jainu
|
|
« ตอบ #45 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 06, 2013, 07:38:56 PM » |
|
ของมงคล ต้อนรับตรุษจีน วันตรุษจีนหรือวันปีใหม่ของชาวจีน เป็นวันเริ่มต้นปีใหม่เริ่ิมทำสิ่งดีๆ และในวันตรุษจีนนี่เองที่คนจีนหรือคนไทยเชื่อสายจีนต่างพากันหาของมงคลมาเสริมดวง ให้ตนเองและคนในครอบครัวพบเจอแต่ความเจริญรุ่งเรืองมีเงินทองไหลมาเทมา มีกินมีใช้ไปตลอดปี งั้นเราลองมาดูกันหน่อยดีกว่าค่ะ ว่าของมงคลที่ว่านี้มีอะไรกันบ้างจะได้หามาไว้ในครอบครองเพื่อเสริมดวงนะคะ ของอย่างแรก ได้แก่ คำอวยพรอักษรสีทอง บนกระดาษสีแดง หรือที่เรียกว่า ตุ้ยเหลียน ธรรมเนียมคำอวยพรจีนแบบนี้มีมานานหลายพันปี แสดงให้เห็นถึงประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวิถีชีวิตที่อยู่คู่กับชาวจีนมานาน ชาวจีนถือว่าคำอวยพรเหล่านี้เป็นของมงคล ติดที่หน้าบ้าน เมื่อถึงเทศกาลตรุษจีน จะทำให้ดีไปทั้งปี โดยมากมักจะอวยพรให้บ้านอยู่เย็นเป็นสุข ทำมาค้าขึ้น เฮง ๆ ไปตลอดปี
คำอวยพร หรือตุ้ยเหลียนนั้น มีทั้งแบบสำเร็จรูป และแบบเขียน ซึ่งจะพบเห็นอยู่มาก ที่ย่าน เยาวราช เลือกซื้อหากันได้ตามใจ
อั่งเปา ซองใส่เงินสีแดง ๆ ที่ญาติผู้ใหญ่ ชอบแจกเด็ก ๆ หลายคนคุ้นชินกับคำว่า แต๊ะเอีย ซึ่งหมายถึงการให้เงินนั่นเอง เป็นธรรมเนียมที่เป็นวัตรปฏิบัติมาเป็นประจำทุกปี ใครญาติเยอะก็ให้เยอะ บางบ้าน ลูกหลานก็จะให้ญาติผู้ใหญ่ด้วย แล้วผู้ใหญ่ก็จะให้คืนมา นอกจากนี้ก็จะมีการอวยพรให้แก่กัน โดยขอให้รวย ๆ เฮง ๆ ยิ่ง ๆ ขึ้นไป ทำมาค้าขายกิจการดี เป็นต้น
ของมงคลตั้งโต๊ะหรือประดับบ้าน เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ เพราะเชื่อกันว่า สิ่งของชนิดต่าง ๆ จะช่วยเสริมบารมี ช่วยให้ทำมาค้าขึ้น หรือมีเงินถุงเงินถังตลอดปี แล้วแต่ตามจุดประสงค์ของใครของมัน ซึ่งของมงคลเหล่านี้มีคุณค่าทางจิตใจของผู้ที่มีไว้ไม่น้อย บางคนไปให้ซินแสช่วยดูว่า ปีนี้ควรมีของอะไรประดับตั้งโต๊ะ หรือติดตัวเพื่อเป็นมงคลแก่ตนเองบ้าง หรือบางคนอาจจะไปไหว้พระไหว้เจ้าที่ตนเองนับถือ เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตด้วย
สิ่งของมงคลนั้นมีทั้ง ก้อนทอง สัตว์มงคลตามราศีต่าง ๆ หยก โคมแดง พัด (หรือที่เรียกว่าซ่าน) ถั่วง น้ำเต้า เป็นต้น หาซื้อได้ตาม เยาวราช ซึ่งถือเป็นแหล่ง และมีมากที่สุดด้วย
ส้มสีทอง หรือที่ชาวจีนเรียกว่า ส้มไต่กิก นิยมให้แก่กันในวันตรุษจีน โดยมีนัยยะสำคัญว่าเป็นสิ่งที่เป็นมงคล มีความสวัสดีแก่ผู้ที่รับ และโดยธรรมเนียมก็จะมีการให้ส้มแลกเปลี่ยนกัน ทำให้สุขใจกันทั้ง 2 ฝ่าย
ของใช้ ของใหม่ที่มีสีแดง ชาวจีนจะถือว่าสีแดง เป็นสีแห่งความโชคดี เป็นสีที่เป็นมงคล ดังนั้นจึงไม่แปลกใจเลยว่า เวลาไปไหน ที่มีชาวจีนอยู่ หรือ บริเวณที่มีการจัดงานตรุษจีน ทั่วอาณาบริเวณจะต้องเป็นสีแดง ทำให้การเริ่มต้นอะไรใหม่ ๆ ในวันตรุษจีน จะต้องเป็นสีแดง ทั้งข้าวของเครื่องใช้ หรือแม้แต่เสื้อผ้า ที่เป็นธรรมเนียมว่าต้องใส่สีแดง และต้องเป็นเสื้อใหม่ ดังนั้นในวันตรุษจีน จึงมีแต่สีแดง เต็มไปหมด
นอกจากนี้แล้ว ในวันตรุษจีน ชาวจีนทำจิตใจให้ผ่องใส ไม่พูดคำหยาบ พูดแต่สิ่งดี ๆ ให้แก่กันและกัน และจะไม่ปัดกวาดบ้านในวันปีใหม่เพราะจะเป็นการปัดกวาดสิ่งดี ๆ ที่รับมา ออกไป แต่จะทำความสะอาดกันตั้งแต่ก่อนวันไหว้ เพื่อต้อนรับเทพเจ้าไฉซิ้งเอี๊ย หรือเทพเจ้าแห่งโชคลาภ
ท้ายนี้ ก็คงต้องอวยพรกันว่า ” ซินเจียอยู่อี่ ซินนี้ฮวดใช้ “ ขอให้มีความสุข เฮง ๆ รวย ๆ กันทุกคน
ขอบคุณ : www.never-age.com
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
finghting!!!
|
|
|
jainu
|
|
« ตอบ #46 เมื่อ: เมษายน 13, 2013, 10:36:08 AM » |
|
นางสงกรานต์
เป็นที่ทราบกันดีว่า "วันสงกรานต์" คือ วันขึ้นปีใหม่ไทย โดยมีตำนานความเชื่อที่เกี่ยวเนื่องในวันสงกรานต์ก็คือ "นางสงกรานต์" ซึ่งมีการบันทึกเรื่องราวความเป็นมาของนางสงกรานต์ไว้บนจารึกที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) กล่าวตามพระบาลีฝ่ายรามัญว่า ครั้งหนึ่งนานมาแล้วมีเศรษฐีคนหนึ่งรวยทรัพย์แต่ไม่มีบุตรไว้สืบสกุล โดยบ้านของเศรษฐีคนนี้ตั้งอยู่ใกล้กับนักเลงสุราที่มีบุตร 2 คน วันหนึ่งนักเลงสุราต่อว่าเศรษฐีที่ไม่มีบุตร จนกระทั่งเศรษฐีน้อยใจ จึงได้บวงสรวงพระอาทิตย์ พระจันทร์ ตั้งจิตอธิษฐานขอบุตร แต่แม้ว่าเศรษฐีจะตั้งจิตอธิษฐานอยู่นานกว่า 3 ปี ก็ยังไม่มีวี่แววว่าจะมีบุตร จนกระทั่งวันหนึ่ง เป็นช่วงที่พระอาทิตย์ยกขึ้นสู่ราศีเมษ เศรษฐีได้พาบริวารไปยังต้นไทรริมน้ำ พอไปถึงก็ได้นำข้าวสารลงล้างในน้ำเจ็ดครั้ง แล้วหุงบูชาอธิษฐานขอบุตรกับรุกขเทวดาในต้นไทรนั้น รุกขเทวดาเห็นใจเศรษฐีจึงเหาะไปเฝ้าพระอินทร์ ไม่ช้าพระอินทร์ก็มีเมตตาประทานเทพบุตรให้องค์หนึ่งนาม "ธรรมบาล" ลงไปปฏิสนธิในครรภ์ภรรยาเศรษฐี ไม่ช้าเทพบุตรก็คลอดออกมา เศรษฐีจึงตั้งชื่อให้กุมารน้อยนี้ว่า "ธรรมบาลกุมาร" และได้ปลูกปราสาทไว้ใต้ต้นไทรให้กุมารนี้อยู่อาศัย ต่อมาเมื่อธรรมบาลกุมารโตขึ้นก็ได้เรียนรู้ภาษานก และเมื่ออายุเจ็ดขวบก็ได้เรียนไตรเภทจบ ธรรมบาลกุมารจึงได้เป็นอาจารย์บอกมงคลต่างๆ แก่คนทั้งหลาย อยู่มาวันหนึ่ง ท้าวกบิลพรหมได้ลงมาถามปัญหากับธรรมบาลกุมาร 3 ข้อ โดยตั้งเงื่อนไขไว้ว่า ถ้าธรรมบาลกุมารตอบได้ก็จะตัดเศียรบูชา แต่ถ้าตอบไม่ได้จะตัดศีรษะธรรมบาลกุมาร ปัญหาที่ท้าวกบิลพรหมถามธรรมบาลกุมารก็คือ "ตอนเช้าศรีอยู่ที่ไหน ตอนเที่ยงศรีอยู่ที่ไหน และตอนค่ำศรีอยู่ที่ไหน" เมื่อได้ฟังคำถามดังนั้น ธรรมบาลกุมารไม่สามารถตอบได้ จึงขอผัดผ่อนท้าวกบิลพรหมไปอีก 7 วัน ระหว่างนั้น ธรรมบาลกุมารก็ได้พยายามคิดหาคำตอบ กระทั่งล่วงเข้าวันที่ 6 ธรรมบาลกุมารก็ลงจากปราสาทมานอนอยู่ใต้ต้นตาล โดยคิดว่าหากไม่สามารถตอบปัญหานี้ได้ ก็ขอตายในที่ลับยังดีกว่าไปตายด้วยอาญาของท้าวกบิลพรหม นับเป็นโชคดีที่ธรรมบาลกุมารสามารถฟังภาษานกได้ และบังเอิญบนต้นไม้มีนกอินทรี 2 ตัวผัวเมียเกาะทำรังอยู่ ธรรมบาลกุมารจึงได้ยินนก 2 ตัวผัวเมียสนทนากัน โดยนางนกอินทรีถามสามีว่า พรุ่งนี้จะไปหาอาหารแห่งใด สามีได้ตอบนางนกไปว่า เราจะไปกินศพธรรมบาลกุมาร ซึ่งจะถูกท้าวกบิลพรหมฆ่า เพราะตอบปัญหาไม่ได้ นางนกจึงถามว่าคำถามที่ท้าวกบิลพรหมถามคืออะไร สามีก็เล่าให้ฟัง ซึ่งนางนกก็ไม่สามารถตอบได้ สามีจึงเฉลยว่า ตอนเช้าศรีจะอยู่ที่หน้า คนจึงต้องล้างหน้าทุกๆ เช้า ตอนเที่ยงศรีจะอยู่ที่อก คนจึงเอาเครื่องหอมประพรมที่อก ส่วนตอนเย็นศรีจะอยู่ที่เท้า คนจึงต้องล้างเท้าก่อนเข้านอน เมื่อได้ยินดังนั้น ธรรมบาลกุมารก็ได้จดจำสิ่งที่สามีนกพูดไว้ กระทั่งวันรุ่งขึ้น ธรรมบาลกุมารได้นำคำตอบดังกล่าวไปตอบกับท้าวกบิลพรหม เมื่อท้าวกบิลพรหมเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ ท้าวกบิลพรหมจึงตรัสเรียกธิดาทั้งเจ็ด อันเป็นบาทบริจาริกาพระอินทร์มาประชุมพร้อมกัน แล้วบอกว่าจะตัดเศียรบูชาธรรมบาลกุมารตามคำท้าไว้ แต่ปัญหาก็คือ พระเศียรของพระองค์หากตกไปอยู่ที่ใดก็จะเป็นอันตรายต่อที่นั้น อย่างเช่น หากตั้งเศียรไว้บนแผ่นดิน ไฟก็จะไหม้โลก แต่ถ้าจะโยนขึ้นไปบนอากาศ ฝนก็จะแล้ง หรือถ้าจะทิ้งในมหาสมุทรน้ำก็จะแห้ง ด้วยเหตุนี้ ท้าวกบิลพรหมจึงมอบหมายให้ธิดาทั้งเจ็ด ผลัดเวรกันนำพานมารองรับเศียร โดยให้นางทุงษะ ผู้เป็นธิดาองค์โตเป็นผู้เริ่มต้น ซึ่งนางทุงษะก็เชิญพระเศียรของท้าวกบิลพรหมเวียนขวารอบเขาพระสุเมรุ 60 นาที จากนั้นประดิษฐานไว้ในถ้ำคันธชุลี ณ เขาไกรลาศ และเมื่อครบกำหนด 365 วัน ซึ่งโลกสมมุติว่าเป็นปีหนึ่งเวียนมาถึงวันมหาสงกรานต์ เทพธิดาทั้งเจ็ดก็จะทรงพาหนะของตน ผลัดเวรกันมาเชิญพระเศียรของบิดาออกแห่ ทำเช่นนี้ทุกๆ ปี เนื่องจากเทพธิดาทั้งเจ็ดปรากฏตัวในวันมหาสงกรานต์เป็นประจำ จึงได้ชื่อว่า "นางสงกรานต์" ส่วนท้าวกบิลพรหมนั้น นัยก็คือ พระอาทิตย์ เพราะกบิล หมายถึง สีแดง ทั้งนี้ ในแต่ละปีนางสงกรานต์แต่ละนางจะทำหน้าที่ผลัดเปลี่ยนกันตามวันมหาสงกรานต์ และจะมีนาม อาหาร อาวุธ และสัตว์ที่เป็นพาหนะต่างๆ กันคือ ถ้าวันอาทิตย์เป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม "ทุงษะเทวี" ทรงพาหุรัดทัดดอกทับทิม อาภรณ์แก้วปัทมราช ภักษาหารอุทุมพร (ผลมะเดื่อ) พระหัตถ์ขวาทรงจักร พระหัตถ์ซ้ายทรงสังข์ เสด็จมาบนหลังครุฑ ถ้าวันจันทร์เป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม "โคราคะเทวี" ทรงพาหุรัดทัดดอกปีบ อาภรณ์แก้วมุกดา ภักษาหารเตลัง (น้ำมัน) พระหัตถ์ขวาทรงพระขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายทรงไม้เท้า เสด็จมาบนหลังพยัคฆ์ (เสือ) ถ้าวันอังคารเป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม "รากษสเทวี" ทรงพาหุรัดทัดดอกบัวหลวง อาภรณ์แก้วโมรา ภักษาหารโลหิต (เลือด) พระหัตถ์ขวาทรงตรีศูล พระหัตถ์ซ้ายทรงธนู