Forex-Currency Trading-Swiss based forex related website. Home ----- กระดานสนทนาหน้าแรก ----- Gold Chart,Silver,Copper,Oil Chart ----- gold-trend-price-prediction ----- ติดต่อเรา
หน้า: 1 2 [3]   ลงล่าง
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: my King  (อ่าน 2306 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 6 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
jainu
Moderator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #30 เมื่อ: ตุลาคม 13, 2020, 09:54:07 AM »

https://www.youtube.com/watch?v=YrZGRGykTBw&feature=youtu.be
Love at Sundown - Otani, Kominato & Ichikawa

Music by His Majesty the late King Bhumibol Adulyadej of Thailand.

Executive Producer :
Sermsin Samalapa  サームスィン  サマラーパ
Mariko Numata  沼田 真理子

Musicians :
Shoko Otani  大谷 祥子
Akihisa Kominato  小湊 昭尚
Shin Ichikawa  市川 慎

OBSERAI.inc
AIC AKITSUSHIMA KYOTO

Special thanks :
Takashi Ohgami  大神 隆志
บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Moderator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #31 เมื่อ: ตุลาคม 20, 2020, 11:37:07 PM »

https://www.youtube.com/watch?v=ufbYSqqOOWA&feature=youtu.be
ในหลวงร.๙ ขับร้องโดย รัฐ สอนระเบียบ แต่งโดย อ.ปิยะ ตระกูลราษฎร์ 【OFFICIAL MV】

เพลง ในหลวงร.๙
คำร้อง-ทำนอง อ.ปิยะ ตระกูลราษฎร์
เรียบเรียงดนตรี อ.ณกรณ์ ชูรักษ์
ขับร้องโดย รัฐ สอนระเบียบ



บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Moderator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #32 เมื่อ: ตุลาคม 31, 2020, 06:58:25 PM »

ภาพวันลอยกระทง
https://youtu.be/q8e5lmETH7g

เพลง ลอย (กระทง) - ศุ บุญเลี้ยง จะเป็นภาพสุดท้าย ที่เราคนไทยจะได้เห็น
1,209,771 views•Nov 13, 2016

https://www.youtube.com/watch?v=q8e5lmETH7g&feature=youtu.be

บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Moderator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #33 เมื่อ: ธันวาคม 05, 2020, 11:17:31 AM »

'วันพ่อ' พระบารมีแผ่ไพศาล พระราชกรณียกิจยังจารึกในใจพสกนิกรชาวไทย

'วันพ่อแห่งชาติ 2563' ชวนคนไทยสวดมนต์-จุดเทียนรำลึกในหลวง ร.9
บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Moderator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #34 เมื่อ: ธันวาคม 05, 2020, 01:06:27 PM »

https://www.youtube.com/watch?v=r-FL8I6JXwE&feature=youtu.be

บทเพลงพระราชนิพนธ์ ลำดับที่ 8
ชื่อเพลง : อาทิตย์อับแสง Blue day. ขับร้องโดย ศิริลักษณ์ ผ่องโชค
ทำนอง : พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูอดุลยเดชฯ
คำร้อง : พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ
ปี : พ.ศ.2492


เนื้อเพลง

เคยชม ร่วมภิรมย์ใจ
ด้วยความรักจริงยิ่งใหญ่
ผูกพันหัวใจเรามั่น

รักเอย เคยอยู่เคียงกัน
ร่มเย็นมิเว้นวายวัน
ด้วยความสัมพันธ์ยืนยง

ทิวางาม ยามอยู่เคียงคง
สุริยาแสงส่ง
ปวงชีวิตในโลกดำรงเริงใจ

ร้างกัน วันห่างไปไกล
มืดหม่นหมองมัวปานใด
เยือกเย็นเข็ญใจรัญจวน

Blue day There's no sunshine.
Why must you go away,
Leaving me here alone?
My own. How I miss you
With loving heart so true!
That's why I feel so blue.

Dear one, What's the good of
Days without the sun,
Or peaceful nights
Without the moon?

But soon No more blue day.
Whenever I meet you
Then all my dreams come true.
------------------
เกร็ดเพลงน่ารู้

เพลงพระราชนิพนธ์ อาทิตย์อับแสง: Blue Day เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ ๘ ทรงพระราชนิพนธ์เมื่อวันพุธที่ ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๒ ขณะประทับแรมบนภูเขาในเมืองดาโวส์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในช่วงที่พระองค์ทรงเริ่มรู้จักชอบพอกับสม­เด็จพระนางเจ้าฯ ราชินีนาถ เมื่อครั้งยังทรงเป็น หม่อมสิริกิติ์ กิติยากร และประทับอยู่เมืองโลซานน์ ซึ่งห่างไกลกัน เมื่อต้องทรงจากกันก็เปรียบเหมือนดัง "อาทิตย์อับแสง"

ต่อมา ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ นิพนธ์คำร้องทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทย
บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Moderator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #35 เมื่อ: ธันวาคม 05, 2020, 07:29:40 PM »

แบงก์ชาติเปิดดาวน์โหลดหนังสือรวมธนบัตรรัชกาลที่ 9 กว่า 30 แบบตลอดรัชกาล         

ใช้นิ้วมือปัดจากขวาไปด้านซ้าย ก็จะเปิดทีละหน้า เหมือนกับเราเปิดหนังสืออ่าน


https://www.bot.or.th/broadcast/EBook/commemorativebook/index.html#p=4
บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Moderator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #36 เมื่อ: มิถุนายน 09, 2022, 08:43:13 AM »

ที่มาของคำว่า"สมเด็จย่า"

"พวกเธอเป็นทหารอะไร ทำไมฉันไม่เคยเห็น"
"ผมกระผมเป็นตชด.ครับ ตำรวจตระเวนชายแดน"
"อ้าวเหรอ...เพิ่งรู้ว่ามีตำรวจแบบนี้ ดีจังเลย"
"แล้วต้องทำอะไรบ้างล่ะ"
"ดูแลทุกอย่างครับ ว่างไม่รู้จะทำอะไรก็สอนหนังสือพวกลูกหลานคนกระเหรี่ยง เย้า อีก้อ ม้ง" (ต่อ)

"อืมมม..สอนกันเองเหรอ"
"ครับ สอนกันเอง"
"แล้วเอาของมาจากไหน สมุด ดินสอ กระดานดำ"
"ก็เอาเงินเดือนซื้อครับ ช่วยๆกันออก"
"งั้นพวกเธอก็เสียสละล่ะสิ อืมมม ฉันชอบๆ แล้ว เครื่องแบบนี่ แบบนี้ ถ้าฉันชอบ ใส่ได้มั้ย"
"ได้ขอรับ"
"อ้าว..จริงรึ คงเท่ห์ดี คนคงคิดว่าฉันเป็นผู้ชาย" (ต่อ)

"งั้นคราวต่อไปฉันไปชายแดน ฉันจะใส่ชุดแบบนี้นะ ขอสักชุด มีมั้ย"
"มีขอรับ เดี๋ยวให้จ่ากองร้อยจัดถวายให้ครับ"
"อ้อ แล้วฉันจะยศอะไร ยศย่าเนอะ สมเด็จย่า เท่ดี"
"อ้อ ฉันสนใจเรื่องโรงเรียนของพวกเธอ ที่ครูเป็นตชด. เอ๊ะ จะเรียกโรงเรียนอะไรดีนะ"
"แล้วแต่สมเด็จย่าจะทรงพระกรุณาขอรับ"(ต่อ)

"ถ้ามีแบบนี้เยอะๆก็คงจะดี เด็กๆจะได้เรียนหนังสือ สอนเค้าปลูกผัก เลี้ยงไก่ ทำนา เธอว่าดีมั้ย"
"......"
"อ้าว.. ร้องไห้ทำไม"

ที่มา.. ลิงหลับ
https://t.co/P8aOGxqG2c

เดิมสมเด็จกรมหลวงนราธิวาสทรงสานงานดูแลต่อมา ตอนนี้กรมสมเด็จพระเทพรัตนทรงดูแลต่อ ไม่ได้แค่รบป้องกันชายแดน แต่เขายังเปนครูสอนนักเรียน เป็นอะไรอีกหลายอย่างมากกว่าที่เรารู้ครับ
บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Moderator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #37 เมื่อ: มิถุนายน 09, 2022, 08:45:15 AM »

“ศาสตราจารย์ ม.ร.ว. สุมนชาติ สวัสดิกุล ซึ่งปฏิบัติหน้าที่พระอาจารย์ถวายการสอนภาษาไทยแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัว ได้เคยเล่าให้นิสิตอักษรศาสตร์ฟังเมื่อ  พ.ศ. 2494    ว่าเมื่อวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินไปทรงศึกษาต่อ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในวันที่ 19 สิงหาคม    พ.ศ. 2489  มีเพียงมหาวิทยาลัยเดียวที่ไปส่งเสด็จ ซึ่งก็คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย    นิสิตเกือบทุกคนที่มีอยู่ตอนนั้นประมาณ 2,500 คนต่างพร้อมใจไปส่งเสด็จ พร้อมทั้งถวายโล่ตราพระเกี้ยว และกระเช้าดอกไม้ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงกลัดเข็มพระเกี้ยวเล็กๆไว้ที่ฉลองพระองค์ ด้วย ยังความปลื้มปิติให้แก่ชาวจุฬาฯ ทุกคน ....”

     “โล่พระเกี้ยวที่ชาวจุฬาฯ ถวายให้ในวันนั้นได้ตั้งอยู่บนโต๊ะทรงพระอักษรตลอดเวลา ต่อมาวันหนึ่งในปี พ.ศ. 2492  หลังจากเสด็จออกจากห้องทรงพระอักษรและทรงเล่นเปียโนเพื่อผ่อนคลายพระอิริยา บท ได้มีรับสั่งกับ ม.ร.ว. สุมนชาติว่า การเรียนหนังสือไม่สนุกเลย คนที่เรียนหนังสืออยู่เมืองไทยจะรู้สึกแบบนี้ไหม ม.ร.ว. สุมนชาติได้กราบบังคลทูลว่า หากทรงมีพระมหากรุณาธิคุณกับคนที่เรียนหนังสือที่เมืองไทย ก็ขอพระราชทานเพลงให้แก่พวกเขาเหล่านั้น พระองค์ท่านไม่ทรงรับสั่งใดๆ เลย หลังจากนั้นไม่เกิน 5 วัน ม.ร.ว. สุมนชาติ ได้รับพระราชทานกระดาษ 3 แผ่น ซึ่งเป็นโน้ตเพลง มหาจุฬาลงกรณ์ และทรงรับสั่งแต่เพียงสั้นๆ “ที่ขอมานั้น ได้แต่งให้แล้ว”...”

     “ม.ร.ว. สุมนชาติ ได้อันเชิญโน้ตเพลงมหาจุฬาลงกรณ์กลับมายังประเทศไทย และได้ขอให้ ท่านผู้หญิงสมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยา และคุณสุภร ผลชีวิน ผู้เป็นน้องชาย ซึ่งทั้งคู่ต่างก็เป็นนิสิตเก่าจุฬาฯ เป็นผู้ประพันธ์เนื้อร้อง โดยมีคุณพระเจนดุริยางค์เล่นเปียโนและมีผู้ร้องด้วยเนื้อร้องที่ท่านผู้หญิง และคุณสุภร ผลชีวินแต่งขึ้น เมื่อได้มีการแก้ไขปรับปรุงจนเนื้อร้องกลมกลืนกับโน้ตดนตรีพระราชทานดีแล้ว จึงนำทูลเกล้า ขอราชวินิจฉัย ต่อมาได้พระราชทานให้แก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพราะฉะนั้น บทเพลงพระราชนิพนธ์ มหาจุฬาลงกรณ์ จึงเปรียบเสมือนสายสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งระหว่างองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัวกับชาวจุฬาฯ อย่างหาที่เปรียบมิได้...”

     “เพลงมหาจุฬาลงกรณ์ สำหรับชาวจุฬาฯ ทุกคน เปรียบได้ดั่งเพลงสรรเสริญพระบารมี คือ ยึดถือว่าการร้องหรือบรรเลงเพลงมหาจุฬาลงกรณ์อย่างเป็นทางการ ต้องปฏิบัติเช่นเดียวกับการร้องหรือบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี นั่นคือการยืนถวายความเคารพ โดยชาวจุฬาฯ ได้ขอให้ท่านศาสตราจารย์ ม.ร.ว. สุมนชาติ สวัสดิกุล กราบบังคลทูลของราชานุญาต ในครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเป็นประธานในงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ ธรรมศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2493

     ดังนั้นในวันแข่งขันฟุตบอล เมื่อบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีจบแล้ว ทั้ง 2 พระองค์ยังคงประทับยืน ขณะที่กองเชียร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และคนดูทั่วไปนั่งลง แต่กองเชียร์จุฬาฯ และนิสิตเก่าที่เข้าชมการแข่งขันยังยืนถวายความเคารพ ชาวจุฬาฯ ได้ร้องเพลงมหาจุฬาลงกรณ์ถวาย เมื่อเพลงจบจึงได้ประทับนั่ง ซึ่งมีความหมายว่าได้พระราชทานราชานุญาตทางอ้อมให้ชาวจุฬาฯ ยึดถือเป็นเพลงสรรเสริญพระบารมีสำหรับชาวจุฬาฯ ด้วยเหตุนี้ เมื่อใดก็ตามที่มีการบรรเลงหรือการขับร้องเพลงมหาจุฬาลงกรณ์อย่างเป็นทางการ เมื่อนั้นชาวจุฬาฯทุกคนจักต้องยืนตรงถวายความเคารพ...”

     “บทเพลงมหาจุฬาลงกรณ์จะถูกบรรเลง หรือขับร้องในงานสำคัญๆต่างๆของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เท่านั้น เหตุเพราะเป็นเพลงที่ศักดิ์สิทธิ์ และเป็นเพลงที่ชาวจุฬาฯ ยึดถือและเคารพเหนือศีรษะ จึงจะนำมาขับร้องเล่นมิได้ โอกาสสำคัญที่มีการบรรเลงเพลงมหาจุฬาลงกรณ์ ซึ่งอย่างน้อยผู้ที่เข้ามาศึกษาในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะได้รับฟังถึงสอง ครั้ง นั่นคือ ในงานปฐมนิเทศนิสิตใหม่ และในงานพระราชทานปริญญาบัตร ที่ขับร้องโดยชมรมนักร้องประสานเสียง สโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือ CU Chorus ที่ได้รับการเรียบเรียงเป็นเสียงประสานโดย น.ต. ปิยะพันธ์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ร.น. นอกจากนี้ในโอกาสงานสำคัญต่างๆที่จัดขึ้นโดยชาวจุฬาฯ อย่างเป็นทางการอื่นๆ จักต้องบรรเลงบทเพลงพระราชนิพนธ์บทนี้เช่นเดียวกัน...”


บันทึกการเข้า

finghting!!!
Gold Price today, Gold Trend Price Prediction, ราคาทองคํา, วิเคราะห์ทิศทางทองคํา
   

images by free.in.th
Thanks: ฝากรูป dictionary ---------------------Charts courtesy of Moore Research Center, Inc. For more information on Moore Research products and services click here. --- http://www.mrci.com ---------- ---------------------------------------------รูปกราฟแสดงราคาทองในอดีตปี 1974-1999 ของ Moore Research Center, Inc. แสดงฤดูกาลที่ราคาทองขึ้นสูงสุดและตําสุด เอาแบบคร่าวๆ เส้นนําตาลหรือนําเงินก็ใกล้เคียงกัน เส้นนําตาลเฉลี่ย 15 ปี เส้นนําเงินเฉลี่ย 26 ปี ราคาตําสุดของเส้นนําตาล หรือเฉลี่ย 15 ปี ในเดือน ปลายเดือน เมษ และปลายเดือน สค ต่อต้นเดือน กย[/color] สูงสุดในเดือน กพ กับ พย / ส่วนเฉลี่ย 26 ปี ราคาตําสุด ต้น กค กับ ปลาย สค และราคาสูงสุดในเดือน กพ และ กลางเดือน ตค ----- แค่ดูคร่าวๆ เป็นแนวทาง อย่ายึดมั่นว่าจะต้องเป็นตามนี้ ข้างล่างเป็นกราฟราคานํามัน ตามฤดูกาล จาก Charts courtesy of Moore Research Center, Inc. images by free.in.th
Thanks: ฝากรูป dictionary
 บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3]   ขึ้นบน
พิมพ์
กระโดดไป: