Forex-Currency Trading-Swiss based forex related website. Home ----- กระดานสนทนาหน้าแรก ----- Gold Chart,Silver,Copper,Oil Chart ----- gold-trend-price-prediction ----- ติดต่อเรา
หน้า: [1]   ลงล่าง
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: ภาพชีวิต 80 ปี ท่านพุทธทาสภิกขุ  (อ่าน 3262 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
nokeang
Moderator
Full Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 720



« เมื่อ: เมษายน 26, 2012, 01:20:01 PM »

ภาพชีวิต 80 ปี
พุทธทาสภิกขุ











ภาพด้านล่างเหล่านี้ เป็นภาพที่ท่านอาจจะไม่เคยเห็นมาก่อน
เพราะว่าหนังสือเล่มนี้ ได้พิมพ์ เมื่อปี 2529
เมื่อยี่สิบกว่าปีมาแล้ว





ภาพด้านบน เป็นภาพเมื่อครั้งยังเยาว์
ซึ่งตอนนั้นหลวงปู่ท่านพุทธทาส อายุเพียง 4 ขวบเองค่ะ






ภาพที่สองนี้
เป็นภาพ โยมบิดา มารดา ของหลวงปู่ท่านพุทธทาสค่ะ
ท่านได้กล่าวถึงโยมทั้งสองของท่าน ในหนังสือไว้ว่า
..
โยมชายมีหัวทางช่างไม้ ซึ่งผมก็ชอบ ถ้าได้รับการอบรมคงจะดีมาก
คือว่าชอบ ทำมาก หลายๆอย่าง ในสวนโมกข์นี่เราทำกันเอง
ด้วยมือ ที่ติดมาอีกอย่างหนึ่งคือ แต่งกลอน แต่งโคลง
มีวิญญาณกวี ทำให้เราชอบมีหัวทางนี้
...
และท่านได้กล่าวถึง
โยมมารดา ของ่านไว้ว่า
..
" ถ้าจะให้บอกว่า มีอะไรมาจากโยมหญิงบ้าง เห็นจะจะเป็น
เรื่องประหยัด เรื่องละเอียดลออในการใช้จ่าย เวลาทำอะไร
โยมมักจะเตือนให้ทำในสิ่งที่ดีที่สุด ถ้าทำอะไรหยาบๆ
มักถูกทักท้วง โยมชายไม่ค่อยอยู่บ้าน โยมหญิง
อยู่ตลอดเวลา ผมจึงสนิทกับโยมหญิงมากกว่า "






ภาพที่สาม
ด้านบนสุดคือ เป็นภาพของครูคนแรกของหลวงปู่ท่านพุทธทาส
ชื่อ ครูปัติ ศรีสมัย
..
และภาพถัดมา คือภาพอาคารเรียนชั้นมัธยมศึกษา ของวัดเหนือในสมัยก่อน
ปัจจุบันใช้เป็นที่ทำการสุขาภิบาลตำบล เมื่อเด็กชายเงื่อม ( ท่านพุทธทาส)
จบชั้นประถมแล้ว ได้เข้าเรียนต่อมัธยมที่อาคารหลังนี้






ภาพที่สี่
.
เป็นภาพที่หลวงปู่ท่านพุทธทาส ได้บวชเรียนสมัยแรก เมื่อปี พ.ศ. 2469
.






ภาพที่ห้า
เป็นภาพที่หลวงปู่ท่านพุทธทาส ได้ถ่ายที่กรุงเทพ เมื่อปี พ.ศ. 2473






ภาพที่หก
เป็นภาพที่หลวงปู่ท่านพุทธทาส ได้ถ่ายภาพร่วมกับ
พระยาลัดพลีธรรมประคัลภ์ ( วงค์ ลัดพลี)
ซึ่งเป็น พันธมิตรถาวรฝ่ายฆราวาส คนหนึ่งของสวนโมกข์
รู้จักสวนโมกข์ผ่านทางหนังสือพิมพ์ พุทธศาสนา
นอกจากจะสนับสนุนทุนในการจัดพิมพ์ เผยแพร่งานคิด
งานเขียนของท่านพุทธทาสแล้ว พระยาลัดพลี ฯ ยังเป็นเพื่อน
นักศึกษาของท่านพุทธทาสทางด้านฐูรพวิทยา ซึ่งเลยพ้นไปจาก
พุทธศาสนาในเมืองไทย อันได้แก่ เซน เต๋า กฤษณะมูรติ รวม
ทั้ง สวามีวิเวกนันทะ เป็นต้น
การที่ท่านพุทธทาส ประยุกต์คำสอนเซนเข้ามาในเถรวาทของไทย
จนถึงกับแปลคัมภีร์เว่ยหล่างออกมา ก็เพราะได้แรงกระตุ้น
จากสหายธรรมฆราวาสท่านนี้นี่เอง






ภาพที่ เจ็ด
เป็นภาพ พระดุลยพากย์สุวมัณฑ์ ( ปิ่น ปัทมสถาน )
เป็น ชนชั้นนำฝ่ายฆราวาสอีกท่านหนึ่ง ที่ติดตามและ
สนับสนุนท่านพุทธทาสมาตั้งแต่ต้น
ภาพนี้ถ่ายเมื่อ ต้นปี พ.ศ. 2496 พระดุลยพากย์สุวมัณฑ์
(คือคนกลางที่ยืนข้างท่านพุทธทาส )
..
พระดุลยพากย์สุวมัณฑ์ เป็นข้าราชการชั้นสูงคนแรกที่ไปเยี่ยม
ท่านพุทธทาส เมื่อสวนโมกข์เพิ่งตั้งได้ปีสองปี ขณะนั้น
ท่านเป็นผู้พิพากษา หัวหน้าศาล จังหวัดนครศรีธรรมราช
ท่านพุทธทาสได้กล่าวถึงท่านผู้นี้ ในภายหลังว่า
..
อาตมา ในฐานะเป็นมิตร เป็นสหาย เป็นเพื่อนกับ
คุณพระดุลยพากย์สุวมัณฑ์
ในฐานะ เป็นสหายเผยแพร่ธรรม นั้น อาตมากับคุณพระได้ร่มมือ
กันอยู่ตลอดเวลา จนถึงวาระสุดท้าย เมื่อคุณพระยังมีอำนาจอยู่
ในกระทรวงยุติธรรม ได้นิมนต์อาตมาแสดงธรรมพิเศษ แก่ข้าราชการ
ในกระทรวงยุติธรรม เรียกชื่อธรรมเทศนานั้นในครั้งนั้นว่า
ทุกขัปปนูทนกถา
มีผู้นำพิมพ์เผยแพร่ด่ๆไปเป็นอันมาก
ซึ่งเรียกว่า วิถีแห่งการบรรเทาทุกข์
คุณพระบอกว่า ที่ตรงนี้เป็นบัลลังก์ที่จัดขึ้น เพื่อกรณีสวรรคต
อาตมาก็ได้แสดงธรรมที่นั่น
ในฐานะ เป็นสหายนักศึกษา นี้เราแลกเปลี่ยนความรุ้กัน
ที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่ง ก็คือว่า
เราเป็นลุกศิษย์ สมเด็จวัดเทพ ฯ ด้วยกัน







ภาพที่แปด
...ภาพนี้หลายคนคงจะไม่เคยเห็น
เป็นภาพของปู่ธรรมทาส( น้องแท้ๆของหลวงปู่ท่านพุทธทาส)
ภาพด้านบน คือภาพที่เป็นนายยี่เกย ในชุดนักเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
เมื่อจบชั้นมัธยมแปดที่โรงเรียนนี้แล้ว ได้เข้าเรียนต่อในคณะอักษรศาสตร์
และวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
( แผนกเตรียมแพทย์ศาสตร์ ปีที่ 1 )
เมื่อ พ.ศ. 2469 อันเป็นปีเดียวกับที่
พระเงื่อม (ท่านพุทธทาส) บวช เมื่อโรงเรียนปิดเทอม
ตอนสิ้นปีการศึกษา นายยี่เกยได้กลับมาเยี่ยมบ้าน และไม่กลับไปเรียนอีก
เพื่อจะได้ช่วยมารดาทำการค้าขาย เนื่องจากท่านพุทธทาสไม่ได้ลาสิกขาตาม
กำหนดเดิม นายยี่เกยได้เริ่มสนใจ การฟื้นฟูพระพุทธศาสนาตั้งแต่
อยู่ในมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะขบวนการของอนาคาริก
ธรรมปาละ เมื่อกลับมาอยู่บ้านนอกแล้ว ยังได้ติดต่อกับ
วารสารพุทธศาสนาภาษาอังกฤษจากต่างประเทศ
เช่น มหาโพธิ ของสมาคมมหาโพธิที่อินเดีย และวารสาร
ของพุทธสมาคมในอังกฤษ เป็นต้น






ภาพนี้ ท่านพุทธทาส ถ่ายเมื่อปี 2490
ที่สวนโมกข์แห่งใหม่







อ้างอิงภาพและข้อมูลจากหนังสือของ

เจ้าของกระทู้


ภาพชีวิต 80 ปี

พุทธทาสภิกขุ

มิติใหม่ของพระพุทธศาสนา
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 26, 2012, 01:21:43 PM โดย nokeang » บันทึกการเข้า

ไม่มีน้ำหนักใด...หนักกว่ากรรม
ไม่มีหนทางใด...ยาวเท่าหนทางแห่งกรรม
nokeang
Moderator
Full Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 720



« ตอบ #1 เมื่อ: เมษายน 26, 2012, 02:45:58 PM »

พ.ศ. ๒๔๕๓ ด.ช.เงื่อม วัย ๔ ขวบ



ท่านอาจารย์พุทธทาส มีนามเดิมว่า เงื่อม นามสกุล พานิช
เกิดเมื่อ วันอาทิตย์ ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๗ ปีมะเมีย
วันที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๔๙ ในสกุลของพ่อค้า
ที่ตลาด พุมเรียง ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี
บิดา ชื่อ เซี้ยง มารดาชื่อ เคลื่อน มีน้องสองคน
เป็นชายชื่อยี่เก้ย และเป็นหญิงชื่อกิมซ้อย
บิดาของท่านมีเชื้อสายจีน ประกอบอาชีพหลักคือ
การค้าขายของชำ เฉกเช่น ที่ชาวจีนนิยมทำกันทั่วไป
แต่อิทธิพลที่ท่านได้รับจากบิดา กลับเป็นเรื่องของ
ความสามารถทางด้านกวี และทางด้านช่างไม้
ซึ่งเป็นงานอดิเรกที่รักยิ่งของบิดา 





ส่วนอิทธิพลที่ได้รับจากมารดา คือ ความสนใจ
ในการศึกษาธรรมะ อย่างลึกซึ้ง อุปนิสัยที่เน้น
เรื่องความประหยัด เรื่องละเอียดละออในการ
ใช้จ่ายและการทำทุกสิ่งให้ดีที่สุด และต้องทำ
ให้ดีกว่าครูเสมอ ท่านได้เรียนหนังสือเพียงแค่
ชั้น ม.๓ แล้วต้องออกมาค้าขาย แทนบิดาซึ่ง
เสียชีวิต





ครั้นอายุครบ ๒๐ ปี ก็ได้บวชเป็นพระ ตามคตินิยมของ
ชายไทยที่วัดโพธาราม ไชยา ได้รับฉายาว่า"อินทปัญโญ"
แปลว่า ผู้มีปัญญา อันยิ่งใหญ่ เดิมท่านตั้งใจจะบวชเรียน
ตามประเพณี เพียง ๓ เดือน แต่ ความสนใจ ความซาบซึ้ง
ความรู้สึกเป็นสุข และสนุกในการศึกษาและเทศน์แสดง
ธรรม ทำให้ท่านไม่อยากสึก เล่ากันว่า เจ้าคณะอำเภอ เคย
ถามท่าน ขณะที่ เป็นพระเงื่อม ว่ามีความคิดเห็นอย่างไร
ในการใช้ชีวิตท่านตอบว่า "ผมคิดว่าจะใช้ชีวิตให้เป็น
ประโยชน์ แก่เพื่อนมนุษย์ ให้มากที่สุด"

"..แต่ถ้ายี่เก้ย จะบวช ผมก็ต้องสึกออกไป อยู่บ้านค้าขาย"
ท่านเจ้าคณะอำเภอ ก็เลยไปคุยกับโยมแม่ของท่านว่า ท่าน
ควรจะอยู่เป็นพระต่อไป ส่วนยี่เก้ย น้องชายของท่านนั้นไม่ต้องบวชก็ได้เพราะมี
ชีวิตเหมือนพระอยู่แล้ว คือเป็นคนมักน้อย สันโดษ การกินอยู่ก็เรียบง่าย ตัดผมสั้น
เกรียน ตลอดเวลา นายยี่เก้ย ก็เลยไม่ได้บวช ให้พี่ชาย บวช แทน มาตลอด