เสด็จมาบนหลังพระยาวราหะ (หมู) ถ้าวันพุธเป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม "มัณฑาเทวี" ทรงพาหุรัดทัดดอกจำปา อาภรณ์แก้วไพฑูรย์ ภักษาหารนมเนย พระหัตถ์ขวาทรงเหล็กแหลม พระหัตถ์ซ้ายทรงไม้เท้า เสด็จมาบนหลังคัทรภะ (ลา) ถ้าวันพฤหัสบดีเป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม "กิริณีเทวี" ทรงพาหุรัดทัดดอกมณฑา อาภรณ์แก้วมรกต ภักษาหารถั่วงา พระหัตถ์ขวาทรงของ้าว พระหัตถ์ซ้ายทรงปืน เสด็จมาบนหลังพระยาคชสาร (ช้าง) ถ้าวันศุกร์เป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม "กิมิทาเทวี" ทรงพาหุรัดทัดดอกจงกลนี อาภรณ์แก้วบุษราคัม ภักษาหารกล้วยน้ำ พระหัตถ์ขวาทรงพระขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายทรงพิณ เสด็จมาบนหลังมหิงสา (ควาย) ถ้าวันเสาร์เป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม "มโหธรเทวี" ทรงพาหุรัดทัดดอกสามหาว อาภรณ์แก้วนิลรัตน์ ภักษาหารเนื้อทราย พระหัตถ์ขวาทรงจักร พระหัตถ์ซ้ายทรงตรีศูล เสด็จไสยาสน์หลับเนตร (นอนหลับตา) มาบนหลังมยุรา (นกยูง) สำหรับในปี 2556 นี้ วันเสาร์ที่ 13 เมษายน 2556 ตรงกับวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นามว่า "มโหธรเทวี" มีคำทำนายไว้ว่า วันเสาร์ เป็นวันมหาสงกรานต์ : จะเกิดอันตรายกลางเมือง จะเกิดเพลิง และโจรผู้ร้าย และจะเจ็บไข้นักแลฯ, วันอาทิตย์ เป็นวันเนา : ข้าวจะตายฝอย จะได้ยินเสียงคนต่างภาษา ท้าวพระยาจะร้อนใจนักแลฯ, วันจันทร์ เป็นวันเถลิงศก : พระราชเทวี และหมู่นางสนม ราชบริพาร จะประกอบไปด้วยสุขและสมบัติทั้งปวง, นางสงกรานต์ ไสยาสน์หลับเนตร (นอนหลับตา) : พระมหากษัตริย์จะเจริญรุ่งเรืองดี ข้อสังเกตเกี่ยวกับวันสงกรานต์ ในแต่ละปีนางสงกรานต์จะมาในเวลาต่างกัน และประทับบนพาหนะในอากัปกิริยาแตกต่างกัน เช่น บางปีนางสงกรานต์อาจจะขี่พาหนะ บางปียืนมา และบางปีก็นอนมา โดยมีหลักพิจารณาเวลาใดเวลาหนึ่งก็ได้ ถ้าดวงอาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีเมษเวลานั้น รวมทั้งยังมีคำทำนายนางสงกรานต์ที่ทำนายตามความเชื่อเกี่ยวกับอิริยาบถของนางสงกรานต์ ดังนี้ 1.ดวงอาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีเมษเวลารุ่งถึงเที่ยง นางสงกรานต์ยืนมาบนหลังพาหนะ จะเกิดความเดือดร้อนเจ็บไข้ 2.ดวงอาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีเมษเวลาเที่ยงวันถึงย่ำค่ำ นางสงกรานต์นั่งมาบนหลังพาหนะ จะเกิดความเจ็บไข้ ผู้คนล้มตายและเกิดเหตุเภทภัยต่างๆ 3.ดวงอาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีเมษเวลาพลบค่ำถึงเที่ยงคืน นางสงกรานต์นอนลืมตาบนหลังพาหนะ ประชาชนจะอยู่เย็นเป็นสุข และ 4.ดวงอาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีเมษเวลาเที่ยงคืนถึงรุ่งเช้า นางสงกรานต์นอนหลับตาบนหลังพาหนะ พระมหากษัตริย์จะเจริญรุ่งเรืองดี.
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
finghting!!!
|
|
|
jainu
|
|
« ตอบ #47 เมื่อ: เมษายน 13, 2013, 10:41:39 AM » |
|
นางสงกรานต์และคำทำนายปี 2556 เป็นประจำทุกวันสงกรานต์ของทุกปีที่จะมีการประกาศนางสงกรานต์ โดย นางสงกรานต์ปี 2556 ชื่อว่า นางมโหทรเทวี โดยปีนี้มีคำทำนายค่อนข้างดุเดือด
วันมหาสงกรานต์ ตรงกับวันอาทิตย์ที่ 14 เมษายน เวลา 1 นาฬิกา 58 นาที 48 วินาที ตรงกับเวลา 2 นาฬิกา 16 นาที 48 วินาที (เวลามาตรฐานประเทศไทยปัจจุบัน) จันทรคติตรงกับ วันเสาร์ขึ้น 3 ค่ำ เดือนห้า(5) ปีมะเส็ง
นางสงกรานต์ปี 2556 คือนางมโหทรเทวี ทรงพาหุรัด ทัดดอกสามหาว(ผักตบชวา) อาภรณ์แก้วนิลรัตน์ ภักษาหารเนื้อทราย หัตถ์ขวาทรงจักร หัตถ์ซ้ายทรงตรีศูล เสด็จไสยาสน์หลับเนตร (นอนหลับตา) มาเหนือหลังมยุรา(นกยูง) เป็นพาหนะ
เกณฑ์พิรุณศาสตร์ ปีนี้ ศุกร์ เป็นอธิบดีฝน บันดาลให้ฝนตก 600 ห่า ตกในเขาจักรวาล 240 ห่า ตกในป่าหิมพานต์ 180 ห่า ตกในมหาสมุทร 120 ห่า ตกในโลกมนุษย์ 60 ห่า เกณฑ์ธาราธิคุณ ชื่อ อาโป (ธาตุน้ำ) น้ำมาก น้ำท่วม
เกณฑ์นาคราชให้น้ำ ปีมะเส็ง นาคราชให้น้ำ 1 ตัว ทำนายว่าฝนต้นปีมาก กลางปีงาม แต่ปลายปีน้อยแล
เกณฑ์ธัญญาหารชื่อ ปาปะ ข้าวกล้าในไร่นา จะได้ 1 ส่วน เสีย 10 ส่วน คนทั้งหลายจะตกทุกข์ได้ยากลำบากแค้น เพราะกันดารอาหารบ้าง จะฉิบหายเป็นอันมากแล
วันเถลิงศก ตรงกับ วันอังคารที่ 16 เมษายน เวลา 5 นาฬิกา 56 นาที 24 วินาที ตรงกับเวลา 6 นาฬิกา 14 นาที 24 วินาที (เวลามาตรฐานประเทศไทยปัจจุบัน)
จันทรคติตรงกับ วันจันทร์ ขึ้น 5 ค่ำ เดือนห้า(5) ปีมะเส็ง
คำทำนายสงกรานต์ 2556 วันเสาร์เป็นวันมหาสงกรานต์ : จะเกิดอันตรายกลางเมือง จะเกิดเพลิง และ โจรผู้ร้าย และจะเจ็บไข้นักแล ฯ วันจันทร์ เป็นวันเนา : เกลือจะแพง นางพระยาจะร้อนใจ มักจะเกิดความไข้ต่างๆ วันจันทร์ เป็นวันเถลิงศก : พระราชเทวี และหมู่นางสนม ราชบริพาร จะประกอบไปด้วยสุขและสมบัติทั้งปวง นางสงกรานต์ ไสยาสน์หลับเนตร (นอนหลับตา) : พระมหากษัตริย์จะเจริญรุ่งเรืองดี
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 13, 2013, 01:27:06 PM โดย jainu »
|
บันทึกการเข้า
|
finghting!!!
|
|
|
|
jainu
|
|
« ตอบ #49 เมื่อ: เมษายน 13, 2013, 11:01:44 AM » |
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
finghting!!!
|
|
|
jainu
|
|
« ตอบ #50 เมื่อ: เมษายน 13, 2013, 11:05:02 AM » |
|
กิจกรรม วันสงกราน ประเพณีสงกรานต์
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
finghting!!!
|
|
|
|
jainu
|
|
« ตอบ #52 เมื่อ: มิถุนายน 03, 2013, 01:21:55 PM » |
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
finghting!!!
|
|
|
|
|
jainu
|
|
« ตอบ #55 เมื่อ: มิถุนายน 26, 2013, 12:10:03 PM » |
|
วันที่ ๒๖ มิถุนายน วันสุทรภู่วันที่ ๒๖ มิถุนายน วันสุทรภู่
ประเทศไทยอยู่ตรงไหน ประเทศไทยอยู่ตรงไหน ในสายตาของ "สุนทรภู่"
พระสุนทรโวหาร (ภู่) ดูจะเป็นภาพแทนของความเป็นไทยแท้แต่ดั้งเดิมในสายตาของประชาชนชาวไทย
ชนิดที่ว่าขึ้นกาพย์กลอนบทใดมาก็ยัดใส่ปากสุนทรภู่ว่าเป็นคนแต่งเสียหมด
หากแต่สุนทรภู่นั้นเป็นคนเช่นไร? และประเทศไทยในยุคสุนทรภู่นั้นอยู่ตรงไหน?
บทประพันธ์ชิ้นเอกของสุนทรภู่ "พระอภัยมณี"
เป็นเครื่องชี้ให้เห็นถึงความเป็นอยู่ของประเทศไทยร่วมสมัยขณะนั้นเป็นอย่างดี โดย
"กาญจนาคพันธุ์" (ขุนวิจิตรมาตรา) ได้สันนิษฐานชื่อเมืองต่างๆ ใน "พระอภัยมณี"
ไว้ในหนังสือ "ภูมิศาสตร์สุนทรภู่"(2490) ดังนี้
"กรุงรัตนา" เมืองที่เป็นต้นกำเนิดของ "พระอภัยมณี" และ "ศรีสุวรรณ" สองศรีพี่น้องตัวละครเอก
เห็นจะไม่ใช่ที่ไหนอื่นไกล คือ "กรุงเทพทวาราวดีศรีรัตนโกสินทร์" หรือ Bangkok
"เมืองผลึก" ของนางสุวรรณมาลี นั่นก็คือ "ภูเก็ต" ที่มีหาดทรายขาวราวแก้วผลึก
"ลังกา" ของอุศเรนและนางละเวงวันฬา ซึ่งเป็นฝรั่ง คือเกาะศรีลังกา ซึ่งขณะนั้นปกครองโดยบริติชราช
อาณานิคมอังกฤษในสมัยพระนางเจ้าวิคตอเรีย
"เกาะแก้วพิสดาร" นั้นหรือ ก็หาใช่เกาะเสม็ดไม่ แต่คือเกาะหนึ่งในหมู่เกาะนิโคบาร์ ซึ่งรวมเรียกว่า
"นาควารินสินสมุทร" ซึ่งมีเกาะแก่งน้อยใหญ่เป็นที่อาศัยของสิ่งมีชีวิตและชนเผ่าประหลาดมากมาย
รวมทั้งผีเสื้อสมุทร ชีเปลือย ม้านิลมังกร เงือก
นอกจากนี้ สุนทรภู่ยังได้ยกเอาหัวเมืองประเทศน้อยใหญ่ในโลก เข้ามาพูดถึงในเรื่อง "พระอภัยมณี"
อย่างมากมายมหาศาล ดังปรากฏในบทสงครามเก้าทัพซึ่งกรุงลังกายกทัพมารบกับเมืองผลึกว่า
เมืองละหุ่งกรุงเตนกุเวนลวาด เมืองวิลาศวิลยาชวาฉวี ถึงเมืองเงาะเกาะวลำสำปะลี จะชิงตีเมืองผลึกเป็นศึกรุม...
...ล้วนมีธงลงหนังสือชื่อประเทศ เมืองละเมดมลิกันสำปันหนา กรุงกวินจีนตั๋งอังคุลา ที่ยกมาทางบกอีกหกทัพ
สงครามโลกระหว่าง "ฝรั่ง" - นางละเวงและพันธมิตร อันได้แก่ เมืองวิลาศ (อังกฤษ)
วิลยา (สเปน) ชวา (ในอาณัติดัทช์) มลิกัน (อเมริกา) ฯลฯ กับ "ไทย"
(พระอภัยมณีเมืองผลึกและพันธมิตร) จบลงได้ด้วยกลอุบายของพระอภัยมณี คือ
รวบหัวรวบหางนางละเวงเอาเป็นมเหสีเสียอีกคนหนึ่งด้วยเพลงปี่
ต้อยตะริดติดตี่เจ้าพี่เอ๋ย จะละเลยเร่ร่อนไปนอนไหน แอ้อีอ่อยสร้อยฟ้าสุมาลัย แม้นเด็ดได้แล้วไม่ร้างให้ห่างเชย
ฉุยฉายชื่นรื่นรวยระทวยทอด จะกล่อมกอดกว่าจะหลับกับเขนย หนาวน้ำค้างพร่างพรมลมรำเพย ใครจะเชยโฉมน้องประคองนวล
นัยว่าเปลี่ยนการรบ เป็นการรัก make love not war รักษาเอกราชของเมืองผลึก
และกรุงรัตนาจากกองทัพต่างชาติแบบไม่เสียเลือดเสียเนื้อทหารพินาศกันไปหมดมากกว่านี้
ประเทศไทยในสายตาของสุนทรภู่นั้น จึงดูเป็นประเทศที่เล็กและยังอ่อนแอ
ไม่สามารถรับศึกกับนักล่าอาณานิคมด้วยกำลังได้ และต้องคบประเทศต่างๆ ผูกไมตรี
ใช้วาทศิลป์และวิชาดนตรีกล่อมให้เป็นมิตรไว้ เพื่อเรียนรู้สรรพวิชาให้ก้าวทันสมัยต่อไป
สุนทรภู่เองก็เป็นผู้ที่มีสายตากว้างไกล คบมิตรสหายพ่อค้าและผู้รู้ที่ผ่านประสบการณ์เดินเรือต่างชาติมากมาย จึงประพันธ์นิทานกลอนชั้นเอก "พระอภัยมณี" เป็นภาพแทนสยามและโลกในยุคล่าอาณานิคมได้ประทับใจชาวบ้านร้านตลาด ติดแน่นฝังตรึงในโลกหนังสือไทยมาจนบัดนี้
มหากวีแห่งชาติไทย "สุนทรภู่" ยังทอดสายตาดูประเทศรอบข้างและตระหนักในความจริงของประเทศ
และสถานการณ์ทั่วโลกตั้งแต่เมื่อสองร้อยกว่าปีมาแล้ว แล้วชาวไทยทุกวันนี้ล่ะ?
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
finghting!!!
|
|
|
jainu
|
|
« ตอบ #56 เมื่อ: มิถุนายน 26, 2013, 12:13:42 PM » |
|
วันที่ ๒๖ มิถุนายน วันสุทรภู่
ถ้าเอ่ยชื่อ "สุนทรภู่" เชื่อว่าน้อยคนนักที่จะไม่รู้จักกวีชาวไทยที่มีชื่อเสียงก้องโลก โดยเฉพาะกลอนนิทานเรื่อง "พระอภัยมณี" จนได้รับยกย่องจากองค์การยูเนสโกให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก ด้านงานวรรณกรรม หรือ “มหากวีแห่งรัตนโกสินทร์" หรือ “เชกสเปียร์แห่งประเทศไทย" และคงเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า "วันที่ 26 มิถุนายน" ของทุกปีคือ "วันสุนทรภู่" ซึ่งมักจะมีการจัดนิทรรศการ ประกวดแต่งคำกลอน เพื่อแสดงถึงการรำลึกถึง เพราะฉะนั้น วันนี้กระปุกดอทคอมจึงไม่พลาด ขอพาไปเปิดประวัติ "วันสุนทรภู่" ให้มากขึ้นค่ะ...
ชีวประวัติ "สุนทรภู่"
สุนทรภู่ กวีสำคัญสมัยต้นรัตนโกสินทร์ เกิดวันจันทร์ เดือน 8 ขึ้น 1 ค่ำ ปีมะเมีย จุลศักราช 1148 เวลา 2 โมงเช้า หรือตรงกับวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2329 เวลา 8.00 น. นั่นเอง ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ณ บริเวณด้านเหนือของพระราชวังหลัง (บริเวณสถานีรถไฟบางกอกน้อยปัจจุบัน) บิดาของท่านเป็นชาวกร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ชื่อพ่อพลับ ส่วนมารดาเป็นชาวเมืองฉะเชิงเทรา ชื่อแม่ช้อย สันนิษฐานว่ามารดาเป็นข้าหลวงอยู่ในพระราชวังหลัง เชื่อว่าหลังจากสุนทรภู่เกิดได้ไม่นาน บิดามารดาก็หย่าร้างกัน บิดาออกไปบวชอยู่ที่วัดป่ากร่ำ ตำบลบ้านกร่ำ อำเภอแกลง อันเป็นภูมิลำเนาเดิม ส่วนมารดาได้เข้าไปอยู่ในพระราชวังหลัง ถวายตัวเป็นนางนมของพระองค์เจ้าหญิงจงกล พระธิดาในเจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ ดังนั้น สุนทรภู่จึงได้อยู่ในพระราชวังหลังกับมารดา และได้ถวายตัวเป็นข้าในกรมพระราชวังหลัง ซึ่งสุนทรภู่ยังมีน้องสาวต่างบิดาอีกสองคน ชื่อฉิมและนิ่ม อีกด้วย
"สุนทรภู่" ได้รับการศึกษาในพระราชวังหลังและที่วัดชีปะขาว (วัดศรีสุดาราม) ต่อมาได้เข้ารับราชการเป็นเสมียนนายระวางกรมพระคลังสวน ในกรมพระคลังสวน แต่ไม่ชอบทำงานอื่นนอกจากแต่งบทกลอน ซึ่งสามารถแต่งได้ดีตั้งแต่ยังรุ่นหนุ่ม เพราะตั้งแต่เยาว์วัยสุนทรภู่มีนิสัยรักแต่งกลอนยิ่งกว่างานอื่น ครั้งรุ่นหนุ่มก็ไปเป็นครูสอนหนังสืออยู่ที่วัดศรีสุดารามในคลองบางกอกน้อย ได้แต่งกลอนสุภาษิตและกลอนนิทานขึ้นไว้ เมื่ออายุราว 20 ปี
ต่อมาสุนทรภู่ลอบรักกับนางข้าหลวงในวังหลังคนหนึ่ง ชื่อแม่จัน ซึ่งเป็นบุตรหลานผู้มีตระกูล จึงถูกกรมพระราชวังหลังกริ้วจนถึงให้โบยและจำคุกคนทั้งสอง แต่เมื่อกรมพระราชวังหลังเสด็จทิวงคตในปี พ.ศ. 2349 จึงมีการอภัยโทษแก่ผู้ถูกลงโทษทั้งหมดถวายเป็นพระราชกุศล หลังจากสุนทรภู่ออกจากคุก เขากับแม่จันก็เดินทางไปหาบิดาที่ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง และมีบุตรด้วยกัน 1 คน ชื่อ “พ่อพัด” ได้อยู่ในความอุปการะของเจ้าครอกทองอยู่ ส่วนสุนทรภู่กับแม่จันก็มีเรื่องระหองระแหงกันเสมอ จนภายหลังก็เลิกรากันไป
หลังจากนั้น สุนทรภู่ ก็เดินทางเข้าพระราชวังหลัง และมีโอกาสได้ติดตามพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ในฐานะมหาดเล็ก ตามเสด็จไปในงานพิธีมาฆบูชา ที่อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2350 และเขาก็ได้แต่ง “นิราศพระบาท” พรรณนาเหตุการณ์ในการเดินทางคราวนี้ด้วย และหลังจาก “นิราศพระบาท” ก็ไม่ปรากฏผลงานใดๆ ของสุนทรภู่อีกเลย
จนกระทั่งเข้ารับราชการในปี พ.ศ. 2359 ในรัชสมัยรัชกาลที่ 2 สุนทรภู่ได้เข้ารับราชการในกรมพระอาลักษณ์ และเป็นที่โปรดปรานของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จนแต่งตั้งให้เป็นกวีที่ปรึกษาและคอยรับใช้ใกล้ชิด เนื่องจากเมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงแต่งกลอนบทละครในเรื่อง "รามเกียรติ์" ติดขัดไม่มีผู้ใดต่อกลอนได้ต้องพระราชหฤทัย จึงโปรดให้สุนทรภู่ทดลองแต่ง ปรากฏว่าแต่งได้ดีเป็นที่พอพระทัย จึงทรงพระกรุณาฯ เลื่อนให้เป็น "ขุนสุนทรโวหาร"
ต่อมาในราว พ.ศ. 2364 สุนทรภู่ต้องติดคุกเพราะเมาสุราอาละวาดและทำร้ายท่านผู้ใหญ่ แต่ติดอยู่ไม่นานก็พ้นโทษ เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงติดขัดบทพระราชนิพนธ์เรื่อง "สังข์ทอง" ไม่มีใครแต่งได้ต้องพระทัย ทรงให้สุนทรภู่ทดลองแต่งก็เป็นที่พอพระราชหฤทัยภายหลังพ้นโทษ สุนทรภู่ได้เป็นพระอาจารย์ถวายอักษรสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอาภรณ์ พระราชโอรสในรัชกาลที่ 2 และ เชื่อกันว่าสุนทรภู่แต่งเรื่อง "สวัสดิรักษา" ในระหว่างเวลานี้ ซึ่งในระหว่างรับราชการอยู่นี้ สุนทรภู่แต่งงานใหม่กับแม่นิ่ม มีบุตรด้วยกันหนึ่งคน ชื่อ "พ่อตาบ
"สุนทรภู่" รับราชการอยู่เพียง 8 ปี เมื่อถึงปี พ.ศ. 2367 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จสวรรคต หลังจากนั้นสุนทรภู่ก็ออกบวชที่วัดราชบูรณะ (วัดเลียบ) อยู่เป็นเวลา 18 ปี ระหว่างนั้นได้ย้ายไปอยู่วัดต่าง ๆ หลายแห่ง ได้แก่ วัดเลียบ, วัดแจ้ง, วัดโพธิ์, วัดมหาธาตุ และวัดเทพธิดาราม ซึ่งผลจากการที่ภิกษุภู่เดินทางธุดงค์ไปที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ปรากฏผลงานเป็นนิราศเรื่องต่าง ๆ มากมาย งานเขียนชิ้นสุดท้ายที่ภิกษุภู่แต่งไว้ก่อนลาสิกขา คือ รำพันพิลาป โดยแต่งขณะจำพรรษาอยู่ที่วัดเทพธิดาราม พ.ศ. 2385 ทั้งนี้ ระหว่างที่ออกเดินทางธุดงค์ ภิกษุภู่ได้รับการอุปการะจากพระองค์เจ้าลักขณานุคุณจนพระองค์ประชวรสิ้นพระชมน์ สุนทรภู่จึงลาสิกขา รวมอายุพรรษาที่บวชได้ประมาณ 10 พรรษา สุนทรภู่ออกมาตกระกำลำบากอยู่พักหนึ่งจึงกลับเข้าไปบวชอีกครั้งหนึ่ง แต่อยู่ได้เพียง 2 พรรษา ก็ลาสิกขาบท และถวายตัวอยู่กับเจ้าฟ้าน้อย หรือสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ พระราชวังเดิม รวมทั้งได้รับอุปการะจากกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพอีกด้วย
ในสมัยรัชกาลที่ 4 เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ครองราชย์ ทรงสถาปนาเจ้าฟ้า กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ เป็นพระบาทสมเด็จพระปิ่นกล้าเจ้าอยู่หัว ประทับอยู่วังหน้า (พระบวรราชวัง) สุนทรภู่จึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น "พระสุนทรโวหาร" ตำแหน่งเจ้ากรมพระอาลักษณ์ฝ่ายบวรราชวังในปี พ.ศ. 2394 และรับราชการต่อมาได้ 4 ปี ก็ถึงแก่มรณกรรมใน พ.ศ. 2398 รวมอายุได้ 70 ปี ในเขตพระราชวังเดิม ใกล้หอนั่งของพระยามนเทียรบาล (บัว) ที่เรียกชื่อกันว่า "ห้องสุนทรภู่"
สำหรับทายาทของสุนทรภู่นั้น เชื่อกันว่าสุนทรภู่มีบุตรชาย 3 คน คือ"พ่อพัด" เกิดจากภรรยาคนแรกคือแม่จัน "พ่อตาบ" เกิดจากภรรยาคนที่สองคือแม่นิ่ม และ "พ่อนิล" เกิดจากภรรยาที่ชื่อแม่ม่วง นอกจากนี้ ปรากฏชื่อบุตรบุญธรรมอีกสองคน ชื่อ "พ่อกลั่น" และ "พ่อชุบ" อย่างไรก็ตาม ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ทรงตราพระราชบัญญัตินามสกุลขึ้น และตระกูลของสุนทรภู่ได้ใช้นามสกุลต่อมาว่า "ภู่เรือหงส์"
ผลงานของสุนทรภู่
หนังสือบทกลอนของสุนทรภู่มีอยู่มาก เท่าที่ปรากฏเรื่องที่ยังมีฉบับอยู่ในปัจจุบันนี้คือ…
ประเภทนิราศ
- นิราศเมืองแกลง (พ.ศ. 2349) - แต่งเมื่อหลังพ้นโทษจากคุก และเดินทางไปหาพ่อที่เมืองแกลง
- นิราศพระบาท (พ.ศ. 2350) - แต่งหลังจากกลับจากเมืองแกลง และต้องตามเสด็จพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ไปนมัสการรอยพระพุทธบาทที่จังหวัดสระบุรีในวันมาฆบูชา
- นิราศภูเขาทอง (ประมาณ พ.ศ. 2371) - แต่งโดยสมมุติว่า เณรหนูพัด เป็นผู้แต่งไปนมัสการพระเจดีย์ภูเขาทองที่จังหวัดอยุธยา
- นิราศสุพรรณ (ประมาณ พ.ศ. 2374) - แต่งเมื่อครั้งยังบวชอยู่ และไปค้นหายาอายุวัฒนะที่จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นผลงานเรื่องเดียวของสุนทรภู่ที่แต่งเป็นโคลง
- นิราศวัดเจ้าฟ้า (ประมาณ พ.ศ. 2375) - แต่งเมื่อครั้งยังบวชอยู่ และไปค้นหายาอายุวัฒนะตามลายแทงที่วัดเจ้าฟ้าอากาศ (ไม่ปรากฏว่าที่จริงคือวัดใด) ที่จังหวัดอยุธยา
- นิราศอิเหนา (ไม่ปรากฏ, คาดว่าเป็นสมัยรัชกาลที่ 3) แต่งเป็นเนื้อเรื่องอิเหนารำพันถึงนางบุษบา
- รำพันพิลาป (พ.ศ. 2385) - แต่งเมื่อครั้งจำพรรษาอยู่ที่วัดเทพธิดาราม แล้วเกิดฝันร้ายว่าชะตาขาด จึงบันทึกความฝันพร้อมรำพันความอาภัพของตัวไว้เป็น "รำพันพิลาป" จากนั้นจึงลาสิกขา
- นิราศพระประธม (พ.ศ. 2385) –เชื่อว่าแต่งเมื่อหลังจากลาสิกขาและเข้ารับราชการในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ไปนมัสการพระประธมเจดีย์ (หรือพระปฐมเจดีย์) ที่เมืองนครชัยศรี
- นิราศเมืองเพชร (พ.ศ. 2388) - แต่งเมื่อเข้ารับราชการในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เชื่อว่าไปธุระราชการอย่างใดอย่างหนึ่ง นิราศเรื่องนี้มีฉบับค้นพบเนื้อหาเพิ่มเติมซึ่ง อ.ล้อม เพ็งแก้ว เชื่อว่า บรรพบุรุษฝ่ายมารดาของสุนทรภู่เป็นชาวเมืองเพชร
ประเภทนิทาน
เรื่องโคบุตร, เรื่องพระอภัยมณี, เรื่องพระไชยสุริยา, เรื่องลักษณวงศ์, เรื่องสิงหไกรภพ
ประเภทสุภาษิต
- สวัสดิรักษา- คาดว่าประพันธ์ในสมัยรัชกาลที่ 2 ขณะเป็นพระอาจารย์ถวายอักษรแด่เจ้าฟ้าอาภรณ์
- สุภาษิตสอนหญิง - เป็นหนึ่งในผลงานซึ่งยังเป็นที่เคลือบแคลงว่า สุนทรภู่เป็นผู้ประพันธ์จริงหรือไม่
- เพลงยาวถวายโอวาท - คาดว่าประพันธ์ในสมัยรัชกาลที่ 3 ขณะเป็นพระอาจารย์ถวายอักษรแด่เจ้าฟ้ากลางและเจ้าฟ้าปิ๋ว
ประเภทบทละคร
- เรื่องอภัยณุรา ซึ่งเขียนขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 เพื่อถวายพระองค์เจ้าดวงประภา พระธิดาในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
ประเภทบทเสภา
- เรื่องขุนช้างขุนแผน (ตอนกำเนิดพลายงาม)
- เรื่องพระราชพงศาวดาร
ประเภทบทเห่กล่อม
แต่งขึ้นสำหรับใช้ขับกล่อมหม่อมเจ้าในพระองค์เจ้าลักขณานุคุณ กับพระเจ้าลูกยาเธอในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เท่าที่พบมี 4 เรื่องคือ เห่จับระบำ, เห่เรื่องพระอภัยมณี, เห่เรื่องโคบุตร เห่เรื่องพระอภัยมณี, เห่เรื่องกากี
ตัวอย่างวรรคทองที่มีชื่อเสียงของสุนทรภู่
ด้วยความที่สุนทรภู่เป็นศิลปินเอกที่มีผลงานทางวรรณกรรม วรรณคดีมากมาย ทำให้ผลงานหลาย ๆ เรื่องของ สุนทรภู่ ถูกนำไปเป็นบทเรียนให้เด็กไทยได้ศึกษา จึงทำให้มีหลาย ๆ บทประพันธ์ที่คุ้นหู หรือ "วรรคทอง" ยกตัวอย่างเช่น
บางตอนจาก นิราศภูเขาทอง
ถึงโรงเหล้าเตากลั่นควันโขมง มีคันโพงผูกสายไว้ปลายเสา โอ้บาปกรรมน้ำนรกเจียวอกเรา ให้มัวเมาเหมือนหนึ่งบ้าเป็นน่าอาย
ทำบุญบวชกรวดน้ำขอสำเร็จ สรรเพชญโพธิญาณประมาณหมาย ถึงสุราพารอดไม่วอดวาย ไม่ใกล้กรายแกล้งเมินก็เกินไป
ไม่เมาเหล้าแล้วแต่เรายังเมารัก สุดจะหักห้ามจิตคิดไฉน ถึงเมาเหล้าเช้าสายก็หายไป แต่เมาใจนี้ประจำทุกค่ำคืนฯ
ถึงบางพูดพูดดีเป็นศรีศักดิ์ มีคนรักรสถ้อยอร่อยจิต แม้นพูดชั่วตัวตายทำลายมิตร จะชอบผิดในมนุษย์เพราะพูดจา
บางตอนจาก นิราศอิเหนา
จะหักอื่นขืนหักก็จักได้ หักอาลัยนี้ไม่หลุดสุดจะหัก สารพัดตัดขาดประหลาดนัก แต่ตัดรักนี้ไม่ขาดประหลาดใจ
บางตอนจาก พระอภัยมณี
บัดเดี๋ยวดังหงั่งเหง่งวังเวงแว่ว สะดุ้งแล้วเหลียวแลชะแง้หา เห็นโยคีขี่รุ้งพุ่งออกมา ประคองพาขึ้นไปจนบนบรรพต
แล้วสอนว่าอย่าไว้ใจมนุษย์ มันแสนสุดลึกล้ำเหลือกำหนด ถึงเถาวัลย์พันเกี่ยวที่เลี้ยวลด ก็ไม่คดเหมือนหนึ่งในน้ำใจคน
(พระฤาษีสอนสุดสาคร)
แม้นใครรักรักมั่งชังชังตอบ ให้รอบคอบคิดอ่านนะหลานหนา รู้สิ่งไรไม่สู้รู้วิชา รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี
(พระฤาษีสอนสุดสาคร)
อันนินทากาเลเหมือนเทน้ำ ไม่ชอกช้ำเหมือนเอามีดมากรีดหิน แค่องค์พระปฏิมายังราคิน คนเดินดินหรือจะสิ้นคนนินทา
เขาย่อมเปรียบเทียบความว่ายามรัก แต่น้ำผักต้มขมชมว่าหวาน ครั้นรักจางห่างเหินไปเนิ่นนาน แต่น้ำตาลว่าเปรี้ยวไม่เหลียวแล
ถึงม้วยดินสิ้นฟ้ามหาสมุทร ไม่สิ้นสุดความรักสมัครสมาน แม้เกิดในใต้ฟ้าสุธาธาร ขอพบพานพิศวาสไม่คลาดคลา
แม้เนื้อเย็นเป็นห้วงมหรรณพ พี่ขอพบศรีสวัสดิ์เป็นมัจฉา แม้เป็นบัวตัวพี่เป็นภุมรา เชยผกาโกสุมประทุมทอง
แม้เป็นถ้ำอำไพใคร่เป็นหงส์ จะร่อนลงสิงสู่เป็นคู่สอง ขอติดตามทรามสงวนนวลละออง เป็นคู่ครองพิศวาสทุกชาติไป
(ตอน พระอภัยมณีเกี้ยวนางละเวง ได้ถูกนำไปดัดแปลงเล็กน้อยกลายเป็นเพลง "คำมั่นสัญญา")
บางตอนจาก เพลงยาวถวายโอวาท
อันความคิดวิทยาเหมือนอาวุธ ประเสริฐสุดซ่อนใส่เสียในฝัก สงวนคมสมนึกใครฮึกฮัก จึงค่อยชักเชือดฟันให้บรรลัย
อันอ้อยตาลหวานลิ้นแล้วสิ้นซาก แต่ลมปากหวานหูไม่รู้หาย แม้นเจ็บอื่นหมื่นแสนจะแคลนคลาย เจ็บจนตายเพราะเหน็บให้เจ็บใจ
บางตอนจาก สุภาษิตสอนหญิง
มีสลึงพึงบรรจบให้ครบบาท อย่าให้ขาดสิ่งของต้องประสงค์ จงมักน้อยกินน้อยค่อยบรรจง อย่าจ่ายลงให้มากจะยากนาน
จะพูดจาปราศรัยกับใครนั้น อย่าตะคั้นตะคอกให้เคืองหู ไม่ควรพูดอื้ออึ้งขึ้นกู คนจะหลู่ล่วงลามไม่ขามใจ
เป็นมนุษย์สุดนิยมเพียงลมปาก จะได้ยากโหยหิวเพราะชิวหา แม้นพูดดีมีคนเขาเมตตา จะพูดจาพิเคราะห์ให้เหมาะความ
รู้วิชาก็ให้รู้เป็นครูเขา จึงจะเบาแรงตนช่วยขนขวาย มีข้าไทใช้สอย ค่อยสบาย ตัวเป็นนายโง่เง่าบ่าวไม่เกรง
บางตอนจาก ขุนช้างขุนแผน ตอนกำเนิดพลายงาม
แม่รักลูก ลูกก็รู้ อยู่ว่ารัก ใครอื่นสัก หมื่นแสน ไม่แม้นเหมือน จะกินนอนวอนว่า เมตตาเตือน จะจากเรือน ร้างแม่ ก็แต่กาย
ลูกผู้ชายลายมือนั้นคือยศ เจ้าจงอตส่าห์ทำสม่ำเสมียน
(ขุนแผนสอนพลายงาม)
บางตอนจาก นิราศภูเขาทอง
ถึงบางพูดพูดดีเป็นศรีศักดิ์ มีคนรักรสถ้อยอร่อยจิต แม้พูดชั่วตัวตายทำลายมิตร จะชอบผิดในมนุษย์เพราะพูดจาฯ
บางตอนจาก นิราศพระบาท
เจ้าของตาลรักหวานขึ้นปีนต้น เพราะดั้นด้นอยากลิ้มชิมรสหวาน ครั้นได้รสสดสาวจากจาวตาล ย่อมซาบซ่านหวานซึ้งตรึงถึงทรวง
ไหนจะยอมให้เจ้าหล่นลงเจ็บอก เพราะอยากวกขึ้นลิ้นชิมของหวง อันรสตาลหวานละม้ายคล้ายพุ่มพวง พี่เจ็บทรวงช้ำอกเหมือนตกตาล...
ที่มาของวันสุนทรภู่
องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ซึ่งเป็นผู้ที่มีหน้าที่ส่งเสริมและเผยแพร่ผลงาน ด้านวัฒนธรรมของประเทศสมาชิกต่างๆ ทั่วโลก ด้วยการประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติบุคคลผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมระดับโลก ในวาระครบรอบ 100 ปีขึ้นไป ประจำทุกปี โดยมีวัตถุประสงค์คือ เพื่อเผยแพร่เกียรติคุณและผลงานของผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรมระดับโลกให้ปรากฏแก่มวลสมาชิกทั่วโลก และเพื่อเชิญชวนให้ประเทศสมาชิกมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมเฉลิมฉลองร่วมกับประเทศที่มีผู้ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ
ในการนี้ รัฐบาลไทยโดยคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ กระทรวงศึกษาธิการ จะเป็นผู้สืบค้นบรรพบุรุษไทยผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม เพื่อให้ยูเนสโกประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติและได้ประกาศยกย่อง "สุนทรภู่" ให้เป็นบุคคลผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมระดับโลก โดยในวาระครบรอบ 200 ปีเกิด เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2529 ต่อมาในปี พ.ศ. 2530 นายเสวตร เปี่ยมพงศ์สานต์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ได้ดำเนินการจัดตั้งสถาบันสุนทรภู่ขึ้น เพื่อสนับสนุนการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับชีวิตและงานของสุนทรภู่ ให้แพร่หลายในหมู่เยาวชนและประชาชนชาวไทยมากยิ่งขึ้น ดังนั้น ทางรัฐบาลจึงได้กำหนดให้ วันที่ 26 มิถุนายน ของทุกปีเป็น "วันสุนทรภู่" ซึ่งนับแต่นั้น เมื่อถึงวันสุนทรภู่ จะมีการจัดงานรำลึกถึงสุนทรภู่ตามสถานที่ต่างๆ เช่น ที่พิพิธภัณฑ์สุนทรภู่ "วัดเทพธิดาราม" และ ที่จังหวัดระยอง และมีการจัดกิจกรรมเชิดชูเกียรติคุณและส่งเสริมศิลปะการประพันธ์บทกวีจากองค์กรต่างๆ โดยทั่วไป
ทั้งนี้ ผลงานของสุนทรภู่ยังเป็นที่นิยมในสังคมไทยอย่างต่อเนื่องตลอดมาไม่ขาดสาย และมีการนำไปดัดแปลงเป็นสื่อต่างๆ เช่น หนังสือการ์ตูน ภาพยนตร์ เพลง รวมถึงละคร มีการก่อสร้างอนุสาวรีย์สุนทรภู่ ไว้ที่ ตำบลบ้านกร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ซึ่งเป็นบ้านเกิดของบิดาของสุนทรภู่ และเป็นกำเนิดผลงานนิราศเรื่องแรกของท่านคือ นิราศเมืองแกลง
กิจกรรมที่ควรปฏิบัติ ในวันสุนทรภู่
1. มีการจัดนิทรรศการเกี่ยวกับประวัติชีวิตและผลงาน 2. มีการแสดงผลงานประเภทนิทานฯ ของสุนทรภู่ 3. มีการประกวด แข่งขัน ประชันสักวา ตอบคำถามเกี่ยวกับประวัติชีวิต และผลงานของสุนทรภู่
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
finghting!!!
|
|
|
|
|
|
Gold Price today, Gold Trend Price Prediction, ราคาทองคํา, วิเคราะห์ทิศทางทองคํา
|
Thanks: ฝากรูป dictionary
---------------------Charts courtesy of Moore Research Center, Inc. For more information on Moore Research products and services click here. --- http://www.mrci.com ----------
---------------------------------------------รูปกราฟแสดงราคาทองในอดีตปี 1974-1999 ของ Moore Research Center, Inc.
แสดงฤดูกาลที่ราคาทองขึ้นสูงสุดและตําสุด เอาแบบคร่าวๆ เส้นนําตาลหรือนําเงินก็ใกล้เคียงกัน เส้นนําตาลเฉลี่ย
15 ปี เส้นนําเงินเฉลี่ย 26 ปี ราคาตําสุดของเส้นนําตาล หรือเฉลี่ย 15 ปี ในเดือน ปลายเดือน เมษ และปลายเดือน สค
ต่อต้นเดือน กย[/color] สูงสุดในเดือน กพ กับ พย / ส่วนเฉลี่ย 26 ปี ราคาตําสุด ต้น กค กับ ปลาย สค และราคาสูงสุดในเดือน
กพ และ กลางเดือน ตค -----
แค่ดูคร่าวๆ เป็นแนวทาง อย่ายึดมั่นว่าจะต้องเป็นตามนี้
ข้างล่างเป็นกราฟราคานํามัน ตามฤดูกาล จาก Charts courtesy of Moore Research Center, Inc.
Thanks: ฝากรูป dictionary
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|