้กว้างขวางและสำเร็จผลได้ดียิ่งขึ้น

          ถึงจะมีความคิดสร้างสรรค์ดีๆ แต่ขาดทรัพย์ยศ บริวาร ความคิดนั้น ก็ไม่สัมฤทธิ์ผลหรือทำได้เพียงในวงแคบ แต่พอมีทรัพย์ มีอำนาจ มีบริวาร ความคิดที่ดีๆ ก็ออกผล เป็นประโยชน์แผ่ออกไปมากมายกว้างไกล ตอนนี้ทรัพย์และอำนาจที่เคยเป็นเครื่องมือรับใช้ตัณหาหรือความเห็นแก่ตัว ก็กลายมาเป็นอุปกรณ์ของธรรม

          คนที่ยังไม่พัฒนาหรือมีการศึกษาที่ผิด เข้าใจว่าการที่มนุษย์สามารถสร้างสรรค์เทคโนโลยี ประดิษฐ์วัตถุมาเสพบำรุงบำเรอความสุขได้มากที่สุดนั่นแหละ คือ สภาพของสังคมที่พัฒนาแล้ว หรือการมีอารยธรรมอย่างสูง คือสภาพของสังคมที่พัฒนาแล้ว หรือการมีอารยธรรมอย่างสูง แต่เมื่อมีการศึกษาที่ถูกต้องได้พัฒนาตนขึ้นบ้างแล้ว ก็จึงเข้าใจว่าอาการอย่างนั้นหาใช่เป็นลักษณะของอารยธรรม หรือการได้พัฒนาแล้วแต่อย่างใดไม่ การที่ได้พัฒนาหรือความมีอารยธรรมนั้นอยู่ที่การเปลี่ยนแปลงในตัวมนุษย์ ที่ทำให้เขาจัดการกับเทคโนโลยีเป็นต้นเหล่านั้นอย่างถูกต้องต่างหาก

          การพัฒนาในขั้นจิตวัฒนะจะทำให้คนมีจิตใจที่มีคุณภาพ ประกอบด้วยคุณธรรม เช่นเมตตากรุณา ศรัทธา ความกตัญญูกตเวที เป็นต้น มีสมรรถภาพ เป็นจิตใจที่เข้มแข็งมั่นคง ขยันอดทน มีสติรู้จักรับผิดชอบ และมีสุขภาพ เพราะสงบสบาย ผ่อนคลาย เอิบอิ่ม ผ่องใส สดชื่น เบิกบานมีความสุข

          เพียงแค่ได้การพัฒนาในขั้นจิตปัญญามาช่วยแทรกเสริมบ้าง ก็ยังช่วยให้การหาความสุขในขั้นกามอามิสเป็นไปด้วยดีขึ้นมากมาย ทั้งในส่วนชีวิตของบุคคลและในด้านสันติสุขของสังคม และยังได้ความสุขที่ประณีตสูงขึ้นไป มาเพิ่มคุณค่าให้แก่ชีวิตนั้นอีกด้วย การพัฒนาในขั้นจิตวัฒนะโดยตรง จะทำให้จิตเกิดมีคุณสมบัติที่สำคัญ คือ มีพลังมาก (เหมือนปล่อยน้ำให้ไหลไปในท่อหรือรางเดียวไม่กระจัดกระจาย) ใสกระจ่างเอื้อต่อการใช้ปัญญา (เหมือนน้ำนิ่งสนิทไม่ไหวกระเพื่อม ฝุ่นละอองตกตะกอนจึงใสมองเห็นทุกอย่างในน้ำชัดเจน) และสงบสบายมีความสุข (เพราะไม่มีอะไรรบกวน ไม่ขุ่นมัว ไม่ฟุ้งซ่านร้อนรนกระวนกระวาย)

          จิตที่มีคุณสมบัติอย่างนี้ เรียกว่า เป็นกัมมนีย์ คือเหมาะแก่การใช้งาน พร้อมที่จะปลูกฝังคุณธรรมต่างๆ หรือใช้คิดพิจารณาพัฒนาปัญญา ซึ่งเป็นลักษณะของจิตที่มีสมาธิ การพัฒนาในขั้นจิตใจนี้ จึงมีสมาธิเป็นแกน หรือเป็นตัวแทนเลยทีเดียว

          ถ้ามุ่งหน้าเอาจริงเอาจังกับเรื่องสมาธิ ก็ฝึกสมาธิให้แน่วแน่สนิทลึกลงไปอีก จนถึงขั้นเป็นฌานระดับต่างๆ ซึ่งมีทั้งขั้นที่อยู่กับรูปธรรม (รูปาวจร) และขั้นที่อยู่กับอรูปธรรม (อรูปาวจร) ความสุขในขั้นจิตนี้ ประณีตและบริสุทธิ์ขึ้นไปมาก เพราะไม่มีอาการของความทุกข์แบบที่แฝงมากับการเสพกามอามิส เช่น ความหวาด ระแวง เบื่อหน่าย รันทดใจ เป็นต้น

          แม้จะได้ถึงขั้นนี้ท่านก็บอกว่ายังไม่พออีกนั่นแหละ การที่เราจะอยู่ข้างในกับจิตใจของตัวนั้น มันดื่มด่ำไปได้ลึกล้ำก็จริง แต่อาจจะติดเพลินกับสมาธิและผลพลอยได้ของมัน แล้วกลายเป็นพวกหลีกหนีสังคม ไม่เผชิญหน้าความจริง เป็นการหลบทุกข์พ้นปัญหาไปได้ชั่วคราว พอออกจากสมาธิก็เจอกับสภาพเก่ายังมีความยึดติดถือมั่นและถูกธรรมดาของธรรมชาติบีบคั้นเอาได้ ไม่ได้แก้ปัญหาให้เสร็จสิ้นไป เพราะฉะนั้นจะต้องก้าวต่อไปอีกให้ถึงความสมบูรณ์จบสิ้นปัญหา ให้เป็นสุขโดยไม่มีทุกข์เหลืออยู่ แล้วท่านก็บอกขั้นต่อไปอีก

          ๓. ขั้นอิสระหลุดพ้น หมายถึง ชีวิตที่พ้นหรืออยู่เหนือการที่จะถูกบีบคั้นครอบงำด้วยปัญหาไม่ว่าอย่างใดๆ แม้แต่ความเป็นไปของกฎธรรมชาติแห่งความเปลี่ยนแปลง ไม่เที่ยงแท้และเสื่อมสลาย มีความสุขที่ปลอดโปร่งโล่งเบา ไม่มีเงาของความทุกข์รบกวน เรียกว่าเป็นพุทธะ  ที่แปลให้เข้าใจกันง่ายๆ ว่า รู้ตื่น และเบิกบาน

          ผู้ที่มีชีวิตและความสุขถึงขั้นนี้ จะมีคุณสมบัติสำคัญอย่างหนึ่ง คือ เป็นผู้ทำกิจเสร็จแล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้ว ไม่มีอะไรที่จะต้องทำเพื่อตัวเองอีก ปลดเปลื้องตัวเป็นอิสระแล้ว จึงทำเพื่อผู้อื่นได้เต็มที่ เรียกว่า มีกรุณาหรือกาณุณยธรรมที่บริสุทธิ์และสมบูรณ์

          ชีวิตและความสุขขั้นนี้เป็นขั้นที่ถึงได้ด้วยปัญญา ผู้ที่มีชีวิตในขั้นนี้ เป็นผู้มีชีวิตอยู่ด้วยปัญญา ที่รู้เท่าทันความจริงของสิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็นอยู่ตามธรรมดาแห่งเหตุปัจจัยของกฎธรรมชาติ หรือรู้เท่าทันกฎธรรมชาตินั้นเอง จนความเป็นไปของธรรมชาติที่มีความเปลี่ยนแปลง เป็นต้น ครอบงำก่อความทุกข์แก่เขาไม่ได้ สิ่งใดไม่เป็นปัญหาก็ไม่ทำให้เป็นปัญหาขึ้นมา สิ่งใดเป็นปัญหาก็แก้ไขด้วยปัญญาที่รู้และทำให้ตรงกับเหตุปัจจัย จนเผชิญได้กับทุกสิ่งโดยไม่มีทุกข์ใดๆ

          เมื่อพัฒนามาจนชีวิตและความสุขถึงขั้นนี้ โดยมีความสดชื่นเบิกบานอยู่เป็นธรรมดาแล้ว ถ้าจะเอาความสุขทางจิตมาใส่อีกก็ไม่ว่า จะมีความสุขทางประสาททั้งห้ามาเสริม ก็ได้ความสุขนั้นเต็มสภาพบริบูรณ์ และทั้งไม่เป็นพิษเป็นภัยแก่ใครด้วย ทุกอย่างอยู่ในภาวะสมดุลพอดีไปหมด เพราะมีปัญญาที่ไร้ทุกข์เป็นตัวควบคุม โดยนัยนี้ เมื่อมีความสุขขั้นสุดท้ายที่ไร้ทุกข์ด้วยปัญญาก็จบสูงสุดถึงจุดหมาย

ทั้งหมดนี้สรุปได้ว่า ชีวิตและความสุข ๓ ขั้นนั้น พูดโดยย่อคือ

          ๑.) ขั้นกามอามิส (เรียกให้สั้นว่าขั้นกาม ชื่อเต็ม = ขั้นกามาวจร - ท่องเที่ยวไปในกาม) ต้องใช้ศีลเป็นเครื่องควบคุมโดยมีทางสนับสนุน
         
          ๒.) ขั้นจิตวัฒนะ (ชื่อเต็ม = ขั้นรูปาวจร - ท่องเที่ยว ไปในรูป และอรูปาวจร - ท่องเที่ยวไปในอรูป) มีสมาธิเป็นแกนนำในการพัฒนา

           ๓.) ขั้นอิสระหลุดพ้น (ชื่อเต็ม = ขั้นโลกุตตระ - เหนือโลก หรือขั้นปรมัตถ์ - ประโยชน์สูงสุด) มีปัญญาเป็นตัวชี้ขาดที่จะนำเข้าถึงจุดหมาย

          เป็นอันว่าพระพุทธศาสนาได้แสดงไว้แล้ว เกี่ยวกับหลักการในการเข้าถึงชีวิตที่ดีมีความสุข แล้วก็แบ่งไว้เป็นขั้นเป็นตอนดังที่ได้กล่าวมา ซึ่งที่จริงเป็นเรื่องง่ายๆ ไม่มีอะไรมาก เพราะว่าตัวสาระแท้ๆ ก็แค่นี้เอง คือให้เรามีชีวิตที่ดีมีสุขมีความสุขได้จริง ก็จบเรื่องกัน

          ได้พูดไว้แต่ต้นว่า เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม และเมื่อถึงธรรมก็สุขแท้ หมายความว่า การเข้าถึงชีวิตที่ดีมีความสุข ก็คือการเข้าถึงธรรม จะเข้าถึงธรรมได้ก็ต้องปฏิบัติธรรม การปฏิบัติธรรมนั้นคงไม่ยากอย่างที่หลายคนคิด จึงลองมาดูกัน ว่าปฏิบัติธรรมนั้นคือทำอย่าง
 


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: isariya ที่ พฤศจิกายน 14, 2009, 11:04:51 PM
ขั้นหนึ่งก็แทบจะเอาตัวไม่รอด ขอบคุณค่ะ  :) ;)


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มกราคม 06, 2012, 07:53:06 PM
“เป็นอะไรกันล่ะ จึงมานั่งร้องไห้”/หลวงพ่อ ชา สุภัทโท

(http://www.dhammathai.org/store/talk/data/imagefiles/342.jpg)

วัน หนึ่ง ขณะที่ธุดงค์ไปพักที่วัดถ้ำแสงเพชร ซึ่งอยู่ไกลจากอำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ พอสมควร ปรากฏว่า มีโยมอุปัฏฐากที่เป็นผู้มีหน้า มีตา ของอำเภอ และเป็นที่รู้จักกันดีในหมู่ นักปฏิบัติ มานั่งร้องไห้ต่อหน้าหลวงพ่อ หลวงพ่อก็ยังคงนั่งเฉยอยู่ จนเมื่อโยมได้สร่างโศกลงบ้าง ท่านก็ถามว่า “เป็นอะไรล่ะ จึงนั่งร้องไห้” โยมผู้นั้นเล่าว่า รถที่เพิ่งซื้อมาใหม่ถูกขโมยไปแล้ว แต่ หลวงพ่อก็นั่งเงียบ เผอิญก็มีโยมผู้ชายคนหนึ่งมาพร้อมกับญาติ พอกราบหลวงพ่อเสร็จก็ร้องไห้ เป็นวรรคเป็นเวรเช่นกัน หลวงพ่อนั่งคอยจนเขาพอพูดได้ ก็ถามด้วยคำถามเดิมว่า “เป็นอะไรไปล่ะ”

เขาก็ตอบว่า “เมียตายสองคน ลูกตายสองคน” (เผอิญชายคนนี้มีภรรยาสองคนอยู่ในบ้าน เดียวกัน) หลวงพ่อก็ถามต่อว่า “เป็นอะไรตายล่ะ” โยมผู้ชายก็ตอบว่า “กินเห็ดเบื่อตาย”

หลวงพ่อหันไปถามโยมผู้หญิงที่ยังน้ำตาซึม แต่ก็นั่งเงียบฟังโยมผู้ชายเล่าอยู่ด้วยและพูดว่า

“แลกกันไหมล่ะ ดูซิ ของเขาลูกเมียตายตั้งสี่คน ของโยมรถหายคันเดียว โลกนี้เป็นอย่างนี้ แหละ มีความปรารถนาอะไรแล้วไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ ไม่อยากให้รถหาย มันก็หาย ไม่ อยากให้ลูกเมียตาย ก็ตาย ใครจะห้ามได้ ชีวิตทุกชีวิตเป็นอย่างนี้แหละ ใครอยากล่ะ โยม อยากให้รถหายไหม โยมอยากให้ลูกเมียตายไหม”

ทั้งคู่ก็ตอบรับหลวงพ่อว่า “ไม่อยากค่ะ (ครับ)”

หลวงพ่อกล่าวต่อไปว่า “เป็นอย่างนี้แหละ ความโศก ความร่ำไรรำพัน ให้เราพิจารณาดู ทุกสิ่งทุกอย่าง ถ้าเราไม่หนีมัน มันก็หนีเรา คนก็เหมือนกัน เราไม่จากเขา เขาก็จากเรา มันอยู่ที่ ใครไปก่อนใครเท่านั้นเอง บางทีวัตถุก็ไปก่อนเรา บางทีเราก็ไปก่อนวัตถุ บางทีคนใกล้ชิดเราเขา ก็ไปก่อน บางทีเราไปก่อนเขา มันเป็นไปตามเหตุปัจจัยของกรรม ซึ่งพระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม เราย่อมมีกรรมเป็นทายาท มีกรรมเป็นผู้ติดตาม ให้ผล ไม่ว่าบุญหรือบาป ดีหรือชั่วก็ตาม เราจะต้องรับกรรมนั้นโดยแน่นอน

สำหรับโยมผู้ชายนั้นโยมผู้หญิงกับลูกเขาทำกรรมกับเรามาแค่นี้ เขาตายไปเขาก็ไม่ขอ อนุญาตเรา ไม่บอกเรา ไม่ได้เขียนใบลา เขาก็ตายไป โยมผู้หญิงก็เช่นกัน รถคันนี้มันทำกรรมกับ โยมมาแค่นี้ รถมันก็ไม่บอกเราก่อนว่ามันจะถูกขโมยแล้วนะ อยู่ ๆ มันก็หายไป ดังนั้นให้เราเห็นว่า เป็นธรรมดาของทุกสิ่งทุกอย่าง เราไม่หนีมัน มันก็หนีเรา เราเกิดมาเป็นอะไร เกิดที่ไหน เกิดมากี่ ครั้ง ๆ โลกก็เป็นเช่นนี้ เราเองต่างหากที่ไปอุปาทานว่า นี่รถของเรา นี่ลูกนี่เมียของเรา รถมันไม่เคย บอกนะว่ามันเป็นของเรา เราไปซื้อมันมาตกแต่ง มารักมันเอง ที่จริงรถมันไม่ได้เป็นของใคร
มันเป็น ของธรรมชาติที่ไหลไปตามเหตุปัจจัย มนุษย์ไปสมมุติขึ้นมา แล้วยึดว่าเราเป็นเจ้าของ เมื่อมันหาย ไปให้เราคิดว่า นั่นเป็นการคืนกลับสู่ธรรมชาติ โยมผู้ชายก็เหมือนกัน ลูกเมียก็เสียไปแล้ว พิจารณา มองให้เห็นว่าเป็นทุกข์ ไม่ใช่พอสร่างโศกก็ไปหามาใหม่ เป็นการเพิ่มทุกข์ขึ้นมาอีก เราควรทำบุญ ให้ทาน รักษาศีล ทำภาวนา แผ่ให้ผู้ตายบ้าง เราเองก็ต้องตาย ไม่แน่ว่าเมื่อไร ขอให้เข้าใจสัจธรรม ของธรรมชาติ”

หลวงพ่อกล่าวเป็นสังเขปพอให้โยมสร่างทุกข์ หน้าที่ของพระก็คือ แก้ไขทุกข์ โดยคิดว่า ทุกคนเป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตายด้วยกันหมดทั้งสิ้น เมื่อกล่าวไปแล้วก็ไม่ได้คิดปรุงว่า จะแก้ ได้หรือไม่ได้ เพราะทุกสิ่งทุกอย่างมีคำตอบอยู่ในตัวมันเองอยู่แล้ว ผู้มีปัญญาก็จะค้นหาคำตอบ ของปัญหาของเขาเองได้ในที่สุด


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มกราคม 06, 2012, 07:54:50 PM
ตั้งหลักไว้

(http://variety.teenee.com/saladharm/img9/124391.jpg)

ตั้งหลักไว้ อดีต-อนาคตเป็นธรรมเมา…ปัจจุบันเป็นธรรมโม
ระลึกไว้เสมอว่า ดับ ละ วาง ในปัจจุบัน…จึงเป็นธรรมโม
เมื่อจิตอยู่ในปัจจุบันธรรม
แต่ถ้าหากอดีต-อนาคตเกิดขึ้นแล้วก็ต้องดับลงไป…

ต้องหมั่นต้องพยายามเข้าหาจดของจริง
อดีต-อนาคต-ปัจจุบัน สามอย่างนี้แหละเป็นทางเดินของจิต
ความโลภ ความโกรธ ความหลง
ราคะ กิเลส ตัณหา ก็เกิดขึ้นในใจนี้แหละ
แสดงออกจากใจนี้ ให้น้อมเข้ามา ๆ
ถึงอย่างนั้นกิเลสทั้งหลายก็ยังทำลายคุณความดีได้เหมือนกัน
แต่ถ้ามีสติความชั่วเหล่านั้นก็ดับไป…

:: หลวงปู่แหวน สุจิณโณ


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มกราคม 06, 2012, 07:56:37 PM
นรกขุมเดียวที่ไม่จำกัดเวลา

(http://variety.teenee.com/saladharm/img9/124234.jpg)
นรกขุมเดียวที่ไม่จำกัดเวลา



ถาม: มีใครที่ตกนรกโลกันต์แบบสั้นๆ ไหมครับ ตกพักเดียว ?

ตอบ: ไม่มี เพราะโทษเป็นสี่เท่าของอเวจีมหานรก นั่นอย่างสั้นๆ ของนรกโลกันต์

“โลกันตะ” มาจาก โลกะ และ อันตะ แปลว่า สุดแล้วซึ่งโลก เป็นนรกขุมเดียวที่ไม่จำกัดเวลา อยู่ไปเถอะ..สาสมกับความชั่วเมื่อไรแล้วค่อยหลุดออกมา … (หัวเราะ) … คุ้มกับความชั่วที่ทำ นรกโลกันต์เป็นนรกที่แยกต่างหากออกไป ไม่ได้อยู่ในเขตนรกทั้งหมด

ถาม: เป็นนรกที่แย่ที่สุดแล้วใช่ไหมคะ ?

ตอบ: ถือว่าแย่ที่สุด ไม่ใช่ยากที่สุด เพราะว่านรกขุมใหญ่ที่สุด โทษหนักที่สุดคือ อเวจีมหานรก มีอายุหนึ่งกัป แต่นรกโลกันต์เขาไม่มีอายุ

เรา ยังรู้ว่าถ้าเราเอาผ้าสำลีไปลูบภูเขาหินกว้าง ยาว สูง ด้านละ ๑๖ กิโลเมตร ๑๐๐ ปี ไปลูบครั้งหนึ่ง กว่าภูเขาจะสึกเสมอพื้นก็เป็นเวลาหนึ่งกัป แต่โลกันต์นี้ไม่มีอายุ มีสภาพเหมือนกับบ่อหรือหลุมอะไรลึกๆ ที่อยู่ตรงกลาง คำว่า “โลกันต์” คือ สุดโลก สถานที่นี้จะเป็นรอยต่อระหว่างโลกมนุษย์ นรกและสวรรค์ จุดที่เป็นหลุมอยู่ตรงกลาง นรกโลกันต์จะอยู่ตรงนั้น

สนทนากับพระอาจารย์เล็ก สุธมฺมปญฺโญ
ณ บ้านอนุสาวรีย์ฯ เดือนพฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๔๕


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มกราคม 07, 2012, 08:37:13 PM
หลักธรรมนำสุข : ให้ทำ แต่ไม่ให้ถือ

(http://www.rakbankerd.com/kaset/Plant/2340_1.jpg)


หลักธรรมนำสุข   : ให้ทำ แต่ไม่ให้ถือ 
        โดย   : พระธรรมปิฎก

 

“…ท่านให้ทำความดี ไม่ใช่ให้ยึดถือในความดี คือให้ทำความดี เพราะเป็นสิ่งที่ควรจะทำเมื่อทำไปแล้ว ก็ให้ปลอดโปร่งโล่งใจว่า สิ่งที่ควรทำ เราได้ทำแล้ว… ถ้าทำด้วยความรู้อย่างนี้ จิตใจของเราจะเป็นอิสระ แต่คนเรามักจะยึดติดในความดี เสร็จแล้ว เราก็อาจจะต้องมาคร่ำครวญรันทดใจว่า เราทำดีแล้ว ทำไมคนไม่เห็นความดี ทำไมเขาไม่ยกย่อง ไม่สรรเสริญ ทำไม เราไม่ได้รับผลอย่างนั้นอย่างนี้ แล้วเราก็เสียอกเสียใจเพราะความดีอีก

เพราะฉะนั้น ความยึดติดถือมั่นในความดี จึงยังทำให้เกิดทุกข์ได้ และคนเราจึงยังมีความ ทุกข์ได้ จากความดีที่ทำ…”


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มกราคม 07, 2012, 08:50:04 PM
ผู้ที่ประเสริฐที่สุดในโลก

(http://www.thummada.com/public_html/images/lotus_01.jpg)

พระอาจารย์ กล่าวว่า พระเวสสันดร พระมโหสถ แม้กระทั่ง พระพุทธเจ้า เมื่อเกิดมาสามารถพูดได้เลย พระเวสสันดรเกิดมาก็พูดว่า “อะมะ..ข้าแต่แม่ ข้าพเจ้าอยากจะทำทาน” พระมโหสถเกิดมาก็ “อะมะ..ข้าแต่แม่ ยาที่ถือมานี้เอาไปรักษาบิดา” ที่ได้ชื่อว่ามโหสถ เพราะท่านกำยาออกมาจากท้องแม่ ไม่รู้ว่าไปล้วงเอามาจากไหน ?”

ถาม : พระเวสสันดรเกิดมาพูดได้ยังพอเข้าใจ ส่วนพระมโหสถยังไม่ใช่ชาติสุดท้าย แต่ทำไมเกิดมาพูดได้เลยคะ ?

ตอบ : อย่าลืมว่าเป็นปรมัตถบารมีแล้วนะ

ถาม : ทำไมทั้ง ๑๐ ชาติ พูดไม่ได้ทั้งหมดคะ ?

ตอบ : บางชาติก็ไม่ใช่ปรมัตถบารมี แต่เป็นชาติที่คนเขาคุ้นเคย ลองไปอ่านดูจะรู้ว่า บางชาติท่านยังเป็นอุปบารมี แต่บางชาติในพระเจ้า ๕๐๐ ชาติที่เราคิดว่าไม่น่าจะเป็นปรมัตถบารมี แต่ก็เป็น

พอ พระพุทธเจ้า ประสูติเป็น สิทธัตถราชกุมาร เดินได้ ๗ ก้าว ยกพระหัตถ์ชี้ขึ้นข้างบนกล่าวว่า อหํ อคฺโคหมสฺมิ โลกสฺส เราเป็นผู้ที่เลิศที่สุดในโลก อหํ เชฎฺโฐหมสฺมิ โลกสฺส เราเป็นผู้เจริญที่สุดในโลก อหํ เสฎฺโฐหมสฺมิ โลกสฺส เราเป็นผู้ที่ประเสริฐสุดในโลก อยมนฺติมา เม ชาติ นตฺถิทานิ ปุนพฺภโวติ ชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายของเรา ท่านสุดยอดขนาดนั้น คนเขาไม่เชื่อว่าเด็กอะไรเกิดมาพูดได้เดินได้เลย แสดงว่าศึกษาตำรามาไม่ครบ

พระอรรถกถาจารย์ท่านระบุเอาไว้ว่า

สัตว์บางจำพวก ขณะจุติไม่รู้ตัว ขณะเคลื่อนไปไม่รู้ตัว ขณะลงสู่ครรภ์ไม่รู้ตัว ขณะอยู่ในครรภ์ไม่รู้ตัว ต่อจนคลอดออกมาถึงรู้ตัว

อันนี้แย่ที่สุดแล้ว และเป็นบุคคลส่วนใหญ่ด้วย

สัตว์บางจำพวก ขณะจุติไม่รู้ตัว ขณะเคลื่อนไปไม่รู้ตัว ขณะลงสู่ครรภ์ไม่รู้ตัว ขณะอยู่ในครรภ์รู้ตัว คลอดออกมาก็รู้ตัว

สัตว์บางจำพวก ขณะจุติไม่รู้ตัว ขณะเคลื่อนไปไม่รู้ตัว ขณะลงสู่ครรภ์รู้ตัว ขณะอยู่ในครรภ์รู้ตัว คลอดออกมาก็รู้ตัว

สัตว์บางจำพวก ขณะจุติไม่รู้ตัว ขณะเคลื่อนไปรู้ตัว ขณะลงสู่ครรภ์รู้ตัว ขณะอยู่ในครรภ์รู้ตัว คลอดออกมาก็รู้ตัว

สัตว์บางจำพวกขณะจุติก็รู้ตัว ขณะเคลื่อนไปก็รู้ตัว ขณะลงสู่ครรภ์มารดาก็รู้ตัว ขณะอยู่ในครรภ์มารดาก็รู้ตัว คลอดออกมาก็รู้ตัว


จำพวก สุดท้ายนี่รู้ตัวตลอด พัฒนาการไม่มีอะไรมาขวางกั้น เพราะฉะนั้น..เรื่องพูดได้เป็นเรื่องเล็ก ชาติก่อนทำอะไรได้ชาตินี้ก็ทำได้ทั้งหมด แต่คราวนี้ว่า ร่างที่เกิดใหม่เป็นเด็ก เดิน ๗ ก้าวก็จะแย่เหมือนกัน ถ้าไม่เกรงใจและแข็งแรงกว่านี้คงวิ่งรอบโลกไปแล้ว

ถ้าเราเข้าใจตรง จุดนี้จะเห็นว่าไม่ใช่ของแปลก เพราะพระองค์ท่านรู้อยู่ตลอด เหมือนคนเดินข้ามจากบ้านนี้ไปบ้านโน้น เคยทำอะไรได้ก็ยังทำได้เหมือนเดิม

บาง ชาติท่านเกิดเป็นนกกระจาบ ไปติดอยู่ในดอกบัวกลับมาช้า ภรรยาด่าสาดเสียเทเสีย แล้วบินเข้ากองไฟตาย เกิดมาใหม่ไม่ยอมพูดจากับใครจนกว่าสามีจะมาเกิดตาม ลองไปอ่านดูใน หนังสือพระเจ้า ๕๐๐ ชาติ ไปดูเอาว่าชาติไหนเป็นบารมีต้น ชาติไหนเป็นบารมีกลาง ชาติไหนเป็นบารมีปลาย

จริงๆ แล้วพระพุทธเจ้าเกิดเป็นพญานาคบ่อย เกิดมาก็รักษาศีล แต่โดนคนแกล้งแทบปางตายทุกที


สนทนากับพระครูธรรมธรเล็ก สุธมฺมปญฺโญ
เก็บตกจากบ้านวิริยบารมี ต้นเดือนธันวาคม ๒๕๕๔


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มกราคม 07, 2012, 08:58:06 PM
มีอย่างไรไม่ให้ทุกข์

(http://www.thaigoodview.com/library/studentshow/2549/m6-3/no12/flower/5.jpg)

หลักธรรมนำสุข เรื่องที่ ๑๙ : มีอย่างไรไม่ให้ทุกข์
โดย : พระธรรมปิฎก

“…จาคะ แปลว่า ความสละ หมายความว่า สละความยึดติดความยึดติดของคนเรานั้น ที่มองเห็นง่ายๆก็คือ ความยึดติดผูกพันในวัตถุสิ่งของต่างๆ ที่เราสร้างขึ้นมา เพื่อเป็นเครื่องอำนวยความสะดวกในการดำเนินชีวิต ตามความมุ่งหมายเดิมนั้น สิ่งเหล่านี้ เราสร้างขึ้นมา ก็เพื่อที่จะช่วยให้ชีวิต ดำรงอยู่ด้วยดี… แต่พอสร้างขึ้นมาแล้ว ก็เกิดความมีขึ้น

พอเกิดการมีขึ้น ก็มีการเป็นเจ้าของพอมีการเป็นเจ้าของ ก็เกิดมีความยึด มีความสำคัญมั่นหมาย ผูกพันติดตัว

พอมีความยึดติด ก็มีความหวง มีความห่วง มีความกังวล แล้วสิ่งเหล่านั้น นอกจากจะทำให้เกิดความสะดวกในการดำเนินชีวิต ก็จะนำความทุกข์มาให้ด้วย เพราะทำให้เกิดความรู้สึกห่วงกังวลเป็นอย่างน้อย แล้วก็ทำให้เกิดความเศร้าเสียใจ เมื่อมีการแตกสลาย เป็นต้น อันนี้จึงเป็นข้อที่ต้องแก้ไข คือจะทำอย่างไรให้สิ่งที่เกิดขึ้น เพื่อมาช่วยตัวเรานั้น อำนวยแต่ผลดี ทำให้เกิดความสะดวกสบายในการดำเนินชีวิต แต่ไม่เกิดโทษแก่ชีวิตจิตใจของเรา

การที่สิ่งที่เราสร้างสรรค์ ทำให้เกิดมีขึ้นมาแล้ว จะไม่เกิดโทษ ก็ต้องอาศัยการรู้จักทำใจ ไม่ให้มีความยึดติดผูกพันมากเกินไป โดยรู้เท่าทันความจริง ที่สิ่งเหล่านั้น มันจะต้องเป็นของมันตามธรรมดา ระลึกถึงความมุ่งหมายเดิม ในการที่เราสร้าง หรือมีสิ่งเหล่านั้น และฝึกตนในทางที่จะไม่ยึดติด…”




หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มกราคม 08, 2012, 01:06:26 PM
ความสุขอันประเสริฐ

(http://img101.imageshack.us/img101/1642/l51588.jpg)

หลักธรรมนำสุข : ความสุขอันประเสริฐ
            โดย : พระธรรมปิฎก

“…พระพุทธเจ้าตรัสว่า มนุษย์สามารถหาความสุขที่ประณีตกว่าการบำเรอตา หู จมูก ลิ้น กาย ความสุขแบบนั้น ท่านเรียกว่า เป็นความสุขที่ประณีตขึ้น ซึ่งมีลักษณะสำคัญ คือเป็นอิสระ มนุษย์มีความสุขได้ โดยลำพังตัวเองในใจ และไม่ต้องขึ้นต่อวัตถุภายนอก ซึ่งหมายความว่า แม้วัตถุภายนอกนั้นไม่มีอยู่ เราก็มีความสุขได้ ข้อสำคัญก็คือ มันเป็นความสุขพื้นฐาน ที่จะทำให้การแสวงหา หรือการเสพความสุขภายนอก เป็นไปอย่างพอดี อยู่ในขอบเขตที่สมดุล ทำให้มีความสุขแท้จริง และไม่เบียดเบียนกันในทางสังคม

ถ้าคนมีความสุขประเภทนี้ เป็นรากฐานอยู่ภายในตนเองแล้ว การหาความสุขทางวัตถุ มาบำเรอ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ก็จะมีขอบเขต ท่านเรียกว่า รู้จักประมาณ ถ้าเรามีความสุขข้างในแล้ว ความสุขที่ได้ข้างนอก ก็เป็นความสุขที่เติมเข้ามา เป็นของแถม หรือกำไรพิเศษ และอิ่มอยู่เสมอ แต่ถ้าเราไม่มีความสุขในจิตใจ มีใจเร่าร้อน กระวนกระวาย หรือมีความเบื่อ มีความเครียด มีปัญหาอยู่ภายในใจของตนเองแล้ว พอหาวัตถุมาบำเรอตา หู จมูก ลิ้น กาย ก็จะต้องมีปัญหาต่อไปอีก คือ

๑. ไม่สามารถมีความสุขได้เต็มที่
๒. เมื่อทำโดยมีปมปัญหาในใจ ก็ทำอย่างไม่พอดี ทั้งทำให้เกิดปัญหาวุ่นวาย และตัวเองก็ไม่ได้

ความสุขจากภายนอกเต็มที่ด้วย และประการสำคัญก็คือ พอทำอะไรออกมา เพื่อหาความสุขเหล่านั้น ก็ทำให้เกิดการปะทะ กระทบซึ่งกันและกัน ก็เลยกลายเป็นปัญหาสังคมขยายบานปลายออกไป…”



หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มกราคม 18, 2012, 10:05:49 PM
ธรรมะกับสิ่งสมมุติ / หลวงปู่ชา สุภัทโท

(http://www.janjawka.com/wp-content/uploads/2012/01/00219.jpg)

สิ่งสมมุติที่มนุษย์เราชอบคิดชอบกระทำนั้นมันจะดีจริงหรือ ทำไมต้องชอบสมมุติกันด้วย และในทางธรรมะล่ะ การสมมุตินั้นควรพึ่งกระทำหรือไมเพราะเหตุอันไหน ธรรมะจะตอบเราได้เรื่องไม ลองไปอ่านธรรมะเกี่ยวกับสิ่งสมมุติที่ “หลวงปู่ชา สุภัทโท” ได้กล่าวไว้

สิ่งทั้งหลายในโลกนี้…
ล้วนแต่เป็นสิ่งสมมุติ ที่เราสมมุติขึ้นมาเองทั้งสิ้น
สมมุติแล้ว…ก็หลงสมมุติของตัวเอง เลยไม่มีใครวาง
มันเป็นทิฏฐิ…ความเห็นไม่ตรง
มันเป็นมานะ…ความถือตัว
ความยึดมั่นถือมั่น…
อันความยึดมั่นถือมั่นนี้ ไม่ใช่เรื่องที่จะจบได้
มันจบไม่ได้สักที…เป็นวัฏฏสงสาร
เวียนว่ายตายเกิดที่ไหลไปไม่ขาด…ไม่มีทางสิ้นสุด


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มกราคม 18, 2012, 10:08:59 PM
ธรรมะของสมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี

(http://www.janjawka.com/wp-content/uploads/2012/01/00216.jpg)


ธรรมะเรื่องนี้เป็นธรรมะที่ สมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี ) ได้สั้งสอนเอาไว้ เราท่านทั้งหลายสามารถนำไปปฎิบัติให้เกิดผลต่อชีวิตได้ เซิญอ่านธรรมะได้เลย

คติธรรมคำสอน ของ สมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี )

- เคล็ดลับสู่ความสำเร็จ
ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต ) กล่าวว่า เคล็ดลับสู่ความสำเร็จสุดยอดในทางธรรม คือ จะต้องมีสัจจะอันแน่วแน่ และมีขันติธรรมอันมั่นคง จึงจะฝ่าฟันอุปสรรค บรรลุความสำเร็จได้ อาตมามีกฎอยู่ว่า เช้าตีห้าไม่ว่าฝนจะตก ฟ้าจะร้อง อากาศจะหนาว ต้องตื่นทันที ไม่มีการผัดเวลา แล้วเข้าสรงน้ำ ชำระกายให้สะอาด แล้วจึงได้สวดมนต์และปฏิบัติสมถกรรมฐานหนึ่งชั่วโมง พอหกโมงตรงก็ออกบิณฑบาต เพื่อปฏิบัติตามปฏิปทาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

- ฝึกจิตให้ได้ผลต้องตรงต่อเวลา
กลับจากบิณฑบาตแล้ว ก็เอาอาหารตั้งไว้ ตักน้ำใส่ตุ่ม เสร็จแล้วฉันอาหารเช้า โดยปกติอาตมาฉันมื้อเดียวเว้นไว้มีกิจนิมนต์ จึงฉันสองมื้อ สี่โมงเช้าถึงเที่ยง ถ้ามีรายการไปเทศน์ ก็ไปเทศน์ตามที่นัดไว้ วันไหนไม่ติดเทศน์ก็จะปิดประตูกุฏิทันที ไม่ให้ใครๆเข้าไป ในช่วงเวลานั้นเป็นเวลาศึกษาตำรา เวลาบ่ายโมงจึงออกรับแขก บ่ายสามโมงไม่ว่าใครจะมาอาตมาจะให้ออกจากกุฏิไปหมด เพราะถึงเวลาปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ฉะนั้น จุดสำคัญจงจำไว้ เราจะปฏิบัติเพื่อหลุดพ้น ต้องมีสัจจะเพื่อตน โดยไม่เห็นแก่หน้าใคร ถึงเวลาทำสมาธิต้องทำ ไม่มีการผัดผ่อนใดๆ ทั้งสิน

หลักการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน
1.จะต้องมีสัจจะต่อตนเอง
2.จะต้องไม่คล้อยตามอารมณ์ของมนุษย์
3.พยายามตัดงานในด้านสังคมออก และไม่นัดหมายใครในเวลาปฏิบัติกรรมฐาน ดังนั้นเมื่อจะเป็นนักปฏิบัติธรรมจำเป็นจะต้องมีกฎเกณฑ์ของเรา เพื่อฝึกจิตให้เข้มแข็ง

- ทางแห่งความหลุดพ้น
เจ้าประคุณสมเด็จฯ มักจะกล่าวกับสานุศิษย์ทั้งหลายอยู่เสมอว่า ชีวิตมนุษย์อยู่ได้ไม่ถึงหนึ่งร้อยปีก็ต้องตายและถูกหามเข้าป่าช้า ดังนั้น จึงควรประพฤติปฏิบัติอยู่ใน ศีล สมาธิ และปัญญา เพื่อให้หลุดพ้นจากสังสารวัฏ ท่านเปรียบเทียบว่า มนุษย์อาบน้ำ ชำระกายวันละสองครั้ง เพื่อกำจัดเหงื่อไคลสิ่งโสโครกที่เกาะร่างกาย แต่ไม่เคยคิดจะชำระจิตให้สะอาดแม้เพียงนาที ด้วยเหตุนี้ ทำให้จิตใจของมนุษย์ ยุคปัจจุบันเศร้าหมองเคร่งเครียดและดุดัน ก่อให้เกิดปัญหาความพิการในสังคมความแก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกัน จนกระทั่งเกิดความขัดแย้ง และกลายเป็นสงครามมนุษย์ฆ่ามนุษย์ด้วยกัน

- แต่งใจ
ขอให้ท่านได้พิจารณาไตร่ตรองให้จงดีเถิดว่า ร่างกายของเรานี้ไฉนจึงต้องชำระทุกวันทั้งเช้าและเย็น จะขาดเสียไม่ได้ทั้งที่หมั่นทำความสะอาดอยู่เป็นนิจ แต่ยังมีกลิ่นไม่น่าอภิรมย์ออกมา แม้จะพยายามหาของหอมมาทาทับ ก็ปกปิดกลิ่นนั้นไม่ได้ใจของเราล่ะ ซึ่งเป็นใหญ่กว่าร่างกาย เป็นผู้สั่งบัญชางาน ให้กายแท้ๆ มีใครเอาใจใส่ชำระสิ่งสกปรกออกบ้าง ตั้งแต่เล็กจนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ มันสั่งสมสิ่งไม่ดีไว้มากเพียงใด หรือว่ามองไม่เห็นจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้อง ทำความสะอาดหรือ?

- กรรมลิขิต
เราทั้งหลายเกิดมาเป็นมนุษย์ชาติแล้ว ล้วนแต่มีกรรมผูกพันกันมาทั้งสิ้น ผูกพันในความเป็นมิตรบ้างเป็นศัตรูบ้าง แต่ละชีวิตก็ย่อมที่จะเดินไปตามกรรมวิบากของตนที่ได้กระทำไว้ ทุกชีวิตล้วนมีกรรมเป็นเครื่องลิขิต

อดีตกรรม ถ้ากรรมดี เสวยอยู่
ปัจจุบันกรรม สร้างกรรมชั่ว ย่อมลบล้าง
อดีตกรรม กรรมแห่งอกุศล วิบากตน
ปัจจุบัน สร้างกรรมดี ย่อมผดุง

เรื่องกฎแห่งกรรม ถ้าเป็นชาวพุทธแล้ว เขาถือว่าเป็นกฎแห่งปัจจังตัง ผู้ที่ต้องการรู้ ต้องทำเอง รู้เอง ถึงเอง แล้วจึงจะเข้าใจ

- นักบุญ
การทำบุญก็ดี การทำสิ่งใดก็ดี ถ้าเป็นการทำตนให้ละทิฏฐิมานะ ทำเพื่อให้จิตเบิกบาน ย่อมเสวยบุญนั้นในปรภพ มนุษย์ทุกวันนี้ทำแบบมีกิเลส ดังนั้น บางคนนึกว่าเข้าสร้างโบสถ์เป็นหลังๆ แล้วเขาจะไปสวรรค์หรือเปล่า เขาตายไปอาจจะต้องตกนรก เพราะอะไรเล่า เพราะถ้าเขาสร้างด้วยเจตนาไม่บริสุทธิ์ เป็นการทำเพื่อเอาบุญบังหน้าในการเสวยความสุขส่วนตัวก็มี บางคนอาจเรียกได้ว่าหน้าเนื้อใจเสือ คือข้างหน้าเป็นนักบุญ ข้างหลังเป็นนักปล้น

- ละความตระหนี่มีสุข
ดังนั้นบุญที่เขาทำนี้ถือว่า ไม่เป็นสุข หากมาจากการก่อกรรม บุญนั้น จึงมีกระแสคลื่นน้อยกว่าบาปที่เขาทำเอาไว้หากมีใครเข้าใจคำว่า บุญ นี้ดีแล้ว การทำบุญนี้จุดแรกในการทำก็เพื่อไม่ให้เรานี้เป็นคนตระหนี่ รู้จักเสียสละเพื่อความสุขของผู้อื่น ธรรมดาเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน เมื่อมีทุกข์ก็ควรจะทุกข์ด้วย เมื่อมีความสุขก็ควรสุขด้วยกัน

- อย่าเอาเปรียบเทวดา
ในการทำบุญ สิ่งที่จะได้ก็คือ ระหว่างเราผู้เป็นมนุษย์ เรารู้ว่าสิ่งที่เราทำนี้จะเป็นมงคล ทำให้จิตใจเบิกบานดี นี่คือการเสวยผลแห่งบุญในปัจจุบัน ทีนี้การทำบุญเพื่อจะเอาผลตอบแทนนั้น มนุษย์นี้ออกจะเอาเปรียบเทวดา ทำบุญครั้งใด ก็ปรารถนาเอาวิมานหนึ่งหลังสองหลัง การทำบุญแบบนี้เรียกว่า ทำเพราะหวังผลตอบแทนด้วยความโลภ บุญนั้นก็ย่อมจะไม่มีผล ท่านอย่าลืมว่า ในโลกวิญญาณเขามีกระแสทิพย์รับทราบในการทำของมนุษย์แต่ละคนเขามีห้องเก็บบุญและบาปแห่งหนึ่ง อันเป็นที่เก็บบุญและบาปของใครต่อใครและของเรื่องราวนั้นๆ กรรมของใครก็จะติดตามความเคลื่อนไหวของตนๆนั้น ไปตลอดระหว่างที่เขายังไม่สิ้นอายุขัย

- บุญบริสุทธิ์
การที่สอนให้ทำบุญโดยไม่ปรารถนานั้น ก็เพื่อให้กระแสบุญนั้นบริสุทธิเป็นขั้นที่นึ่ง จะได้ตามให้ผลทันในปัจจุบันชาติ แต่ถ้าตามไม่ทันในปัจจุบันชาติ ก็ติดตามไปให้เสวยผลในปรภพ คือ เมื่อสิ้นอายุขัยจากโลกมนุษย์ไปแล้ว ฉะนั้น เขาจึงสอนไม่ให้ทำบุญเอาหน้า ทำบุญอย่าหวังผลตอบแทน สิ่งดีที่ท่านทำไปย่อมได้รับสนองดีแน่นอน

- สั่งสมบารมี
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับนักปฏิบัติธรรมแล้ว การทำบุญทำทานย่อมเป็นการส่งเสริมการปฏิบัติจิตให้บรรลุธรรมได้เร็วขึ้น เป็นบารมีอย่างหนึ่ง ในบารมีสิบทัศที่ต้องสั่งสม เพื่อให้สำเร็จมรรคผลนิพพาน

- เมตตาบารมี
การทำบุญให้ทานเพียงแต่เรียกว่า ทานบารมี หากบำเพ็ญสมาธิจิตจนได้ญาณบารมี และโดยเฉพาะการบำเพ็ญทุกอย่างนั้น ถ้าท่านให้โดยไม่มีเจตนาแห่งการให้ ให้สักแต่ว่าให้เขา ท่านก็ย่อมได้กุศลเรียกว่าไม่มาก และทัศนคติของอาตมาว่าการบำเพ็ญเมตตาบารมีในภาวนาบารมีนั้นได้กุศลกรรมกว่าการให้ทาน

- แผ่เมตตาจิต
ทุกสิ่งทุกอย่างที่จะสัมฤทธิ์ผลนั้น เกิดจากกรรม 3 อย่าง คือ มโนกรรม เป็นใหญ่ แล้วค่อยแสดงออกมาทางวจีกรรม หรือกายกรรมที่เป็นรูป การบำเพ็ญสมาธิจิตเป็นกุศลดีกว่า เพราะว่า การแผ่เมตตา 1 ครั้ง ได้กุศลมากกว่าสร้างโบสถ์ 1 หลัง ขณะจิตที่แผ่เมตตานั้น จะเกิดอารมณ์แจ่มใส สรรพสัตว์ไม่มีโทษภัย ตัวท่านก็ไม่มีโทษภัย ฉะนั้น เขาจึงว่านามธรรมมีความสำคัญกว่า

- อานิสงส์การแผ่เมตตา
ผู้ปฏิบัติธรรมนั้น ต้องรู้จักคำว่า แผ่เมตตา คือต้องเข้าใจว่า ความวิเวกวังเวงแห่งการคิดนึกของเราแต่ละบุคคลนั้น มีกระแสแห่งธาตุไฟผสมอยู่ในจิตและวิญญาณกระจายออกไป เมื่อจิตของเรามีเจตนาบริสุทธิ์ เมื่อจิตของเราเป็นมิตรกับทุกคน เมื่อนั้นเขาก็ย่อมเป็นมิตรกับเรา เสมือนหนึ่งเราให้เขากินอาหาร คนที่กินอาหารนั้นย่อมคิดถึงคุณของเรา หรืออีกนัยหนึ่งว่าเราผูกมิตรกับเขาๆก็ย่อมเป็นมิตรกับเรา แม้แต่คนอันธพาล เราแผ่เมตตาจิตให้ทุกๆวัน สักวันหนึ่งเขาก็ต้องเป็นมิตรกับเราจนได้ เมื่อจิตเรามีเจตนาดีต่อดวงวิญญาณทุกๆดวง ดวงวิญญาณทุกๆดวงย่อมรู้กระแสแห่งจิตของเรา เรียกว่ามนุษย์เรานี้มีกระแสธาตุไฟออกจากสังขาร เพราะเป็นพลังแห่งการนั่งสมาธิจิต วิญญาณจะสงบ ธาตุทั้ง 4 นั้น จะเสมอแล้วจะเปล่งเป็นพลังงานออกไป ฉะนั้น ผู้ที่นั่งสมาธิปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ จิตแน่วแน่แล้ว โรคที่เป็นอยู่มันจะหายไป ถ้าสังขารนั้นไม่ใช่จะพังเต็มทีแล้ว คือไม่ถึงวาระสิ้นอายุขัย หรือว่าสังขารนั้นร่วงโรยเกินไปแล้ว ก็จะรักษาให้มันกระชุ่มกระชวยได้หรือจะให้มันสบายหายเป็นปกติดั่งเดิมได้

- ประโยชน์จากการฝึกจิต
ผู้ที่ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน จนมีสมาธิแน่วแน่ เมื่อจิตนิ่งก็รู้ตน เริ่มพิจารณาตน รู้ตนเองได้ ปัญญาก็เกิดขึ้น ปัญญานี้เรียกว่า ปัญญาภายในจากจิตวิญญาณ ซึ่งเราจะใช้ปัญญานี้ได้แน่นอน เมื่อเกิดมีปัญหาขึ้นในชีวิตตลอดระยะเวลาอันยาวนานข้างหน้า นี่คือประโยชน์ของการฝึกจิตแล้ว คุณของสมาธิยังเป็นพลังป้องกันไม่ให้เกิดโรคภัย เจ็บป่วยได้ กล่าวคือ การบำเพ็ญจิต จนจิตสงบนิ่งแล้ว ระบบต่างๆทางประสาทจะได้รับการพักผ่อน เป็นการปรับธาตุในกายให้เกิดพลังจิตเข้มแข็ง กายเนื้อก็จะแข็งแรงกระชุ่มกระชวยด้วย โลหิตในร่างกายจะหมุนเวียนสะดวกขึ้น ความตึงเครียดตามร่างกายและประสาทต่างๆ จะผ่อนคลายเป็นปกติ โรคต่างๆจะลดน้อยลงโดยเฉพาะผู้ที่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง หายป่วยได้ด้วยการฝึกจิตและเดินจงกรม

สมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี )
วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพมหานคร
ท่านเป็นอมตมหาเถระ ที่มีเกียรติคุณเป็นที่ปรากฏอย่าน่าอัศจรรย์ มีปัญญาเฉียบแหลมแตกฉานในทางธรรม
เป็นเลิศทั้งด้านสมถะและวิปัสสนา พระคาถาที่ทรงอานุภาพยิ่งของท่าน คือ คาถาชินบัญชร
ชาติกาล 17 เมษายน พ.ศ. 2331
ชาติภูมิ บ้านบางขุนพรหม ฝั่งตะวันออก กรุงธนบุรี
บรรพชา เมื่ออายุได้ 13 ปี
อุปสมบท เมื่ออายุได้ 20 ปี
ได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์ เมื่อ พ.ศ. 2408
มรณภาพ 22 มิถุนายน พ.ศ.2415
สิริรวมชนมายุได้ 84 ปี

คัดลอกจากหนังสือ เรียนธรรมะบูชาพระสุปฏิปันโน เล่มของ สมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี )


(http://i168.photobucket.com/albums/u170/pintip/10841.gif)


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มกราคม 19, 2012, 08:37:28 PM
รู้ทันเทคโนโลยีกับธรรมะ

(http://variety.teenee.com/saladharm/img8/124934.jpg)

“…มนุษย์ เราในยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะสังคมไทย มีความสัมพันธ์กับเทคโนโลยีด้านข่าวสารข้อมูล หรือตัวข่าวสารข้อมูลนั้น แบ่งเป็น 4 ประเภท คือ

1. พวกตื่นเต้น คิดว่าเรานี้ทันสมัย ได้เสพข่าวสารที่ใหม่ๆ แปลกๆ …เพียงแค่เอามาลือมาเล่าหรือวิพากษ์วิจารณ์ให้สนุกปากตื่นเต้นกัน …เรียกว่าตกอยู่ในกระแส ถูกกระแสพัดพาไหลไปเรื่อยๆ ไม่เป็นตัวของตัวเอง

2. พวกตามทัน พวกนี้ดีกว่าพวกตื่นเต้น คือ มีข่าวสารข้อมูลอะไรเกิดขึ้นก็ตามทันหมด เอาใจใส่ติดตาม พวกนี้ก็ภูมิใจว่า เรานี่เก่ง …ตามทัน แต่ไม่รู้ทัน …รู้ตามข่าว แต่ไม่เข้าถึงความจริงของมัน…

3. พวกรู้ทัน นอกจากตามทันแล้ว ยังรู้เข้าใจเท่าทันมันด้วย ว่ามันเป็นมาอย่างไร มีคุณ มีโทษ มีข้อดี ข้อเสียอย่างไร จะมีท่าทีอย่างไรให้ได้ประโยชน์ โดยไม่ถูกครอบงำ

4. พวกอยู่เหนือมัน พวกนี้ยิ่งกว่ารู้ทันอีก คิดขึ้นไปอยู่เหนือกระแส เป็นผู้ที่สามารถจัดการกับกระแสได้ …เป็นผู้สามารถใช้การเปลี่ยนแปลงให้เป็นประโยชน์ และเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง มีความสัมพันธ์กับข่าวสารข้อมูลแบบเป็นนาย…

ใน ด้านโทษของข้อมูลข่าวสารนั้น ขอพูดสั้นๆ กราดไปเลยว่า ยังมีภาวะตื่นตูมเหมือนกับอยู่ในยุคข่าวลือ ทั้งที่อยู่ในยุคข่าวสารข้อมูล คนยังหลงงมงายกันมาก กลายเป็นว่า ข้อมูลยิ่งมาก โมหะยิ่งเพิ่ม คนจำนวนมากตกเป็นเหยื่อ โดยถูกเขาใช้ข้อมูลมาหลอกล่อ

ถ้าจะให้สังคม ไทยเจริญพัฒนาอย่างถูกต้อง เพื่อให้เป็นสังคมที่ดีงาม หรือแม้แต่เพียงเพื่อให้เป็นสังคมที่มีชัยชนะในเวทีการแข่งขันของโลก จะต้องมีการศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบที่พัฒนาคน โดยเฉพาะอนุชนคือ เด็กและเยาวชน หรือลูกไทยหลานไทย ให้มีลักษณะความสัมพันธ์กับเทคโนโลยีดังต่อไปนี้

1. คนไทยจะต้องมองเทคโนโลยีในความหมายว่า เป็นปัจจัยหรือเครื่องช่วยในการสร้างสรรค์ มากกว่าจะมองในความหมายว่า เป็นเครื่องบำรุงบำเรอเสริมความสะดวกสบาย

2. สังคมไทยจะต้องเป็นสังคมผู้ผลิตเทคโนโลยีให้มากขึ้น และเป็นสังคมของผู้บริโภคเทคโนโลยีให้น้อยลง

3. คนไทยโดยเฉพาะเด็กและเยาวชนไทยจะต้องใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาและสร้างสรรค์ มากกว่าจะใช้เทคโนโลยีเพื่อการเสพบริโภค

4. คนไทยโดยเฉพาะเด็กและเยาวชนไทย จะต้องหาความสุขจากการใช้เทคโนโลยีทำการสร้างสรรค์ มากกว่าจะหาความสุขจากการเสพเทคโนโลยี

ต่อ ไปในแง่ของธรรมชาติแวดล้อม งานของเราคือ ทำอย่างไรเราจะใช้เทคโนโลยีเอาชนะประโยชน์จากธรรมชาติโดยไม่เบียดเบียนและ ทำลายธรรมชาติ ให้การได้ประโยชน์จากธรรมชาติเป็นการเกื้อก้ลธรรมชาติด้วย”



ขอบคุณ : จากสมุดบันทึกธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)



หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มกราคม 19, 2012, 08:40:09 PM
อย่าไปกังวลกับเรื่องที่ยังไม่เกิดขึ้น

(http://variety.teenee.com/saladharm/img3/124853.jpg)


พระอาจารย์ กล่าวว่า “ช่วงน้ำท่วมมีคนเขาปลื้มใจมากว่าเขาห่อรถได้สำเร็จ รถเขาน้ำไม่ท่วม พอเวลาน้ำท่วมรถก็ลอยตุ๊บป่อง พอเปิดรถออกมา ราขึ้นทั้งคันเลย..! เพราะว่าอบอยู่เป็นเดือน เหมือนกับที่เราเพาะเห็ดในโรงอบนั่นแหละ..!

พวก เห็ดรา เป็น พืชที่กินซาก ถ้าไปทิ้งไว้นานๆ อะไรที่คิดว่ากินได้เป็นโดนกินหมด ยิ่งอากาศอบๆ ชื้นๆ ยิ่งขึ้นดีเข้าไปใหญ่ ก่อนหน้านี้อาตมาอยู่ที่ เกาะพระฤๅษี ไปพม่าเดือนหนึ่งกลับมารถยังขึ้นราเลย ไม่ได้ใช้แค่เดือนเดียว ขนาดไม่ได้แช่น้ำนะ กลับมาต้องจัดการล้างอัดฉีดกันยกใหญ่”

ถาม : น้ำจะมาอีกไหมคะ ?

ตอบ : โบราณว่าน้ำขึ้นให้รีบตัก ก็เตรียมขันไว้ตักน้ำสิจ๊ะ..! อย่าไปกังวลกับเรื่องที่ยังไม่เกิดขึ้น เราจะเครียดเสียเปล่าๆ

อตีตัง นานวาคะ เมยยะ นัป ปฏิกังเข อนาคะ ตัง อย่าไปหวนคำนึงถึงเรื่องในอดีตที่ล่วงพ้นมาแล้ว และอย่าไปฟุ้งซ่านกับอนาคตที่ยังมาไม่ถึง ปัจจุปันนัญ จะ โยธัมมัง ตัตถะ ตัตถะ วิปัสสติ ต้องอยู่กับปัจจุบันธรรมเท่านั้นถึงจะรู้แจ้งเห็นจริง

ถาม : การกังวลกับเรื่องที่ยังมาไม่ถึง กับการที่เราไม่ประมาท ป้องกันเรื่องที่ยังมาไม่ถึง ดูเฉียดกันมากครับ อะไรทำให้เกิดความแตกต่างครับ ?

ตอบ : อยู่ที่ว่าเราหยุดคิดเป็นหรือไม่ ? ถ้าหยุดคิดเป็น ไม่ฟุ้งซ่าน ก็ถือว่าไม่ประมาท ถ้าหยุดคิดไม่เป็น ฟุ้งไปเรื่อยก็เครียดตาย ต่างกันตรงที่หยุดคิดเป็นหรือหยุดคิดไม่เป็นเท่านั้น

ถาม : แสดงว่าสติเป็นเรื่องที่สำคัญมากสิครับ

ตอบ : ไม่สำคัญเท่าไรหรอก แค่เป็นแก่นธรรมของพระพุทธศาสนาเท่านั้นเอง (หัวเราะ)


สนทนากับพระครูธรรมธรเล็ก สุธมฺมปญฺโญ
เก็บตกจากบ้านวิริยบารมี ต้นเดือนธันวาคม ๒๕๕๔


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มกราคม 19, 2012, 08:41:31 PM
ต้นเหตุแห่งความทุกข์

(http://www.janjawka.com/wp-content/uploads/2012/01/00255.jpg)

ต้นเหตุแห่งความทุกข์…..

ก็คือความรู้สึกว่ามีตัวตน เกิดความรู้สึกว่ามีตัวตนเมื่อไร ก็จะมีความทุกข์เมื่อนั้น ขอให้สังเกตดูให้ดี ๆ ให้ละเอียดประณีตที่สุดว่า

ในชีวิตของเราแต่ละวัน ๆ  เมื่อไร ความรู้สึกว่าตัวตนมีตัวตนเกิดขึ้นในจิตแล้ว ก็ร้อนด้วยโลภะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง หรือว่าด้วยความรักบ้าง ความโกรธบ้าง ความเกลียดบ้าง ความกลัวบ้าง ความวิตกกังวลบ้าง ความอาลัยอาวรณ์บ้าง ความอิจฉาริษยาบ้าง ความหวงความหึงบ้าง
มันก็มีเป็นทุกข์เป็นไฟขึ้นมา แต่แล้วมันก็มีระยะที่มันมิได้เกิด

มันมิได้เกิดคือ มันมิได้มีการปรุงแต่งเป็นตัวตน ชนิดนี้ ระยะนั้นก็สงบเย็นหรือมันว่าง มันว่างจากตัวตนมีความว่างจากตัวตน ก็มีความหมายเป็นนิพพาน ….คือเป็นความเย็น


 ….ท่านพุทธทาส….



หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มกราคม 21, 2012, 09:22:00 AM
ลองมอง…

(http://www.janjawka.com/wp-content/uploads/2012/01/00281.jpg)

ลองมองความแก่ ด้วยสายตาของปราชญ์สิ
แล้วเราจะพบว่า ความแก่กำลังสอนเราให้เราไม่ประมาทในวันเวลา

ลองมองความเจ็บ ด้วยสายตาของปราชญ์สิ
แล้วเราจะพบว่า ความเจ็บสอนให้เราหันกลับมาดูแลสุขภาพตัวเอง

ลงมองความตาย ด้วยสายตาของปราชญ์สิ
แล้วเราจะพบว่า ความตายกำลังสอนให้เราเพียรทำวันนี้ให้ดีที่สุด

ลงมองความพลัดพราก ด้วยสายตาของปราชญ์สิ
แล้วเราจะพบว่า ความพลัดพรากกำลังสอนให้เราหันกลับมาเรียนรู้ที่จะอยู่กับคนที่เรารักอย่างคุ้มค่า

ลงมองความวิบากกรรมที่เกิดขึ้นกับตัวเอง ด้วยสายตาของปราชญ์สิ
แล้วเราจะพบว่า ทุกการกระทำของเราล้วนส่งผลถึงชีวิตของเราอย่างถึงพริกถึงขิงจริงๆ[/color]

 

(จากหนังสือ เปลี่ยนเคราะห์ให้เป็นโชค เปลี่ยนโรคให้เป็นครู หน้า ๑๑๔)


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มกราคม 22, 2012, 11:26:42 AM
ศีล คือ ชีวิต…ชีวิต คือ ศีล


(http://www.janjawka.com/wp-content/uploads/2012/01/00279.jpg)



คนที่บอกว่าเขารักชีวิต แต่เขาไม่รักษาศีล
จะเชื่อถือได้อย่างไรว่าเขารักชีวิตจริง


ศีล คือ ชีวิต…ชีวิต คือ ศีล

คนไม่มีศีล เปรียบเสมือนต้นไม้ที่ไม่มีราก
เมื่อถูกลมพัดก็ย่อมล้ม

คนไม่มีศีล เหมือนการสร้างบ้าน
สร้างตึกที่ไม่มีรากฐานไม่มีเสาเข็ม
ย่อมล้มเป็นธรรมดา


คนไม่มีศีล เหมือนคนไม่มีเท้าย่อมเดินไม่ได้
เหมือนรถไม่มีล้อแล่น วิ่งไม่ได้

คนไม่มีศีล เหมือนคนเป็นใหญ่เป็นโต แต่ไม่มีความรู้
ย่อมปกครองทรัพย์ ปกครองลูกน้องไม่ได้ดี


คนไม่มีศีล จะเจริญสมาธิและกระทำให้เกิดปัญญา
และวิมุตติไม่ได้ และสำเร็จมรรคผลนิพพานไม่ได้


คนมีศีล ตกน้ำไม่ไหล ตกไฟก็ไม่ไหม้
(ไม่ว่าจะอยู่ในหมู่คนพาลหรือคนดี ย่อมรักษาตัวรอดได้)

คนมีศีล จะนั่งนอน หลับตื่น ก็เป็นสุขอยู่ในกาลทุกเมื่อ
ไม่มีวิปฏิสาร (คือความเดือดร้อนใจ)

คนมีศีล มีชีวิตอยู่เพียงวันเดียวย่อมประเสริฐกว่า
ผู้ไม่มีศีลซึ่งมีชีวิตอยู่ตั้งร้อยปี

คนมีศีล ย่อมไม่ทำบาปแม้ในที่ลับ
เพราะมีความตรงและจริงใจต่อตนเอง


คนมีศีล ย่อมไปสู่ทุคติจตุรบาย

ศีล คือ เครื่องรางที่ป้องกันอบายภูมิได้อย่างศักดิ์สิทธิ์

คนมีศีล ย่อมมีสุคติเป็นที่ไปเบื้องหน้า

คนมีศีล จะค้าขายก็จะมีแต่ความเจริญโดยส่วนเดียว

คนมีศีล เข้าสมาธิก็ง่าย ไม่สะดุ้งตกใจง่าย

คนมีศีล ย่อมไม่ฝันลามก ย่อมไม่ฝันร้าย

คนมีศีล บรรลุธรรมก็ง่าย

คนมีศีล ย่อมไม่ก่อกรรมทำบาป

คนมีศีล คือ ผู้ที่มีจิตศรัทธาในพระรัตนตรัยอย่างแท้จริง
(คือเชื่อในพระรัตนตรัยจริงๆ)

คนมีศีล ย่อมเห็นโทษของบาปแม้เพียงเล็กน้อย

เพราะผิดศีลข้อ ๑ จึงมีกรรม อายุสั้น มีโรคภัยไข้เจ็บมาก

เพราะผิดศีลข้อ ๒ จึงมีกรรม ทรัพย์สมบัติต้องวิบัติ
ด้วยแรงกรรมต่างๆ เช่น ดิน น้ำ ลม ไฟ

เพราะผิดศีลข้อ ๓ จึงมีกรรม ภริยา-สามี นอกจิต นอกใจ
บุตร-ธิดาไม่อยู่ในโอวาทคบชู้สู่ชาย

เพราะผิดศีลข้อ ๔ จึงมีกรรม พูดจาไม่มีคนเชื่อถ้อยฟังคำ
ตาบอด หู หนวก เป็นอัมพาต

เพราะผิดศีลข้อ ๕ จึงมีกรรม โง่เง่า หลงทำกาลกิริยา เป็นบ้า เป็นใบ้

รักษาศีลให้ได้ มีสุคติเป็นที่ไปแน่นอน

รักษาศีลให้ได้ มีโภคทรัพย์แน่นอน

รักษาศีลให้ได้ มีนิพพานเป็นที่ไป และเข้าถึงแน่นอน


 หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม

(http://www.thummada.com/public_html/images/lotus_08.jpg)


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มกราคม 22, 2012, 11:33:41 AM
เวรนั้นไม่มีที่สิ้นสุด กรรมนั้นก็ไม่มีที่สิ้นที่สุด

(http://www.janjawka.com/wp-content/uploads/2012/01/00280.jpg)


เวรนั้นไม่มีที่สิ้นสุด กรรมนั้นก็ไม่มีที่สิ้นที่สุด
อย่างพระพุทธเจ้าเกิดมาก็ต้องหลายกัปป์หลายกัลป์
กับพระเทวทัตนั่นเป็นเวรต่อกันไม่รู้แล้วรู้รอดสักที
พระองค์ก็พยายามทำดีทุกอย่าง
แต่ว่าพระเทวทัตไม่ละไม่ถอน
คอยที่จะทำเวรอยู่ตลอดเวลาจนกระทั่งมาเกิดที่ทศชาติ
ก็ยังพยาบาททำกรรมทำเวรมาเกิดเป็นจันทกุมาร
นี่แหละเรื่องกรรมเรื่องเวรมันเป็นอย่างนี้แหละ
ยากที่สุดที่จะพ้นจากกรรมจากเวรได้น่ะ
เราไม่พ้นจากกรรมจากเวร
เราเกิดมาเพราะกรรม เพราะเวร จึงว่า

กมฺมโยนิ กรรมเป็นกำเนิดให้เกิดมา

กมฺมพนฺธุ มันติดพันเรามาตลอดเวลา

กมฺมปฏิสรณา เราอาศัยกรรมอยู่เดี๋ยวนี้

ทุกสิ่งทุกประการมันจะหมดสิ้นอย่างไรได้?
มันจะหมดสิ้นก็ต่อเมื่อสิ้นสังขารร่างกายนี้
พระพุทธเจ้าก็ดี สาวกทั้งหลายก็ดี
ท่านบำเพ็ญเพียรถึงที่สุดแล้ว
สังขารร่างกายนี้แตกดับ กรรมตามไม่ทันแล้วคราวนี้
กรรมอันนี้เรียกวิบากขันธ์
วิบากนี้ต้องตามทันอยู่ตลอดเวลา
ส่วนจิตนั้นตามไม่ทัน จิตใจของพระองค์หมดจดบริสุทธิ์
จิตใจของสาวกหมดจดบริสุทธิ์แล้ว
คราวนี้แหละกรรมตามไม่ทัน
กรรมที่ตามไม่ทันเพราะจิตใจหลุดพ้น
เพราะจิตปราศจากความกังวลเกี่ยวข้อง จิตที่เป็นหนึ่ง

อย่างที่เคยพูดให้ฟังว่า
จิตที่เป็นหนึ่ง ที่รู้เท่ารู้ตัวอยู่ตลอดเวลาเป็นนิจ
ไม่คิดถึงเรื่องอดีต อนาคต
ไม่คิดถึงเรื่องวุ่นวายสิ่งทั้งปวงหมด บริสุทธิ์อยู่คนเดียว
จิตอันอยู่คนเดียวนั้นไม่มีอะไรถูกต้อง
อะไรถูกต้องก็รู้เท่ารู้เรื่อง อันนั้นแหละเรียกจิตบริสุทธิ์
อันนั้นแหละจึงจะหลุดพ้นจากกรรมจากเวรได้

หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี

(http://www.thummada.com/public_html/images/lotus_09.jpg)


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มกราคม 22, 2012, 11:46:41 AM
ความไม่เข้าใจในเรื่องของกรรม

(http://variety.teenee.com/saladharm/img0/124993.jpg)


สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม
แม้จะเป็นจริงเช่นนี้ แต่มีผู้ที่เชื่อว่าเป็นจริงเพียงจำนวนน้อยนัก
เพราะไม่มีภาพให้เห็นว่า
เมื่อชีวิตออกจากร่างของคนคนหนึ่งไป ก็ไปเป็นอีกร่างหนึ่งได้
เช่น หมู หมา กา ไก่ ความไม่ได้เห็นชัดๆ ด้วยตาเนื้อเช่นนี้
ทำให้คนส่วนมากยากจะเชื่อว่าคนก็เกิดเป็นสัตว์ได้ สัตว์ก็เกิดเป็นคนได้

คนฐานะสูงก็เกิดเป็นคนฐานะต่ำได้ คนฐานะต่ำก็เกิดเป็นคนฐานะสูงได้
คนร่างกายดีๆ ก็เกิดเป็นคนแขนด้วนขาด้วนได้
คนพิการแขนด้วนขาด้วนก็เกิดเป็นคนมีแขนมีขาได้
คนหน้าตาน่าเกลียดผิดพรรณเศร้าหมอง ก็เกิดเป็นคนสวยคนงามได้
คนสวยคนงามก็เกิดเป็นคนน่าเกลียดน่าชัง ผิดพรรณเศร้าหมองได้
ยิ่งกว่านั้นคนก็เกิดเป็นเทวดาได้ และเทวดาก็เกิดเป็นคนได้

ความไม่เห็นด้วยตาเนื้อ
ประกอบกับความไม่มีความเข้าใจในเรื่องกรรม และการให้ผลของกรรม
ที่ทำให้คนส่วนมากไม่กลัวการเกิดใหม่
ว่าจะนำไปสู่สภาพหรือภพชาติที่น่าสะพรึงกลัวยิ่งนัก เช่นเป็นสัตว์นรก


คัดลอกจาก…อำนาจอันยิ่งใหญ่แห่งกรรม
สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก



หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มกราคม 22, 2012, 11:48:36 AM
อย่าได้เป็นกบเฝ้าดอกบัว

(http://www.janjawka.com/wp-content/uploads/2012/01/00315.jpg)

ชาวโลกทุกถ้วนหน้าที่เคารพ
พวกเราอย่าได้เป็นกบเฝ้าดอกบัว
และอย่าได้เป็นกบเลือกนายเลย
นายของพวกเรา คือ…พระธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เป็นคำสอนที่ทรงพระเหตุผล
สมต้นสมกลางสมปลายบริบูรณ์ดีพอแล้ว
พร้อมทั้งฆราวาสและบรรพชิตสอนจิตสอนใจของพวกเราให้ละเอียดสูงส่งตรงไปให้
ชนะความเมาความหลงของเจ้าตัว
สอนไม่ให้เข้าข้างตัวโดยฝ่ายเดียว
สอนให้แลเหลียวดูใจท่านผู้อื่นและให้เอาตนเป็นพยานก่อน
หลวงปู่หล้า เขมปัตโต


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มกราคม 27, 2012, 07:41:41 PM
จริตของคน ๖ ประเภท


(http://variety.teenee.com/saladharm/img7/63503.jpg)

จริต ของคนมี ๖ กลุ่ม คือ ราคจริต  โทสจริต  โมหจริต  สัทธาจริต  พุทธิจริต และวิตกจริต บุคคลในจริตทั้ง ๖ นี้ เมื่อจะเจริญกรรมฐาน( ๔๐ แบบ )  จะต้องเลือกให้ถูกกับจริตของตน

บุคคล โทสจริต ชอบความรวดเร็ว  ไม่ชอบเรียนเยิ่นเย้อ ชอบสรุปความหรือเอาประเด็นสำคัญทีเดียว
กรรมฐานที่เหมาะคือ อัปปมัญญา หรือ พรหมวิหาร ๔   เมตตา  กรุณา  มุทิตา  อุเบกขา

บุคคล โมหจริต  มักชอบง่วงเหงาหาวนอน  เรียนอะไรนิดหน่อยก็ง่วงแล้ว
กรรมฐานที่เหมาะคือ อานาปานสติ กำหนดลมหายใจเข้าออก

บุคคล วิตกจริต  เป็นคนลังเล ตัดสินใจอะไรไม่ได้  ไม่รู้จะเลือกอย่างไหนดี
กรรมฐานที่เหมาะคือ อานาปานสติ กำหนดลมหายใจเข้าออกเช่นเดียวกัน

บุคคล สัทธาจริต  มักเชื่อง่าย  ชอบเรื่องตื่นเต้น  เรื่องไหนไม่สนุกก็จะไม่ชอบ
กรรมฐานที่เหมาะคือ พุทธานุสติ ระลึกถึงพระพุทธเจ้า

บุคคล พุทธิจริต  มีความใฝ่รู้ ช่างสงสัย หาเหตุผล
กรรมฐานที่เหมาะคือ มรณสติ ระลึกถึงความตาย และ อุปสมานุสติ ระลึกถึงความสงบ

บุคคล ราคจริต  รักสวยรักงาม  รังเกียจของไม่สวยไม่งาม
กรรมฐานที่เหมาะคือ อสุภกรรมฐาน พิจารณาของไม่งามเช่นซากศพ

แต่ ถึงกระนั้นก็ตาม  แม้นในบุคคลเดียวกันนั้น ในแต่ละเวลา จริตก็เปลี่ยนแปลงได้ เช่นบางเวลาก็มี โทสะ ความโกรธ  บางเวลาก็เกิด ราคะ ความเพลิดเพลินในของสวยงาม  บางครั้งก็เกิด สัทธา ตื่นเต้นกับเรื่องราวต่างๆ หรือ บางครั้งก็ ง่วงเหงาหาวนอนเกิด โมหจริต

ดัง นั้น ก่อนจะลงมือปฏิบัติกรรมฐาน ควรตรวจดูว่าในขณะนั้น จริตใดกำลังมีความรุนแรงครอบคลุมจิตใจของเราอยู่  ก็ให้เลือกกรรมฐานที่ถูกต้องกับจริตขณะนั้น

 

( จากหนังสือ ขอบฟ้าแห่งความรู้  ของ  พระธรรมโกศาจารย์  ( ประยูร ธมฺมจิตฺโต )



หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มกราคม 27, 2012, 07:46:16 PM
สติเป็นพื้นฐานแห่งการแก้กิเลสทุกประเภท

(http://variety.teenee.com/saladharm/img4/64151.jpg)

…สติเป็นพื้นฐานแห่งการแก้กิเลส ทุกประเภท
ให้พากันจำเอาไว้นะ สติเป็นสำคัญมากทีเดียว
ถ้าลงขาดสติแล้วอะไรเหลวไหลทั้งนั้น
งานนอกงานในเหลวไหลไปหมด ขาดสติเสียอย่างเดียว
ถ้าสติดี งานใดยิ่งละเอียดลออเข้าไปโดยลำดับ
สติเป็นพื้นฐานทุกด้านทุกทาง ไม่มีคำว่าครึล้าสมัย
ในธรรมทุกขั้น ขั้นหยาบ ขั้นกลาง ขั้นละเอียด ถึงขั้นสูงสุด
ปราศจากสติไม่ได้เลย
สติเป็นสำคัญ เป็นพื้นฐานแห่งการชำระล้างกิเลสทั้งหลาย
เพราะฉะนั้นขอให้พระนำไปปฏิบัติ
ใครมีสติดีคนนั้นแหละจะประคองความเพียรได้ดี สติตั้งให้มั่นคง

เช่นเราอยู่กับคำบริกรรมคำใด ให้สติติดอยู่กับคำบริกรรม หรือจิตมีความสงบ
ให้ตั้งอยู่ในจุดแห่งความสงบเรื่อยๆ ไปอย่างนี้
สติติดแนบๆ จำให้ดี สติเป็นพื้นฐานแห่งการชำระกิเลสทุกประเภท
ไม่เหนือสติไปได้เลย นี่ได้พิจารณามาแล้ว ได้ปฏิบัติมาแล้วด้วย
ที่ได้มาสอนหมู่สอนเพื่อนจึงองอาจกล้าหาญในการสอน
ว่าไม่ผิด เพราะเราดำเนินมาแล้ว….


(http://wallpaper.yenta4.com/pic/thumbnail/21/317/2679b60bf23443d5f6c62344d83efbdb.jpg)


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มกราคม 27, 2012, 07:55:31 PM

สมบัติของโลก ก็ต้องอยู่ในโลก

(http://santidham.com/tatu1st/tatu/present/p-kamdee/1.jpg)


พระครูญาณทัสสี (หลวงปู่คำดี ปภาโส)
วัดถ้ำผาปู่ อ.เมือง จ.เลย พ.ศ.๒๔๔๕-๒๕๒๗


ความจริง “จิตใจ” ของเราเองเป็นตัวก่อทุกข์
สังเกตได้จากพระอรหันตสาวกทั้งหลาย
เมื่อท่านมีความรู้ มีปัญญาคุ้มครองรักษาใจท่านดีแล้ว
ท่านก็ไม่มีทุกข์ เพราะท่านไม่ปรารถนาในสิ่งต่างๆ
เมื่อเราประสบกับรูป กลิ่น เสียง หรืออื่นๆ
ก็เพราะใจเรามีตัณหา ปรารถนา ทะเยอทะยาน
ยินดียินร้ายในสิ่งเหล่านั้น ทำให้เราเป็นทุกข์

ไม่ใช่ว่า รูป รส กลิ่น เสียง โผฏฐัพพะ หรือสิ่งอื่นๆ
ที่จะได้มาเผาเราให้ร้อน เป็นทุกข์
ตัวของเราเองที่เป็นไฟมาคอยเผาตัวเอง

บุคคลที่มีทาน มีศีล แต่ขาดการภาวนานั้น
เปรียบเหมือนบุคคลที่มีเสบียงพร้อมแล้ว มีร่างกายที่สมบูรณ์
มีกำลังวังชาที่ดี แต่บุคคลนั้นเป็นบุคคลที่ตาบอด
เขาย่อมไม่สามารถจะเดินทางไปสู่พระนิพพานได้

เมื่อจิตใจรวมลงได้ละเอียดเป็นหนึ่ง
ถึงแม้ว่าจะมีสัญญาอยู่บ้างก็ตาม ให้เรากำหนดนิ่งเฉย
คำว่า “นิ่งเฉย” เปรียบเหมือนกับนายพรานตักเนื้อ
เขาจะนั่งอยู่นิ่งๆ ไม่เคลื่อนไหว
แต่ตาของเขาจะมองดูสัตว์ต่างๆ ที่จะดักฉันใด
การตั้งสติกำหนดจิตก็ฉันนั้น

ให้พากันสนใจเรื่องการภาวนา
เราบังคับจิตใจไว้เป็นของง่าย เพราะเป็นของมีอยู่กับตัว
ไม่ต้องซื้อไม่ต้องขอ ไม่ต้องแลกเปลี่ยน เป็นสิ่งมีประโยชน์มาก

ถ้าเราบำเพ็ญความสงบได้แล้ว
มีประโยชน์ทั้งทางโลกและทางธรรม

เรื่องของนิมิตนี้จะเกิดหรือไม่เกิดไม่สำคัญ
เพราะว่าการที่เราทำสมาธิภาวนา
ก็เพื่อมุ่งให้เกิดความสงบภายในจิตใจเท่านั้น

ถ้าผู้ปฏิบัติสามารถทำจิตใจของตนให้สงบเป็นอารมณ์เดียวได้แล้ว
ก็พอเท่านั้น ไม่มีนิมิตเกิดขึ้น ก็ไม่เป็นไร
การภาวนาท่านต้องการให้เราปราบกิเลสของเราเท่านั้น
คือเห็นความโลภ เห็นความโกรธของตน
เห็นความหลงของตน เห็นราคะของตน เห็นมานะทิฐิของตน

ถึงแม้ว่าบุคคลใดจะทำสมาธิได้ดี จะได้รับความสุขขนาดไหนก็ตาม
หรือจะได้อภิญญาเพียงใดก็ตาม ถ้า “ไตรลักษณญาณ” ยังไม่เกิดแล้ว
ก็ยังนับว่าเป็น มิจฉาสมาธิ เป็นสมาธิที่ยังผิด ยังอยู่ในวงเขตที่ผิด

บางคนภาวนาไม่อยากเห็นภาพต่างๆ เช่น นรก สวรรค์ เทวดา เป็นต้น
การที่ได้เห็นสิ่งเหล่านี้ไม่มีอะไรแปลก
ที่ว่าไม่แปลกก็เพราะว่า เมื่อเราเห็นแล้ว กิเลสของเราก็ยังอยู่เหมือนเดิม
บางคนแถมยังทำให้เกิดกิเลสเพิ่มมากขึ้นอีกเสียด้วย

คือถือว่าตนเองเป็นผู้วิเศษ ที่สามารถเห็นสิ่งต่างๆ เหล่านั้นได้
เลยไม่ยอมกราบไหว้ใครทั้งสิ้น จนกลายเป็น สัคคาวรณ์ มัคคาวรณ์
ปิดกั้นทางมรรค ทางผล ทางนิพพาน ไปโดยปริยาย
เป็นความเห็นที่ผิดจากหลักศาสนา
พวกเราท่านพากันฝึกหัดสติลูบๆ คลำๆ กันอยู่อย่างไรเล่า
จึงมิรู้ช่องแนวทางพ้นทุกข์เสียที

ด้วยเหตุนี้ ขอให้พากันยึดหลักสติปัฏฐาน ๔
เป็นหลักฝึกสติให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้
นี่แหละ บรรดาสิ่งสมมุติที่เราไปยึดถือว่าเป็นกรรมสิทธิ์ของเรานั้น
ก็จะได้เพียงชีวิตหนึ่งๆ เท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นสามี ภรรยา หรือสมบัติต่างๆ
เมื่อเราตายไปแล้ว เราจะยึดถือเป็นกรรมสิทธิ์ของเราอีกไม่ได้
เราจะเอาสิ่งต่างๆ เหล่านั้นติดตามไปสวรรค์ นรก หรือที่ไหนๆ ก็ไม่ได้
ตรงกับคำว่า “สมบัติของโลก ก็ต้องอยู่ในโลก”


(http://wallpaper.yenta4.com/pic/thumbnail/21/317/c1e72e0c1c2a009656ac4758c5f6f1db.jpg)


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มกราคม 27, 2012, 08:08:01 PM

กำลังใจของคน

(http://www.trekkingthai.com/album/images/L039.jpg)

ถาม : พลังของวัตถุมงคล กับพลังจิตของเราในการปฏิบัติ อย่างไหนจึง..?

ตอบ : ต้องเสริมกัน ที่ต้องเสริมกันเพราะว่า กำลังใจของเราเป็นเครื่องรับ กำลังวัตถุมงคลเป็นเครื่องส่ง ถ้าเครื่องส่งมาไม่มีเครื่องรับก็ไร้ประโยชน์ เครื่องรับดีไม่มีเครื่องส่งก็ไร้ประโยชน์ แต่ถ้ากำลังใจตัวเองมั่นคงจริงๆ ย่อมคุ้มตัวเองได้อยู่แล้ว

กำลังใจคนมีอยู่หลายระดับ ระดับแรก. รักษาตัวเองไม่ได้ รักษาคนอื่นไม่ได้ ประเภทนี้แย่สุดๆ อาศัยเกาะชาวบ้านเขาอย่างเดียว ระดับที่สอง. รักษาตัวเองได้ รักษาคนอื่นไม่ได้ ระดับนี้เอาตัวรอดได้ แต่ถ้าไปกับหมู่คณะก็ไม่สามารถที่จะช่วยหมู่คณะได้

ระดับสุดท้ายก็คือ รักษาตัวเองได้ รักษาหมู่คณะได้ กำลังใจอย่างนี้ถือว่าดีที่สุด เพราะว่ากำลังใจรักษาตัวเองได้ไม่พอ ถึงเวลาคนอื่นเขามาพึ่งยังช่วยเหลือคนอื่นเขาได้ด้วย

ถาม : เราเก็บวัตถุไว้ที่บ้านทั้งหมด แล้วเราอาราธนาช่วยเรา จะได้ไหมคะ ?

ตอบ : ก็ต้องดูว่ากำลังส่งท่านพอที่จะส่งถึงหรือไม่ ? ไม่ใช่เราเก็บอยู่ที่บ้านแล้วไปอาราธนาที่อเมริกา กำลังส่งอาจจะถึงแต่ เครื่องรับเราห่วย รับไม่ถึงก็ช่วยไม่ได้..!

ถาม : เครื่องรับระดับไหนจึงจะรับถึงคะ ?

ตอบ : ก็พกติดตัวไว้สิวะ..!

ถาม : พกพระเป็นสิบองค์เลยค่ะ

ตอบ : สมัยก่อนที่อาตมาจะเข้า วัดท่าซุง ก็พก เหรียญหลวงปู่ฝั้น อยู่เหรียญเดียว พอเข้าวัดท่าซุงแล้ว สมัยแรกๆ ก็พกพระปิดตาว่านสบู่เลือด ของ หลวงพ่อวัดท่าซุง องค์เดียว อาตมาเป็นคนชอบพระปิดตามากเลยเพราะว่าท่านอ้วนดี

พอหลวงพ่อวัดท่าซุงออก เหรียญวันเกิด มา ก็พกเหรียญวันเกิดเหรียญเดียว พอหลวงพ่อออก เหรียญกูผู้ชนะประกอบธงมหาพิชัยสงคราม ก็พกเดี่ยวมาตั้งแต่นั้น จนกระทั่งเลิกรบราฆ่าฟันกับชาวบ้านแล้ว เข้าวัดเข้าวาเต็มตัวก็พก สมเด็จคำข้าว และ สมเด็จหางหมาก ตอนหลังได้ สมเด็จองค์ปฐม มาก็พกอีก ๑ องค์ เท่ากับตอนนี้พก ๓ องค์ ไม่เอาอะไรมากมาย มั่นใจองค์ไหนก็พกองค์นั้นไป

ถ้ามั่นใจจริงๆ นี่อาตมามั่นใจ ธงมหาพิชัยสงครามประกอบเหรียญกูผู้ชนะ เพราะว่าอยู่ชายแดนเป็นปีเจอปืนกับระเบิดตลอดเวลา ไม่เคยมีอันตรายเลย ต้องบอกว่าเสียทีที่ออกรบ ไม่ได้มีบาดแผลอะไรมาแผ้วพาน ไม่เท่เลย ต้องเย็บๆ ปะๆ บ้างถึงจะดูเท่..!

ถาม : ธงพิชัยสงครามให้เด็กใส่ เด็กก็ปลอดภัยใช่ไหมคะ ?

ตอบ : บอกเด็กด้วยว่า ต้องสวดมนต์บ้าง




สนทนากับพระครูธรรมธรเล็ก สุธมฺมปญฺโญ
เก็บตกจากบ้านวิริยบารมี ต้นเดือนธันวาคม ๒๕๕๔




ขอบคุณบทความจาก วัดท่าขนุน จ.กาญจนบุรี


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มกราคม 29, 2012, 07:01:37 PM
 
วิธีแก้ปากเสีย 

หลวงพ่อเมตตาสอนวิธีแก้ปากเสีย (วจีกรรม4) โดยให้หลักไว้ดังนี้

โรคปากเสีย คือ โรคชอบต่อกรรม เมื่อถูกกระทบทางทวารทั้ง 6 (ประตูทั้ง 6 คือ รูป เสียง กลิ่น รส สิ่งที่มากระทบผิวกาย และธรรมารมณ์)

เพราะอุเบกขา หรือวางเฉยไม่เป็น เบรกจึงแตกเป็นปกติ มีผลทำให้กรรมบท 10 หมวดวาจา ไม่เต็มสักที (กรรมบท 10 หมวดวาจา 4 มี ไม่พูดโกหก, ไม่พูดคำหยาบ , ไม่พูดส่อเสียดหรือพูดนินทาผู้อื่น และไม่พูดเรื่องไร้สาระไม่เกิดประโยชน์)


วิธีปฏิบัติ

แก้โดย

1) พยายามคิดเสียก่อนจึงค่อยพูด

2) หรือพยายามคิดอยู่ตลอดเวลาที่ฟังคนอื่นเขาพูด

3) พยายามดึงจิต อย่าไปไหวตามคำพูดของผู้อื่น (โดยฟังอย่างเดียว ห้ามปรุงแต่งธรรมนั้นๆ)

4) พยายามฟังแล้วกรองเอาสาระจากคำพูดนั้นๆ ของเขา ว่ามีประโยชน์หรือไม่มีประโยชน์ (ด้วยปัญญา)

5) เวลาคนอื่นเขาพูด จะยาวจะสั้น ปล่อยเขาพูดให้จบก่อน เราใช้ความคิดฟังไปแล้ว จะรู้ว่า คำพูดนั้นๆ มีสาระหรือไม่มีสาระ ควรพูดหรือไม่ควรพูด หรือ ควรวาง ควรตัด ก็รู้ได้ด้วยความคิด ไม่ใช่ประโยคไหนมากระทบหูแล้ว กูอยากจะพูดก็ว่าไปเรื่อย โดยไร้ความคิดพิจารณา

6) หากทำตาม 5 ข้อแรกแล้ว คิดอยากพูดบ้างก็ให้พิจารณาว่า พูดแล้วเป็นคุณหรือโทษ มีสาระหรือไม่มีสาระ ยิ่งเป็นสาระธรรมในพระพุทธศาสนายิ่งสำคัญ จะต้องมั่นใจเสียก่อนว่าเป็นความจริง ไม่ผิดศีล-ไม่ผิดพระวินัย ไม่ผิดพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ถ้าไม่ผิดก็พูดได้ สรุปว่าต้อง นิสสัมมะ กรณัง เสยโย หรือใคร่ครวญด้วยปัญญาเสียก่อนจึงค่อยพูด เพราะแม้ว่าจะเป็นจริงแต่พูดแล้วคนฟังไม่เชื่อ-ไม่ศรัทธา ก็ไร้ประโยชน์ที่จะพูด



(http://variety.teenee.com/saladharm/img1/125213.jpg)

สมเด็จองค์ปฐม ทรงเมตตาแนะนำต่อ และสั่งสอนต่อ มีความสำคัญโดยย่อดังนี้

ก) " วาจา เป็นเหตุให้เกิดศัตรู และสร้างศัตรู ผู้รู้พึงกล่าววาจาด้วยความตริดตรองเสียก่อน เพื่อประโยชน์ให้แก่ตนเอง แต่ผู้ไร้สติ-สัมปชัญญะขาดปัญญา จักกล่าววาจาให้เกิดโทษแก่ตนเองและผู้อื่นอยู่เนืองๆ เพราะฉนั้นให้รู้สำรวมวาจาให้มากๆ โดยการพิจารณาเสียก่อนจึงพูด ''

ข) " กำลังใจของคนไม่เท่ากัน จงอย่าไปตำหนิใคร เพราะทำไปหรือตำหนิไปก็รังบแต่จักเพิ่มกิเลสขึ้นในจิต และสร้างศัตรูขึ้นแก่จิตของผู้อื่น ดังนั้นจึงควรสงบถ้อยคำไว้เป็นดีที่สุด แม้จักกล่าวว่าด้วยความหวังดีก็ตาม มันก็เป็นเนื่องด้วยกิเสอยู่ดี"

ค) “ สังขารุเบกขาญาณ เป็นธรรมเบื้องสูง ของผู้ถึงจุดสุดยอดแห่งมรรคผลนิพพาน " ขอให้พวกเจ้าหมั่นซ้อมหมั่นปฏิบัติเข้าไว้ วางอุเบกขาให้ถูกลักษณะของมัชฌิมาปฏิปทา โดยอาศัยศีลเป็นพื้นฐานที่ตั้งของสมาธิและปัญญา ตัว สังขารุเบกขาญาณก็จักเกิดขึ้นได้ไม่ยาก หมั่นอัตตนา โจทยัตตานัง สอบจิต-สอบกาย-สอบวาจา เข้าไว้ว่า คิดเช่นนี้ ทำเช่นนี้ พูดเช่นนี้ มันผิดหรือถูกในหลักธรรมที่ตถาคตได้สั่งสอนมา พิจารณาให้มาก ๆ

ถ้าผิดก็จงอย่าทำเป็นอันขาด ถ้าถูกก็จงรีบทำด้วยความมั่นใจ ขยัน-พากเพียรเข้าไว้ มรรคผลที่ได้จากการกระทำของตนเองนั้นเป็นของแท้ ดีกว่าฟังคนอื่นพูดหรือเล่าว่า เขาทำเช่นนั้นได้ผลเช่นนี้

ง) มาเถิดเจ้า เข้ามาสู่หลักปฏิบัติธรรม อันเข้าสู่โลกุตรธรรมเบื้องสูงอย่างแท้จริง ตั้งใจไปเลยทิ้งทวนของชีวิตเสี้ยวที่เหลือนี้ให้แก่พระธรรม

ตั้งแต่วินาทีนี้เป็นต้นไป จงหมั่นคุมสติกำหนดรู้กิริยาของกาย-วาจา-ใจให้แน่วแน่มั่นคง อานาปานัสสติกับคำภาวนา อย่าทิ้งเป็นอันขาด ใครจักพูดอะไร ขอให้มีสติฟังให้ดี ๆ พิจารณาเข้าอิงพระธรรมคำสั่งสอน กลั่นกรองหาสาระให้ได้ แล้วเวลาที่จักพูด ก็จงคิดพิจารณาให้ดีว่ามีสาระหรือไม่ ถ้าไม่มีจงอย่าพูด อย่าทำเช่นนั้นเป็นอันขาด "


(หลวงปู่บุดดา)

“คนเรานี้มันก็แปลก ชอบเอาลมปากเผากัน เอาไฟกิเลส โมหะ โทสะ ราคะเผากัน เผาตนเอง เผากาย เผาใจตนเองยังไม่พอ

ชอบเผื่อแผ่ไปเผาชาวบ้าน ชาวช่องเขาด้วย เผาจิตเผากายของเขามันสนุกหรืออย่างไร วิสัยชาวโลก ชอบนินทา-สรรเสริญ ไฟร้อน ไฟเย็น ก็เผาได้เผาดี ”



จาก : หนังสือธรรมะหลวงพ่อ หลวงฤาษี (พระราชพรหมยาน) และพระอริยเจ้าบางองค์
รวบรวมโดย : พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มกราคม 29, 2012, 07:06:03 PM
การเอาแต่ใจตัว เป็นความทุกข์



อันเหตุผลนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่จะแสดงให้ปรากฏว่าผู้ใดมีปัญญามากน้อยเพียงใด และก็อีกเหตุผลอีกเหมือนกันที่จะแสดงให้ปรากฏว่าผู้ใดมีจิตใจอย่างไร ดีเลวอย่างไร เห็นแก่ตัวหรือไม่ เห็นแก่ตัวอย่างไร

ที่จริงนั้น เมื่อพูดว่าไม่ได้ดั่งใจ ก็เหมือนกับพูดว่าจะเอาแต่ใจนั่นเอง เวลาเราพูดถึงความรู้สึกของเรา เราก็จะพูดว่าไม่ได้ดังใจ แต่
ถ้าเห็นคนอื่นแสดงความรู้สึกของเขาไปในทำนองไม่ได้ดังใจ เราก็จะพูดเสียว่า เขาจะเอาแต่ใจ พิจารณาสักหน่อยจะเห็นว่า เมื่อพูด
เกี่ยวกับตนเองจะเป็นเหมือนพูดว่าผู้อื่นทำให้ไม่เหมือนที่ใจเราชอบเป็นไปในทำนองผู้อื่นนั่นแหละผิด แต่เมื่อพูดเกี่ยวกับผู้อื่น ก็จะเป็น
เหมือนว่าผู้อื่นผิด จะเอาแต่ใจตัวเองเท่านั้น แต่ที่จริงก็เป็นดังกล่าวไว้แล้วข้างต้น คือที่เรียกว่า ไม่ได้ดังใจ หรือจะเอาแต่ใจนั้นก็มีความ
หมายตรงกันนั่นเอง

ทีนี้ก็น่าจะเห็นง่ายขึ้น ว่าความรู้สึกไม่ได้ดังใจนั้นจะดีได้อย่างไรในเมื่อมีความหมายว่าจะเอาแต่ใจ คนเอาแต่ใจก็เป็นที่รู้กันว่าไม่ใช่
เป็นคนที่มีผู้นิยมชมชอบ ตรงกันข้าม หาคนชอบคนที่มักเอาแต่ใจตัวไม่ค่อยจะมี ทุกคนก็น่าจะเคยรู้สึกรำคาญไม่ชอบ หรือบางทีก็ถึง
กับเกลียด หรือรังเกียจคนที่มักจะเอาแต่ใจตัว และก็มีจำนวนไม่น้อยทีเดียวเมื่อรู้สึกดังกล่าวแล้วก็มิได้เก็บความรู้สึกไว้ในใจ แต่แสดง
ออกเป็นกิริยาวาจาให้รู้เห็นเสมอ เป็นการแสดงปฏิกิริยาตอบโต้ผู้เอาแต่ใจโดยหาได้ย้อนดูใจตนเองไม่ ว่าวันหนึ่งๆเกิดความรู้สึกแบบ
จะเอาแต่ใจมากน้อยเพียงไหน ความรู้สึกไม่ได้ดังใจเกิดขึ้นมากน้อยเพียงไหน ก็คือ ความรู้สึกจะเอาแต่ใจเกิดขึ้นเพียงนั้นนั่นเอง ควร
พยายามทำความเข้าใจในเรื่องนี้ให้กระจ่างชัดพอสมควร ให้ยอมรับว่าความรู้สึกไม่ได้ดังใจนั้นก็คือ ความจะเอาแต่ใจนั่นเอง เมื่อยอมรับ
แล้วก็ย่อมจะเห็นความไม่ดีงามของความรู้สึกไม่ได้ดังใจง่ายขึ้น จะยินดีระงับดับเสีย ตามกำลังความสามารถแห่งเหตุผลคือ…สติปัญญา
ระงับดับได้มากเพียงใด ความเย็นกายเย็นใจก็จะเกิดเป็นผลติดตามมาเพียงนั้น

ความรู้สึกไม่ได้ดังใจหรือความจะเอาแต่ใจตัว เป็นเหตุแห่งความวุ่นวายเป็นเหตุแห่งความร้อน ทั้งทางกายและทางใจทั้งแก่ตนเอง และ
ทั้งแก่ผู้อื่นที่เกี่ยวข้อง ยิ่งเมื่อคนจำนวนมากอยู่รวมกันเป็นครอบครัวเป็นประเทศชาติ ความรู้สึกไม่ได้ดังใจหรือความจะเอาแต่ใจของแต่
ละคนอันมีเป็นจำนวนมากนั้น ก็จะเป็นเหตุแห่งความวุ่นวายอย่างยิ่งความร้อนอย่างยิ่งทั้งทางกาย ทางใจ วิธีแก้ก็ยากนัก…

นอกเสียจากว่า ทุกคนจะต่างแก้ที่ตนเอง ที่่ใจตนเอง ไม่ให้คอยแต่จะรู้สึกไม่ได้ดังใจ หรือคอยแต่จะรู้สึกจะเอาแต่ใจ เวลาเห็นคนพวก
หนึ่งกลุ่มหนึ่งคิดพูดทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ตนเองเห็นว่าเป็นการเอาแต่ใจคือไม่คำนึงถึงอะไรอื่นนอกจากที่ตนพอใจ ก็ควรย้อนดูใจตนเอง
ย้อนเข้าควบคุมใจตนเอง อย่าให้คิดพูดทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เป็นการเอาแต่ใจตนเอง…

แม้ทุกคนพยายามทำเช่นนี้ ความวุ่นวายก็จะสงบลง ความร้อนกายร้อนใจก็จะสงบลง ทุกคนก็จะเป็นสุข ตัวเองก็เป็นสุข คนอื่นก็เป็นสุข
รวมเข้าเป็นบ้านก็เรียกว่าบ้านเป็นสุข รวมเข้าเป็นประเทศ ก็เรียกว่าประเทศชาติเป็นสุข ความร่มเย็นเป็นสุข เกิดได้ก็ด้วยความพร้อมใจ
กัน ไม่เป็นคนเอาแต่ใจหรือคอยแต่จะรู้สึกไม่ได้ดังใจในเรื่องนั้นเรื่องนี้ ในคนนั้นคนนี้ อยู่เสมอ…ฯ

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก|
ขอนอบน้อมแด่คุณพระพุทธ คุณพระธรรม คุณพระสงฆ์


(http://english.flowerhandmade.com/images/photo_1165216320/1165216381.jpg)


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มกราคม 29, 2012, 07:08:13 PM
ที่สุดของชีวิต

(http://variety.teenee.com/saladharm/img1/66912.jpg)


สุดของชีวิต 
 

ศัครูที่ร้ายกาจที่สุด…ของชีวิต…คือตัวเราเอง
ความพ่ายแพ้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด…ของชีวิต…คือการทนงตน

ปัญญาอ่อนที่สุด…ของชีวิต…คือการโกหก
หยั่งรู้ยากที่สุด…ของชีวิต…คือใจคน
น่าเศร้าที่สุด…ของชีวิต…คืออิจฉาริษยา
ไร้ค่ามากที่สุด…ของชีวิต…คือไม่ทำความดี
กุศโลบายที่ดีที่สุด…ของชีวิต…คือความซื่อสัตย์
ประมาทที่สุด…ของชีวิต…คือคบเพื่อนชั่ว


มีค่ามากที่สุด…ของชีวิต…คือเวลา
น่าสงสารที่สุด…ของชีวิต…คือดูถูกตัวเอง
น่านับถือยกย่องที่สุด…ของชีวิต…คือความมานะหมั่นเพียร
ล้มละลายที่หนักที่สุด…ของชีวิต…คือสิ้นหวัง


ความร่ำรวยที่มั่งคั่งที่สุด…ของชีวิต…คือสุขภาพแข็งแรง
ความยากจนที่สุด…ของชีวิต…คือไม่รู้จักพอ
ความรักมากที่สุด…ของชีวิต…คือรักตัวเอง
บาปกรรมที่ใหญ่หลวงที่สุด…ของชีวิต…คือไม่กตัญญู


ความโง่เขลาที่สุด…ของชีวิต…คือติดยาเสพติด
ความชั่ช้าต่ำต้อยที่สุด…ของชีวิต…คือเหยียดหยามผู้อื่น
ความผิดพลาดร้ายแรงที่สุด…ของชีวิต…คือเล่นการพนัน
ของขวัญที่ดีที่สุด…ของชีวิต…คือให้อภัย


ความสุขที่มากที่สุด…ของชีวิต…คือการช่วยเหลือผู้อื่น
การยอมรับและนับถือมากที่สุด…ของชีวิต…คือความก้าวหน้า
สุดท้ายของชีวิต…คือความตาย


…จะวุ่นวายกันไปทำไม…



หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มกราคม 29, 2012, 07:13:35 PM
กลุ้มนี่ลงนรกใช่ไหมคะ?

(http://variety.teenee.com/saladharm/img5/125395.jpg)

อีกท่านหนึ่งถามว่า:: “หลวงพ่อคะ หลวงพ่อเคยบอกว่า
กลุ้มนี่ลงนรกใช่ไหมคะ…?”

หลวงพ่อ:: “ใช่”

ผู้ถาม:: “ถ้าหากว่าเรากลุ้มกับผู้มีพระคุณ
อย่างเช่นบิดา มารดา เวลาท่านป่วย อย่างนี้ล่ะคะ…?”  

หลวงพ่อ:: “กลุ้มเวลาปกติไม่เป็นไร
ถ้ากลุ่มเวลาใกล้จะตายนี่ซิ หมายถึงว่าเวลาใกล้จะตาย
อย่าให้ใจมันกลุ้ม ถ้าจิตมันจะออกจากร่าง
ถ้ากลุ้มจุดนี้ มีจุดเดียว
ที่ท่านบอกว่า จิตเต สังกิลิฏเฐ ทุคติ ปาฏิกังขา
ถ้าก่อนตายจิตกลุ้ม อารมณ์เศร้าหมอง ก็ไปทุคติ

ความกลุ้มนี้ มันต้องกลุ้มทุกคนละ ใช่ไหม…
คนที่ไม่กลุ้มเมื่อยามปกติ มีคนเดียวคือพระอรหันต์
ในเมื่อเป็นพระอรหันต์แล้วไม่กลุ้ม
อย่างพระโสดาบันก็ต้องกลุ้ม พระสกิทาคาก็ยังมีกลุ้ม
พระอนาคตมีก็ยังมีกลุ้ม แต่ว่าท่านกลุ้มในยามปกติ
แต่เวลาจะตายจริง ๆ ท่านไม่กลุ้ม ใช่ไหม…

การกลุ้มในฐานะเราหวังดีต่อบิดามารดา
แต่บังเอิญไปขัดใจกับท่าน ก็เป็นของธรรมดา
แต่ว่าเวลาที่เราจะตาย จุดนั้นน่ะเขาถือ เวลาที่จะตายอย่างเดียวนะ
แล้วก็ตายทันที ถ้าหากว่าเรากลุ้มอยู่เป็นปกตินี่ไม่เป็นไร
เดี๋ยวก็หายไป ใช่ไหม…ฉะนั้นก็ฝึกระบายความกลุ้มซิ

อารมณ์กลุ้ม จงพยายามอย่าให้มันมี
พยายามแก้ไขอารมณ์นั้นให้เสมอ ๆ
ถ้ากลุ้มมันมีอยู่ พยายามฝืนความกลุ้ม
ถือว่ามันเป็นกฎธรรมดาของการเกิด
ถ้าเกิดมาแล้ว มีใครบ้างไหมที่ไม่พบอารมณ์อย่างเรา
ทุกคนต้องประสบทั้งนั้น

ทีนี้เราก็หาทางตัดมัน ถือว่าเป็นของธรรมดา
สิ่งใดควรจะต้องทำเราต้องทำ สิ่งที่มันจะต้องกระทบ
เราต้องหาทางแก้ไขเท่าที่มันจะทำได้
ต้องพยายามฝึกไว้เสมอ ๆ
ถ้าไม่ฝึกแบบนี้ไว้ มันต้องพบกับอารมณ์ขัดใจแน่นอน ทุกคนต้องมี  

-ถ้าเป็นลูกบ้านกลุ้มแค่ลูกบ้าน

-เป็นพ่อบ้านแม่บ้านก็กลุ้มมากกว่าลูกบ้าน

-ถ้าเป็นผู้ใหญ่บ้าน ก็กลุ้มมากกว่าพ่อบ้านแม่บ้าน

-ถ้าเป็นกำนันก็กลุ้มมากกว่า เพราะภาระมันหนัก

ทีนี้เราก็ต้องคิด ถ้าอะไรมันเกิดขึ้นมันเป็นความทุกข์สำหรับเรา
อย่างเราขัดข้องทางการเงิน เราก็ต้องมองคนที่เขาต่ำกว่าว่า
คนที่จนกว่าเรามันมี อย่างนี้จะสร้างความภูมิใจให้ดีขึ้น
อย่าไปมองคนสูงเสมอ มองที่เขาสูงกว่าเราก็ใจเสีย
ต้องมองจุดที่ต่ำกว่าเรา ถ้าเรากลุ้มเราลำบากขนาดนี้
คนที่กลุ้มคนที่ลำบากกว่าเรายังมีอยู่ และถือว่าเราก็ยังดีอยู่

รวมความแล้วไม่มีอะไร ที่พระพุทธเจ้าสอนว่า
ให้คนรู้จักกฎของธรรมดา คือ ยอมรับนับถือกฎของธรรมดา
เมื่อยอมรับทราบมัน ถ้าสิ่งนั้นมากระทบ เราจะได้ไม่กลุ้ม.”



:: หลวงพ่อตอบปัญหาธรรม ฉบับพิเศษ เล่ม ๒ หน้า ๓๘-๔๒
พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง)

ที่มา... http://buddhasattha.com/ (http://buddhasattha.com/)


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ กุมภาพันธ์ 02, 2012, 08:29:21 PM
กรรม ๑๒

(http://www.janjawka.com/wp-content/uploads/2012/02/0145.jpg)


กรรม ๑๒

กรรม ๑๒ หรือกรรมสี่ ๓ หมวด ตามที่ท่านแสดงไว้ในอรรถกถา
และฎีกาทั้งหลาย มีหัวข้อและความหมายโดยย่อดังนี้…

หมวดที่ ๑ ว่าโดยปากกาล….คือ จำแนกตามกาลเวลาที่ให้ผล

๑. ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม….
กรรมให้ผลในปัจจุบันคือ ภพนี้ได้แก่กรรมดีก็ตาม ชั่วก็ตาม ที่กระทำ
ในขณะแห่งชวนจิตดวงแรกในบรรดาชวนจิตทั้ง ๗ แห่งชวนวิถีหนึ่งๆ
พูดเป็นภาษาวิชาการว่า ได้แก่…ชวนจิตเจตนาที่หนึ่ง กรรมนี้ให้ผล
เฉพาะในชาตินี้เท่านั้น ถ้าไม่มีโอกาสให้ผลในชาตินี้ ก็กลายเป็นอโห-
สิกรรม ไม่มีผลต่อไป เหตุที่ให้ผลในชาตินี้เพราะเป็นเจตนาดวงแรก
ไม่ถูกกรรมอื่นครอบงำ เป็นการปรุงแต่งแต่เริ่มต้น จึงมีกำลังแรง แต่
ไม่ให้ผลต่อจากชาตินี้ไปอีก เพราะไม่ได้การเสพคุ้น จึงมีผลน้อย ท่าน
เปรียบว่าเหมือนพรานเห็นเนื้อ หยิบลูกศรยิงไปทันที ถ้าถูกเนื้อก็ล้มที่
นั่น แต่ถ้าพลาด เนื้อก็รอดไป

๒. อุปปัชชเวทนียกรรม…
กรรมให้ผลในภพที่จะไปเกิด คือในภพหน้า ได้แก่ กรรมดีก็ตาม ชั่วก็
ตาม ที่กระทำในขณะแห่งชวนจิตดวงสุดท้าย ในบรรดาชวนจิตทั้ง ๗
แห่งชวนวิถีหนึ่งๆ พูดเป็นภาษาวิชาการว่า ได้แก่ชวนจิตดวงที่ ๗ กรรม
นี้ให้ผลเฉพาะในชาติถัดจากนี้ไปเท่านั้น ถ้าไม่มีโอกาสให้ผลในชาติหน้า
ก็กลายเป็นอโหสิกรรม ที่เป็นเช่นนี้ เพราะเป็นเจตนาท้ายสุดของชวนวิถี
เป็นตัวให้สำเร็จความประสงค์และได้ความเสพคุ้นจากขวนเจตนาก่อนๆ
มาแล้ว แต่ในเวลาเดียวกัน ก็มีกำลังจำกัด เพราะเป็นขณะจิตที่กำลังสิ้น
สุดชวนวิถี

๓. อปราปริยเวทนียกรรม….
กรรมให้ผลในภพต่อๆไป ได้แก่ กรรมดีก็ตาม ชั่วก็ตาม ที่ทำในขณะชวน
จิตทั้ง ๕ ในระหว่างคือชวนจิตที่ ๒-๖ แห่งชวนวิถีหนึ่งๆ พูดเป็นภาษาวิชา
การว่า ได้แก่ ชวนเจตนาที่สองถึงหก กรรมนี้ให้ผลได้เรื่อยไปในอนาคต
เมื่อเลยจากภพหน้าไปแล้ว คือได้โอกาสเมื่อใดก็ให้ผลเมื่อนั้น ไม่เป็นอโห-
สิกรรม ตราบเท่าที่ยังอยู่ในสังสารวัฏ ท่านเปรียบเหมือนสุนัขไล่เนื้อ ตาม
ทันเมื่อใดก็กัดเมื่อนั้น

๔. อโหสิกรรม…
กรรมเลิกให้ผล ได้แก่ กรรมดีก็ตาม ชั่วก็ตาม ซึ่งไม่ได้โอกาสที่จะให้ผล
ภายในเวลาที่จะออกผลได้ เมื่อผ่านล่วงเวลานั้นไปแล้ว ก็ไม่ให้ผลอีกต่อไป
(อโหสิกรรมนี้ ความจริงเป็นคำสามัญแปลว่า….’กรรมได้มีแล้ว’ แต่ท่าน
นำไปใช้เป็นคำศัพท์เฉพาะในความหมายว่า…’มีแต่กรรมเท่านั้น วิบากไม่มี’
แปลว่าเลิกให้ผล หรือให้ผลเสร็จแล้ว อย่างที่แปลแบบให้เข้าใจกันง่ายๆตาม
สำนวนที่เคยชิน)

หมวดที่ ๒ ว่าโดยกิจ…คือ จำแนกการให้ผลตามหน้าที่

๕. ชนกกรรม…
กรรมแต่งให้เกิด หรือกรรมที่เป็นตัวนำไปเกิด ได้แก่ กรรมคือเจตนาดีก็ตาม
ชั่วก็ตาม ที่เป็นตัวทำให้เกิดขันธ์ที่เป็นวิบาก ทั้งในขณะที่ปฏิสนธิและในเวลา
ที่ชีวิตเป็นไป(ปวัตติกาล)

๖. อุปัตถัมภกกรรม…
กรรมสนับสนุน ได้แก่กรรมพวกเดียวกับชนกกรรม ซึ่งไม่สามารถให้เกิด
วิบากเอง แต่เข้าช่วยสนับสนุน หรือซ้ำเติมต่อจากชนกกรรม ทำให้สุขหรือ
ทุกข์ที่เกิดขึ้นในขันธ์ ซึ่งเป็นวิบากนั้นเป็นไปนาน

๗. อุปปีฬกกรรม….
กรรมบีบคั้น ได้แก่ กรรมฝ่ายตรงข้ามกับชนกกรรม ซึ่งให้ผลบีบคั้นผลแห่ง
ชนกกรรม และอุปัตถัมภกกรรม ทำให้สุขหรือทุกข์ที่เกิดขึ้นในขันธ์ ซึ่งเป็น
วิบากนั้น ไม่เป็นไปนาน

๘. อุปฆาตกกรรม…
กรรมตัดรอน ได้แก่ กรรมฝ่ายตรงข้ามที่มีกำลังแรง เข้าตัดรอนความ
สามารถของกรรมอื่น ที่มีกำลังน้อยกว่าเสีย ห้ามวิบากของกรรมนั้นขาดไป
เสียทีเดียว แล้วเปิดช่องแก่วิบากของตน เช่น ปิตุฆาตกรรมของพระเจ้าอชาต
ศัรตู ที่ตัดรอนกุศลกรรมของพระองค์เสีย เป็นต้น

หมวดที่ ๓ ว่าโดยปากทานปริยาย..คือ จำแนกตามแง่ที่ยักเยื้องกัน คือ
ลำดับความแรงในการให้ผล

๙. ครุกรรม กรรมหนัก…
ได้แก่ กรรมที่มีผลแรงมาก ในฝ่ายดีได้แก่สมาบัติ ๘ ในฝ่ายชั่วได้แก่…
อนันตริยกรรม มีมาตุฆาต เป็นต้น ย่อมให้ผลก่อน และครอบงำกรรมอื่นๆ
เสีย เปรียบเหมือนห้วงน้ำใหญ่ไหลบ่ามาท่วมทับน้ำน้อยไป

๑๐. พหุลกรรม หรือ อาจิณณกรรม….
กรรมทำมาก หรือ กรรมชิน ได้แก่ กรรมดีหรือกรรมชั่ว ที่ประพฤติมาก
หรือทำบ่อยๆสั่งสมเคยชินเป็นนิสัย เช่น คนมีศีลดี หรือเป็นคนทุศีล เป็นต้น
กรรมไหนทำบ่อยทำมากเคยชิน มีกำลังกว่าก็ให้ผลได้ก่อน เหมือนนักมวย
ปล้ำลงสู้กัน คนไหนแข็งแรงกว่าก็ชนะไป กรรมนี้ต่อเมื่อไม่มีครุกรรมจึงจะ
ให้ผล

๑๑. อาสันนกรรม…
กรรมจวนเจียน หรือกรรมใกล้ตาย ได้แก่ กรรมที่กระทำ หรือระลึกขึ้นมาใน
เวลาใกล้จะตาย จับใจอยู่ใหม่ๆ ถ้าไม่มีกรรม ๒ ข้อก่อน ก็จะให้ผลก่อนกรรม
อื่นๆ (แต่คัมภีร์อภิธัมมัตถวิภาวินี ว่า อาสันนกรรมให้ผลก่อนอาจิณณกรรม)
เปรียบเหมือนโคแออัดอยู่ในคอก พอนายโคกบาลเปิดประตูออก โคใดอยู่ริม
ประตูออก แม้เป็นโคแก่อ่อนแอ ก็ออกไปได้ก่อน

๑๒. กตัตตากรรม หรือ กตัตตาวาปนกรรม…
กรรมสักว่าทำ ได้แก่ กรรมที่ทำด้วยเจตนาอันอ่อน หรือมิใช่เจตนาอย่างนั้นๆ
โดยตรง เป็นกรรมที่เบา เปรียบเหมือนลูกศรที่คนบ้ายิงไป ต่อเมื่อไม่มีกรรม
สามข้อก่อน กรรมนี้จึงจะให้ผล…ฯ



~จากพุทธธรรม~
โดย… พระธรรมปิฎก…(ป.อ. ปยุตฺโต)




หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ กุมภาพันธ์ 02, 2012, 08:33:37 PM
ไม่สู้ ไม่หนี ทำความดีเข้าไว้…(หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม)


(http://www.janjawka.com/wp-content/uploads/2012/02/25.jpg)


กัมมัฏฐานนี้สำคัญ ระลึกเหตุการณ์ในชีวิตได้ ขอให้ท่านตั้งใจทำ หนักเอาเบาสู้คนที่เขาร่ำรวยเป็นมหาเศรษฐีเขาลำบากมามาก เขาอดทนมามาก
นี่แหละท่านทั้งหลายความดีความชอบนี้ไม่ใช่คนอื่นทำให้

เราทำตัวเอง
เราได้ดิบได้ดีไม่ใช่สบาย ผู้ใหญ่เป็นโตก็ใช่ว่าสบาย
ถ้าหากว่ากินแล้วก็นอน นอนแล้วก็กิน ไม่ทำอะไรเลยนั้น
กำลังทำชั่วโดยไม่รู้ตัวหากท่านพบความลำบากเท่าไรก็จงภูมิใจเทิดว่า
ท่านลำบากเพราะกำลังทำความดี
ถึงจะไปทำงานให้คนอื่นก็ถือว่าทำดี

ความดีของเราที่ทำไว้จะติดตัวเราไปจนสู่สัมปรายภพ ไม่มีสูญหาย
การเดินจงกรมก็จะติดตัวเรา
สร้างความดีให้ติดตัวเราไปในอนาคตข้างหน้า
ขอให้ท่านไม่สู้ใคร ไม่หนีใคร
แล้วหมั่นสร้างความดีไว้ ต้องได้ดีแน่นอน…




หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ กุมภาพันธ์ 02, 2012, 08:34:46 PM
ความแก่…(ท่านพุทธทาสภิกขุ)

(http://www.janjawka.com/wp-content/uploads/2012/02/0181.jpg)



หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ กุมภาพันธ์ 02, 2012, 08:36:30 PM
จงแยกแยะความรัก เพื่อไม่ให้เกิดทุกข์


(http://variety.teenee.com/saladharm/img3/125741.jpg)


ชื่นชอบ ความชื่นชอบมีลักษณะดังนี้ พอใจในสิ่งนั้น อยากได้ อยากเป็นเจ้าของในสิ่งนั้น มีความชื่นชมยินดีที่ได้ครอบครองสิ่งนั้น ไม่พอใจที่ผู้อื่นครอบครองหรือสิ่งนั้นไม่อยู่ หายไป จากไป หรือผู้ใดครอบครองให้เห็น ได้รับรู้ จนอยากจะกลายเป็นความโกรธ ที่นี้ถ้าหลงแก่การชื่นชอบหรือได้ครอบครอง เมือสิ่งนั้นต้องจากไป ก็จะกลายเป็นความพยาบาท หาหนทางเพื่อให้ได้มาซึ่งการครอบครอง แต่ถ้าไม่ได้ก็จะกลายเป็นการทำลาย

ความรัก มักมีลักษณ์ที่ชื่นชมยินดี เห็นคุณค่าของสิ่งนั้น ทะนุถนอมสิ่งนั้น  มีความพอใจเมื่อมีผู้อื่นชื่นชมสิ่งเหล่านั้น และยิ่งรู้สึกว่าสิ่งนั้นมีค่ายิ่งขึ้น มีความอยากหรือความพยามยามให้สิ่งมีค่ามากขึ้น มีความสุข ความเจริญ และอาจจะเสียดายหากสิ่งนั้นถูกครอบครองโดยผู้อื่นแต่จะทำใจได้หากเห็นว่าผู้ ครอบครองทำสิ่งนั้นให้ดีขึ้นสุขขึ้น มีค่ามากขึ้น พูดง่ายๆคือดีขึ้นกว่าอยู่ที่เรา พอใจ ยินดีกับความเจริญงอกงาม เช่นความรักของพ่อแม่ที่มีต่อบุตร

ความหลง อันนี้ เป็นความขาดสติ มุ่งมั่น ดุดัน มุทะลุ  ความเป็นตัวตน ยืดมั่นถือมั่น เห็นแก่ตัว ขาดการพิจารณา ขาดการยับหยั่ง มีแต่ความต้องการเพื่อตนเอง

เมื่อความหลง ไปรวมกับความชื่นชอบ ไปรวมกับความรัก ก็จะเป็นอันตราย ความสูญเสียความน่ากลัวอีกมากมาย ฉะนั้น รักได้แต่อย่าหลง ชอบแต่อย่าเห็นแก่ตัว


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ กุมภาพันธ์ 05, 2012, 09:06:20 AM
รู้เอง เห็นเอง (หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน)



(http://www.janjawka.com/wp-content/uploads/2012/02/29.jpg)


ละเรื่องการปฏิบัติ ถ้าปฏิบัติจริงๆ มันก็รู้จริงๆ เห็นจริงๆ เพราะธรรมของพระพุทธเจ้าคือตลาดแห่งมรรคผลนิพพาน ไม่ใช่เป็นธรรมโมฆะ

ขอให้มีผู้ปฏิบัติตาม ท่านเรียกว่า สวากขาตธรรม ตรัสไว้ชอบแล้ว ชอบตั้งแต่พื้นๆ ขึ้นไปถึงวิมุตติพระนิพพาน ไม่มีผิดมีพลาด ขอให้ปฏิบัติตามนั้นเถิด ผลจะได้เป็นที่พอใจโดยลำดับ จนกระทั่งทะลุถึงนิพพานเลย

ศาสนาของพระพุทธเจ้าคือ พุทธศาสนา เป็นศาสนาที่แม่นยำมากที่สุด ในโลกอันนี้มีกี่ศาสนา เป็นศาสนาของผู้มีกิเลส เจ้าของศาสนาเป็นคลังกิเลส สอนออกมาก็ไม่พ้นที่จะนำกิเลสออกมากระจายให้สกปรกโสมม

ผู้ฟังทั้งหลายก็จะเห็นผิดเห็นพลาดไปตามๆ กัน แต่ พุทธศาสนาคือศาสนาของท่านผู้บริสุทธิ์ ออกมาด้วยใจที่บริสุทธิ์ถูกต้องแม่นยำ ผู้ฟังถึงใจๆ สุดท้ายก็ถึงมรรคผลนิพพานด้วยกัน

นี่ ละธรรมของพระพุทธเจ้า ให้พิสูจน์กันทางภาคปฏิบัติ เพียงอ่านตำรับตำราเฉยๆ ไม่หายสงสัย ถ้าลงได้เข้าภาคปฏิบัติแล้ว เปิดออกๆ รู้ตรงไหนหายสงสัยๆ ไม่ต้องหาใครมาเป็นสักขีพยาน

สันทิฏฐิโก รู้เอง เห็นเอง ประกาศก้องขึ้นมา ดังพระพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมา ท่านไปหาใครมาเป็นสักขีพยาน ไม่มี สาวกทั้งหลายตรัสรู้ธรรมอยู่ที่ไหน ถึงธรรมที่ไหนเรียกว่า สันทิฏฐิโก ขั้นสุดยอดๆ ประกาศป้างๆ หายสงสัย ไม่ต้องไปทูลถามพระพุทธเจ้า เพราะ

สันทิฏฐิโก เป็นพระโอวาทที่ทรงประทานไว้แล้วอย่างเฉียบขาด
สันทิฏฐิโก ผู้ปฏิบัติจะรู้ผลงานของตนไปโดยลำดับจนกระทั่งถึงสุดท้าย
สันทิฏฐิโก ขั้นสุดท้ายได้แก่เป็นพระอรหันต์ เป็นอย่างนั้นละ ให้พากันจำเอา

อย่าพากันขี้เกียจขี้คร้าน การทำบุญให้ทาน เป็นทางก้าวเดินเพื่อความพ้นทุกข์ การรักษาศีล การภาวนา ให้พากันอบรมจิตใจ ถ้าจะปล่อยให้แต่กิเลสตัณหามันขยี้ขยำนี้ ก็ไม่มีวันดีคืนไหนแหละที่จะพ้นทุกข์ไปได้

ให้ มีศีลมีธรรมเข้าไปเปิดไปชะไปล้าง แล้วจะค่อยบริสุทธิ์ขึ้นไป และมีทางที่จะผ่านพ้นจนกระทั่งถึงนิพพานได้ เข้าใจเหรอ เอ้า วันนี้พูดเพียงเท่านี้แหละ

: หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน



หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ กุมภาพันธ์ 07, 2012, 08:34:45 PM
วิกฤติคือโอกาสทอง (พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก)


ณ กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีชาวนาคนหนึ่ง
เลี้ยงลาไว้ตัวหนึ่งซึ่งแก่มากแล้ว
ด้วยความโง่ของมันดันเดินซุ่มซ่าม
ไปตกบ่แห่งหนึ่ง มันร้องครวญคราง
อยู่เป็นเวลานาน ชาวนาเอง
ก็พยายามใคร่ครวญ
หาวิธีที่จะช่วยมันขึ้นมา

ในที่สุดชาวนาหวนคิดขึ้นมาได้ว่า
เจ้าลาก็แก่เกินไปแล้ว อีกอย่าง
บ่อนี้ก็ต้องกลบไม่คุ้มที่จะช่วยเจ้าลา
ชาวนาจึงไปขอแรงชาวบ้าน
เพื่อมาช่วยกลบบ่อ ทุกคนใช้พลั่ว
ตักดินสาดลงไปในบ่อ ครั้งแรก
เมื่อดินถูกหลังลา มันตกใจ
และรู้ชะตากรรมของตนเองทันที
มันร้องโหยหวน สักพักหนึ่ง
ทุกคนก็แปลกใจที่เจ้าลาเงียบไป


(http://variety.teenee.com/saladharm/img6/125947.jpg)


หลังจากชาวนาตักดินใส่บ่อได้สักสองสาม
พลั่ว เมื่อเหลือบมองลงไปในบ่อ ก็พบกับ
ความประหลาดใจที่ลามันจะสะบัดดินออกจาก
หลังทุกครั้งที่มีผู้สาดดินลงไป แล้วก้าวขึ้นไป
เหยียบบนดินเหล่านั้น
ยิ่งทุกคน พยายามเร่งระดม
สาดดินลงไปมากเท่าไร
มันก็ก้าวขึ้นมาเร็วได้มากยิ่งขึ้น
ในไม่ช้าทุกคนต่างประหลาดใจในที่สุด
เจ้าลาสามารถหลุดพ้นจากปากบ่อดังกล่าวได้

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
ชีวิตนี้อุปสรรคต่างๆ ที่ถาโถม
เข้ามาหาเราก็เปรียบเหมือน
ดินที่สาดเข้ามาหาเรา จงอย่า
ท้อถอยและยอมแพ้ จงแก้ไขมัน
เพื่อที่จะก้าวสูงขึ้นเรื่อยๆ
เปรียบเหมือนลาแก่ที่หลุดพ้น
จากบ่อได้ ฉันใดฉันนั้น
 
อุปสรรคมีไว้ให้ก้าวข้ามไป


(http://variety.teenee.com/saladharm/img6/125949.jpg)

ชีวิตคนเราก็เช่นกัน
เราก็ต้องประสบกับโลกธรรมแปดเป็นธรรมดา
คือ ได้ลาภ ได้ยศ สรรเสริญ สุข
ก็ต้องมีเสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา ทุกข์
แต่เมื่อเรามีทุกข์ มีปัญหา
หรือต้องประสบกับวิกฤติหนักหนาสาหัสแค่ไหน
ก็ให้อาศัยขันติ มีความอดทน

เมื่อมีความทุกข์ หยุดทำ หยุดพูด หยุดคิด
ตั้งสติใช้ปัญญา อาศัยอดทน อดกลั้น
หยุดทุกสิ่งทุกอย่างไว้ก่อน
ไม่ต้องคิดที่จะแก้ปัญหาภายนอก  



 (http://variety.teenee.com/saladharm/img6/125951.jpg)

กำหนดรู้ลมหายใจออกยาวๆ ลมหายใจเข้าลึกๆ
ให้มีสติ มีความรู้สึกตัวกับลมหายใจเข้า ลมหายใจออก
ติดต่อกัน ต่อเนื่องกัน มีสมาธิตั้งมั่นกับลมหายใจ
ปล่อยวางความรู้สึกที่ไม่ดี ปล่อยวางจิตใจให้ว่างๆ
ว่างจากอดีต ว่างจากอนาคต ว่างจากความไม่สบายใจ
เหลือแต่จิตที่มีแต่ความรู้สึกตัว เบิกบานใจ
โอปนยิโก น้อมเข้าไปหาธรรมชาติของจิตที่เป็นประภัสสร
บริสุทธิ์ผ่องใส เมื่อจิตสงบสบายแล้ว
จึงค่อยๆ คิดแก้ปัญหาด้วยสติปัญญา เมื่อจิตใจดี
สบายใจทุกอย่างแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างก็จะค่อยๆ ดีขึ้น
ให้มีความหวัง กำลังใจที่จะต่อสู้


 
(http://variety.teenee.com/saladharm/img6/125953.jpg)

ทุกข์ที่สุดอยู่ที่ไหน
ขุมทรัพย์ก็มีอยู่ที่นั่น

ทุกข์ที่สุดอยู่ที่ไหน
สุขที่สุดมันก็อยู่ที่นั่น
นี่เป็นความจริง

ไม่ว่าจะมีวิกฤติ
หรือเหตุการณ์ใดเกิดขึ้นกับเรา
สิ่งที่สำคัญที่สุดในชีวิตคือรักษาใจของเราให้ดี
ให้มีเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
เป็นคุณธรรมประจำใจของเรา

ตั้งใจทำความดี
รักษาคุณงามความดี ความถูกต้อง
ด้วยจิตใจที่หนักแน่น
ไม่หวั่นไหวในทุกสถานการณ์
ให้ชีวิตทั้งหมดอยู่ด้วยอานาปานสติ
คือทำหน้าที่ปัจจุบันให้ดีที่สุด
ด้วยใจดี สุขใจ


(http://variety.teenee.com/saladharm/img6/125955.jpg)

ขอบคุณ dhammajak.net



หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ กุมภาพันธ์ 07, 2012, 08:37:10 PM
วู่วาม…(หลวงปู่หล้า เขมปตฺโต)


(http://www.janjawka.com/wp-content/uploads/2012/02/01206.jpg)

วันหนึ่งหลวงปู่หล้าได้วิสัชนาขึ้นว่า

“อารมณ์วู่วามนั้น
หากบุคคลใดรู้ตัวก็ต้องถือว่าเป็นคนมีปัญญาแล้ว
และหากถ้ามันเห็นว่าไม่มีประโยชน์มันก็จะวางไปเอง
แต่ถ้าหากเห็นว่ามีประโยชน์มันก็วางไม่ได้

อย่างไรก็ตาม มันจะถึงกับฆ่าหรือตีเขาหรือไม่
ข้อนี้ก็เป็นส่วนที่จะต้องรู้อีก
ถ้ามันหมายจะฆ่าจะตีเขาก็ส่อแสดงให้เห็นว่ามันยังมีกิเลสมากอยู่
เรื่องนี้เราต้องพิจารณา”

“ใครๆ ในโลกนี้ก็เหมือนกัน
ถ้าหากเห็นว่าโลภ โกรธ หลง มันเป็นของอร่อยอยู่ มันก็ลดละไม่ได้
มันต้องไปสังเวยเป็นอาหารของกิเลสต่อไปเรื่องความวู่วามโผงผางนี้
ศาสดากล่าวว่า เป็นตามนิสัยก็มี
เพราะบางคนอุปมาเหมือนน้ำใสกลางขุ่นขอบ
คือมารยาทไม่งามพูดจาโผงผาง แต่จิตใจเป็นธรรมอยู่

บางคนเหมือนน้ำใสทั้งขอบทั้งกลาง
หมายความว่าจิตใจก็เป็นธรรม มารยาทก็เป็นธรรม

ส่วนบางคนที่เหมือนน้ำขุ่นทั้งกลางทั้งขอบ
ก็หมายความว่าจิตใจก็ไม่เป็นธรรม คำพูดก็ไม่เป็นธรรม”


“เรื่องของธรรมะของพระพุทธศาสนา
ความจริงแล้วเราควรจะต้องปฏิบัติให้ควบคู่กับอารมณ์ของเราไป
ดีกว่าที่จะปล่อยให้อารมณ์ไหวไปทางอื่น”

“ยกอุทาหรณ์
คนเราจะสะอาดหรือไม่สะอาดขาดตัวก็ตาม แต่ก็ต้องได้อาบน้ำอยู่นั่นเอง
ถ้าไม่อาบน้ำก็ยิ่งไปใหญ่ เข้าสังคมใดๆ ก็ไม่ได้ ฉันใดก็ฉันนั้น
ถ้าเราไม่ประพฤติศีลประพฤติธรรมแล้ว
ไม่มีอะไรจะมาล้างหัวจิตหัวใจให้สะอาดได้”


ที่มา…(คัดลอกจากหนังสือ “หลวงปู่สอนธรรม: หลวงปู่หล้า เขมปตฺโต”)


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ กุมภาพันธ์ 07, 2012, 08:40:38 PM

ศีลธรรมกับคน (ท่านพุทธทาสภิกขุ)


(http://www.janjawka.com/wp-content/uploads/2012/02/01204.jpg)


ศีลธรรมเลว คนก็ได้ กลายเป็นผี
หาความดี ไม่ประจักษ์ สักเส้นขน
ศีลธรรมดี ผีก็ได้ กลายเป็นคน
ที่เลิศล้น ภูมิใจ ไหว้ตัวเอง

ศีลธรรมต่ำ เปลี่ยนคน จนคล้ายสัตว์
จะกินกัด โกงกัน ขมันเขม็ง
ศีลธรรมสูง คนสดใส ไม่อลเวง
ล้วนยำเกรง กันและกัน ฉันเพื่อนตาย

ศีลธรรมนี้ ทุกวัน มันตายซาก
คนมีปาก ก็ไม่พล่าม ศีลธรรมหาย
ศีลธรรมกลับ มาเมื่อไร ทั้งใจกาย
คนจะหาย จากทุกข์ เป็นสุขเอง ฯ


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: paul711 ที่ กุมภาพันธ์ 08, 2012, 12:52:26 AM
 angel.gif ขอบคุณครับคุณหนูใจ


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ กุมภาพันธ์ 15, 2012, 08:45:16 PM
angel.gif ขอบคุณครับคุณหนูใจ

สวัสดีค่ะ

                :D ด้วยความยินดีค่ะ หนูก็ได้อ่านไปด้วย สะสมความรู้คู่ความดีค่ะ


                                                         


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ กุมภาพันธ์ 15, 2012, 08:48:11 PM
อย่าเลี้ยงความไม่สบายใจ


(http://variety.teenee.com/saladharm/img0/126455.jpg)


คำว่า "ไม่สบายใจ" อย่าใช้ และอย่าให้มีขึ้นในใจต่อไป "Let it go and get it out"
ก่อนมันจะเกิด ต้อง "Let it go." ปล่อยให้มันผ่านไป อย่ารับความเอาความไม่สบายใจไว้

ถ้าเผลอไปมันแอบเข้ามาอยู่ในใจได้ พอมีสติรู้สึกตัวว่า ความไม่สบายใจเข้ามาแอบอยู่ในต้อง Get it out!
ขับมันออกไปทันที อย่าเลี้ยงเอาความไม่สบายใจไว้ในใจ มันจะเคยตัว
ทีหลังจะเป็นคนอ่อนแอ ออดแอด ทำอะไรผิดพลาดนิดๆ หน่อยๆ ก็ไม่สบายใจเคยตัว

เพราะความไม่สบายใจนี้แหละ เป็นศัตรู เป็นมาร ทำให้ใจไม่สงบ
ประสาทสมองไม่ปกติ เป็นเหตุให้ร่างกายผิดปกติ พลอยไม่สงบไม่สบายไปด้วย
ทำให้สมองทึบไม่ปลอดโปร่งแจ่มใสเป็น habit ความเคยชินที่ไม่ดี
เป็นอุปสรรคกีดกั้นขัดขวางสติปัญญาไม่ให้ปลอดโปร่งแจ่มใส

ต้องฝึกหัดแก้ไขปรับปรุงจิตใจเสียใหม่ ทั้งก่อนที่จะทำอะไรหรือกำลังกระทำอยู่ และเมื่อเวลากระทำเสร็จแล้ว
ต้องหัดให้จิตใจแช่มชื่น รื่นเริง เกิดปีติปราโมทย์ เป็นสุขสบายอู่เสมอ
เป็นเหตุให้เกิดกำลังกายกำลังใจ "Enjoy living" มีชีวิตอยู่ด้วยความเบิกบาน
สมองจึงจะเบิกบานจะศึกษาเล่าเรียนก็เข้าใจง่าย
เหมือนดอกไม้ที่แย้มบานต้องรับหยาดน้ำค้าง และอากาศอันบริสุทธิ์ฉะนั้น



 
 
คำสอนบางส่วนของ ท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิต (ธมฺมวิตกฺโกภิกขุ)
จากหนังสือ ตามรอยธรรมย้ำรอยครู
 


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ กุมภาพันธ์ 15, 2012, 08:52:56 PM
ข้อควรรู้..เพื่อไม่ให้ผิดศีล 

(http://variety.teenee.com/saladharm/img3/126443.jpg)

ทำอย่างไรให้ผิดศีล


การที่จะรักษาศีล ๕ ของเราๆท่านๆ นั้น สิ่งที่เราน่าจะต้องทราบกันก่อนคือ ศีล ๕ ข้อนั้นมีอะไรบ้าง และการกระทำแบบใดจึงจะเรียกว่าผิดศีล


ศีลข้อที่ ๑ ปาณาติปาตา เวรมณี ( เว้นจากการทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไป )

ศีลข้อนี้จะขาดก็ต่อเมื่อพร้อมด้วยองค์ ๕ ซึ่งประกอบด้วย
๑. สัตว์นั้นมีชีวิต
๒. รู้ว่าสัตว์นั้นมีชีวิต
๓. มีจิตคิดจะฆ่า
๔. มีความเพียรที่จะฆ่า
๕. สัตว์นั้นตายด้วยความเพียรนั้น


ศีลข้อที่ ๒ อทินฺนาทานา เวรมณี ( เว้นจากการถือเอาสิ่งที่เจ้าของไม่ได้ให้ )

ศีลข้อนี้จะขาดก็ต่อเมื่อพร้อมด้วยองค์ ๕ ซึ่งประกอบด้วย
๑. ของนั้นมีเจ้าของหวง
๒. รู้ว่าของนั้นมีเจ้าของหวง
๓. มีจิตคิดจะลัก
๔. มีความเพียรที่จะลัก
๕. นำของนั้นมาด้วยความเพียรนั้น


ศีลข้อที่ ๓ กาเมสุมิจฺฉาจารา เวรมณี ( เว้นจากการประพฤติผิดในกาม )

ศีลข้อนี้จะขาดก็ต่อเมื่อพร้อมด้วยองค์ ๔ ซึ่งประกอบด้วย

๑. หญิงหรือชายที่ไม่ควรละเมิด ( มี ๒๐ ประเภท)
หมายเหตุ : ตัวอย่างของหญิงที่ไม่ควรละเมิด (สำหรับชายที่ไม่ควรละเมิดนั้น ให้เปรียบเทียบเอา)
- หญิงมีมารดารักษา
- หญิงมีบิดารักษา
- หญิงมีมารดาและบิดารักษา
- หญิงมีพี่ชายหรือน้องชายรักษา
- หญิงมีพี่สาวหรือน้องสาวรักษา
- หญิงมีญาติรักษา
- หญิงมีตระกูลเดียวกันรักษา
- หญิงประพฤติธรรมร่วมอาจารย์เดียวกันรักษา
- หญิงมีสามีรักษา
- หญิงที่ถูกสินไหมบังคับ
- ภรรยาสินไถ่
- หญิงสมัครอยู่กับชาย
- หญิงเป็นภรรยาเพราะทรัพย์
- หญิงเป็นภรรยาเพราะได้ผ้านุ่งห่ม
- หญิงที่ชายสู่ขอ
- หญิงที่ชายช่วยปลงภาระ
- หญิงที่ทาสีชายได้เป็นภรรยา
- หญิงรับจ้างชายได้เป็นภรรยา
- หญิงเชลยได้มาเป็นภรรยา
- หญิงอยู่กับชายขณะหนึ่ง คิดว่าชายนั้นเป็นสามีตน

๒. จิตคิดจะเสพ

๓. พยายามเสพ

๔. อวัยวะเพศถึงกัน


ศีลข้อที่ ๔ มุสาวาทา เวรมณี ( เว้นจากการพูดเท็จ )

ศีลข้อนี้จะขาดก็ต่อเมื่อพร้อมด้วยองค์ ๔ ซึ่งประกอบด้วย
๑. เรื่องไม่จริง
๒. จิตคิดจะพูด
๓. พูดออกไป
๔. คนอื่นเข้าใจเนื้อความนั้น

ศีลข้อที่ ๕ สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺฐานา เวรมณี ( เว้นจากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย)

ศีลข้อนี้จะขาดก็ต่อเมื่อพร้อมด้วยองค์ ๔ ซึ่งประกอบด้วย
๑. ของทำให้เมา
๒. จิตคิดจะดื่ม
๓. มีความพยายามที่จะดื่ม
๔. ดื่มให้ไหลล่วงลำคอเข้าไป


จุดประสงค์ที่บอกถึงองค์ประกอบต่างๆที่จะทำให้ศีลขาดนั้น ไม่ใช่เพื่อให้ท่านหาทางหลีกเลี่ยง โดยใช้ความพลิกแพลงต่างๆ เพื่อที่จะได้เป็นข้ออ้างในการทำสิ่งต่างๆที่ไม่ดี ว่าหนังสือเขาบอกว่าทำแบบนี้ถึงจะผิดศีล ทำแบบนี้ไม่เป็นไรเพราะหนังสือไม่ได้เขียนไว้ ยกตัวอย่างเช่น มีป้ายปักไว้ว่าห้ามเดินลัดสนาม เราก็เลยวิ่งลัดสนามแทน แบบนี้ใช้ไม่ได้นะครับ จุดประสงค์จริงๆก็คือ อยากจะบอกว่าศีลทุกข้อจะขาดหรือไม่ขึ้นอยู่กับเจตนา หรือ การจงใจที่จะกระทำเป็นหลัก ถึงแม้ว่าศีลจะไม่ขาดเพราะละเมิดไม่ครบองค์ประกอบทั้งหมด แต่ถ้ามีเจตนาที่จะทำแล้ว ก็จะทำให้ศีลนั้นด่างพร้อย หรือเศร้าหมองได้ ไม่ลำบากยากเย็นนักหรอกครับในการรักษาศีล ลองตั้งใจบอกกับตัวเองว่า " เอาล่ะ จะลองรักษาศีล ๕ สักอาทิตย์นึง " แล้วท่านพยายามทำให้ได้ คิดก่อนทำ คิดก่อนพูด ละโอกาสที่จะทำให้เกิดการผิดศีลขึ้นได้ ( เช่น ไม่ไปนั่งในร้านขายสุรากับคู่หูที่เคยดื่มด้วยกัน) ท่านจะพบว่าจริงๆแล้ว การรักษาศีล ๕ นั้นไม่ลำบากอย่างที่ท่านคิด อ่านจบแล้วอย่าลืมทดลองทำดูนะครับ ( และถ้าทำสำเร็จแล้ว ก็พยายามรักษาศีลต่อไปเรื่อยๆนะครับ)

ขอให้ท่านประสพความสำเร็จในการรักษาศีลนะครับ..


(http://variety.teenee.com/saladharm/img3/126444.gif)


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ กุมภาพันธ์ 15, 2012, 08:57:59 PM
พุทธศาสนสุภาษิต...การพลัดพราก

(http://variety.teenee.com/saladharm/img7/126378.jpg)




(http://variety.teenee.com/saladharm/img7/126379.gif)


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ กุมภาพันธ์ 26, 2012, 11:41:43 AM
ยาระงับสรรพทุกข์


(http://www.jaowka.com/wp-content/uploads/2012/02/01157.jpg)

ยาระงับสรรพทุกข์   / ท่านพุทธทาส
 

ต้น ‘ไม่รู้ไม่ชี้’ นี่เอาเปลือก

ต้น ‘ชั่งหัวมันเลือก’ เอาแก่นแข็ง

‘อย่างนั้นเอง’ เอาแต่รากฤทธิ์มันแรง

‘ไม่มีกูของกู’ แสวงเอาแต่ใบ

‘ไม่น่าเอาน่าเป็น’ เฟ้นเอาดอก

‘ตายก่อนตาย’ เลือกออกลูกใหญ่ๆ

หกอย่างนี้อย่างละชั่งตั้งเกณฑ์ไว้

‘ดับไม่เหลือ’ สิ่งสุดท้ายใช้เมล็ดมัน

หนักหกชั่งเท่ากับยาทั้งหลาย

เคล้ากันไปเสกคาถาที่อาถรรพณ์

‘สัพเพ ธัมมานาลัง อภินิเวสายะ’

อัน เป็นธรรมชั้นหฤทัยในพุทธนาม

จัดลงหม้อใส่น้ำพอท่วมยา

เคี่ยวไฟกล้าเหลือได้หนึ่งในสาม

หนึ่งช้อนชาสามเวลาพยายาม

กินเพื่อความหมดสรรพโรคเป็นโลกอุดร


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ กุมภาพันธ์ 26, 2012, 11:43:37 AM
  ขั้นตอนของความโกรธ ๑๓ ประการ

(http://www.jaowka.com/wp-content/uploads/2012/02/01168.jpg)


ขั้นตอนของความโกรธ ๑๓ ประการ
(พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๙ ขุททกนิกาย มหานิทเทส ปุราเภทสุตตนิทเทสที่ ๑๐)

๑. ทำจิตให้ขุ่นมัว

๒. ทำให้หน้าเง้าหน้างอ หน้าบูดหน้าเบี้ยว

๓. ทำให้คางสั่น ปากสั่น

๔. เปล่งผรุสวาจา (คำหยาบ)

๕. เหลียวดูทิศต่าง ๆ เพื่อหาท่อนไม้

๖. จับท่อนไม้และศาสตรา

๗. เงื้อท่อนไม้และศาสตรา

๘. ให้ท่อนไม้และศาสตราถูกต้อง (ผู้อื่น)

๙. ทำให้เป็นแผลเล็กแผลใหญ่

๑๐. ทำให้กระดูกหัก

๑๑. ทำให้อวัยวะน้อยใหญ่หลุดไป

๑๒. ทำให้ชีวิต (ผู้อื่น) ดับ

๑๓. ฆ่าผู้อื่น แล้วจึงฆ่าตน (ความโกรธขั้นสูงสุด)


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มีนาคม 02, 2012, 10:37:12 PM
ของเก่าปกปิดความจริง...(หลวงปู่แหวน สฺจิณฺโณ) 
 
(http://variety.teenee.com/saladharm/img2/127054.jpg)


(http://variety.teenee.com/saladharm/img2/127055.gif)


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มีนาคม 02, 2012, 10:40:27 PM
ลืมวันพระ ลืมของดี ลืมความสุข (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม)

(http://variety.teenee.com/saladharm/img8/127199.jpg)

วันพระนี้ ท่านลองไปดูตามวัดซิว่า มีคนเข้าวัดไหม
ไม่มีหรอกเขาไปเที่ยวกัน ลืมวันพระ ลืมของดี ลืมความสุข
มีแต่ความทุกข์ไม่ลืม ความสุขกลับลืม
แต่อยากได้ความสุขไม่ต้องการทุกข์
แต่ท่านวิ่งไปหากองทุกข์ วิ่งไปหาหนี้สิน
วิ่งไปหาหายนะ วิ่งไปหาบุญแต่กรรมมันบัง
อยากนั่งกรรมฐานเพียง ๓ วัน
เดินจงกรมยังไม่ได้กลับแล้ว ไม่มีความเห็นจริงเลย
คนเรามันแย่ลงไป จึงหาความสุขในยุคปัจจุบันไม่ได้
เรามาอยู่ร้อนนอนทุกข์กันแท้ๆ ไม่มีเหาก็หาเหาใส่หัว
ไม่มีอะไรก็หาอะไรใส่ตัว ก็ไม่เป็นไรจะไม่ขอกล่าวต่อไป
แต่ความละเอียดอ่อนของชีวิตนี้ทุกคนหายาก

ความดีจึงหายากมาก ทำได้ยากมาก
แต่ความชั่วทำได้ง่าย ลอยละล่องไปตามสายธารและสายชล
เหมือนล่องเรือไปตามสายน้ำฉะนั้น
แต่ทำความดีเหมือนพายเรือขึ้นมันฝืนใจ
ความดีนี้มันฝืนใจเราท่านทั้งหลายเอ๋ย
มันไม่มีปล่อยไปตามอารมณ์ตามใจตัวของท่านหรอก
ความดีต้องฝืนใจ ท่านฝืนใจได้
ท่านมีขันติความอดทนฝืนใจได้แล้วท่านจะพบธรรมะ
เป็นดวงใจใสสะอาดในตัวท่าน
ฝืนใจไม่ได้ ปล่อยไปตามอารมณ์ตามใจตนของตนแล้ว  
ท่านจะพบแต่หายนะ ท่านจะไม่พบความรู้ที่แน่นอน
และความจริงที่เป็นอยู่ของชีวิตอย่างแน่นอน
ท่านจะได้ของที่เลวร้ายติดตัวตลอด  



ข้อมูลจาก jarjarun.org


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มีนาคม 02, 2012, 10:42:01 PM

นินทาว่าร้าย เพราะอิจฉาริษยาเป็นเหตุ

(http://www.jaowka.com/wp-content/uploads/2012/03/34.jpg)

นินทาและสรรเสริญ อันเป็นกระแสแห่งกรรม แห่งโลกธรรม ที่สำคัญอย่างยิ่ง

เป็น เหตุแห่งทุกข์โทษภัยนานาประการ แก่จิตใจที่ขาดสติ ขาดปัญญา เมื่อผจญกับกระแสเสียงสรรเสริญก็ตาม กระแสเสียงนินทาก็ตาม ไม่มีสติ ไม่มีปัญญาปิดกั้น ปล่อยให้เข้าไปทำร้ายจิตใจ หนักหนาเพียงไรก็ได้ เพียงไม่หนักหนานักก็มี

กระแสเสียงนินทาน่าจะหนักหนารุนแรงกว่ากระแสแห่งการยกย่องสรรเสริญ ดังที่เห็นอยู่ก็เช่นนี้ คือโบราณท่านว่าไว้ว่าจะถึงสมัยหนึ่งที่ คนดีจะต้องเดินตรอก ขี้ครอกจะได้เดินถนน กระเบื้องจะเฟื่องฟูลอย น้ำเต้าน้อยจะถอยจม

ผู้ใหญ่ ในสมัยโบราณ ท่านอธิบายให้ลูกหลานเข้าใจความหมายของคำที่ว่านี้คือ คนดีจะถูกเหยียบย่ำ จนไม่อาจเผยอหน้าให้ใครเห็นได้ คนชั่วร้ายจะได้รับการยกย่อง จนแทบจะล่องลอยฟ้า

ผู้ใหญ่สมัยก่อนที่ ท่านเป็นผู้ดี เป็นคนดี ท่านสอนลูกสอนหลาน ให้มีเหตุผลในการพูดในการฟัง นั่นก็คืออย่าไม่มีเหตุผล ไม่มีสติ ไม่มีปัญญา ในการพูด ในการฟัง ใครพูดอะไร ใครบอกอะไร ได้ยินก็เชื่อ ก็ฟังก็พูดต่อ

ท่านว่านี้เป็นเหตุสำคัญให้ถึงสมัยผู้ดีต้องเดินตรอก น่าจะหมายความว่า ผู้ดีหรือคนดี ถูกประณามหยามเหยียด จนอับอายขายหน้า ไม่อาจให้เห็นหน้าค่าตาได้ พิจารณา ให้เห็นเหตุผล น่าจะเห็นได้ว่าเสียงนินทามีความสำคัญไม่น้อย ทำให้คนดีกลายเป็นคนไม่ดี หรือคนถูกกลายเป็นคนผิดไปได้มากมายยิ่งขึ้น ในทุกวันนี้

จนเป็นเหตุให้มีคำกล่าวว่า กระเบื้องจะเฟื่องฟูลอย น้ำเต้าน้อยจะถอยจม หรือผู้ดีจะเดินตรอก ขี้ครอกจะเดินถนน นั่นเอง

ได้ ยินใครพูดถึงใครอย่างไร ถ้าเป็นผู้ได้ยิน ที่ไม่เคยพบเคยผ่านเรื่องราวที่ฟังเสียงบอกเสียงเล่าด้วยตนเอง ไม่รู้จักผู้ที่ถูกกล่าวถึง ไม่เคยรู้เคยเห็นด้วยตนเอง ในการพูดการทำของแต่ละคน เขาจะเป็นคนดีคนชั่วหรือเป็นคนถูกคนผิดอย่างไร แม้ไม่เคยพบ ไม่เคยเห็น ไม่เคยได้ยิน ไม่เคยได้ฟัง จากปากเขา เป็นภาพเป็นเสียงจากคนอื่นทั้งสิ้น

แม้คนอื่นนั้นเราพอรู้จักอยู่ แต่ก็จงมั่นคงในสติปัญญาของตน จงรอบคอบให้อย่างยิ่ง ในการเชื่อ

ผู้ รอบคอบในการเชื่อ ก็คือรอบคอบในการฟัง เมื่อเป็นผู้รอบคอบในการเชื่อ ก็ย่อมเป็นผู้รอบคอบในการพูดด้วยเป็นธรรมดา การนินทาว่าร้ายที่เต็มไปทุกแห่งทั่วโลกก็ว่าได้ มิได้เกิดแต่เหตุใดอื่น แต่เกิดจากความเชื่อและนอกจากความเชื่อ ก็คือความอิจฉาริษยา

ที่ทรงมีพระพุทธภาษิตว่า“ความริษยาเป็นเหตุให้โลกฉิบหาย” จะกล่าวว่าการนินทาว่าร้าย เป็นเหตุให้โลกฉิบหาย ก็น่าจะไม่ผิด น่าจะเหมือนกันกับที่ทรงมีพระพุทธภาษิตว่า “ความริษยาเป็นเหตุให้โลกฉิบหาย”

เพราะการนินทาว่าร้ายจะไม่เกิด แม้ไม่มีความริษยาเป็นเหตุ เมื่อได้ฟังการนินทาว่าร้าย ก็ไม่ควรลืมพระพุทธภาษิตที่ว่า “ความริษยาเป็นเหตุให้โลกฉิบหาย”

ได้ยินเสียงนินทาว่าร้าย ไม่ว่าจะจากผู้ใดก็ตาม ให้นึกถึงพระพุทธภาษิตทันทีที่ว่า “ความริษยาเป็นเหตุให้โลกฉิบหาย” อย่ายอมเข้าร่วมในการนินทาว่าร้าย หรือในความริษยา แม้เพียงด้วยการเชื่อ โดยมิได้บอกกล่าวเล่าขานต่อไปก็ตาม

แต่ ถ้าเชื่อตามเสียงนินทาว่าร้ายและเป็นการเชื่อด้วยจริงใจ เชื่ออย่างปราศจากความเคลือบแคลงสงสัยในเรื่องที่ได้ยินได้ฟังจากคำบอกเล่า ของคนอื่น ซึ่งอาจจะป็นผู้ที่มีความน่าเชื่อถือ น่าไว้ใจ มีความจริงใจ มีความหวังดี ในการนำเรื่องมาบอกกล่าวเล่าให้ฟัง

จงรอบคอบให้อย่างยิ่งในการฟัง ไม่ว่าผู้พูดผู้เล่าจะเป็นใครก็ตาม นึกไว้อย่างหนึ่งว่า

การนินทาว่าร้าย ถ้าจริงก็เสียหายแก่ผู้พูดผู้ฟังพอสมควร
แต่ถ้าไม่จริง ไม่เพียงแต่ผู้พูดเสียหายเป็นอย่างยิ่ง ผู้ฟังผู้เชื่อก็จะเสียหายมาก

แสงส่องใจ (๒๔) ๓ ตุลาคม ๒๕๔๙
: สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมกาสังฆปริณายก



หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มีนาคม 02, 2012, 10:44:11 PM


ปล่อยวางแบบควาย

(http://www.jaowka.com/wp-content/uploads/2012/03/1_94.jpg)


เรียบเรียงโดย ศรีวรา อิสสระ

ลูกศิษย์วัยรุ่นมักจะอ้างเรื่องการปล่อยวาง เมื่อขี้เกียจไม่อยากจะทำอะไรสักอย่าง

ท่านอาจารย์จึงเล่าว่า

ในช่วงเข้าพรรษาปีหนึ่ง หลวงพ่อชาเดินตรวจพระลูกศิษย์ที่กุฏิหลังหนึ่ง พระท่านเอาของไปวางไว้ตรงมุมที่ไม่ใช่ที่ๆ ควรจะวาง

ท่านจึงถามว่า “ทำไมจึงต้องเอาของไปไว้ตรงนั้น”

ลูกศิษย์ให้เหตุผลว่า “เพราะหลังคามันรั่ว”

เมื่อหลวงพ่อถามว่า “ทำไมจึงไม่ซ่อมหลังคา”

ท่านก็ว่า “ท่านกำลังฝึกเรื่องความอดทนและการปล่อยวาง”

หลวงพ่อจึงว่า

นี่คือการปล่อยวางของควาย

ท่านอาจารย์สรุปว่า

พระ พุทธเจ้าไม่ได้สอนว่า อะไรๆก็ต้องปล่อยวาง อะไรๆก็ต้องอดทน เราต้องมีปัญญาแยกแยะว่าอะไรเป็นอะไร สิ่งไหนควรอดทนก็ต้องอดทน บางสิ่งบางอย่างก็ไม่ใช่เรื่องที่ต้องทน บางสิ่งบางอย่างก็ควรจะแก้ไข การปล่อยวางของเราต้องมีปัญญา เป็นตัวกำกับอยู่ด้วยเสมอ



ที่มาื่ : “เรื่องท่านเล่า” เรียบเรียงจากนิทาน และธรรมบรรยาย ที่พระอาจารย์ชยสาโรเคยแสดงไว้เพื่อเป็นธรรมทานโดย ศรีวรา อิสสระ, พิมพ์เพื่อการกุศล โดยกองทุนสื่อธรรมะทอสี ครั้งที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๕๓, หน้า ๒๔๐


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มีนาคม 02, 2012, 10:45:18 PM
ธรรมะสอนใจ / หลวงพ่อฤาษี ลิงดำ


(http://www.jaowka.com/wp-content/uploads/2012/03/112.jpg)

” สิ่งทั้งหลายในโลกนี้ ไม่มีอะไรเป็นปัจจัยแห่งความสุข มันเป็นปัจจัยของความทุกข์ ทุกข์เพราะอะไร ทุกสิ่งทุกอย่างที่เราอยากได้มัน ตัวอยากนี่แหละ ท่านเรียกว่า ตัณหา ตัวทำให้เกิดทุกข์ ”


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มีนาคม 02, 2012, 10:46:41 PM
เมื่อโกรธ ควรทำอย่างไร

(http://www.jaowka.com/wp-content/uploads/2012/03/127.jpg)

ถ้าท่านมีโทสะในขณะภาวนา ให้แก้ด้วยเมตตาจิต ถ้ามีใครทำไม่ดีหรือโกรธ อย่าโกรธตอบ ถ้าท่านโกรธตอบ ท่านจะโง่ยิ่งกว่าเขา จงเป็นคนฉลาดสงสารเห็นใจเขา เพราะว่าเขากำลังได้ทุกข์ จงมี เมตตาเต็มเปี่ยมเหมือนหนึ่งว่าเขาเป็นน้องชายที่รักยิ่งของท่าน เพ่งอารมณ์เมตตาเป็นอารมณ์ภาวนา แผ่เมตตาไปยังสรรพสัตว์ทั้งหลายในโลก เมตตาเท่านั้นที่เอาชนะโทสะและความเกลียดได้

บางครั้งท่านอาจจะเห็นพระภิกษุรูปอื่นปฏิบัติไม่สมควร ท่านอาจจะรำคาญใจ ทำให้เป็นทุกข์โดยใช่เหตุ นี้ไม่ใช่ธรรมะของเรา ท่านอาจจะคิดอย่างนี้ว่า “เขาไม่เคร่งเท่าฉัน เขาไม่ใช่พระกรรมฐานที่ เอาจริงเอาจังเช่นฉัน เขาไม่ใช่พระที่ดี” นี่เป็นกิเลสเครื่องเศร้าหมองอย่างยิ่งของตัวท่านเอง อย่าเปรียบเทียบ อย่าแบ่งเขาแบ่งเรา จงละทิฐิของท่านเสีย และเฝ้าดูตัวท่านเอง นี่แหละคือธรรมะของเรา ท่านไม่ สามารถบังคับให้ทุกคนประพฤติปฏิบัติตามที่ท่านต้องการหรือเป็นเช่นท่านได้ ความต้องการเช่นนี้มีแต่ จะทำให้ท่านเป็นทุกข์ ผู้ปฏิบัติภาวนามักจะพากันหลงผิดในข้อนี้ การจับตาดูผู้อื่นไม่ทำให้เกิดปัญญาได้ เพียงแต่พิจารณาตนเองและความรู้สึกของตน แล้วท่านก็จะเข้าใจได้


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มีนาคม 02, 2012, 10:48:09 PM
พลิกมุมคิด ชีวิตเปลี่ยน

(http://www.jaowka.com/wp-content/uploads/2012/03/15.jpg)

ความ จริงของชีวิตคือทุกข์ ชีวิตของเราทุกคนกำลังเดินทางอยู่ท่ามกลางทุกข์โทษภัยนานาชนิด ภัยธรรมชาติอุบัติเหตุ ไฟไหม้ โจรผู้ร้าย โรคภัยไข้เจ็บ

กล่าว ได้ว่าชีวิตของคนเราโดยทั่วไปแล้วก็มีเหตุการณ์ต่างๆ ที่ไม่น่าปรารถนา มากดดัน บีบบังคับชีวิตของเรามากมาย หมายถึง โลกธรรมแปดฝ่ายที่ไม่น่าปรารถนา คือ เสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา ทุกข์

พระ พุทธเจ้าจึงตรัสไว้ว่า ชีวิตคือทุกข์ ความจริงของชีวิตคือทุกข์ หมายความว่า ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตายเป็นทุกข์ การประสบกับสิ่งที่ไม่รัก การพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้นเป็นทุกข์ ความเศร้าโศกร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ ก็เป็นทุกข์

สมมติว่า เรากำลังอิจฉาใครคนใดคนหนึ่งอยู่เป็นอย่างมาก เพราะเห็นเขามีแต่สุขสมหวัง หรือนึกๆ ดูว่าในโลกนี้มีชีวิตใครที่น่าอิจฉาบ้าง

แต่จริงๆ แล้วไม่ว่าใครจะน่าอิจฉาขนาดไหนก็ตาม เขาเหล่านั้นต่างก็กำลังยืนอยู่ท่ามกลางภัยอันตรายในวัฏสงสารเหมือนๆ กันทุกคน

เรา ทุกคนในโลกนี้ต่างอยู่ท่ามกลางโทษภัยอันตรายที่น่ากลัวในวัฏสงสารกันทั้ง นั้น เพราะฉะนั้นเราไม่ต้องไปคิดน้อยใจอะไร ไม่ต้องไปคิดอิจฉาใคร ไม่ต้องรู้สึกว่า เรามีปมด้อย

ไม่ว่าเราจะเกิดมาในตระกูลดี มีฐานะร่ำรวยขนาดไหน พ่อแม่พี่น้องทุ่มเทความรักความเมตตาให้เรามากแค่ไหน ไม่ว่าเราจะมีกำลังกาย กำลังใจ กำลังทรัพย์ กำลังสติปัญญามากเพียงไรก็ตาม ชีวิตทุกชีวิตย่อมต้องมีอุปสรรคที่ทำให้เราต้องเจ็บกาย เจ็บใจอยู่ไม่มากก็น้อย

พระพุทธเจ้าจึงสอนให้เราต้องสร้างกำลังใจให้หนักแน่น ให้พร้อม ถ้าเราประมาท ชีวิตก็จะพังทลายได้ง่ายๆ

อย่างที่เราก็มองเห็นตัวอย่างอยู่บ่อยๆ เมื่อผิดหวังในชีวิตแล้วก็ทำใจไม่ได้ ทุกข์ทรมานใจจนถึงกับฆ่าตัวตายก็มี

ถ้าเราเปิดตาเปิดใจกว้างแล้ว เราก็จะเห็นว่าโลกนี้มีคำสอนดีๆ ที่มีคุณค่ามากมาย

เรา สามารถเรียนรู้ได้จากประสบการณ์ชีวิตคนอื่น คำสอนต่างๆ จากนักปราชญ์ นักบุญ ครูบาอาจารย์ มีมาตั้งแต่โบราณกาล มีอยู่ทั่วทุกมุมโลก จากฮีบรู อาหรับ จีน ทิเบต อินเดีย ฯลฯ

คำสอนต่างๆ มีความเป็นสากลที่เราสามารถนำมาใช้ในการดำเนินชีวิต เมื่อเกิดทุกข์ มีปัญหาชีวิต กุญแจหรือเคล็ดลับที่จะไขปัญหาก็มีอยู่เสมอ

เมื่อมี ทุกข์เปรียบเหมือนเราตกลงจากที่สูง แต่ถ้ามีปัญญาแล้วก็เหมือนกับว่าเรามีลวดสปริงติดอยู่ที่เท้า พร้อมที่จะกระโดดหนีขึ้นมาได้ทันที

เมื่อตกลงไปข้างล่างพาตัวเองก้าวพ้นจากอุปสรรค พร้อมที่จะก้าวไปข้างหน้าได้เสมอ

หากมีปัญญาแล้ว ไม่ว่าจะมีทุกข์ มีวิกฤตในชีวิต ก็สามารถหาทางออกได้ในทุกสถานการณ์

ที่มา…หนังสือ โชคดี พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก




หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มีนาคม 04, 2012, 06:03:22 PM
ทางสายเดียว

(http://images.thaiza.com/33/33_20090821134649..jpg)


การทำสมาธิภาวนานี้ ก็คือ พระพุทธเจ้าทรงสอนให้เราเดินทางสายเดียว (เอกายนมรรค)

ปกติ นั้น พวกเราพากันเดินทางทั้ง ๖ สาย คือ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ของเรานี้ เมื่อไปรับอารมณ์ภายนอกเข้ามา ใจก็ไปติดกับรูปบ้าง ไปติดกับสัมผัสบ้าง

เมื่อจิตของเราไม่ตั้งอยู่ในอารมณ์อันเดียว ความสงบที่เกิดจากดวงจิตของเราก็ไม่มี เพราะธรรมดาทางที่มีมากหลายๆ สายนั้น เราจะเดินพร้อมๆ กันทีเดียวทุกๆ สายย่อมไม่ได้ เราจะต้องเดินสายนั้นบ้าง สายนี้บ้าง ผลัดเปลี่ยนกันอยู่เรื่อยๆ

ดังนั้นหนทางเหล่านี้ก็ย่อมจะราบเรียบไปไม่ได้

เพราะทางสายหนึ่งๆเราไม่ได้เดินอยู่เสมอเป็นนิจ ทางสายนั้นย่อมจะต้องรกและเต็มไปด้วยอันตรายต่างๆ เช่น

๑.เราอาจจะต้องเหยียบเอาหนามหรืออิฐหินที่ขรุขระก็ได้

๒.อาจจะถูกกิ่งไม้ข้างทางเกี่ยวหู ตา ขา แขนเอาบ้างก็ได้

๓.ธรรมดา ที่รกก็มักจะมีมดง่าม งู ตะขาบ แมลงป่อง ฯลฯ ซุกซ่อนอยู่ เมื่อเรามองไม่เห็นไปเหยียบเข้า มันก็อาจจะขบกัดหรือต่อยเอาให้เป็นพิษหรือถึงตายได้

๔.ถ้าเรามี กิจธุระจะเดินตรงหรือรีบลัดตัดทางไปก็ย่อมลำบากไปไม่สะดวก เพราะติดโน่นบ้างนี่บ้างที่เป็นสิ่งกีดขวางทางเดิน ทำให้เราต้องไปถึงเนิ่นช้า หรือมิฉะนั้นก็ไม่ทันการ ถ้าเป็นกลางวันเราก้พอจะแลเห็นทาง ถ้าเป็นกลางคืนก็ยิ่งลำบากมาก

พระ พุทธองค์ทรงเห็นว่า การเดินทางหลายสายนี้ย่อมเป็นภัยอันตรายแก่บุคคล พระองค์จึงทรงวางหลักแนะนำ ให้เราเดินทางแต่สายเดียว ซึ่งเป็นหนทางที่บริสุทธิ์บริบูรณ์และปลอดภัยอันตรายทุกสิ่งทุกประการ

คือ ให้เราทำจิตให้อยู่นิ่งในอารมณ์อันเดียวเรียกว่า “สมาธิภาวนา”


ทาง สายเดียวนี้แหละเป็นทางที่เราจะเดินไปถึงก้อนทรัพย์ ๔ ก้อน คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ซึ่งเป็นสมบัติอันประเสริฐ เป็นของจริงที่ไม่เปลี่ยนแปลงเลย เรียกว่า “อริยสัจจ์” คือ “อริยทรัพย์”

ธรรมโอวาท ของ พระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์ พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร
วัดอโศการาม อ.เมือง จ.สมุทรปราการ
แสดงธรรมเทศนา ณ ศาลาอุรุพงศ์ เมื่อ ๑๖ กันยายน พ.ศ.๒๔๙๗

คัดลอกเนื้อหาจาก
หนังสือแนวทางวิปัสสนา-กัมมัฏฐาน
พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร.จัดพิมพ์เผยแพร่โดยชมรมกัลยาณธรรม ปี พ.ศ. ๒๕๕๒.

ลี ธมฺมธโร. แนวทางวิปัสสนา-กัมมัฏฐาน. พิมพ์ครั้งที่ ๑.
กรุงเทพฯ : ขุมทองอุตสาหกรรมและการพิมพ์, ๒๕๕๒. หน้า ๒๖๗-๒๖๘


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มีนาคม 04, 2012, 06:04:58 PM
ทำใจได้..สบายทุกอย่าง

(http://images.thaiza.com/34/34_20080727102255..jpg)

ทำใจได้สบายทุกอย่าง..


…คน เรานี้เมื่อยังเป็นอยู่ก็เรียกว่ามีชีวิต เมื่อชีวิตนั้นสิ้นไปก็เรียกว่าตาย ชีวิตจึงคู่กันกับความตาย เรียกง่ายๆ ว่า “เป็น” กับ “ตาย” แต่ มองอีกแง่หนึ่ง ความตายที่เป็นความสิ้นสุดของชีวิตนั้น เป็นเพียงปลายด้านหนึ่ง ชีวิตก่อนจะมาถึงจุดจบสิ้นคือความตายนั้น ได้ดำเนินต่อเนื่องมาโดยเริ่มแต่จุดตั้งต้น จุดที่ชีวิตเริ่มต้นนั้นเรียกว่า “เกิด” การเริ่มต้นเป็นคู่กันกับการสิ้นสุด เมื่อมองในแง่นี้ ความตายหาใช่เป็นคู่กับชีวิตไม่ แต่เป็นเพียงการสิ้นสุดที่เป็นคู่กันกับการเริ่มต้นของชีวิตเท่านั้น ดังนั้น ความตายจึงต้องคู่กับความเกิด เรียกง่ายๆ ว่า “เกิดกับตาย”

คน ทั่วไป มักตกอยู่ในแง่มองแบบที่หนึ่ง กล่าวคือ มองเห็นความตายคู่กับชีวิต เมื่อนึกถึงความตาย ก็โยงเข้ามาหาชีวิต แล้วติดอยู่แค่นั้น คือนึกแค่เป็น กับตาย เมื่อความคิดมาหยุดอยู่ที่ชีวิต นึกถึงชีวิตกับความตาย หรือเป็นกับตาย โดยยึดมั่นว่าตายตรงข้ามกับเป็น ความคิดนั้นก็จะหน่วงเหนี่ยวพัวพันและ วนเวียนอยู่กับความรู้สึกในความเป็นตัวตน และนึก ถึงความตายโดยสัมพันธ์กับตัวตน ด้วยอาการที่ให้เกิดความรู้สึกเป็นเรื่องกระทบตัวตน หรือจะสูญเสียตัวตนนั้นไป คือสั่นสะท้านเสียวใจว่า เราจะตาย เราจะไม่มีชีวิต จะไม่เป็นอยู่ต่อไป

เพราะเหตุนี้ คนทั่วไปเหล่านั้นเมื่อนึกถึงความตาย เห็นคนตาย หรือเผชิญกับความตาย จึงเกิดความรู้สึกหวาดกลัวประหวั่นพรั่นพรึง หรือไม่ก็รู้สึกสลดหดหู่ ตลอดจน เศร้าโศกแห้งเหี่ยวหัวใจ ถ้านึกถึงความตายของคนที่ตนเกลียดชังหรือเป็นศัตรู ก็รู้สึกว่าตัวตนนั้นได้สิ่งที่ต้องการ แล้วกลายเป็นเกิดความยินดีลิงโลดใจ

คน ทั่วไปคุ้น ชิน และตกร่องอยู่กับความรู้สึกนึกคิด อย่างนี้ จนกระทั่งในวัฒนธรรมบางสาย ภาษาที่ใช้จะเอ่ยอ้างแต่คำว่า ชีวิตกับความตาย โดยไม่รู้ตระหนักเลยถึงคู่ที่แท้ของมัน คือ เกิดกับตาย เกิดกับตายนั้นถูกกล่าวถึงอย่างแยกต่างหากกัน เป็นคนละเรื่อง ไม่ต่อเนื่องโยงถึงกัน เหมือนดังว่าไม่สัมพันธ์กัน การมองแบบนี้เปิดช่องให้แก่การดำเนินชีวิตที่ผิดพลาดได้มาก ดังจะเห็นว่า เมื่อมีการเกิด ก็สนุกสนานบันเทิง เฉลิมฉลองกันเต็มที่ เมื่อมีการตาย ก็โศกเศร้าพิไรรำพันปานว่าจะตายตามไป ในท่ามกลางระหว่างนั้น ก็ดำเนินชีวิตอย่างลืมตัวมัวเมา หรือได้แต่โลดแล่นลุ่มหลงไป แก่งแย่งเบียดเบียนกัน ไม่มีสติกำกับ ไม่ใช้ปัญญานำทางให้พอดีต่อการที่จะเกิดประโยชน์สุขที่แท้แก่ชีวิตและสังคม

ใน ทางตรงข้าม ถ้ามองความตายคู่กับการเกิด ความคิดจะไม่มาติดตันอยู่ที่ตัวตน เพราะมองจากปลายหรือสุดทางด้านหนึ่งของชีวิต ข้ามเลยไปถึงปลายหรือสุดทางอีกด้านหนึ่ง ชีวิตจะกลายเป็นสภาวะธรรมชาติอย่างหนึ่งที่ถูกเรามองดูเหมือนเป็นของนอกตัว ทั่วไป แลเห็นเป็นกระบวนการที่คืบเคลื่อน ดำเนินไปตามเหตุปัจจัยของมัน จากจุดเริ่มต้นคือเกิด ไปสู่จุดอวสานคือตาย ไม่ติดพันผูกยึดอยู่กับความรู้สึกในตัวตน การมองอย่างนี้สอดคล้องกับความเป็นจริงของชีวิตนั้นเอง เปิดโอกาสแก่สติปัญญาได้มากกว่า จึงนำไปสู่ความเข้าใจรู้เท่าทัน มองเห็นชีวิตตามที่มันเป็นของมัน อาจทำให้ลดละ ตลอดจนลอยพ้นทั้งความหวาดกลัว และความหดหู่โศกเศร้า ในคราวที่นึกถึง พบเห็น หรือแม้เผชิญหน้ากับความตาย

ความตาย เป็นความจริงอย่างหนึ่งที่มนุษย์ทุกคนจะต้องเผชิญ เมื่อจะต้องเผชิญอยู่แล้วก็ควรรู้จักปฏิบัติต่อมันอย่างถูกต้อง ให้เกิดผลดีมากที่สุด และเกิดโทษน้อยที่สุด ดังนั้น พระพุทธเจ้าจึงทรงสอนให้รู้จักระลึกถึงความตาย ดังปรากฏว่า หลักธรรมที่มากับเรื่องนี้ มีทั้งคำสอนสำหรับผู้มองแบบหนึ่ง ซึ่งเห็นความตายมาตันอยู่แค่ชีวิตของตน โดยสอนให้เบนจากความรู้สึกหดหู่และหวาดกลัวที่เป็นโทษ ไปสู่ความรู้สึกที่ดีงามเป็นประโยชน์ และ มีทั้งคำสอนที่ชักนำไปสู่การมองแบบที่สอง ที่จะให้เกิดปัญญา ซึ่งทำจิตใจให้เป็นอิสระบรรลุสันติสุขได้โดยสมบูรณ์

ในระดับที่เน้นการมองแบบที่หนึ่ง


๑. ให้เห็นความจริง ว่า ชีวิตของมนุษย์นั้น นอก จากจะสั้น ไม่ยืนยาวแล้ว ยังไม่มีกำหนดแน่นอนอีกด้วย อย่างที่ว่า จะตายวันตายพรุ่งไม่รู้ที่ ทำให้เห็นคุณค่าของเวลาแล้วเกิดความไม่ประมาท กระตือรือร้นเร่งทำกิจหน้าที่ บำเพ็ญคุณความดี และฝึกฝนพัฒนาตนในทุกทาง ให้ชีวิตเป็นอยู่อย่างมีค่า และเข้าถึงจุดหมายที่ประเสริฐ

๒. ให้รู้เท่าทันความจริง ว่า ทรัพย์สินเงินทองโภคสมบัติ ตลอดจนบุคคลที่รักใคร่ยึดถือครอบครองอยู่นั้น หาใช่เป็นของตนแท้จริงไม่ ไม่สามารถป้องกันความตายได้ และตายแล้วก็ตามไปไม่ได้ มีไว้สำหรับใช้บริโภคหรือสัมพันธ์กันในโลกนี้เท่านั้น

ก. ในด้านทรัพย์สินเงินทอง สมบัติพัสถาน จะได้ไม่โลภและสั่งสมจนเกินเหตุ หรือหวงแหนตระหนี่ไว้ให้เป็นเสมือนของสูญเปล่า แต่จะรู้จักจัดสรรใช้สอย ให้เกิดคุณประโยชน์แก่ชีวิตของตน แก่ญาติมิตรและเพื่อนมนุษย์ สมคุณค่าและความหมายที่แท้จริงของมัน

ข. ในด้านบุคคลผู้เป็นที่รัก และคนในความดูแลรับผิดชอบ จะได้ไม่ยึดติดถือมั่นและห่วงหวงเกินไป จนทำให้เกิดทุกข์เกินเหตุ และทำให้จิตใจไม่สงบ กระสับกระส่าย ทุรนทุราย หลงฟั่นเฟือนในยามพลัดพราก นอกจากนั้นยังรู้ตระหนักว่าตนจะไม่อยู่กับเขาตลอดไป ทำให้เอาใจใส่ให้การศึกษาอบรมตระเตรียมคนเหล่านั้นให้รู้จักพึ่งตนเองได้

ค. ในด้านเพื่อนบ้านและคนอื่นทั่วไป จะได้เห็นอกเห็นใจช่วยเหลือสงเคราะห์กัน ถึงแม้มีเรื่องกระทบกระทั่งกัน หรือโกรธแค้นเคืองขุ่น ก็อาจระงับดับได้ เพราะมาได้คิดว่าจะโกรธเคืองกันไปทำไม อีกไม่นานก็จะต้องตายจากกันไป รักกันและทำดีต่อกันไว้ดีกว่า

๓. ให้รู้ตระหนักในหลักความจริง ว่า ทุกคนมีกรรมเป็นของตน มีแต่กรรมเท่านั้นที่เป็นของของตน เป็นสมบัติติดตัวที่แท้จริง ซึ่งจะตามตนไป และตนก็จะต้องไปตามกรรม เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว ก็จะได้เลิกละ และหลีกเว้นกรรมชั่ว ทำแต่กรรมดี ทำการต่างๆ ที่เป็นประโยชน์

การทำใจตระหนักในหลักกรรมนี้ เมื่อถึงคราวพบเห็นหรือเผชิญกับความตายเข้าจริงๆ ก็จะอำนวยผลดีพิเศษให้อีก ดังนี้

ก. เมื่อเผชิญหน้ากับความตายของตนเอง ระลึกถึงกรรมดีที่ได้ทำไว้ และไม่เห็นกรรมชั่วในตัวเอง ก็จะเกิดปีติโสมนัส เผชิญความตายด้วยความสุขสงบ และความมีสติ แม้เมื่อยังไม่ถึงเวลาตาย ก็ดำเนินชีวิตด้วยความมั่นใจ ไม่หวาดหวั่นกลัวภัย และไม่กลัวต่อความตาย

ข. เมื่อเกิดเหตุพลัดพราก มีผู้ตายจากไป ก็จะทำใจได้ทันเวลาหรือเร็วไวกว่า ทุกคนมีกรรมเป็นของตน เขาไปแล้วตามทางของเขา ตามที่กรรมจะนำพาไป การร้องไห้เศร้าโศกเสียใจของเรา ช่วยอะไรเขาไม่ได้ แต่นั้นก็จะไม่เกิดความโศกเศร้า หรือแม้เกิดก็ระงับดับได้ ทำให้จางคลายหายไปโดยไว พร้อมกันนั้น เมื่อตัดใจจากความอาลัยในผู้ตายแล้ว ก็จะได้หันเหความสนใจกลับมาเอาใจใส่ผู้ที่ยังอยู่ ซึ่งถูกทิ้งอยู่เบื้องหลัง ว่า คนเหล่านี้ที่เราช่วยเหลือได้ มีทุกข์โศกอันใดที่ควรจะไปช่วยขจัดปัดเป่า แล้วหันไปช่วยเหลือ อย่างน้อยก็มองกันด้วยสายตาและน้ำใจแห่งความมีเมตตาปรานี เห็นซึ้งว่าคนที่ตายแล้ว ก็จากไปตามทางของเขา เราช่วยอะไรไม่ได้แล้ว แต่คนที่ยังเหลืออยู่นี้ อีกไม่ช้าก็จะต้องจากกันไปอีก ในเวลาที่เหลืออยู่นี้ควรมาเมตตาอารีช่วยเหลือกัน อย่าให้ต้องเสียใจภายหลังอีกว่า โถ เราตั้งใจไว้ แต่ยังไม่ทันได้ทำอะไรให้ เขาก็จากไปเสียอีกแล้ว

๔. ให้ระลึกถึงหลักแห่งธรรมดา ที่ว่า ทุกคนหวาดหวั่นต่อการทำร้าย ทุกคนกลัวต่อความตาย ชีวิตเป็นที่รักของทุกคน เราฉันใด เขาก็ฉันนั้น นึกถึงอกเขาอกเราแล้ว ไม่ควรฆ่าฟันบั่นทอนกัน การระลึกได้อย่างนี้ จะทำให้เห็นอกเห็นใจกัน ไม่เบียดเบียนกัน หันมาช่วยเหลือสงเคราะห์กัน อยู่ร่วมกันและปฏิบัติต่อกันด้วยดี ถึงขั้นที่ว่า ทำกับเขาเหมือนที่คิดจะทำให้แก่ตัวเราเอง หรือทำต่อคนอื่นเหมือนที่อยากให้เขาทำต่อเรา ซึ่งจะเป็นการช่วยกันสร้างสรรค์โลกหรือสังคมนี้ ให้เป็นโลกหรือสังคมแห่งสันติสุข

ในระดับของการมองแบบที่สอง


๕. ให้รู้เท่าทันตามคติแห่งธรรมดา ว่า ชีวิตนี้ตกอยู่ในอำนาจของกฎธรรมชาติ มีความเป็นไปตามธรรมดา ว่าได้เริ่มต้นขึ้นแล้วด้วยการเกิด เมื่อมีการเริ่มต้นแล้วก็จะต้องมีการสิ้นสุด การตายคือการสิ้นสุดของชีวิตที่เกิดแล้วนั้น ดังนั้น เมื่อเกิดแล้วก็จะต้องตาย หรือมีเกิดก็ต้องมีตาย ชีวิตมีเกิด (แก่ เจ็บ) ตาย เป็นธรรมดา ความตายเป็นธรรมดาของชีวิตนั้น นี้คือลักษณะแห่งความเป็นอนิจจัง เขาไปแล้วตามคติแห่งธรรมดานี้ ทุกคนจะต้องเป็นอย่างนี้ ตัวเราเองก็ต้องเป็นอย่างนี้ มันเป็นเรื่องของธรรมดา เป็นเรื่องของอนิจจัง อนิจจังทำหน้าที่ของมันแล้ว จึงไม่สมควรและไม่มีเหตุผลใดๆ ที่จะต้องเศร้าโศกเสียใจ คิดได้อย่างนี้แล้ว ก็จะไม่กลัว และไม่เกิดความทุกข์ หรือถ้าทุกข์เกิดขึ้นแล้ว ก็จะบรรเทาหรือขจัดปัดเป่าไปได้ในเวลาอันรวดเร็ว

๖. ให้หยั่งรู้สภาวะของสังขาร (ก้าวต่อเลยมรณสติไปสู่วิปัสสนา) รู้เท่าทันความจริงทะลุตลอดไปว่า ชีวิตนี้เป็นสังขาร อาศัยองค์ประกอบทั้งหลายมาประชุมกันขึ้น เกิดจากปัจจัยต่างๆ ปรุงแต่ง เป็นของไม่เที่ยง เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป การเกิดและการตายเป็นธรรมดาของชีวิตนั้น ไม่ใช่แต่ชีวิตที่มองเห็นเป็นตัวเป็นตนเท่านั้น แม้แต่องค์ประกอบต่างๆ ทุกส่วนของชีวิต และสิ่งทั้งหลายทั้งปวง ทั้งรูปธรรมและนามธรรม ต่างก็ตกอยู่ภายใต้กฎธรรมดาแห่งความไม่เที่ยงนี้ ทั้งหมดล้วนเกิดขึ้น ดำรงอยู่ แล้วก็ดับสลาย จะปรากฏรูปลักษณ์อย่างไร ก็เป็นไปตามเหตุปัจจัย ไม่เป็นไปตามความอยากความยึดของผู้ใด ใครต้องการจะทำอะไรให้เป็นอย่างไร ก็ต้องทำที่เหตุปัจจัย

เมื่อรู้เข้า ใจเท่าทันความเป็นจริงอย่างนี้แล้ว ก็จะหลุดลอยพ้นออกมาจากความยึดติดถือมั่นในสิ่งทั้งหลาย จิตใจจะเป็นอิสระ ปลอดโปร่งโล่งเบา ผ่องใสสว่างด้วยปัญญา เป็นอยู่ด้วยปัญญา และทำการต่างๆ ด้วยปัญญา เป็นสุขเบิกบานใจได้ทุกเวลา อยู่พ้นเหนือความทุกข์ บรรลุอิสรภาพและสันติสุขที่แท้จริง ผู้ที่สำเร็จผลของการมองชีวิตแบบที่หนึ่ง จะมีท่าทีต่อความตาย ตามแนวแห่งพุทธศาสนสุภาษิตที่ว่า

“ข้าพเจ้าไม่มีความชั่วที่ทำไว้ ณ ที่ไหนๆ เลย ฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่หวั่นกลัวความตายที่จะมาถึง”
(ขุ.ชา.๒๘/๑๐๐๐/๓๕๐)

“ตั้งอยู่ในธรรมแล้ว ไม่ต้องกลัวปรโลก”
(สํ.ส.๑๕/๒๐๘/๕๙)

ส่วน ท่านที่ประจักษ์แจ้งสมบูรณ์ในการมองชีวิตตามแบบที่สอง จะมีท่าทีต่อชีวิตและความตาย ตามนัยแห่งธรรมภาษิตที่ว่า “จะ มีชีวิตอยู่ ก็ไม่เดือดร้อน ถึงจะตายก็ไม่เศร้าสร้อย ถ้าเป็นปราชญ์ มองเห็นที่หมายแล้ว ถึงอยู่ท่ามกลางความเศร้าโศก ก็หาเศร้าโศกไม่”
(ขุ.อุ.๒๕/๑๐๘/๑๔๒)

“ความ ตายเราก็มิได้ชื่นชอบ ชีวิตเราก็มิได้ติดใจ เราจักทอดทิ้งกายนี้อย่างมีสัมปชัญญะ มีสติมั่น; ความตายเราก็มิได้ชื่นชอบ ชีวิตเราก็มิได้ติดใจ เรารอท่าเวลา เหมือนคนรับจ้างทำงานเสร็จแล้ว รอรับค่าจ้าง”
(ขุ.เถร.๒๖/๓๙๖/๔๐๓)



หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มีนาคม 14, 2012, 08:13:41 PM
โพธิธรรมคำสอน (ปรมาจารย์ตั๊ก ม้อ)


(http://www.jaowka.com/wp-content/uploads/2012/03/0130.jpg)

''ถ้ามี อสรพิษทั้ง 3 อยู่ในจิตของท่าน ท่านก็ตกอยู่ใน

ดินแดนแห่ง ความสกปรกเมื่ออสรพิษทั้งสาม ( ความโลภ โกรธ หลง )

ออกไปจากจิตของท่าน ท่านก็อยู่ในดินแดนแห่งความบริสุทธิ์ สะอาด

พระสูตรกล่าวว่า “ ถ้าท่านอยู่ในดินแดนที่มีแต่ความ สกปรก พุทธ

ภาวะ ก็ไม่ปรากฏ ,ความเศร้าหมองและความสกปรก หมายถึง ความ

หลงและ กิเลส อันเป็นอสรพิษร้าย ,พุทธะ หมายถึง จิตที่สะอาด สว่าง สงบ ”


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: nokeang ที่ มีนาคม 16, 2012, 09:39:39 PM
http://youtu.be/2c6JMoK40qU (http://youtu.be/2c6JMoK40qU)


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มีนาคม 23, 2012, 07:32:29 AM
ยอมรับความจริง

(http://www.jaowka.com/wp-content/uploads/2012/03/junjaowka-20.jpg)



หัดยอมรับความจริง และอยู่กับความจริง
สิ่งใดเกิดก็รู้ว่าเกิด ไม่ใช่ไปทำให้มันเกิด
สิ่งใดดับก็รู้ว่าดับ ไม่ใช่ไปทำให้มันดับ


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มีนาคม 23, 2012, 07:38:47 AM
ความเป็นมนุษย์ เป็นลาภอันสูงสุดในชาตินี้


(http://www.jaowka.com/wp-content/uploads/2012/03/0014.jpg)


ความเป็นมนุษย์ เป็นลาภอันสูงสุดในชาตินี้


สิ่ง ที่แก้ตัวไม่ได้ในปัจจุบันได้แก่การเกิด คือการเกิดมาแล้วจะเป็นสัตว์หรือเป็นมนุษย์ย่อมแก้ไขไม่ได้ ในชาติหนึ่งๆ เหมือนสอบ ไล่ชั้นนั้นๆ เมื่อสอบตกในขณะนั้นแล้ว จะขอสอบแก้ตัวใหม่ย่อมไม่ได้ ต้องเรียนต่อไปอีกจนมีภูมิความรู้ควรจะสอบและโอกาสอำนวยแล้ว จึงจะสอบได้อีก ถ้าสอบได้ก็เลื่อนชั้นขึ้นไป

เราเกิดมาเป็นมนุษย์และสัตว์ จะถูกหรือผิดก็เกิดมาแล้วเป็นสัตว์ประเภทใดก็เป็นเต็มที่ เป็นคนชั้นไหนก็เป็นคนเต็มที่ ถ้าขาดตกบกพร่อง อวัยวะส่วนใดขาดเต็มที่ จะแก้ไขรูปร่างและส่วนบกพร่องของอวัยวะให้สมบูรณ์ก็แก้ไขไม่ได้ ถ้าเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยอวัยวะก็เป็นเต็มที่ สิ่งเหล่านี้ถ้าส่วนใดบกพร่อง ย่อมแก้ไขลำบาก ไม่เหมือนเครื่องอะไหล่ ของเครื่องจักรเครื่องยนต์ ซึ่งมีขนาดพอหาซื้อได้ ในห้างร้านต่างๆ เพราะสิ่งเหล่านี้มีไว้เป็นสินค้าทั่วๆไป ไม่เหมือนอวัยวะ ของคนและสัตว์ซึ่งเป็นอวัยวะที่จำเป็นและเป็นสิ่งจำเพาะ แม้จะมีสำรองอยู่บ้างก็เป็นสิ่งปลอมแปลง ไม่เหมือนธรรมชาติดั้งเดิมแท้ และใช้ก็ไม่ดีและมั่นคงเหมือนอวัยวะเดิม

เพราะฉะนั้น ท่านจึงไม่ให้ประมาทในคุณค่าแห่งการเกิดของตน กำเนิด ที่ต่ำเช่นสัตว์มีมากเหลือประมาณ ไปที่ไหนเจอแต่สัตว์ ในน้ำก็มี บนบกก็มี บนต้นไม้ ชายเขา ใต้ดิน บนอากาศ มีเกลื่อนไปหมด เพราะกำเนิดต่ำ สัตว์เกิดได้ง่าย แต่มนุษย์เราเกิดยากกว่าสัตว์ ฉะนั้น ความเป็นมนุษย์จึงเป็นลาภอันสูงสุดในชาตินี้

คำว่า “มนุษย์สมบัติ” จึงหมายเอาอวัยวะที่สมบูรณ์ประจำชาติของมนุษย์ไม่บกพร่องส่วนต่างๆ ของร่างกายและวิกลจริต  ส่วนสมบัติตามมาทีหลังนั้นเป็นส่วนหนึ่งต่างหากจากมนุษย์สมบัติอันแท้จริง ไม่เป็นของจำเป็นยิ่งกว่าความมีอวัยวะอันสมบูรณ์ เป็นต้น อวัยวะสมบัตินี้เป็นสมบัติก้นถุงแท้ คือเป็นทุนที่จะให้บำเพ็ญประโยชน์ในทางโลกและทางธรรมได้ตามความปรารถนา ทั้งเป็นเครื่องมืออันดีเยี่ยมในการสร้างโลกและสร้างธรรม เพื่อสวรรค์สมบัติและนิพพานสมบัติ เพราะเป็นศูนย์กลางแห่งภพชาติทั้งมวล สามารถสร้างตัวให้ดีเด่นได้ทั้งทางโลก ทางธรรม ผู้ทำตัวให้ต่ำลงไป จนเป็นที่ดูถูกเหยียดหยามของเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน เนื่องจากการดัดแปลงตัวเองไปในทางผิด โดยมีความคิดผิดเป็นเจ้าเรือน ผู้จะทำตัวให้ดีและเด่นขึ้นเป็นลำดับ จำต้องดัดแปลงตัวเองให้ถูกทาง ผลย่อมเป็นความสุขความเจริญคืบหน้าตามลำดับแห่งเหตุที่ทำไว้ดีแล้ว ไม่ว่าวันนี้วันหน้า ชาตินี้ชาติหน้า ความสุขความเจริญต้องอาศัยผลที่เราทำจากคนคนเดียวนี้แล เป็นเครื่องตามสนองในภพนั้นๆ

ด้วยเหตุนี้ ความเป็นมนุษย์จึงอยู่ในความนิยมของโลก ว่าเป็นภพชาติที่สูงและเป็นที่รวมแห่งความดีทั้งปวงไว้ด้วย เช่น พระศาสนา เครื่องหล่อหลอมมนุษย์ให้เป็นคนดีก็รวมอยู่ที่นี่ แม้พระพุทธศาสนาซึ่งเป็นศาสนาที่เยี่ยมด้วยเหตุผลก็มีอยู่กับมนุษย์เรา พระพุทธเจ้าก็มาตรัสรู้ในแดนแห่งมนุษย์เรานี้ พระสาวกเกิดเป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์แล้ว จึงสามารถปฏิบัติธรรมจนได้ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้า ฉะนั้น ความเป็นมนุษย์จึงเป็นผู้มีภาชนะอันดีสำหรับรับรอง ทั้งกองสมบัติเงินทองของมีค่าในโลก ทั้งโลกุตรภูมิสมบัติ จึงควรภาคภูมิใจในบุญวาสนาของตนที่พบพระพุทธศาสนา อันเป็นศาสนาที่บริสุทธิ์ทั้งเหตุทั้งผล

การกล่าวทั้งนี้มิ ได้ตำหนิศาสนาใดๆ ว่าไม่ดี เพราะศาสนาใดก็ดีด้วยกัน เนื่องจากไม่ได้สอนคนให้ชั่ว แต่ความดีนั้นมีสูงต่ำต่างกัน คุณภาพของศาสนาจึงต่างกัน พระพุทธศาสนานี้สามารถสอนคนให้เป็นคนดีเยี่ยมได้ ทั้งความประพฤติและความรู้ความเห็นภายในใจ จนกลายเป็นใจวิเศษและอัศจรรย์เหนือใจสามัญธรรมดา เพราะการอบรมจากธรรมของจริงอย่างประเสริฐ คือพระพุทธศาสนา

ฉะนั้น จึงควรเห็นคุณค่าในตัวเราและชีวิตจิตใจซึ่งครองตัวอยู่ขณะนี้ พยายามอบรมดัดแปลงวิถีทางเดินของชีวิตและจิตใจให้เป็นไปด้วยความสม่ำเสมอและ ราบรื่น ทั้งทางโลกและทางธรรม จะมีความสุขกายสุขใจ อยู่ในโลกนี้ก็เห็นประจักษ์ใจ ถ้ามีธรรมเครื่องดัดแปลงให้ถูกทางจะไปโลกหน้าก็คือใจดวงกำลังดัดแปลงอยู่ ณ บัด นี้ จะเป็นผู้พาไป ไม่มีสิ่งใดจะไปโลกหน้าได้ นอกจากจิตดวงเดียวซึ่งเป็นของละเอียดยิ่งนี้เท่านั้น

เราทุก ท่านต่างก็เป็นนายช่างผู้ฝึกฝนอบรมตนอย่างไรจะเป็นที่มั่นใจ โปรดกระทำลงไปจนสุดความสามารถในขณะมีชีวิตอยู่ ถ้าชีวิตหาไม่แล้วจะสุดวิสัย เพราะร่างกายแตกสลาย ต้องหมดทางเดินทันทีที่ชีวิตสิ้นสุดลง การบำเพ็ญความดีทุกประเภทเป็นต้นว่าเคยบำเพ็ญทาน รักษาศีล และเจริญภาวนาก็ทำต่อไปอีกไม่ได้ ทำให้ขาดไปเสียทุกอย่าง

เรา จึงไม่ควรเห็นสิ่งใดว่าเป็นของมีคุณค่ายิ่งกว่าใจ ซึ่งกำลังรับผิดชอบในสมบัติทุกสิ่งอยู่เวลานี้ แม้เราจะเสาะแสวงหาสิ่งใดมาเพื่อบำบัดร่างกายและจิตใจให้มีความสุขเท่าที่ ควรจะเป็นได้ แต่เราอย่าลืมตัวถึงกับได้ผิดพลาดไปกับสิ่งนั้นๆ จนถอนตัวไม่ขึ้น เพราะอำนาจความอยากเป็นเจ้าของเรือนใจ ถ้าได้รับการอบรมอยู่เสมอ อย่างไรก็ไม่ตกต่ำและถอยหลังมาสู่ความทุกข์และความต่ำทรามต่างๆ ที่ไม่พึงปรารถนา จะก้าวไปทีละเล็กละน้อย และก้าวไปเสมอจนถึงจุดประสงค์จนได้

ผู้มีความเจริญรุ่งเรือง ทั้งทรัพย์ภายนอกและทรัพย์ภายใน คือคุณสมบัติของใจ ท่านเจริญรุ่งเรืองได้เพราะการฝึกฝนดัดแปลง อย่าเข้าใจว่าเป็นไปจากเหตุอื่นใดทั้งสิ้น เพราะกายวาจาใจเป็นสิ่งอบรมดัดแปลงได้ด้วยกัน ไม่เช่นนั้น จะหาคนดีคนฉลาดไม่ได้ในโลกมนุษย์เรา และจะไม่ผิดอะไรกับสัตว์ที่มิได้ฝึกหัดดัดแปลงเลย สิ่งที่จะทำให้คนดีคนชั่วได้จึงขึ้นอยู่กับการฝึกหัดดัดแปลงตัวเอง ตามใจชอบ ผลก็กลายเป็นคนดีคนชั่ว และสุขทุกข์ขึ้นมาเป็นเงาตามตัว

ฉะนั้น การไม่ปล่อยตัว คือให้อยู่ในกรอบของการสังเกตสอดรู้ของตัวเสมอ นั่นแลเป็นทางเจริญก้าวหน้า ผู้ชอบความเจริญก้าวหน้าจงเป็นผู้สงวนตน

อนึ่ง ธรรมเครื่องขัดเกลามนุษย์และสัตว์ให้เป็นคนดีและสัตว์ดีตามฐานะของตนนั้น มีอยู่กับทุกคน ไม่ว่านักบวชและฆราวาสหญิงชาย ขึ้นอยู่กับความขยันหมั่นเพียร ความอดทน ความดีความชั่วขึ้นอยู่กับตัวผู้ชอบทำ ทำที่ไหนก็ได้ ไม่นิยมว่าในบ้านนอกบ้าน ในวัดนอกวัด ในน้ำ บนบก เพราะต้นเหตุความดีและชั่ว มันอยู่กับตัวของผู้ทำ ไม่ได้อยู่ที่อื่นใดทั้งนั้น

 

 

โดย พระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตามหาบัว)


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มีนาคม 24, 2012, 09:21:42 PM
โลกก็เหมือนสะพาน

(http://www.jaowka.com/wp-content/uploads/2012/03/junjaowka-18.jpg)



หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มีนาคม 24, 2012, 09:22:36 PM
ลงมือทำดีกว่าพูด


(http://www.jaowka.com/wp-content/uploads/2012/03/junjaowka-17.jpg)


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มีนาคม 24, 2012, 09:23:31 PM
การคาดหวัง


(http://www.jaowka.com/wp-content/uploads/2012/03/01109.jpg)


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มีนาคม 28, 2012, 09:44:43 PM
สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม

(http://www.jaowka.com/wp-content/uploads/2012/03/junjaowka-36.jpg)


เรียนรู้ธรรมะจาก…พุทธศาสนสุภาษิต ( 14 )

กมฺมุนา  วตฺตตี  โลโก  ( อ่านว่า กำมุนา วัดตะตี โลโก )  :  สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม   

                                                                                                                             โดย…มรรคาสามัญ

          สัตว์โลกทุกชนิดมีกรรมเป็นของตน คนทำดีเป็นเหตุ ก็จะได้รับผลดีตามมา อย่างแน่นอน  ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้  ตรง กันข้าม คนทำชั่วเป็นเหตุ ก็จะได้รับผลชั่วอย่างแน่นอน ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ กรรมหรือการกระทำของแต่ละคนจะติดตามตัวของผู้กระทำไป เหมือนล้อเกวียนหมุนไปตามรอยเท้าโค  เป็นไปตาม  กฎแห่งกรรม  ที่ว่า  ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว อย่างน้อยก็ในใจของผู้ทำ

          บุคคล หว่านพืชเช่นใดย่อมได้รับผลเช่นนั้น การกระทำ (กรรม) เปรียบเหมือนการหว่านพืชลงดิน เช่น หว่านเมล็ดพริกลงดิน ย่อมได้ต้นพริกและผลพริกอย่างไม่มีวันเป็นอื่นไปได้ กล่าวง่าย ๆ

คือหว่านเมล็กพริกคงไม่เกิดเป็นต้นมะเขืออย่างแน่นอน  ย่อมได้พริกอย่างไม่ต้องสงสัย

การกระทำ (กรรม) ของสัตว์โลกก็เช่นกัน  ย่อมขึ้นอยู่กับกรรม (การกระทำ) ที่เป็นสาเหตุว่าทำดีหรือทำชั่ว  ถ้าทำดีเป็นสาเหตุ ก็จะไดผลดี  ทำชั่วเป็นเหตุก็จะได้ผลชั่ว  ดังพุทธศาสนสุภาษิตที่ว่า   กมฺมุนา  วตฺตตี  โลโก    :  สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม



หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มีนาคม 28, 2012, 09:57:29 PM
คำสอนหลวงพ่อชา สุภทฺโท


(http://www.jaowka.com/wp-content/uploads/2012/03/junjaowka-40.jpg)

กินน้อย นอนน้อย พูดน้อย คือนักปฏิบัติ
กินมาก นอนมาก พูดมาก คือคนโง่


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มีนาคม 28, 2012, 09:58:49 PM
คำสอนของหลวงพ่อจรัญฯ

(http://www.jaowka.com/wp-content/uploads/2012/03/P-17.jpg)

“คนเราควรมีจุดมุ่งหมายของชีวิต ควรที่จะอยู่ด้วยปัญญา อย่าอยู่ด้วยตัณหา เราต้องหาคำตอบให้ได้ว่าชีวิตคนเรานั้นเกิดมาเพื่ออะไรกันแน่ เราควรสร้างสิ่งดีงาม ทำชีวิตให้ดีงาม อย่าหลง อย่ายึดติด ถ้าเรารู้จักฝึกจิตให้คุ้นชินกับความดีงาม การทำเรื่องดีงามก็จะไม่ใช่เรื่องยาก ดังคำที่ว่า ‘ถ้าเคยจะไม่ยาก’ “


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ เมษายน 01, 2012, 02:53:19 PM
จังหวะชีวิต


(http://variety.teenee.com/saladharm/img9/128372.jpg)



ถาม : การที่เราจะได้ไม่ได้…ขึ้นอยู่กับจังหวะชีวิตด้วยหรือเปล่าคะ ?

ตอบ : ขึ้นอยู่กับจังหวะ ถ้าหากว่าจังหวะไหนกุศลส่งอะไรก็ง่ายไปหมด ถ้าหากว่าเป็นช่วงอกุศลคือความไม่ดีที่เราทำไว้เข้ามา อะไรเข้ามาก็สะดุดติดขัดไปหมด

จำเอาไว้ว่า เราเกิดเป็นมนุษย์ ต้นทุนเราพอแล้ว บุญเราต้องทำมาพอสมควรทีเดียวถึงได้เกิดเป็นมนุษย์ได้ ใน เมื่อบุญเราทำมาพอสมควรแล้วก็อย่าประมาท ต้องรีบเร่งทำไปให้มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะตัวที่ไม่เสียอะไรเลย ก็คือศีลกับภาวนา รักษาศีลให้ปกติ ภาวนาเจริญสมาธิให้เป็นปกติ พวกนี้จะเป็นบุญใหญ่ กำลังสูงมาก

ถ้า หากว่าเราให้ทานอย่างเดียว คือเสียทรัพย์เสียของ แต่ศีลกับภาวนาเราไม่ต้องเสียอะไรเลย เป็นบุญใหญ่ที่ง่ายที่สุด บุญกุศลพวกนี้ที่จะตามส่งผลให้กับเรา ถ้าจะมีเคราะห์กรรมอะไรเนื่องด้วยสิ่งไม่ดีเก่าๆ ที่เราทำมา ถ้าเราเป็นผู้มั่นคงใน ทาน ศีล ภาวนา สิ่งทั้งหลายเหล่านั้นจะตามสนองเราได้ไม่ถึง ๒๕ เปอร์เซ็นต์ เต็มที่ก็ได้แค่ ๑ ใน ๔ เท่านั้น อีก ๓ ส่วน อานุภาพของทาน ศีล ภาวนากันไว้เรียบร้อยแล้ว

สนทนากับพระอาจารย์เล็ก สุธมฺมปญฺโญ
ณ บ้านอนุสาวรีย์ฯ เดือนเมษายน พุทธศักราช ๒๕๔๕


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ เมษายน 01, 2012, 02:55:33 PM
ทุกข์ ๕ ประการของผู้หญิง

(http://variety.teenee.com/saladharm/img2/128430.jpg)

เรื่องของผู้หญิง พระพุทธเจ้า ตรัสว่า ผู้หญิงมีความทุกข์มากกว่าผู้ชาย ๕ ประการ ได้แก่

๑. ต้องมีระดู (ประจำเดือน)

๒. ต้องตั้งครรภ์

๓.ต้องคลอดบุตร

๔.ต้องบำเรอสามี

๕. ต้องดูแลญาติของสามี

เพราะฉะนั้น..ถ้าผู้หญิงไม่แต่งงาน ความทุกข์ลดไปหลายอย่าง เหลืออยู่อย่างเดียวที่เป็นธรรมชาติที่แก้ไขไม่ได้ ก็คือ ต้องมีระดู

แต่ ในเรื่องของครอบครัว หนักนิดเบาหน่อยก็จะต้องมีกระทบกระทั่งเป็นธรรมดา เพราะว่าไม่ใช่พระอริยเจ้าอย่างพระสกิทาคามี การกระทบก็ยังแรงอยู่ เหมือนลิ้นกับฟัน จะมากจะน้อยก็ต้องมีปัญหา

พระพุทธเจ้าจึงได้ตรัส สมชีวิธรรม ว่า บุคคลที่จะแต่งงานเป็นครอบครัวเดียวกัน ต้องมี ศรัทธา เสมอกัน มี ศีล เสมอกัน มี ปัญญา เสมอกัน มี การบริจาค เสมอกัน เป็นต้น

อย่าง โบราณเขาบอกว่า ผัวเทวดาก็ต้องเมียนางฟ้า ถ้าผัวเทวดาแต่เมียเป็นนางยักษ์ก็ไปกันไม่ได้ ถ้าผัวเทวดามีเมียมนุษย์ไปกันได้ แต่ก็ไม่เสมอกันอยู่ดี

สนทนากับพระครูธรรมธรเล็ก สุธมฺมปญฺโญ
เก็บตกบ้านอนุสาวรีย์ ต้นเดือนธันวาคม ๒๕๕๓



หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ เมษายน 13, 2012, 08:19:43 AM
โทษของการเป็นคนลวงโลก

(http://variety.teenee.com/saladharm/img3/128913.jpg)


หนังสือ – ผิดที่ไม่รู้
๑) ทุกข์ทางใจ

จิต ที่เป็น ปกติสุขไม่อาจคิดพูดโกหกมดเท็จ การจะโกหกมดเท็จได้ต้องใช้จิตที่เป็นทุกข์เท่านั้น เพราะไหนจะต้องพยายามแต่งเรื่องขึ้นใหม่ ไหนจะต้องออกแรงบิดความจริงอันเป็นสิ่งยิ่งใหญ่ด้วยปากอันเล็กกระจ้อยร่อย แม้แต่การกลับซ้ายให้กลายเป็นขวาเพียงนิดเดียว ก็อาจพาคนหลงตามคำหลอกของเราไปลงเหวได้แล้ว ทุกคำมุสาที่นึกว่าเล็กน้อย จึงอาจก่อมหันตภัยใหญ่หลวงเกินกว่าจะคาดเดาได้

การ รู้ตัวว่าโดนหลอก เป็นความทุกข์ของผู้ถูกหลอก ถ้าเราเป็นคนหลอกเขา ใจเราจะเป็นสุขไปได้อย่างไร การสังเกตเข้ามาในตนเองจะทำให้เห็นทุกข์เป็นขณะ ๆ อย่างชัดเจน

ทุกข์ เริ่มต้นตั้งแต่เมื่ออยากหลอกลวงให้คนอื่นหลงเชื่อ สังเกตเข้ามาในตนเอง จะรู้สึกถึงความฝืดฝืน นั่นเพราะธรรมชาติของความจริงมีเหตุมีผล การอยากโกหกก็คือการอยากทำลายเหตุผล ซึ่งค้านกันกับสำนึกแบบมนุษย์ที่ต้องการเหตุผลตามจริง

ทุกข์จะทวีตัว ขึ้นเมื่อตัดสินใจหลอกลวงให้คนอื่นหลงเชื่อ สังเกตเข้ามาในตนเอง จะเห็นเหมือนใจถูกคลุมไว้ด้วยฝ้าหมอกมายา นั่นเพราะการตั้งใจแต่งเรื่องหลอกคนอื่น ก็คือการพลิกเอาตัวเองออกจากความจริงอันสว่างไปสู่ความเท็จอันมืด จึงไม่มีทางที่ใจจะสดใสโปร่งโล่งไปได้

ทุกข์จะทวีตัวขึ้นอีกเมื่อ พยายามคิดคำลวงให้คนอื่นหลงเชื่อ สังเกตเข้ามาในตนเอง จะเห็นคล้ายมีตัวเราที่รูปร่างหน้าตาแตกต่างไปจากเดิมกำลังดิ้นพล่าน พยายามจินตนาการจับต้นชนปลายความจริงกับความเท็จให้ต่อกันติด ที่มโนภาพของตัวเราแตกต่างจากเดิม ราวกับแปลกไปไม่ใช่ตัวเรา ก็เพราะขณะจิตนั้นเราไม่เป็นตัวของตัวเอง ไม่ใช่ตัวจริงตามที่กำลังเป็น

ทุกข์ จะทวีตัวขึ้นถึงขีดสุดเมื่อต้องฝืนขยับปากหลอกลวงคนอื่นให้หลงเชื่อ สังเกตเข้ามาในตนเอง จะเห็นการออกแรงเค้นคำ แตกต่างจากเมื่อพูดความจริงอย่างสบายอารมณ์ นั่นเพราะเรารู้ว่าความจริงเป็นเส้นตรง แต่จะอาศัยปากของเราเข้าไปดัดเส้นตรงนั้นให้เบี้ยวบิดผิดรูป แน่นอนว่าจิตใจและปากคอของเราย่อมเบี้ยวบิดผิดตามไปด้วย ไม่อาจตรงอยู่ได้

ทุกข์ จะไม่จบโดยง่ายแม้เมื่อหลอกลวงให้คนอื่นหลงเชื่อได้สำเร็จ สังเกตเข้ามาในตนเอง จะเห็นเป็นความรู้สึกเหมือนมีสองภาค ภาค หนึ่งรู้ความจริง อีกภาคหนึ่งรู้ว่ามีความลวงซ้อนความจริงขึ้นมา อีกทั้งต้องคอยปกปิดให้ดี ยิ่งภาคแห่งความลวงหนาขึ้นกลบภาคแห่งความจริงมากขึ้นเท่าใด เราจะยิ่งรู้สึกคล้ายเกิดหน้ากากปิดบังหน้าตาของตนมากขึ้นเท่านั้น จนวันหนึ่งส่องกระจกเงาแล้วอาจรู้สึกครึ่งจริงครึ่งฝัน ถามตัวเองว่านี่ใบหน้าของเราแน่หรือ?

ในทางปฏิบัติแล้ว การหลอกคนได้มักทำให้ภูมิใจ เพราะหลงนึกว่าตัวเองฉลาด และเห็นว่าคนอื่นโง่ ดังนั้น ทุกข์ที่เกิดจากการฝึกเป็นนักแต่งเรื่องจึงไม่ปรากฏชัดในช่วงต้นวัย ต่อเมื่อหลอกคนอื่นจนกระทั่งจิตทำงานเป็นอัตโนมัติ คล้ายหลอกได้แม้กระทั่งตัวเองให้เชื่ออะไรผิด ๆ หลงตัดสินใจโง่ ๆ และด้วยเหตุนี้เอง เราจึงตระหนักว่าที่สุดของการเป็นคนลวงโลก ก็คือการพาตัวเองไปอยู่ในอีกโลกหนึ่ง ที่เต็มไปด้วยความทุกข์ร้อนจากการไม่รู้จักตนเองเสียแล้ว


(http://www.baanlaesuan.com/plantlover/Webboard/images_board/reply_Q131A4.jpg)

๒) การสั่งสมบาป
เมื่อ ทราบแล้วว่าความมืดเป็นเครื่องหมายของบาป เราก็สามารถสำรวจใจตนเองแล้วทราบได้ว่าการโกหกเป็นบาป เพราะไม่มีการโกหกครั้งใดที่ทำให้จิตของเราสว่างขึ้น มีแต่จะหม่นหมองลง กับทั้งไม่มีแก่ใจคิดอะไรในทางดี ในทางที่เจริญเอาเลย

แรงผลักดันให้ โกหกได้เต็มปากเต็มคำคือโลภะ โลภะต้องชนะความอยากสบายใจ จึงขับให้เราก่อบาปด้วยการหลอกลวง แท้จริงมนุษย์เราต้องการความสบายใจเหนือสิ่งอื่นใด แต่เพราะอยากได้สิ่งที่ต้องการมากเกินไป หรือจำต้องเห็นแก่สิ่งอื่นยิ่งไปกว่าใจตน จึงยอมทำลายความสบายใจด้วยการพูดคำเท็จ

ที่น่ากลัวก็คือบาปสามารถ สั่งสมตัวได้ นั่น หมายความว่ายิ่งโกหกมากขึ้นเท่าไร ใจก็ยิ่งอึดอัดทรมานมากขึ้นเท่านั้น มองไปทางไหนความจริงทั้งหลายดูน่าบิดเบือนให้ผิดจากเดิมไปหมด

แม้ ขยับปากเอาตัวรอดหรือสร้างภาพให้ดูดี เช่น คนที่บ้านถามว่าไปไหนมา ความจริงเราไปสังสรรค์เฮฮากับเพื่อนฝูง แต่เราไพล่พูดโกหกว่าไปช่วยงานสำคัญที่นั่นที่นี่ ปากของเราก็ได้ชื่อว่าเป็นเครื่องดัดจิตให้เบี้ยวบิดผิดรูปแล้ว เพียงคำลวงเล็ก ๆ ก็จุดชนวนความคิดไม่ตรงไปตรงมาได้ ต่อไปเมื่อต้องตอบแบบเสียภาพลักษณ์นิดเดียว ระบบความคิดของเราจะพยายามสร้างคำพูดไปในทางรักษาภาพทันที โดยไม่คำนึงว่าภาพดี ๆ จะมีความจริงปนอยู่ด้วยมากน้อยเพียงใด

ความ คิดในทางปั้นน้ำเป็นตัวจะลดความฉลาดในการอธิบายให้คนเข้าใจความจริง ทั้งที่พูดความจริงโดยไม่ต้องให้คนฟังเสียความรู้สึกก็ได้ แต่เพราะมัวไปเชื่ออยู่ว่าขืนพูดความจริงก็พังเท่านั้น เลยเท่ากับปิดโอกาสฝึกใจให้ซื่อ ฝึกคิดให้ฉลาด น้อยคนจึงสามารถพูดแบบให้เกิดเรื่องดี ๆ โดยไม่ต้องแต่งเรื่องหลอก ๆ ขึ้นมา

ฉะนั้น เพียงไม่ตั้งใจไว้ก่อนว่าจะเว้นขาดจากการโกหก ก็นับว่ามีโทษแล้ว เพราะเมื่อถูกตั้งเงื่อนไขให้เกิดโลภะอย่างแรงกล้า  ความอยากสบายใจก็ลดระดับแทบไม่เหลือ ยังผลให้สติพร่าเลือนลง เปิดช่องให้โลภะเข้าครอบงำจนโง่เขลา หลงนึกว่าบาปแห่งการโกหกเป็นสิ่งสมควรทำยิ่งกว่าบุญแห่งการพูดความจริงให้ เกิดประโยชน์

๓) ความเป็นอยู่ที่เลวร้าย

ไม่ มีความ รู้สึกอึดอัดอันใดย่ำแย่ไปกว่าความรู้สึกอึดอัดอันเกิดจากการโกหก เพราะบาปข้ออื่นยังทำลงไปแบบมีเหตุผลให้โล่งใจกันได้ เช่น เราอาจฆ่าโจรโฉดตามหน้าที่ของตำรวจ เราอาจโกงใครเพราะเขาโกงก่อน เราอาจกินเหล้าเพื่อไม่ให้คนรินเสียใจ แต่ถ้าต้องฝืนใจโกหกครั้งหนึ่ง เราก็ต้องฝืนทำตัวเป็นปฏิปักษ์กับความจริงอันเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่หนึ่งครั้ง เมื่อสั่งสมมากแล้ว ในที่สุดทั้งอกทั้งใจก็เต็มแน่นไปด้วยความอึดอัดครัดเครียด และสับสนอยู่กับตนเองว่าอันไหนจริงอันไหนเท็จ อันไหนตื่นอันไหนฝัน เห็นความจริงเป็นสิ่งไม่น่าเชื่อ กับทั้งมีนิสัยดื้อด้าน ไม่ยอมรับความจริงอย่างน่าสลดสังเวชได้

เมื่อบาปจากการการโกหกถูก สั่งสมมากแล้ว คนโกหกย่อมเลื่อนฐานะเป็นคนลวงโลก ดูเผิน ๆ เหมือนโกหกได้หน้าตาย คิดแต่งเรื่องได้เป็นตุเป็นตะในเวลาอันรวดเร็ว หลอกได้แม้กระทั่งเครื่องจับเท็จ ซึ่งสะท้อนว่าสามารถสะกดจิตตัวเองให้สำคัญไปว่ากำลังพูดเรื่องจริงอย่างเป็น ธรรมชาติ แต่นั่นแหละคือความผิดธรรมชาติอย่างใหญ่หลวง จนก่อให้เกิดกระแสในตัวที่น่าระแวง ไม่ชวนให้อยากคบ อยู่ใกล้แล้วอึดอัด เหมือนอีกาที่ซื่อกับใครไม่เป็น หรือเหมือนลิงที่พร้อมจะล้อเลียนเราทั้งต่อหน้าและลับหลัง

การโกหก หลอกลวงแต่ละครั้งคือการบิดเบือนความจริง ซึ่งก็มีผลสะท้อนให้ความจริงของเราบิดเบี้ยวไปด้วย อาจจะในรูปของการโดนใส่ไคล้ หรืออาจจะในรูปของการถูกเข้าใจผิด คิดให้ดีก็สมกันแล้ว ไม่มีทางที่เราจะบังคับใครต่อใครให้พูดถึงเราตรงตามความจริงไปทั้งหมด เท่า ๆ กับที่เราเองก็ไม่ได้พูดถึงตัวเองตรงตามจริงทุกครั้ง เช่นที่เป็นกันมากคือโกหกเพื่อรักษาหน้า ไม่ยอมรับผิด เป็นต้น

จิต ของคนลวงโลกย่อมมีความบิดเบี้ยว กลับกลอกไปมา แม้แต่เจ้าตัวเองก็ควบคุมไม่ได้ว่าจะให้ชอบอะไรหรือรักใคร คล้ายตกอยู่ในห้วงฝันหลอนที่โยกเยกไหวเอนอยู่เกือบตลอดเวลา

จิต ที่ บิดเบี้ยวย่อมเหมาะกับภพใหม่ที่เบี้ยวบิด เต็มไปด้วยความหลอกหลอนให้ผิดหวัง วันนี้นึกว่าดี พรุ่งนี้กลายเป็นร้ายให้ช้ำใจ น่าอึดอัดระอา ถ้ายังมีวาสนาพอจะเกิดใหม่ในโลกมนุษย์ ก็ย่อมตกอยู่ในภาวะผันผวนไม่แน่นอนอย่างรุนแรง

หากตายเยี่ยงคนลวงโลก ผู้ยังไม่อิ่มไม่พอกับการปั้นน้ำเป็นตัว แต่ยังพอมีบุญพยุงไม่ให้ร่วงหล่นถึงนรก ก็อาจไปเสวยภพของพวกหาสัจจะได้ยากในระดับเดรัจฉานภูมิ เช่น อีกา หรือลิงป่าบางจำพวก เป็นต้น

แต่หาก ตายเยี่ยงคนลวงโลกที่ดีแต่เยาะ หยัน เห็นคนอื่นโง่กว่าตนเสมอ ก็จัดว่ามีความเหมาะกับสภาพความเป็นอยู่ที่ถูกกดขี่อย่างน่าสะพรึงกลัว ดังเช่นนรกภูมิสถานเดียว


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ เมษายน 13, 2012, 08:22:23 AM

(http://www.jaowka.com/wp-content/uploads/2012/04/junjaowka-73.jpg)


(http://www.jaowka.com/wp-content/uploads/2012/04/junjaowka-90.jpg)




หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ เมษายน 16, 2012, 10:01:42 PM
อภัย



(http://www.jaowka.com/wp-content/uploads/2012/04/junjaowka-89.jpg)


ไม่มีวิธีใดจะแก้แค้นได้ศักดิ์สิทธิ์เท่าการให้ “อภัย”
(ธรรมทาน)


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ เมษายน 18, 2012, 07:59:43 PM
อาฆาตข้ามภพข้ามชาติ  

(http://variety.teenee.com/saladharm/img6/129210.jpg)

ถาม: พวกที่เคยอาฆาตกันข้ามชาติ มีโอกาสที่จะหมดความอาฆาตไหม ?

ตอบ: ถ้าหมดความตั้งใจเรื่องนั้นเมื่อไรก็หมด ถ้ายังไม่หมดความตั้งใจ ก็จะไปเรื่อย ๆ  

ถ้าอาฆาตกันเหมือนกับ นางกุลธิดา กับ ยักษิณี แบบนี้ต้องให้อโหสิกรรมกันก่อน นางกุลธิดาคลอดลูกเมื่อไรจะมียักษ์ตนหนึ่งคว้าลูกเอาไปกินทุกครั้ง จนกระทั่งเธอรู้เลยว่าถ้าคลอดอีกก็เสร็จอีก วันนั้นพอคลอดเสร็จ เธอก็ไม่สนใจว่าร่างกายจะอ่อนแอขนาดไหนก็ตาม อุ้มลูกได้ก็วิ่งไป เชตวันมหาวิหาร จะอาศัยบารมีพระพุทธเจ้าช่วย  

เมื่อไปถึงประตูเชตวันมหาวิหารนางยักษิณีตามทันพอดี ปรากฏว่ามี ท้าวจตุมหาราช ที่รักษาพระพุทธเจ้าอยู่ในบริเวณนั้น ยักษ์ก็เลยไม่กล้าทำอะไร พระพุทธเจ้าจึงสั่งให้พายักษิณีเข้ามา แล้วประกาศกรรมในอดีตชาติให้รู้ว่าชาติหนึ่ง นางยักษ์เกิดเป็นแม่ไก่ส่วนนางกุลธิดาเกิดเป็นแม่แมว  แม่แมวกินลูกไก่เสียเกลี้ยงเลย แม่ไก่ยัวะขึ้นมาก็ประกาศเลยว่าจะตามไปกินลูกแกบ้าง พอชาติต่อมาแม่แมวไปเกิดเป็นแม่กวาง แม่ไก่ไปเกิดเป็นแม่เสือ  กินลูกกวางคืนไป กินกันไปกินกันมาจนมาถึงชาติปัจจุบันนี้

เมื่อถึงชาติปัจจุบันนี้ พระพุทธเจ้าประกาศบอกขอให้โจทก์และจำเลยอโหสิกรรมต่อกัน ในเมื่อทั้งหมดออกปากอโหสิกรรมต่อหน้ากัน โดยที่ประกาศว่าจะไม่จองเวรกันต่อไป กรรมนั้นก็ขาดช่วงลง  คือ ความตั้งใจหมดลงแล้ว เมื่อความตั้งใจหมดลงแล้ว กรรมก็ขาดช่วงลง  

ถาม: ต้องขออโหสิกรรมทั้งสองฝ่ายเลยไหมคะ ?

ตอบ: ต้องทั้งสองฝ่าย โจทก์และจำเลยพร้อมกัน  ถ้าหากว่าเราให้อภัยฝ่ายเดียว แสดงว่าเราปลดออกจากกรรมนั้นได้ แต่อีกฝ่ายก็ยังตามจองเวรเราอยู่ อย่างที่พระเทวทัตตามจองเวรพระพุทธเจ้า


สนทนากับพระครูวิลาศกาญจนธรรม (พระอาจารย์เล็ก สุธมฺมปญฺโญ)
ณ บ้านอนุสาวรีย์ฯ เดือนกันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๕




ขอบคุณบทความจาก วัดท่าขนุน จ.กาญจนบุรี


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ เมษายน 18, 2012, 08:02:37 PM
ทำบุญกับพระที่มีกิริยาไม่สำรวม

(http://variety.teenee.com/saladharm/img7/129211.jpg)

ถาม : ถ้าเราเจอพระที่มีกิริยาไม่สำรวม มีนิสัยสรรหาลาภ ทีนี้เราต้องทำบุญกับท่าน ?

ตอบ : ให้ตั้งใจ ถวายสังฆทาน กับท่านไปเลย ช่วยซ้ำท่านให้หนักหน่อย..! สังฆะ คือหมู่สงฆ์ ไม่ใช่ท่านคนเดียว บุญเราได้เต็ม แต่ความซวยจะเกิดกับท่าน ไหนๆ ท่านจะไปแล้ว ก็ช่วยซ้ำให้หนักหน่อย

ถาม : เมื่อก่อนเราทำบุญแล้วเรามั่นใจ แต่ตอนนี้เราไม่มั่นใจว่าทำบุญไปแล้วท่านจะเอาไปใช้ในเรื่องไหน ?

ตอบ : ไม่ต้องไปกังวล เพราะจุดนั้นเป็นเรื่องของท่าน เราทำเราได้บุญแล้ว ต้องวางอุเบกขาให้เป็น ไม่อย่างนั้นบุญจะลดลง

ถาม : คิดว่าเราถวายสังฆทานใช่ไหมคะ ?

ตอบ : ใช่...ทำอีกทำบ่อยๆ ท่านลุงจะได้ไม่ต้องเสียเวลาตัดสิน อันนี้ถือว่าโหดเกินไป..!

ถาม : เกิดพระท่านกลับตัวได้ ท่านจะลงข้างล่างไหมคะ ?

ตอบ : ถ้าหากว่าไม่ได้โดนอาบัติหนักอะไร แล้วกลับตัวใหม่ ตั้งหน้าตั้งตาปฏิบัติดีปฏิบัติชอบใหม่ก็รอด

ถาม : ห่วงแทน

ตอบ : ดีนะ..โยมแค่ห่วง อาตมานี่สยอง..! สยองแทนท่านว่าจะเจออะไรบ้างหนอ ?

พอได้เห็นนโยบายของ หลวงพ่อวัดท่าซุง อาตมาเองก็เลียนปฏิปทาหลวงพ่อวัดท่าซุง ก็คือพระมาลาสึกอาตมาจะไม่เคยห้ามเลย ก็ในเมื่อใจเขาไม่อยู่แล้ว ไปห้ามเอาไว้เดี๋ยวจะพาเสียมากกว่า เพราะใจเขาไม่คิดจะเป็นพระแล้วก็ไปเถอะ เดี๋ยวมีอารมณ์เมื่อไรแล้วค่อยมาบวชใหม่ ไม่อย่างนั้นถ้าปล่อยให้อยู่ต่อ เกิดเขาไม่มีอารมณ์ที่จะอยู่เป็นพระ ปล่อยๆ วางๆ กลายไปละเมิดศีลหนักเข้า มาบวชใหม่ไม่เป็นพระแล้วจะยุ่ง

เพราะฉะนั้น..ใครมาขออนุญาตลาสึก อาตมาอนุญาตให้ลาสึกทุกราย บางรายก็ไม่รู้เดินตัวลีบมาเชียว "ขอปรึกษาหน่อยครับ ผมจะขออนุญาตลาสิกขา หลวงพ่อจะว่าอย่างไรครับ ?" อาตมาบอกว่า "คุณจะเอาวันไหน ?" บอกวันนั้นเวลานั้น "เออ..ถึงเวลามาสึกก็แล้วกัน" ท่านนั่งเอ๋ออยู่พักใหญ่ สงสัยว่าทำไมไม่ห้ามสักคำ


สนทนากับพระครูวิลาศกาญจนธรรม (พระอาจารย์เล็ก สุธมฺมปญฺโญ)
เก็บตกจากบ้านวิริยบารมี ต้นเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๕




ขอบคุณบทความจาก วัดท่าขนุน จ.กาญจนบุรี



หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ เมษายน 19, 2012, 08:06:38 PM
สนิมใจ


(http://www.jaowka.com/%e0%b8%aa%e0%b8%99%e0%b8%b4%e0%b8%a1%e0%b9%83%e0%b8%88/junjaowka-104/)


๑ ปี เอาเหล็กมาขัดสนิมหนึ่งครั้ง ซ้ำยังไม่ขัดถึงที่สุด..
ไม่ทำถึงจุดที่จะไม่เกิดสนิมสืบต่อไป เหล็กจะวาวขึ้นมาได้อย่างไร??
การขัดเกลาตนของนักปฏิบัติธรรมก็เช่นกัน..
และสนิมเหล็กเกิดจากเนื้อในเหล็ก กัดกร่อนทำลายเหล็ก ฉันใด..
สนิมใจเกิดจากเนื้อในใจ กัดกร่อนทำลายใจ ฉันนั้น.



หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ เมษายน 19, 2012, 08:07:58 PM
จงเตือนตนไว้เสมอ...หลวงพ่อฤาษีลิงดำ


(http://variety.teenee.com/saladharm/img5/129254.jpg)

จงอย่าคิดว่าคนอื่นจะต้องมาลงโทษเรา
ก่อนที่คนอื่นจะลงโทษ
กรรมที่เราทำความชั่ว
มันก็ทำความเร่าร้อนให้เกิดขึ้นแก่เรา
ใครเขาพูดความชั่วคราวใด
เราก็สะดุ้งเพราะเรามันเลว

พระพุทธเจ้าตรัสว่า
อัตตนา โจทยัตตานัง
จงเตือนตนไว้เสมอ และจงโจทตน
กล่าวโทษตนไว้เป็นปกติ
หาความชั่วของตัว
อย่าไปหาความชั่วของบุคคลอื่น

ถ้าเลวมากเมื่อไหร่
เราก็เพ่งเล็งความเลวของบุคคลอื่นมากเท่านั้น
ถ้าเราดีมากเท่าไหร่
เราก็ไม่มองเห็นความเลวของบุคคลอื่น
เพราะยอมรับนับถือกฎของกรรม

ที่เรายังไปหาความเลวของบุคคลอื่น
เสียดสีเขาบ้าง พูดกระทบกระเทียบเขาบ้าง
ทำลายความสุขใจเขาบ้างนั่น
แสดงว่า เรามันเลวที่สุดของความเลว
คือความเลวมันไม่ได้ ขังอยู่ เฉพาะในใจ
มันไหลออกมาทางกายไหลออกมา
ทางวาจา เพราะมันล้น เลวจนล้น
นี่ขอทุกท่านจงจำไว้
อย่าไปมองดูความเลวของคนอื่น
มองดูความเลวของตน
ไม่ต้องไปปรับปรุงบุคคลอื่น
ปรับปรุงเราเองให้มันดีที่สุด




ขอบคุณบทความจาก sitluangpor


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ พฤษภาคม 03, 2012, 09:11:34 PM
การค้าขายที่ไม่สมควร

(http://variety.teenee.com/saladharm/img4/129774.jpg)


ถาม: ..................................

ตอบ: พระพุทธเจ้าตรัสว่า "มิจฉาวณิชชา" คือ การค้าขายที่ไม่สมควร เป็นการค้าที่พุทธมามกะไม่ควรทำ ประกอบไปด้วย

๑ ) ขายสุรา

๒) ขายยาพิษ

๓) ขายอาวุธ

๔ ) ขายมนุษย์

๕ ) ขายสัตว์ที่มีชีวิต


ท่านบอกว่า "บุคคลที่เป็นพุทธมามกะไม่พึงกระทำด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ

ประการแรก - ถ้ารักษากำลังใจไม่เป็น จิตเศร้าหมอง จะลงนรกเสียเอง

ประการที่สอง – บุคคลที่ไม่เข้าใจจะกล่าวจาบจ้วงว่า เป็นพุทธมามกะผู้รักษาศีล แล้วทำไมถึงสนับสนุนการทำบาปหรือการฆ่าอยู่อีก ?

เราขายเหล้า เราไม่ได้บีบคอให้เขากินเหล้าสักหน่อย แต่คนก็ด่าเรา แล้วโทษเกิดกับคนด่าเขา จริงๆ แล้ว เรื่องของธรรมะตรงไปตรงมา คือคนกินถึงผิด แต่คนที่เขาไม่เข้าใจ เขามากล่าวหาจาบจ้วงก็เป็นโทษแก่เขาได้

ตัวอย่างเช่น ยาพิษ ยาฆ่าคน ยาฆ่าสัตว์ ยาฆ่าแมลง เราไม่ได้ฆ่าเอง เขามาซื้อจากเราไป แต่คนที่เขาไม่เข้าใจ เขาหาว่าเราสนับสนุนในการฆ่า เรื่องของอาวุธก็เหมือนกัน ส่วนเรื่อง ค้ามนุษย์ ค้าขายคน นี้ทุเรศที่สุด ก็รู้ๆ อยู่แล้วใช่ไหม...?

ขายสัตว์มีชีวิต ถ้าเขาเอาไปเลี้ยง ก็โดนกักขัง ต้องอดๆ อยากๆ ต้องทนทุกข์ทรมานมาก สร้างเวรสร้างกรรมไปเปล่าๆ แต่ถ้าเขาเอาไปฆ่ากิน ก็ยิ่งบรรลัยใหญ่เลย..!


สนทนากับพระครูวิลาศกาญจนธรรม (พระอาจารย์เล็ก สุธมฺมปญฺโญ)
ณ บ้านอนุสาวรีย์ฯ เดือนสิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๔๕




ขอบคุณบทความจาก วัดท่าขนุน จ.กาญจนบุรี




หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ พฤษภาคม 03, 2012, 09:15:54 PM
อย่าเมาในความเป็นหนุ่มสาว

(http://variety.teenee.com/saladharm/img4/129880.jpg)

"..ยามชราภาพ จะภาวนาก็ทำได้ยาก

โรคก็รุมเร้า เวทนาก็แก่กล้า ความอ่อนแอก็ปรากฏ

ฯลฯ... รู้แล้ว พึ่งเร่งปฏิบัติธรรมเสียตั้งแต่ผมยังดำสนิท..

มัวผลัดวันประกันพรุ่งไปมา ความแก่หง่อมก็มา ความชราปรากฏ...อย่าประมาท"  




ที่มา : fb วัดยางราก โคกเจริญ ลพบุรี


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ กรกฎาคม 09, 2012, 08:57:10 PM

กอดความทุกข์ไว้ทำไม

(http://www.jaowka.com/wp-content/uploads/2012/07/junjaowka-670.jpg)


ความทุกข์ที่มีอยู่ กอดไว้ทำไม ปล่อยม้ันออกไปให้ใจเราสบาย”

หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ



หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ กรกฎาคม 09, 2012, 09:00:01 PM
ห้องขังของกิเลส

(http://www.jaowka.com/wp-content/uploads/2012/07/junjaowka-659.jpg)

“อย่ามัวมั่วสุมอยู่ในห้องขังของกิเลส ให้มันกดขี่บังคับ และร้องเพลงขับกล่อมให้เราเคลิ้มหลับ

ไม่มีวันตื่นจากหลับจากหลงอยู่ร่ำไปนัก จะเสียใจให้ตัวเองภายหลัง”

-หลวงปู่ขาว อนาลโย-



หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ กรกฎาคม 20, 2012, 08:39:03 PM


(http://www.jaowka.com/wp-content/uploads/2012/07/junjaowka-740.jpg)


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ กรกฎาคม 20, 2012, 08:39:33 PM
(http://www.jaowka.com/wp-content/uploads/2012/07/junjaowka-751.jpg)


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ กรกฎาคม 20, 2012, 08:40:06 PM
(http://www.jaowka.com/wp-content/uploads/2012/07/junjaowka-753-2.jpg)


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ สิงหาคม 11, 2012, 01:03:10 PM
ทานบารมี

(http://www.jaowka.com/wp-content/uploads/2012/08/junjaowka-904-1.jpg)
“ถ้าอะไรเราไม่ได้ทำไว้
อยากได้ มันก็ไม่ได้
ถ้าได้ทำไว้แล้ว สร้างไว้แล้ว
ไม่อยากได้ มันก็ได้ นี่แหละทานบารมี”

-หลวงปู่ฝั้น อาจาโร-



หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ สิงหาคม 11, 2012, 01:04:04 PM
(http://www.jaowka.com/wp-content/uploads/2012/08/junjaowka-903-11.jpg)


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ สิงหาคม 11, 2012, 01:04:59 PM
(http://www.jaowka.com/wp-content/uploads/2012/08/junjaowka-902.jpg)


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ สิงหาคม 11, 2012, 01:05:40 PM
(http://www.jaowka.com/wp-content/uploads/2012/08/junjaowka-907-1.jpg)


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ สิงหาคม 11, 2012, 01:06:24 PM
(http://www.jaowka.com/wp-content/uploads/2012/08/junjaowka-905-1.jpg)


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ สิงหาคม 11, 2012, 01:07:04 PM
(http://www.jaowka.com/wp-content/uploads/2012/08/junjaowka-914-7.jpg)


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ สิงหาคม 13, 2012, 05:57:51 PM



(http://www.jaowka.com/wp-content/uploads/2012/08/junjaowka-916-1.jpg)


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ สิงหาคม 17, 2012, 08:32:15 PM
พรุ่งนี้มันไม่แน่ โดย หลวงพ่อปัญญา นันทภิกขุ

(http://www.jaowka.com/wp-content/uploads/2012/08/junjaowka-951.jpg)

“วันนี้เจ้าอยู่กับฉัน พรุ่งนี้มันไม่แน่”

เขียนติดไว้ที่แจกันสวยๆ ที่ตู้ ที่วิทยุที่โทรทัศน์ อะไรต่างๆ
เขียนตัวพออ่านได้ มองเห็นแต่ไกล

“วันนี้เจ้าอยู่กับฉัน พรุ่งนี้มันไม่แน่”

เขียนไว้อย่างนั้น ทีนี้ถ้าวันไหนมันเกิดหายไป
ใครมายกไปเราก็พูดว่า เหมือนที่นึกไว้ไม่ผิด
หรือพูดว่า..”กูว่าแล้ว ว่ามันจะหายไปสักวันหนึ่ง แล้วมันก็หายจริงๆ”

อย่างนี้แล้วก็สบายใจเรียกว่ายิ้มออกทันที
ยิ้มออกเพราะอะไร เพราะเรารู้ เราเตรียมตัวไว้ต้อนรับสถานการณ์
ว่ามันต้องหายไปสักวันหนึ่ง เรานึกไว้อย่างนั้น
ถ้านึกไว้อย่างนั้นแล้วก็สบายใจ….

-หลวงพ่อปัญญา นันทภิกขุ-




หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ สิงหาคม 17, 2012, 08:32:54 PM

(http://www.jaowka.com/wp-content/uploads/2012/08/junjaowka-949-3.jpg)


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ สิงหาคม 17, 2012, 08:33:33 PM


(http://www.jaowka.com/wp-content/uploads/2012/08/junjaowka-936-1.jpg)


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ สิงหาคม 17, 2012, 08:34:13 PM


(http://www.jaowka.com/wp-content/uploads/2012/08/junjaowka-938-1.jpg)


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ สิงหาคม 17, 2012, 08:36:29 PM


(http://www.jaowka.com/wp-content/uploads/2012/08/junjaowka-941.jpg)


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ สิงหาคม 26, 2012, 04:15:48 PM
การเห็นทุกข์กับเป็นทุกข์นั้นต่างกันไกลมาก

(http://variety.teenee.com/saladharm/img3/135309.jpg)


“การเห็นทุกข์กับเป็นทุกข์นั้นต่างกันไกลมาก
เพราะไม่เห็นจึงเข้าไปเป็น แต่เห็นเมื่อไหร่ก็ไม่เป็น
พระพุทธศาสนาสอนเรื่องทุกข์ เป็นหัวใจสำคัญ
ไม่ใช่เพราะมองโลกในแง่ร้าย แต่สอนให้เห็นทุกข์
รู้จักทุกข์ด้วยใจที่เป็นกลาง เพื่อที่เราจะได้หลีกเลี่ยง
จากการเป็นผู้ทุกข์ หาไม่ก็จะต้องติดจมอยู่ในความทุกข์
เพราะไม่รู้ทุกข์นั่นเอง”


พระไพศาล วิสาโล



หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ สิงหาคม 26, 2012, 04:16:25 PM
(http://www.jaowka.com/wp-content/uploads/2012/08/junjaowka-1014-1.jpg)


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ สิงหาคม 26, 2012, 04:18:15 PM


อานิสงส์แห่งความไม่โกรธ

(http://variety.teenee.com/saladharm/img1/135050.jpg)

สมัยหนึ่ง พระพุทธองค์ทรงตรัสตอบนางมัลลิกา ผู้ถูลถามปัญหาแก่พระองค์ เรื่องสตรีมักโกรธ ทรงตอบปัญหาแก่นางว่า

        ๑. มาตุคาม (ผู้หญิง) ผู้มักโกรธ ไม่ให้ทาน มีใจริษยา จะเป็นผู้มีรูปทราม ตกยาก มีศักดิ์สกุลต่ำ

๒. มาตุคาม (ผู้หญิง) ผู้มักโกรธ แต่ชอบให้ทาน ไม่มีจิตริษยา จะเป็นหญิงรูปทราม แต่มั่งคั่งมีสกุลสูง

๓. มาตุคาม (ผู้หญิง) ผู้ไม่มักโกรธ แต่ไม่ให้ทาน มีใจริษยา จะเป็นหญิงรูปงาม และยากจน มีศักดิ์สกุลต่ำ

๔. มาตุคาม (ผู้หญิง) ผู้ไม่มักโกรธ ชอบให้ทาน ไม่มีจิตริษยา จะเป็นหญิงรูปงาม ทั้งมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีศักดิ์สกุลสูง




หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ สิงหาคม 26, 2012, 04:18:46 PM
(http://www.jaowka.com/wp-content/uploads/2012/08/junjaowka-1015.jpg)


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ สิงหาคม 26, 2012, 04:20:20 PM
“การยอม โง่ ในสายตาคนอื่น” (หลวงตามหาบัว)

(http://variety.teenee.com/saladharm/img6/135024.jpg)

“การยอม โง่ ในสายตาคนอื่น” (หลวงตามหาบัว)


“การยอม โง่ ในสายตาคนอื่น
แต่เพื่อความ สบายใจเรา
และไม่ กระทบกระเทือน กันนั้น
เป็นอุบายที่ ฉลาด ของเรา
รู้หลบรู้หลีก รู้ผ่อนสั้นผ่อนยาว
 

อย่างนี้เป็นทางของ คนดี
และนักปราชญ์ชมเชย”

 

หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ สิงหาคม 26, 2012, 04:21:13 PM

(http://www.jaowka.com/wp-content/uploads/2012/08/junjaowka-996-3.jpg)


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ กันยายน 01, 2012, 05:08:38 PM


(http://www.jaowka.com/wp-content/uploads/2012/08/junjaowka-1042-2.jpg)


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ กันยายน 01, 2012, 05:09:27 PM



(http://www.jaowka.com/wp-content/uploads/2012/08/junjaowka-1045-1.jpg)


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ กันยายน 01, 2012, 05:10:10 PM


(http://www.jaowka.com/wp-content/uploads/2012/09/junjaowka-1067-3.jpg)


“อดีตไม่มีอะไร เป็นเพียง “สัญญา”
อนาคตไม่มีอะไร เป็นเพียง “ความคิด”
ปัจจุบันไม่มีอะไร เป็นเพียงภาพ “ลวงตา” “

-หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช-


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ กันยายน 01, 2012, 05:11:47 PM


(http://www.jaowka.com/wp-content/uploads/2012/08/junjaowka-1063.jpg)


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ กันยายน 01, 2012, 05:13:44 PM
ถ้าเรา

(http://www.jaowka.com/wp-content/uploads/2012/09/junjaowka-1065-1.jpg)

“..ถ้าเราคิดถึงพระได้เหมือนกับคิดถึงแฟนเมื่อไหร่
แสดงว่าจะดีแล้ว…”

-หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ-



หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ กันยายน 01, 2012, 08:23:26 PM


(http://variety.teenee.com/saladharm/img7/135803.jpg)


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ กันยายน 01, 2012, 08:26:40 PM
หนทางสู่การหลุดพ้น

(http://variety.teenee.com/saladharm/img9/135778.jpg)

หนทางสู่การหลุดพ้น "สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)"


                  เจ้าประคุณสมเด็จฯ มักจะกล่าวกับสานุศิษย์ทั้งหลายอยู่เสมอว่าชีวิตมนุษย์อยู่ได้ไม่ถึงหนึ่งร้อยปีก็ต้องตายและถูกหามเข้าป่าช้า ดังนั้นจึงควรประพฤติปฏิบัติอยู่ใน ศีล สมาธิ และปัญญา เพื่อให้หลุดพ้นจากสังสารวัฏ

                  ท่านเปรียบเทียบว่า มนุษย์อาบน้ำ ชำระกายวันละสองครั้งเพื่อกำจัดเหงื่อไคลสิ่งโสโครกที่เกาะร่างกาย แต่ไม่เคยคิดจะชำระจิตให้สะอาดแม้เพียงนาที ด้วยเหตุนี้ทำให้จิตใจของมนุษย์ ยุคปัจจุบันเศร้าหมองเคร่งเครียดและดุดัน ก่อให้เกิดปัญหาความพิการในสังคมความแก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกัน จนกระทั่งเกิดความขัดแย้ง และกลายเป็นสงครามมนุษย์ฆ่ามนุษย์ด้วยกัน

                  ขอให้ท่านได้พิจารณาไตร่ตรองให้จงดีเถิดว่า ร่างกายของเรานี้ไฉนจึงต้องชำระทุกวันทั้งเช้าและเย็นจะขาดเสียไม่ได้ ทั้งที่หมั่นทำความสะอาดอยู่เป็นนิจ แต่ยังมีกลิ่นไม่น่าอภิรมย์ออกมา แม้จะพยายามหาของหอมมาทาทับ ก็ปกปิดกลิ่นนั้นไม่ได้

                  ใจของเราล่ะ ซึ่งเป็นใหญ่กว่าร่างกายเป็นผู้สั่งบัญชางานให้กายแท้ๆ มีใครเอาใจใส่ชำระสิ่งสกปรกออกบ้าง ตั้งแต่เล็กจนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ หมั่นสั่งสมสิ่งไม่ดีไว้มากเพียงใด หรือว่ามองไม่เห็นจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องทำความสะอาดหรือ?

โดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ กันยายน 15, 2012, 01:26:33 PM


(http://www.jaowka.com/wp-content/uploads/2012/09/junjaowka-1180-4.jpg)


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ กันยายน 15, 2012, 01:27:16 PM


(http://www.jaowka.com/wp-content/uploads/2012/09/junjaowka-1173-2.jpg)


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ กันยายน 15, 2012, 01:28:44 PM
เผชิญความตายด้วยใจสงบ


(http://variety.teenee.com/saladharm/img9/136597.jpg)

ความทุกข์ของผู้คนในยามที่เผชิญกับความตายนั้น ไม่ใช่เป็นแค่ความทุกข์เนื่องจากความเจ็บปวดรวดร้าวทางกายเท่านั้น

                  ที่สำคัญกว่านั้นก็คือความทุกข์ทางจิตใจ อาทิเช่น ความกลัว ความตื่นตระหนก ความรู้สึกดังกล่าวสร้างความทุรนทุรายและทรมานแก่ผู้คนยิ่งกว่าอาการทางกาย ด้วยซ้ำ ความรู้สึกดังกล่าวนี้ทำให้ผู้คนพยายามผลักไสความตาย แต่ทำเท่าไรก็ไม่สำเร็จ จึงทุกข์ทรมานยิ่งขึ้นไปใหญ่

               หากเราต้องการเผชิญหน้ากับความตายอย่างสงบ เราต้องเรียนรู้ที่จะไม่ผลักไสความตายเมื่อเวลานั้นมาถึง ยอมรับความตายว่าเป็นสิ่งที่ต้องเกิดขึ้นกับเราในที่สุด จะทำเช่นนั้นได้ ก็ต้องหมั่นทำใจให้คุ้นเคยกับความตายตั้งแต่เนิ่น ๆ ไม่ใช่มาทำเอาตอนจวนตัวแล้ว การพิจารณาความตายสม่ำเสมอที่เรียกว่า มรณสติ เป็นสิ่งที่ควรทำเป็นอาจิณ คือเตือนตนว่าความตายเป็นเรื่องธรรมดาที่จะต้องเกิดขึ้นกับเราไม่ช้าก็เร็ว การทำเช่นนี้สม่ำเสมอ ช่วยให้เราไม่ลืมตาย ไม่อยู่อย่างประมาท เวลาได้รับรู้ถึงความตายของผู้อื่นหรืออ่านข่าวจากหนังสือพิมพ์ แทนที่จะตื่นเต้นไปตามข่าวสาร ให้เตือนตนเองว่า สักวันหนึ่งเราก็ต้องเป็นอย่างเขาไปงานศพแต่ละครั้ง ควรถือเป็นโอกาสที่จะได้ตอกย้ำตนเองในเรื่องสัจธรรมของชีวิต แทนที่จะมัวแต่สังสรรค์กับมิตรสหายเท่านั้น

              นอกจากการเตือนตนเรื่องความตายแล้ว ควรหาโอกาสพิจารณาถึงความตายอย่างเป็นรูปธรรมด้วยว่า เมื่อเราจะต้องตายจริงๆ ไม่ว่าเพราะโรคร้าย หรืออุบัติเหตุ เราจะรู้สึกอย่างไร และควรจะทำใจอย่างไร นึกภาพให้เห็นเด่นชัด จับความรู้สึกกลัวที่เกิดขึ้น และยอมรับตามที่เป็นจริง ความรู้สึกที่เกิดขึ้นจะช่วยให้เรารู้จักตัวเองได้ดีขึ้นและรู้ว่าจะต้อง ฝึกฝนตนเองอย่างไร การสาวหาสาเหตุของความกลัวจะช่วยให้เรารู้วิธีที่จะแก้ไขหรือลดทอนความกลัว นี้ได้




ขอบคุณข้อมูลจาก วารสารเสขิยธรรม
 


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ กันยายน 15, 2012, 01:29:22 PM


(http://www.jaowka.com/wp-content/uploads/2012/09/junjaowka-1179-1.jpg)


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ กันยายน 15, 2012, 01:30:58 PM
กรรมเป็นเครื่องจำแนกสัตว์

(http://variety.teenee.com/saladharm/img1/136355.jpg)


***กรรมคือการกระทำที่เกิดขึ้นทางกาย,วาจา,ใจที่เป็นกุศลกรรมหรืออกุศลกรรม เป็นธรรมชาติที่ทำให้สัตว์แตกต่างกันทั้งรูปธรรมและนามธรรม,ทั้งการเสวยสุข,ทุกข์เวทนาก็หยาบและละเอียดไม่เหมือนกัน ทั้งในปัจจุบันและอนาคต ทั้งโลกนี้และโลกหน้า

ดังท่านได้กล่าวว่า "กรรมเป็นเครื่องจำแนกสัตว์ ให้แตกต่างกันมีสุข,มีทุกข์แตกต่างกัน"




หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ กันยายน 15, 2012, 01:33:07 PM
วิธีสร้างบุญบารมี

(http://variety.teenee.com/saladharm/img8/136506.jpg)
สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก องค์ที่ 19
(วัดบวรนิเวศวิหาร)


การรักษาศีล
"ศีล" นั้น แปลว่า "ปกติ" คือสิ่งหรือกติกาที่บุคคลจะต้องระวังรักษาตามเพศและฐานะ ศีลนั้นมีหลายระดับ คือ ศีล 5 ศีล 8 ศีล 10 และ ศีล 227 และในบรรดาศีลชนิดเดียวก็ยังจัดแยกออกเป็นระดับธรรมดา มัชฌิมศีล (ศีลระดับกลาง) และอธิศีล (ศีลอย่างสูง ศีลอย่างอุกฤษฏ์)

คำว่า "มนุษย์" นั้น คือผู้ที่มีใจอันประเสริฐ คุณธรรมที่เป็นปกติของมนุษย์ที่จะต้องทรงไว้ให้ได้ตลอดไปก็คือศีล 5 บุคคลที่ไม่มีศีล 5 ไม่เรียกว่ามนุษย์ แต่อาจจะเรียกว่า "คน" ซึ่งแปลว่า "ยุ่ง" ในสมัยพระพุทธกาลผู้คนมักจะมีศีล 5 ประจำใจกันเป็นนิจ ศีล 5 จึงเป็นเรื่องปกติของบุคคลในสมัยนั้น และจัดว่าเป็น "มนุษยธรรม" ส่วนหนึ่งในมนุษยธรรม 10 ประการเป็นปกติ (ซึ่งรวมถึงศีล 5 ด้วย) รายละเอียดจะมีประการใดจะไม่กล่าวถึงในที่นี้

การรักษาศีลเป็นการเพียรพยายามเพื่อระงับโทษทางกายและวาจา อันเป็นเพียงกิเลสหยาบมิให้กำเริบขึ้น และเป็นการบำเพ็ญบุญบารมีที่สูงขึ้นกว่าการให้ทาน ทั้งในการถือศีลด้วยกันเอง ก็ยังได้บุญมากและน้อยต่างกันไปตามลำดับต่อไปนี้คือ

1. การให้อภัยทาน
แม้จะมากถึง 100 ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถือศีล 5 แม้จะได้ถือแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม

2. การถือศีล 5
แม้จะมากถึง 100 ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถือศีล 8 แม้จะถือแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม

3. การถือศีล 8
แม้จะมากถึง 100 ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถือศีล 10 คือการบวชเป็นสามเณรในพระพุทธศาสนา แม้จะบวชมาได้แต่เพียงวันเดียวก็ตาม

4. การที่ได้บวชเป็นสามเณรในพระพุทธศาสนา
แล้วรักษาศีล 10 ไม่ให้ขาด ไม่ด่างพร้อย แม้จะนานถึง 100 ปี ก็ยังได้บุญน้อยกว่าผู้ที่ได้อุปสมบทเป็นพระในพระพุทธศาสนา มีศีลปาฏิโมกข์สังวร 227 แม้จะบวชมาได้เพียงวันเดียวก็ตาม

ฉะนั้น ในฝ่ายศีลแล้ว การที่ได้อุปสมบทเป็นพระในพระพุทธศาสนาได้บุญบารมีมากที่สุด เพราะเป็นเนกขัมมบารมีในบารมี 10 ทิศ ซึ่งเป็นการออกจากกามเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติธรรมขั้นสูงๆ คือการภาวนาเพื่อมรรค ผล นิพพาน ต่อๆไป ผลของการรักษาศีลนั้นมีมาก ซึ่งจะยังประโยชน์สุขให้แก่ผู้นั้นทั้งในชาตินี้และชาติหน้า เมื่อได้ละอัตภาพนี้ไปแล้วย่อมส่งผลให้ได้บังเกิดในเทวโลก 6 ชั้น ซึ่งแล้วแต่ความละเอียดประณีตของศีลที่รักษาและที่บำเพ็ญมา ครั้งเมื่อสิ้นบุญในเทวโลกแล้ว ด้วยเศษของบุญที่ยังคงหลงเหลืออยู่แต่เพียงเล็กๆ น้อยๆ หากไม่มีอกุศลกรรมอื่นมาให้ผล ก็อาจจะน้อมนำให้ได้มาบังเกิดเป็นมนุษย์ที่ถึงพร้อมด้วยสมบัติ 4 ประการ เช่นอานิสงส์ของการรักษาศีล 5 กล่าวคือ

(1) ผู้ที่รักษาศีลข้อ 1 ด้วยการไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต
ด้วยเศษของบุญที่รักษาศีลข้อนี้ เมื่อน้อมนำมาเกิดเป็นมนุษย์ก็จะทำให้มีพลานามัยแข็งแรง ปราศจากโรคภัย ไม่ขี้โรค อายุยืนยาว ไม่มีศัตรูเบียดเบียนให้ต้องบาดเจ็บ ไม่มีอุบัติเหตุต่างๆที่จะทำให้บาดเจ็บหรือสิ้นอายุเสียก่อนวัยอันสมควร

(2) ผู้ที่รักษาศีลข้อ 2 ด้วยการไม่ถือเอาทรัพย์ของผู้อื่นที่เจ้าของมิได้เต็มใจให้
ด้วยเศษของบุญที่นำมาเกิดเป็นมนุษย์ ย่อมทำให้ได้เกิดในตระกูลที่ร่ำรวย การทำมาหาเลี้ยงชีพในภายหน้ามักจะประสบช่องทางที่ดี ทำมาค้าขึ้นและมั่งมีทรัพย์ ทรัพย์สมบัติไม่วิบัติหายนะไปด้วยภัยต่างๆ เช่น อัคคีภัย วาตภัย โจรภัย ฯลฯ

(3) ผู้ที่รักษาศีลข้อ 3 ด้วยการไม่ล่วงประเวณีในคู่ครอง หรือคนในปกครองของผู้อื่น
ด้วยเศษของบุญที่รักษาศีลข้อนี้ เมื่อมาเกิดเป็นมนุษย์ ก็จะประสบโชคดีในความรัก มักได้พบรักแท้ที่จริงจังและจริงใจ ไม่ต้องอกหัก อกโรย และอกเดาะ ครั้นเมื่อมีบุตรธิดา ก็ว่านอนสอนง่าย ไม่ดื้อด้าน ไม่ถูกผู้อื่นหลอกลวงฉุดคร่าอนาจารไปทำให้เสียหาย บุตรธิดาย่อมเป็นอภิชาตบุตร ซึ่งจะนำเกียรติยศชื่อเสียงมาสู่วงศ์ตระกูล

(4) ผู้ที่รักษาศีลข้อ 4 ด้วยการไม่กล่าวมุสา
ด้วยเศษของบุญที่รักษาศีลข้อนี้ เมื่อนำมาเกิดเป็นมนุษย์ จะทำให้เป็นผู้ที่มีสุ้มเสียงไพเราะ พูดจามีน้ำมีนวลชวนฟัง มีเหตุมีผล ชนิดที่เป็น "พุทธวาจา" มีโวหารปฏิภาณไหวพริบในการเจรจา จะเจรจาความสิ่งใดก็มีผู้เชื่อฟังและเชื่อถือ สามารถว่ากล่าวสั่งสอนบุตรธิดาและศิษย์ให้อยู่ในโอวาทได้ดี

(5) ผู้ที่รักษาศีลข้อ 5 ด้วยการไม่ดื่มสุราเมรัยเครื่องหมักดองของมึนเมา
ด้วยเศษของบุญที่รักษาศีลข้อนี้ เมื่อนำมาเกิดเป็นมนุษย์ ย่อมทำให้เป็นผู้ที่มีสมอง ประสาท ปัญญา ความคิดแจ่มใส จะศึกษาเล่าเรียนสิ่งใดก็แตกฉานและทรงจำได้ง่าย ไม่หลงลืมฟั่นเฟือนเลอะเลือน ไม่เสียสติวิกลจริต ไม่เป็นโรคสมอง โรคประสาท ไม่ปัญญาทราม ปัญญาอ่อนหรือปัญญานิ่ม

อานิสงส์ของศีล 5 มีดังกล่าวข้างต้น สำหรับศีล 8 ศีล 10 และ ศีล 227 ก็ย่อมมีอานิสงส์เพิ่มพูนมากยิ่งๆขึ้นตามระดับและประเภทของศีลที่รักษา แต่ศีลนั้นแม้จะมีอานิสงส์เพียงไร ก็ยังเป็นแต่เพียงการบำเพ็ญบุญบารมีในชั้นกลางๆในพระพุทธศาสนาเท่านั้น เพราะเป็นแต่เพียงระเบียบหรือกติกาที่จะรักษากายและวาจาให้สงบ ไม่ให้ก่อให้เกิดทุกข์โทษขึ้นทางกายและวาจาเท่านั้น ส่วนทางจิตใจนั้น ศีลยังไม่สามารถที่จะควบคุมหรือทำให้สะอาดบริสุทธิ์ได้ ฉะนั้น การรักษาศีลจึงยังได้บุญน้อยกว่าการภาวนา เพราะการภาวนานั้น เป็นการรักษาใจ รักษาจิต และซักฟอกจิตให้เบาบางหรือจนหมดกิเลส คือความโลภ โกรธ และหลง อันเป็นเครื่องร้อยรัดให้บรรดาสรรพสัตว์ทั้งหลายต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสังสารวัฏ การภาวนาจึงเป็นการบำเพ็ญบุญบารมีที่สูงที่สุด ประเสริฐที่สุด ได้บุญมากที่สุด เป็นกรรมอันยิ่งใหญ่ เรียกว่า "มหัคคตกรรม" อันเป็นมหัคคตกุศล

 
 
http://www.baanjomyut.com/pratripidok/boon/02.html (http://www.baanjomyut.com/pratripidok/boon/02.html)  

 


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ กันยายน 15, 2012, 01:33:47 PM


(http://www.jaowka.com/wp-content/uploads/2012/09/junjaowka-1162-2.jpg)


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ กันยายน 15, 2012, 01:35:10 PM
การปล่อยวาง ทำให้เกิดสุข


(http://variety.teenee.com/saladharm/img8/136366.jpg)

ซึ่งถ้าใครสามารถน้อมนำมาคิดและปฏิบัติได้ดิฉันคิดว่ามันก็คือสิ่งดี ๆ อีกสิ่งหนึ่งในชีวิตที่จะทำให้เราประสบความสำเร็จและมีความสุขในชีวิตแบบพอเพียงได้

                  1.สิ่งที่เราให้คนอื่น แท้จริงแล้วคือของที่เราฝากให้แก่ตนเองในวันข้างหน้า เช่น วันนี้เราด่าเขา วันข้างหน้าเราจะถูกเขาด่า วันนี้เราโกงเขา วันข้างหน้าเราจะถูกเขาโกง วันนี้เราเนรคุณเขา วันข้างหน้าเราจะถูกเขาเนรคุณ

                  2.ความดีที่ทำไว้ในหมู่คนพาลถึงมากมายมหาศาลก็สูญเปล่า การทำสิ่งดีๆใก้แก่คนที่ไม่เห็นคุณค่าก็ไม่ต่างอะไรกับการเทน้ำลงกองทราย ถึงเทอย่างไรก็ซึมหายหมด ดังนั้นจะทำดีกับใครควรใช้ปัญญาคิดให้รอบคอบ

                  3.คนใกล้ชิด เป็นศัตรู แม้กำแพง 7 ชั้น ก็ป้องกันไม่ได้ ศัตรูที่มาจากภายนอกต่อให้ยกมาถึง 9 ทัพ เราก็มองเห็นและเตรียมตัวทัน แต่ศัตรูที่มาจากคนในด้วยกันคือศัตรูที่อันตรายที่สุดเพราะเรามักมองไม่เห็น และไหวตัวไม่ทัน

                  4.เวลาเรือเอียงเรามักจะมองเห็นและแก้ไขได้ทันท่วงที แต่ความลำเอียงในใจคนมักถูกปกปิดอย่างมิดชิดและแสดงออกอย่างแยบยล กว่าจะรู้ว่าคนที่เรารักมากด้วยความลำเอียงบางครั้งมันก็สายเกินไป

                  5.ไม่มีแรงใดเสมอด้วยแรงกรรม แรงฟ้ามนุษย์แก้ได้ด้วยสายล่อฟ้า แรงน้ำมนุษย์แก้ด้วยการเปลี่ยนเส้นทางหรือสร้างกำแพงกั้นน้ำ แรงพายุมนุษย์แก้ได้ด้วยการปลูกป่า แต่แรงกรรมมีแต่ต้องก้มหน้ารับโดยส่วนเดียว

                  6.การมีความ สุขที่ก่อความทุกข์ ให้คนอื่นั้นไม่ใช่ความสุขที่แท้ มันเป็นได้แค่ความสุขจากการเกาขอบแผลที่กำลังคัน ยิ่งเกาดูเหมือนยิ่งสุข แต่แท้ที่จริงมันคือความทุกข์ที่แฝงมาอย่างแนบเนียน

                  7.ดูข่าวการเมืองยิ่งดูยิ่งวุ่นวายยิ่งดูยิ่งฟุ้งซ่าน แต่หากกลับมาดูใจของตนอย่างมีสติ รู้เท่าทันทุกเรื่องที่คิด ทุกจิตที่ทำ ทุกคำที่พูด ทุกครั้งที่เคลื่อนไหว ความทุกข์มากมายจะดับลง ดูจิตวันละนิดจิตแจ่มใส

                  8.ทำบาตรแตก ถ้วยแตก ชามแตก แก้วแตก ยังดีกว่าทำให้คนแตกกันเนื่องเพราะวัตถุที่แตกแล้วสามารถประสานให้ดีดังเดิม ได้อย่างง่ายดาย แต่ถ้าคนแตกสามัคคีกันเป็นฝักฝ่ายแล้ว บางทีทั้งชีวิตก็ไม่สามารถสนิทสนมกันได้อีก

               
ขอบคุณข้อมูลจาก  legendnews


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ กันยายน 15, 2012, 01:37:43 PM
การฝึกสติในชีวิตประจำวัน

ผู้สนใจท่านหนึ่งได้เมล์มาถามปัญหาเกี่ยวกับเรื่องนี้ ทางผู้ดำเนินการเห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์แก่ท่านอื่น ๆ ด้วย จึงขออนุญาตนำมาลงเอาไว้ ณ ที่นี้ ดังนี้

คำถาม

หนู ... ชอบในเรื่องการปฏิบัติธรรมมากค่ะ หนูได้เข้าใจมาว่าวิธีการที่จะทำให้จิตใจบริสุทธิ์ และสามารถที่จะดับทุกข์ได้จริง ๆ ผู้ฝึกสติให้รู้เท่าทันกับอารมณ์ที่มากระทบ

แล้วขณะที่เราทำงานเราต้องยุ่งกับงาน เราจะมีวิธีการฝึกตรงนี้ได้อย่างไรคะ

ตอบ

การฝึกสติในขณะทำงานนั้น ทำได้โดยคอยสังเกตสภาวะจิตที่กำลังเป็นอยู่ในขณะนั้น ๆ ไปเรื่อย ๆ ตลอดทั้งวัน คือไม่ว่าเราจะกำลังทำอะไรอยู่ ก็คอยสังเกตจิตไปเรื่อย ๆ ว่าตอนนี้รู้สึกอย่างไร เช่น โลภ โกรธ หลง ดีใจ เสียใจ เฉย ๆ ผ่องใส เบิกบาน เป็นกุศล เป็นสมาธิ ฟุ้งซ่าน ฯลฯ

แรก ๆ อาจจะรู้สึกว่ายากสักหน่อย และลืมกำหนดรู้อยู่เรื่อย ๆ ก็ไม่ต้องกังวลอะไรนะครับ เพราะเป็นเรื่องธรรมดา ใจเย็น ๆ ค่อย ๆ ฝึกไป พอชินจนเป็นนิสัยแล้วก็จะดีขึ้นเรื่อย ๆ เอง จะเห็นรายละเอียดของจิตมากขึ้นเรื่อย ๆ สังเกตได้ต่อเนื่องมากขึ้น รู้เท่าทันจิตมากขึ้น

และที่สำคัญคือจะเข้าใจธรรมชาติของจิตมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งจะส่งผลให้หวั่นไหวต่อโลกน้อยลง ปล่อยวางได้มากขึ้น ยึดมั่นถือมั่นน้อยลง เพราะเห็นความจริงด้วยปัญญาของตนเองแล้วว่า ไม่ว่าจิต หรือสิ่งใดก็ตาม ล้วนยึดมั่นถือมั่นอะไรไม่ได้เลย เพราะไม่มีอะไรอยู่ในอำนาจ หรือเป็นไปตามที่ใจเราปรารถนาได้อย่างแท้จริงเลย

เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วจิตใจก็จะประณีต ผ่องใสขึ้นเรื่อย ๆ และมีความสุขมากขึ้นเรื่อย ๆ เองครับ (กรุณาอ่านเรื่องต่าง ๆ ในหมวดบทวิเคราะห์ และหมวดวิปัสสนา (ปัญญา) ประกอบ เพื่อความเข้าใจที่ชัดเจนยิ่งขึ้นนะครับ)



หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ กันยายน 15, 2012, 01:38:32 PM


(http://www.jaowka.com/wp-content/uploads/2012/09/junjaowka-1166-1.jpg)


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ กันยายน 23, 2012, 02:27:14 PM

ของเราโดยแท้

(http://www.jaowka.com/wp-content/uploads/2012/09/junjaowka-1227.jpg)


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ กันยายน 23, 2012, 02:27:48 PM


(http://www.jaowka.com/wp-content/uploads/2012/09/junjaowka-1247-1.jpg)


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ กันยายน 23, 2012, 02:28:30 PM


(http://www.jaowka.com/wp-content/uploads/2012/09/junjaowka-1226-4.jpg)


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ กันยายน 23, 2012, 02:29:27 PM


(http://www.jaowka.com/wp-content/uploads/2012/09/junjaowka-1250-1.jpg)


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ กันยายน 30, 2012, 08:50:48 PM


(http://www.jaowka.com/wp-content/uploads/2012/09/junjaowka-1319-2.jpg)



หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ กันยายน 30, 2012, 08:51:24 PM



(http://www.jaowka.com/wp-content/uploads/2012/09/junjaowka-1318-3.jpg)


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ กันยายน 30, 2012, 08:52:16 PM



(http://www.jaowka.com/wp-content/uploads/2012/09/junjaowka-1308-4.jpg)


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ กันยายน 30, 2012, 08:53:02 PM



(http://www.jaowka.com/wp-content/uploads/2012/09/junjaowka-1307.jpg)


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ กันยายน 30, 2012, 08:53:42 PM


(http://www.jaowka.com/wp-content/uploads/2012/09/junjaowka-1309-1.jpg)


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ ตุลาคม 03, 2012, 01:05:41 PM


(http://www.jaowka.com/wp-content/uploads/2012/10/junjaowka-1331-3.jpg)


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ ตุลาคม 03, 2012, 01:07:12 PM



(http://www.jaowka.com/wp-content/uploads/2012/10/junjaowka-1338-1.jpg)


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ ตุลาคม 03, 2012, 01:07:31 PM



(http://www.jaowka.com/wp-content/uploads/2012/10/junjaowka-1336-3.jpg)


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ ตุลาคม 03, 2012, 01:16:08 PM


(http://www.jaowka.com/wp-content/uploads/2012/10/junjaowka-1334-1.jpg)


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ ตุลาคม 08, 2012, 01:59:20 PM
หลวงปู่ชา วัดป่าหนองป่าพง จังหวัดอุบลราชธานี ท่านได้เคยสอนไว้ว่า

(http://img.kapook.com/image/love/shutterstock_40821406.jpg)

ทำบาปและบุญ มีแต่ ขาดทุน เรื่อยไป และปู่ชา ได้อธิบายต่อในการเทศน์ว่า การทำบุญขอเพียงมีจิตอันบริสุทธิ์ที่คิดอยากจะทำบุญไม่ต้องใช้เงินทองมากมาย ก็ได้บุญมากมาย แต่ถ้าเอาเงินบาปมาทำบุญ คือ เงินที่ได้จากการโกงผู้อื่น ยักยอกฉ้อโกง ปล้นฆ่าชิงทรัพย์ แล้วมาทำบุญเพื่อลบล้างบาปเป็นไปไม่ได้ เพราะบุญและบาป เหมือนบัญชี รายรับ รายจ่าย เราจะเอารายจ่ายที่มีมากกว่ารายรับและนำมาลงเพื่อให้ดูเหมือนมีรายรับมากเป็นกำไร ก็เท่ากับหลอกตัวเอง หลอกเพื่อนร่วมงาน หลอกบริษัท ฉะนั้น การทำบุญก็จะได้บุญ การทำบาปก็จะต้องได้รับกรรม ถ้าบุญมีมากกว่าบาป บาปก็จะวิ่งไล่บุญไม่ทัน จึงจะเห็นว่า คนที่อยู่ดีมีสุข และมีจิตใจดี คือรวยแล้วยังชอบทำบุญนั่นเพราะเขาพยายามสร้างบุญเพื่อไม่ให้บาปตามทัน แต่คนรวยที่โกงผู้อื่นเขามาและพยายามทำบุญเพื่อลดบาปแต่ทำไมดูเหมือนเขาน่าจะมีความสุข แท้ที่จริงแล้วไม่มีเพราะจิตใจผู้นั้นจะรู้ว่าเงินที่ได้มาไม่สุจริต ก็จะเป็นทุกข์ในใจ ขอให้ทุกคนทำบุญด้วยจิตบริสุทธิ์จริง เพียงแค่นี้ก็มีค่ากว่าเงินทำบุญเป็นแสนเป็นล้านที่ไม่ได้มาจากการตั้งใจจริงที่จะทำบุญ


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ ตุลาคม 08, 2012, 02:08:57 PM


(http://img.kapook.com/image/love/shutterstock_51718681.jpg)


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ ตุลาคม 08, 2012, 02:09:41 PM



(http://www.jaowka.com/wp-content/uploads/2012/10/junjaowka-1358-1.jpg)



หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ ตุลาคม 08, 2012, 02:10:14 PM



(http://www.jaowka.com/wp-content/uploads/2012/10/junjaowka-1367-1.jpg)


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ ตุลาคม 08, 2012, 02:10:45 PM




(http://www.jaowka.com/wp-content/uploads/2012/10/junjaowka-1357-1.jpg)


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ ตุลาคม 30, 2012, 08:32:24 PM
ทุกข์เพราะเรื่องนั้น/หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ

(http://www.jaowka.com/wp-content/uploads/2012/10/junjaowka-1464-9.jpg)

“คนเราถ้าหลงใหลในเรื่องใดแล้ว
ก็จะเป็นทุกข์เพราะเรื่องนั้น”

-พระพรหมมังคลาจารย์ (หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ)-


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ ตุลาคม 30, 2012, 08:33:31 PM
คนใจกว้างกับคนใจดำ


(http://www.jaowka.com/wp-content/uploads/2012/10/junjaowka-1463-3.jpg)


“โลกนี้แจ่มใสสำหรับคนใจกว้าง
โลกนี้เวิ้งว้างสำหรับคนใจดำ”

-หลวงปู่จันทร์ กุสโล-



หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ ตุลาคม 30, 2012, 08:34:43 PM
จงยินดีเผชิญหน้ากับทุกสิ่ง/ท่านพุทธทาสภิกขุ

(http://www.jaowka.com/wp-content/uploads/2012/10/junjaowka-1490-1.jpg)

“ถ้าอยู่ในฐานะที่หลีกทางให้ไม่ได้จริงๆ
ก็จงยินดีเผชิญหน้า…กับทุกสิ่ง…ที่ประดังกันเข้ามา”

-ท่านพุทธทาสภิกขุ-



หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ ตุลาคม 30, 2012, 08:37:21 PM
ยอม/พระไพศาล วิสาโล

(http://www.jaowka.com/wp-content/uploads/2012/10/junjaowka-1510-3.jpg)

“เราไม่สามารถเลือกได้ว่า จะต้องมีสิ่งดีๆเกิดขึ้นกับชีวิตของเรา
แต่เราเลือกได้ว่า จะยอมให้มันมีอิทธิพลต่อชีวิตจิตใจเราแค่ไหน”

-พระไพศาล วิสาโล-



หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ ตุลาคม 30, 2012, 08:39:28 PM
ปักใจใฝ่ฝัน/พระไพศาล วิสาโล

(http://www.jaowka.com/wp-content/uploads/2012/10/junjaowka-1504-1.jpg)

บางครั้ง…การที่เราปักใจใฝ่ฝันอยู่กับจุดหมายที่สวยงาม ก็ทำให้ใจเราปิดไม่รับรู้ความสุขที่มีอยู่กับตัว

-พระไพศาล วิสาโล-



หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ พฤศจิกายน 13, 2012, 11:45:30 AM
อยู่ให้ใครจำได้-ไปให้ใครคิดถึง


(http://www.jaowka.com/wp-content/uploads/2012/11/junjaowka-1596-3.jpg)
“คนที่ตายไปแล้ว หากคนที่มีชีวิตอยู่ เขาสามารถจดจำได้
และคิดถึงอยู่ ผู้นั้นได้ชื่อว่าไม่ตาย แต่คนที่มีชีวิตอยู่
กลับไม่มีใครกล่าวถึง หรือ คิดถึงเลย นั่นคือผู้ตายไปแล้ว”

-หลวงพ่อเงิน พุทธโชติ-



หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ พฤศจิกายน 13, 2012, 11:47:13 AM
ถ่านหรือเพชร


(http://)http://www.jaowka.com/wp-content/uploads/2012/11/junjaowka-1593-1.jpg (http://www.jaowka.com/wp-content/uploads/2012/11/junjaowka-1593-1.jpg)

ท้อเป็นถ่าน , ผ่านเป็นเพชร
เวลาแม้ย้อนไม่ได้ แต่เราเริ่มต้นทำดีใหม่ได้ตั้งแต่วันนี้

-ธรรมทาน-



หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ พฤศจิกายน 13, 2012, 11:49:13 AM
จิตจอมหลอกลวง/ท่านพุทธทาสภิกขุ

(http://www.jaowka.com/wp-content/uploads/2012/11/junjaowka-1582-3.jpg)

จิตเป็นขบถ
เป็นนักเลงที่หลอกลวง
เป็นกระจกเงาที่เล่นกลได้
มันเห็นอะไรอย่างไร
ชอบรักอะไรอย่างไร
มันก็ว่านั่นแหละดี
นั่นแหละจริงแท้

เช็ดถูอวิชชา ตัณหา อุปาทานออกเสียก่อน
มันจึงจะเป็นสิ่งที่พูดจริง

-ท่านพุทธทาสภิกขุ-



หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ พฤศจิกายน 13, 2012, 11:54:06 AM
บาปและบุญ/หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร


(http://www.jaowka.com/wp-content/uploads/2012/11/junjaowka-1608-3.jpg)


บาปและบุญนั้นมีอยู่ประจำโลก
เหมือนกับน้ำและไฟนั้นแหละ
ใครทำชั่วก็เดือดร้อน
ใครทำดีก็มีความสุขกายสบายใจ”

-หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร-


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ พฤศจิกายน 13, 2012, 11:55:39 AM
หลง

(http://www.jaowka.com/wp-content/uploads/2012/11/junjaowka-1597-1.jpg)

” รู้ว่ากำลังหลง ดีกว่าหลงว่ากำลังรู้ “

-หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช-



หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ พฤศจิกายน 13, 2012, 11:57:15 AM
ความรู้จักพอ


(http://www.jaowka.com/wp-content/uploads/2012/11/junjaowka-1611-4.jpg)

ความรู้จักพอ เป็นยอดแห่งทรัพย์
Moderation is the epitome of wealth.

สนฺตุฏฺฐี ปรมํ ธนํ(ขุ.ธ.๒๕/๔๒)



หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ พฤศจิกายน 13, 2012, 11:58:41 AM
การให้อภัย

(http://www.jaowka.com/wp-content/uploads/2012/11/160.jpg)

ก า ร ใ ห้ อ ภั ย…มิได้หมายถึง…
การลืมเหตุการณ์ที่ “เ จ็ บ ป ว ด”
แต่…หมายถึง การไม่ยอมให้
เหตุการณ์เหล่านั้น…มาทำร้าย “เ ร า”

-พระไพศาล วิสาโล-



หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ ธันวาคม 01, 2012, 06:37:48 PM
ปริศนาธรรมในศาสนพิธี

(http://piteethai.tarad.com/shop/p/piteethai/img-lib/spd_2012041701307_b.jpg)

พระอาจารย์ กล่าวว่า "ในการจัดดอกไม้ ถ้ามีธูปเทียนอยู่ด้วย ธูป ๓ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เทียน ๒ คือ ตัวแทนของพระธรรมโดยตรง ก็คือ โลกียธรรม โลกุตรธรรม เพราะเทียนเขาหมายถึงความสว่างที่เป็นดวงปัญญา โดยเฉพาะความสว่างของพระธรรม บูรพาจารย์มักจะแทรกปริศนาธรรมต่างๆ เอาไว้ อยู่ในหลักการปฏิบัติบ้าง อยู่ในศาสนพิธีบ้าง ขึ้นอยู่กับว่าเราจะตีความออกไหม ? เข้าถึงไหม ?

ปกติแล้วเราจะจุดธูปแล้วค่อยจุดเทียน ถ้าที่ไหนก็ตาม เขาเตรียมธูปเทียนไว้พร้อม มีการใส่น้ำมันไว้ด้วย เราจะจุดธูปก่อนแล้วจุดเทียน แต่ถ้าที่ไหนที่เขาไม่พร้อม เราต้องจุดเทียนก่อนแล้วเอาธูปไปต่อจากเทียน แต่มาระยะหลังเห็นจุดเทียนก่อนแล้วจุดธูป เขาก็เลยบอกว่าเป็นการจุดเทียนธูป เป็นวลีที่ไม่สะดวกลิ้น แต่จริงๆ ก็คือจุดธูปจุดเทียน

อาตมากำลังคิดว่าจะออกหนังสือสักเล่มหนึ่งชื่อว่า กลิ่นธูปควันเทียน มีบรรยากาศผีๆ หน่อย ตอนนี้ปกิณกธรรมไป ๓ เล่มแล้ว สัพเพเหระไป ๑ เล่ม เดี๋ยวลองดูว่ากลิ่นธูปควันเทียนจะออกไปทางไหน"


สนทนากับพระครูวิลาศกาญจนธรรม (พระอาจารย์เล็ก สุธมฺมปญฺโญ)
ณ บ้านวิริยบารมี เดือนพฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๕๕



(http://variety.teenee.com/saladharm/img5/140751.gif)


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ ธันวาคม 01, 2012, 06:44:49 PM


(http://www.tourdoi.com/flower/water_flower/waterlily3/images/005.jpg)

เพียงแต่เคารพกราบไหว้บูชาด้วยดอกไม้
ธูปเทียน เฉยๆ เท่านั้นน่ะ
แล้วไม่ละชั่วทำดีตามที่พระองค์เจ้าแนะนำสั่งสอนนั้น
มันก็พ้นทุกข์ไปไม่ได้
เพียงแค่กราบไหว้บูชาด้วยดอกไม้นั้น
มันจะพ้นจากนรก จากอบายภูมิไม่ได้เลย
ขอให้พากันคิดให้ดี ก็เป็นเพียงอุปนิสัย
ปัจจัยติดตัวไปนิดหน่อยเท่านั้นเองแหละ
แต่ว่าไม่พ้นนรก เพราะบุคคลยังไปทำบาปอยู่
ยังลุอำนาจแก่ตัณหาอยู่
เช่นนี้แล้วมันจะพ้นจากนรกไม่ได้เลย


ผู้นับถือพระพุทธศาสนานี้
ควรพยายามน้อมเอาคำสอนของพระพุทธเจ้า
เข้ามาตริตรอง พิจารณาอยู่ภายในใจนี้
ให้มันเห็นแจ้งด้วยใจของตนเองแท้ๆ
นั่นแหละมันถึงจะปฏิบัติตามได้
ถ้าไม่เห็นแจ้งด้วยใจของตนในเรื่องบาป เรื่องบุญ
เรื่องคุณ เรื่องโทษก็ดี
อย่างนี้แล้วจะไม่ยอมปฏิบัติตาม
คนเราน่ะเป็นอย่างนั้น
ถ้าเห็นแจ้งแก่ใจแล้วว่า
สิ่งที่พระองค์เจ้าทรงแสดงว่าเป็นบาป
มันก็เป็นบาปจริงๆ ให้มันเห็นแจ้งเลย มันเป็นบาป
เพราะเหตุว่าเป็นการไปก่อทุกข์ให้แก่ผู้อื่น
นั่นแหละว่าเป็นบาป
เมื่อทำอะไรลงไปแล้วมันต่อทุกข์ให้แก่ตนบ้าง
ให้แก่ผู้อื่นบ้าง อย่างนี้มันเป็นบาปทั้งนั้นแหละ


:: หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ ธันวาคม 15, 2012, 08:00:23 PM
การเอาสตางค์มาทำบุญ


(http://variety.teenee.com/saladharm/img9/141419.jpg)


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ ธันวาคม 15, 2012, 08:01:49 PM
อย่าได้เป็นกบเฝ้าดอกบัว

(http://variety.teenee.com/saladharm/img0/141420.jpg)

ชาวโลกทุกถ้วนหน้าที่เคารพ
พวกเราอย่าได้เป็นกบเฝ้าดอกบัว
และอย่าได้เป็นกบเลือกนายเลย
นายของพวกเรา คือ...พระธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เป็นคำสอนที่ทรงพระเหตุผล
สมต้นสมกลางสมปลายบริบูรณ์ดีพอแล้ว
พร้อมทั้งฆราวาสและบรรพชิต
สอนจิตสอนใจของพวกเราให้ละเอียดสูงส่งตรงไปให้
ชนะความเมาความหลงของเจ้าตัว
สอนไม่ให้เข้าข้างตัวโดยฝ่ายเดียว
สอนให้แลเหลียวดูใจท่านผู้อื่นและให้เอาตนเป็นพยานก่อน

:: หลวงปู่หล้า เขมปัตโต


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มกราคม 01, 2013, 07:38:09 PM
ยิ่งทำดีเท่าไร ยิ่งทำให้คนมองไม่ดี ?


(http://variety.teenee.com/saladharm/img0/142398.jpg)


ถาม : ยิ่งเราทำดีเท่าไร ยิ่งทำให้คนอื่นเขามองไม่ดี ?

ตอบ : จำไว้ว่าคนเราถ้าตั้งใจทำความดี มารจะขวาง คนรอบข้างสามารถเป็นมารได้ทั้งหมด ซึ่งเกิดจากการดลจิตดลใจของมารเขา ถ้าหากว่าตั้งหน้าตั้งตาสู้ฟันฝ่าไปด้วยกำลังใจที่เข้มแข็ง เราก็จะพ้นผ่านไปได้ แต่ถ้าหากไม่ยอมสู้ ยื่นเท้าเข้าไปให้เขาผูกแต่โดยดี ก็ไม่ต้องไปไหนหรอก เสร็จเขาแน่..!

สนทนากับพระอาจารย์เล็ก สุธมฺมปญฺโญ
ณ บ้านอนุสาวรีย์ฯ เดือนมิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๔๕

ที่มา : ยิ่งทำดีเท่าไร ยิ่งทำให้คนมองไม่ดี ? - กระดานสนทนาวัดท่าขนุน



(http://variety.teenee.com/saladharm/img0/142399.gif)


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มกราคม 13, 2013, 08:23:03 PM
ทำกรรมขึ้นมาแล้ว...ยากที่จะหนีกรรมนั้นได้



(http://variety.teenee.com/saladharm/img2/142908.jpg)


ทำกรรมขึ้นมาแล้ว...ยากที่จะหนีกรรมนั้นได้

ถาม : .....

ตอบ : มีอยู่สมัยหนึ่งมีพระอยู่หลายคณะ พอออกพรรษาแล้วก็เดินทางไปกราบ พระพุทธเจ้า ที่ เชตวันมหาวิหาร

คณะหนึ่งเดินมาทางพื้นราบ ชาวบ้านเขาเห็นก็นิมนต์ไปรับภัตตาหาร ตอนที่เขากำลังประเคนอาหารพระอยู่ ปรากฏว่าไฟไหม้ไปติดที่เสวียนหญ้าที่เขาเอาไว้รองหม้อ สมัยก่อนจะใช้หม้อดิน เขาจะเอาหญ้ามามัดขดเป็นวงกลมๆ สำหรับเอาหม้อวางไว้ จะได้ไม่แตก ไม่หก ไม่ล้ม ไฟไหม้ไปติดเสวียนหญ้าแล้วลมตีลอยขึ้นไป ปรากฏว่าอีกาตัวหนึ่งบินผ่านมา ถูกเสวียนหญ้าสวมเข้าพอดีเลย จึงโดนไฟไหม้ร่วงลงมาตาย

พระท่านก็แปลกใจว่า "เออหนอ..ขนาดอยู่บนอากาศอย่างนั้นยังโดนไฟไหม้ร่วงลงมาตายได้ จะต้องมีอะไรที่เป็นเบื้องหลังชนิดที่คิดไม่ถึงแน่นอน จำเราจะต้องไปถามพระพุทธเจ้าดู" ฉันเสร็จแล้วก็ลาญาติโยมเดินทางต่อไป

อีกคณะหนึ่งมาทาง ทะเล อาศัยเรือเขามา ปรากฏว่าเรือที่กำลังแล่นอยู่กลางทะเล ทั้งๆ ที่ลมส่งก็แรงดีแต่เรือไม่ไป ติดอยู่เหมือนกับว่าทิ้งสมอไว้อย่างนั้น แก้ไขอย่างไรก็ไปไม่ได้ นายเรือก็เลยคิดว่า คนกาลกิณี จะต้องเกิดขึ้นแล้วในสถานที่ของเรา จึงทำฉลากให้จับ ปรากฏว่าไปเจอะเอาเมียสาวสวยเช้งของนายเรือพอดี ให้จับใหม่ถึงสามครั้ง ปรากฏว่าจะจับก่อน จับหลัง จับตรงกลาง ก็ได้คนเดียวกันนั่นแหละ นายเรือก็เลยตัดสินใจ เพื่อให้คนทั้งหลายอยู่รอดจำต้องสละภรรยาตัวเอง เลยจับภรรยาโยนน้ำไปเสีย เรือก็แล่นต่อไปได้ พระที่ติดเรือไปด้วยก็คิดว่า "นางทำกรรมอะไรเห็นปานนี้หนอ ต้องมาถูกทิ้งกลางทะเล จำเราต้องไปถามพระพุทธเจ้าดู"

ส่วนอีกคณะมาทางป่าและเขา พอค่ำลงก็มาขอพักที่วัดแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นวัดป่ามีถ้ำใหญ่อยู่ พระเจ้าถิ่นก็จัดที่นอนให้กันอยู่ในถ้ำ ท่านมาด้วยกันเจ็ดรูป ปรากฏว่าขณะที่นอนกันอยู่ มีก้อนหินใหญ่ ท่านใช้คำว่า "ใหญ่เท่าเรือนยอด" เรือนยอดนี่หมายถึงกุฏิประเภทมณฑปมียอดของสมัยนี้ หินใหญ่เท่าเรือนยอดกลิ้งตกจากเขามาอุดปากถ้ำไว้พอดี พอตอนเช้าพระเจ้าถิ่นเห็นเข้าก็ตกใจ รีบเกณฑ์ชาวบ้านมาช่วยกันงัด ช่วยกันแงะ อย่างไรก็ไม่ออก พระท่านก็อดอาหารอยู่ข้างในนั้น พอถึงวันที่เจ็ดปรากฏว่าหินใหญ่นั้นกลิ้งออกไปเฉยๆ ไม่ต้องให้ใครทำอะไรเลย พระทั้งเจ็ดรูปก็หิวโซออกมา จนกระทั่งชาวบ้านเลี้ยงกินอิ่มหนำมีเรี่ยวมีแรงดีแล้ว ก็คิดว่า "เออหนอ..พวกเราทำกรรมอะไรมาหนักขนาดนี้หนอ ถึงต้องมาอดข้าวอดน้ำตั้งเจ็ดวัน จำเราจะไปทูลถามพระพุทธเจ้าดู.."


พอไปถึงพระเชตวันมหาวิหาร ต่างคนต่างกราบปฏิสันถารเรียบร้อยแล้ว ท่านก็ทูลถามว่าเกิดอะไรขึ้น พวกกรรมต่าง ๆ อย่างนี้ถึงได้มีอยู่ พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า อีกาตัวนั้นสมัยหนึ่งเป็นชาวนา วัวของแกดื้อมาก ทำอย่างไรก็ไม่ยอมไถนา แกเลยเอาฟางมาม้วนพันคอวัวไว้ แล้วจุดไฟเผา วัวทนไม่ไหวก็ตาย แกต้องตายเพราะไฟตามกรรมที่สร้างไว้มาตลอด ๕๐๐ ชาติ

รายที่เป็นภรรยาของนายเรือนั่น หลายชาติที่แล้วเป็นภรรยาของนายพราน คราวนี้สามีตาย ตัวเองก็อยู่กับหมา หมาพรานเป็นนักล่าอยู่แล้ว ไปไหนก็ไปด้วย คนก็พูดแซวไปเรื่อยเปื่อยว่า พรานผู้หญิงเขามาแล้ว เดี๋ยวล่าสัตว์ได้เราจะขอแบ่งไปกินบ้าง แซวกันไปแซวกันมา พอหลายวันเข้าพรานหญิงก็อาย เลยใช้วิธีจับหมาแล้วเอาหม้อผูกคอ เอาทรายใส่แล้วผลักลงน้ำ หมาก็จมน้ำตาย

พระพุทธเจ้าก็บอกว่าหมาตัวนั้นในอดีตชาติเคยเป็นสามีของผู้หญิงคนนั้น คราวนี้พอเกิดมาเป็นหมาแล้วจำได้ คอยติดสอยห้อยตามไม่ห่าง ใครเข้าใกล้มาก็คอยป้องกัน ทำด้วยความรักความผูกพันจากอดีตชาติมา แต่ผู้หญิงเขาโดนแซวอยู่บ่อย ๆ ทนไม่ไหว จึงจับถ่วงน้ำไปเลย ชาตินี้กรรมก็เลยพาให้ตัวเองต้องชดใช้บ้าง เรือวิ่งอยู่กลางทะเลแท้ ๆ ไปไหนไม่ได้ ต้องจับฉลากว่าใครเป็นตัวกาลกิณีที่ทำให้เกิดเหตุนี้ แกก็จับได้ทั้งสามครั้ง นี่เป็นกรรมจากอดีตมา

ส่วนพระอีกเจ็ดรูปที่ไปติดอยู่ในถ้ำ พระพุทธเจ้าตรัสว่าหลายอัตภาพที่แล้วมา เกิดเป็นเด็กเจ็ดคนมีหน้าที่ต้อนวัวไปเลี้ยง ถึงเวลาก็ตามประสาเด็ก มีหนังสติ๊กก็ไล่ยิงนกตกปลาของตัวเองไปเรื่อย ไปเจอตัวใหญ่เข้า คิดว่าจะกินก็ไล่ต้อน ไม่มีทางหนีก็ผลุบเข้าไปรูที่จอมปลวก พวกนี้เห็นว่าค่ำแล้วไม่สามารถที่จะขุดเอาออกมาได้ในวันนี้ ก็หาไม้มาอุดรูเอาไว้ เสร็จแล้วก็กลับบ้านไป คราวนี้วันต่อมาลืมว่าตัวเองขังเอาไว้ ก็ต้อนวัวไปหากินทางอื่น ต้อนไปต้อนมา พอวันที่เจ็ดย้อนกลับมาทางเดิมพอดี เห็นจอมปลวกนึกได้ ก็รีบไปดึงไม้ที่อุดอยู่ออกมา ปรากฏว่าคลานออกมาผอมโหลเหล จะตายแหล่ไม่ตายแหล่ เลยหมดความน่ากินเพราะอดมาเจ็ดวันแล้ว ไม่อ้วนเหมือนเดิมแล้ว ก็เลยปล่อยไป โทษที่ตัวเองขังเขาไว้เจ็ดวันไม่ได้กินอะไร ชาตินี้เลยเป็นเหตุให้ไปติดอยู่ในถ้ำเสียเจ็ดวัน ต้องอดข้าวอดน้ำเหมือนกัน

พอพระทั้งหมดได้ยินก็เกิดสลดใจว่า เออหนอ... คนเราทำกรรมขึ้นมาแล้ว ถึงจะบินอยู่บนฟ้า ลอยอยู่กลางทะเลก็ดี หลบซ่อนอยู่ในถ้ำก็ดี ไม่สามารถที่จะหนีกรรมนั้นได้เลย เกิดสลดใจขึ้นมา พระพุทธเจ้าท่านเลยเทศน์สงเคราะห์จนกลายเป็นพระอริยเจ้า คือท่านแสดงให้เห็นชัด ๆ ว่า ไม่ว่าคุณไปทำอะไรไว้ก็ตาม ถึงเวลาผลลัพธ์นั้นจะเกิดขึ้นกับตัวเองแน่นอน เป็นอย่างไร ? ฟังแล้วสยองไหม ?


สนทนากับพระอาจารย์เล็ก สุธมฺมปญฺโญ
ณ บ้านอนุสาวรีย์ฯ เดือนมิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๔๕
__________________


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มิถุนายน 25, 2013, 10:17:41 AM



(http://sphotos-h.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-ash3/1011182_571717039545759_824077062_n.jpg)


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มิถุนายน 25, 2013, 10:18:35 AM


(http://sphotos-b.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-ash4/270361_578035525544503_1976318064_n.jpg)


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มิถุนายน 25, 2013, 10:19:58 AM


(http://sphotos-d.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-ash4/408771_580479995300056_173408903_n.jpg)


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ กรกฎาคม 07, 2013, 07:39:08 PM


หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ : Buddhadasa Indapanno Archives
สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับไปเป็นธรรมดา
เห็นทุกสิ่งที่เกิดดับดั่งนี้ชื่อว่าเห็นทุกข์
เพราะทุกข์นั้นก็คือเกิดดับ
เห็นว่าสิ่งใดเกิด สิ่งนั้นก็ต้องดับ
และต้องเป็นดั่งนี้ครอบโลกไปหมด
จึงเห็นสัจจะคือความจริงที่ครอบโลกทั้งหมด

สมเด็จพระสังฆราช

รวมสาระธรรม บน instagram
http://instagram.com/suanmokkh_bkk (http://instagram.com/suanmokkh_bkk)


(http://sphotos-d.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-ash4/p320x320/1005424_10151727718580535_404268336_n.png)


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ สิงหาคม 06, 2013, 09:50:04 AM

พระไพศาล วิสาโล - Phra Paisal Visalo
ปุจฉา - กราบนมัสการหลวงพ่อค่ะ ลูกมีเรื่องทุกข์ค่ะ ลูกสับสนใจของลูกมาก

คือเรื่องของของเป็นแบบนี้ค่ะ ลูกเลิกกับแฟนที่คบกันมา ๑๐ ปีค่ะ สาเหตุเพราะเค้ามีคนใหม่

ตัวลูกเองก็กว่าจะทำใจได้กว่าจะผ่านมาได้ซึ่งตอนนี้ก็ไม่รู้ว่า ผ่านมันไปได้จริงๆรึยัง มาเกือบ ๑๐ เดือนได้แล้วค่ะ

พักหลังได้รับการติดต่อจากเค้ามาตลอด (ทั้งๆที่ยังไม่เลิกกับแฟน ยังมาบอกว่าลืมลูกไม่ได้)

ลูกจิตใจยังไม่นิ่งพอทำให้ลูกเศร้ามาก อะไรหลายๆอย่างมันไม่สามารถกลับมาเหมือนเดิมได้อีก ในใจลูกมันสับสน

หลวงพ่อคะหลังจากที่ลูกตัดใจเลิกกับเค้ามา ลูกมีคนดีดี คนที่มีทั้งความพร้อมทั้งหน้าตา การงาน

เข้ามาให้ลูกได้รู้จักและศึกษา แต่ไม่ว่าเค้าจะทำดีแค่ไหนใจลูกก็คิดอยู่เสมอว่ามันจะเป็นแบบนี้นานแค่ไหน

จะตลอดไปรึป่าว คนคนเหล่านั้นจากลูกไป ลูกก็มีความคิดว่าสิ่งเหล่านี้มัน แค่ส่วนหนึ่งของชีวิตเท่านั้น ไม่ใช่ทั้งหมด

ทุกอย่างเข้ามาให้เราได้เรียนรู้ แต่ทำไมค่ะทำไมใจลูกยังโหยหาความรักอยู่

ทุกวันนี้ลูกเปิดโอกาสเปิดใจแต่พอเอาเข้าจริงๆลูกกลับปฏิเสธมัน ลูกเป็นอะไรไปแล้ว

พระไพศาล วิสาโล วิสัชนา - ฟังดูคุณยังตัดใจจากคนรักเก่าไม่ได้

ทั้งนี้เพราะคุณเองยังโหยหาความรักจากคนอื่น แต่คุณเองก็รู้จากประสบการณ์ว่าเขาไม่ใช่คนที่คุณจะฝากใจไว้ได้

อันที่จริงไม่ว่าใครถึงจะดีแค่ไหน ก็ไม่สามารถฝากใจไว้กับเขาได้อย่างตลอดหรือปลอดภัยเลย

เพราะไม่มีใครที่จีรังยั่งยืนได้ ถึงจะดีแค่ไหน เขาก็ต้องตายจากเราไม่ช้าก็เร็ว

ยังไม่ต้องพูดถึงคนที่เปลี่ยนนิสัยใจคอกลายเป็นคนไม่น่ารัก เห็นแก่ตัว หรือเจ้าชู้

คนเราโหยหาความรัก เพราะข้างในนั้นพร่องความรัก สาเหตุสำคัญที่ทำให้พร่องความรักก็คือ

ขาดความรักตนเองอย่างแท้จริง (ซึ่งอาจเกิดจากความรู้สึกว่าคนอื่นไม่รักเรา ก็เลยรู้สึกไม่ดีกับตนเอง)

คุณลองหันมารักตนเองให้มากขึ้น เห็นคุณค่าของตนเองมองเห็นว่าเรามีอะไรบ้าง

อย่ามองแค่ว่าเราขาดอะไร ที่สำคัญคืออย่าเอาคุณค่าของตัวเองไปผูกติดไว้กับใครหรืออะไร

ขณะเดียวกันก็ควรเผื่อแผ่ความรักหรือมีน้ำใจให้คนอื่นด้วย เมื่อคุณให้ความรักอย่างบริสุทธิ์ใจ

คุณย่อมได้รับความรักกลับมาเอง แต่ถ้าเอาแต่เรียกร้องหรือคาดหวังความรักจากผู้อื่น

คุณกลับจะไม่ได้ ยิ่งอยากได้ กลับยิ่งไม่ได้ แต่พอไม่อยากได้ กลับได้มา



(https://fbcdn-sphotos-g-a.akamaihd.net/hphotos-ak-prn1/p320x320/1011706_707961979231122_1964992156_n.png)


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ สิงหาคม 06, 2013, 09:51:52 AM

พระไพศาล วิสาโล - Phra Paisal Visalo



ปุจฉา - กราบนมัสการ ค่ะดิฉันขอโอกาสเรียนปรึกษาท่านว่า หากเราไม่เห็นด้วยกับการกระทำของเขา
เราจะแสดงออกให้เขารู้ได้อย่างไรโดยปราศจากความรุนแรงและไม่เกลียดชังกันคะ ขอบพระคุณค่ะ


พระไพศาล วิสาโล วิสัชนา - คุณควรพูดกับเขาอย่างสุภาพ พระพุทธเจ้าทรงแนะว่า
เมื่อจะแนะนำหรือทักท้วงใคร ควรมีหลักดังนี้
๑) เป็นความจริง
๒)มีประโยชน์
๓) พูดด้วยคำสุภาพ
๔) มีเมตตา
๕) ถูกเวลา ข้อสุดท้ายนั้นสำคัญมาก แม้ทำ ๔ ข้อแรกได้ครบถ้วน แต่ถ้าพูดไม่ถูกเวลาก็มีปัญหาได้
กระทั่งคำชมพระพุทธเจ้าก็ยังทรงเน้นว่าต้องชมให้ถูกเวลาด้วย นับประสาอะไรกับการพูดแนะนำหรือทักท้วง

ในกรณีของคุณอาจไม่จำเป็นต้องพูดในเชิงแนะนำหรือทักท้วงก็ได้
แต่พูดว่าคุณรู้สึกและคิดอย่างไรกับการกระทำของเขา มันก่อผลเสียต่อตัวคุณและผู้ อื่นอย่างไร
หากเขาทำ ด้วยเจตนาดี ก็ควรบอกเขาด้วยว่าคุณรับรู้เจตนาดังกล่าวของเขา ( หรือรับรู้เหตุผลของเขา)
และหากเขาได้ทำสิ่งดี ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกัน คุณก็ควรพูดชมเขาด้วย

พร้อมกันนั้นควรเปิดโอกาสให้เขาชี้แจงหรืออธิบาย หากคุณฟังเขาเขาก็มีแนวโน้มที่จะฟังคุณมากขึ้น
ซึ่งจะช่วยลดความรู้สึกโกรธ เคืองระหว่างคุณกับเขาลงได้


(https://fbcdn-sphotos-c-a.akamaihd.net/hphotos-ak-ash3/p480x480/557905_707844745909512_1977210701_n.png)


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ กันยายน 10, 2013, 08:57:45 PM
ความสุข...ที่มักถูกมองข้าม

...คุณ เป็นคนหนึ่งหรือไม่ที่เชื่อว่า ยิ่งมีเงินทองมากเท่าไร ...ก็ยิ่งมีความสุขมากเท่านั้น ความเชื่อดังกล่าวดูเผินๆ ก็น่าจะถูกต้องโดยไม่ต้องเสียเวลาพิสูจน์.. แต่ถ้าเป็นเช่นนั้นจริง ...ประเทศไทยน่าจะมีคนป่วยด้วยโรคจิตน้อยลง มิใช่เพิ่มมากขึ้น ทั้งๆ ที่รายได้ของคนไทยสูงขึ้นทุกปี

ในทำนองเดียวกันผู้จัดการก็ น่าจะมีความสุขมากกว่าพนักงานระดับล่างๆ เนื่องจากมีเงินเดือนมากกว่า แต่ความจริงก็ไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไป ไม่นานมานี้มหาเศรษฐีคนหนึ่งของไทยได้ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ว่า เขารู้สึกเบื่อหน่ายกับชีวิต เขาพูดถึงตัวเองว่า “ชีวิต (ของผม) เริ่มหมดค่าทางธุรกิจ” ลึกลงไปกว่านั้นเขายังรู้ สึกว่าตัวเองไม่มีความหมาย เขาเคยพูดว่า... “.ผมจะมีความหมายอะไร ก็เป็นแค่....มหาเศรษฐีหมื่นล้านคนหนึ่ง”

เมื่อ เงินหมื่นล้านไม่ทำให้มีความสุข เขาจึงอยู่เฉยไม่ได้ ...ในที่สุดวิ่งเต้นจนได้เป็นรัฐมนตรี ขณะที่เศรษฐีหมื่นล้านคนอื่นๆ ยังคงมุ่งหน้า หาเงินต่อไปด้วยความหวังว่าถ้าเป็นเศรษฐีแสนล้านจะมีความ สุขมากกว่านี้ คำถามก็คือ ..เขาจะมีความสุขเพิ่มขึ้นจริงหรือ ?

คำถาม ข้างต้นคงมีประโยชน์ไม่มากนักสำหรับคนทั่วไป เพราะชาตินี้คงไม่มีวาสนาแม้แต่จะเป็นเศรษฐีร้อยล้านด้วยซ้ำ แต่อย่างน้อยก็คงตอบคำถามที่อยู่ในใจของคนจำนวนไม่น้อยได้บ้างว่า ทำไมอัครมหาเศรษฐีทั้งหลาย รวมทั้งบิล เกตส์ จึงไม่หยุด หาเงินเสียที ทั้งๆ ที่มีสมบัติมหาศาล ขนาดนั่งกินนอนกินไป ๗ ชาติก็ยังไม่หมด

แต่ถ้า เราอยากจะค้นพบคำตอบ ให้มากกว่านี้ ก็น่าจะย้อนถามตัวเองด้วยว่า ทำไมถึงไม่หยุดซื้อแผ่นซีดีเสียทีทั้งๆ ที่มีอยู่แล้วนับหมื่นแผ่น ทำไมถึงไม่หยุดซื้อเสื้อผ้าเสียทีทั้งๆ ที่มีอยู่แล้วเกือบพันตัว ทำไมถึงไม่หยุดซื้อรองเท้าเสียทีทั้งๆ ที่มีอยู่แล้วนับร้อยคู่ แผ่นซีดีที่มีอยู่มากมายนั้น บางคนฟังทั้งชาติก็ยังไม่หมด ในทำนองเดียวกัน เสื้อผ้า หรือรองเท้าที่มีอยู่มากมายนั้น บางคนก็เอามาใส่ไม่ครบทุกตัวหรือทุกคู่ด้วยซ้ำ มีหลายตัวหลายคู่ที่ซื้อมาโดยไม่ได้ใช้เลย แต่ทำไมเราถึงยังอยาก..จะได้อีกไม่หยุดหย่อน

ใช่หรือไม่ว่าสิ่งที่เรามีอยู่แล้วในมือนั้นไม่ทำให้เรา..มีความสุขได้มากกว่าสิ่งที่ได้มาใหม่

มี เสื้อผ้าอยู่แล้วนับร้อยก็ไม่ทำให้จิตใจเบ่งบานได้เท่ากับเสื้อ ๑ ตัวที่ได้มาใหม่ มีซีดีอยู่แล้วนับพันก็ไม่ทำให้รู้สึกตื่นเต้นได้เท่ากับซีดี ๑ แผ่นที่ได้มาใหม่ ในทำนองเดียวกันมีเงินนับร้อยล้านในธนาคารก็ไม่ทำให้รู้สึกปลาบปลื้มใจเท่า กับเมื่อได้มาใหม่อีก ๑ ล้าน

พูด อีกอย่างก็คือ คนเรานั้นมักมีความสุขจากการได้ ..มากกว่าความสุขจากการมี มีเท่าไรก็ยัง อยากจะได้มาใหม่ เพราะเรามักคิดว่าของใหม่จะให้ความสุขแก่เราได้มากกว่าสิ่งที่มีอยู่เดิม.. บ่อยครั้ง ของที่ได้มาใหม่นั้นก็เหมือนกับของเดิมไม่ผิดเพี้ยน แต่เพียงเพราะว่ามันเป็นของใหม่ ..ก็ทำให้เราดีใจแล้วที่ได้มา

จะ ว่าไปนี่อาจเป็นสัญชาตญาณที่มีอยู่กับสัตว์หลายชนิดไม่เฉพาะแต่มนุษย์เท่า นั้น ถ้าโยนน่องไก่ให้หมา หมาก็จะวิ่งไปคาบ แต่ถ้าโยนน่องไก่ชิ้นใหม่ไปให้มันจะรีบคายของเก่าและคาบชิ้นใหม่แทน ทั้งๆ ที่ทั้งสองชิ้นก็มีขนาดเท่ากัน ไม่ว่าหมาตัวไหนก็ตาม ของเก่าที่มีอยู่ในปากไม่น่าสนใจเท่ากับของใหม่ที่ได้มา

ถ้าหากว่า ของใหม่ให้ความสุขได้มากกว่าของเก่าจริง.. เรื่องก็น่าจะจบลงด้วยดี แต่ปัญหาก็คือของใหม่นั้นไม่นานก็กลายเป็นของเก่าและความสุขที่ได้มานั้นใน ..ที่สุดก็จางหายไป ผลก็คือกลับมารู้สึก “เฉยๆ” เหมือนเดิม ..และดังนั้นจึงต้องไล่ล่าหาของใหม่มาอีก ..เพื่อหวังจะให้มีความสุขมากกว่าเดิม แต่แล้วก็วกกลับมาสู่จุดเดิม

..เป็น เช่นนี้ไม่รู้จบ น่าคิดว่าชีวิตเช่นนี้จะมีความสุขจริงหรือ ? เพราะไล่ล่าแต่ละครั้งก็ต้องเหนื่อย ไหนจะต้องขวนขวายหาเงินหาทอง ไหนจะต้องแข่งกับผู้อื่นเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ต้องการ ครั้นได้มาแล้วก็ต้องรักษาเอาไว้ให้ได้ ไม่ให้ใครมาแย่งไป ..แถมยังต้องเปลืองสมองหาเรื่องใช้มันเพื่อให้รู้สึกคุ้มค่า ยิ่งมีมากชิ้นก็ยิ่งต้องเสียเวลาในการเลือกว่าจะใช้อันไหนก่อน

..ทำนองเดียวกับคนที่มีเงินมากๆ ..ก็ต้องยุ่งยากกับการตัดสินใจว่าจะไปเที่ยวลอนดอน นิวยอร์ค เวกัส โตเกียว มาเก๊า หรือซิดนีย์ ดี

..ถ้า เราเพียงแต่รู้จักแสวงหาความสุขจากสิ่งที่มีอยู่แล้ว ชีวิตจะยุ่งยากน้อยลงและโปร่งเบามากขึ้น อันที่จริงความพอใจในสิ่งที่เรามีนั้นไม่ใช่เรื่องยาก ..แต่ ที่เป็นปัญหาก็เพราะเราชอบมองออกไปนอกตัว และเอาสิ่งใหม่มาเทียบกับของที่เรามีอยู่ ..หาไม่ก็เอาตัวเองไปเปรียบเทียบกับคนอื่น เมื่อเห็นเขามีของใหม่ ก็อยากมีบ้าง

..คงไม่มีอะไรที่จะทำให้เราทุกข์ได้บ่อย ครั้งเท่ากับการชอบเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่น การเปรียบเทียบจึงเป็นหนทางลัดไปสู่ความทุกข์ที่ใครๆ ก็นิยมใช้กัน ..นิสัยชอบเปรียบเทียบกับคนอื่นทำให้เราไม่เคยมีความพอใจในสิ่งที่ตนมีเสียที แม้มีแฟนที่ดีก็ยังไม่พอใจเพราะรู้สึกว่าแฟนของคนอื่นสวยกว่า หล่อกว่า หรือเอาใจเก่งกว่า แม้มีลูกที่น่ารักก็ยังไม่พอใจเพราะรู้สึกว่าสู้ลูกของคนอื่นไม่ได้ แม้จะมีหน้าตาดี้ ก็ยังรู้สึกว่าตัวเองไม่สวย เพราะไปเปรียบเทียบตัวเองกับดาราหรือพรีเซนเตอร์ในหนังโฆษณา

การ มองแบบนี้ทำให้ “ขาดทุน” สองสถาน.. คือนอกจากจะไม่มีความสุขกับสิ่งที่มีอยู่แล้ว ยังเป็นทุกข์เพราะไม่ได้สิ่งที่อยาก ..พูดอีกอย่างคือไม่มีความสุขกับปัจจุบัน.. แถมยังเป็นทุกข์เพราะอนาคตที่พึงปรารถนายังมาไม่ถึง

ไม่ มีอะไรที่เป็นอุทธาหรณ์สอนใจได้ดีเท่ากับนิทานอีสปเรื่องหมาคาบเนื้อ คงจำได้ว่า มีหมาตัวหนึ่งได้เนื้อชิ้นใหญ่มา ขณะที่กำลังเดินข้ามสะพาน มันมองลงมาที่ลำธาร เห็นเงาของหมาตัวหนึ่ง (ซึ่งก็คือตัวมันเอง) กำลังคาบเนื้อชิ้นใหญ่ เนื้อชิ้นนั้นดูใหญ่กว่าชิ้นที่มันกำลังคาบเสียอีก ด้วยความโลภ (และหลง) มันจึงคายเนื้อที่คาบอยู่ เพื่อจะไปคาบชิ้นเนื้อที่เห็นในน้ำ.. ผลก็คือเมื่อเนื้อตกน้ำ ชิ้นเนื้อในน้ำก็หายไป มันจึงสูญทั้งเนื้อที่คาบอยู่และเนื้อที่เห็นในน้ำ

บ่อ เกิดแห่งความสุขมีอยู่กับเราทุกคนในขณะนี้อยู่แล้ว ...เพียงแต่เรามองข้ามไปหรือไม่รู้จักใช้เท่านั้น เมื่อใดที่เรามีความทุกข์แทนที่จะมองหาสิ่งนอกตัว ลองพิจารณาสิ่งที่เรามีอยู่และเป็นอยู่ ไม่ว่ามิตรภาพ ครอบครัว สุขภาพ ทรัพย์สิน รวมทั้งจิตใจของเรา ล้วนสามารถบันดาลความสุขให้แก่เราได้ทั้งนั้น ขอเพียงแต่เรารู้จักชื่นชม รู้จักมอง และจัดการอย่างถูกต้องเท่านั้น แทนที่จะแสวงหาแต่ความสุขจากการได้ ลองหันมาแสวงหาความสุขจากการมี หรือจากสิ่งที่มี ขั้นต่อไปคือการแสวงหาความสุขจากการให้ กล่าวคือ ยิ่งให้ความสุข ก็ยิ่งได้รับความสุข สุขเพราะเห็นน้ำตาของผู้อื่นเปลี่ยนเป็นรอยยิ้ม และสุขเพราะภาคภูมิใจที่ได้ทำความดีและทำให้ชีวิตมีความหมาย จากจุดนั้นแหละก็ไม่ยากที่เราจะค้นพบความสุขจากการไม่มี

นั่น คือสุขจากการปล่อยวาง ไม่ยึดถือในสิ่งที่มี.. และเพราะเหตุนั้นแม้ไม่มีหรือสูญเสียไป ก็ยังเป็นสุขอยู่ได้ เกิดมาทั้งที น่าจะมีโอกาสได้สัมผัสกับความสุขจากการให้และการไม่มี เพราะนั่นคือสุขที่สงบเย็นและยั่งยืนอย่างแท้จริง

*******************************

คัดลอกบางตอนมาจาก
...หนังสือแผนที่ความสุข โดย พระไพศาล วิสาโล


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ ตุลาคม 12, 2013, 01:02:03 PM
(http://www.jaowka.com/wp-content/uploads/2013/10/junjaowka-35824-2.jpg)


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ ตุลาคม 12, 2013, 01:04:30 PM

(http://www.jaowka.com/wp-content/uploads/2013/09/junjaowka-35766-2.jpg)


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ พฤศจิกายน 15, 2013, 08:44:47 PM
อานิสงส์การภาวนา

(http://www.pantown.com/data/5174/board1/80-20040822062649.jpg)

อานิสงส์การภาวนา โดย หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ

หลวงพ่อท่านเคยพูดเสมอว่า "อุปัชฌาย์ข้า (หลวงพ่อกลั่น) สอนว่า ภาวนาได้เห็นแสงสว่างเท่าปลายหัวไม้ขีด ชั่วประเดี๋ยวเดียวเท่าช้างกระดิกหูงูแลบลิ้น ยังมีอานิสงส์มากกว่าตักบาตรจนขันลงหินทะลุ" พวกเรามักจะได้ยินท่านคอยให้กำลังใจอยู่บ่อยๆ ว่า "หมั่นทำเข้าไว้ หมั่นทำเข้าไว้ ต่อไปจะได้เป็นที่พึ่งภายหน้า" เสมือนหนึ่งเป็นการเตือนให้เราเร่งความเพียรให้มาก การให้ทานรักษาศีลร้อยครั้งพันครั้งก็ไม่เท่ากับนั่งภาวนาหนเดียวนั่งภาวนา ร้อยครั้งพันครั้ง กุศลที่ได้ก็ไม่เท่ากุศลจิตที่สงบเป็นสมาธิเกิดปัญญาเพียงครั้งเดียว

แนะวิธีปฏิบัติ

เคยมีสุภาพสตรีท่านหนึ่งมีปัญหาถามว่า นั่งปฏิบัติภาวนาแล้วจิตไม่รวม ไม่สงบ ควรจะทำอย่างไร ท่านแก้ให้ว่า "การปฏิบัติ ถ้าอยากเป็นเร็วๆ มันก็ไม่เป็น หรือไม่อยากให้เป็น มันก็ประมาทเสีย ไม่เป็นอีกเหมือนกัน อยากเป็นก็ไม่ว่า ไม่อยากเป็นก็ไม่ว่า ทำใจให้เป็นกลางๆ ตั้งใจให้แน่วแน่ในกัมมัฏฐานที่เรายึดมั่นอยู่นั้น แล้วภาวนาเรื่อยไป เหมือนกับเรากินข้าวไม่ต้องอยากให้มันอิ่ม ค่อยๆ กันไปมันก็อิ่มเอง ภาวนาก็เช่นกันไม่ต้องไปคาดหวังให้มันสงบ หน้าที่ของเราคือภาวนาไปก็จะถึงของดี ของวิเศษในตัวเรา แล้วจะรู้ชัดขึ้นมาว่าอะไรเป็นอะไร ให้หมั่นทำเรื่อยไป"

อุบายวิธีทำความเพียร

ครั้งหนึ่งที่ได้สนทนาปัญหาธรรมกับหลวงพ่อ ท่านเล่าให้ผู้เขียนฟังว่า...เขามาถามปัญหาเข้า ข้าก็ตอบไม่ได้อยู่ปัญหาหนึ่ง ผู้เขียนเรียนถามท่านว่า "ปัญหาอะไรครับ" ท่านเล่าว่า " เขาถามว่า ขี้เกียจ (ปฏิบัติ) จะทำอย่างไรดี" หลวงพ่อหัวเราะ ก่อนที่จะตอบต่อไปว่า "บ๊ะ ขี้เกียจก็หมดกัน ก็ไม่ต้องทำซิ" สักครู่ท่านจึงเมตตาสอนว่า "หมั่นทำเข้าไว้ๆ ถ้าขี้เกียจให้นึกถึงข้า ข้าทำมา 50 ปี อุปัชฌาย์ข้าเคยสอนไว้ว่า ถ้าวันไหนยังกินข้าวอยู่ก็ต้องทำ วันไหนเลิกกินข้าว...นั่นแหละถึงไม่ต้องทำ"

ควรทำหรือไม่ ?

ครั้งหนึ่ง มีลูกศิษย์หลวงพ่อผู้สนใจธรรมปฏิบัติกำลังนั่งภาวนาเงียบอยู่ ไม่ห่างจากท่านเท่าใดนัก บังเอิญมีแขกมาหาศิษย์ผู้นั้นแต่ไม่เห็น ก็มีศิษย์อีกท่านหนึ่งเดินเรียกชื่อท่านผู้กำลังนั่งภาวนาอยู่ด้วยเสียงอัน ดัง และเมื่อเดินมาเห็นศิษย์ผู้นั้นกำลังภาวนาอยู่ก็จับแขนดึงขึ้นมาทั้งที่ กำลังนั่งภาวนา เมื่อผู้นั้นห่างไปแล้ว หลวงพ่อท่านจึงเปรยขึ้นมาว่า "ในพุทธกาลครั้งก่อน มีพระอรหันต์องค์หนึ่งกำลังอยู่นิโรธสมาบัติได้มีนกแสกตัวหนึ่งบินโฉบผ่าน หน้าท่านพร้อมกับร้อง "แซ๊ก" ท่านว่านกแสกตัวนั้นเมื่อตายแล้วได้ไปอยู่ในนรก แม้กัปนี้พระพุทธเจ้าผ่านไปได้พระองค์ที่สี่แล้ว นกแสกตัวนั้นยังไม่ได้ขึ้นมาจากนรกเลย

ทรรศนะต่างกัน

การมาอยู่ด้วยกัน ปฏิบัติด้วยกันมากเข้าย่อมมีเรื่องกระทบกระทั่งกันเป็นธรรมดา ตราบใดที่ยังเป็นปุถุชนคนธรรมดาอยู่ ทิฐิความเห็นย่อมต่างกัน ขอให้เอาแต่ส่วนดีมาสนับสนุนกัน อย่าเอาเลวมาอวดกัน การปรามาสพระก็ดี การพูดจาจ้วงจาบในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์หรือท่านที่มีศีลมีธรรมก็ดี จะเป็นกรรมติดตัวเราและขัดขวางการปฏิบัติธรรมในภายหน้า ดังนั้น หากใครทำความดี ก็ควรอนุโมทนายินดีด้วย แม้ต่างวัดต่างสำนักหรือแบบปฏิบัติต่างกันก็ตาม ไม่มีใครผิดหรอก เพราะจุดมุ่งหมายต่างก็เป็นไปเพื่อความพ้นทุกข์เช่นกัน เพียงแต่เราจะทำให้ดี ดียิ่ง ดีที่สุด เท่านั้น ขอให้ถามตัวเราเองเสียก่อนว่า แล้วเราล่ะถึงที่สุดแล้วหรือยัง

อุเบกขาธรรม

การอยากชวนคนมาวัด มาปฏิบัติให้มาก ๆโดยลืมดูพื้นฐานจิตใจของบุคคลที่กำลังจะชวนว่า เขามีความสนใจมากน้อยเพียงใด หลวงปู่ท่านบอกว่า ให้ระวังให้ดีจะเป็นบาป เปรียบเสมือนกับการจุดไฟไว้ตรงกลางระหว่างคน 2 คน ถ้าเราเอาธรรมะไปชวนเขา เขาไม่เห็นด้วย ปรามาสธรรมนี้ซึ่งเป็นธรรมของพระพุทธเจ้า ก็เท่ากับเราเป็นคนก่อแล้วเขาเป็นคนจุดไฟ บาปทั้งคู่ เรียกว่า เมตตาพาตกเหว

หลวงปู่ได้ยกอุทาหรณ์ สอนต่อว่า เหมือนกับมีชายคนหนึ่งตกอยู่ในเหวลึก มีผู้จะมาช่วย คนที่หนึ่งมีเมตตาจะมาช่วย เอาเชือกดึงขึ้นจากเหว ดึงไม่ไหวจึงตกลงไปในเหวเหมือนกัน คนที่สองมีกรุณษมาช่วยถึงอีก ก็ตกลงเหวอีก คนที่สามมีมุทิตามาช่วยดึงอีกก็พลาดตกเหวอีกเช่นกัน คนที่สี่สุดท้ายเป็นผู้มีอุเบกขาธรรมเห็นว่าเหวนี้ลึกเกินกว่ากำลังของตนที่ จะช่วย ก็มิได้ทำประการใดทั้งๆ ที่จิตใจก็มีเมตตาธรรมที่จะช่วยเหลืออยู่ คนสุดท้ายนี้จึงรอดชีวิตจากการตกเหวตามเพราะ อุเบกขาธรรมนี้แล

เรารักษาศีล ศีลรักษาเรา

ศีลเป็นพื้นฐานที่สำคัญที่สุดของการปฏิบัติธรรมทุกอย่าง หลวงพ่อมักจะเตือนเสมอว่าในขั้นต้นให้หมั่นสมาทานรักษาศีลให้ได้ แม้จะเป็นโลกียศีล รักษาได้บ้าง ไม่ได้บ้าง บริสุทธิ์บ้าง ไม่บริสุทธิ์บ้าง ก็ให้เพียงระวัง รักษาไป สำคัญที่เจตนาที่จะรักษาศีลไว้ และปัญญาที่คอยตรวจตราแก้ไขตน "เจตนาหัง ภิกขเว สีลัง วทามิ" ท่านว่าเจตนาเป็นตัวศีล "เจตนาหัง ภิกขเว ปุญญัง วทามิ" เจตนาเป็นตัวบุญ จึงขอให้พยายามสั่งสมบุญนี้ไว้ โดยอบรมศีลให้เกิดขึ้นที่จิตเรียกว่า เรารักษาศีล ส่วนจิตที่อบรมศีลดีแล้ว จนเป็นโลกุตรศีลเป็นศีลที่ก่อให้เกิดปัญญาในอริยมรรค อริยผลนี้จะคอยรักษาผู้ประพฤติปฏิบัติมิให้เสื่อมเสียหรือตกต่ำไปในทางที่ ไม่ดีไม่งามนี้แลเรียกว่า ศีลรักษาเรา

จะเอาโลกหรือเอาธรรม

บ่อยครั้งที่มีผู้มาถามปัญหากับหลวงพ่อ โดยมักจะนำเอาเรื่องราวต่างๆ ที่เกี่ยวกับหน้าที่การงาน สามี ภรรยา ลูกเต้า ญาติ มิตร หรือคนอื่นๆ มาปรารภให้หลวงพ่อฟังอยู่เสมอ ครั้งหนึ่งท่านได้ให้คติเตือนใจผู้เขียนว่า "โลกเท่าแผ่นดิน ธรรมเท่าปลายเข็ม" ซึ่งต่อมาท่านได้ให้ความหมายว่า "เรื่องโลกมีแต่เรื่องยุ่งของคนอื่นทั้งนั้น ไม่มีที่สิ้นสุด เราไปแก้ไขเขาไม่ได้ ส่วนเรื่องธรรมนั้นมีที่สุด มาจบที่ตัวเรา ให้มาไล่ดูตัวเอง แก้ไขที่ตัวเราเอง ตนของตนเตือนตนด้วยตนเอง ถ้าคิดสิ่งที่เป็นธรรมแล้วต้องกลับเข้ามาหาตัวเอง ถ้าเป็นโลกแล้วจะมีแต่ส่งออกไปข้างนอกตลอดเวลา เพราะธรรมแท้ๆ ย่อมเกิดจากในตัวของเรานี้ทั้งนั้น"เคยมีผู้ปฏิบัติกราบเรียนถามหลวงพ่อว่า"หลวงพ่อครับ ขอธรรมะสั้นๆ ในเรื่องวิธีปฏิบัติเพื่อให้กิเลส 3 ตัว คือ โกรธ โลภ หลง หมดไปจากใจเรา จะทำได้อย่างไรครับ" หลวงพ่อตอบเสียงดังฟังชัด จนพวกเราในที่นั้นได้ยินกันทุกคนว่า "สติ"
 
 


http://variety.thaiza.com (http://variety.thaiza.com)
 


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ พฤศจิกายน 17, 2013, 10:16:10 AM
(https://fbcdn-sphotos-d-a.akamaihd.net/hphotos-ak-ash4/1045044_398234010295233_210619497_n.jpg)


เหตุผลที่การทำทานร่วมกัน เป็นสุขกว่าการทำทานคนเดียว คือ มีจำนวนความสุขอันเกิดแต่การทำทานมากกว่า เปรียบเหมือนลงน้ำสระใหญ่ ย่อมชุ่มชื่นเต็มอิ่ม ได้ดำผุดดำว่ายสบายตัวกว่าลงน้ำในอ่างเล็ก ทุกคนรู้สึกถึงปีติสุขยิ่งใหญ่นั้นได้ในช่วงแห่งการเทน้ำใจไปรวมกัน แม้ไม่อาจอธิบายได้ว่าทำไมถึงสุข แต่ก็รู้ได้ว่าสุขจริง

เหตุผลที่การทำทานร่วมกัน ให้ผลใหญ่กว่าการทำทานคนเดียว คือ เกิดกระแสน้ำใจเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ไ...ม่รู้สึกโดดเดี่ยว แต่รู้สึกปีติว่าน้ำใจดีๆที่เทมารวมกันในปัจจุบัน เป็นหลักประกันความสุขร่วมทางในอนาคต เปรียบเหมือนคนเดินทางไกล ย่อมอุ่นใจเมื่อไม่เห็นตัวเองเดินตามลำพัง แต่ยังมีเพื่อนพ้องน้องพี่ที่เป็นญาติร่วมน้ำใจ ทั้งข้างหน้า ข้างขวา ข้างซ้าย และข้างหลัง

เหตุผลที่การทำทานร่วมกัน จะช่วยลดการแบ่งชั้นวรรณะลงได้ คือ ไม่ว่าใครทำน้อยหรือทำมาก ก็เหมือนช่วยกันเอาอิฐมากน้อยมาร่วมก่อเจดีย์ตามกำลังของแต่ละคน เมื่อเจดีย์สำเร็จลง ก็ได้กราบไหว้เจดีย์เดียวกัน หมดความสำคัญมั่นหมายว่าไหว้เจดีย์อันเกิดจากอิฐของใครที่ส่วนไหน ปีติอันเกิดจากการเห็นเจดีย์ที่สำเร็จจากการร่วมมือลงแรงกัน ย่อมประสานความรู้สึกมีไมตรีเป็นเนื้อเดียวกัน ไม่แบ่งฝักแบ่งฝ่าย ต่อไปถ้าต้องร่วมครอบครัว ร่วมงาน หรือร่วมปกครองคน ก็จะมีรากฐานของความรู้สึกรักใคร่กลมเกลียว มีเหตุผลักดันให้อยากเอาสิ่งที่ตนมีไปเติมให้สิ่งที่คนอื่นขาด ไม่อยากแก่งแย่งชิงดีชิงเด่น นั่นก็เพราะรากของบุญเป็นอย่างไร ผลของบุญก็เผล็ดสอดคล้องตามนั้น

ผลของบุญมีจริง ปรากฏชัดที่ใจเมื่อบุญนั้นใหญ่พอครับ




หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ พฤศจิกายน 17, 2013, 10:16:45 AM
(https://fbcdn-sphotos-c-a.akamaihd.net/hphotos-ak-prn2/p480x480/954827_395096027275698_707475276_n.jpg)


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ พฤศจิกายน 17, 2013, 10:17:21 AM
(https://fbcdn-sphotos-h-a.akamaihd.net/hphotos-ak-frc3/p480x480/599034_506169422773419_2070230806_n.jpg)


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ พฤศจิกายน 17, 2013, 10:17:53 AM
(https://fbcdn-sphotos-f-a.akamaihd.net/hphotos-ak-prn1/p480x480/524677_501532949903733_992771723_n.jpg)


หัวข้อ: Re: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ ธันวาคม 07, 2016, 10:43:13 AM

(https://scontent.fbkk6-2.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/15107270_1639378946361931_625314643729311319_n.jpg?oh=0d0f6c99255ded5efce4dd97b992c88c&oe=58D3FD18)

(https://scontent.fbkk6-2.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/15192662_1639379013028591_7595345012343226827_n.jpg?oh=2c6811ed15416fad169f80bad60f3a3e&oe=58CB643B)


เลิกพูดเสียที ว่าเกิดมาใช้หนี้กรรม - พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)
https://www.youtube.com/watch?v=y6J9xZ3J3NQ (https://www.youtube.com/watch?v=y6J9xZ3J3NQ)