Forex-Currency Trading-Swiss based forex related website. Home ----- กระดานสนทนาหน้าแรก ----- Gold Chart,Silver,Copper,Oil Chart ----- gold-trend-price-prediction ----- ติดต่อเรา
หน้า: [1] 2 3 ... 6   ลงล่าง
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: ประวัติ ตำนาน เรื่องเล่า  (อ่าน 33091 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
jainu
Moderator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 26, 2012, 09:59:36 AM »

พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง 9 องค์ พร้อมคาถาบูชา



พระแก้วมรกต 
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เขตพระนคร กทม.

คาถาบูชา (ตั้งนะโม 3 จบ)

"พุทธะมะหามะณีระตะนะปะฏิมากะรัง นะมามิหัง เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โสตถิ เม โหตุ สัพพะทา,

ทุติยัมปิ พุทธะมะหามะณีระตะนะปะฏิมากะรัง นะมามิหัง เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โสตถิ เม โหตุ สัพพะทา,

ตะติยัมปิ พุทธะมะหามะณีระตะนะปะฏิมากะรัง นะมามิหัง เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โสตถิ เม โหตุ สัพพะทาฯ"





พระพุทธโสธร
วัดโสธรวรารามวรวิหาร อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา

คาถาบูชา (ตั้งนะโม 3 จบ)

"นะ ทรงฟ้า โม ทรงดิน พุทธ ทรงสินธุ์ ธา ทรงสมุทร ยะ ทรงอากาศ พุทธังแคล้วคลาด ธัมมังแคล้วคลาด สังฆังแคล้วคลาด ศัตรูภัยพาลวินาสสันติ นะ กาโล กะกุสันโธ สิโร มัชเฌ โม กโร โกนาคะมะโน นานาจิตเต พุทธะกาโล กัสสะโป พุทโธ จะ ทะเวเนเต ธา กโร สีสักยะมุนี โคตะโม ยะ กันเต ยะ กาโล อะริยะเมตเตยโย ชิวหาทีเต ปัญจะพุทธา นะมามิหัง" 




พระพุทธชินราช
 วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร อ.เมือง จ.พิษณุโลก

คาถาบูชา (ตั้งนะโม 3 จบ)

"อิเมหิ นานาสักกาเรหิ อะภิปูชิเตหิ ทีฆายุโก โหมิ อะโรโค สุขิโต สิทธิกิจจัง สิทธิกัมมัง ปิยัง มะมะ ปะสิทธิ ลาโภ ชะโย โหตุ สัพพะทา พุทธะชินะราชา อภิปาเลตุ มัง นะโมพุทธายะฯ" 





พระพุทธไตรรัตนนายก(หลวงพ่อโต)
วัดพนัญเชิง วรวิหาร จ.พระนครศรีอยุธยา

คาถาบูชา (ตั้งนะโม 3 จบ)

"อิมินา สักกาเรนะ พุทธัง อะภิปูชะยามิ, ทุติยัมปิ อิมินา สักกาเรนะ พุทธัง อะภิปูชะยามิ, ตะติยัมปิ อิมินา สักกาเรนะ พุทธัง อะภิปูชะยามิ"





หลวงพ่อวัดไร่ขิง
วัดไร่ขิง อ.สามพราน จ.นครปฐม

คาถาบูชา (ตั้งนะโม 3 จบ)

"กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา มะเหสักขายะ เทวะตายะ อะธิปาถิตัง อิทธิปาฏิหาริกัง มังคะละจินตารามพุทธะปะฏิมากะรัง ปูชามิหัง ยาวะชีวัญจะ สุกัมมิโก สุขะปัตถิตายะ 




หลวงพ่อวัดบ้านแหลม
วัดเพชรสมุทรวรวิหาร อ.เมือง สมุทรสงคราม

คาถาบูชา (ตั้งนะโม 3 จบ)

"นะ มะ ระ อะ นะ เท วะ อะ" หรือ "สะทา วะชิระสะมุททะวะระวิหาเร ปะติฏฐิตัง นะระเทเวหิ ปูชิตัง ปัตตะหัตถัง พุทธะรูปัง อะหัง วันทามิ ทูระโต" 





พระพุทธสิหิงค์
หอพระพุทธสิหิงค์ ศาลากลางจ.นครศรีธรรมราช

คาถาบูชา (ตั้งนะโม 3 จบ)

"อิติ ปะวะระสิหิงโค อุตตะมะยะโสปิ เตโช ยัตถะ กัตถะ จิตโต โส สักกาโร อุปาโท สะการะพุทธะสาสะนัง โชตะยันโต วะ ทีโป สุระณะเรหิ มะหิโต ธะระมาโน วะ พุทโธติ" 





พระใส
วัดโพธิ์ชัย อ.เมือง จ.หนองคาย

คาถาบูชา (ตั้งนะโม 3 จบ)

"อะระหัง พุทโธ โพธิชะโย เสยยะคุโณ โพธิสัตโต มะหาลาโภ ปิยัง มะมะ ภะวันตุ โน โหตุ สัพพะทา" 





พระพุทธนเรศร์สักชัยไพรีพินาศ
วัดบุพพาราม อ.เมือง จ.เชียงใหม

คาถาบูชา (ตั้งนะโม 3 จบ)

"อิติจิตตัง เอหิ เทวะตาหิ จะ มะหาเตโช นะระปูชิโต โสระโส ปัจจะยาธิปะติ นะเรโส จ มะหาลาภัง สะทา โสตถี ภะวันตุ เม" 


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 26, 2012, 11:17:04 AM โดย nujai » บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Moderator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #1 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 26, 2012, 11:17:59 AM »

พระประจำวันเกิด

















บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Moderator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #2 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 26, 2012, 11:21:10 AM »

ประวัติสมเด็จพระสังฆราช

สมเด็จพระสังฆราช เป็นตำแหน่งที่มีมานานแล้ว ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย ดังมีหลักฐานจากศิลาจารึก ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ได้จารึกคำว่าสังฆราชไว้ด้วย
สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก เป็นตำแหน่งสมณศักดิ์สูงสุดฝ่ายพุทธจักรของคณะสงฆ์ไทย ทรงเป็นประธานการปกครองคณะสงฆ์ ตำแหน่งนี้น่าจะมีที่มาจากคณะสงฆ์ไทย นำแบบอย่างมาจาก ลัทธิลังกาวงศ์ ซึ่งพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ได้ทรงอัญเชิญพระเถระผู้ใหญ่ของลังกา ที่เชี่ยวชาญในพระไตรปิฎก เข้ามาเผยแผ่พระพุทธศาสนาฝ่าย เถรวาทในประเทศไทย

ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้เพิ่มตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชเป็น สกลมหาสังฆปรินายก มีอำนาจว่ากล่าวออกไปถึงหัวเมือง โดยมีพระสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ เจ้าคณะใหญ่ฝ่าย คามวาสี เป็นสังฆราชขวา สมเด็จพระวันรัตเจ้าคณะฝ่ายอรัญวาสี เป็นสังฆราชซ้าย องค์ใดมีพรรษายุกาลมากกว่า ก็ได้เป็นพระสังฆราช ในปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา พระอริยมุนี ได้ไปสืบอายุพระพุทธศาสนาที่ลังกาทวีป มีความชอบมาก เมื่อกลับมาได้รับสมณศักดิ์สูงขึ้นตามลำดับจนเป็นสมเด็จพระสังฆราช พระเจ้าเอกทัศน์มีพระราชดำริให้คงราชทินนามนี้ไว้ จึงทรงตั้งราชทินนามสมเด็จพระสังฆราชเป็น สมเด็จพระอริยวงศาสังฆราชาธิบดี และมาเป็น สมเด็จพระอริยวงศาญาณ ในสมัยกรุงธนบุรี และได้ใช้ต่อมาจนถึง รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ จึงได้ทรงปรับปรุงเพิ่มเติมเป็น สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ ซึ่งได้ใช้มาจนถึงปัจจุบัน

ตามทำเนียบสมณศักดิ์ตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ที่มีตำแหน่งสังฆปรินายก ๒ องค์ ที่เรียกว่า พระสังฆราชซ้าย ขวา ดังกล่าวแล้ว ยังมีคำอธิบายอีกประการหนึ่งว่า สมเด็จพระอริยวงศ์ เป็นพระสังฆราชฝ่ายขวาว่า คณะเหนือ พระพนรัตน์เป็นพระสังฆราชฝ่ายซ้ายว่า คณะใต้ มีสุพรรณบัตรจารึกพระนามเมื่อทรงตั้งทั้ง ๒ องค์ แต่ที่สมเด็จพระพนรัตน์ โดยปกติไม่ได้เป็นสมเด็จ ส่วนพระสังฆราชฝ่ายขวานั้นเป็นสมเด็จทุกองค์

จึงเรียกว่าสมเด็จพระสังฆราช จึงเป็นมหาสังฆปรินายก มีศักดิ์สูงกว่าพระสังฆราชฝ่ายซ้าย ที่พระพนรัตน์แต่เดิม ทรงยกเกียรติยศเป็นสมเด็จแต่บางองค์ มาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จึงเป็นสมเด็จทุกองค์ เมื่อครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี วิธีการปกครองพระราชอาณาจักรในครั้งนั้น หัวเมืองใหญ่ที่ห่างไกลจากราชธานี เป็นเมืองประเทศราชโดยมาก แม้เมืองใหญ่ที่อยู่ใกล้ราชธานี ก็ตั้งเจ้านายในออกไปครอง ทำนองเจ้าประเทศราช เมืองใหญ่แต่ละเมือง จึงน่าจะมีสังฆราชองค์หนึ่ง เป็นสังฆปรินายกของสังฆบริษัทในเมืองนั้น ดังปรากฎเค้าเงื่อนในทำเนียบชั้นหลัง ยังเรียกเจ้าคณะเมืองว่าพระสังฆราชอยู่หลายเมือง จนมาถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ จึงได้ทรงเปลี่ยนมาเป็นสังฆปาโมกข์

พระสงฆ์ฝ่ายคามวาสีและอรัญวาสีนี้มีมาแต่ครั้งพุทธกาล คือฝ่ายที่พำนักอยู่ใกล้เมืองเพื่อศึกษาพระธรรมวินัย เรียกว่า คามวาสี อีกฝ่ายหนึ่งบำเพ็ญสมณธรรมในที่สงบเงียบตามป่าเขา ห่างไกลจากบ้านเมืองเรียกว่า อรัญวาสี ภิกษุ แต่ละฝ่ายยังแบ่งออกเป็นคณะ แต่ละคณะจะมีพระราชาคณะปกครอง หัวหน้าพระราชาคณะเรียกว่า สมเด็จพระราชาคณะ

แบบแผนการปกครองคณะสงฆ์ของไทย เริ่มจัดวางหลักตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย มีการพัฒนาเพิ่มเติมใน สมัยกรุงศรีอยุธยาและต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ก็ได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงบ้างเล็กน้อยมาตามลำดับ จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ฯ การปกครองคณะสงฆ์ก็ยังจัดโดยมีตำแหน่งเปรียบเทียบดังนี้

สกลสังฆปรินายก ได้แก่สมเด็จพระสังฆราช
มหาสังฆนายก ได้แก่เจ้าคณะใหญ่
สังฆนายก ได้แก่เจ้าคณะรอง
มหาสังฆปาโมกข์ ได้แก่เจ้าคณะมณฑล
สังฆปาโมกข์ ได้แก่เจ้าคณะจังหวัดที่เป็นพระราชาคณะ
สังฆวาห ได้แก่เจ้าคณะจังหวัดที่เป็นพระครู


ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้สถาปนาเปลี่ยนคำนำพระนาม ราชวงค์ผู้ดำรงสมณศักดิ์ในตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชขึ้นใหม่ว่า สมเด็จพระมหาสมณเจ้า ทรงเศวตฉัตร ๕ ชั้น พระราชวงค์ชั้นรองลงมา เท่าที่ปรากฎ มีชั้นหม่อมเจ้าผู้ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช มีคำนำหน้า พระนามว่า สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ทรงฉัตร ๕ ชั้น

ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช ๒๕๐๕ ได้บัญญัติถึงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชได้ว่า ในกรณีตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชว่างลง ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการประกาศนาม สมเด็จพระราชาคณะ ที่มีอาวุโสสูงสุดโดยพรรษา เพื่อปฎิบัติหน้าที่ในตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช จากนั้นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นำพระนามสมเด็จพระราชาคณะ ๔ รูป คือ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ สมเด็จพระวันรัต สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ และสมเด็จพระพุฒาจารย์ เสนอนายกรัฐมนตรี เพื่อนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี แล้วนำกราบถวายบังคมทูล ให้พระมหากษัตริย์ทรงวินิจฉัย และจะมีราชโองการโปรดเกล้า ฯ สถาปนาสมเด็จพระราชาคณะรูปใดรูปหนึ่ง ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นสมเด็จพระสังฆราชต่อไป


 

ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ปัจจุบัน มีสมเด็จพระสังฆราช 19 องค์ ดังต่อไปนี้

 

 องค์ที่ ๑ สมเด็จพระสังฆราช (ศรี)
วัดระฆังโฆสิตาราม   


 ประวัติ
ทรงดำรงตำแหน่ง พ.ศ. ๒๓๒๕-๒๓๓๖
ในที่ ๑ รวมเป็นเวลา ๑๑ ปี
พระนามเดิม ศรี
พระฉายา ไม่ปรากฏหลักฐาน
นามสกุล -
พระชนก ไม่ปรากฏหลักฐาน
พระชนนี ไม่ปรากฏหลักฐาน
ประสูติ ไม่ปรากฏหลักฐาน
ทรงอุปสมบท ณ วัดพนัญเชิง ตำบลคลองสวนพลู อำเภอกรุงเก่า(อำเภอพระนครศรี อยุธยาในปัจจุบัน) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. ๒๓๒๕
สิ้นพระชนม์ พ.ศ. ๒๓๓๖



  องค์ที่ ๒ สมเด็จพระสังฆราช (สุก)
วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์


ประวัติ
ทรงดำรงตำแหน่ง พ.ศ. ๒๓๓๖-๒๓๕๙
ในที่ ๑ รวมเป็นเวลา ๒๓ ปี
พระนามเดิม สุก
พระฉายา ไม่ปรากฏหลักฐาน
นามสกุล -
พระชนก ไม่ปรากฏหลักฐาน
พระชนนี ไม่ปรากฏหลักฐาน
ประสูติ ประสูติในสมัยกรุงศรีอยุธยา หลัก ฐานเอกสารต่างๆ ได้หายไป มา ปรากฏหลักฐานตอนที่มาอยู่วัด สลัก(วัดมหาธาตุ) โดยมีสมณศักดิ์ เป็น พระญาณสมโพธิ์ และได้ เลื่อนสมณศักดิ์ขึ้นเป็น พระธรรม เจดีย์ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๓
ทรงอุปสมบท -
ดำรงตำแหน่ง เมื่อ พ.ศ. ๒๓๓๖
สิ้นพระชนม์ พ.ศ. ๒๓๕๙ สิริรวมพระชนมายุ ๘๕ ปี

 

องค์ที่ ๓ สมเด็จพระสังฆราช (มี) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์   
ประวัติ
ทรงดำรงตำแหน่ง พ.ศ. ๒๓๕๙-๒๓๖๒ ในที่ ๒ รวมเป็นเวลา ๔ ปี
พระนามเดิม มี
พระฉายา ไม่ปรากฏหลักฐาน
นามสกุล -
พระชนก ไม่ปรากฏหลักฐาน
พระชนนี ไม่ปรากฏหลักฐาน
ประสูติ วันพุธที่ ๑๕ เดือน ๘ ขึ้น ๑๒ ค่ำ ปี มะเมีย จ.ศ.๑๑๑๒ พ.ศ. ๒๒๙๓ (ไม่ ปรากฏภูมิลำเนาเดิม)
ทรงอุปสมบท   
ดำรงตำแหน่ง เมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๙
สิ้นพระชนม์ วันที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ. ๒๓๖๒ สิริ รวมพระชนมายุ ๗๐ ปี





 องค์ที่ ๔ สมเด็จพระสังฆราช (สุก)
วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ เดิมอยู่วัดราชสิทธาราม   

 ประวัติ
ทรงดำรงตำแหน่ง พ.ศ. ๒๓๖๓-๒๓๖๔ ในที่ ๑ รวมเป็นเวลา ๒ ปี
พระนามเดิม สุก
พระฉายา ญาณสํวโร
นามสกุล -
พระชนก ไม่ปรากฏหลักฐาน
พระชนนี ไม่ปรากฏหลักฐาน
ประสูติ วันศุกร์ เดือนยี่ พ.ศ.๒๒๗๖ ในของพระเจ้าแผ่นดิน พระเจ้าบรมโกษฐ์ กรุงศรีอยุธยา
ทรงอุปสมบท 
ดำรงตำแหน่ง วันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๖๓
สิ้นพระชนม์ วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๓๖๔ สิริรวมพระชนมายุ ๘๙ ปี




องค์ที่ ๕ สมเด็จพระสังฆราช (ด่อน)
วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ เดิมอยู่วัดสระเกศ
   
 ประวัติ
ทรงดำรงตำแหน่ง พ.ศ. ๒๓๖๕-๒๓๘๕ ในที่ ๒-๓ รวมเป็นเวลา ๒๐ ปี
พระนามเดิม ด่อน
พระฉายา ไม่ปรากฏหลักฐาน
นามสกุล -
พระชนก ไม่ปรากฏหลักฐาน
พระชนนี ไม่ปรากฏหลักฐาน
ประสูติ วันศุกร์ เดือน ๔ ขึ้น ๑๑ ค่ำ ปี มะเส็ง พ.ศ.๒๓๐๔ ในของ พระเจ้าเอกทัศน์ กรุงศรีอยุธยา
ทรงอุปสมบท -
ดำรงตำแหน่ง เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๓๖๕
สิ้นพระชนม์ วันศุกร์ เดือน ๑๐ แรม ๑๔ ค่ำ ปี ขาล ตรงกับวันที่ ๒๓ กันยายน พ. ศ. ๒๓๘๕

บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Moderator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #3 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 26, 2012, 11:21:58 AM »


 องค์ที่ ๖ สมเด็จพระสังฆราช (นาค)
วัดราชบุรณะ (วัดเลียบ)

 ประวัติ
ทรงดำรงตำแหน่ง พ.ศ. ๒๓๘๖-๒๓๙๒ ในที่ ๓ รวมเป็นเวลา ๗ ปี
พระนามเดิม นาค
พระฉายา ไม่ปรากฏหลักฐาน
นามสกุล -
พระชนก ไม่ปรากฏหลักฐาน
พระชนนี ไม่ปรากฏหลักฐาน
ประสูติ วันอาทิตย์ เดือน ๔ แรม ๔ ค่ำ ปี ชวด พ.ศ.๒๓๐๑ ในแผ่นดิน พระ เจ้าเอกทัศน์ กรุงศรีอยุธยา
ทรงอุปสมบท -
ดำรงตำแหน่ง วันที่ ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๓๘๖
สิ้นพระชนม์ ปีระกา พ.ศ. ๒๓๙๒ สิริรวมพระชน มายุ ๘๖ ปี


 
องค์ที่ ๗ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส วัดพระเชตุพน วิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์)  
ประวัติ
ทรงดำรงตำแหน่ง พ.ศ. ๒๓๙๔-๒๓๙๖ ในที่ ๔ รวมเป็นเวลา ๒ ปี
พระนามเดิม พระองค์เจ้าวาสุกรี
พระฉายา ไม่ปรากฏหลักฐาน
นามสกุล -
พระชนก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า จุฬาโลก (เป็นพระเจ้าลูกยาเธอ องค์ที่ ๒๘)
พระชนนี เจ้าจอมมารดาจุ้ย (ภายหลังได้ เป็นท้าวทรงกันดาล)
ประสูติ วันเสาร์ เดือนอ้าย ขึ้น ๕ ค่ำ ปีจอ จ.ศ. ๑๑๕๒ ตรงกับวันที่ ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๓๓ ชวด พ.ศ.๒๓๐๑ ในแผ่นดิน พระ เจ้าเอกทัศน์ กรุงศรีอยุธยา
ทรงอุปสมบท -
ดำรงตำแหน่ง เมื่อวันศุกร์ เดือน ๙ ขึ้น ๕ ค่ำ ปี กุน ตรงกับวันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๓๙๔ เดิมไม่ได้เรียกว่า สมเด็จ พระสังฆราช แต่เรียกว่า กรมสม เด็จพระปรมานุชิตชิโนรส ศรีสุคตขัติยวงศ์ แต่ที่ ๖ ได้ ทรงมีราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศ สถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระ ปรมานุชิตชิโนรส ศรีสุคตขัติยวงศ์ เมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๔)
สิ้นพระชนม์ วันศุกร์ เดือนอ้าย ขึ้น ๙ ค่ำ ตรงกับวันที่ ๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๙๖ สิริรวมพระชนมายุ ๖๓ ปี
 

 
 องค์ที่ ๘ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ วัดบวรนิเวศวิหาร 
ประวัติ
ทรงดำรงตำแหน่ง พ.ศ. ๒๓๙๖ – ๒๔๓๕ ในที่ ๔-๕ รวมเป็นเวลา ๓๙ ปี
พระนามเดิม พระองค์เจ้าฤกษ์
พระฉายา ปญฺญาอคฺคโต
นามสกุล -
พระชนก กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์
พระชนนี เจ้าจอมมารดาน้อยเล็ก
ประสูติ วันพฤหัสบดี เดือน ๑๐ ขึ้น ๖ ค่ำ ปีมะเส็ง เอกศก จ.ศ. ๑๑๗๑ ตรงกับวันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๓๕๒ ในที่ ๒
ทรงอุปสมบท -
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. ๒๓๙๖ ในที่ ๔
สิ้นพระชนม์ วันพฤหัสบดี ที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๔๓๕ สิริรวมพระชนมายุ ๘๓ ปี


 
 องค์ที่ ๙ สมเด็จพระสังฆราช (สา ป.ธ.๙)
วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม 

ประวัติ
ทรงดำรงตำแหน่ง พ.ศ. ๒๔๓๖ – ๒๔๔๒ ในที่ ๕ รวมเป็นเวลา ๖ ปี
พระนามเดิม สา
พระฉายา ปุสฺสเทโว
นามสกุล -
พระชนก จัน เป็นชาวตำบลบางเชิงกราน จังหวัดราชบุรี
พระชนนี ศุข เป็นชาวตำบลไผ่ใหญ่ แขวง เมืองนนทบุรี
ประสูติ วันพฤหัสบดีที่ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๓๕๖ ในที่ ๒
ทรงอุปสมบท ครั้งที่ ๑ พ.ศ. ๒๓๗๖ และได้ลา สิกขา ครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๓๙๔ เมื่อ ผนวชครั้งใหม่ได้ ๗ พรรษา ก็ทรง สอบได้ ๙ ประโยค อีกครั้งหนึ่ง (คนจึงมักพูดว่า สมเด็จพระ สังฆราชสา ๑๘ ประโยค)
ดำรงตำแหน่ง วันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๔๓๖
สิ้นพระชนม์ วันที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๒ สิริรวมพระชนมายุ ๘๗ ปี



องค์ที่ ๑๐ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส (พระองค์เจ้า มนุษยนาคมานพ ป.ธ.๕) วัดบวรนิเวศวิหาร 
ประวัติ
ทรงดำรงตำแหน่ง ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๔๒ – ๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๖๔ ในที่ ๕-๖ รวมเป็นเวลา ๒๒ ปี
พระนามเดิม มนุษย์นาคมานพ
พระฉายา ไม่ปรากฏหลักฐาน
นามสกุล -
พระชนก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ทรงเป็นพระราชโอรส องค์ที่ ๔๗)
พระชนนี เจ้าจอมมารดาน้อยแพ
ประสูติ วันพฤหัสบดีที่๑๒ เดือน ๕ แรม ๗ ค่ำ ปีวอก พ.ศ. ๒๔๐๓ ณ ตำหนักหลังพระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน ในมหาราชวัง
การศึกษา พ.ศ. ๒๔๒๔ ทรงสอบได้ ป.ธ. ๕
ทรงอุปสมบท วันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๔๒๒
ทรงบรรพชา พ.ศ. ๒๔๑๖ ขณะมีพระชนมายุ ๑๔ พรรษา ทรงผนวชได้ ๗๘ วันก็ทรงลาสิกขา
ดำรงตำแหน่ง วันที่ ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๔๒
สิ้นพระชนม์ ๒ สิงหาคม ๒๔๖๔ สิริรวมพระชนมายุ ๖๒ ปี
 
บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Moderator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #4 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 26, 2012, 11:23:21 AM »


องค์ที่ ๑๑ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ ( หม่อมเจ้าภุชงค์ ป.ธ. ๕ ) วัดราชบพิธ
ประวัติ
ทรงดำรงตำแหน่ง ๒๐ สิงหาคม ๒๔๖๔ – ๒๕ สิงหาคม ๒๔๘๐ ใน ๖-๗-๘ รวมเป็น เวลา ๑๗ ปี
พระนามเดิม หม่อมเจ้าภุชงค์
พระฉายา สิริวฑฺฒโน
นามสกุล ชมพูนุช
พระชนก กรมขุนเจริญผลพูลสวัสดิ์
พระชนนี หม่อมปุ่น
ประสูติ วันศุกร์ที่ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๐๒
การศึกษา พ.ศ. ๒๔๒๙ ทรงสอบได้ ป.ธ. ๕
 
ทรงอุปสมบท พ.ศ. ๒๔๒๒
ทรงบรรพชา พ.ศ. ๒๔๑๖
ดำรงตำแหน่ง วันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๔๖๔
สิ้นพระชนม์ วันที่ ๒๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ สิริ รวมพระชนมายุ ๗๙ พรรษา ๕๘

 

องค์ที่ ๑๒ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ป.ธ. ๕)
วัดสุทัศนเทพวราราม

 ประวัติ
ทรงดำรงตำแหน่ง ๑๕ พฤศจิกายน ๒๔๘๑ – ๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๘๗ ในที่ ๘ รวมเป็นเวลา ๖ ปี
พระนามเดิม แพ
พระฉายา ติสฺสเทโว
นามสกุล พงษ์ปาละ
พระชนก นุตร์
พระชนนี อ้น
ประสูติ วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๓๙๙ ณ บางลำภูล่าง อำเภอคลองสาน จังหวัดธนบุรี
การศึกษา พ.ศ. ๒๔๒๘ ทรงสอบได้ ป.ธ. ๕
 
ทรงอุปสมบท ณ วัดเศวตฉัตร และเสด็จมาประทับ ณ วัดสุทัศน์ฯ
ทรงบรรพชา พ.ศ. ๒๔๑๑ จำพรรษา ณ วัดทองนพคุณ
ดำรงตำแหน่ง วันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๔๘๑
สิ้นพระชนม์ วันที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๗ สิริรวมพระชนมายุ ๘๙ พรรษา
 


องค์ที่ ๑๓ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์
(ม.ร.ว. ชื่น ป.ธ. ๗) วัดบวรนิเวศวิหาร

ประวัติ
ทรงดำรงตำแหน่ง ๓๑ มกราคม ๒๔๘๘ – ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๐๑ ใน ๘-๙ รวมเป็นเวลา ๑๓ ปี ๙ เดือน ๑๐ วัน
พระนามเดิม หม่อมชื่น
พระฉายา สุจิตฺโต
นามสกุล นพวงษ์
พระชนก หม่อมเจ้าถนอม
พระชนนี หม่อมเอม
ประสูติ วันที่ ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๑๕
การศึกษา พ.ศ. ๒๔๓๗ ทรงสอบได้ ป.ธ. ๗
 
ทรงอุปสมบท พ.ศ. ๒๔๓๕
ทรงบรรพชา พ.ศ. ๒๔๓๐ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร
ดำรงตำแหน่ง วันที่ ๓๑ มกราคม ๒๔๘๘
สิ้นพระชนม์ วันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๐๑ สิริรวมพระชนมายุ ๘๕ พรรษา ๖๖



องค์ที่ ๑๔ สมเด็จพระสังฆราช (ปลด ป.ธ. ๙)
วัดเบญจมบพิตร

 

ประวัติ
ทรงดำรงตำแหน่ง ๔ พฤษภาคม ๒๕๐๓ –๑๗ มิถุนายน ๒๕๐๕ ในที่ ๙ รวมเป็นเวลา ๒ ปี
พระนามเดิม ปลด
พระฉายา กิตฺติโสภโณ
นามสกุล เกตุทัต์
พระชนก ขุนพิษณุโลกประชานาถ (ล้ำ เกตุทัต)
พระชนนี ปลั่ง
ประสูติ วันจันทร์ที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๓๒ ณ บ้านในตรอกหลังตลาด พาหุรัดติดกับวัดราชบุรณะ กรุงเทพมหานคร
การศึกษา พ.ศ. ๒๔๕๑ ทรงสอบได้ ป.ธ. ๙ ขณะเป็นสามเณร
 
ทรงอุปสมบท วันที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๕๒
ทรงบรรพชา พ.ศ. ๒๔๔๓ ขณะอายุได้ ๑๒ ปี
ดำรงตำแหน่ง วันที่ ๔ พฤษภาคม ๒๕๐๓
สิ้นพระชนม์ วันที่ ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๐๕ สิริรวมพระชนมายุ ๗๓ พรรษา ๕๓



องค์ที่ ๑๕ สมเด็จพระสังฆราช (อยู่ ป.ธ. ๙)
วัดสระเกศ

ประวัติ
ทรงดำรงตำแหน่ง ๔ พฤษภาคม ๒๕๐๖ – ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๐๘ ในที่ ๙ รวมเป็นเวลา ๒ ปี
พระนามเดิม อยู่
พระฉายา ญาโณทโย
นามสกุล ช้างโสภา (แซ่ฉั่ว)
พระชนก ตรุษ
พระชนนี จันทน์
ประสูติ วันจันทร์ที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๑๗ ในที่ ๕ ที่เรือนแพ หน้าวัดกัลยาณมิตร อำเภอบางกอกใหญ่ จังหวัดธนบุรี
การศึกษา พ.ศ. ๒๔๔๕ ทรงสอบได้ ป.ธ. ๙
 
ทรงอุปสมบท พ.ศ. ๒๔๓๗ ณ วัดสระเกศ
ทรงบรรพชา เมื่อพระชนมายุได้๑๒ พรรษา (พ.ศ. ๒๔๒๙)
ดำรงตำแหน่ง วันที่ ๔ พฤษภาคม ๒๕๐๖
สิ้นพระชนม์ วันที่ ๑๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๘ สิริรวมพระชนมายุ ๙๑ พรรษา ๗๑



องค์ที่ ๑๖ สมเด็จพระสังฆราช (จวน ป.ธ. ๙)
วัดมกุฏกษัตริยาราม

 ประวัติ
ทรงดำรงตำแหน่ง ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๐๘ –๑๘ ธันวาคม ๒๕๑๔ ในที่ ๙ รวมเป็นเวลา ๖ ปี
พระนามเดิม จวน
พระฉายา อุฏฺฐายี
นามสกุล ศิริสม
พระชนก หงส์
พระชนนี จีน
ประสูติ วันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๐ ณ ตำบลบ้านโป่ง อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี
การศึกษา พ.ศ. ๒๔๗๒ ทรงสอบได้ ป.ธ. ๙
 
ทรงอุปสมบท วันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๔๖๐ ณ วัดมกุฏกษัตริยาราม
ทรงบรรพชา วันที่ ๒ กรกฎาคม ๒๔๕๗ ณ วัดมกุฏกษัตริยาราม
ดำรงตำแหน่ง วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๐๘
สิ้นพระชนม์ วันที่ ๑๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๔ สิริรวมพระชนมายุ ๗๔ พรรษา ๕๔



องค์ที่ ๑๗ สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น ป.ธ. ๖)
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม

ประวัติ
ทรงดำรงตำแหน่ง ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๑๕ – ๗ ธันวาคม ๒๕๑๖ ในที่ ๙ รวมเป็นเวลา ๑ ปี
พระนามเดิม ปุ่น
พระฉายา ปุณฺณสิริ
นามสกุล สุขเจริญ
พระชนก เน้า
พระชนนี วัน
ประสูติ วันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๓๙ ณ ตำบลบ้านสองพี่น้อง อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี
การศึกษา พ.ศ. ๒๔๖๗ ทรงสอบได้ ป.ธ. ๖
 
ทรงอุปสมบท พ.ศ. ๒๔๖๐ ณ วัดสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี แล้วมาจำพรรษา ณ วัดพระเชตุพนฯ
ทรงบรรพชา เมื่อพระชนมายุได้ ๑๖ ปี ได้บรรพชาที่วัดสองพี่น้อง พอได้ ๑ ปี ก็ลาสิกขากลับไปช่วยบิดามารดาทำนา ๑ ปี แล้วจึงกลับมา บรรพชาใหม่
ดำรงตำแหน่ง วันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๑๕
สิ้นพระชนม์ วันที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๖ สิริรวมพระชนมายุ ๗๗ พรรษา ๕๖



องค์ที่ ๑๘ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ ป.ธ. ๔)
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม

ประวัติ
ทรงดำรงตำแหน่ง ๒๒ มิถุนายน ๒๕๑๗ –๒๗ สิงหาคม ๒๕๓๑ ในที่ ๙ รวมเป็นเวลา ๑๔ ปี ๒ เดือน ๕ วัน
พระนามเดิม วาสน์
พระฉายา วาสโน
นามสกุล นิลประภา
พระชนก บาง
พระชนนี ผาด
ประสูติ วันพุธที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๔๐ ณ ตำบลบ่อโพง อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
การศึกษา พ.ศ. ๒๔๕๓ ทรงสอบเทียบได้ชั้นมัธยมปีที่ ๒ ทรงสอบได้ ป.ธ. ๔
 
ทรงอุปสมบท วันที่ ๒ กรกฎาคม ๒๔๖๑ ณ วัดราชบพิธ
ทรงบรรพชา วันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๔๕๕ ณ วัดราชบพิธใหม่
ดำรงตำแหน่ง วันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๑๗
สิ้นพระชนม์ วันที่ ๒๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๑ สิริรวมพระชนมายุ ๙๑ พรรษา ๗๐



องค์ที่ ๑๙ สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ ป.ธ. ๙)
วัดบวรนิเวศวิหาร (องค์ปัจจุบัน )

ประวัติ
ทรงดำรงตำแหน่ง ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๒ - ปัจจุบัน
พระนามเดิม เจริญ
พระฉายา สุวฑฺฒโน
นามสกุล คชวัตร
พระชนก น้อย
พระชนนี กิมน้อย
ประสูติ วันศุกร์ที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๖ ที่ ตำบลบ้านเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี
การศึกษา พ.ศ. ๒๔๗๕ ทรงสอบได้ น.ธ. เอก พ.ศ. ๒๔๘๔ ทรงสอบได้ ป.ธ. ๙
 
ทรงอุปสมบท วันที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๔๗๖ ณ วัดเทวสังฆาราม ๑ พรรษา พอออกพรรษาแล้วได้ทรงทำทัฬหีกรรม(ญัตติซ้ำ) เป็นธรรมยุต ที่วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๖ โดยมีสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ (หม่อมชื่น สุจิตฺโต นพวงษ์ ป.ธ. ๗) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระเทพเมธี (จู อิสฺสรญาโณ ทีปรักษพันธุ์ ป.ธ. ๗) เป็นพระกรรมวาจาจารย์
ทรงบรรพชา พ.ศ. ๒๔๖๙ ณ วัดเทวสังฆาราม (วัดเหนือ) จังหวัดกาญจนบุรี
ดำรงตำแหน่ง วันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๒
สมณศักดิ์ พ.ศ. ๒๔๙๐ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ที่พระโศภนคณาภรณ์
พ.ศ. ๒๔๙๕ เป็นพระราชาคณะชั้น ราช ในราชทินนามเดิม
พ.ศ. ๒๔๙๘ เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ในราชทินนามเดิม
พ.ศ. ๒๔๙๙ เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ที่พระธรรมวราภรณ์
พ.ศ. ๒๕๐๔ เป็นพระราชาคณะชั้นเจ้าคณะรอง ที่พระสาสนโสภณ
พ.ศ. ๒๕๑๕ เป็นสมเด็จพระราชาคณะ ที่สมเด็จพระญาณสังวร
บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Moderator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #5 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 26, 2012, 12:08:49 PM »

ย้อนตำนาน…ครุฑ

กางกรอุ้มโอบแก้ว กากี
ปีกกระพือพาศรี สู่งิ้ว
ฉวยฉาบคาบนาคี เป็นเหยื่อ
หางกระหวัดรัดหิ้ว สู้ไม้รังเรียงฯ



คง ไม่มีใครที่ไม่เคยเห็นรูป “ครุฑ” เพราะจะมีให้เจอกันอย่างชินตา โดยเฉพาะสถานที่ หรือทรัพย์สินทางราชการ หน้าธนาคาร หรือแม้กระทั่งในธนบัตร รวมถึงวรรณกรรมหลายเรื่องก็มีการกล่าวถึงครุฑ เรื่องที่คนไทยรู้จักกันดีก็คือ กากี ซึ่งได้หยิบยกโคลงเห่ขึ้นมาเกริ่นข้างต้น แต่ก็คงมีคนจำนวนไม่น้อยที่ไม่ทราบถึงประวัติความเป็นมาของพญานกเจ้าเวหานาม ว่า ครุฑ

ครุฑ เป็นพญานก มีรูปครึ่งมนุษย์ ครึ่งนกอินทรี เป็นโอรสของพระกัศยปมุนี กับนางวินตา พระกัศยปมุนีนั้นเป็นฤษีที่มีอำนาจมาก ส่วนนางวินตาเป็นธิดาของพระทักษประชาบดี ซึ่งมีธิดาถึง 50 องค์ และได้ยกให้พระกัศยปมุนี ถึง 13 องค์ อีกองค์ที่โด่งดังคือนางกัทรู ซึ่งเป็นพี่ของนางวินตา



นาง กัทรูได้ขอพรจากสามีให้มีลูกจำนวนมาก จึงให้กำเนิด นาค ถึง 1,000 ตัว อาศัยอยู่ในแดนบาดาล ส่วนนางวินตาขอลูกเพียง 2 องค์ แต่ขอให้ลูกมีอำนาจวาสนา จึงได้คลอดลูกออกมาคือ อรุณ และ ครุฑ ซึ่งต่อมาอรุณได้ไปเป็นสารถีของพระสุริยเทพ ส่วนครุฑเมื่อแรกเกิดออกจากไข่ว่ากันว่ามีร่างกายขยายตัวออกใหญ่โตจนจดฟ้า ดวงตาเมื่อกะพริบเหมือนฟ้าแลบ เวลาขยับปีกทีใด ขุนเขาจะตกใจหนีหายไป รัศมีที่พวยพุ่งออกจากกายมีลักษณะดั่งไฟไหม้ทั่วสี่ ทิศ

ต่อมา นางกัทรูและนางวินตามีเรื่องถกเถียงกันว่าม้าที่เกิดคราวทวยเทพและอสูรกวน น้ำอมฤตจะสีอะไร จึงพนันกันว่าใครแพ้จะต้องยกเป็นทาสของอีกฝ่าย 500 ปี นางวินตาทายว่าสีขาว นางกัทรูทายว่าสีดำ ซึ่งความจริงม้าเป็นสีขาว แต่นางกัทรูใช้อุบายให้นาคลูกของตนแปลงเป็นขนสีดำไปแซม อยู่เต็มตัวม้า นางวินตาไม่ทราบจึงต้องเป็นทาสถึง 500 ปี จึงทำให้ครุฑและนาคต่างไม่ถูกกันนับแต่นั้นมา



แต่ เพื่อช่วยแม่ให้เป็นอิสระ ครุฑได้เจรจาทำความตกลงกับพวกพญานาคที่ต้องการเป็นอมตะว่าจะไปนำน้ำอมฤตที่ อยู่กับพระจันทร์มาให้ ครั้นแล้วก็บินไปสวรรค์ คว้าพระจันทร์มาซ่อนไว้ใต้ปีก แต่ถูกพระอินทร์และทวยเทพติดตามมาจึงเกิดต่อสู้กัน ทวยเทพทั้งหมดแพ้ครุฑ ยกเว้นพระวิษณุที่ต่อสู้กันไม่มีใครแพ้หรือชนะเลยต้องทำความตกลงหย่าศึก โดยพระวิษณุหรือพระนารายณ์สัญญาว่าจะให้ครุฑเป็นอมตะ และให้อยู่ตำแหน่งสูงกว่าพระองค์ ส่วนครุฑก็ถวายสัญญาว่าขอเป็นพาหนะของพระวิษณุ และเป็นธงครุฑพ่าห์สำหรับปักอยู่บนรถศึกของพระวิษณุอันเป็นที่สูงกว่า


ส่วน หม้อน้ำอมฤตนั้น พระอินทร์ตามมาขอคืน แต่ครุฑขอร้องว่าต้องรักษาสัตย์ ที่จะนำไปให้นาคเพื่อไถ่มารดาให้พ้นจากการเป็นทาส ขอให้พระอินทร์ไปเอาคืน จากนาคเอง เมื่อครุฑเอาน้ำอมฤตไปให้นาคก็วางไว้บนหญ้าคา แต่ ทำหกบนหญ้าคา 2-3 หยด ด้วยเหตุนี้ หญ้าคาจึงถือเป็นสิ่งมงคล ใช้ประพรมน้ำมนต์ ส่วนงูเมื่อเห็นน้ำอมฤตบนหญ้าคาก็ไปเลียกิน ด้วยความไม่ระวังจึงถูกคมหญ้าบาดเป็นทางยาว งูจึงมีลิ้นแตกเป็น 2 แฉก ฝ่ายนาคเมื่อเห็นน้ำอมฤตก็ยินดีปล่อยนางวินตามารดาของครุฑเป็นอิสระ แต่ขณะ พากันไปสรงน้ำชำระกายก่อนจะกินน้ำอมฤต พระอินทร์ก็นำหม้อน้ำอมฤตกลับไป ทำให้นาคยิ่งเพิ่มความเป็นศัตรูกับครุฑยิ่งขึ้น

ตาม วรรณคดีพุทธศาสนา เช่นเรื่อง สุสันธีชาดก และกากาติชาดก ระบุว่าครุฑมีขนาดใหญ่มาก วัดจากปีกข้างหนึ่งไปยังอีกข้างหนึ่งได้ 150 โยชน์ เวลากระพือปีกสามารถทำให้เกิดพายุใหญ่มืดมนทำลายบ้านเมืองให้พังทลายได้ ครุฑมีชายานามว่า อุนนติ หรือวินายกา โอรสชื่อ สัมปาติหรือสัม พาที และ ชฎายุ ที่อยู่ของครุฑคือสุบรรณพิภพ เป็นวิมานอยู่บนต้นสิมพลีหรือต้นงิ้ว เชิงเขาพระสุเมรุ

นอกจากตำนานข้างต้น ครุฑยังมีความเกี่ยวข้องกับคนไทยอีกหลายอย่าง โดย เฉพาะการถือว่าครุฑเป็นสัญลักษณ์สำคัญเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ ที่มีมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ด้วยว่าไทยเราได้รับลัทธิเทวราชของอินเดีย ที่ถือว่าพระมหากษัตริย์คืออวตารของพระนารายณ์ ดังนั้น ครุฑซึ่งทรงอิทธิฤทธิ์ และเป็นพาหนะของพระนารายณ์ จึงเป็นสัญลักษณ์แทนพระมหากษัตริย์



พระ ราชลัญจกร ตั้งแต่สมัยอยุธยา มีองค์หนึ่งเป็นรูปนารายณ์ทรงครุฑ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริว่าไม่ควรมีองค์พระนารายณ์ ควรมี แต่ครุฑ จึงโปรดให้ สมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระยา นริศรานุวัตติวงศ์ ทรงเขียนถวายใหม่ และ โปรดให้ทำขึ้นใช้ประทับพระปรมาภิไธย ปัจจุบันตราดวงนี้อยู่ที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำหรับประทับกำกับพระปรมาภิไธย ในหนังสือสำคัญ เช่น ประกาศนียบัตรเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ต่อมาจึงได้มีการใช้ตราครุฑ เป็นหัวกระดาษของหนังสือของราชการทั่ว ๆ ไปด้วย เพื่อให้ทราบว่างานนั้นเป็นราชการ

สำหรับรูปครุฑที่เป็นธงแทนองค์ พระมหากษัตริย์เรียกว่า ธงมหาราช เป็นรูปครุฑสีแดงอยู่บนพื้นธงสีเหลือง เริ่มใช้ในสมัยรัชกาลที่ 4 ธงมหาราชนี้เมื่อเชิญขึ้นเหนือเสา ณ พระราชวังใดแสดงว่าพระมหากษัตริย์ประทับอยู่ ณ ที่นั้น ส่วนครุฑที่ปรากฏอยู่ในขบวนเรือหลวงมีอยู่ 3 ลำ คือ เรือครุฑเหินเห็จ เป็นหัวโขนรูปพญาครุฑ  สีแดงยุดนาค เรือครุฑเตร็จไตรจักร เป็นหัวโขนรูปพญาครุฑสีชมพูยุดนาค และ เรือนารายณ์ทรงสุบรรณรัชกาลที่ 9 เป็นรูปพระนารายณ์ทรงครุฑ



นอก จาก “ตราครุฑ” จะปรากฏในส่วนราชการต่าง ๆ แล้ว ภาคเอกชนก็สามารถรับพระราชทานราชานุญาตให้ใช้ตราครุฑหรือตราแผ่นดินใน กิจการได้ด้วย โดยเริ่มมีมาแต่รัชกาลที่ 5 ซึ่งเดิมเป็นตราอาร์ม โดยมีข้อความประกอบว่า “โดยได้รับราชานุญาต” ต่อมาในรัชกาลที่ 6 ได้เปลี่ยนตราแผ่นดินเป็นตราพระครุฑพ่าห์ การพระราชทานตรานี้แต่เดิมถือเป็นพระมหากรุณาธิคุณที่จะพระราชทานตามพระราช อัธยาศัย ผู้ได้รับนอกจากจะเป็นช่างหลวง เช่น ช่างทอง ช่างถ่ายรูป เป็นต้นแล้วก็มักจะเป็นผู้ประกอบกิจการค้ากับราชสำนัก และเป็นประโยชน์ต่อราชการงานแผ่นดิน

ปัจจุบันการขอพระราชทานตรา ตั้งนี้ต้องยื่นคำขอต่อสำนักพระราชวัง เพื่อพิจารณานำความขึ้นกราบบังคมทูลขอพระราชทานราชานุญาต ซึ่งตราตั้งนี้ถือเป็นของพระราชทานเฉพาะบุคคล สิทธิรับพระราชทานและการใช้เครื่องหมายนี้จะสิ้นสุดเมื่อสำนักพระราชวัง เรียกคืนเนื่องจากบุคคล ห้างร้าน บริษัทที่ได้รับพระราชทานฯ เสียชีวิต หรือเลิกประกอบกิจการ หรือโอนกิจการให้ผู้อื่น หรือสำนักพระราชวังเห็นสมควรเพิกถอนสิทธิ



‘สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ : ข้อมูล
บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Moderator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #6 เมื่อ: มีนาคม 02, 2012, 09:24:24 PM »

ประวัติหลวงพ่อชา


พระโพธิญาณเถร นามเดิมว่า ชา ช่วงโชติ เกิดเมื่อวันที่ ๑๗ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๖๑ ณ บ้านจิกก่อ หมู่ที่ ๙ ตำบลธาตุ อำเภอ วารินชำราบ จังหวัด อุบลราชธานี ตามประวัติท่านมีจิตฝักใฝ่ธรรมมาแต่เด็กบรรพชาเป็นสามเณรเมื่อเดือนมีนาคม ๒๔๗๔ ได้ ๓ พรรษา แล้วก็ลาสิกขาอุปสมบทเป็นภิกษุเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๒ ปี พ.ศ. ๒๔๘๔ ออกศึกษาปริยัติต่างถิ่นโดยเริ่มที่วัดสวนสวรรค์ อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี การที่ท่านบวชแต่เยาว์วัยยังผลให้ท่านมีโอกาสศึกษาเล่าเรียนทางโลกเพียงแค่ชั้นประถมปีที่ ๑

หลวงพ่อชาเป็นผู้สนใจธรรมมาก ท่านมีความปรารถนาอยากรู้แจ้งเห็นจริงตามคำสอนของพระพุทธองค์ จึงเริ่มศึกษาธรรมจากสำนักต่าง ๆ หลายสำนักระยะแรกในช่วงปี พ.ศ. ๒๔๘๕-๒๔๘๖ ศึกษาปริยัติธรรมกับพระมหาแจ้ง วัดเค็งใหญ่ อ.อำนาจเจริญ จ.อุบลราชธานี และพระครูอรรถธรรมวิจารณ์ วัดหนองหลัก อ.ม่วงสามสิบ จ.อุบลราชธานี ปี ๒๔๘๖ เมื่อโยมบิดาถึงแก่กรรม หลวงพ่อชาสิ้นภาระห่วงใย มองเห็นความเป็นอนิจจังของชีวิต หลังจากสอบนักธรรมเอกได้เกิดเบื่อหน่ายด้านปริยัติ พิจารณาว่าไม่ใช้ทางพ้นทุกข์ ประสงค์จะศึกษาด้านวิปัสสนาธุระบ้าง จึงออกธุดงค์ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๘๙ เพื่อค้นหาอาจารย์ที่จะสอนด้านวิปัสสนาธุระ โดยระยะแรกมุ่งหน้าไปจังหวัดสระบุรี-ลพบุรี ที่ลพบุรีมุ่งตรงมาที่สำนักวัดป่าของหลวงพ่อเภา แต่น่าเสียดายที่หลวงพ่อเภามรณภาพเหลือแต่อาจารย์วันลูกศิษย์ จึงได้แต่ศึกษาระเบียบข้อปฏิบัติที่หลวงพ่อเภาวางไว้ และจากอาจารย์วัน อาจารย์ที่สำคัญอีกองค์หนึ่ง คืออาจารย์ชาวเขมร (ซึ่งธุดงค์จากเขมรมาไทย และมุ่งไปพม่า) เป็นผู้วางหลักแนวทางปฏิบัติโดยใช้หนังสือ บุพพสิกขาวรรณนาวินัยกถา ซึ่งแต่งโดยพระอมรมภิรักขิต (เกิด) ในคณะธรรมยุตินิกาย หลวงพ่อชาจึงได้ใช้หนังสือบุพพสิกขาวรรณนาวินัยกถา เป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับวัตรปฏิบัติของพระสงฆ์ในวัดหนองป่าพงและสาขามาจนทุกวันนี้

ปี ๒๔๙๐ หลังจากจำพรรษาที่เขาวงกต อยู่ได้หนึ่งพรรษา ได้ทราบข่าวว่าท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต (หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต) เป็นผู้มีคุณธรรมสูงทั้งเชี่ยวชาญด้านวิปัสสนาธุระ มีประชาชนเคารพเลื่อมใสมาก จึงเดินทางมาที่วัดหนองผือนาใน อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนครวันแรกย่างเหยียบเข้าสำนัก เห็นบริเวณร่มรื่น ปฏิปทาของพระภิกษุเคร่งครัดเป็นที่น่าเลื่อมใสศรัทธา หลวงปู่มั่นได้เทศนาสั่งสอนเกี่ยวกับหลักธรรม อาทิศีลนิเทศ ปัญญานิเทศ พละ ๕ อิทธิบาท ๔ ให้แก่หลวงพ่อชาและศิษย์จนเป็นที่พอหายสงสัย สิ่งที่น่าสังเกตคือหลวงปู่มั่นไม่มีความคิดที่จะให้หลวงพ่อชาแปลงนิกายเป็นธรรมยุติกาย ท่านให้ข้อชี้แจ้งเป็นปรัชญาคมคายว่าในความเป็นภิกษุที่แท้จริงไม่ได้มีนิกาย ทั้งหมดคือพระสงฆ์สาวกของพระพุทธองค์ ดังคำกล่าวของหลวงปู่มั่นต่อหลวงพ่อชาว่า “ ไม่ต้องสงสัยนิกายทั้งสอง ” หลังจากฟังเทศน์จากหลวงปู่มั่น หลวงพ่อชามีจิตอิ่มเอิบ เป็นสมาธิ และได้ยึดคำสอนปฏิปทาของท่านไว้เป็นแนวปฏิบัติต่อไปองค์ที่ตรัสว่า “ ทำตนให้ตั้งอยู่ในคุณอันสมควรเสียก่อน แล้วจึงสอนคนอื่นทีหลัง จึงจักไม่เป็นบัณฑิตสกปรก ” ดังนั้นไม่ว่าจะทำกิจวัตรอันใด เช่น กวาดวัด จัดที่ฉันล้างบาตร นั่งสมาธิ ตักน้ำ ทำวัตร สวดมนต์ เดินจงกรม ในระหว่างวันพระถือเนสัชชิไม่นอนตลอดคืน หลวงพ่อชาลงมือทำเป็นตัวอย่างของศิษย์โดยถือหลักว่า “ สอนคนด้วยการทำให้ดู ทำเหมือนพูด พูดเหมือนทำ ” ดังนั้นศิษย์และญาติโยมจึงเกิดความเลื่อมใสเคารพยำเกรงในปฏิปทาที่หลวงพ่อดำเนินอยู่

ในระยะแรกของการมาอยู่ป่าพงค่อนข้างลำบาก ชาวบ้าน ญาติโยมผู้ศรัทธาเข้ามาสร้างวัดเป็นกระท่อมเล็ก ๆ ให้ได้อาศัย ไข้ป่าชุกชุม เพราะเป็นป่าทึบ เมื่อเจ็บป่วยยารักษาก็หายาก โยมอุปัฏฐากยังน้อย อาหารการกินฝืดเคือง แต่กระนั้นหลวงพ่อก็ไม่เคยออกปากของญาติโยม แม้จะเลียบเคียงก็ยังไม่ยอมทำ ปล่อยให้ผู้พบเห็นพิจารณาด้วยตนเอง เดือนต่อมาเกิดสำนักชีขึ้นที่วัดเพื่อสนองคุณต่อโยมมารดาให้ได้ปฏิบัติธรรม โยมแม่พิมพ์จึงเป็นแม่ชีคนแรกของวัดหนองป่าพง และมีแม่ชีติดต่อกันมาถึงปัจจุบันเป็นจำนวนมากและทางวัดมีการแบ่งเขตสงฆ์เขตชีไว้เรียบร้อยไม่ก้าวกายปะปนกัน

วัดหนองป่าพงได้รับอนุญาตให้สร้างในปี ๒๕๑๓ ปี ๒๕๑๖ หลวงพ่อได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดหนองป่าพงและได้รับสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่ “ พระโพธิญาณเถร ” ปี ๒๕๑๙ สิ้นเงิน ๕ ล้านบาท ปี ๒๕๒๐ ได้เดินทางไปประกาศสัจธรรมในภาคพื้นยุโรปเป็นครั้งแรกปี ๒๕๒๒ ได้เดินทางไปอังกฤษ อเมริกา คานาดา เพื่อประกาศสัจธรรม เป็นครั้งที่ ๒

ปี ๒๕๒๕ หลวงพ่อชาอาพาธ เป็นโรคเกี่ยวกับสมอง มีอาการเวียนศีรษะความจำเสื่อม จนต้องผ่าตัดสมอง หลังจากการผ่าตัด ท่านไม่สามารถพูดได้เคลื่อนไหวไม่ได้ ต้องอาศัยพระภิกษุในวัดช่วยปรนนิบัติเอาใจใส่ดูแลอย่างใกล้ชิด การบริหารวัดทั้งหมดมอบให้อาจารย์เหลื่อมเป็นผู้รักษาการแทน

หลวงพ่อชาถึงแก่มรณภาพเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๓๕ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ ราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานเพลิงศพ เมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๓๖

วัดหนองป่าพง




วัดหนองป่าพง เป็นวัดป่าฝ่ายอรัญวาสี ตั้งอยู่ที่ตำบลโนนผึ้ง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี เป็นสำนักปฎิบัติธรรมที่แวดล้อมด้วยธรรมชาติอันสงบเงียบ มีบรรยากาศอันร่มรื่น เหมาะแก่การปฎิบัติธรรม สร้างโดยหลวงพ่อชา สุภทโท หรือ พระโพธิญาณเถระ

 ประวัติความเป็นมา

ระหว่างที่มาอยู่วัดหนองป่าพง หลวงพ่อได้ยึดหลักคำสอนของพระพุทธองค์ที่ตรัสว่า " ทำตนให้ตั้งอยู่ในคุณธรรมสมควรเสียก่อน แล้วจึงสอนคนอื่นที่หลัง จึงจะไม่เป็นบัณฑิตสกปรก" ฉะนั้นไม่ว่าจะทำกิจวัตรอันใด เช่น การกวาดลานวัด จัดที่ฉัน ล้างบาตร นั่งสมาธิ ตักน้ำ ทำวัตร หลวงพ่อจะลงมือทำเป็นตัวอย่างของศิษย์โดยยึดหลักว่า "สอนคนด้วยการทำให้ดู ทำเหมือนพูดพูดเหมือนทำ" ดังนั้นศิษย์ และญาติโยมจึงเกิดความเคารพเลื่อมใสในปฏิปทาที่หลวงพ่อดำเนินอยู่

ศิลปสถาปัตยกรรม

นอกจากจะเป็นที่บำเพ็ญสมณธรรมของพระธุดงค์กรรมฐานสายพระอาจาย์มั่น ภูริทตโต แล้ววัดหนองป่าพงยังเป็นที่สำคัญด้านสถาปัตยกรรม ผสมผสานระหว่างศิลปะอีสานกับศิลปะร่วมสมัย อาทิ การก่อสร้างโบสถ์ วิหาร พิพิธภัณฑ์ และเจดีย์ที่บรรจุอัฐิหลวงพ่อชา

โบสถ์วัดหนองป่าพง
เป็นอุโบสถอเนกประสงค์สมัยใหม่ที่เอื้อต่อประโยชน์ใช้สอย พื้นอุโบสถยกลอยจากพื้นดิน เบื้องล่างเป็นถังเก็บน้ำฝนตัดสิ่งประดับฟุ่งเฟื่อย อาทิ ช่อฟ้า ใบระกา ไม่มีผนังประตูหน้าต่าง สามารถจุคนได้จำนวนประมาณ 200 กว่าคน เสาอาคารและผนังประดับด้วยเครื่องปั้นดินเผา อีสานจากบ้านด่านเกวียนวิหาร เป็นลักษณะศิลปแบบอีสานเรียบง่ายแต่เน้นประโยชน์ใช้สอย สามารถจุประชาชนได้ เป็นนับพันคน

เจดีย์บรรจุอัฐิหลวงพ่อชา
มีรูปแบบสถาปัตยกรรมผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมอีสานกับ ล้านช้าง

ความสำคัญต่อชุมชน
 
วัดหนองป่าพงเป็นต้นแบบของวัดป่ากว่า 100 แห่งในประเทศไทย และอีกหลายแห่งในยุโรป ออสเตรเลีย และแคนาดา หลวงพ่อชาเป็นตัวอย่าง ของพระสงฆ์ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ แม้จะมีศาสนิกชนมากมายแต่ก็ไม่สร้าง ความแตกแยกให้เกิดนิกาย หรือเข้าไปพัวพันกับการเมืองจนเป็นเรื่อง แตกแยก วัดเน้นความเรียบง่าย ใกล้ชิดธรรมชาติ ไม่ฟุ่งเฟือยหรือสะสม คงความเป็นพุทธ คือ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน อย่างแท้จริง หน้าที่หลักของ พระสงฆ์ คือ เป็นที่พึ่งทางจิตใจ อบรมสั่งสอนให้ศาสนิกชนปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบตามหลักแห่งพระพุทธศาสนา

วัดหนองป่าพงมีเนื้อที่ประมาณ 300 ไร่ ประกอบด้วย โบสถ์ วิหาร พิพิธภัณฑ์พระโพธิญาณเถระ กุฏิพยาบาลหลวงพ่อชา กุฎิพระ กุฎิแม่ชี กุฎิหลวงพ่อชา



หลวงปู่มั่น อาจารย์หลวงพ่อชา
















หลวงพ่อชา กับ พระฝรั่ง                    พระฝรั่งรูปแรก ท่านอาจารย์สุเมโท



บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Moderator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #7 เมื่อ: มีนาคม 02, 2012, 09:26:05 PM »

ความหมายของธูปที่จุด  




ธูป 1 ดอก วิญญาณธรรมดา ที่ไม่ได้ขึ้นชั้นเทพ

ธูป 2 ดอก ใช้บูชาเจ้าที่เจ้าทาง

ธูป 3 ดอก ใช้บูชาพระรัตนตรัย (พระปัญญาคุณ พระกรุณาคุณ และพระเมตตาคุณ)

ธูป 5 ดอก ใช้บูชาธาตุทั้งห้า หรือทิศทั้งห้า บูชาเสด็จพ่อ ร.5

ธูป 7 ดอก ไหว้พระพรหม บูชาพระอาทิตย์ ถือคติคุ้มครองทั้ง 7 วันในสัปดาห์

ธูป 8 ดอก บูชาเทพเจ้าตามความเชื่อของชาวฮินดู

ธูป 9 ดอก บูชาพระพุทธคุณ ทั้งเก้า และพระเทพารักษ์

ธูป 11 ดอก บูชาพระโพธิ์สัต และสมมุติเทพ

ธูป 10 ดอก ใช้บูชาเจ้าที่ เจ้าป่า เจ้าเขา ตามความเชื่อของชาวจีน
 
ธูป 12 ดอก บูชาเจ้าแม่กวนอิม บูชาพระคุณของแม่

ธูป 16 ดอก บูชาเทพชั้นครู หรือ พิธีกลางแจ้ง ที่มีการอัญเชิญเทวดา ที่สำคัญหมายถึงสวรรค์ 16 ชั้น

ธูป 19 ดอก บูชาเทวดาทั้ง 10 ทิศ

ธูป 21 ดอก บูชาพระคุณของพ่อ

ธูป 32 ดอก ใช้สวดชุมนุมเทวดาทั้ง 4 ทิศ

ธูป 108 ดอก บูชาทุกสัพสิ่งสูงสุดทั่วทั้งโลกทุกชั้นฟ้า

 
 

ขอบคุณ : wechampion.igetweb.com
 
บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Moderator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #8 เมื่อ: มีนาคม 02, 2012, 09:27:17 PM »

พิธีสู่ขวัญ


พิธีสู่ขวัญ บางทีเรียกว่า "พิธีบายศรี" หรือ "บายศรีสู่ขวัญ" เป็นประเพณีสำคัญอย่างหนึ่งของชาวอีสาน ประเพณีสู่ขวัญทำกันแทบทุกโอกาส ทั้งในมูลเหตุแห่งความดีและไม่ดี ชาวอีสานถือว่าเป็นประเพณีเรียกขวัญ ให้มาอยู่กับตัว พิธีสู่ขวัญนี้เป็นได้ทั้งการแสดงความชื่นชมยินดี และเป็นการปลอบใจให้เจ้าของขวัญจากคณะ ญาติมิตรและบุคคลทั่วไป

ผู้ได้ดีมีโชคหรือผู้หลักผู้ใหญ่ที่เราเคารพนับถือมาเยี่ยมเราก็ยินดีจัดพิธีสู่ขวัญให้ ประเพณีสู่ขวัญจึงเป็น ประเพณีทำกันอย่างกว้างขวาง คำว่า"ขวัญ"นั้นเชื่อว่าเป็นสิ่งไม่มีตัวตนคล้ายกับจิตหรือวิญญาณแฝง อยู่ในตัวคนและสัตว์ ตั้งแต่เกิดมาทุกคนมีขวัญกันทั้งนั้นและในบางแห่งเรามักแปลว่า "กำลังใจ" ก็มีคำว่า "ขวัญ" ยังมีความหมายอีกว่าเป็นที่รักที่บูชา เช่นเรียกเมียที่รักว่า "เมียขวัญ" หรือ "จอมขวัญ" เรียกลูกรักหรือลูกแก้วว่า "ลูกขวัญ" สิ่งของที่ผู้เคารพรักใคร่นับถือกันนำมาฝาก นำมาให้เพื่อเป็นการทะนุ ถนอมน้ำใจกันเราก็เรียกว่า "ของขวัญ"

"ขวัญ" อีกความหมายหนึ่ง หมายถึง ขน หรือผม ที่ขึ้นเวียนเป็นก้นหอย พิธีสู่ขวัญเป็นพิธีเก่า แก่ของชาวไทยเราแทบทุกภาค การทำพิธีก็ผิดเพี้ยนกันไปบ้างแต่ก็ยังยึดหลักใหญ่อยู่เหมือนกัน พิธีสุ๋ขวัญในบทความนี้ จะกล่าวถึงพิธีของชาวอีสานเป็นส่วนใหญ่ การทำพิธีสู่ขวัญเราอาจทำได้ถึง ๒ วิธีพร้อม ๆ กัน คือวิธีทางพุทธศาสนาและวิธีทางพราหมณ์ศาสนา

วิธีทางพุทธศาสนา โดยการนิมนต์พระสงฆ์อย่างน้อย ๕ รูป มาเจริญพระพุทธมนต์ ตั้งบาตรน้ำมนต์ เสร็จแล้วประพรมน้ำมนต์ พระสงฆ์สวดชัยมงคลคาถาถ้ามีศรัทธาพอจะถวายภัตตาหารเช้า หรือเพลพระสงฆ์ด้วยก็ได้ ส่วนพิธีทางพราหมณ์ ก็คือการสู่ขวัญซึ่งจะได้อธิบายให้ละเอียดต่อไป

การทำพิธีสู่ขวัญต้องเตรียมอุปกรณ์ต่างๆ หลายอย่างดังนี้...


 




พาขวัญหรือพานบายศรี คำว่า "บายศรี" นี้น่าจะมาจากภาษาเขมร คือคำว่า บาย + ศรีข้าว (สุก) ที่เป็นมงคลข้าวนี้จะ เป็นส่วนประกอบของการจัดพานบายศรี จะขาดไม่ได้ การจัดพาขวัญนี้ ปกติต้องจัดด้วยพาน ทองเหลืองและมีสัมฤทธิ์ (ขันลงหิน) หลาย ๆใบ ซ้อนกัน มีใบตอง ดอกไม้สด ด้ายสำหรับผูกข้อมือ (ผูกแขน) ปัจจุบันเริ่มมีการนำเอากระดาษสีต่างๆ แต่ก็ผิดธรรมเนียมของท้องถิ่นไป

พาขวัญอาจจัดเป็นชั้นๆ จะเป็น ๓ ชั้น ๕ ชั้น ๗ ชั้น แล้วแต่ความสามารถ แต่คนเก่าคนแก่ของเมืองอุบล ฯ กล่าวว่าพาขวัญ ๓ ชั้น ๕ ชั้น เป็นของบุคคลธรรมดา ส่วน ๗ ชั้น และ ๙ ชั้นนิยมจัดเฉพาะสำหรับเชื้อพระวงศ์ และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ชั้นล่างของพาขวัญจะเป็นพานมีบายศรี (ทำด้วยใบตอง) ดอกไม้ ข้างต้ม ไข่ต้ม ขนม กล้วย อ้อย ปั้นข้าว เงินฮาง มีดด้ามแก้ว ชั้น ๒ , ๓, ๔ จะได้รับการตกแต่งด้วยใบศรี และ ดอกไม้ซึ่ง มักจะเป็นดอกฝาง ดอกดาวเรือง ดอกรัก ใบเงิน ใบคำ ใบคูณ ใบยอป่า อย่างสวยงาม ส่วนชั้นที ๕ จะมีใบศรี และด้ายผูกข้อมือ เทียนเวียนหัว (ทำด้วยขี้ผึ้ง) ของเจ้าของขวัญ นอกจากพาขวัญแล้วจะมีเครื่องบูชาและอื่นๆ เช่น ขันบูชา มีพานขนาดกลางสำหรับวางผ้า ๑ ผืน แพร ๑ วา หวี กระจกเงา น้ำอบ น้ำหอม สร้อย แหวน ของผู้เป็นเจ้าของขวัญ
 

ด้ายสำหรับผูกข้อมือ (ด้ายผูกแขน) นั้นต้องเป็นด้ายดิบนำมาจับเป็นวงยาวพอที่จะพันรอบข้อมือได้ โบราณถือว่า คนธรรมดา วงละ ๓ เส้นผู้ดีมีศักดิ์ตระก้ล ๕ เส้น (อาชญา ๕ ขี้ข้า ๓)เมื่อวงแล้วให้เด็ดหรือดึงให้ขาด เป็นเส้นๆห้ามใช้มีดตัดจะใช้มีดตัดได้เฉพาะด้ายที่มัดศพเท่านั้น ถ้าเป็นพาขวัญงานแต่ง คนจะเริ่มจัดพาขวัญต้อง เป็นคนบริสุทธิ์ (ปลอด) คือเป็นคนดีผัวเดียวเมียเดียว ถ้าจัดไม่เป็นเพียงมาจับพอเป็นพิธีแล้วให้คนอื่นๆจัดต่อ ไปจนเสร็จต้องจัดทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง พาขวัญฝ่ายชายจะให้หญิงบริสุทธิ์ (เด็กหญิงยังไม่มีประจำเดือน) หาบด้วยไม้ม้วนผ้าทอหูกเพราะถือเคล็ดเอาความสามัคคีรักใคร่ของผ้าและไม้ และการสูตรขวัญต้องสูตรเวลา ค่ำประมาณ ๓ - ๔ ทุ่มหลังรับประทานอาหารค่ำเสร็จถือว่าเป็นเวลาหนูเข้ารู (ยามหนูเข้าฮู) พาขวัญงานแต่ง จะต้องมีอาหารคาวหวานเป็นส่วน ประกอบอีกด้วย

พาขวัญแต่งเสร็จแล้วจะตั้งวางไว้ในที่อันเหมาะสมก่อนพอได้เวลาสูตรขวัญ คือจะทำพิธีจึงให้ยกไป ตั้งท่ามกลางญาติมิตรบนผ้าห่มหรือผ้าเช็ดตัวของเจ้าของขวัญ ข้างๆพาขวัญนอกจากจะมีอุปกรณ์ต่างๆ ดังกล่าวแล้ว ยังต้องมีแก้วน้ำเย็น แก้วใส่น้ำส้มป่อย (กระถินป่า) และแก้วเหล้าสำหรับหมอสูตรขวัญจะได้ดื่ม หรือพ่นหรือจุ่ด้วยดอกไม้สลัดใส่พาขวัญซึ่งเรียกว่า "ฮดฟาย"


การสวดหรือการสูตรขวัญ เจ้าภาพผู้จัดพิธีสู่ขวัญจะต้องจัดหาหมอนวดหรือสูตรขวัญซึ่งมักเรียกว่า "พราหมณ์" หรือ"พ่อพราหมณ์" ไว้ล่วงหน้า ปกตินี้พ่อพราหมณ์มักจะเป็นผู้ที่ทราบประเพณีสู่ขวัญเป็นที่นับถือของ ชาวบ้านในหมู่บ้านนั้น หมอสูตรขวัญสมัยก่อนๆ นุ่งห่มธรรมดาเพียงให้มีผ้าขาวหรือให้มีผ้าขาวม้าพาดบ่า ก็พอปัจจุบันนิยมนุ่งขาวห่มขาว นับว่าเป็นการพัฒนาให้เหมาะ สมกับสังคมสมัยใหม่

ก่อนลงมือสวด เจ้าภาพต้องเตรียม "ด้ายผูกแขนพราหมณ์" ไว้เป็นด้ายผูกข้อมือธรรมดาเป็นแต่เพียง มัดธนบัตรเป็นค่าบูชาพราหมณ์จำนวนมากหรือน้อยแล้วแต่เจ้าภาพจะเห็นสมควร และเจ้าภาพจะเป็นคนผูกข้อ มือพราหมณ์ด้วยด้ายผูกแขนพิเศษนี้

พราหมณ์จะจัดให้เจ้าของขวัญนั่งให้หันหน้าไปในทิศทางต่างๆ ตามตำรา เจ้าของขวัญนั่งลงแล้วยกมือไหว้ พราหมณ์เสร็จแล้วใช้มือขวาจับพาขวัญตั้งจิตรอธิฐานขอให้เทวดาบันดาลให้เป็นไปดังหมอขวัญหรือพราหมณ์สูตร ญาติพี่น้องจะนั่งล้อมเป็นวงด้านหลังตั้งจิตรอธิฐานให้เจ้าของขวัญมีความสุขความเจริญ จงเกิดแก่เจ้าของขวัญแล้ว อ้อนวอนเทวดาเป็นภาษาบาลีว่า "สัค เค กา เม จ รูเป" … จบแล้วว่านโม ๓ จบแล้วกล่าวคำบูชาพระรัตนตรัย ครั้นจบแล้วจะสู่ขวัญอะไรก็เลือกว่าเอาตามต้องการให้เหมาะกับงาน การสวดต้องให้เสียงชัดเจน สละสลวย ไพเราะฟังแล้วเกิดความดีใจ ศรัทธาอุตสาหะ ในการทำความดียิ่งขึ้นจึงจะเป็นสิริมงคลแก่เจ้าตัวถ้าป่วยไข้ ไข้จะหาย ถ้าได้ดีได้เลื่อนยศ เลื่อนตำแหน่งก็จะรักษาความดีไว้ให้คงทนไม่ฟุ้งเฟ้อเห่อเหิมจนลืมตัวเมื่อสวดเสร็จ จะว่า " สัพพพุทธานุภาเวน สัพพธัมมานุภาเวน สัพพสังฆานุภาเวนสัพพโสตถี ภวันตุ เต ยถา สัพพี ภวตุ สัพ " ฯลฯ การเข้านั่งล้อมพาขวัญถ้าเป็นการแต่งงานคู่บ่าวสาวพร้อมด้วยเพื่อนเจ้าบ่าวเจ้าสาวจะเข้าร่วมพิธีด้วย จะจัดให้เจ้าบ่าวเจ้าสาวนั่งชิดกันเวลาจับพาขวัญให้แขนเจ้าบ่าวทับแขนเจ้าสาวเพื่อนๆ เจ้าบ่าวจะ พยายามเบียดให้เจ้าสาวนั่งชิดกับเจ้าบ่าวให้มากๆ จะมีการแกล้งเจ้าบ่าวต่างๆ นานาเป็นที่สนุกสนาน

การมาร่วมพิธีสู่ขวัญนี้คนโบราณได้เล่าว่าเมื่อครั้ง ๗๐ ปีก่อนบ้านเมืองอุบลฯ อุดมสมบูรณ์ไปด้วยการเลี้ยงไหมของขวัญผู้มาร่วมพิธีขวัญจึงเป็นไหมเส้นเป็นไจๆนับว่าเป็นของขวัญที่พอ เหมาะพอควรและไม่เคยมีการนำเอาเงินมาเป็นของขวัญไหมที่เจ้าของขวัญรับไว้ก็จะนำไปทอเป็นผ้าได้ภายหลัง

การเชิญขวัญ ก่อนสูตรขวัญถ้ามีเวลาพอก็ให้ว่าคำเชิญขวัญเสียก่อนทุกครั้งการเชิญขวัญเป็นพิธีที่ดีอย่าง หนึ่งคือเราขอความสำเร็จความศักดิ์สิทธิ์จากพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เทวดา อินทร์ พรหม ผู้มีอิทธิฤทธิ์มาประสิทธิ์ประสาทพรให้จะได้มีวาจาศักดิ์สิทธิ์เพราะผู้สวดและผู้ฟังไม่ใช่คนมีอิทธิฤทธิ์เมื่อ เราขอท่านท่านก็คงเมตตาประทานให้ตามคำขอ

คำเชิญขวัญ คำเชิญขวัญนั้นมีหลายสำนวนไม่มีแบบตายตัว ต่างหมอต่างสรรหาสำนวนที่เห็นว่า เหมาะกับเหตุการณ์เช่น คำเชิญขวัญสำหรับบุคคลธรรมดา ก็อีกสำนวนหนึ่ง สำหรับเชื้อพระวงศ์ก็อีกสำนวน หนึ่งเป็นต้น

การผูกแขนหรือข้อมือ

เมื่อพราหมณ์สูตรขวัญจบแล้วญาติพี่น้องจะเอาข้าว ไข่ กล้วย ใส่มือเจ้าของขวัญมือซ้ายหรือมือขวา ก็ได้ให้พราหมณ์ผูกข้อมือให้ก่อนปกติจะผูกข้อมือซ้ายเพราะแขนซ้ายถือเป็นแขนขวัญ เป็นแขนที่อ่อนแอใช้งาน หนักไม่ได้ เป็นแขนที่น่ารักทะนุถนอม ในเวลาผูกข้อมือนั้นทุกคนยื่นมือขวาออกไปพยุง (โจม) แขนของเจ้าของ ขวัญที่พราหมณ์กำลังทำพิธีผูกข้อมือให้ถ้าอยู่ห่างก็ยื่นมือจับแขนหรือแตะตัวกันต่อๆ มาเป็นเส้นสายเหมือน เชือกส่อแสดงถึงความสัมพันธ์ทางกายและใจเป็นอย่างยิ่ง แล้วตั้งจิตอธิฐานขอให้เจ้าของขวัญมีความสุขความเจริญเมื่อผูกข้อมือเสร็จแล้วให้ผู้เป็นเจ้าของขวัญมีความ สุขความเจริญเมื่อผูกข้อมือเสร็จแล้วให้ผู้เป็นเจ้าของขวัญประนมมือไหว้ผู้ให้พร เป็นการรับเอาพร เมื่อพราหมณ์ผูก เสร็จแล้ว ต่อไปก็เป็นโอกาสของญาติมิตรทั่วๆไปจะเข้ามาผูกข้อมือให้กับเจ้าของขวัญ

ด้ายผูกแขน (ด้ายผูกข้อมือ) ถือเป็นของดี ของศักดิ์สิทธิ์ควร รักษา ไว้อย่าพึ่งดึงทิ้ง ให้ล่วง ๓ วันเสียก่อนจึงดึงออกเวลาทิ้งอย่าทิ้ง ลงที่สกปรก เพราะด้ายผูกแขนเป็นของขาวของบริสุทธิ์ เป็นจุดรวมแห่งจิตใจบริสุทธิ์หลาย ดวงจึงควรรักษาไว้ให้ดี ผู้เฒ่าผู้แก่เคยเล่าให้ฟังว่าด้ายผูกแขนที่เก็บรักษา ไว้เป็นของศักดิ์สิทธิ์ ป้องกันอันตรายได้เช่น มีโจรมาปล้น อธิฐานขอให้จิต ทุกดวงช่วยก็ปลอดภัยจากอันตรายได้และเป็นเสน่ห์ดึงดูดจิต ใจให้คนรัก-ใคร่ชอบ พอได้

การผูกแขน (ผูกข้อมือ) การผูกแขนที่จะอำนวยประโยชน์สุขให้แก่เจ้าของ ขวัญควรประกอบ
ด้วยองค์ ๔ คือ :-

- ผู้ผูก หรือพราหมณ์
- ผู้รับผูก หรือเจ้าของขวัญ
- ผู้เกี่ยวข้อง คือญาติมิตร
- คำกล่าวขณะที่ผูก

คำกล่าวขณะที่ผูกเป็นคำเรียกร้องเชิญขวัญซึ่งเป็นคำที่ไพเราะ อ่อนหวาน สุภาพ เรียบร้อยมีความหมาย ไปในทางที่ดีงาม

โอกาสจัดพิธีสู่ขวัญ มีหลายโอกาสเช่น คารวะพระพุทธรูป บายศรีพระสงฆ์ สู่ขวัญแม่ออกกรรม (คลอดบุตรออกไฟ) สู่ขวัญเด็กน้อย สู่ขวัญเฮือน สู่ขวัญคนธรรมดา สู่ขวัญแต่งงาน สู่ขวัญหลวง สู่ขวัญเกวียน สู่ขวัญขึ้นเล้า (ยุ้ง) สู่ขวัญน้อยก่อนแต่งงาน สู่ขวัญคนป่วย สู่ขวัญขึ้นบ้านใหม่ สู่ขวัญวัวขวัญควาย

จะเห็นได้ว่าพิธีสู่ขวัญนี้เป็นประเภท "ขนบประเพณี" คือประเพณีชาวอีสานได้เคยตั้งหรือร่างเป็นระเบียบแบบ แผนขึ้นไว้เป็นธรรมดาของประเพณีที่อาจมีส่วนปลีกย่อย แปลก แตกต่างกันออกไปบ้างในลักษณะของการพัฒนาเป็นลักษณะของความเจริญให้เหมาะสมกับกาลสมัยแต่ส่วนสำคัญ อันเป็นมูลฐานของประเพณีนี้ก็ยังคงอยู่และเป็นหน้าที่ของพวกรุ่นต่อไปจะเป็นผู้รับช่วงระวังรักษาไว้ให้มรดก อันสำคัญนี้ยั่งยืนสืบไป เพื่อแสดงความเก่าแก่ของชาติบ้านเมืองเรา...ฯ




หนังสืออ้างอิง : ปริญญาณ ภิกขุ ประเพณีโบราณไทยอีสาน อุบลราชธานี โรงพิมพ์ศิริธรรม. ๒๕๑๖

บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Moderator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #9 เมื่อ: มีนาคม 02, 2012, 09:28:14 PM »

บายศรีแบบต่างๆ



บายศรีเทพ

ใช้ในพระราชพิธีต่างๆ สำหรับบวงสรวง เทพ พรหม เทวาอารักษ์ ประกอบด้วยตัวบายศรี 9 ชั้น ทั้งหมด 8 ตัว ประดับพานด้วยดอกดาวเรือง กุหลาบและดอกรัก ยอดตัวบายศรีปักด้วยเม็ดโฟมและเข็มหมุด ห้อยอุบะดอกรัก ประดับยอดด้วยดอกดาวเรืองและดอกบัว




บายศรีพรหม

ใช้ในงานพิธีใหญ่ สำหรับบวงสรวงเทพยาดา หรือองค์พรหม ประกอบด้วยตัวบายศรี 9 ชั้น 4 ตัว และตัวบายศรี 16 ชั้น 4 ตัว ประดับด้วย ดอกดาวเรือง ดอกกุหลาบ ดอกบานไม่รู้โรย ห้อยอุบะดอกรัก ยอดประดับด้วยดอกบัวและดอกดาวเรือง




บายศรีตอ

ใช้ในงานพิธีบวงสรวงครูแขนงต่างๆ ประกอบด้วยตัวบายศรีตัวแม่ 9 ชั้น ตัวลูก 7 ชั้น ประดับพานด้วยดอกแอสเตอร์ ดาวเรือง กุหลาบ ยอดบายศรีปักด้วยเม็ดโฟมและเข็มหมุด ห้อยอุบะดอกรัก และประดับยอดด้วยดอกดาวเรืองและดอกบัวสตตบงกช




บายศรีปรางค์สามยอด

ใช้ในงานบวงสรวงสังเวย และงานพิธีมงคลต่างๆ ประกอบด้วยบายศรีตัวแม่ 7 ชั้น ตัวลูก 5 ชั้น เป็นบายศรีที่มียอด 3 ยอด พานประดับด้วยดอกดาวเรือง ดอกกุหลาบ ยอดกรวยบายศรีประดับด้วย ดอกบัว 3 ดอก ดอกดาวเรือง ดอกรัก ดอกบานไม่รู้โรย ห้อยอุบะดอกรัก




บายศรีพิฆเนศ

เป็นที่ใช้ในพิธีบวงสรวง พรหมครู เทพพรหมแขนงศิลปะต่างๆ ประกอบด้วยตัวบายศรีตัวแม่ 9 ชั้น ตัวลูก 7 ชั้น ยอดบายศรีประกอบด้วย ดอกดาวเรือง แอสเตอร์ ห้อยอุบะดอกรัก ปลายคู่อุบะติดดอกกุหลาบ ปักยอดด้วยดอกดาวเรือง และดอกบัว




บายศรีพรหม 2 หน้า
 
ใช้ในงานพิธีต่างๆ โดยเฉพาะพิธีใหญ่ๆ สำหรับเป็นเครื่องสังเวยบูชา ครูบาอาจารย์ ชั้นพรหม ประกอบด้วยตัวบายศรี ตัวแม่ 32 ชั้น ตัวลูก 9 ชั้น รอบพานประกอบด้วยดอกแอสเตอร์ ดาวเรือง ห้อยอุบะดอกรัก ปักยอดด้วยดอกดาวเรือง และดอกบัวสัตตบงกช




บายศรีพานทรงพุ่ม 5 ยอดลายข้าวหลามตัด
 
ใช้ในโอกาสเฝ้าทูลเกล้าถวาย รับขวัญหรือพิธีมงคลต่างๆ ประกอบด้วยตัวบายศรีตัวแม่ 5 ชั้น ตัวลูก 3 ชั้น ตัวพุ่มประดับด้วยดอกบานไม่รู้โรยและดอกรัก เป็นรูปข้าวหลามตัด ปลายยอดปักด้วยดอกดาวเรืองและดอกบัว ห้อยอุบะดอกรักและกุหลาบ




บายศรีพานทรงพุ่ม 5 ยอด
 
ใช้ในพิธีใหญ่ๆ ประกอบด้วยตัวบายศรีตัวแม่ 5 ชั้น ตัวลูก 3 ชั้น ใช้ดอกบานไม่รู้โรยและดอกรักตกแต่งพุ่ม ประดับพานด้วยดอกดาวเรือง ยอดบายศรีปักด้วยโฟมและเข็มหมุด ห้อยอุบะดอกรัก ปลายยอดปักด้วยดอกดาวเรืองและดอกบัว




บายศรีปากชาม 7 ยอด

ใช้ในพิธีต่างๆ เช่น ตั้งศาลพระภูมิ ศาลเจ้าที่ ทำบุญต่างๆ ยอดกรวยเสียบด้วยไข่ ประกอบด้วยตัวบายศรีตัวแม่ 7 ชั้น ตัวลูก 5 ชั้น




บายศรีปากชาม 7 ยอด [เล็ก]

เป็นบายศรีขนาดเล็กที่มีความศักดิ์สิทธิ์และสำคัญมาก ใช้ในงานพิธีต่างๆ เช่น ตั้งศาลพระภูมิ ศาลเจ้าที่ ทำบุญต่างๆ โกนจุก ประกอบด้วยบายศรีตัวแม่ 7 ชั้น ตัวลูก 5 ชั้น ยอดกรวยเสียบด้วยไข่ และดอกไม้ที่มีชื่อเป็นมงคล




บายศรีปากชาม 7 ยอด

ใช้ในพิธีต่างๆ เช่น ทำขวัญเด็กเกิดใหม่ โกนผมไฟ การจุก การทำขวัญนาค สร้างบ้านทำขวัญเสาเอก ตั้งศาลพระภูมิประจำบ้าน และใช้ในงานไหว้ครู เป็นประจำทุกปี ประกอบด้วยตัวบายศรีตัวแม่ 7 ชั้น ตัวลูก 5 ชั้น




บายศรีปากชาม 9 ยอด

ใช้ในงานพระราชพิธีใหญ่ๆ เพื่อสักการะบูชา ครูบาอาจารย์ บวงสรวงเทพยดา ประกอบด้วยบายศรีตัวแม่ 9 ชั้น รอบพานประดับด้วย ดอกดาวเรือง ดอกบานไม่รู้โรย ประดับยอดด้วยดอกดาวเรือง
บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Moderator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #10 เมื่อ: มีนาคม 02, 2012, 09:31:26 PM »




สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี หรือ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หรือ สมเด็จราชาที่ 4 (จีน: 鄭昭; พินอิน: Zhèng Zhāo; แต้จิ๋ว: Dênchao) มีพระนามเดิมว่า สิน (ชื่อจีนเรียกว่า เซิ้นเซิ้นซิน) พระราชบิดาเป็นจีนแต้จิ๋ว ได้สมรสกับหญิงไทยชื่อ นกเอี้ยง ภายหลังเป็นกรมสมเด็จพระเทพามาตย์ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวในสมัยอาณาจักรธนบุรี ทรงปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2310 เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 เมื่อมีพระชนมายุได้ 48 พรรษา รวมสิริดำรงราชสมบัติ 15 ปี พระราชโอรส-พระราชธิดา รวมทั้งสิ้น 30 พระองค์


พระราชกรณียกิจที่สำคัญในรัชสมัยของพระองค์ คือ การกอบก้้เอกราชจากพม่าภายหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง โดยขับไล่ทหารพม่าออกจากราชอาณาจักรจนหมดสิ้น และยังทรงทำสงครามตลอดรัชสมัยเพื่อรวบรวมแผ่นดินซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของขุนศึกก๊กต่าง ๆ ให้เป็นปึกแผ่น เช่นเดียวกับขยายพระราชอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงมุ่งมั่นที่จะฟื้นฟูประเทศในด้านต่าง ๆ ให้กลับคืนสู่สภาวะปกติหลังสงคราม ทรงส่งเสริมทางด้านเศรษฐกิจ ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม วรรณกรรม และการศึกษา เนื่องจากพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อแผ่นดินไทย รัฐบาลจึงได้ประกาศให้วันที่ 28 ธันวาคมของทุกปีเป็น "วันสมเด็จพระเจ้าตากสิน" และยังทรงได้รับสมัญญานามมหาราช





เดือนยี่ พ.ศ. 2309 ขณะพระยาตากตั้งค่ายอยู่ในค่ายวัดพิชัย ก็ได้รวบรวมไพร่พลจำนวนหนึ่ง (มักระบุเป็น 500 นาย) มุ่งหน้าไปทางเมืองระยอง ทางหัวเมืองฝั่งทะเลด้านตะวันออก ระหว่างเส้นทางที่ผ่านไปนั้นได้ปะทะกับกองกำลังของพม่าหลายครั้ง แต่ก็สามารถตีฝ่าไปได้ทุกครั้ง และสามารถรวบรวมไพร่พลตลอดจนอาวุธยุทโธปกรณ์ได้มากขึ้น

หลังจากพระองค์ยึดเมืองระยองได้ ขณะพระยาวชิรปราการพักอยู่บริเวณวัดลุ่มมหาชัยชุมพล ได้เกิดเหตุการณ์อัศจรรย์พายุหมุนจนบิดต้นตาลเป็นเกลียวโดยไม่คลายตัว ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า ตาลขด บรรดาทหารทั้งหลายต่างก็ยกพระยาวชิรปราการเป็น เจ้าตาก มีศักดิ์เทียบเท่าวงศานุวงศ์ อย่างไรก็ตาม ก็อาจพิจารณาจากแนวคิดทางการเมืองได้เช่นกันว่า พระยาตากประกาศตนเป็นพระเจ้าแผ่นดินนับตั้งแต่ยกทัพออกจากกรุงศรีอยุธยาแล้ว

เจ้าตากมุ่งยึดเมืองจันทบูร ซึ่งก่อนเข้าตีเมือง ได้มีรับสั่งให้ทหารทุกคนทำลายหม้อข้าวให้หมด หมายจะให้ไปกินข้าวในเมืองจันทบูร จนตีได้เมืองจันทบูรเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2310 หลังจากนั้น ก็มีผู้คนสมัครใจเข้ามาร่วมด้วยกับพระองค์เป็นจำนวนมาก เนื่องจากเมืองจันทบูรและเมืองตราดไม่ถูกยึดครองโดยทหารพม่า

เจ้าตากทรงรวบรวมกำลังพลจนมีจำนวน 5,000 นาย จึงได้ยกกองทัพเรือออกจากจันทบูร ล่องมาตามฝั่งทะเลในอ่าวไทย จนถึงปากแม่น้ำเจ้าพระยา ต่อสู้จนยึดธนบุรีคืนจากพม่าได้ นายทองอิน เจ้าเมืองธนบุรีซึ่งพม่าแต่งตั้งให้นั้น ถูกประหารชีวิต ต่อจากนั้น ได้ยกกองทัพเรือต่อไปถึงกรุงศรีอยุธยา เข้าโจมตีค่ายโพธิ์สามต้นจนสามารถขับไล่ทหารพม่าออกจากอาณาจักรได้ และสามารถกอบก้้กรุงศรีอยุธยาจากการยึดครอง ใช้เวลาเพียงเจ็ดเดือนหลังเสียกรุง




ด้วยเหตุผลทางยุทธศาสตร์และการเมืองเป็นสำคัญ ทำให้เจ้าตากมา "ยับยั้ง" อยู่ ณ เมืองธนบุรี ซึ่งมีลักษณะเป็นราชธานีไม่ถาว
บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Moderator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #11 เมื่อ: มีนาคม 02, 2012, 09:43:19 PM »

"29 กุมภาพันธ์" ทำไมต้องถึง 4ปี มีครั้งเดียว 


9 กุมภาพันธ์ จะมีก็ต่อเมื่อเป็นปีที่หารได้ด้วย 4 ลงตัว กว่าจะมี 29 วัน ก็จะเป็นปี 2012 ซึ่งในประเทศไทยเรียกว่า "ปีอธิกสุรทิน"

"ปีอธิกสุรทิน" คือ ปีที่มีวันหรือเดือนเพิ่มเข้ามา เพื่อทำให้ปีปฏิทินสอดคล้องกับปีดาราศาสตร์หรือปีฤดูกาล


ทั้งนี้เป็นผลจากการที่ฤดูกาลและปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ไม่ได้วนกลับมาเป็นจำนวนวันที่ลงตัว ใน"ปฏิทินเกรโกเรียน" ซึ่งเป็นต้นแบบของปฏิทินสุริยคติไทยในปัจจุบัน จะเพิ่มวันในเดือนกุมภาพันธ์ให้มี 29 วัน


ในปีที่เป็นปีอธิกสุรทิน จึงทำให้ปีอธิกสุรทินมี 366 วัน ใน"ปฏิทินฮิจญ์เราะหฺ" จะกำหนดให้เดือนซุลฮิจญะหฺซึ่งเป็นเดือนสุดท้ายมี 30 วัน จึงทำให้ปีอธิกสุรทินของปฏิทินฮิจเราะหฺมี 355 วันการตรวจสอบว่าปีใดในระบบคริสต์ศักราชเป็นปีอธิกสุรทินหรือไม่ ทำได้โดยการหารปีนั้นด้วย 4 หากหารลงตัวจะเป็นปีอธิกสุรทิน


อย่างไรก็ตาม ด้วยกฎเหล่านี้จึงทำให้ ค.ศ. 1800, 1900, 2100, 2200 เป็นปีปกติสุรทิน แต่ ค.ศ. 1600, 2000, 2400 เป็นปีอธิกสุรทิน


ทั้งนี้เมื่อเอ่ยถึงคำว่า "อธิกวาร" "อธิกมาส" และ "อธิกสุรทิน" เป็น ไปได้ว่าคนไทยส่วนใหญ่ในปัจจุบันอาจไม่รู้ความหมายของคำเหล่านี้ เพราะเป็นคำที่มีความหมายเข้าใจยาก และเป็นคำที่ไม่ได้ใช้บ่อยครั้งในชีวิตประจำวัน คำทั้งสามคำเหล่านี้เกี่ยวข้องกับปฏิทิน หรือการนับวันเดือนปี ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในวัฒนธรรม ผู้เขียนจึงต้องการอธิบายความหมายของคำเหล่านี้พอเป็นสังเขปเพื่อให้คนที่ ยังไม่รู้จักคำเหล่านี้เข้าใจความหมายเมื่อได้ยินหรืออ่านพบคำดังกล่าวใน สื่อต่างๆ


คำว่า "อธิกวาร" "อธิกมาส" และ "อธิกสุรทิน" ประกอบด้วย คำที่มาจากภาษาบาลีสันสกฤตทั้งหมด หน่วยหน้าศัพท์ อธิก- (อ่านว่า อะ-ทิ-กะ) ในที่นี้หมายถึง "เกิน, เพิ่ม" ส่วนคำว่า วาร แปลว่า "วัน" มาส แปลว่า "เดือน" คำว่า สุรทิน มาจาก สุร + ทิน ทิน แปลว่า "วัน" สุร ในที่นี้น่าจะแปลว่า "พระอาทิตย์"


ในจำนวนคำทั้งสามดังกล่าว คำว่า อธิกสุรทิน น่าจะเป็นคำที่คุ้นเคยมากที่สุดสำหรับคนไทยปัจจุบัน เพราะเป็นคำที่เกี่ยวข้องกับปฏิทินแบบสุริยคติ ซึ่งใช้ในสังคมไทยปัจจุบัน พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายของ อธิกสุรทิน ไว้ว่า "วันที่เพิ่มขึ้นในปีสุริยคติ คือในปีนั้นเพิ่มวันเข้าในเดือนกุมภาพันธ์อีกวันหนึ่งเป็น 29 วัน" ตามธรรมดาเดือนกุมภาพันธ์มี 28 วัน ปฏิทินบางฉบับเรียกปีที่เดือนกุมภาพันธ์มี 28 วันว่า "ปีปกติสุรทิน" และเรียกปีที่เดือนกุมภาพันธ์มี 29 วัน ว่า "ปีอธิกสุรทิน"


ปีอธิกสุรทินจะมี 4 ปีครั้ง ปีพ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) เป็นปีอธิกสุรทิน ปีอธิกสุรทินต่อไปคือปีพ.ศ. 2547 ข้อสังเกตง่ายๆว่าปีใดเป็นปีอธิกสุรทินคือให้เอาปีค.ศ. ตั้งหารด้วยเลข 4 ถ้าหารลงตัวจะเป็นปีอธิกสุรทิน ถ้าหารไม่ลงตัวก็เป็นปีปรกติ เช่นปีค.ศ. 1996 (พ.ศ. 2539) ค.ศ. 2000 (พ.ศ. 2543) ค.ศ. 2004 (พ.ศ. 2547) ค.ศ. 2008 (พ.ศ. 2551) หารด้วยเลข 4 ลงตัว และทั้งหมดเป็นปีอธิกสุรทิน


เหตุที่จะต้องมีปีอธิกสุรทินทุก 4 ปี เพราะตามระบบของปฏิทินทางสุริยคติ จะต้องเพิ่มวันเข้าไป 1 วันเพื่อให้ปีนั้นมี 366 วัน วันที่เพิ่มเข้าไปนี้เรียกว่า "อธิกสุรทิน" การที่ต้องเพิ่มวันเนื่องจากในปีหนึ่งๆนั้นตามความเป็นจริงมีจำนวนวัน 365.25 วัน ไม่ใช่ 365 วันถ้วนอย่างที่เราเข้าใจกันทั่วไป

"ดังนั้นเพื่อรวมเศษที่ตกค้างในแต่ละปีให้เป็น 1 วันได้ก็จะทำได้ทุก 4 ปี ทำให้สะดวกในการนับจำนวนวันในแต่ละปี คือนับจำนวนถ้วนๆ โดยให้ปีที่ 1, 2, และ3 มี 365 วัน และปีที่ 4 มี 366 วัน เป็นดังนี้เรื่อยไป"


"อธิกมาส" และ"อธิกวาร" เป็นคำที่คนไทยสมัยใหม่อาจไม่คุ้นเคยเพราะเกี่ยวข้องกับปฏิทินแบบจันทรคติ ซึ่งปัจจุบันเลิกใช้อย่างเป็นทางการแล้วในสังคมไทย อย่างไรก็ตามหากเราเข้าใจที่มาหรือเหตุผลของการเพิ่มวันเป็นอธิกสุรทิน ก็คงไม่ยากนักที่จะเข้าใจเหตุผลของการเพิ่มเดือนหรือเพิ่มวันเข้าไปในปฏิทิน ทางจันทรคติเช่นกัน


"อธิกมาส" หมายถึง เดือนที่เพิ่มขึ้นในปีจันทรคติ คือในปีนั้นมี 13 เดือน มีเดือน 8 สองหน สาเหตุที่ต้องเพิ่มเดือน 8 เข้าไปอีก 1 เดือน เช่นในปีนี้ (พ.ศ. 2545) ก็เพื่อให้ปฏิทินทางจันทรคติเทียบได้กับปฏิทินทางสุริยคติได้ โดยจำนวนวันไม่ต่างกันมากเกินไป ดังรายละเอียดที่ผเคยอธิบายไว้แล้วในเรื่อง "ปฏิทินไทยดั้งเดิม" ปฏิทินบางฉบับเรียกปีที่มีอธิกมาสหรือปีที่มีเดือน 8 สองหนว่า "ปีอธิกมาส" และเรียกปีที่มีเดือน 8 หนเดียวว่า "ปีปกติมาส"


"อธิกวาร" หมายถึงวันที่เพิ่มขึ้นในปีจันทรคติ คือในปีนั้นเดือน 7 เป็นเดือนเต็มมี 30 วัน ตามปรกติเดือนที่เป็นเลขคี่ ในปฏิทินทางจันทรคติจะเป็นเดือนขาด มี 29 วัน และเดือนเลขคู่เป็นเดือนเต็มมี 30 วัน แต่ด้วยเหตุผลทำนองเดียวกันกับการเพิ่มเดือนเป็นอธิกมาส ในรอบประมาณ 5 ปี ปฏิทินทางจันทรคติซึ่งแม้จะมีอธิกมาสแล้ว แต่ก็จะมีจำนวนวัน ต่างจากปฏิทินทางสุริยคติอยู่อีกหนึ่งวัน จึงต้องเพิ่มเสีย เพื่อให้เท่ากัน


โดยเพิ่มวันเข้าไป ในเดือน 7 ทำให้เดือน 7 ในปีนั้นมี 30 วัน วันสุดท้ายของเดือน 7 ดังกล่าวจะเป็นวันแรม 15 ค่ำแทนที่จะเป็นวันแรม 14 ค่ำเหมือนเดือนขาดทั่วไป วันที่เพิ่มเข้าไปนี้เรียกว่า "อธิกวาร" ปีที่มีอธิกวารเรียกว่า "ปีอธิกวาร" ที่ไม่มีเรียกว่า "ปีปกติวาร" คำทั้งสามคำที่ได้อธิบายไปนั้นแสดงให้เห็นว่าคนไทยมีระบบในการนับและการ คำนวณวันเดือนปี ที่น่าสนใจ จึงทำให้คนไทยสามารถเข้าใจความคล้ายคลึงและความมีส่วนร่วมกันของมโนทัศน์ ทั้งสามประการได้เป็นอย่างดี


ส่วนทางฝั่งตะวันตกจะเรียกปีที่มีวันที่ 29 กุมภาพันธ์ว่า "Leap year" และคนโชคดีที่เกิดวันนี้จะถูกเรียกว่า "Leaper" ซึ่งด้วยความแปลกอันนี้ในบางประเทศ เช่น ไอร์แลนด์ รัฐบาลจะให้เงินรางวัลเป็นการเฉลิมฉลองกับครอบครัวที่มีเด็กเกิดในวันนี้เลย ทีเดียว


แม้ว่าความพิเศษของ 29 กุมภาพันธ์จะไม่ได้เป็นวันหยุดทำงานสากล แต่กิจกรรมพิเศษของวันนี้ตามธรรมเนียมของทางตะวันตก ซึ่งริเริ่มในประเทศสกอตแลนด์คือ ผู้หญิงจะได้รับการยินยอมให้เป็นฝ่ายขอผู้ชายไปเดท ขอความรัก หรือแม้กระทั่งขอแต่งงานกับฝ่ายชายได้โดยไม่ขัดกับจารีตธรรมเนียมประเพณีแต่ อย่างใด และ "ถ้าฝ่ายชายปฏิเสธก็ต้องหาผ้าพันคอ หรือถุงมือให้เป็นการปลอบใจ"




ที่มา http://news.voicetv.co.th/
บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Moderator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #12 เมื่อ: มีนาคม 02, 2012, 09:52:08 PM »

เล่าขานตำนานตุ๊กตา



อัน ว่าตุ๊กตาตัวเล็กตัวน้อยนั้น อย่าได้นึกว่าฝรั่ง เป็นต้นคิดประดิษฐ์ขึ้นมาเมื่อไม่กี่ร้อยปีมานี้นะครับ ความจริงแล้วอายุอานามของตุ๊กตาย้อนหลังไปจนถึงยุคไอยคุปต์สมัยปี 1900 ก่อน ค.ศ. ก็กว่าสามพันแปดร้อยปีเศษแล้วนั่นแน่ะ

ชาวไอยคุปต์โบราณ เขานิยมปั้นตุ๊กตาเพื่องานพิธีกรรมสำคัญๆ ด้วย พิธีกรรมอันสำคัญยิ่งยวดของชาวไอยคุปต์ เห็นจะได้แก่พิธีศพนั่นเอง ในงานฝังศพบรรจุศพของคนใหญ่ คนโตที่มีกะตังค์จึงมักนิยมบรรจุตุ๊กตาพิธี หรือ ritual doll เข้าไว้ในห้องบรรจุศพด้วย ตุ๊กตาเหล่านี้เรียกว่า “ชวาบติ” (shwabti) บ้าง “เซอร์ดับ” (Serdub) บ้าง มีความหมายต่างกันคนละจุดประสงค์เลยเชียว คือ ชวาบตินั่นเป็นตุ๊กตาคนรับใช้ที่ให้ไปรับใช้คนตายในโลกหน้า แต่ “เซอร์ดับ” เป็นตุ๊กตากลประกอบด้วยเดือยกลไกกระเดื่องต่างๆ ให้สามารถทิ่มแทงคนที่บุกรุกสุสานจนเท่งทึงได้

นอกจากไอยคุปต์ซึ่งมีอารยธรรมความเจริญก่อนหน้าใครแล้ว จีนก็เป็นชาติเก่าแก่อีกชาติหนึ่งที่ทำตุ๊กตาให้ลูกหลานเล่น ตุ๊กตาสมัยถัง ซึ่งทำด้วยดินเผาที่น่าจะแตกหักทำลายได้ง่ายกลับอยู่ยงคงกระพันมาจนถึงยุค นี้ แสดงว่าสมัยนั้นนิยมทำตุ๊กตาดินเผากันมากมายเหลือเกิน บรรจุลงไปในฮวงซุ้ยก็มาก เป็นส่วนหนึ่งของพิธีศพเช่นกัน

อินเดีย, ญี่ปุ่น, อินเดียนแดงตลอดจนถึงคนไทยโบราณ ล้วนทำตุ๊กตาขึ้นเป็นของสำหรับผู้ใหญ่พอๆ กับเป็นของเด็ก  สำหรับเด็กนั้นตุ๊กตาเป็นของเล่น แต่ว่าสำหรับผู้ใหญ่ตุ๊กตาเป็น “ของจริง”  เพราะเอาไปใช้ในพิธีการอันเอาจริงเอาจังหลายอย่าง ซึ่งส่วนใหญ่หนักไปในทางพิธีไสยเวท เช่น ตุ๊กตาเสียกบาลของไทยสมัยสุโขทัย เป็นต้น





คนโบราณไม่จำกัดว่าตุ๊กตาต้องเล่นเพราะเด็กผู้หญิงเท่านั้น เขาให้ตุ๊กตาแก่เด็กชายพอๆ กับให้แก่เด็กผู้หญิงด้วย ชาติโบราณอย่างจีน ญี่ปุ่น อินเดีย ตลอดจนอินเดียนแดงหลายเผ่าล้วนให้ตุ๊กตาแก่เด็กผู้ชาย แต่รูปร่างของตุ๊กตาจะทะมัดทะแมงกว่าตุ๊กตาสำหรับเด็กผู้หญิง เด็กผู้ชายจะ ได้รับตุ๊กตาทหารบ้าง นักรบบ้าง ในขณะที่เด็กหญิงได้ตุ๊กตาเพศเดียวกันที่สะสวยอ่อนหวาน

ว่ากันว่าตุ๊กตา เป็นศูนย์รวมแห่งจินตนาการของเด็กชายเด็กหญิงพอๆ กัน นอกจากนี้ยังเป็นเพื่อนเล่น, เป็นที่ระบายอารมณ์เวลาโกรธ, เป็นที่เกิดของความคิดสร้างสรรค์ แก่เด็ก และที่สำคัญก็คือสำหรับเด็กผู้หญิง ตุ๊กตาช่วยกระตุ้นสัญชาตญาณความเป็นแม่ให้เพิ่มขึ้นโดยไม่รู้ตัว เมื่อเติบโตขึ้นจนถึงวัยมีเหย้ามีเรือน สัญชาตญาณนั้นก็ทำให้ เธอรักและผูกพันต่อลูก




ท่านที่สนใจ ศิลปกรรมกรีกโรมันคงนึกในใจ ว่าตุ๊กตาสำหรับเด็กกรีกและโรมันไม่มีกะเขาบ้างเหรอ?…มีแน่นอน มากเสียด้วย ตุ๊กตากรีกเก่าที่สุดมีอายุประมาณ 3,200 ปี พบที่เกาะครีต ทำด้วยดินเผาอย่างประณีต ส่วนตุ๊กตาโรมันในยุคแรกๆ นั้นเป็นดินเผาเหมือนกัน พบในหีบศพของเด็กหญิงจากตระกูลขุนนางผู้มั่งคั่งของโรม มีอายุราวๆ ศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาลหรือราว 2,100 ปีมาแล้ว เป็นตุ๊กตาดินเผาที่มีเครื่องประดับเป็นทองคำแท้สวมอยู่ด้วย นับว่าเป็นตุ๊กตาที่มีค่าที่สุดตัวหนึ่งเท่าที่พบมา

เมื่อ เวลาผ่านไปตุ๊กตาก็พัฒนาตัวเองไปด้วย ในฐานะของเล่นเด็ก ตุ๊กตาจะมีรูปร่างและแต่งกายตามสมัยนิยม ในยุคกลางตุ๊กตามักทำด้วยไม้แกะ ตกแต่งด้วยเสื้อผ้าอาภรณ์ ตามแฟชั่นของสาวน้อยยุคนั้น สมัยเรอเนสซองส์ ตุ๊กตาก้าวหน้าไปอีกนิดหนึ่งครับสำหรับเด็กหญิงในตระกูลสูง หรือร่ำรวยจะ สั่งทำตุ๊กตาที่มีหน้าตาเหมือนเจ้าของ ซึ่งไอเดียนี้ย้อนกลับมาฮิตอีก มีคุณแม่รายหนึ่งซึ่งมีลูกสาวน่ารักมากหลายคน เธอจึงทำตุ๊กตาหน้าเหมือนลูกสาวเปี๊ยบออกขาย เรียกว่า “ตุ๊กตาฝาแฝด” ปรากฏว่าขายดิบขายดีทีเดียว นอกจากนี้ ตุ๊กตายังพัฒนาไปมีบ้านของตนเอง เรียกว่าบ้านตุ๊กตา ซึ่งเหมือนบ้านจริงๆ ย่อส่วนลงมาเหลือขนาดกระจิ๋ว พร้อมด้วยตุ๊กตาตัวกระจิ๋วอยู่ในบ้านด้วย




[color=navy]ฝรั่งโดยเฉพาะ ชาวยุโรป มีความเชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า ตุ๊กตาชายหญิงอาจเป็นสัญลักษณ์ แห่งความอุดมสมบูรณ์ และการมีครรภ์ได้ ดังนั้น ท่านผู้อ่านจึงอย่าแปลกใจ ที่เห็นเค้กแต่งงานของคู่สมรสฝรั่ง เขาทำตุ๊กตาบ่าวสาว ไว้ตรงยอดขนมเค้กด้วย ที่ทำยังงั้นไม่ใช่ให้เป็นของประดับสวยๆ เท่านั้น แต่มีความหมายว่า ขอให้คู่สมรสจงสมบูรณ์ พูนสุขและตั้งครรภ์เร็วๆ ไงล่



ตุ๊กตา เพื่อความอุดมสมบูรณ์อย่างเดียว ไม่เกี่ยวกับการมีครรภ์ของคนก็มีอีกประการหนึ่ง ที่นิยมใช้ในประเทศที่มีการเพาะปลูกเป็นหลัก ในอังกฤษและบางส่วนของยุโรปเขามีตุ๊กตาข้าวโพด (corn dollies) ซึ่งทำจากต้นข้าวชนิดต่างๆ ไม่จำเป็นต้องเป็นข้าวโพดเสมอไป เมื่อประดิษฐ์ ต้นข้าวมัดเป็นรูปตุ๊กตาแล้วก็ทำพิธีเชิญเทพแห่งความอุดมสมบูรณ์ มาอยู่ในตุ๊กตาตัวนี้เพื่อจะอำนวยความอุดมแก่การเพาะปลูกไปตลอดทั้งปี พิธีใช้ข้าวและธัญพืชมาทำเป็นตุ๊กตาส่วนทางเอเชียก็มีเช่นกันเช่น ตุ๊กตา “ชายา” ของชวา รวมไปทั้งตุ๊กตาขอฝนของอิ๊กคิวซังด้วย



ในญี่ปุ่นมีเทศกาลตุ๊กตา สำหรับเด็กหญิงโดยเฉพาะ เรียกว่า “ฮีนะ มัตชูริ” บ้านที่มีลูกสาวทุกบ้าน จะจัดมุมหนึ่งเป็นสถานที่ทำพิธี เรียกว่า มุม “โตโกะนามะ” ซึ่งนำเอาตุ๊กตามาตั้งเรียงไว้ มีสองตัวที่สวยที่สุด จะแต่งเป็นรูปจักรพรรดิ และพระราชินี แล้วแม่จะพาลูกสาวมาในห้องนี้ สอนสั่งวิธีการเป็นกุลสตรีที่ดี ให้ต่อหน้าตุ๊กตาทั้ง หลายในห้อง

ใน ยุคปัจจุบันเด็กมีของเล่นมากมายหลายอย่างนอกเหนือไปจากตุ๊กตา แต่ถึงอย่างไรตุ๊กตาก็ยังเป็นขวัญใจของเด็กผู้หญิงอยู่น่านเอง  ม่ายงั้นตุ๊กตาบาร์บี้จะขายดีเป็นเทน้ำ เทท่าเรอะ…


บันทึกการเข้า

finghting!!!
paul711
Hero Member
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 4406


Gold is value because it's value!


« ตอบ #13 เมื่อ: มีนาคม 02, 2012, 10:04:51 PM »

 Cheesy ขอบคุณครับคุณหนูใจ บทความดีๆทั้งนั้น อ่านเรื่องพระเจ้าตากมหาราช อ่านไปขนลุกไป
เหมือนอยู่ในเหตุการณ์จริงๆ
บันทึกการเข้า

ผมไม่ใช่กูรูเรื่องทอง ไม่เคยเขียนหรือพูดแม้แต่ครั้งเดียวว่าเก่งเรื่องทองอ่านที่ผมเขียน แล้วตัดสินใจเอง เกิดผิดพลาด ต้องรับผิดชอบเองอย่าโทษผู้อื่นว่าพลาดเพราะไปเชื่อคนอื่น ไม่มีใครบังคับให้ท่านเชื่อ ผมเป็นแค่ชาวบ้านธรรมดา----Paul711 
จุดหมาย 1) ทองแท่ง ให้ได้กําไร อย่างน้อย 10% ทุก 3 เดือน 2) Gold Future ให้ได้กําไรอย่างน้อย 5% ทุกเดือน 3) gold online ให้ได้กําไร อย่างน้อย 5% ทุกเดือน 
ชีวิตต้องมีหลักและจุดหมายที่ดีและแน่นอน ชีวิตที่ไม่มีหลักที่ดีเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวก็เปรียบเหมือนเรือที่ไม่มีหางเสือ ใครชวนให้ทําดีก็ดีไป ใครชวนให้ทําเรื่องไม่ดี ก็จะพบกับความล้มเหลวและภัยพิบัติได้


http://ichpp.egat.co.th/

Gold2Gold.com
jainu
Moderator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #14 เมื่อ: มีนาคม 02, 2012, 10:14:09 PM »

Cheesy ขอบคุณครับคุณหนูใจ บทความดีๆทั้งนั้น อ่านเรื่องพระเจ้าตากมหาราช อ่านไปขนลุกไป
เหมือนอยู่ในเหตุการณ์จริงๆ


 Smiley ด้วยความยินดีค่ะคุณพอล หนูใจก็ได้ความรู้ไปด้วยค่ะ
   

        ติ  ชม แนะนำ ด้วยน้ะค่ะ  พี่ๆ เพื่อนสมาชิกทุกท่าน

                             ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาอ่านด้วยน้ะค่ะ


                                                                             Cheesy
บันทึกการเข้า

finghting!!!
Gold Price today, Gold Trend Price Prediction, ราคาทองคํา, วิเคราะห์ทิศทางทองคํา
   

images by free.in.th
Thanks: ฝากรูป dictionary ---------------------Charts courtesy of Moore Research Center, Inc. For more information on Moore Research products and services click here. --- http://www.mrci.com ---------- ---------------------------------------------รูปกราฟแสดงราคาทองในอดีตปี 1974-1999 ของ Moore Research Center, Inc. แสดงฤดูกาลที่ราคาทองขึ้นสูงสุดและตําสุด เอาแบบคร่าวๆ เส้นนําตาลหรือนําเงินก็ใกล้เคียงกัน เส้นนําตาลเฉลี่ย 15 ปี เส้นนําเงินเฉลี่ย 26 ปี ราคาตําสุดของเส้นนําตาล หรือเฉลี่ย 15 ปี ในเดือน ปลายเดือน เมษ และปลายเดือน สค ต่อต้นเดือน กย[/color] สูงสุดในเดือน กพ กับ พย / ส่วนเฉลี่ย 26 ปี ราคาตําสุด ต้น กค กับ ปลาย สค และราคาสูงสุดในเดือน กพ และ กลางเดือน ตค ----- แค่ดูคร่าวๆ เป็นแนวทาง อย่ายึดมั่นว่าจะต้องเป็นตามนี้ ข้างล่างเป็นกราฟราคานํามัน ตามฤดูกาล จาก Charts courtesy of Moore Research Center, Inc. images by free.in.th
Thanks: ฝากรูป dictionary
 บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 ... 6   ขึ้นบน
พิมพ์
กระโดดไป: