Forex-Currency Trading-Swiss based forex related website.
Home
-----
กระดานสนทนาหน้าแรก
-----
Gold Chart,Silver,Copper,Oil Chart
-----
gold-trend-price-prediction
-----
ติดต่อเรา
หัวข้อ: >>> วิธีปฏิบัติในการใส่บาตร? <<< เริ่มหัวข้อโดย: nokeang ที่ พฤศจิกายน 20, 2009, 06:13:42 PM (http://www.daradaily.com/content/news/p1-18330.jpg) เรื่องง่าย ๆ แต่ทำกันไม่ค่อยจะถูก :) 1. นิมนต์พระ หลังจากที่เราเตรียมสำรับกับข้าวเรียบร้อยแล้ว เราก็ยืนรอพระที่จะเดินบิณฑบาตผ่านมา การยืนรอพระในขั้นตอนนี้ ควรศึกษาให้ดีเสียก่อนว่า เส้นทางนี้มีพระเดินผ่านหรือไม่ ไม่ใช่ว่าไปรอบนทางสายเปลี่ยวที่ไม่มีพระเดินผ่าน คงไม่ได้ใส่กันพอดี รอซักพัก พอมีพระเดินมาก็นิมนต์ท่าน การนิมนต์ ก็ควรใช้คำว่า "นิมนต์ครับ/ค่ะท่าน" แค่นี้พระท่านก็ทราบแล้ว ตอนเป็นพระเคยเดินบิณฑบาตที่ตลาดเขมร โยมนิมนต์ด้วยถ้อยคำอันรื่นหูว่า "ท่านเจ้าประคุณเจ้าคะ นิมนต์เจ้าค่ะ" ( ใช้คำไฮโซมาก) มีอีกทีนึงโยมใช้คำว่า "นิมนต์เจ้าค่ะ พระอาจารย์ " ( เอ่อ โยม อาตมาเพิ่งบวชอาทิตย์เดียว) การนิมนต์พระควรนิมนต์ด้วยความสำรวมและใช้เสียงดังพอ ประมาณ โยมบางคนเรียกพระด้วยเสียงอันดัง "นิ โมนน!!" (แง้ทำไมต้องตะคอกด้วย) การนิมนต์ควรสังเกตอายุของพระด้วย ถ้าอายุน้อยกว่าเราหรือว่าเยอะกว่าไม่มากก็เรียกว่าห ลวงพี่ ถ้ามีอายุหน่อยก็เรียกหลวงน้า ถ้าแก่พรรษามากก็เรียกหลวงตา หรือนอกจากนี้ก็อาจจะเรียกหลวงอา หลวงลุง หลวงปู่ฯลฯ แล้วแต่จะลำดับญาติ อย่างฉันปีนี้อายุ ๒๓ ปี หน้าตาค่อนข้างเด็ก แต่เคยมีโยมใช้คำว่า "นิมนต์ค่ะ หลวงลุง " ทำเอาเสีย self จนอยากสึกออกไปทำ baby face โยมบางคนคงเขินอายพระ เนื่องจากไม่ค่อยได้ใส่บาตรเท่าไร เวลาพระเดินมาก็ยื่นมือออกมาทำท่ากวักๆ ทำเหมือนพระเป็นรถเมล์ หลังจากนิมนต์พระ ก็เข้าสู่ขั้นตอนถัดไปคือ :) 2. จบ อันนี้ไม่ได้หมายความว่าเรื่องจบแล้วนะ การจบ หมา ยถึง การเอามาทูนไว้ที่หัวแล้วอธิษฐาน การจบ ควรใช้เวลาอธิษฐานแต่พองาม ไม่ต้องอธิษฐานนานจนเกินไป เคยมีโยมนิมนต์ไปรับบาตร ไอเราก็เดินไปเปิดฝาบาตรรอรับ โยมก็จบอยู่ ขอบอกว่านานมากกกกกกก นานจนรู้สึกได้ นานจนอดคิดไม่ได้ว่า "โยมขออะไรเราน้า ?" :) 3. ถอดรองเท้า ยืนด้วยเท้าเปล่า จริง ๆ แล้ว จุดประสงค์ของการถอดรองเท้าคือเป็นการให้ความเคารพพร ะสงฆ์โดยการไม่ยืน สูงกว่าท่าน เพราะเวลาพระสงฆ์บิณฑบาตจะเดินเท้าเปล่า แต่มีญาติโยมบางคนไม่เข้าใจเกี่ยวกับการถอดรองเท้าซึ ่งมีหลายประเภทเหมือน กัน เช่น บางคนถอดรองเท้าอย่างเรียบร้อยแต่ยืนบนรองเท้า - -" ( สูงกว่าเดิมอีก) บางคนถอดรองเท้าและยืนบนพื้นจริง แต่ว่าตัวเองยืนบนฟุตบาท พระยืนบนพื้นถนนซะงั้น (หนักกว่าเก่า) เคยมีเรื่องเล่าว่า มีโยมคนนึงยืนใส่บาตรพระ พระเห็นว่าโยมใส่รองเท้าเลยแนะนำโยมไปว่า พระ : "โยม อาตมาว่าโยมควร ถอดรองเท้าใส่บาตร นะ" โยมมีสีหน้าตกกะใจ ตอบพระไปว่า โยม : เอ่อ จะดีเหรอคะ พระ : ไม่เป็นไรหรอกโยม โยมก็จัดแจงถอดรองเท้า ยกขึ้นมาพร้อมกับถามพระว่า โยม : จะให้ใส่ข้างเดียวหรือว่าสองข้างเลยคะ อิบ้า!! ท่านหมายถึงถอดรองเท้าเวลาใส่บาตร ไม่ใช่ถอดรองเท้าเอามาใส่ในบาตร อันนี้เป็นเรื่องที่หลวงน้าท่านนึงเล่าให้ฟังระหว่าง ฉันเพล ( เรื่องขำขันขณะฉันเพล) พอถอดรองเท้าเสร็จก็เข้าสู่ขั้นตอนที่สี่ :) 4. ใส่บาตร อันนี้ถือเป็นจุดไคลแมกซ์ของการใส่บาตร สิ่งสำคัญที่ทุกคนมองข้ามก็คือควรดูว่าของที่นำมาใส่ บาตรนั้น เสียรึเปล่า บางคนมีเจตนาอยากทำบุญดี แต่ดันไปซื้อของเสียมาใส่บาตร พระฉันไป เข้าห้องน้ำไป พวกร้านค้าก็จริงๆ บางครั้งเอาของค้างคืนมาขายเอากำไร ไม่สนใจพระเจ้า เห็นแก่ตัว หากินกับพระ ก็ฝากด้วยนะครับ เด๋วทำบุญจะได้บาปเปล่าๆ นอกจากนี้ ของที่นำมาใส่ ถ้าเพิ่งปรุงสุกเสร็จ ควรดูด้วยว่ามันร้อนมากรึเปล่า เคยมีโยมใส่แกง ร้อนมากๆๆ บาตรเกือบหล่น ทั้งนี้เพราะบาตรทำจากโลหะ นำความร้อนได้ดี ปริมาณไม่ควรมากจนเกินไป เคยมีโยมใส่บาตรด้วย "กล้วย ๓ หวี" กล้วยเล็บมือนาง กล้วยไข่ อาตมาไม่ว่า แต่นี่ใส่ "กล้วยหอม" ( อันนี้เกิดกับตัวเองจริงๆ) คิดดู "กล้วยหอม ๓ หวี" อยู่ในบาตร หนักมากกกก จนอยากบอกโยมว่า "โยม อาตมาไม่ใช่ช้าง" การใส่ก็ควรวางในบาตรด้วยอาการสำรวม โยมผู้หญิงบางคนกลัวโดนพระจัด พอถุงกับข้าวถึงแค่ปากบาตร ก็ปล่อยลงมา ตุ๊บ!! นึกว่ากาลิเลโอกลับชาติมาทดลองเรื่องแรงโน้มถ่วงของโ ลก (วางดีๆก็ได้ 55) :) 5. รับพร หลังจากใส่บาตรเสร็จ พระสงฆ์ส่วนมากก็จะให้พร เราเป็นญาติโยม ก็ประนมมือรับพรกันตามระเบียบ โดยอาจยืนหรือนั่งยองๆ ก็ได้ ก้มหัวแต่พองาม เคยมีโยมยืนประนมมือ แต่ก้มหน้ามาแทบชนพระ ห่างจากหน้าพระประมาณคืบเดียว (ไม่ต้องใกล้ชิดศาสนาขนาดนั้นก็ได้โยม (ตอนนั้นให้พรเบาๆ เพราะไม่มั่นใจเรื่องกลิ่นปาก) ถ้าเป็นโยมผู้หญิงก็นั่งให้เรียบร้อย เหมาะสม ระหว่างนี้ก็อุทิศส่วนกุศลให้คนที่รัก เจ้ากรรมนายเวรและอื่นๆ ก็ว่ากันไป :) 6. กรวดน้ำ หลังจากใส่บาตรเสร็จแล้วก็อย่าลืมกรวดน้ำกันด้วนะครั บผลบุญจากที่เราทำจะได้ สมบูรณ์ วิธีคือถ้ามีอุปกรณ์แล้วก็ดีแต่ถ้าไม่มีก็ไม่เป็นไรใ ห้หาแก้วน้ำสักใบใส่น้ำ พอประมาณ80%ถ้วยขนาดพอรองรับน้ำที่เราจะเทจากแก้ว จากนั้นก็เริ่มตั้งจิตให้เป็นสมาธิค่อยๆรินน้ำจากแก้วลงถ้วย(ตอนรินน้ำไม่ ต้องเอานิ้วมือไปรองนะขอรับเพราะนี่มิใช่น้ำล้างมือน ะจ๊ะ)แล้วพูดว่า อิทัง เม ญาตีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย ข้าพเจ้าตั้งจิตอุทิศผลบุญนี้ไปให้ไพศาลถึงบิดามารดา และอาจารย์ ทั้งลูกหลานญาติสนิทมิตรสหายเจ้ากรรมนายเวร รวมทั้งเวไนยสัตว์ผู้ร่วมเกิดแก่เจ็บตายในสากลโลก ได้มารับผลบุญนี้ด้วยเทอญฯ สาธุ หลังจากพูดเสร็จก็เทน้ำให้หมดพอดีหรือช้าเร็วบ้างนิด หน่อยไม่เป็นไร จากนั้นเราก็นำน้ำที่เราเท ไปรดน้ำต้นไม้ครับ เป็นอันเสร็จพิธี หัวข้อ: Re: >>> วิธีปฏิบัติในการใส่บาตร? <<< เริ่มหัวข้อโดย: nokeang ที่ พฤศจิกายน 20, 2009, 06:19:29 PM การตักบาตร เป็นการทำบุญที่ชาวพุทธทั่วไปรู้จักและปฏิบัติมากกว่ าการทำบุญประเภทอื่น ๆ การตักบาตรนั้น
ยังถือว่าเป็นการทำบุญประจำวันของชาวพุทธ และชาวพุทธไทยเชื่อว่า การออกบิณฑบาตของพระสงฆ์เป็นการช่วย โปรดสัตว์ที่อยู่ในอบายภูมิ เช่น เปรตวิสัย ให้ได้รับส่วนบุญ ด้วยเหตุผลทางจิรยธรรม ในการทำบุญตักบาตรนั้น พอ สรุปได้ดังนี้ ๑.เป็นการสั่งสมบุญในแต่ละวัน เพราะการสั่งสมเป็นเหตุนำความสุขมาให้ ๒.เป็นการเริ่มต้นวันใหม่ด้วยการทำบุญทำให้จิตใจแจ่ม ใส เพื่อให้มีกำลังใจที่เข้มแข็ง เพราะผู้ที่ไม่มีบุญ เกื้อหนุนอยู่ในใจ ย่อมพ่ายแพ้ต่อบาปได้ง่าย ๓.เป็นการทำที่พึ่งคือบุญให้แก่ตนเองในอนาคตถ ๔.เป็นการช่วยรักษาพุทธประเพณี เพราะพระพุทธเจ้าทั้งหลายในอดีตและที่จะมาตรัสรู้ในอ นาคต ด้วนแต่ดำรงพระชนม์ชีพด้วยอาหารบิณฑบาต ๕.เป็นการช่วยสืบทอดพระพุทธศาสนา เพราะพระสงฆ์เป็นผู้ศึกษา ปฏิบัติพระธรรมวินัย แล้วนำมาสั่งสอนให้ประชาชนไดรับรสแห่งพระธรรมด้วย อีกทั้งยังดำรงตนเป็นตัวอย่างด้านความประพฤติิดีงามของสังคม ฉะนั้น ชาวพุทธควรทำบุญตักบาตรเป็นประจำทุกวัน เพื่อเป็นการสั่งสมบุญให้แก่ตนเอง ที่จะต้องนำไป ดุจเสบียงเดินทาง ในการท่องเที่ยวเวียนเกิดและเวียนตายอยู่ในวัฏฏสงสาร อันไม่ปรากฏเบื้องต้นและที่สุด และบุญที่สั่งสมไว้นี้ จะช่วยเกื้อกูลให้พ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้ อนึ่ง ประโยชน์ส่วนรวมที่จะเกิดขึ้น คือ เป็นการสืบทอดอายุพระพุทธศาสนา เพระพระสงฆ์ซึ่งเป็น ผู้นำของพุทธบริษัท ที่เป็นฐานกำลังสำคัญแห่งกองทัพธรรมนั้น ท่านดำรงชีพอยู่ได้ด้วยปัจจัยที่คฤหัสถ์จัด ถวาย ท่านจึงสามารถมีกำลังกาย กำลังใจที่จะศึกษาพระพุทธพจน์ คือ พระไตรปิฎก ให้เข้าใจ ทรงจำ นำมาประพฤติปฏิบัติ และกล่าวสอนมวลมนุษย์ได้ การทำบุญตักบาตรจะสมบูรณ์ได้ต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญดังนี้ ๑.ต้องเตรียมใจให้พร้อม ข้อนี้ถือว่าสำคัญมาก เพราะบุญที่แท้จริงนั้นอยู่ที่ใจของผู้ถวาย ท่านแนะนำให้รักษาเจตนาให้บริสุทธิ์ทั้ง ๓ ขณะ คือ ๑.๑ ก่อนถวาย ตั้งใจเสียสละอย่างแท้จริง ๑.๒ ขณะถวาย ก็มีใจเลื่อมใส ถวายด้วยความเคารพ ๑.๓ หลังจากถวายแล้ว ต้องยินดีในทานของตัวเองจิตใจเบิกบานเมื่อนึกถึงทานท ี่ตนเองได้ถวายไปแล้ว การทำใจให้ได้ทั้ง ๓ ขณะดังกล่าวนี้ นับว่ายากมาก เพราะมีเหตุปัจจัยหลายอย่างที่อาจทำให้จิตใจของเราเศ ร้าหมองในขณะใดขณะหนึ่งได้ ๒.ผู้รับ คือ พระภิกษุสามเณร เป็นผู้สำรวมระวัง มีข้อวัตรปฏิบัติที่ดีงามตามพระธรรมวินัย ใฝ่ศึกษาเล่าเรียนพระพุทธพจน์ ทรงจำ นำมาบอกกล่าว สั่งสอนได้ และเป็นผู้ประพฤติปฏิบัติเพื่อบรรเทาราคะ โทสะ โมหะจนสามารถละขาดได้อย่างสิ้นเชิง ๓.สิ่งของที่ถวาย จะต้องได้มาด้วยวิธีที่สุจริต ไม่เบีดเบียนผู้อื่นให้เดือดร้อน และที่สำคัญคือสิ่งนั้นต้องเหมาะสมแก่พระภิกษุสามเณร ด้วย ทำบุญตักบาตรให้หมั่นอธิษฐาน เมื่อองค์ประกอบ ๓ อย่างข้างต้นบริบูรณ์ สิ่งที่จะต้องทำก่อนตักบาตร คือ "การอธิษฐาน" การอธิษฐานนี้นับว่าเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่ง เพราะจะทำให้บุญของเราหนักแนน่ ก่อให้เกิดความเชื่อมั่นมากขี้น และยังทำให้เราทราบเป้าหมายในการทำบุญด้วย นอกจากนี้ การอธิษฐานยังสามารภสร้างพลังขึ้นในจิตใจให้มากขึ้น เป็นการสั่งสมกำลังแห่งความ บากบั่น อดทน เพื่อเป็นพื้นฐานที่สำคัญให้เราก้าวไปสู่สิ่งที่ปรารถนาได้ การอธิษฐานในขณะที่บำเพ็ญบุญนั้น ผลบุญย่อมหนุนส่งให้สำเร็จตามที่ปรารถนาไว้ ถึงแม้จะขึ้นอยู่กับเวลาและโอกาสบ้างก็ตาม แต่ความดีที่ทำไว้ย่อมไม่เสียหายไป ฉะนั้น ก่อนตักบาตร ควรอธิษฐานโดยนั่งหรือยืนก็ได้ แล้วแต่สถานที่จะอำนวย ยกสี่งของที่จะถวายขึ้นเสมอหน้าผาก แล้วอธิษฐานตามที่ต้องการที่ชอบธรรมเป็นภาษาใดก็ได้ จะว่าในใจหรือออกเสียงเบา ๆ ก็ได้ จากนั้นจึงถวายอาหารบิณฑบาตด้วยความเคารพ ถ้ามีดอกไม้ธูปเทียนให้ถวายหลังจากที่ถวายอาหารบิณฑบ าตเสร็จแล้ว ถ้าเป็นสตรี ให้วางดอกไม้ธูปเทียนไว้บนฝาบาตร เมื่อพระท่านปิดบาตรแล้ว คำอธิษฐานก่อนตักบาตร ตามหลักคำสอนในพระพุทธศาสนา มีเป็นหมายเพื่อให้มนุษย์ปลดเปลื้องตนเองจากทุกข์ มีจิตใจเป็นอิสระเหนือทุกข์ทุกอย่าง (พระนิพพาน) หลักการดำเนินชีวีตของชาวพุทธนั้นต้องสอดคล้องกับเป้ าหมายดังกล่าว ซึ่งพระโบราณาจารย์ท่านจึงบัญญัติคำ อธิษฐานที่เป็นสากลนิยมไว้ว่า อิทัง ทานัง สีละวันตานัง ภิกขูนัง นิยยาเทมิ สุทินนัง วะตะ เม ทานัง นิพพานะปัจจะโย โหตุ อะนาคะเต กาเล ฯ ข้าพเจ้าขอน้อมถวายทานนี้แด่พระสงฆ์ผู้มีศีล ขอท่านที่ข้าพเจ้าถวายดีแล้ว จงเป็นเหตุให้ถึงพระนิพพาน ในอนาคตกาล เบื้องหน้าโน้นเทอญ ฯ อีกบทหนึ่งเป็นคำอธิษฐานถึงพระสังฆรัตนะ ว่า นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง, สังโฆ เม สะระณัง วะรัง, เอเตนะ สังจะวัชเชนะ, โสตถิ เม โหตุ สัพพะทา ฯ ที่พึ่งอื่นของข้าพเจ้าไม่มี พระสงฆ์เป็นที่พึ่งอันประเสริฐของข้าพเจ้า ด้วยคำสัตย์ นี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้าในกาลทุกเมื่อ เทอญ ฯ หัวข้อ: Re: >>> วิธีปฏิบัติในการใส่บาตร? <<< เริ่มหัวข้อโดย: mint ที่ พฤศจิกายน 20, 2009, 06:54:53 PM สาธุ..................
หัวข้อ: Re: >>> วิธีปฏิบัติในการใส่บาตร? <<< เริ่มหัวข้อโดย: เฒ่าแก่ ที่ กุมภาพันธ์ 25, 2010, 03:33:19 PM นู๋เอี้ยงขา
ไปใส่บาตรบ้างนะค่ะ แล้วก็กรวดน้ำให้ประดาผีห่าซาตานที่ชอบมารบมากวนด้วยนะค่ะ หัวข้อ: Re: >>> วิธีปฏิบัติในการใส่บาตร? <<< เริ่มหัวข้อโดย: cupid ที่ มีนาคม 01, 2010, 09:44:24 AM นู๋เอี้ยงขา ไปใส่บาตรบ้างนะค่ะ แล้วก็กรวดน้ำให้ประดาผีห่าซาตานที่ชอบมารบมากวนด้วยนะค่ะ ??? ??? ??? ??? งงฮะ :sleepy: หัวข้อ: Re: >>> วิธีปฏิบัติในการใส่บาตร? <<< เริ่มหัวข้อโดย: อุ๊ ที่ มีนาคม 17, 2010, 03:41:26 PM เล็ก ๆ น้อย ๆแต่ไม่ควรมองข้าม :D
หัวข้อ: Re: >>> วิธีปฏิบัติในการใส่บาตร? <<< เริ่มหัวข้อโดย: cupid ที่ มีนาคม 22, 2010, 09:18:39 PM เล็ก ๆ น้อย ๆแต่ไม่ควรมองข้าม :D *ellow_yellow_christmas_editio 8) มองข้ามบาตรหรือมองข้ามพระฮะพี่อุ๊ ;D |