Forex-Currency Trading-Swiss based forex related website. Home ----- กระดานสนทนาหน้าแรก ----- Gold Chart,Silver,Copper,Oil Chart ----- gold-trend-price-prediction ----- ติดต่อเรา
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6   ลงล่าง
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: ประวัติ ตำนาน เรื่องเล่า  (อ่าน 33136 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 4 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
jainu
Moderator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #60 เมื่อ: สิงหาคม 21, 2013, 09:36:38 AM »

วันนี้ (21 ส.ค.) วันที่ 15 เดือน 7 ตามปฏิทินจีนโบราณ เป็นวันสารทจีน วันสำคัญที่ลูกหลานชาวไทยเชื้อสายจีนจะแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ โดยพิธีเซ่นไหว้ และยังถือเป็นเดือนที่ภพภูมิอื่นเปิดให้วิญญาณทั้งหลายมารับกุศลผลบุญได้ค่ะ ดูเกร็ดเรื่องวันสารทจีน คลิก http://hilight.kapook.com/view/14


บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Moderator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #61 เมื่อ: สิงหาคม 21, 2013, 11:01:12 AM »

ที่มาของวันสารทจีน
วันสารทจีน (鬼节/中元节)


พี่จิ๋วเชื่อว่าน่าจะมีน้อง ๆ หลายคนสงสัยว่า "วันสารทจีน" ภาษาจีนกลางเรียกว่าอะไรกันแน่น่ะ แล้วมีที่มาที่ไปอย่างไร วันนี้พี่จิ๋วมีข้อมูลให้น้อง ๆ ได้คลายข้อสงสัยกันค่ะ
ตามปฎิทินจีนโบราณ ทุกวันที่ 15 เดือน 7 เป็นวันหรือเทศกาลสำคัญที่ตกทอดกันมาชาวไทยอย่างเราจะรู้จักกันว่า "วันสารทจีน" ซึ่งชาวจีนลัทธิเต๋าเรียกกันว่า " 中元节 จงเอวียน เจี๋ย" หากเป็นชาวจีนที่นับถือพุทธจะเรียกว่า “盂兰盆节 อวี๋หลัน เผินเจี๋ย" และชาวบ้านชาวจีนจะเรียกกันติดปากว่าวัน "鬼节 กุ่ย เจี๋ย (วันผี)"
วันนี้(15/08/2008)ด้วยความสงสัยว่าในปัจจุบันชาวจีนเรียกวัน "สารทจีน"กันติดปากว่าอะไรกันบ้างน่ะ จึงได้สอบถามเพื่อนชาวจีนจำนวน 10 คนว่าวันนี้ (วันสารทจีน)ชาวจีนเรียกว่าอะไร คำตอบที่พบทำให้ต้องตกใจหงายหลังเพราะดันมีคำตอบที่มากกว่าที่กล่าวไว้ในข้างต้นค่ะ บางคนเค้าก็บอกกันว่าเป็นวัน "七月节 ชีเอวี้ย เจี๋ย " บางคนก็บอกว่าเป็นวัน "七姐诞 ชี เจี่ยต้าน" บ้างก็ว่า "七月半鬼节 ชี เอวี้ยป้านกุ่ยเจี๋ย" ในที่สุดจึงได้ข้อสรุปมาว่า ส่วนใหญ่ชาวจีนจะเรียกวันสารทจีนโดยรู้กันทั่วประเทศว่า "鬼节 กุ่ย เจี๋ย (วันผี)" ซึ่งกล่าวกันได้ว่าเป็นภาษาพูด หากเป็นทางการจะเรียกว่าวัน" 中元节 จงเอวียน เจี๋ย" แต่ที่มีคำเรียกกันอย่างมากมายอาจเนื่องจากแต่ละเมืองอาจมีภาษาเรียกในท้องถิ่นที่แตกต่างหรือมีเรื่องเล่าที่สืบทอดต่อกันมาแตกต่างกันไปนั้นเอง
วันสารทจีน ลูกหลานจะแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษโดยพิธีเซ่นไหว้ โดยหญิงที่แต่งงานแล้วไม่สามารถที่จะกลับมาไหว้บรรพบุรุษของตนเองนอกเสียจากมีพ่อหรือแม่ของตนเสียชีวิตไปแล้วจึงสามารถกลับมาบ้านตนเองเพื่อกราบไหว้ได้ แต่หากพ่อหรือแม่ของฝ่ายหญิงที่แต่งงานแล้วยังไม่เสียชีวิต ฝ่ายหญิงก็ต้องไหว้บรรพบุรุษของบ้านสามีนั้นเอง (ข้อมูลตรงนี้ต้องขอขอบคุณเพื่อนชาวจีนของพี่จิ๋วชื่อสวี อ้ายจวี๋ ที่ให้ข้อมูลแนะนำมา)
แหล่งที่มาจากบางที่กล่าวไว้ว่า เรื่องวันสารทจีนนี้ได้ไปปะปนกับเรื่องของพระโมคคัลลานะ ที่ช่วยมารดาให้พ้นจากนรก จึงมีความเชื่อว่าเป็นเวลาที่ประตูนรกนั้นได้ถูกเปิด เพื่อให้บรรดาภูตผีออกเร่ร่อนตามสถานที่ต่างๆ ชาวจีนจะมีการเซ่นไหว้เพิ่มขึ้นมาอีกพิธีหนึ่ง คือ ในตอนเช้าจะเซ่นไหว้เจ้าที่ และเซ่นไหว้บรรพบุรุษ ตอนบ่ายจะเซ่นไหว้ผีไม่มีญาติ หรือบรรพบุรุษต้นตระกูลของชาวจีน ที่ล่วงลับไปแล้ว แต่ไม่มีลูกหลานสืบสกุล แต่ในบางแห่งก็นิยมไหว้ในตอนเช้าด้วยเช่นกัน ประเพณีนี้ได้ยึดถือปฏิบัติสืบทอดกันมายาวนาน
ในรอบหนึ่งปีชาวจีนจะมีไหว้เจ้าใหญ่ 8 ครั้ง การไหว้สารทจีนเป็นการไหว้ครั้งที่ 5 ตรงกับวันที่ 15 เดือน 7 ซึ่งถือกันว่าเป็นเดือนผี เป็นเดือนที่ประตูนรกปิดเปิด ให้ผีทั้งหลายมารับกุศลผลบุญได้


การไหว้
การไหว้ในเทศกาลสารทจีนต่างจากการไหว้ในเทศกาลอื่นๆ ตรงที่แบ่งการไหว้ออกเป็น 3 ชุด
ชุดแรก สำหรับไหว้เจ้าที่
จะไหว้ในตอนเช้า มีอาหารคาวหวาน ขนมไหว้ก็ใช้ ถ้วยฟู กุ้ยไช่ ซึ่งต้องมีสีแดงแต้มเป็นจุดเอาไว้ ส่วนขนมไหว้พิเศษที่ต้องมี ซึ่งเป็นประเพณีของสารทจีน คือ ขนมเข่ง ขนมเทียน นอกจากนั้นก็มีผลไม้ น้ำชา หรือเหล้าจีน และกระดาษเงิน กระดาษทอง

ชุดที่สอง สำหรับไหว้บรรพบุรุษ
คล้ายของไหว้เจ้าที่ พร้อมด้วยกับข้าวที่ บรรพบุรุษชอบ ตามธรรมเนียมต้องมีน้ำแกง หรือขนมน้ำใสๆ วางข้างชามข้าวสวย และน้ำชา จัดชุดตามจำนวนของบรรพบุรุษ ถ้าเป็นคนมีฐานะก็นิยมไหว้โหงวแซ คือมี เป็ด ไก่ หมู ตับ ปลา พร้อมด้วยกับข้าวอีกหลายอย่าง แล้วแต่ว่าจะจัดที่บรรพบุรุษชอบ หรือจะจัดแบบที่ลูกหลานคนที่ได้กินจริงชอบ

แต่ตามธรรมเนียมการไหว้บรรพบุรุษ ต้องมีของน้ำสำหรับซดให้คล่องคอ จะเป็นน้ำแกงก็ได้ หรือเป็นขนม น้ำใส ๆ เช่น อี๊ (คือขนมบัวลอย) ก็ได้ วางเคียงกับชามข้าวสวยและน้ำชา ของหวานก็มี ขนมเข่ง ขนมเทียน ผลไม้ และกระดาษเงินกระดาษทอง ที่ขาดไม่ได้ก็คือ ขนมเข่ง ขนมเทียน ผลไม้ และกระดาษเงินกระดาษทอง

ชุดที่สาม สำหรับไหว้วิญญาณพเนจร
ผีไม่มีญาติ ซึ่งไม่มีลูกหลานกราบไหว้ เรียกว่า ไป๊ฮ้อเฮียตี๋ หรือบางแห่งเรียกว่า ฮ้อเฮียตี๋

จะต้องไหว้นอกบ้าน ของไหว้มีทั้งของคาวหวาน กับผลไม้ตามต้องการ และที่พิเศษคือ มีข้าวหอมแบบจีนโบราณ คอปึ่ง เผือกนึ่งผ่าซีกเป็นเสี้ยวใส่ถาด เส้นหมี่ห่อใหญ่ เหล้า น้ำชา และกระดาษเงินกระดาษทองแบบเฉพาะ ที่เรียกว่า อ่วงแซจิว จัดทุกอย่างวางอยู่ด้วยกันสำหรับเซ่นไหว้

พิธีไหว้
การไหว้เจ้าที่ จะไหว้ก่อนในตอนเช้า เผากระดาษเงินกระดาษทองจนเรียบร้อย สายๆ จึงตั้งโต๊ะไหว้บรรพบุรุษและไหว้ฮ้อเฮียตี๋ บางบ้านนิยมไหว้ตอนบ่าย ถ้าไหว้พร้อมกัน ให้ตั้งโต๊ะแยกจากกัน แต่เผากระดาษเงินกระดาษทองร่วมกันได้ สำหรับการไหว้ขนมเข่งขนมเทียนในเทศกาลสารทจีนนี้ ที่เมืองจีนไม่มี ขนมที่ใช้ไหว้ที่เมืองจีนจะเป็นขนม 5 อย่าง เรียกว่า “โหงวเปี้ย” หรือ เรียกชื่อเป็นชุดว่า ปัง เปี้ย หมี่ มั่ว กี

ปัง คือ ขนมทึงปัง เป็นขนมที่ทำจากน้ำตาล
เปี้ย คือ ขนมหนึงเปี้ย คล้ายขนมไข่
หมี่ คือ ขนมหมี่เท้า ทำจากแป้งข้าวเจ้า ข้างในไส้เต้าซา
มั่ว คือ ขนมทึกกี่ เป็นขนมข้าวพองสีแดง ตรงกลางมีไส้เป็นแผ่นบาง
กี คือ ขนมทึงกี ทำเป็นชิ้นใหญ่ยาว เวลาจะกินต้องตัดเป็นชิ้นเล็กๆ

เนื่องจากที่เมืองไทยหาส่วนผสมที่ใช้ทำขนมทั้งห้านี้ไม่ได้ครบถ้วน จึงงดไป แล้วเปลี่ยนมาเป็นการไหว้ขนมเข่ง ขนมเทียน ในการไหว้เทศกาลสารทจีนแทน
ปัจจุบันชาวจีนแผ่นดินใหญ่ยังคงให้ความสำคัญกับวันสารทจีน เนื่องจากเป็นวันที่แสดงถึงความเคารพและความกตัญญูต่อบรรพบุรุษไม่มีวันเสื่อมคลาย**

จิรวรรณ จิรันธร

แหล่งอ้างอิงเพิ่มเติมจาก http://zhidao.baidu.com
http://www.decha.com...pic.php?id=1107
บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Moderator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #62 เมื่อ: พฤศจิกายน 24, 2013, 11:12:43 AM »

ตำนานของดอกกุหลาบ




กุหลาบเป็นดอกไม้ที่นิยมปลูกไว้ชื่นชมมาแต่โบราณ ประมาณกันว่ากุหลาบเกิดขึ้นเมื่อกว่า 70 ล้านปีมาแล้ว เคยมีการค้นพบฟอสซิลของกุหลาบใน รัฐโคโลราโด และ รัฐโอเรกอน ประเทศสหรัฐอเมริกาและได้พิสูจน์ว่ากุหลาบป่าเป็นพืชที่มีอายุถึง 40 ล้านปี แต่กุหลาบป่าสมัยโลกล้านปีนี้ มีรูปร่างหน้าตาไม่เหมือนกุหลาบสมัยนี้ เนื่องจากมนุษย์ได้นำเอากุหลาบป่ามาปลูกและผสมพันธุ์ ขยายพันธุ์เป็นพันธุ์ต่างๆ มากมาย

        ความจริงแล้วกำเนิดของกุหลาบหรือกุหลาบป่านี้มีเฉพาะในแถบบริเวณเหนือเส้นศูนย์สูตรของโลกเท่านั้น คือกำเนิดในภาคกลาง

ของทวีปเอเชีย แล้วแพร่ขยายพันธุ์ไปตลอดซีกโลกเหนือ ไม่ว่าจะเป็นแถบที่มีอากาศหนาวจัดอย่าง อาร์กติก อลาสก้า ไซบีเรีย หรือแถบอากาศร้อนอย่าง อินเดีย แอฟริกาเหนือ แต่ในบริเวณแถบใต้เส้นศูนย์สูตรอย่างทวีปออสเตรเลีย หรือเกาะต่างๆ ในมหาสมุทรรวมทั้งแอฟริกาใต้ ไม่เคยมีปรากฏว่ามีกุหลาบป่าเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติเลย

         บางตำนานกล่าวว่ากุหลาบเกิดจากการชุมนุมของบรรดาทวยเทพ เพื่อประทานชีวิตใหม่ให้กับนางกินรีนางหนึ่ง ซึ่งเทพธิดาแห่งบุปผาชาติ หรือ คลอริส บังเอิญไปพบนางนอนสิ้นชีพอยู่ ในตำนานนี้กล่าวว่า อโฟรไดท์ เป็นเทพผู้ประทานความงามให้ มีเทพอีกสามองค์ประทานความสดใส เสน่ห์ และความน่าอภิรมย์ และมี เซไฟรัส ซึ่งเป็นลมตะวันตกได้ช่วยพัดกลุ่มเมฆ เพื่อเปิดฟ้าให้กับแสงของเทพ อพอลโล หรือแสงอาทิตย์ส่องลงมาเพื่อประทานพรอมตะ จากนั้น ไดโอนีเซียส เทพเจ้าแห่งเหล้าองุ่นก็ประทานน้ำอมฤต และกลิ่นหอม เมื่อสร้างบุปผาชาติดอกใหม่นี้ขึ้นมาได้แล้ว เทพทั้งหลายก็เรียกดอกไม้ซึ่งมีกลิ่นหอมและทรงเสน่ห์นี้ว่า Rosa จากนั้น เทพธิดาคลอริส ก็รวบรวมหยดน้ำค้างมาประดับเป็นมงกุฎ เพื่อมอบให้ดอกไม้นี้เป็นราชินีแห่งบุปผาชาติทั้งมวล จากนั้นก็ประทานดอกกุหลาบให้กับเทพ อีโรส ซึ่งเป็นเทพแห่งความรัก กุหลาบจึงกลายเป็นสัญลักษณ์ของความรัก แล้วเทพ อีโรส ก็ประทานกุหลาบนี้ให้แก่ ฮาร์โพเครติส ซึ่งเป็นเทพแห่งความเงียบ เพื่อที่จะเก็บซ่อนความอ่อนแอของทวยเทพทั้งหลาย ดอกกุหลาบจึงกลายเป็นสัญลักษณ์ของความเงียบและความเร้นลับอีกอย่างหนึ่ง

           กุหลาบกลายเป็นของขวัญ ของกำนัลสำหรับการแสดงความรัก และมักจะมีผู้เปรียบเทียบความงามของผู้หญิงเป็นเสมือนดอกกุหลาบ และผู้หญิงคนแรกในประวัติศาสตร์โลกที่ได้รับสมญาว่าเป็นผู้หญิงงามเสมือนดอกกุหลาบคือ พระนางคลีโอพัตรา ซึ่งพระนางยังได้เคยต้อนรับ มาร์ค แอนโทนี คนรักของพระนาง ในห้องซึ่งโรยด้วยดอกกุหลาบหนาถึง 18 นิ้ว หอมฟุ้งไปด้วยกลิ่นกุหลาบ





ตำนานดอกกุหลาบในเมืองไทย



กุหลาบมาจากคำว่า "คุล" ในภาษาเปอร์เชีย แปลว่า "สีแดง ดอกไม้ หรือดอกกุหลาบ" และเข้าใจว่าจากเปอร์เซียได้แพร่เข้าไปในอินเดีย เพราะในภาษาฮินดีมีคำว่า "คุล" แปลว่า "ดอกไม้" และคำว่า "คุลาพ" หมายถึงกุหลาบอย่างที่ไทยเราเรียกกัน แต่ออกเสียงเป็น "กุหลาบ"  ส่วนคำว่า "Rose" ในภาษาอังกฤษนั้นมาจากคำว่า "Rhodon" ที่แปลว่ากุหลาบในภาษากรีก


กุหลาบเข้ามาเมืองไทยสมัยใดไม่ทราบแน่ชัด แต่จากบันทึกของ ลา ลูแบร์ ราชทูตฝรั่งเศสในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช บันทึกไว้ว่าได้เห็นกุหลาบที่กรุงศรีอยุธยา และที่แน่นอนอีกแห่งก็คือ ในกาพย์ห่อโคลงนิราศธารโศกสมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งเป็นพระนิพนธ์ของเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ กล่าวถึงกุหลาบไว้ว่า

 

           กุหลาบกลิ่เฟื่องฟุ้ง   เนืองนอง

หอมรื่นชื่นชมสอง             สังวาส

นึกกระทงใสพานทอง        ก่ำเก้า

                  หยิบรอจมูกเจ้า                 บ่ายหน้าเบือนเสีย

 

       สำหรับตำนานดอกกุหลาบของไทยเล่ากันว่า เป็นบทละครพระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ 6 เรื่อง มัทนะพาธา ในเรื่องเล่าถึงเทพธิดาองค์หนึ่งชื่อ "มัทนา" ซึ่งนางได้มีเทพบุตรองค์หนึ่งชื่อ "สุเทษณะ" ซึ่งพระองค์ทรงหลงรักเทพธิดา "มัทนา" มากแต่นางไม่มีใจรักตอบ จึงถูกสาบให้ไปเกิดเป็นดอกกุหลาบ จึงกลายเป็นตำนานดอกกุหลาบแต่นั้นมา



กุหลาบขาว กับ กุหลาบแดง สีไหนเกิดก่อน

มีหลายตำนานเล่าถึงการเกิดกุหลาบสีขาวและกุหลาบสีแดงไว้แตกต่างกัน ตำนานหนึ่งเล่าว่า กุหลาบขาว เกิดขึ้นก่อน กุหลาบแดง เดิมทีมีนกไนติงเกลตัวหนึ่งมาหลงรักเจ้าดอกกุหลาบขาวแสนสวย ขณะที่มันกำลังจะโอบกอดดอกกุหลาบด้วยความรักนั้นเอง หนามกุหลาบก็ทิ่มแทงที่หน้าอกของมัน หยดเลือดของเจ้านกไนติงเกลเลยทำให้ดอกกุหลาบสีขาวกลายเป็นสีแดง เลยมีดอกกุหลาบสีแดงนับแต่นั้นเป็นต้นมา ส่วนอีกตำนานหนึ่งก็เล่าว่ากุหลาบสีแดงใน สวนอีเดน เกิดจาการจุมพิตของ อีฟ เจ้าดอกกุหลาบขาวที่หญิงสาวจุมพิต เลยเกิดอาการขวยเขินจึงเปลี่ยนเป็นสีแดง

         นอกจากนี้ ความหมายของความรักในศาสนาคริสต์ ถือว่ากุหลาบสีขาวแทนความบริสุทธิ์ของ พระแม่มาเรีย และกุหลาบสีแดงเกิดจากหยาดพระโลหิตของ พระเยซูเจ้า เมื่อถูกสวมมงกุฎหนาม มันจึงเป็นสัญลักษณ์ของผู้ประกาศศาสนาที่พลีชีพเพื่อพระผู้เป็นเจ้า


สีกุหลาบสื่อความหมาย

  ในวันวาเลนไทน์ ซึ่งเป็นวันแห่งความรัก ดอกกุหลาบถือเป็นสัญลักษณ์ และของกำนัลของวันนี้ ดังนั้นเวลาที่คิดจะให้ดอกกุหลาบแก่ใครสักคน เราก็น่าจะรู้ความหมายของสีอันเป็นสื่อความหมายของดอกกุหลาบไว้บ้างก็น่าจะดี ซึ่งก็จะมีความดังนี้

 

•สีแดง      สื่อความหมายถึง ความรักและความปรารถนา เป็นดอกไม้ของกามเทพ คิวปิด และอีรอส      เป็นสิ่งนำโชคนำความรักมาให้แก่หญิงหรือชายที่ได้รับ
•สีชมพู      สื่อความหมายถึง ความรักที่มีความสุขอย่างสมบูรณ์
•สีขาว      สื่อความหมายถึง ความมีเสน่ห์ ความบริสุทธิ์ มิตรภาพ และความสงบเงียบ      และนำโชคมาให้แก่หญิงหรือชายเช่นเดียวกับกุหหลาบ
•สีเหลือง      สื่อความหมายถึง เราเป็นเพื่อนที่ดีต่อกันเสมอนะ
•สีขาวและแดง      สื่อความหมายถึง ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
•กุหลาบตูม      สื่อความหมายถึง ความงามและความเยาว์วัย
 

ช่อกุหลาบสื่อความหมาย

 

       จำนวนดอกกุหลาบในช่อก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สื่อความหมายได้เช่นกัน และในวันวาเลนไทน์หรือวันไหนๆ ถ้าคุณได้ช่อดอกกุหลาบจากใครสักคน เค้าคนนั้นอาจกำลังต้องการสื่อความหมายอะไรบางอย่างให้คุณรู้ก็เป็นได้

จำนวนดอกกุหลาบ                                                ความหมาย

         1                                                                รักแท้พบ

         2                                                         แสดงความรู้สึกที่ดีให้กัน

         3                                                                 ฉันรักเธอ

         7                                                      คุณทำให้ฉันหลงเสน่ห์

        9                                                         เราสองคนจะรักกันตลอดไป

        10                                                           คุณเป็นคนเป็นที่ดีเลิศ

        11                                               คุณเป็นสมบัติขึ้นที่มีค่าชิ้นเดียวของฉัน

        12                                                     ขอให้เธอเป็นคู่ของฉัีนเพียงคน

        13                                                                เพื่อนแท้เสมอ

        15                                                                 เพื่อนแท้เสมอ

        20                                                              รู้สึกเสียใจต่อเธอ

        21                                                         ชีวิตนี้ฉันมอบเพื่อเธอ

       36                                                     ฉันยังจำความหลังอ้นแสนหวาน

       40                                                        ความรักของฉันเป็นรักแท้

       99                                                            ฉันรักเธอจนวันตาย

       100                                                       ฉันอุทิศชีวิตนี้เพื่อเธอ

       101                                                     ฉันมีคูณเพียงคนเดียวเท่านั้น

       108                                                        คุณจะแต่งงานกับฉันไหม

       999                                                         ฉันจะรักคุณจนวินาทีสุดท้าย

 

                                                                  http://www.panmai.com



บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Moderator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #63 เมื่อ: พฤศจิกายน 25, 2013, 09:27:16 AM »

13 หลัก บัตรประชาชน


 
nachart@yahoo.com

อยากทราบว่าเลขบัตรประชาชน 13 หลัก แต่ละหลักมีความหมายว่าอย่างไรคะ-ปริญญา ศ.น. / บัตรประชาชนมีเลขอะไรนำหน้า-เด็กเทพ

ตอบ ปริญญา และเด็กเทพ


คำตอบมาจากอธิบดีกรมการปกครอง ชาญชัย สุนทรมัฎฐ์ ว่า พี่น้องประชาชนหลายท่านคงเกิดความสงสัยว่าเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก ที่สำนักทะเบียนกำหนดขึ้น หมายถึงอะไร และสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างไรบ้าง


จุดเริ่มต้นของเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก มาจากโครงการจัดทำเลขประจำตัวประชาชนเพื่อจัดตั้งคลังข้อมูลประวัติทะเบียนราษฎรของประชาชนทั่วประเทศด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ไว้ที่สำนักทะเบียนกลางกรมการปกครอง พร้อมทั้งจัดทำระบบมาตรฐานกลางในการให้เลขประจำตัวแก่ประชาชน โดยประชาชนแต่ละคนจะมีเลขประจำตัวประชาชนเพียงเลขเดียวตั้งแต่เกิดจนตายไว้ใช้อ้างอิงและพิสูจน์ตัวบุคคลในการติดต่อราชการ


ความหมายของเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก แต่ละหลักมีความหมาย ดังนี้


หลักที่ 1 หมายถึงประเภทของบุคคลซึ่งมี 10 ประเภท ประกอบด้วย
หมายเลข 1 ได้แก่ คนที่เกิดและมีสัญชาติไทย ซึ่งได้แจ้งเกิดภายในกำหนดเวลา (ตั้งแต่ 1 ม.ค.2527)
หมายเลข 2 ได้แก่ คนที่เกิดและมีสัญชาติไทย ได้แจ้งเกิดเกินกำหนดเวลา (ตั้งแต่ 1 ม.ค.2527)
หมายเลข 3 ได้แก่ คนไทยและคนต่างด้าวที่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว และมีที่อยู่ในทะเบียนบ้าน ก่อนวันที่ 31 พ.ค.2527
หมายเลข 4 ได้แก่ คนไทยและคนต่างด้าวที่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว และได้ย้ายเข้าทะเบียนบ้าน ขณะยังไม่มีเลขประจำตัวประชาชน (ระหว่างวันที่ 1 ม.ค.-31 พ.ค.2527)

หมายเลข 5 ได้แก่ คนไทยที่ได้รับอนุมัติให้เพิ่มชื่อเข้าในทะเบียนบ้านในกรณีตกสำรวจหรือกรณีอื่นๆ
หมายเลข 6 ได้แก่ ผู้ที่เข้าเมืองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และผู้ที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายแต่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในลักษณะชั่วคราว หมายเลข 7 ได้แก่ บุตรของบุคคลหมายเลข 6 ซึ่งเกิดในประเทศไทย
หมายเลข 8 ได้แก่ คนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยถูกต้องตามกฎหมาย คือ ได้รับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว คนได้รับการแปลงสัญชาติเป็นสัญชาติไทย และคนที่ได้รับสัญชาติไทย

หมายเลข 0 หมายถึง บุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน ได้แก่ บุคคลที่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยแต่ไม่มีรายการในทะเบียน เนื่องจากไม่ปรากฎหลักฐานยืนยันถิ่นกำเนิด หรือประวัติของบุคคล หรือมีหลักฐานไม่เพียงพอที่นายทะเบียนจะพิจารณาเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน หมายเลข 00 หมายถึง คนต่างด้าวที่เข้ามาอยู่ในประเทศไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ออกประกาศอนุญาตให้อยู่ในประเทศไทยเป็นกรณีพิเศษตามมติคณะรัฐมนตรี



หลักที่ 2 ถึงหลักที่ 5 หมายถึง รหัสสำนักทะเบียนที่ออกเลขประจำตัวประชาชนให้กับประชาชน

หลักที่ 6 ถึงหลักที่ 12 หมายถึง ลำดับที่ของบุคคลในแต่ละประเภทของแต่ละสำนักทะเบียน

หลักที่ 13 คือ ตัวเลขตรวจสอบความถูกต้องของเลขประจำตัวประชาชนทั้งหมด



nachart@yahoo.com


 
บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Moderator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #64 เมื่อ: พฤศจิกายน 25, 2013, 07:09:26 PM »


ลูกที่เกิดตรงนี้นั้นยังอยู่ และยังอยู่เพื่อคอยรักษา ให้ " ต้นไม้ของพ่อ" ยังงดงาม
บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Moderator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #65 เมื่อ: ธันวาคม 12, 2013, 06:41:49 PM »

ที่มาของ ...'หม้อหุงข้าว'



หม้อหุงข้าว ประดิษฐ์ ขึ้นครั้งแรกในญี่ปุ่น เพื่อสนองความต้องการในประเทศ ในอดีตสตรีชาวญี่ปุ่นต้องหุงข้าวด้วยเตาถ่าน


ซึ่งต้องเสียเวลามานั่งเฝ้า และในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 สตรีญี่ปุ่นต้องใช้แรงงานในการสงครามด้วย ความสะดวกรวดเร็วและประหยัดเวลาในการหุงข้าวจึงจำเป็นอย่างยิ่ง


ดังนั้นความสำเร็จในการประดิษฐ์หม้อหุงข้าวและเริ่มจำหน่ายขึ้นครั้งแรกในปีค.ศ.1956 จึงได้รับการตอบรับจากชาวญี่ปุ่นอย่างท่วมท้น


วิวัฒนาการหม้อหุงข้าวที่เก่าแก่ที่สุดเดิมมีชื่อเรียกว่า คามาโดะ มีมาตั้งแต่ยุคสมัยโคฟุน ค.ศ. 300-710 คามาโดะเป็นเตาดินเสริมด้วยอิฐหักเพื่อเพิ่มความแข็งแรงและทนทานต่อความร้อน ใช้ฟืนในการหุงต้ม นอกจากใช้หุงข้าวแล้วก็ยังนำมาต้มซุปถั่ว แต่มีข้อเสียคือเคลื่อนย้ายไม่ได้


ต่อมาสมัยนารา-เฮอัน ราวปีค.ศ.710-794 หม้อหุงข้าวพัฒนามาเป็น โอกิ-คามาโดะ สร้างขึ้นให้ใช้งานกลางแจ้ง และมีภาชนะแยกส่วนสำหรับบรรจุอาหารที่เรียกว่าฮากามะ สำหรับหย่อนลงในหลุมที่ด้านล่างมีกองฟืนสำหรับหุงต้ม


ภายหลังมีการประดิษฐ์ภาชนะบรรจุข้าวสำหรับหุงโดยเฉพาะ ลักษณะทรงรีทำด้วยโลหะ เรียกว่า โอกามา เรียกหม้อหุงข้าวชนิดนี้ว่า มูชิ-คามาโดะ


ปลายยุคสมัยไตโช กลางทศวรรษ 1920 เริ่มมีการทดลองผลิตหม้อหุงข้าวไฟฟ้าเป็นครั้งแรก ปลายทศวรรษ 1940 บริษัทมิตซูบิชิ อิเลคทริก ผลิตหม้อหุงข้าวที่มีหม้อและขดลวดนำความร้อนอยู่ภายใน ซึ่งเป็นรูปแบบที่ใกล้เคียงที่สุดกับหม้อหุงข้าวในปัจจุบัน แต่ก็ยังไม่สะดวกสบายนัก เพราะคนหุงต้องนั่งเฝ้าเนื่องจากยังไม่มีระบบอัตโนมัติ ภายหลังบริษัทมัตซูชิตะและโซนี่ผลิตหม้อหุงข้าวออกจำหน่าย แต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จเช่นกัน


กระทั่งวันที่ 10 ธันวาคม 1956 บริษัทโตชิบานำหม้อหุงข้าวอัตโนมัติออกวางจำหน่าย 700 ใบ ประสบความสำเร็จมาก โตชิบาเริ่มผลิตหม้อหุงข้าวอีก 200,000 ใบ ในเวลาเพียง 1 เดือน อีก 4 ปี ต่อมาหม้อหุงข้าวเริ่มแพร่หลายไปเกือบครึ่งประเทศ


สาเหตุที่บริษัทโตชิบาประสบความสำเร็จในครั้งนี้ เนื่องจากเวลาที่รวดเร็วและแม่นยำในการหุงข้าว ที่ใช้เวลาเพียง 20 นาที หม้อหุงข้าวในยุคนั้นมี 2 ชั้น ชั้นนอกสำหรับบรรจุน้ำ ส่วนชั้นในสำหรับบรรจุข้าว รูปแบบนี้ใช้อยู่นานถึง 9 ปี จึงเปลี่ยนมาเป็นหม้อหุงข้าวในยุคปัจจุบัน




ที่มา: หนังสือพิมพ์ข่าวสด
บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Moderator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #66 เมื่อ: ธันวาคม 12, 2013, 06:47:29 PM »

ที่มาของวันทั้ง 7 ในรอบสัปดาห์

ต้นกำเนิด และที่มาทำไมต้อง 7 วัน

จากการค้นคว้าหาข้อมูล พบว่า การใช้สัปดาห์มี 7 วัน มีมาตั้งแต่ยุคสุเมเรีย และบาบิโลน โดยมีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์โลกว่า ว่าได้มีการกำหนดให้หนึ่งสัปดาห์มี 7 วัน เมื่อประมานปีที่ 2350 ก่อนคริสตศักราช (2350 BC) โดยกษัตริย์ซาร์ก้อนที่หนึ่งแห่งนครอัคคาด (Sargon I, King of Akkad) ภายหลังจากที่ได้ยึดครองเมืองอูร์ (Ur) และเมืองอื่นๆ ในคว้นซูเมอร์เรีย (Sumeria) ชื่อของกษัตริย์องค์นี้ และเมืองนี้มีการอ้างถึงในหนังสือคัมภีร์สูตรเรือนชะตาของอาจารย์ประยูร ผมจะไปค้นคว้าเพิ่มเติม แล้วกลับมาเล่าให้ฟังในโอกาสต่อไป

นอกจากเมืองอูร์จะเป็นต้นกำเนิดของการกำหนดให้สัปดาห์หนึ่งมีเจ็ดวันแล้ว ยังเป็นต้นกำเนิดของการกำหนดให้หนึ่งชั่วโมงมี 60 นาทีด้วย เพราะในยุคนั้น ชาวซุเมอร์เรียนใช้ระบบเลขหลัก 60 ในการคำนวน (แทนการใช้ระบบทศนิยมในปัจจุบัน)

ในยุคสมัยนั้น มนุษย์มีความเชื่อว่า โลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาล หรือเรียกว่า Geocentric ดวงอาทิตย์ และสิ่งต่างบนท้องฟ้าต่างโคจรรอบโลก และค้นพบว่ามีดาวเคราะห์ที่สามารถสังเกตุได้ด้วยตาเปล่า (naked eye planets) อยู่ 5 ดวง ซึ่งประกอบด้วย ดาวพุธ ดาวอังคาร ดาวศุกร์ ดาวพฤหัส และดาวเสาร์ เคลื่อนที่ผ่านกลุ่มดาวฤกษ์ (Fix Stars) หรือกลุ่มดาวในจักรราศี และเมื่อรวมกับ ดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์ ก็จะมีดาวบริวารของโลกทั้งสิ้น 7 ดวง ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำไมสัปดาห์จึงมี 7 วัน จะเห็นได้จากชื่อที่ใช้เรียกในแต่ละวันยังคงมีความหมายที่เกี่ยวข้องกับดาว หรือตามตำนานของเทพเจ้าประจำดาว ทั้ง 7


การเรียงลำดับของวันในสัปดาห์ (Order)


และเมื่อค้นลึกลงไปอีก ก็เป็นที่น่าประหลาดใจและเหลือเชื่ออย่างยิ่งว่า จริงๆแล้วการเรียงวันในสัปดาห์ มีรากฐานมาจากโหราศาสตร์นั้นเอง


เมื่อโลกเป็นสูตรกลางของจักรวาล โดยมีดาวทั้ง 7 ดวงที่โคจรอยู่รอบโลกนั้น ดาวก็ถูกจัดเรียงลำดับตามระบบ ปโตเลมี (Ptolemaic system) คือ เรียงจากดาวไกลสุดจากโลกมากที่สุดมายังดาวใกล้โลกมากที่สุด โดยใช้อัตราการโคจรรอบโลกเป็นตัววัด จึงได้การเรียงลำดับดังนี้ เสาร์ พฤหัส อังคาร อาทิตย์ ศุกร์ พุธ และจันทร์

เรื่อยๆ ซึ่งเรียกว่า “Planetary Hour” ซึ่งก็คือ ระบบยามแบบสากล นั้นเอง

[/Planetary Hour หรือ ยามแบบสากล เป็นวิธีการทำนายกาลชะตา (Horary) แบบหนึ่ง ซึ่งยังคงได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย แล้วผมจะมาเล่าเพิ่มเติม ว่าน่าสนใจเพียงใด มีวิธีการทำนาย และการคำนวนอย่างไร

[size]


รูปที่แสดง ดาว 7 แฉก ตามยามแต่ละชั่วโมง (Heptagram of the week)

ชั่วโมงแรกของรุ่งอรุณของวันที่ 1 เริ่มต้นที่ ดาวเสาร์ ให้ชื่อว่า "ชั่วโมงของเสาร์" ถัดไปชั่วโมงที่ 2 เป็น "ชั่วโมงของพฤหัส" ชั่วโมงที่ 3 เป็น "ชั่วโมงของอังคาร" ชั่วโมงต่อไป เป็น "ชั่วโมงของอาทิตย์", "ชั่วโมงของศุกร์", "ชั่วโมงของพุธ" และ "ชั่วโมงของจันทร์" ตามลำดับ และเมื่อครบรอบ 7 ชั่วโมง ก็จะวนกลับมาที่ “ชั่วโมงของเสาร์” ใหม่ เป็นวงรอบไปเรื่อยๆไม่รู้จบ

ดังนั้นชั่วโมงที่ 25 หรือชั่วโมงที่ 1 ของวันที่ 2 ก็จะเป็น “ชั่วโมงของอาทิตย์” และชั่วโมงที่ 49 หรือชั่วโมงที่ 1 ของวันที่ 3 คือ “ชั่วโมงของจันทร์”

และเมื่อเรียงลำดับชั่วโมงไปเรื่อย ครบทั้ง 7 วัน เราก็จะพบว่าชื่อของวันนั้น คือ ดาวที่ประจำของรุ่งอรุณในแต่ละวัน ดังนั้นจริงๆ แล้ววันแรกในสัปดาห์จะเริ่มต้นด้วย “วันเสาร์” และถัดไปคือ วันอาทิตย์ จันทร์ อังคาร พฤหัสบดี และ ศุกร์ ตามลำดับ

หากท่านใดมีความรู้เรื่องยามอัฐกาล ของโหราศาสตร์ไทย ก็จะพบว่าลำดับดาวพระเคราห์ประจำยามในภาคกลางวัน มีการเรียงลำดับตามระบบปโตเลมี ซึ่งอาจาร์ยพลูหลวง เคยเขียนบทความถึงความมหัศจรรย์ของดาว 7 แฉกนี้ ทั้งเรื่องของยามอัฐกาล และ เลข 7 ตัว

ชื่อวัน ใน 1 สัปดาห์ (The Names of the Days)

การกำหนดชื่อวันในแต่ละสัปดาห์ในทุกชาติทุกภาษาจะตั้งชื่อให้เกี่ยวข้องกับเทพเจ้าในตำนาน หรือมีความหมายตามดาวดาวทั้ง 7 แทบทั้งสิ้น สมัยแรกๆ จะให้วันเสาร์ (Saturday) เป็นวันแรกของสัปดาห์ ต่อมา ได้นับถือดวงอาทิตย์มากขึ้น จึงให้วันของดวงอาทิตย์ (Sun's day) เลื่อนอันดับ จากวันอันดับที่ 2 ของสัปดาห์ เป็นวันแรกของสัปดาห์แทน ทำให้วันเสาร์ กลายเป็นวันลำดับที่ 7 ของสัปดาห์ไปในที่สุด



วันอาทิตย์ (Sunday)

มีชื่อมาจากภาษาละติน ว่า "dies solis" หมายถึง "วันของดวงอาทิตย์" (Sun's day) เป็นชื่อวันหยุดของคนนอกศาสนา และต่อมา ถูกเรียกว่า "Dominica" (ภาษาละติน) หมายถึง "วันของพระเจ้า" (the Day of God) ต่อมา ภาษาที่มีรากศัพท์มาจากภาษาละติน เช่น ฝรั่งเศส, สเปน, อิตาเลี่ยน ก็ยังคงใช้คำที่คล้ายกับรากศัพท์ดังกล่าว เช่น

• ภาษาฝรั่งเศส: dimanche;
• ภาษาอิตาเลี่ยน: domenica;
• ภาษาสเปน: domingo
• ภาษาเยอรมัน: Sonntag;
• ภาษาดัทช์: zondag ทั้งหมดมีความหมายว่า "Sun-day"


วันจันทร์ (Monday)

มีชื่อมาจากคำว่า "monandaeg" หมายถึง "วันของดวงจันทร์" (The Moon's day) เป็นวันที่สองของสัปดาห์ ที่ตั้งขึ้นมา เพื่อสักการะ "เทพธิดาแห่งดวงจันทร์" (The goddess of the moon)

• ภาษาฝรั่งเศส: lundi;
• ภาษาอิตาเลี่ยน: lunedi;
• ภาษาสเปน: lunes (มาจากคำว่า Luna หมายถึง "ดวงจันทร์")
• ภาษาเยอรมัน: Montag;
• ภาษาดัทช์: maandag ทั้งหมดมีความหมายว่า "Moon-day"


วันอังคาร (Tuesday)

เป็นชื่อเทพเจ้า Tyr ของชาวนอรเวโบราณ (The Norse god Tyr) ส่วนชาวโรมัน เรียกเป็นชื่อสำหรับเทพเจ้าสงคราม แห่งดาวอังคาร (the war-god Mars) ว่า "dies Martis"

• ภาษาฝรั่งเศส: mardi;
• ภาษาอิตาเลี่ยน: martedi;
• ภาษาสเปน: martes
• ภาษาเยอรมัน: Diensdag;
• ภาษาดัทช์: dinsdag;
• ภาษาสวีเดน: tisdag

วันพุธ (Wednesday)

เป็นวันที่ตั้งเป็นเกียรติสำหรับ เทพเจ้า Odin ของชาวสวีเดน และนอรเวโบราณ ส่วนชาวโรมันเรียกว่า "dies Mercurii" สำหรับใช้เรียกเทพเจ้า Mercury (ประจำดาวพุธ)

• ภาษาฝรั่งเศส: mercredi;
• ภาษาอิตาเลี่ยน: mercoledi;
• ภาษาสเปน: miercoles
• ภาษาเยอรมัน: Mittwoch;
• ภาษาดัทช์: woensdag

วันพฤหัสบดี (Thursday)

เป็นชื่อเทพเจ้า Thor ของชาวนอรเวโบราณ (The Norse god Thor) เรียกว่า "Torsdag" ส่วนชาวโรมัน เรียกเป็นชื่อสำหรับเทพเจ้า Jove หรือ Jupiter ซึ่งเป็นเทพเจ้า แห่งเทพทั้งปวง และเรียกวันนี้ว่า "dies Jovis" หมายถึง วันของ Jove (Jove's Day)

• ภาษาฝรั่งเศส: jeudi;
• ภาษาอิตาเลี่ยน: giovedi;
• ภาษาสเปน: el jueves
• ภาษาเยอรมัน: Donnerstag;
• ภาษาดัทช์: donderdag ทั้งหมดมีความหมายว่า "วันสายฟ้า" (Thundar day)


วันศุกร์ (Friday)

เป็นชื่อเทพธิดา Frigg ของชาวนอรเวโบราณ (The Norse goddess Frigg) ภาษาเยอรมันเคยเรียกว่า "frigedag" ส่วนชาวโรมัน เรียกเป็นชื่อสำหรับเทพธิดา Venus ว่า "dies veneris"

• ภาษาฝรั่งเศส: vendredi;
• ภาษาอิตาเลี่ยน: venerdi;
• ภาษาสเปน: viernes
• ภาษาเยอรมัน: Freitag;
• ภาษาดัทช์: vrijdag

วันเสาร์ (Saturday)

ชาวโรมันใช้เรียกเป็นชื่อสำหรับเทพเจ้า Saturn ว่า "dies Saturni" หมายถึง Saturn's Day.

• ภาษาฝรั่งเศส: samedi;
• ภาษาอิตาเลี่ยน: sabato;
• ภาษาสเปน: el sabado
• ภาษาเยอรมัน: Samstag;
• ภาษาดัทช์: zaterdag;
• ภาษาสวีเดน: Lordag
• ภาษาเดนมาร์คและนอรเว: Lordag หมายถึง "วันชำระล้าง" (Washing day)
บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Moderator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #67 เมื่อ: พฤศจิกายน 13, 2015, 08:38:32 AM »

อัศจรรย์การค้นพบ ขุมทรัพย์สุสานฟาร์โรโบราณ เมื่อหลายปีก่อน !

ภาพการขุดค้นพบ ขุมทรัพย์สุสานฟาร์โรโบราณ ที่เกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1923 ซึ่งเมื่อสมัยก่อนจะเป็นภาพ ขาว-ดำ แต่ได้นำเอามาทำใหม่ให้เป็นภาพสี โดยที่เชื่อว่าจะเป็นของขององค์ฟาโรห์ตุตันคาเมนในอดีต



เครดิตจาก : http://ck101.com/thread-3396604-1-1.html?ref=banner









































เครดิตจาก : http://ck101.com/thread-3396604-1-1.html?ref=banner
บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Moderator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #68 เมื่อ: พฤศจิกายน 13, 2015, 09:08:20 AM »

Sea gypsies กลุ่มคนที่ไม่มีพื้นดินอยู่ และต้องใช้ชีวิตอยู่แต่ผิวน้ำ
เครดิตจาก : http://batona.net/62888-zhizn-na-vode-17-foto.html


































 Sea gypsies กลุ่มประชากรที่ใช้พื้นที่ของทะเลระหว่างประเทศ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ที่พวกเขาต้องใช้ชีวิตอยู่บนพื้นน้ำ ไม่มีไฟฟ้า ไม่มีน้ำดื่มสะอาด ในการดำรงชีวิต แต่พวกเขาก็มีวิถีการใช้ชีวิตที่สวยงามและมีความสุขได้ในแบบของตัวเอง

เครดิตจาก : http://batona.net/62888-zhizn-na-vode-17-foto.html
บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Moderator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #69 เมื่อ: พฤศจิกายน 13, 2015, 08:04:40 PM »

เปิดตัว 'เขาเล่าว่า' 24 แหล่งท่องเที่ยว ผ่านวิถีเรื่องเล่า

http://www.mthai.com/

จากวิถีชีวิตของชาวบ้านในท้องถิ่นต่างๆทั่วประเทศไทย ที่มีการทำมาหากิน พักผ่อนบันเทิง ความเชื่อ และ ศาสนา บวกกับความเจ้าบทเจ้ากลอนของคนไทย จนเกิดเป็นบทร้องรำ ศิลปะ นิทาน นิยาย คำบอกเล่า หรือ ตำนานต่างๆที่สืบสานกันมาจากรุ่นสู่รุ่น

ในปี 2559 นี้ จะเป็นการเปิดเป็นประสบการณ์การเดินทางครั้งใหม่ให้กับการท่องเที่ยวภายในประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้คนอยากออกไปค้นหาเรื่องราวที่มาจากเรื่องเล่า ในโครงการ “เขาเล่าว่า” ที่ถือได้ว่าเป็นมิติใหม่ของการท่องเที่ยวในเชิงลึกมากขึ้นเป็น “กลยุทธ์ท่องเที่ยวแบบสี่มิติ” คือ
1.AWARENESS “รับรู้” เรื่องราววิถีและความเชื่อแบบไทยๆที่น่าสนใจจากพื้นที่ต่างๆ
2.EXPERIENCE “เข้าไปเห็น” กระตุ้นให้ออกเดินทางไปท่องเที่ยวไปสัมผัสกับเรื่องราวต่างๆทั่วเมืองไทย
3.ENGAGEMENT “มีส่วนร่วม” ได้ลงไปสัมผัสกับธรรมชาติและชุมชน
4.VALUE “เข้าถึง” เรื่องราวความเป็นมา ความเชื่อ ตลอดจนคุณค่าต่างๆของพื้นที่

โดยแนวคิดหลักของโครงการเขาเล่าว่า คือความเชื่อที่ว่า..เบื้องหลังทุกๆที่ในเมืองไทยนั้นก็เต็มไปด้วย.. เรื่องราวเรื่องเล่า ของพื้นบ้าน บ้างก็เป็นคล้ายตำนานจากเมืองเก่า... บ้างก็เป็นเรื่องเล่าของคนในท้องถิ่น... บ้างให้คุณประโยชน์ ในแก่ผู้ไปสัมผัส.... บ้างเป็นมงคลแก่ผู้ที่ได้ไปกราบไหว้... บ้างคล้ายความเชื่อที่ท้าทาย เร้นลับ...ททท. จึงขอเชิญคนไทยออกไป รับรู้ สัมผัส มีส่วนร่วม และ เข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวทั่วเมืองไทย ที่นอกจากจะมีความสวยงาม หรือมีความศักดิ์สิทธิ์แล้ว ยังเต็มไปด้วยเรื่องราว “เขาเล่าว่า”….. ที่ไม่ได้เล่าเพียงให้เราแค่เชื่อ …. แต่เล่าให้เราออกไปเห็น

“เขาเล่าว่า” ภาคเหนือ

1. “สะพานอธิษฐานสำเร็จ” สะพานซูตองเป้ อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน



© สนับสนุนโดย Monotech สะพานชูตองเป้

เขาเล่าว่า … ก่อนจะทำการใหญ่ ก่อนที่จะก้าวไปสู่ความสำเร็จใดๆ ให้ถามใจตัวเองก่อนว่ามีแรงศรัทธามากพอหรือเปล่า? ด้วยพลังแห่งศรัทธาและการร่วมแรงร่วมใจของชาวบ้านที่ก่อประสานกันเป็นสะพานที่มีความงดงาม จนกลายเป็นความเชื่อที่ว่า...ใครที่มาที่นี่ให้เดินข้ามผ่านสะพานอธิษฐานสำเร็จ แล้วไปอธิษฐาน ณ วัดที่ปลายสะพาน...ความสำเร็จในสิ่งที่หวัง ก็คงจะอยู่ไม่ไกลเกินเอื้อม


© สนับสนุนโดย Monotech Su Tong Pe Bridge, Mae Hong Son

2. “ประตูรักแห่งขุนเขา” ประตูผาบ่อง ดอยผาตั้ง อ.เวียงแก่น จ.เชียงราย


© สนับสนุนโดย Monotech ประตูรักแห่งขุนเขา อ.เวียงแก่น จ.เชียงราย

เขาเล่าว่า ... รักแท้คือการเดินทางที่ต้องไปค้นพบ ที่หินผาแข็งแกร่งที่นิ่งสงบนับล้านปีถือเป็นแหล่งสะสมพลังงานของโลกใบนี้ จะมีประตูรักแห่งขุนเขา...ที่เต็มไปด้วยพลังรักอันบริสุทธิ์ ให้จับมือคนที่เรารักแล้วเดินก้าวข้ามผ่านไปด้วยกัน จะช่วยเสริมความรักให้แข็งแกร่งดั่งภูผา

3. “เมืองที่ห้ามพูดโกหก” เมืองลับแล อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์



© สนับสนุนโดย Monotech เมืองที่ห้ามพูดโกหก1 อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์

เขาเล่าว่า ... จากตำนานที่เล่าต่อๆ กันมา มีเมืองอยู่เมืองหนึ่ง ที่คนมีบุญเท่านั้นจึงจะได้เข้าไปถึง เมืองนี้เป็นเมืองของคนดี ถือวาจาสัตย์ ใครประพฤติผิดไร้ซึ่งสัจจะวาจา ต้องถูกออกจากเมืองไปทันที

4. “พระยาช้างชนะศึก” กู่ช้าง กู่ม้า อ.เมือง จ.ลำพูน



© สนับสนุนโดย Monotech พระยาช้างชนะศึก2 อ.เมือง จ.ลำพูน

เขาเล่าว่า ... “ภู่ก่ำงาเขียว” เป็นช้างคู่บารมีของพระนางจามเทวีแห่งหริภุญไชย เป็นพระยาช้างที่มีฤทธิ์มาก เมื่อออกศึกสงครามเพียงแค่ช้างหันหน้าไปทางศัตรูก็ทำให้ศัตรูอ่อนแรงลงได้ ว่ากันว่า...ครั้งหนึ่งในชีวิต หากมีโอกาสได้ลอดท้องพระยาช้างชนะศึกงาเขียว เท่ากับได้รับพรแห่งชัยชนะให้สมหวังในทุกสนามแข่งขัน ทั้งเรื่องเรียน เรื่องงาน และการดำเนินชีวิต


© สนับสนุนโดย Monotech พระยาช้างชนะศึก1 อ.เมือง จ.ลำพูน

“เขาเล่าว่า” ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

5. “หินชมนภา” หาดชมดาว อ.นาตาล จ.อุบลราชธานี



© สนับสนุนโดย Monotech หินชมนภา2 อ.นาตาล จ.อุบลฯ

เขาเล่าว่า … ณ หาดหินรูปทรงประหลาดอันกว้างใหญ่ ในฤดูน้ำโขงลด จะมีหินกลางน้ำผุดขึ้นมาให้เราได้เห็น ชาวบ้านเชื่อกันว่าให้หาหินนี้ให้เจอ เพราะเป็นจุดชมท้องฟ้าที่ส่องแสงและสีสันได้สวยที่สุด ทั้งแสงแรกแห่งรุ่งอรุณ และทะเลดวงดาว สวยระยิบระยับเต็มท้องฟ้าในยามคืนข้างแรมท้องฟ้าที่สวยและงดงามดั่งฝัน ใครได้มาเซล์ฟฟี่ตรงนี้ก็จะทำให้เราได้สัมผัสกับชีวิตที่สวยงามดั่งฝัน และอย่าลืมแชร์ความสวยงามนี้ไปให้คนอื่นๆได้เห็นกันด้วย


© สนับสนุนโดย Monotech หินชมนภา1 อ.นาตาล จ.อุบลฯ

6. “มหายุทธแดนอีสาน” พิพิธภัณฑ์พญาคันคาก อ.เมือง จ.ยโสธร


© สนับสนุนโดย Monotech “มหายุทธแดนอีสาน” พิพิธภัณฑ์พญาคันคาก

เขาเล่าว่า ... กาลครั้งหนึ่งที่อีสานแล้ง เพราะฝนไม่ตกต่อเนื่องกันถึง 7 ปี 7 เดือน 7 วัน !!! จนทำให้พญามหายุทธแดนอีสานอาสานำสัตว์ต่างๆ เช่น ช้าง, ม้า, วัว, ควาย, ปลวก, ผึ้ง และต่อแตน ขึ้นไปรบพญาแถนจนชนะ ฝนจึงตกมาตามเดิม โดยมีข้อแม้ว่า ต้องจุดบั้งไฟขึ้นไปบอกกล่าวทุกปี ทั้งหมดนี้จึงเป็นเรื่องราวที่มาของประเพณีบั้งไฟและแลนด์มาร์คพญามหายุทธแดนอีสานแห่งใหม่ ของเมืองไทย... ที่ใครเห็นต้องตะลึง

7. “ถ้ำพญานาค” ศาลพญานาค ใต้สะพานมิตรภาพไทยลาวแห่งที่ 2 อ.เมือง จ.มุกดาหาร



© สนับสนุนโดย Monotech ถ้ำพญานาค1 อ.เมือง จ.มุุกดาหาร

เขาเล่าว่า … จากความเชื่อทางพุทธศาสนาและศรัทธาของชุมชนลุ่มแม่น้ำโขงที่มีต่อพญานาค เชื่อกันว่า ณ เสาต้นที่ 2 ของสะพานมิตรภาพข้ามแม่น้ำโขงเป็น “ถ้ำพญานาค” ที่มีความศักดิ์สิทธิ์ ชาวบ้านเชื่อว่า เป็นจุดที่ท่านจะขึ้นมาเพื่อให้พรและปกปักรักษาลูกหลาน ใครที่ได้มาสักการะให้ขอพรพญานาค ณ ถ้ำพญานาค ขอโชคลาภ ความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน และความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตมักสำเร็จผล


© สนับสนุนโดย Monotech ถ้ำพญานาค2 อ.เมือง จ.มุกดาหาร


8. “วิมานเทวดา” ภูทอก อ.ศรีวิไล จ.บึงกาฬ


© สนับสนุนโดย Monotech วิมานเทวดา1อ.ศรีวิไล จ.บึงกาฬ

เขาเล่าว่า ... เส้นทางสู่โลกแห่งการหลุดพ้นนั้นคือ ความเพียรพยายาม ที่นี่คือแดนสวรรค์บนดินที่ทุกคนสามารถไปสัมผัสปรัชญาทางธรรม โดยใช้ความเพียรและครองสติขึ้นจากชั้นที่ 1 จนถึงชั้นที่ 7 เชื่อกันว่าเป็นเสมือนวิมานของเทวดาแห่งป่าหิมพานต์ ใครที่มีโอกาสได้ขึ้นไปปฏิบัติธรรมบนยอดของภูสวรรค์ 7 ชั้น จะถือว่าเป็นมหาบารมี

9. “ผ้าผิวสวย” ผ้าย้อมคราม จ.สกลนคร และ จ.อุดรธานี



© สนับสนุนโดย Monotech ผ้าผิวสวย จ.สกลนคร และ จ.อุดรธานี

เขาเล่าว่า … “ผ้า” สามารถช่วยบำรุงผิวของเราให้สวยได้จากภูมิปัญญาชาวบ้าน ที่นำพืชโบราณที่เป็นที่เลื่องลือในสรรพคุณด้านสุขภาพมาย้อมสีผ้าแบบไร้สารเคมี ที่ทำให้เมื่อใส่จะรู้สึกเย็นสบาย ไม่ร้อน และถูกวิจัยมาแล้วโดยประเทศญี่ปุ่นและอเมริกาว่า สามารถป้องกันรังสียูวีได้ แพทย์พื้นบ้านโบราณยังเชื่อว่า กลิ่นหอมของผ้าทำให้รู้สึกผ่อนคลาย และยังสามารถนำไปนึ่งเพื่อประคบบาดแผลลดอาการอักเสบได้อีกด้วย

10. “แห่นาคโหด” แห่นาคโหด บ้านโนนเสลา อ.ภูเขียว จ.ชัยภูมิ


© สนับสนุนโดย Monotech แห่นาคโหด อ.ภูเขียว จ.ชัยภูมิ 

เขาเล่าว่า ... พิธีแห่นาคที่นี่...แปลก...ประหลาด...และโหดที่สุดในโลก!! บททดสอบความอดทนอดกลั้นของลูกผู้ชาย เพื่อทดแทนพระคุณของ “แม่” ที่ต้องอดทนอดกลั้นกับความเจ็บปวดเมื่อตอนคลอดลูกออกมา และต้องอดทนกับความทรมานในการ “อยู่ไฟ” บนแคร่ไม้ไผ่ ฉะนั้นนาคที่นี่จะสามารถบวชได้ ต้องอดทนกับความเจ็บปวดและครองตัวให้มั่นบนแคร่ไม้ไผ่ที่ถูกเซิ้ง ถูกโยนอย่างรุนแรง และถูกหามแห่ไปรอบๆหมู่บ้าน




บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Moderator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #70 เมื่อ: พฤศจิกายน 13, 2015, 09:03:42 PM »

เขาเล่าว่า” ภาคกลาง

11. “พระประทานพร”



พระประทานพร1 วัดจันทรังษี อ.เมือง จ.อ่างทอง

เขาเล่าว่า … ที่นี่มีพระที่จะประทานพร 3 ข้อ ให้กับผู้ที่ปกราบไหว้และสัมผัสได้ครบทั้ง 3 ที่ 3 องค์- หลวงพ่อสด (พระสงฆ์องค์ใหญ่) วัดจันทรังษี อ.เมือง จ.อ่างทอง ให้ไปสัมผัสลูกแก้วที่ฐานพระ ท่านจะประทานพรให้สุขภาพสดใสแข็งแรง- หลวงพ่อใหญ่ (พระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย) วัดม่วง อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง ให้ไปสัมผัสที่ปลายพระหัตถ์พระพุทธเจ้าองค์ใหญ่ ท่านจะประทานพรให้ตำแหน่งหน้าที่การงาน กิจการเจริญรุ่งเรือง เป็นใหญ่เป็นโต- พระนอน (พระนอนองค์ที่ยาวที่สุดในประเทศไทย) วัดขุนอินทประมูล อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง ให้ไปสัมผัสที่ฝ่าพระบาทพระนอน ท่านจะประทานพรให้มีอายุยืนยาว

12. “เขาหนุมานวัดใจ” เขาวงพระจันทร์ อ.โคกสำโรง จ.ลพบุรี



© สนับสนุนโดย Monotech เขาหนุมานวัดใจ อ.โคกสำโรง จ.ลพบุรี

เขาเล่าว่า ... ระยะทางกับความยากลำบาก พิสูจน์มิตรภาพและรักแท้ เสริมพลังรัก กับลพบุรีเมืองลิงหากได้พาคนที่เรารักไปร่วมพิสูจน์รักแท้ โดยการพิชิตยอดเขาศักดิ์สิทธิ์แห่งเมืองหนุมาน ด้วยการเดินขึ้นบันได 3,790 ขั้นไปด้วยกัน พร้อมสักการะรอยพระพุทธบาทและสิ่งศักดิ์สิทธิ์บนยอดเขาแห่งนี้ เราจะรู้เลยว่าเขาคือ “รักแท้” ของเราอย่างแน่นอน หรือผู้ที่เกิดปีนักษัตรปีวอก (ปีลิง) ไปกราบไหว้ขอพรเสริมพลัง เป็นสิริมงคลแห่งปีกับเจ้าพ่อพระกาฬ (ศาลพระกาฬ อ.เมือง จ.ลพบุรี)

13. “มหาเทพแห่งความสำเร็จ”

เขาเล่าว่า …พระศิวะเคยกล่าวไว้ว่า การบูชาเหล่ามหาเทพผู้ยิ่งใหญ่ ผู้ใดต้องการความสำเร็จ ความมั่งคั่ง อุดมสมบูรณ์ ให้บูชา “มหาเทพ” เทพแห่งปัญญาและศิลปะองค์นี้ก่อนทุกครั้ง และตามความเชื่อโบราณเชื่อว่า ถ้าอยากขอพรท่านให้สมหวังเร็วขึ้น หลังขอพรจากองค์เทพ “พระพิฆเนศ” แล้ว อย่าลืมไปกระซิบขอพรที่หูหนู บริวารของเทพ หนูบริวารนี้จะนำความไปเตือนท่านให้ประทานสิ่งที่ต้องการกลับมา โดยมีเคล็ดลับว่าจะต้องเอามืออีกข้างปิดที่หูหนู

- พระพิฆเนศองค์นอน วัดสมานรัตนาราม อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา



© สนับสนุนโดย Monotech พระพิฆเนศองค์นอน วัดสมานรัตนาราม

- พระพิฆเนศองค์ยืน อุทยานพระพิฆเนศคลองเขื่อน อ.คลองเขื่อน จ.ฉะเชิงเทรา


© สนับสนุนโดย Monotech พระพิฆเนศองค์ยืน อุทยานพระพิฆเนศคลองเขื่อน


- พระพิฆเนศองค์นั่ง วัดโพรงอากาศ อ.บางน้ำเปรี้ยว จ.ฉะเชิงเทรา


© สนับสนุนโดย Monotech พระพิฆเนศองค์นั่ง วัดโพรงอากาศ

ฉะเชิงเทรา…เป็นเมืองแห่งมหาเทพ “พระพิฆเนศ” ทั้งปางนอน-ปางนั่ง-ปางยืน ที่ใหญ่ที่สุดของเมืองไทย   ครั้งหนึ่งในชีวิตอย่าลืมไปสักการะให้ครบทุกที่ เพื่อเสริมสิริมงคลครั้งยิ่งใหญแก่ชีวิต

14. “พระปางขอฝน” พระพุทธเมตตาประชาไทยไตรโลกนาถคันธารราฐอนุสรณ์ ในราชินูปถัมภ์วัดทิพย์สุคนธาราม อ.ห้วยกระเจา จ.กาญจนบุรี



© สนับสนุนโดย Monotech พระปางขอฝน อ.ห้วยกระเจา จ.กาญจนบุรี

เขาเล่าว่า … ครั้งหนึ่งในสมัยพุทธกาลนั้นฝนแล้งมาก แต่ด้วยพระพุทธบารมี...ได้ทรงพลิกพื้นที่แห้งแล้งให้มีน้ำฝนหลั่งไปทั่วทุกสารทิศ และที่อำเภอห้วยกระเจา คืออีสานจังหวัดกาญจนบุรี จึงเป็นที่มาของพระปางขอฝน ที่สุดแห่งความศรัทธากับประติมากรรมทางพุทธศิลป์ ...พระพุทธรูปสำริดปางขอฝนที่สูงที่สุดในประเทศไทยและงดงามว่ากันว่า หากได้มากราบไหว้ ชีวิตจะพบแต่ความร่มเย็นเป็นสุขดั่งแผ่นดินที่ได้รับสายฝน

"เขาเล่าว่า" ภาคตะวันออก

15. “เกาะแห่งรัก” สะพานอัษฎางค์ และช่องอิศริยาภรณ์ (ช่องเขาขาด) เกาะสีชัง จ.ชลบุรี



© สนับสนุนโดย Monotech สะพานอัษฎางค์

เขาเล่าว่า … ที่ใดมีรักของบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ ที่นั่นย่อมอบอวลไปด้วยพลังแห่งรัก ณ เกาะแห่งนี้ เต็มไปด้วยเรื่องราวของ  ความรัก ว่ากันว่า...ใครที่อยากเติมความหวานให้ชีวิต ยามเช้าให้ชวนกันมาเติมพลังแห่งรักกับแสงแรกของวัน ณ ปลายสะพานแห่งรัก และยามพระอาทิตย์ตกให้ไปอธิษฐานขอพรกลางช่องเขา


© สนับสนุนโดย Monotech เกาะแห่งรัก2 อ.เกาะสีชัง จ.ชลบุรี


16. “สะดือมังกร” หาดเตยงาม อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี


© สนับสนุนโดย Monotech สะดือมังกร อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี

เขาเล่าว่า … ผืนทะเลใดที่มีสะดือมังกร ทะเลตรงนั้นจะเป็นเหมือนศูนย์รวมแห่งพลังจักรวาล เป็นจุดที่ครบธาตุทั้งสี่ ดิน น้ำ ลม ไฟ ชาวบ้านที่นี่เขาเชื่อกันว่า ใครได้ไปยืนแช่ ณ ทะเลนั้น จะได้รับพลังชีวิตใหม่ที่ดีเข้ามา โดยเฉพาะถ้าเป็นผู้ประพฤติดี ประพฤติชอบ เชื่อว่าจะยิ่งส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าในทุกๆ ด้าน

17. “มหัศจรรย์ทรายดำ” ศูนย์การท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติหาดทรายดำและป่าชายเลน อ.แหลมงอบ จ.ตราด



© สนับสนุนโดย Monotech มหัศจรรย์ทรายดำ อ.แหลมงอบ จ.ตราด


เขาเล่าว่า ... ความมหัศจรรย์ของธรรมชาติ ก่อเกิดเป็นเม็ดทรายสีดำสนิท เชื่อกันว่า มีสรรพคุณของแร่ธาตุธรรมชาติที่สามารถทำให้ผ่อนคลายสุขภาพได้ เพียงแค่ได้นอนหมกตัวอยู่ใต้ผืนทรายดำ ก็จะทำให้รู้สึกถึงพลังบำบัดเหมือนได้ทำสปาธรรมชาติ

18. “ป่าสีทอง” ทุ่งโปรงทอง ปากน้ำประแส อ.แกลง จ.ระยอง



© สนับสนุนโดย Monotech ป่าสีทอง อ.แกลง จ.ระยอง

เขาเล่าว่า ... แหล่งธรรมชาติที่บริสุทธิ์ ดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ จะมีพลังที่สุดแสนบริสุทธิ์ปกคลุมอยู่ เมื่อก้าวเข้าไปจะพบกับ 1 กิโลเมตร ความสุขบนสะพานไม้ทอดยาวกลางป่าอันสมบูรณ์ และมีความงดงาม 3 เวลา 3 อารมณ์ สบาย ๆ กับแสงสีทองกว้างไกลสุดสายตา ยามเช้าสว่างไสวเหลืองทองอร่าม ดุจจิตรกรนำสีทองมาแต่งแต้มธรรมชาติให้ตระการตา ยามบ่ายป่าสีทองสงบเงียบมีความสุข ในยามเย็นไปสูดอากาศบริสุทธิ์ให้เต็มปอดกับมวลความบริสุทธิ์ของพลังงานธรรมชาติป่าชายเลน ที่ผ่านเกณฑ์ประเมินมาตรฐานคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ  จำนวนป่าสีทองมหาศาล ที่จะช่วยเติมเต็มพลังกับร่างกาย จิตใจ และความคิด

"เขาเล่าว่า" ภาคใต้

 19. “พระแอด-ปวดหาย” พระกัจจายนะ (พระแอด) วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช



© สนับสนุนโดย Monotech พระแอด-ปวดหาย อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช

เขาเล่าว่า ... ที่วัดพระมหาธาตุเมืองนครศรี มีพระศักดิ์สิทธิ์องค์หนึ่ง ที่เชื่อกันว่า ท่านมีอภินิหารบันดาลลูกให้แก่ผู้ที่ไปขอแบบที่ไม่เหมือนใคร ชาวบ้านเชื่อว่าหากใครปวดเมื่อย ปวดเอว ปวดหลัง นำไม้ไปค้ำยันที่ด้านหลังองค์พระ อาการปวดก็จะหายไปอย่างน่าอัศจรรย์

20. “ไข่ขอได้” ไข่วัดเจดีย์ อ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช



© สนับสนุนโดย Monotech ไข่ขอได้ อ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช

เขาเล่าว่า ...“วิญญาณเด็กศักดิ์สิทธิ์” เมื่อเกือบ ๒oo ปี เชื่อกันว่า “ขอได้ไหว้รับ” โดยเฉพาะโชคลาภ และการค้าขาย ที่นี่ไม่มีการโฆษณาใดๆ แต่ทุกคนที่มาเพราะความเลื่อมใสอย่างแท้จริง ทุกวันผู้คนต่างหลั่งไหลไปขอพรไม่ขาดสาย จะเห็นได้ว่าในวัดเต็มไปด้วยสิ่งของที่ผู้เลื่อมใสศรัทธาเอามาแก้บน (รูปปั้นไก่ชน ของเล่นเด็ก และการจุดประทัด) บ่งบอกถึงแรงศรัทธาที่มีต่อไข่ และแสดงถึงผลสัมฤทธิ์จากผู้ที่มาขอแล้วได้รับ






บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Moderator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #71 เมื่อ: พฤศจิกายน 13, 2015, 09:20:03 PM »

21. “น้ำตาศักดิ์สิทธิ์” เขาหงอนนาค อ.เมือง จ.กระบี่


© สนับสนุนโดย Monotech น้ำตาศักดิ์สิทธิ์ อ.เมือง จ.กระบี่่

เขาเล่าว่า … ณ ดินแดนอันชวนฝันของนักเดินทางที่ถูกโอบล้อมด้วยวิวพาโนรามาอันสวยงามที่สุดแห่งหนึ่งของเมืองไทย แต่ใครเล่าจะรู้ว่า ดินแดนแห่งนี้เป็นจุดจบเรื่องราวความรักของพญานาคจนต้องหลั่งน้ำตาออกมา เกิดเป็นบ่อน้ำเล็กๆ ที่มีน้ำใสไหลตลอดปี ชาวบ้านเชื่อว่า เมื่อได้อธิษฐานขอพรพร้อมทั้งนำน้ำมาลูบหน้า จะสมปรารถนาในสิ่งที่ขอ และเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต

22. “สะพานแห่งความสุข” สะพานเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 อ.ควนขนุน จ.พัทลุง



© สนับสนุนโดย Monotech สะพานแห่งความสุข2 อ.ควนขนุน จ.พัทลุง 


เขาเล่าว่า … บนสะพานที่ถูกขนาบข้างไปด้วยทะเลสาบและเชื่อมระหว่างสองจังหวัด ที่นี่....เป็นสะพานที่เต็มไปด้วยพลัง แห่งความสุข เพราะสองข้างทางคือภาพอันงดงามของวิถีธรรมชาติอันสมบูรณ์และเรียบง่าย...วิวสวยๆ ของทะเลสาบสุดลูกหูลูกตา...วิถีชีวิตควายน้ำ...และนกนานาพันธุ์ แค่ได้ไปเห็นและได้สูดอากาศบริสุทธิ์ให้เต็มปอดจะช่วยฟอกความรู้สึกเหนื่อยล้าให้แปรเปลี่ยนเป็นพลังแห่งความสุข

23. “สันหลังมังกร” หาดสันหลังมังกร จ.สตูล



© สนับสนุนโดย Monotech สันหลังมังกร จ.สตูล

เขาเล่าว่า ... ที่เมืองพระสมุทรเทวาอันศักดิ์สิทธิ์ เมื่อน้ำลดเราจะได้เห็นแนวสันทรายคล้ายมังกรโผล่พ้นน้ำทะเล ราวกับมังกรกำลังพลิ้วกายแหวกว่ายอยู่กลางทะเล เมื่อได้เห็น...ให้ไปยืนอยู่บนสันทรายเกล็ดมังกรนี้ แล้วรับพลังบริสุทธิ์จากฮวงจุ้ยแห่งท้องทะเล จะช่วยเติมเต็มพลังกายพลังใจให้กับทุกร่างกายและจิตใจ ที่อ่อนล้าให้กลับมาเข้มแข็งพร้อมสู้ต่อไป

24. “อุโมงค์แสงมรกต” ลานแสงมรกต ถ้ำภูผาเพชร อ.มะนัง จ.สตูล



© สนับสนุนโดย Monotech อุโมงค์แสงมรกต

เขาเล่าว่า … ชีวิตคนเราขอเพียงแห็นแสงที่ปลายอุโมงค์ มันก็เกิดพลังที่จะเดินก้าวต่อไปในชีวิต ในความมืดของถ้ำที่ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก แต่มีอยู่โถงหนึ่ง ถ้าไปในเวลาที่แสงจากภายนอกทำมุมเข้ามา จะเกิดเป็นถ้ำแสงมรกตให้เห็น เชื่อกันว่า นี่คือแสงปลายอุโมงค์ที่เล่าขานกันมา ใครได้มาเห็นสักครั้ง ... ก็จะเกิดพลังชีวิต

ขอขอบคุณ : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Moderator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #72 เมื่อ: ธันวาคม 31, 2015, 03:03:29 PM »

ประวัติวันปีใหม่ 1 มกราคม วันขึ้นปีใหม่

ปีใหม่ หรือ วันขึ้นปีใหม่ 2559 หรือ ปีใหม่ภาษาอังกฤษ Happy New Year 2016  ใกล้มาถึงแล้ว วันขึ้นปีใหม่ หลาย ๆ คนคงชอบที่จะได้หยุดหลาย ๆ วัน ว่าแต่ที่หยุดและฉลองปีใหม่กันอยู่ทุกปี แล้วรู้หรือไม่ว่า ประวัติปีใหม่ หรือวันขึ้นปีใหม่ มีความเป็นมาอย่างไร วันนี้เรามีความหมายวันขึ้นปีใหม่ ประวัติวันขึ้นปีใหม่ มาฝาก 

ความหมายของวันขึ้นปีใหม่

          วันขึ้นปีใหม่ ตามความหมายในพจนานุกรมให้ความหมายคำว่า "ปี" หมายถึง เวลาชั่วโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ครั้งหนึ่งราว 365 วัน หรือ เวลา 12 เดือนตามสุริยคติ ดังนั้น "ปีใหม่" จึงหมายถึง การขึ้นรอบใหม่หลังจาก 12 เดือน หรือ 1 ปี

ความเป็นมาของ วันขึ้นปีใหม่

          วันขึ้นปีใหม่ มีประวัติความเป็นมาซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยตามความเหมาะสม ตั้งแต่ในสมัยเริ่มแรกเมื่อชาวบาบิโลเนีย เริ่มคิดค้นการใช้ปฏิทินโดยอาศัยระยะต่าง ๆ ของดวงจันทร์เป็นหลักในการนับ เมื่อครบ 12 เดือน ก็กำหนดว่าเป็น 1 ปี และเพื่อให้เกิดความพอดีระหว่างการนับปีตามปฏิทินกับปีตามฤดูกาล จึงได้เพิ่มเดือนเข้าไปอีก 1 เดือน เป็น 13 เดือนในทุก ๆ 4 ปี

          ต่อมาชาวอียิปต์ กรีก และชาวเซมิติก ได้นำการปฏิบัติของชาวบาบิโลเนียมาดัดแปลงแก้ไขอีกหลายคราวเพื่อให้ตรงกับฤดูกาลมากยิ่งขึ้น จนถึงสมัยของกษัตริย์จูเลียต ซีซาร์ (ประมาณ 46 ปี ก่อนคริสต์ศักราช) ได้นำความคิดของนักดาราศาสตร์ชาวอียิปต์ชื่อโยซิเยนิส มาปรับปรุงให้หนึ่งปีมี 365 วัน โดยทุก ๆ 4 ปี ให้เติมเดือนที่มี 28 วัน เพิ่มขึ้นอีก 1 วัน เป็น 29 วัน คือเดือนกุมภาพันธ์ เรียกว่า อธิกสุรทิน เมื่อเพิ่มให้เดือนกุมภาพันธ์มี 29 วัน ให้ทุกๆ 4 ปี แต่วันในปฏิทินก็ยังไม่ค่อยตรงกับฤดูกาลนัก คือเวลาในปฏิทินยาวกว่าปีตามฤดูกาล เป็นเหตุให้ฤดูกาลมาถึงก่อนวันในปฏิทิน

          และในวันที่ 21 มีนาคม ตามปีปฏิทินของทุก ๆ ปี จะเป็นช่วงที่มีเวลากลางวันและกลางคืนเท่ากัน คือเป็นวันที่ดวงอาทิตย์จะขึ้นตรงทิศตะวันออก และลับลงตามทิศตะวันตก วันนี้ทั่วโลกจึงมีช่วงเวลาเท่ากับ 12 ชั่วโมงเท่ากัน เรียกว่า วันทิวาราตรีเสมอภาคมีนาคม (Equinox in March)

          แต่ในปี พ.ศ. 2125 วัน Equinox in March กลับไปเกิดขึ้นในวันที่ 11 มีนาคม แทนที่จะเป็นวันที่ 21 มีนาคม ดังนั้นพระสันตะปาปาเกรกอรี่ที่ 13 จึงทำการปรับปรุงแก้ไขหักวันออกไป 10 วัน จากปีปฏิทิน และให้วันหลังจากวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2125 แทนที่จะเป็นวันที่ 5 ตุลาคม ก็ให้เปลี่ยนเป็นวันที่ 15 ตุลาคมแทน (ใช้เฉพาะในปี พ.ศ. 2125) ปฏิทินแบบใหม่นี้จึงเรียกว่าปฏิทินเกรกอเรี่ยน จากนั้นได้ปรับปรุงประกาศใช้ วันที่ 1 มกราคม เป็นวันเริ่มต้นของปีเป็นต้นมา

ความเป็นมาวันปีใหม่ในประเทศไทย

          สำหรับวันปีใหม่ในประเทศไทยนั้น แต่เดิมเราถือเอาวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย ซึ่งตรงกับเดือนมกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับคติแห่งพระพุทธศาสนา ที่ถือช่วงเหมันต์หรือหน้าหนาวเป็นการเริ่มต้นปี ต่อมาได้เปลี่ยนแปลงไปตามคติพราหมณ์ คือถือเอาวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 เป็นวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งตรงกับวันสงกรานต์ ดังนั้นในสมัยโบราณเราจึงถือเอาวันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทย

          แต่การนับวันปีใหม่หรือวันสงกรานต์ตามวันทางจันทรคติ เมื่อเทียบกับวันทางสุริยคติ ย่อมคลาดเคลื่อนกันไปในแต่ละปี ดังนั้นในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ปี พ.ศ. 2432 (ร.ศ. 108) ซึ่งตรงกับวันที่ 1 เมษายน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงให้ถือเอาวันที่ 1 เมษายนเป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยนับแต่นั้นมา เพื่อวันปีใหม่จะได้ตรงกันทุกปีเมื่อนับทางสุริยคติ (แม้ว่าวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ปีต่อ ๆ มาจะไม่ตรงกับวันที่ 1 เมษายน แล้วก็ตาม) ดังนั้นจึงถือเอาเดือนเมษายนเป็นเดือนแรกของปีนับแต่นั้นมา  อย่างไรก็ดีประชาชนส่วนใหญ่โดยเฉพาะตามชนบทยังคงยึดถือเอาวันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่อยู่

          ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย ทางราชการจึงเห็นว่าวันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน มักจะไม่มีงานรื่นเริงอะไรมากนักและเห็นสมควรที่จะฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ จึงได้ประกาศให้มีงานรื่นเริงวันขึ้นปีใหม่ในวันที่ 1 เมษายน 2477 ขึ้นในกรุงเทพฯ เป็นครั้งแรก จนแพร่หลายออกไปต่างจังหวัดในปีต่อ ๆ มา โดยในปี พ.ศ. 2479 ก็ได้มีการจัดงานปีใหม่ทั่วทุกจังหวัด มีชื่อทางราชการ "วันตรุษสงกรานต์"

เหตุผลเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จาก 1 เมษายน เป็น 1 มกราคม

          ต่อมาก็ได้มีการพิจารณาเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาโดยมี หลวงวิจิตรวาทการ เป็นประธานคณะกรรมการ และที่ประชุมก็ได้มีมติเป็นเอกฉันท์ให้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2484 ในวันที่ 24 ธันวาคม ในสมัยคณะรัฐบาลของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม โดยเหตุผลสำคัญก็คือ

           เป็นการไม่ขัดกับหลักพุทธศาสนาในด้านการนับวัน เดือน และการร่วมฉลองปีใหม่ด้วยการทำบุญ

           เป็นการเลิกวิธีนำเอาลัทธิพราหมณ์มาคร่อมศาสนาพุทธ

           ทำให้เข้าสู่ระดับสากลที่ใช้อยู่ในประเทศทั่วโลก

           เป็นการฟื้นฟูวัฒนธรรม คตินิยม และจารีตประเพณีของชาติไทย

          ตั้งแต่นั้นมา วันขึ้นปีใหม่ของไทยจึงตรงกับวันที่ 1 มกราคมของทุกปี เหมือนดังเช่นวันขึ้นปีใหม่ของประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก

เพลงวันปีใหม่

          แน่นอนว่า เพลงที่มักจะได้ยินบ่อย ๆ ในช่วงวันขึ้นปีใหม่ ก็คือ "เพลงพรปีใหม่" ซึ่งเป็นเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 13 ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูอดุลยเดช ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2494 เมื่อครั้งเสด็จนิวัตพระนครและประทับ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต โดยมีพระราชประสงค์ให้เพลงนี้ เป็นพรปีใหม่ที่พระราชทานแก่พสกนิกรทุกหมู่เหล่า

          ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ นิพนธ์คำร้องเป็นคำอำนวยพรปีใหม่ แล้วพระราชทานแก่วงดนตรี 2 วง คือ วงดนตรีนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำออกบรรเลง ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และวงดนตรีสุนทราภรณ์ นำออกบรรเลง ณ ศาลาเฉลิมไทยเป็นครั้งแรกในวันปีใหม่ วันอังคารที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2495 โดยเพลงพรปีใหม่ มีเนื้อร้องดังนี้


          เพลงวันปีใหม่ (เพลงพรปีใหม่ เพลงพระราชนิพนธ์ในหลวง)
         
                ทำนอง: พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูอดุลยเดช
                คำร้อง: พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ

                สวัสดีวันปีใหม่พา ให้บรรดาเราท่านรื่นรมย์
                ฤกษ์ยามดีเปรมปรีดิ์ชื่นชม ต่างสุขสมนิยมยินดี
                ข้าวิงวอนขอพรจากฟ้า ให้บรรดาปวงท่านสุขศรี
                โปรดประทานพรโดยปรานี ให้ชาวไทยล้วนมีโชคชัย

                ให้บรรดาปวงท่านสุขสันต์ ทุกวันทุกคืนชื่นชมให้สมฤทัย
                ให้รุ่งเรืองในวันปีใหม่ ผองชาวไทยจงสวัสดี
                ตลอดปีจงมีสุขใจ ตลอดไปนับแต่บัดนี้
                ให้สิ้นทุกข์สุขเกษมเปรมปรีดิ์ สวัสดีวันปีใหม่เทอญ


ประวัติการส่ง ส.ค.ส. ในวันปีใหม่

          การส่ง ส.ค.ส. หรือบัตรอวยพรนั้น ประเทศไทยรับวัฒนธรรมมาจากต่างประเทศ ซึ่งนิยมส่งบัตรอวยพรกันมาเป็นเวลากว่า 200 ปีแล้ว ตั้งแต่ราวศตวรรษที่ 18 หรือตรงกับปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา บัตรอวยพรนี้ปรากฏในรูปแบบ "บัตรเยี่ยม" (Visiting Card) เป็นบัตรกระดาษขนาดเท่าไพ่ นิยมเขียนข้อความ หรือพิมพ์รูปภาพต่าง ๆ ลงไปเพื่อเยี่ยมเยียนกันในวันขึ้นปีใหม่ ต่อมาแพร่หลายไปในเทศกาลต่าง ๆ เช่น วาเลนไทน์ คริสต์มาส มีการส่งพิมพ์และส่งบัตรอวยพรกันอย่างแพร่หลายมากขึ้น

          สำหรับในประเทศไทยนั้น เชื่อกันว่าบัตรอวยพรปีใหม่ที่เก่าแก่ที่สุด คือ บัตรอวยพรที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประดิษฐ์ขึ้น เมื่อ 120 กว่าปีก่อน โดยในรัชสมัยของพระองค์ เป็นยุคที่มีการติดต่อสื่อสารกับต่างประเทศเป็นจำนวนมาก จึงมีการรับเอาขนบธรรมเนียมของตะวันตกมาด้วย

          ทั้งนี้การส่งบัตรอวยพรของพระองค์นั้น ยังไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าเริ่มต้นตั้งแต่เมื่อใด แต่ได้ปรากฏสำเนาคำพระราชทานพรขึ้นปีใหม่ ในปี พ.ศ. 2409 ของพระองค์ ในหนังสือพิมพ์บางกอกรีคอร์ดเดอร์ (ภาษาอังกฤษ) ฉบับวันที่ 13 มกราคม 2409 แปลได้ใจความว่า "ทรงขอส่งบัตรตีพิมพ์คำอวยพรนี้ถึงบรรดากงสุล เจ้าหน้าที่กงสุลต่าง ๆ และชาวต่างประเทศที่ทรงคุ้นเคยโดยทั่วถึงกัน"

          ต่อมาในช่วงต้นรัชสมัยของรัชกาลที่ 5 ความนิยมการส่งบัตรอวยพรแพร่หลายอย่างมาก มีหลักฐานบัตรอวยพรประเภทต่างๆ ถูกเก็บรวบรวมไว้ที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติเป็นจำนวนมาก โดยมักนิยมส่งกันในช่วงเดือนเมษายน ตามวันขึ้นปีใหม่เดิมที่ตรงกับวันที่ 1 เมษายน และบนบัตรอวยพรเหล่านั้น ยังพบคำว่า "ส.ค.ศ." หรือ "ส.ค.ส." ปรากฏอยู่ จึงเชื่อกันว่า คำว่า "ส.ค.ส." เกิดขึ้นในรัชสมัยนี้ โดยย่อมาจากคำว่า "ส่งความศุข" หรือ "ส่งความสุข"

          หลังจากนั้น ส.ค.ส. ก็เป็นสิ่งที่นิยมส่งให้กันในวันขึ้นปีใหม่ จนถึงปัจจุบันนี้ และ ส.ค.ส. ก็ได้เปลี่ยนรูปแบบไปมีการนำวัสดุต่าง ๆ มาประดิษฐ์ ตกแต่ง มีรูปแบบ ลวดลายหลากหลายมากขึ้น
           

ส.ค.ส. พระราชทาน

          ทุก ๆ ปี พสกนิกรจะเฝ้ารอการพระราชทานพรปีใหม่ จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผ่าน ส.ค.ส. พระราชทานซึ่ง ส.ค.ส พระราชทานนี้ พระองค์จะทรงประดิษฐ์ขึ้นเอง เพื่อพระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทย เนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ โดยปีแรกที่พระองค์พระราชทาน ส.ค.ส. คือ ปี ส.ค.ส. พระราชทานสำหรับปี พ.ศ. 2530 โดยทรงพิมพ์ออกจากคอมพิวเตอร์ และแฟกซ์พระราชทานให้แก่หน่วยงาน และเจ้าหน้าที่ผู้ทำงานรับใช้ใต้เบื้องพระยุคลบาท โดยทรงใช้รหัสแทนพระองค์ว่า กส.9 เช่นเดียวกับที่ทรงใช้ติดต่อทางวิทยุสื่อสาร



http://hilight.kapook.com/view/18913
บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Moderator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #73 เมื่อ: มกราคม 11, 2016, 11:26:46 AM »

หาดูยาก! ชีวิตประจำวันชาวเกาหลีเหนือ


As North Koreans cheer their country’s successful testing of a hydrogen bomb, here’s a rare look into the lives of common citizens. (Pictured) People dance near the Pyongyang Indoor Stadium in Pyongyang after the testing.


Members of North Korean military rest on their bicycles on the banks of Yalu River in Sakchu county.


A traffic police woman directs vehicles at an intersection in Pyongyang as residents commute at the end of a work day.


Girls walk along an alley on the banks of Yalu River in Sakchu county.


North Koreans dressed in their swim suits play a round of volleyball at the Munsu water park in Pyongyang. The water park is open to the public


A North Korean family walks with their belongings along a road in Hyangsan county in North P'yongan as the winter season starts.

Disclaimer: In the following pictures, The Associated Press was granted permission to embark on a week-long road trip across North Korea to the country’s spiritual summit Mount Paektu. The trip was on North Korea's terms. An AP reporter and photographer couldn't interview ordinary people or wander off course, and government "minders" accompanied them the entire way.


North Korean men, above, are seen on an airport transport bus headed to an Air Koryo flight for Beijing.


Residents of Pyongyang, North Korea, walk by a mosaic of the late leader Kim Jong Il on the second anniversary of his death.


Gas station in Hamhung in North Korea.


North Korean soldiers gather at a cemetery for military veterans near Pyongyang as they observe Chuseok, Korea's traditional Thanksgiving holiday.


Chests festooned with medals, North Korean retired military members stand at attention in Pyongyang.


North Korean workers sort seafood at a factory in Rajin.


North Korean veterans of the Korean War sit under portraits of the late leaders Kim Il Sung and Kim Jong Il at a mass military parade to mark the 60th anniversary of the Armistice agreement.


North Korean seamstresses work at rows of sewing machines at the Sonbong Textile Factory inside the Rason Special Economic Zone.


North Korean nurses care for infants in cribs inside a maternity hospital, in Pyongyang, North Korea.

msn-com
บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Moderator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #74 เมื่อ: มกราคม 11, 2016, 11:39:47 AM »


Dresses and suits are displayed in a dress shop in Pyongyang.


Off-duty North Korean traffic policemen lace up ice skates at an ice skating rink in Pyongyang


A woman walks on a Pyongyang street in front of the pyramid-shaped 105-story Ryugyong Hotel.


A sign showing photos of examples of haircuts hangs in a barbershop in Pyongyang.


A north Korean traveler boards an airport bus on his way to board a flight from Pyongyang International Airport to Beijing, China.


A North Korean woman works behind a counter in the entrance to the Golden Lane bowling alley in Pyongyang.


North Koreans walk along a Pyongyang street as seen through a coffee shop window curtain


School children attend an art class at the Mangyongdae Children's Palace in Pyongyang


A North Korean tour guide uses a pointer in front of a mosaic map at the start of a tour of a temple at the base of Mt. Myohyang, North Korea.


A North Korean bride and groom pose for a wedding photo with loved ones in front of statues of the late leaders Kim Il Sung and Kim Jong Il in Pyongyang.


A woman works behind a table selling popcorn on the ground floor of a grocery and department store in Pyongyang


Caricatures of American and Japanese soldiers are stored in a room at Kaeson Kindergarten in Pyongyang


A North Korean nurse studies in a hallway at a pediatric hospital in Pyongyang.


Painted Propaganda, showing North Korean children in armed services uniforms attacking U.S., Japanese and South Korean soldiers, hangs in a room inside a Pyongyang kindergarten


North Korean school boys play with an Associated Press photographer's camera in front of statues of the late leaders Kim Il Sung and Kim Jong Il, on Mansu Hill in Pyongyang.


North Korean soldiers. Two on the bike, one in the sidecar.


An artificial tree is decorated inside a restaurant in Pyongyang.
บันทึกการเข้า

finghting!!!
Gold Price today, Gold Trend Price Prediction, ราคาทองคํา, วิเคราะห์ทิศทางทองคํา
   

images by free.in.th
Thanks: ฝากรูป dictionary ---------------------Charts courtesy of Moore Research Center, Inc. For more information on Moore Research products and services click here. --- http://www.mrci.com ---------- ---------------------------------------------รูปกราฟแสดงราคาทองในอดีตปี 1974-1999 ของ Moore Research Center, Inc. แสดงฤดูกาลที่ราคาทองขึ้นสูงสุดและตําสุด เอาแบบคร่าวๆ เส้นนําตาลหรือนําเงินก็ใกล้เคียงกัน เส้นนําตาลเฉลี่ย 15 ปี เส้นนําเงินเฉลี่ย 26 ปี ราคาตําสุดของเส้นนําตาล หรือเฉลี่ย 15 ปี ในเดือน ปลายเดือน เมษ และปลายเดือน สค ต่อต้นเดือน กย[/color] สูงสุดในเดือน กพ กับ พย / ส่วนเฉลี่ย 26 ปี ราคาตําสุด ต้น กค กับ ปลาย สค และราคาสูงสุดในเดือน กพ และ กลางเดือน ตค ----- แค่ดูคร่าวๆ เป็นแนวทาง อย่ายึดมั่นว่าจะต้องเป็นตามนี้ ข้างล่างเป็นกราฟราคานํามัน ตามฤดูกาล จาก Charts courtesy of Moore Research Center, Inc. images by free.in.th
Thanks: ฝากรูป dictionary
 บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6   ขึ้นบน
พิมพ์
กระโดดไป: