Forex-Currency Trading-Swiss based forex related website.
Home
-----
กระดานสนทนาหน้าแรก
-----
Gold Chart,Silver,Copper,Oil Chart
-----
gold-trend-price-prediction
-----
ติดต่อเรา
หัวข้อ: มงคลชีวิต เริ่มหัวข้อโดย: gypsy ที่ ธันวาคม 02, 2009, 07:14:43 PM มงคลชีวิต
อย่านอนตื่นสาย อย่าอายทำกิน อย่าหมิ่นเงินน้อย อย่าคอยวาสนา อย่าเสวนาคนชั่ว อย่ามั่วอบายมุข อย่าสุกก่อนห่าม อย่าพล่ามก่อนทำ อย่ารำก่อนเพลง อย่าข่มเหงผู้น้อย อย่าคอยแต่ประจบ อย่าคบแต่เศรษฐี อย่าดีแต่ตัว อย่าชั่วแต่คนอื่น อย่าฝ่าฝืนกฎระเบียบ อย่าเอาเปรียบสังคม อย่าชมคนผิด อย่าคิดเอาแต่ได้ อย่าใส่ร้ายคนดี อย่ากล่าววจีมุสา อย่านินทาพระเจ้า อย่าขลาดเขลาเมื่อทุกข์ อย่าสุขจนลืมตัว อย่าเกรงกลัวงานหนัก อย่าพิทักษ์พาลชน อย่าลืมตนเมื่อมั่งมี หัวข้อ: Re: มงคลชีวิต เริ่มหัวข้อโดย: gypsy ที่ ธันวาคม 02, 2009, 07:30:33 PM มงคลชีวิต (ราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙)
๑ ขอบคุณข้าวทุกเม็ด น้ำทุกหยด อาหารทุกจาน อย่างจริงใจ ๒ อย่าสวดมนต์เพื่อขอสิ่งใด นอกจาก "ปัญญา" และ "ความกล้าหาญ" ๓ "เพื่อนใหม่" คือของขวัญที่ให้กับตัวเอง ส่วน "เพื่อนเก่า"/"มิตร" คืออัญมณีที่นับวันจะเพิ่มคุณค่า ๔ หนังสือเป็นศูนย์รวมปัญญาของโลก จงอ่านหนังสือเดือนละเล่ม อ่านหนังสือธรรมะปีละเล่ม ๕ ปฏิบัติต่อคนอื่นเช่นเดียวกับที่ต้องการให้ผู้อื่นปฏิบัติต่อเรา ๖ พูดคำว่า "ขอบคุณ" ให้มากๆ ๗ รักษา "ความลับ" ให้เป็น ๘ ประเมินคุณค่าของการ "อภัย" ให้สูง ๙ ฟังให้มาก แล้วจะได้คู่สนทนาที่ดี ๑๐ ยอมรับความผิดพลาดของตัวเอง หากมีใครตำหนิ และรู้แก่ใจว่าเป็นจริง ๑๑ หากล้มลง จงอย่ากลัวกับการลุกขึ้นใหม่ ๑๒ เมื่อเผชิญหน้ากับงานหนัก คิดเสมอว่า เป็นไปไม่ได้ที่จะล้มเหลว ๑๓ ทุกชิ้นงานจะต้องกำหนดเวลาแล้วเสร็จ ๑๔ ใช้บัตรเครดิตเพื่อความสะดวก อย่าใช้เพื่อก่อหนี้สิน ๑๕ อย่าหยิ่งหากจะกล่าวว่า "ขอโทษ" อย่าอายหากจะบอกใครว่า "ไม่รู้" ๑๖ จงเป็นน้ำครึ่งแก้วตลอดชีวิต เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมได้ตลอด ๑๗ ระยะทางนับพันกิโลเมตร แน่นอนมันไม่ราบรื่นตลอดทาง ๑๘ เมื่อไม่มีใครเกิดมาแล้ววิ่งได้ จึงควรทำสิ่งต่างๆ อย่างค่อยเป็นค่อยไป ๑๙ การประหยัดเป็นบ่อเกิดแห่งความร่ำรวย เป็นต้นทางแห่งความไม่ประมาท ๒๐ ระเบียบวินัย คือคุณสมบัติที่สำคัญในการดำเนินชีวิต ๒๑ ยามทะเลาะกัน ผู้ที่เงียบก่อนคือผู้ที่มีการอบรมสั่งสอนที่ดี ๒๒ ดาวและเดือนที่อยู่สูง อยากได้ต้องปีนบันไดสูง ๒๓ มนุษย์ทุกคนมีชิ้นงานมากมายในชีวิต จงทำชิ้นงานที่สำคัญที่สุดก่อนเสมอ ๒๔ เป็นหน้าที่ของเราที่จะพูดให้คนอื่นเข้าใจ ไม่ใช่หน้าที่ของคนอื่นที่จะทำความเข้าใจในสิ่งที่เราพูด ๒๕ เหรียญเดียวมี ๒ หน้า คือความสำเร็จ กับล้มเหลว ๒๖ อย่าตามใจตัวเอง เรื่องยุ่งๆ เกิดขึ้น ล้วนตามใจตัวเองทั้งสิ้น ๒๗ ฟันร่วงเพราะมันแข็ง ส่วนลิ้นยังอยู่เพราะมันอ่อน ๒๘ อย่าดึงต้นกล้าให้โตไวๆ (อย่าใจร้อน) ๒๙ ระลึกถึงความตายวันละ ๓ ครั้ง ชีวิตจะมีสุข มีให้ มีอภัย ๓๐ ถ้าติดกระดุมเม็ดแรกผิด กระดุมเม็ดต่อๆ ไปก็ผิดหมด หัวข้อ: Re: มงคลชีวิต เริ่มหัวข้อโดย: Aim ที่ ธันวาคม 13, 2009, 08:19:59 PM น่าคิดนะคุณย่ากิ๊ป 8) แบบเนี่ยมั้ง ที่มิจฉาชีพ รู้จุดอ่อนของคนดี :D :D :D
หัวข้อ: Re: มงคลชีวิต เริ่มหัวข้อโดย: paul711 ที่ ธันวาคม 30, 2009, 01:19:10 AM ;) ;) :D
เนื่องในโอกาสใกล้วันขึ้นปีใหม่ ๒๕๕๓ ผมขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายที่ท่านนับถือ ช่วยให้คุณ gypsy และครอบครัว มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง เจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละและปฏิภาน ประสบความสําเร็จในหน้าที่การงาน และทุกสิ่งที่ดีงามดังใจปรารถนา ลงทุนในทองคําและกิจการงานใด ให้มีกําไร ตลอดไปด้วยเทอญ จาก พอล หัวข้อ: Re: มงคลชีวิต เริ่มหัวข้อโดย: newa ที่ มีนาคม 04, 2010, 08:46:25 PM :) :) :)
สาส์นจากท่าน Dalai Lama ที่ได้กล่าวไว้ ข้อแนะนำในการดำเนินชีวิต 1. ระลึกเสมอว่า การจะได้พบความรักและความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ก็ต้องประสบกับความเสี่ยงอัน มหาศาลดุจกัน 2. เมื่อคุณแพ้ อย่าลืมเก็บไว้เป็นบทเรียน 3. จงปฏิบัติตาม 3Rs 3.1 เคารพตนเอง (Respect for self) 3.2 เคารพผู้อื่น (Respect for others) 3.3 รับผิดชอบต่อการกระทำของตน (Responsibility for all your actions) 4. จงจำไว้ว่า การที่ไม่ทำตามใจปรารถนาของตนบางครั้งก็ให้โชคอย่างน่ามหัศจรรย์ 5. จงเรียนรู้กฎ เพื่อจะทราบวิธีการฝ่าฝืนอย่างเหมาะสม 6. จงอย่าปล่อยให้การทะเลาะเบาะแว้งด้วยเรื่องเพียงเล็กน้อย มาทำลายมิตรภาพอันยิ่งใหญ่ของคุณ 7. เมื่อคุณรู้ว่าทำผิด จงอย่ารอช้าที่จะแก้ไข 8. จงใช้เวลาในการอยู่ลำพังผู้เดียวในแต่ละวัน 9. จงอ้าแขนรับการเปลี่ยนแปลง แต่อย่าปล่อยให้คุณค่าของคุณหลุดลอยจากไป 10. จงระลึกไว้ว่า บางครั้งความเงียบก็เป็นคำตอบที่ดีที่สุด 11. จงดำเนินชีวิตด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อที่ว่าเมื่อคุณสูงวัยขึ้นและคิดหวนกลับมาคุณจะสามารถมีความสุขกับ สิ่งที่ได้ทำลงไปได้อีกครั้ง 12. บรรยากาศอันอบอุ่นในครอบครัวเป็นพื้นฐานสำคัญของชีวิต 13. เมื่อเกิดขัดใจกับคนที่คุณรักให้หยุดไว้แค่เรื่องปัจจุบัน 14. จงแบ่งปันความรู้ เพื่อเป็นหนทางก้าวสู่ความเป็นอมตะ 15. จงสุภาพกับโลกใบนี้ 16. จงหาโอกาสท่องเที่ยวไปยังสถานที่ต่าง ๆ ที่คุณไม่เคยไป อย่างน้อยก็ปีละครั้ง 17. จำไว้ว่า ความสัมพันธ์ที่ดีที่สุด คือความรักมิใช่ความใคร่ 18. จงตัดสินความสำเร็จของตนด้วยสิ่งที่ต้องเสียสละ 19. จงเข้าใกล้ความรักด้วยการปล่อยวาง หัวข้อ: Re: มงคลชีวิต เริ่มหัวข้อโดย: newa ที่ มีนาคม 04, 2010, 08:49:18 PM ;D ;D ;D
ปรัชญาที่ชาวจีนถือว่าเป็นมนตรานำโชคมาสู่ชีวิต (chinese tantra totem for good luck) 1.จงให้มากกว่าที่ผู้รับต้องการ และทำอย่างหน้าชื่นตาบาน 2.จงพูดกับคนที่ถึงแม้จะอายุน้อยกว่า แต่เขาก็มีความสำคัญเท่ากัน 3.จงอย่าเชื่อทุกอย่างที่ได้ยิน ใช้ทั้งหมดที่มี และนอนเท่าที่อยากจะนอน 4.เมื่อกล่าวคำว่า "ฉันรักเธอ" จงหมายความตามนั้นจริง ๆ 5.เมื่อกล่าวคำว่า "ขอโทษ" จงสบตาเขาด้วย 6.ก่อนจะตัดสินใจแต่งงาน จงหมั้นเสียก่อนอย่างน้อย 6 เดือน 7.จงเชื่อในรักแรกพบ 8.อย่าหัวเราะเยาะความฝันของผู้อื่น คนที่ไม่มีฝันก็เหมือนไม่มีอะไร 9.เมื่อรักจงรักให้ลึกซึ้ง และ ร้อนแรง อาจจะต้องเจ็บปวดแต่นั่นคือหนทางเดียวที่ทำให้ชีวิตถูกเติมเต็ม 10.ในเหตุการณ์ขัดแย้ง โต้อย่างยุติธรรม ไม่มีการตะโกนใส่กัน 11.อย่าตัดสินคนเพียงเพราะญาติๆ ของเขา 12.จงพูดให้ช้า แต่ต้องคิดให้เร็ว 13.ถ้าถูกถามด้วยคำถามที่ไม่อยากตอบ จงยิ้มแล้วถามกลับว่า จะรู้ไปทำไม 14.จงจำไว้ว่า สองสิ่งที่ยิ่งใหญ่ คือความรัก และความสำเร็จ ล้วนต้องมีการเสี่ยง 15.พูดว่า ขอพระคุ้มครอง เมื่อได้ยินใครจาม 16.เมื่อพ่ายแพ้ จงอย่าสูญเสียบทเรียนไปด้วย 17.จงจำ 3 R :- นับถือผู้อื่น นับถือตนเอง รับผิดชอบในสิ่งที่ตัวเองทำ 18.จงอย่าให้ความขัดแย้งเล็กๆ น้อยๆ มาทำลายมิตรภาพที่ยิ่งใหญ่ 19.ทันทีที่รู้ตัวว่าทำผิด ลงมือแก้ไขทันที 20.จงยิ้มเวลารับโทรศัพท์ ผู้ฟังจะเห็นได้จากน้ำเสียงของเรา 21.จงหาโอกาสอยู่กับตัวเองบ้าง หัวข้อ: Re: มงคลชีวิต เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มกราคม 22, 2012, 12:01:53 PM :)สวัสดีค่ะ
วันนี้เป็นวันดี เลยเข้ามาขออนุญาติเจ้าของกระทู้ ค่ะ ติชมแนะนำ ด้วยน้ะค่ะ รู้แบบงูๆปลาๆ ข้อความส่วนใหญ่ก็ก็อปมาค่ะ ผิดพลาด ประการใด หนูก็ขออภัยไว้ ณ.ที่นี้ด้วยค่ะ (http://www.thummada.com/public_html/images/th_01.gif) ธรรมะสวัสดีค่ะ หัวข้อ: Re: มงคลชีวิต เริ่มหัวข้อโดย: paul711 ที่ กุมภาพันธ์ 07, 2012, 04:20:20 PM angel.gif ขอบคุณทุกท่าน ที่มาช่วยกันเขียนบทความดีๆให้อ่านกันครับ
หัวข้อ: Re: มงคลชีวิต เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ ธันวาคม 21, 2012, 07:16:15 PM สมเด็จพระสังฆราชฯ ประทานพระโอวาทวันขึ้นปีใหม่ (http://pics.manager.co.th/Images/555000016260401.JPEG) สมเด็จพระสังฆราชฯ ประทานพระโอวาทวันขึ้นปีใหม่ 2556 ด้วยจตุรพิธพร คือความถึงพร้อมทั้งกำลังกาย ใจ ปัญญา ทรัพย์ และพวกพ้อง ให้คนไทยกล่าวคำอวยพรแสดงความปรารถนาดีต่อกันเพื่อความสุขของจิตใจ และความสงบสุขของประเทศชาติ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ประทานพระโอวาทวันขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช 2556 ความว่า ขออำนวยพรสาธุชนทั้งหลาย ดิถีขึ้นปีใหม่ได้เวียนมาถึงอีกวาระหนึ่ง คือวันขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช 2556 นับเป็นเทศกาลที่เป็นที่ปีติยินดีของคนทั่วไป เพราะอย่างน้อยก็ยินดีที่ได้มีชีวิตอยู่รอดปลอดภัยมาด้วยดีอีกปีหนึ่ง และก็หวังใจว่าจะมีชีวิตอยู่รอดปลอดภัยและดียิ่งๆ ขึ้นต่อไปอีกในปีใหม่จะมาถึง ฉะนั้น เทศกาลปีใหม่จึงถือกันว่าเป็นเทศกาลแห่งความสุข สุขใจกับอดีตที่ผ่านมา และสุขใจกับอนาคตที่กำลังจะมาถึง จึงได้พากันทำกิจกรรมแห่งความสุข มีการทำบุญตักบาตร และอำนวยอวยพรแก่กันตามประเพณีนิยม พรที่ทุกคนปรารถนา น่าจะเป็นพรสี่ประการที่นิยมเรียกกันว่า จตุรพิธพร คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ซึ่งหมายถึง ความมีอายุยืน มีผิวพรรณผ่องใสงดงาม มีความสุขด้วยสมบัติคือพรั่งพร้อมด้านต่างๆ และมีพละกำลัง ทั้งกำลังกาย กำลังใจ กำลังปัญญา กำลังทรัพย์ และกำลังพวกพ้อง อันที่จริง การให้พรกันนั้นย่อมเป็นที่ทราบกันว่าคือการให้ความมีมิตรจิตมิตรใจต่อกัน มิใช่ใครจะหยิบยื่นพรเหล่านี้ให้แก่กันได้เพียงแต่พูด หรือกล่าวคำอวยพรแก่กันเท่านั้น ฉะนั้น การให้พรกันจึงหมายถึงการแสดงออกซึ่งความปรารถนาดีต่อกัน เพียงเท่านี้ก็เป็นสิ่งที่เกื้อกูลแก่ความสุขทางจิตใจเป็นอันมากด้วยกันทั้งสองฝ่าย ทั้งเป็นสิ่งที่เกื้อกูลให้เกิดพรทั้งสี่ได้จริง ตรงกันข้าม การแสดงออกซึ่งความปรารถนาร้ายต่อกัน ย่อมเป็นเครื่องบั่นทอนพรต่างๆ มีอายุเป็นต้น ซึ่งมิได้มีความหมายแต่อายุของชีวิตคน แต่รวมไปถึงอายุของกิจการ บ้านเมือง และประเทศชาติด้วย เพราะคนเรานั่นเองเป็นผู้ใส่ชีวิตจิตใจให้แก่กิจการ บ้านเมือง และประเทศชาติ ถ้าอายุของคนสั้น อายุของกิจการ บ้านเมือง ประเทศชาติก็สั้น ถ้าจิตใจของคนผ่องใสเป็นสุข จิตใจของกิจการ บ้านเมือง ประเทศชาติก็ผ่องใสเป็นสุข ความขาดพรในใจ จึงหมายถึงขาดความปรารถนาดีต่อกัน ขาดความซื่อสัตย์ ความข่มใจ ความอดทน ความเสียสละ และความเคารพนับถือกัน ความขาดพรในใจต่อกันจึงเป็นเหตุทำลายอายุ วรรณะ สุขะ พละ ไม่เฉพาะแต่ของคน แต่รวมไปถึงทำลายอายุ วรรณะ สุขะ พละ ของกิจการ บ้านเมือง และประเทศชาติด้วย ในวารดิถีขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช 2556 นี้ จึงขออำนวยให้สาธุชนทั้งหลาย จึงมีพรและให้พรแก่กันและกัน เพื่อความเจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ ของสรรพชีวิต ตลอดถึงสรรพกิจการและชาติบ้านเมืองตลอดไป ขออำนวยพร โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 20 ธันวาคม 2555 14:23 น. หัวข้อ: Re: มงคลชีวิต เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มกราคม 01, 2013, 07:34:19 PM ประโยชน์การสวดมนต์ สมเด็จโต พรหมรังสี
(http://variety.teenee.com/saladharm/img3/142482.jpg) เพราะการสวดมนต์เป็นการกล่าวถึงคุณงามความดี ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ว่าพระองค์ท่านมีคุณวิเศษอย่างไร พระธรรมคำสอนของพระองค์มีคุณอย่างไร และพระสงฆ์อรหันต์อริยะเจ้ามีคุณเช่นไร การสวดมนต์ด้วยความตั้งใจจนจิตเป็นสมาธิ แล้วใช้สติพิจารณาจนเกิดปัญญาและความรู้ความเข้าใจ ประโยชน์สูงสุดของการสวดมนต์นั่นคือ จะทำให้ท่านเป็นผล จนสำเร็จเป็นพระอรหันต์ ที่อาตมากล่าวเช่นนี้ มีหลักฐานปรากฏในพระธรรมคำสอนที่กล่าวไว้ว่า โอกาสที่จะบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์มี 5 โอกาสด้วยกันคือ • เมื่อฟังธรรม • เมื่อแสดงธรรม • เมื่อสาธยายธรรม นั่นคือ การสวดมนต์ • เมื่อตรึกตรองธรรม หรือเพ่งธรรมอยู่ในขณะนั้น • เมื่อเจริญวิปัสสนาญาณ การสวดมนต์ในตอนเช้าและในตอนเย็นเป็นประเพณีที่ปฏิบัติกันมา ตั้งแต่สมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระพุทธศาสนาบรรดาพุทธบริษัททั้งหลาย ต่างพากันมาเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ โดยแบ่งเวลาเข้าเฝ้าเป็น 2 เวลา นั่นคือ ตอนเช้าเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า เพื่อฟังธรรม ตอนเย็นเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อฟังธรรม การฟังธรรมเป็นการชำระล้างจิตใจ ที่เศร้าหมองให้หมดไปเพื่อสำเร็จสู่มรรคผลพระนิพพาน การสวดมนต์นับเป็นการดีพร้อมซึ่งประกอบไปด้วยองค์ทั้ง 3 นั่น คือ กาย มีอาการสงบเรียบร้อยและสำรวม ใจ มีความเคารพนบนอบต่อคุณพระรัตนตรัย วาจา เป็นการกล่าวถ้อยคำสรรเสริญถึงพระคุณอันประเสริฐ ในพระคุณทั้ง 3 พร้อมเป็นการขอขมา ในการผิดพลาดหากมีและกล่าวสักการะเทิดทูนสิ่งสูงยิ่ง ซึ่งเราเรียกได้ว่าเป็นการสร้างกุศล ซึ่งเป็นมงคลอันสูงสุดที่เดียว อาตมาภาพ ขอรับรองแก่ท่านทั้งหลายว่า ถ้าหากบุคคลใดได้สวดมนต์เช้าและเย็นไม่ขาดแล้ว บุคคลนั้นย่อมเข้าสู่แดนพระอรหันต์อย่างแน่นอน การสวดมนต์นี้ ควรสวดมนต์ให้มีเสียงดับพอสมควร ย่อมก่อให้เกิดประโยชน์แก่จิตตน และประโยชน์แก่จิตอื่น *ที่ว่าประโยชน์แก่จิตตน คือ เสียงในการสวดมนต์จะกลบเสียงภายนอกไม่ให้เข้ามารบกวนจิต ก็จะทำให้เกิดความสงบอยู่กับบทสวดมนต์นั้น ๆ ทำให้เกิดสมาธิและปัญญา เข้ามาในจิตใจของผู้สวด *ที่ว่าประโยชน์แก่จิตอื่น คือ ผู้ใดที่ได้ยินได้ฟังเสียงสวดมนต์จะพลอย ได้เกิดความรู้เกิดปัญญา มีจิตสงบลึกซึ้งตามไปด้วย ผู้สวดก็เกิดกุศลไปด้วยโดยการให้ทานโดยทางเสียง เหล่าพรหมเทพที่ชอบฟังเสียงในการสวดมนต์ มีอยู่จำนวนมาก ก็จะมาชุมนุมฟังกันอย่างมากมาย เมื่อมีเหล่าพรหมเทพเข้ามาล้อมรอบตัวของผู้สวดอยู่เช่นนั้น ภัยอันตรายต่าง ๆ ที่ไหนก็ไม่สามารถกล้ำกลายผู้สวดมนต์ได้ตลอดจนอาณาเขตและบริเวณบ้านของผู้ที่สวดมนต์ ย่อมมีเกราะแห่งพรหมเทพและเทวดา ทั้งหลายคุ้มครองภัยอันตราย ได้อย่างดีเยี่ยม ดูก่อน..ท่านเจ้าพระยาและอุบาสก อุบาสิกาในที่นี้ การสวดมนต์เป็นการระลึกถึงพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณเมื่อจิตมีที่พึ่งคือ คุณพระรัตนตรัย ความกลัวก็ดี ความสะดุ้งกลัวก็ดี และความขนพองสยองเกล้าก็ดี ภัยอันตรายใด ๆ ก็ดีจะไม่มีแก่ผู้สวดมนต์นั้นแล.. สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี (http://variety.teenee.com/saladharm/img3/142483.gif) หัวข้อ: Re: มงคลชีวิต เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มกราคม 05, 2013, 12:34:32 PM (http://2010.tkc.go.th/uploads/wiki/501/005_1_.jpg) หัวข้อ: Re: มงคลชีวิต เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มกราคม 05, 2013, 12:37:55 PM (http://www.palungjit.com/buddhism/gallery/data/563/medium/DSC060167.jpg) หัวข้อ: Re: มงคลชีวิต เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มกราคม 13, 2013, 08:20:03 PM ปฏิทินวันพระ ประจำปี 2556 (http://variety.teenee.com/foodforbrain/img5/142973.jpg) ปฏิทินวันพระ 2556 เดือนมกราคม วันเสาร์ ที่ 5 มกราคม เป็นวันแรม 8 ค่ำเดือน 1 วันศุกร์ ที่ 11 มกราคม เป็นวันแรม 14 ค่ำเดือน 1 วันเสาร์ ที่ 19 มกราคม เป็นวันขึ้น 8 ค่ำเดือน 2 วันเสาร์ ที่ 26 มกราคม เป็นวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 2 ปฏิทินวันพระ 2556 เดือนกุมภาพันธ์ วันอาทิตย์ ที่ 3 กุมภาพันธ์ เป็นวันแรม 8 ค่ำเดือน 2 วันอาทิตย์ ที่ 10 กุมภาพันธ์ เป็นวันแรม 15 ค่ำเดือน 2 วันจันทร์ ที่ 18 กุมภาพันธ์ เป็นวันขึ้น 8 ค่ำเดือน 3 วันจันทร์ ที่ 25 กุมภาพันธ์ เป็นวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 3 (วันมาฆบูชา) ปฏิทินวันพระ 2556 เดือนมีนาคม วันอังคาร ที่ 5 มีนาคม เป็นวันแรม 8 ค่ำเดือน 3 วันจันทร์ ที่ 11 มีนาคม เป็นวันแรม 14 ค่ำเดือน 3 วันอังคาร ที่ 19 มีนาคม เป็นวันขึ้น 8 ค่ำเดือน 4 วันอังคาร ที่ 26 มีนาคม เป็นวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 4 ปฏิทินวันพระ 2556 เดือนเมษายน วันพุธ ที่ 3 เมษายน เป็นวันแรม 8 ค่ำเดือน 4 วันพุธ ที่ 10 เมษายน เป็นวันแรม 15 ค่ำเดือน 4 วันพฤหัสบดี ที่ 18 เมษายนเป็นวันขึ้น 8 ค่ำเดือน 5 วันพฤหัสบดี ที่ 25 เมษายนเป็นวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 5 ปฏิทินวันพระ 2556 เดือนพฤษภาคม วันศุกร์ที่ 3 พฤษภาคม เป็นวันแรม 8 ค่ำเดือน 5 วันพฤหัสบดี ที่ 9 พฤษภาคม เป็นวันแรม 14 ค่ำเดือน 5 วันศุกร์ ที่ 17 พฤษภาคม เป็นวันขึ้น 8 ค่ำเดือน 6 วันศุกร์ ที่ 24 พฤษภาคม เป็นวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 6 (วันวิสาขบูชา) ปฏิทินวันพระ 2556 เดือนมิถุนายน วันเสาร์ ที่ 1 มิถุนายน เป็นวันแรม 8 ค่ำเดือน 6 วันเสาร์ ที่ 8 มิถุนายน เป็นวันแรม 15 ค่ำเดือน 6 วันอาทิตย์ ที่ 16 มิถุนายน เป็นวันขึ้น 8 ค่ำเดือน 7 วันอาทิตย์ ที่ 23 มิถุนายน เป็นวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 7 ปฏิทินวันพระ 2556 เดือนกรกฎาคม วันจันทร์ ที่ 1 กรกฎาคม เป็นวันแรม 2 ค่ำเดือน 7 วันอาทิตย์ ที่ 7 กรกฎาคม เป็นวันแรม 14ค่ำเดือน 7 วันจันทร์ที่ 15 กรกฎาคม เป็นวันขึ้น 8 ค่ำเดือน 8 วันจันทร์ ที่ 22 กรกฎาคม เป็นวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 8 (วันอาสาฬหบูชา) วันอังคาร ที่ 30 กรกฎาคม เป็นวันแรม 8 ค่ำเดือน 8 ปฏิทินวันพระ 2556 เดือนสิงหาคม วันอังคาร ที่ 6 สิงหาคม เป็นวันแรม 15 ค่ำเดือน 8 วันพุธ ที่ 14 สิงหาคม เป็นวันขึ้น 8 ค่ำเดือน 9 วันพุธ ที่ 21 สิงหาคม เป็นวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 9 วันพฤหัสบดี ที่ 29 สิงหาคมเป็นวันแรม 8 ค่ำเดือน 9 ปฏิทินวันพระ 2556 เดือนกันยายน วันพุธ ที่ 4 กันยายน เป็นวันแรม 14 ค่ำเดือน 9 วันพฤหัสบดี ที่ 12 กันยายน เป็นวันวันขึ้น 8 ค่ำเดือน 10 วันพฤหัสบดี ที่ 19 กันยายน เป็นวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 10 วันศุกร์ ที่ 27 กันยายน เป็นวันแรม 8 ค่ำเดือน 10 ปฏิทินวันพระ 2556 เดือนตุลาคม วันศุกร์ ที่ 4 ตุลาคม เป็นวันแรม 15 ค่ำเดือน 10 วันเสาร์ ที่ 12 ตุลาคม เป็นวันขึ้น 8 ค่ำเดือน 11 วันเสาร์ ที่ 19 ตุลาคม เป็นวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 (วันออกพรรษา) วันอาทิตย์ ที่ 27 ตุลาคม เป็นวันแรม 8 ค่ำเดือน 11 ปฏิทินวันพระ 2556 เดือนพฤศจิกายน วันเสาร์ ที่ 2 พฤศจิกายน เป็นวันแรม 14 ค่ำเดือน 11 วันอาทิตย์ ที่ 10 พฤศจิกายน เป็นวันขึ้น 8 ค่ำเดือน 12 วันอาทิตย์ ที่ 17 พฤศจิกายน เป็นวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 12 (วันลอยกระทง) วันจันทร์ ที่ 25 พฤศจิกายน เป็นวันแรม 8 ค่ำเดือน 12 ปฏิทินวันพระ 2556 เดือนธันวาคม วันจันทร์ ที่ 2 ธันวาคม เป็นวันแรม 15 ค่ำเดือน 12 วันอังคาร ที่ 10 ธันวาคม เป็นวันขึ้น 8 ค่ำเดือน 1 (วันรัฐธรรมนูญ) วันอังคาร ที่ 17 ธันวาคม เป็นวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 1 วันพุธ ที่ 25 ธันวาคม เป็นวันแรม 8 ค่ำเดือน 1 วันอังคาร ที่ 31 ธันวาคม เป็นวันแรม 14 ค่ำเดือน 1 (วันสิ้นปี) หัวข้อ: Re: มงคลชีวิต เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ พฤษภาคม 23, 2013, 09:24:52 PM อริยสัจ 4 (http://sphotos-h.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-prn1/933973_598026256884113_1582281082_n.jpg) มีความจริงอยู่ 4 ประการคือ การมีอยู่ของทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ความดับทุกข์ และ หนทางไปสู่ความดับทุกข์ ความจริงเหล่านี้เรียกว่า อริยสัจ 4 1. ทุกข์ คือ การมีอยู่ของทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ และตายล้วนเป็นทุกข์ ความเศร้าโศก ความโกรธ ความอิจฉาริษยา ความวิตกกังวล ความกลัวและความผิดหวังล้วนเป็น ทุกข์ การพลัดพรากจากของที่รักก็เป็นทุกข์ ความเกลียดก็เป็นทุกข์ ความอยาก ความยึดมั่นถือมั่น ความยึดติดในขันธ์ทั้ง 5 ล้วนเป็นทุกข์ ทุกข์ : ธรรมที่ควรรู้ มีดังนี้ โลกธรรม 8 ความหมาย โลกธรรม 8 หมายถึง เรื่องธรรมดาของโลกที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของมนุษย์ไม่มีใครหลีกเลี่ยงได้ หรือสิ่งที่ครอบงำมนุษย์ 8 ประการ สาระสำคัญของโลกธรรม 8 สรุปดังนี้ โลกธรรมฝ่ายอิฏฐารมณ์ (มนุษย์พอใจ) 1. ได้ลาภ 2. ได้ยศ 3. มีสรรเสริญ 4. มีสุข โลกธรรมฝ่ายอนิฏฐารมณ์ (มนุษย์พอใจ) 1. เสื่อมลาภ 2. เสื่อมยศ 3. มีนินทา 4. มีทุกข์ 2. สมุทัย คือ เหตุแห่งทุกข์ เพราะอวิชา ผู้คนจึงไม่สามารถเห็นความจริงของชีวิต พวกเขาตกอยู่ในเปลวเพลิงแห่งตัณหา ความโกรธ ความอิจฉาริษยา ความเศร้าโศก ความวิตกกังวล ความกลัว และความผิดหวัง สมุทัย : ธรรมที่ควรละ มีดังนี้ กรรมนิกาย กรรมนิกาย คือ กฎแห่งการกระทำของมนุษย์ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า “กฎแห่งกรรม”ซึ่งชาวพุทธมักสรุปหลักคำสอนเรื่องนี้ว่า “ทำดี ได้ดี ทำชั่ว ได้ชั่ว” กรรม 12 กรรม 12 คือ กรรมที่จำแนกตามผลที่ได้รับ มี 12 ประเภท ดังนี้ 1. กรรมที่ให้ผลตามกาลเวลา 4 กรรม ได้แก่ กรรมที่ให้ผลในชาตินี้ กรรมที่ให้ผลชาติหน้า กรรมที่ให้ผลในชาติต่อ ๆ ไป และกรรมที่เลิกผล (อโหสิกรรม) 2. กรรมที่ให้ผลตามหน้าที่ 4 กรรม ได้แก่ กรรมที่ชักนำให้เกิด กรรมสนับสนุน กรรมตัดรอน และกรรมบีบคั้น 3. กรรมที่ให้ผลตามลำดับความแรง 4 กรรม ได้แก่ กรรมหนัก กรรมที่ทำบ่อย ๆ จนเคยชินกรรมที่ทำเมื่อใกล้ตาย และกรรมสักแต่ว่าทำ (ไม่มีเจตนา) มิจฉาวณิชชา 5 มิจฉาวณิชชา 5 หมายถึง การค้าขายที่ผิดกฎหมายหรือผิดศีลธรรม 5 อย่างที่ชาวพุทธต้องละเว้นหรือไม่ควรทำ ได้แก่ การค้ามนุษย์ การค้าอาวุธ การค้าสัตว์สำหรับฆ่าเป็นอาหาร การค้าของมึนเมา และการค้ายาพิษ (สิ่งเสพย์ติด) 3. นิโรธ คือ ความดับทุกข์ การเข้าใจความจริงของชีวิตนำไปสู่การดับความเศร้า โศกทั้งมวล อันยังให้เกิดความสงบและความเบิกบาน นิโรธ : ธรรมที่ควรบรรลุ มีดังนี้ วิมุตติ 5 วิมุตติ หมายถึง การหลุดพ้น ไม่มีความทุกข์ ภาวะที่ไร้กิเลส หรือภาวะที่ทุกข์ดับ (ความหมายเดียวกับคำว่า นิโรธ ) มี 5 ประการ (เรียกย่อ ๆ ว่า สมถะ วิปัสสนา มรรค ผล และนิพพาน ตามลำดับ 1. หลุดพ้นด้วยการข่มกิเลส เป็นการระงับกิเลสด้วยการเจริญสมาธิ (สมถะ) 2. หลุดพ้นด้วยธรรมที่ตรงกันข้าม เช่น หลุดพ้นจากความโกรธด้วยการให้อภัย หลุดพ้นจากความตระหนี่และความโลภด้วยการให้ทาน และหลุดพ้นจากความเห็นแก่ตัวด้วยการเสียสละ (วิปัสสนา) 3. หลุดพ้นอย่างเด็ดขาด คือ การทำลายกิเลสที่มีอยู่ให้หมดไปด้วยญาณขั้นสูงสุด (มรรค) 4. หลุดพ้นอย่างสงบราบคาบ คือ หลุดพ้นเป็นอิสระเพราะกำจัดกิเลสที่ครอบงำได้อย่างราบคาบ (ผล) 5. หลุดพ้นจนเกิดภาวะปลอดโปร่ง คือ การเข้าสู่ภาวะนิพพาน 4. มรรค คือ หนทางนำไปสู่ความดับทุกข์ อันได้แก่ อริยมรรค 8 ซึ่งได้รับการหล่อ เลี้ยงด้วยการดำรงชีวิตอย่างมีสติความมีสตินำไปสู่สมาธิและปัญญาซึ่งจะปลดปล่อย ให้พ้นจากความทุกข์และความโศกเศร้าทั้งมวลอันจะนำไปสู่ความศานติและ ความเบิกบาน พระพุทธองค์ได้ทรงเมตตานำทางพวกเราไปตามหนทางแห่งความรู้แจ้งนี้ มรรค : ธรรมที่ควรเจริญ มีดังนี้ ปาปณิกธรรม 3 ปาปณิกธรรม หมายถึง คุณสมบัติของพ่อค้าแม่ค้าที่ดี หรือหลักการค้าขายให้ประสบผลสำเร็จ มี 3 ประการ ดังนี้ 1. ตาดี (จักขุมา) คือ รู้ลักษณะของสินค้าที่ดีมีคุณภาพ รู้ต้นทุน กำหนดราคาขายและคำนวณผลกำไรได้ถูกต้อง 2. ชำนาญธุรกิจ (วิธูโร) คือ รู้จักแหล่งซื้อขายสินค้า รู้ความเคลื่อนไหวของตลาด และรู้ถึงรสนิยมความชอบและความต้องการของผู้บริโภค 3. มีเงินทุน (นิสสยสัมปันโน) คือ รู้จักแหล่งกู้เงินมาลงทุนเพื่อมีเงินทุนหมุนเวียน และได้รับความไว้วางใจจากนายทุนเงินกู้ อปริหานิยธรรม 7 อปริหานิยธรรม แปลว่า ธรรมอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม ธรรมที่ทำให้เกิดความเจริญทั้งส่วนตนและส่วนรวม หรือหลักปฏิบัติที่นำความสุขความเจริญมาสู่หมู่คณะ เป็นหลักธรรมที่เน้นความรับผิดชอบต่อส่วนรวม ความสามัคคีของหมู่คณะ และการเคารพนับถือซึ่งกันและกัน สรุปได้ดังนี้ 1. หมั่นประชุมเป็นเนืองนิตย์ 2. พร้อมเพรียงในการประชุม มาประชุม เลิกประชุม และทำภารกิจอื่น ๆ ให้พร้อมกัน 3. ไม่บัญญัติสิ่งใหม่ ๆ ตามอำเภอใจ โดยผิดหลักการเดิมที่หมู่คณะวางไว้ 4. เคารพนับถือผู้มีอาวุโส และรับฟังคำแนะนำจากท่าน 5. ไม่ข่มเหงหรือล่วงเกินสตรี 6. เคารพสักการะปูชนียสถาน ปูชนียวัตถุ และรูปเคารพต่าง ๆ 7. ให้ความคุ้มครองพระสงฆ์ผู้ทรงศีลและนักบวชอื่น ๆ ให้อยู่ในชุมชนอย่างปลอดภัย โภคอาทิยะ 5 โภคอาทิยะ (หรือโภคาทิยะ) หมายถึง หลักธรรมที่สอนเกี่ยวกับการใช้จ่ายทรัพย์ที่หามาได้หรือแนวทางในการใช้จ่ายโภคทรัพย์ (ทรัพย์สินสิ่งของต่าง ๆ ที่ใช้ในการอุปโภคบริโภค)มี 5 ประการ ดังนี้ 1. ใช้จ่ายเพื่อเลี้ยงดูตนเอง บิดามารดา และครอบครัว ให้อยู่ดีมีสุข 2. ใช้จ่ายเพื่อบำรุงมิตรสหายและผู้ร่วมงานเป็นครั้งคราว 3. ใช้จ่ายเพื่อป้องกันภัยอันตราย หรือเก็บออมไว้ยามเจ็บไข้ได้ป่วย 4. ใช้จ่ายเพื่อทำพลี 5 อย่าง คือ สงเคราะห์ญาติ,ต้อนรับแขก,บำรุงราชการ (เสียภาษี), บำรุงเทวดา (สิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามประเพณีของสังคม) และทำนุบำรุงให้บุพการีผู้ล่วงลับไปแล้ว 5. ใช้จ่ายเพื่ออุปถัมภ์บำรุงนักบวช พระภิกษุสงฆ์ผู้ทรงศีล และกิจการพระศาสนา อริยวัฑฒิ 5 อริยวัฑฒิ หมายถึง หลักปฏิบัติที่นำไปสู่ความเจริญงอกงาม หรือความเป็นอารยชน หรือความเป็นคนดีในอุดมคติ ซึ่งจะต้องประกอบด้วยคุณสมบัติ 5 ประการ ดังนี้ 1. ศรัทธา (งอกงามด้วยศรัทธา) หมายถึง มีความเชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ เชื่อด้วยปัญญาและเหตุผล เช่น เชื่อว่าบุญบาปมีจริง เชื่อในผลของกรรม และเชื่อมั่นในการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า 2. ศีล (งอกงามด้วยศีล) หมายถึง รักษากายและวาจาให้เรียบร้อยเป็นปกติ ในทางปฏิบัติคือการรักษาศีล 5 หรือ ศีล 8 ของชาวพุทธทั่วไป 3. สุตะ (งอกงามด้วยสุตะ) หมายถึงความรู้ที่ได้ยินได้ฟัง หรือการศึกษาหาความรู้ด้วยการฟังซึ่งรวมถึงการอ่านหนังสือและใช้สื่อเทคโนโลยีต่าง ๆ ในการแสดงหาความรู้อีกด้วย 4. จาคะ (งอกงามด้วยจาคะ) หมายถึง รู้จักเสียสละ แบ่งปันสิ่งของให้แก่ผู้อื่น 5. ปัญญา (งอกงามด้วยปัญญา) หมายถึง มีความรู้อย่างกว้างขวาง รู้ชัดเจน และรู้จริง เป็นความรู้ทั้งในวิชาชีพ วิชาสามัญ หรือรู้เท่าทันโลก ทิฏฐธัมิกัตถประโยชน์ ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ หมายถึง ธรรมที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ในปัจจุบัน หรือหลักปฏิบัติที่จะอำนวยประโยชน์สุขแก่บุคคลมี 4 ประการ คือ 1. ความขยันหมั่นเพียร (อุฏฐานสัมปทา) มีความขยันหมั่นเพียรในกิจการงาน 2. การเก็บรักษา (อารักขาสัมปทา) หรือประหยัด ใช้จ่ายพอดี รู้จักเก็บรักษาทรัพย์ที่หามาได้ 3. การคบคนดีเป็นมิตร (กัลยาณมิตร)รู้จักเลือกคบคนดี คนมีคุณธรรม และมีความรู้ 4. การดำรงชีพที่เหมาะสมพอดีหรือตามกำลังทรัพย์ ไม่ฟุ้งเฟ้อจนเกินฐานะของตน หัวข้อ: Re: มงคลชีวิต เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ พฤษภาคม 24, 2013, 10:43:15 AM (http://sphotos-d.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-ash3/945198_434211890008502_1486449279_n.jpg) ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน หัวข้อ: Re: มงคลชีวิต เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ พฤษภาคม 24, 2013, 10:43:57 AM (http://sphotos-d.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-ash4/427023_416220511757585_842151729_n.jpg) หัวข้อ: Re: มงคลชีวิต เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ กรกฎาคม 01, 2013, 10:12:30 AM (https://fbcdn-sphotos-g-a.akamaihd.net/hphotos-ak-frc3/1045132_685899331437387_1896552208_n.jpg) หัวข้อ: Re: มงคลชีวิต เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ กรกฎาคม 01, 2013, 10:13:41 AM (https://fbcdn-sphotos-f-a.akamaihd.net/hphotos-ak-ash4/1001013_685133241513996_400725062_n.jpg) หัวข้อ: Re: มงคลชีวิต เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ กรกฎาคม 01, 2013, 10:18:06 AM (https://fbcdn-sphotos-c-a.akamaihd.net/hphotos-ak-frc1/1002744_684100081617312_1409821345_n.jpg) อย่างที่รู้ว่าพระธรรมเป็นอกาลิโกก็จริง แต่ตัวศาสนาที่เป็นคำสอนและสถาบัน ก็ล้วนตกอยู่ใต้ความไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าเคยทำนายว่าพระพุทธศาสนาจะมีอายุ 5 พันปี ก็แสดงให้เห็นความเป็นอนิจจังของทุกสิ่ง รวมทั้งศาสนา แต่ก็ไม่ได้แปลว่าเราจะงอมืองอไม้ ปล่อยไปตามบุญตามกรรม ประเด็นสำคัญอยู่ที่ว่า ทำอย่างไรที่จะช่วยกันประคับประคองไม่ให้เกิดความเสื่อมถอย แล้วช่วยทำให้ศาสนามีความเจริญขึ้นได้ ถามว่าวันนี้วงการพระมาถึงจุดต่ำสุดหรือยัง อาตมาว่ายังมีโอกาสตกต่ำได้อีกเยอะ อยู่ที่ว่าเราช่วยกันหรือเปล่า พระพุทธเจ้าตรัสเอาไว้ว่าพุทธบริษัททั้ง 4 ถ้ารู้ธรรม ปฏิบัติธรรม เผยแผ่ธรรมได้อย่างถูกต้อง ศาสนาก็จะเจริญไม่มีเสื่อมถอย ดังนั้นพวกเราทุกคนจึงควรช่วยกันให้สิ่งนี้เกิดขึ้นด้วย พระไพศาล วิสาโล http://www.visalo.org/columnInterview/5606ThaiRat.html (http://www.visalo.org/columnInterview/5606ThaiRat.html) หัวข้อ: Re: มงคลชีวิต เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ กรกฎาคม 01, 2013, 10:25:19 AM (https://fbcdn-sphotos-c-a.akamaihd.net/hphotos-ak-prn2/1045182_10151707543445535_1097451192_n.png) หัวข้อ: Re: มงคลชีวิต เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ กรกฎาคม 01, 2013, 10:26:01 AM (https://fbcdn-sphotos-e-a.akamaihd.net/hphotos-ak-prn1/p480x480/994815_10151698177550535_1722215514_n.png) หัวข้อ: Re: มงคลชีวิต เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ กรกฎาคม 01, 2013, 10:28:34 AM เมื่อยึดติดถือมั่นในตัวกู และมีการแบ่งเราแบ่งเขา หากได้ยินได้ฟังอะไร อย่างแรกที่เราสนใจก็คือ “คนพูดเป็นใคร เป็นพวกเราหรือไม่” ... แต่ไม่สนใจที่จะถามว่า “สิ่งที่เขาพูดนั้นเป็นความจริงหรือไม่” พระไพศาล วิสาโล (https://fbcdn-sphotos-h-a.akamaihd.net/hphotos-ak-prn2/p480x480/179756_679817405378913_1618181019_n.jpg) หัวข้อ: Re: มงคลชีวิต เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ กรกฎาคม 01, 2013, 10:31:42 AM (https://fbcdn-sphotos-a-a.akamaihd.net/hphotos-ak-prn1/1012352_10151694008580535_637125463_n.png) ศีลข้อที่ ๔ ลูก ๆ เด็ก ๆ ก็ได้รับการสั่งสอนว่า อย่าโกหก นี้ความหมายมันแคบ จนน่าเอ็นดูหรือน่าสงสารในที่สุด ให้คำนิยามเสียใหม่ว่า "อย่าไปประทุษร้ายสิทธิอันชอบธรรมของผู้อื่นด้วยวาจา" ใช้วาจาเป็นเครื่องมือประทุษร้ายสิทธิ หรือความเป็นเจ้าของ หรืออะไรของบุคคลอื่น ... ศีลข้อนี้มีมูลอันแรกสุด จากการโกหกในการเป็นพยาน ค้นดูร่องรอยดึกดำบรรพ์ในสมัยโน้น มันมีมูลมาจากเขาเรียกมาถามเพื่อเป็นพยาน แล้วก็โกหก จึงเรียกว่าการโกหกนี้ ประทุษร้ายประโยชน์ของผู้อื่น เดี๋ยวนี้เขาใช้วาจาเป็นเครื่องเอาประโยชน์ของผู้อื่นมาเป็นของตัว ใช้วิธีพลิกแพลงทางสังคม โดยใช้วาจาเป็นเครื่องมือ จนประโยชน์ของผู้อื่นตกมาเป็นของตัว หรือเขาเสียหายไปอย่างใดอย่างหนึ่ง มันคือศีลข้อนี้ ซึ่งมีความหมายกว้างมาก เพียงแต่ใช้คำพูดใด ๆ ที่ทำให้ผู้อื่นเขาเสียประโยชน์ไป เรียกว่า ประทุษร้ายสิทธิอันชอบธรรม หรือความชอบธรรมของผู้อื่นด้วยวาจา หัวข้อ: Re: มงคลชีวิต เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ กรกฎาคม 01, 2013, 10:35:26 AM (https://fbcdn-sphotos-b-a.akamaihd.net/hphotos-ak-ash4/p480x480/1006130_682464221780898_972073124_n.jpg) (https://fbcdn-sphotos-e-a.akamaihd.net/hphotos-ak-ash3/p480x480/941723_681911195169534_1652128468_n.jpg) หัวข้อ: Re: มงคลชีวิต เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ กรกฎาคม 01, 2013, 10:36:06 AM (https://fbcdn-sphotos-g-a.akamaihd.net/hphotos-ak-prn2/p480x480/971244_677479432279377_310659654_n.jpg) หัวข้อ: Re: มงคลชีวิต เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ กรกฎาคม 07, 2013, 07:43:17 PM (http://sphotos-b.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-ash4/1003113_210957362386093_1748643902_n.jpg) หัวข้อ: Re: มงคลชีวิต เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ กรกฎาคม 15, 2013, 10:45:54 AM ข้อควรปฏิบัติในการไปวัด
(http://www.dhammathai.org/watthai/bangkok/pic/watpho1.gif) ข้อควรปฏิบัติในการไปวัด 1. การแต่งกายไปวัด ควรใช้เสื้อผ้าสีอ่อนๆ ถ้ามีลายก็เป็นลายเรียบๆ เนื้อผ้าไม่ควรโปร่งบางจนเกินไป ไม่หรูหราจนเกินไป เสื้อผ้าไม่ควรหลวมหรือรัดรูปจนเกินไป เพื่อความสะดวกในการกราบไหว้พระและนั่งสมาธิ สำหรับผู้หญิงควรแต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย และไม่ควรตกแต่งด้วยเครื่องประดับและเครื่องสำอาง ตลอดจนใส่น้ำหอมมากจนเกินไป ไม่ควรแต่งหน้า เขียนคิ้ว ทาปาก ทาเล็บจนเกินงาม เหตุที่ควรปฏิบัติเช่นนี้เพราะวัดเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม คนไปวัดเพื่อทำบุญ ทำจิตใจให้สงบ จึงควรตัดเรื่องปรุงแต่งกิเลสเหล่านี้ออกไปเสียก่อน 2. การนำเด็กหรือบุคคลอื่นๆ ไปวัด เป็นการปลูกฝังนิสัยที่ดีแก่เด็ก เพราะทำให้เด็กได้ใกล้ชิดพระศาสนา ตั้งแต่อยู่ในวัยอันสมควร แต่มีข้อระวัง คือ อย่านำเด็กอ่อนไปวัดโดยไม่จำเป็น เพราะอาจก่อให้เกิดความรำคาญ หรือในกรณีที่เด็กซุกซน อาจจะส่งเสียงดังรบกวนสมาธิของผู้อื่นที่ต้องการความสงบ ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องนำบุคคลอื่นๆ เช่น พนักงานขับรถหรือคนรับใช้ไปวัดด้วย ก็ควรเปิดโอกาสให้เขาได้ร่วมทำบุญด้วย และกวดขันเรื่องกิริยามารยาทและการแต่งกาย การขับรถเข้าไปในบริเวณวัด ควรระมัดระวังในเรื่องการใช้แตร การเร่งเครื่องยนต์เสียงดัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะที่พระกำลังสวด และการจอดรถก็ควรจอดให้เป็นระเบียบในสถานที่ที่ทางวัดได้กำหนดไว้ 3. การเตรียมอาหารไปวัด อาหารที่เหมาะสมสำหรับการนำไปถวายพระภิกษุนั้น ควรเป็นอาหารที่เรารับประทานกันทั่วไป คือ ปรุงจากพืช ผัก หรือเนื้อสัตว์ที่มีขายอยู่ในท้องตลาด แต่ควรระมัดระวังอาหารที่ปรุงด้วยเนื้อสัตว์ที่เป็นที่ต้องห้ามสำหรับพระภิกษุ อันได้แก่ • เนื้อมนุษย์ • เนื้อช้าง • เนื้อม้า • เนื้องู • เนื้อเสือโคร่ง • เนื้อเสือดาว • เนื้อสุนัข • เนื้อราชสีห์ • เนื้อเสือเหลือง • เนื้อหมี อย่านำอาหารที่ปรุงจากเนื้อดิบๆ เลือดดิบๆ ไปถวายพระภิกษุสงฆ์ เช่น ปลาดิบ กุ้งดิบ ฯลฯ จนกว่าจะทำให้สุกด้วยไฟ นอกจากนั้น ไม่ควรนำอาหารที่ปรุงด้วยสุราที่มีสีหรือกลิ่นหรือรสปรากฏชัดไปถวายพระภิกษุสงฆ์ และอย่าฆ่าสัตว์โดยจำเพาะเจาะจงว่า จะนำเนื้อนั้นไปทำอาหารถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ 4. การเตรียมตัวก่อนไปวัด อาจจะทำได้ดังนี้ คือ • จัดทำภารกิจของตนให้เรียบร้อยเพื่อจะได้ไม่ต้องเป็นที่กังวล • ทำจิตใจให้แจ่มใส โดยการระลึกถึงบุญกุศลและคุณงามความดีที่เคยได้ทำมาแล้ว • รำลึกถึงคุณพระรัตนตรัยเพื่อทำใจให้บริสุทธิ์ 5. การปฏิบัติตนโดยทั่วไปภายในวัด วัดเป็นที่รวมของคนหลายประเภท ซึ่งแตกต่างกันมาก ทั้งอายุ ฐานะ และความเป็นอยู่ การศึกษา อาชีพ ตลอดจนนิสัยใจคอ โอกาสที่จะกระทบกระทั่งกันย่อมเกิดขึ้นได้ง่าย จึงจำเป็นต้องระมัดระวังสำรวมตน โดยปฏิบัติดังนี้ 5.1. สำรวมกาย วาจา ใจ ให้สงบเรียบร้อย งดอาการคะนองด้วยประการทั้งปวง ทั้งนี้เพื่อให้กาย วาจา ใจ ของเราเหมาะสมที่จะบำเพ็ญบุญกุศล 5.2. งดสูบบุหรี่โดยเด็ดขาด 5.3. ควรนั่งให้เป็นระเบียบในสถานที่ที่กำหนดไว้ 5.4. ในการประกอบศาสนพิธี เช่น สวดมนต์ สมาทานศีล ถวายสังฆทาน ฯลฯ ควรเปล่งเสียงอย่างชัดเจนโดยพร้อมเพรียงกัน 5.5. เมื่อมีสิ่งใดทำให้ขุ่นข้องหมองใจ เช่น อากาศร้อน กระหายน้ำ เห็นหรือได้ยินกิริยาอาการที่ไม่เหมาะสมของคนอื่น หรือการไม่ได้รับความสะดวกในเรื่องต่างๆ ขอให้อดทนและแผ่เมตตา ให้ความเห็นอกเห็นใจทุกสิ่งทุกอย่าง อย่าให้เกิดโทสะขึ้นได้ 6. การสนทนากับพระ ในการสนทนากับพระนั้น หากเป็นผู้ชายไม่ค่อยมีระเบียบปฏิบัติที่เคร่งครัดนัก เพียงแต่ให้ตระหนักว่าเป็นการสนทนากับพระ ซึ่งเป็นปูชนียบุคคลของสังคม มีเพศ คือ สถานะทางสังคมเหนือกว่าตน เมื่อเข้าไปถึงที่อยู่ของท่าน ควรจะกราบพระพุทธปฏิมาที่ประดิษฐานอยู่ในนั้นก่อน แล้วจึงกราบพระสงฆ์ ซึ่งนิยมกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์สำหรับคนที่ต้องแสดงความเคารพอย่างสูง ทุกครั้งที่พูดกับท่าน ควรพนมมือไหว้ ใช้สรรพนามที่ใช้เรียกตนเอง เช่น "กระผม" "ดิฉัน" โดยมองที่สถานะของพระเป็นตัวกำหนด หากท่านเป็นพระธรรมดา สรรพนามที่เรียกท่าน มักนิยมคำว่า "ท่าน" "พระคุณเจ้า" หากเป็นพระที่มีสมณศักดิ์สูง ก็อาจจะใช้คำว่า "ใต้เท้า" "พระเดชพระคุณ" "พระคุณ" "เจ้าพระคุณ" สำหรับสมเด็จพระสังฆราชใช้คำว่า "ฝ่าบาท" สรรพนามแทนตนเองใช้คำว่า "กระหม่อม" ในกรณีที่เป็นสตรีนั้น ควรมีผู้ชายไปด้วยจะเป็นการดี เพราะพระท่านอาจจะมีปัญหาทางพระวินัย ต้องอาบัติได้ง่ายเมื่ออยู่กับสตรีสองต่อสอง เขียนโดย สุชาดา วราหพันธ์ จากหนังสือ วิถีธรรมวิถีไทย (พระพุทธศาสนา) นำมาจาก เว็บ dhammajak.net หัวข้อ: Re: มงคลชีวิต เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ กรกฎาคม 30, 2013, 01:39:09 PM หลวงปู่ทอง สิริมงฺคโล
July 19 นาคหลวง หมายถึง ผู้ที่ได้รับบรรพชาอุปสมบทภายในพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยพระมหากษัตริย์ทรงเป็นเจ้าภาพในการบำเพ็ญพระราชกุศลอุปสมบท นาคหลวง มี ๒ ประเภท คือ ๑. วงศานุวงศ์หรือข้าราชการที่ปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและได้ทำเรื่องกราบบังคมทูลขอเป็นนาคหลวง -พระ ราชสกุล ราชนิกุล นาคหลวงประเภทนี้ จะมีพิธีสมโภชในพระที่นั่งแล้วแห่ไปอุปสมบทในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม -ข้าราชการชั้นสัญญาบัตร นาคหลวงประเภทนี้ จะไม่มีพิธีสมโภช เว้นแต่จะโปรดเกล้าฯ เป็นพิเศษ -ข้าราชการต่ำกว่าชั้นสัญญาบัตร พระราชทานเครื่องบริขารไปอุปสมบท ตามวัดที่ติดต่อไว้เอง (เรียกนาคหลวงประเภทนี้ว่า "นาคในราชานุเคราะห์") ๒. ผู้สอบภาษาบาลี ได้เปรียญธรรม ๙ ประโยค ขณะยังเป็นสามเณร อายุไม่เกิน ๒๑ ปี (เรียกนาคหลวงประเภทนี้ว่า "นาคหลวงสายเปรียญธรรม") นาคหลวงสายเปรียญธรรม นาคหลวงสายเปรียญธรรมถือเป็นจุดหมายสูงสุดของการศึกษาภาษาบาลีของสามเณรในวัดต่างๆ ทั่วราชอาณาจักร วัดทั่วราชอาณาจักรถือเป็นเกียรติอย่างสูงของวัดที่สามารถผลิตศาสนทายาทให้ศึกษาจนสำเร็จเปรียญ ๙ ได้ขณะยังเป็นสามเณร หลายวัด จัดฉลองเพื่อแสดงมุทิตาอย่างเอิกเกริกให้แก่สามเณรเพื่อให้สังคมรู้จักกันอย่างกว้างขวาง อันจะเป็นเกียรติแก่สามเณรและครอบครัวซึ่งสนับสนุนศาสนทายาทที่มีคุณภาพได้สำเร็จ สามเณรในวัดต่างๆ ทั่วราชอาณาจักรที่ศึกษาภาษาบาลีแต่อายุยังน้อยจำนวนมากหวังว่าจะได้เป็นนาคหลวง เพราะเป็นเกียรติยศสูงสุดในด้านการศึกษาที่ผู้เป็นสามเณรจะพึงได้รับ ด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับการอุปสมบทไว้ในราชานุเคราะห์ (นาคหลวง) (https://fbcdn-sphotos-c-a.akamaihd.net/hphotos-ak-ash3/p480x480/63312_656664684361215_2117154742_n.jpg) หัวข้อ: Re: มงคลชีวิต เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ กรกฎาคม 30, 2013, 01:42:49 PM (https://fbcdn-sphotos-b-a.akamaihd.net/hphotos-ak-ash3/p480x480/66744_489315294488146_160951246_n.jpg) อมตะธรรม จงทำใจให้เหมือนแผ่นดิน เพราะว่าแผ่นดินที่เราอาศัยอยู่ทุกวันนี้ ไม่ได้เคยโกรธใคร ทำอะไรใครเลย จงทำใจเหมือนน้ำ เพราะธรรดาของน้ำย่อมเป็นของสะอาด ชำระของสกปรกได้ทุกเมื่อ และเป็นของดื่มกิน เพื่อมีชีวิตช่วยเหลือแก่สรรพสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง จงทำตนให้เหมือนผ้าเช็ดเท้า เพราะธรรดาของผ้าเช็ดเท้า ย่อมไม่มีความรักความชังฉันใด ใจเราก็ทำเหมือนกันฉันนั้น เมื่อเราตั้งใจฝึกฝนอบรมได้เช่นนี้แล้ว ไปอยู่ที่ไหนก็มีแต่ความสุข ความทุกข์ในใจก็จะไม่เกิด ดังสุภาษิตที่ท่านกล่าวไว้ว่า “จิตตัง ทันตังสุขาวหัง” จิตที่ฝึกฝนมาดีแล้ว นำมาซึ่งความสุขทั้งโลกนี้และโลกหน้า โอวาทธรรม หลวงปู่ขาว อนาลโย หัวข้อ: Re: มงคลชีวิต เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ สิงหาคม 02, 2013, 06:26:24 PM (https://fbcdn-sphotos-d-a.akamaihd.net/hphotos-ak-ash3/67630_491164717636537_672008819_n.jpg) หัวข้อ: Re: มงคลชีวิต เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ สิงหาคม 06, 2013, 09:53:29 AM (https://fbcdn-sphotos-g-a.akamaihd.net/hphotos-ak-prn2/968888_597870686903084_652493798_n.jpg) หัวข้อ: Re: มงคลชีวิต เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ ตุลาคม 03, 2013, 04:59:53 PM (https://fbcdn-sphotos-a-a.akamaihd.net/hphotos-ak-ash3/p480x480/551256_310950682377115_1567860146_n.jpg) หัวข้อ: Re: มงคลชีวิต เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ ตุลาคม 04, 2013, 08:53:19 PM (http://www.jaowka.com/wp-content/uploads/2013/10/junjaowka-35780-2.jpg) (http://www.jaowka.com/wp-content/uploads/2013/10/junjaowka-35767-1.jpg) (http://www.jaowka.com/wp-content/uploads/2013/09/junjaowka-3152-2.jpg) หัวข้อ: Re: มงคลชีวิต เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ ตุลาคม 20, 2013, 10:14:34 AM การทอดกฐิน
การทอดกฐิน เป็นประเพณีที่สำคัญของพุทธศาสนิกชนอย่างหนึ่ง นิยมทำกันตั้งแต่วันแรมค่ำเดือนสิบเอ็ด ไปจนถึงกลางเดือนสิบสอง คำว่า กฐิน แปลว่า ไม้สะดึง คือกรอบไม้ชนิดหนึ่งสำหรับขึงผ้าให้ตึง สะดวกแก่การเย็บ ในสมัยโบราณเย็บผ้าต้องเอาไม้สะดึงมาขึงผ้าให้ตึงเสียก่อน แล้วจึงเย็บเพราะช่างยังไม่มีความชำนาญเหมื่อนสมัยปัจจุบันนี้ และเครื่องมือในการเย็บก็ยังไม่เพียงพอ เหมือนจักรเย็บผ้าในปัจจุบัน การทำจีวรในสมัยโบราณจะเป็นผ้ากฐินหรือแม้แต่จีวรอันมิใช่ผ้ากฐิน ถ้าภิกษุทำเอง ก็จัดเป็นงานเอิกเกริกทีเดียว เช่นตำนานกล่าวไว้ว่า การเย็บจีวรนั้น พระเถรานุเถระต่างมาช่วยกัน เป็นต้นว่า พระสารีบุตร พระมหาโมคคัลลานะ พระมหากัสสปะ แม้สมเด็จศาสดาก็เสด็จลงมาช่วย ภิกษุสามเณรอื่น ๆ ก็ช่วยขวนขวายในการเย็บจีวร อุบาสกอุบาสิกาก็จัดหาน้ำดื่มเป็นต้น มาถวายพระภิกษุสงฆ์ มีองค์พระสัมมาสัมพุทธะเป็นประธาน โดยนัยนี้ การเย็บจีวรแม้โดยธรรมดา ก็เป็นการต้องช่วยกันทำหลายผู้หลายองค์ (ไม่เหมือนในปัจจุบัน ซึ่งมีจีวรสำเร็จรูปแล้ว) ผ้ากฐิน โดยความหมายก็คือผ้าสำเร็จรูปโดยอาศัยไม้สะดึง นิยมเรียกกันจนปัจจุบันนี้ การทอดกฐิน คือ การนำผ้ากฐินไปวางไว้ต่อหน้าพระสงฆ์อย่างต่ำห้ารูป แล้วให้พระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่งที่ได้รับมอบหมาย จากคณะสงฆ์ทั้งนั้นเป็นเอกฉันท์ให้เป็นผู้รับกฐินนั้น เขตกำหนดทอดกฐิน การทอดกฐินเป็นกาลทาน ตามพระวินัยกำหนดกาลไว้ คือ ตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ผู้มีจิตศรัทธาเลื่อมใส ใคร่จะทอดกฐิน ก็ให้ทอดได้ในระหว่างระยะเวลานี้ จะทอดก่อนหรือทอดหลังกำหนดนี้ ก็ไม่เป็นการทอดกฐิน แต่มีข้อยกเว้นพิเศษว่า ถ้าทายกผู้จะทอดกฐินนั้น มีกิจจำเป็น เช่นจะต้องไปในทัพ ไม่สามารถจะอยู่ทอดกฐินตามกำหนดนั้นได้ จะทอดกฐินก่อนกำหนดดังกล่าวแล้วพระสัมมาสัมพุทธะ ทรงอนุญาตให้ภิกษะรับไว้ก่อนได้ การที่มีประเพณีทอดกฐินมีเรื่องว่า ในครั้งพุทธกาล พระภิกษุชาวปาไถยรัฐ (ปาวา) ผู้ทรงธุดงค์ จำนวน ๓๐ รูป เดินทางไกลไปไม่ทันเข้าพรรษา เหลือทางอีกหกโยชน์จะถึงนครสาวัตถี จึงตกลงพักจำพรรษาที่เมืองสาเกตตลอดไตรมาส เมื่อออกพรรษาจึงเดินทางไปเฝ้าศาสดา ณ เชตวันมหาวิหารนครสาวัตถี ภิกษุเหล่านั้นมีจีวรเก่า เปื้อนโคลน และเปียกชุ่มด้วยน้ำฝน ได้รับความลำบากตรากตรำมาก พระพุทธเจ้าจึงทรงถือเป็นมูลเหตุ ทรงมีพุทธานุญาตให้ภิกษุที่จำพรรษาครบสามเดือนกรานกฐินได้ และให้ได้รับอานิสงส์ ห้าประการคือ ๑) เที่ยวไปไหนไม่ต้องบอกลา ๒) ไม่ต้องถือไตรจีวรไปครบ ๓) ฉันคณะโภชน์ได้ ๔) ทรงอติเรกจีวรได้ตามปรารถนา ๕) จีวรอันเกิดขึ้นนั้นจะได้แก่พวกเธอ และได้ขยายเขตอานิสงส์ห้าอีกสี่เดือน นับแต่กรานกฐินแล้วจนถึงวันกฐินเดาะเรียกว่า มาติกาแปด คือการกำหนดวันสิ้นสุดที่จะได้จีวร คือ กำหนดด้วยหลีกไป กำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ กำหนดด้วยตกลงใจ กำหนดด้วยผ้าเสียหาย กำหนดด้วยได้ยินข่าว กำหนดด้วยสิ้นหวัง กำหนดด้วยล่วงเขต กำหนดด้วยเดาะพร้อมกัน ฉะนั้น เมื่อครบวันกำหนดกฐินเดาะแล้ว ภิกษุก็หมดสิทธิ์ต้องรักษาวินัยต่อไป พระสงฆ์จึงรับผ้ากฐินหลังออกพรรษาไปแล้ว หนึ่งเดือนได้ จึงได้ถือเป็นประเพณีปฏิบัติสืบต่อกันมาจนทุกวันนี้ การทอดกฐินในปัจจุบัน ถือว่าเป็นทานพิเศษ กำหนดเวลาปีหนึ่งทอดถวายได้เพียงครั้งเดียว ตามอรรถกถาฎีกาต่าง ๆ พอกำหนดได้ว่าชนิดของกฐินมีสองลักษณะ คือ จุลกฐิน การทำจีวร พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบท ทุกฝ่ายต้องช่วยกันทำให้เสร็จภายในกำหนดหนึ่งวัน ทำฝ้าย ปั่น กรอ ตัด เย็บ ย้อม ทำให้เป็นขันธ์ได้ขนาดตามพระวินัย แล้วทอดถวายให้เสร็จในวันนั้น มหากฐิน คืออาศัยปัจจัยไทยทานบริวารเครื่องกฐินจำนวนมากไม่รีบด่วน เพื่อจะได้มีส่วนหนึ่งเป็นทุนบำรุงวัด คือทำนวกรรมบ้าง ซ่อมแซมบูรณของเก่าบ้าง ปัจจุบันนิยมเรียกกันว่า กฐินสามัคคี การทอดกฐินในเมืองไทย แบ่งออกตามประเภทของวัดที่จะไปทอด คือพระอารามหลวง ผ้าพระกฐินที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานด้วยพระองค์เอง หรือโปรดเกล้า ฯ ให้วงศานุวงศ์ผู้ใหญ่ไปพระราชทาน เครื่องกฐินทานนี้จัดด้วยพระราชทรัพย์ของพระองค์เอง เรียกว่า กฐินหลวง บางทีก็เสด็จไปพระราชทานยังวัดราษฎร์ด้วย นิยมเรียกว่า กฐินต้น ผ้ากฐินทานนอกจากที่ได้รับกฐินของหลวงโดยตรงแล้ว พระอารามหลวงอื่น ๆ จะได้รับ กฐินพระราชทาน ซึ่งโปรดเกล้า ฯ พระราชทานผ้ากฐินทาน และเครื่องกฐินแก่วงศานุวงศ์ ข้าราชบริพาร ส่วนราชการ หรือเอกชนให้ไปทอด โดยรัฐบาลโดยกรมศาสนาจัดผ้าพระกฐินทาน และเครื่องกฐินถวายไป ผู้ได้รับพระราชทานอาจจะถวายจตุปัจจัย หรือเงินทำบุญที่วัดนั้นโดยเสด็จในกฐินพระราชทานได้ ส่วนวัดราษฎร์ทั่วไป คณะบุคคลจะไปทอดโดยการจองล่วงหน้าไว้ก่อนตั้งแต่ในพรรษา ก่อนจะเข้าเทศกาลกฐินถ้าวัดใดไม่มีผู้จอง เมื่อใกล้เทศกาลกฐิน ประชาชนทายกทายิกาของวัดนั้น ก็จะรวบรวมกันจัดการทอดกฐิน ณ วัดนั้นในเทศกาลกฐิน การจองกฐิน วัดราษฎร์ทั่วไป นิยมทำเป็นหนังสือจองกฐินไปติดต่อประกาศไว้ยังวัดที่จะทอดถวาย เป็นการเผดียงสงฆ์ให้ทราบวันเวลาที่จะไปทอด หรือจะไปนมัสการเจ้าอาวาสให้ทราบไว้ก็ได้ สำหรับการขอพระราชทานผ้าพระกฐินไปทอด ณ พระอารามหลวงให้แจ้งกรมการศาสนา เพื่อขึ้นบัญชีไว้กราบบังคมทูลและแจ้งให้วัดทราบ ในทางปฏิบัติผู้ขอพระราชทานจะไปติดต่อกับทางวัดในรายละเอียดต่าง ๆ จนก่อนถึงวันกำหนดวันทอด จึงมารับผ้าพระกฐิน และเครื่องกฐินพระราชทานจากกรมศาสนา การนำกฐินไปทอด ทำได้สองอย่าง อย่างหนึ่งคือนำผ้ากฐินทานกับเครื่องบริวารที่จะถวายไปตั้งไว้ ณ วัดที่จะทอดก่อน พอถึงวันกำหนดเจ้าภาพผู้เป็นเจ้าของกฐิน หรือรับพระราชทานผ้ากฐินทานมาจึงพากันไปยังวัดเพื่อทำพิธีถวาย อีกอย่างหนึ่ง ตามคติที่ถือว่าการทอดกฐินเป็นการถวายทานพิเศษแก่พระสงฆ์ที่ได้จำพรรษาครบไตรมาส นับว่าได้กุศลแรง จึงได้มีการฉลองกฐินก่อนนำไปวัดเป็นงานใหญ่ มีการทำบุญเลี้ยงพระที่บ้านของผู้เป็นเจ้าของกฐิน และเลี้ยงผู้คน มีมหรสพสมโภช และบางงานอาจมีการรวบรวมปัจจัยไปวัดถวายพระอีกด้วยเช่น ในกรณีกฐินสามัคคี พอถึงกำหนดวันทอดก็จะมีการแห่แหนเป็นกระบวนไปยังวัดที่จะทอด มีเครื่องบรรเลงมีการฟ้อนรำนำขบวนตามประเพณีนิยม การถวายกฐิน นิยมถวายในโบสถ์ โดยเฉพาะกฐินพระราชทาน ก่อนจะถึงกำหนดเวลาจะเอาเครื่องบริวารกฐินไปจัดตั้งไว้ในโบสถ์ก่อน ส่วนผ้ากฐินพระราชทานจะยังไม่นำเข้าไป พอถึงกำหนดเวลาพระสงฆ์ที่จะรับกฐิน จะลงโบสถ์พร้อมกัน นั่งบนอาสนที่จัดไว้ เจ้าภาพของกฐิน พร้อมด้วยผู้ร่วมงานจะพากันไปยังโบสถ์ เมื่อถึงหน้าโบสถ์เจ้าหน้าที่จะนำผ้าพระกฐินไปรอส่งให้ประธาน ประธานรับผ้าพระกฐินวางบนมือถือประคอง นำคณะเดินเข้าสู่โบสถ์ แล้วนำผ้าพระกฐินไปวางบนพานที่จัดไว้หน้าพระสงฆ์ และหน้าพระประธานในโบสถ์ คณะที่ตามมาเข้านั่งที่ ประธานจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย แล้วกราบพระพุทธรูปประธานในโบสถ์แบบเบญจางคประดิษฐ์สามครั้ง แล้วลุกมายกผ้าพระกฐินในพานขึ้น ดึงผ้าห่มพระประธานมอบให้เจ้าหน้าที่ รับไปห่มพระประธานทีหลัง แล้วประนมมือวางผ้าพระกฐินบนมือทั้งสอง หันหน้าตรงพระสงฆ์แล้วกล่าวคำถวายผ้าพระกฐิน จบแล้วพระสงฆ์รับ สาธุการ ประธานวางผ้าพระกฐินลงบนพานเช่นเดิม แล้วกลับเข้านั่งที่ ต่อจากนี้ไปเป็นพิธีกรานกฐินของพระสงฆ์ กฐินของประชาชน หรือ กฐินสามัคคี หรือในวัดบางวัดนิยมถวายกันที่ศาลาการเปรียญ หรือวิหารสำหรับทำบุญ แล้วเจ้าหน้าที่จึงนำผ้ากฐินที่ถวายแล้วไปถวายพระสงฆ์ ทำพิธีกรานกฐินในโบสถ์เฉพาะพระสงฆ์อีกทีหนึ่ง การทำพิธีกฐินัตการกิจของพระสงฆ์ เริ่มจากการกล่าวคำขอความเห็นที่เรียกว่า อปโลกน์ และการสวดญัตติทุติยกรรม คือการยินยอมยกให้ ต่อจากนั้นพระสงฆ์รูปที่ได้รับความยินยอม นำผ้าไตรไปครองเสร็จแล้วขึ้นนั่งยังอาสนเดิม ประชาชนผู้ถวายพระกฐินทาน ทายกทายิกา และผู้ร่วมบำเพ็ญกุศล ณ ที่นั้น เข้าประเคนสิ่งของอันเป็นบริวารขององค์กฐินตามลำดับจนเสร็จแล้ว พระสงฆ์ทั้งนั้นจับพัด ประธานสงฆ์เริ่มสวดนำด้วยคาถาอนุโมทนา ประธานหรือเจ้าภาพ กรวดน้ำ และรับพรจนจบ เป็นอันเสร็จพิธี คำถวายกฐิน มีอยู่สองแบบด้วยกันคือ แบบเก่า และแบบใหม่ ดังนี้ คำถวายแบบมหานิกาย อิมํ สปริวารํ กฐินจีวรทสฺสํ สงฺฆสฺส โอโณชยาม (กล่าวสามหน) ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้าจีวรกฐิน พร้อมกับของบริวารนี้แก่พระสงฆ์ (กล่าวสามหน) คำกล่าวแบบธรรมยุต อิมํ มยํ ภนฺเต สปริวารํ กฐินจีวรทสฺสํ สงฺฆสฺส โอโณชยาม สาธุ โน ภนฺเต สงฺโฆ อิมํ ปริวารํ กฐินจีวรทุสฺสํ ปฏิคฺคณฺหาตุ ปฏิคฺคเหตฺวา จ อิมินา ทุสฺเสน กฐินํ อตฺถรตุ อมฺหากํ ฑีฆรตฺตํ หิตาย สุขาย ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้าจีวรกฐิน กับของบริวารนี้แก่พระสงฆ์ ขอพระสงฆ์จงรับผ้ากฐิน พร้อมกับของบริวารของข้าพเจ้าทั้งหลาย ครั้งรับแล้วจงกราลกฐินด้วยผ้าผืนนี้ เพื่อประโยชน์ และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย ตลอดกาลนาน เทอญ ฯ ผู้ประสงค์จะทอดกฐินจะทอดจะทำอย่างไร พุทธศาสนิกชนทั่วไป ย่อมถือกันว่า การทำบุญทอดกฐินเป็นกุศลแรง เพราะเป็นกาลทาน ทำได้เพียงปีละ 1 ครั้งและต้องทำในกำหนดเวลาที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้ ดังนั้นถ้ามีความเลื่อมใสใคร่จะทอดกฐินบ้างแล้ว พึ่งปฏิบัติดังต่อไปนี้ จองกฐิน เมื่อจะไปจองกฐิน ณ วัดใด พอเข้าพรรษาแล้ว พึงไปมนัสการสมภารเจ้าวัดนั้น กราบเรียนแก่ท่านว่าตนมีความประสงค์จะขอทอดกฐิน แล้วเขียนหนังสือปิดประกาศไว้ ณ วัดนั้น เพื่อให้รู้ทั่ว ๆ กัน การที่ต้องไปจองก่อนแต่เนิ่น ๆ ก็เพื่อให้ได้ทอดวัดที่ตนต้องการ หากมิเช่นนั้นอาจมีผู้อื่นไปจองก่อน นี้กล่าวสำหรับวัดราษฎร์ ซึ่งราษฎรมีสิทธิจองได้ทุกวัด แต่ถ้าวัดนั้นเป็นวัดหลวง อันมีธรรมเนียมว่าต้องได้รับกฐินหลวงแล้ว ทายกนั้น ครั้นกราบเรียนเจ้าอาวาสท่านแล้ว ต้องทำหนังสือยื่นต่อกองสัมฆการีกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ ขอเป็นกฐินพระราชทาง ครั้นคำอนุญาตตกไปถึงแล้ว จึงจะจองได้ เตรียมการ ครั้นจองกฐินเรียบร้อยแล้ว เมื่อออกพรรษาแล้ว จะทอดกฐินในวันใด ก็กำหนดให้แน่นอน แล้วกราบเรียนให้เจ้าวัดท่านทราบวันกำหนดนั้น ถ้าเป็นอย่างชนบท สมภารเจ้าวัด ก็บอกติดต่อกับชาวบ้านว่าวันนั้นว่านี้เป็นวันทอดกฐิน ให้ร่วมแรงร่วมใจกันจัดหาอาหารไว้เลี้ยงพระ และเลี้ยงผุ้มาในการกฐิน ครั้นกำหนดวันทอดกฐินแล้ว ก็เตรียมจัดหาเครื่องผ้ากฐิน คือไตรจีวร พร้อมทั้งเครื่องบริขารอื่น ๆ ตามแต่มีศรัทธามากน้อย (ถ้าจัดเต็มที่มักมี 3 ไตร คือ องค์ครอง 1 ไตร คู่สวดองค์ละ 1 ไตร) วันงาน พิธีทอดกฐินเป็นบุญใหญ่ดังกล่าวมาแล้ว ดังนั้น โดยมากจึงจัดงานเป็น 2 วัน วันต้นตั้งองค์พระกฐินที่บ้านของเจ้าภาพก็ได้ จะไปตั้งที่วัดก็ได้ กลางคืนมีการมหรสพครึกครื้นสนุกสนาน ญาติพี่น้องและมิตรสหายก็มักจะมาร่วมอนุโมทนา รุ่งขึ้นเป็นที่วัดทอด ถ้าไปทางบก ก็มีแห่ทางขบวนรถหรือเดินขบวนกันไป มีแตรวงหรืออื่น ๆ เป็นการครึกครื้น ถ้าไปทางเรือก็มีแห่งทางขบวนเรือสนุกสนาน โดยมากมักแห่ไปตอนเช้า และเลี้ยงพระเพล การทอดกฐิน จะทอดในตอนเช้านั้นก็ได้ ทอดเพลแล้วก็ได้ สุดแล้วแต่สะดวก การเลี้ยงพระ ถ้าเป็นอย่างในชนบท ชาวบ้านจัดภัตตาหารเลี้ยงด้วย เจ้าของงานกฐินก็จัดไปด้วย อาหารมากมายเหลือเฟือ แม้ข้อนี้ ก็สุดแต่กาละเทศะแห่งท้องถิ่น อนึ่ง ถ้าตั้งองค์กฐินในวัดที่จะทอดนั้น เช่น ในชนบทตอนเย็น ก็แห่งองค์พระกฐินไปตั้งที่วัด กลางคืนมีการฉลองรุ่งขึ้น เลี้ยงพระเช้าแล้ว ทอดกฐิน ถวายภัตตาหารเพล การถวายผ้ากฐิน การถวายผ้ากฐินน้น คือ เมื่อพระสงฆ์ประชุมพร้อมกันแล้ว เจ้าภาพอุ้มผ้ากฐินนั่งหันหน้าตรงต่อพระประธาน ตั้งนะโม 3 จบ แล้วหันหน้ามาทางพระสงฆ์ กล่าวคำถวายผ้ากฐิน 3 จบ ถ้าเป็นกฐินสามัคคีก็มักเอาด้วยสายสิญจน์โยงผ้ากฐิน เมื่อจับได้ทั่วถึงกัน แล้วหัวหน้านำว่าคำถวาย ครั้นจบแล้ว พระสงฆ์รับว่า สาธุ เจ้าภาพก็ประเคนผาไตรกฐินแก่ภิกษุผู้เถระ ครั้นแล้วประเคนเครื่องบริขารอื่น ๆ เสร็จแล้ว พระสงฆ์ก็ทำพิธีมอบผ้าให้แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ซึ่งเป็นพระเถระ มีจีวรเก่า รู้ธรรมวินัย ครั้นเสร็จแล้ว พระสงฆ์อนุโมทนา เจ้าภาพกรวดน้ำรับพร ก็เป็นอันเสร็จพิธีการทอดกฐินเพียงนี้ พิธีกรานกฐิน พิธิกรานกฐินเป็นพิธีฝ่ายภิกษุสงฆ์โดยเฉพาะคือภิกษุผู้ได้รับมอบผ้ากฐินนั้น นำผ้ากฐินไปทำเป็นไตรจีวรผืนใดผืนหนึ่ง เย็บ ย้อม แห้ง เรียบร้อยดีแล้ว เคาะระฆัง ประชุมกันในโรงพระอุโบสถ ภิกษุผู้รับผ้ากฐิน ถอนผ้าเก่าอธิษฐานผ้าใหม่ที่ตนได้รับนั้นเข้าชุดเป็นไตรจีวร เสร็จแล้ว ภิกษุรูปหนึ่ง ขึ้นสู่ธรรมาสน์แสดงพระธรรมเทศนา กล่าวคือเรื่องประวัติกฐินและอานิสงส์ครั้งแล้วภิกษุผู้รับผ้ากฐิน นั่งคุกเข่าตั้งนะโม 3 จบ แล้วเปล่งวาจาในท่ามกลางชุมนุมนั้น ตามลักษณะผ้าที่กรานดังนี้ ถ้าเป็นผ้าสังฆาฏิ เปล่งวาจากรานกฐินว่า "อิมายสงฺฆาฏิยา กฐินํ อตฺถรามิ" แปลว่า ข้าพเจ้ากรานกฐินด้วยผ้าสัมฆาฎินี้ (ในเวลาว่านั้นไม่ต้องว่าคำแปลนี้) 3 จบ ถ้าเป็นผ้าอุตตราสงค์เปล่งวาจากรานกฐินว่า "อิมินาอุตฺตราสงฺเคน กฐินํ อตฺถรามิ" แปลว่าจ้าพเจ้ากรานกฐิน ด้วยผ้าอุตตราสงค์นี้ 3 จบ ถ้าเป็นผ้าอันตรวาสก (สบง) เปล่งวาจากรานกฐินว่า "อิมินา อนฺตรวาสเกน กฐินํ อตฺถรามิ" แปลว่าข้าพเจ้ากรานกฐิน ด้วยผ้าอันครวาสกนี้ 3 จบ ลำดับนั้น สงฆ์นั่งคุกเข่าพร้อมกันแล้วกรานพระ 3 หนเสร้จแล้ว ตั้งนโมพร้อมกัน 3 จบ แล้วท่านผู้ได้รับผ้ากฐินหันหน้ามายังกลุ่มภิกษุสงษ์ กล่าวคำอนุโมทนาประกาศดังนี้ "อตฺถตํ อาวุโส สงฺฆสฺส กฐินํ ธมฺมิโก กฐินตฺถาโร อนุโมทามิ" 3 จบ (แปลว่า อาวุโส! กฐินสงฆ์กราบแล้ว การกรานกฐินเป็นธรรม ข้าพเจ้าขออนุโมทนา) คำว่า อาวุโส นั้น ถ้ามีภิกษุอื่นซึ่งมีพรรษามากกว่าภิกษุผู้ครองกฐินแม้เพียงรูปเดียวก็ตาม ให้เปลี่ยนเป็น ภนฺเต ต่อนั้น สงฆ์ทั้งปวงรับว่า สาธุ พร้อมกันแล้วให้ภิกษุทั้งปวง อนุโมทนาเรียงองค์กันไปทีละรูป ๆ ว่า "อตฺถตํ ภนฺเต สงฺฆสฺส กฐินฺ ธมฺมิโก กฐินตฺถาโร อนุโมทามิ" 3 จบสงฆ์ทั้งปวงรับว่า สาธุ ทำดังนี้ จนหมดภิกษุผู้ประชุมอนุโมทนา (ถ้าผู้อนุโมทนา มีพรรษษแก่กว่าสงฆ์ทั่งปวง ให้เปลี่ยนคำว่า ภนฺเต เป็น อาวุโส) ในการว่าคำอนุโมทนานี้พึงนั่งคุกเข่าประนมมือเสร้จแล้วจึงนั่งพับเพียงลง เมื่อเสร็จแล้ว ให้นั่งพร้อมกันคุกเข่าประนมมือ หันหน้าตรงต่อพระพุทธปฏิมา ว่าพร้อมกันอีก 3 จบ แต่ให้เปลี่ยนคำว่า อนุโมทามิ เป็น อนุโมทาม เป็นอันเสร็จไปชั้นหนึ่ง ต่อแต่นั้นกราบพระ 3 หน นั่งพับเพียบ สวดปาฐะและคาถาเนื่องด้วยกรานกฐิน จบแล้วก็เป็นเสร็จพิธีการกรานกฐิน อานิสงส์กฐินสำหรับพระ ในพระวินัย ระบุอานิสงส์กฐินไว้ 5 คือ 1. เข้าบ้านได้โดยมิต้องบอกลาภิกษุด้วยกัน 2. เอาไตรจีวรไปโดยไม่ครบสำรับได้ 3. ฉันอาหารเป็นคณะโภชน์ได้ 4. เก็บจีวรไว้ได้ตามปรารถนา 5. ลาภที่เกิดขึ้นเป็นของเธอผู้จำพรรษาในวัดนั้น อนิสงส์กฐินสำหรับผู้ทอด โดยทั่วไปผู้เขียนเองและแม้ผู้รู้บางท่านก็ยังไม่เคยพบในพระบาลีที่ระบุไว้โดยตรง แต่ว่าการทอดกฐินเป็นกาลทาน ปีหนึ่งทำได้ครั้งเดียว วันหนึ่งทำได้ครั้งเดียวในปีหนึ่ง ๆ ต้องทำภายในกำหนดเวลา และผู้ทอดก็ต้องตระเตรียมจัดทำเป็นงานใหญ่ ต้องมีผู้ช่วยเหลือหลายคน จึงนิยมกันว่าเป็นพิธีบุญที่อานิสงส์แรง น่าคิดอีกทางหนึ่งว่า พิธีเช่นนี้ได้ทั้งโภคสมบัติ เพราะเราเองบริจาค ได้ทั่งบริวารสมบัติเพราะได้บอกบุญแก่ญาติมิตรใหมาร่วมการกุศล กาลทานเช่นนี้ เรียกว่า ทานทางพระวินัย คำถวายผ้ากฐิน อย่างมหานิกาย อิมํ สปริวารํ กฐินจีวรทุสฺสํ สงฺฆสฺส โอโณชยาม (ว่า 3 หน) แปลว่า "ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้ากฐินจีวรกับทั้งบริวารนี้ แด่พระสงฆ์" คำถวายผ้ากฐิน อย่างธรรมยุตติกนิกาย อิมํ ภนฺเต สปริวารํ กฐินนทุสฺสํ สงฺฆสฺส โอโณชยาม สาธุ โน ภนฺเต สงฺโฆ อิมํ สปริวารํ กฐินทุสฺสํ ปฏิคฺคณฺหาตุ ปฏิคฺคเหตฺวา จ อิมินา ทุสฺเสน กฐินํ อตฺถรตุ อมฺหากํ ทีฆรตฺตํ หิตาย สุขาย แปลว่า "ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอน้อมถวายผ้ากฐิน พร้อมทั้งบริวารนี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย และครั้นรับแล้วขอจงกรานกฐินด้วยผ้านี้ เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนานเทอญ" หมายเหตุ ในการทอดกฐินนี้ ยังมีกฐินและข้อพิเศษที่ควรนำมากล่าวไว้ด้วย คือ 1. จุลกฐิน 2.ธงจระเข้ 1. จุลกฐิน มีกฐินพิเศษอีกชนิดหนึ่ง เรียกว่าจุลกฐินเป็นงานที่มีพิธีมาก ถือกันว่ามาแต่โบราณว่า มีอานิสงส์มากยิ่งนัก วิธีทำนั้น คือเก็บผ้ายมากรอเป็นด้วย และทอให้แล้วเสร็จเป็นผืนผ้าในวันเดียวกัน และนำไปทอดในวันนั้น กฐินชนิดนี้ ต้องทำแข่งกับเวลา มีผู้ทำหลายคน แบ่งกันเป็นหน้าที่ ๆ ไป ในปัจจุบันนี้ไม่ค่อยนิยมทำกันแล้ว "วิธีทอดจุลกฐินนี้ มีปรากฏในหนังสือเรื่องคำให้การชาวกรุงเก่าว่า บางทีเป็นของหลวงทำในวันกลางเดือน 12 คือ ถ้าสืบรู้ว่าวัดไหนยังไม่ได้รับกฐิน ถึงวันกลางเดือน 12 อันเป็นที่สุดของพุทธานุญาตซึ่งพระสงฆ์จะรับกฐินได้ในปีนั้น จึงทำผ้าจุลกฐินไปทอด มูลเหตุของจุลกฐินคงเกิดแต่จะทอดในวันที่สุดเช่นนี้ จึงต้องรีบร้อนขวนขวายทำให้ทัน เห็นจะเป็นประเพณีมีมาเก่าแก่ เพราะถ้าเป็นชั้นหลังก็จะเที่ยวหาซื้อผ้าไปทอดได้หาพักต้องทอใหม่ไม่" (จากวิธีทำบุญ ฉบับหอสมุด หน้า 119) 2. ธงจระเข้ ปัญหาที่ว่าเพราะเหตุไรจึงมีธงจระเข้ยกขึ้นในวัดที่ทอดกฐินแล้ว ยังไม่ปรากฎหลักฐาน และข้อวิจารณ์ อันสมบูรณ์โดยมิต้องสงสัย เท่าที่รู้กันมี 2 มติ คือ (http://www.dhammathai.org/day/pic/flag1.jpg) 1. ในโบราณสมัย การจะเดินทางต้องอาศัยดาวช่วยประกอบเหมือน เช่น การยกทัพเคลื่อนขบวนในตอนจวนจะสว่าง จะต้องอาศัยดาวจระเข้นี้ เพราะดาวจระเข้นี้ขึ้นในจวนจะสว่าง การทอดกฐิน มีภาระมาก บางทีต้องไปทอด ณ วัดซึ่งอยู่ไกลบ้าน ฉะนั้น การดูเวลาจึงต้องอาศัยดาว พอดาวจระเข้ขี้น ก็เคลื่อนองค์กฐินไปสว่างเอาที่วัดพอดี และต่อมาก็คงมีผู้คิดทำธงในงานกฐิน ในชั้นต้น ก็คงทำธงทิวประดับประดาให้สวยงานทั้งที่องค์กฐิน ทั้งที่บริเวณวัดและภายหลัย คงหวั่นจะให้เป็นเครื่องหมายเนื่องด้วยการกฐิน ดังนั้น จึงคิดทำธงรูปจระเข้ เสมือนประกาศให้รู้ว่าทอดกฐินแล้ว 2. อีกมติหนึ่งเล่าเป็นนิทานโบราณว่า ในการแห่กฐินในทางเรือของอุบาสกผู้หนึ่ง มีจระเข้ตัวหนึ่งอยากได้บุญจึงอุตส่าห์ว่ายตามเรือไปด้วย แต่ยังไม่ทันถึงวัดก็หมดกำลังว่ายตามต่อไปอีกไม่ไหว จึงร้องบอกอุบาสกว่า เหนื่อยนักแล้ว ไม่สามารถจะว่ายตามไปร่วมกองการกุศล วานท่านเมตตาช่วยเขียนรูปข้าพเจ้า เพื่อเป็นสักขีพยานว่าได้ไปร่วมการกุศลด้วยเถิด อุบาสกผู้นั้นจึงได้เขียนรูปจระเข้ยกเป็นธงขึ้นในวัดเป็นปฐม และสืบเนื่องมาจนบัดนี้ หัวข้อ: Re: มงคลชีวิต เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ พฤศจิกายน 25, 2013, 10:11:23 AM ความหมายของบัว 4 เหล่าตามนัยอรรถกถา (http://ayattin.files.wordpress.com/2011/09/420lotus.jpg?w=540) 1.ดอกบัวพ้นน้ำ (อุคคฏิตัญญู) พวกที่มีสติปัญญาฉลาดเฉลียว เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมก็สามารถรู้ และเข้าใจในเวลาอันรวดเร็ว เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่พ้นน้ำ เมื่อต้องแสงอาทิตย์ก็เบ่งบานทันที 2.ดอกบัวปริ่มน้ำ (วิปจิตัญญู) พวกที่มีสติปัญญาปานกลาง เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมแล้วพิจารณาตามและได้รับการอบรมฝึกฝนเพิ่มเติม จะสามารถรู้และเข้าใจได้ในเวลาอันไม่ช้า เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่ปริ่มน้ำซึ่งจะบานในวันถัดไป 3.ดอกบัวใต้น้ำ (เนยยะ) พวกที่มีสติปัญญาน้อย แต่เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมแล้วพิจารณาตามและได้รับการอบรมฝึกฝนเพิ่มอยู่เสมอ มีความขยันหมั่นเพียรไม่ย่อท้อ มีสติมั่นประกอบด้วยศรัทธา ปสาทะ ในที่สุดก็สามารถรู้และเข้าใจได้ในวันหนึ่งข้างหน้า เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำ ซึ่งจะค่อยๆ โผล่ขึ้นเบ่งบานได้ในวันหนึ่ง 4.ดอกบัวจมน้ำ (ปทปรมะ) พวกที่ไร้สติปัญญา และยังเป็นมิจฉาทิฏฐิ แม้ได้ฟังธรรมก็ไม่อาจเข้าใจความหมายหรือรู้ตามได้ ทั้งยังขาดศรัทธาปสาทะ ไร้ซึ่งความเพียร เปรียบเสมือนดอกบัวที่จมอยู่กับโคลนตม ยังแต่จะตกเป็นอาหารของเต่าปลา ไม่มีโอกาสโผล่ขึ้นพ้นน้ำเพื่อเบ่งบาน (http://ayattin.files.wordpress.com/2011/09/untitled.png?w=540) หัวข้อ: Re: มงคลชีวิต เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มกราคม 08, 2014, 12:56:23 PM (https://scontent-a.xx.fbcdn.net/hphotos-frc1/q77/s480x480/1451361_764701640208110_1963985917_n.jpg) หัวข้อ: Re: มงคลชีวิต เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มกราคม 12, 2014, 06:01:42 PM (http://www.thaigold.info/Board/uploads/monthly_01_2014/post-775-0-43739700-1389494750.jpg) หัวข้อ: Re: มงคลชีวิต เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มกราคม 12, 2014, 06:25:38 PM (https://fbcdn-sphotos-a-a.akamaihd.net/hphotos-ak-frc3/1483412_479950932122721_1375403307_n.jpg) (https://fbcdn-sphotos-g-a.akamaihd.net/hphotos-ak-ash3/575660_477006782417136_394107488_n.jpg) (https://fbcdn-sphotos-e-a.akamaihd.net/hphotos-ak-ash3/1393694_475358022582012_2049466240_n.png) (https://fbcdn-sphotos-g-a.akamaihd.net/hphotos-ak-frc3/1376656_457402337710914_498159624_n.jpg) หัวข้อ: Re: มงคลชีวิต เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มกราคม 14, 2014, 08:38:42 PM (https://fbcdn-sphotos-f-a.akamaihd.net/hphotos-ak-frc3/391475_159964704140491_1460445200_n.jpg) หัวข้อ: Re: มงคลชีวิต เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มกราคม 23, 2014, 07:35:08 AM (https://fbcdn-sphotos-a-a.akamaihd.net/hphotos-ak-prn1/t1/1526981_782684668417632_1891596930_n.jpg) หัวข้อ: Re: มงคลชีวิต เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มกราคม 30, 2014, 08:31:17 PM (https://fbcdn-sphotos-c-a.akamaihd.net/hphotos-ak-prn1/t1/1014129_573109286113381_852244606_n.jpg) " ในร่างกายของเรานี้ไม่มีอะไร มีแต่ธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ ประชุมกันอยู่เท่านั้น หาสัตว์บุคคลตัวตนเราเขาไม่มี " หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล หัวข้อ: Re: มงคลชีวิต เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มกราคม 30, 2014, 08:32:54 PM (https://fbcdn-sphotos-a-a.akamaihd.net/hphotos-ak-prn1/t1/1012676_606053999465814_388773206_n.jpg)
หัวข้อ: Re: มงคลชีวิต เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ กุมภาพันธ์ 07, 2014, 09:01:28 PM (https://fbcdn-sphotos-h-a.akamaihd.net/hphotos-ak-prn2/t1/1782070_254737134686997_271508329_n.jpg)
พระพุทธเป็นหนึ่งกับพระธรรม ปัญหา มีผู้กล่าวว่าพระพุทธเจ้ากับพระธรรม (โลกุตรธรรม) เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ถ้าเห็นอย่างหนึ่ง ก็เห็นอีกอย่างหนึ่ง จริงหรือไม่ ? พุทธดำรัสตอบ "ดูก่อนวักกลิผู้ใดแลเห็นธรรมผู้นั้นชื่อว่าเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม วักกลิ เป็นความจริง บุคคลเห็นธรรมก็ย่อมเห็นเรา บุคคลเห็นเราก็ย่อมเห็นธรรม..." วักกูตร หัวข้อ: Re: มงคลชีวิต เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มีนาคม 08, 2014, 08:41:21 AM (https://fbcdn-sphotos-e-a.akamaihd.net/hphotos-ak-ash3/t1/1964823_549772265120853_689654798_n.jpg)
หัวข้อ: Re: มงคลชีวิต เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มีนาคม 15, 2014, 03:43:21 PM (https://fbcdn-sphotos-b-a.akamaihd.net/hphotos-ak-ash3/t1/541931_546973962089448_1703569239_n.jpg)
(https://fbcdn-sphotos-g-a.akamaihd.net/hphotos-ak-frc1/t1/1966703_546953242091520_257654627_n.jpg) หัวข้อ: Re: มงคลชีวิต เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มีนาคม 30, 2014, 11:48:34 AM (https://fbcdn-sphotos-g-a.akamaihd.net/hphotos-ak-prn2/t1.0-9/1558381_669744333082835_1121306595_n.jpg)
หัวข้อ: Re: มงคลชีวิต เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ มิถุนายน 11, 2014, 06:30:58 PM (https://fbcdn-sphotos-h-a.akamaihd.net/hphotos-ak-xap1/t1.0-9/10007522_464939500276134_7167471695910263215_n.jpg)
หัวข้อ: Re: มงคลชีวิต เริ่มหัวข้อโดย: jainu ที่ ธันวาคม 07, 2016, 10:22:00 AM (http://www.thaigold.info/Board/uploads/monthly_12_2016/post-2060-0-29426800-1481076337.jpg) (http://www.thaigold.info/Board/uploads/monthly_12_2016/post-2060-0-20155000-1481076324_thumb.jpg) |