Forex-Currency Trading-Swiss based forex related website. Home ----- กระดานสนทนาหน้าแรก ----- Gold Chart,Silver,Copper,Oil Chart ----- gold-trend-price-prediction ----- ติดต่อเรา
หน้า: [1] 2 3 ... 5   ลงล่าง
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: "การวิเคราะห์ .. ปัจจัยพื้นฐาน" : ว่าด้วยเรื่อง "Insiders"  (อ่าน 18193 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 7 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ffr_manoj243
Moderator
Full Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 895


« เมื่อ: กันยายน 11, 2009, 04:58:30 AM »

"เก็บมาเล่า .. เอามาเขียน"


"Indiders"

Goldseek.com .. เพิ่งนำมาลงวันที่ 10 กันยายน 2009
ผมเป็น "Outsider" .. แต่ผมรู้มาก่อนหน้านี้แล้ว (เป็นเดือน)


Company Insiders are Telling You to Do This Now
http://news.goldseek.com/GoldSeek/1252597760.php



บันทึกการเข้า
Seyren
Jr. Member
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 222


« ตอบ #1 เมื่อ: กันยายน 11, 2009, 07:14:38 AM »

ขอบคุณครับคุณมาโนช ตื่นแต่เช้าจังเลยนะครับ หรือว่ายังไม่ได้นอนก็ไม่ทราบนะครับ

แต่ก็อรุณสวัสดิ์ครับผม ^^
บันทึกการเข้า

อุปสรรคที่เกินทน จะหลอมคนให้ทนทาน~
soda
Full Member
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 712


« ตอบ #2 เมื่อ: กันยายน 11, 2009, 03:11:20 PM »

มาศึกษาต่อคะ
บันทึกการเข้า
ffr_manoj243
Moderator
Full Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 895


« ตอบ #3 เมื่อ: กันยายน 12, 2009, 05:27:04 AM »

"เก็บมาเล่า .. เอามาเขียน"



"US Dollar Carry Trade"


Dollar dips on optimism, carry trades
http://www.marketwatch.com/story/dollar-sets-new-lows-as-china-cheers-risk-appetite-2009-09-11

" .. NEW YORK (MarketWatch) -- The U.S. dollar slipped to new lows Friday, after strong data on U.S. confidence followed Chinese economic news and boosted investors' appetite for riskier assets.

A growing chorus of analysts also speculated that investors may be resuming trades using the dollar as a funding currency to buy higher-yielding assets, known as carry trades.  .. "



ขอรายงาน  .. update ข้อมูลพื้นฐาน .. ประจำวันก่อนนะครับ
02.34 น.  .. 12/09/09



จากกราฟที่ได้ 02.15 น. ..12/09/09
เรา "น่าที่จะ" อยู่ที่ คลื่น 3 ปลายๆ

RSI(5) .. สามารถที่จะไต่เส้น uptrend line .. โดยที่ยังไม่ break down ลงมา (วงกลมสีแดง ในช่อง indicator : RSI)
MACD : Histogram .. กำลังทำแท่งเทียนที่สูงขึ้น  
Stoch .. แม้จะเข้าเขตซื้อเกิน (Overbought) แต่โดยลักษณะของคลื่น 3 .. สามารถที่จะวิ่งอยู่บน OB zone (70-100) โดยที่ราคายังสามารถที่จะขยับขึ้นได้อีก  (ตามคำอธิบายจากประสบการณ์จริง ของ "คุณ paul711" )

โดยที่ SPDR gold ETF ได้พยายามดันราคา(หุ้น)ทองคำ ให้ไปปิดที่ราคา London PM. fix $1008.25
เพื่อให้ราคามูลค่าหุ้นสูงขึ้น (ในขณะที่ ดอล .. ยังอ่อนตัวลงมาเรื่อยๆ)
นั่นหมายความว่า .. SPDR gold ETF ต้องการที่จะปล่อยให้ราคาทองคำสูงขึ้น = ราคาหุ้นทองคำ ที่สูงขึ้นตามไปด้วย
เพราะ NAV/share ที่นำมาคำนวณเป็น NY 10.30 a.m. ซึ่งใช้ราคาทองคำ London PM fix มาคำนวณค่า NAV

http://www.spdrgoldshares.com/sites/us/value/historical_archive/

ดูความสัมพันธ์ ในตารางที่ 1 นะครับ
จะเห็น .. ความเกี่ยวโยง ของการนำราคาทองคำ เมื่อตลาดลอนดอนปิด (PM fix) ไปใช้คำนวณค่า NAV ของหุ้นที่เปิดเทรดในตลาดนิวยอร์ค
( NY 10.30 am.)   ..  ทั้งที่ตลาดนิวยอร์คยังไม่ปิด  
( SPDR gold ETF เปิดเทรดในตลาดนิวยอร์ค .. ทำไม? ไม่ใช้ราคาปิด ในตลาดนิวยอร์ค)
ซึ่งนั่นก็คือ  ทำให้ .. SPDR gold ETF สามารถกำหนดราคาในตลาดทองคำได้ .. นั่นเอง


(มีการเทหุ้นทองคำทิ้งที่ระดับ $1013 .. เพื่อทำกำไรออกมา (ในขณะที่ .. ดอลอ่อนตัวสูงสุด)
และจากในรายงานของ SPDR gold ETF .. 11/9  London PM fix = $1008.25)

จากราคา London PM fix ที่ดูเหมือน "จงใจ" ให้เป็น ราคาปิดที่สูง
โดยที่ราคาทองคำ London PM fix ($1008.25) .. ส่งต่อมายังราคาปิดที่ตลาด NY PM fix ($1005)
มีส่วนต่างแค่ 1008-1005 = -$3
เพียงเท่านี้ .. มูลค่าหุ้นรวมทั้งหมด Total Net Asset Value in trust  :  (ตารางที่ 3)
ก็เพิ่มขึ้นถึง $600 กว่าล้าน  ได้กำไร .. จากการเทขายหุ้นทองคำที่ระดับ $1013 แล้วยังได้ Total NAV ที่สูงขึ้น
ตอนนี้!  จึงเท่ากับ .. กองทุน กำลังมีความต้องการที่จะตุนดอลให้มากขึ้น)


ดังนั้น จากการประเมินด้วย .. เหตุผลดังกล่าว
จึง "น่าที่จะเชื่อ" .. ว่า
กองทุน .. ยังไม่ต้องการที่จะ ...."ทุบ" ราคาทองคำลงในตอนนี้
(เพราะ ราคาสูงสุด EOD = $1013  แต่มูลค่าหุ้นทองคำ ใช้ราคาที่ $1008
เท่ากับ .. ราคา (ถูกทุบ) ลงมา แค่ $5 .. ดังนั้น ที่ $1013 จึงยังไม่ใช่ราคาที่น่าจะเกิด 'Tsunami )

ผมมีมุมมองที่ว่า  .. Fed. "จงใจ" ปล่อยให้ดอลอ่อน
ซึ่งนับจากวันที่ Fed. ประกาศเลื่อนการเข้าซื้อพันธบัตร (ของ กระทรวงการคลัง) ออกไปอีก 1 เดือน ตามนโยบาย "Quantitative Easing"
ที่ประกาศเมื่อวันที่ 19/3 (ที่จะเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาล ในอีก 6 เดือนข้างหน้า = เดือนกันยายน)
และมีผลทำให้ .. ดอลอ่อนค่าลงมาเรื่อยๆ จาก 79.xx ลงมาแตะ 77.xx ถึง 2 ครั้ง และในที่สุด ยังอ่อนค่าลงมา จนถึงขณะนี้ 76.67
หมายความว่า .. อย่างไร?

นี่คือ "หัวใจ .. ห้องหนึ่ง" ที่เป็น จุดประสงค์ของ Fed. เลยนะครับ
เพราะ การที่ Fed. จงใจปล่อยให้ดอลอ่อน  .. ซึ่งดอลได้เริ่มอ่อนมาตั้งแต่เดือน มีนา 09 .. จาก 89.xxX
ทำให้เกิด "US Dollar Carry Trade"  =  เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ
กองทุน / Hedge Fund .. สามารถที่จะกู้เงินดอลที่ดอกเบี้ยต่ำกว่าสกุลเงินประเทศอื่นๆ ที่ประกาศนโยบายดอกเบี้ยเป็น ZIRP
ZIRP = Zero Interest Rate Policy  .. นโยบายดอกเบี้ยใกล้ 0%
โดยที่ ดอกเบี้ยในอเมริกา Fed fund rate อยู่ที่ 0-0.25%
ในขณะที่ดอกเบี้ยในตลาดประเทศอื่นๆ .. สูงกว่า
การนำเงินกู้ที่มีดอกเบี้ยต่ำกว่า .. ไปลงทุนในประเทศที่ให้ดอกเบี้ยสูงกว่า
จึงเป็น .. ความจงใจ ที่จะให้เกิด .. การเก็งกำไรค่าเงิน และในตลาดหุ้น + น้ำมัน
แต่ภาพที่เราเห็น .. คือ  การฟื้นตัวของตลาดทุนและตลาดโภคภัณฑ์ (commodities)

ยิ่งเงินดอล .. ถูกนำออกไปจากระบบ  โดยวิธี "US Dollar Carry Trade"   ค่าเงินดอลก็จะยิ่งอ่อนตัว ..  ลดลงไปเรื่อยๆ
นั่นหมายถึง  .. อเมริกา สามารถที่จะพิมพ์แบงค์ (จากการซื้อพันธบัตรรัฐบาล . มาพิมพ์แบงค์เป็นเงิน้ให้รัฐบาล) ต่อไปได้อีกเรื่อยๆ
เงิน / แบงค์ที่ถูกอัดเข้ามาในระบบ .. (ซึ่งส่วนใหญ่ ยังอยู่ในธนาคารที่รัฐเข้าไปอุ้ม)
ก็จะถูก .. กองทุนกู้ยืมจากธนาคาร ..  แล้วนำออกไปลงทุนเก็งกำไร
อันเป็นการดูดซับ .. เงินส่วนเกินที่ Fed. พิพ์ออกมา "ออกไปจากระบบ"
ทำให้ เงินเฟ้อในอเมริกา .. ไม่ได้สูงขึ้น ตามปริมาณแบงค์ที่ fed. พิมพ์ออกมา จากพันธบัตร (ที่เป็นการแปลง .. หนีเสีย เป็น ทุน)

ผลประโยชน์ที่ .. กองทุน ได้รับ จากการใข้ US Dollar Carry Trade คือ
เงินดอลที่เข้าไปลงทุนในตลาดหุ้นต่างประเทศในตอนแรก .. ที่ยังแข็งค่าอยู่
(สมมุติ .. นำดอล .. ที่ 8x ไปลงทุน) สามารถซื้อหุ้น หรือสินทรัพย์ในต่างประเทศที่มีราคาถูกๆ
โดยที่ .. ดอลอ่อนตัวลงไปเรื่อยๆ และค่าเงินสกุลต่างๆ นอกประเทศอเมริกา จะสูงขึ้น
อย่างในขณะนี้ USDX = 76.xx  .. หมายความว่า
เมื่อกองทุน .. ทยอย(แอบ)ขายหุ้นออกไป (แล้วเอาเงินไปคืนเงินกู้)
จะได้ปริมาณเงินดอล .. เพิ่มมากขึ้น จากการที่ดอลอ่อนค่าและสกุลเงินอื่นแข็งค่า
แค่นี้!  กองทุน .. ก็สามารถที่จะ คืนเงินต้นให้กับแบงค์ที่กู้ยืมเงินออกมา
แล้วยังมีเหลือกำไร .. จากค่าเงินที่อ่อนค่าลงมา (ปริมาณ/จำนวนเงินดอล .. เพิ่มมากขึ้น)

แต่กองทุน .. ก็ยังถือเงินดอล .. ที่อ่อนค่าลงไปเรื่อยๆ ในขณะนี้ = ขาดทุน?

กองทุน .. แค่แอบขายหุ้นเอาเงินดอลกลับมาคืนเงินกู้้  แต่ยังมีหุ้นที่ถืออยู่เป็นจำนวนมาก
หากกองทุน .. มีการเทขายหุ้นทั้งในและนอกประเทศอเมริกาทั้งหมดที่ถือไว้ (พร้อมกันโดยที่มิได้นัดหมาย)
จะทำให้ .. นักลงทุน / ผู้ถือหุ้นทั่วโลก .. ก็จะต้องเพิ่มวงเงินประกัน (Margin Call)
หรือผู้ถือหุ้นทั่วโลก .. ต้องเพิ่ม margin หากราคาหุ้นตกลงมามากๆ เกินอัตราที่กำหนดไว้ในสัญญา
ดังนั้น นักลงทุนหรือผู้ถือหุ้น ก็จะต้องขายทรัพย์สินต่างๆ ถืออยู่ในมือ เช่น ทองคำ .. สัญญาน้ำมัน ฯ
หรือถอนเงินที่ไปลงทุนอยู่ในหุ้นต่างประเทศ

ดังนั้น จะเกิดมีการถอนเงินดอลออกจากระบบ ..  ในทุกๆ ประเทศที่ราคาหุ้นร่วงลง
ทำให้เกิด .. การขาดแคลนเงินดอลขึ้นมาอย่างกระทันหัน .. ทั่วโลก
เพราะมีการถอนเงินออก(แลกเปลี่ยนเป็นเงินดอล) .. ถอนออกไปจากประเทศที่หุ้นตก
เมื่อ supply ของเงินสกุลดอล .. ลดลง   ค่าเงิน ดอล .. ก็จะแข็งค่าขึ้นทันที

เงินดอลที่กองทุน .. ถอน / เทหุ้นออกมา (ในขณะที่ USDX เป็นจุดต่ำสุด)
และเงินดอล .. ที่ยังเหลืออยู่ หลังจากคืนเงินกู้้(ดอกเบี่ยต่ำ) ไปแล้ว
ก็จะมีมูลค่ามากขึ้น ..จากการที USDX กลับมาแข็งค่าขึ้น
ซึ่งผลจากการที่ .. ตลาดทั่วโลกขาดแคลนดอลกระทันหัน
การที่หุ้นแต่ละประเทศถูกถอน/เทขายออกไป .. ทำให้ ค่าเงินสกุลนั้นๆ อ่อนตัวลง
ดังนั้น วิธีที่จะประกันความเสี่ยงของค่าเงินสกุลที่ประเทศเหล่านั้นถืออยู่  ก็คือ การโยกไปถือเงินดอล .. ที่กำลังแข็งค่าขึ้น

แต่จากการที่เงินดดอล .. ขาดหายไปจากตลาด
ดังนั้น จึงต้องเข้าไปกว้านซื้อ "พันธบัตรอเมริกัน" ซึ่งก็เทียบเท่ากับ การถือเงินดอล .. นั่นเอง
จะเห็นได้ว่า .. การที่ Fed."จงใจ" เลื่อนการเข้าซื้อพันธบัตรออกไปอีก 1 เดือน จึงมีจุดประสงค์ ดังที่กล่าวมานี่แหละครับ
(อนึ่ง!  ธนาคารที่ได้รับเงินอัดฉีดช่วยเหลือ ใน TARP .. กำลังต้องคืนเงินช่วยเหลือให้กับกระทรวงการคลัง
ดังนั้น จึงใช้วิธีปล่อยเงินกู้้ดอกเบี้ยต่ำ .. ให้กับกองทุน  เพื่อนำผลกำไรจากดอกเบี้ยเงินกู้ .. ไปคืนเงิน TARP นั่นเอง)

ถ้าสามารถ มองหาหรือเชื่อมโยง "จุดประสงค์" ของ Fed. ได้
ก็จะเข้าใจ .. ความเป็นไปของตลาดทุนทั้งหมด
เพราะอเมริกา  .. สร้างระบบทุนนิยมขึ้นมา
เพื่อที่จะใช้เป็น  .. วิถีทางที่ "ปลาใหญ่ สามารถจะกินปลาเล็ก"
โดยอ้าง "กลไกของตลาด .. ตามหลัก Demand & Supply"

การลงทุนในทองคำ .. มีแต่เพิ่มผลตอบแทนให้กับเงินเก็บออม/เงินลงทุน
เพราะอเมริกา .. ใช้ ทองคำ เป็นเครื่องมือส่วนหนึ่ง ในการบริหารและดำเนินนโยบายทางการเงินและการเมืองระหว่างปรเทศ

จริงๆ แล้ว .. มันก็ง่ายๆ แค่นี้
กองทุน / Hedge Fund .. ต้องการผลกำไรระยะสั้น
Fed. ต้องการจะพิพ์แบงค์ให้ .. รัฐบาลกู้เงิน   และเพื่อที่จะได้ขายพันธบัตร .. lot ต่อๆ ไปอีก
เมื่อผลประโยชน์ลงตัว + ร่วมกัน  .. กลไกของตลาด จึงเกิดเป็น "Cycle" ด้วยประการเช่นนี้

ทั้งหมดนี้ .. คือ  หัวใจของ การฟื้นตัวของ DOW จาก 6469 - 9605
น้ำมัน จาก $35-72
euro จาก 1.2xxx - 1.459








(โปรดสังเกตุด้วยนะครับ .. ขณะนี้! เราน่าจะอยู่ที่คลื่นใด?)



แล้วคอยดูนะครับ
ตอนนี้ USDX = 76.68
http://www.marketwatch.com/investing/index/dxy
แต่ในอีก 1 เดือนข้างหน้า
ดอล .. จะแข็งหรืออ่อนไปกว่านี้

จะเห็นได้ว่า
การลงทุนในทองคำ  .. ไม่ใช่!  เรื่องของการวิเคราะห์ทางเทคนิค / กราฟเทคนิค แต่เพียงอย่างเดียว
แต่มันโยงไปถึง ปัจจัยพื้นฐาน (Basic)  ที่เราต้อง .. คาดการณ์ว่า
นโยบายของ Fed. + กองทุน  .. กำลังทำอะไร และเพื่ออะไร
โดยคิดเสมอว่า  .. ที่อเมริกา สามารถ/ยังคงอำนาจเป็นเจ้าโลก #1 ในขณะนี้
ก็เพราะ นโยบาย .. "US Dollar Hegemony" เท่านั้น
"การที่ทำให้ เงินดอล เป็นใหญ่ .. เพียง 1 เดียวในโลก"
แล้วก็ใช้ "US Dollar" เป็น เครื่องมือ .. บริหารทางการเงินและการเมืองระหว่างประเทศ
เมื่อเราใช้ความพยายาม และสามารถที่จะมองหา .. จุดประสงค์ของ Fed.
ก็จะทราบกลไกของตลาด  .. และการเคลื่อนไหว ของ "Board Market" .. ทั้งกระดาน


* โปรดใช้วิจารณญาณของท่าน ในการรับข้อมูล



* ผมจะลองค้นหาบทความ .. เกี่ยวกับ  "Us Dollar Hegemany" .. มาให้อ่านกันนะครับ
เพราะ .. มันเป็น "ปัจจัยพื้นฐาน" ที่สำคัญมาก (ถึง .. มากที่สุด)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 12, 2009, 11:08:49 PM โดย ffr_manoj243 » บันทึกการเข้า
iloveu
Newbie
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1


« ตอบ #4 เมื่อ: กันยายน 12, 2009, 06:09:56 AM »

รักษาสุขภาพด้วยจ้า คุณมาโนช
มาศึกษาด้วยคน O0
บันทึกการเข้า
soda
Full Member
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 712


« ตอบ #5 เมื่อ: กันยายน 12, 2009, 06:43:12 AM »

ขอบคุณะ แจ่มแจ้ง ยอดเยี่ยมคะ คุณมาโนช
บันทึกการเข้า
IPSUM
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7478



« ตอบ #6 เมื่อ: กันยายน 12, 2009, 04:31:52 PM »

ขอบคุณครับ คุณมาโนช
บันทึกการเข้า

   รัก เธอ ประ เทศ ไทย  รัก เธอ ตลอด ไป...
Seyren
Jr. Member
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 222


« ตอบ #7 เมื่อ: กันยายน 12, 2009, 05:10:13 PM »

ขอบคุณครับ สุดยอดมาก อเมริกาฉลาดแบบสุดๆ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 12, 2009, 05:28:45 PM โดย Seyren » บันทึกการเข้า

อุปสรรคที่เกินทน จะหลอมคนให้ทนทาน~
Yai Carmungwed
Full Member
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 584



« ตอบ #8 เมื่อ: กันยายน 12, 2009, 08:46:14 PM »

    Cheesy ขอบคุณครับ อ.มาโนช  Cheesy
บันทึกการเข้า

Yai Carmungwed  (Sapankwane)  Nakhonpathom
goldbox11
Newbie
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 30


« ตอบ #9 เมื่อ: กันยายน 12, 2009, 09:29:04 PM »

ขอบคุณค่ะ อ.มาโนช   Smiley Smiley
บันทึกการเข้า
youth
Jr. Member
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 254


« ตอบ #10 เมื่อ: กันยายน 13, 2009, 10:27:58 AM »

แล้วการที่จีนจะออกพันธบัตรในอีกไม่นานนี้ จะทำให้ค่าเงินดอล อ่อนลงอีกมั้ยครับ จะส่งผมอย่างไรกับทองละครับ
บันทึกการเข้า

It's all about the quality of your trades, not the quantity.
ffr_manoj243
Moderator
Full Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 895


« ตอบ #11 เมื่อ: กันยายน 13, 2009, 04:51:37 PM »

คุณ youth .. ผมขอเวลารวบรวมข้อมูลก่อนนะครับ
เพราะจะได้อธิบาย "ภาพรวม" ทั้งหมด .. ให้เข้าใจในเวลาเดียวกัน

แต่ที่ผมเห็น . ตอนนี้!  ซึ่งอาจจะไม่มีใครมอง .. เหมือนผม
คือ  จีน "ต้องการลดความร้อนแรงในตลาดหุ้น .. ก่อนที่ฟองสบู่จะแตก" ด้วยครับ
เพราะ .. ดัชนีราคาหุ้นในจีน  กำลังสูงขึ้นเกินปัจจัยพื้นฐานที่แท้จริง
หากไม่ลดความร้อนแรงในตลาดหุ้นลงมา .. ผลเสียหายจะเกิดขึ้นมากมาย
และ จีน ยังได้ประโยชน์ จากการที่นักลงทุน .. หันมาถือ "พันธบัตร .. สกุลเงินหยวน"
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 13, 2009, 07:08:26 PM โดย ffr_manoj243 » บันทึกการเข้า
ffr_manoj243
Moderator
Full Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 895


« ตอบ #12 เมื่อ: กันยายน 13, 2009, 07:15:14 PM »

เพื่อให้เพื่อนๆ .. ได้มอง "ภาพรวมของปัจจัยพื้นฐาน" ได้อย่างแจ่มชัดขึ้น
ผมจึงย้อนกลับไปค้น "บทความ" .. ที่สามารถทำให้เรามองเห็น "ระบบเศรษฐกิจแบบโดนัท"
ที่เคยมี .. อเมริกา เป็นศูนย์กลางทางการค้าของโลก
ซึ่งจะทำให้เรา .. สามารถเข้าใจใน "วิถีทางและความอยู่รอดของอเมริกา" ที่กำลังเป็นอยู่


 ว่าด้วยเสรีนิยมใหม่
ภควดี วีระภาสพงศ์ 

ที่เรามาพูดกันในวันนี้ เพราะเรารู้สึกไม่พอใจสภาพที่เป็นอยู่ และอยากหาสิ่งใหม่มาแทนที่ แต่สิ่งแรกเราต้องชัดเจนก่อนว่าเราสู้กับอะไร ถ้าเรานิยามศัตรูได้ชัด จึงจะรู้ว่าอะไรคือสิ่งที่เราต้องการกันแน่

 คำว่าลัทธิเสรีนิยมใหม่ Neo Liberalism ซึ่งใช้เรียกระบบเศรษฐกิจในปัจจุบัน เป็นคำที่เกิดมาในระยะหลัง บางคนจะเรียกว่า ทุนนิยมโลกาภิวัตน์ มันก็คืออันเดียวกัน

ทำไมลัทธินี้จึงเป็นสิ่งที่คนต่อต้าน

 
ลัทธินี้มักจะบอกว่าตัวของเขาต้องมี ระบบตลาด เพราะในระบบตลาดนั้นจะสร้างความมั่งคั่งให้กับเศรษฐกิจ สังคม ได้สูงสุด และยังยืนยันด้วยว่า ไม่มีสังคมอื่นที่จะดีกว่านี้อีกแล้ว ยุคนี้เป็นยุคสิ้นสุดของประวัติศาสตร์แล้ว

เสรีนิยมใหม่ พูดราวกับว่าเป็นเจ้าของตลาด แต่ความเป็นจริงก็คือ ตลาดนั้นมีมาในสังคมมนุษย์ทุกยุคทุกสมัย ตลาดไม่ใช่เป็นสิ่งที่เพิ่งเกิดขึ้น ตลาดมันอยู่ได้โดยไม่ต้องมีลัทธิเสรีนิยม แต่ลัทธิเสรีนิยมนั้นอยู่ไม่ได้ถ้าไม่มีตลาด

แล้วตลาดในสมัยก่อน กับตลาดของเสรีนิยมใหม่แตกต่างกันอย่างไร  ก่อนที่ทุนนิยมจะเกิดขึ้น ระบบเศรษฐกิจมีหลายรูปแบบ อาจจะเป็นแบบอียิปต์ มีแรงงานทาสผลิตขึ้นมารวบรวมเข้าศูนย์กลางแล้วให้ผู้นำกระจายความมั่งคั่งออกไป ระบบพึ่งพาตัวเอง ระบบแลกเปลี่ยนสินค้า แต่ระบบเศรษฐกิจสมัยก่อนไม่ว่ารูปแบบไหน ประเด็นสำคัญที่สุดคือ การผลิตทั้งหมดต้องฝังอยู่ในสถาบันทางสังคม หรือเรียกว่า ระบบเศรษฐกิจนั้นจะต้องถูกกำกับดูแลด้วยระบบสังคม ไม่ว่าจะเป็นระบบศาสนา การปกครอง วัฒนธรรม

ระบบทุนนิยมเป็นระบบเศรษฐกิจอันแรกของโลก ที่แยกเอาระบบเศรษฐกิจออกมาจากการกำกับดูแลของระบบสังคม หมายความว่า ปล่อยให้ระบบตลาดจัดการเศรษฐกิจทั้งหมด โดยที่สถาบันทางสังคมไม่สามารถกำกับดูแลได้

แต่ก่อนที่จะมีทุนนิยมเสรีนิยมใหม่ มันจะเป็นทุนนิยมแบบฟอร์ด เฮนรี่ ฟอร์ด เจ้าของรถยี่ห้อฟอร์ดนี่แหละ เขาเป็นคนคิดระบบสายพานการผลิตขึ้นมา ซึ่งจะแยกคนงานออกเป็นส่วนๆ ไม่มีการร่วมมือระหว่างคนงานอีกต่อไป ทำให้พวกเขาแต่ละคนเป็นปัจเจกบุคคล แต่อย่างน้อยก็มีลักษณะที่ว่า ต้องให้ค่าแรงคนงานเท่ากับที่คนงานจะกลับมาซื้อรถฟอร์ดได้ มีสวัสดิการที่ดีพอสมควร

 
จนเปลี่ยนผ่านมาเป็นโลกาภิวัตน์ที่มีการปฏิวัติทางเทคโนโลยี การขนส่ง ฯลฯ สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ เมื่อก่อนทุนนิยมแยกระบบเศรษฐกิจออกจากระบบสังคม ตอนนี้ลัทธิเสรีนิยมใหม่มันกลับดูดกลืนเอาระบบสังคมเข้าไปไว้ในระบบเศรษฐกิจ สถาบันทางสังคมจะเป็นยังไงขึ้นอยู่กับเศรษฐกิจเป็นตัวกำหนด

 
การดูดกลืนระบบสังคมไปอยู่ในระบบเศรษฐกิจของลัทธิเสรีนิยมใหม่ มี 4 ลักษณะด้วยกัน

1.ตลาดทำให้หลายสิ่งหลายอย่างที่ไม่ควรเป็นสินค้าให้กลายเป็นสินค้า คือ แรงงาน ที่ดิน เงิน
ระบบเศรษฐกิจคือการผลิตสินค้ามาขายให้มีการบริโภค ให้คนมีงานทำ แต่ตอนนี้ภาคการเงินใหญ่โตกว่าภาคการผลิตจริงมาก มีการไปลงทุนในตลาดหุ้น การเก็งกำไรค่าเงิน และพอมันทำให้ภาคการผลิตจริงสำคัญน้อยกว่าภาคการเงิน เราจะสังเกตเห็นว่า สมัยก่อนอเมริกาทำสงครามกับเวียดนาม แต่คนอเมริกันประท้วงก็ต้องเลิก แต่เดี๋ยวนี้ประท้วงเป็นล้านคนทั่วโลก ก็ไม่สะดุ้งสะเทือน ปริมาณของคนเริ่มไม่เป็นผล เพราะทุนไม่ใส่ใจกับแรงงานเท่ากับเมื่อก่อน

2. ลัทธิเสรีนิยมใหม่ยังทำให้กิจกรรมมนุษย์ในส่วนที่ไม่ควรเป็นสินค้า กลายเป็นสินค้า เช่น การศึกษา สาธารณสุข สวัสดิการ วิทยาศาสตร์ สุขภาพอนามัย วัฒนธรรม เพศสัมพันธ์ กระทั่งรหัสพันธุกรรม

3. ลัทธิเสรีนิยมทำให้ กาละ และ เทศะ เป็นสินค้า เวลากลายเป็นสินค้า เช่น การเก็งกำไรค่าเงิน การซื้อขายสินค้าล่วงหน้า การประกันราคา การบริหารความเสี่ยง พันธบัตร ตราสารหนี้ ส่วนเทศะที่กลายเป็นสินค้า คือ การเคลื่อนย้ายไปยังที่ต่างๆ เช่น การเคลื่อนย้ายฐานการผลิตไปยังที่ที่ค่าแรงต่ำกว่า

4. ลัทธิเสรีใหม่เข้ามาครองความเป็นใหญ่ในการกำหนดนโยบายของสังคม รัฐจะต้องปรับโครงสร้างของสถาบันทางสังคมให้สอดคล้องกับเสรีนิยมใหม่ หมายความว่า วิธีคิดเกี่ยวกับตลาดเข้ามาครอบงำเหตุผลและจุดยืนทางจริยศาสตร์ ไม่ว่าเรื่องอะไรก็ตามเราต้องมองเศรษฐกิจก่อนเป็นอันดับแรก มันเหมือนเป็นตัวตัดสินขั้นสูงสุดว่าอะไรดีอะไรไม่ดี

สิ่งต่อมาที่อยากให้ดูก็คือ แม้ตัวเองไม่ใช่นักเศรษฐศาสตร์ อยากให้รู้ว่าระบบเศรษฐกิจโลกขณะนี้มันเป็นยังไง ไม่ใช่พูดแต่ทุนนิยม ทุนนิยม

 

ระบบเศรษฐกิจโดนัท

ระบบเศรษฐกิจโลกตอนนี้เป็นระบบที่เรียกว่า Empire หรือจักรวรรดิ เพราะเศรษฐกิจปัจจุบันเป็นเหมือนโดนัท
โดยที่วงกลมตรงกลางคือสหรัฐอเโดยรอบคือประเทศทั้งหมดที่ผลิตแล้วส่งมริกา และเนื้อโดนัทไปขายที่สหรัฐ
 

แล้วสหรัฐไปอยู่ตรงกลางได้ยังไง และดำรงความเป็นโดนัทไว้ได้อย่างไร? สหรัฐดำรงสถานะอยู่ด้วย 2 อย่าง 
1.เงินดอลลาร์
2.กำลังทหาร

 

ตั้งแต่ยกเลิกมาตรฐานทองคำไปแล้ว ปัจจุบันค่าเงินในโลกนี้ทั้งหมดมันผูกอยู่กับค่าเงินดอลลาร์ ทำไมผูกกับสกุลนี้ เพราะค่าเงินดอลลาร์เป็นตัวใช้ซื้อขายราคาน้ำมัน สหรัฐเป็นประเทศเดียวในโลกเท่าไรก็ได้โดยที่ไม่ต้องอ้างอิงกับอะไรเลย ภาษาอังกฤษเรียก Fiat Money ถ้ามีเวลาอยากให้ลองอ่านเรื่องพวกนี้ดูบ้าง

คนจึงเรียกน้ำมันที่ซื้อขายด้วยดอลลาร์ว่า Petro Dollar แล้วที่ทุกคนต้องขายน้ำมันเป็นสกุลดอลลาร์ก็เพราะอำนาจทหาร อย่างการที่สหรัฐไปบุกอิรักคราวที่แล้ว ส่วนหนึ่งเพราะอิรักพยายามขายน้ำมันเป็นยูโร จะเป็นไปใช้ระบบ Petro Euro ตอนนี้ประเทศที่พยายามจะขายน้ำมันในระบบ Petro Euro อีกก็คืออิหร่าน คาดว่าภายในเดือนนี้ สหรัฐจึงเตรียมการจะบุกอิหร่านอีก

เนื่องจากทุกประเทศต้องการเงินดอลลาร์ไปซื้อน้ำมัน ทุกประเทศจึงต้องผลิตเพื่อส่งออกเป็นตัวนำในการพัฒนาเศรษฐกิจ เพราะน้ำมันเป็นตัวที่ทำให้ระบบเศรษฐกิจอยู่ได้ ฉะนั้น หากว่าวันใดระบบเศรษฐกิจสหรัฐซึ่งเป็นฟองสบู่แตกขึ้นมา ก็เป็นไปได้ว่าระบบเศรษฐกิจในโลกนี้จะล้ม

ฉะนั้น ก็เลยมีข้อเสนอกับการต่อสู้กับระบบเศรษฐกิจแบบนี้ อย่างหนึ่งก็คือ ยุทธศาสตร์ที่จะหันมาเน้นการกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ แต่เราจะกระตุ้นการบริโภคในประเทศได้ ก็ต้องกระจายรายได้ใหม่ให้มีความเหลื่อมล้ำกันน้อยกว่านี้ ทำให้เศรษฐกิจไม่ต้องผูกกับการส่งออก อีกแง่หนึ่งคือต้องเร่งหาทางเลือกในด้านพลังงาน ซึ่งก็พยายามทำกันอยู่

ตอนนี้ประเทศจีนกำลังพยายามหันมาเน้นการบริโภคภายในประเทศ ล่าสุดจีนบอกว่าจะพัฒนาชนบท จริงๆ ในระยะหลังจีนมีการประท้วงของประชาชนเยอะมาก และเศรษฐกิจจีนผูกกับเศรษฐกิจสหรัฐมากที่สุด ถ้าสหรัฐล้มจีนก็ล้ม ถ้าจีนล้มสหรัฐก็ล้ม จีนจึงพยายามปรับเพื่อที่จะถอยออกจากการผูกกับสหรัฐ

 
การหายุทธศาสตร์ใหม่เพื่อให้หลุดการการเป็นโดนัทเริ่มเกิดขึ้น และขบวนการทางสังคมต่างๆ ก็เริ่มเข้ามามีส่วนร่วมในความพยายามเปลี่ยนแปลง


http://www.prachathai.com/05web/th/home/page2_print.php?mod=mod_ptcms&ContentID=3071&SystemModuleKey=HilightNews&System_Session_Language=Thai

บันทึกการเข้า
ffr_manoj243
Moderator
Full Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 895


« ตอบ #13 เมื่อ: กันยายน 13, 2009, 07:30:06 PM »

"เก็บมาเล่า .. เอามาเขียน"



"US Dollar Hegemony"


อ่าน "บทวิเคราะห์" .. บทนี้แล้ว
น่าเชื่อว่า .. " อเมริกา สร้างวิกฤต .. ให้เป็นโอกาส ของตัวเอง "
เพราะตั้งแต่ .. Bush เข้ามา .. "คุมบังเหียนโลก" ตั้งแต่สมัยแรก
ราคาทองคำ + น้ำมัน .. ขยับขึ้นอย่างมาก .. และ US$ ดำดิ่งลงมา

นายทุนของ Republican .. คือ พ่อค้าอาวุธ + พ่อค้าน้ำมัน + นายธนาคาร
เพราะ .. ค่าเงิน US$  ที่ตกต่ำ .. มาตลอดหลายปี (ในสมัยของ Bush)
กลับทำให้ .. "US$" กลายเป็นที่ต้องการ .. ในวิกฤตทางการเงินของโลก .. ในเวลาที่ผ่านมา

จึงไม่ต้องสงสัย .. ทำไม?  Bush  / อเมริกา  .. จึงหลอกคนทั้งโลกได้
ด้วยระบบเศรษฐกิจ .. แบบ "Donut"  

และเมื่อ .. "คุณอ่านจบ" .. ก็คงจะพบว่า
ทำไม? ทั้ง ASEM .. จึงต้องการ "มาตรฐานระบบการเงินแบบใหม่"
หรือ .. "เพื่อไม่ให้วิกฤตเช่นนี้  / dollar hegemony .. เกิดขึ้นอีก"
 

นโยบายค่าเงินดอลลาร์: ปากแข็ง มืออ่อน
ภัควดี วีระภาสพงษ์


ในการประชุมเอเปกที่ชิลีเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ประธานาธิบดีบุชยืนยันเป็นมั่นเหมาะว่า รัฐบาลของตนยังคงยืนหยัดในนโยบายค่าเงินดอลลาร์แข็ง ทั้ง ๆ ที่ตลอดสมัยแรกที่เขาเป็นประธานาธิบดี ค่าเงินดอลลาร์อ่อนตัวลงอย่างต่อเนื่อง ทำสถิติต่ำสุดในอัตราแลกเปลี่ยนกับเงินเยนและเงินยูโรหลายครั้ง จนส่งผลให้เงินยูโรกลายเป็นสกุลเงินหลักที่แข็งค่ามากที่สุดในขณะนี้

ไม่ว่าจะปากแข็งเพียงใด แต่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ล้วนชี้ให้เห็นว่า รัฐบาลสหรัฐฯ ของประธานาธิบดีบุชจงใจปล่อยให้ค่าเงินดอลลาร์อ่อนตัวลงเพื่อแก้ปัญหาการขาดดุลแฝดในทางเศรษฐกิจ กล่าวคือ การขาดดุลงบประมาณและการขาดดุลการค้าอย่างมโหฬารของสหรัฐฯ ประธานาธิบดีบุชยอมรับว่า เขาต้องจัดการกับปัญหางบประมาณขาดดุลของสหรัฐฯ ที่ทำสถิติสูงถึง 413 พันล้านเหรียญ ในปีงบประมาณปีที่แล้วที่สิ้นสุดลงเมื่อสิ้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา

วิธีการแก้ปัญหาแบบนี้เป็นผลสะท้อนมาจากความเชื่อของบรรดานักเศรษฐศาสตร์ที่นั่งอยู่ในคณะกรรมการของธนาคารกลางแห่งสหรัฐอเมริกา นักเศรษฐศาสตร์เหล่านี้มองว่า การขาดดุลในปัจจุบันเป็นสัญญาณที่ส่อเค้าถึงวิกฤตการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต การปล่อยให้ค่าเงินดอลลาร์อ่อนตัวลงจะช่วยแก้ไขความไม่สมดุลทางการเงินของประเทศ ก่อนที่วิกฤตการณ์จะเกิดขึ้นจริง ๆ

ในทางทฤษฎี การปล่อยให้ค่าเงินดอลลาร์อ่อนตัวลงจะทำให้สหรัฐฯ ส่งออกได้มากขึ้น มีการนำเข้าสินค้าน้อยลง ช่วยลดการขาดดุลการค้า เมื่อผนวกกับการตัดงบประมาณรายจ่ายด้านสังคม ผลักภาระภาษีไปที่ผู้บริโภคเพื่อทดแทนการตัดลดภาษีรายได้ของคนรวย จะช่วยให้การขาดดุลงบประมาณของสหรัฐฯ ดีขึ้น

สงครามอิรักที่ยืดเยื้อและความเชื่อมั่นภายในประเทศที่ยังไม่มีวี่แววว่าจะดีขึ้น ทำให้รัฐบาลบุชยอมทำทุกวิถีทางเพื่อให้เศรษฐกิจแสดงสัญญาณของการฟื้นตัว การปล่อยให้ค่าเงินดอลลาร์อ่อนตัวส่งผลให้สินค้าของสหรัฐฯ สามารถแข่งขันในต่างประเทศได้มากขึ้น เท่ากับช่วยปลุกตลาดแรงงานอเมริกันที่กำลังซบเซาขึ้นมาบ้าง พร้อม ๆ กับกระตุ้นการขายสินค้าของบรรษัทอเมริกันในต่างประเทศ

แต่การปล่อยให้ค่าเงินอ่อนตัวอาจส่งผลระยะยาว กลายเป็นปัจจัยลบที่ทำให้นักลงทุนต่างชาติหนีไปจากตลาดสหรัฐฯ กระนั้นก็ตาม ผลดีระยะสั้นในการกระตุ้นความเติบโตทางเศรษฐกิจ สร้างแรงเย้ายวนใจแก่รัฐบาลบุชมากกว่าที่จะคำนึงถึงผลกระทบในอนาคต

แน่นอน ไม่มีทางที่ประธานาธิบดีบุชหรือรัฐมนตรีคลัง นายจอห์น สโนว์ จะออกมาประกาศว่า สหรัฐฯ มีนโยบายสนับสนุนค่าเงินดอลลาร์อ่อน เพราะนั่นเท่ากับบอกให้โลกเทขายพันธบัตรสหรัฐฯ และหันไปถือเงินตราสกุลอื่นแทน รัฐบาลบุชจึงไม่มีทางเลือกใด นอกจากใช้วิธีการปากอย่างทำอย่างในเรื่องการเงิน

แต่นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่มักสอบตกวิชาประวัติศาสตร์ การใช้นโยบายค่าเงินอ่อนเพื่อกระตุ้นการส่งออกและลดการนำเข้า มักจะได้ผลดีแค่ในช่วงแรก ๆ แต่ลงท้ายแล้ว ค่าเงินอ่อนมักตามมาด้วยปัญหาเงินเฟ้อ ถ้าดูจากตัวอย่างในประวัติศาสตร์ การปล่อยให้ค่าเงินอ่อนลงอย่างต่อเนื่องไม่เคยสร้างความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจให้ประเทศไหนในโลก หากค่าเงินดอลลาร์ยังอ่อนตัวไปเรื่อย ๆ มันจะทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่แท้จริงลดต่ำลง และมาตรฐานการครองชีพของผู้มีรายได้ส่วนใหญ่ตกต่ำลงด้วย


การครองความเป็นใหญ่ของเงินดอลลาร์: อำนาจบนความว่างเปล่า



สถาปัตยกรรมทางการเงินระหว่างประเทศในปัจจุบันตั้งอยู่บนฐานของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ในฐานะเงินสกุลหลักที่รัฐบาลประเทศต่าง ๆ ต้องเก็บสำรองเพื่อชำระหนี้ต่างประเทศ หรือที่เราเรียกกันว่า ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศ เงินดอลลาร์เป็นเงินสกุลหลักในทุนสำรองเงินตราต่างประเทศมากกว่าครึ่งหนึ่งของทุนสำรองทั้งหมดในโลก และเป็นเช่นนี้ไม่ว่าเศรษฐกิจของสหรัฐฯ จะเติบโตหรือชะงักงันก็ตาม ความต้องการเงินดอลลาร์ในระบบเศรษฐกิจโลกเป็นสิ่งที่สืบเนื่องมาจากปัจจัยอื่น ๆ ที่อยู่นอกเหนือกลไกตลาด หาใช่เป็นเพราะความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ แต่อย่างใด

นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1971 (พ.ศ. 2514) เมื่อประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน ดึงเงินดอลลาร์ออกจากมาตรฐานทองคำ โดยอาศัยข้อตกลงจากการประชุมเบรตตันวู้ดส์ในช่วงสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง เงินดอลลาร์จึงกลายเป็นเครื่องมือทางการเงินระดับโลกที่สหรัฐอเมริกาสามารถผลิตโดยไม่ต้องอิงกับมาตรฐานใด ๆ ทั้งสิ้น (fiat money) และสามารถผลิตเงินกระดาษนี้ออกมาเท่าไรก็ได้เพียงผู้เดียว เงินดอลลาร์เป็นเงินสกุลแข็งในการค้าระหว่างประเทศตลอดมาจนถึงปัจจุบัน ทั้ง ๆ ที่สหรัฐอเมริกาประสบปัญหาขาดดุลบัญชีเดินสะพัดและอยู่ในสถานะลูกหนี้รายใหญ่ของโลกมาโดยตลอด ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2002 (พ.ศ. 2545) สหรัฐอเมริกาเป็นหนี้ถึง 6.021 ล้านล้านเหรียญ เมื่อเปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ที่มีมูลค่า 9 ล้านล้านเหรียญ

การค้าในโลกจึงเป็นเกมที่มีกติกาดังนี้คือ สหรัฐฯ ผลิตเงินดอลลาร์ออกมา แล้วประเทศอื่น ๆ ในโลกก็ผลิตสินค้าต่าง ๆ ที่ดอลลาร์ซื้อได้ ระบบเศรษฐกิจโลกที่เชื่อมโยงกันจึงไม่ได้ทำมาค้าขายบนพื้นฐานของ ความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ (comparative advantage) ดังที่นักเศรษฐศาสตร์มักชอบอ้างกัน ทฤษฎีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบนี้มาจากแนวคิดของเดวิด ริคาร์โด เขาเสนอว่า แต่ละประเทศควรเลือกผลิตและส่งออกสินค้าที่ตนสามารถผลิตได้ด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่าประเทศอื่น และสั่งซื้อสินค้าประเภทที่ตนเองผลิตด้วยต้นทุนสูงกว่าประเทศอื่น การปฏิบัติเช่นนี้จะทำให้ทุกคนมีสินค้าต้นทุนต่ำไว้บริโภคเสมอหน้ากัน

แต่ระบบเศรษฐกิจโลกในปัจจุบันบิดเบี้ยวไปด้วยอำนาจของเงินดอลลาร์ ประเทศส่วนใหญ่ต่างตั้งหน้าตั้งตาแข่งกันส่งออกเพื่อฉกฉวยเงินดอลลาร์มาไว้เป็นทุนสำรองให้มากที่สุดเพื่อจ่ายหนี้ต่างประเทศและสร้างเสถียรภาพให้อัตราแลกเปลี่ยนของเงินสกุลประเทศตน เพื่อป้องกันการโจมตีค่าเงินและการเก็งกำไรในอัตราแลกเปลี่ยน ธนาคารกลางของประเทศต่าง ๆ ในโลกต้องสะสมทุนสำรองเป็นเงินดอลลาร์ให้ได้สัดส่วนกับการไหลเวียนของเงินตราท้องถิ่น เมื่อไรที่ตลาดสร้างแรงกดดันให้เกิดการลดค่าเงินสกุลใดสกุลหนึ่ง ธนาคารกลางของประเทศนั้นก็ยิ่งต้องถือเงินดอลลาร์ไว้ในทุนสำรองให้มากขึ้น หลักปฏิบัติเช่นนี้เองที่ทำให้ดอลลาร์เป็นเงินสกุลแข็งไปโดยปริยาย และยิ่งแข็งค่าเท่าไร ธนาคารกลางของประเทศต่าง ๆ ในโลกก็ยิ่งต้องสำรองดอลลาร์ไว้ ซึ่งยิ่งทำให้มันแข็งค่าขึ้นอีกเป็นวัฏจักรไม่สิ้นสุด ปรากฏการณ์นี้เรียกขานกันว่า การครองความเป็นใหญ่ของเงินดอลลาร์ (dollar hegemony)

การมีทุนสำรองเป็นเงินดอลลาร์หมายถึงการต้องลงทุนในสินทรัพย์ของสหรัฐฯ เช่น การซื้อพันธบัตร ฯลฯ การไหลเข้าของเงินทุนจากต่างประเทศทำให้ระบบเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีมูลค่าส่วนเกินของบัญชีทุนเกิดขึ้น มูลค่าในตลาดหุ้นของสหรัฐฯ จึงมีมหาศาล มูลค่าส่วนเกินในบัญชีทุนระหว่างประเทศของสหรัฐฯ นี้เองที่ช่วยประคองการขาดดุลการค้าของสหรัฐฯ เอาไว้ ยิ่งกว่านั้น สินทรัพย์ใด ๆ ก็ตาม ไม่ว่าอยู่ส่วนไหนของโลก หากกำหนดมูลค่าด้วยเงินดอลลาร์ ก็เท่ากับเป็นสินทรัพย์ในครอบครองของสหรัฐฯ ไปโดยปริยาย ในเมื่อน้ำมันถูกกำหนดอัตราซื้อขายเป็นเงินดอลลาร์และดอลลาร์เป็นเงินกระดาษที่สหรัฐฯ จะพิมพ์ออกมาเท่าไรก็ได้ ย่อมเท่ากับสหรัฐฯ เป็นเจ้าของน้ำมันทั้งโลกและใช้ฟรีมาตลอด ยิ่งสหรัฐฯ พิมพ์ธนบัตรดอลลาร์ออกมามากเท่าไร ราคาของสินทรัพย์สหรัฐฯ ก็จะสูงตามไปด้วย นโยบายค่าเงินดอลลาร์แข็งจึงทำให้สหรัฐฯ ชนะสองต่อตลอดมา

บรรษัทสัญชาติอเมริกันทั้งหลายได้รับผลประโยชน์เต็ม ๆ จากค่าเงินที่แข็ง พวกเขาสามารถดึงดูดนักลงทุนจากต่างประเทศได้ เพราะแม้จะมีผลตอบแทนต่ำ แต่เมื่อแปลงค่าเงินกลับไปเป็นเงินตราท้องถิ่นของนักลงทุน ผลลัพธ์ที่ได้ก็ยังคุ้มค่า เงินทุนต่างประเทศที่ไหลเข้ามาในสหรัฐอเมริกานี่เองที่เป็นฐานทางการเงินให้บรรษัทสหรัฐฯ ใช้ไปกับความคลั่งไคล้ในกระแสควบรวมกิจการ จนทำให้บริษัทธุรกิจหลายแห่งกลายเป็นเครือบรรษัทยักษ์ใหญ่ที่ไม่ใครแข่งขันได้ในโลก

ความต้องการเงินดอลลาร์ของประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะโลกที่สาม ทำให้เกิดการแข่งขันไปสู่จุดต่ำสุด (race to the bottom) นั่นคือ ทำทุกวิถีทางที่จะกดต้นทุนการผลิตในประเทศให้ต่ำเข้าไว้ เพื่อให้ราคาสินค้าที่ส่งออกไปสหรัฐฯ มีราคาถูกกว่าประเทศคู่แข่งอื่น ๆ แน่นอน เป้าหมายที่ถูกขูดรีดมากที่สุดย่อมเป็นแรงงาน การกดค่าแรง สภาพการทำงานที่เลวร้าย โรงงานนรก คืออาการที่มีรากเหง้ามาจากความกระหายเงินดอลลาร์ ในขณะเดียวกัน สหรัฐอเมริกาอาศัยข้อได้เปรียบของตน หันไปทุ่มเทกับการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี เช่น ธุรกิจโทรคมนาคมระบบดิจิตัล ซึ่งกระตุ้นให้เกิดกระแสคลั่งธุรกิจดอทคอมอยู่พักใหญ่ นอกจากนี้ สหรัฐอเมริกายังปรับโครงสร้างทางการเงินที่เอื้อให้เกิดกองทุนเก็งกำไรอย่างเฮดจ์ฟันด์ ผ่อนคลายมาตรการควบคุมทางการเงินและการบัญชีหลายประการ ความมั่งคั่งของสหรัฐฯ สร้างขึ้นมาได้อย่างรวดเร็วพอ ๆ กับการพิมพ์ธนบัตร ในขณะที่โลกแข่งกันส่งสินค้าที่ตัวเองไม่มีปัญญาบริโภคเข้าสู่ตลาดอเมริกัน

ภาคเศรษฐกิจใหม่ที่เรียกว่า ภาคบริการด้านการเงิน ถือกำเนิดขึ้นมา การครองความเป็นใหญ่ของเงินดอลลาร์ทำให้สหรัฐฯ สามารถดูดซับเงินทุนจากโลก เปรียบเสมือนเงินภาษีที่สหรัฐฯ เก็บจากประเทศต่าง ๆ ที่ใช้ดอลลาร์เป็นทุนสำรองเงินตราต่างประเทศ ชีวิตของแรงงานในโลกจึงแขวนอยู่กับความอยากของผู้บริโภคอเมริกัน ลัทธิเสรีนิยมใหม่วางรากฐานอยู่บนการที่คนจนในโลกเป็นผู้สนับสนุนทางการเงินแก่ชีวิตหรูหราของคนรวย มันก้าวพ้นแนวคิดของลัทธิมาร์กซ์ในเรื่องการต่อสู้ทางชนชั้นและมูลค่าส่วนเกินไปอีกขั้นหนึ่ง ในโลกโลกาภิวัตน์เสรีนิยมใหม่ ไม่ใช่แค่แรงงาน แม้กระทั่งทุนก็ยังดูดซับมาจากชนชั้นที่ถูกขูดรีด

ภาคเศรษฐกิจการเงินแบบใหม่ที่เกิดจากการไหลเข้าของเงินทุนต่างประเทศ อาจช่วยสร้างความเข้มแข็งให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ในช่วงแรก ๆ ก็จริง แต่ในเมื่อภาคเศรษฐกิจที่แท้จริงในสหรัฐฯ ไม่ได้เติบโตตามในสัดส่วนที่สมดุลกับการไหลเข้าของเงินทุน ทั้งนี้เพราะมีการผลิตจริงในสหรัฐฯ น้อยมากและน้อยลงเรื่อย ๆ เงินทุนส่วนเกินจึงถูกผันสู่การยักย้ายถ่ายเทและฉ้อโกงกันอย่างมโหฬาร ลงเอยด้วยเหตุการณ์อื้อฉาวทางด้านการเงินติดต่อกันหลายครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการล้มละลายของบรรษัทยักษ์ใหญ่อย่าง เอนรอน, เวิลด์คอม ฯลฯ รวมทั้งการล้มละลายของบริษัทอีกหลายพันแห่งที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักน้อยกว่า

หายนะในภาคธุรกิจบริการด้านการเงินส่วนหนึ่งเกิดมาจากเทคโนโลยีเครือข่ายที่สามารถสร้างกำไรมหาศาลและขาดทุนทีละหลายพันล้านดอลลาร์ได้ในพริบตา การฉ้อโกงเงินลงทุนและสินเชื่อทำไปภายใต้การรู้เห็นเป็นใจของธนาคารต่าง ๆ ซึ่งเท่ากับปล้นเงินบำนาญและเงินเก็บที่สะสมมาตลอดชีวิตของผู้ใช้แรงงานและผู้สูงอายุ แรงงานในสหรัฐอเมริกาเองก็ประสบปัญหาไม่น้อยกว่าที่อื่นในโลก ตำแหน่งงานที่หายไปพร้อมกับฐานการผลิตที่ย้ายไปต่างประเทศ ทำให้แรงงานอเมริกันต้องตกงานหรือต้องยอมรับค่าแรงที่ต่ำลง

ยุทธศาสตร์ใหม่ในการครองความเป็นใหญ่ของจักรภพสหรัฐอเมริกา จึงขึ้นอยู่กับการปกป้องแหล่งทรัพยากรนอกประเทศ สหรัฐฯ ลงมือทำสงครามเพื่อคุ้มครองแหล่งน้ำมันดิบในตะวันออกกลางไปแล้ว จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกที่รัฐบาลอเมริกันจะรุกคืบทำสงครามเพื่อปกป้องตลาด เสรี ของตนในโลก ในยุทธศาสตร์นี้ ปัจจัยสองประการที่สหรัฐฯ ต้องธำรงไว้ก็คือ กองทัพทรงพลานุภาพที่มีศักยภาพในการส่งกำลังรบไปทั่วโลกได้ในพริบตา กับเงินดอลลาร์ที่สามารถซื้อหาทุกอย่างที่โลกผลิตออกมาเพื่อส่งออกไปขายในสหรัฐฯ จักรภพอังกฤษในอดีตเกิดขึ้นมาจากความต้องการนำเข้าอาหาร สืบเนื่องมาจากเกษตรกรรมในประเทศที่กำลังถูกอุตสาหกรรมเบียดตกขอบ ในทำนองเดียวกัน จักรภพสหรัฐฯ ถูกขับเคลื่อนด้วยความต้องการนำเข้าสินค้าทุกชนิด สืบเนื่องจากการผลิตในประเทศที่กำลังถูกภาคธุรกิจบริการด้านการเงินเบียดตกขอบเช่นกัน

มีอุปสรรคสองประการในยุทธศาสตร์ครั้งใหม่ 1) ระหว่างการสร้างจักรภพ คนงานสหรัฐฯ จำเป็นต้องได้รับการฝึกอบรมเสียใหม่เพื่อให้เหมาะกับธุรกิจภาคบริการ แน่นอน ย่อมมีคนงานจำนวนมาก ทั้งผู้ใช้แรงงานและพนักงานต่าง ๆ ที่ต้องกลายเป็นส่วนเกินของระบบ นี่ย่อมก่อให้เกิดปัญหาในระบอบประชาธิปไตย และ 2) ประเทศอื่น ๆ ในโลกก็ใช่ว่าจะโง่เง่าจนยอมให้สหรัฐฯ เป็นฝ่ายกระทำเพียงฝ่ายเดียว ด้วยเหตุนี้เอง เสรีภาพและประชาธิปไตยในประเทศจึงต้องถูกปรับเปลี่ยนเสียใหม่ในนามของความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ ส่วนการต่อต้านขัดขืนในต่างประเทศต้องถูกบดขยี้ลงในนามของเสรีภาพและประชาธิปไตย สงครามต่อต้านการก่อการร้าย จึงเป็นนโยบายที่สั่งตัดพิเศษเพื่อยุทธศาสตร์ใหม่นี้โดยเฉพาะ



นโยบายดอลลาร์อ่อน: การแก้ปัญหาที่ไม่มีทางออก&และคงไม่ต้องการทางออก

เหตุใดรัฐบาลบุชตั้งแต่สมัยที่แล้วจึงยอมทิ้งนโยบายค่าเงินดอลลาร์แข็ง แล้วหันไปใช้นโยบายดอลลาร์อ่อนในทางปฏิบัติ? ปัจจัยประการหนึ่งที่ทำให้บุชและที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจตัดสินใจเช่นนั้น ก็ด้วยความหวังว่ามันจะเป็นหนทางแก้ไขการขาดดุลแฝดของระบบการเงินอเมริกัน ตั้งแต่ปีที่แล้ว สหรัฐฯ ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดไปเกือบ 600 พันล้านดอลลาร์ และขาดดุลงบประมาณอยู่ราว 450 พันล้านดอลลาร์ สหรัฐอเมริกาต้องการดึงดูดเงินทุนจากต่างประเทศราว 5 พันล้านดอลลาร์ทุกวันทำงาน ซึ่งคิดเป็น 5% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ รัฐบาลบุชหวังว่าการใช้นโยบายค่าเงินอ่อนจะช่วยให้การดึงดูดเงินทุนต่างประเทศสะดวกขึ้น รวมทั้งลดการขาดดุลการค้าไปพร้อม ๆ กัน

จนถึงบัดนี้ แม้ว่าดอลลาร์จะอ่อนตัวลงอย่างต่อเนื่อง นักลงทุนต่างชาติก็ยังเลือกที่จะถือเงินดอลลาร์ไว้ แต่ตลาดการเงินโลกที่ไร้การกำกับดูแลอาจพลิกผันได้ในชั่วข้ามคืน เมื่อไรก็ตามที่ค่าเงินดอลลาร์ตกลงต่อเนื่องอย่างรวดเร็วขึ้นมา จนถึงขนาดที่สั่นคลอนตลาดหลักทรัพย์และดันอัตราดอกเบี้ยให้พุ่งสูงขึ้น รัฐบาลบุชอาจกลับลำหันมาปลุกนโยบายค่าเงินดอลลาร์แข็งทันที โดยยอมเสี่ยงต่อความไม่พอใจของตลาดแรงงานในประเทศ และปล่อยให้ปัญหาการขาดดุลแฝดเรื้อรังต่อไป

นโยบายค่าเงินอ่อนจึงน่าจะเป็นแค่การบรรเทาปัญหาชั่วคราวเมื่อต้องเผชิญหน้ากับการคุกคามของภาวะเงินฝืดและความอ่อนแอของเศรษฐกิจในประเทศ ไม่มีทางที่บรรษัทขนาดใหญ่ของสหรัฐฯ จะหันเหการลงทุนและการผลิตกลับมาที่ประเทศบ้านเกิด บรรษัทข้ามชาติส่วนใหญ่ อาทิเช่น เจเนรัล อิเล็กตริก, ซิตี้กรุ๊ป ฯลฯ ต่างก็ซื้อประกันความเสี่ยงเกี่ยวกับความผันผวนของค่าเงินไว้ล่วงหน้าแล้ว หรือไม่ก็มีรายได้ครอบคลุมจากทั่วโลกมากพอจนความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนไม่ส่งผลกระทบที่สำคัญใด ๆ อันที่จริง การเก็งกำไรค่าเงินเป็นแหล่งกอบโกยกำไรแหล่งใหญ่ของบรรษัทด้วยซ้ำไป




การรุกรานโลกด้วยสงครามค่าเงิน


การจงใจปล่อยให้ค่าเงินดอลลาร์อ่อนตัวลง ไม่ได้มุ่งหมายเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจภายในประเทศเท่านั้น แต่เป็นการยิงกระสุนนัดเดียวได้นกอีกหลายตัว ฝูงนกที่เป็นเป้าหมายการยิงของสหรัฐฯ คือมหาอำนาจทางเศรษฐกิจชาติอื่น ๆ

นกตัวโตตัวแรกที่เป็นเป้าหมายของสหรัฐฯ คือกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจยุโรปที่ใช้เงินยูโรเป็นสกุลหลัก โดยเฉพาะฝรั่งเศสและเยอรมนี กลุ่มประชาคมยุโรปต้องรับผลกระทบไปเต็ม ๆ ค่าเงินยูโรที่แข็งขึ้นอย่างมาก ทำให้ความสามารถแข่งขันในตลาดลดลง สินค้าจากยุโรปมีราคาแพงขึ้น แนวโน้มที่ยุโรปจะเกิดภาวะชะงักงันทางเศรษฐกิจและเกิดปัญหาการว่างงาน กำลังตั้งเค้ารออยู่ในอนาคตอันใกล้

นักวิเคราะห์บางคนเชื่อว่า ยังมีเหตุผลอีกประการหนึ่งที่แอบแฝงอยู่ในอาการทองไม่รู้ร้อนต่อปัญหาค่าเงินของรัฐบาลบุช ประธานาธิบดีบุชแสดงท่าทีในนโยบายต่างประเทศเสมอมาว่า: จงอย่าทำสะเออะกับสหรัฐอเมริกา เป็นไปได้ที่เขาไม่มีวันลืมหรือให้อภัยฝรั่งเศสและเยอรมนีที่ออกมาขวางลำการทำสงครามอิรัก ในเมื่อฌาคส์ ชีรัคและแกร์ฮาร์ด ชโรเดอร์ ไม่ยอมช่วยสหรัฐฯ โค่นซัดดัม ฮุสเซน ตอนนี้ก็ถึงเวลาเอาคืนบ้างแล้ว หากเศรษฐกิจของยุโรปต้องประสบความยากลำบากจากการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ ทำไมสหรัฐอเมริกาจะต้องแยแสเล่า? สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในตลาดการเงินขณะนี้ เป็นเพียงการดำเนินนโยบายฝ่ายเดียว (unilateralism) ของอเมริกันที่แอบแฝงมาในอีกรูปแบบหนึ่ง ไม่ต่างจากการดำเนินนโยบายต่างประเทศอื่น ๆ ก่อนหน้านี้

นกตัวใหญ่ตัวที่สองที่สหรัฐฯ เล็งเป้าไว้ก็คือจีน สหรัฐฯ ต้องการกดดันให้จีนปล่อยค่าเงินหยวนลอยตัวมานานแล้ว แต่จนถึงเดี๋ยวนี้ก็ยังไม่สามารถทำให้ปักกิ่งยกเลิกการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนตายตัวระหว่างเงินหยวนกับเงินดอลลาร์ได้ จีนเองก็มีเหตุผลทั้งทางเศรษฐกิจและการเมืองที่จะไม่ยอมโอนอ่อนตามแรงกดดันของสหรัฐฯ

ยุโรป โดยเฉพาะฝรั่งเศส มีอิทธิพลต่อจีนอยู่บ้าง ดังที่นักวิเคราะห์บางคนตั้งข้อสังเกตไว้ จีนไม่เคยถูกคว่ำบาตรในที่ประชุมความมั่นคงของสหประชาชาติ แม้กระทั่งเมื่อเกิดการสังหารหมู่ที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน ทั้งนี้เพราะปารีสคอยวีโต้มติเสมอมา (เช่นเดียวกับที่วอชิงตันคอยคุ้มครองอิสราเอล) ดังนั้น ในทางทฤษฎี สหรัฐฯ จึงหวังว่าฝรั่งเศสอาจยอมเป็นคนกลางโน้มน้าวให้จีนปรับค่าเงินหยวนใหม่

แต่สหรัฐฯ คงทำอะไรจีนมากไม่ได้ ความจริงประการหนึ่งก็คือ ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของสองประเทศนี้ผูกพันกันอย่างแน่นแฟ้น เราอาจพูดได้ด้วยซ้ำว่า จีนเป็นอาณานิคมทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ด้วยเหตุที่จีนผูกติดค่าเงินหยวนไว้กับเงินดอลลาร์และบรรษัทอเมริกันใช้จีนเป็นฐานการผลิตต้นทุนต่ำ

แม้ว่ารัฐบาลจีนจะแสดงตัวเป็นนักชาตินิยมเพียงใดก็ตาม แต่ในทางปฏิบัติกลับตรงกันข้าม หากสมมติว่าเปลี่ยนตัวประธานาธิบดีจีนมาเป็นพอล เบรเมอร์ เขาก็คงถูกกล่าวหาว่าขูดรีดจีนทางเศรษฐกิจเพื่อผลประโยชน์ของสหรัฐฯ เช่นเดียวกับในอิรัก

ในระบบเศรษฐกิจของจีน ภาคเศรษฐกิจที่มีการผลิตมากที่สุดส่วนใหญ่อยู่ในกำมือของชาวต่างชาติ เพื่อผลประโยชน์ของชาวต่างชาติ จีนอาจอวดอ้างว่าเป็นประเทศที่มีการลงทุนจากต่างประเทศมากที่สุดในโลก แต่มันทำได้ก็โดยสร้างแรงจูงใจให้บรรษัทต่างชาติอย่างไม่ลืมหูลืมตาและยอมทำทุกอย่างที่จะขูดรีดประชาชนของตนเอง กิจการที่เข้ามาลงทุนในจีนไม่ได้ส่งแค่สินค้าออกนอกประเทศ แต่ส่งกำไรออกไปด้วย โดยใช้วิธีแอบแฝงด้วยการซื้อขายในเครือบรรษัทเดียวกัน

นโยบายการพัฒนาประเทศของปักกิ่งทำให้จีนกลายเป็นแหล่งผลิตสินค้าราคาถูกกว่าต้นทุนที่แท้จริงและเป็นตลาดใหญ่ของสินค้าราคาสูง หากยังดำเนินต่อไปในเส้นทางนี้
ลงท้ายแล้วจีนจะเหลือแต่บริษัทท้องถิ่นที่ไม่มีความสามารถในการแข่งขัน เงินออมในประเทศหดหาย ระบบธนาคารที่ผุกร่อน เมื่อไรที่เศรษฐกิจจีนพังทลายลง ตะวันตกสามารถเข้าไปช้อนซื้อสินทรัพย์ทุกอย่างในจีนได้ในราคาถูกเหลือเชื่อ

แต่ในเมื่อเศรษฐกิจของจีนและสหรัฐฯ เป็นส่วนเสริมของกันและกัน สหรัฐฯ จึงไม่ต้องการนิ่งดูดายปล่อยให้จีนดำเนินนโยบายเศรษฐกิจแบบฆ่าตัวตายเช่นนี้ หากเศรษฐกิจจีนพังทลายลงกะทันหัน มันจะส่งผลกระทบอย่างสาหัสต่อสหรัฐฯ เช่นกัน หากเกิดความไม่สงบทางสังคมขึ้นในประเทศจีน มันย่อมไม่เป็นผลดีต่อโรงงานของสหรัฐฯ และตลาดสินค้าของผู้บริโภคชาวอเมริกัน ด้วยเหตุนี้เอง รัฐบาลอเมริกันจึงกังวลต่อการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจการเงินของจีน เพียงแต่ไม่ใช่ด้วยเหตุผลอย่างที่คนส่วนใหญ่เข้าใจกัน



วิกฤตการณ์ที่กำลังตั้งเค้าและทางออกที่แท้จริง


รัฐบาลบุชกำลังเล่นพนันกับค่าเงินดอลลาร์ สหรัฐฯ หวังว่าค่าเงินจะไต่ระดับลดลงอย่างราบรื่นจนถึงจุดที่กระตุ้นให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ เติบโตได้ โดยไม่ขู่ขวัญนักลงทุนต่างชาติจนเทขายหุ้นและพันธบัตรสหรัฐฯ หากมีอะไรขลุกขลักเกิดขึ้นแม้แต่น้อย สัญชาติญาณแบบฝูงของนักลงทุนย่อมสร้างความปั่นป่วนขึ้นมาในตลาดการเงินอเมริกันทันที

กระนั้นก็ตาม ประวัติศาสตร์บอกให้รู้ว่า มีโอกาสอย่างยิ่งที่เดิมพันครั้งนี้อาจจบลงด้วยวิกฤตการณ์ทางการเงินครั้งใหญ่ เหมือนที่เกิดขึ้นมาแล้วในช่วงกลางทศวรรษ 1980 เมื่อการอ่อนตัวของค่าเงินดอลลาร์ทำให้เกิดการพังทลายของตลาดหุ้นในปี ค.ศ. 1987 (พ.ศ. 2530) วิกฤตการณ์อาจถูกจุดชนวนมาจากเหตุการณ์เล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ดูเหมือนไม่สลักสำคัญ เหมือนอย่างในปี ค.ศ. 1976 (พ.ศ. 2519) เมื่อไนจีเรียทำให้เกิดการเทขายเงินปอนด์ขึ้นมา เพราะหันไปถือเงินสกุลดอลลาร์แทน

เศรษฐกิจโลกในปัจจุบันเดินมาถึงจุดที่มีความสามารถในการผลิตล้นเกิน เราตกอยู่ในสถานการณ์ที่คนส่วนใหญ่ตั้งหน้าตั้งตาผลิตสินค้าที่ตัวเองไม่มีปัญญาซื้อ ในขณะที่คนส่วนน้อยที่ได้กำไรจากการผลิตสินค้าก็ไม่มีปัญญาบริโภคมากไปกว่านี้อีกแล้ว ขนาดของตลาดสหรัฐฯ ถึงจะใหญ่โตเพียงใด ก็ไม่ใหญ่พอที่จะรองรับความเติบโตอย่างไม่หยุดยั้งของพลังการผลิตในโลก หากจะให้เศรษฐกิจโลกดำเนินต่อไปอย่างราบรื่น ประชากรส่วนใหญ่ควรมีโอกาสในการบริโภคที่เป็นธรรมกว่านี้

การครองความเป็นใหญ่ของเงินดอลลาร์อาจเป็นจุดแข็งของมหาอำนาจอเมริกัน แต่ในขณะเดียวกัน มันก็เป็นจุดอ่อนของสหรัฐอเมริกาด้วย การที่สหรัฐฯ ตัดสินใจบุกอิรักโดยยอมขัดต่อมติของนานาประเทศในโลก สาเหตุหนึ่งเป็นเพราะในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2000 (พ.ศ. 2543) อิรักเป็นประเทศสมาชิกโอเปกประเทศแรกที่เริ่มขายน้ำมันเป็นเงินยูโร สหรัฐฯ บุกอิรักและเชิดรัฐบาลใหม่ขึ้นมา ก็เพื่อบังคับให้อิรักหันกลับไปใช้เงินดอลลาร์เหมือนเดิม และสกัดไม่ให้ประเทศสมาชิกกลุ่มโอเปกอื่น ๆ หันไปหาเงินยูโรอีก โดยเฉพาะอิหร่าน ซึ่งเป็นผู้ผลิตน้ำมันใหญ่อันดับสองของโอเปก ที่กำลังมีทีท่าจะหันไปส่งออกน้ำมันเป็นเงินยูโรบ้าง

ยักษ์ใหญ่อย่างสหรัฐฯ สามารถถูกโค่นล้มได้ง่าย ๆ เช่นกัน หากประเทศต่าง ๆ ในโลกพร้อมใจกันทิ้งมาตรฐานเงินดอลลาร์และหันไปใช้เงินตราสกุลอื่น ๆ เพื่อคานอำนาจ จุดเริ่มต้นอยู่ที่ประเทศผู้ส่งออกรายใหญ่ต้องตั้งเงื่อนไขให้มีการจ่ายเงินซื้อสินค้าเป็นสกุลเงินของตนเอง เมื่อนั้น โครงสร้างสถาปัตยกรรมการเงินโลกจะเปลี่ยนไปเป็นระบบเงินตราหลายสกุลโดยอัตโนมัติ ประเทศต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องมีทุนสำรองเงินตราต่างประเทศอีกต่อไป อัตราแลกเปลี่ยนอาจกลับไปอิงกับมาตรฐานทองคำ, หรือสินค้าวัตถุดิบ (commodity) และสะท้อนพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่แท้จริงของแต่ละประเทศ

เอเชียมีศักยภาพในการเป็นผู้นำของการเปลี่ยนแปลงนี้ เพราะมันมีเงื่อนไขสองประการที่สูงกว่าภูมิภาคใด ๆ ในโลก นั่นคือ ความสามารถทางการผลิตที่ล้นเกินและการบริโภคที่ต่ำกว่าความเป็นจริง


http://www.nokkrob.org/index.php?file=forum&obj=forum.view(cat_id=wt-wt,id=51)

บันทึกการเข้า
ffr_manoj243
Moderator
Full Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 895


« ตอบ #14 เมื่อ: กันยายน 15, 2009, 01:34:59 AM »

Oil falls as dollar firms on China-U.S. trade spat
http://www.marketwatch.com/story/oil-falls-on-dollar-gains-position-limits-worries-2009-09-14

NEW YORK (MarketWatch) -- Oil futures were lower and traded near $69 a barrel on Monday, as a trade row between China and the U.S. raised concerns about the global economy.

Crude oil for October delivery dropped 38 cents, or 0.6%, to $68.91 a barrel on the New York Mercantile Exchange. Oil futures tumbled nearly 4% on Friday, but crude still ended last week up 1.9%.

"Only the risk that inventories could potentially reach a capacity of 3,900 bn cubic feet this autumn is a plausible explanation," analysts at Commerzbank said in a note. "We are convinced that hedge funds' actions are responsible for these developments."


The rest of the energy market was weighed down by the prospect of a trade war between China and the U.S. Over the weekend, Washington imposed stiff tariffs on Chinese-made tires, and China said it would launch an anti-dumping investigation into U.S. sales of chicken and auto products.

The "trade row between China and the U.S. is also weighing on market sentiment, as increased protectionism could hinder a global economic recovery," wrote Nimit Khamar, analyst at Sucden Financial Research, in a note to clients. .

He also said the market was pressured by the announcement by commodities exchange operator CME Group Inc. to adopt position limits to curb speculation in some trades.

The CME Group Inc. said in an advisory notice on Friday that it will adopt substantially harmonized rules on position limits at the CME, CBOT, Nymex and Comex exchanges effective on Monday. The detailed advisory outlined the sanctions, which include fines, in case of position limit violations.
 


China mulls sanctions on U.S. imports of car parts, poultry
http://www.marketwatch.com/story/china-mulls-sanctions-on-us-imports-2009-09-13

HONG KONG (MarketWatch) -- China said Sunday it would launch an anti-dumping investigation into U.S. sales of chicken and auto products, a move apparently in response to Washington's decision to impose punitive sanctions on Chinese tire imports late last week.

China's Ministry of Commerce said it was starting proceedings after having received complaints that U.S. products were being sold in China at below-market prices, according to reports.

The ministry has denied that the actions against U.S. producers are a form of protectionism.

"China has consistently opposed trade protectionism, and the country's actions since the financial crisis have reflected this stance," The Wall Street Journal reported the ministry as saying.

"China is willing to continue to act in accordance with countries around the world to push forward the world's economic recovery," it said.


The Obama administration said Friday it will impose stiff tariffs on imports of Chinese-made tires, saying it found surging imports of such products had disrupted U.S. markets.

The move marked the first time the U.S. government has used special "safeguard" rules against alleged Chinese dumping.  



Dollar gives up gains stemming from rising trade tensions
http://www.marketwatch.com/story/dollar-slips-pressured-by-yield-differentials-2009-09-13


จากสภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Recession) .. ทำให้ภาคการผลิตและการจ้างงาน .. ลดน้อยถอยลง
เกือบทุกประเทศ .. ต้องใช้เพิ่มงบประมาณ เพื่ออัดฉีดหล่อเลี้ยงระบบเศรษฐกิจ .. ให้ยืดอายุต่อไปได้อีก
การลดดอกเบี้ยใกล้ 0% หรือ ZIRP : Zero Interest Rate Policy .. จึงถูกหยิบขึ้นมาใช้
เพื่อให้สามารถ "เพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน" .. ให้กับภาคธุรกิจอุตสาหกรรม .. อันเป็นตัวทำรายได้หลักให้กับรัฐฯ

(เกือบ) ทุกประเทศ .. จึงดำเนิน "นโยบายค่าเงินอ่อน"  เพื่อให้ "ต้นทุนการผลิตและค่าจ้างแรงงานภายในประเทศ .. ลดลง"
เพื่อให้ .. สินค้าส่งออก มีราคาถูกลง และพอที่จะส่งออกไปแข่งขันทางด้านราคากับสินค้าต่างประเทศทั่วโลก
และอีกนโยบายหนึ่ง .. ที่จะต้องตามมาและหลีกเลี่ยงมิได้ คือ  "นโยบายกีดกันทางการค้า" เพื่อป้องกันสินค้านอกเข้ามาตีตลาด
ทำให้ทุกประเทศ .. ต้องใช้นโยบาย "ปกป้องตนเอง .. protectionism" เพื่อเป็นมาตรการป้งกันสินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศ

"2 พี่เบิ้ม" แห่งเวที .. ช่วงชิง "อำนาจทางเศรษฐกิจและการเมืองระหว่างประเทศ"  เริ่ม "ใส่นวม .. และตั้งการ์ดใส่กันแล้ว"
"สงครามเศรษฐกิจและการเมือง .. ยุดใหม่"  กำลัง เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมๆ แล้ว
"สงครามเย็น .. ที่กำลังจะเพิ่มอุณหการแย่งชิงความเป็นใหญ่ทางการค้า  ให้ลุกเป็น .. ไฟ!
หน้าใหม่!  ของ สงครามระหว่างลัทธิคอมมิวนิสต์กับระบบทุนนิยม .. กำลังจะเปลี่ยนไป
"การแบ่งข้าง"  คงจะเกิดขึ้น .. ในอีกไม่ช้า!
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 15, 2009, 01:36:57 AM โดย ffr_manoj243 » บันทึกการเข้า
Gold Price today, Gold Trend Price Prediction, ราคาทองคํา, วิเคราะห์ทิศทางทองคํา
   

images by free.in.th
Thanks: ฝากรูป dictionary ---------------------Charts courtesy of Moore Research Center, Inc. For more information on Moore Research products and services click here. --- http://www.mrci.com ---------- ---------------------------------------------รูปกราฟแสดงราคาทองในอดีตปี 1974-1999 ของ Moore Research Center, Inc. แสดงฤดูกาลที่ราคาทองขึ้นสูงสุดและตําสุด เอาแบบคร่าวๆ เส้นนําตาลหรือนําเงินก็ใกล้เคียงกัน เส้นนําตาลเฉลี่ย 15 ปี เส้นนําเงินเฉลี่ย 26 ปี ราคาตําสุดของเส้นนําตาล หรือเฉลี่ย 15 ปี ในเดือน ปลายเดือน เมษ และปลายเดือน สค ต่อต้นเดือน กย[/color] สูงสุดในเดือน กพ กับ พย / ส่วนเฉลี่ย 26 ปี ราคาตําสุด ต้น กค กับ ปลาย สค และราคาสูงสุดในเดือน กพ และ กลางเดือน ตค ----- แค่ดูคร่าวๆ เป็นแนวทาง อย่ายึดมั่นว่าจะต้องเป็นตามนี้ ข้างล่างเป็นกราฟราคานํามัน ตามฤดูกาล จาก Charts courtesy of Moore Research Center, Inc. images by free.in.th
Thanks: ฝากรูป dictionary
 บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 ... 5   ขึ้นบน
พิมพ์
กระโดดไป: