Forex-Currency Trading-Swiss based forex related website.
Home
-----
กระดานสนทนาหน้าแรก
-----
Gold Chart,Silver,Copper,Oil Chart
-----
gold-trend-price-prediction
-----
ติดต่อเรา
หัวข้อ: วิธีสร้างบุญบารมี เริ่มหัวข้อโดย: ~ uma ~ ที่ พฤศจิกายน 04, 2009, 11:44:58 AM (http://uppic666.com/images/jmcdseryc21q7d4jbgx.jpg) (http://uppic666.com/viewer.php?file=jmcdseryc21q7d4jbgx.jpg) วิธีสร้างบุญบารมี บุญ ความหมายตามพจนานุกรมพุทธศาสน์ของพระราชวรมุนี ( ประยุทธ์ ปยุตโต) กล่าวว่า บุญ คือเครื่องชำระสันดาน ความดี กุศล ความสุข ความประพฤติชอบทางกาย วาจา และใจ กุศลธรรม บารมี คือคุณความดีที่บำเพ็ญอย่างยิ่งยวด เพื่อบรรลุจุดหมายอันสูงยิ่ง วิธีสร้างบุญบารมีในพระพุทธศาสนามีอยู่ 3 ขั้นตอน คือ การให้ทาน การถือศีล และการเจริญภาวนา ที่นิยมเรียกกันว่า ? ทาน ศีล ภาวนา ? ชึ่งการให้ทานหรือการทำทานนั้น เป็นการสร้างบุญที่ต่ำที่สุด ได้บุญน้อยที่สุด ไม่ว่าจะทำมากอย่างไรก็ไม่มีทาง ที่จะได้บุญมากไปกว่าการถือศีลไปได้ การถือศีลนั้นแม้จะมากอย่างไร ก็ไม่มีทางที่จะมากเกินไปกว่าการเจริญภาวนาไปได้ ฉะนั้น การเจริญภาวนานั้น จึงเป็นการสร้างบุญบารมีที่สูงที่สุด ได้มากที่สุด ในทุกวันนี้เรารู้จักแต่การให้ทานอย่างเดียว เช่นการทำบุญตักบาตร ทอดกฐิน ผ้าป่า สละทรัพย์สร้างโบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ ส่วนการถือศีลแม้จะมากกว่าการทำทานก็ยังมีการทำกันเป็นส่วนน้อย เพื่อความเข้าใจอันดี จึงขอชี้แจงการสร้างบุญบารมีอย่างไรจึงจะ เป็นการลงทุนน้อยที่สุด แต่ได้บุญบารมีมากที่สุด ดังนี้คือ หัวข้อ: Re: วิธีสร้างบุญบารมี เริ่มหัวข้อโดย: ~ uma ~ ที่ พฤศจิกายน 04, 2009, 11:46:53 AM ๑. การทำทาน การทำทาน ได้แก่การสละทรัพย์สิ่งของสมบัติของตนที่มีอยู่ให้แก่ผู้อื่น โดยมุ่งหวังจะจุนเจือให้ผู้อื่นได้รับประโยชน์และความสุขด้วยความเมตตาจิตขอ งตน ทานที่ได้ทำไปนั้นจะทำให้ผู้ทำทานได้บุญมากหรือน้อยเพียงใด ย่อมสุดแล้วแต่องค์ประกอบ ๓ ประการ ถ้าประกอบหรือถึงพร้อมด้วย องค์ประกอบ ๓ ประการต่อไปนี้แล้ว ทานนั้นย่อมมีผลมาก ได้บุญบารมีมาก กล่าวคือ องค์ประกอบข้อ ๑. "วัตถุทานที่ให้ต้องบริสุทธิ์" วัตถุทานที่ให้ ได้แก่สิ่งของทรัพย์สมบัติที่ตนได้สละให้ เป็นทานนั้นเอง จะต้องเป็นของที่บริสุทธิ์ ที่จะเป็นของบริสุทธิ์ได้จะต้อง เป็นสิ่งของที่ตนได้แสวงหา ได้มาด้วยความบริสุทธิ์ในการประกอบอาชีพ ไม่ใช่ของที่ได้มาเพราะการเบียดเบียนผู้อื่น เช่น ได้มาโดยทุจริต ลักทรัพย์ ยักยอก ฉ้อโกง ปล้นทรัพย์ ชิงทรัพย์ ฯลฯ ตัวอย่าง ๑ ได้มาโดยการเบียดเบียนชีวิตเลือดเนื้อสัตว์ เช่นฆ่าสัตว์ต่างๆ เป็นต้นว่า ปลา โค กระบือ สุกร โดยประสงค์จะนำเอาเลือดเนื้อของเขา มาทำอาหารถวายพระเพื่อเอาบุญ ย่อมเป็นการสร้างบาปเอามาทำบุญ วัตถุทานคือเนื้อสัตว์นั้นเป็นของที่ไม่บริสุทธิ์ แม้ทำบุญให้ทานไป ก็ย่อมได้บุญน้อย จนเกือบไม่ได้อะไรเลย ทั้งอาจจะได้บาปเสียอีกหากว่าทำทานด้วยจิต ที่เศร้าหมอง แต่การที่ได้เนื้อสัตว์มาโดยการซื้อหาจากผู้อื่นที่ฆ่าสัตว์นั้น โดยที่ตนมิได้มีส่วนร่วมรู้เห็นเป็นใจในการฆ่าสัตว์ก็ดี เนื้อสัตว์นั้นตายเองก็ดี เนื้อสัตว์นั้นย่อมเป็นวัตถุทานที่บริสุทธิ์ เมื่อนำมาทำทานย่อมได้บุญมาก หากถึงพร้อมด้วยองค์ประกอบข้ออื่นๆด้วย ตัวอย่าง ๒ ลักทรัพย์ ยักยอก ฉ้อโกง ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์รวมตลอดถึงการทุจริต ฉ้อราษฏร์บังหลวง อันเป็นการได้ทรัพย์มาในลักษณะไม่ชอบธรรม หรือโดยเจ้าของเดิมไม่เต็มใจให้ทรัพย์นั้นย่อมเป็นของไม่บริสุทธิ์ เป็นของร้อน แม้จะผลิดอกออกผลมาเพิ่มเติม ดอกผลนั้นก็ย่อมเป็นของไม่บริสุทธิ์ด้วย นำเอาไปกินไปใช้ย่อมเกิดโทษ เรียกว่า "บริโภคด้วยความเป็นหนี้" แม้จะนำเอาไปทำบุญ ให้ทาน สร้างโบสถ์วิหารก็ไม่ทำให้ได้บุญแต่อย่างใด สมัยหนึ่งในรัชกาลที่๕ มีหัวหน้าสำนักนางโลมชื่อว่า "ยายแฟง" ได้เรียกเก็บเงินจากหญิงโสเภณีในสำนักของตนจากอัตราที่ได้มาครั้งหนึ่ง ๒๕ สตางค์ แกจะชักเอาไว้ ๕ สตางค์ สะสมเอาไว้เช่นนี้จนได้ประมาณ ๒,๐๐๐ บาท แล้วจึงจัดสร้างวัดขึ้นวัดหนึ่งด้วยเงินนั้นทั้งหมด เมื่อสร้างเสร็จแล้วแกก็ปลื้มปีติ นำไปนมัสการถามหลวงพ่อโตวัดระฆังว่าการที่แกสร้างวัดทั้งวัดด้วยเงิน ของแกทั ้งหมดจะได้บุญบารมีอย่างไร หลวงพ่อโตตอบว่า ได้แค่ ๑ สลึง แกก็เสียใจ เหตุที่ได้บุญน้อยก็เพราะทรัพย์อันเป็นวัตถุทานที่ตนนำมาสร้างวัดอันเป็นวิหารทานนั้น เป็นของที่แสวงหาได้มาโดยไม่บริสุทธิ์ เพราะเบียดเบียนมาจากเจ้าของ ที่ไม่เต็มใจจะให้ ฉะนั้น บรรดาพ่อค้าแม่ขายทั้งหลายที่ซื้อของถูกๆ แต่ขายแพงๆ จนเกินส่วนที่ควรจะได้ ผลกำไรที่ได้มาเพราะความโลภจัดจนเกินส่วนนั้น ย่อมเป็นสิ่งของที่ไม่บริสุทธิ ์โดยนัยเดียวกัน วัตถุทานที่บริสุทธิ์เพราะการแสวงหาได้มาโดยชอบธรรม ดังกล่าว ไม่ได้จำกัดว่าจะต้องเป็นของดีหรือเลย ไม่จำกัดว่าเป็นของมากหรือน้อย น้อยค่าหรือมีค่ามาก จะเป็นของดี เลว ประณีต มากหรือน้อยไม่สำคัญ ความสำคัญขึ้นอยู่กับเจตนาในการให้ทานนั้น ตามกำลังทรัพย์และกำลังศรัทธาที่ตนมีอยู่ หัวข้อ: Re: วิธีสร้างบุญบารมี เริ่มหัวข้อโดย: angie ที่ พฤศจิกายน 07, 2009, 03:57:06 PM การเป็นคนดี มิใช่แต่เพียงเปลือกนอก
ดังเช่นการทำบุญ หากออกมาจากใจย่อมเป็นที่น่าชื่นชม และในความมีน้ำใจนั้น แม้ว่าจะขัดสนด้านทรัพย์ แต่ก็มีใจกว้าง ที่จะทำบุญด้วยสิ่งที่ตนมี .. คือความรู้ ... เพื่อตนเอง และผู้อื่น จึงเป็นสิ่งเตือนใจเราว่า !! สิ่งต่างๆที่เราทำในชีวิต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กน้อย หรือเรื่องใหญ่โต ... ทุกสิ่ง ล้วนมีคุณค่าเสมอ .. หากเราทำด้วยความรัก ความปรารถนาดีต่อเพื่อนมนุษย์ หัวข้อ: Re: วิธีสร้างบุญบารมี เริ่มหัวข้อโดย: ~ uma ~ ที่ พฤศจิกายน 08, 2009, 10:29:22 AM การเป็นคนดี มิใช่แต่เพียงเปลือกนอก ดังเช่นการทำบุญ หากออกมาจากใจย่อมเป็นที่น่าชื่นชม และในความมีน้ำใจนั้น แม้ว่าจะขัดสนด้านทรัพย์ แต่ก็มีใจกว้าง ที่จะทำบุญด้วยสิ่งที่ตนมี .. คือความรู้ ... เพื่อตนเอง และผู้อื่น จึงเป็นสิ่งเตือนใจเราว่า !! สิ่งต่างๆที่เราทำในชีวิต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กน้อย หรือเรื่องใหญ่โต ... ทุกสิ่ง ล้วนมีคุณค่าเสมอ .. หากเราทำด้วยความรัก ความปรารถนาดีต่อเพื่อนมนุษย์ ใช้ค่ะ คุณangie การทำความดี ด้วยเจตนาบริสุทธิ์แม้ไม่มีใครเห็น แต่เราจะรู้สึกอิ่มเอมใจทุกครั้งเมื่อได้กระทำค่ะ หัวข้อ: Re: วิธีสร้างบุญบารมี เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ ธันวาคม 08, 2011, 07:20:18 PM วิธีสร้างบุญบารมี (http://upload.wikimedia.org/wikipedia/th/thumb/9/99/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%88%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%86%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A_%28%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%8D_%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%91%E0%B8%92%E0%B9%82%E0%B8%99%29.jpg/200px-%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%88%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%86%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A_%28%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%8D_%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%91%E0%B8%92%E0%B9%82%E0%B8%99%29.jpg) สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก องค์ที่ ๑๙ วัดบวรนิเวศวิหาร บุญ ความหมายตามพจนานุกรมพุทธศาสน์ของพระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) กล่าวว่า บุญ คือ เครื่องชำระสันดาน ความดี กุศล ความสุข ความประพฑติชอบทางกาย วาจา และใจ กุศลธรรม บารมี คือ คุณความดีที่บำเพ็ญอย่างยิ่งยวด เพื่อบรรลุจุดหมายอันสูงยิ่ง วิธีสร้างบุญบารมีในพระพุทธศาสนามีอยู่ ๓ ขั้นตอน คือการให้ทาน การถือศีล และการเจริญภาวนา ที่นิยมเรียกกันว่า "ทาน ศีล ภาวนา" ซึ่งการให้ทานหรือการทำทานนั้น เป็นการสร้างบุญที่ต่ำที่สุด ได้บุญน้อยที่สุด ไม่ว่าจะทำมากอย่างไรก็ไม่มีทางที่จะได้บุญมากไปกว่าการถือศีลไปได้ การถือศีลนั้นแม้จะมากอย่างไร ก็ไม่มีทางที่จะได้บุญมากเกินไปกว่าการเจริญภาวนาไปได้ ฉะนั้น การเจริญภาวนานั้น จึงเป็นการสร้างบุญบารมีที่สูงที่สุด ได้มากที่สุด ในทุกวันนี้เรารู้จักกันแต่การให้ทานอย่างเดียว เช่นการทำบุญตักบาตร ทอดกฐินผ้าป่า สละทรัพย์สร้างโบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ ส่วนการถือศีล แม้จะได้บุญมากกว่าการทำทาน ก็ยังมีการทำกันเป็นส่วนน้อย เพื่อความเข้าใจอันดี จึงขอชี้แจงการสร้างบุญบารมี อย่างไรจึงจะเป็นการลงทุนน้อยที่สุด แต่ได้บุญบารมีมากที่สุดดังนี้คือ ๑. การทำทาน การทำทาน ได้แก่การสละทรัพย์สิ่งของสมบัติของตนที่มีอยู่ให้แก่ผู้อื่น โดยมุ่งหวังจะจุนเจือให้ผู้อื่นได้รับประโยชน์และความสุขด้วยความเมตตาจิตของตน ทานที่ได้ทำไปนั้นจะทำให้ผู้ทำทานได้บุญมากหรือน้อยเพียงใด ย่อมสุดแล้วแต่องค์ประกอบ ๓ ประการ ถ้าประกอบหรือถึงพร้อมด้วยองค์ประกอบ ๓ ประการต่อไปนี้แล้ว ทานนั้นย่อมมีผลมาก ได้บุญบารมีมาก กล่าวคือ องค์ประกอบข้อ ๑. "วัตถุทานที่ให้ต้องบริสุทธิ์" วัตถุทานที่ให้ ได้แก่สิ่งของทรัพย์สมบัติที่ตนได้สละให้เป็นทานนั้นเอง จะต้องเป็นของที่บริสุทธิ์ ที่จะเป็นของบริสุทธิ์ได้จะต้องเป็นสิ่งของที่ตนได้แสวงหา ได้มาด้วยความบริสุทธิ์ในการประกอบอาชีพ ไม่ใช่ของที่ได้มาเพราะการเบียดเบียนผู้อื่น เช่น ได้มาโดยทุจริต ลักทรัพย์ ยักยอก ฉ้อโกง ปล้นทรัพย์ ชิงทรัพย์ ฯลฯ ตัวอย่าง ๑ ได้มาโดยการเบียดเบียนชีวิตเลือดเนื้อสัตว์ เช่นฆ่าสัตว์ต่างๆ เป็นต้นว่า ปลา โค กระบือ สุกร โดยประสงค์จะนำเอาเลือดเนื้อของเขามาทำอาหารถวายพระเพื่อเอาบุญ ย่อมเป็นการสร้างบาปเอามาทำบุญ วัตถุทานคือเนื้อสัตว์นั้นเป็นของที่ไม่บริสุทธิ์ แม้ทำบุญให้ทานไป ก็ย่อมได้บุญน้อย จนเกือบไม่ได้อะไรเลย ทั้งอาจจะได้บาปเสียอีกหากว่าทำทานด้วยจิตที่เศร้าหมอง แต่การที่ได้เนื้อสัตว์มาโดยการซื้อหาจากผู้อื่นที่ฆ่าสัตว์นั้น โดยที่ตนมิได้มีส่วนร่วมรู้เห็นเป็นใจในการฆ่าสัตว์ก็ดี เนื้อสัตว์นั้นตายเองก็ดี เนื้อสัตว์นั้นย่อมเป็นวัตถุทานที่บริสุทธิ์ เมื่อนำมาทำทานย่อมได้บุญมากหากถึงพร้อมด้วยองค์ประกอบข้ออื่นๆด้วย ตัวอย่าง ๒ ลักทรัพย์ ยักยอก ฉ้อโกง ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์รวมตลอดถึงการทุจริตฉ้อราษฏร์บังหลวง อันเป็นการได้ทรัพย์มาในลักษณะไม่ชอบธรรม หรือโดยเจ้าของเดิมไม่เต็มใจให้ทรัพย์นั้นย่อมเป็นของไม่บริสุทธิ์ เป็นของร้อน แม้จะผลิดอกออกผลมาเพิ่มเติม ดอกผลนั้นก็ย่อมเป็นของไม่บริสุทธิ์ด้วย นำเอาไปกินไปใช้ย่อมเกิดโทษ เรียกว่า "บริโภคด้วยความเป็นหนี้" แม้จะนำเอาไปทำบุญ ให้ทาน สร้างโบสถ์วิหารก็ไม่ทำให้ได้บุญแต่อย่างใด สมัยหนึ่งในที่๕ มีหัวหน้าสำนักนางโลมชื่อว่า "ยายแฟง" ได้เรียกเก็บเงินจากหญิงโสเภณีในสำนักของตนจากอัตราที่ได้มาครั้งหนึ่ง ๒๕ สตางค์ แกจะชักเอาไว้ ๕ สตางค์ สะสมเอาไว้เช่นนี้จนได้ประมาณ ๒,๐๐๐ บาท แล้วจึงจัดสร้างวัดขึ้นวัดหนึ่งด้วยเงินนั้นทั้งหมด เมื่อสร้างเสร็จแล้วแกก็ปลื้มปีติ นำไปนมัสการถามหลวงพ่อโตวัดระฆังว่าการที่แกสร้างวัดทั้งวัดด้วยเงินของแกทั้งหมดจะได้บุญบารมีอย่างไร หลวงพ่อโตตอบว่า ได้แค่ ๑ สลึง แกก็เสียใจ เหตุที่ได้บุญน้อยก็เพราะทรัพย์อันเป็นวัตถุทานที่ตนนำมาสร้างวัดอันเป็นวิหารทานนั้น เป็นของที่แสวงหาได้มาโดยไม่บริสุทธิ์ เพราะเบียดเบียนมาจากเจ้าของที่ไม่เต็มใจจะให้ ฉะนั้น บรรดาพ่อค้าแม่ขายทั้งหลายที่ซื้อของถูกๆ แต่ขายแพงๆ จนเกินส่วนที่ควรจะได้ ผลกำไรที่ได้มาเพราะความโลภจัดจนเกินส่วนนั้นย่อมเป็นสิ่งของที่ไม่บริสุทธิ์โดยนัยเดียวกัน วัตถุทานที่บริสุทธิ์เพราะการแสวงหาได้มาโดยชอบธรรมดังกล่าว ไม่ได้จำกัดว่าจะต้องเป็นของดีหรือเลย ไม่จำกัดว่าเป็นของมากหรือน้อย น้อยค่าหรือมีค่ามาก จะเป็นของดี เลว ประณีต มากหรือน้อยไม่สำคัญ ความสำคัญขึ้นอยู่กับเจตนาในการให้ทานนั้น ตามกำลังทรัพย์และกำลังศรัทธาที่ตนมีอยู่ หัวข้อ: Re: วิธีสร้างบุญบารมี เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ ธันวาคม 08, 2011, 07:31:30 PM องค์ประกอบข้อ ๒. "เจตนาในการให้ทานต้องบริสุทธิ์" (http://variety.teenee.com/saladharm/img7/123150.jpg) การให้ทานนั้น โดยจุดมุ่งหมายที่แท้จริงก็เพื่อเป็นการขจัดความโลภ ความตระหนี่เหนียวแน่น ความหวงแหน หลงใหลในทรัพย์สมบัติของตน อันเป็นกิเลสหยาบ คือ "โลภกิเลส" และเพื่อเป็นการสงเคราะห์ผู้อื่นให้ได้รับความสุขด้วยเมตตาธรรมของตน อันเป็นบันไดก้าวแรกในการเจริญเมตตาพรหมวิหารธรรมในพรหมวิหาร ๔ ให้เกิดขึ้น ถ้าได้ให้ทานด้วยเจตนาดังกล่าวแล้ว เรียกว่าเจตนาในการทำทานบริสุทธิ์ แต่เจตนาที่ว่าบริสุทธิ์นั้น ถ้าจะบริสุทธิ์จริงจะต้องสมบูรณ์พร้อมกัน ๓ ระยะ คือ (๑) ระยะก่อนที่จะให้ทาน ก่อนที่จะให้ทานก็มีจิตโสมนัส ร่าเริงเบิกบานยินดีที่จะให้ทาน เพื่อสงเคราะห์ผู้อื่นให้ได้รับความสุขเพราะทรัพย์สิ่งของของตน (๒) ระยะที่กำลังลงมือให้ทาน ระยะที่กำลังลงมือทำทานอยู่นั้นเอง ก็ทำด้วยจิตโสมนัสร่าเริงยินดีและเบิกบานในทานที่ตนกำลังให้ผู้อื่น (๓) ระยะหลังจากที่ได้ให้ทานไปแล้ว ครั้นเมื่อได้ให้ทานไปแล้วเสร็จ หลังจากนั้นก็ดี นานมาก็ดี เมื่อหวนคิดถึงทานที่ตนได้กระทำไปแล้วครั้งใดก็มีจิตโสมนัสร่าเริงเบิกบาน ยินดีในทานนั้นๆ เจตนาบริสุทธิ์ในการทำทานนั้น อยู่ที่จิตโสมนัสร่าเริงเบิกบานยินดีในทานที่ทำนั้นเป็นสำคัญ และเนื่องมาจากเมตตาจิตที่มุ่งสงเคราะห์ผู้อื่นให้พ้นความทุกข์และให้ได้รับความสุขเพราะทานของตน นับว่าเป็นเจตนาที่บริสุทธิ์ในเบื้องต้น แต่เจตนาที่บริสุทธิ์เพราะเหตุดังกล่าวมาแล้วนี้จะทำให้ยิ่งๆบริสุทธิ์มากขึ้นไปอื่นหากผู้ให้ทานนั้นได้ทำทานด้วยวิปัสสนาปัญญา กล่าวคือไม่ใช่ทำทานอย่างเดียว แต่ทำทานพร้อมกับมีวิปัสสนาปัญญา โดยใคร่ครวญถึงวัตถุทานที่ให้ทานนั้นว่า อันบรรดาทรัพย์สิ่งของทั้งปวงที่ชาวโลกนิยมยกย่องหวงแหนเป็นสมบัติกันด้วยความโลภนั้น แท้ที่จริงแล้วก็เป็นเพียงแต่วัตถุธาตุประจำโลก เป็นสมบัติกลาง ไม่ใช่ของผู้ใดโดยเฉพาะ เป็นของที่มีมาตั้งแต่ก่อนเราเกิดขึ้นมา และไม่ว่าเราจะเกิดขึ้นมาหรือไม่ก็ตาม วัตถุธาตุดังกล่าวก็มีอยู่เช่นนั้น และได้ผ่านการเป็นเจ้าของของผู้อื่นมาแล้วหลายชั่วคน ซึ่งท่านแต่ก่อนนั้นต่างก็ได้ล้มหายตายจากไปทั้งสิ้น ไม่สามารถนำวัตถุธาตุดังกล่าวนี้ติดตัวไปได้เลย จนในที่สุดก็ได้ตกทอดมาถึงเรา ให้เราได้กินได้ใช้ได้ยึดถือเพียงชั่วคราว แล้วก็ตกทอดสืบเนื่องไปเป็นของคนอื่นๆ ต่อๆไปเช่นนี้ แม้เราเองก็ไม่สามารถจะนำติดตัวเอาไปได้ จึงนับว่าเป็นเพียงสมบัติผลัดกันชมเท่านั้น ไม่จากไปในวันนี้ก็ต้องจากไปในวันหน้า อย่างน้อยเราก็ต้องจากต้องทิ้งเมื่อเราได้ตายลง นับว่าเป็นอนิจจัง คือไม่เที่ยงแท้แน่นอน จึงไม่อาจจะยึดมั่นถือมั่นว่านั่นเป็นของเราได้ถาวรตลอดไป แม้ตัววัตถุธาตุดังกล่าวนี้เอง เมื่อมีเกิดขึ้นเป็นตัวตนแล้ว ก็ตั้งอยู่ในสภาพนั้นให้ตลอดไปไม่ได้ จะต้องเก่าแก่ ผุพัง บุบสลายไป ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตนแต่อย่างไร แม้แต่เนื้อตัวร่างกายของเราเองก็มีสภาพเช่นเดียวกับวัตถุธาตุเหล่านั้น ซึ่งไม่อาจจะตั้งมั่นให้ยั่งยืนอยู่ได้ เมื่อมีเกิดขึ้นแล้วก็จะต้องเจริญวัยเป็นหนุ่มสาวแล้วก็เฒ่าแก่และตายไปในที่สุด เราจะต้องพลัดพรากจากของอันเป็นที่รัก ที่หวงแหน คือทรัพย์สมบัติทั้งปวง เมื่อเจตนาในการให้ทานบริสุทธิ์ผุดผ่องดีพร้อมทั้งสามระยะดังกล่าวมาแล้ว ทั้งยังประกอบไปด้วยวิปัสสนาปัญญาดังกล่าวมาแล้วด้วย เจตนานั้นย่อมบริสุทธิ์อย่างยิ่ง ทานที่ได้ทำไปนั้นย่อมมีผลมาก ได้บุญมากหากวัตถุทานที่ได้ทำเป็นของที่บริสุทธิ์ตามองค์ประกอบข้อ ๑ ด้วย ก็ย่อมทำให้ได้บุญมากยิ่งๆขึ้นไปอีก วัตถุทานจะมากหรือน้อย เป็นของเลวหรือประณีตไม่สำคัญ เมื่อเราได้ให้ทานไปตามกำลังทรัพย์ที่เรามีอยู่ย่อมใช้ได้ แต่ก็มีข้ออันควรระวังอยู่ ก็คือ การทำทานนั้นอย่างได้เบียดเบียนตนเอง เช่นมีน้อย แต่ฝืนทำให้มากๆ จนเกินกำลังของตนที่จะให้ได้ เมื่อได้ทำไปแล้ว ตนเองและสามี ภริยา รวมทั้งบุตรต้องลำบาก ขาดแคลน เพราะไม่มีจะกิน จะใช้ เช่นนี้ย่อมทำให้จิตเศร้าหมอง แม้วัตถุทานจะมากหรือทำมาก ก็ย่อมได้บุญน้อย ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างที่ทำทานด้วยเจตนาอันไม่บริสุทธิ์ คือ หัวข้อ: Re: วิธีสร้างบุญบารมี เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ ธันวาคม 08, 2011, 07:33:39 PM ตัวอย่าง ๑
ทำทานเพราะอยากได้ ทำเอาหน้า ทำอวดผู้อื่น เช่น สร้างโรงเรียน โรงพยาบาลใส่ชื่อของตน ไปยืนถ่ายภาพลงโฆษณาในหน้าหนังสือพิมพ์เพื่อให้ได้รับความนิยมยกย่องนับถือ โดยที่แท้จริงแล้วตนมิได้มีเจตนาที่จะมุ่งสงเคราะห์ผู้ใด เรียกว่าทำทานด้วยความโลภ ไม่ได้ทำเพื่อขจัดความโลภ ทำทานด้วยความอยากได้ คืออยากได้หน้า ได้เกียรติ ได้สรรเสริญ ได้ความนิยมนับถือ ตัวอย่าง ๒ ทำทานด้วยความฝืนใจ ทำเพราะเสียไม่ได้ ทำด้วยความเสียดาย เช่นมีพวกพ้องมาเรี่ยไร ตนเองไม่มีศรัทธาที่จะทำ หรือมีศรัทธาอยู่บ้าง แต่ทรัพย์น้อย เมื่อมีพวกมาเรี่ยไรบอกบุญ ต้องจำใจทำทานไปเพราะความเกรงใจพวกพ้อง หรือเกรงว่าจะเสียหน้า ตนจึงได้สละทรัพย์ทำทานไปด้วยความจำใจ ย่อมเป็นการทำทานด้วยความตระหนี่หวงแหน ทำทานด้วยความเสียดาย ไม่ใช่ทำทานด้วยจิตเมตตาที่มุ่งจะสงเคราะห์ผู้อื่น ซึ่งยิ่งคิดก็ยิ่งเสียดาย ให้ไปแล้วก็เป็นทุกข์ใจ บางครั้งนึกโกรธผู้ที่มาบอกบุญ เช่นนี้จิตย่อมเศร้าหมอง ได้บุญน้อย หากเสียดายมากๆ จนเกิดโทสจริตกล้าแล้ว นอกจากจะไม่ได้บุญแล้ว ที่จะได้ก็คือบาป ตัวอย่าง ๓ ทำทานด้วยความโลภ คือทำทานเพราะอยากได้นั่น อยากได้นี่ อยากเป็นนั่น เป็นนี่ อันเป็นการทำทานเพราะหวังสิ่งตอบแทน ไม่ใช่ทำทานเพราะมุ่งหมายที่จะขจัดความโลภ ความตระหนี่หวงแหนในทรัพย์ของตน เช่น ทำทานแล้วตังจิตอธิษฐานขอให้ชาติหน้าได้เป็นเทวดา นางฟ้า ขอให้รูปสวย ขอให้ทำมาค้าขึ้น ขอให้ร่ำรวยนับล้าน ขอให้ถูกสลากกินแบ่งสลากกินรวบ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นสมบัติสวรรค์ หากชาติก่อนไม่เคยได้ทำบุญใส่บาตรฝากสวรรค์เอาไว้ อยู่ๆก็มาขอเบิกในชาตินี้ จะมีที่ไหนมาให้เบิก การทำทานด้วยความโลภเช่นนี้ ย่อมไม่ได้บุญอะไรเลย สิ่งที่จะได้พอกพูนเพิ่มให้มากขึ้นและหนาขึ้น ก็คือ "ความโลภ" หัวข้อ: Re: วิธีสร้างบุญบารมี เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ ธันวาคม 08, 2011, 07:35:36 PM ผลหรืออานิสงส์ของการทำทานที่ครบองค์ประกอบ ๓ ประการนั้น
(http://www.wanakorn.com/images/butterflyani.gif)(http://www.wanakorn.com/images/butterflyani.gif)(http://www.wanakorn.com/images/butterflyani.gif) ย่อมมีผลให้ได้ซึ่งมนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติเอง แม้ว่าจะไม่ได้ตั้งเจตนาเอาไว้ล่วงหน้าก็ตาม เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นผลที่สืบเนื่องมาจากเหตุ เมื่อทำเหตุครบถ้วนย่อมมีผลเกิดขึ้นตามมาเอง เช่นเดียวกับปลูกต้นมะม่วงเมื่อรดน้ำพรวนดินและใส่ปุ๋ยไปตามธรรมดาเรื่อยไป แม้จะไม่อยากให้เจริญเติบโตและออกดอกออกผล ในที่สุดต้นไม้ก็จะต้องเจริญและผลิตดอกออกผลตามมา สำหรับผลของทานนั้น หากน้อยหรือมีกำลังไม่มากนักย่อมน้อมนำให้บังเกิดในมนุษย์ชาติ หากมีกำลังแรงมาก ก็อาจจะน้อมนำให้ได้บังเกิดในเทวโลก ๖ ชั้น เมื่อได้เสวยสมบัติในเทวโลกจนสิ้นบุญแล้ว ด้วยเศษของบุญที่ยังคงเหลืออยู่บ้างประกอบกับไม่มีอกศลกรรมอื่นแทรกให้ผล ก็อาจจะน้อมนำให้มาบังเกิดเป็นมนุษย์อีกครั้งหนึ่ง และเมื่อได้มาบังเกิดเป็นมนุษย์แล้ว ก็ย่อมทำให้ได้เกิดในตระก้ลที่ร่ำรวย มั่งคั่ง สมบูรณ์ไปด้วยทรัพย์ หรือไม่ก็เป็นผู้ที่มีลาภผลมาก ทำมาหากินขึ้นและร่ำรวยในภายหลัง ทรัพย์สมบัติไม่วิบัติหายนะไปเพราะวินาศภัย โจรภัย อัคคีภัย วาตภัย ฯลฯ แต่จะมั่งคั่ง ร่ำรวยในวัยใดย่อมสุดแล้วแต่ผลทานแต่ชาติก่อนๆจะส่งผล คือ ๑. ร่ำรวยตั้งแต่วัยต้น เพราะผลของทานที่ได้ตั้งเจตนาไว้บริสุทธิ์ดีตั้งแต่ก่อนจะทำทาน คือก่อนที่จะลงมือทำทานก็มีจิตเมตตาโสมนัสร่าเริงเบิกบานยินดีในทานที่ตนจะได้ทำเพื่อสงเคราะห์ผู้อื่น แล้วก็ได้ลงมือทำทานไปตามเจตนานั้น เมื่อเกิดเป็นมนุษย์ย่อมโชคดี โดยเกิดในตระก้ลที่ร่ำรวย ชีวิตในวัยต้นอุดมสมบูรณ์พูดสุขไปด้วยทรัพย์ ไม่ยากจนแร้นแค้น ไม่ต้องขวนขวายหาเลี้ยงตนเองมาก แต่ถ้าเจตนานั้นไม่งามบริสุทธิ์พร้อมกันครบ ๓ ระยะแล้ว ผลทานนั้นก็ย่อมส่งผลให้ไม่สม่ำเสมอกัน คือแม้ว่าจะร่ำรวยตั้งแต่วัยต้น โดยเกิดมาบนกองเงินกองทองก็ตาม หากในขณะที่กำลังลงมือทำทานเกิดจิตเศร้าหมองเพราะหวนคิดเสียดายหรือหวงแหนทรัพย์ที่จะให้ทานขึ้นมา หรือเกิดหมดศรัทธาขึ้นมาเฉยๆ แต่ก็ยังฝืนใจทำทานไป เพราะเสียไม่ได้หรือเพราะตามพวกพ้องไปอย่างเสียไม่ได้ เช่นนี้ผลทานย่อมหมดกำลังให้ผลในระยะที่ ๒ ซึ่งตรงกับวัยกลางคน ซึ่งจะมีผลทำให้ทรัพย์สมบัติวิบัติหายนะไปด้วยประการต่างๆ แม้จะได้รับมรดกมาก็ไม่อาจจะรักษาไว้ได้ หากเจตนาในการทำทานนั้นเศร้าหมองในระยะที่ ๓ คือทำทานไปแล้วหวนคิดขึ้นมาทำให้เสียดายทรัพย์ ความหายนะก็มีผลต่อเนื่องมาจนถึงบั้นปลายชีวิตด้วย คือทรัพย์สินคงวิบัติเสียหายต่อเนื่องจากวัยกลางคนตลอดไปจนถึงตลอดอายุขัยชีวิตจริงของผู้ที่เกิดบนกองเงินกองทองก็มีให้เห็น เป็นตัวอย่างที่เมื่อได้รับทรัพย์มรดกแล้วก็วิบัติเสียหายไป หรือนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในวัยต้น แต่ก็ต้องล้มละลายในวัยกลางคน และบั้นปลายชีวิต แต่ถ้าได้ตั้งแจตนาในการทำทานไว้บริสุทธิ์ครบถ้วนพร้อม ๓ ระยะแล้ว ผลทานนั้นย่อมส่งผลสม่ำเสมอ คือร่ำรวยตั้งแต่เกิด วัยกลางคน และจนปัจฉิมวัย (http://www.wanakorn.com/images/natural_butterfly.jpg) ๒. ร่ำรวยในวัยกลางคน การที่ร่ำรวยในวัยกลางคืนนั้นสืบเนื่องมาจากผลของทานที่ได้ทำเพราะเจตนางามบริสุทธิ์ในระยะที่ ๒ กล่าวคือไม่งามบริสุทธิ์ในระยะแรก เพราะก่อนที่จะลงมือทำทานก็มิได้มีจิตศรัทธามาก่อน ไม่คิดจะทำทานมาก่อน แต่ก็ได้ตัดสินใจทำทานไปเพราะเหตุบางอย่าง เช่นทำตามพวกพ้องอย่างเสียไม่ได้ แต่เมื่อได้ลงมือทำทานอยู่ก็เกิดโสมนัสรื่นเริงยินดีในทานที่กำลังกระทำอยู่นั้น ด้วยผลทานชนิดนี้ ย่อมทำให้มาบังเกิดในตระก้ลที่ยากจนคับแค้น ต้องต่อสู้สร้างตนเองมาในวัยต้น ครั้นเมื่อถึงวัยกลางคน กิจการหรือธุรกิจที่ทำก็ประสบความสำเร็จรุ่งเรือง และหากเจตนาในการทำทานได้งานบริสุทธิ์ในระยะที่ ๓ ด้วย กิจการหรือธุรกิจนั้น ย่อมส่งผลรุ่งเรืองตลอดไปจนถึงบั้นปลายชีวิต หากเจตนาในการทำทานไม่บริสุทธิ์ในระยะที่ ๓ แม้ธุรกิจหรือกิจการงานจะประสบความสำเร็จรุ่งเรืองในวัยกลางคน แต่ก็ล้มเหลวหายนะในบั้นปลาย ทั้งนี้เพราะผลทานหมดกำลัง ส่งผลไม่ตลอดจนถึงบั้นปลายชีวิต (http://www.thaitrip4u.com/Images/Butterfly/NyComGlassyTiger100.jpg) ๓. ร่ำรวยปัจฉิมวัย คือร่ำรวยในบั้นปลายชีวิตนั้น สืบเนื่องมาจากผลทานที่ผู้กระทำมีเจตนางามไม่บริสุทธิ์ในระยะแรกและระยะที่ ๒ แต่งามบริสุทธิ์เฉพาะในระยะที่ ๓ กล่าวคือ ก่อนและในขณะที่ลงมือทำทานอยู่นั้น ก็มิได้มีจิตโสมนัสยินดีในการทำทานนั้นแต่อย่างใด แต่ได้ทำลงไปโดยบังเอิญ เช่นทำตามๆพวกพ้องไปอย่างเสียไม่ได้ แต่เมื่อได้ทำไปแล้ว ต่อมาหวนคิดถึงผลทานนั้น ก็เกิดจิตโสมนัสร่าเริงยินดีเบิกบาน หากผลทานชนิดนี้จะน้อมนำให้มาบังเกิดเป็นมนุษย์ ก็จะเกิดในตระก้ลที่ยากจนคับแค้น ต้องต่อสู้ดิ้นรนศึกษาเล่าเรียนและขวนขวายสร้างตนเองมากตั้งแต่วัยต้นจนล่วงวัยกลางคนไปแล้ว กิจการงานหรือธุรกิจนั้นก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ เช่นต้องล้มลุกคลุกคลานตลอดมา แต่ครั้นถึงบั้นปลายชีวิตก็ประสบช่องทางเหมาะ ทำให้กิจการงานนั้นเจริญรุ่งเรืองทำมาค้าขึ้นและร่ำรวยอย่างไม่คาดหมาย ซึ่งชีวิตจริงๆของคนประเภทนี้ก็มีให้เห็นเป็นตัวอย่างอยู่มาก หัวข้อ: Re: วิธีสร้างบุญบารมี เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ ธันวาคม 08, 2011, 07:37:55 PM องค์ประกอบข้อ ๓. "เนื้อนาบุญต้องบริสุทธิ์" (http://variety.teenee.com/saladharm/img8/122925.jpg) คำว่า "เนื้อนาบุญ" ในที่นี้ได้แก่บุคคลผู้รับการทำทานของผู้ทำทานนั้นเอง นับว่าเป็นองค์ประกอบข้อที่สำคัญที่สุด แม้ว่าองค์ประกอบในการทำทานข้อ ๑ และ ๒ จะงามบริสุทธิ์ครบถ้วนดีแล้ว กล่าวคือวัตถุที่ทำทานนั้นเป็นของที่แสวงหาได้มาด้วยความบริสุทธิ์ เจตนาในการทำทานก็งามบริสุทธิ์พร้อมทั้งสามระยะ แต่ตัวผู้รับการทำทานเป็นคนที่ไม่ดี ไม่ใช่ผู้ที่เป็นเนื้อนาบุญที่บริสุทธิ์ เป็นเนื้อนาบุญที่เลว ทานที่ทำไปนั้นก็ไม่ผลิดอกออกผล เปรียบเหมือนกับการหว่านเมล็ดข้าวเปลือกลงในพื้นนา ๑ กำมือ แม้เมล็ดข้าวนั้นจะเป็นพันธุ์ดีที่พร้อมจะงอกงาม (วัตถุทานบริสุทธิ์) และผู้หว่านคือกสิกรที่มีเจตนาจะหว่านเพื่อทำนาให้เกิดผลิตผลเป็นอาชีพ (เจตนาบริสุทธิ์) แต่หากที่นานั้นเป็นที่ที่ไม่สม่ำเสมอกัน เมล็ดข้าวที่หว่านลงไปก็งอกเงยไม่เสมอกัน โดยเมล็ดที่ไปตกในที่เป็นดินดี ปุ๋ยดี มีน้ำอุดมดีก็จะงอกเงยมีผลิตผลที่สมบูรณ์ ส่วนเมล็ดที่ไปตกบนพื้นนาที่แห้งแล้ง มีแต่กรวดกับทรายและขาดน้ำ ก็จะแห้งเหี่ยวหรือเฉาตายไป หรือไม่งอกเงยเสียเลย การทำทานนั้น ผลิตผลที่ผู้ทำทานจะได้รับก็คือ "บุญ" หากผู้ที่รับการให้ทานไม่เป็นเนื้อนาที่ดีสำหรับการทำบุญแล้ว ผลของทานคือบุญก็จะได้เกิดขึ้น แม้จะเกิดก็ไม่สมบูรณ์ เพราะแกร็นหรือแห้งเหี่ยวเฉาไปด้วยประการต่างๆ ฉะนั้น ในการทำทาน ตัวบุคคลผู้รับของที่เราให้ทานจึงเป็นเงื่อนไขที่สำคัญที่สุด เราผู้ทำทานจะได้บุญมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับคนพวกนี้ คนที่รับการให้ทานนั้นหากเป็นผู้ที่มีศัลมีธรรมสูง ก็ย่อมเป็นเนื้อนาบุญที่ดี ทานที่เราได้ทำไปแล้วก็เกิดผลบุญมาก หากผู้รับการให้ทานเป็นผู้ที่ไม่มีศีลไม่มีธรรม ผลของทานก็ไม่เกิดขึ้น คือได้บุญน้อย ฉะนั้น คติโบราณที่กล่าวว่า "ทำบุญอย่าถามพระ หรือตักบาตรอย่าเลือกพระ" เห็นจะใช้ไม่ได้ในสมัยนี้ เพราะในสมัยนี้ไม่เหมือนกับท่านในสมัยก่อนๆ ที่บวชเพราะมุ่งจะหนีสงสาร โดยมุ่งจะทำมรรคผล และนิพพานให้แจ้ง ท่านจึงเป็นเนื้อนาบุญที่ประเสริฐ แต่ในสมัยนี้มีอยู่บางคนที่บวชด้วยคติ ๔ ประการ คือ "บวชเป็นประเพณี บวชหนีทหาร บวชผลาญข้าวสุก บวชสนุกตามเพื่อน" ธรรมวินัยใดๆ ท่านไม่สนใจ เพียงแต่มีผ้าเหลืองห่มกาย ท่านก็นึกว่าตนเป็นพระและเป็นเนื้อนาบุญเสียแล้ว ซึ่งป่วยการจะกล่าวไปถึงศีลปาฏิโมกข์ ๒๒๗ ข้อ แม้แต่เพียงแค่ศีล ๕ ก็ยังเอาแน่ไม่ได้ว่าท่านจะมีหรือไม่ การบวชที่แท้จริงแล้วก็เพื่อจะละความโลภ โกรธ และหลง ปัญหาว่าทำอย่างไรจึงจะได้พบกับท่านที่เป็นเนื้อนาบุญที่ประเสริฐ ข้อนี้ย่อมขึ้นอยู่กับวาสนาของเราผู้ทำทานเป็นสำคัญ หากเราได้เคยสร้างสมอบรมสร้างบารมีมาด้วยดีในอดีตชาติเป็นอันมากแล้ว บารมีนั้นก็จะเป็นพลังวาสนาน้อมนำให้ได้พบกับท่านที่เป็นเนื้อนาบุญที่ประเสริฐ ทำทานครั้งใดก็มักโชคดี ได้พบกับท่านที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบไปเสียทุกครั้ง หากบุญวาสนาของเราน้อยและไม่มั่นคง ก็จะได้พบกับท่านที่เป็นเนื้อนาบุญบ้าง ได้พบกับอลัชชีบ้าง คือดีและชั่วคละกันไป เช่นเดียวกับการซื้อสลากกินแบ่งกลากกินรวบ หากมีวาสนาบารมีเพราะได้เคยทำบุญให้ทานฝากกับสวรรค์ไว้ในชาติก่อนๆ ก็ย่อมมีวาสนาให้ถูกรางวัลได้ หากไม่มีวาสนาเพราะไม่เคยทำบุญทำทานฝากสวรรค์เอาไว้เลย ก็ไม่มีสมบัติสวรรค์อะไรที่จะให้เบิกได้ อยู่ๆ ก็จะมาขอเบิก เช่นนี้ก็ยากที่จะถูกรางวัลได้ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสเอาไว้ว่า แม้วัตถุทานจะบริสุทธิ์ดี เจตนาในการทำทานจะบริสุทธิ์ดี จะทำให้ทานนั้นมีผลมากหรือน้อย ย่อมขึ้นอยู่กับเนื้อนาบุญเป็นลำดับต่อไปนี้ คือ ๑. ทำทานแก่สัตว์เดรัจฉาน แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ได้บุญน้อยกว่าให้ทานดังกล่าวแก่มนุษย์ แม้จะเป็นมนุษย์ที่ไม่มีศีล ไม่มีธรรมเลยก็ตาม ทั้งนี้เพราะสัตว์ย่อมมีบุญวาสนาบารมีน้อยกว่ามนุษย์ และสัตว์ไม่ใช่เนื้อนาบุญที่ดี ๒. ให้ทานแก่มนุษย์ที่ไม่มีศีล ไม่มีธรรมวินัย แม้จะให้มากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าให้ทานดังกล่าวแก่ผู้ที่มีศีล ๕ แม้จะให้เพียงครั้งเดียวก็ตาม ๓. ให้ทานแก่ผู้ที่มีศีล ๕ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าให้ทานดังกล่าวแก่ผู้มีศีล ๘ แม้จะให้แต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม ๔. ให้ทานแก่ผู้ที่มีศีล ๘ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าถวายทานแก่ผู้ที่มีศีล ๑๐ คือสามเณรในพระพุทธศาสนา แม้จะได้ถวายทานดังกล่าวแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม หัวข้อ: Re: วิธีสร้างบุญบารมี เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ ธันวาคม 08, 2011, 07:39:24 PM ๕. ถวายทานแก่สามเณรซึ่งมีศีล ๑๐ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าถวายทานดังกล่าวแก่พระสมมุติสงฆ์ ซึ่งมีศีลปาฏิโมกข์สังวร ๒๒๗ ข้อ
พระด้วยกันก็มีคุณธรรมแตกต่างกัน จึงเป็นเนื้อนาบุญที่ต่างกัน บุคคลที่บวชเข้ามาในพระพุทธศาสนามีศีลปาฏิโมกข์สังวร ๒๒๗ ข้อนั้น องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไม่ตรัสเรียกว่าเป็น "พระ" แต่เป็นเพียงพระสมมุติเท่านั้น เรียกกันว่า "สมมุติสงฆ์" พระที่แท้จริงนั้น หมายถึงบุคคลที่บรรลุคุณธรรมตั้งแต่พระโสดาปัตติผลเป็นพระโสดาบันเป็นต้นไป ไม่ว่าท่านผู้นั้นจะได้บวชหรือเป็นฆราวาสก็ตาม นับว่าเป็น "พระ" ทั้งสิ้น และพระด้วยกันก็มีคุณธรรมต่างกันหลายระดับชั้น จากน้อยไปหามากดังนี้คือ พระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์ พระปัจเจกพุทธเจ้า สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และย่อมเป็นเนื้อนาบุญที่แตกต่างกัน ดังต่อไปนี้ ๖. ถวายทานแก่พระสมมุติสงฆ์ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานแก่พระโสดาบัน แม้จะได้ถวายทานดังกล่าวแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม (ความจริงยังมีการแยกเป็นพระโสดาปัตติมรรคและพระโสดาปัตติผล ฯลฯ เป็นลำดับไปจนถึงพระอรหัตผล แต่ในที่นี้จะกล่าวแต่เพียงย่นย่อพอให้ได้ความเท่านั้น) (http://www.tourdoi.com/flower/water_flower/lotus1/thumbnails/015.jpg) ๗. ถวายทานแก่พระโสดาบัน แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานดังกล่าวแก่พระสกิทาคามี แม้จะถวายทานดังกล่าวแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม ๘. ถวายทานแก่พระสกิทาคามี แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานดังกล่าวแก่พระอนาคามีแม้จะถวายทานดังกล่าวแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม ๙. ถวายทานแก่พระอนาคามี แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานดังกล่าวแก่พระอรหันต์ แม้จะถวายทานดังกล่าวแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม (http://www.tourdoi.com/flower/water_flower/lotus1/thumbnails/016.jpg) ๑๐. ถวายทานแก่พระอรหันต์ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า แม้จะถวายทานดังกล่าวแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม ๑๑. ถวายทานแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แม้จะถวายทานดังกล่าวแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม ๑๒. ถวายทานแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายสังฆทานที่มีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประธาน แม้จะได้ถวายสังฆทานดังกล่าวแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม (http://www.tourdoi.com/flower/water_flower/lotus1/thumbnails/004.jpg) ๑๓. การถวายสังฆทานที่มีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประธาน แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายวิหารทาน แม้จะได้กระทำแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม วิหารทาน ได้แก่การสร้างหรือร่วมสร้างโบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ ศาลาโรงธรรม ศาลาท่าน้ำ ศาลาที่พักอาศัยคนเดินทาน อันเป็นสาธารณประโยชน์ที่ประชาชนได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน อนึ่ง การสร้างสิ่งที่เป็นสาธารณประโยชน์หรือสิ่งที่ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน แม้จะไม่เกี่ยวเนื่องกับกิจในพระพุทธศาสนา เช่น โรงพยาบาล โรงเรียน บ่อน้ำ แท็งก์น้ำ ศาลาป้ายรถยนต์โดยสารประจำทาง สุสาน เมรุเผาศพ ก็ได้บุญมากในทำนองเดียวกัน ๑๔. การถวายวิหารทาน แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง (๑๐๐หลัง) ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการให้ธรรมทาน แม้จะให้แต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม การให้ธรรมทานก็คือการเทศน์ การสอนธรรมะแก่ผู้อื่นที่ยังไม่รู้ให้ได้รู้ ที่รู้อยู่แล้วให้รู้ยิ่งๆขึ้น ให้ได้เข้าใจในมรรค ผล นิพพาน ให้ผู้ที่เป็นมิจฉาทิฐิได้กลับใจเป็นสัมมาทิฐิ ชักจูงผู้คนให้เข้าปฏิบัติธรรม รวมตลอดถึงการพิมพ์การแจกหนังสือธรรมะ (http://www.tourdoi.com/flower/water_flower/lotus1/thumbnails/006.jpg) ๑๕. การให้ธรรมทาน แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการให้ "อภัยทาน" แม้จะให้แต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม การให้อภัยทาน ก็คือการไม่ผูกโกรธ ไม่อาฆาตจองเวร ไม่พยาบาทคิดร้ายผู้อื่นแม้แต่ศัตรู ซึ่งได้บุญกุศลแรงและสูงมากในฝ่ายทาน เพราะเป็นการบำเพ็ญเพียรเพื่อละ "โทสกิเลส" และเป็นการเจริญ "เมตตาพรหมวิหารธรรม" อันเป็นพรหมวิหารข้อหนึ่งในพรหมวิหาร ๔ ให้เกิดขึ้น อันพรหมวิหาร ๔ นั้น เป็นคุณธรรมที่เป็นองค์ธรรมของโยคีบุคคลที่บำเพ็ญฌานและวิปัสสนา ผู้ที่ทรงพรหมวิหาร ๔ ได้ย่อมเป็นผู้ทรงฌาน ซึ่งเมื่อเมตตาพรหมวิหารธรรมได้เกิดขึ้นแล้วเมื่อใด ก็ย่อมละเสียได้ซึ่ง "พยาบาท" ผู้นั้นจึงจะสามารถให้อภัยทานได้ การให้อภัยทานจึงเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนและยากเย็น จึงจัดเป็นทานที่สูงกว่าการให้ทานทั้งปวง อย่างไรก็ดี การให้อภัยทาน แม้จะมากเพียงใด แม้จะชนะการให้ทานอื่นๆทั้งมวล ผลบุญนั้นก็ยังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า "ฝ่ายศีล" เพราะเป็นการบำเพ็ญบารมีคนละขั้นต่างกัน[/b] หัวข้อ: Re: วิธีสร้างบุญบารมี เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ ธันวาคม 08, 2011, 07:56:09 PM ๒. การรักษาศีล (http://variety.teenee.com/saladharm/img7/122924.jpg) "ศีล" นั้น แปลว่า "ปกติ" คือสิ่งหรือกติกาที่บุคคลจะต้องระวังรักษาตามเพศและฐานะ ศีลนั้นมีหลายระดับ คือ ศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ และ ศีล ๒๒๗ และในบรรดาศีลชนิดเดียวก็ยังจัดแยกออกเป็นระดับธรรมดา มัชฌิมศีล (ศีลระดับกลาง) และอธิศีล (ศีลอย่างสูง ศีลอย่างอุกฤษฏ์) คำว่า "มนุษย์" นั้น คือผู้ที่มีใจอันประเสริฐ คุณธรรมที่เป็นปกติของมนุษย์ที่จะต้องทรงไว้ให้ได้ตลอดไปก็คือศีล ๕ บุคคลที่ไม่มีศีล ๕ ไม่เรียกว่ามนุษย์ แต่อาจจะเรียกว่า "คน" ซึ่งแปลว่า "ยุ่ง" ในสมัยพระพุทธกาลผู้คนมักจะมีศีล ๕ ประจำใจกันเป็นนิจ ศีล ๕ จึงเป็นเรื่องปกติของบุคคลในสมัยนั้น และจัดว่าเป็น "มนุษยธรรม" ส่วนหนึ่งในมนุษยธรรม ๑๐ ประการเป็นปกติ (ซึ่งรวมถึงศีล ๕ ด้วย) รายละเอียดจะมีประการใดจะไม่กล่าวถึงในที่นี้ การรักษาศีลเป็นการเพียรพยายามเพื่อระงับโทษทางกายและวาจา อันเป็นเพียงกิเลสหยาบมิให้กำเริบขึ้น และเป็นการบำเพ็ญบุญบารมีที่สูงขึ้นกว่าการให้ทาน ทั้งในการถือศีลด้วยกันเอง ก็ยังได้บุญมากและน้อยต่างกันไปตามลำดับต่อไปนี้คือ ๑. การให้อภัยทาน แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถือศีล ๕ แม้จะได้ถือแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม ๒. การถือศีล ๕ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถือศีล ๘ แม้จะถือแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม ๓. การถือศีล ๘ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถือศีล ๑๐ คือการบวชเป็นสามเณรในพระพุทธศาสนา แม้จะบวชมาได้แต่เพียงวันเดียวก็ตาม ๔. การที่ได้บวชเป็นสามเณรในพระพุทธศาสนา แล้วรักษาศีล ๑๐ ไม่ให้ขาด ไม่ด่างพร้อย แม้จะนานถึง ๑๐๐ ปี ก็ยังได้บุญน้อยกว่าผู้ที่ได้อุปสมบทเป็นพระในพระพุทธศาสนา มีศีลปาฏิโมกข์สังวร ๒๒๗ แม้จะบวชมาได้เพียงวันเดียวก็ตาม (http://www.thaitrip4u.com/micon/r8.gif)(http://www.thaitrip4u.com/micon/r8.gif)(http://www.thaitrip4u.com/micon/r8.gif) ฉะนั้น ในฝ่ายศีลแล้ว การที่ได้อุปสมบทเป็นพระในพระพุทธศาสนาได้บุญบารมีมากที่สุด เพราะเป็นเนกขัมมบารมีในบารมี ๑๐ ทิศ ซึ่งเป็นการออกจากกามเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติธรรมขั้นสูงๆ คือการภาวนาเพื่อมรรค ผล นิพพาน ต่อๆไป ผลของการรักษาศีลนั้นมีมาก ซึ่งจะยังประโยชน์สุขให้แก่ผู้นั้นทั้งในชาตินี้และชาติหน้า เมื่อได้ละอัตภาพนี้ไปแล้วย่อมส่งผลให้ได้บังเกิดในเทวโลก ๖ ชั้น ซึ่งแล้วแต่ความละเอียดประณีตของศีลที่รักษาและที่บำเพ็ญมา ครั้งเมื่อสิ้นบุญในเทวโลกแล้ว ด้วยเศษของบุญที่ยังคงหลงเหลืออยู่แต่เพียงเล็กๆ น้อยๆ หากไม่มีอกุศลกรรมอื่นมาให้ผล ก็อาจจะน้อมนำให้ได้มาบังเกิดเป็นมนุษย์ที่ถึงพร้อมด้วยสมบัติ ๔ ประการ เช่น อานิสงส์ของการรักษาศีล ๕ กล่าวคือ (๑) ผู้ที่รักษาศีลข้อ ๑ ด้วยการไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ด้วยเศษของบุญที่รักษาศีลข้อนี้ เมื่อน้อมนำมาเกิดเป็นมนุษย์ก็จะทำให้มีพลานามัยแข็งแรง ปราศจากโรคภัย ไม่ขี้โรค อายุยืนยาว ไม่มีศัตรูเบียดเบียนให้ต้องบาดเจ็บ ไม่มีอุบัติเหตุต่างๆที่จะทำให้บาดเจ็บหรือสิ้นอายุเสียก่อนวัยอันสมควร (๒) ผู้ที่รักษาศีลข้อ ๒ ด้วยการไม่ถือเอาทรัพย์ของผู้อื่นที่เจ้าของมิได้เต็มใจให้ ด้วยเศษของบุญที่นำมาเกิดเป็นมนุษย์ ย่อมทำให้ได้เกิดในตระก้ลที่ร่ำรวย การทำมาหาเลี้ยงชีพในภายหน้ามักจะประสบช่องทางที่ดี ทำมาค้าขึ้นและมั่งมีทรัพย์ ทรัพย์สมบัติไม่วิบัติหายนะไปด้วยภัยต่างๆ เช่น อัคคีภัย วาตภัย โจรภัย ฯลฯ (๓) ผู้ที่รักษาศีลข้อ ๓ ด้วยการไม่ล่วงประเวณีในคู่ครอง หรือคนในปกครองของผู้อื่น ด้วยเศษของบุญที่รักษาศีลข้อนี้ เมื่อมาเกิดเป็นมนุษย์ ก็จะประสบโชคดีในความรัก มักได้พบรักแท้ที่จริงจังและจริงใจ ไม่ต้องอกหัก อกโรย และอกเดาะ ครั้นเมื่อมีบุตรธิดา ก็ว่านอนสอนง่าย ไม่ดื้อด้าน ไม่ถูกผู้อื่นหลอกลวงฉุดคร่าอนาจารไปทำให้เสียหาย บุตรธิดาย่อมเป็นอภิชาตบุตร ซึ่งจะนำเกียรติยศชื่อเสียงมาสู่วงศ์ตระก้ล (๔) ผู้ที่รักษาศีลข้อ ๔ ด้วยการไม่กล่าวมุสา ด้วยเศษของบุญที่รักษาศีลข้อนี้ เมื่อนำมาเกิดเป็นมนุษย์ จะทำให้เป็นผู้ที่มีสุ้มเสียงไพเราะ พูดจามีน้ำมีนวลชวนฟัง มีเหตุมีผล ชนิดที่เป็น "พุทธวาจา" มีโวหารปฏิภาณไหวพริบในการเจรจา จะเจรจาความสิ่งใดก็มีผู้เชื่อฟังและเชื่อถือ สามารถว่ากล่าวสั่งสอนบุตรธิดาและศิษย์ให้อยู่ในโอวาทได้ดี (๕) ผู้ที่รักษาศีลข้อ ๕ ด้วยการไม่ดื่มสุราเมรัยเครื่องหมักดองของมึนเมา ด้วยเศษของบุญที่รักษาศีลข้อนี้ เมื่อนำมาเกิดเป็นมนุษย์ ย่อมทำให้เป็นผู้ที่มีสมอง ประสาท ปัญญา ความคิดแจ่มใส จะศึกษาเล่าเรียนสิ่งใดก็แตกฉานและทรงจำได้ง่าย ไม่หลงลืมฟั่นเฟือนเลอะเลือน ไม่เสียสติวิกลจริต ไม่เป็นโรคสมอง โรคประสาท ไม่ปัญญาทราม ปัญญาอ่อนหรือปัญญานิ่ม(http://www.thaitrip4u.com/micon/r8.gif) อานิสงส์ของศีล ๕ มีดังกล่าวข้างต้น สำหรับศีล ๘ ศีล ๑๐ และ ศีล ๒๒๗ ก็ย่อมมีอานิสงส์เพิ่มพูนมากยิ่งๆขึ้นตามระดับและประเภทของศีลที่รักษา แต่ศีลนั้นแม้จะมีอานิสงส์เพียงไร ก็ยังเป็นแต่เพียงการบำเพ็ญบุญบารมีในชั้นกลางๆในพระพุทธศาสนาเท่านั้น เพราะเป็นแต่เพียงระเบียบหรือกติกาที่จะรักษากายและวาจาให้สงบ ไม่ให้ก่อให้เกิดทุกข์โทษขึ้นทางกายและวาจาเท่านั้น ส่วนทางจิตใจนั้น ศีลยังไม่สามารถที่จะควบคุมหรือทำให้สะอาดบริสุทธิ์ได้ ฉะนั้น การรักษาศีลจึงยังได้บุญน้อยกว่าการภาวนา เพราะการภาวนานั้น เป็นการรักษาใจ รักษาจิต และซักฟอกจิตให้เบาบางหรือจนหมดกิเลส คือความโลภ โกรธ และหลง อันเป็นเครื่องร้อยรัดให้บรรดาสรรพสัตว์ทั้งหลายต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสังสารวัฏ การภาวนาจึงเป็นการบำเพ็ญบุญบารมีที่สูงที่สุด ประเสริฐที่สุด ได้บุญมากที่สุด เป็นกรรมอันยิ่งใหญ่ เรียกว่า "มหัคคตกรรม" อันเป็นมหัคคตกุศล[/b] หัวข้อ: Re: วิธีสร้างบุญบารมี เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ ธันวาคม 08, 2011, 08:17:01 PM ๓. การภาวนา (http://variety.teenee.com/saladharm/img7/123068.jpg) การเจริญภาวนานั้น เป็นการสร้างบุญบารมีที่สูงที่สุดและยิ่งใหญ่ที่สุดในพระพุทธศาสนา จัดว่าเป็นแก่นแท้และสูงกว่าฝ่ายศีลมากนัก การเจริญภาวนานั้น มี ๒ อย่าง คือ (๑) สมถภาวนา (การทำสมาธิ) และ (๒) วิปัสสนาภาวนา (การเจริญปัญญา) แยกอธิบายดังนี้ คือ (๑) สมถภาวนา (การทำสมาธิ) สมถภาวนา ได้แก่การทำจิตให้เป็นสมาธิ หรือเป็นฌาน ซึ่งก็คือการทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่านแส่ส่ายไปยังอารมณ์อื่นๆ วิธีภาวนานั้น มีมากมายหลายร้อยชนิด ซึ่งพระพุทธองค์ทรงบัญญัติแบบอย่างเอาไว้ ๔๐ ประการ เรียกกันว่า "กรรมฐาน ๔๐" ซึ่งผู้ใดจะเลือกใช้วิธีใดก็ได้ตามแต่สมัครใจ ทั้งนี้ย่อมสุดแล้วแต่อุปนิสัยและวาสนาบารมีที่ได้เคยสร้างสมอบรมมาแต่ในอดีตชาติ เมื่อสร้างสมอบรมมาในกรรมฐานกองใด จิตก็มักจะน้อมชอบกรรมฐานกองนั้นมากกว่ากองอื่นๆ และการเจริญภาวนาก็ก้าวหน้าเร็วและง่าย แต่ไม่ว่าจะเลือกปฏิบัติวิธีใดก็ตาม จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรักษาศีลให้ครบถ้วนบริบูรณ์ตามเพศของตนเสียก่อน คือหากเป็นฆราวาสก็จะต้องรักษาศีล ๕ เป็นอย่างน้อย หากเป็นสามเณรก็จะต้องรักษาศีล ๑๐ หากเป็นพระก็จะต้องรักษาศีลปาฏิโมกข์ ๒๒๗ ข้อให้บริบูรณ์ ไม่ให้ขาดและด่างพร้อย จึงจะสามารถทำจิตให้เป็นฌานได้ หากศีลยังไม่มั่นคง ย่อมเจริญฌานให้เกิดขึ้นได้โดยยาก เพราะศีลย่อมเป็นบาทฐาน (เป็นกำลัง) ให้เกิดสมาธิขึ้น อานิสงส์ของสมาธินั้น มีมากกว่าการรักษาศีลอย่างเทียบกันไม่ได้ ซึ่งพระพุทธองค์ได้ตรัสว่า "แม้จะได้อุปสมบทเป็นภิกษุรักษาศีล ๒๒๗ ข้อ ไม่เคยขาด ไม่ด่างพร้อยมานานถึง ๑๐๐ ปี ก็ยังได้บุญกุศลน้อยกว่าผู้ที่ทำสมาธิเพียงให้จิตสงบนานเพียงชั่วไก่กระพือปีก ช้างกระดิกหู" คำว่า "จิตสงบ" ในที่นี้หมายถึงจิตที่เป็นอารมณ์เดียวเพียงชั่ววูบ ที่พระท่านเรียกว่า "ขณิกสมาธิ" คือสมาธิเล็กๆ น้อยๆ สมาธิแบบเด็กๆ ที่เพิ่งหัดตั้งไข่ คือหัดยืนแล้วก็ล้มลง แล้วก็ลุกขึ้นยืนใหม่ ซึ่งเป็นอารมณ์จิตที่ยังไม่ตั้งมั่น สงบวูบลงเล็กน้อยแล้วก็รักษาไว้ไม่ได้ ซึ่งยังห่างไกลต่อการที่จิตถึงขั้นเป็นอุปจารสมาธิและฌาน แม้กระนั้นก็ยังมีอานิสงส์มากมายถึงเพียงนี้ โดยหากผู้ใดจิตทรงอารมณ์อยู่ในขั้นขณิกสมาธิแล้วบังเอิญตายลงในขณะนั้น อานิสงส์นี้จะส่งผลให้ได้ไปบังเกิดในเทวโลกชั้นที่ ๑ คือชั้นจาตุมหาราชิกา หากจิตยึดไตรสรณคมน์ (มีพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์เป็นที่พึ่งอันสูงสุดด้วย ก็เป็นเทวดาชั้น ๒ คือ ดาวดึงส์) สมาธินั้น มีหลายขั้นตอน ระยะก่อนที่จะเป็นฌาน (อัปปนาสมาธิ) ก็คือขณิกสมาธิและอุปจารสมาธิ ซึ่งอานิสงส์ส่งให้ไปบังเกิดในเทวโลก ๖ ชั้น แต่ยังไม่ถึงชั้นพรหมโลก สมาธิในระดับอัปปนาสมาธิหรือฌานนั้น มีรูปฌาน ๔ และอรูปฌาน ๔ ซึ่งล้วนแต่ส่งผลให้ไปบังเกิดในพรหมโลกรวม ๒๐ ชั้น แต่จะเป็นชั้นใดย่อมสุดแล้วแต่ความละเอียดประณีตของกำลังฌานที่ได้ (เว้นแต่พรหมโลกชั้นสุทธาวาสคือ ชั้นที่ ๑๒ ถึง ๑๖ ซึ่งเป็นที่เกิดของพระอนาคามีบุคคลโดยเฉพาะ) รูปฌาน ๑ ส่งผลให้บังเกิดในพรหมโลกชั้น ๑ ถึงชั้น ๓ สุดแล้วแต่ความละเอียดประณีตของกำลังฌาน ๑ ส่วนอรูปฌานที่เรียกว่า "เนวสัญญา นาสัญญายตนะ" นั้น ส่งผลให้บังเกิดในพรหมโลกชั้นสูงสุด คือชั้นที่ ๒๐ ซึ่งมีอายุยืนยาวถึง ๘๔,๐๐๐ มหากัป เรียกกันว่านิพพานพรหม คือนานเสียจนเกือบหาเวลาเริ่มต้น และสิ้นสุดมิได้ จนเป็นที่เข้าใจกันว่าเป็นนิพพาน การทำสมาธิเป็นการสร้างบุญกุศลที่ยิ่งใหญ่ ลงทุนน้อยที่สุด เพราะไม่ได้เสียเงินเสียทอง ไม่ได้เหนื่อยยากต้องแบกหามแต่อย่างใด เพียงแต่คอยเพียรระวังรักษาสติ คุ้มครองจิตมิให้แส่ส่ายไปสู่อารมณ์อื่นๆ โดยให้ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียวเท่านั้น การทำทานเสียอีกยังต้องเสียเงินทอง การสร้างโบสถ์ วิหาร ศาลาโรงธรรมยังต้องเสียทรัพย์ และบางทีก็ต้องเข้าช่วยแบกหามเหนื่อยกาย แต่ก็ได้บุญน้อยกว่าการทำสมาธิอย่างที่เทียบกันไม่ได้ อย่างไรก็ดี การเจริญสมถภาวนาหรือสมาธินั้น แม้จะได้บุญอานิสงส์มากมายมหาศาลอย่างไร ก็ยังไม่ใช่บุญกุศลที่สูงสุดยอดในพระพุทธศาสนา หากจะเปรียบกับต้นไม้ก็เป็นเพียงเนื้อไม้เท่านั้น การเจริญวิปัสสนา (การเจริญปัญญา) จึงจะเป็นการสร้างบุญกุศลที่สูงสุดยอดในพระพุทธศาสนา หากจะเปรียบก็เป็นแก่นไม้โดยแท้ (http://www.lucky-flower.com/images/tips/flower%20mali.jpg) (๒) วิปัสสนาภาวนา (การเจริญปัญญา)เมื่อจิตของผู้บำเพ็ญตั้งมั่นในสมาธิจนมีกำลังดีแล้ว เช่นอยู่ในระดับฌานต่างๆ ซึ่งจะเป็นฌานในระดับใดก็ได้ แม้แต่จะอยู่แค่เพียงอุปจารสมาธิ จิตของผู้บำเพ็ญเพียรก็ย่อมมีกำลังและอยู่ในสภาพที่นุ่มนวล ควรแก่การเจริญวิปัสสนาต่อไปได้ อารมณ์ของวิปัสสนานั้น แตกต่างไปจากอารมณ์ของสมาธิ เพราะสมาธินั้นมุ่งให้จิตตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งแต่อารมณ์เดียว โดยแน่นิ่งอยู่เช่นนั้น ไม่นึกคิดอะไรๆ แต่วิปัสสนาไม่ใช่ให้จิตตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียวนิ่งอยู่เช่นนั้น แต่เป็นจิตที่คิดและใคร่ครวญหาเหตุและผลในสภาวธรรมทั้งหลาย และสิ่งที่เป็นอารมณ์ของวิปัสสนานั้น มีแต่เพียงอย่างเดียวคือ "ขันธ์ ๕" ซึ่งนิยมเรียกกันว่า "รูป-นาม" โดยรูปมี ๑ ส่วน นามนั้นมี ๔ คือ เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ขันธ์ ๕ ดังกล่าวเป็นเพียงอุปาทานขันธ์ เพราะแท้จริงแล้วเป็นแต่เพียงสังขารธรรมที่เกิดขึ้นเนื่องจากการปรุงแต่ง แต่เพราะอวิชชา คือความไม่รู้เท่าสภาวธรรม จึงทำให้เกิดความยึดมั่นด้วยอำนาจอุปาทานว่าเป็นตัวตนและของตน การเจริญวิปัสสนาก็โดยมีจิตพิจารณาจนรู้แจ้งเห็นจริงว่า อันสภาวธรรมทั้งหลาย อันได้แก่ขันธ์ ๕ นั้น ล้วนแต่มีอาการเป็นพระไตรลักษณ์ คือ เป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา โดย (๑) อนิจจัง คือความไม่เที่ยง คือสรรพสิ่งทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ สิ่งของ สมบัติ เพชร หิน ดิน ทราย และรูปกายของเรา ล้วนแต่ไม่เที่ยงแท้แน่นอน เมื่อมีเกิดขึ้นแล้วก็ต้องเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา เพียงแต่จะช้าหรือเร็วเท่านั้น ไม่อาจจะให้ตั้งมั่นทรงอยู่ในสภาพเดิมได้ เช่นคนและสัตว์ เมื่อมีการเกิดขึ้นแล้ว ก็มีการเจริญเติบโตเป็นหนุ่มสาว และเฒ่าแก่ จนตายไปในที่สุด ไม่มีเว้นไปได้ทุกผู้คน แม้แต่องค์สมเด็กจพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระอรหันต์เจ้าทั้งหลาย พรหมและเทวดา ฯลฯ สรรพสิ่งทั้งหลายอันเนื่องมาจากการปรุงแต่ง ที่เรียกว่าอุปาทานขันธ์ ๕ เช่น รูปกาย ล้วนแต่เป็นแร่ธาตุต่างๆ มาประชุมรวมกันเป็นหน่วยเล็กๆของชีวิตขึ้นก่อน ซึ่งเล็กจนตาเปล่ามองไม่เห็น เรียกกันว่า "เซลล์" แล้วบรรดาเซลล์เหล่านั้นก็มาประชุมรวมกันเป็นรูปร่างของคนและสัตว์ขึ้น ซึ่งหน่วยชีวิตเล็กๆ เหล่านั้นก็มีการเจริญเติบโตและแตกสลายไป แล้วเกิดของใหม่ขึ้นแทนที่อยู่ตลอดเวลา ล้วนแล้วแต่เป็นอนิจจัง ไม่เที่ยงแท้แน่นอน (๒) ทุกขัง ได้แก่ "สภาพที่ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้" ทุกขัง ในที่นี้มิได้หมายความแต่เพียงว่าเป็นความทุกข์กายทุกข์ใจเท่านั้น แต่การทุกข์กายทุกข์ใจก็เป็นลักษณะส่วนหนึ่งของทุกขังในที่นี้ สรรพสิ่งทั้งหลายอันเป็นสังขารธรรมเมื่อเกิดขึ้นแล้ว ก็ไม่อาจที่จะทนตั้งมั่นอยู่ในสภาพนั้นๆได้ตลอดไป ไม่อาจจะทรงตัว และต้องเปลี่ยนแปลงไป เพียงแต่จะช้าหรือเร็วเท่านั้น เมื่อได้เกิดมาเป็นเด็กจะให้ทรงสภาพเป็นเด็กๆเช่นนั้นตลอดไปหาได้ไม่ จะต้องเปลี่ยนแปลงไปเป็นหนุ่มและสาว แล้วก็เฒ่าแก่ จนในที่สุดก็ต้องตายไป แม้แต่ขันธ์ที่เป็นนามธรรมอันได้แก่เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ก็ไม่มีสภาพทรงตัวเช่นเดียวกัน เช่นขันธ์ที่เรียกว่าเวทนา อันได้แก่ความทุกข์กาย ทุกข์ใจ และความไม่สุข ไม่ทุกข์ ซึ่งเมื่อมีเกิดเป็นอารมณ์ดังกล่าวอย่างใดขึ้นแล้ว จะให้คงทรงอารมณ์เช่นนั้นให้ตลอดไปย่อมไม่ได้ นานไปอารมณ์เช่นนั้นหรือเวทนาเช่นนั้นก็ค่อยๆจางไป แล้วเกิดอารมณ์ใหม่ชนิดอื่นขึ้นมาแทน (๓) อนัตตา ได้แก่ "ความไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่สิ่งของ" โดยสรรพสิ่งทั้งหลายอันเนื่องมาจากการปรุงแต่ง ไม่ว่าจะเป็น "รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ" ล้วนแต่เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย เช่น รูปขันธ์ย่อมประกอบขึ้นด้วยแร่ธาตุต่างๆ มาประชุมรวมกันเป็นกลุ่มก้อน เป็นหน่อยชีวิตเล็กๆขึ้นก่อน เรียกในทางวิทยาศาสตร์ว่า "เซลล์" แล้วเซลล์เหล่านั้นก็ประชุมรวมกันเป็นรูปใหญ่ขึ้น จนเป็นรูปกายของคนและสัตว์ทั้งหลาย ซึ่งพระท่านรวมเรียกหยาบๆ ว่าเป็นธาตุ ๔ มาประชุมรวมกัน โดยส่วนที่เป็นของแข็งมีความหนักแน่น เช่น เนื้อ กระดูก ฯลฯ เรียกว่า ธาตุดิน ส่วนที่เป็นของเหลว เช่น น้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำลาย น้ำดี น้ำปัสสาวะ น้ำไขข้อ น้ำมูก ฯลฯ รวมเรียกว่า ธาตุน้ำ ส่วนสิ่งที่ให้พลังงานและอุณหภูมิในร่างกาย เช่น ความร้อน ความเย็น เรียกว่า ธาตุไฟ ส่วนธรรมชาติที่ทำให้เกิดความเคลื่อนไหว ความตั้งมั่น ความเคร่ง ความตึง และบรรดาสิ่งเคลื่อนไหวไปมาในร่างกาย เรียกว่า ธาตุลม (โดยธาตุ ๔ ดังกล่าวนี้มิได้มีความหมายอย่างเดียวกับคำว่า "ธาตุ" อันหมายถึง แร่ธาตุในทางวิทยาศาสตร์) ธาตุ ๔ หยาบๆเหล่านี้ได้มาประชุมรวมกันเป็นรูปกายของคน สัตว์และสรรพสิ่งทั้งหลายขึ้นเพียงชั่วคราวเท่านั้น เมื่อนานไปก็ย่อมเปลี่ยนแปลงแล้วแตกสลายกลับคืนไปสู่สภาพเดิม โดยส่วนที่เป็นดินก็กลับไปสู่ดิน ส่วนที่เป็นน้ำก็กลับไปสู่น้ำ ส่วนที่เป็นไฟก็กลับไปสู่ไฟ ส่วนที่เป็นลงก็กลับไปสู่ความเป็นลม ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนของคนและสัตว์ที่ไหนแต่อย่างใด จึงไม่อาจจะยึดมั่นถือมั่นรูปกายนี้ว่าเป็นตัวเราของเราให้เป็นที่พึ่งอันถาวรได้ (http://www.lucky-flower.com/images/tips/flower-orchid.jpg) สมาธิย่อมมีกรรมฐาน ๔๐ เป็นอารมณ์ ซึ่งผู้บำเพ็ญอาจจะใช้กรรมฐานบทใดบทหนึ่งตามแต่ที่ถูกแก่จริตนิสัยของตนก็ย่อมได้ ส่วนวิปัสสนานั้น มีแต่เพียงอย่างเดียว คือมี ขันธ์ ๕ เป็นอารมณ์ เรียกสั้นๆว่า มีแต่รูปกับนามเท่านั้น ขันธ์ ๕ นั้นได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสภาวธรรมหรือสังขารธรรมเกิดขึ้นเนื่องจากการปรุงแต่ง เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ไม่เที่ยง ทนอยู่ในสภาพเช่นนั้นไม่ได้ และไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนแต่อย่างใด อารมณ์ของวิปัสสนานั้น เป็นอารมณ์จิตที่ใคร่ครวญหาเหตุและผลในสังขารธรรมทั้งหลาย จนรู้แจ้งเห็นจริงว่าเป็นพระไตรลักษณ์ คือเป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา และเมื่อใดที่จิตยอมรับสภาพความเป็นจริงว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตาจริง เรียกว่าจิตตกกระแสธรรมตัดกิเลสได้ ปัญญาที่จะเห็นสภาพความเป็นจริงดังกล่าว ไม่ใช่แต่เพียงปัญญาที่นึกคิดและคาดหมายเอาเท่านั้น แต่ย่อมมีตาวิเศษหรือตาใน ที่พระท่านเรียกว่า "ญาณทัสสนะ" เห็นเป็นเช่นนั้นจริงๆ ซึ่งจิตที่ได้ผ่านการอบรมสมาธิมาจนมีกำลังดีแล้ว ย่อมมีพลังให้เกิดญาณทัสสะหรือปัญญาที่รู้แจ้งเห็นจริงดังกล่าวได้ เรียกกันว่า "สมาธิอบรมปัญญา" คือสมาธิทำให้วิปัสสนาญาณเกิดขึ้น และเมื่อวิปัสสนาญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ย่อมถ่ายถอนกิเลสให้เบาบางลง จิตก็ย่อมจะเบาและใสสะอาดบางจากกิเลสทั้งหลายไปตามลำดับ สมาธิจิตก็จะยิ่งก้าวหน้าและตั้งมั่นมากยิ่งๆขึ้นไปอีก เรียกว่า "ปัญญาอบรมสมาธิ" ฉะนั้นทั้งสมาธิและวิปัสสนาจึงเป็นทั้งเหตุและผลของกันและกันและอุปการะซึ่งกันและกัน จะมีวิปัสสนาปัญญาเกิดขึ้นโดยขาดกำลังสมาธิสนับสนุนมิได้เลย อย่างน้อยที่สุดก็จะต้องใช้กำลังของขณิกสมาธิเป็นบาทฐานในระยะแรกเริ่ม สมาธิจึงเปรียบเหมือนกับหินลับมีด ส่วนวิปัสสนานั้นเหมือนกับมีดที่ได้ลับกับหินคมดีแล้ว ย่อมมีอำนาจถากถางตัดฟันบรรดากิเลสทั้งหลายให้ขาดและพังลงได้ อันสังขารธรรมทั้งหลายนั้นล้วนแต่เป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน ไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่ตัวเราของเราแต่อย่างใด ทุกสรรพสิ่งล้วนแล้วแต่เป็นแค่ดิน น้ำ ลม และไฟ มาประชุมรวมกันชั่วคราวตามเหตุตามปัจจัยเท่านั้น ในเมื่อจิตได้เห็นความเป็นจริงเช่นนี้แล้ว จิตก็จะละคลายจากอุปาทาน คือ ความยึดมั่นถือมั่น โดยคลายกำหนัดในลาภ ยศ สรรเสริญ สุขทั้งหลาย ความโลภ ความโกรธ และความหลงก็เบาบางลงไปตามลำดับปัญญาญาณจนหมดสิ้นจากกิเลสทั้งมวล บรรลุซึ่งพระอรหัตผล ฉะนั้น การที่จะเจริญวิปัสสนาภาวนาได้ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพยายามทำสมาธิให้ได้เสียก่อน หากทำสมาธิยังไม่ได้ ก็ไม่มีทางที่จะเกิดวิปัสสนาปัญญาขึ้น สมาธิจึงเป็นเพียงบันไดขั้นต้นที่จะก้าวไปสู่การเจริญวิปัสสนาปัญญาเท่านั้น ซึ่งพระพุทธองค์ได้ตรัสไว้วว่า "ผู้ใดแม้จะทำสมาธิจนจิตเป็นฌานได้นานถึง ๑๐๐ ปี และไม่เสื่อม ก็ยังได้บุญน้อยกว่าผู้ที่มองเห็นความเป็นจริงที่ว่า สรรพสิ่งทั้งหลายอันเนื่องมาจากการปรุงแต่ง ล้วนแล้วแต่เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แม้จะเห็นเพียงชั่วขณะจิตเดียวก็ตาม" ดังนี้ จะเห็นได้ว่า วิปัสสนาภาวนานั้น เป็นสุดยอดของการสร้างบุญบารมีโดยแท้จริง และการกระทำก็ไม่เหนื่อยยากลำบาก ไม่ต้องแบกหาม ไม่ต้องลงทุนหรือเสียทรัพย์แต่อย่างใด แต่ก็ได้กำไรมากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบการให้ทานเหมือนกับกรวด และทราบ ก็เปรียบวิปัสสนาได้กับเพชรน้ำเอก ซึ่งทานย่อมไม่มีทางที่จะเทียบศีล ศีลก็ไม่มีทางที่จะเทียบกับสมาธิ และสมาธิก็ไม่มีทางที่จะเทียบกับวิปัสสนา แต่ตราบใดที่เราท่านทั้งหลายยังไม่ถึงฝั่งพระนิพพาน ก็ต้องเก็บเล็กผสมน้อย โดยทำทุกๆทางเพื่อความไม่ประมาท โดยทำทั้งทาน ศีล และภาวนา สุดแต่โอกาสจะอำนวยให้ จะถือว่าการเจริญวิปัสสนาภาวนานั้นลงทุนน้อยที่สุด แต่ได้กำไรมากที่สุด ก็เลยทำแต่วิปัสสนาอย่างเดียว โดยไม่ยอมลงทุนทำบุญให้ทานใดๆไว้เลย ก็เลยมีแต่ปัญญาอย่างเดียวไม่มีจะกินจะใช้ ก็เห็นจะเจริญวิปัสสนาให้ถึงฝั่งพระนิพพานไปไม่ได้เหมือนกัน[/b] หัวข้อ: Re: วิธีสร้างบุญบารมี เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ ธันวาคม 08, 2011, 08:19:43 PM อนึ่ง พระพุทธองค์ได้ตรัสเอาไว้ว่า "ผู้ใดมีปัญญาพิจารณาจนจิตเห็นความจริงว่า ร่างกายนี้เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน คน สัตว์ แม้จะนานเพียงชั่วช้างยกหูขึ้นกระดิก ก็ยังดีเสียกว่าผู้ที่มีอายุยืนนานถึง ๑๐๐ ปี แต่ไม่มีปัญญาเห็นความเป็นจริงดังกล่าว" กล่าวคือแม้ว่าอายุของผู้นั้นจะยืนยาวมานานเพียงใด ก็ย่อมโมฆะเสียเปล่าไปชาติหนึ่ง จัดว่าเป็น "โมฆบุรุษ" คือบุรุษที่สูญเปล่า
ต่อไปนี้เป็นการเจริญสมถะและวิปัสสนาอย่างง่ายๆประจำวัน ซึ่งควรจะได้ทำให้บ่อยๆ ทำเนืองๆ ทำให้มากๆ ทำจนจิตเป็นอารมณ์แนบแน่น ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบทใด คือไม่ว่าจะยืน เดิน นั่ง หรือนอน ก็คิดและใคร่ครวญถึงความเป็นจริง ๔ ประการ ดังต่อไปนี้ หากทำแล้วพระพุทธองค์ตรัสว่า "จิตของผู้นั้นไม่ห่างจากวิปัสสนา และเป็นผู้ที่ไม่ห่างจากมรรค ผล นิพพาน" คือ (http://www.lucky-flower.com/images/tips/flower-ivy.jpg) (๑) มีจิตใคร่ครวญถึงมรณัสสติกรรมฐาน หรือมรณานุสสติกรรมฐาน ซึ่งก็คือการใคร่ครวญถึงความตายเป็นอารมณ์ อันความมรณะนั้นเป็นธรรมอันยิ่งใหญ่ที่ไม่มีใครสามารถที่จะเอาชนะได้ แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งทรงบรรลุถึงพระธรรมอันยิ่งใหญ่ที่ไม่ตาย แต่ก็ยังต้องทรงทอดทิ้งพระสรีระร่างกายไว้ในโลก การระลึกถึงความตายจึงเป็นการเตือนสติให้ตื่น รีบพากเพียรชำระจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์ก่อนที่ความตายจะมาถึง พระพุทธองค์ตรัสสรรเสริญมรณัสสติว่า "มรณัสสติ (การระลึกถึงความตาย) อันบุคคลทำให้มากแล้วย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ หยั่งลงสู่พระนิพพานเป็นที่สุด ฯลฯ" อันมรณัสสติกรรมฐานนั้น แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระอรหันต์เจ้าทั้งหลาย ซึ่งแม้จะได้บรรลุมรรคผลแล้ว ก็ยังไม่ยอมละ เพราะยังทรงอารมณ์มรณัสสตินี้ควบคู่ไปกับวิปัสสนา เพื่อความอยู่เป็นสุข ซึ่งพระพุทธองค์ได้ตรัสกับพระอานนท์ว่า "ตถาคถนึกถึงความตายอยู่ทุกลมหายใจเข้าและออก ฯลฯ" มรณัสสติกรรมฐานนั้น โดยปกติเป็นกรรมฐานของผู้ที่มีพุทธิจริต คือคนที่ฉลาด การใคร่ครวญถึงความตายเป็นอารมณ์ ก็คือการพิจารณาถึงความเป็นจริงที่ว่า ไม่ว่าคนและสัตว์ทั้งหลาย เมื่อมีเกิดขึ้นแล้ว ย่อมเจริญวัยเป็นหนุ่มสาว เฒ่าแก่ สูง ต่ำ เหลื่อมล้ำกันด้วยฐานันดรศักดิ์อย่างใด ในที่สุดก็ทันกันและเสมอกันด้วยความตาย ผู้ที่คิดถึงความตายนั้น เป็นผู้ที่ไม่ประมาทในชีวิต ไม่มัวเมาในชีวิต เพราะเมื่อคิดถึงแล้วย่อมเร่งกระทำความดีและบุญกุศล เกรงกลัวต่อบาปกรรมที่จะติดตามไปในภพชาติหน้า ผู้ที่ประมาทมัวเมาต่อทรัพย์สมบัติยศศักดิ์ตำแน่งหน้าที่นั้นเป็นผู้ที่หลง เหมือนกับคนที่หูหนวกและตาบอด ซึ่งโบราณกล่าวตำหนิไว้ว่า "หลงลำเนาเขาป่าก้่หาพอได้ยิน หลงยศอำนาจย่อมหูหนวกและตาบอด" และกล่าวไว้อีกว่า "หลงยศลืมตาย หลงกายลืมแก่" และความจริงก็มีให้เห็นอยู่ทุกวันนี้ที่บางท่านใกล้จะเข้าโลงแล้ว ก็ยังหลงและมัวเมาในอำนาจ วาสนา ตำแหน่งหน้าที่ จนลืมไปว่าอีกไม่นานตนก็จะต้องทิ้ง ต้องจากสิ่งเหล่านี้ไป แล้วทุกสิ่งทุกอย่างที่ตนได้หลงมัวเมาเฝ้าแสวงหาหวงแหนเกาะแน่นอยู่นั้น ก็จะต้องสลายไปพร้อมกับความตายของตน สูญเปล่าไม่ได้ตามติดกับตนไปด้วยเลย แล้วไม่นานผู้คนที่อยู่เบื้องหลังก็ลืมเลือนตนไปเสียสิ้น ดูเหมือนกับวันเวลาทั้งหลายที่ตนได้ต่อสู้เหนื่อยยากขวนขวายจนได้สิ่งดังกล่าวมานั้น ต้องโมฆะสูญเปล่าไปโดยหาสาระประโยชน์อันใดมิได้เลย มรณัสสติกรรมฐานนั้น เมื่อพิจารณาไปนานๆ จิตจะค่อยๆสงบระงับจากนิวรณ์ธรรม ๕ ประการ ในที่สุดจิตก็เข้าถึงอุปจารสมาธิ และความจริงกรรมฐานกองนี้เป็นเพียงสมถภาวนาเท่านั้น แต่ก็ใกล้กับวิปัสสนา เพราะอารมณ์จิตที่ใช้นั้นเป็นการพิจารณาหาเหตุและผลในรูปธรรมและนามธรรม ซึ่งหากพลิกการพิจารณาว่า อันชีวิตของคนและสัตว์ ตลอดจนสรรพสิ่งทั้งหลาย ไม่อาจทรงตัวตั้งมั่นอยู่ได้ เมื่อมีเกิดขึ้นแล้วก็ย่อมมีความตายเป็นที่สุด เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ดังนี้แล้ว ก็เป็นวิปัสสนาภาวนา สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อใกล้จะเสด็จดับขันธ์เข้าสู่ปรินิพพานอีก ๓ เดือน ได้ทรงปลงอายุสังขาร แล้วตรัสสอนพระอานนท์พร้อมหมู่ภิกษุทั้งหลายว่า "อานนท์ ตถาคถได้เคยบอกเธอแล้วมิใช่หรือว่า สัตว์จะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจไปทั้งสิ้น สัตว์จะได้ตามปรารถนาในสังขารนี้แต่ที่ไหนเล่า การที่จะขอให้สิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว เป็นแล้ว ที่มีปัจจัยปรุงแต่งแล้ว และที่จะต้องมีการแตกดับเป็นธรรมดาว่าอย่าฉิบหายเลย ดังนี้ย่อมไม่อยู่ในฐานะที่จะมีได้ เป็นได้ การปรินิพพานของเราตถาคตจักมีในกาลไม่นานเลย ถัดจากนี้ไปอีก ๓ เดือน ทั้งที่เป็นพาลและบัณฑิต ทั้งที่มั่งมีและยากจน ล้วนแต่มีความตายเป็นเบื้องหน้า เปรียบเหมือนภาชนะ ดินที่ช่างหม้อได้ปั้นแล้ว ทั้งเล็กและใหญ่ ทั้งที่สุกและที่ยังดิบ ล้วนแต่มีการแตกทำลายไปในที่สุดฉันใด ชีวิตแห่งสัตว์ทั้งหลายก็ล้วนแต่มีความตายเป็นเบื้องหน้าฉันนั้น วัยของเราแก่หง่อมแล้วชีวิตของเราริบหรี่แล้วเราจักต้องละพวกเธอไป ที่พึ่งของตนเอง เราได้ทำแล้ว ภิกษุทั้งหลาย เธอจงเป็นผู้ไม่ประมาท มีสติ มีศีล มีความดำริอันตั้งไว้แล้วด้วยดี ตามรักษาซึ่งจิตของตนเถิดในธรรมวินัยนี้ ภิกษุใดเป็นผู้ไม่ประมาท ก็สามารถที่จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้" และในวันมหาปรินิพพาน พระพุทธองค์ได้ตรัสพระปัจฉิมโอวาท ที่เรียกกันว่า "อัปปมาทธรรม" สั่งสอนพระสาวกเป็นครั้งสุดท้าย จนดูเหมือนว่าพระธรรม ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ที่ทรงสั่งสอนมานานถึง ๔๕ พรรษา ได้ประมวลประชุมรวมกันในพระปัจฉิมโอวาทนี้ว่า "ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ตถาคตขอเตือนท่านทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมเป็นธรรมดา พวกเธอจงยังประโยชน์ตนและประโยชน์ท่านให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด" (http://www.lucky-flower.com/images/tips/flower-bua.jpg) (๒) มีจิตใคร่ครวญถึงอสุภกรรมฐาน อสุภ ได้แก่สิ่งที่ไม่สวย ไม่งาม เช่น ซากศพ คือมีจิตพิจารณาให้เห็นความเป็นจริงที่ว่า ร่างกายของคนและสัตว์อันเป็นที่นิยมรักใคร่ เสน่หา และเป็นบ่อเกิดแห่งตัณหาราคะ กามกิเลส ว่าเป็นของสวยของงาม เป็นที่เจริญตาและใจ ไม่ว่าร่างกายของตนเองและของผู้อื่นก็ตาม แท้ที่จริงแล้วก็เป็นอนิจจัง คือไม่เที่ยงแท้ แน่นอน ทุกขัง คือทนอยู่ในสภาพเช่นนั้นไม่ได้ วันเวลาย่อมพรากความสวยสดงดงามให้ค่อยๆจากไปจนเข้าสู่วัยชรา ซึ่งจะมองหาความสวยงามใดๆหลงเหลืออยู่มิได้อีกเลย และในทันใดที่ตายลงนั้น แม้แต่ผู้ที่เคยสนิทสนมเสน่หารักใคร่ อันรวมถึงสามี ภริยาและบุตรธิดา ต่างก็พากันรังเกียจในทันใด ไม่ยอมเข้าใกล้ บ้านของตนเองที่อุตส่าห์สร้างมาด้วยความเหนื่อยยากก็ไม่ยอมให้อยู่ ต้องรีบขนๆออกไปโดยไวไว้ที่วัด แล้วซากเหล่านั้นก็เน่าเปื่อยสลายไป เริ่มตั้งแต่เนื้อหนังค่อยๆพองออก ขึ้นอืด น้ำเลือด น้ำเหลืองก็เริ่มเน่า แล้วเดือดไหลออกจากทวารทั้งหลาย เนื้อหนังแตกปริแล้วร่วงหลุดออก จนเหลือแต่กระดูก ส่งกลิ่นเน่าเหม็น เป็นที่น่าเกลียดกลัว สะอิดสะเอียน หาความสวยงามน่ารักเสน่หาใดๆมิได้อีกเลย ทั้งไร้คุณค่าและประโยชน์ คงมีค่าแค่เป็นอาหารแก่หมู่หนอนเท่านั้น แล้วในที่สุดกระดูกก็กระจัดกระจายเรี่ยราดอยู่ตามดินและทราย แตกละเอียดผุพังเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย แล้วเน่าเปื่อยเป็นปุ๋ยแก่พืชผักต่อไป หาตัวหาตนของเราของเขาที่ไหนมิได้เลย สังขารของเราในที่สุดก็เป็นเช่นนี้ ไม่มีอะไรคงเหลือไว้เลย (http://www.lucky-flower.com/images/tips/flower-sunflower.jpg) (๓) มีจิตใคร่ครวญถึงกายคตานุสสติกรรมฐาน บางทีเรียกกันง่ายๆว่า "กายคตาสติกรรมฐาน" เป็นกรรมฐานที่มีอานิสงส์มาก เพราะสามารถทำให้ละ "สักกายทิฐิ" อันเป็นสังโยชน์ข้อต้นได้โดยง่าย และเป็นกรรมฐานที่เกี่ยวกับการพิจารณาร่างกายให้เห็นตามสภาพความเป็นจริง ซึ่งมักพิจารณาร่วมกับอสุภกรรมฐาน มรณัสสติกรรมฐาน ซึ่งพระอริยเจ้าทุกๆพระองค์ที่จะบรรลุพระอรหัตผลได้จะต้องผ่านการพิจารณากรรมฐานทั้งสามกองนี้เสมอ มิฉะนั้นแล้วจะเป็นพระอรหันต์ในพระพุทธศาสนามิได้ ทั้งนี้เพราะบรรดาสรรพกิเลสทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นความโลภ โกรธ และหลง ต่างก็เกิดขึ้นที่กายนี้ เพราะความยึดมั่นถือมั่นด้วยอำนาจอุปาทานว่าเป็นตัวตนและของตน จึงได้เกิดกิเลสดังกล่าวขึ้น การพิจารณาละกิเลสก็จะต้องพิจารณาละที่กายนี้เอง มรรค ผล และนิพพาน ไม่ต้องไปมองหาที่ไหนเลย แต่มีอยู่พร้อมให้รู้แจ้งเห็นจริงได้ที่ร่างกายอันกว้างศอกยาววาและหน้าคืบนี่เอง การพิจารณาก็คือให้มีจิตใคร่ครวญให้เห็นตามสภาพความเป็นจริงที่ว่า อันร่างกายของคนและสัตว์ที่ต่างก็เฝ้าทะนุถนอมรักใคร่ ว่าสวยงาม เป็นที่สนิทเสน่หาชมเชยรักใคร่ซึ่งกันและกันนั้น แท้ที่จริงแล้วก็เป็นของปฏิก้ล สกปรกโสโครก ไม่สวย ไม่งาม ไม่น่ารักใคร่ทะนุถนอม เป็นมูตร คูถ เพราะเป็นที่บรรจุไว้ซึ่งสรรพสิ่งทั้งหลายที่เป็นพืชผักและบรรดาซากศพของสัตว์ที่บริโภคเข้าไป ภายในกระเพาะนั้น แท้ที่จริงแล้วก็เป็นที่รวมฝังซากศพของบรรดาสัตว์ทั้งหลายนั่นเอง พืชและสัตว์ที่บริโภคเข้าไป ก็ล้วนแต่เป็นของที่สกปรก ที่ขักถ่ายออกมาจากทวารทั้งหลาย ก็เป็นของที่สกปรก โสโครก ซึ่งต่างก็พากันรังเกียจว่าเป็น "ขี้" มีสารพัดขี้ ซึ่งแม้แต่จะเหลือบตาไปมองก็ยังไม่ก้าที่จะมอง แต่แท้ที่จริงแล้วในท้อง กระเพาะ ลำไส้ภายในร่างกายของทุผู้คนก็ยังคงมีบรรดาขี้เหล่านี้บรรจุอยู่ เพียงแต่มีหนังห่อหุ้มปกปิดไว้ ทำให้ไม่สามารถมองเห็นได้จากภายนอกเท่านั้น แต่เราท่านทั้งหลายก็พากันกกกอดคลึงเคล้า เฝ้าชมเชยก้อนขี้เหล่านี้ว่าเป็นของสวยงาม น่ารักใคร่ น่าเสน่หายิ่งนัก เมื่อมีการขับถ่ายออกจากทวารหูก็เรียกกันว่าขี้ของหู คือ "ขี้หู" ที่ขับถ่ายออกทางตาก็เรียกกันว่าขี้ตา ที่ติดฟันอยู่ก็เรียกว่าขี้ฟัน ที่ออกทางจมูกก็เรียกว่าขี้ของจมูก คือ "ขี้มูก" รวมความแล้ว บรรดาสิ่งที่ขับถ่ายออกมาพอพ้นจากร่างกายในทันใดนั้นเอง จากเดิมที่เป็นของน่ารัก น่าเสน่หา ก็กลายเป็นของที่น่ารังเกียจไปโดยพลัน กลายเป็นสิ่งไม่มีใครอยากรักอยากเสน่หา เพราะเป็นขี้ และไม่มีใครอยากจะเป็นเจ้าของด้วย เมื่อไม่มีใครยอมรับเป็นเจ้าของ สิ่งที่ขับถ่ายออกมาทางผิวหนังจึงหาเจ้าของมิได้ ซึ่งต่างก็โทษกันว่าขี้ของใครก็ไม่ทราบ นานมาก็กลายเป็น "ขี้ไคล" ดังนี้เป็นต้น (http://www.flowerhandmade.com/images/1157943184/gre003_resize.jpg)(http://www.flowerhandmade.com/images/1157943184/gre003_resize.jpg)(http://www.flowerhandmade.com/images/1157943184/gre003_resize.jpg) หัวข้อ: Re: วิธีสร้างบุญบารมี เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ ธันวาคม 08, 2011, 08:20:36 PM นอกจากสิ่งที่ขับถ่ายออกมาจะน่ารังเกียจดังกล่าวแล้ว แม้แต่สังขารร่างกายของคนเราเมื่อได้แยกแยะพิจารณาไปแล้ว ก็เห็นเป็นความเป็นจริงที่ว่า เป็นที่ประชุมรวมกันของอวัยวะชิ้นต่างๆที่เป็นตา หู จมูก ลิ้น เนื้อ ปอด ตับ ม้าม หัวใจ กระเพาะอาหาร ลำไส้ หนัง พังผืด เส้นเอ็น เส้นเลือด น้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำลาย น้ำตา น้ำปัสสาวะ ฯลฯ รวมเรียกกันว่าอาการ ๓๒ ซึ่งต่างก็ห้อยแขวนระเกะระกะยางโตงเตงอยู่ภายใน เมื่อแยกหรือควักออกมาดูทีละชิ้น จะไม่มีชิ้นใดที่เรียกกันว่าสวยงาม น่ารัก น่าพิศวาสเลย กลับเป็นของที่น่าเกลียด ไม่สวย ไม่งาม ไม่น่าดู แต่สิ่งเหล่านี้ก็รวมประกอบอยู่ภายในร่างกายของเราทุกผู้คน โดยมีหนังหุ้มห่อ ปกปิดอยู่โดยรอบ หากไม่มีผืนหนังหุ้มห่อและสามารถมองเห็นภายในได้แล้ว แม้จะเป็นร่างกายของคนที่รักสุดสวาทขาดใจ ก็คงจะต้องเบือนหน้าหนี อกสั่นขวัญหาย บางทีอาจจะต้องถึงขั้นจับไข้ไปเลย ซึ่งอาจจะต้องถึงขั้นทำพิธีปัดรังควานเรียกขวัญกันอีก
หากตะถือว่าน่ารัก น่าเสน่หาอยู่ที่ผืนหรือแผ่นหนังรอบกาย ก็ลองลอกออกมาดูก็จะเห็นว่าไม่สวยงามตรงไหนแต่อย่างใด แต่ที่นิยมยกย่องรักใคร่หลงกันอยู่ ก็คือผิวหรือสีของหนังชั้นนอกสุดเท่านั้น ถ้าได้ลอกหรือขูดผิงชั้นนอกสุดออก ให้เหลือแต่หนังแท้แดงๆแล้ว แม้จะเป็นหนังสดสวยของนางงามจักรวาล ผู้คนก็คงจะต้องเบือนหน้าหนี จึงเป็นที่แน่ชัดว่า คนสวย คนงาม ก็คงสวยและงามกันแค่ผิวหนังชั้นนอกสุด รักและเสน่หากันที่ผิวหนัง ซึ่งเป็นของฉาบฉวยนอกกาย หาได้สวยงามน่ารักไปเข้าถึงตับ ปอด หัวใจ ม้าม กระเพาะ ลำไส้ น้ำเลือด น้ำเหลือง อุจจาระ ปัสสาวะ ภายในร่างกายด้วยไม่ ส่วนผู้ที่ผิวหรือสีของหนังดำด่าง ไม่สดใสน่าดู ก็พยายามทาลิปสติก แต่งหน้า ทาสี พอกแป้ง ย้อม และดึงกันเข้าไปให้เต่งตึง และออกเป็นสีสันต่างๆ แล้วก็พากันนิยมยกย่องชวนชมกันไป แท้ที่จริงแล้วก็เป็นความหลง โดยหลงรักกันที่แป้ง และสีที่พอก หลอกให้เห็นฉาบฉวยอยู่แค่ผิวภายนอกเท่านั้น เมื่อมีสติพิจารณาเห็นความเป็นจริงอยู่เช่นนี้ หากจิตมีกำลังก็จะทำให้นิวรณ์ ๕ ประการค่อยๆสงบระงับลงทีละเล็กละน้อย โดยเฉพาะจิตจะไม่เดือดร้อนกระวนกระวายแส่ว่ายไปในอารมณ์รักๆใคร่ๆ ในที่สุดจิตก็จะสงบเยือกเย็นลงจนถึงขั้นอุปจารสมาธิได้ หากสติมีกำลังพอก็อาจถึงขั้นปฐมฌานได้ (http://www.wanakorn.com/upload/news/m_Yellow-B.jpg) กายคตานุสสติกรรมฐานนั้น ความจริงก็เป็นเพียงสมถภาวนาที่ทำให้จิตเป็นสมาธิได้ถึงขั้นปฐมฌาน แต่ก็เป็นสมถภาวนาที่เจือไปด้วยวิปัสสนาภาวนา เพราะเป็นอารมณ์จิตที่ใคร่ครวญหาเหตุและผลตามสภาพเป็นจริงของสังขารธรรมหรือสภาวธรรม ซึ่งหากได้พลิกการพิจารณาอาการ ๓๒ ดังกล่าว ให้รู้แจ้งเห็นจริงว่า อาการ ๓๒ ดังกล่าวนั้นไม่มีการทรงตัว เมื่อเกิดเป็นอาการ ๓๒ ขึ้นแล้ว ก็ไม่อาจจะตั้งมั่นอยู่ได้ จะต้องเปลี่ยนแปลงไปเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน ไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่ตัวเราและของเราแต่อย่างใด ร่างกายไม่ว่าของตนเองและของผู้อื่น ต่างก็เต็มไปด้วยความทุกข์ ดังนี้เป็นวิปัสสนา กายคตานุสสติกรรมฐานเป็นกรรมฐานที่เมื่อได้พิจารณาไปแล้ว ก็จะเห็นความสกปรกโสโครกของร่างกายจนรู้แจ้งเห็นจริงว่า ไม่น่ารัก ไม่น่าใคร่ จังเป็นกรรมฐานที่มีอำนาจทำลายราคะกิเลส และเมื่อได้รู้แจ้งเห็นจริงดังกล่าวมากๆเข้า จิตก็จะมีกำลังและเกิดความเบื่อหน่ายในร่างกายทั้งของตนเองและของผู้อื่น จึงเป็นการง่ายที่ "นิพพิทาญาณ" จะเกิดขึ้น และเมื่อได้เกิดขึ้นแล้ว จนมีญาณทัสสนะเห็นแจ้งอาการพระไตรลักษณ์ว่า ร่างกายเป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขาแต่อย่างใด จิตก็จะน้อมไปสู่ "สังขารุเปกขาญาณ" ซึ่งมีาอารมณ์อังวางเฉย ไม่ยินดียินร้ายในร่างกาย และความกำหนัดในรูปนามขันธ์ ๕ เรียกว่าจิตปล่อยวาง ไม่ยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕ ซึ่งจะนำไปสู่การละ "สักกายทิฐิ" อันเป็นการละความเห็นผิดในร่างกายนี้เสียได้ และถ้าละได้เมื่อใด ก็ใกล้ที่จะบรรลุความเป็นพระอริยเจ้าเบื้องต้นในพระพุทธศาสนา คือเป็น "พระโสดาบัน" สมจริงตามที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ว่า การเจริญกรรมฐานกองนี้จะไม่ห่างจากมรรค ผล นิพพาน (http://www.wanakorn.com/upload/news/m_Asian-golden-Weaver.jpg) ฉะนั้น กายคตานุสสติกรรมฐาน จึงเป็นกรรมฐานที่จะทำให้บรรลุพระอรหันต์ได้โดยง่าย ซึ่งในสมัยพระพุทธกาล ท่านที่บรรลุแล้วด้วยพระกรรมฐานกองนี้มีเป็นอันมาก ในสมัยที่พระพุทธองค์ตรัสรู้ใหม่ๆ ได้เสด็จไปพบพราหมณ์สองสามีภรรยา ซึ่งมีบุตรที่สุดสวย ชื่อว่า "นางมาคัณฑิยา" พราหมณ์ทั้งสองชอบใจในพระพุทธองค์ จึงได้ออกปากยกนางมาคัณฑิยาให้เป็นภรรยา พระพุทธองค์ไม่ทรงรับไว้และมองเห็นนิสัยของพราหมณ์ทั้งสองที่จะได้บรรลุมรรคผล จึงได้ทรงแสดงพระธรรมให้ฟัง โดยยกเอากายคตานุสสติกรรมฐานขึ้นมาเทศน์ ซึ่งได้ตรัสตำหนิโทษแห่งความสวยงามแห่งรูปกายของนางมาคัณฑิยาว่า พระพุทธองค์ทรงเห็นว่าเป็นของปฏิก้ล มูตรคูถ เน่าเหม็น หาความสวยงามใดๆมิได้เลย พราหมณ์ทั้งสองพิจารณาตามก็ได้ดวงตาเห็นธรรม ส่วนนางมาคัณฑิยาผูกโกรธ ต่อมาเมื่อนางได้เป็นพระมเหสีของพระเจ้าอุเทน กรุงโกสัมพี ก็ได้จองล้างจองผลาญพระพุทธองค์อย่างไม่มีที่สิ้นสุด เพราะแรงพยาบาท อีกท่านหนึ่งก็คือนางอภิรูปนันทาซึ่งเป็นพระราชธิดาของพระเจ้าเขมกะศากยะ ก็จัดว่ามีรูปงามที่สุดในสมัยนั้น และพระนางทรงภาคภูมิหลงใหลในความงดงามของพระนางยิ่งนัก แต่ด้วยบุญบารมีที่ได้เคยสร้างสมอบรมมาแล้วเป็นอันมากในอดีตชาติ เป็นเหตุให้พระนางได้สดับพระธรรมของพระพุทธองค์จากพระโอษฐ์ ซึ่งได้ทรงเทศน์กายคตานุสสติกรรมฐานควบคู่ไปกับมรณัสสติกรรมฐาน แล้วทรงเนรมิตรูปกายของสาวงามที่งามยิ่งกว่าพระนางให้ปรากฏขึ้น ให้พระนางได้มองเห็น แล้วบันดาลให้รูปเนรมิตนั้นค่อยๆเจริญวัย แก่ แล้วชราโทรมๆลงจนตายไปในที่สุด แล้วก็เน่าเปื่อย สลายไปต่อหน้า พระนางก็น้อมเอาภาพนิมิตนั้นเข้ามาเปรียบเทียบกับร่างกายของพระนางจนเห็นว่าอันร่างกายอันงดงามของพระนางนั้นหาได้งามจริงไม่ ทั้งเป็นอนิจจังและอนัตตา หาสาระแก่นสารที่พึ่งอันถาวรอันใดมิได้เลย จนพระนางได้บรรลุพระอรหันต์ในขณะนั้นเอง และพระนางเขมาเทวีที่ยิ่งด้วยรูปโฉม และเป็นพระมเหสีองค์หนึ่งของพระเจ้าพิมพิสารแห่งเมืองราชคฤห์ ก็ได้บรรลุพระอรหันต์ในทำนองเดียวกันนี้เอง (๔) มีจิตใคร่ครวญถึงธาตุกรรมฐาน คือนอกจากจะมีจิตใคร่ครวญถึงความเป็นจริงของร่างกายดังกล่าวมาในข้อ (๓) แล้ว พึงพิจารณาแยกให้เห็นความเป็นจริงที่ว่า อันที่จริงร่างกายของเราเองก็ดี ของผู้อื่นก็ดี ไม่ใช่ตัวเราของเราแต่อย่างใดเลย เป็นแต่เพียงธาตุ ๔ มาประชุม เกาะกุมรวมกันเพียงชั่วคราวเท่านั้นเอง ได้แก่ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม และธาตุไฟ แล้วสิ่งเหล่านี้ก็ทนอยู่ในสภาพที่รวมกันเช่นนั้นไม่ได้ นานไปก็เก่าแก่แล้วแตกสลายตายไป ธาตุน้ำก็กลับไปสู่ความเป็นน้ำ ธาตุดินก็กลับไปสู่ความเป็นดิน ธาตุลมก็กลับไปสู่ความเป็นลม และธาตุไฟก็กลับไปสู่ความเป็นไฟตามเดิม เนื้อตัวร่างกายของเราเมื่อได้แยกส่วนออกมาดูแล้ว ก็มิได้มีตัวตนที่ตรงไหนแต่อย่างใด เป็นแต่เพียงเนื้อ กระดูก ตับ ไต ไส้ กระเพาะ เส้น เอ็น หนัง พังผืด เนื้อเยื่อ มันสมอง ไขข้อ ฯลฯ มาเกาะกุมกัน ตัวตนของเราไม่มี (http://www.wanakorn.com/images/yangna-ani.gif)(http://www.wanakorn.com/images/yangna-ani.gif)(http://www.wanakorn.com/images/yangna-ani.gif) ครั้นเมื่อแยกแยะอวัยวะย่อยๆดังกล่าวออกไปจนถึงหน่วยย่อยๆของชีวิต คือเซลล์เล็กๆ ที่มาเกาะกุมรวมกัน ก็จะเห็นว่าเซลล์เองก็เนื่องมาจากแร่ธาตุทั้งหลายซึ่งไม่มีชีวิตจิตใจ มารวมกันเป็นกลุ่มก้อนเล็กๆ ไม่มีตัวตนของเราแต่อย่างใด แม้แร่ธาตุต่างๆนั้น ก็เนื่องมาจากพลังงานโปรตอนและอิเล็กตรอนเท่านั้น หาใช่ตัวตนของเราแต่อย่างใดไม่ ที่หลงกันอยู่ว่า ตัวเราของเราหาที่ไหนมิได้เลย ทุกสรรพสิ่งที่ดิ้นรนแสวงหา สะสมกันเข้าไว้ ในที่สุดก็ต้องทิ้ง ต้องจาก ซึ่งป่วยการที่จะกล่าวไปถึงสมบัติที่จะนำเอาติดตัวไปด้วย แม้แต่เนื้อตัว ร่างกายที่ว่าเป็นของเรา ก็ยังเอาติดตัวไปไม่ได้ และก็เป็นความจริงที่ได้เห็นและรู้กันมานานนับล้ายๆปี คนแล้วคนเล่า ท่านทั้งหลายที่ได้เคยยิ่งใหญ่ด้วยยศศักดิ์อำนาจวาสนาและทรัพย์สมบัติในอดีตกาล จนเป็นถึงมหาจักรพรรดิ มีสมบัติที่สร้างสมมาด้วยเลือดและน้ำตาของผู้อื่นจนค่อนโลก แต่แล้วในที่สุดก็ต้องทิ้งต้องจากสิ่งเหล่านี้ไป แม้แต่เนื้อตัวร่างกายของท่านที่เคยยิ่งใหญ่ จนถึงกับเป็นผู้ที่ไม่อาจจะแตะต้องได้ แต่แล้วก็ต้องทอดทิ้งจมดินและทราย จนในที่สุดก็สลายไปจนหาไม่พบว่าเนื้อหนัง กระดูก ขน เล็บ ตับ ไต ไส้ กระเพาะของท่านอยู่ที่ตรงไหน คงเหลืออยู่แต่สิ่งที่เป็นดิน น้ำ ลม และไฟ ตามสภาพเดิมที่ก่อเกิดกำเนิดมาเป็นตัวของท่านเพียงชั่วคราวเท่านั้น แล้วตัวของเราท่านทั้งหลายก็เพียงเท่านี้ มิได้ยิ่งใหญ่เกินไปกว่าท่านในอดีต จะรอดพ้นจากสัจธรรมนี้ไปได้หรือ เมื่อความเป็นจริงก็เห็นๆ กันอยู่เช่นนี้แล้ว เหตุใดเราท่านทั้งหลายจึงต้องพากันดิ้นรนขวนขวายสะสมสิ่งที่ในที่สุดก็จะต้องทิ้งจะต้องจากไป ซึ่งเท่ากันเป็นการทำลายวันเวลาอันมีค่าของพวกเราซึ่งก็คงมีไม่เกินคนละ ๑๐๐ ปี ให้ต้องโมฆะเสียเปล่าไปโดยหาสาระประโยชน์อันใดมิได้ เหตุใดไม่เร่งขวนขวายสร้างสมบุญบารมีที่เป็นอริยทรัพย์อันประเสริฐ ซึ่งจะติดตามตัวไปได้ในชาติหน้า แม้หากสิ่งเหล่านี้จะไม่มีจริง ดังที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ อย่างเลวพวกเราก็เพียงเสมอตัว มิได้ขาดทุนแต่อย่างใด หากสิ่งที่พระพุทธองค์ได้ตรัสสอนไว้มีจริง ดังที่ปราชญ์ในอดีตกาลยอมรับ แล้วเราท่านทั้งหลายไม่สร้างสมบุญและความดีไว้ สร้างสมแต่ความชั่วและบาปกรรมตามติดตัวไป เราท่านทั้งหลายมิขาดทุนหรือ เวลาในชีวิตของเราที่ควรจะได้ใช้ให้เป็นประโยชน์กลับต้องมาโมฆะเสียเปล่า ก็สมควรที่จะได้ชื่อว่าเป็น "โมฆบุรุษ" โดยแท้. (http://www.flowerhandmade.com/images/1157943184/red003_resize.jpg)(http://www.flowerhandmade.com/images/1157943184/vri005_resize.jpg)(http://www.flowerhandmade.com/images/1157943184/red003_resize.jpg) หัวข้อ: Re: วิธีสร้างบุญบารมี เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ ธันวาคม 21, 2011, 08:15:06 PM " 100 ธรรม "(http://play.kapook.com/files/play/dookdik/8/39596_1.gif)
(http://1.bp.blogspot.com/_fVMTnglRaeY/SwdXzoohkxI/AAAAAAAAAkk/CRTORrKRBrc/s320/jol.jpg) ๑. จงทำดี อย่าหวังค่าตอบแทน ถึงแม้จะเป็นเพียงคำสรรเสริญก็ตาม ๒. จงทำดี ให้มันดี ถึงแม้ผลงานออกมาไม่ดี ก็ถือว่าเราทำดีที่สุดแล้ว ๓. จงทำดี แต่อย่าอวดดี เพราะทุกคนก็มีดีไม่เหมือนกัน ๔. อุปสรรคมักจะเกิดขึ้นในขณะที่กำลังทำความดี ดีเหลือเกินหนี้สินเก่าจะได้หมดไป ๕. อุปสัคมักจะไม่เกิดขึ้นในขณะกำลังทำความชั่ว เพราะเป็นทางกู้หนี้สินใหม่เข้ามาแทน ๖. ทุก ๆ คนปรารถนาแต่สิ่งที่ดี ๆ แต่ไม่รู้จักการทำความดี ๗. ควรแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ อย่าพยายามแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ๘. คนโง่ไม่มีความพยายามที่จะเข้าใจอะไรได้เลย ได้แต่เอะอะโวยวายว่า ?ทำไมถึงเป็นแบบนี้ ทำไม ? ถึงต้องเป็นเรา ทำไม ? ทำไม ? ๙. ผู้ฉลาดในธรรม ยอมรับว่า ?สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว? ซึ่งไม่มีอะไรที่น่าตกใจเลย เพราะเป็นเรื่องธรรมดา ๑๐. ชีวิตที่ไม่ขาดทุน คือการไม่เคยทำความชั่วเลย (http://4.bp.blogspot.com/_fVMTnglRaeY/SqPBOFfqswI/AAAAAAAAAaI/gUXMB8zDidk/s320/pakagong.jpg) ๑๑. เพราะฉะนั้นคนเราเจอทั้งสุขและทุกข์ เพราะว่าทำทั้งดี ทำทั้งชั่ว ๑๒. การตามใจตัวเองอยู่เสมอ เป็นทางตันในการดำเนินชีวิต ๑๓. การขัดใจตัวเอง ก็คือการขัดเกลาหนทางให้ราบเรียบ ๑๔. ถ้าหากเราอยากให้คนอื่นมาเข้าใจหรือเอาใจในตัวเรา เหมือนกับว่าเรายังเป็นเด็กไร้เดียงสาไม่รู้จักเติบโตเลย ๑๕. เราพยายามที่จะเข้าใจคนอื่น มากกว่าที่จะให้คนอื่นมาเข้าใจ ตอนนี้ เรากำลังจะเป็นผู้ใหญ่แล้ว ๑๖. หลาย ๆ ชีวิต เดินสวนทางกันไปมาอยู่ในขณะนี้ มีทางดำเนินชีวิตไม่เหมือน และก็มีอุปสัคที่ไม่เหมือนกัน ๑๗. เราอย่าเข้าใจว่า มีความทุกข์มากกว่าคนอื่น คนอื่นมีความทุกข์มากกว่าเราก็ยังมี ๑๘. การร้องไห้เป็นการแสแสร้งที่แบบเนียนเหลือเกินในวัน เพราะพรุ่งนี้เราจะร้องเพลงก็ได้ ๑๙. เพราะฉะนั้น เวลาเรามีความทุกข์ ก็อย่าเข้าใจว่า เรามีความทุกข์ เวลาเรามีความสุข ก็อย่าเข้าใจว่า เรามีความสุข ไม่เช่นนั้นเราต้องเป็นคนบ้า ร้องไห้บ้าง ร้องเพลงบ้าง ตามประสาคนบ้า ๒๐. คนอื่นจะให้ได้ดังใจเรานั้น ทุกอย่างไม่มีเลย เพียงแต่เรายอมรับเขา อยู่ในฐานะใดฐานะหนึ่งเท่านั้น (http://4.bp.blogspot.com/_fVMTnglRaeY/SqOaeFf-d2I/AAAAAAAAAZQ/MNzS5ct8sVU/s320/ee.jpg) ๒๑. แม้แต่ตัวของเราเองก็ยังไม่ได้ดังใจเรา แล้วคนอื่นจะให้ได้ดังใจเรานั้น เป็นอันไม่มี ๒๒. เราไม่ได้ดังใจเขา จะให้เขาได้ดังใจเราอย่างไร ๒๓. ปรารถนาสิ่งใด อย่าพึงดีใจไว้ล่วงหน้า พลาดหวังสิ่งใด อย่าพึงเสียใจตามหลัง ๒๔. ทุกสิ่งทุกอย่าง มันเป็นเช่นนั้นเอง ๒๕. หากยึดถือมาก ให้ความสำคัญมันมาก ทุกข์มาก ๒๖. หากยึดถือน้อย ให้ความสำคัญมันน้อย ทุกข์น้อย ๒๗. ยินดีไปตามความอยาก คือความมักมากไม่มีสิ้นสุด ๒๘. แท้จริง ผัว ไม่มี เมียไม่มี ลูกไม่มี ทรัพย์สมบัติก็ไม่มี แต่ความยึดมั่นด้วยความลุ่มหลงอย่างหนาแน่นว่าเรามี ๒๙. สักวันหนึ่ง เราคงจะไม่มีอะไรสักอย่างเลย ถึงวันนั้น เราทำใจได้ไหม ? ๓๐. การเกิดขึ้น เพื่อเริ่มต้นไปสู่ความดับลง ท่านจะยึดถือ หรือไม่ยึด นั้นมันเป็นเรื่องของท่าน (http://4.bp.blogspot.com/_fVMTnglRaeY/SxCjVux7_KI/AAAAAAAAA64/eJbuE6lrgiI/s320/%E0%B8%94%E0%B8%B3.jpg) ๓๑. อุปาทานคือความยึดมั่นถือมั่น กับความรับผิดชอบ มันคนละอย่างกัน ๓๒. วันนี้ต้องดีกว่าวานนี้ พรุ่งนี้จะต้องดีกว่าวันนี้ ๓๓. ทำดีในวันนี้ พรุ่งนี้จะดีของมันเอง ๓๔. คนโง่จะเสียใจ ร้องไห้ตลอดวัน โดยไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย ๓๕. ส่วนคนฉลาด จะรีบแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น เท่าที่จะทำได้ ๓๖. เรารักในสิ่งใด จะต้องจากในสิ่งนั้น ช้าหรือเร็วมันอีกเรื่องหนึ่ง ๓๗. ถ้าผัวตายก่อนเมีย เมียจะต้องเสียใจ ถ้าเมียตายก่อนผัว ผัวจะต้องเสียใจ ทำอย่างไร จึงจะไม่เสียใจ ๓๘. ถ้าไม่อยากเสียใจ เมื่อจากกันไป ก็อย่าดีใจเมื่อตอนได้มา ๓๙. ท่านแน่ใจหรือว่าท่านเป็นพระเอกหรือนางเอกตลอดนิรันดรกาล ๔๐. ใช่แน่นอน ! ท่านเป็นตัวเอกในเรื่องของท่าน แต่ท่านอาจจะเป็นตัวสำรองในเรื่องของผู้อื่น (http://4.bp.blogspot.com/_fVMTnglRaeY/SqO0QW1V8sI/AAAAAAAAAZw/sr1Nou6fLCM/s320/_29.gif) ๔๑. เรายืนอยู่บนสนามชีวิต ต้องต่อสู้อุปสัคทุกรูปแบบ จนกว่าจะปิดฉากละครแห่งชีวิต ด้วยการตายลงไป ๔๒. บทเรียนในตำราเรียน กับบทเรียนในชีวิตจริง มันคงละอย่างกัน ๔๓. ไม่มีตำราเล่มไหน ที่จะสอนเราทุกอย่างก้าวว่าวันนี้เราจะต้องเจออะไรบ้าง และจะต้องแก้อย่างไร ? ๔๔. เสียเงินทอง เสียสิ่งของ เสียเวลา และก็เสียใจ เป็นการจ่ายค่าเทอมชีวิต ๔๕. คนฉลาดจะจ่ายค่าเทอมที่ถูกที่สุด ส่วนคนโง่จะจ่ายค่าเทอมที่แพงกว่ากัน ๔๖. ที่จริงคนตาบอด พิกลพิการเขาน่าจะเป็นทุกข์มากกว่าเรา ทำไม ? เขายังยิ้มแย้มแจ่มใสได้ ๔๗. ทำไมเราจึงทุกข์กว่าคนพิกลพิการเล่า ? ๔๘. กายพิการ แต่ใจไม่พิการ ใจพิการ แต่กายไม่พิการ อย่างไหนดีกว่ากัน ? ๔๙. เราสามารถตัดสินหนทางดำเนินชีวิตของเราเองได้ ดีหรือชั่ว อยู่ที่ตัวของเรา ๕๐. คนอื่นสามารถบังคับเราเป็นเพียงบางเวลา ส่วนใจของเรานั้น ไม่มีใครสามารถบังคับได้นอกจากตัวของเราเท่านั้น (http://www.maipradabonline.com/chomsoun3/doksouy/doksouy28/p5.jpg) ๕๑. ถึงแม้งานจะสับสนยุ่งยากเหลือเกิน หากใจมีอิสระแล้ว ไม่เห็นจะยุ่งยากตรงไหน ๕๒. ทุกคนเกิดมาเพื่อทำหน้าที่ ตายเพื่อทำหน้าที่ ดีกว่าตายเพราะไม่ทำหน้าที่ ๕๓. รับผิดชอบตัวเอง รับผิดชอบเพื่อนที่ดี และรับผิดชอบสังคม ๕๔. วันนี้เราด่าเขา วันหน้าเขาต้องด่าเรา ชาตินี้เราฆ่าเขา ชาติหน้าเขาจะต้องฆ่าเราอย่างแน่นอน ๕๕. คนทำบาป เพราะเห็นแก่กิน ไม่ต่างอะไรกับกินอาหารผสมยาพิษอย่างเอร็ดอร่อย กินมากก็มีพิษมา กินน้อยก็มีพิษน้อย ๕๖. กฎหมายทางโลก คุ้มครองสัตว์บางจำพวกเท่านั้น ส่วนกฎแห่งกรรมทางธรรม คุ้มครองสัตว์ทุกจำพวก ๕๗. กฎระเบียบของทางโลก อนุโลมไปตามความอยาก ส่วนกฎทางธรรมอนุโลมไปตามความเป็นจริง ๕๘. กรรมคือการกระทำให้สัตว์หยาบ และละเอียดประณีตต่างกัน ๕๙. ไม่มีพระเจ้าองค์ใด ที่จะสร้างเรา ไม่มีพระเจ้าองค์ใด ที่จะทำให้เราร่ำรวยได้ ไม่มีพระเจ้าองค์ใด ที่จะทำให้เราเป็นผู้บริสุทธิ์ได้นอกจากตัวของเราเอง ๖๐. คำว่า ?ทำดี ได้ดี ทำชั่ว ได้ชั่ว? มากเหลือเกินที่คนได้ยิน น้อยเหลือเกินที่คนรู้จัก (http://www.maipradabonline.com/chomsoun3/doksouy/doksouy28/p2.jpg) ๖๑. เหตุการณ์ความเป็นไปของทางโลก ไม่มีสิ้นสุด เราไม่สามารถจะติดตามได้ตลอดกาลเพราะอายุยังมีที่สิ้นสุด เราจะบ้ากับมันหรือไม่บ้า มันก็เป็นไปอยู่อย่างนั้น ๖๒. เพื่อมิให้เสียเวลา จงกลับมามองดูจิตใจของตนเอง ทำไมถึงซอกแซกสับส่ายถึงขนาดนั้น ๖๓. มันเคยตัว เพราะเราให้โอกาสมันมากเกินไป เพราะรักมันมาก จึงไม่กล้าขัดใจ นาน ๆ ไปอาจกลายเป็นโรควิกลจริตทางด้านจิตใจ ๖๔. การเอาชนะใจตนเอง ไม่ให้ไหลสู่อำนาจฝ่ายต่ำ เป็นสิ่งประเสริฐแท้ ๖๕. วันนี้ เราตามใจของตนเอง ด้วยอำนาจแห่งความอยาก วันพรุ่งนี้ เราต้องหมดโอกาสที่จะสบายใจ ๖๖. วันนี้ เราไม่ตามใจตนเอง พรุ่งนี้ เราจะอยู่อย่างสบาย ๖๗. ยิ่งแก่ ยิ่งงก เพราะเขางกมาตั้งแต่ยังไม่แก่ ยิ่งแก่ ยิ่งดี เพราะเขาดีตั้งแต่ยังไม่แก่ ๖๘. การวิ่งไปตามความอยาก คือการฆ่าตนเองด้วยความพอใจ ๖๙. ศัตรูมักมาในรูปรอยแห่งความเป็นมิตร ความทุกข์มักมาในรูปรอยแห่งความสุข ๗๐. น้ำหวานผสมยาพิษ คนโง่จะชอบดื่ม เพราะไม่รู้ ยาเสพติด ทำลายร่างกายตนเอง คนโง่ก็จะพากันเสพทั้งที่รู้ (http://2.bp.blogspot.com/_fVMTnglRaeY/TJYKDt5f7qI/AAAAAAAACJI/shw574d-wVA/s320/%E0%B8%A2%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%82%E0%B8%96002.jpg) ๗๑. ความสบายกายและสบายจิต จะหาซื้อด้วยเงินแสนเงินล้านไม่มีเลย ไม่จำเป็นจะต้องซื้อด้วยเงินและทอง ๗๒. คนที่มีศรัทธา มีคุณค่ายิ่งกว่าเงินแสนเงินล้าน ๗๓. เมื่อมีศรัทธา ควรมีปัญญาประกอบด้วย ไม่เช่นนั้นก็จะเป็นคนงมงาย ขาดเหตุผล ๗๔. คนนิยมสร้างพุทธ ที่เป็นรูป คือพุทธรูป แต่ไม่นิยมสร้างพุทธ ที่เป็นนาม คือสภาวธรรมที่รู้แจ้ง รู้จริง ทำให้รู้จักพุทธะ ๗๕. ความจริงต้องมีให้พิสูจน์ จึงจะถือว่าจริงแน่นอน คนโง่จะไม่เชื่อตั้งแต่เริ่มต้น จึงไม่พบกับความจริงในชีวิต มีแต่ความงมงายในชีวิต ๗๖. คนใดถือสิ่งที่ไม่เป็นสาระ ว่าเป็นสาระ ถือสิ่งที่ไม่เป็นสาระ ว่าเป็นสาระคนนั้นมีทางดำเนินในทางที่ผิด เขาจะไม่พบแก่นสารชีวิตที่แท้จริงเลย ๗๗. ผู้ที่หลงเปลือกนอก ย่อมไม่เห็นแก่นใน ผู้ถึงแก่นใน ย่อมเข้าใจเปลือกนอก ๗๘. ความสนุกสนานมัวเมาประมาทในชีวิต ไม่ใช่หนทางดำเนินชีวิตที่แท้จริง มันเป็นหนทางที่ทำให้เสียเวลา ๗๙. หากคนให้ความสำคัญกับการ กิน เล่น เสพกาม และนอน มากกว่าคุณธรรม เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานจะไม่ดีกว่ากันหรือ ? เพราะว่าไม่มีกฎหมายห้าม ๘๐. หากจิตใจเต็มด้วยความโลภ โกรธ หลง ช่องว่างในหัวใจไม่มี มีแต่ความอึดอัด (http://2.bp.blogspot.com/_fVMTnglRaeY/SqOWCmimOoI/AAAAAAAAAZI/LPmzubxX6uQ/s320/%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%A7.jpg) ๘๑. อาหารที่กินเข้าไปมาก แสนจะอึดอัด แต่มีทางระบายออก ๘๒. ยิ่งความโลภ โกรธ หลง ลดลงมากเท่าไร ความปลอดโปร่ง ยิ่งมีขึ้นมากเท่านั้น ๘๓. แสงสว่างในทางธรรม จุดประกายให้ชีวิต ให้พบแต่ความสดใส ๘๔. ความสุขทางโลก เหมือนกับการเกาขอบปากแผลที่คัน ยิ่งเกายิ่งมัน เวลาหยุดเกา มันแสบมันคัน เพราะเป็นความสุขเกิดจากความเร่าร้อน ๘๕. เมื่อตอนที่อยากได้ ก็เป็นทุกข์ขณะที่แสวงหา ก็เป็นทุกข์ ได้มาแล้วกลัวฉิบหายไป ก็เป็นทุกข์ ๘๖. เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ก็ต้องมี เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ย่อมไม่มี ๘๗. หากมีแล้ว ทำให้มีความสุข ควรมี ถ้าหากมีแล้ว ทำให้มีความทุกข์ ไม่รู้จะมีไว้ทำไม ? ๘๘. ทุกสิ่งทุกอย่างมันไม่เที่ยง เราไปยึดมั่นความไม่เที่ยงนั้นว่าความสุข ๘๙. แม้ความสุขนั้นมันก็ไม่เที่ยง จะไปหวังเอาอะไรอีกเล่า ? ๙๐. พบกันก็เพื่อจากกัน ได้มาก็เพื่อจากไป (http://4.bp.blogspot.com/_fVMTnglRaeY/SxCm8UPEbZI/AAAAAAAAA7I/6Ibs2NuRXdc/s320/20060422082940939939ju0.jpg) ๙๑. มองทุกข์ให้เห็นทุกข์ จึงจะมีความสุข ๙๒. ความเบาใจ คลายกังวล ย่อมมีได้ แก่บุคคลผู้เข้าใจธรรมะ ๙๓. ยิ่งเข้าถึงธรรมที่เป็นจริงมากเท่าใด ความเบาสบายใจยิ่งมีมากขึ้นเท่านั้น ๙๔. เพราะความสุขทางโลก ไม่ให้อะไรมากไปกว่าความเพลิดเพลิน มัวเมา ประมาทในชีวิต จนลืมทางธรรม ๙๕. ทางเดิน ๒ ทาง ทางโลก และ ทางธรรม ๙๖. ทางโลก คือการปล่อยใจไปตามความอยากในโลกีย์ ทางธรรม คือการควบคุมใจตนเอง ให้มีธรรมเป็นเครื่องคุ้มครอง ๙๗. ผิดหวังทางโลก ยังมีทางธรรมคุ้มครอง หากคนนั้นรู้จักธรรม ๙๘. ผิดหวังทางโลก อยากทำลายทุกสิ่งทุกอย่าง แม้กระทั่งตนเอง คนนั้นแหละ ไม่รู้จักธรรม ๙๙. ทุกสิ่งทุกอย่างไม่ควรยึดถือมั่น ๑๐๐. มันเป็นเช่นนั้นเอง. ท่านเข้าใจแล้วหรือยัง สักวันหนึ่งท่านคงจะเข้าใจ ธรรมวาทะ ศรีคูณ (ธ.วาทะ) หัวข้อ: Re: วิธีสร้างบุญบารมี เริ่มหัวข้อโดย: paul711 ที่ ธันวาคม 21, 2011, 08:36:39 PM angel.gif angel.gif angel.gif
อนุโมทนากับบทความที่คุณหนูใจ คุณ UMA และทุกท่าน ที่นําธรรมอันประเสริฐของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มาลงให้ได้อ่านกัน ท่านที่มีเวลา แวะมาอ่านวันละหัวข้อก็ได้ครับ ถ้าเกิดความสงสัยให้ตั้งคําถามไว้ครับ จะมีผู้พอมีความรู้มาช่วย อธิบายครับ หัวข้อ: Re: วิธีสร้างบุญบารมี เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ ธันวาคม 22, 2011, 07:51:00 PM ความหมายของพระรัตนตรัย
คำว่า “รัตนตรัย” มาจากคำว่า “รัตน” แปลว่า แก้วหรือสิ่งประเสริฐ กับคำว่า “ตรัย” แปลว่า สาม ฉะนั้นพระรัตนตรัย แปลรวมกันว่า แก้วสามดวง หรือ สิ่งประเสริฐสามสิ่ง ที่พุทธศาสนิกชนเคารพนับถือสูงสุดสามสิ่งนับเป็นองค์ประกอบของศาสนาพุทธ คือ พระพุทธ พระ ธรรม และพระสงฆ์ ซึ่งจัดเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของศาสนา 3 อย่างใน 6 อย่าง อันได้แก่ 1. ผู้ให้กำเนิดศาสนา คือพระพุทธเจ้า 2. คัมภีร์หรือหลักคำสอน คือ พระธรรม 3. สาวกหรือผู้สืบทอดศาสนา คือพระสงฆ์ 4. พิธีกรรมทางศาสนาหรือการประกอบพิธีทางศาสนกิจตามความเชื่อ 5. ศาสนสถานหรือวัตถุที่ใช้เป็นสัญลักษณ์ทางศาสนา 6. ศาสนิกชนหรือผู้เลื่อมใสในศาสนา (http://www.dmc.tv/forum/uploads/post-1376-1127901626.jpg) พระพุทธ คำว่า พุทฺธ แปลว่า ผู้รู้แล้ว (รู้ในความเป็นไปในธรรมชาติทั้งปวง) ผู้ตื่นแล้ว (ตื่นจากความโง่เขลา ตื่นจากความงมงาย ) ผู้เบิกบาน ( ไม่มีสิ่งใดทำให้จิตใจเศร้าหมองอีกแล้ว ) หมายถึงผู้ที่ตรัสรู้อริยสัจ คือความเป็นจริงที่ประเสริฐ 4 ประการ พุทธ จำแนกออกเป็น 3 ประเภทได้แก่ 1. ปัจเจกพุทธ หมายถึงผู้ตรัสรู้ชอบด้วยตนเองแต่ไม่สามารถสอนให้ผู้อื่นตรัสรู้ตามได้ มี 5 พระองค์แห่งภัทรกัปป์ปัจจุบันนี้ คือ พระกกุสันธะ พระโกนาคมนะ พระกัสสปะ พระโคดม และพระเมตเตยยะ (เรียกกันสามัญว่า พระศรีอาริย์ หรือ พระศรีอารยเมตไตรย) 2. สัมมาสัมพุทธ หมายถึงผู้ตรัสรู้ชอบด้วยตนเองแล้วสามารถสอนให้ผู้อื่นตรัสรู้ตามได้มีองค์เดียวเท่านั้นคือ สัมมาสัมพุทธเจ้า 3. สุตตันตพุทธ หมายถึงผู้ตรัสรู้ตามคำสอนขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า (http://www.mindcyber.com/wallpaper/pixaria.thumbnail.php?file=L2hvbWUvY29udGVudC8xOS83NDM5MTE5L2h0bWwvd2FsbHBhcGVyL3Jlc291cmNlcy9saWJyYXJ5LzIwMDgtMDUtMTYtMTQtMzktNTEtMjRGMC8xNjB4MTYwL0QwM0EwMDA4LkpQRw==) พระธรรม ธรรม มีเสียงพ้องกับคำว่า ทำ ในภาษาไทย ถ้าข้อความไม่ชัดเจนอาจเติมสระ อะ เป็นธรรมะ แต่จะใช้คำว่า ธรรมะ เฉพาะเมื่อหมายถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเท่านั้น ธรรม (ทำ) หรือ ธรรมะ (ทำ-มะ) เป็นคำที่มาจากคำภาษาสันสกฤต ธรรม แปลว่าสิ่งที่แบกไว้ หมายถึง กฎหมาย หน้าที่ ยุติธรรม ความถูกต้อง คุณความดี คุณธรรม ธรรมชาติ เป็นต้น ในภาษาไทยใช้คำว่า ธรรม หรือ ธรรมะ หมายถึง คำสั่งสอนขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า เนื้อหาสาระเรื่องราวที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนทั้งหมดทั้งสิ่งที่ดีและชั่วเรียกว่า ธรรม หรือ ธรรมะ เช่น ทรงสอนเรื่องอริยสัจ 4 ความจริงอันประเสริฐ ทรงสอนเรื่องไตรลักษณ์ หรือ อนัตตลักขณสูตรสอนเรื่องกิเลส ก็เรียกว่า ทรงสอนธรรมเรื่องกิเลส หรือทรงสอนธรรมะเรื่องกิเลส ธรรมหมายถึงการประพฤติที่ดีที่ถูกต้องได้ เช่น ธรรมที่ประพฤติดีแล้วนำสุขมาให้ ผู้ประพฤติธรรมย่อมอยู่เป็นสุข ใครๆ ก็สรรเสริญการกระทำที่เป็นธรรม ธรรม หมายถึง ความยุติธรรม เช่น ถ้าผู้ปกครองประเทศปกครองด้วยความเป็นธรรม ประชาชนก็เป็นสุข เมื่อพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการแล้ว ก็ทรงมีพระมหากรุณาปรารถนาจะให้สัตว์โลกพ้นทุกข์ จึงทรงสั่งสอนเหล่าสาวกและคนทั่วไปด้วยคำสอนต่าง ๆ คำสอนของพระพุทธเจ้านี้เรียกว่า พระธรรม พระธรรม คัมภีร์ ของพระพุทธศาสนา เรียกว่า พระไตรปิฎก ประกอบด้วย พระอภิธรรมปิฎก พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก อภิธรรมปิฎก หรือพระอภิธรรม หมายถึง ประมวลพระพุทธพจน์หมวดพระอภิธรรม หลักคำสอนของพระพุทธเจ้าที่เป็นภาคทฤษฎีบท หลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักคำสอนล้วน ๆ ไม่เกี่ยวด้วยบุคคลหรือเหตุการณ์ เปรียบเสมือนวิชาวิทยาศาสตร์ พระวินัยปิฎก หรือ พระวินัย หมายถึง ประมวลพุทธพจน์หมวดพระวินัย คือพุทธบัญญัติเกี่ยวกับความประพฤติ ความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียมและการดำเนินกิจการต่าง ๆ ของภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์ เปรียบเสมือนวิชากฎหมาย พระสุตตันตปิฎก หรือ พระสูตร หมายถึง ประมวลพุทธพจน์หมวดพระสูตร คือ พระธรรมเทศนาคำบรรยายธรรมต่างๆ ที่ตรัสยักเยื้องให้เหมาะกับบุคคลและโอกาสตลอดจนบทประพันธ์ เรื่องเล่า และเรื่องราวทั้งหลายที่เป็นชั้นเดิมในพระพุทธศาสนา ที่พระพุทธเจ้า สอนใคร สอนเรื่องอะไร สอนที่ไหนเปรียบเสมือนวิชาประวัติศาสตร์ คำสอนที่พระพุทธเจ้าทรงเทศนานั้นมีสาระสำคัญ 3 ประการ หรือ โอวาท 3 คือ ให้ประพฤติดี ให้ละความชั่ว และทำจิตใจให้ผ่องใส นอกจากสาระสำคัญทั้ง 3 ประการนี้ พระพุทธเจ้า ได้ทรงชี้ให้เห็นถึงสาเหตุแห่งการเกิดทุกข์ การดับทุกข์ และวิธีปฏิบัติตนของพุทธบริษัท 4 เพื่อให้หลุดพ้นจากวัฏสังสาร วงจรของการเกิดดับ หลุดพ้นจากความทุกข์ต่าง ๆ ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป (http://www.mindcyber.com/wallpaper/pixaria.thumbnail.php?file=L2hvbWUvY29udGVudC8xOS83NDM5MTE5L2h0bWwvd2FsbHBhcGVyL3Jlc291cmNlcy9saWJyYXJ5LzIwMDgtMDUtMTYtMTQtMzktNTEtMjRGMC8xNjB4MTYwL2xvdHVzXzExLmpwZw==) พระสงฆ์ เรามักเรียกสมณเพศในพระพุทธศาสนาว่า “พระสงฆ์” แต่คำว่า “สงฆ์” นั้นหมายถึงองค์คณะของผู้เป็นสมณะมากกว่า แต่สมณะในพระพุทธศาสนาแต่ละรูปนั้นเรียกว่า “ภิกษุ” ซึ่งแปลตามรูปศัพท์ หมายถึง “ผู้ขอ” มีรากศัพท์เดียวกันกับคำว่า ภิกษาจาร พระสงฆ์ หมายถึง สาวกหรือนักบวชที่เป็นผู้ชายในพระพุทธศาสนา เป็น 1 ใน 4 ของพุทธบริษัท ซึ่งเดิมเรียกนักบวชผู้ชายในศาสนาพุทธว่า “ภิกขุ” ในภาษาบาลี “ภิกษุ” ในภาษสันสกฤต พระสงฆ์จัดว่าเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการสืบทอดพระศาสนาเพราะเป็นศาสนทายาทผู้สั่งสอนพระพุทธศาสนาให้ยืนยาวต่อไป พระสงฆ์จึงต้องประพฤติปฏิบัติตนให้ถึงพร้อมด้วยคุณสมบัติของพระสงฆ์ที่ดี ตามพุทธบัญญัติ พระสงฆ์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1. พระอริยสงฆ์ 2. พระสมมุติสงฆ์ พระอริยสงฆ์ พระสงฆ์ผู้บรรลุธรรมวิเศษ 4 ชั้นคือ 1. พระโสดาบัน 2. พระสกทาคามี 3. พระอนาคามี 4. พระอรหันต์ พระอริยสงฆ์ 3 ชั้นแรกจัดเป็นเสขบุคคล ส่วนพระอรหันต์จัดเป็นอเสขบุคคล เสขบุคคลมี 3 ขั้น ได้แก่ 1.โสดาบัน 2. สกทาคามี หรือสกิทาคามี 3. อนาคามี ที่นับว่าเป็น “เสขบุคคล” เพราะผู้นั้น ยังต้องศึกษาต่อไปอยู่ ( เสข=ผู้ยังต้องศึกษา ) เนื่องจากยังไม่จบ “การศึกษา 3” (อธิศีลสิกขา-อธิจิตสิกขา-อธิปัญญาสิกขา) ผู้พัฒนาตนผ่าน “การศึกษา 3” บรรลุธรรมเป็น “อาริยชน” จึงนับเป็นผู้เข้าสู่ “เสขภูมิ” พื้นเพของพระเสขะ คือ เข้าสู่ชั้นอาริยชนแล้ว จะเป็นชั้นหนึ่งชั้นใดใน 3 ก็ตาม แต่ยังต้องศึกษาอยู่ ยังไม่จบถึง “อรหันต์” อันเป็นภูมิสุดท้าย ผู้ยังไม่บรรลุธรรมเข้าขั้น “อาริยะ” ยังไม่ได้ชื่อว่า “เสขบุคคล” พระอรหันต์ แบ่งออกเป็น 4 ระดับ ได้แก่ 1. พระสุกขวิปัสสก (ไม่มีญาณวิเศษใด ๆ นอกจากรู้การทำอาสวะให้สิ้นไป (อาสวักขยญาณ) อย่างเดียว) 2. พระเตวิชชะ (ผู้ได้วิชชา 3 คือ รู้ระลึกชาติได้(บุพเพนิวาสานุสสติญาณ) รู้จุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย(จุตูปปาตญาณ) รู้ทำอาสวะให้สิ้น(อาสวักขยญาณ) 3. พระฉฬภิญญะ (ผู้ได้อภิญญา 6 คือ แสดงฤทธิ์ได้(อิทธิฤทธิ์) หูทิพย์(ทิพยโสต) รู้จุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย(จุตูปปาตญาณ) ทายใจผู้อื่นได้(เจโตปริยญาณ) ระลึกชาติได้(บุพเพนิวาสานุสสติญาณ) และญาณที่ทำให้อาสวะสิ้นไป(อาสวักขยะญาณ) 4. พระปฏิสัมภิทัปปัตตะ (ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา 4) ปฏิสัมภิทา ความแตกฉาน ความรู้แตกฉาน ปัญญาแตกฉาน มี 4 ขั้นได้แก่ 4.1 อัตถปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในอรรถ ความแตกฉานสามารถอธิบายเนื้อความย่อของภาษิตโดยพิสดารและความเข้าใจ ที่สามารถคาดหมายผลข้างหน้าอันจะเกิดสืบเนื่องไปจากเหตุ 4.2 ธัมมปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในธรรม เห็นคำอธิบายพิสดาร ก็สามารถจับใจความมาตั้งเป็นหัวข้อได้เห็นผลก็สืบสาวไปหาเหตุได้ 4.3 นิรุตติปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในภาษา คือเข้าใจภาษา รู้จักใช้ถ้อยคำให้คนเข้าใจ ตลอดทั้งรู้ภาษาต่างประเทศ 4.4 ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ความแตกฉานในปฏิภาณได้แก่ไหวพริบคือ โต้ตอบปัญหาเฉพาะหน้าได้ทันท่วงที หรือแก้ไขเหตุการณ์ฉุกเฉินได้ฉับพลันทันการ (http://www.mindcyber.com/wallpaper/pixaria.thumbnail.php?file=L2hvbWUvY29udGVudC8xOS83NDM5MTE5L2h0bWwvd2FsbHBhcGVyL3Jlc291cmNlcy9saWJyYXJ5LzIwMDgtMDUtMTYtMTQtMzktNTEtMjRGMC8xNjB4MTYwL0QwMkkwMDIzLkpQRw==) พระสมมุติสงฆ์ หมายถึงพระสงฆ์ที่กำลังศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย บ้างครั้ง เรียกว่า พระ, พระสงฆ์,ภิกษุ, พระภิกษุ, พระภิกษุสงฆ์ เมื่อพระสงฆ์ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ก็จะเป็นเหตุจูงใจประชาชนให้เกิดความศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา คำว่า พระสงฆ์ โดยทั่วไปจึงมุ่งถึงชายที่บวชเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนา ได้ปฏิบัติตามกฎหมายของสงฆ์ ที่เรียกว่า วินัยสงฆ์ ได้ศึกษาพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้วนำคำสอนนั้นไปถ่ายทอดแก่ประชาชนทั่วไป ไม่คำนึงว่าจะเป็นภิกษุรูปเดียว หรือเป็นคณะที่รวมตั้งแต่ 4 รูปขึ้นไป หัวข้อ: Re: วิธีสร้างบุญบารมี เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ ธันวาคม 22, 2011, 07:55:26 PM สมุดภาพพระพุทธประวัติ
ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร ภาพที่ ๑ เทพเจ้าทุกชั้นฟ้าชุมนุมกันอัญเชิญเทพบุตรโพธิสัตว์ให้จุติมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า (http://84000.org/tipitaka/picture/p01.jpg) เมื่อพระเวสสันดรโพธิสัตว์สวรรคตแล้ว เสด็จไปอุบัติเป็นสันตุสิตเทพบุตรในสวรรค์ชั้นดุสิต เมื่อก่อนพุทธกาลเล็กน้อย เทวดาทุกสวรรค์ชั้นฟ้ามาประชุม ปรึกษากันว่า ใครจะมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ต่างก็เล็งว่า พระโพธิสัตว์สถิตอยู่ในชั้นดุสิตจะมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า จึงพากันไปทูลเชิญให้จุติลงมา โปรดสัตวโลก เพื่อให้สมกับพระปณิธานที่ตั้งไว้ว่า ทรงบำเพ็ญบารมีมาในชาติใดๆ ก็มิได้ทรงมุ่งหวังสมบัติ อันใด นอกจากความเป็นพระพุทธเจ้า ก่อนที่พระโพธิสัตว์อันสถิตอยู่ ณ สวรรค์ชั้นดุสิต จะได้ทรงตรัสรู้บรรลุธรรมเป็นองค์สมเด็จ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่อโปรดชาวโลกนั้น ศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านได้ทรงบำเพ็ญบารมี ๑๐ ประการ อันได้แก่ ๑. พระเตมีย์ ทรงบำเพ็ญเนกขัมมบารมี คือ ความอดทนสูงสุด ๒. พระมหาชนก ทรงบำเพ็ญวิริยะบารมี คือ ความพากเพียรสูงสุด ๓. พระสุวรรณสาม ทรงบำเพ็ญเมตตาบารมี คือ ความเมตตาสูงสุด ๔. พระเนมิราช ทรงบำเพ็ญอธิษฐานบารมี คือ ความมีจิตที่แน่วแน่สมบูรณ์ ๕. พระมโหสถ ทรงบำเพ็ญปัญญาบารมี คือ ความมีปัญญาสูงสุด ๖. พระภูริทัต ทรงบำเพ็ญศีลบารมี คือ ความมีศีลที่สมบูรณ์สูงสุด ๗. พระจันทกุมาร ทรงบำเพ็ญขันติบารมี คือ ความอดกลั้นสูงสุด ๘. พระนารทพรหม ทรงบำเพ็ญอุเบกขาบารมี คือ การมีอุเบกขาสูงสุด ๙. พระวิธูรบัณฑิต ทรงบำเพ็ญสัจจะบารมี คือ ความมีสัจจะสูงสุด ๑๐. พระเวสสันดร ทรงบำเพ็ญทานบารมี คือ การรู้จักการให้ทานสูงสุด บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงความอัศจรรย์เหล่านั้น จึงตรัสคำเป็นต้นว่า ครั้งใด เราชื่อว่าท้าวสันดุสิตอยู่ในหมู่เทพชั้นดุสิต ครั้งนั้น หมื่นโลกธาตุ ก็พากันประคองอัญชลีอ้อนวอนเราว่า. ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ พระองค์เมื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐ ทัศ มิใช่ปรารถนาสมบัติท้าวสักกะ มิใช่ปรารถนาสมบัติมาร มิใช่ปรารถนา สมบัติพรหม มิใช่ปรารถนาสมบัติจักรพรรดิ แต่พระองค์ ปรารถนาความเป็นพระพุทธเจ้าบำเพ็ญเพื่อช่วยขนสัตว์ข้ามโอฆสงสาร. ด้วยเหตุนั้น ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า (เทวดาในหมื่นโลกธาตุทูลวอนว่า) ข้าแต่พระมหาวีระ นี้เป็นกาลสมควรสำหรับพระองค์ ขอพระองค์โปรดอุบัติในครรภ์พระมารดา ขอพระองค์ เมื่อจะทรงช่วยมนุษยโลกพร้อมเทวโลกให้ข้ามโอฆสงสาร โปรดจงตรัสรู้อมตบทเถิด. ครั้งนั้น พระมหาสัตว์ แม้ถูกเทวดาทั้งหลายทูลวอนขอ ก็มิได้ ประทานปฏิญญาคำรับรองแก่เทวดาทั้งหลาย แต่ทรงตรวจดู มหาวิโลกนะ ๕ คือกำหนดกาล ทวีป ประเทศ ตระก้ล พระชนมายุของพระชนนี บรรดามหาวิโลกนะ ๕ นั้น ทรงตรวจดูกาลก่อนว่า เป็นกาลสมควร หรือยังไม่เป็น กาลสมควร. ในกาลนั้น อายุกาล (ของสัตว์) สูงกว่าแสนปีขึ้นไป ยังไม่ชื่อว่า กาล เพราะเหตุไร. เพราะทุกข์มีชาติชรามรณะเป็นต้นไม่ปรากฏ ก็ธรรมดา พระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ที่ชื่อว่าพ้นจากไตรลักษณ์ ไม่มีเลย. เมื่อพระพุทธเจ้าเหล่านั้นตรัสว่า อนิจจัง ทุกขัง ดังนี้ สัตว์ทั้งหลาย ย่อมไม่เชื่อว่า พระพุทธเจ้าเหล่านั้นตรัสเรื่องอะไร แต่นั้น การตรัสรู้ก็ไม่มี เมื่อการตรัสรู้นั้นไม่มี คำสั่งสอนก็ไม่เป็นนิยยานิกกะนำสัตว์ออกจากทุกข์ เพราะฉะนั้น กาลนั้น จึงไม่เป็นกาลสมควร. แม้อายุกาล (ของสัตว์) ต่ำกว่าร้อยปี ก็ยังไม่เป็นกาลสมควร เพราะเหตุไร เพราะกาลนั้น สัตว์ทั้งหลายมีกิเลส หนาแน่น และโอวาทที่ประทานแก่สัตว์ทั้งหลายที่มีกิเลสหนาแน่น ไม่อยู่ใน ฐานะควรโอวาท เพราะฉะนั้น กาลแม้นั้น ก็ไม่เป็นกาลสมควร อายุกาลอย่าง ต่ำตั้งแต่แสนปีลงมา อย่างสูงตั้งแต่ร้อยปีขึ้นไป ชื่อว่า กาลสมควร. บัดนี้ มนุษย์ทั้งหลายมีอายุร้อยปี เพราะเหตุนั้น ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ทรงเห็นว่า เป็นกาลที่ควรบังเกิด. ต่อนั้น ทรงตรวจดู ทวีป ทรงเห็นทวีปว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมบังเกิดในชมพูทวีปเท่านั้น. ธรรมดาชมพูทวีป เป็นทวีปใหญ่มีเนื้อที่ ประมาณหมื่นโยชน์. เมื่อทรงตรวจดู ประเทศ ว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายบังเกิดในประเทศ ไหนหนอ ก็ทรงเห็นมัชฌิมประเทศ. ต่อจากนั้นก็ทรงตรวจดู ตระก้ล ว่า ธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลาย บังเกิดในตระก้ลที่โลกสมมติ. บัดนี้ ตระก้ลกษัตริย์เป็นตระก้ลที่โลกสมมติ จำเราจักบังเกิดในตระก้ลกษัตริย์นั้น พระราชาพระนามว่า สุทโธทนะจักเป็นพระชนกของเรา. แต่นั้นก็ตรวจดู พระชนนี ว่า สตรีนักเลงสุราเหลวไหลจะเป็นพุทธมารดาไม่ได้ จะต้องเป็นสตรีมีศีล ๕ ไม่ขาด ดังนั้นพระราชเทวีพระนามว่า มหามายานี้ก็เป็นเช่นนี้ พระนางเจ้ามหามายานี้จักเป็นชนนีของเรา. เมื่อทรง นึกว่าพระนางเจ้าจะทรงมี พระชนมายุ ได้เท่าไร ก็ทรงเห็นว่าได้ต่อไปอีก ๗ วัน หลังครบทศมาสแล้ว. ครั้งทรงตรวจมหาวิโลกนะ ๕ ประการนี้แล้ว ก็ประทานปฏิญญา แก่เทวดาทั้งหลายว่า เป็นกาลสมควรที่เราเป็นพระพุทธเจ้า ทรงดำรงอยู่ใน ภพดุสิตนั้นตลอดชนมายุแล้วจุติจากภพดุสิตนั้น ทรงถือปฏิสนธิในพระครรภ์ พระนางเจ้ามายาเทวีในราชสกุลศากยะ หัวข้อ: Re: วิธีสร้างบุญบารมี เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ ธันวาคม 22, 2011, 08:00:34 PM สมุดภาพพระพุทธประวัติ
ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร ภาพที่ ๒ ทรงรับคำเชิญ แล้วจุติมากำเนิดในตระก้ลกษัตริย์ศากยะ ณ กรุงกบิลพัสดุ์ (http://84000.org/tipitaka/picture/p02.jpg) ภาพนี้เป็นภาพตอนที่พระโพธิสัตว์เจ้า ซึ่งต่อมาคือเจ้าชายสิทธัตถะ หรือพระพุทธเจ้ากำลัง เสด็จจากสวรรค์ชั้นดุสิต เพื่อเสด็จเข้าสู่พระครรภ์พระมารดา วันที่เสด็จลงบังเกิดนั้น ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ ซึ่งเป็นเวลาที่พระเจ้าสุทโธทนะ พระบิดา กับพระนางสิริมหามายา พระมารดา ได้อภิเษก สมรสไม่นาน คืนวันเดียวกันนั้น พระนางสิริมหามายากำลังบรรทมหลับสนิทในแท่นที่บรรทมแล้ว ทรง สุบินนิมิตว่าพระนางไปอยู่ในป่าหิมพานต์ ได้มีช้างเผือกเชือกหนึ่งลงมาจากยอดเขาสูงเข้ามาหาพระนาง ปฐมสมโพธิพรรณาเหตุการณ์ตอนนี้ไว้ว่า "...มีเศวตหัตถีช้างหนึ่ง...ชูงวงอันจับบุณฑริกปทุมชาติสีขาวเพิ่งบานใหม่ มีเสาวคนธ์หอม ฟุ้งตรลบแล้วร้องโกญจนาทเข้ามาในกนกวิมาน แล้วกระทำประทักษิณพระองค์อันบรรทมถ้วนสามรอบ แล้วเหมือนดุจเข้าไปในอุทร ฝ่ายทักษิณปรัศว์แห่งพระราชเทวี..." ภายหลังโหราจารย์ประจำราชสำนักทำนายว่าเป็นสุบินนิมิตที่ดี จะมีพระราชโอรสผู้ประเสริฐ อุบัติบังเกิด และเมื่อพระมารดาทรงครรภ์แล้ว ปฐมสมโพธิได้พรรณาตอนที่พระโพธิสัตว์เสด็จอยู่ในพระ ครรภ์พระมารดาว่า "...เหมือนดุจด้ายเหลือง อันร้อยเข้าไปในแก้วมณีอันผ่องใส เมื่อปรารถนาจะทอดพระเนตร ในขณะใด ก็เห็นพระโอรสนั่งเป็นบัลลังก์สมาธิ (นั่งขัดสมาธิ) ผันพระพักตร์มาข้างหนึ่งพระอุทรแห่งพระ มารดา ดุจสุวรรณปฎิมาอันสถิตอยู่บนฝักอ่อนในห้องแห่งกลีบปทุมชาติ แต่โพธิสัตว์มิได้เห็นองค์ชนนี..." วันที่พระโพธิสัตวเจ้าเสด็จลงสู่พระครรภ์ กวีผู้แต่งเรื่องเฉลิมพระเกียรติได้พรรณาว่า มีเหตุ มหัศจรรย์เกิดขึ้นเหมือนกับตอนประสูติ ตรัสรู้ และตรัสปฐมเทศนา จะต่างกันบ้างก็แต่ในรายละเอียดเท่านั้น เช่นว่า กลองทิพย์บันลือลั่นทั่วท้องเวหา คนตาบอดกลับมองเห็น คนหูหนวกกลับ ได้ยิน ตอนนั้น ถ้าจะถ่ายทอดพระพุทธเจ้าออกจากวรรณคดี มาเป็นพระพุทธเจ้าในพุทธประวัติก็ว่า กลองทิพย์บันลือลั่นนั้น คือ 'นิมิต' หมายถึง พระเกียรติคุณของพระพุทธเจ้าที่จะแผ่ไปทั่วโลก คนตาบอด หูหนวก คือ คนที่มีกิเลส ได้สดับรสธรรมแล้วจะหายตาบอด หูหนวก หรือมีปัญญารู้แจ้งมองเห็นทางพ้น ทุกข์นั้นเอง หัวข้อ: Re: วิธีสร้างบุญบารมี เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ ธันวาคม 22, 2011, 08:02:34 PM สมุดภาพพระพุทธประวัติ
ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร ภาพที่ ๓ พอประสูติจากพระครรภ์พระมารดา ณ ป่าลุมพินีวัน ก็ทรงดำเนินได้ ๗ ก้าว (http://84000.org/tipitaka/picture/p03.jpg) ภาพนี้เป็นตอนประสูติ คนที่เคยอ่านพุทธประวัติหรือปฐมสมโพธิ และเคยเห็นภาพตามผนัง โบสถ์ในวัดมาแล้ว คงพอเข้าใจและดูออกว่าคืออะไร ทารกที่เห็นนั่นคือเจ้าชายสิทธัตถะ หรือพระพุทธเจ้าในเวลาต่อมา ซึ่งพอประวัติจากพระ ครรภ์พระมารดา ก็ทรงพระดำเนินด้วยพระบาทไปได้ ๗ ก้าว พร้อมกับทรงยกพระหัตถ์ขวาและเปล่ง พระวาจา เบื้องใต้พระบาทมีดอกบัวรองรับ พระวาจาที่ทรงเปล่งออกมานั้น กวีท่านแต่งไว้เป็นภาษาบาลี แปลถอดใจความเป็นภาษาไทยได้ว่า "เราจะเป็นคนเก่งที่สุดในโลกคนหนึ่ง ซึ่งจะหาผู้ใดเสมอเหมือนไม่มี ชาติที่เกิดนี้เป็นชาติ สุดท้ายของเรา เราจะไม่ได้เกิดต่อไปในเบื้องหน้าอีกแล้ว" กลุ่มสตรีที่อยู่ในท่านั่งบ้าง คุกเข่าบ้าง นั้นคือบรรดานางพระกำนัลที่ตามเสด็จพระนาง มายา ส่วนรูปสตรีที่ยืนหันหลังให้ต้นไม้ใหญ่นั้นคือพระมารดา พระหัตถ์ขวาของท่านเหนี่ยวกิ่งไม้ ต้นไม้ ใหญ่นี้คือต้นสาละ ที่แต่ก่อนมาเคยแปลกันว่าไม้รังหรือเต็งรังอย่างที่มีอยู่ในบ้านเรา แต่ภายหลังได้เป็นที่รู้ กันว่า สาละไม่ใช่ไม้รัง และไม่มีในป่าเมืองไทย เป็นไม้พันธุ์ในตระก้ลยางซึ่งมีอยู่ในอินเดียที่คนอินเดียนิยม ใช้ปลูกบ้านสร้างเรือนอยู่กัน มีมากในเขาหิมาลัย สถานที่ประสูตินี้เรียกว่า 'ลุมพินี' อยู่นอกเมืองกบิลพัสดุ์ เวลานี้อยู่ในเขตประเทศเนปาล แทรกเรื่องอื่นเข้าบ้างเล็กน้อย กล่าวคือเมืองพระประยูรญาติของพระพุทธเจ้ามีสองเมือง คือ กบิลพัสดุ์ และเทวทหะ กบิลพัสดุ์เป็นเมืองพ่อของพระพุทธเจ้า นี้ว่าอย่างภาษาสามัญ ส่วนเทวทหะเป็น เมืองแม่ พระบิดาของพระพุทธเจ้าอยู่ที่เมืองกบิลพัสดุ์ ส่วนพระมารดาเดิมอยู่ที่เมืองเทวหะ กษัตริย์และเจ้า นายจากสองเมืองนี้ต่างเป็นญาติเกี่ยวดองกันโดยทางอภิเษกสมรส เมื่อพระนางมายาจวนครบกำหนดประสูติ จึงทูลลาพระสามี คือพระเจ้าสุทโธนะ เพื่อประ สูติพระโอรสที่เมืองอันเป็นราชตระก้ลของพระนาง ตามธรรมเนียมพราหมณ์ที่ว่า สตรีเวลาจะคลอดลูกต้อง ไปคลอดที่บ้านพ่อแม่ของตน พระนางมายาเสด็จไปถึงระหว่างทางยังไม่ทันถึงเมืองเทวทหะ ทรงประชวร เสียก่อน เลยจึงประสูติที่นั่น วันที่พระพุทธเจ้าประสูตินั้นคือ วันเพ็ญกลางเดือน ๖ หัวข้อ: Re: วิธีสร้างบุญบารมี เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ ธันวาคม 22, 2011, 08:55:52 PM สมุดภาพพระพุทธประวัติ
ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร ภาพที่ ๔ อสิตดาบสมาเยี่ยม เห็นกุมารประกอบด้วยมหาปุริสลักษณะก็ถวายบังคม (http://84000.org/tipitaka/picture/p04.jpg) ภาพนี้เป็นตอนภายหลังพระพุทธเจ้าประสูติแล้วใหม่ๆ คือภายหลังพระพุทธบิดาทราบข่าว พระนางมายาประสูติพระโอรสระหว่างทางที่สวนลุมพินี แล้วรับสี่งให้เสด็จกลับเมืองแล้ว ผู้ที่มุ่นมวยผมเป็นชฎา และมือทั้งสองประนมแค่อกที่เห็นอยู่นั้นคือ 'อสิตดาบส' หรือบาง แห่งเรียกว่า 'กาฬเทวินดาบส' ท่านดาบสผู้นี้บวชเป็นฤาษีอยู่ข้างเขาหิมพานต์ หรือที่ทุกวันนี้เรียกว่าเขา หิมาลัยนั่นเอง ท่านเป็นที่เคารพนับถือของพระเจ้าสุทโธทนะและของราชตระก้ลนี้ และเป็นผู้คุ้นเคยด้วย เมื่อท่านทราบข่าวว่าพระเจ้าสุทโธทนะ ประมุขกษัตริย์กรุงกบิลพัสดุ์ทรงมีพระราชโอรส ใหม่ จึงออกจากอาศรมเชิงเขา เข้าไปเยี่ยมเยียนเพื่อถวายพระพรยังราชสำนัก พระเจ้าสุทโธทนะทรง ทราบข่าวว่าท่านดาบสมาเยี่ยม ก็ทรงดีพระพระทัยนักหนา จึงตรัสสั่งให้นิมนต์ท่านนั่งบนอาสนะแล้ว ทรงอุ้มพระราชโอรสออกมาเพื่อให้นมัสการท่านดาบส พอท่านดาบสได้เห็นเจ้าชายสิทธัตถะ ก็ทำกริยาผิดวิสัยสมณะ ๓ อย่าง คือ ยิ้มหรือแย้ม หรือที่ภาษากวีในหนังสือปฐมสมโพธิเรียกอย่างหนึ่งว่า หัวเราะแล้วร้องไห้ แล้วกราบแทบพระบาทของ เจ้าชายสิทธัตถะ ท่านยิ้มเพราะเห็นพระลักษณะของเจ้าชายสิทธัตถะต้องด้วยตำรับมหาบุรุษลักษณ์ ท่านเห็น ว่า คนที่มีลักษณะอย่างนี้ ถ้าอย่างครองเรือนจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงมีเดชานุภาพแผ่ไป ไกล แต่ถ้าได้ออกบวชจะได้เป็นพระศาสดาผู้มีชื่อเสียงที่สุดในโลก ที่ท่านร้องไห้ก็เพราะเชื่อแน่ว่าเจ้าชาย ราชกุมารนี้ จะต้องออกบวช เพราะเหตุที่เชื่ออย่างนี้ เลยนึกถึงตัวท่านเองว่า เรานี่แก่เกินการณ์เสียแล้ว เลย เสียใจว่ามีบุญน้อย ไม่มีโอกาสที่จะได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า และที่กราบไหว้พระบาทราชกุมารที่เพิ่ง ประสูติใหม่ ก็เพราะเหตุเดียวที่กล่าวนี้ ฝ่ายเจ้านายในราชตระก้ลได้เห็นและได้ทราบข่าวว่า ท่านดาบสกราบพระบาทราชกุมาร ต่าง ก็มีพระทัยนับถือพระราชกุมารยิ่งขึ้น จึงทูลถวายโอรสของตนให้เป็นบริวารของเจ้าชายสิทธัตถะ ตระก้ลละ องค์ๆ ทุกตระก้ล หัวข้อ: Re: วิธีสร้างบุญบารมี เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ ธันวาคม 22, 2011, 09:00:45 PM สมุดภาพพระพุทธประวัติ
ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร ภาพที่ ๕ พราหมณาจารย์รับพระลักษณะสมโภชพระกุมาร ถวายพระนามว่า พระสิทธัตถะ (http://84000.org/tipitaka/picture/p05.jpg) ภายหลังเจ้าชายราชกุมารผู้พระราชโอรสประสูติได้ ๕ วันแล้ว พระเจ้าสุทโธทนะ พระราช บิดาได้โปรดให้มีการประชุมใหญ่ ผู้เข้าประชุมมีพระญาติวงศ์ ทั้งฝ่ายพระบิดาและฝ่ายพระมารดา มุข อำมาตย์ ราชมนตรี และพราหมณ์ผู้รอบรู้ไตรเวท เพื่อทำพิธีมงคลในการนี้คือพราหมณ์ มีทั้งหมด ๑๐๘ แต่พราหณ์ผู้ทำหน้าที่นี้จริงๆ มีเพียง ๘ นอกนั้นมาในฐานะคล้ายพระอันดับ พราหมณ์ทั้ง ๘ มีรายนาม ดังนี้ คือ ๑. รามพราหมณ์ ๕. โภชพราหมณ์ ๒. ลักษณพราหมณ์ ๖. สุทัตตพราหมณ์ ๓. อัญญพราหมณ์ ๗. สุยามพราหมณ์ ๔. ธุชพราหมณ์ ๘. โกณทัญญพราหมณ์ ที่ประชุมลงมติขนานพระนามพระราชกุมารว่า 'เจ้าชายสิทธัตถะ' ซึ่งเป็นมงคลนาม มี ความหมายสองนัย นัยหนึ่งหมายความว่า ผู้ทรงปรารถนาสิ่งใดจะสำเร็จสิ่งนั้นดังพระประสงค์ อีกนัย หนึ่งหมายความว่าพระโอรสพระองค์แรกสมดังที่พระราชบิดาทรงปรารถนา แปลให้เป็นเข้าสำนวณไทย ในภาษาสามัญก็ว่า ได้ลูกชายคนแรกสมตามที่ต้องการ พระนามนี้ คนอินเดียทั่วไปในสมัยนั้นไม่นิยมเรียก แต่นิยมเรียกพระแทน 'พระ' ตรงกับภาษาไทยทุกวันนี้ว่า 'นามสกุล' คนจึงนิยมเรียกพระราชกุมารว่า 'เจ้าชายโคตมะ' หรือ 'โคดม' พร้อมกันนี้ พราหมณ์ทั้ง ๘ ก็พยากรณ์พระลักษณะ คำพยากรณ์แตกความเห็นเห็นเป็น ๒ กลุ่ม พราหมณ์ ๗ คน ตั้งแต่หมายเลข ๑ ถึงหมายเลข ๗ ตามรายนามที่ระบุไว้แล้ว มีความเห็นเป็นเงื่อน ไขในคำพยากรณ์ ถ้าเจ้าชายนี้เสด็จอยู่ครองราชสมบัติ จักได้ทรงเป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงมี เดชานุภาพมาก แต่ถ้าเสด็จออกทรงผนวชจักได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นศาสดาเอกของโลก มีพราหมณ์หนุ่มอายุเยาว์คนเดียวที่พยากรณ์เป็นมติเดียวโดยไม่มีเงื่อนไขว่า พระราชกุมารนี้ จักเสด็จออกทรงผนวช และได้เป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน พราหมณ์ผู้นี้ต่อมาได้เป็นหัวหน้าพระปัญจวัคคีย์ ออกบวชตามเสด็จพระพุทธเจ้า และได้เป็นพระอรหันตสาวกองค์แรกที่รู้จักกันในนามว่า 'พระอัญญาโกณ ทัญญะ' นั่นเอง ที่เหลืออีก ๗ ไม่ได้ตามเสด็จออกบวช เพราะชรามาก อยู่ไม่ทันสมัยพระพุทธเจ้าเสด็จ ออกทรงผนวช หัวข้อ: Re: วิธีสร้างบุญบารมี เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ ธันวาคม 22, 2011, 09:02:35 PM สมุดภาพพระพุทธประวัติ
ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร ภาพที่ ๖ ทรงบรรลุปฐมฌานตั้งแต่ทรงพระเยาว์ ขณะประทับใต้ร่มหว้าในพิธีแรกนาขวัญ (http://84000.org/tipitaka/picture/p06.jpg) ภาพนี้เป็นตอนที่เจ้าชายสิทธัตถะโคตมะมีพระชนมายุ ๗ ปี พระราชบิดาตรัสให้ขุดสระโบก ขรณี ๓ สระภายในพระราชนิเวศน์ ให้เป็นที่สำราญพระทัยพระโอรส สระโบกขรณี คือ สระที่ปลูกดอก บัวประทับในสระ แล้วพระราชทานเครื่องทรงคือ จันทน์สำหรับทาผ้าโพกพระเศียร ฉลองพระองค์ผ้า ทรงสะพัก พระภูษาทั้งหมดเป็นของมีชื่อมาจากเมืองกาสีทั้งนั้น ตอนที่เห็นในภาพนี้ เป็นตอนที่เจ้าชายประทับนั่งสมาธิอยู่ใต้ต้นไม้ ที่ภาษาปฐมสมโพธิเรียก ว่า 'ชมพูพฤกษ์' ซึ่งคนไทยเราเรียกต้นหว่านั่นเอง เหตุที่เจ้าชายมาประทับอยู่ใต้ต้นหว้าแห่งนี้ ก็เพราะพระ ราชบิดาทรงจัดให้มีพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ที่ทุ่งนานอกเมืองกบิลพัสดุ์ตามพระราชประเพณี พระราชบิดา ซึ่งเสด็จแรกนาด้วยพระองค์เอง หรือจะเรียกว่าทรงเป็นพระยาแรกนาเสียเองก็ได้ ได้โปรดให้ เชิญเสด็จเจ้าชายไปด้วย ภาพที่เห็นนี้อีกเหมือนกัน จะเห็นเจ้าชายประทับนั่งขัดสมาธิอยู่ลำพังพระองค์เดียว ไม่เห็นพระ สหาย พระพี่เลี้ยง และมหาดเล็กอยู่เฝ้าเลย เพราะทั้งหมดไปชมพระราชพิธีแรกนากัน เจ้าชายเสด็จอยู่ลำพัง พระองค์ภายใต้ต้นหว้าที่กวีท่านพรรณาไว้ว่า "กอปรด้วยสาขาแลใบ อันมีพรรณอันเขียว ประหนึ่งอินทนิล คีรี มีปริมณฑลร่มเย็นเป็นรมณียสถาน..." พระทัยอันบริสุทธิ์ และอย่างวิสัยผู้จะสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าใน ภายหน้า ได้รับความวิเวกก็เกิดเป็สมาธิขั้นแรกที่เรียกว่า "ปฐมฌาน" แรกนาเสร็จตอนบ่าย พระพี่เลี้ยงวิ่งมาหาเจ้าชาย ได้เห็นเงาไม้ยังอยู่ที่เดิมเหมือนเวลาเที่ยงวัน ไม่คล้อยตวงตะวันก็เกิดอัศจรรย์ใจ จึงนำความไปกราบพระเจ้าสุทโธนะให้ทรงทราบ พระราชบิดาเสด็จมา ทอดพระเนตรก็เกิดความอัศจรรย์ในพระทัย แล้วก็ทรงออกพระโอษฐ์อุทานว่า "กาลเมื่อวันประสูติ จะให้ น้อมพระองค์ลงถวายนมัสการพระกาฬเทวินดาบสนั้น ก็ทำปาฎิหาริย์ขึ้นไปยืนเบื้องบนชฎาพระดาบส อาตม ก็ประณตเป็นปฐมวันทนาการครั้งหนึ่งแล้ว ครั้งนี้อาตมก็ถวายอัญชลีเป็นทุติยวันทนาการคำรบสอง" พระเจ้าสุทโธทนะทรงไหว้พระพุทธเจ้าที่สำคัญ ๓ ครั้งด้วยกัน ครั้งแรกเมื่อภายหลังประสูติ ที่ดาบสมาเยี่ยม เห็นท่านดาบสไหว้ก็เลยไหว้ ครั้งที่สองก็คือ ครั้งทรงเห็นปาฏิหาริย์ ครั้งที่สามคือ ภาย หลังพระพุทธเจ้าเสด็จออกผนวช ได้สำเร็จพระพุทธเจ้า แล้วเสด็จกลับไปโปรดพระพุทธบิดาครั้งแรก หัวข้อ: Re: วิธีสร้างบุญบารมี เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ ธันวาคม 22, 2011, 09:03:54 PM สมุดภาพพระพุทธประวัติ
ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร ภาพที่ ๗ ทรงประลองศิลปศาสตร์ยกศรอันหนัก ดีดสายศรเสียงสนั่นกระหึ่มเมือง (http://84000.org/tipitaka/picture/p07.jpg) พอเจ้าชายสิทธัตถะทรงมีพระชนมายุพอสมควรแล้ว พระราชบิดาจึงทรงส่งไปศึกษาศิลป วิทยาที่สำนักครูที่มีชื่อว่า 'วิศวามิตร' เจ้าชายทรงศึกษาการใช้อาวุธ และการปกครองได้ว่องไวจนสิ้นความ รู้ของอาจารย์ ภาพที่เห็นนี้ เป็นตอนเจ้าชายสิทธุตถะทรงมีพระชนมายุได้ ๑๖ ปีแล้ว และทรงศึกษาศิลป วิทยาจบแล้ว พระราชบิดาจึงตรัสสั่งให้สร้างปราสาท ๓ ฤดู เป็นจำนวน ๓ หลัง ให้ประทับเป็นที่สำราญ พระทัย ปราสาทหลังที่หนึ่งเหมาะสำหรับประทับในฤดูหนาว หลังที่สองสำหรับฤดูร้อน ทั้งสองหลังนี้จะ มีอะไรเป็นเครื่องควบคุมอุณหภูมิไม่ทราบได้ และหลังที่สามสำหรับประทับในฤดูฝน หลังจากนั้น พระราชบิดาได้ทรงแจ้งไปยังพระญาติวงศ์ทั้งสอง คือฝ่ายพระมารดาและฝ่าย พระบิดา ให้จัดส่งพระราชธิดามาเพื่อคัดเลือกสตรีผู้สมควรจะอภิเษกสมรสกับเจ้าชาย ทั้งนี้เพราะพราะราช บิดาทรงต้องการจะผูกมัดพระราชโอรสให้เสด็จอยู่ครองราชสมบัติมากกว่าที่จะให้เสด็จออกทรงผนวช แต่พระญาติวงศ์ทั้งปวงเห็นว่า ควรจะให้เจ้าชายได้แสดงความสามารถในศิลปศาสตร์ที่ทรง เล่าเรียนมาให้เป็นที่ประจักษ์แก่หมู่พระญาติก่อน พระราชบิดาจึงอัญเชิญพระญาติวงศ์มาประชุมกันที่หน้า พระมณฑปที่ปลูกสร้างขึ้นใหม่ ณ ใจกลางเมืองเพื่อชมเจ้าชายแสดงการยิงธนู ธนูที่เจ้าชายยิงมีชื่อว่า 'สหัสถามธนู' แปลว่า ธนูที่มีน้ำหนักขนาดที่คนจำนวนหนึ่งพันคนจึง จะยกขึ้นได้ แต่เจ้าชายทรงยกธนูนั้นขึ้นได้ ปฐมสมโพธิให้คำอุปมาว่า 'ดังสตรีอันยกขึ้นซึ่งไม้กงดีดฝ้าย' บรรดาพระญาติวงศ์ทั้งปวงได้เห็นแล้วต่างชื่นชมยิ่งนัก แล้วเจ้าชายทรงลองดีดสายธนูก่อนยิง เสียงสายธนู ดังกระหึ่มครึ้มคราวไปทั้งกรุงกบิลพัสดุ์ จนคนทั้งเมืองที่ไม่รู้และไม่ได้มาชมเจ้าชายยิงธนู ต่างถามกันว่านั่น เสียงอะไร เป้าที่เจ้าชายยิงธนูวันนั้น คือ ขนหางทรายจามรีที่วางไว้ในระยะหนึ่งโยชน์ ปรากฏว่า เจ้า ชายทรงยิงถูกขาดตรงกลางพอดี ทั้งนี้ท่านว่า 'ด้วยพระเนตรอันผ่องใสพร้อมด้วยประสาททั้ง ๕ อัน บริสุทธิ์อันปราศจากมลทิน' พระญาติวงศ์ทั้งปวง จึงยอมถวายพระราชธิดา ซึ่งมีนางพิมพายโสธรารวม อยู่ด้วย เพื่อคัดเลือกเป็นพระชายา หัวข้อ: Re: วิธีสร้างบุญบารมี เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ ธันวาคม 22, 2011, 09:07:17 PM สมุดภาพพระพุทธประวัติ
ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร ภาพที่ ๘ พระบิดาทรงอภิเษกสมรสพระสิทธัตถะกับพระนางพิมพายโสธรา (http://84000.org/tipitaka/picture/p08.jpg) ดังได้เคยบรรยายไว้ ณ ที่นี้มาแล้วว่า พระญาติวงศ์ของพระพุทธเจ้านั้นมีสองฝ่าย คือฝ่าย พระมารดา และฝ่ายบิดา ทั้งสองฝ่ายอยู่คนละเมือง มีแม่น้ำโรหิณีไหลผ่านเป็นเขตกั้นพรมแดนพระญาติ วงศ์ฝ่ายมารดามีชื่อว่า 'โกลิยวงศ์' ครองเมืองเทวทหะ พระญาติวงศ์ฝ่ายพระบิดาชื่อ 'ศากยวงศ์' ครอง เมืองกบิลพัสดุ์ ทั้งสองนครนี้เกี่ยวดองเป็นพระญาติกัน มีความรักกันฉันพี่น้องร่วมสายโลหิต ต่างอภิเษก สมรสกันและกันเสมอมา สมัยพระพุทธเจ้า ผู้ทรงอยู่ในฐานะประมุขครองเมืองเทวทหะ คือ พระเจ้า สุปปพุทธะ ส่วนผู้ครองเมืองกบิลพัสดุ์ก็เป็นที่ทราบอยู่แล้ว คือ พระเจ้าสุทโธทนะ พระชายาของพระเจ้าสุปปพุทธะ มีพระนามว่าพระนางอมิตา เป็นกนิษฐภคินี คือ น้องสาว คนเล็กของพระเจ้าสุทโธทนะ กลับกันคือ พระชายาของพระเจ้าสุทโธทนะหรือพระมารดาของพระพุทธเจ้า มีพระนามว่าพระนางมายา พระนางเป็นน้องสาวของพระเจ้าสุปปพุทธะ ทั้งสองทรงอภิเษกสมรสกับพระ ภคินีของกันและกัน พระเจ้าสุปปพุทธะมีโอรสและพระธิดาอันเกิดกับพระนางอมิตาสองพระองค์ พระโอรส คือ เทวทัต พระธิดา คือ พระนางพิมพายโสธรา ปฐมสมโพธิว่าพระนางพิมพายโสธราเป็นผู้หนึ่งในจำนวน ๗ สหชาติของพระพุทธเจ้า สห ชาติคือ สิ่งที่เกิดพร้อมกันกับวันที่พระพุทธเจ้าเกิด ๗ สหชาตินั้น คือ ๑. พระนางพิมพายโสธรา ๒. พระอานนท์ ๓. กาฬุทายีอำมาตย์ ๔. นายฉันนะ มหาดเล็ก ๕. ม้ากัณฐกะ ๖. ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ๗. ขุมทองทั้ง ๔ (สังขนิธี, เอลนิธี, อุบลนิธี, บุณฑริกนิธี) พระญาติวงศ์ทั้งสองฝ่ายทรงเห็นพร้อมกันว่า พระนางพิมพายโสธราทรงพร้อมด้วยคุณสมบัติ ทุกอย่าง สมควรจะอภิเษกสมรสกับเจ้าชายสิทธัตถะ พระราชพิธีอภิเษกสมรสจึงได้มีขึ้นในสมัยที่ทั้งเจ้าชาย และเจ้าหญิงทรงมีพระชนมายุได้ ๑๖ ปีพอดี หัวข้อ: Re: วิธีสร้างบุญบารมี เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ ธันวาคม 23, 2011, 09:07:36 AM สมุดภาพพระพุทธประวัติ
ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร ภาพที่ ๙ เสด็จประพาสสวน ทรงเห็นเทวฑูต ๔ คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และบรรพชิต (http://84000.org/tipitaka/picture/p09.jpg) พระเจ้าสุทโธทนะผู้มีพระราชบิดา และ พระญาติวงศ์ทั้งปวงปรารถนาที่จะให้เจ้าชาย สิทธัตถะเสด็จอยู่ครองราชสมบัติ มากกว่าที่จะให้เสด็จออกบรรพชาอย่างที่คำทำนายของพราหมณ์บาง ท่านว่าไว้ จึงพยายามหาวิธีผูกมัดพระโอรสให้เพลิดเพลินในกามสุขทุกอย่าง แต่เจ้าชายสิทธัตถะทรงมี พระอัธยาศัยเป็นนักคิดสมกับที่ทรงเกิดมาเป็นพระศาสดาโปรดชาวโลก จึงทรงยินดีในความสุขนั้นไม่ นาน พอพระชนมายุมากขึ้นจนถึง ๒๙ ก็ทรงเกิดนิพพิทา คือ ความเบื่อหน่าย ต้นเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดความรู้สึกในพระทัยเช่นนั้น อยู่ที่ทรงเห็นสิ่งที่เรียกว่า เทวฑูต ทั้ง ๔ ระหว่างทางในวันเสด็จประพาสพระราชอุทยานนอกเมืองด้วยรถม้าพระที่นั่ง พร้อมด้วยสารถี คนขับ เทวฑูตทั้ง ๔ คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และนักบวช ทรงเห็นคนแก่ก่อน ปฐมสมโพธิบรรยายลักษณะของคนแก่ไว้ว่า "มีเกศาอันหงอก แลสีข้างก็คดค้อม กายนั้น ง้อมเงื้อมไปในเบื้องหน้า มือถือไม้เท้าเดินมาในระหว่างมรรควิถี มีอาการอันไหวหวั่นสั่นไปทั่วทั้งกาย ควรจะสังเวช..." ก็ทรงสังเวชสลดพระทัย เช่นเดียวกับเมื่อทรงเห็นคนเจ็บและคนตายในครั้งที่สอง และที่ สาม เมื่อเสด็จประพาสพระราชอุทยาน ทรงปรารภถึงพระองค์ว่าจะต้องเป็นอย่างนั้น ทรงพระดำริว่า สภาพธรรมดาในโลกนี้ย่อมมีสิ่งตรงกันข้ามคู่กัน คือ มีมืดแล้ว มีสว่าง มีร้อน แล้วมีเย็น เมื่อมีทุกข์ ทางแก้ทุกข์ก็น่าจะมี ในคราวเสด็จประพาสพระราชอุทยานครั้งที่ ๔ ทรงเห็นนักบวช "นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ กอปรด้วยอากัปกิริยาสำรวม..." เมื่อทรงเห็นนักบวชก็ทรงเกิดพระทัยน้อมไปในทางบรรพชา ทรงรำพึงในพระทัยที่เรียก อีกอย่างหนึ่ง ทรงเปล่งอุทานออกมาว่า "สาธุ ปัพพชา" สองคำนี้เป็นภาษาบาลี แปลให้ตรงกับสำนวน ไทยว่า "บวชท่าจะดีแน่" แล้วก็ตัดสินพระทัยว่า จะเสด็จออกบวชตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา หัวข้อ: Re: วิธีสร้างบุญบารมี เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ ธันวาคม 23, 2011, 09:18:35 AM สมุดภาพพระพุทธประวัติ
ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร ภาพที่ ๑๐ ทรงสรงสนานน้ำในสระ ราชบุรุษไปทูลว่า พระนางพิมพาประสูติพระโอรสแล้ว (http://84000.org/tipitaka/picture/p10.jpg) ภายหลังที่เจ้าชายสิทธัตถะทรงเห็นเทวฑูตที่ ๔ คือนักบวช จนตัดสินพระทัยว่าจะเสด็จออก บวชแน่นอนแล้ว ก็เสด็จด้วยรถพระที่นั่ง ที่ปฐมสมโพธิว่า "เทียมด้วย มงคลวรสินธพทั้ง ๔ มีสีดังดอก โกกนุทปทุมบุปฝาชาติ (ดอกบัวสีแดง)" เสด็จไปถึงพระราชอุทยาน เมื่อเสด็จไปถึง เจ้าชายสิทธัตถะซึ่งแวดล้อมไปด้วยคณานางอเนกนิกรสุรางคศักยราชกัญญา ก็เสด็จลงสรงสนานในสระโบกขรณี ที่เรียงรายระดาดาดด้วยเบญจปทุมชาติ เสด็จอยู่ที่พระราชอุทยานเกือบทั้งวัน จนเกือบเย็นจึงมีเจ้าพนักงานจากราชสำนักผู้หนึ่ง ซึ่ง พระเจ้าสุทโธทนะรับสั่งให้นำข่าวมาทูลให้เจ้าชายสิทธัตถะทรงทราบ เจ้าพนักงานกราบทูลว่าพระนาง พิมพายโสธราประสูติพระโอรสแล้ว พระพุทธโฆษาจารย์ผู้แต่งอรรถกถาธรรมบทได้พรรณาความตอนนี้ไว้ว่าเมื่อเจ้าชายสิทธัตถะ ได้ทรงทราบข่าวว่า พระชายาของพระองค์ประสูติพระโอรสแล้ว ทรงเกิดความรู้สึกอย่างหนึ่งซึ่งไม่เคย เกิดกับพระองค์มาก่อนเลย คือ ความรักลูกยิ่งนัก ความรักนั้นเกิดขึ้นแล้ว หนักหน่วงในพระทัย ผูกมัดรัดรึงพระทัยยิ่งกว่าสิ่งใดในโลก จน ทรงอุทานออกมาว่า "พันธนัง ชาตัง ราหุลัง ชาตัง" แปลเป็นภาษาไทยได้ว่า "ห่วงเกิดขึ้นเสียแล้ว" คำที่แปลว่า "ห่วง" ในพระอุทานของเจ้าชาย สิทธัตถะคือ ราหุลัง หรือ ราหุล ต่อมาคำนี้ได้ถวายเป็นพระนามของราหุลกุมาร ที่เจ้าชายสิทธัตถะเปล่งอุทานขึ้นมาว่า "ห่วงเกิดขึ้นเสียแล้ว" นั้น หมายถึงว่า พระองค์กำลัง ตัดสินพระทัยจะเสด็จออกบวช กำลังจะตัดห่วงหาอาลัยในฆราวาสอย่างอื่น ก็เกิดมีห่วงใหม่ขึ้นมาผูกมัด เสียแล้ว หัวข้อ: Re: วิธีสร้างบุญบารมี เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ ธันวาคม 23, 2011, 09:26:28 AM สมุดภาพพระพุทธประวัติ
ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร ภาพที่ ๑๑ ทรงเปลื้องสังวาลประทานนางกีสาโคตมีซึ่งสดุดีพระคุณ ขณะเสด็จขึ้นสู่ประสาท (http://84000.org/tipitaka/picture/p11.jpg) เป็นภาพตอนต่อเนื่องมาจากตอนที่เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จประพาสพระราชอุทยาน แต่ตอนนี้ เป็นตอนเสด็จกลับเข้าเมืองพร้อมด้วยราชบริพารที่ตามเสด็จ สตรีที่ยืนเยี่ยมมองทางสิงหบัญชรหรือหน้า ต่างพระตำหนักที่เห็นอยู่นั้น ปฐมสมโพธิบอกว่าเป็น 'นางขัตติยราชกัญญาองค์หนึ่งแห่งเมืองกบิลพัสดุ์' ทรงพระนามว่า 'กีสาโคตมี' เกี่ยวข้องกับเจ้าชายสิทธัตถะในทางพระญาติวงศ์อย่างไร ไม่ได้บอกไว้ แต่ในอรรถกถาธรรมบทที่พระพุทธโฆษาจารย์ชาวอินเดียรจนาไว้บอกว่า เธอเป็นธิดาของ พระเจ้าอา (หญิง) ของพระพุทธเจ้า ซึ่งหมายถึงพระนางปมิตา และพระนางอมิตา ทั้งสองพระนางนี้เป็น พระกนิษฐา หรือน้องสาวของพระเจ้าสุทโธทนะ แต่เป็นธิดาของพระเจ้าอาพระองค์ไหนแน่ ท่านก็ไม่ได้ บอกไว้ พระนางกีสาโคตมี ได้ทรงเห็นเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จกลับจากสรงสนานในสระโบกขรณี ใน พระราชอุทยานผ่านมา และทรงเห็นเจ้าชายงามบริบูรณ์ด้วยพระรูปศิริโสภาคย์ ก็ทรวปีติโสมนัส จึงตรัส พระคาถา ชมเจ้าชายสิทธัตถะบทหนึ่ง พระคาถา คือคำกลอนหรือโศลกที่กวีแต่งร้องกรองความเดิมเป็น ภาษาบาลีว่า "นิพพุตา นูน สา มาตา นิพพุโต นูนโส ปิตา นิพพุตา นูน สา นารี ยัสสายัง อีทิโส ปติ" ถอดเป็นร้อยแก้วในภาษาไทยว่า "ผู้ใดได้เป็นพระราชมารดาและพระราชบิดาของเจ้าชาย สิทธัตถะ ผู้นั้นจะมีความสุขดับทุกข์เข็ญ สตรีใดได้เป็นพระชายาสตรีนั้น ก็จะมีความสุขดับทุกข์เข็ญ" เจ้าชายสิทธัตถะทรงได้ยินก็ชอบพระทัย ที่ทรงชอบที่สุดคือคำว่า 'ดับ' ซึ่งพระองค์ทรง หมายพระทัยถึง 'นิพพุต' หรือนิพพาน จึงทรงเปลื้อง 'แก้วมุกดาหาร' เครื่องประดับพระศอราคาแสน กหาปณะ มอบให้ราชบุรุษนำไปมอบให้แก่นางกีสาโคตมี พระนางสำคัญหมายในพระทัยว่า เจ้าชายทรง มีพระทัยปฏิพัทธ์เสน่หาในพระนางก็ทรงเกิดโสมนัสยินดีเป็นอันมาก หัวข้อ: Re: วิธีสร้างบุญบารมี เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ ธันวาคม 25, 2011, 08:30:25 PM สมุดภาพพระพุทธประวัติ
ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร ภาพที่ ๑๒ ตื่นบรรทมกลางดึกเห็นสาวสนมกรมในนอนระเกะระกะ ระอาพระทัยใคร่ผนวช (http://84000.org/tipitaka/picture/p12.jpg) ตั้งแต่เจ้าชายสิทธัตถะทอดพระเนตรเห็นเทวฑูตทั้งสี่แล้ว ทรงตัดสินพระทัยแน่วแน่ว่าจะ เสด็จออกบรรพชาเป็นต้นมา แม้ว่าภายหลังจากนั้นจะทรงเกิดบ่วงขึ้นในพระทัย คือทรงมีพระโอรสและมี ความรัก แต่ความที่ตั้งพระทัยไว้ว่าจะเสด็จออกบวชก็ไม่เปลี่ยนแปลง ในคืนวันเสด็จกลับจากพระราชอุทยาน ปฐมสมโพธิพรรณาไว้ตอนหนึ่งว่า "...วันนั้น สมเด็จ โพธิสัตว์มีพระทัยยินดียิ่งนักในบรรพชา กอปรด้วยพระปัญญาเป็นปราชญ์อันประเสริฐ ปราศจาก อาลัยในเบญจกามคุณ มิได้ยินดีในฟ้อนขับแห่งนางทั้งหลาย อันเป็นที่เจริญหฤทัยเห็นปานดังนั้น ก็หยั่งลง สู่นิทรารมณ์ประมาณมุหุตหนึ่ง.." มุหุตหนึ่งคือครู่หนึ่ง ภายในปราสาทที่เจ้าชายประทับอยู่ สว่างรุ่งเรืองด้วยประทีปโคมไฟที่ "ตามด้วยน้ำมันหอม ส่งสว่างขจ่างจับแสงแก้วแสงทอง..." บรรดานางบำเรอฟ้อนรำขับร้องที่อยู่เฝ้า เมื่อเห็นเจ้าชายบรรทม หลับแล้วต่างก็เอนกายลงนอนทับเครื่องดนตรี มุหุตหนึ่งคือครู่หนึ่ง เจ้าชายตื่นบรรทมแล้วก็ทรงเห็นอาการวิปลาสของนางบำเรอ ที่นอน หลับไม่สำรวม ปฐมสมโพธิพรรณาไว้ว่า "แลนางบางจำพวกก็นอนกลิ้งเกลือก มีเขฬะ (น้ำลาย) อันหลั่ง ไหล นางบางเหล่าก็นอนกรนสำเนียงดังเสียงกา นางบางหมู่ก็นอนเคี้ยวทนต์ นางบางพวกก็นอนละเมอ เพ้อฝันจำนรรจาต่างๆ บางหมู่ก็นอนโอษฐ์อ้าอาการวิปลาส บางเหล่านางก็นอนมีกายเปลือยปราศจากวัตถา สำแดงที่สัมพาธฐานให้ปรากฏ..." เจ้าชายเสด็จจากพระแท่นที่บรรทม เสด็จลุกขึ้นทอดพระเนตรภายในปราสาทที่ประทับ แม้จะสว่างรุ่งเรืองด้วยดวงประทีป และงามตระการด้วยเครื่องประดับ แต่ทรงเห็นเป็นที่มืด และทรง เห็นเป็นดุจป่าช้าผีดิบ สิ่งที่มีชีวิตที่ยังหายใจได้ที่กำลังนอนระเนระนาดปราศจากอาการสำรวมคือ นาง บำเรอปรากฏแก่พระองค์เป็นซากศพผีดิบในสุสาน จึงออกพระโอษฐ์ลำพังพระองค์ว่า "อาตมาจะออกสู่ มหาภิเนษกรมณ์ในสมัยราตรีนี้" แล้วเสด็จไปยังพระทวารปราสาท และตรัสเรียกมหาดเล็กเฝ้าพระ ทวารว่า "ใครอยู่ที่นั่น" หัวข้อ: Re: วิธีสร้างบุญบารมี เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ ธันวาคม 25, 2011, 08:31:51 PM สมุดภาพพระพุทธประวัติ
ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร ภาพที่ ๑๓ เสด็จไปเยี่ยมพระนางพิมพา ซึ่งกำลังบรรทมหลับสนิทเป็นนิมิตอำลาผนวช (http://84000.org/tipitaka/picture/p13.jpg) พอสิ้นพระดำรัสถามของเจ้าชายสิทธัตถะ ก็มีเสียงทูลขานรับ เจ้าของเสียงระบุชื่อ ตัวเองว่า 'ฉันนะ' นายฉันนะ คือ มหาดเล็กคนสนิทของเจ้าสิทธัตถะและเป็นสหชาติ คือเกิดวันเดียวกับเจ้าชายด้วย ถ้าจะอุปมาเรื่องราวของพระพุทธเจ้าเป็นดุจบทละคร นายฉันนะก็เป็นตัวละครที่สำคัญคน หนึ่งในเรื่อง ความสำคัญนั้นคือ เป็นผู้มีส่วนร่วมในการเสด็จออกบวชของพระพุทธเจ้า อีกอย่างหนึ่งที่รู้จัก กันดี คือ เมื่อภายหลังเจ้าชายได้เสด็จออกบวชและได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว นายฉันนะได้โดยเสด็จ ออกบวชด้วย พระฉันนะกลายเป็นพระหัวแข็ง ใครว่ากล่าวไม่ได้นอกจากพระพุทธเจ้าองค์เดียวเพราะพระ ฉันนะถือตัวว่าเป็นข้าเก่า เขาใช้สรรพนามเรียกเจ้าชายสิทธัตถะหรือพระพุทธเจ้าติดปากมาจนกระทั่งบวช เป็นพระอยู่เดียวว่า 'พระลูกเจ้า' ในตอนที่กล่าวนี้ นายฉันนะนอนอยู่ที่ภายนอกห้องบรรทมของเจ้าชาย ศีรษะหนุนกับธรณี พระทวาร เมื่อเจ้าชายรับสั่งให้ไปเตรียมผูกม้า นายฉันนะก็รับพระบัญชารีบลงไปที่โรงม้า ส่วนเจ้าชายผู้ทรงตัดสินพระทัยแน่วแน่แล้วว่าจะเสด็จออกบวช เสด็จไปยังห้องบรรทมของ พระนางพิมพายโสธราผู้ชายาก่อน เมื่อเสด็จไปถึง ทรงเผยบานพระทวารออก ทรงเห็นพระชายากำลัง หลับสนิท พระนางทอดพระกรไว้เหนือเศียรราหุล โอรสผู้เพิ่งประสูติ พระองค์ทรงเกิดความเสน่หาอาลัย ในพระชายาและพระโอรสที่เพิ่งได้ทอดพระเนตรเห็นเป็นครั้งแรกอย่างหนัก ทรงหมายพระทัยว่า "จะทรงยกพระหัตถ์นางผู้ชนนี จะอุ้มเอาองค์โอรส..." ก็ทรงเกรงพระ นางจะตื่นบรรทม และจะเป็นอุปสรรคแก่การเสด็จออกบวช จึงข่มพระทัยเสีย ได้ว่าอย่าเลย เมื่อได้สำเร็จ เป็นพระพุทธเจ้า "จะกลับมาทัศนาการพระพักตร์พระลูกแก้วเมื่อภายหลัง" แล้วเสด็จออกจากที่นั้น ลงจากปราสาทไปยังที่ที่นายฉันนะเตรียมผูกม้าไว้เรียบร้อยแล้ว หัวข้อ: Re: วิธีสร้างบุญบารมี เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ ธันวาคม 25, 2011, 08:32:49 PM สมุดภาพพระพุทธประวัติ
ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร ภาพที่ ๑๔ ทรงปลุกนายฉันนะให้ผูกม้ากัณฐกะ เพื่อประทับเป็นพาหนะเสด็จออกบรรพชา (http://84000.org/tipitaka/picture/p14.jpg) ม้าพระที่นั่งที่เจ้าชายเสด็จขึ้นทรง เพื่อเสด็จออกบวชครั้งนี้ มีชื่อว่า 'กัณฐกะ' เป็นสหชาติ คือเกิดวันเดียวกับเจ้าชาย หนังสือปฐมสมโพธิบอกส่วนยาวของม้านี้ไว้ว่า "ยาวตั้งแต่คอจดท้ายมีประมาณ ๑๘ ศอก" แต่ส่วนสูงกี่ศอก ไม่ได้บอกไว้ บอกแต่ว่า "โดยสูงก็สมควรกับกายอันยาว" และแจ้งถึงลักษณะ อย่างอื่นไว้ว่า "สีขาวบริสุทธิ์ดุจสังข์อันขัดใหม่ ศีรษะนั้นดำดุจสีแห่งกา มีเกศาในมุขประเทศ (หน้า) ขาวผ่องดุจไส้หญ้าปล้องงามสะอาด กอปรด้วยพหลกำลังมาก แลยืนประดิษฐานอยู่บนแท่นแก้วมณี" ความที่ว่านั้นเป็นม้าในวรรณคดีที่กวีพรรณาให้เขื่อง และให้เป็นม้าพิเศษกว่าม้าสามัญ ถ้า ถอดความเป็นอย่างธรรมดาก็ว่ากัณฐกะสูงใหญ่สีขาวเหมือนม้าทรงของจอมจักรพรรดิ หรือบุคคลผู้ทรง ความเป็นเอกในเรื่อง เมื่อเจ้าชายเสด็จเข้าใกล้ม้า ทรงยกพระหัตถ์ขวาลูบหลังกัณฐกะ ท่านว่าม้ากัณฐกะมีความ ยินดีก็เปล่งเสียงร้องดังกึกก้องสนั่นไปทั่วกรุงกบิลพัสดุ์ ดังไปไกลถึงหนึ่งโยชน์ (ประมาณ ๔๐๐ เส้น) โดยรอบ ถ้าเป็นไปตามนี้ ทำไมคนทั้งเมืองจึงไม่ตื่นกัน ท่านผู้รจนาวรรณคดีเรื่องนี้ท่านบอกว่า "เทพยดา ก็กำบังเสียซึ่งเสียงนั้นให้อันตรธานหายไป..." ท่านใช้เทวดาเป็นเครื่องเก็บเสียงม้านั่นเอง ถ้าถอดความจากเรื่องราวของวรรณคดีดังกล่าวออกมาก็คือ เจ้าชายทรงชำนาญในเรื่องม้า มาก ทรงสามารถสะกดม้าไม่ให้ส่งเสียงร้องได้ จากนั้นก็เสด็จขึ้นหลังกัณฐกะ บ่ายพระพักตร์ออกไปทางประตูเมืองที่ชื่อ 'พระยาบาลทวาร' โดยมีนายฉันนะมหาดเล็กตามเสด็จไปข้างหลัง วันที่เสด็จออกบวชนั้น หนังสือปฐมสมโพธิบอกว่าเป็นวัน เพ็ญเดือน ๘ ท่านว่า "พระจันทร์แจ่มในท่ามกลางคัคนาดลประเทศ (ท้องฟ้า) ปราศจากเมฆ ภายใน ห้องจักรวาลก็ขาวผ่องโอภาสด้วยนิศากรรังสี" นิศากรรังสี คือ แสงจันทร์ในวันเพ็ญ หัวข้อ: Re: วิธีสร้างบุญบารมี เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ ธันวาคม 25, 2011, 08:33:48 PM สมุดภาพพระพุทธประวัติ
ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร ภาพที่ ๑๕ พระยามารห้ามบรรพชาว่า อีก ๗ วันจะได้เสวยสมบัติบรมจักรแต่ไม่ทรงฟัง (http://84000.org/tipitaka/picture/p15.jpg) เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จทรงม้าพระที่นั่งผ่านประเทศออกมาในเวลาราตรี ที่มีแสงจันทร์ กระจ่าง ก็มีเสียงคล้ายเสียงดนตรีขึ้นที่ข้างประตูนอกเมือง เสียงนั้นร้องห้ามเจ้าชายมิให้เสด็จออกบวช เจ้าชายสิทธัตถะ "ท่านนี้มีนามชื่อใด" เจ้าของเสียง "เราชื่อวัสสวดีมาร" พระยามารแจ้งข่าวให้เจ้าชายทรงทราบว่า อีกเจ็ดวันในเบื้องหน้า นับแต่วันนี้เป็นต้นไป จักรแก้วจักเกิดขึ้น ผู้จะได้เป็นเจ้าของจักรแก้วนั้นคือเจ้าชาย จักรแก้วตามความหมายของพระยามารใน ที่นี้คือ ความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ เจ้าชาย "เรื่องนี้เราทราบแล้ว" พระยามาร "ถ้าเช่นนั้น ท่านจะเสด็จออกบวชเพื่อประโยชน์อันใด" เจ้าชาย "เพื่อสัพพัญญุตญาณ" สัพพัญญุตญาณตามความหมายในพระดำรัสของเจ้าชาย คือ ความได้สำเร็จเป็นพระ พุทธเจ้า ความที่บรรยายมาทั้งหมดนั้น บรรยายตามความในวรรณคดีที่กวีท่านแต่ไว้ในปฐมสมโพธิ และที่พระพุทธโฆษาจารย์รจนาไว้ในอรรถกถาธรรมบท โดยท่านสาธกให้เห็นเป็นปุคคลาธิษฐาน ปุคคลาธิษฐาน คือ การแปลสิ่งที่มองไม่เห็นด้วยตา หรือสัมผัสไม่ได้ด้วยประสาททั้ง ๕ ที่เรียกว่า 'นามธรรม' แปลออกมาให้เป็นฉาก เป็นบุคคลซึ่งเป็นตัวแสดงในเรื่อง เหมือนนักเขียน นวนิยายที่ถ่ายทอดความรู้สึกออกมาตัวละคร ถ้าไม่สาธกอย่างนี้คนก็จะไม่เข้าใจ และท้องเรื่องก็จะจืด หัวข้อ: Re: วิธีสร้างบุญบารมี เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ ธันวาคม 25, 2011, 08:34:56 PM สมุดภาพพระพุทธประวัติ
ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร ภาพที่ ๑๖ ทรงตัดโมลีถือเพศบรรพชา ณ ฝั่งน้ำอโนมา ฆฏิการพรหมถวายอัฐบริขาร (http://84000.org/tipitaka/picture/p16.jpg) เจ้าชายสิทธัตถะพร้อมด้วยนายฉันนะที่ตามเสด็จ ทรงขับม้าพระที่นั่งไปตลอดคืน ไป สว่างเอาที่แม่น้ำแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นเขตแดนกั้นเมืองทั้ง ๓ คือ กบิลพัสดุ์ สาวัตถี และไพศาลี ทรงถาม นามแม่น้ำนี้กับนายฉันนะ นายฉันนะกราบทูลว่า "พระลูกเจ้า! แม่น้ำนี้มีชื่อว่า อโนมานที พระเจ้าข้า" ทรงพาม้าและมหาดเล็กข้ามแม่น้ำ แล้วเสด็จลงจากหลังม้าประทับนั่งบนหาดทราย อัน ขาวดุจแผ่นเงิน พระหัตถ์ขวาจับพระขรรค์แสงดาบ พระหัตถ์ซ้ายจับพระจุฬา คือ ยอดหรือปลาย พระเกศา กับพระโมฬี คือ มุ่นพระเกศา หรือผมที่มุ่นเป็นมวย แล้วทรงตัดด้วยพระขรรค์แสงดาบ เหลือพระเกศาไว้ยาวประมาณ ๒ นิ้ว เป็นวงกลมเวียนไปทางขวา เสร็จแล้วทรงเปลื้องพระภูษาทรงออก แล้วทรงครองผ้ากาสาวพัสตร์ที่ฆฏิการพรหมนำ มาถวายพร้อมด้วยเครื่องบริขารอย่างอื่นของนักบวช แล้วทรงอธิษฐานเพศเป็นนักบวชที่บนหาดทราย ริมฝั่งแม่น้ำอโนมานั่นเอง ทรงมอบพระภูษาทรง และม้าพระที่นั่งให้นายฉันนะนำกลับไปกราบทูลแจ้งข่าวแก่พระ ราชบิดาให้ทรงทราบ นายฉันนะมีความอาลัยรักองค์ผู้เป็นเจ้านาย ถึงร้องไห้กลิ้งเกลือกแทบพระบาท ไม่อยากกลับไป แต่ขัดรับสั่งไม่ได้ ด้วยเกรงพระอาญา เจ้าชายหรือตั้งแต่นี้เป็นต้นไป หนังสือพุทธประวัติเรียกว่า 'พระมหาบุรุษ' ทรงลูบหลัง ม้าที่กำลังจะจากพระองค์กลับเมือง ม้าน้ำตาไหลอาบหน้า แล้วแลบชิวหาออกเลียพื้นฝ่าพระบาทของ พระองค์ผู้เคยทรงเป็นเจ้าของ ทั้งม้าทั้งคนคือนายฉันนะน้ำตาอาบหน้า ข้ามน้ำกลับมาเมือง แต่พอลับพระเนตรพระ มหาบุรุษ ม้ากัณฐกะก็หัวใจแตกออก ๗ ภาค หรือหัวใจวายตาย นายฉันนะจึงปลดเครื่องม้าออก แล้ว นำดอกไม้ป่ามาบูชาศพพญาสินธพ แล้วฉันนะก็หอบพระภูษาทรงและเครื่องม้าเดินร้องไห้กลับเมืองคน เดียว หัวข้อ: Re: วิธีสร้างบุญบารมี เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ ธันวาคม 25, 2011, 08:35:54 PM สมุดภาพพระพุทธประวัติ
ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร ภาพที่ ๑๗ เสด็จจาริกผ่านกรุงราชคฤห์ มหาชนเห็นแล้วโจษจันกันทั่วเมือง (http://84000.org/tipitaka/picture/p17.jpg) เมื่อนายฉันนะ มหาดเล็กผู้ซื่อสัตย์กลับคืนไปแจ้งข่าวทางเมืองกบิลพัสดุ์แล้ว พระมหา บุรุษ หรือก่อนแต่นี้คือเจ้าชายสิทธัตถะ เสด็จจากหาดทรายชายฝั่งแม่น้ำอโนาไปยังตำบลที่มีป่ามะม่วง มากแห่งหนึ่ง ที่เรียกโดยชื่อว่า 'อนุปิยอัมพวัน' ตำบลนี้อยู่ในเขตแขวงมัลลชนบท ประทับอยู่ที่นี่ หนึ่ง สัปดาห์ ในวันที่ ๘ จึงเสด็จจารึกเข้าแคว้นมคธไปโดยลำดับจนถึงกรุงราชคฤห์ ซึ่งเป็นเมืองหลวง ของแคว้นนี้ในสมัยนั้น แคว้นมคธเป็นแคว้นใหญ่ มั่งคั่ง มากด้วยพลเมืองและมีอำนาจมากเท่าเทียบกับอีกแคว้น หนึ่ง ในสมัยเดียวกันนี้คือ แคว้นโกศล ซึ่งมีกรุงสาวัตถีเป็นเมืองหลวง กษัตริย์ผู้เป็นใหญ่ของกรุงราชคฤห์แห่งแคว้นมคธ ในสมัยที่กล่าวนี้ทรงพระนามว่า พระ เจ้าพิมพิสาร ทรงมีพระชนมายุรุ่นราวคราวเดียวกับพระมหาบุรุษ ขณะที่กล่าวนี้จึงทรงเป็นกษัตริย์หนุ่ม เวลาเช้า พระมหาบุรุษเสด็จเข้าเมือง ชาวเมืองเกิดอาการที่ปฐมสมโพธิรายงานไว้ว่า "ตื่นเอิกเกริก โกลาหลทั่วพระนคร" เพราะได้เห็นนักบวชที่ทรงรูปสิริลักษณะเลิศบุรุษ จะว่าเป็นเทวดา หรือ นาค สุบรรณ (ครุฑ) คนธรรพ์ ทานพ (อสูรจำพวกหนึ่งในนิยาย) ประการใดก็มิได้รู้ เข้ามาสู่ พระนคร เที่ยวโคจรบิณฑบาตประหลาดนัก ต่างก็โจษจันกันทั่วเมือง เจ้าชายสิทธัตถะ หรือขณะนี้คือพระมหาบุรุษ และต่อมาคือพระพุทธเจ้า ทรงเกิด ใน ขัตติยสกุล คือสกุลกษัตริย์ ทรงเป็นอุภโตสุชาต คือ ทรงมีพระชาติกำเนิดเป็นกษัตริย์บริสุทธิ์ทั้งฝ่าย พระบิดาและฝ่ายมารดา ทรงมีผิวพรรณที่ภาษาบาลี เรียกว่า 'กาญจนวัณโณ' แปลตามตัวว่าผิวทอง ความหมายก็คือผิวเหลืองขาว ทรงมีพระรูปโฉมสง่างาม ถึงแม้จะทรงปลงพระเกศา และพระมัสสุ และทรงนุ่มห่มผ้ากาสาวพัสดุ์อย่างนักบวชผู้สละทิ้งความงามทางฆราวาสวิสัยแล้วก็ตาม แต่พระอาการ กิริยาเวลาเสด็จดำเนินก็ยังคงลีลาของกษัตริย์ชัดเจน คือสง่างามผิดแผกสามัญชน เพราะเหตุนี้ เมื่อชาวเมืองราชคฤห์ได้เห็น จึงแตกตื่นกัน จนความทราบไปถึงพระเจ้าพิม พิสาร ผู้เป็นพระราชาธิบดีแห่งกรุงราชคฤห์ หัวข้อ: Re: วิธีสร้างบุญบารมี เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ ธันวาคม 25, 2011, 08:36:49 PM สมุดภาพพระพุทธประวัติ
ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร ภาพที่ ๑๘ พระเจ้าพิมพิสารเสด็จไปเฝ้า ทูลของปฏิญาณว่าถ้าตรัสรู้แล้วขอให้มาโปรดก่อน (http://84000.org/tipitaka/picture/p18.jpg) พระเจ้าพิมพิสารได้ทราบครามที่ชาวเมืองต่างโจษจันกันถึงเรื่องนักบวชหนุ่มผู้ทรงความ สง่างามผิดจากนักบวชอื่นๆ เข้ามาในเมือง จึงทรงสั่งเจ้าพนักงานไปสืบความดู หนังสือปฐมสมโพธิ เรียบเรียงพระดำรัสสั่งของพระเจ้าพิมพิสารตอนนี้ไว้ว่า "ท่านจงสะกดตามบทจรไปดู ให้รู้ตระหนักแน่ แม้เป็นเทพยดาก็จะเหาะไปในอากาศ ผิวะเป็นพญานาคก็ชำแรกปฐพีไปเป็นแท้ แม้ว่าเป็นมนุษย์ ก็จะไปนั่งบริโภคภัตตาหารโดยควรประมาณ แก่ตนได้ จงไปพิจารณาดูให้รู้เหตุประจักษ์" ฝ่ายมหาบุรุษเมื่อทรงรับอาหารบิณฑบาตพอควรจากชาวเมืองแล้ว ก็เสด็จออกจากเมืองไป ที่เงื้อมภูเขานอกเมืองแห่งหนึ่ง แล้วทรงตั้งสติพิจารณาปรารภที่จะเสวยอาหารที่ทรงได้มาจากการเสด็จ บิณฑบาต อาหารที่ว่าเป็นจำพวกที่เรียกว่า 'มิสกภัตร' คือ อาหารที่คละระคนปนกันทุกชนิด ทั้งดีและ เลว ทั้งน้ำและแห้ง ทั้งคาวและหวาน พระมหาบุรุษทรงเห็นแล้วทรงเกิดพระอาการอย่างหนึ่ง ซึ่งปฐมสมโพธิพรรณาไว้ว่า "ปานประหนึ่งลำไส้ใหญ่จะกลับออกทางพระโอษฐ์ เหตุพระองค์เคยเสวยประณีตโภชนาหาร ปานประ ดุจ ทิพย์สุธาโภชน์..." แต่ทรงข่มพระทัยด้วยคุณธรรมของนักบวชเสียได้ จึงเสวยอาหารนั้นอย่างปกติ พระเจ้าพิมพิสารกับพระมหาบุรุษทรงเป็น 'อทิฏฐสหาย' กัน แปลว่า ทรงเป็นพระสหาย ที่เคยแต่ได้ยินพระนามกันมาก่อน แต่ไม่เคยเห็นกันและกัน เมื่อทรงทราบเรื่องจากเจ้าพนักงานกราบทูล ให้ทรงทราบแล้ว พระเจ้าพิมพิสารจึงเสด็จไปเฝ้าพระมหาบุรุษ ทรงทราบว่าเป็นเจ้าชายจากศากยสกุล จึงตรัสเชิญพระมหาบุรุษให้เสด็จอยู่ครองเมืองด้วยกัน พระมหาบุรุษทรงปฏิเสธและทรงแจ้งถึงความ แน่วแน่ในพระทัยที่จะแสวงหาความตรัสรู้ พระเจ้าพิมพิสารจึงตรัสขอปฏิญาณว่า ถ้าได้ตรัสรู้แล้วขอให้เสด็จมาโปรด พระมหาบุรุษ ทรงรับปฏิญาณนั้น หัวข้อ: Re: วิธีสร้างบุญบารมี เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ ธันวาคม 27, 2011, 09:36:43 PM สมุดภาพพระพุทธประวัติ
ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร ภาพที่ ๑๙ เสด็จไปศึกษาลัทธิฤาษีชีป่ากับอาฬารดาบส เห็นว่ามิใช่ทางตรัสรู้ (http://84000.org/tipitaka/picture/p19.jpg) ในสมัยที่กล่าวนี้ แคว้นมคธมีนักบวชที่ตั้งตนเป็นคณาจารย์ต่างๆ ที่มีชื่อเสียงมากคณะ ด้วยกัน แต่ละคณะต่างก็มีศิษย์สาวกและมีคนนับถือมาก กรุงราชคฤห์ก็เป็นที่สัญจรจาริกผ่านไปมาของ เจ้าลัทธิต่างๆ เพื่อเผยแพร่ลัทธิของตนให้คนเลื่อมใส คณาจารย์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุด ตอนเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกบวช ซึ่งอยู่ในแคว้นนี้มีสอง คณะด้วยกันคือ คณะอาฬารดาบสกาลาม และคณะอุทกดาบสรามบุตร ทั้งสองคณะนี้ตั้งอาศรม สอนศิษย์อยู่ในป่านอกเมือง พระมหาบุรุษจึงเสด็จไปยังที่นี่ เพื่อทรงศึษาเล่าเรียนและทดลองดูว่าจะเป็นทางตรัสรู้หรือ ไม่ เสด็จไปทรงศึกษาที่สำนักแรกก่อน ทรงศึกษาจนสิ้นความรู้ของท่านคณาจารย์เจ้าสำนักแล้ว ทรงเห็น ว่ายังมิใช่ทางตรัสรู้ จึงเสด็จไปทรงศึกษาในสำนักคณาจารย์ที่สอง ทรงได้ความรู้เพิ่มเติมขึ้นนิดหน่อย แต่ก็ได้เพียงสมาบัติแปด 'สมาบัติ' หมายถึง ฌาณ คือวิธีทำจิตให้เป็นสมาธิ มีตั้งแต่อย่างหยาบขึ้นไปจนถึงละเอียด ที่สุด ทั้งหมดมีแปดขั้นด้วยกัน ทรงเห็นว่า จิตใจในระดับนี้ก็ยังอยู่ในชั้นของโลกีย์ ปุถุชนสามารถมีได้ แต่มีแล้วยังเสื่อมได้ ยังไม่ใช่โลกุตตระคือทางหลุดพ้น ท่านคณาจารย์ทั้งสองสำนักชวนพระมหาบุรุษให้อยู่ด้วยกัน เพื่อช่วยสั่งสอนศิษย์สาวกต่อไป ทั้งสองท่านสรรเสริญพระมหาบุรุษว่าทรงมีความรู้ยอดเยี่ยมเทียบกับตน แต่พระมหาบุรุษทรงปฏิเสธคำ เชิญชวนนั้นเสีย เมื่อทรงทดลองลัทธิของคณาจารย์ที่มหาชนยกย่องนับถือว่ามีความรู้สูงสุด แต่ทรงเห็นว่า มิใช่ทางตรัสรู้ได้ด้วยพระปรีชาญาณของพระองค์ พระมหาบุรุษจึงทรงดำริจะลองทดลองสิ่งที่นักบวช นักพรตจำนวนมากสมัยนั้นนิยมปฏิบัติกัน ว่าจะเป็นทางตรัสรู้หรือไม่ ทางนั้นก็คือทุกกรกิริยา ที่หมายถึง การบำเพ็ญเพียรที่เข้มงวด เกินที่วิสัยสามัญมนุษย์จะทำได้ ที่คนทั่วไปเรียกว่าทรมานตนให้ได้รับความ ลำบากนั่นเอง หัวข้อ: Re: วิธีสร้างบุญบารมี เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ ธันวาคม 27, 2011, 09:40:31 PM สมุดภาพพระพุทธประวัติ
ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร ภาพที่ ๒๐ เสด็จถึงอุรุเวลาเสนานิคมอันสงัดเงียบ ทรงพอพระทัยประทับบำเพ็ญเพียรที่นั่น (http://84000.org/tipitaka/picture/p20.jpg) พระมหาบุรุษทรงอำลาท่านคณาจารย์ทั้งสองแล้วออกจากที่นั่น แล้วเสด็จจาริกแสวงหาที่ สำหรับทรงบำเพ็ญเพียร เพื่อทดลองทุกกรกิริยาที่คนสมัยนั้นนิยมทำกันดังกล่าว แล้วเสด็จไปถึงตำบล แห่งหนึ่ง ซึ่งอยู่ในเขตแขวงมคธเหมือนกัน มีนามว่า 'อุรุเวลาเสนานิคม' อุรุเวลา แปลว่า กองทราย เสนานิคม แปลว่า ตำบล หมู่บ้าน พื้นที่ตำบลแห่งนี้เป็นที่ราบรื่น มีแนวป่าเขียวสด เป็นที่น่าเบิกบานใจ มีแม่น้ำเนรัญชรา น้ำ ไหลใสสะอาด มีท่าสำหรับลงอาบ มีหมู่บ้านตั้งอยู่โดยรอบ ไม่ใกล้เกินไป และไม่ไกลเกินไป เหมาะสำหรับ เป็นที่อาศัยเที่ยวบิณฑบาตของนักบวชบำเพ็ญพรต อุรุเวลาเสนานิคม ถ้าจะเรียกอย่างไทยเราก็คงจะเรียกได้ว่า 'หมู่บ้านกองทราย' หรือหมู่บ้าน ทรายงาม อะไรอย่างนั้น คัมภีร์อรรถกถาชื่อ 'สมันตปสาทิกา' เล่ม ๓ ซึ่งพระพุทธโฆษาจารย์ชาวอินเดีย สมัยหลัง พระพุทธเจ้านิพพานแล้วเป็นผู้แต่ง ได้เล่าประวัติของกองทรายที่ตำบลนี้ไว้ว่า ในอดีตสมัย ที่นี่เคยเป็นที่ บำเพ็ญเพียรของพวกนักพรตจำนวนมาก นักพรตที่มาตั้งอยู่ที่นี่ตั้งระเบียบข้อบังคับปกครองกันเองไว้ว่า ความผิดของคนที่แสดงออกทางกายและวาจานั้นพอมองเห็นได้ ส่วนทางใจไม่มีใครมองเห็นเลย ใครจะ คิดผิดคิดชั่วอย่างไรก็มองไม่เห็น ลงโทษว่ากล่าวกันก็ไม่ได้ เพราะฉะนั้น ถ้าใครเกิดคิดชั่ว เช่น เกิด อารมณ์ความใคร่ขึ้นมาเมื่อใดละก็ ขอให้ผู้นั้นลงโทษตัวเอง โดยวิธีนำบาตรไปตักเอาทรายมาเทกองไว้ หนึ่งคนหนึ่งครั้ง ครั้งละหนึ่งบาตร เป็นการประจานตัวเองให้คนอื่นรู้ ด้วยเหตุนี้ ภูเขากองทราย หรือ อุรุเวลา ซึ่งเสมือนหนึ่งอนุสรณ์แห่งกองกิเลสของพระฤาษีเก่าก่อนจึงเกิดขึ้น สมัยพระพุทธเจ้า บริเวณตำบลบ้านแห่งนี้ยังเรียกว่า 'อุรุเวลาเสนานิคม' แต่มาสมัยหลัง กระทั่งทุกวันนี้เรียกบริเวณตำบลแห่งนี้ว่า 'พุทธคยา' ซึ่งปัจจุบันวัดไทยพุทธคยาก็ตั้งอยู่ที่นั่น พระมหาบุรุษทรงเลือกตำบลนี้เป็นที่บำเพ็ญทุกกรกิริยา ซึ่งเป็นบททดลองอีกบทหนึ่งว่าจะ เป็นทางตรัสรู้หรือไม่ หัวข้อ: Re: วิธีสร้างบุญบารมี เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ ธันวาคม 27, 2011, 09:43:30 PM สมุดภาพพระพุทธประวัติ
ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร ภาพที่ ๒๑ ทรงบำเพ็ญทุกกรกิริยา ปัญจวัคคีย์เฝ้าปฎิบัติ พระอินทร์ดีดพิณถวายข้ออุปมา (http://84000.org/tipitaka/picture/p21.jpg) ตอนนี้เป็นตอนที่พระมหาบุรุษบำเพ็ญทุกกรกิริยา กลุ่มคนที่นั่งอยู่เบื้องหน้าพระพักตร์นั้นคือ คณะปัญจวัคคีย์ มี ๕ คนด้วยกัน คือ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสสชิ ทั้งหมดตาม เสด็จพระมหาบุรุษออกมาเพื่อเฝ้าอุปัฏฐาก ส่วนผู้ที่ถือพิณอยู่บนอากาศนั้นคือพระอินทร์ คนหัวหน้าคือโกณฑัญญะ เป็นคนหนึ่งในจำนวนพราหมณ์ ๘ คน ที่เคยทำนายพระลักษณะ ของเจ้าชายสิทธัตถะ ตอนนั้นยังหนุ่ม แต่ตอนนี้แก่มากแล้ว อีก ๔ คน เป็นลูกของพราหมณ์ ที่เหลือ คือ ในจำนวนพราหมณ์ ๗ คนนั้น ทุกกรกิริยาเป็นพรตอย่างหนึ่งซึ่งนักบวชสมัยนั้นนิยมทำกัน มีตั้งแต่อย่างต่ำธรรมดา จนถึง ขั้นอาการปางตายที่เกินวิสัยสามัญมนุษย์จะทำได้อย่างยิ่งยวด ปางตาย คือ กัดฟัน กลั้นลมหายใจเข้าออก และอดอาหาร พระมหาบุรุษทรงทดลองดูทุกอย่าง จนบางครั้ง เช่น คราวลดเสวยอาหารน้อยลงๆ จนถึง งดเสวยเลย แทบสิ้นพระชนม์ พระกายซูบผอม พระโลมา (ขน) รากเน่าหลุดออกมา เหลือแต่หนังหุ้ม กระดูก เวลาเสด็จดำเนินถึงกับซวนเซล้มลง ทรงทดลองดูแล้วก็ทรงประจักษ์ความจริง ความจริงที่ว่านี้ กวีท่านแต่งเป็นปุคคลาธิษฐาน คือ พระอินทร์ถือพิณสามสายมาทรงดีดให้ฟัง สายพิณที่หนึ่งลวดขึงตึงเกินไปเลยขาด สายที่สองหย่อน เกินไปดีดไม่ดัง สายที่สามไม่หย่อนไม่ตึงนัก ดีดดัง เพราะ พระอินทร์ดีดพิณสายที่สาม (มัชฌิมาปฏิปทา) ดังออกมาเป็นความว่า ไม้สดแช่อยู่ในน้ำ ทำอย่างไรก็สีให้เกิดไฟไม่ได้ ถึงอยู่บนบก แต่ยังสด ก็สีให้เกิดไฟไม่ได้ ส่วนไม้แห้งและอยู่บนบกจึงสีให้ เกิดไฟได้ อย่างแรกเหมือนคนยังมีกิเลสและอยู่ครองเรือน อย่างที่สองเหมือนคนออกบวชแล้ว แต่ใจยัง สดด้วยกิเลส อย่างที่สามเหมือนคนออกบวชแล้วใจเหี่ยวจากกิเลส พอทรงเห็นหรือได้ยินเช่นนั้น พระมหาบุรุษจึงทรงเลิกบำเพ็ญทุกกรกิริยา ซึ่งเป็นความ เพียรทางกาย แล้วเริ่มกลับเสวยอาหารเพื่อบำเพ็ญความเพียรทางใจ พวกปัญจวัคคีย์ทราบเข้าก็เกิดเสื่อม ศรัทธา หาว่าพระมหาบุรุษคลายความเพียรเวียนมาเพื่อกลับเป็นผู้มักมากเสียแล้ว เลยพากันละทิ้งหน้าที่ อุปัฏฐากหนีไปอยู่ที่อื่น หัวข้อ: Re: วิธีสร้างบุญบารมี เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ ธันวาคม 27, 2011, 09:48:09 PM สมุดภาพพระพุทธประวัติ
ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร ภาพที่ ๒๒ เช้าวันตรัสรู้ นางสุชาดากับทาสีมาถวายข้าวมธุปายาส โดยสำคัญว่าเทวดา (http://84000.org/tipitaka/picture/p22.jpg) นับตั้งแต่พระมหาเสด็จออกบวชเป็นต้นมาจนถึงวันที่เห็นอยู่ในภาพนี้ เป็นเวลาย่างเข้าปีที่ ๖ ตอนนี้พระมหาบุรุษเริ่มเสวยอาหารจนพระวรกายมีกำลังเป็นปกติแล้ว และวันนี้เป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ก่อนพระพุทธเจ้านิพพาน ๔๕ ปี สตรีที่กำลังถวายของแด่พระมหาบุรุษคือนางสุชาดา เป็นธิดาของคหบดี ผู้หนึ่งในหมู่บ้าน ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ของที่นางถวายคือข้าวมธุปายาส คือ ข้าวที่หุงด้วยนมโคล้วน เป็นอาหารจำพวกมังสวิรัติ ไม่ปนเนื้อ ไม่เจือปลา ใช้สำหรับบวงสรวงเทพเจ้าโดยเฉพาะ ปฐมสมโพธิเล่าว่า นางสุชาดาเคยบนเทพเจ้าไว้ที่ต้นไทรเพื่อให้ได้สามีผู้มีชาติสกุลเสมอกัน และได้ลูกที่มีบุญ เมื่อนางได้สมปรารถนาแล้ว จึงหุงข้าวมธุปายาสเพื่อแก้บน ก่อนถึงวันหุง นางสุชาดา สั่งคนงานให้ไล่ต้อนฝูงโคนมจำนวนหนึ่งพันตัวเข้าไปเลี้ยงในป่าชะเอมเครือ ให้แม่โคกินชะเอมเครือ กิน อิ่มแล้วไล่ต้อนออกมา แล้วแบ่งแม่โคนมออกเป็นสองฝูงๆ ละ ๕๐๐ ตัว แล้วรีดเอานมจากแม่โคนมฝูง หนึ่งมาให้แม่โคนมอีกฝูงหนึ่งกิน แบ่งและคัดแม่โคนมอย่างนี้เรื่อยๆ ไปจนเหลือแม่โคนม ๘ ตัว เสร็จ แล้วจึงรีดน้ำนมจากแม่โคนมทั้ง ๘ มาหุงข้าวมธุปายาส หุงเสร็จแล้ว นางสุชาดาสั่งให้นางทาสีหญิงรับใช้ไปทำความสะอาดปัดกวาดบริเวณต้นไทร นางทาสีไปแล้วกลับมารายงานให้นางสุชาดาทราบว่า เวลานี้รุกขเทพเจ้าที่จะรับเครื่องสังเวยได้สำแดงกาย ให้ปรากฏ นั่งรออยู่ที่โคนต้นไทรแล้ว นางสุชาดาดีใจเป็นกำลัง จึงยกถาดข้าวมธุปายาสขึ้นทูนหัวเดินมาที่ ต้นไทรพร้อมกับนางทาสี ก็ได้เห็นจริงอย่างนางทาสีเล่า นางจึงน้อมถาดข้าวมธุปายาสเข้าไปถวาย พระ มหาบุรุษทรงรับแล้วพระเนตรดูนาง นางทราบพระอาการกิริยาว่า พระมหาบุรุษไม่มีบาตรหรือภาชนะ อย่างอื่นรับอาหาร นางจึงกล่าวคำมอบถวายข้าวมธุปายาสพร้อมทั้งถาดนั้น ถวายเสร็จแล้วก็ไหว้ แล้วเดินกลับบ้านด้วยความยินดี และด้วยความสำคัญหมายว่า พระ มหาบุรุษนั้นเป็นรุกขเทพเจ้า หัวข้อ: Re: วิธีสร้างบุญบารมี เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ ธันวาคม 27, 2011, 09:53:37 PM สมุดภาพพระพุทธประวัติ
ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร ภาพที่ ๒๓ ทรงลอยถาด ถาดจมลงไปกระทบกับถาดเดิม ๓ ใบ พญานาคก็รู้ว่า พระพุทธเจ้าจะมาตรัสรู้ (http://84000.org/tipitaka/picture/p23.jpg) เมื่อนางสุชาดากลับไปบ้านแล้ว พระมหาบุรุษเสด็จลุกขึ้นจากอาสนะ ทรงถือถาดทองข้าว มธุปายาส เสด็จไปยังริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา เสด็จลงสรงน้ำ แล้วขึ้นมาประทับนั่งริมฝั่ง ทรงปั้นข้าว มธุปายาสออกเป็นปั้น รวมได้ ๔๙ ปั้น แล้วเสวยจนหมด ปฐมสมโพธิว่า 'เป็นอาหารที่คุ้มไปได้ ๗ วัน ๗ หน' เสร็จแล้วทรงลอยถาดและทรงอธิษฐานว่า ถ้าจะได้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า ขอให้ถาดจงลอย ทวนกระแสน้ำขึ้นไปไกลถึง ๘๐ ศอก ไปจนถึงวังน้ำวนแห่งหนึ่ง ถาดนั้นจึงจมดิ่งหายไปจนถึงพิภพของ กาฬนาคราช กระทบกับถาดสามใบของพระพุทธเจ้าในอดีตสามพระองค์เสียงดังกริ๊ก พระพุทธเจ้าในอดีตสามพระองค์นั้นคือ พระกกุสันธะ พระโกนาคมน์ และพระกัสสปะ พระ มหาบุรุษกำลังจะเป็นองค์ที่ ๔ กาฬนาคราชหลับมาตั่งแต่สมัยพระพุทธเจ้าในอดีต จะตื่นทุกครั้งที่ได้ยินเสียงถาด พอได้ยิน ก็รู้ได้ว่าพระพุทธเจ้าองค์ใหม่เกิดในโลกแล้ว คราวนี้ก็เหมือนกัน เมื่อได้ยินเสียงถาดของพระมหาบุรุษก็ งัวเงียขึ้นแล้วงึมงำว่า "เมื่อวานนี้พระชินสีห์ (หมายถึงพระกัสสปพุทธเจ้า) อุบัติในโลกพระองค์หนึ่ง แล้ว ซ้ำบังเกิดอีกพระองค์หนึ่งเล่า" ลุกขึ้นมาไหว้พระพุทธเจ้าเกิดใหม่ แล้วก็หลับต่อไปอีก ความที่กล่าวมาถึงตอนพระมหาบุรุษทรงลอยถาด แล้วถาดลอยทวนกระแสน้ำจนถึง กาฬนาค ราชได้บาดาลได้ยินเสียงถาดตกลงนั้น ท่านพรรณาเป็นปุคคลาธิษฐานถ้าถอดความเป็นธรรมาธิษฐานก็ได้ ความอย่างนี้คือ ถาดนั้นคือพระศาสนาของพระพุทธเจ้า แม่น้ำคือ โลกหรือคนในโลก คำสั่งสอนหรือพระ ศาสนาของพระพุทธเจ้า พาคนไหลทวนกระแสโลกไปสู่กระแสนิพพาน คือความพ้นทุกข์ที่ไม่มีเกิด แก่ เจ็บ และตาย ส่วนกระแสโลกไหลไปสู่ความเกิด แก่ เจ็บ และตาย พญานาคใต้บาดาลผู้หลับใหล คือสัตวโลกที่ หนาแน่นด้วยกิเลส เมื่อพระพุทธเจ้าทรงอุบัติบังเกิดขึ้นมาในโลกก็รู้ว่าเป็นพระพุทธเจ้า รู้แล้วก็หลับใหลไป ด้วยอำนาจแห่งกิเลสต่อไปอีก หัวข้อ: Re: วิธีสร้างบุญบารมี เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ ธันวาคม 27, 2011, 09:57:06 PM สมุดภาพพระพุทธประวัติ
ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร ภาพที่ ๒๔ เสด็จกลับจากลอยถาด ทรงรับหญ้าคาซึ่งพราหมณ์โสตถิยะถวายในระหว่างทาง (http://84000.org/tipitaka/picture/p24.jpg) เสร็จจากทรงลอยถาดอธิษฐานแล้ว เวลาสายขึ้น แดดเริ่มจัด พระมหาบุรุษจึงเสด็จจากชาย ฝั่งแม่น้ำเนรัญชราเข้าไปยังดงไม้สาละ ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากแม่น้ำแห่งนี้ ประทับอยู่ที่นี่ตลอดเวลากลางวัน เวลา บ่ายเกือบเย็นจึงเสด็จไปยังต้นพระศรีมหาโพธิ์ พระศรีมหาโพธิ์เป็นต้นไม้ประเภทต้นโพธิ์ที่เราเห็นอยู่ในเมืองไทย ในป่าก็มี แต่ส่วนมากมี ตามวัด ก่อนพระพุทธเจ้าตรัสรู้ไม่ได้เรียกว่าพระศรีมหาโพธิ์ แต่เรียกโดยชื่อตามภาษาพื้นเมือง ๒ อย่าง อย่างหนึ่งเป็นภาษาชาวบ้านเรียกว่า 'ต้นปีบปัน' อีกอย่างหนึ่งเป็นภาษาหนังสือเรียกว่า 'ต้นอัสสถะ' หรือ 'อัสสัตถพฤกษ์' เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วจึงเรียกว่า 'โพธิ์' แปลว่า ต้นไม้เป็นที่อาศัยตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ต่อมาเพิ่มคำนำหน้าขึ้นอีกเป็น มหาโพธิ์บ้าง พระศรีมหาโพธิ์บ้าง และว่าเป็นต้นไม้สหชาติของพระพุทธเจ้า คือ เกิดพร้อมกันในวันที่พระพุทธเจ้าสมัยที่เป็นเจ้าชายสิทธัตถะประสูติดังได้เคยเล่าไว้แล้ว ระหว่างทางเสด็จไปยังโคนต้นพระศรีมหาโพธิ์ พระมหาบุรุษได้สวนทางกับชายผู้หนึ่งซึ่งอยู่ ในวรรณะพราหมณ์ชื่อโสตถิยะ พราหมณ์โสตถิยะเดินถือกำหญ้าคามา ๘ กำ ได้ถวายหญ้าคาทั้ง ๘ กำแก่ พระมหาบุรุษ พระมหาบุรุษทรงรับ แล้วทรงนำไปปูเป็นอาสนะสำหรับประทับนั่งที่โคนต้นพระศรีมหาโพธิ์ พระมหาบุรุษประทับนั่งขัดสมาธิ พระบาทขวาวางทับพระบาทซ้าย และพระหัตถ์ขวาทับ พระหัตถ์ซ้าย ผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก ผินพระปฤษฎางค์ คือ หลัง ไปทางำต้นพระศรีมหาโพธิ์ แล้วทรงตั้งพระทัยเป็นสัจจะแน่วแน่ว่า "ถ้าเรายังไม่ได้บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณตราบใด เราจักไม่ยอมลุกขึ้นตราบนั้น แม้ว่าเนื้อ และเลือดจะเหือดแห้งไปเหลือแต่หนัง เอ็น และกระดูกก็ตามที" หัวข้อ: Re: วิธีสร้างบุญบารมี เริ่มหัวข้อโดย: paul711 ที่ ธันวาคม 28, 2011, 12:44:06 AM angel.gif ขอบคุณมากครับคุณหนูใจ
หัวข้อ: Re: วิธีสร้างบุญบารมี เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มกราคม 01, 2012, 11:51:19 AM สมุดภาพพระพุทธประวัติ
ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร ภาพที่ ๒๕ ทรงลาดหญ้าคาประทับเป็นโพธิบัลลังก์ ตกเย็นพญามารก็กรีฑาพลมาขับไล่ (http://84000.org/tipitaka/picture/p25.jpg) เหตุการณ์ที่เกิดกับพระมหาบุรุษตอนนี้เรียกว่า 'มารผจญ' ซึ่งเกิดขึ้นในวันเพ็ญเดือนหก ก่อน ตรัสรู้ไม่กี่ชั่งโมง พระอาทิตย์กำลังอัสดงลงลับทิวไม้ สัตว์สี่เท้าที่กำลังจะใช้งาทิ่มแทงพระมหาบุรุษนั้นมี ชื่อว่า 'นาราคีรีเมขล์' เป็นช้างทรงของพระยาวัสสวดีมารซึ่งเป็นจอมทัพ สตรีที่กำลังบีบมวยผมนั้นคือพระ นางธรณี มีชื่อจริงว่า 'สุนธรีวนิดา' พระยามารตนนี้เคยผจญพระมหาบุรุษมาครั้งหนึ่งแล้ว คือ เมื่อคราวเสด็จออกจากเมือง แต่ คราวนี้เป็นการผจญชิงชัยกับพระมหาบุรุษยิ่งใหญ่กว่าทุกคราว กำลังพลที่พระยามารยกมาครั้งนี้มืดฟ้ามัว ดิน มาทั้งบนเวหา บนดิน และใต้บาดาลขนาดเทพเจ้าที่มาเฝ้ารักษาพระมหาบุรุษต่างเผ่นหนีกลับวิมานกัน หมดเพราะเกรงกลัวมาร ปฐมสมโพธิพรรณนาภาพพลมารตอนนี้ไว้ว่า "...บางจำพวกก็หน้าแดงกายเขียว บางจำพวก ก็หน้าเขียวกายแดง ลางเหล่าจำแลงกายขาวหน้าเหลือง...บางหมู่กายลายพร้อยหน้าดำ...ลางพวกกายท่อน ล่างเป็นนาค กายท่อนต่ำหลากเป็นมนุษย์..." ส่วนตัวพระยามารเนรมิตพาหาคือแขนซ้ายและขวาข้างละหนึ่งพันแขน แต่ละแขนถืออาวุธ ต่างๆ เช่น ดาบ หอก ธนู ศร โตมร (หอกซัด) จักรสังข์ อังกัส (ของ้าวเหล็ก) คทา ก้อนศิลา หลาว เหล็ก ครกเหล็ก ขวานถาก ขวานผ่า ตรีศูล (หลาวสามง่าม) ฯลฯ เหตุที่พระยามารมาผจญพระมหาบุรุษทุกครั้ง เพราะพระยามารมีนิสัยไม่อยากเห็นใครดีเกิน หน้าตน เมื่อพระมหาบุรุษจะทรงพยายามเพื่อเป็นคนดีที่สุดในโลก จึงขัดขวางไว้ แต่ก็พ่ายแพ้พระมหา บุรุษทุกครั้ง ครั้งนี้เมื่อเริ่มยกแรกก็แพ้ แพ้แล้วก็ใช้เล่ห์ คือ กล่าวตู่พระมหาบุรุษว่ามายึดเอาโพธิบัลลังก์ คือตรงที่พระมหาบุรุษประทับนั่ง ซึ่งพระยามารตู่เป็นที่ของตน พระยามารอ้างพยานบุคคลคือพวกพ้อง ของตน ฝ่ายพระมหาบุรุษทรงมองหาใครเป็นพยานไม่ได้ เทพเจ้าเล่าก็เปิดหนีกันหมด จึงทรงเหยียดพระ หัตถ์ขวาออกจากชายจีวร แล้วทรงชี้พระดัชนีลงยังพื้นพระธรณี พระนางธรณีจึงผุดขึ้นตอนนี้เพื่อเป็น พยาน หัวข้อ: Re: วิธีสร้างบุญบารมี เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มกราคม 01, 2012, 11:52:30 AM สมุดภาพพระพุทธประวัติ
ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร ภาพที่ ๒๖ แม่พระธรณีบิดพระเกศา เกิดเป็นสมุทรธารา พระยามารก็พ่ายแพ้แก่พระบารมี (http://84000.org/tipitaka/picture/p26.jpg) สถานที่ที่พระมหาบุรุษประทับนั่งพื่อทรงบำเพ็ญเพียรทางใจ แสวงหาทางตรัสรู้ ซึ่งอยู่ที่ โคนต้นพระศรีมหาโพธิ์นั้น เรียกว่า 'โพธิบัลลังก์' พระยามารกล่าวตู่ว่าเป็นสมบัติของตน ส่วนพระมหา บุรุษทรงกล่าวแก้ว่า บังเกิดขึ้นด้วยผลแห่งบุญบารมีที่พระองค์ทรงบำเพ็ญมาแต่ชาติปางก่อน แล้วทรง อ้างพระนางธรณีเป็นพยาน ปฐมสมโพธิว่า "พระธรณีก็มิอาจดำรงกายอยู่ได้...ก็อุบัติบันดาลเป็นรูปนารี ผุดขึ้นจากพื้น ปฐพี..." แล้วกล่าวเป็นพยานมหาบุรุษ พร้อมกับบีบน้ำออกจากมวยผม น้ำนั้นคือสิ่งที่เรียกว่า 'ทักษิโณทก' อันได้แก่ น้ำที่พระมหาบุรุษทรงกรวดทุกครั้งที่ทรงบำเพ็ญบุญบารมีแต่ชาติปางก่อนเป็นลำดับมา ซึ่งแม่ พระธรณีเก็บไว้ที่มวยผม เมื่อนางบีบก็หลั่งไหลออกมา ปฐมสมโพธิว่า "เป็นท่อธารมหามหรรณพ นองท่วมไปในประเทศทั้งปวง ประดุจห้วง มหาสาครสมุทร...หมู่มารเสนาทั้งหลายมิอาจดำรงกายอยู่ได้ ก็ลอยไปตามกระแสน้ำ ปลาสนาการไปสิ้น ส่วนคิรีเมขลคชินทร ที่นั่งทรงองค์พระยาวัสสวดี ก็มีบาทาอันพลาด มิอาจตั้งกายตรงอยู่ได้ ก็ลอยตาม ชลธารไปตราบเท่าถึงมหาสาคร... พระยามารก็พ่ายแพ้ไปในที่สุด" บารมีนั้นคือความดี พระมหาบุรุษท่านทรงรำพึงว่า ชีวิต ดวงหทัย นัยน์เนตรที่ท่านทรง บริจาคให้เป็นกุศลผลทานมาก่อนนั้น ถ้าจะเก็บรวมไว้ก็จะมากกว่าผลาผลไม้ในป่า มากกว่าดวงดาราใน ท้องฟ้า ความดีที่ทำไว้นั้นไม่หนีไปไหน ถึงใครไม่เห็น ฟ้าดินก็เห็น ดินคือแม่พระธรณี หัวข้อ: Re: วิธีสร้างบุญบารมี เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มกราคม 01, 2012, 11:53:37 AM สมุดภาพพระพุทธประวัติ
ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร ภาพที่ ๒๗ พอรุ่งอรุณก็ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า เทวดาฝ่ายฟ้อนร่อนรำถวายเป็นพุทธบูชา (http://84000.org/tipitaka/picture/p27.jpg) เมื่อพระมหาบุรุษทรงชนะมารแล้วนั้น พระอาทิตย์กำลังจะอัสดง ราตรีเริ่มย่างเข้ามา พระ มหาบุรุษยังคงประทับนั่งไม่หวั่นไหวที่โพธิบัลลังก์ ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ทรงเริ่มบำเพ็ญสมาธิให้เกิดใน พระทัยด้วยวิธีที่เรียกว่าเข้าฌาน แล้วทรงบรรลุญาณ ฌาน คือ วิธีทำจิตให้เป็นสมาธิ คือ ให้จิตแน่วแน่ ไม่ฟุ้งซ่านคิดโน่นคิดนี่อย่างปุถุชนธรรมดา ส่วนญาณคือปัญญาความรู้แจ้ง เปรียบให้เห็นความง่ายเข้าก็คือ แสงเทียนที่นิ่งไม่มีลมพัด คือ 'ฌาน' แสง สว่างอันเกิดจากแสงเทียนเท่ากับปัญญา (ญาณ) พระมหาบุรุษทรงบรรลุญาณที่หนึ่งในตอนปฐมยาม (ประมาณ ๓ ทุ่ม) ญาณที่หนึ่งนี้เรียกว่า 'บุพเพนิวาสานุสติญาณ' หมายถึง ความรู้แจ้งถึงอดีตชาติหนหลังทั้งของตนและของคนอื่น พอถึงมัชฌิม ยาม (ประมาณเที่ยงคืน) ทรงบรรลุญาณที่สอง ที่เรียกว่า 'จุตูปปาตญาณ' หมายถึงความรู้แจ้งถึงความจุติ คือ ดับและเกิดของสัตวโลก ตลอดถึงความแตกต่างกันที่เรียกว่า 'กรรม' พอถึงปัจฉิมยาม (หลังเที่ยงคืนล่วง แล้ว) ทรงบรรลุญาณที่สามคือ 'อาสวักขยญาณ' หมายถึงความรู้แจ้งถึงความสิ้นไปของกิเลส และอริยสัจ ๔ คือ ความทุกข์ เหตุเกิดของความทุกข์ ความดับทุกข์ และวิธีดับทุกข์ การได้บรรลุญาณทั้งสามของพระมหาบุรุษนั้นเรียกว่า ตรัสรู้ความเป็นพระพุทธเจ้า ซึ่งเกิด ขึ้นในคืนวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ หลังจากนั้น พระนามว่า สิทธัตถะก็ดี พระโพธิสัตว์ก็ดี ที่เกิดใหม่ ตอน ก่อนตรัสรู้ว่าพระมหาบุรุษก็ดี ได้กลายเป็นพระนามในอดีตหนหลัง เพราะตั้งแต่นี้ต่อไปทรงมีพระนามใหม่ ว่า 'อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า' แปลว่าพระผู้ตรัสรู้ธรรมเครื่องหลุดพ้นจากกิเลสโดยชอบด้วยพระองค์เอง เหตุการณ์ครั้งนี้จึงเป็นที่มหัศจรรย์เป็นอย่างยิ่ง กวีจึงแต่งความเป็นปุคคลาธิษฐานเฉลิมพระ เกียรติพระพุทธเจ้าว่า นำสัตว์ มนุษย์นิกร และทวยเทพในหมื่นโลกธาตุ หายทุกข์ หายโศก สิ้นวิปโยค จากผองภัย สัตว์ทั้งหลายต่างมีเมตตาจิตต่อกันทุกถ้วนหน้า เว้นจากเวรานุเวร อาฆาตมาดร้ายแก่กัน ทวยเทพต่างบรรเลงดนตรีสวรรค์ ร่ายรำ ขับร้อง แซ่ซ้องถวายเป็นพุทธบูชาและกล่าวสรร เสริญพระพุทธคุณกันทั่วหน้า หัวข้อ: Re: วิธีสร้างบุญบารมี เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มกราคม 01, 2012, 11:54:34 AM สมุดภาพพระพุทธประวัติ
ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร ภาพที่ ๒๘ เสด็จไปประทับโคนต้นไทร สามธิดามารมาประโลมล่อให้หลง ก็ไม่ทรงใยดี (http://84000.org/tipitaka/picture/p28.jpg) ตรัสรู้แล้ว พระพุทธเจ้าเสด็จประทับเสวยวิมุติสุขอยู่ภายใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์เป็นเวลา ๗ วัน คำว่า 'เสวยวิมุติสุข' เป็นภาษาที่ใช้สำหรับท่านผู้ทรงหลุดพ้นแล้ว เทียบกับภาษาสามัญชนคนมีกิเลสก็ คือพักผ่อนภายหลังที่ตรากตรำงานมานั่นเอง หลังจากนั้นจึงเสด็จไปยังต้นอชปาลนิโครธ ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของต้นศรีมหาโพธิ์ ต้น นิโครธคือต้นไทร ส่วนคำหน้าคือ 'อชปาล' แปลว่า เป็นที่เลี้ยงแพะ ตามตำนานบอกว่าที่ใต้ต้นไทรแห่งนี้ เคยเป็นที่อาศัยของคนเลี้ยงแพะมานาน คนเลี้ยงแพะที่ตำบลแห่งนี้ได้เข้ามาอาศัยร่มเงาต้นไทรเป็นที่เลี้ยง แพะเสมอมา ระหว่างที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่นี่ นักแต่งเรื่องเรื่องในยุคอรรถกถาจารย์ ยุคนี้เกิดขึ้นภาย หลัง พระพุทธเจ้านิพพานแล้วหลายร้อยปี ได้แต่งเรื่องขึ้นเฉลิมพระเกียรติของพระพุทธเจ้าว่า ลูกสาว พระยามารซึ่งเคยยกทัพมาผจญพระพุทธเจ้าเมื่อตอน ก่อนตรัสรู้เล็กน้อยแต่ก็พ่ายแพ้ไป ได้ขันอาสาพระยา มารผู้บิดาเพื่อประโลมล่อพระพุทธเจ้าให้ตกอยู่ในอำนาจของพระยามารให้จงได้ ลูกสาวพระยามารมี ๓ คน คือ นางตัณหา นางราคา และนางอรดี ทั้งสามนางเข้าไปประเล้าประโลมพระพุทธเจ้าด้วยกลวิธีทางกามารมณ์ต่างๆ เช่น เปลื้อง ภูษาอาภรณ์ทรงออก แปลงร่างเป็นสาวรุ่นบ้าง เป็นสาวใหญ่บ้าง เป็นสตรีในวัยต่างๆ บ้าง แต่พระพุทธ เจ้าผู้ทรงบริสุทธิ์สิ้นเชิงแล้วไม่ทรงแสดงพระอาการผิดปกติแม้แต่ลืมพระเนตรแลมอง เรื่องธิดาพระยามารประโลมพระพุทธเจ้าก็เป็นปุคคลาธิษฐาน ถอดความได้ว่า ทั้งสามธิดา พระยามารนั้น ล้วนหมายถึงกิเลสทั้งนั้น อย่างหนึ่งคือความยินดี อีกอย่างหนึ่งคือความยินร้ายหรือความ เกลียดชัง ความยินดีส่วนหนึ่งแยกออกเป็นตัรหา คือความอยากได้ไม่มีที่สิ้นสุด อีกส่วนหนึ่งเป็นราคา หรือราคะ คือความใคร่หรือกำหนัด ความเกลียดชังหรือยินร้ายออกมาในรูปของอรดี อรดีในที่นี้คือ ความริษยา ความที่ว่าพระพุทธเจ้าไม่ทรงแสดงพระอาการผิดปกติ แม้แต่ทรงลืมพระเนตรนั้น ก็หมาย ถึงว่า พระพุทธเจ้าอยู่ห่างไกลจากกิเลสดังกล่าวมาโดยสิ้นเชิงนั่นเอง หัวข้อ: Re: วิธีสร้างบุญบารมี เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มกราคม 01, 2012, 11:55:35 AM สมุดภาพพระพุทธประวัติ
ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร ภาพที่ ๒๙ ย้ายไปประทับโคนไม้จิก ฝนตกพรำ พญานาคมาขดขนดปกพระกาย กำบังฝน (http://84000.org/tipitaka/picture/p29.jpg) ระหว่างที่พระพุทธเจ้ายังไม่ตัดสินใจพระทัยว่าจะทรงแสดงธรรมโปรดใครเพื่อประกาศพระ ศาสนา นับตั้งแต่ตรัสรู้เป็นต้นมานี้ ได้เสด็จแปรสถานที่ประทับแห่งละ ๗ วัน ที่เห็นอยู่ตามภาพนี้เป็น สัปดาห์ที่สาม และสถานที่ประทับก็เป็นแห่งที่สาม คือ ใต้ต้นมุจลินทร์ ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ มุจลินทร์เป็นต้นไม้ที่เกิดอยู่ในที่ทั่วไปในประเทศอินเดีย มีชื่อปรากฏอยู่ในวรรณคดี ทั้งประ เภทชาดก และอย่างอื่นมากหลาย ในเวสสันดรชาดกก็กล่าวถึงสระมุจลินทร์ที่เวสสันดรไปประทับอยู่เมื่อ คราวเสด็จไปอยู่ป่า ไทยเราแปลต้นมุจลินทร์กันว่าต้นจิก เข้าใจว่าจะใช่ เพราะดูลักษณะที่เกิดคล้ายกัน คือ ชอบ เกิดตามที่ชุ่มชื้น เช่น ตามห้วย หนอง คลอง บึง เป็นไม้เนื้อเหนียว ดอกระย้า มีทั้งสีขาวและสีแดง ใบ ประมาณเท่าใบชมพู่สาแหรก ปกติใบดกหนา เป็นต้นไม้ที่ให้ร่มเงาดี เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จมาประทับอยู่ที่นี่ ฝนเจือลมหนาวตกพรำตลอดเจ็ดวันไม่ขาดสาย ท่าน ผู้รจนาปฐมสมโพธิได้แต่งเล่าเรื่องไว้ว่า พญานาคชื่อมุจลินทร์ขึ้นจากสระน้ำที่อยู่ในบริเวณแห่งเดียวกันนี้ เข้าไปวงขนด ๗ รอบ แล้วแผ่พังพานปกพระพุทธเจ้าเพื่อป้องกันลมฝนมิให้พัดและสาดกระเซ็นมาต้องพระ วรกาย ครั้นฝนหาย ฟ้าสาง พญานาคจึงคลาดขนดออก แล้วจำแลงแปลงเป็นเพศมาณพยืนเฝ้าพระพุทธเจ้า ทางเบื้องพระพักตร์ พระพุทธรูปนาคปรกที่พุทธศาสนิกชนสร้างขึ้น ก็เป็นนิมิตหมายถึงเหตุการณ์ที่เกิดกับพระ พุทธเจ้าในปางหรือในตอนนี้ เป็นพระพุทธรูปที่เชื่อถือกันว่าศักดิ์สิทธิ์ทางเมตตา เพราะเป็นรูปหรือภาพที่ สอนคนโดยทางอ้อมให้เห็นอานิสงส์หรือผลดีของเมตตา เพราะแม้แต่พญางูใหญ่ในสระน้ำก็ยังขึ้นจากสระ เข้าไปถวายความอารักขาแก่พระพุทธเจ้า ทั้งนี้พลานุภาพแห่งพระมหากรุณาของพระพุทธองค์ หัวข้อ: Re: วิธีสร้างบุญบารมี เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มกราคม 02, 2012, 03:20:14 PM สมุดภาพพระพุทธประวัติ
ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร ภาพที่ ๓๐ ขณะประทับโคนไม้เกด ท้าวโลกบาลถวายบาตร เทวดาบอกสองพาณิชให้ไปเฝ้า (http://84000.org/tipitaka/picture/p30.jpg) เสด็จประทับอยู่ภายใต้ต้นจิก หรือมุจลินทร์ตลอด ๗ วันแล้ว พระพุทธเจ้าเสด็จไปประทับอยู่ ใต้ต้นไม้ที่ภาษาบาลีเรียกว่า 'ราชายตนะ' อยู่ถัดไปทางทิศใต้ของต้นพระศรีมหาโพธิ์ ราชายตนะแปลกันว่า ไม้เกด เป็นไม้ที่อยู่ในตระก้ลพิกุล ผู้บรรยายเคยเห็นที่ชานพระทักษิณาด้านนอกขององค์ปฐมเจดีย์ นครปฐม ที่ทางราชการนำมาปลูกไว้ตั้งแต่สมัยที่ ๕ เป็นต้นใหญ่แล้ว จำได้ว่าใบเหมือนประดู่ ตอนพระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่นี่ มีพ่อค้านายกองเกวียนสองคนเข้ามาเฝ้า และนำของมาถวาย คนหนึ่งชื่อ 'ตปุสสะ' อีกคนหนึ่งชื่อ 'ภัลลิกะ' เดินทางด้วยขบวนเกวียนหลายร้อยเล่ม (ปฐมสมโพธิว่า ๕๐๐ เล่ม) มาจากอุกกลชนบท ได้เห็นพระพุทธเจ้าประทับอยู่ใต้ต้นไม้เกด ก็ให้นึกเลื่อมใสจึงนำข้าวสัตตุก้อนและ สัตตุผง ซึ่งเป็นเสบียงสำหรับเดินทางเข้าไปถวาย ข้าวสัตตุนี้ ไทยเราเรียกว่าข้าวตู พจนานุกรมฉบับราช บัณฑิตยสถานอธิบายว่า "ข้าวตากคั่วแล้วตำเป็นผลเคล้ากับน้ำตาลและมะพร้าว" พระพุทธเจ้าทรงรับอาหารนายกองเกวียนสองคนนั้นด้วยบาตรศิลาที่ท้าวจตุมหาราชทั้ง ๔ นำมาถวาย เสวยเสร็จแล้ว นายกองเกวียนทั้งสองคนเกิดความเลื่อมใสได้แสดงตนเป็นอุบาสก ขอถึง พระพุทธเจ้าและพระธรรมเจ้าเป็นสรณะ กล่าวอย่างสั้นๆ ก็ว่า ทั้งสองประกาศตนเป็นพุทธศาสนิกชน ทั้งสองจึงนับได้ว่าอุบาสกหรือ พุทธศาสนิกชนคู่แรกก่อนใครในโลก นับแต่พระพุทธเจ้าตรัสรู้เป็นต้นมา ที่ทั้งสองนายประกาศตนนับถือ พระรัตนะทั้งสองดังกล่าวแล้วนั้น เพราะตอนที่กล่าวนี้ สังฆรัตนะ คือ พระสงฆ์ยังไม่เกิดมี ด้วยพระพุทธ เจ้ายังมิได้ตรัสเทศนาโปรดใครเลย ปฐมสมโพธิเล่าว่าเมื่อสองนายกองเกวียนประกาศตนเป็นอุบาสกแล้ว ก่อนที่จะถวายบังคม กราบทูลลาพระพุทธเจ้าไป ได้กราบทูลขอสิ่งของเป็นที่ระลึกจากพระพุทธเจ้า อพระพุทธเจ้าจึงทรงยกพระ หัตถ์ขวาลูบเบื้องพระเศียรและว่า "ลำดับนั้นพระเกศาธาตุ (ผม) ทั้ง ๘ เส้นมีสีดุจแก้วอินทนิล แลปีกแมลง ภู่...ก็หล่นลงประดิษฐานในฝ่าพระหัตถ์" แล้วทรงประทานเส้นพระเกศาทั้งแปดแก่นายกองเกวียนเพื่อนำไปบูชาเป็นที่ระลึก ทั้งสอง เมื่อได้รับต่างโสมนัสยิ่งนัก แล้วถวายอภิวาทกราบทูลลาพระพุทธเจ้าจากไป หัวข้อ: Re: วิธีสร้างบุญบารมี เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มกราคม 02, 2012, 03:21:27 PM สมุดภาพพระพุทธประวัติ
ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร ภาพที่ ๓๑ สองพาณิชถวายข้าวสัตตุก้อนสัตตุผง แล้วทูลปฎิญาณตนเป็นอุบาสกคู่แรกในโลก (http://84000.org/tipitaka/picture/p31.jpg) ภาพที่เห็นอยู่นี้ เป็นเหตุการณ์ที่เกิดกับพระพุทธเจ้าในสถานที่และในสัปดาห์เดียวกันกับที่ได้ บรรยายไว้แล้วในภาพที่ ๓๐ สถานที่ที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ คือ ต้นราชายตนะหรือต้นเกด ส่วนสัปดาห์ ที่ประทับอยู่ที่นี่ตั้งแต่ตรัสรู้แล้วเป็นต้นมา นับเป็นสัปดาห์ที่ ๔ สัปดาห์ที่ ๑ ประทับที่ภายใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ สัปดาห์ที่ ๒ ที่ใต้ต้นไทรที่เคยเป็นที่ อาศัยของคนเลี้ยงแพะ ที่เรียกว่า 'อชปาลนิโครธ' สัปดาห์ที่ ๓ ที่ใต้ต้นมุจลินทร์ หรือต้นจิก และที่ ๔ คือ ที่กำลังเห็นอยู่นั้น ในภาพที่เห็นนั้นคือ คนหนึ่งในจำนวนนายพาณิช หรือนายกองเกวียนสองพี่น้องกำลังยกข้าว สัตตุก้อนและสัตตุผงถวายพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทรงรับด้วยบาตรศิลา ที่ท้าวจาตุมหาราชหรือท้าวจตุ โลกบาลก็เรียก นำมาถวาย ดังได้บรรยายไว้แล้ว ท้าวจาตุมหาราช เป็นเทพเจ้าผู้ใหญ่ ผู้ทำหน้าที่รักษาโลก ประจำอยู่ในทิศทั้ง ๔ คือ ท้าว ธตรฐ เป็นหัวหน้าฝ่ายคนธรรพ์ อยู่ทางทิศตะวันออก ท้าววิรุฬหก เป็นหัวหน้าฝ่ายเทวดา อยู่ทางทิศใต้ ท้าววิรูปักษ์ เป็นหัวหน้าฝ่ายนาค อยู่ทางทิศตะวันตก และท้าวกุเวร เป็นหัวหน้าฝ่ายยักษ์ อยู่ทางทิศเหนือ เทพเจ้าทั้ง ๔ นำบาตรองค์ละหนึ่งใบ รวมเป็น ๔ ใบ มาถวายพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้า ทรงรับแล้วทรงอธิษฐานให้เป็นใบเดียวกัน แล้วรับอาหารจากสองนายกองเกวียนพี่น้อง ปฐมสมโพธิเล่าไว้ว่า บาตรใบแรกของพระพุทธเจ้าที่ฆฏิการพรหมนำมาถวายพร้อมทั้งจีวร เมื่อคราวเสด็จออกทรงผนวช และเสด็จถึงฝั่งแม่น้ำอโนมานั้น เกิดหายไปในตอนจะรับข้าวมธุปายาส จาก นางสุชาดา คือ ตอนก่อนตรัสรู้ได้หนึ่งวัน เมื่อสองพี่น้องนายกองเกวียนนำอาหารเสบียงมาถวายพระพุทธเจ้า เกิดไม่มีบาตรจะรับอาหาร เทพเจ้าทั้ง ๔ จึงนำบาตรมาถวายดังกล่าวแล้ว ทั้งนี้เป็นธรรมเนียมของพระศาสดาชั้นพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ที่ไม่รับของถวายจำพวกอาหารด้วยพระหัตถ์ แต่จะรับด้วยภาชนะคือบาตรเท่านั้น หัวข้อ: Re: วิธีสร้างบุญบารมี เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มกราคม 02, 2012, 03:22:29 PM สมุดภาพพระพุทธประวัติ
ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร ภาพที่ ๓๒ กลับมาประทับโคนต้นไทร ท้อพระทัยในอันโปรดสัตว์ สหัสบดีพรหมต้องทูลวิงวอน (http://84000.org/tipitaka/picture/p32.jpg) ประทับอยู่ภายใต้ต้นราชายตนะหรือไม้เกดครบ ๗ วันแล้ว พระพุทธเจ้าเสด็จแปรสถานที่ ประทับ กลับไปประทับอยู่ภายใต้ต้นอชปาลนิโครธหรือต้นไทร ซึ่งเคยเสด็จไปประทับหนหนึ่งมาแล้ว ครั้ง นี้นับเป็นสัปดาห์ที่ ๕ ระหว่างที่ประทับอยู่ ณ ที่นี่ พระพุทธเจ้าทรงพิจารณาถึงธรรมที่พระองค์ได้ตรัสรู้มา ทรง เห็นว่า เป็นธรรมที่มีความหมายสุขุมละเอียด ก็ทรงบังเกิดความท้อพระทัยว่า จะมีใครสักกี่คนที่จะฟัง ธรรมของพระองค์รู้เรื่อง พระทัยหนึ่งจึงเกิดความมักน้อยว่าจะไม่แสดงธรรมเพื่อโปรดใครเลย ท่านผู้รจนาคัมภีร์เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า ได้แต่งเรื่องสาธกให้เห็นเป็นปุคคลธิษฐานประกอบเข้า ในตอนนี้ว่า พระดำริของพระพุทธเจ้าเรื่องนี้ได้ทราบไปถึงท้าวสหัมบดีพรหมในเทวโลก ท้าวสหัมบดีพรหม จึงตกพระทัยเป็นอย่างยิ่ง ถึงกับทรงเปล่งศัพท์สำเนียงอันดังถึงสามครั้งว่า "โลกจะฉิบหายในครั้งนี้" ปฐมสมโพธิว่า "เสียงนั้นก็ดังแผ่ไปทั่วหมื่นโลกธาตุ ท้าวสหัมบดีพรหมจึงพร้อมด้วยเทวา คณานิกรลงมากราบทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าให้ทรงแสดงธรรม" ตอนท้าวสหัมบดีพรหมลงมาทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าให้ทรงแสดงธรรมโปรดชาวโลกนี้ กวี ท่านแต่งเป็นอินทรวงศ์ฉันท์ภาษาบาลีไว้ว่า "พรหฺมา จ โลกาธิปตี สหมฺปติ กตฺอญฺชลี อนฺธิวรํ อยาจถ สนฺตีธ สตฺตาปฺปรชกฺขชาติกา เทเสตุ ธมฺมํ อนุกมฺปิมํ ปชํ" แปลว่า "ท้าวสหัสบดีพรหม ประณมกรกราบอาราธนาพระพุทธเจ้าผู้ทรงคุณอันประเสริฐว่า สัตว์ในโลกนี้ ที่มีกิเลสบางเบาพอที่จะฟังธรรมเข้าใจนั้นมีอยู่ ขอพระองค์ได้โปรดแสดงธรรมช่วยเหลือชาว โลกเทฮญ" ต่อมาภาษาบาลีที่เป็นฉันท์บทนี้ ได้กลายเป็นคำสำหรับอาราธนาพระสงฆ์ในเมืองไทยให้ แสดงธรรมมาจนทุกวันนี้ หัวข้อ: Re: วิธีสร้างบุญบารมี เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มกราคม 02, 2012, 03:23:41 PM สมุดภาพพระพุทธประวัติ
ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร ภาพที่ ๓๓ ทรงคำนึงเห็นอุปนิสัยเวไนยสัตว์เปรียบด้วยดอกบัว ๔ เหล่าจึงรับอาราธนา (http://84000.org/tipitaka/picture/p33.jpg) ท้าวสหัมบดีพรหมที่เสด็จมากราบทูลอาราธนา พระพุทธเจ้าให้ทรงแสดงธรรมประกาศพระ ศาสนาโปรดชาวโลก ดังที่ได้บรรยายไว้ในภาพที่ ๓๒ นั้น เป็นเรื่องที่กวีแต่งเป็นปุคคลาธิษฐาน คือ แต่ง เป็นนิยายมีบุคคลเป็นตัวแสดงในเรื่อง ถ้าถอดความเป็นธรรมาธิษฐาน หรืออธิบายกันตรงๆ ก็คือ สหัมบดี พรหมนั้น ได้แก่พระมหากรุณาของพระพุทธเจ้านั่นเอง ถึงพระพุทธเจ้าจะทรงท้อพระทัยว่าจะไม่แสดงธรรม แต่อีกพระทัยหนึ่งซึ่งมีอำนาจเหนือกว่า คือพระมหากรุณา และพระมหากรุณานี่เองที่เป็นเหตุให้พระพุทธเจ้าตัดสินพระทัยว่า จะทรงแสดงธรรม หลังจากตัดสินพระทัยแล้ว จึงทรงพิจารณาดูอัธยาศัยของของคนในโลก แล้วทรงเห็นความแตกต่างแห่ง ระดับสติปัญญาของคนถึง ๔ ระดับ หรือ ๔ จำพวก ๑. อุคฆฏิตัญญู ผู้อาจรู้ธรรมแต่พอท่านยกหัวข้อขึ้นแสดง ๒. วิปจิตัญญู ผู้อาจรู้ธรรมต่อเมื่อท่านอธิบายความแห่งหัวข้อนั้น ๓. เนยยะ ผู้พอแนะนำได้ ๔. ปทปรมะ ผู้มีบทเป็นอย่างยิ่ง จำพวกที่หนึ่ง เหมือนดอกบัวเปี่ยมน้ำ พอได้รับแสงอาทิตย์ก็บาน ที่สอง เหมือนดอกบัวใต้น้ำ ที่จะโผล่พ้นน้ำ และที่จะบานในวันรุ่งขึ้น ที่สาม เหมือนดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำลึกลงไปหน่อย ซึ่งจะแก่กล้าขึ้นมา บานในวันต่อๆ ไป และที่สี่ เหมือนดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำลึกลงไปมาก ถึงขนาดไม่อาจขึ้นมาบานได้ เพราะตก เป็นภักษาของปลาและเต่าเสียก่อน ครั้นแล้วพระพุทธเจ้าทรงพิจารณาถึงบุคคลที่พระองค์จะเสด็จไปโปรด ทรงมองเห็นภาพของ ดาบสทั้งสอง ที่พระองค์เคยเสด็จไปทรงศึกษาอยู่ด้วย แต่ทั้งสองนั้นก็สิ้นชีพเสียแล้ว ทรงเห็นเบญจวัคคีย์ ว่ายังมีชีวิตอยู่ จึงทรงตั้งพระทัยเสด็จไปโปรดเบญจวัคคีย์เป็นอันดับแรก หัวข้อ: Re: วิธีสร้างบุญบารมี เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มกราคม 02, 2012, 03:24:40 PM สมุดภาพพระพุทธประวัติ
ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวช ภาพที่ ๓๔ เสด็จพระพุทธดำเนินไปโปรดเบญจวัคคีย์ พบอุปกาชีวกในระหว่างทาง (http://84000.org/tipitaka/picture/p34.jpg) ในสัปดาห์ที่ ๖ ถึงที่ ๘ เป็นระเวลาที่พระพุทธเจ้าเสด็จแปรสถานที่ประทับไปมาที่ระหว่าง ต้นศรีมหาโพธิ์กับต้นอชปาลนิโครธหื่อต้นไทร จนถึงวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๘ ในสัปดาห์ที่ ๘ นับแต่ตรัส รู้มา พระพุทธเจ้าจึงเสด็จออกจากบริเวณสถานที่ตรัสรู้ เพื่อเสด็จไปยังป่าอิสิปตนมฤคทายวัน หรือที่ทุกวัน นี้เรียกว่าสารนาถ ซึ่งอยู่ในเขตแดนเมืองพาราณสี เวลาที่กล่าวนี้พวกเบญจวัคคีย์ที่เคยตามเสด็จออกบวชและ อยู่เฝ้าอุปัฏฐากได้พากันผละหนีพระพุทธเจ้ามาอยู่ที่นี่ ระหว่างทาง คือ เมื่อเสด็จถึงแม่น้ำคยาอันเป็นที่สุดเขตตำบลของสถานที่ตรัสรู้ พระพุทธเจ้า ได้ทรงพบอาชีวกผู้หนึ่งนามว่า 'อุปกะ' เดินสวนทางมา อาชีวกคือนักบวชนอกาสนาพุทธนิกายหนึ่งในสมัย พระพุทธเจ้า ตอนที่เดินยังไม่เข้าใกล้และได้เห็นพระพุทธเจ้านั้น อาชีวกผู้นี้ได้เห็นพระรัศมีที่แผ่ซ่านออก จากพระวรกายพระพุทธเจ้ามากระทบเข้าที่หน้าตนก่อน พระรัศมีนั้น สมัยนั้นเรียกว่า 'ฉัพพรรณรังสี' คือ พระรัศมี ๖ ประการที่ซ่านออกจากพระวรกายของพระพุทธเจ้า ได้แก่ ๑. นีละ สีเขียวเหมือนดอกอัญชัน ๒. ปีตะ สีเหลืองเหมือนหรดาลทอง ๓. โลหิตะ สีแดงเหมือนแสงตะวันอ่อน ๔. โอทาตะ สีขาวเหมือนแผ่นเงิน ๕. มัญเชฐะ สีแสดเหมือนดอกหงอนไก่ ๖. ประภัสสระ สีเลื่อมพรายเหมือนแก้วผลึก มาถึงสมัยสร้างพระพุทธรูปฉัพพรรณรังสีนี้เรียกกันว่า 'ประภามณฑล' คือ พระรัศมีที่พุ่ง ขึ้นจากเบื้องพระเศียรที่เป็นรูปกลมรีขึ้นข้างบนนั่นเอง พอพระพุทธเจ้าเสด็จเข้ามาใกล้ อาชีวกจึงได้เห็นที่มาของรัศมี พอเห็นก็เกิดความสนใจจึง เข้าไปทูลถามพระพุทธเจ้าว่า ใครเป็นพระศาสดาของพระพุทธเจ้า พอพระพุทธเจ้าตรัสว่า พระองค์ไม่มี ศาสดาผู้เป็นครูสอน พระพุทธองค์เป็นสยัมภู คือ ผู้ตรัสรู้ธรรมด้วยพระองค์เอง อาชีวกได้ฟังแล้วแสดง อาการสองอย่างคือสั่นศีรษะและแลบลิ้น แล้วเดินหลีกพระพุทธเจ้าไป หัวข้อ: Re: วิธีสร้างบุญบารมี เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มกราคม 02, 2012, 03:26:04 PM สมุดภาพพระพุทธประวัติ
ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร ภาพที่ ๓๕ ถึงป่าอิสิปตนะ เบญจวัคคีย์เห็นแต่ไกล นัดกันว่าจะไม่ต้อนรับ แต่แล้วก็กลับใจ (http://84000.org/tipitaka/picture/p35.jpg) พระพุทธเจ้าเสด็จไปถึงป่าอิสิปตนมฤคทายวันในเย็นวันเดียวกัน ที่ว่านี้ว่าตามวันเวลาที่ระบุ ไว้ในหนังสือปฐมสมโพธิ ขณะนี้พวกเบญจวัคคีย์ ซึ่งมีโกณฑัญญะเป็นหัวหน้ากำลังสนทนากันอยู่ เรื่องที่สนทนากัน ก็เกี่ยวกับพระพุทธเจ้าโดยตรงว่า นับตั้งแต่ผละหนีจากพระพุทธเจ้ามาก็นานแล้ว ป่านนี้จะประทับอยู่ที่ ไหน จะทรงระลึกถึงพวกตนอยู่หรือหาไม่ ทันใด เบญจวัคคีย์ทั้ง ๕ คือ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ อัสสชิ และมหานามะ ก็เห็น พระฉัพพรรณรังสีสว่างรุ่งเรืองมาแต่ไกล เมื่อเหลียวแลลำแสงพระรัศมี ก็เห็นพระพุทธเจ้ากำลังเสด็จ ดำเนินมา ทั้ง ๕ จึงนัดหมายกันว่าจะไม่รับเสด็จพระพุทธเจ้า และจะไม่ถวายความเคารพ คือจะไม่ ลุกขึ้นออกไปรับบาตรและจีวร จะปูแต่อาสนะถวายให้ประทับนั่ง จะไม่ถวายบังคม แต่ต่างจะนั่งอยู่เฉยๆ ทำเป็นไม่รู้ ไม่สนใจว่าพระพุทธเจ้าเสด็จมา แต่ครั้นพอพระพุทธเจ้าเสด็จมาถึงจริง เบญจวัคคีย์ทั้งหมดต่างลืมนัดหมายกันเสียสิ้น เพราะ ต่างก็ลุกขึ้นรับเสด็จ ถวายบังคม และรับบาตรและจีวรด้วยความเคารพอย่างแต่ก่อนเคยทำมา ผิดแต่ว่าเวลา ทั้ง ๕ กราบทูลพระพุทธเจ้านั้นได้ใช้ถ้อยคำที่พวกตนไม่เคยใช้มาก่อนเท่านั้น เบญจวัคคีย์ใช้โวหารเรียกพระพุทธเจ้าว่า 'อาวุโส โคดม' คำท้ายคือ โคดม หมายถึงชื่อ ตระก้ลของพระพุทธเจ้า ส่วน อาวุโส เป็นคำเดียวกับที่คนไทยเรานำมาใช้ในภาษาไทย ผิดแต่หมายต่าง กันในทางตรงกันข้าม ภาษาไทยใช้และหมายกับผู้สูงอายุและคุณวุฒิ แต่ภาษาบาลีใช้เรียกบุคคลผู้อ่อนทั้ง วัยและวุฒิ คือเป็นคำที่ผู้ใหญ่ใช้เรียกผู้น้อย 'อาวุโส' จึงเท่ากับคำว่า 'คุณ' ในภาษาไทย พระพุทธเจ้าตรัสเตือนสติเบญจวัคคีย์ว่า เคยใช้โวหารนี้กับพระองค์มาก่อนหรือไม่ เมื่อ เบญจวัคคีย์ได้สติ พระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าจึงตรัสเล่าเรื่องให้ฟังว่าพระองค์ได้บรรลุความเป็นพระพุทธ เจ้าแล้ว ที่เสด็จมาที่นี่ก็เพื่อจะมาแสดงธรรมโปรดนั้นเอง เรื่องพระปัญจวัคคีย์ [๑๒] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกโดยลำดับ ถึงป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี เสด็จเข้าไปทางสำนักพระปัญจวัคคีย์. พระปัญจวัคคีย์ได้เห็นพระผู้มีพระภาค เสด็จมาแต่ไกล แล้วได้นัดหมายกันและกันว่า ท่านทั้งหลาย พระสมณะโคดมนี้เป็นผู้มักมาก คลายความเพียร เวียนมาเพื่อความเป็นคนมักมาก กำลังเสด็จมา พวกเราไม่พึงอภิวาท ไม่พึง ลุกขึ้นต้อนรับพระองค์ ไม่พึงรับบาตรจีวรของพระองค์ แต่พึงวางอาสนะไว้ ถ้าพระองค์ปรารถนา ก็จักประทับนั่ง. ครั้นพระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปถึงพระปัญจวัคคีย์ พระปัญจวัคคีย์นั้นไม่ตั้งอยู่ ในกติกาของตน ต่างลุกขึ้นต้อนรับพระผู้มีพระภาค รูปหนึ่งรับบาตรจีวรของพระผู้มีพระภาค รูปหนึ่งปูอาสนะ รูปหนึ่งจัดหาน้ำล้างพระบาท รูปหนึ่งจัดตั้งตั่งรองพระบาท รูปหนึ่ง นำกระเบื้องเช็ดพระบาทเข้าไปถวาย พระผู้มีพระภาคประทับนั่งบนอาสนะ ที่พระปัญจวัคคีย์ จัดถวาย แล้วทรงล้างพระบาท. ฝ่ายพระปัญจวัคคีย์เรียกพระผู้มีพระภาคโดยระบุพระนาม และ ใช้คำว่า "อาวุโส" เมื่อพระปัญจวัคคีย์กล่าวอย่างนั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสห้ามพระ ปัญจวัคคีย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธออย่าเรียกตถาคตโดยระบุชื่อ และอย่าใช้คำว่า "อาวุโส" ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ พวกเธอจงเงี่ยโสตสดับ เราได้บรรลุ อมตธรรมแล้ว เราจะสั่งสอน จะแสดงธรรม พวกเธอปฏิบัติอยู่ตามที่เราสั่งสอนแล้ว ไม่ช้า สักเท่าไร จักทำให้แจ้งซึ่งคุณอันยอดเยี่ยม อันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่กุลบุตรทั้งหลาย ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่. เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว. พระปัญจวัคคีย์ได้ทูลค้านพระผู้มีพระภาคว่า อาวุโสโคดม แม้ด้วยจริยานั้น แม้ด้วยปฏิปทานั้น แม้ด้วยทุกกรกิริยานั้น พระองค์ก็ยังไม่ได้ บรรลุอุตตริมนุสสธรรม อันเป็นความรู้ความเห็นพิเศษอย่างประเสริฐ อย่างสามารถ ก็บัดนี้ พระองค์เป็นผู้มักมาก คลายความเพียรเวียนมาเพื่อความเป็นคนมักมาก ไฉนจักบรรลุอุตตริมนุสสธรรม อันเป็นความรู้ความเห็นพิเศษอย่างประเสริฐ อย่างสามารถได้เล่า. เมื่อพระปัญจวัคคีย์กราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตไม่ใช่เป็นคนมักมาก ไม่ได้เป็นคนคลายความเพียร ไม่ได้เวียนมาเพื่อความเป็นคนมักมาก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ พวกเธอจงเงี่ยโสตสดับ เราได้ บรรลุอมตธรรมแล้ว เราจะสั่งสอน จะแสดงธรรม พวกเธอปฏิบัติอยู่ตามที่เราสั่งสอนแล้ว ไม่ช้าสักเท่าไร จักทำให้แจ้งซึ่งคุณอันยอดเยี่ยม อันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่กุลบุตรทั้งหลาย ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่. แม้ครั้งที่สอง พระปัญจวัคคีย์ได้ทูลค้านพระผู้มีพระภาคว่า ... แม้ครั้งที่สอง พระผู้มีพระภาคก็ได้ตรัสว่า ... แม้ครั้งที่สาม พระปัญจวัคคีย์ได้ทูลค้านพระผู้มีพระภาคว่า อาวุโสโคดม แม้ด้วยจริยา นั้น แม้ด้วยปฏิปทานั้น แม้ด้วยทุกกรกิริยานั้น พระองค์ก็ยังไม่ได้บรรลุอุตตริมนุสสธรรม อันเป็นความรู้ความเห็นพิเศษอย่างประเสริฐ อย่างสามารถ ก็บัดนี้พระองค์เป็นผู้มักมาก คลาย ความเพียร เวียนมาเพื่อความเป็นคนมักมาก ไฉนจักบรรลุอุตตริมนุสสธรรม อันเป็นความรู้ ความเห็นพิเศษอย่างประเสริฐ อย่างสามารถได้เล่า. เมื่อพระปัญจวัคคีย์กราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอยังจำได้หรือว่า ถ้อยคำเช่นนี้เราได้เคยพูดแล้วในปางก่อน แต่กาลนี้. พระปัญจวัคคีย์กราบทูลว่า คำนี้ไม่เคยได้ฟังเลย พระพุทธเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ พวกเธอจงเงี่ยโสตสดับ เราได้บรรลุอมตธรรมแล้ว เราจะสั่งสอน จักแสดงธรรม พวกเธอ ปฏิบัติอยู่ตามที่เราสั่งสอนแล้ว ไม่ช้าสักเท่าไร จักทำให้แจ้งซึ่งคุณอันยอดเยี่ยม อันเป็นที่สุด แห่งพรหมจรรย์ ที่กุลบุตรทั้งหลายออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการนั้น ด้วย ปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่. พระผู้มีพระภาคทรงสามารถให้พระปัญจวัคคีย์ ยินยอมได้แล้ว. ลำดับนั้นพระปัญจวัคคีย์ ได้ยอมเชื่อฟังพระผู้มีพระภาค เงี่ยโสตสดับ ตั้งจิต เพื่อรู้ยิ่ง. หัวข้อ: Re: วิธีสร้างบุญบารมี เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มกราคม 02, 2012, 03:27:00 PM สมุดภาพพระพุทธประวัติ
ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร ภาพที่ ๓๖ สำแดงปฐมเทศนาธัมมจักกัปปวัตตนสูตรโปรดเบญจวัคคีย์ ให้ได้ดวงตาเห็นธรรม (http://84000.org/tipitaka/picture/p36.jpg) วันที่พระพุทธเจ้ากำลังทรงแสดงธรรม 'ปฐมเทศนา' ดังที่เห็นอยู่ในภาพนั้น คือ วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ เป็นรุ่งขึ้นหลังจากเสด็จมาถึงและพบเบญจวัคคีย์ คือ วันอาสาฬหบูชานั่นเอง ผู้ฟังธรรมมี ๕ คน ที่เรียกว่า 'เบญจวัคคีย์' เรื่องที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงเป็นเรื่องเกี่ยวกับ ทรงปฏิเสธสิ่งที่คนคือนักบวชสมัยนั้นนิยมทำกัน คือ เรื่องทรมานตนให้ลำบาก และการปล่อยชีวิตไปตาม ความใคร่ ทรงปฏิเสธว่าทั้งสองทางนั้น พระองค์เคยทรงผ่านและทรงทดลองมาแล้ว ไม่ใช่ทางตรัสรู้เลย แล้วทรงแนะนำทางทางสายกลางที่เรียกว่า 'มัชฌิมาปฏิปทา' คือปฏิบัติดีปฏิบัติตามมรรค ๘ ที่กล่าวโดย ย่อคือ ศีล สมาธิ และปัญญา เมื่อพระพุทธเจ้านิพพานแล้ว พระสาวกรุ่นทำสังคายนาตั้งชื่อเรื่องเทศน์กัณฑ์ที่พระพุทธเจ้า ทรงแสดงครั้งแรกนี้ว่า 'ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร' หรือเรียกโดยย่อว่าธรรมจักร โดยเปรียบเทียบการแสดง ธรรมของพระพุทธเจ้าครั้งนี้ว่า เหมือนพระเจ้าจักรพรรดิทรงขับจักรหรือรถศึกแผ่เดชานุภาพ ต่างแต่จักรหรือรถศึกของพระพุทธเจ้าเป็นธรรม หรือธรรมจักร พอแสดงธรรมกัณฑ์นี้จบลง โกณฑัญญะ ผู้หัวหน้าเบญจวัคคีย์ได้เกิดดวงตาเห็นธรรม คือ ได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน พระพุทธเจ้าจึงเปล่งอุทานด้วยความเบิกบานพระทัย เมื่อเห็นโกณฑัญญะได้ฟัง ธรรมแล้วสำเร็จมรรคผลที่แม้จะเป็นขั้นต่ำ "อัญญาสิ วตโก โกณฑัญโญ ฯลฯ" แปลว่า "โอ! โกณฑัญญะ ได้รู้แล้ว ได้สำเร็จแล้ว" ตั้งแต่นั้นมา ท่านโกณฑัญญะจึงมีคำหน้าชื่อเพิ่มขึ้นว่า 'อัญญาโกณฑัญญะ' โกณฑัญญะฟังธรรมจบแล้ว ได้ทูลขอบวชเป็นพระภิกษุ พระพุทธเจ้าจึงทรงประทานอนุญาต ให้ท่านบวช ด้วยพระดำรัสรับรองเพียงว่า "เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว เธอจงประพฤติ พรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด" พระวาจานั้นแล ได้เป็นอุปสมบทของท่าน ส่วนอีก ๔ ที่เหลือ นอกนั้น ต่อมาได้สำเร็จและได้บวชเช่นเดียวกับพระโกณฑัญญะ หัวข้อ: Re: วิธีสร้างบุญบารมี เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มกราคม 02, 2012, 03:27:56 PM สมุดภาพพระพุทธประวัติ
ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร ภาพที่ ๓๗ ยสกุลบุตรหน่ายสมบัติ เดินไปสู่ป่าอิสิปตนะ พบพระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมโปรด (http://84000.org/tipitaka/picture/p37.jpg) พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระอริยสาวกทั้ง ๕ เสด็จจำพรรษาอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน หรือ สถานที่ทรงแสดงธรรม ซึ่งนับเป็นพรรษาที่หนึ่ง ตอนนี้ยังมิได้เสด็จไปโปรดใครที่ไหนอีก เพราะย่างเข้า หน้าฝน แต่มีกุลบุตรผู้หนึ่งนามว่า 'ยส' มาเฝ้า ยสกุลบุตรเป็นลูกชายเศรษฐีในเมืองพาราณสี บิดามารดาสร้างปราสาทเปลี่ยนฤดูให้อยู่ ๓ หลัง แต่ละหลังมีนางบำเรอเฝ้าปรนนิบัติจำนวนมาก เที่ยงคืนหนึ่ง ยสกุลบุตรตื่นขึ้นมาเห็นนางบำเรอนอน สลบไสลด้วยอาการที่น่าเกลียด (ท้องเรื่องเหมือนตอนก่อนพระพุทธเจ้าเสด็จออกบรรพชา) ก็เกิดนิพพิทา คือความเบื่อหน่าย ยสกุลบุตรจึงแอบหนีจากบ้านคนเดียวยามดึกสงัด เดินมุ่งหน้าไปทางป่าอิสิปตนมฤคทายวัน พลางบ่นไปตลอดทางว่า "อุปัททูตัง วต อุปสัคคัง วต" แปลให้ภาษาไทยว่า "เฮอ! วุ่นวายจริง! เฮอ! อึดอัดขัดข้องจริง!" หมายถึง ความร้อนรุ่มกลุ้มใจ ขณะนั้นมีเสียงดังตอบออกมาจากชายป่าว่า "โน อุปัททูตัง โน อุปสัคคัง" (ที่นี่ไม่มีความวุ่น วาย ที่นี่ไม่มีความอึดอัดขัดข้อง) เป็นพระดำรัสตอบของพระพุทธเจ้านั่นเอง ตอนที่กล่าวนี้เป็นเวลาจวนย่ำรุ่งแล้ว พระพุทธเจ้ากำลังเสด็จจงกรมอยู่ จงกรมคือการเดินกลับ ไปกลับมา เป็นการบริหารร่างกายให้หายเมื่อยขบและบรรเทาความง่วง เป็นต้น พระพุทธเจ้าตรัสบอกยสกุลบุตรว่า "เชิญเข้ามาที่นี่แล้วนั่งลงเถิด เราจะแสดงธรรมให้ฟัง" ยสกุลบุตรจึงเข้าไปกราบแทบพระบาทพระพุทธเจ้าแล้วนั่งลง พระพุทธเจ้าตรัสพระธรรม เทศนาให้ฟัง ฟังจบแล้วยสกุลบุตรได้บรรลุสำเร็จเป็นพระอรหันต์ แล้วจึงทูลขอบวชเป็นพระภิกษุกับ พระพุทธเจ้า ยสกุลบุตรบวชแล้วไม่นาน ได้มีสหายรุ่นราวคราวเดียวกับท่านอีก ๕๔ คนรู้ข่าวก็ออกบวช ตามได้มาเฝ้าพระพุทธเจ้า ได้ฟังธรรม แล้วได้สำเร็จอรหันต์เช่นเดียวพระยสกุลบุตร ตกลงภายในพรรษา ที่หนึ่งของพระพุทธเจ้าได้มีพระอรหันต์เกิดขึ้นในโลกทั้งหมด ๖๑ องค์ด้วยกัน หัวข้อ: Re: วิธีสร้างบุญบารมี เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มกราคม 02, 2012, 03:28:47 PM สมุดภาพพระพุทธประวัติ
ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร ภาพที่ ๓๘ เสด็จไปหาชฎิลอุรุเวลากัสสป ขอพักในโรงไฟ ชฎิลบอกว่ามีนาคร้ายก็ไม่ทรงฟัง (http://84000.org/tipitaka/picture/p38.jpg) ออกพรรษาแล้ว ล่วงมาจนถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ พระพุทธเจ้าได้ทรงประชุมพระสาวก ๖๐ รูปที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน พระสาวกเหล่านี้ล้วนเป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้น วัตถุประสงค์ที่พระพุทธเจ้า ทรงจัดประชุมพระสาวกดังกล่าวนี้ ก็เพื่อจัดส่งพระสาวกออกไปประกาศพระศาสนาตามเมืองต่างๆ ในการประชุมนี้ พระพุทธเจ้าทรงมีพระพุทธเจ้าดำรัสปราศรัยว่า "ภิกษุทั้งหลาย! เราหลุดพ้นแล้วจากบ่วงเครื่องผูกมัดทั้งปวงแล้ว แม้พวกท่านทุกรูปก็เหมือน กัน ขอพวกท่านจงจาริกไปประกาศพระศาสนาในชนบทต่างๆ เพื่อยังประโยชน์และความสุขให้เกิดแก่คน เป็นอันมาก จงแยกกันไปแห่งละรูป จงแสดงธรรมชั้นเบื้องต้น ชั้นกลาง และชั้นสูงอันบริสุทธิ์ที่เราได้ ประกาศไว้แล้ว ภิกษุทั้งหลาย! คนในโลกนี้ที่มีกิเลสบางเบา แต่มีสติปัญญาที่พอจะฟังธรรมรู้ เรื่องนั้นมีอยู่ แต่เพราะเหตุที่คนเหล่านั้นไม่มีโอกาสที่จะได้ฟังธรรม จึงเสื่อมจากคุณความดีที่จะพึงได้รับ พวกท่านไปกัน เถิด แม้เราก็จะไปยังตำบลอุรุเสานานิคม เพื่อประกาศพระศาสนา" รุ่งขึ้นวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๒ พระสาวก ๖๐ รูปจึงต่างแยกย้ายกันออกไปประกาศพระศาสนา ตามพระดำรัสของพระพุทธเจ้า ส่วนพระพุทธเจ้าเสด็จกลับมายังตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ซึ่งเคยเป็นสถาน ประทับตรัสรู้ แล้วพระพุทธเจ้าเสด็จโดยลำพังพระองค์ไปยังสำนักของนักบวชใหญ่แห่งหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า 'ชฎิลสามพี่น้อง' ชฎิลผู้พี่ชายใหญ่ชื่อ 'อุรุเวลกัสสป' มีสาวกบริวาร ๕๐๐ คน ตั้งอาศรมบำเพ็ญพรต บูชาไฟ อยู่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชราตอนเหนือ น้องชายคนกลางชื่อ 'นทีกัสสป' มีบริวาร ๓๐๐ และน้องชายคนเล็กชื่อ 'คยากัสสป' มีบริวาร ๒๐๐ ตั้งอาศรมอยู่คนละแห่ง ที่คุ้งน้ำทางใต้ถัดลงมา พระพุทธเจ้าเสด็จไปยังสำนักของผู้พี่ชายใหญ่ก่อน ทรงพบหัวหน้าชฎิล แล้วตรัสขอที่พัก หัวหน้ชฎิลบอกพระพุทธเจ้าว่ามีอยู่แห่งเดียวคือโรงบูชาไฟ แต่ในที่นั้นมีพญานาคใหญ่อาศัย พิษร้ายกาจนัก หัวข้อ: Re: วิธีสร้างบุญบารมี เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มกราคม 02, 2012, 03:29:40 PM สมุดภาพพระพุทธประวัติ
ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร ภาพที่ ๓๙ ทรงทรมานนาคราชร้าย ขดกายพญานาคใส่บาตรให้ชฎิลดู ชฎิลก็ยังไม่เลื่อมใส (http://84000.org/tipitaka/picture/p39.jpg) ชฎิลสามพี่น้อง โดยเฉพาะอุรุเวลกัสสปผู้พี่ชายใหญ่เป็นหัวหน้านักบวช ที่ชาวเมืองราชคฤห์ นับถือมาก ท่านผู้นี้ประกาศตนเป็นผู้วิเศษ เป็นพระอรหันต์ บำเพ็ญพรตบูชาไฟ เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จไปถึง และตรัสขอพักอาศัยในโรงไฟ ซึ่งพวกชฎิลถือว่าเป็นสถานศักดิ์ สิทธิ์ และเป็นอันตรายแก่ผู้จะไปอยู่อาศัยภายในโรงไฟ เพราะมีพญานาค หรือพญางูใหญ่มีพิษร้ายกาจ อาศัยอยู่ในนั้น ชฎิลจึงนึกในใจว่า พระพุทธเจ้าทรงอวดดีที่ไม่กลัวอันตราย ตามท้องเรื่องในปฐมสมโพธิกล่าวว่า เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จเข้าไปประทับภายในโรงไฟ พญา นาคก็มีจิตขึ้งเคียดทุกขโทมนัส คือ โกรธมาก จึงพ่นพิษใส่พระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าเสด็จเข้าเตโชกสิน สมาบัติ (หมายถึง การเข้าฌานชนิดหนึ่ง ซึ่งบันดาลให้เกิดเปลวไฟขึ้นจากายได้) พิษของพญานาคและเปลว เพลิงจากเตโชกสินของพระพุทธเจ้าได้บังเกิดขึ้นเป็นแสงแดงสว่าง ดุจเผาผลาญโรงเพลิงนั้นให้เป็นภัสมธุลี (แหลกละเอียด) พวกชฎิลได้เห็นแสงเพลิงนั้นก็ปริวิตกว่า พระสมณะรูปนี้ (หมายถึงพระพุทธเจ้า) เห็นทีจะ วอดวายด้วยพิษพญานาคคราวนี้เป็นแน่ ปฐมสมโพธิว่า "ครั้นล่วงราตรีรุ่งเช้า พระสัพพัญญูเจ้าก็ยังเดชแห่งพญานาค ให้อันตรธาน หาย บันดาลให้นาคนั้นขนดกายลงในบาตร แล้วทรงสำแดงแก่อุรุเวลกัสสป ตรัสบอกว่า นาคนี้สิ้นฤทธิ์ด้วย เดชตถาคต..." หัวข้อ: Re: วิธีสร้างบุญบารมี เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มกราคม 02, 2012, 03:30:39 PM สมุดภาพพระพุทธประวัติ
ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร ภาพที่ ๔๐ วันหนึ่ง ฝนตักหนัก น้ำท่วม แต่ไม่ท่วมที่ประทับ ชฎิลเห็นอัศจรรย์จึงทูลขอบรรพชา (http://84000.org/tipitaka/picture/p40.jpg) การที่พระพุทธเจ้าเสด็จมาโปรดชฎิลสามพี่น้องดังได้บรรยายไว้แล้ว ก็เพราะนักบวชสามพี่ น้องนี้เป็นคณาจารย์ใหญ่ที่คนเคารพนับถือมากในสมัยนั้น การให้นักบวชที่มีอิทธิพลทางความนับถือมาก ได้หันมานับถือพระองค์นั้น เป็นนโยบายสำคัญของพระพุทธเจ้าในการประกาศพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็น ศาสนาที่เพิ่งเกิดใหม่ เพราะถ้าปราบนักบวชที่มีอิทธิพลมากลงได้เสียแล้ว การประกาศพระศาสนาของ พระองค์ก็ง่ายขึ้นและจะได้ผลรวดเร็ว พระพุทธเจ้าจึงเสด็จมาสำนักของชฎิลสามพี่น้องซึ่งตั้งตนว่าเป็นอรหันต์ และพระองค์ได้ ทรงทรมาน คือ การแสดงหรือพิสูจน์ให้เห็นว่าพวกชฎิลไม่ใช่พระอรหันต์อย่างที่อ้าง คุณธรรมใดๆ ที่ พวกชฎิลถือว่าพวกตนมีและว่าวิเศษ พระพุทธเจ้าก็ทรงแสดงให้เห็นว่าหาเป็นเช่นนั้นไม่ ที่ถือว่าพญางูใหญ่มีพิษร้ายกาจ พระองค์ก็จับขดลงในบาตรเสีย เมื่อเกิดอุทกภัยน้ำท่วมใหญ่ พวกชฎิลเข้าใจว่าพระพุทธเจ้าจมน้ำตายเสียแล้ว ต่างลงเรือพายมาดู ก็เห็นพระพุทธเจ้าเดินจงกรมอยู่ภาย ใต้ท้องน้ำ ปฐมสมโพธิว่า พระพุทธเจ้าทรงใช้เวลากลับใจพวกชฎิลอยู่ถึงสองเดือนจึงสำเร็จ โดยชฎิลผู้ หัวหน้าคณาจารย์ใหญ่ คือ อุรุเวลกัสสป เกิดความสังเวชสลดใจว่าตนมิใช่พระอรหันต์อย่างที่เคยหลงเข้า ใจผิด ทั้งนี้ด้วยพุทธานุภาพที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงให้ประจักษ์เห็นได้ หัวหน้าชฎิลจึงลอยเครื่องบริขารและเครื่องบูชาไฟทิ้งลงในแม่น้ำเนรัญชรา แล้วกราบแทบ พระบาทพระพุทธเจ้า ขอบวชยอมเป็นพระสาวก ฝ่ายน้องชายอีกสองคน ที่ตั้งอาศรมอยู่คุ้งน้ำทางใต้ลง ไป เห็นบริขารพี่ชายลอยมาก็จำได้ นึกว่าอันตรายเกิดแก่พี่ชายตนก็พากันมาดู ทั้งสองได้ทราบเรื่องโดยตลอด ก็ยอมตนเป็นพระสาวกทั้งสิ้น พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดง ธรรมโปรดชฎิลทั้งหมดได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ พระพุทธเจ้าเลยมีนักบวชเป็นพระสาวกเพิ่มขึ้นใหม่อีก ๑,๐๐๐ รูป หัวข้อ: Re: วิธีสร้างบุญบารมี เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มกราคม 02, 2012, 03:31:53 PM สมุดภาพพระพุทธประวัติ
ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร ภาพที่ ๔๑ พระอุรุเวลกัสสปประกาศตนเป็นพุทธสาวกต่อหน้าพระเจ้าพิมพิสาร ณ สวนตาลหนุ่ม (http://84000.org/tipitaka/picture/p41.jpg) เมื่อพระพุทธเจ้าทรงปราบนักบวชสามสำนักสามพี่น้องให้สิ้นพยศ คือหมดทิฐิมานะที่ว่าตน เป็นพระอรหันต์ลงราบคาบ จนยอมเป็นพระสาวกแล้ว ก็ทรงดำเนินนโยบายในการประกาศพระศาสนาขั้น ต่อไป คือเสด็จเข้าเมืองราชคฤห์ ราชคฤห์เป็นเมืองหลวงของแคว้นมคธและแคว้นอังคะในสมัยนั้น มีผู้คนมาก มีพระราชาผู้ เป็นใหญ่ คือพระเจ้าพิมพิสารปกครอง พระราชาพระองค์นี้เคยทรงพบพระพุทธเจ้าครั้งหนึ่งเมื่อตอน ก่อนตรัสรู้ ดังได้เคยบรรยายไว้แล้ว พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระสาวกที่แต่ก่อนเป็นพวกชฎิลครองหนังเสือ แต่มาบัดนี้ เป็นพระ ภิกษุครองจีวร จำนวนหนึ่งพันรูป เสด็จไปถึงอุทยานนอกเมืองที่เรียกว่า ลัฏฐิวัน หรือสวนตาลหนุ่ม แล้ว เสด็จพักที่นี่ พวกชาวเมืองแตกตื่นกันมากเมื่อรู้ข่าวว่า มีคณะนักบวชศาสนาใหม่ โดยมีพระสมณโคดม พระพุทธเจ้าเข้ามาถึงชานเมือง จึงออกไปเฝ้ากันล้นหลาม แม้พระเจ้าพิมพิสารก็แสดงไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ด้วย ชาวเมืองที่มาเฝ้าพระพุทธเจ้ามีอาการกิริยาแตกต่างกัน บ้างไหว้ บ้างนั่งเฉย บ้างแนะนำ ตนเองว่าอยู่ในวรรณะและตระก้ลอะไร แต่มีเป็นจำนวนมากที่สงสัยไม่อาจทราบได้ว่า ระหว่างพระพุทธ เจ้ากับอุรุเวลกัสสป ผู้เป็นหัวหน้าชฎิลที่เคยมีชื่อเสียงใครเป็นศาสดา และใครเป็นสาวก ต่างสงสัยกันนัก หนา เพื่อตัดข้อสงสัยนี้ พระพุทธเจ้าจึงตรัสถามอุรุเวลกัสสปถึงเหตุผลที่ละทิ้งลัทธิเดิมที่เคย ปฏิบัติอยู่ ท่านได้กราบทูลดังๆ ต่อหน้าฝูงชนว่า ไร้สาระ ไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ ว่าแล้วก็ลุกขึ้นกราบแทบ พระบาทพระพุทธเจ้า แสดงให้ชาวเมืองเห็นว่า ใครเป็นพระศาสดา ชาวเมืองเห็นแล้วต่างทึ่งและ อัศจรรย์ใจมาก เมื่อชาวเมืองสงบแล้ว พระพุทธเจ้าจึงทรงแสดงธรรม เมื่อจบลง ชาวเมืองจำนวนมาก ประกาศตนเป็นพุทธศาสนิกชน อีกจำนวนหนึ่งรวมทั้งพระเจ้าพิมพิสารด้วยได้สำเร็จโสดาบัน หัวข้อ: Re: วิธีสร้างบุญบารมี เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มกราคม 02, 2012, 03:33:00 PM สมุดภาพพระพุทธประวัติ
ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร ภาพที่ ๔๒ พระเจ้าพิมพิสารเลื่อมใส ทรงหลั่งน้ำถวายวัดเวฬุวันเป็นปฐมสังฆาราม (http://84000.org/tipitaka/picture/p42.jpg) เมื่อพระเจ้าพิมพิสาร ราชาแห่งแคว้นมคธ ได้ทรงฟังธรรมพระพุทธเจ้าจบลง และได้ทรง บรรลุโสดาแล้ว ก็เสด็จลุกขึ้นอภิวาทแทบพระบาทพระพุทธเจ้า ทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระ สาวกหนึ่งพันรูปเสด็จไปเสวยที่พระราชนิเวศน์ในวันรุ่งขึ้น พระพุทธเจ้าทรงรับคำทูลอาราธนาด้วยพระ อาการดุษณี นั่นเป็นธรรมเนียมการรับนิมนต์ของพระพุทธเจ้าและพระสงฆ์สมัยนั้น ถ้าดุษณีหรือนิ่ง แปล ว่า รับได้ ถ้ารับไม่ได้ เช่น มีคนทูลอาราธนาว่า ขอให้เสด็จไปรับบาตรที่บ้านของตนแห่งเดียวตลอด พรรษานี้ พระพุทธเจ้าจะตรัสว่า "คนในโลกนี้ใครๆ ก็อยากทำบุญกับเราทั้งนั้น จะผูกขาดไม่ได้หรอก" อย่างนี้แปลว่ารับนิมนต์ไม่ได้ หรือไม่รับ รุ่งขึ้น พระพุทธเจ้าเสด็จจากสวนตาลหนุ่ม เข้าไปในพระราชนิเวศน์ของพระเจ้าพิมพิสาร เจ้าพนักงานที่ได้ตระเตรียมอาหารบิณฑบาตรไว้พร้อมแล้ว พระเจ้าพิมพิสารได้ทรงถวายอาหารแก่พระ พุทธเจ้าและพระสงฆ์สาวก เมื่อพระพุทธเจ้าเสวยแล้ว และพระสงฆ์ทั้งนั้นก็ฉันอิ่มกันทั่วแล้ว พระเจ้าพิมพิสารจึงเสด็จ เข้าไปใกล้พระพุทธเจ้า ประทับนั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง แล้วทรงมีพระราชดำรัสทูลพระพุทธเจ้าว่า ที่สวน ตาลหนุ่มเป็นสถานที่อยู่ห่างไกลเมืองและทุรกันดารมาก ไม่สะดวกแก่การไปมา แล้วมีพระราชดำรัสว่าพระราชอุทยานสวนไม้ไผ่ หรือเวฬุวันของพระองค์ตั้งอยู่ไม่ใกล้ไม่ ไกลจากตัวเมืองนัก ไปมาสะดวก กลางวันไม่พลุกพล่านด้วยผู้คน กลางคืนสงบสงัด สมควรเป็นที่ประทับ อยู่ของพระพุทธเจ้าและพระสงฆ์ เมื่อพระพุทธเจ้าทรงรับด้วยพระอาการดุษณี พระเจ้าพิมพิสารจึงทรงหลั่งน้ำจากพระเต้า ลงบนพระหัตถ์พระพุทธเจ้า ถวายเวฬุวนารามให้เป็นวัดพระพุทธศาสนาแห่งแรกในโลก ปฐมสมโพธิว่า "กาลเมื่อพระสัพพัญญูทรงรับพระเวฬุวันเป็นอาราม ครั้งนั้นอันว่า มหา ปฐพีดลก็วิกลกัมปนาท ดุจรู้ประสาทสาธุการว่า มูลที่ตั้งพระพุทธศาสนา หยั่งลงในพื้นพสุธา กาลบัดนี้" หัวข้อ: Re: วิธีสร้างบุญบารมี เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มกราคม 06, 2012, 10:03:23 AM สมุดภาพพระพุทธประวัติ
ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร ภาพที่ ๔๓ ท้าวเธอทรงบำเพ็ญกุศลให้พระญาติที่เกิดเป็นเปรต เปรตทั้งหลายต่างโมทนารับส่วนบุญ (http://84000.org/tipitaka/picture/p43.jpg) ในภาพที่ ๔๒ จะเห็นพระเจ้าพิมพิสารทรงหลั่งน้ำจากพระเต้าลงบนพระหัตถ์ของพระพุทธ เจ้า การหลั่งน้ำในที่นี้เรียกว่าตามภาษาสามัญว่า 'กรวดน้ำ' หรือเรียกเป็นคำศัพท์ว่า 'อุททิโสทก' แปลว่า กรวดน้ำมอบถวาย ใช้ในกรณีเมื่อถวายของใหญ่โตที่ไม่อาจยกประเคนใส่มือพระได้ เช่น ที่ดินและวัด เป็น ต้น ส่วนการกรวดน้ำของพระเจ้าพิมพิสารในภาพนี้เรียกว่า 'ทักษิโณทก' แปลว่า กรวดน้ำแผ่ส่วน กุศลแก่คนตาย ใช้ในกรณีที่จะมอบสิ่งหนึ่งสิ่งใดแก่ผู้หนึ่งผู้ใดซึ่งเป็นผู้รับอีกเหมือนกัน ผิดแต่ว่า สิ่งที่ให้ มองไม่เห็นตัวตน เพราะเป็นบุญกุศล ผู้รับก็มองไม่เห็น เพราะเป็นคนที่ตายไปแล้ว พิธีนี้เป็นที่นิยมกันอยู่ใน เมืองไทยเวลาทำบุญทุกวันนี้ ภาพที่เห็นนี้เป็นการบำเพ็ญพระราชกุศลครั้งที่สองของพระเจ้าพิมพิสาร เมื่อครั้งแรกพระเจ้า พิมพิสารไม่ได้ทรงอุทิศส่วนกุศลให้แก่พระญาติที่ล่วงลับไปแล้ว ปฐมสมโพธิจึงว่า ในคืนวันนั้นพวกเปรต ซึ่งเคยเป็นพระญาติของพระเจ้าพิมพิสารได้ส่งเสียงอื้ออึงขึ้นในพระราชนิเวศน์ ที่แสดงให้เห็นก็มี ตามนิยายธรรมบทเล่าว่า เปรตเหล่านี้เมื่อครั้งยังเป็นมนุษย์ เคยลักลอบ (หรือจะเรียกอย่าง ทุกวันนี้ว่าคอรัปชั่นก็ได้) กินของที่คนเขานำมาถวายสงฆ์ ตายแล้วตกนรก แล้วมาเป็นเปรต และมาคอยรับ ส่วนบุญที่พระเจ้าพิมพิสารอุทิศให้ แต่เมื่อผิดหวังจึงประท้วงดังกล่าว พระเจ้าพิมพิสารจึงเสด็จไปเฝ้าพระพุทธเจ้าในวันรุ่งขึ้น ทูลถามทราบความแล้ว จึงทรง บำเพ็ญพระราชกุศลถวายอาหารและจีวรแก่พระพุทธเจ้าและพระสงฆ์ในวันรุ่งขึ้นอีกต่อมา แล้วทรงหลั่งน้ำ อุททิโสทกว่า อิทัง โน ญาตีนัง โหตุ แปลว่า "ขอกุศลผลบุญครั้งนี้จงไปถึงญาติพี่น้องของข้าพเจ้าด้วย เทอญ" เปรตเหล่านี้จึงต่างได้รับกุศลผลบุญกันทั่วหน้า และพ้นจากความทุกข์ทรมานที่ได้รับอยู่ คำว่า "อิทัง โน ญาตีนัง โหตุ" ได้กลายเป็นบทกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้คนตายที่คนไทย ใช้อยู่ในปัจจุบัน _ หัวข้อ: Re: วิธีสร้างบุญบารมี เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มกราคม 06, 2012, 01:00:58 PM สมุดภาพพระพุทธประวัติ
ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร ภาพที่ ๔๔ พระโมคคัลลาน์ สารีบุตร อัครสาวกซ้าย-ขวามาทูลขอบรรพชาเป็นเอหิภิกขุ (http://84000.org/tipitaka/picture/p44.jpg) ภาพที่เห็น คือ พระโมคคัลลาน์ สารีบุตร กำลังบวชกับพระพุทธเจ้าที่วัดเวฬุวัน กรุงราชคฤห์ ก่อนบวช ทั้งสองบวชเป็นปริพาชกในฐานะเป็นศิษย์สาวกของสญชัย สญชัยเป็นศาสดาปริพาชกที่มีชื่อเสียงมากผู้หนึ่งในแคว้นมคธ มีลูกศิษย์ และคนนับถือมาก โมคคัลลาน์ สารีบุตร เคยอยู่ที่นี่เพื่อศึกษาหาความรู้ทางพ้นทุกข์ แต่ครั้นศึกษาจบแล้วเห็นว่ายังไม่ใช่ทาง พ้นทุกข์ จึงลาอาจารย์สญชัยออกแสวงหาความรู้ใหม่ต่อไป แล้วจึงมาพบพระอัสสชิในเมืองราชคฤห์ พระอัสสชิเป็นรูปหนึ่งในคณะพระปัญจวัคคีย์ ที่พระพุทธเจ้าทรงส่งออกไปประกาศพระ ศาสนา ท่านทราบว่าเวลานั้นพระพุทธเจ้าเสด็จมาประทับอยู่ที่เมืองราชคฤห์ ท่านจึงเดินทางเพื่อมาเฝ้า พระพุทธเจ้าที่นั่น ระหว่างทางมาได้พบพระสารีบุตร ซึ่งขณะนั้นเรียกว่า 'อุปติสสปริพาชก' พระสารี บุตรเห็นกิริยาท่าทางพระอัสสชิน่าเลื่อมใสจึงเข้าใจสนทนาถามถึงทางปฏิบัติ และผู้เป็นพระศาสดา เมื่อ ได้ฟังก็ชอบใจ ภายหลังจากนั้นจึงกลับมาชวนสหายคือ โมคคัลลาน์ หรือ 'โกลิตปริพาชก' ก็เรียกไปเฝ้า พระพุทธเจ้า พร้อมด้วยปริพาชกบริวารที่ติดตามมาอีก ๒๕๐ คน ครั้งนั้น สารีบุตร โมคคัลลานะ ได้พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ครั้นถึงแล้วได้ซบเศียร ลงที่พระบาทของผู้มีพระภาค แล้วทูลขอบรรพชาอุปสมบทต่อพระผู้มีพระภาคว่า ขอพวกข้าพระพุทธเจ้า พึงได้บรรพชา พึงได้อุปสมบทในสำนักพระผู้มีพระภาค พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า พวกเธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ดังนี้ แล้วได้ตรัสต่อไปว่า ธรรมอันเรา กล่าวดีแล้ว พวกเธอจงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด พระวาจานั้นแลได้เป็นอุปสมบท ของท่านผู้มีอายุเหล่านั้น คนทั้งหมดได้เป็นผู้ทรงบาตรจีวรอันสำเร็จด้วยฤทธิ์ ราวกะว่าพระเถระ ๑๐๐ พรรษา ภายหลังบวชแล้วไม่นาน ท่านทั้งสองได้ปฏิบัติธรรมจนสำเร็จอรหันต์ ได้เป็นกำลังสำคัญ ในการประกาศพระศาสนาช่วยพระพุทธเจ้ามากที่สุด พระพุทธเจ้าจึงทรงตั้งท่านทั้งสองให้ดำรงตำแหน่ง พระอัครสาวก พระสารีบุตรเป็นพระอัครสาวกฝ่ายขวา พระโมคคัลลาน์ฝ่ายซ้าย ว่าอย่างสามัญ ก็เท่ากับ เป็นมือขวามมือซ้ายของพระพุทธเจ้านั่นเอง ท่านทั้งสองนี้นิพพานก่อนพระพุทธเจ้าไม่กี่เดือน พระสารี บุตรนิพพานด้วยโรคประจำตัว ส่วนพระโมคคัลลาน์ถูกอันธพาลจากคนในศาสนาอื่น (เดียรถีย์) จ้างมาฆ่า หัวข้อ: Re: วิธีสร้างบุญบารมี เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มกราคม 06, 2012, 01:02:24 PM ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร
ภาพที่ ๔๕ พระพุทธองค์ทรงประทาน โอวาทปาติโมกข์แก่พระอรหันต์สงฆ์ ในวันเพ็ญมาฆบูชา (http://84000.org/tipitaka/picture/p45.jpg) ภายหลังพระโมคคัลลาน์ สารีบุตร บวชแล้วไม่นาน พระพุทธเจ้าได้ทรงประชุมพระสาวก ขึ้นในวันเพ็ญกลางเดือนสาม ที่พระเวฬุวนาราม เมืองราชคฤห์ โดยมีพระพุทธเจ้าทรงเป็นประธาน การ ประชุมพระสาวกครั้งนี้ ผู้นับถือศาสนาพุทธในสมัยก่อนต่อมาเห็นเป็นเหตุการณ์ที่มีความสำคัญมาก จึง กำหนดถือวันนี้เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาวันหนึ่ง ที่เรียกกันอยู่ทุกวันนี้ว่า 'วันมาฆบูชา' การประชุมพระสาวกของพระพุทธเจ้าครั้งนี้ แปลกกว่าทุกคราวที่มีอยู่ในสมัยพุทธกาล คือ พระสาวกมีจำนวน ๑,๒๕๐ รูป แต่ละรูป แต่ละองค์ล้วนบวชกับพระพุทธเจ้า มีพระอุปัชฌาย์องค์เดียวกัน คือ พระพุทธเจ้า ล้วนเป็นพระอรหันต์ ต่างมาประชุมโดยไม่ได้นัดหมาย และพระพุทธเจ้าทรงแสดง โอวาทปาติโมกข์ในที่ประชุม การประชุมพระสาวกครั้งนี้จึงเรียกอีกอย่างหนึ่ง ตามลักษณะแปลก ๔ ประ การนี้ว่า 'จาตุรงคสันนิบาต' ในเวลานั้น กรุงราชคฤห์เป็นศูนย์กลางของศาสนาพุทธ พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่นี่บรรดา พระสาวกแยกย้ายกันออกไปประกาศพระศาสนาต่างได้ทราบว่า เวลานั้นพระพุทธเจ้ากำลังเสด็จประทับอยู่ ที่กรุงราชคฤห์ เมื่อเสร็จกิจประกาศพระศาสนาจึงต่างจาริกมาเฝ้า เมื่อมาพร้อมหน้ามากตั้งพันกว่า พระ พุทธเจ้าจึงประชุมพระสาวกแสดงโอวาทปาติโมกข์ 'โอวาทปาติโมกข์' คือ หลักการโดยสรุปของศาสนาพุทธ มีทั้งหลักคำสอนและหลักการ ปกครองคณะสงฆ์ มีทั้งหมด ๑๓ ข้อด้วยกัน เช่นเป็นต้นว่า ศาสนาพุทธสอนว่า ละชั่ว ทำดี ทำจิต บริสุทธิ์ สุดยอดของคำสอนอยู่ที่นิพพาน ดับกิเลสพ้นทุกข์ และเป็นพระเป็นต้องสำรวม กินอยู่พอประมาณ อดทน ไม่กล่าวร้ายป้ายสีคนอื่น ไม่เบียดเบียนคนอื่น สมัยที่กล่าวนี้ พระพุทธเจ้ายังไม่ทรงบัญญัติวินัยปกครอง เพราะความเสียหายยังไม่เกิดจึง ทรงวางหลักปกครองสงฆ์ไว้แต่โดยย่อ เทียบให้เห็นคือ เมืองไทยสมัยไม่กี่ปีมานี้ ไม่มีรัฐธรรมนูญปก ครองราชอาณาจักร แต่มีธรรมนูญเป็นหลักปกครองแทน ธรรมนูญนี้เทียบได้กับโอวาทปาติโมกข์ ส่วนรัฐ ธรรมนูญปกครองราชอาณาจักรก็เทียบได้กับวินัยพุทธบัญญัติทั้งหมดที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติขึ้นในเวลา ต่อมา หัวข้อ: Re: วิธีสร้างบุญบารมี เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มกราคม 06, 2012, 01:04:06 PM สมุดภาพพระพุทธประวัติ ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร ภาพที่ ๔๖ เสด็จไปโปรดพระญาติที่กรุงกบิลพัสดุ์ พระญาติผู้ใหญ่ถือว่าสูงอายุไม่ถวายบังคม (http://84000.org/tipitaka/picture/p46.jpg) ตลอดเวลา ๖ ปีกว่า คือ นับตั้งแต่เสด็จ ออกบวช ตรัสรู้ และประกาศพระศาสนาในแคว้นมคธ จนมีพระสาวกและคนนับถือมาก พระพุทธเจ้ายังมิได้เสด็จกลับกรุงกบิลพัสดุ์เป็นครั้งแรก เพื่อโปรดพระ ประยูรญาติตามคำอาราธนาของพระสุทโธทนะพุทธบิดา ด้วยพระทัยปรารถนาที่จะได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้ทรงอยู่ในฐานะหนึ่ง คือ พระราชโอรส เมื่อ ทรงทราบว่าขณะนั้น พระพุทธเจ้าเสด็จประทับ เพื่อประกาศพระศาสนาอยู่ในแคว้นมคธ พระเจ้า สุทโธทนะจึงส่งคณะฑูตไปทูลอาราธนา คณะฑูตแต่ละคณะที่พระเจ้าสุทโธทนะส่งไปเพื่อทูลอาราธนาพระพุทธเจ้า มีหัวหน้าและ บริวาร ซึ่งปฐมสมโพธิบอกว่าจำนวนหนึ่งพันคน รวมทั้งหมด ๑๐ คณะด้วยกัน คณะที่ ๑ ถึง ๙ ตาม ลำดับ ได้ไปเฝ้าพระพุทธเจ้าได้ฟังธรรมแล้วสำเร็จอรหันต์ ยังมิได้กลับมาทูลรายงานให้พระเจ้าสุทโธทนะ ได้ทราบ พระเจ้าสุทโธทนะจึงทรงส่งคณะอำมาตย์ เป็นคณะฑูตที่ ๑๐ ไปอีก คณะฑูตที่ ๑๐ นี้มี กาฬุทายีเป็นหัวหน้า ซึ่งเป็นผู้ที่คุ้นเคยและเป็นสหชาติ คือ เกิดวันเดียวกับพระพุทธเจ้า ก่อนออกเดินทาง ไปทูลอาราธนาพระพุทธเจ้า กาฬุทายีทูลลาบวช เมื่อบวชแล้วจะทูลอาราธนา พระพุทธเจ้าให้เสด็จมายัง กรุงกบิลพัสดุ์ให้จงได้ พระเจ้าสุทโธทนะทรงอนุมัติ ภายหลังเมื่อกาฬุทายีไปถึงสำนักพระพุทธเจ้าได้ธรรมจนสำเร็จอรหันต์ และได้ขอบวชเป็น พระสาวกพร้อมทั้งบริวารที่ติดตามไปแล้ว ไปทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าเสด็จกรุงกบิลพัสดุ์ ขณะนั้นเป็น หน้าแล้ง ย่างเข้าหน้าฝน พระพุทธเจ้าทรงรับคำทูลอาราธนาแล้ว พร้อมด้วยพระสาวก ที่ตำนานปฐมสมโพธิบอกว่า จำนวน ๒ หมื่นรูป เสด็จออกเดินทางเป็นเวลาสองเดือน จึงถึงกรุงกบิลพัสดุ์แล้ว เสด็จเข้าประทับใน อารามของเจ้าศากยะผู้หนึ่ง ซึ่งชื่อว่า 'นิโครธ' ซึ่งพวกเจ้าศากยะพระญาติจัดถวายให้เป็นที่ประทับ อาราม ในที่นี้ไม่ใช่วัด แต่เป็นสวน เป็นอุทยานอยู่นอกเมือง พวกพระประยูรญาติรวมทั้งพระเจ้าสุทโธทนะ ได้ พากันมารับเสด็จและเฝ้าพระพุทธเจ้าที่อารามแห่งนี้ หัวข้อ: Re: วิธีสร้างบุญบารมี เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มกราคม 06, 2012, 01:06:18 PM สมุดภาพพระพุทธประวัติ ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร ภาพที่ ๔๗ ทรงแสดงปาฏิหารย์เหาะให้เห็น หมู่พระญาติก็สิ้นทิฐิมานะถวายบังคมพร้อมกัน (http://84000.org/tipitaka/picture/p47.jpg) ภาพที่เห็นก็แสดงถึงเหตุการณ์ตอนหนึ่ง ซึ่งต่อเนื่องมาจากตอนที่แล้ว เป็นตอนที่เรียกว่าพระ พุทธเจ้าทรงแสดงปาฏิหารย์ทำลายทิฐิมานะความถือตัวของพระประยูรญาติของพระพุทธเจ้า เจ้าศากยะ พระญาติวงศ์ของพระพุทธเจ้าที่เป็นชั้นผู้ใหญ่ ต่างถือองค์ว่าเป็นพระญาติผู้ใหญ่ มีพระชนม์สูงกว่าพระพุทธเจ้า ซึ่งขณะนั้นเพียง ๓๖ ปีกว่าๆ เมื่อมารับเสด็จและเฝ้าพระพุทธเจ้าที่นิโครธา ราม จึงไม่ถวายอภิวาทบังคม คือไม่ไหว้พระพุทธเจ้า แต่ส่งเจ้าชายเจ้าหญิงศากยะเยาว์วัยกว่าพระพุทธเจ้า ออกไปอยู่แถวหน้า ให้ไหว้พระพุทธเจ้าแทน ส่วนพวกตนอยู่แถวหลังไม่ยอมไหว้ ตำนานปฐมสมโพธิว่า ด้วยเหตุดังกล่าวพระพุทธเจ้าจึงทรงแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ในอากาศ แล้วโปรยละอองธุลีพระบาทลงเหนือศีรษะของบรรดาเจ้าศากยะ พระเจ้าสุทโธทนะซึ่งเสด็จมารับเสด็จและเฝ้าพระพุทธเจ้า ทรงเห็นเหตุอัศจรรย์เช่นนั้น จึง ทรงประนมพระหัตถ์อภิวาทพระพุทธเจ้า ฝ่ายพระประยูรญาติทั้งปวงในที่นั้น ก็ต่างทิฐิมานะ แล้วถวาย อภิวาทพระพุทธเจ้าพร้อมกันทั่วทุกองค์ ปฐมสมโพธิว่า "ในทันใดนั่นเอง มหาเมฆใหญ่ได้ตั้งเค้าขึ้นมา แล้วหลั่งสายฝนลงมาห่า ใหญ่ ฝนนั้นเรียกว่า 'โบกขรพรรษ' มีสีแดง ผู้ใดปรารถนาหรือประสงค์ให้เปียก ย่อมเปียก ไม่ปรารถนา ให้เปียก ก็ไม่เปียก โดยเม็ดฝนจะกลิ้งหล่นจากกายเหมือนหยาดน้ำกลิ้งจากใบบัว" หัวข้อ: Re: วิธีสร้างบุญบารมี เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มกราคม 06, 2012, 01:09:00 PM สมุดภาพพระพุทธประวัติ ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร ภาพที่ ๔๘ เสด็จทรงบาตรในเมือง พระนางพิมพายโสธราเห็น จึงชี้ให้พระราหุลดู ตรัสว่า "นั่นคือบิดาของเจ้า" (http://84000.org/tipitaka/picture/p48.jpg) เมื่อฝนโบกขรพรรษตกลงมาเป็นห่าใหญ่ พระสงฆ์สาวกที่ตามเสด็จพระพุทธเจ้าครั้งนี้ เห็น เป็นที่อัศจรรย์ จึงสนทนากันด้วยพิศวงว่า ฝนเช่นนี้ไม่เคยเห็นมาก่อน พระพุทธเจ้าจึงตรัสบอกพระสงฆ์ว่า ฝนโบกขรพรรษตกในสมัยที่พระองค์ทรงเป็นพระพุทธเจ้านั้นไม่น่าอัศจรรย์เลย แต่ที่น่าอัศจรรย์คือ ฝน โบกขรพรรษตกในสมัยที่พระองค์พระชาติเป็นพระเวสสันดร พระสงฆ์ทั้งปวงใคร่สดับเรื่องราวของเวสสันดร จึงทูลอาราธนาพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้า จึงตรัสเรื่องเวสสันดรชาดก ตั้งแต่ต้นจนถึงตอนพระเวสสันดรเสด็จนิวัติกลับเข้าเมือง และเกิดฝนโบกขร พรรษตกลงมาเป็นห่าใหญ่เหมือนคราวนี้ เรื่องเวสสันดรชาดกที่คนไทยผู้นับถือพระพุทธศาสนาอาราธนา สงฆ์เทศน์ให้ฟังที่เรียกว่า 'เทศน์มหาชาติ' ทุกวันนี้ เกิดขึ้นจากพระพุทธเจ้า ตรัสเทศนาครั้งนี้ คือ ใน คราวเสด็จโปรดพระประยูรญาติเป็นครั้งแรกนี้เอง ฝ่ายประยูรญาติทั้งปวง รวมทั้งพระเจ้าสุทโธทนะพุทธบิดาด้วย ต่างถวายบังคมพระพุทธ เจ้า แล้วทูลลาเสด็จกลับเข้าเมือง แต่จะได้มีผู้หนึ่งผู้ใดทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าไปทรงรับอาหารบิณฑบาต ที่นิเวศน์ของตนก็หาไม่ รุ่งเช้า พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระสงฆ์บริวารทั้งหมด จึงเสด็จเข้าไปบิณฑบาตในเมือง ชาว เมืองแตกตื่นกันโกลาหล ด้วยไม่เคยคิดว่าพระพุทธเจ้าซึ่งกษัตริย์โดยพระชาติกำเนิด จะเสด็จภิกขา แปล ความหมายให้เป็นภาษาสามัญที่สุภาพหน่อยก็ว่า เที่ยวขอเขากิน ปฐมสมโพธิรายงานเหตุการณ์ตอนนี้ไว้ว่า "ในขณะนั้นบรรดามหาชนชาวเมืองแจ้งว่า พระผู้ เป็นเจ้าชายสิทธัตถะราชกุมารเที่ยวภิกขาจารบิณฑิบาต ดังนั้น ก็ชวนกันเปิดแกลแห่งเรือนทั้งหลายต่างๆ อันมีพื้น ๒ ชั้น แล ๓ ชั้น เป็นต้น แต่ล้วนขวนขวายในกิจที่จะเล็งแลดูพระสัพพัญญู อันเสด็จเที่ยวบิณฑ บาตทั้งสิ้น" แม้พระนางพิมพายโสธราผู้เคยเป็นพระชายาของเจ้าชายสิทธัตถะหรือพระพุทธเจ้า ซึ่งมี พระทัยไม่เคยสร่างพระโสกีตลอดมา ได้ยินเสียงชาวเมืองอื้ออึงถึงเรื่องพระพุทธเจ้าเสด็จเข้าเมืองมาตาม ถนน ก็จูงพระหัตถ์ราหุลผู้โอรส ซึ่งขณะนั้นมีพระชนมายุได้ ๗ ปี เสด็จไปยังช่องพระแกล ครั้นเห็น พระพุทธเจ้าเสด็จนำหน้าพระสงฆ์มา พระนางก็ทรงชี้ให้ราหุลดู และตรัสบอกโอรสว่า "นั่นคือพระบิดา ของเจ้า" หัวข้อ: Re: วิธีสร้างบุญบารมี เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มกราคม 06, 2012, 01:16:10 PM สมุดภาพพระพุทธประวัติ
ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร ภาพที่ ๔๙ พระพุทธบิดาทราบข่าวก็เสด็จมาตัดพ้อ ทูลขอให้เสด็จไปประทับเสวยในวัง (http://84000.org/tipitaka/picture/p49.jpg) ที่พระเจ้าสุทโธทนะพุทธบิดาเสด็จไปรับเสด็จและเฝ้าพระพุทธเจ้าที่นิโครธาราม พร้อมด้วย พระประยูรญาติ แล้วไม่ได้ทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าเสด็จไปรับภัตตาหารบิณฑบาตในพระราชนิเวศน์ของ พระองค์นั้น ก็ด้วยเข้าพระทัยว่าพระพุทธเจ้าคงไม่เสด็จไปที่อื่นนอกจากพระราชนิเวศน์ของพระองค์ แต่ครั้นทรงทราบจากที่พระนางพิมพาไปทูลว่า พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระสงฆ์สาวกจำนวน มากมิได้เสด็จตรงไปยังพระราชนิเวศน์ แต่กลับเสด็จบิณฑบาตไปตามถนนหนทางในเมือง ก็ทรงเสียพระทัย เป็นอันมาก ปฐมสมโพธิว่า "พระหัตถ์ทรงผ้าสาฎกสะพักพระองค์ เสด็จลงจากพระราชนิเวศน์ บทจร โดยด่วนไปหยุดยืนอยู่ในที่เฉพาะพระพักตร์พระศาสดาแล้วกราบทูลว่า..." "เหตุไฉนพระลูกเจ้าจึงมาเสด็จเที่ยวบิณฑบาตให้เป็นที่อัปยศ ผิดธรรมเนียมของกษัตริย์ขัตติ ยวงศ์ของเรา ทำไมจึงไม่เสด็จไปเสวยที่พระราชนิเวศน์" พระพุทธเจ้าตรัสบอกพุทธบิดรว่า ธรรมเนียมการเสด็จภิกขาจารเพื่อบิณฑบาตนี้ มิใช่ธรรม เนียมของขัตติยวงศ์ก็จริง แต่เป็นธรรมเนียมของพุทธวงศ์ (วงศ์ของพระพุทธเจ้า) พระพุทธเจ้าตรัสว่า ธรรมเนียมของผู้สละบ้านเรือนออกบวชเป็นพระพุทธเจ้าและของพระสงฆ์สาวกนั้น ต้องเที่ยวบิณฑบาต เลี้ยงชีพ การบิณฑบาตนั้น เป็นอาชีพอันสุจริตของนักบวชในพุทธวงศ์ พระพุทธเจ้าตรัสบอกพระเจ้าสุทโธทนะว่า พระองค์ทรงขาดจากขัตติยวงศ์แล้ว ขาดเมื่อ ตอนเสด็จออกบวชก็หาไม่ ขาดเมื่อคราวบำเพ็ญเพียรใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ก็หาไม่ แต่ขาดเมื่อคราวได้ สำเร็จ คือ ภายหลังตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ตั้งแต่นั้นมาพระองค์ได้ชื่อว่าทรงตั้งอยู่ในพุทธวงศ์ พระพุทธเจ้าประทับยืนตรัสพระธรรมเทศนาแก่พระเจ้าสุทโธทนะ พอจบพระธรรมเทศนา พระเจ้าสุทโธทนะได้ทรงบรรลุโสดาปัตติผลในขณะที่ยืนอยู่นั่งเอง ครั้นแล้วพระเจ้าสุทโธทนะจึงทรงรับ บาตร แล้วอาราธนาพระพุทธเจ้าพร้อมทั้งหมู่อริยสงฆ์บรรษัทไปยังพระราชนิเวศน์เพื่อทรงรับภัตตาหาร หัวข้อ: Re: วิธีสร้างบุญบารมี เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มกราคม 06, 2012, 01:25:26 PM สมุดภาพพระพุทธประวัติ
ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร ภาพที่ ๕๐ พระพิมพาพิลาปรำพันถึงพระพุทธองค์ เสด็จพุทธดำเนินไปโปรดถึงในปราสาท (http://84000.org/tipitaka/picture/p50.jpg) ภาพที่เห็นอยู่นั้น เป็นตอนที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดพระนางพิมพายโสธรา ผู้เคยเป็นพระ ชายา เมื่อสมัยพระพุทธเจ้ายังทรงเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ คือเมื่อยังไม่ได้เสด็จออกบวช วันที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดพระนางพิมพานี้ เป็นวันเดียวกับที่เสด็จไปทรงภัตตาหารใน พระราชนิเวศน์ของพระเจ้าสุทโธทนะพุทธบิดา ดังได้บรรยายไว้แล้ว สถานที่เสด็จไปโปรดพระนางพิมพา คือ ปราสาทที่ประทับของพระนางนั่งเอง ผู้ที่ตามเสด็จพระพุทธเจ้ามาในการนี้ มีพระสารีบุตร พระโมค คัลลานะ ผู้สองอัครสาวก และพระเจ้าสุทโธทนะ พระนางพิมพาทรงเศร้าโศกเสียพระทัย ตั้งแต่สมัยพระพุทธเจ้าเสด็จออกบวชเป็นต้นมา ด้วยเข้าพระทัยว่า พระนางถูกพระพุทธเจ้าทรงทอดทิ้ง ยิ่งเมื่อทราบว่าพระพุทธเจ้าเสด็จมาเมืองกบิลพัสดุ์ ครั้งนี้ ความเสียพระทัยยิ่งมีมากขึ้น ขนาดพระเจ้าสุทโธทนะรับสั่งให้มาเฝ้าพระพุทธเจ้า พระนางยังเสด็จ มาไม่ได้ แม้พระพุทธเจ้าจะเสด็จมาถึงปราสาทที่ประทับของพระนางแล้ว พระนางยังเสด็จดำเนินมาเอง ไม่ได้ พระนางก็ล้มฟุบลง กลิ้งเกลือกพระเศียรลงเหนือพระบาทพระพุทธเจ้า แล้วพิลาปรำพันกันแสงแทบ สิ้นสมปฤดี พระเจ้าสุทโธทนะทูลพระพุทธเจ้าถึงความดีของพระนางพิมพาว่า เป็นสตรีที่จงรักภักดีต่อ พระพุทธเจ้า ไม่เคยแปรพระทัยเป็นอื่นเลยตลอดเวลาที่พระพุทธเจ้าเสด็จจากไป พระพุทธเจ้าตรัสสนอง พระดำรัสของพุทธบิดาว่า พระนางพิมพาจะได้ทรงซื่อสัตย์จงรักภักดีต่อพระองค์แต่เฉพาะในชาตินี้ก็หา ไม่ แม้ในอดีตชาติหนหลังอีกหลายชาติ พระนางก็เป็นคู่ทุกข์คู่ยากผู้ซื่อสัตย์ของพระองค์ตลอดมา แล้ว พระพุทธเจ้าตรัสชาดกอีกเป็นอันมากให้พระพุทธบิดา และพระนางพิมพาฟัง พระนางฟังแล้ว ทรงสร่างโศกและคลายความเสียพระทัย ทรงเกิดปีติโสมนัสในพระธรรม เทศนาของพระพุทธเจ้าเป็นอย่างยิ่ง เมื่อพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมจบลง พระนางพิมพายโสธรา ก็ได้ ทรงบรรลุพระโสดาบัน หรือโสดาปัตติผล หัวข้อ: Re: วิธีสร้างบุญบารมี เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มกราคม 06, 2012, 01:26:20 PM สมุดภาพพระพุทธประวัติ
ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร ภาพที่ ๕๑ พระนันทะรับบาตรส่งเสด็จ นางคู่วิวาห์ร้องสั่งให้รีบกลับ พอถึงวัดกลับชวนให้ผนวช (http://84000.org/tipitaka/picture/p51.jpg) ในวันที่ ๕ นับแต่วันที่พระพุทธเจ้าเสด็จมาถึงเมืองกบิลพัสดุ์เป็นครั้งแรก มีพิธีวิวาหมงคล ระหว่างเจ้าชายศากยะที่ชื่อว่า 'นันทะ' กับเจ้าหญิงที่มีชื่อว่า 'ชนบทกัลยาณี' นันทะเป็นพระอนุชาหรือน้องชายของพระพุทธเจ้า แต่เป็นพระอนุชาต่างมารดา กล่าวคือ ภายหลังพระมารดาของพระพุทธเจ้า คือ พระนางสิริมหามายาสิ้นพระชนม์ แต่เมื่อพระพุทธเจ้าประสูติ ได้ไม่กี่วันแล้ว พระเจ้าสุทโธทนะทรงได้พระนางปชาบดีโคตมี ผู้เป็นน้องสาวของพระนางสิริมหามายา เป็นชายา เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จออกบวชแล้ว รัชทายาทของพระเจ้าสุทโธทนะจึงตกอยู่แก่นันทะ พระ เจ้าสุทโธทนะทรงหมายพระทัยว่า เมื่อนันทะอภิเษกสมรสแล้ว จะได้ครองราชย์สืบต่อจากพระองค์ ในงานวิวาหมงคลนั้น พระพุทธเจ้าจึงได้เสด็จมาตามคำทูลอาราธนาของพระพุทธบิดา เมื่อ ทรงฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว พระพุทธเจ้าได้เสด็จกลับ ได้ทรงมอบบาตรของพระองค์ให้เจ้าชายนันทะทรง ถือตามส่งเสด็จ นันทะทรงดำริว่า เมื่อถึงประตูพระราชนิเวศน์ พระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นพระเชษฐาคงจะ ทรงหันมารับบาตรคืนไปจากตน แต่ครั้นไปถึงที่นั่น พระพุทธเจ้ามิได้ทรงทำอย่างนั้นเลย ครั้นนันทะจะ มอบบาตรถวายพระพุทธเจ้าก็ไม่กล้า ด้วยเกรงพระทัยผู้ทรงเป็นพระเชษฐา จนไปถึงพระอารามที่ประทับ พระพุทธเจ้าจึงหันมาตรัสกับพระอนุชาว่า "บวชไหม" นันทะจะปฏิเสธก็เกรงใจพี่ชาย นี่ว่าตามภาษาสามัญ จึงทูลตอบพระพุทธเจ้าว่า "บวชพระ เจ้าข้า" นันทะไม่ได้ยอมบวชด้วยน้ำใสใจจริง เพราะกำลังจะแต่งงาน ทั้งตอนที่จะออกจากพระราช นิเวศน์นำบาตรมาส่งพระพุทธเจ้า นางชนบทกัลยาณีผู้เป็นเจ้าหญิงคู่อภิเษกสมรส ยังร้องเรียกสั่งตามมาว่า "เจ้าพี่ไปแล้วให้รีบเสด็จกลับ" แต่ที่ตอบเช่นนั้น ก็เพราะความเกรงใจพระพุทธเจ้าดังกล่าวแล้ว หัวข้อ: Re: วิธีสร้างบุญบารมี เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มกราคม 06, 2012, 01:27:24 PM สมุดภาพพระพุทธประวัติ
ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร ภาพที่ ๕๒ พระราหุลแสดงความรักซาบซึ้งในพระพุทธองค์ผู้เป็นบิดา จนลืมทูลขอราชสมบัติ (http://84000.org/tipitaka/picture/p52.jpg) ในวันที่ ๗ นับตั้งแต่วันที่พระพุทธเจ้าได้เสด็จถึงกรุงกบิลพัสดุ์ ซึ่งเป็นเวลาภายหลังที่เจ้า ชายนันทะ ผู้เป็นพระอนุชาของพระพุทธเจ้าได้บวชแล้ว พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระสงฆ์บริวารได้เสด็จ เข้าไปบิณฑบาต ในพระราชนิเวศน์ของพระเจ้าสุทโธทนะอีก เจ้าชายนันทะเป็นรัชทายาทที่สองรองจากพระพุทธเจ้า ที่จะครองราชย์สืบต่อจากพระเจ้า สุทโธทนะ แต่เมื่อนันทะออกบวช หรือที่จริงถูกพระเชษฐา คือพระพุทธเจ้าทรงจับให้บวชเสียแล้ว รัชทา ยาท จึงตกอยู่แก่ราหุลกุมารผู้เป็นพระโอรสของเจ้าชายสิทธัตถะ หรือพระพุทธเจ้าในเวลาต่อมา พระนางพิมพายโสธรา พระมารดาของราหุล ทรงเห็นเป็นโอกาสดี เมื่อทรงทราบว่า พระ พุทธเจ้าเสด็จเข้ามารับบิณฑบาต จึงแต่งองค์ให้ราหุลผู้โอรสงดงามด้วยเครื่องประดับของขัตติยกุมารแล้ว ชี้บอกราหุลว่า "พระสมณะผู้ทรงสง่า มีผิวพรรณเหลืองดังทอง มีพระสุรเสียงไพเราะดุจเสียงพรหม ที่ พระสงฆ์สองหมื่นรูปแวดล้อมตามเสด็จ นั่นแหละคือพระบิดาของเจ้า" พระนางพิมพาตรัสบอกพระโอรสให้ไปทูลขอรัชทายาท และทรัพย์สินที่เป็นสมบัติของพระ บิดาทั้งหมด ซึ่งยังมิได้ทรงโอนกรรมสิทธิ์ให้ใครเลย พระนางบอกผู้โอรสว่า ธรรมดาย่อมมีสิทธิที่จะ ครองกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ของผู้เป็นบิดา ในเวลาที่กล่าวนี้ ปฐมสมโพธิบอกว่าราหุลกุมารมีพระชนมายุได้ ๗ ปี นับตั้งแต่ประสูติมา ไม่เคยเห็นองค์ผู้ทรงเป็นพระบิดา เพิ่งได้เห็นเป็นครั้งแรกก็เมื่อคราวพระพุทธเจ้าเสด็จยังกรุงกบิลพัสดุ์นี่ เอง เมื่อได้เห็นและได้เข้าเฝ้าโดยใกล้ชิด ราหุลจึงเกิดความรักในพระพุทธเจ้ายิ่งนัก เป็นความรักอย่างลูก จะพึงมีต่อพ่อ ราหุลกราบทูลพระพุทธเจ้าประโยคหนึ่ง ซึ่งถ้าจะถอดความให้เข้ากับสำนวนไทยก็ว่า "อยู่ ใกล้พ่อนี่มีความสุขเหลือเกิน" แล้วกราบทูลขอรัชทายาท และกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สมบัติของพระราชบิดา ตามที่พระมารดาทรงแนะนำ พระพุทธเจ้าไม่ตรัสว่ากระไร ทรงฉันอาหารบิณฑบาตเสร็จแล้ว ทรงอนุโมทนา แล้วเสด็จ กลับไปที่นิโครธารามพร้อมด้วยพระสงฆ์ โดยมีราหุลตามเสด็จเพื่อทูลขอสิ่งที่ทรงประสงค์ดังกล่าวไปด้วย หัวข้อ: Re: วิธีสร้างบุญบารมี เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มกราคม 06, 2012, 01:28:35 PM สมุดภาพพระพุทธประวัติ
ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร ภาพที่ ๕๓ ทรงมอบสมบัติพระนิพพานแก่พระราหุล โดยให้บรรพชาเป็นสามเณรองค์แรก (http://84000.org/tipitaka/picture/p53.jpg) เมื่อราหุลติดตามพระพุทธเจ้าไปถึงนิโครธาราม เพื่อทูลขอรัชทายาทและกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ สมบัติของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทรงพิจารณาเห็นว่าสิ่งที่ราหุลขอนั้นเป็นสมบัติทางโลกไม่ยั่งยืน เต็ม ไปด้วยความทุกข์ในการปกปักรักษา ไม่เหมือนอริยทรัพย์ คือ ธรรมะที่พระองค์ได้ตรัสรู้มา ทรงพระพุทธ ดำริว่า "จำเราจะให้ทายาทแห่งโลกุตตระแก่ราหุล" พระพุทธเจ้าตรัสเรียกพระสารีบุตรมา แล้วรับสั่งให้พระสารีบุตรเป็นอุปัชฌาย์ทำหน้าที่บวช สามเณรให้ราหุล ราหุลจึงเป็นสามเณรองค์แรกในทางพระพุทธศาสนา เมื่ออายุครบบวช ต่อมาได้บวชเป็น พระภิกษุและได้สำเร็จอรหันต์ เมื่อคราวนันทะซึ่งกำลังจะเข้าพิธีวิวาหมงคล แต่ยังไม่ทันเข้าพิธี เพราะถูกพระพุทธเจ้าจับ บวชเสียก่อนนั้น พระเจ้าสุทโธทนะพุทธบิดา ทรงทราบข่าวแล้วเสียพระทัยมาก แต่ไม่สู้กระไรนัก เพราะ ยังทรงเห็นว่าราหุลกุมารรัชทายาทองค์ต่อไปยังมีอยู่ แต่ครั้นทรงทราบว่าราหุลกุมารได้บวชเป็นสามเณร เสียแล้ว พระเจ้าสุทโธทนะทรงเสียพระทัยมากยิ่งกว่าเมื่อคราวพระพุทธเจ้าเสด็จออกบวช และเมื่อนันทะ บวช พระเจ้าสุทโธทนะไม่อาจทรงระงับความทุกข์โทมนัสครั้งนี้ได้ จึงเสด็จไปเฝ้าพระพุทธเจ้าที่ นิโครธาราม แล้วทูลขอร้องพระพุทธเจ้าว่า ถ้าพระคุณเจ้ารูปใดจะบวชลูกหลานชาวบ้าน ก็ได้โปรดให้พ่อ แม่เขาได้อนุญาตให้ก่อน เพราะถ้าไม่อย่างนั้นจะทำความเดือดร้อนให้แก่ผู้เป็นพ่อแม่มาก ดุจที่พระองค์ได้ รับ เมื่อราหุลบวชในคราวนี้ พระพุทธเจ้าทรงรับตามที่พระเจ้าสุทโธทนะทรงขอร้อง จึงทรงบัญญัติพระวินัยไว้เป็นธรรม เนียมสืบมาจนทุกวันนี้ว่า ถ้าใครจะบวช ไม่ว่าบวชเป็นพระ หรือบวชเป็นสามเณร ต้องได้รับอนุญาตจากพ่อ แม่ผู้ปกครอง ตลอจนญาติผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือทุกวันนี้จึงเกิดจากกรณีดังกล่าวนี้ หัวข้อ: Re: วิธีสร้างบุญบารมี เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มกราคม 06, 2012, 01:29:48 PM สมุดภาพพระพุทธประวัติ
ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร ภาพที่ ๕๔ ทรงพานันทะไปชมนางฟ้า พระนันทะใคร่จะได้เป็นชายา ทรงรับรองจะให้สมหวัง (http://84000.org/tipitaka/picture/p54.jpg) หลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จโปรดพุทธบิดา และพระประยูรญาติที่กรุงกบิลพัสดุ์เป็นเวลาประ มาณหนึ่งสัปดาห์แล้ว ได้เสด็จกรุงราชคฤห์แห่งแคว้นมคธ พร้อมด้วยพระสงฆ์บริวารที่ตามเสด็จในการ นี้ พระภิกษุนันทะ พระอนุชาผู้ถูกจับให้บวช และราหุลสามเณรก็ได้ติดตามเสด็จไปด้วย ต่อมา พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระสงฆ์จำนวนมากได้เสด็จไปยังกรุงสาวัตถี แห่งแคว้นโกศล ซึ่งเป็นเมืองและแคว้นใหญ่พอๆ กับกรุงราชคฤห์แห่งแคว้นมคธ พระนันทะก็ได้ติดตามเสด็จไปด้วย แต่ตลอดเวลานับตั้งแต่บวชแล้วเป็นต้นมา พระนันทะไม่เป็นอันปฏิบัติกิจของสมณะ ใจให้รุ่ม ร้อนคิดจะลาสึกอยู่ท่าเดียว เพราะความคิดถึงนางชนบทกัลยาณี เจ้าสาวคู่หมั้นซึ่งกำลังจะเข้าพิธีวิวาห์กับตน ความเรื่องนี้ทราบถึงพระพุทธเจ้า ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงจับท่านพระนันทะที่แขน แล้วทรงหายจากพระวิหารเชตวัน ไปปรากฏในเหล่าเทวดาชั้นดาวดึงส์ เหมือนบุรุษมีกำลัง พึงเหยียดแขน ที่คู้ หรือพึงคู้แขนที่เหยียดฉะนั้น ฯ ก็สมัยนั้นแล นางอัปสรประมาณ ๕๐๐ มีเท้าดุจนกพิราบ มาสู่ที่บำรุงของท้าวสักกะจอมเทพ ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสกะท่านพระนันทะว่า ดูกรนันทะ เธอเห็นนางอัปสร ๕๐๐ เหล่านี้ผู้มีเท้า ดุจนกพิราบหรือไม่ ท่านพระนันทะทูลรับว่า เห็น พระเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรนันทะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน นางสากิยานีผู้ชนบทกัลยานี หรือนางอัปสร ประมาณ ๕๐๐ เหล่านี้ ซึ่งมีเท้าดุจนกพิราบไหนหนอแลมีรูปงามกว่า น่าดูกว่า หรือน่าเลื่อมใสกว่า ฯ น. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นางลิงผู้มีอวัยวะใหญ่น้อยถูกไฟไหม้ หูและจมูกขาด ฉันใด นาง สากิยานีผู้ชนบทกัลยานี ก็ฉันนั้นแล เมื่อเทียบกับนางอัปสรประมาณ ๕๐๐ เหล่านี้ ย่อมไม่เข้าถึงเพียงหนึ่ง เสี้ยว ไม่เข้าถึงเพียงส่วนหนึ่งของเสี้ยว ไม่เข้าถึงเพียงการเอาเข้าไปเปรียบว่าหญิงนี้เป็นเช่นนั้น ที่แท้นาง อัปสรประมาณ ๕๐๐ เหล่านี้มีรูปงามกว่า น่าดูกว่า และน่าเลื่อมใสกว่า พระเจ้าข้า ฯ พ. ยินดีเถิดนันทะ อภิรมย์เถิดนันทะ เราเป็นผู้รับรองเธอเพื่อให้ได้ นางอัปสรประมาณ ๕๐๐ ซึ่งมีเท้าดุจนกพิราบ ฯ น. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพระผู้มีพระภาคทรงรับรองข้าพระองค์เพื่อ ให้ได้นางอัปสรประ มาณ ๕๐๐ ซึ่งมีเท้าดุจนกพิราบไซร้ ข้าพระองค์จักยินดี ประพฤติพรหมจรรย์ พระเจ้าข้า ฯ ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงจับท่านพระนันทะที่แขน แล้วทรงหายจากเทวดาชั้นดาว ดึงส์ไปปรากฏที่พระวิหารเชตวัน เหมือนบุรุษมีกำลังพึงเหยียด แขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น ภิกษุ ทั้งหลายได้สดับข่าวว่า ท่านพระนันทะพระภาดาของพระผู้มีพระภาค โอรสของพระมาตุจฉา ประพฤติ พรหมจรรย์เพราะเหตุแห่งนางอัปสร ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเป็นผู้รับรองท่าน เพื่อให้ได้นางอัปสรประ มาณ ๕๐๐ ซึ่งมีเท้าดุจนกพิราบ ฯ ครั้งนั้นแล ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นสหายของท่านพระนันทะ ย่อมร้องเรียกท่านพระนันทะด้วย วาทะว่าเป็นลูกจ้าง และด้วยวาทะว่าผู้อันพระผู้มีพระภาคทรงไถ่มาว่า ได้ยินว่า ท่านพระนันทะเป็นลูกจ้าง ได้ยินว่า ท่านพระนันทะเป็นผู้ที่พระผู้มีพระภาคทรงไถ่มา ท่านประพฤติพรหมจรรย์เพราะเหตุนางอัปสร ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้รับรองท่าน เพื่อให้ได้นางอัปสร ๕๐๐ ซึ่งมีเท้าดุจนกพิราบ ฯ ครั้งนั้นแล ท่านพระนันทะอึดอัดระอาเกลียดชังด้วยวาทะว่า เป็นลูกจ้าง และด้วยวาทะว่าเป็น ผู้อันพระผู้มีพระภาคทรงไถ่มาของพวกภิกษุผู้เป็นสหาย จึงหลีกออกจากหมู่อยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความ เพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่ไม่นานนักก็กระทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ที่กุลบุตรทั้งหลายออก บวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่า ชาติสิ้น แล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ก็ท่านพระนันทะได้ เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย ฯ ครั้งนั้นแล เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้ว เทวดาตนหนึ่งมีวรรณะ งามยิ่งนัก ยังพระวิหารเชตวัน ทั้งสิ้นให้สว่างไสว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้าง หนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระนันทะพระภาดาของพระผู้มี พระภาค โอรสของพระมาตุจฉาทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้เพราะอาสวะทั้งหลาย สิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ แม้ญาณก็ได้เกิดขึ้นแก่พระผู้มีพระภาคว่า พระนันทะทำให้ แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ฯ ครั้นพอล่วงราตรีนั้นไป ท่านพระนันทะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคม แล้ว นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มี พระภาคทรงรับรองข้าพระองค์ เพื่อให้ได้นางอัปสร ๕๐๐ ผู้มีเท้าดุจนกพิราบ ข้าพระองค์ขอปลดเปลื้อง พระผู้มีพระภาคจากการรับรองนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรนันทะ แม้เราก็กำหนดรู้ใจของเธอด้วยใจ ของเราว่า นันทะทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไปด้วย ปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ แม้เทวดาก็ได้บอกเนื้อความนี้แก่เราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่าน พระ นันทะพระภาดาของพระผู้มีพระภาคโอรสของพระมาตุจฉา ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาส วะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ดูกรนันทะ เมื่อใดแล จิต ของเธอหลุดพ้นแล้ว จากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่น เมื่อนั้น เราพ้นแล้วจากการรับรองนี้ ฯ ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า ภิกษุใดข้ามเปือกตมคือกามได้แล้ว ย่ำยีหนาม คือกามได้แล้ว ภิกษุนั้นบรรลุถึงความสิ้นโมหะ ย่อมไม่หวั่นไหวในเพราะสุขและทุกข์ ฯ หัวข้อ: Re: วิธีสร้างบุญบารมี เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มกราคม 06, 2012, 01:30:47 PM สมุดภาพพระพุทธประวัติ
ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร ภาพที่ ๕๕ พระเทวทัตสำแดงฤทธิ์ให้อชาตศัตรูราชกุมารเลื่อมใส เพื่อให้รับเป็นโยมอุปัฏฐาก (http://84000.org/tipitaka/picture/p55.jpg) การเสด็จกรุงกบิลพัสดุ์ของพรพุทธเจ้าครั้งแรก ดังได้บรรยายมาแล้วนั้น เป็นเหตุให้เจ้าชาย ศากยะเสด็จออกบวชกันมาก ในจำนวนนั้น ที่มีชื่อเสียงและมีคนรู้จักกันดีจนถึงทุกวันนี้คือ เจ้าอานนท์ หรือ พระอานนท์ในเวลาต่อมา นายภูษามาลาชื่ออุบาลี หีอพระอุบาลี และเจ้าชายเทวทัต เทวทัตเป็นพระเชษฐาหรือพี่ชายของพระนางพิมพายโสธรา ทุกคนที่ออกบวชพร้อมกันกับ เทวทัต ต่างได้บรรลุมรรคผลในเวลาต่อมาทั้งนั้น แต่เทวทัตได้สำเร็จเพียงฌานชั้นโลกีย์ ฌานชั้นนี้ทำให้ ผู้ได้สำเร็จแสดงฤทธิ์ได้เหาะก็ได้ ครั้งหนึ่ง พระพุทธเจ้ากับพระสงฆ์จำนวนมากรวมทั้งพระเทวทัต เสด็จไปถึงกรุงโกสัมพี ชาวเมืองได้พากันออกมารับเสด็จ และนำของมาถวายเป็นอันมาก ถวายของแด่พระพุทธเจ้าแล้วก็ถวายสงฆ์ แต่ละคนเที่ยวถามไถ่กันว่า "พระสารีบุตรของข้าพเจ้าอยู่ที่ไหน พระโมคคัลลานะของข้าพเจ้าอยู่ไหน" ฯลฯ เมื่อทราบแล้วก็นำของไปถวาย แต่ไม่มีใครเลยสักคนที่จะเอ่ยชื่อของพระเทวทัตว่า "พระเทวทัตของข้าพเจ้า อยู่ที่ไหน" นั่นคือความไม่พอใจของพระเทวทัตที่เป็นสาเหตุให้พระเทวทัตก่อกรรม หรือกระทำการรุน แรง ในเวลาต่อมา พระเทวทัตเข้าฌานโลกีย์ เนรมิตเป็นกุมารหนุ่มน้อยใช้งูมีพิษร้าย ๗ ตัว พันเป็นสังวาลตาม ตัว ตัวหนึ่งพันหัวต่างผ้าโพก อีกสี่ตัวพันข้อมือข้อเท้า อีกตัวหนึ่งพันคอ และอีกตัวหนึ่งทำเป็นสังวาลเฉวียง บ่า เหาะเข้าไปในวัง ลงนั่งบนพระเพลาของอชาตศัตรูผู้เป็นมกุฎราชกุมาร และพระราชโอรสของพระเจ้า พิมพิสาร ราชาแห่งแคว้นมคธ เทวทัตแนะนำให้อชาตศัตรูปลงพระชนม์พระราชบิดา แล้วเสด็จขึ้นครอง ราชย์เสีย ส่วนตัวเองจะปลงพระชนม์พระพุทธเจ้า แล้วจะตั้งตัวเป็นพระพุทธเจ้าองค์ใหม่ประกาศศาสนา ใหม่ เวลาไปเฝ้าเจ้าชายอชาตศัตรู พระเทวทัตเหาะไป แต่ขากลับพระเทวทัตเหาะไม่ไหว ต้อง เดินกลับ เพราะใจอกุศลเกิดขึ้น ฌานโลกีย์เลยเสื่อมตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา หัวข้อ: Re: วิธีสร้างบุญบารมี เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มกราคม 06, 2012, 01:31:53 PM สมุดภาพพระพุทธประวัติ
ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร ภาพที่ ๕๖ นายขมังธนูซึ่งพระเทวทัตส่งไปฆ่าพระพุทธองค์ ปลงอาวุธ ฟังธรรม สำเร็จมรรคผล (http://84000.org/tipitaka/picture/p56.jpg) บุรุษที่นั่งประนมมือวางคันธนูไว้กับพื้นอยู่เบื้องพระพักตร์ของพระพุทธเจ้า ดังที่ปรากฎอยู่ใน ภาพแสดงนั้น คือนายขมังธนู (คำหน้าอ่านว่าขะหมัง) ขมัง แปลว่า นายพราน ขมังธนูก็คือนายพรานแม่น ธนู อาวุธร้ายแรงที่คนใช้ยิงสังหารกันในสมัยพระพุทธเจ้าคือธนู พระเทวทัตแนะนำอชาตศัตรู มกุฎราชกุมารให้ปลงพระชนม์พระเจ้าพิมพิสารพระราชบิดา ของพระองค์แล้ว จึงไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ขณะนั้นพระพุทธเจ้าเสด็จกลับมาประทับอยู่ในกรุงราชคฤห์ พระ เทวทัตกราบทูลว่าพระพุทธเจ้าทรงพระชราแล้ว ขอให้ทรงมอบตำแหน่งกิจการบริหารคณะสงฆ์ให้แก่ตน เสีย เลยถูกพระพุทธเจ้าทรงทักด้วย เขฬาสิกวาท เขฬาสิกวาทแปลตามตัวว่า ผู้กลืนกินก้อนน้ำลายก้อน เสลดที่บ้วนทิ้งแล้วความหมายเป็นอย่างนี้คือ นักบวชนั้น เมื่อออกบวชได้ชื่อว่าเป็นผู้เสียสละแล้วซึ่งทุกสิ่ง ทุกอย่าง เช่น ลูก เมีย ทรัพย์ และตำแหน่งฐานันดรต่างๆ พระเทวทัตก็ชื่อว่าสละสิ่งเหล่านี้เสียแล้วเมื่อ ตอนออกบวช แต่เหตุไฉนจึงย้อนกลับมายอมรับซึ่งเท่ากับมาขอกลืนกินสิ่งเหล่านี้อีก พระเทวทัตฟังแล้วเสียใจ ผูกความอาฆาตพระพุทธเจ้ายิ่งขึ้น จึงวางแผนการกระทำรุนแรง เพื่อปลงพระชนม์พระพุทธเจ้าหลายแผน เฉพาะด้านการเมืองนั้น พระเทวทัตได้ทำสำเร็จแล้วคือเกลี้ยกล่อม อชาตศัตรูราชกุมารให้เลื่อมใสตนได้ แล้วราชกุมารผู้นี้ได้ปลงพระชนม์พระราชบิดา จนในที่สุดได้ขึ้นครอง ราชย์ในเวลาต่อมา ที่ยังไม่สำเร็จก็คือการปลงพระชนม์พระพุทธเจ้า ขั้นแรกพระเทวทัตได้ว่าจ้างพวกขมังธนูหลายคน ล้วนแต่มือแม่นในการยิงธนูทั้งนั้น ไปลอบ ยิงสังหารพระพุทธเจ้าที่วัดเวฬุวนารามในกรุงราชคฤห์ ทั้งนี้โดยพระเจ้าอชาตศัตรูทรงรู้เห็นด้วย แต่เมื่อ พวกนายขมังธนูถืออาวุธมาถึงวัดที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ได้เห็นพระพุทธเจ้าแล้ว เกิดมือไม้อ่อนเปลี้ยไป หมด ยิงไม่ลง เพราะพุทธานุภาพอันน่าเลื่อมใสข่มใจให้สยบยอบลง จึงต่างวางคันธนูแล้วกราบบาทพระ พุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมให้พวกนายขมังธนูฟัง ฟังจบแล้วนายขมังธนูต่างได้สำเร็จโสดา หมดทุกคน หัวข้อ: Re: วิธีสร้างบุญบารมี เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มกราคม 06, 2012, 01:32:56 PM สมุดภาพพระพุทธประวัติ
ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร ภาพที่ ๕๗ พระเทวทัตได้สำนึกในความผิดของตน ใคร่ทูลขอขมา แต่ถูกธรณีสูบเสียก่อนเข้าเฝ้า (http://84000.org/tipitaka/picture/p57.jpg) เมื่อแผนการของพระเทวทัตในการปลงพระชนม์ของพระพุทธเจ้าขั้นแรก คือ จ้างนายขมัง ธนูลอบสังหารได้ล้มเหลวลง พระเทวทัตจึงลงมือทำเอง คือ แอบขึ้นไปบนยอดเขาคิชฌก้ฏ เพราะพระเทว ทัตทราบได้แน่นอนว่า ขณะนั้นพระพุทธเจ้าเสด็จประทับอยู่เชิงเขาเบื้องล่าง พระเทวทัตจึงกลิ้งก้อนหิน ใหญ่ลงมา หมายให้ทับพระพุทธเจ้า ก้อนหินเกิดกระทบกันแล้วแตกเป็นก้อนเล็กก้อนน้อย สะเก็ดหินก้อน หนึ่งกระเด็นปลิวมากระทบพระบาทพระพุทธเจ้า จนทำให้พระโลหิตห้อขึ้น แผนการที่สองล้มเหลวลงอีก ต่อมา พระเทวทัตได้แนะนำให้พระเจ้าอชาตศัตรูสั่งเจ้าพนักงาน เลี้ยงช้างปล่อยฝูงช้างดุร้ายออกไล่เหยียบพระพุทธเจ้า ในขณะที่เสด็จบิณฑบาต แต่ก็ล้มเหลวลงอีก เพราะ ฝูงช้างไม่กล้าทำร้ายพระพุทธเจ้า ตอนนี้เอง ความชั่วของพระเทวทัตเป็นข่าวแดงโร่ออกมา ประชาชนชาวเมืองต่างโจษจันกัน เซ็งแซ่ว่า ผู้จ้างนายขมังธนูก็ดี ผู้กลิ้งก้อนหินกระทบพระบาทพระพุทธเจ้าก็ดี ผู้ปล่อยกระบวนช้างก็ดี แม้ ที่สุดพระเจ้าพิมพิสารที่เสด็จสวรรคตก็ดี เป็นแผนการของพระเทวทัตทั้งสิ้น แล้วต่างก็วิพากษ์วิจารณ์ว่า พระราชาของเราคบพระที่ลามกเช่นนี้เองจึงเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น พระเจ้าอชาตศัตรูทรงได้ยินเสียงชาวเมืองตำหนิเช่นนั้น ทรงเกิดความละอายพระทัย จึงทรง เลิกไปหาพระเทวทัต สำรับกับข้าวของหลวงที่เคยพระราชทานให้พระเทวทัต ก็ทรงสั่งให้เลิกนำไปถวาย คนในเมืองนั้นก็ไม่มีใครใส่บาตรให้พระเทวทัตเลย แต่พระเทวทัตก็ยังไม่สิ้นมานะทิฐิ ได้เข้าไปเฝ้าพระพุทธ เจ้า ขอให้ทรงปฏิรูปศาสนาพุทธเสียใหม่ เช่น ให้ห้ามพระสงฆ์ฉันเนื้อและปลา เป็นต้น แต่ถูกพระพุทธเจ้า ปฏิเสธ พระเทวทัตจึงตั้งคณะสงฆ์ขึ้นใหม่ แล้วสถาปนาตนเองขึ้นเป็นพระพุทธเจ้าองค์ที่สอง แต่ต่อมา สาวกพระเทวทัตที่เข้าใจผิด และเข้าไปเข้าข้างพระเทวทัต ได้พากันผละหนีกลับ มาหาพระพุทธเจ้า เหลืออยู่กับพระเทวทัตไม่กี่รูป พระเทวทัตเสียใจมาก กระอักเลือดออกมา พอรู้ว่าตนจะ ตายก็สำนึกผิด เลยให้สาวกที่เหลืออยู่หามตนมาเฝ้าพระพุทธเจ้า เพื่อขอขมาเป็นครั้งสุดท้ายแต่ไม่ทันเข้าเฝ้า เพราะพอมาถึงสระท้ายวัด พระเทวทัตเกิดอยากอาบน้ำ พอหย่อนเท้าลงเหยียบพื้นสระโบกขรณี เลยถูกแผ่น ดินสูบเสียก่อน หัวข้อ: Re: วิธีสร้างบุญบารมี เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มิถุนายน 23, 2012, 07:09:29 PM สมุดภาพพระพุทธประวัติ
ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร ภาพที่ ๕๘ พระแม่น้าทูลถวายเฝ้า โปรดให้ถวายอชิตภิกษุ ซึ่งต่อไปจะตรัสรู้ (http://84000.org/tipitaka/picture/p58.jpg) ตามหลักฐานที่ปรากฎอยู่ในตำราศาสนาพุทธทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งตำราชั้นอรรถกถาที่ แต่งขึ้นโดยนักเขียนรุ่นหลังพระพุทธเจ้านิพพานแล้ว ปรากฎว่าพระพุทธเจ้าเสด็จกลับกรุงกบิลพัสดุ์หลาย ครั้ง ที่เห็นอยู่ในภาพสาธกนั้นก็เป็นตอนหนึ่งที่พระพุทธเจ้าเสด็จกรุงกบิลพัสดุ์ ปฐมสมโพธิว่าเป็น การเสด็จครั้งที่สอง สตรีที่นั่งอยู่เบื้องพระพักตร์นั้น คือพระนางปชาบดีโคตมี ซึ่งมีฐานันดรศักดิ์เป็นพระ น้านางของพระพุทธเจ้า เพราะพระนางเป็นน้องสาวแม่ของพระพุทธเจ้า นี่ว่าอย่างสามัญ เมื่อพระนางสิริ มหามายาสิ้นพระชนม์แล้ว พระเจ้าสุทโธทนะทรงได้พระนางปชาบดีโคตมีนี้เป็นชายา ตามท้องเรื่องว่า พระนางปชาบดีโคตมี ทรงดำริเมื่อคราวพระพุทธเจ้าเสด็จกรุงกบิลพัสดุ์ ครั้งแรกนั้น พระนางไม่ได้ถวายอะไรพระพุทธเจ้าเลย คราวนี้พระนางจึงนำผ้าสาฎก ๒ ผืน ยาว ๑๔ ศอก กว้าง ๗ ศอกเสมอกัน ไปถวายพระพุทธเจ้า ปฐมสมโพธิว่า ฝ้ายนั้นมีสีเหลืองดังทอง โดยพระนางปลูก ต้นฝ้ายเอง ฝ้ายออกดอกมาเป็นสีเหลืองหม่น เสร็จแล้วทอเองจนสำเร็จเป็นผืน แล้วใส่ผอบทองนำไปถวาย พระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าไม่ทรงรับ พระนางเสียพระทัยจึงไปหาพระอานนท์เล่าความให้ฟัง พระอานนท์ จึงเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้ากราบทูลให้ทรงรับ พระพุทธเจ้าก็ไม่ทรงรับ ทรงชี้บอกพระนางให้นำไปถวายพระ สงฆ์ แต่ก็ไม่มีพระสงฆ์องค์ใดยอมรับอีก มีอยู่องค์เดียวเท่านั้นที่นั่งอยู่หางแถวอาสน์สงฆ์สุดยอมรับ ท่าน เป็นพระบวชใหม่ นามว่า "อชิต" ยังเป็นพระปุถุชน แต่ในอนาคตปฐมสมโพธิว่าอชิตภิกษุนี้ คือ พระศรี อาริย์ ซึ่งจะเสด็จมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าเพื่อโปรดโลกสืบต่อไป ที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงรับผ้าของพระนางปชาบดีโคตมี เพราะทรงต้องการจะยกย่องความดี ของพระสงฆ์สาวกให้เห็นว่า แม้เพียงพระบวชใหม่ทรงศีลก็ควรแก่การรับของทำบุญของพุทธศาสนิกชน เพราะถ้าไม่ทรงทำให้เห็นอย่างนี้ ใครๆ ก็จะถือว่าทำบุญกับพระพุทธเจ้านั้นจึงจะได้บุญ แล้วเมื่อพระพุทธ เจ้านิพพานล่วงไปแล้ว พระสงฆ์สาวกก็จะลำบากเพราะทัศนะดังกล่าว หัวข้อ: Re: วิธีสร้างบุญบารมี เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มิถุนายน 23, 2012, 07:15:09 PM สมุดภาพพระพุทธประวัติ ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร ภาพที่ ๕๙ ทรงห้ามพระญาติฝ่ายพระบิดากับฝ่ายพระมารดา ซึ่งแย่งกันทดน้ำเข้านามิให้วิวาทกัน (http://84000.org/tipitaka/picture/p59.jpg) ภาพที่เห็นอยู่นั้นแสดงถึงเหตุการณ์ตอนหนึ่งที่พระพุทธเจ้าเสด็จกลับเมืองพระญาติ แต่คราว นี้เสด็จมาลำพังพระองค์เดียว เสด็จมาเพื่อทรงระงับสงครามระหว่างพระญาติทั้งสองฝ่าย พระญาติฝ่าย หนึ่งเป็นพระญาติฝ่ายพุทธบิดา ปกครองกรุงกบิลพัสดุ์ อีกฝ่ายหนึ่งเป็นพระญาติฝ่ายพุทธมารดา ปกครอง โกลิยนคร หรือเทวทหนครก็เรียก ทั้งสองฝ่ายตั้งบ้านเมืองอยู่คนละริมฝั่งแม่น้ำโรหิณี แล้วเกิดพิพาทกันใน ปัญหาเรื่องน้ำที่ทดขึ้นทำนา เมื่อฝ่ายอยู่ทางเหนือน้ำทดน้ำจากแม่น้ำเข้านา ฝ่ายทางใต้ก็ขาดน้ำ ทั้งสอง ฝ่ายเปิดประชุมเพื่อตกลงกันก่อน แต่ก็ตกลงกันไม่ได้จึงเกิดปะทะคารมกันอย่างรุนแรงถึงกับขุดบรรพบุรุษ ขึ้นมาประณามกัน "พวกสุนัขจิ้งจอกสมสู่กันเอง" ฝ่ายที่ถูกด่าว่าอย่างนี้ เพราะต้นสกุลหลายชั่วคนมาแล้วได้ อภิเษกสมรสกันเองระหว่างพี่ชายกับน้องสาว "พวกขี้เรื้อน" ฝ่ายตรงกันข้ามที่ถูกด่าตอบอย่างนี้ ก็เพราะต้นสกุลเป็นโรคเรื้อนถูกเนรเทศ ออกนอกเมืองไปอยู่ป่า ทั้งสองฝ่ายเตรียมกำลังคนคือทหารและอาวุธจะเข้าห้ำหั่นกัน พระพุทธเจ้าทรงทราบเข้า จึง เสด็จมาทรงระงับสงคราม ทรงประชุมพระญาติทั้งสองฝ่ายแล้วทรงซักถามถึงต้นตอของตัวปัญหา พระพุทธเจ้า "ทะเลาะกันเรื่องอะไร" พระญาติ "เรื่องน้ำ พระพุทธเจ้าข้า" พระพุทธเจ้า "ระหว่างน้ำกับชีวิตคนนี่อย่างไหนจะมีค่ามากกว่ากัน" พระญาติ "ชีวิตคนมากกว่า พระพุทธเจ้าข้า" พระพุทธเจ้า "ควรแล้วหรือที่ทำอย่างนี้" พระญาติดุษณีภาพทุกคน ไม่มีใครกราบทูลเลย พระพุทธเจ้า "ถ้าเราตถาคตไม่มาที่นี่วันนี้ ทะเลเลือดจะไหลนอง" (โลหิตนที ปวัตติสสติ) พระญาติทั้งสองฝ่ายเลยเลิกเตรียมทำสงครามกัน เหตุการณ์ตอนนี้เป็นบทบาทสำคัญตอน หนึ่งของพระพุทธเจ้า เพราะเห็นความสำคัญนี้ คนรุ่นต่อมาจึงสร้างพระพุทธรูปขึ้นปางหนึ่งเป็นอนุสรณ์ ที่เรียกกันว่า "พระปางห้ามญาติ" นั่นเอง หัวข้อ: Re: วิธีสร้างบุญบารมี เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มิถุนายน 23, 2012, 07:18:11 PM สมุดภาพพระพุทธประวัติ ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร ภาพที่ ๖๐ พระพุทธบิดาประชวร เสด็จไปโปรดกระทั่งสำเร็จพระอรหันต์แล้วนิพพาน (http://84000.org/tipitaka/picture/p60.jpg) ในปีที่ ๕ นับตั้งแต่ตรัสรู้เป็นต้นมา กำหนดเวลานี้ว่าตามปฐมสมโพธิ พระพุทธเจ้าเสด็จประ ทับอยู่ที่ป่ามหาวัน ใกล้กรุงไพศาลี ได้ทรงทราบข่าวว่าพระเจ้าสุทโธทนะพุทธบิดาทรงประชวรหนักด้วย พระโรคชรา ทรงปรารถนาจะได้เฝ้าพระพุทธเจ้า ตลอดถึงพระภิกษุสงฆ์ที่เป็นเจ้าศากยะและเป็นพระญาติ อีกหลายรูปที่เสด็จออกบวชตามพระพุทธเจ้า เช่น พระอานนท์ พระนันทะ และสามเณรราหุลผู้เป็นหลาน พระพุทธเจ้าจึงรับสั่งพระอานนท์ให้แจ้งข่าวพระสงฆ์ ถึงเรื่องที่พระองค์จะเสด็จกรุงกบิล พัสดุ์อีกวาระหนึ่ง การเสด็จกรุงกบิลพัสดุ์ของพระพุทธเจ้า เพื่อทรงเยี่ยมพุทธบิดาที่กำลังทรงประชวรครั้งนี้ ดูเหมือนจะเป็นครั้งสุดท้าย เมื่อเสด็จถึงกรุงกบิลพัสดุ์ได้เสด็จเข้าเยี่ยมพุทธบิดา ซึ่งมีพระอาการเพียบหนักแล้ว ทรงแสดง ธรรมโปรดพุทธบิดาด้วยเรื่องความเป็นอนิจจังของสังขาร ปฐมสมโพธิบันทึกพระธรรมเทศนาของพระพุทธ เจ้าครั้งนี้ไว้ตอนหนึ่งว่า "ดูกรบพิตร อันว่าชีวิตแห่งมนุษย์ทั้งหลายนี้น้อยนักดำรงอยู่ โดยพลันบ่มิได้ยั่งยืนอยู่ช้า ครุวนาดุจสายฟ้าแลบอันปรากฎมิได้นาน..." พระเจ้าสุทโธทนะซึ่งทรงสำเร็จอนาคามิผลอยู่ก่อนแล้ว ได้สดับพระธรรมเทศนา ตั้งแต่ต้น จนจบก็ได้สำเร็จอรหันต์ในบั้นปลายแห่งพระชนม์ชีพ หลังจากนั้นอีก ๗ วันก็สิ้นพระชนม์ (ปรินิพพาน) พระพุทธเจ้าเสด็จสรงน้ำพระศพพุทธบิดา และถวายพระเพลิงพร้อมด้วยพระสงฆ์พระประ ยูรญาติศากยะทั้งมวลจนเสร็จสิ้น หัวข้อ: Re: วิธีสร้างบุญบารมี เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มิถุนายน 23, 2012, 07:21:23 PM สมุดภาพพระพุทธประวัติ ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร ภาพที่ ๖๑ พระแม่น้ามหาปชาบดีโคตมี นำนางกษัตริย์บริวารไปทูลขออุปสมบทเป็นภิกษุณี (http://84000.org/tipitaka/picture/p61.jpg) ภายหลังพระเจ้าสุทโธทนะสิ้นพระชนม์แล้วไม่นาน พระนางปชาบดีโคตมี พระน้านางของ พระพุทธเจ้า หรือนัยหนึ่งพระชายาของพระเจ้าสุทโธทนะ พร้อมด้วยนางกษัตริย์ผู้บริวาร ได้เข้าไปเฝ้า พระพุทธเจ้า ซึ่งขณะนั้นยังเสด็จประทับอยู่ที่นิโครธาราม กรุงกบิลพัสดุ์ เพื่อทูลขอบวช พระนางทูลถามพระพุทธเจ้าว่า ธรรมดาสตรีจะบวชในพระพุทธศาสนาได้ (อย่างบุรุษ) หรือ ไม่พระพุทธเจ้าทรงตอบบ่ายเบี่ยงว่า อย่าได้มายินดีในการบวชเลย ทรงตอบอย่างนี้ถึงสามครั้ง หลังจากนั้น พระพุทธเจ้าเสด็จกลับกรุงไพศาลี พระนางปชาบดีโคตมีพร้อมด้วยบริวารได้ ตามเสด็จไปอีก คราวนี้ทุกนางต่างปลงผม นุ่งห่มผ้าย้อมฝาดอย่างนักบวช เข้าไปทูลขอบวชกับพระพุทธ เจ้า พระพุทธเจ้าทรงปฏิเสธอีก พระนางจึงเข้าไปขอพึ่งพระบารมีพระอานนท์ เพื่อให้กราบทูลพระพุทธเจ้าให้ทรงอนุญาต พระอานนท์จึงเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า กราบทูลขอร้องพระพุทธเจ้าให้ทรงอนุญาตให้พระนางปชาบดีโคตมี และบริวารได้บวชเป็นนางภิกษุณี พระพุทธเจ้าทรงปฏิเสธอยู่ถึงสามครั้ง ในที่สุดจึงทรงอนุญาตอย่างมีเงื่อนไขว่า ถ้าพระนาง ปชาบดีโคตมียอมรับ ครุธรรม ๘ ข้อได้ ก็จะให้บวชเป็นนางภิกษุณีได้ ครุธรรม คือ หลักการเบื้องต้นสำ หรับสตรีที่จะบวชเป็นนางภิกษุณี เช่นว่า สตรีบวชเป็นนางภิกษุณีแล้ว แม้จะมีพรรษาตั้งหนึ่งร้อย ก็จะต้อง กราบไหว้พระภิกษุซึ่งบวชใหม่ในวันนั้น จะต้องรักษาศีล ๖ ข้อไม่ให้ขาดอยู่จนครบสองปีก่อนจึงจะบวชได้ เป็นต้น พระนางปชาบดีโคตมีมีศรัทธาแรงกล้ามาก จึงยอมรับและได้บวชเป็นนางภิกษุณีเป็นคนแรก ในศาสนาพุทธ แต่คณะสงฆ์ภิกษุณีก็อยู่ได้ไม่นาน เพราะมีหลักฐานเชื่อได้ว่าสูญสิ้นไปก่อนพระพุทธเจ้า นิพพานด้วยซ้ำไป เหตุผลก็เพราะบทบัญญัติที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติขึ้น เป็นดุจกำแพงล้อมนางภิกษุณี นั้น เข้มงวดกว่าฝ่ายพระภิกษุหลายเท่า จนคนไม่มีศรัทธาจริงๆ จะบวชอยู่ไม่ได้เลย หัวข้อ: Re: วิธีสร้างบุญบารมี เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มิถุนายน 23, 2012, 07:24:48 PM สมุดภาพพระพุทธประวัติ ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร ภาพที่ ๖๒ ทรงสำแดงยมกปาฏิหาริย์ข่มพวกเดียรถีย์ที่ต้นมะม่วงคัณฑามพฤกษ์ (http://84000.org/tipitaka/picture/p62.jpg) ภาพที่เห็นนั้น เป็นตอนพระพุทธเจ้าทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ที่เมืองสาวัตถี แคว้นโกศล ใน วันเพ็ญกลางเดือนแปดก่อนวันเข้าพรรษาหนึ่งวัน ปาฏิหาริย์ คือ การแสดงให้คนเห็นเป็นที่อัศจรรย์ ซึ่งสามัญชนหรือคนที่ไม่เคยเรียนรู้มา ก่อนแสดงไม่ได้ มีตั้งแต่อย่างต่ำ เช่น เล่นกล หรือที่เรียกว่าแสดงปาหี่ ขึ้นไปจนถึงเดินบนน้ำ ดำดิน ลุย ไฟ กลืนกินตะปู ที่พวกฤาษีแสดง ตลอดถึงการเหาะเหินเดินอากาศที่ผู้มีฤทธิ์แสดง ปุถุชนแสดงได้ พระ อรหันต์ผู้ได้ฌาณได้ฤทธิ์ก็แสดงได้ ยมก แปลว่า คู่หรือสอง ยมกปาฏิหาริย์ คือ การแสดงคู่ น้ำคู่กับไฟ คือเวลาแสดง ท่อน้ำ ใหญ่พุ่งออกจากพระกายเบื้องบนของพระพุทธเจ้า เปลวไฟพุ่งเป็นลำออกจากพระกายเบื้องล่าง เป็นต้น ยมกปาฏิหาริย์แสดงได้แต่ผู้เดียว คือผู้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า ส่วนพระอรหันตสาวก และ เดียรถีย์ ฤาษีชีไพรแสดงได้แต่ปาฏิหาริย์ธรรมดา เช่น เดินบนน้ำ ดำดิน เป็นต้น สถานที่ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ครั้งนี้ คือที่โคนต้นมะม่วง หรือ คัณฑาม พฤกษ์ ในเมืองสาวัตถี มูลเหตุที่ทรงแสดงคือ เพราะพวกเดียรถีย์นักบวชนอกศาสนาพุทธ ท้าพระพุทธ เจ้าแข่งแสดงปาฏิหาริย์ว่าใครจะเก่งกว่ากัน พวกเดียรถีย์ทราบว่าพระพุทธเจ้าจะแสดงยมกปาฏิหาริย์ที่ โคนต้นมะม่วง จึงให้สาวกและชาวบ้านที่นับถือพวกตน จัดการโค่นต้นมะม่วงเสียสิ้น ทราบว่าบ้านใคร สวนใครมีต้นมะม่วงก็ใช้อิทธิพลทางการเงินซื้อ แล้วโค่นทำลายหมด แม้หน่อมะม่วงที่เกิดในวันนั้นก็ทำ ลายไม่เหลือ แต่พระพุทธเจ้าก็ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ที่โคนต้นมะม่วงจนได้ โดยมีผู้นำผลมะม่วงสุก มาถวาย ทรงฉันเสร็จแล้ว รับสั่งให้คนปลูกเมล็ดลงดิน แล้วพระองค์ทรงใช้น้ำที่ล้างพระหัตถ์รด ปรากฎ ว่าหน่อมะม่วงโตพรวดพราด แตกกิ่งก้านสูงขึ้นถึง ๕๐ ศอก ผลที่สุดพวกเดียรถีย์พ่ายแพ้ไป หัวข้อ: Re: วิธีสร้างบุญบารมี เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ กรกฎาคม 03, 2012, 06:55:08 PM สมุดภาพพระพุทธประวัติ ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร ภาพที่ ๖๓ แล้วเสด็จขึ้นไปจำพรรษาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อโปรดพระพุทธมารดา (http://84000.org/tipitaka/picture/p63.jpg) ภายหลังทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์เสร็จสิ้น จนพวกเดียรถีย์ที่มาท้าแข่งพ่ายแพ้ไปแล้ว พระ พุทธเจ้าทรงมีพุทธดำริถึงจารีตธรรมเนียมของบรรดาพระพุทธเจ้าทั้งหลายในปางก่อนว่า เมื่อทรงแสดง ยมกปาฏิหาริย์แล้ว เสด็จทรงจำพรรษา ณ ที่ใด ก็ทรงทราบได้ด้วยพุทธญาณว่าทรงจำพรรษาที่สวรรค์ ชั้นดาวดึงส์ ปฐมสมโพธิลำดับการเสด็จจำพรรษาของพระพุทธเจ้าไว้ว่า ในพรรษาที่ ๗ (นับแต่ตรัสรู้ เป็นต้นมา) ได้เสด็จจำพรรษาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ตามนิยายท้องเรื่องทั้งจากปฐมสมโพธิ และข้อเขียนโดยนักเขียนทางศาสนาพุทธอื่นๆ ยุค หลังพระพุทธเจ้านิพพานแล้ว ที่เรียกกันว่า 'อรรถกถา' กล่าวตรงกันว่า เหตุที่พระพุทธเจ้าเสด็จจำพรร ษาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ก็เพราะทรงต้องการจะแสดงธรรมโปรดพุทธมารดา คือ พระนางสิริมหามายา ซึ่งเมื่อสิ้นพระชนม์แล้ว เสด็จบังเกิดที่สวรรค์ชั้นดุสิต พระพุทธเจ้าเสด็จประทับจำพรรษาที่โคนต้นปาริฉัตร ต้นไม้สวรรค์ มีผู้แปลกันว่า ได้แก่ ต้นทองหลาง ผิดถูกอย่างไรไม่ทราบ ภายใต้ต้นไม้สวรรค์นี้มีแท่นแผ่นหิน ปูลาดด้วยผ้ากัมพลสีแดง เรียก ว่า 'บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์' พระอินทร์จอมเทพได้ทรงทราบว่าพระพุทธเจ้าเสด็จมาทรงจำพรรษาที่นี้ ก็ทรงป่าวประ กาศหมู่เทพยดาในสรวงสวรรค์ให้มาร่วมชุมนุม เพื่อฟังธรรมพระพุทธเจ้า ปฐมสมโพธิว่า เสียงป่าวประ กาศของพระอินทร์นั้น ดังปกแผ่ทั่วไปในสกลเทพยธานีทั้งหมื่นโยชน์ เทพเจ้าทั้งปวงได้สดับก็บังเกิดโสม นัสพิศวง ต่างองค์ร้องเรียกซึ่งกันและกันต่อๆ กันไปจนตลอดถึงหมื่นจักรวาล แม้พระนางสิริมหามายาพุทธมารดา ซึ่งทรงอยู่ในเพศเทพบุตรในสวรรค์ชั้นดุสิตก็ได้เสด็จ มาฟังธรรมพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทรงแสดงอภิธรรมโปรดพุทธมารดาตลอดพรรษา พุทธมารดาได้ สดับแล้วทรงบรรลุโสดาปัตติผลในที่สุด ส่วนเทพนอกนั้นอีกจำนวนมาก ได้บรรลุมรรคผลตามสมควร อุปนิสัยแห่งตน หัวข้อ: Re: วิธีสร้างบุญบารมี เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ กรกฎาคม 03, 2012, 06:57:36 PM สมุดภาพพระพุทธประวัติ ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร ภาพที่ ๖๔ ถึงวันมหาปวารณา เสด็จลงจากดาวดึงส์โดยบันไดแก้ว บันไดทอง บันไดเงิน (http://84000.org/tipitaka/picture/p64.jpg) ภาพที่เห็นนั้น เป็นตอนพระพุทธเจ้าเสด็จลงจากเทวโลก คือ จากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เมื่อภาย หลังเสด็จจำพรรษาที่สวรรค์ชั้นดังกล่าวเพื่อแสดงธรรมโปรดพุทธมารดาแล้ว วันที่เสด็จลงคือวันออกพรรษา เมืองที่เสด็จลงคือเมืองสังกัสนคร เสด็จลงตรงประตูเมือง พระบาทแรกที่ทรงเหยียบพื้นโลกนั้น ต่อมาได้ กลายเป็นสถานที่ระลึกเรียกว่า 'อจลเจดีย์' เรียกอย่างไทยเราก็ว่า 'รอยพระพุทธบาท' ตามตำนานว่าที่นี่เป็น ที่แห่งหนึ่งซึ่งมีรอยพระพุทธบาทปรากฎอยู่ ก่อนพระพุทธเจ้าเสด็จลง เทพเจ้าคือพระอินทร์ได้เนรมิตบันได ๓ บันไดเป็นที่เสด็จลง คือ บันไดทอง บันไดเงิน และบันไดแก้วมณี บันไดทองสำหรับหมู่เทพลงอยู่ด้านขวา บันไดเงินอยู่ด้านซ้ายสำ หรับท้าวมหาพรหม และบันไดแก้วมณีอยู่ตรงกลางสำหรับพระพุทธเจ้า หัวบันไดแต่ละอันพาดที่เขาสิเนรุ เชิงบันไดทอดลงยังประตูเมืองสังกัสนคร หมู่คนทางเบื้องขวาของพระพุทธเจ้าอย่างที่เห็นในภาพ จึงคือหมู่เทพที่ตามส่งเสด็จ เบื้อง ซ้ายผู้ถือฉัตรกั้นถวายพระพุทธเจ้าคือท้าวมหาพรหม ผู้อุ้มบาตรนำเสด็จพระพุทธเจ้าคือพระอินทร์ ผู้ถือ พิณบรรเลงถัดมาคือปัญจสิงขรคนธรรพ์เทพบุตร ถัดมาเบื้องขวาคือมาตุลีเทพบุตร ซึ่งถือพานดอกไม้ทิพย์ โปรยปรายนำทางเสด็จพุทธดำเนิน พระพุทธเจ้าทรงเป็นวิสุทธิเทพผู้บริสุทธิ์ นักเขียนศาสนาพุทธรุ่นต่อมาจึงถวายพระนาม เฉลิมพระเกียรติอย่างหนึ่งว่า 'เทวาติเทพ' แปลว่า ทรงเป็นเทพยิ่งกว่าเทพทุกชั้น เทพต่างๆ ที่คนอินเดีย ในสมัยนั้นนับถือกัน เช่น พระอินทร์ และท้าวมหาพรหม เป็นต้น คนผู้นับถือศาสนาพุทธในเมืองไทย ถือกันว่าวันออกพรรษาเป็นวันสำคัญวันหนึ่ง จึงนิยมทำ บุญตักบาตรกันในวันนี้ เพราะถือว่าเป็นวันที่พระพุทธเจ้าเคยเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เรียกการตัก บาตรนี้ว่า 'ตักบาตรเทโว' ย่อมาจากเทโวโรหณะ แปลว่า ตักบาตรเนื่องในวันคล้ายวันพระพุทธเจ้าเสด็จ ลงจากเทวโลกนั่นเอง หัวข้อ: Re: วิธีสร้างบุญบารมี เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ กรกฎาคม 03, 2012, 07:00:25 PM สมุดภาพพระพุทธประวัติ ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร ภาพที่ ๖๕ ครั้นแล้วก็ทรงเปิดโลก บันดาลให้เทวดา มนุษย์ และสัตว์นรกแลเห็นซึ่งกันและกัน (http://84000.org/tipitaka/picture/p65.jpg) วันที่พระพุทธองค์เสด็จลงจากดาวดึงส์นั้น พระองค์ได้แสดงปาฏิหาริย์อีกครั้งหนึ่ง คือขณะ ที่พระองค์ประทับยืนอยู่ที่บันไดแก้ว ทรงทอดพระเนตรไปทางทิศเบื้องบน เทวโลกและพรหมโลกก็เปิด มองเห็นโล่ง เมื่อทรงทอดพระเนตรไปในทิศเบื้องต่ำ นิรยโลกทั้งหลายก็เปิดโล่ง ในครั้งนั้น สวรรค์ มนุษย์ และสัตว์นรก ต่างก็เห็นซึ่งกันและกันทั่วจักรวาล ภาพนี้อยู่ในเหตุการณ์ตอนเดียวกับวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เรียกเหตุ การณ์ตอนนี้ว่าพระพุทธเจ้าทรงเปิดโลก โลกที่ทรงเปิดในเหตุการณ์คราวนี้มี ๓ โลก คือ เทวโลก มนุษย โลก และยมโลก เทวโลก หมายถึง ตั้งแต่พรหมโลกลงมาจนถึงสวรรค์ทุกชั้น มนุษย์โลกก็คือโลกมนุษย์ และ ยมโลกซึ่งอยู่ทางเบื้องต่ำ คือ นรกทุกขุมจนกระทั่งถึงอเวจีมหานรก พระพุทธเจ้าขณะเสด็จลงจากสวรรค์ ทอดพระเนตรดูเบื้องบนโลกทั้งมวลตั้งแต่มนุษย์ก็สว่าง โล่งขึ้นไปถึงเทวโลก เมื่อทรงเหลียวไปรอบทิศรอบด้านสากลจักรวาลก็โล่งถึงกันหมด และเมื่อทอดพระเนตร ลงเบื้องล่าง ความสว่างก็เปิดโล่งลงไปถึงนรกทุกขุม ผู้อาศัยอยู่ในสามโลกต่างมองเห็นกัน มนุษย์เห็นเทวดา เทวดาเห็นมนุษย์ มนุษย์และเทวดา เห็นสัตว์นรก สัตว์นรกเห็นเทวดาและมนุษย์ แล้วต่างเหลียวมองดูพระพุทธเจ้าผู้เสด็จลงจากสวรรค์ด้วยพระ เกียรติยศอันยิ่งใหญ่ คัมภีร์ธรรมบทที่พระพุทธโฆษาจารย์เป็นผู้แต่งบอกว่า "วันนี้คนทั้งสามโลกได้เห็นแล้ว ที่ไม่ อยากเป็นพระพุทธเจ้านั้นไม่มีเลยสักคน" ปฐมสมโพธิพรรณนาไว้ยิ่งกว่านี้เสียอีก คือว่า "ครั้งนั้นเทพยดามนุษย์แลสัตว์เดรัจฉาน กำหนดที่สุดมดดำมดแดง ซึ่งได้เห็นองค์พระชินสีห์ แลสัตว์คนใดคนหนึ่งซึ่งจะมิได้ปรารถนาพุทธภูมินั้นมิได้มีเป็นอันขาด" พุทธภูมิ คือ ความเป็นพระพุทธเจ้า หัวข้อ: Re: วิธีสร้างบุญบารมี เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ กรกฎาคม 03, 2012, 07:02:54 PM สมุดภาพพระพุทธประวัติ ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร ภาพที่ ๖๖ ครั้งหนึ่งเสด็จไปจำพรรษา ณ ป่าปาเลไล โดยมีช้างกับลิง เป็นพุทธอุปัฏฐาก (http://84000.org/tipitaka/picture/p66.jpg) ภาพที่เห็นนี้เป็นภาพเหตุการณ์ตอนหนึ่งในพระประวัติของพระพุทธเจ้า เป็นตอนที่พระพุทธ เจ้าเสด็จไปจำพรรษาในป่าโดยลำพังพระองค์ ไม่มีพระภิกษุหรือใครอื่นตามเสด็จไปจำพรรษาอยู่ด้วยเลย ป่าที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปจำพรรษาครั้งนี้เป็นป่าใหญ่ เป็นที่อยู่อาศัยของช้างโทนเชือกหนึ่ง ชื่อว่า 'ปาลิไลย กะ' หรือ 'ปาลิไลยก์' ป่าแห่งนี้จึงได้นามตามช้างนี้ว่า 'ป่าปาลิไลยก์' คนไทยเราเรียกว่า 'ป่าปาเลไล' อัน เดียวกันนั่นเอง มูลเหตุที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปจำพรรษาที่ป่าแห่งนี้ เพราะทรงรำคาญพระภิกษุชาวเมืองโกสัม พีสองคณะพิพาทและแตกสามัคคีกัน ถึงกับไม่ยอมลงโบสถ์ร่วมกัน พระพุทธเจ้าทรงทราบเข้า ได้เสด็จมา ทรงระงับให้ปรองดองกัน แต่พระภิษุทั้งสองคณะก็ไม่เชื่อฟัง พระพุทธเจ้าจึงเสด็จหลีกไปจำพรรษาอยู่ใน ดังกล่าว ด้วยอำนาจพุทธบารมีและพระเมตตาของพระพุทธเจ้า ช้างชื่อปาลิไลยก์ได้เข้ามาอุปัฏฐากพระ พุทธเจ้า เช้าขึ้นหาผลไม้ในป่ามาถวาย ตอนเย็นต้มน้ำร้อยถวายพระพุทธเจ้าด้วยวิธีกลิ้งก้อนหินที่เผาไฟให้ ร้อนลงในแอ่งน้ำ ลิงตัวหนึ่งเห็นช้างปรนนิบัติถวายพระพุทธเจ้า ก็ได้นำรวงฝึ้งมาถวายพระพุทธเจ้าบ้าง พระ พุทธเจ้าทรงรับแต่ไม่ทรงฉัน ลิงจึงเข้าไปนำรวงผึ้งกลับมาพิจารณาดู เมื่อเห็นตัวอ่อนของฝึ้ง จึงนำตัวอ่อน ออกหมดแล้วนำแต่ผึ้งหวานเข้าไปถวายใหม่ คราวนี้พระพุทธเจ้าทรงรับแล้วฉัน ลิงแอบดูอยู่บนต้นไม้ เห็น พระพุทธเจ้าทรงฉันรวงผึ้งของตน ก็ดีใจ กระโดดโลดเต้นบนกิ่งไม้ จนพลัดตกลงมาถูกตอไม้แหลมเสียบ ท้องทะลุตาย เมื่อออกพรรษา พระภิกษุที่แตกกันเป็นสองฝ่ายยอมสามัคคีกัน เพราะชาวบ้านไม่ยอมทำบุญ ใส่บาตรให้ ได้ส่งผู้แทนไปกราบทูลพระพุทธเจ้าเสด็จกลับเข้าเมือง ช้างปาลิไลยก์อาลัยพระพุทธเจ้านักหนา เดินตามพระพุทธเจ้าออกจากป่า ทำท่าจะตามเข้าไปในเมืองด้วย พระพุทธเจ้าจึงทรงหันไปตรัสบอกช้างว่า "ปาลิไลยก์! ถิ่นของเธอหมดแค่นี้ แต่นี้ไปเป็นถิ่นที่อยู่ของมนุษย์ ซึ่งเป็นภัยต่อสัตว์เดรัจฉานเช่นเธอ เธอไป ด้วยไม่ได้หรอก" ช้างปาลิไลยก์ยืนร้องไห้เสียใจไม่กล้าเดินตามพระพุทธเจ้า พอพระพุทธเจ้าลับสายตาก็เลยอก แตกตายอยู่ ณ ที่นั้น คัมภีร์บอกว่าทั้งลิงและช้างตายแล้วไปเกิดเป็นเทพบุตรอยู่ที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ หัวข้อ: Re: วิธีสร้างบุญบารมี เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ กรกฎาคม 03, 2012, 07:04:39 PM สมุดภาพพระพุทธประวัติ ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร ภาพที่ ๖๗ ถึงเพ็ญเดือน ๓ พรรษาที่ ๔๕ พญามารเข้าเฝ้าทูลให้เสด็จปรินิพพานทรงรับอาราธนา (http://84000.org/tipitaka/picture/p67.jpg) พระพุทธเจ้าเสด็จจาริกประกาศพระศาสนาตามแคว้นและเมืองต่างๆ เป็นเวลา ๔๕ พรรษา นับตั้งแต่วันตรัสรู้เป็นต้นมา พรรษาที่ ๔๕ จึงเป็นพรรษาสุดท้ายของพระพุทธเจ้า และเป็นเวลาที่พระพุทธ เจ้าทรงมีพระชนมายุได้ ๘๐ ปี นับแต่ประสูติเป็นต้นมา พรรษาสุดท้าย พระพุทธเจ้าเสด็จประทับอยู่ที่เวฬุคาม แขวงเมืองไพศาลี ระหว่างพรรษา ทรงพระประชวรเพราะอาพาธหนัก จวนเจียนจะเสด็จนิพพาน พระสงฆ์ทั้งปวงที่ยังเป็นปุถุชน หรือแม้แต่ พระอานนท์ องค์อุปัฏฐากต่างก็หวั่นไหว เพราะตวามตกใจที่เห็นพระพุทธเจ้าประชวรหนัก พระพุทธเจ้า ตรัสบอกพระอานนท์ว่า เวลานี้พระกายของพระองค์ถึงอาการชรามาก มีสภาพเหมือนเกวียนชำรุด ที่ซ่อม แซมด้วยไม้ไผ่ ทรงหายจากอาพาธคราวนี้แล้ว และเมื่อออกพรรษาแล้ว พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระอานนท์ เสด็จไปประทับที่ร่มพฤกษาแห่งหนึ่งในปาวาลเจดีย์ แขวงเมืองไพศาลี เวลากลางวัน พระพุทธเจ้าทรง แสดงโอภาศนิมิตแก่พระอานนท์ว่า 'อิทธิบาทสี่' (ชื่อของธรรมหมวดหนึ่งมี ๔ ข้อ) ถ้าผู้ใดได้บำเพ็ญได้ เต็มเปี่ยมแล้ว สามารถจะต่ออายุให้ยืนยาวไปได้อีกกำหนดระยะเวลาหนึ่ง 'โอภาสนิมิต' แปลเป็นภาษาชาวบ้านว่าบอกใบ้ คือพระพุทธเจ้ามีพระชนมายุจะสิ้นสุดลงใน ปีที่กล่าวนี้ จึงทรงบอกใบ้ให้พระอานนท์กราบทูลอาราธนาให้พระพุทธเจ้าทรงมีพระชนมายุยืนยาวต่อไป อีกระยะหนึ่ง แต่พระอานนท์ท่านนึกไม่ออก ทั้งๆ ที่พระพุทธเจ้าทรงบอกใบ้ถึง ๓ หน ปฐมสมโพธิบอกว่า เมื่อพระอานนท์นึกไม่ออกเช่นนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสบอกพระอานนท์ ให้ไปนั่งอยู่ที่ใต้ร่มไม้อีกแห่งหนึ่ง แล้วมารก็เข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า กราบทูลพระพุทธเจ้าให้เสด็จนิพพาน พระพุทธเจ้าทรงรับคำแล้วทรงปลงอายุสังขาร 'ปลงอายุสังขาร' แปลเป็นภาษาสามัญได้ว่ากำหนดวันตายไว้ล่วงหน้า วันนั้นเป็นวันเพ็ญ เดือนสาม พระพุทธเจ้าตรัสว่า นับจากนี้ไปอีก ๓ เดือนข้างหน้า (กลางเดือนหก) พระองค์จะนิพพานที่ เมืองกุสินารา หัวข้อ: Re: วิธีสร้างบุญบารมี เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ กรกฎาคม 03, 2012, 07:07:08 PM สมุดภาพพระพุทธประวัติ ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร ภาพที่ ๖๘ มีพระพุทธฎีกาตรัสแก่พระอานนท์ว่า ทรงปลงอายุสังขารแล้ว อีกสามเดือนจะนิพพาน (http://84000.org/tipitaka/picture/p68.jpg) เมื่อพระพุทธเจ้าทรงปลงอายุสังขาร คือ ทรงประกาศกำหนดวันจะเสด็จนิพพานไว้ล่วงหน้า ถึง ๓ เดือน พลันก็ยังเกิดอัศจรรย์แผ่นดินไหว ผู้คนที่ได้ทราบข่าวต่างๆ เกิดขนลุก ปฐมสมโพธิว่ากลอง ทิพย์ก็บันลือไปในอากาศ พระอานนท์ประสบเหตุอัศจรรย์นั้น จึงออกจากร่มพฤกษาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าแล้ว ทูลถามถึงเหตุเกิดอัศจรรย์ คือแผ่นดินไหว พระพุทธเจ้าจึงตรัสกับพระอานนท์ว่า เหตุที่จะเกิดแผ่นดินไหว นั้นมี ๘ อย่าง คือ ๑. ลมกำเริบ ๒. ผู้มีฤทธิ์บันดาล ๓. พระโพธิสัตว์จุติจากชั้นดุสิต มีสติสัมปชัญญะ ลงสู่พระครรภ์พระมารดา ๔. พระโพธิสัตว์มีสติสัมปชัญญะ ประสูติจากพระครรภ์พระมารดา ๕. พระพุทธเจ้าตรัสรู้ ๖. พระพุทธเจ้าตรัสปฐมเทศนา ๗. พระพุทธเจ้าทรงปลงอายุสังขาร ๘. พระพุทธเจ้านิพพาน พระพุทธเจ้าตรัสบอกพระอานนท์ว่า ที่เกิดแผ่นดินไหวครั้งนี้ในวันนี้ เกิดจากพระองค์ทรง ปลงอายุสังขาร พอได้ฟังดังนั้น พระอานนท์นึกได้ คือ ได้สติตอนนี้ จึงจำได้ว่าพระพุทธเจ้าเคยตรัสบอก ท่านว่า ธรรมะ ๔ ข้อที่เรียกว่า อิทธิบาท ๔ คือ ความพอใจ ความเพียง ความฝักใฝ่ และความใตร่ ตรอง ถ้าผู้ใดได้บำเพ็ญปฏิบัติให้เต็มเปี่ยมแล้ว ปรารถนาจะให้ชีวิตซึ่งถึงกำหนดดับหรือตาย ได้มีอายุยืน ยาวต่อไปอีกระยะหนึ่งก็ย่อมทำได้ พอนึกได้เช่นนี้ พระอานนท์จึงกราบทูลอาราธนาพระพุทธเจ้า ให้ทรงใช้อิทธิบาท ๔ นั้น ต่อพระชนมายุยืนยาวต่อไปอีก พระพุทธเจ้าทรงปฏิเสธถึง ๓ ครั้ง ตรัสว่าพระองค์เคยทรงแสดงโอภาส นิมิต (บอกใบ้) ให้พระอานนท์ทูลอารธนาพระองค์ให้มีพระชนมายุสืบต่อไปอีกก่อนหลายครั้ง และหลาย แห่งแล้ว ซึ่งถ้าพระอานนท์นึกได้แล้วทูลอาราธนา พระองค์ก็จะทรงรับคำอาราธนาเพื่อต่อพระชนมายุ ของพระองค์ออกไปอีก ว่าอย่างสามัญก็ว่า พระพุทธเจ้าตรัสบอกพระอานนท์ว่า "สายเสียแล้ว" เพราะ พระองค์ได้ประกาศปลงอายุสังขารว่าจะนิพพานเสียแล้ว หัวข้อ: Re: วิธีสร้างบุญบารมี เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ กรกฎาคม 20, 2012, 08:44:17 PM สมุดภาพพระพุทธประวัติ ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร ภาพที่ ๖๙ รุ่งเช้าเสด็จกลับจากทรงบาตร เยื้องพระกายดูกรุงไพศาลี เป็นครั้งสุดท้าย (http://84000.org/tipitaka/picture/p69.jpg) หลังจากพระพุทธเจ้าทรงปฏิเสธคำทูลอาราธนาของพระองค์ เรื่องให้ทรงต่อพระชนมายุออก ไปอีกระยะหนึ่ง อย่าเพิ่งนิพพานเลย แล้วพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระอานนท์เสด็จไปยังกุฏาคารศาลา ในป่า มหาวัน แขวงกรุงไพศาลี กุฏาคารศาคา คือ อาคารที่ปลูกเป็นเรือน มียอดแหลมเหมือนยอดปราสาท ป่ามหาวันเป็นป่า ใหญ่ดงดิบ คัมภีร์ศาสนาพุทธหลายคัมภีร์บันทึกไว้ตรงกันว่า ป่าแห่งนี้เป็นที่อาศัยบำเพ็ญพรตของบรรดา ฤาษี นักพรต นักบวช พระพุทธเจ้า และพระสงฆ์ก็เคยอาศัยป่าแห่งนี้เป็นที่ประทับ และแวะพักหลายครั้ง พระพุทธเจ้าเสด็จมายังป่ามหาวันแล้วประชุมพระสงฆ์ เพราะขณะนี้ ข่าวพระพุทธเจ้าจะนิพพานได้แพร่สะ พัดไปทั่วแล้ว พระพุทธเจ้าตรัสประทานโอวาทพระสงฆ์ที่ยังไม่สำเร็จมรรคผล ให้รีบขวยขวาย อย่าได้ ประมาท อย่าได้เสียใจว่าพระองค์จะนิพพานจากไปเสียก่อน "ชนทั้งหลายเหล่าใด ทั้งหนุ่มทั้งแก่ ทั้งพาลทั้งบัณฑิต ทั้งมั่งคั่งทั้งยากไร้ ชนเหล่านั้นต่าง ตายด้วยกันในที่สุด ภาชนะดินที่ช่างหม้อปั้นแล้ว ไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ ไม่ว่าเผาสุกหรือดิบ ไม่ว่าขนาดไหน มีแตกสลายในที่สุด ชีวิตคนและสัตว์ทุกชนิดในโลกนี้ก็เหมือนกัน" ความในอัญญประกาศ คือ พระพุทธดำรัสที่พระพุทธเจ้าประทานพระสงฆ์ ในการเสด็จมา ยังป่ามหาวัน ดังกล่าว รุ่งขึ้นพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระอานนท์ได้เสด็จเข้าไปบิณฑบาตในเมืองไพศาลี ตอนเสด็จ ออกจากเมือง พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระอาการทางพระกายซึ่งตามปกติไม่เคยทรงทำอย่างนั้นมาก่อนเลย ไม่ว่าเสด็จจากเมืองใดๆ คือเยื้องพระกายทั้งพระองค์พระองค์กลับทอดพระเนตรเมืองไพศาลี เป็นอย่าง 'นาคาวโลก' แปลว่า ช้างเหลียวหลัง ตรัสว่า "อานนท์! การเห็นเมืองไพศาลีครั้งนี้ของเรา นับเป็นครั้งสุดท้าย ต่อนี้ไปจักไม่ได้ เห็นอีก" ครั้นแล้วตรัสว่า "มาเดินทางต่อไปยังภัณฑคามกันเถิด" ภัณฑคามเป็นตำบลแห่งหนึ่ง ซึ่งอยู่ในระหว่างทางที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปยังเมืองกุสินารา ซึ่งเป็นเมืองที่พระองค์จะนิพพาน หัวข้อ: Re: วิธีสร้างบุญบารมี เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ สิงหาคม 02, 2012, 07:36:53 PM สมุดภาพพระพุทธประวัติ ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร ภาพที่ ๗๐ เช้าวันเพ็ญเดือน ๖ ทรงเสวยมังสะสุกรอ่อนที่บ้านนายจุนทะ นับเป็นปัจฉิมบิณฑบาต (http://84000.org/tipitaka/picture/p70.jpg) พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระสงฆ์บริวาร ได้เสด็จออกจากเขตแขวงเมืองไพศาลีไปโดยลำดับ เพื่อเสด็จไปยังเมืองกุสินารา สถานที่ทรงกำหนดว่าจะนิพพานเป็นแห่งสุดท้าย จนไปถึงเมืองปาวาในวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๖ ซึ่งเป็นวันก่อนเสด็จนิพพานเพียงหนึ่งวัน เสด็จเขัาไปประทับอาศัยที่สวนมะม่วงของนายจุนทะกัมมารบุตร นายจุนทะเป็นลูกนายช่าง ทอง ได้ทราบข่าวว่า พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระสงฆ์บริวารเสด็จมาพักอยู่ที่สวนมะม่วงของตน ก็ออกไป เฝ้าและฟังธรรม ฟังจบแล้ว นายจุนทะกราบทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระสงฆ์เสด็จไปรับภัตตา หารที่บ้านของตนในเวลาเช้าวันรุ่งขึ้น เวลาเช้าวันรุ่งขึ้น นายจุนทะได้ถวายอาหารพระพุทธเจ้าและพระสงฆ์ที่บ้านของตน อาหาร อย่างหนึ่งที่นายจุนทะปรุงถวายพระพุทธเจ้าในวันนี้มีชื่อว่า 'สูกรมัททวะ' คัมภีร์ศาสนาพุทธชั้นอรรถกถาและมติของเกจิอาจารย์ทั้งหลายยังไม่ลงรอยกันว่า 'สูกรมัททวะ' นั้นคืออะไรแน่ บางมติว่าได้แก่สุกรอ่อน (แปลตามตัว สูกร-สุกร หรือหมู มัททวะ-อ่อน) บางมติว่า ได้แก่ เห็ดชนิดหนึ่ง และบางมติว่าได้แก่ ชื่ออาหารอันประณีตชนิดหนึ่ง ซึ่งชาวอินเดียปรุงขึ้นเพื่อถวาย แก่ผู้ที่ตนเคารพนับถือที่สุด เช่น เทพเจ้า เป็นต้น เป็นอาหารประณีตชั้นหนึ่งยิ่งกว่าข้าวมธุปายาส พระพุทธเจ้าตรัสบอกนายจุนทะให้จัดถวายสูกรมัททวะนั้นถวายแต่เฉพาะพระองค์ ส่วน อาหารอย่างอื่นให้จัดถวายพระสงฆ์ และเมื่อพระพุทธเจ้าทรงฉันเสร็จแล้ว รับสั่งให้นายจุนทะนำเอาสูกร มัททวะที่เหลือจากที่พระองค์ทรงฉันแล้ว ไปฝังเสียที่บ่อ เพราะคนอื่นนองจากพระองค์นั้นฉันแล้ว ร่าง กายไม่อาจจะทำให้อาหารนั้นย่อยได้ เสร็จแล้วพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมให้นายจุนทะฟังเป็นที่ชื่นชม และรื่นเริงในกุศลบุญจริยาของ แล้วทรงอำลานายจุนทะเสด็จต่อไปยังเมืองกุสินาราต่อไป หัวข้อ: Re: วิธีสร้างบุญบารมี เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ สิงหาคม 02, 2012, 07:39:39 PM สมุดภาพพระพุทธประวัติ ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร ภาพที่ ๗๑ เสด็จไปกรุงกุสินารา ทรงกระหายน้ำ โปรดให้พระอานนท์ ไปตักน้ำมาถวาย (http://84000.org/tipitaka/picture/p71.jpg) ระหว่างทางเสด็จไปเมืองกุสินารา ภายหลังทรงฉันสูกรมัททวะของนายจุนทะแล้ว พระ พุทธเจ้าทรงประชวรด้วยพระโรคปักขันธิกาพาธอย่างหนัก จวนเจียนจะเสด็จนิพพาน ณ ที่นั้นเสีย ก่อน กำหนด แต่ทรงระงับอาพาธนั้นเสียได้ด้วยขันติบารมี คือ ความอดกลั้น ปักขันธิกาพาธเป็นพระโรคอย่างหนึ่งซึ่งเกิดประจำพระองค์พระพุทธเจ้า คือทรงพระบัง คนถ่ายออกมาเป็นโลหิต มีผู้สันนิษฐานกันว่าคงได้แก่ ริดสีดวงลำไส้ เพราะเหตุที่ประชวรพระโรคดังกล่าว พระพุทธเจ้าจึงทรงลำบากพระกายมาก แต่ทรงมี พระสติสัมปชัญญะ ไม่ทรงทุรนทุราย เสด็จถึงระหว่างทางแห่งหนึ่ง ซึ่งมีแม่น้ำเล็กๆ มีน้ำไหล พระพุทธเจ้าแวะลงข้างทาง เข้าประทับใต้ร่มพฤกษาแห่งหนึ่ง ตรัสบอกพระอานนท์ให้พับผ้าสังฆาฏิเป็น ๔ ชั้นแล้วปูลาดถวาย เสด็จนั่งเพื่อพักผ่อน แล้วตรัสให้พระอานนท์นำบาตรไปตักน้ำในแม่น้ำ "เราจักดื่มระงับความกระหายให้สงบ" พระพุทธเจ้าตรัสบอกพระอานนท์ พระอานนท์กราบทูลว่าแม่น้ำตื้นเขิน เกวียนประมาณ ๕๐๐ เล่มของพวกพ่อค้าเกวียนเพิ่ง ข้ามแม่น้ำผ่านไปเมื่อสักครู่นี้ เท้าโคล้อเกวียนบดย่ำทำให้น้ำในแม่น้ำขุ่น แล้วกราบทูลพระพุทธเจ้าว่า "อีกไม่ไกลแต่นี้ มีแม่น้ำสายหนึ่งชื่อกุกกุฏนที มีน้ำใส จืดสนิท เย็น มีท่าน้ำสำหรับลงเป็นที่รื่นรมย์ ขอ เชิญเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ไปที่แม่น้ำนั้นเถิด พระเจ้าข้า" พระพุทธเจ้าตรัสปฏิเสธคำทูลทัดทานของพระอานนท์ถึง ๓ ครั้ง พระอานนท์จึงอุ้มบาตร เดินลงไปตักน้ำในแม่น้ำ ครั้นเห็นน้ำ พระอานนท์ก็อัศจรรย์ใจนักหนา พลางรำพึงว่า "ความที่พระตถาคตพุทธเจ้ามีฤทธิ์และอานุภาพใหญ่หลวงเช่นนี้เป็นที่น่าอัศจรรย์มาก แม่ น้ำนี้ขุ่นนัก เมื่อเราเข้าไปใกล้เพื่อจะตัก น้ำกลับใสไม่ขุ่นมัว" ครั้นแล้วพระอานนท์ก็นำบาตรตักน้ำนั้นไปถวายพระพุทธเจ้า หัวข้อ: Re: วิธีสร้างบุญบารมี เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ สิงหาคม 02, 2012, 07:41:28 PM สมุดภาพพระพุทธประวัติ
ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร ภาพที่ ๗๒ ปุกกุสะบุตรแห่งมัลลกษัตริย์แวะเข้าเฝ้าถวายผ้าเนื้อเกลี้ยงสีทอง (http://84000.org/tipitaka/picture/p72.jpg) ในขณะที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ภายใต้ร่มพฤกษาริมฝั่งแม่น้ำ ซึ่งอยู่ในระหว่างทางที่จะไป ยัง เมืองกุสินารานั้น ได้มีชายผู้หนึ่งนามว่าปุกกุสะ ผู้เป็นบุตรของมัลลกษัตริย์ เดินทางมาจากเมืองกุสินารา จะไปยังเมืองปาวา มาถึงตรงที่พระพุทธเจ้าประทับหยุดพักจึงเข้าไปพัก พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมให้เขาฟังเกี่ยวกับเรื่องธรรมอันเป็นสันติ ปุกกุสะฟังแล้วเกิด ความเลื่อมใส จึงถวายผ้าสิงคิวรรณสองผืนแด่พระพุทธเจ้า ผ้าสิงคิวรรณ คือผ้าเนื้อดี ละเอียด ประณีต มีสีเหมือนสิงคี 'สิงคี' แปลว่า ทองคำ เขากราบทูลพระพุทธเจ้าว่า ผ้าสิงคิวรรณคู่นี้ผืนหนึ่งสำหรับห่ม อีกผืนหนึ่งสำหรับนุ่งเป็น ผ้าพิเศษเนื้อเกลื้อง ตัวเขาเคยนุ่งห่มเป็นครั้งคราว เขาได้เก็บรักษาไว้ แต่บัดนี้จะขอถวายพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทรงรับผืนหนึ่ง อีกผืนหนึ่งทรงบอกให้ปุกกุสะนำไปถวายพระอานนท์ ชายผู้นั้นได้ทำตาม พุทธประสงค์ กราบถวายอภิวาทพระบาทพระพุทธเจ้า แล้วออกเดินทางต่อไป หลังจากนั้น พระอานนท์ได้นำผ้าที่ชายผู้นั้นถวายท่านเข้าไปถวายพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้า ทรงนุ่งผืนหนึ่งและห่มอีกผืนหนึ่ง พอพระพุทธเจ้าทรงนุ่งและห่มผ้าสิงคิวรรณแล้ว ปรากฎว่าพระกาย ของพระพุทธเจ้าฉายพระรัศมีเปล่งปลั่งและผุดผ่องผิดปกติยิ่งกว่าครั้งใดๆ ที่พระอานนท์เคยเห็นมา พระ อานนท์จึงกราบทูลกับพระพุทธเจ้าว่าเป็นที่น่าอัศจรรย์มาก พระพุทธเจ้าตรัสพระอานนท์บอกว่า พระกายของพระองค์มีพระรัศมีเปล่งปลั่งผิดปกติ มีอยู่ สองครั้งเท่านั้น ครั้งหนึ่งเมื่อตรัสรู้ใหม่ๆ อีกครั้งหนึ่งคือเมื่อก่อนวันจะปรินิพพานคือวันนี้ แล้วตรัสว่า "ดูก่อนอานนท์! สิ้นสุดคืนวันนี้ เราจักนิพพานแล้ว มาเดินทางต่อไปยังกุสินารากันเถิด" พระอานนท์รับพุทธาณัติ คือคำสั่งจากพระพุทธเจ้า แล้วเรียนให้พระสงฆ์ทั้งปวงที่ตามเสด็จ ให้ทราบเพื่ออกเดินทางต่อไป หัวข้อ: Re: วิธีสร้างบุญบารมี เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ สิงหาคม 02, 2012, 07:43:25 PM สมุดภาพพระพุทธประวัติ
ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร ภาพที่ ๗๓ เสด็จถึงสาลวันกรุงกุสินารา โปรดให้พระอานนท์จัดที่บรรทมระหว่างไม้รังทั้งคู่ (http://84000.org/tipitaka/picture/p73.jpg) พระพุทธเจ้าพร้อมกับพระสงฆ์บริวารเสด็จไปถึงชานเมืองกุสินาราในเวลาจวนค่ำ เสด็จข้าม แม่น้ำหิรัญวดี แล้วเสด็จเข้าไปในอุทยานนอกเมืองนั้น ที่มีชื่อว่า 'สาลวโนทยาน' เมืองต่างๆ ในสมัยพระพุทธเจ้าส่วนมาก มีอุทยานเหมือนสวนสาธารณะอย่างทุกวันนี้ สำ หรับประชาชนในเมืองและชนชั้นปกครองได้อาศัยเป็นที่พักผ่อนกันทั้งนั้น กรุงราชคฤห์ก็มีอุทยานชื่อ ลัฏฐิ วันที่เรียกว่าสวยตาลหนุ่ม กบิลพัสดุ์เมืองประสูติของพระพุทธเจ้าก็มีลุมพินีวัน กุสินาราจึงมีสาลวโนยาน ดังกล่าว สาลวโนทยานอยู่นอกเมืองกุสินารา มีต้นไม้ใหญ่สองต้นเคียงคู่กันอยู่ เรียกว่า 'ต้นสาละ' อุทยานแห่งนี้จึงได้นามตามต้นสาละว่าสาลวโนยานดังกล่าว เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จไปถึงอุทยานแห่งนี้แล้ว ตรัสสั่งให้พระอานนท์ตั้งเตียง หันทางเบื้อง ศีรษะ ไปทางทิศเหนือ ให้เตียงอยู่ระหว่างใต้ต้นสาละทั้งคู่ ตรัสว่า "เราลำบากและเหน็ดเหนี่อยมาก จัก นอนระงับความลำบากนั้น" พระอานนท์จัดตั้งเตียงและปูผ้ารองเสร็จแล้ว พระพุทธเจ้าเสด็จบรรทมตะแคงข้างขวา หัน พระเศียรไปทางทิศเหนือ ตั้งพระบาทซ้อนเหลี่ยมกัน ดำรงสติสัมปชัญญะแล้วตั้งพระทัยจะเสด็จบรรทม เป็นไสยาวสาน (นอนเป็นครั้งสุดท้าย) เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า 'อนุฐานไสยา' แปลว่า นอนโดยจะไม่ลุกขึ้นอีก ปฐมสมโพธิว่า "ในขณะนั้นเอง มิใช่ฤดูกาลจะออกดอกเลย แต่สาละทั้งคู่ก็ผลิดอกออกบาน ตั้งแต่โคนรากเบื้องต้นถึงยอด และทั่วทุกกิ่งสาขาก็ดาดาด (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานใช้ ดารดาษ หรือดาษดา) ด้วยดอกแลสะพรั่ง แล้วดอกสาละนั้น ก็ร่วงหล่นลงบูชาพระพุทธเจ้า ดอกมณฑารพดอกไม้ ทิพย์ของสวรรค์ตลอดถึงจุณจันทน์สุคนธชาติของทิพย์ก็โปรยปรายลงจากอากาศ ดนตรีสวรรค์ก็บันลือประ โคม เป็นมหานฤนาทโกลาหลเพื่อจะบูชาพระพุทธเจ้าในกาลอันเป็นอวสานพระองค์" หัวข้อ: Re: วิธีสร้างบุญบารมี เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ สิงหาคม 02, 2012, 07:45:43 PM สมุดภาพพระพุทธประวัติ
ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร ภาพที่ ๗๔ พระอานนท์ไปยืนเหนี่ยวสลักเพชรพระวิหาร ร้องไห้รำพันถึงพระพุทธองค์ (http://84000.org/tipitaka/picture/p74.jpg) พระอานนท์เป็นพระภิกษุอุปัฏฐานของพระพุทธเจ้า ก่อนท่านรับตำแหน่งนี้ เคยมีพระภิกษุ หลายรูปทำหน้าที่นี้มาก่อน แต่ท่านเหล่านั้นรับหน้าที่ดังกล่าวไม่นาน ก็กราบทูลลาพระพุทธเจ้าออกไป ผู้ รับหน้าที่อุปัฏฐานพระพุทธเจ้าเป็นเวลานานที่สุด จนพระพุทธเจ้านิพพาน จึงได้แก่พระอานนท์ โดยความสัมพันธ์ทางพระญาติ พระอานนท์มีศักดิ์เป็นพระอนุชาหรือน้องชายของพระพุทธ เจ้า เพราะบิดาของท่านเป็นน้องชายของบิดาของพระพุทธเจ้า นี่ว่าอย่างสามัญ ตลอดเวลาที่รับหน้าที่อุปัฏฐากพระพุทธเจ้า พระอานนท์ตามเสด็จพระพุทธเจ้าไปทุกหนทุก แห่ง คอยปรนนิบัติอุปัฏฐากพระพุทธเจ้ามิได้บกพร่อง ด้วยเหตุดังกล่าวท่านจึงไม่มีเวลาบำเพ็ญกิจส่วนตัว พรรคพวกรุ่นเดียวกันที่ออกบวชพร้อมกัน (ยกเว้นพระเทวทัต) ต่างได้สำเร็จอรหันต์กันทั้งสิ้น ส่วนพระ อานนท์ได้สำเร็จมรรคผลเพียงชั้นโสดาเท่านั้น เมื่อพระพุทธเจ้าจวนจะนิพพาน ท่านจึงมีภาระเพิ่มมากขึ้น เหนื่อยทั้งกายและใจ ใจท่านว้า วุ่นไม่เป็นส่ำ พอได้ยินพระพุทธเจ้าบอกพระสงฆ์เกี่ยวกับเรื่องพระองค์จะนิพพาน พระอานนท์ไม่อาจจะ อดกลั้นความเสียใจและอาลัยพระพุทธเจ้าไว้ได้ ท่านจึงหลบหลีกออกจากที่เฝ้า เข้าไปยังวิหารแห่งหนึ่ง ไปยืนอยู่ข้างบานประตูวิหาร มือเหนี่ยวสลักเพชรหรือลิ่มสลักกลอนประตูแล้วร้องไห้ โฮๆ พลางรำพันว่า ตัวเรา ยังเป็นอริยบุคคลชั้นต่ำ ยังไม่สำเร็จอรหันต์ พระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นทั้งพระศาสดาและพระเชษฐา ของเราก็จักมานิพพานจากเราไปก่อนเสียแล้ว พระพุทธเจ้าทรงเห็นพระอานนท์หายไปจากที่เฝ้า จึงตรัสถามพระสงฆ์ถึงพระอานนท์ ทรง ทราบแล้วรับสั่งให้ท่านเข้าเฝ้า แล้วตรัสพระธรรมเทศนาเตือนสติพระอานนท์ว่าอย่าได้เศร้าโศกเสียใจ ตอนหนึ่งพระพุทธเจ้าตรัสบอกอานนท์ว่า ท่านเป็นคนมีบุญ อย่าได้ประมาท เมื่อพระองค์ นิพพานแล้วไม่ช้า ท่านจักได้สำเร็จอรหันต์ (พระอานนท์ได้สำเร็จอรหันต์ภายหลังพระพุทธเจ้านิพพาน ได้สามเดือน) หัวข้อ: Re: วิธีสร้างบุญบารมี เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ สิงหาคม 02, 2012, 07:47:59 PM สมุดภาพพระพุทธประวัติ ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร ภาพที่ ๗๕ ทรงแสดงธรรมโปรดสุภัททะปริพาชกให้สำเร็จมรรคผล นับเป็นปัจฉิมเวไนย (http://84000.org/tipitaka/picture/p75.jpg) พระอานนท์สร่างจากความเสียใจถึงร้องไห้แล้ว ท่านก็เข้าไปแจ้งข่าวในเมืองตามพระดำรัส รับสั่งของพระพุทธเจ้า เพื่อรายงานให้เจ้ามัลลกษัตริย์แห่งเมืองกุสินาราทราบว่า พระพุทธเจ้าจะนิพพาน ในตอนสิ้นสุดแห่งราตรีวันนี้แล้ว แจ้งว่าใครจะไปเฝ้าพระพุทธเจ้าก็ให้รีบไปเฝ้าเสียแต่ในขณะนี้ จะได้ไม่ เสียใจเมื่อภายหลังว่าไม่ได้เฝ้า พวกเจ้ามัลลกษัตริย์ที่กำลังประชุมกันอยู่ในเมือง ด้วยเรื่องพระพุทธเจ้านิพพานต่างก็ถือ เครื่องสักการะมาเฝ้าพระพุทธเจ้ากันเนืองแน่นที่สุด แต่ละคนน้ำตานองหน้า ร่ำไห้รำพันต่างๆ นานา เมื่อ ทราบว่าพระพุทธเจ้าจะนิพพาน ในจำนวนคนที่มาเฝ้าพระพุทธเจ้าครั้งนี้ มีปริพาชกคนหนึ่งนามว่า 'สุภัททะปริพาชก' คือ นักบวชนอกศาสนาพุทธพวกหนึ่ง สุภัททะปริพาชกเข้าหาพระอานนท์ ภายหลังเจ้ามัลลกษัตริย์แห่งเมืองกุสินาราได้เข้าเฝ้าแล้ว บอกว่าใคร่จะขออนุญาตเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า เพื่อทูลถามปัญหาบางอย่างซึ่งข้องใจมานาน พระอานนท์ ปฏิเสธปริพาชกผู้นี้ว่าอย่าเลย อย่าได้รบกวนพระพุทธเจ้าเลย เพราะตอนนี้กำลังจะนิพพาน ขณะนั้น พระพุทธเจ้าซึ่งทรงได้ยินการโต้ตอบกันระหว่างพระอานนท์กับสุภัททะปริพาชก จึงตรัสบอกพระอานนท์ว่าพระองค์ทรงอนุญาตให้สุภัททะปริพาชกเข้าเฝ้าได้ เมื่อสุภัททะปริพาชกได้ โอกาสเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า จึงทูลถามปัญหาที่ข้องใจมานาน ปัญหาข้อหนึ่งว่าสมณะผู้ได้บรรลุมรรคผลใน ศาสนาอื่นนอกจากพระพุทธศาสนามีหรือไม่ พระพุทธเจ้าตรัสว่า ไม่มี แล้วทรงแสดงธรรมให้ปริพาชก ฟังโดยละเอียด สุภัททะปริพาชกฟังแล้วเสื่อมใส ทูลขอบวชเป็นพระสาวกของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้า ตรัสว่านักบวชในศาสนาอื่นจะมาขอบวชเป็นพระภิกษุในศาสนาของพระองค์นั้น จะต้องอยู่ปริวาสครบ ๔ เดือนก่อนจึงจะบวชได้ สุภัททะปริพาชกกราบทูลพระพุทธเจ้าว่าอย่าว่าแต่ ๔ เดือนเลย จะให้อยู่ถึง ๔ ปี ก็ยอม พระพุทธเจ้าจึงทรงอนุญาตเป็นกรณีพิเศษ ให้พระสงฆ์จัดการบวชให้สุภัททะปริพาชกใน คืนวันนั้น สุภัททะปริพาชกจึงนับเป็นสาวกองค์สุดท้ายของพระพุทธเจ้า หัวข้อ: Re: วิธีสร้างบุญบารมี เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ สิงหาคม 02, 2012, 07:50:17 PM สมุดภาพพระพุทธประวัติ ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร ภาพที่ ๗๖ ทรงยกพระธรรมวินัยไตรปิฎกเป็นศาสดา ประทานปัจฉิมโอวาทแล้วปรินิพพาน (http://84000.org/tipitaka/picture/p76.jpg) ก่อนเสด็จนิพพานเล็กน้อย คือภายหลังทรงโปรดสุภัททะปริพาชกแล้ว พระพุทธเจ้าประทาน โอวาทพระสงฆ์ โอวาทนั้นเป็นพระพุทธดำรัสสั่งเป็นครั้งสุดท้าย มีหลายเรื่องด้วยกัน เช่น เรื่องหนึ่งเกี่ยว กับพระสงฆ์ยังใช้ถ้อยคำเรียกขานกันลักลั่นอยู่ คือ คำว่า 'อาวุโส' และ 'ภันเต' อาวุโสตรงกับภาษาไทยว่า 'คุณ' และภัตเตว่า 'ท่าน' พระพุทธเจ้าตรัสสั่งว่า พระที่มีอายุพรรษามากให้เรียกพระบวชภายหลังตน หรือที่อ่อนอายุ พรรษากว่าว่า 'อาวุโส' หรือ 'คุณ' ส่วนพระภิกษุที่อ่อนอายุพรรษา พึงเรียกพระที่แก่อายุพรรษากว่าตนว่า 'ภันเต' หรือ 'ท่าน' ครั้นแล้วทรงเปิดโอกาสให้พระสงฆ์ทั้งปวงทูลถาม ว่าท่านผู้ใดสงสัยอะไรในเรื่องที่พระองค์ ทรงสั่งสอนไว้แล้วก็ให้ถามเสียจะได้ไม่เสียใจเมื่อภายหลังว่าไม่มีโอกาสถาม ปรากฏตามท้องเรื่องใน มหาปรินิพพานสูตร ว่า ไม่มีพระสงฆ์องค์ใดทูลถามพระพุทธเจ้าใน ข้อสงสัยที่ตนมีอยู่เลย เมื่อก่อนพระพุทธเจ้าจะเสด็จนิพพานนั้น พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงตั้งสาวกองค์ใดให้รับตำแหน่ง เป็นพระศาสดาปกครองพระสงฆ์สืบต่อจากพระองค์เหมือนพระศาสดาในศาสนาอื่น เรื่องนี้ก็ไม่มีพระสงฆ์ องค์ใดทูลถามพระพุทธเจ้า แต่พระพุทธเจ้าก็ตรัสสั่งพระสงฆ์ไว้ฃัดเจนก่อนจะนิพพานว่า พระภิกษุรูปใด ตรัสบอกพระอานนท์ว่า "ดูก่อนอานนท์ ธรรมก็ดี วินัยก็ดี ที่เราได้แสดงไว้ และ บัญญัติไว้ด้วยดี นั่นแหละจักเป็นพระศาสดาของพวกท่านสืบแทนเราตถาคต เมื่อเราล่วงไป แล้ว" ครั้นแล้ว พระพุทธเจ้าตรัสเป็นปัจฉิมโอวาทครั้งสุดท้ายว่า "ภิกษุทั้งหลาย! บัดนี้เราขอเตือน พวกท่านให้รู้ว่า สิ่งทั้งหลายที่เกิดมาในโลกมีความเสื่อมสลายเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงทำหน้าที่อันเป็น ประโยชน์แก่ตนและคนอื่นให้สำเร็จบริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด" หลังจากนั้นไม่ได้ตรัสอะไรอีกเลย จนกระทั่งนิพพานในเวลาสุดท้ายของคืนวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ หรือวันเพ็ญวิสาขะ ณ ภายใต้ต้นสาละทั้งคู่ที่ออกดอกบานสะพรั่งเป็นพุทธบูชานั่นเอง หัวข้อ: Re: วิธีสร้างบุญบารมี เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ สิงหาคม 02, 2012, 07:52:28 PM สมุดภาพพระพุทธประวัติ ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร ภาพที่ ๗๗ พระสงฆ์ปุถุชนได้ฟังข่าวปรินิพพานซึ่งอาชีวกบอกแก่พระมหากัสสปก็ร้องไห้ (http://84000.org/tipitaka/picture/p77.jpg) ภาพที่เห็นอยู่นี้เป็นตอนภายหลังพระพุทธเจ้านิพพานแล้ว คือตอนพระมหากัสสปกำลังเดิน ทางมาเฝ้าพระพุทธเจ้า ตอนก่อนพระพุทธเจ้าจะนิพพานนั้น พระสงฆ์สาวกที่จาริกออกไปประกาศพระ ศาสนาตามแคว้นและเมืองต่างๆ ในสมัยนั้น เมื่อได้ทราบข่าวว่าพระพุทธเจ้าจะนิพพานที่เมืองกุสินารา ต่างก็เดินทางมุ่งหน้ามาเมืองนี้เป็นจุดเดียวกัน ที่อยู่ใกล้ก็มาทันเฝ้าพระพุทธเจ้า ส่วนที่อยู่ไกลไปก็มาไม่ทัน พระมหากัสสปเป็นพระเถระชั้นผู้ใหญ่ ที่พระพุทธเจ้าทรงเคยยกย่องให้เกียรติเทียบเท่าพระ องค์ ท่านรีบเดินทางมาพร้อมด้วยพระสงฆ์หลายร้อยรูป มาถึงเมืองปาวา แดดกำลังร้อนจัด จึงพาพระ สงฆ์แวะพักชั่วคราวระหว่างทางภายใด้ร่มไม้แห่งหนึ่ง ขณะนั้น ท่านเห็นอาชีวกคือนักบวชนอกศาสนา พุทธคนหนึ่ง เดินทางสวนมาจากเมืองกุสินารา มือถือดอกมณฑารพ พระมหากัสสปจึงถามข่าวพระพุทธ เจ้า อาชีวกตอบว่าพระสมณโคดมนั้นนิพพานมาได้เจ็ดวันแล้ว แล้วชูดอกมณฑารพให้ดูว่าตนเก็บได้มาจาก สถานที่ที่พระพุทธเจ้านิพพาน ดอกมณฑารพตามตำนานว่าเป็นดอกไม้สวรรค์ ออกดอกและบานในเวลาคน สำคัญของโลกมีอันเป็นไป ทันใดนั้น ก็บังเกิดอาการสองอย่างขึ้นในหมู่พระสงฆ์ที่เดินทางมาพร้อมกับพระมหากัสสป พระสงฆ์ฝ่ายหนึ่งที่สำเร็จอรหันต์แล้วต่างดุษณีภาพด้วยธรรมสังเวชว่า พระพุทธเจ้านิพพานเสีย ฝ่ายพระ สงฆ์ปุถุชนต่างอดกลั้นความเศร้าโศกเสียใจไว้ไม่ได้ บางองค์ร้องไห้ โฮ... บางองค์ยกมือทั้งสองขึ้นร้อง คร่ำครวญ บางองค์ล้มกลิ้งลงกับพื้นดิน มหาปรินิพพานสูตร บันทึกไว้ว่า อาการล้มกลิ้งของภิกษุนั้นเหมือน คนถูกตัดขาทั้งสองขาดในทันที แต่มีอยูรูปหนึ่งนามว่าสุภัททะ (คนละองค์กับที่บวชพระสาวกอง๕สุดท้ายของพระพุทธเจ้า) เป็นพระที่บวชเมื่อแก่ เข้าไปพูดปลอบโยนพระสงฆ์ทั้งปวงที่กำลังร้องไห้ว่า "คุณ! คุณ! จะร้องไห้เสียใจ ทำไม พระพุทธเจ้านิพพานเสียได้นั่นดีนักหนา ถ้าพระองค์ยังอยู่ พวกเราทำอะไรตามใจไม่ได้ ล้วนแต่ว่า อาบัติทั้งนั้น ต่อนี้ไปพวกเราจะสบาย พระองค์นิพพานเสียได้นั่นดีแล้ว" พระมหากัสสปได้เห็นเหตุการณ์ดังกล่าวก็อดสังเวชมิได้ว่า พระพุทธเจ้าเพิ่งนิพพานได้เพียง ๗ วัน เสี้ยนหนามพระศาสนาก็บังเกิดขึ้นเสียแล้ว แล้วท่านก็พาพระสงฆ์รีบออกเดินทางมุ่งหน้าไปยังเมือง กุสินารา เพื่อให้ทันถวายบังคมพระศพพระพุทธเจ้า หัวข้อ: Re: วิธีสร้างบุญบารมี เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ สิงหาคม 02, 2012, 07:54:41 PM สมุดภาพพระพุทธประวัติ
ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร ภาพที่ ๗๘ พอพระมหากัสสปถวายบังคมบาทพระพุทธศพ เพลิงสวรรค์ก็บันดาล ลุกโชติช่วง (http://84000.org/tipitaka/picture/p78.jpg) เมื่อพระพุทธเจ้านิพพานแล้ว ทางคณะสงฆ์และทางบ้านเมือง คือ เจ้ามัลลกษัตริย์ผู้ครอง เมืองกุสินารา ได้ทำพิธีสักการบูชาพระศพพระพุทธเจ้าอยู่เป็นเวลาถึง ๖ วัน ในวันที่ ๗ จึงเชิญพระศพ เป็นขบวนไปทางทิศเหนือของเมือง ผ่านใจกลางเมือง แล้วเชิญพระศพไปมกุฏพันธนเจดีย์ ที่อยู่ทางด้าน ทิศตะวันออกของเมือง เพื่อถวายพระเพลิง วันที่กำหนดจะถวายพระเพลิงนั้น ตรงกับวันแรม ๘ ค่ำเดือน ๖ ซึ่งทุกวันนี้ทางเมืองไทยเราถือว่าเป็นวันสำคัญวันหนึ่ง เรียกว่า 'วันอัฐมีบูชา' ผู้เชิญหรือหามพระศพพระพุทธเจ้า เรียกว่า 'มัลลปาโมกข์' มีจำนวน ๘ นาย แต่ละนาย รูปร่างใหญ่กำยำล่ำสัน มีกำลังมาก 'มัลลปาโมกข์' แปลว่า หัวหน้านักมวยปล้ำ พระศพพระพุทธเจ้าห่อด้วยผ้าใหม่ ที่ปฐมสมโพธิบอกจำนวนไว้ว่ามีถึง ๕๐๐ ชั้น ถอดเอา ใจความว่ามีหลายชั้นนั่นเอง แต่ละชิ้นซับด้วยสำลี แล้วเจ้าหน้าที่เชิญลงประดิษฐานในหีบทองที่เต็มไปด้วย น้ำหอม แล้วปิดฝาครอบไว้ แล้วเชิญขึ้นจิตกาธานที่ทำด้วยไม้หอมหลายชนิด พอได้เวลาเจ้าหน้าที่ได้จุดไฟขึ้นทั้ง ๔ ด้าน ตำนานว่าจุดเท่าไรไฟก็ไม่ติด เจ้าหน้าที่ทาง บ้านเมืองจึงเรียนถามพระอนุรุทธ์ (พระอนุรุทธ์เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้มีทิพยจักษุ มีศักดิ์เป็นพระอนุชาของ พระพุทธเจ้าเป็นพระสาวกได้สำเร็จพระอรหันต์) พระอนุรุทธ์จึงแจ้งให้ทราบว่า เป็นเพราะเทพเจ้าต้องการ ให้รอพระมหากัสสป ซึ่งกำลังเดินทางมายังไม่ถึงได้ถวายบังคมพระศพเสียก่อน ต่อมาเมื่อพระมหากัสสป พร้อมด้วยพระสงฆ์บริวารเดินทางมาถึง ได้ถวายบังคมพระศพพระพุทธเจ้าแล้ว จึงเกิดเพลิงทิพย์ด้วย เทวาฤทธานุภาพ ภายหลังจากนั้น เพลิงได้ไหม้พระสรีระของพระพุทธเจ้าจนหมดสิ้น เหลืออยู่แต่พระอัฐิ พระ เกศา พระทนต์ และผ้าอีกคู่หนึ่ง พระพวกมัลลกษัตริย์ได้นำน้ำหอมหลั่งลงดับถ่านไฟที่จิตกาธาน แล้วเชิญ สารีริกธาตุไปประดิษฐานไว้ที่สัณฐาคารศาลา คือหอประชุมกลางเมือง รอบหอประชุมนั้นจัดทหาร ถืออาวุธพร้อมสรรพคอยพิทักษ์รักษา และทำสักการบูชาด้วยฟ้อนรำ ดนตรี ประโคมขับ และดอกไม้นานา ประการ และมีนักขัตฤกษ์เอิกเกริกกึกก้องฉลองถึง ๗ วันเป็นกำหนด หัวข้อ: Re: วิธีสร้างบุญบารมี เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ สิงหาคม 02, 2012, 07:57:02 PM สมุดภาพพระพุทธประวัติ ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร ภาพที่ ๗๙ โทณพราหมณ์แบ่งสรรธาตุแก่พราหมณ์และกษัตริย์ ๗ พระนคร (http://84000.org/tipitaka/picture/p79.jpg) ข่าวพระพุทธเจ้านิพพานที่เมืองกุสินาราแล้ว เจ้ามัลลกษัตริย์แห่งนครนี้พร้อมด้วยคณะสงฆ์ ได้ถวายพระเพลิงแล้วนั้น ได้แพร่ไปถึงบรรดาเจ้านครแห่งแคว้นต่างๆ บรรดาเจ้านครเหล่านั้นจึงได้ส่งคณะ ฑูตรีบรุดมายังเมืองกุสินาราพร้อมด้วยพระราชสาส์น คณะฑูตทั้งหมดมี ๗ คณะ มาจาก ๗ นคร มีทั้งจากนครใหญ่ เช่น นครราชคฤห์ แห่ง แคว้นมคธ ที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระศาสนาเป็นแห่งแรก และนครอื่นๆ เช่น กบิลพัสดุ์ เมืองประสูติ ของพระพุทธเจ้า คณะฑูตทั้ง ๗ เมื่อเดินทางมาถึงเมืองกุสินาราก็ได้ยื่นพระราชสาส์นนั้นแก่เจ้ามัลลกษัตริย์ ในพระราชสาส์นนั้นมีความว่า เจ้านครทั้ง ๗ มาขอส่วนแบ่งสารีริกธาตุเพื่อนำไปบรรจุในสถูปให้ เป็นที่สักการบูชาไว้ที่นครของตน พวกเจ้ามัลลกษัตริย์ตอบปฏิเสธแข็งขันไม่ยอมให้ โดยอ้างเหตุผลว่าพระ พุทธเจ้านิพพานที่เมืองของตน สารีริกธาตุจึงเป็นสมบัติของเมืองนี้เท่านั้น เมื่อเจ้ามัลลกษัตริย์ไม่ยอมแบ่ง บรรดาเจ้านครทั้ง ๗ ก็ไม่ยอม จะขอส่วนแบ่งให้ได้ สงคราม แย่งสารีริกธาตุก็ทำท่าจะเกิดขึ้น แต่พอดีท่านผู้หนึ่งซึ่งชื่อ 'โทณพราหมณ์' ได้ระงับสงครามไว้เสีย ก่อน โทณพราหมณ์อยู่ในเมืองกุสินารา ตามประวัติแจ้งว่าเป็นผู้เฉลียดฉลาดในการพูด เป็นที่เคารพนับถือ ของบรรดาเจ้านคร และเป็นผู้มีชื่อเสียงในเรื่องเกียรติคุณ ได้ทำหน้าที่เสมือนหนึ่งเป็นเลขาธการสหประชาติ ในสมัยปัจจุบัน คือได้ระงับสงครามไว้เสียทัน โดยได้ปราศรัยให้ที่ประชุมฟังว่า "พระพุทธเจ้าเป็นผู้ทรงสรรเสริญขันติธรรมและสามัคคีธรรม แล้วเราทั้งหลายจะมาทะเลาะ วิวาททำสงครามกันเพราะสารีริกธาตุเป็นเหตุทำไม มาแบ่งกันให้ได้เท่าๆ กันดีกว่า สารีริกธาตุจักได้แพร่หลายและเป็นประโยชน์แก่มหาชนทั่วโลก" ที่ประชุมเลยตกลงกันได้ โทณพราหมณ์จึงทำหน้าที่แบ่งสารีริกธาตุออกเป็น ๘ ส่วน โดยใช้ตุมพะ คือทะนานทองเป็นเครื่องตวง ให้เจ้านครทั้ง ๗ คนละส่วน เป็น ๗ ส่วน อีกส่วนหนึ่งเป็น ของเจ้านครกุสินารา แล้วเจ้านครทั้งหมดต่างอัญเชิญสารีริกธาตุนั้นไปเป็นที่ระลึก แล้วนำไปบรรจุ ไว้ในสถูปต่างหาก การแจกสารีริกธาตุก็เสร็จสิ้นสุดลงด้วยความเรียบร้อย หัวข้อ: Re: วิธีสร้างบุญบารมี เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ สิงหาคม 02, 2012, 07:59:00 PM สมุดภาพพระพุทธประวัติ ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร ภาพที่ ๘๐ พระมหากัสสปกับพระอริยสงฆ์ยกปฐมสังคายนา สืบอายุพระศาสนามาถึงบัดนี้ (http://84000.org/tipitaka/picture/p80.jpg) ตอนถวายพระเพลิงพระศพพระพุทธเจ้าที่เมืองกุสินารา เป็นเวลาที่พระสงฆ์สาวกซึ่งเดินทาง มาชุมนุมกันที่เมืองนี้มีจำนวนมากกว่าครั้งใดๆ จึงเมื่อถวายพระเพลิงเสร็จแล้ว พระมหากัสสปซึ่งเป็นพระ เถระชั้นผู้ใหญ่ได้จัดให้มีการประชุมพระสงฆ์สาวกเป็นครั้งแรกขึ้นที่เมืองกุสินารา เรื่องที่ประชุมคือ เรื่องจะสังคายนาพระธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงและบัญญัติไว้ ท่านได้ปรารภเรื่องเสี้ยนหนามพระศาสนาที่ท่านได้ประสบเมื่อระหว่างเดินทางมา ที่พระภิกษุแก่กล่าวแสดง ความยินดีที่พระพุทธเจ้านิพพานให้ที่ประชุมทราบด้วย ที่ประชุมมีมติเลือกพระสงฆ์เถระ ๓ รูปเป็นประธานทำหน้าที่สังคายนา คือ พระมหากัสสป พระอุบาลี และพระอานนท์ ในการนี้ให้พระมหากัสสปเป็นประธานใหญ่ ให้มีหน้าที่คัดเลือกจำนวนสมาชิก สงฆ์ผู้จะเข้าประชุมทำสังคายนา พระมหากัสสปคัดเลือกพระสงฆ์ได้ทั้งหมด ๕๐๐ รูปแล้วตกลงเลือกเอา นครราชคฤห์แห่งแคว้นมคธเป็นสถานที่สถานที่ประชุม ส่วนเวลาประชุมคือตั้งแต่วันเข้าพรรษาเป็นต้นไป หรืออีก ๓ เดือนนับแต่นี้ หลังจากนั้น พระสงฆ์ที่ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมประชุมทำสังคายนา ต่างเดินทางมุ่งหน้าไป ยังเมืองราชคฤห์ เมื่อไปถึงทางคณะสงฆ์ได้ขอความอุปถัมภ์จากบ้านเมืองแห่งนี้ ในด้านการซ่อมวิหารที่พัก สงฆ์ ตกแต่งสถานที่ประชุมซึ่งจัดขึ้นในถ้ำปาสาณคูหาในภูเขาเวภารบรรพตซึ่งอยู่นอกเมือง ทางคณะสงฆ์ได้ขอให้ทางบ้านเมืองประกาศห้ามนักบวชและพระสงฆ์อื่นๆ ที่ไม่มีหน้าที่เกี่ยว ข้องกับการประชุมทำสังคายนาเข้ามาอยู่ในเมืองราชคฤห์ ตลอดเวลาที่สงฆ์ทั้งหมดทำสังคายนาอยู่ ทั้งนี้ เพื่อป้องกันอุปสรรคขัดขวาง อันอาจจะเกิดมีเป็นเหตุให้การประชุมทำสังคายนาเป็นไปโดยความไม่เรียบร้อย นั่นเอง หัวข้อ: Re: วิธีสร้างบุญบารมี เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ สิงหาคม 02, 2012, 08:07:56 PM สมุดภาพพระพุทธประวัติ ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร ศัพทานุกรม ------------------------------------------------------------------------------------- นิพพาน การดับกิเลสและกองทุกข์ เป็นโลกุตตรธรรม และเป็นจุดหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา ปฐมสมโพธิกถา ชื่อคัมภีร์แสดงเรื่องราวของพระพุทธเจ้า ตั้งแต่ประทับบนสวรรค์ชั้นดุสิต และเทวดาอัญเชิญ ให้มาอุบัติในมนุษยโลก ออกบวช ตรัสรู้ ประกาศศาสนา ปรินิพพาน จนถึงแจกพระธาตุ ต่อท้ายด้วยเรื่องพระเจ้าอโศกยกย่องพระศานา และการอันตรธานแห่งพระศาสนาในที่สุด หนังสือปฐมสมโพธิกถาที่เป็นวรรณคดีสำคัญ คือ ฉบับที่เป็นพระนิพนธ์ของพระมหาสมณเจ้า กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส โดยทรงชำระฉบับของเก่า ตัดและขยายความสำคัญบางตอน จัดเป็นบทตอนเพิ่มขึ้น มีทั้งฉบับบาลี และฉบับแปลเป็นไทย (ฉบับบาลีมี ๓๐ ปริเฉท แบ่งปริเฉทที่ ๑ เป็น ๒ ตอน ฉบับแปลไทยมี ๒๙ ปริเฉท) ไตรปิฎก "ปิฎกสาม" ปิฎก แปลว่า กระจาดหรือตะกร้า ในความหมายว่า เป็นที่รวบรวมคำสอนในพระพุทธศาสนาที่จัดเป็นหมวดหมู่แล้ว โดยนัยนี้ ไตรปิฎกจึงแปลว่า คัมภีร์ที่บรรจุพุทธพจน์ (และเรื่องราวชั้นเดิมของพระพุทธศาสนา) ๓ ชุด หรือ ประมวลแห่งคัมภีร์ที่รวบรวมพระธรรมวินัย ๓ หมวด กล่าวคือ วินัยปิฎก สุตตันตปิฎก และอภิธรรมปิฎก พระไตรปิฎก จัดแบ่งหมวดหมู่โดยย่อดังนี้ ... ดู ความหมายพระไตรปิฎก ประกอบ ธรรมวินัย ธรรมและวินัย คำสั่งสอนทั้งหมดของพระพุทธเจ้า ประกอบด้วย ธรรม--คำสอนแสดงหลักความจริง และแนะนำความประพฤติ วินัย--เครื่องควบคุมกายและวาจา โพธิสัตว์ ผู้ที่จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ซึ่งกำลังบำเพ็ญบารมี ๑๐ คือ ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐาน เมตตา อุเบกขา พระพุทธเจ้า ผู้ตรัสรู้โดยชอบแล้วสอนผู้อื่นให้รู้ตาม ท่านผู้รู้ดีรู้ชอบด้วยตนเองก่อนแล้วสอนประชุมชนให้ประพฤติชอบด้วยกาย วาจา ใจ พระพุทธเจ้า ๗ พระองค์ที่ใกล้กาลปัจจุบันที่สุด และ คัมภีร์กล่าวถึงบ่อยๆ คือ พระวิปัสสี พระสิขี พระเวสสภู พระกกุสันธะ พระโกนาคมน์ พระกัสสป และพระโคดม พระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ แห่งภัทรกัป ปัจจุบันนี้ คือ พระกกุสันธะ พระโกนาคมน์ พระกัสสป พระโคดม และพระเมตเตยยะ (เรียกกันสามัญว่า พระศรีอาริย์ หรือ พระศรีอริยเมตไตรย) พระพุทธเจ้า ๒๕ พระองค์นับแต่พระองค์แรกที่พระโคดมพุทธเจ้า (พระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน) ได้ทรงพบและทรงได้รับการพยากรณ์ว่าจะได้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า (รวม ๒๔ พระองค์) จนถึงพระองค์เองด้วย คือ ๑.พระทีปังกร ๒. พระโกณฑัญญะ ๓. พระมังคละ ๔. พระสุมนะ ๕. พระเรวตะ ๖. พระโสภิตะ ๗. พระอโนมทัสสี ๘. พระปทุมะ ๙. พระนารทะ ๑๐. พระปทุมุตตระ ๑๑. พระสุเมธะ ๑๒. พระสุชาตะ ๑๓. พระปิยทัสสี ๑๔. พระอัตถทัสสี ๑๕. พระธัมมทัสสี ๑๖. พระสิทธัตถะ ๑๗. พระติสสะ ๑๘. พระปุสสะ ๑๙. พระวิปัสสี ๒๐. พระสิขี ๒๑. พระเวสสภู ๒๒. พระกกุสันธะ ๒๓. พระโกนาคมน์ ๒๔. พระกัสสป ๒๕. พระโคตมะ (จาก คัมภีร์พุทธวงศ์ แห่งขุททกนิกาย พระสุตตันตปิฎก) พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน คือ โคตมพุทธเจ้า เจริญในศากยสกุล ดังเรื่องราวปรากฏในหนังสือนี้ พระพุทธโฆษาจารย์ พระอรรถกถาที่ยิ่งใหญ่ที่สุด บุตรพราหมณ์ เกิดในหมู่บ้านแห่งหนึ่งใกล้พุทธคยา เมื่อประมาณ พ.ศ. ๙๕๖ เรียนจบไตรเพท ต่อมาพบพระเรวตะ โต้ตอบปัญหาสู้พระเรวตะไม่ได้ จึงขอบวชเรียนพระธรรมวินัย มีความสามารถมาก ได้รจนาคัมภีร์ญาโณทัย เป็นต้น พระเรวตะเถระจึงแนะนำให้ไปเกาะลังกา เพื่อแปลอรรถกถาสิงหฬกลับเป็นภาษามคธ ท่านถูกพระเถระแห่งมหาวิหารในเกาะลังกาทดสอบความรู้ โดยให้คาถามา ๒ บท พระพุทธโฆสได้แต่งคำอธิบายคาถา ๒ บทนั้น เป็นคัมภีร์วิสุทธิมรรค และได้ทำงานแปลคัมภีร์ได้ตามประสงค์ ทำงานเสร็จแล้ว ท่านก็เดินทางกลับชมพูทวีป พุทธกิจประจำวัน กิจที่พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญในแต่ละวัน ๕ อย่าง คือ ๑. เวลาเช้าเสด็จบิณฑบาต ๒. เวลาเย็นทรงแสดงธรรม ๓. เวลาค่ำประทานโอวาทแก่เหล่าภิกษุ ๔. เวลาเที่ยงคืนทรงตอบปัญหาเทวดา ๕. จวนสว่างทรงตรวจพิจารณาสัตว์ที่สามารถ และที่ยังไม่สามารถบรรลุธรรมอันควรจะเสด็จไปโปรดหรือไม่ พุทธกิจ ๔๕ พรรษา พรรษาที่ ๑ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน โปรดปัญจวัคคีย์ พรรษาที่ ๒-๓-๔ วัดเวฬุวัน กรุงราชคฤห์ ระยะประดิษฐานพระพุทธศาสนา พรรษาที่ ๕ กูฏาคารในป่ามหาวัน นครเวสาลี โปรดพุทธบิดาที่กรุงกบิลพัสดุ์ โปรดพระญาติที่วิวาทเรื่องแม่น้ำโรหิณี พระนางมหาปชาบดีผนวช เกิดภิกษุณีสงฆ์ พรรษาที่ ๖ มกุลบรรพต ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ที่นครสาวัตถี พรรษาที่ ๗ ดาวดึงสเทวโลก แสดงพระอภิธรรมโปรดพุทธมารดา พรรษาที่ ๘ เภสกลาวัน ใกล้เมืองสุงสุมารคีรี แคว้นภัคคะ พบนกุลบิดาและนกุลมารดา พรรษาที่ ๙ โฆษิตาราม เมืองโกสัมพี พรรษาที่ ๑๐ ป่าตำบลปาริเลยยกะ ใกล้เมืองโกสัมพี (ในคราวที่ภิกษุชาวเมืองโกสัมพีทะเลาะกัน) พรรษาที่ ๑๑ หมู่บ้านพราหมณ์ชื่อเอกนาลา พรรษาที่ ๑๒ เมืองเวรัญชา พรรษาที่ ๑๓ จาลิยบรรพต พรรษาที่ ๑๔ พระเชตวัน พระราหุลอุปสมบท พรรษาที่ ๑๕ นิโครธาราม นครกบิลพัสดุ์ พรรษาที่ ๑๖ เมืองอาฬวี (ทรมานอาฬวกยักษ์) พรรษาที่ ๑๗ พระเวฬุวัน นครราชคฤห์ พรรษาที่ ๑๘-๑๙ จาลิบรรพต พรรษาที่ ๒๐ พระเวฬุวัน นครราชคฤห์ โปรดมหาโจรองคุลีมาล พระอานนท์ได้รับหน้าที่เป็นพุทธอุปัฏฐากประจำ พรรษาที่ ๒๑-๔๕ ประทับสลับไปมา ณ พระเชตวันกับบุพพาราม นครสาวัตถี (อรรถกถาว่า ประทับที่เชตวัน ๑๙ พรรษา ที่บุพพาราม ๖ พรรษา) พรรษาที่ ๔๕ เวฬุคาม ใกล้นครเวสาลี พุทธธรรม ๑. ธรรมของพระพุทธเจ้า พระคุณสมบัติของพระพุทธเจ้า คัมภีร์มหานิทเทสระบุจำนวนไว้ว่ามี ๖ ประการ แต่ไม่ได้จำแนกข้อไว้ อรรถกถาโยงความให้ว่า ได้แก่ ๑. กายกรรมทุกอย่างของพระพุทธเจ้าเป็นไปตามญาณ (จะทำอะไรก็ทำด้วยปัญญา ด้วยความรู้ความเข้าใจ) ๒. วจีกรรมทุกอย่างเป็นไปตามพระญาณ ๓. มโนกรรมทุกอย่างเป็นไปตามพระญาณ ๔. ทรงมีพระญาณไม่ติดขัดในอดีต ๕. ทรงมีพระญาณไม่ติดขัดในอนาคต ๖. ทรงมีพระญาณไม่ติดขัดในปัจจุบัน, คัมภีร์สุมังคลวิลาสินี อรรถกถาแห่งฑีฆนิกาย จำแนกพุทธธรรมว่ามี ๑๘ อย่าง คือ ๑. พระตถาคตไม่ทรงมีกายทุจริต ๒. ไม่ทรงมีวจีสุจริต ๓. ไม่ทรงมีมโนทุจริต ๔. ทรงมีพระญาณไม่ติดขัดในอดีต ๕. ทรงมีพระญาณไม่ติดขัดในอนาคต ๖. ทรงมีพระญาณไม่ติดขัดในปัจจุบัน ๗. ทรงมีกายกรรมทุกอย่างเป็นไปตามพระญาณ ๘. ทรงมีวจีกรรมทุกอย่างเป็นไปตามพระญาณ ๙. ทรงมีมโนกรรมทุกอย่างเป็นไปตามพระญาณ ๑๐. ไม่มีความเสื่อมฉันทะ (ฉันทะไม่ลดถอย) ๑๑. ไม่มีความเสื่อมวิริยะ (ความเพียรไม่ลดถอย) ๑๒. ไม่มีความเสื่อมสติ ๑๓. ไม่มีการเล่น ๑๔. ไม่มีการพูดพลาด ๑๕. ไม่มีการทำพลาด ๑๖. ไม่มีความผลุนผลัน ๑๗. ไม่มีพระทัยที่ขวนขวาย ๑๘. ไม่มีอกุศลจิต ๒. ธรรมที่ทำให้พระพุทธเจ้า ได้แก่ พุทธการกธรรม คือ บารมี ๑๐ ๓. ธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ คือ สติปัฏฐาน ๔ ฯลฯ มรรคมีองค์ ๘ ขันธ์ ๕ ปัจจัย ๒๔ เป็นอาทิ มหาบุรุษลักษณ์ ดู . . . ลักขณสูตร . . . ประกอบ ลักษณะของมหาบุรุษ มี ๓๒ ประการ คือ ๑. มีฝ่าพระบาทเรียบเสมอกัน ๒. ลายพื้นพระบาทเป็นจักร ๓. มีส้นพระบาทยาว (ถ้าแบ่ง ๔ พระชงฆ์ตั้งอยู่ในส่วนที่ ๓) ๔. มีนิ้วยาวเรียว (นิ้วพระหัตถ์ และพระบาทด้วย) ๕. ฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทอ่อนนุ่ม ๖. ฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทมีลายดุจข่าย ๗. มีพระบาทเหมือนสังข์คว่ำอัฐิข้อพระบาทตั้งลอยอยู่หลังพระบาท กลับกลอกได้ คล่อง เมื่อทรงดำเนินผิดกว่าสามัญชน ๘. พระชงฆ์เรียวดุจแข้งเนื้อทราย ๙. เมื่อยืนตรง พระหัตถ์ทั้งสองลูบจับถึงพระชานุ ๑๐. มีพระคุยหะเร้นอยู่ในฝัก ๑๑. มีฉวีวรรณดุจสีทอง ๑๒. พระฉวีละเอียด ธุลีละอองไม่ติดพระกาย. ๑๓. มีเส้นพระโลมาเฉพาะขุมละเส้นๆ ๑๔. เส้นพระโลมาดำสนิท เวียนเป็นทักษิณาวัฏ มีปลายงอนขึ้นข้างบน ๑๕. พระกายตั้งตรงดุจท้าวมหาพรหม ๑๖. มีมังสะอูมเต็มในที่ ๗ แห่ง (คือหลังพระหัตถ์ทั้ง ๒ และหลังพระบาท ทั้ง ๒ พระอังสะทั้ง ๒ กับลำพระศอ) ๑๗. มีส่วนพระสรีรกายบริบูรณ์ (ล่ำพี) ดุจกึ่งท่อนหน้าแห่งพญาราชสีห์ ๑๘. พระปฤษฎางค์ราบเต็มเสมอกัน ๑๙. ส่วนพระกายเป็นปริมณฑลดุจปริมณฑลแห่งต้นไทร (พระกายสูงเท่ากับวาของพระองค์) ๒๐. มีลำพระศอ กลมงามเสมอตลอด ๒๑. มีเส้นประสาทสำหรับรับรสพระกระยาหารอันดี ๒๒. มีพระหนุดุจคางแห่งราชสีห์ (โค้งเหมือนวงพระจันทร์) ๒๓. มีพระทนต์ ๔๐ ซี่ (ข้างละ ๒๐ ซี่) ๒๔. พระทนต์เรียบเสมอกัน ๒๕. พระทนต์เรียบสนิทมิได้ห่าง ๒๖. เขี้ยวพระทนต์ทั้ง ๔ ขาวงามบริสุทธิ์ ๒๗. พระชิวหาอ่อนและยาว (อาจแผ่ปกพระนลาฏได้) ๒๘. พระสุรเสียงดุจท้าวมหาพรหม ตรัสมีสำเนียงดุจนกการเวก ๒๙. พระเนตรดำสนิท ๓๐. ดวงพระเนตรแจ่มใสดุจตาลูกโคเพิ่งคลอด ๓๑. มีอุณาโลมาระหว่างพระขนงเวียนขวาเป็นทักษิณาวัฏ ๓๒. มีพระเศียรงามบริบูรณ์ดุจประดับด้วยกรอบพระพักตร์ มหาปุริสลักษณะ ก็เรียก วันสำคัญต่างๆ ๑. วิสาขบูชา--การบูชาในวันเพ็ญเดือน ๖ คือ วันคล้ายวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ๒. มาฆบูชา--การบูชาในวันเพ็ญเดือน ๓ ในโอกาสวันคล้าย วันประชุมใหญ่ แห่งพระสาวก เรียกว่า 'จาตุรงคสันนิบาต' ณ พระเวฬุวันหลังจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว ๙ เดือน ที่พระองค์ทรงแสดง 'โอวาทปาฏิโมกข์' (การปลงพระชนมายุสังขารก็ตรงกับวันนี้) ๓. อาสาฬหบูชา--การบูชาในวันเพ็ญเดือน ๘ เพื่อรำลึกถึง คุณพระรัตนตรัย เป็นการพิเศษ เนื่องในวันที่ พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา คือ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ทำให้เกิดมีปฐมสาวก คือ พระอัญญาโกณฑัญญะ และเกิดสังฆรัตนะ ทำให้ครบพระรัตนตรัย ๔. เข้าพรรษา--อยู่ประจำวัดสามเดือนในฤดูฝน คือ ตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ (เรียกปุริมพรรษา แปลว่า พรรษาต้น) หรือตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๙ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๒ (เรียกปัจฉิมพรรษา แปลว่า พรรษาหลัง) วันเข้าพรรษาต้น คือ แรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ เรียกว่า ปุริมิกา วัสสูปนายิกา วันเข้าพรรษาหลัง คือ แรม ๑ ค่ำ เดือน ๙ เรียกว่า ปัจฉิมิกา วัสสูปนายิกา สมันตปาสาทิกา ชื่อคัมภีร์อรรถกถา อธิบายความใน พระวินัยปิฎก พระพุทธโฆษาจารย์เรียบเรียงขึ้น เมื่อ พ.ศ. ใกล้จะถึง ๑๐๐๐ โดยปรึกษาอรรถกถาภาษาสิงหฬ ที่มีอยู่ก่อน ชื่อ มหาปัจจริยและกุรุนที สังคายนา การสวดพร้อมกัน การร้อยกรองพระธรรมวินัย การประชุมตรวจชำระสอบทานและ จัดหมวดหมู่ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า วางลงเป็นแบบแผนอันหนึ่งอันเดียว สังคายนาครั้งที่ ๑ ถึง ๕ มีดังนี้ ครั้งที่ ๑ ปรารภเรื่องสุภัททภิกษุ ผู้บวชเมื่อแก่ กล่าวจ้วงจาบพระธรรมวินัย และเพื่อให้พระธรรมอยู่สืบไป ประชุมทำหลังพุทธปรินิพพาน ๓ เดือน โดยพระอรหันต์ ๕๐๐ รูป พระมหากัสสปเป็นประธาน และเป็นผู้ถาม พระอุบาลีเป็นผู้วิสัชนาพระวินัย พระอานนท์เป็นผู้วิสัชนาพระธรรม ประชุมสังคายนาที่ถ้ำสัตตบรรณคูหา ภูเขาเวภารบรรพต เมืองราชคฤห์ พระเจ้าอชาตศัตรูเป็นศาสนูปถัมภก์ สิ้นเวลา ๗ เดือน ครั้งที่ ๒ ปรารภพวกภิกษุวัชชีบุตรแสดงวัตถุ ๑๐ ประการ นอกธรรมนอกวินัย พระยศกากัณฑกบุตรเป็นผู้ชักชวนได้พระอรหันต์ ๗๐๐ รูป พระเรวตะเป็นผู้ถาม พระสัพกามีเป็นผู้วิสัชนา ประชุมทำที่วาสิการาม เมืองเวลาลี เมื่อ พ.ศ. ๑๐๐ โดยพระเจ้ากาลาโศกราช เป็นศาสนูปถัมภก์ สิ้นเวลา ๘ เดือน ครั้งที่ ๓ ปรารภเดียรถีย์ปลอมบวชในพระพุทธศาสนาเพราะมีลาภสักการะเกิดขึ้นมาก พระโมคคัลลีบุตรติสสะเป็นประธาน ประชุมทำที่อโศการาม เมืองปาฏลีบุตร เมื่อ พ.ศ. ๒๓๔ พระเจ้าอโศกมหาราช เป็นศาสนูปถัมภก์ สิ้นเวลา ๙ เดือน ครั้งที่ ๔ ปรารภจะให้พระศาสนาประดิษฐานมั่นคงในลังกาทวีป พระสงฆ์ ๖๘,๐๐๐ รูป มีพระมหินทเถระเป็นประธานและเป็นผู้ถาม พระอริฏฐะเป็นผู้วิสัชชนา ประชุมทำที่ถูปาราม เมืองอนุราชบุรี เมื่อ พ.ศ. ๒๓๖ พระเจ้าเทวานัมปิยะติสสะ เป็นศาสนูปถัมภก์ สิ้นเวลา ๑๐ เดือน ครั้งที่ ๕ ปรารภพระสงฆ์แตกกันเป็น ๒ พวก คือ พวกมหาวิหารกับพวกอภัยคีรีวิหาร และคำนึงว่าสืบไปภายหน้ากุลบุตรจะถอยปัญญา ควรจารึกพระธรรมวินัยลงในใบลาน พระอรหันต์ ๕๐๐ รูป ประชุมกันสวดซ้อมแล้วจารพระพุทธพจน์ลงในใบลาน ณ อาโลกเลณสถาน ในมลยชนบท ประเทศลังกา เมื่อ พ.ศ. ๔๕๐ (ว่า ๔๓๖ ก็มี) โดยพระเจ้าวัฏฏคามณีอภัย เป็นศาสนูปถัมภก์ (ครั้งที่ ๔ และ ๕ ไม่เป็นที่รับรองทั่วไป) อรรถกถา คัมภีร์อธิบายความในพระไตรปิฎก แต่งโดยพระอาจารย์รุ่นหลังๆ ตัวอย่างเช่น คัมภีร์วิสุทธิมรรค ที่แต่งโดย พระพุทธโฆษาจารย์ เป็นต้น อรหันต์ ผู้สำเร็จธรรมวิเศษสูงสุดในพระพุทธศาสนา พระอริยบุคคลชั้นสูงสุด พระอรหันต์ ๒ คือ ๑. พระสุกขวิปัสสก--ผู้เจริญวิปัสสนาล้วน มิได้ทรงคุณวิเศษอย่างอื่น ๒. พระสมถยานิก--ผู้มีสมถะเป็นญาณ ผู้เจริญสมถะกรรมฐาน จนได้ฌานก่อนแล้ว จึงเจริญวิปัสสนาต่อ พระอรหันต์ ๔ คือ ๑. พระสุกขวิปัสสก ๒. พระเตวิชชะ (ผู้ได้วิชชา ๓ คือ รู้ระลึกชาติได้ รู้จุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย รู้ทำอาสวะให้สิ้น) ๓. พระฉฬภิญญะ (ผู้ได้อภิญญา ๖ คือ แสดงฤทธิ์ได้ หูทิพย์ ทายใจผู้อื่นได้ ระลึกชาติได้ ตาทิพย์ ญาณที่ทำให้อาสวะสิ้นไป) ๔. พระปฏิสัมภิทัปปัตตะ (ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ๔) พระอรหันต์ ๕ คือ ๑.พระปัญญาวิมุต ๒.พระอุภโตภาควิมุต ๓.พระเตวิชชะ ๔.พระฉฬภิญญะ ๕.พระปฏิสัมภิทัปปัตตะ พระอรรถกถาจารย์แสดงความหมายของพระอรหันต์ไว้ ๕ นัย คือ ๑. ไกลจากกิเลส ๒. กำจัดกิเลสได้หมดสิ้น ๓. เป็นผู้หมดสังสารวัฏ คือ การเวียนว่ายตายเกิด ๔. เป็นผู้ควรแก่การบูชาพิเศษของเทพและมนุษย์ทั้งหลาย ๕ ไม่มีที่ลับในการทำบาป ไม่มีความชั่วเสียหายที่จะต้องปิดบัง อริยบุคคล บุคคลผู้เป็นอริยะ ท่านผู้บรรลุธรรมวิเศษ มี ๔ ชั้น คือ ๑. พระโสดาบัน ๒. พระสกทาคามี ๓. พระอนาคามี ๔. พระอรหันต์ อริยสัจ ความจริงอย่างประเสริฐ มี ๔ คือ ๑. ทุกข์ ๒. สมุทัย ๓. นิโรธ ๔. มรรค โอวาทปาฏิโมกข์ หลักคำสอนสำคัญ หรือคำสอนอันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ได้แก่ พระพุทธพจน์ ๓ คาถากึ่ง ที่พระพุทธเจ้าตรัสแก่พระอรหันต์ ๑,๒๕๐ รูป ผู้ไปประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย ณ พระเวฬุวนาราม ในวันเพ็ญเดือน ๓ ที่เราเรียกกันว่าวันมาฆบูชา (อรรถกถา กล่าวว่า พระพุทธเจ้าทรงแสดง โอวาทปาฏิโมกข์นี้ แก่ที่ประชุมสงฆ์ทุกกึ่งเดือน เป็นเวลา ๒๐ พรรษา ก่อนที่จะโปรดให้ สวดปาฏิโมกข์อย่างปัจจุบันนี้ แทนต่อมา) คาถาโอวาทปาฏิโมกข์ (โอวาทปาติโมกข์ ก็เขียน) มีดังนี้ สพฺพปาปสฺส อกรณํ กุสลสฺสูปสมฺปทา สจิตฺตปริโยทปนํ เอตํ พุทฺธานํ สาสนํ ฯ ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโต ฯ อนูปวาโท อนูปฆาโต ปาติโมก์เข จ สํวโร มตฺตญฺญุตา จ ภตฺตสฺมึ ปนฺตญฺจ สยนาสนํ อธิจิตฺเต จ อาโยโค เอตํ พุทฺธานํ สาสนํ ฯ แปล : การไม่ทำความชั่วทั้งปวง ๑ การบำเพ็ญแต่ความดี ๑ การทำจิตของตนให้ผ่องใส ๑ นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ขันติ คือ ความอดกลั้น เป็นตบะอย่างยิ่ง พระพุทธเจ้าทั้งหลายกล่าวว่า นิพพานเป็นบรมธรรม ผู้ทำร้ายผู้อื่น ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต ผู้เบียดเบียนผู้อื่น ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะเลย การไม่กล่าวร้าย ๑ การไม่ทำร้าย ๑ การสำรวมในปาฏิโมกข์ ๑ ความเป็นผู้รู้จักประมาณในอาหาร ๑ ที่นั่งที่นอนอันสงัด ๑ ความเพียรในอธิจิต ๑ นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ที่เข้าใจกันโดยทั่วไป และจำกันโดยมาก ก็คือ ความในคาถาแรกที่ว่า ไม่ทำชั่ว ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ผ่องใส ศัพทานุกรม หัวข้อ: Re: วิธีสร้างบุญบารมี เริ่มหัวข้อโดย: paul711 ที่ สิงหาคม 03, 2012, 04:11:26 PM angel.gif ขอบคุณ คุณหนูใจ มากครับ ที่มีความเพียรช่วยนําภาพและเรื่องพุทธประวัติมาลงในนี้
ผมจะค่อยๆอ่านครับ เคยอ่านมาแล้ว แต่ลืมไปก็มาก อนุโมทนาในความตั้งใจดี ส่งเสริมพุทธศาสนาครับ หัวข้อ: Re: วิธีสร้างบุญบารมี เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ พฤศจิกายน 25, 2013, 10:04:41 AM นิทานขาดกเรื่อง 'มาตุโปสกชาดก' พญาช้างเผือกเลี้ยงแม่ตาบอด
(http://images.thaiza.com/33/33_20131113181355..jpg) ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี ทรงปรารภภิกษุผู้ลี้ยงมารดารูปหนึ่ง ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า... กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นพญาช้างเผือกขาวปลอด มีรูปร่างสวยงาม มีช้าง ๘๐,๐๐๐ เชือกเป็นบริวารเลี้ยงดูมารดาตาบอดอยู่ เมื่อพาบริวารออกหากินได้อาหารอันมีรสอร่อยแล้วก็จะส่งกลับมาให้มารดากิน แต่ก็ถูกช้างเชือกที่นำอาหารมากินเสียระหว่างทาง เมื่อกลับมาทราบว่ามารดาไม่ได้อาหารก็คิดจะละจากโขลงเพื่อเลี้ยงดูมารดาเท่านั้น ครั้นถึงเวลาเที่ยงคืนก็แอบนำมารดาหนีออกจากโขลงไปอยู่ที่เชิงเขาแล้วพักมารดาไว้ที่ถ้ำแห่งหนึ่ง ส่วนตนเองออกเที่ยวหาอาหารมาเลี้ยงดูมารดา อยู่ต่อมาวันหนึ่ง มีพรานป่าชาวเมืองพาราณสีคนหนึ่งเข้าป่ามาแล้วหลงทางออกจากป่าไม่ได้จึงนั่งร้องไห้อยู่ พญาช้างพอได้ยินเสียงคนร้องไห้ด้วยความเมตตากรุณาในเขา จึงนำเขาออกจากป่าไปส่งที่ชายแดนมนุษย์ ฝ่ายนายพรานเมื่อพบช้างที่สวยงามเช่นนั้น ก็คิดชั่วร้าย "ถ้าเรานำความกราบทูลพระราชา เราจักได้ทรัพย์มากเป็นแน่แท้" ขณะอยู่บนหลังช้างได้หักกิ่งไม้่กำหนดไว้เป็นสัญลักษณ์ ในสมัยนั้น ช้างมงคลของพระราชาได้ตายลง พระราชาจึงมีรับสั่งให้ตีกลองร้องประกาศว่าใครมีช้างที่สวยงามขอให้บอก นายพรานนั้นได้โอกาสจึงรับสั้งให้นายควญช้างพร้อมด้วยบริวารติดตามนายพรานนั้นเข้าป่านำพญาช้างนั้นมาถวาย นายควาญช้างเมื่อพบพญาช้างแล้วก็ถูกใจ ส่วนพญาช้างขณะนั้นกำลังดื่มน้ำอยู่ในสระ เมื่อเห็นนายพรานนั้นกลับมาพร้อมผู้คนอีกจำนวนมากก็ทราบถึงภัยมาถึงตัวแล้ว จึงกำหนดสติข่มความโกรธไว้ในใจยืนนิ่งอยู่ นายควาญช้างได้นำพญาช้างเข้าไปในเมือง พาราณสี ฝ่ายช้างมารดาของพญาช้าง เมื่อไม่เห็นลูกมาจึงคร่ำครวญคิดถึงลูกว่า "ลูกเราสงสัยถูกพระราชาหรือมหาอำมาตย์จับไปแล้วหนอ เมื่อไม่มีพญาช้างอยู่ ไม้อ้อยช้าง ไม้มูกมัน ไม้ช้างน้าว หญ้างวงช้าง ข้าวฟ่าง และลูกเดือย จักเจริญงอกงาม" ฝ่ายนายควาญช้างในระหว่างทางขณะกลับเข้าเมืองได้ส่งสาส์นไปถึงพระราชาเพื่อตบแต่งเมืองให้สวยงาม เมื่อถึงเมืองแล้วก็ประพรมน้ำหอมพญาช้าง ประดับเครื่องทรงแล้วนำไปไว้ที่โรงช้างขึ้นกราบทูลพระราชา พระราชาทรงนำอาหารอันมีรสเลิศต่าง ๆ มาให้พญาช้างด้วยพระองค์เอง พญาช้างคิดถึงมารดาจึงไม่กินอาหารนั้น พระองค์จึงอ้อนวอนมันว่า "พญาช้างตัวประเสริฐเอ๋ย เชิญพ่อรับคำข้าวเถิดเจ้ามีภารกิจมากมายที่ต้องทำ" พญาช้างพูดลอย ๆ ขึ้นว่า "นางช้างผู้กำพร้า ตาบอดไม่มีผู้นำทาง คงสะดุดตอไม้ล้มลงตรงภูเขาเป็นแน่" พระราชาตรัสถามว่า "พญาช้าง… นางช้างนั้นเป็นอะไรกับท่านหรือ" พญาช้าง "นางเป็นมารดาของข้าพระองค์เอง" พระราชาเมื่อฟังแล้วเกิดความสลดใจมีรับสั่งให้ปล่อยพญาช้างว่า "พญาช้างนี้เลี้ยงดูมารดาตาบอดอยู่ในป่า ท่านทั้งหลายปล่อยมันกลับไปเถิด" พญาช้างเมื่อถูกปล่อยให้อิสระพักอยู่หน่อยหนึ่งแล้วแสดงธรรมต่อพระราชาว่า "มหาราชเจ้า ขอพระองค์จงอย่าเป็นผู้ประมาทเถิด" แล้วได้กลับไปยังที่อยู่ของตน ได้นำน้ำในสระไปรดตัวมารดาที่นอนร่างกายผ่ายผอมเพราะไม่ได้อาหารมาแลัว ๗ วัน เป็นอันดับแรก ฝ่ายช้างมารดาเมื่อถูกน้ำราดตัวเข้าใจว่าฝนตกจึงพูดขึ้นว่า "ฝนอะไรนี่ตกไม่เป็นฤดู ลูกเราไม่อยู่เสียแล้ว" พญาช้างจึงพูดปลอบใจมารดาว่า "แม่.. เชิญลุกขึ้นเถิดลูกของแม่มาแล้ว พระราชาผู้ทรงธรรมให้ปล่อยมาแล้วละ" นางช้างดีใจมากได้อนุโมทนาแก่พระราชาว่า "ขอให้พระองค์ทรงพระชนม์ยืนนาน เจริญรุ่งเรืองเถิดที่ได้ปล่อยลูกของข้าพระองค์คืนมา" ฝ่ายพระราชาทรงเลื่อมใสในพญาช้าง จึงมีรับสั่งให้ตั้งอาหารไว้เพื่อพญาช้างและมารดาเป็นประจำ ตั้งแต่วันที่ปล่อยพญาช้างไปและรับสั่งให้สร้างรูปเหมือนพญาช้างจัดงานฉลองช้างขึ้นเป็นประจำทุกปี พญาช้างเมื่อมารดาเสียชีวิตแล้วก็ได้อยู่อุปัฏฐากคณะฤๅษี ๕๐๐ ตน จนตราบเท่าชีวิต มาตุโปสกชาดก พญาช้างผู้เลี้ยงแม่ (http://www.youtube.com/watch?v=XpyM1EhsB2Y#ws) ขอขอบคุณ http://www.dhammathai.org/chadoknt/chadoknt23.php (http://www.dhammathai.org/chadoknt/chadoknt23.php) |