นายยี่เก้ย ต่อมาก็คือ "ท่านธรรมทาส" ฆราวาสผู้เป็นกำลังหลักของคณะ
ธรรมทาน ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ของสวนโมกขพลาราม



อุดมคติแห่งชีวิต



พระเงื่อมได้เดินทางมาศึกษาธรรมะต่อ ที่กรุงเทพฯ สอบได้
นักธรรมเอกแล้วเรียนภาษาบาลีจนสอบได้เปรียญ๓ ประโยค
ระหว่างที่เรียน เปรียญธรรม๔ อยู่นั้น ด้วยความที่ท่านเป็นคน
รักการศึกษาค้นคว้าจากพระไตรปิฎก และศึกษาค้นคว้าออก
ไปจากตำรา ถึงเรื่องการปฏิรูปพระพุทธศาสนาในประเทศ
ศรีลังกา อินเดีย และการเผยแพร่พระพุทธศาสนาในโลก
ตะวันตก ทำให้ท่านรู้สึกขัดแย้งกับวิธีการสอนธรรมะที่ยึดถือ
รูปแบบตามระเบียบแบบแผนมากเกินไป ความย่อหย่อนใน
พระวินัยของสงฆ์ ตลอดจนความเชื่อที่ผิดๆ ของ
พุทธศาสนิกชน ในเวลานั้น ทำให้ท่านมีความเชื่อมั่นว่า พระพุทธศาสนาที่สอน
ที่ปฏิบัติกัน ในเวลานั้นคลาดเคลื่อน ไปมาก จากที่ พระพุทธองค์ ทรงชี้แนะ





ท่านจึงตัดสินใจ หันหลังให้กับการศึกษาของ
สงฆ์ เวลานั้น กลับไชยา เพื่อศึกษา และทดลอง
ปฏิบัติ ตามแนวทาง ที่ท่านเชื่อมั่น โดยร่วมกับ
นายธรรมทาส และ คณะธรรมทาน จัดตั้ง
สถานปฏิบัติธรรม "สวนโมกขพลาราม" ขึ้น
เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๕ จากนั้น ท่านได้ศึกษา
และปฏิบัติธรรมะ อย่างเข้มข้น จนเชื่อมั่นว่า
ท่านมาไม่ผิดทางแน่ และได้ประกาศ ใช้ชื่อนาม
"พุทธทาส" เพื่อแสดงว่า ให้เห็นถึง
อุดมคติสูงสุด ในชีวิตของท่าน



จากบันทึกของท่าน เมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๗ เขียนไว้ว่า
"...ชีวิตของข้าพเจ้า สละทุกอย่างๆ มุ่งหมาย ต่อความสุขนี้ และประกาศ
เผยแพร่ความสุขนี้ เท่านั้น ไม่มีอะไรดีกว่านี้ ในบรรดามีอยู่ใน พุทธศาสนา..."


บันทึกการเข้า

ไม่มีน้ำหนักใด...หนักกว่ากรรม
ไม่มีหนทางใด...ยาวเท่าหนทางแห่งกรรม
nokeang
Moderator
Full Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 720



« ตอบ #2 เมื่อ: เมษายน 26, 2012, 02:49:46 PM »



หัวข้อธรรมในคำกลอน


     เรื่องรสคำประพันธ์นั้น ท่านพุทธทาสเขียนไว้ใน “มุ่งธรรมรส-งดกวี” ว่า รสคำประพันธ์อาจไม่จำเป็นต้องไพเราะ อ่อนช้อยในเชิงกวี แต่ต้องให้แสดงธรรมะได้แจ่มชัด ใช้ชุบชูจิตใจผู้อ่าน เน้นสาระในรสธรรมมากกว่ารสคำกวี

        ลูกศิษย์ที่ใกล้ชิดเล่าถึงที่มาของบทกวีธรรมะของท่านพุทธทาส ว่า “เมื่อท่านมีความคิดอะไรแวบขึ้นมาหรือเห็นประเด็น เหตุการณ์ที่น่าสนใจ ท่านจะมีคำคม ๆ ขึ้นมาคำหนึ่ง แล้วเอามาบรรยายขยายความในการเทศน์ แล้วอีกไม่เกินสัปดาห์ท่านจะแต่งเป็นบทกลอน ธรรมะเรื่องหนึ่งท่านจะแต่งเป็นกลอน ๘-๑๒ วรรค ให้ใจความจบลงในนั้น” ต่อมางานชุดนี้ถูกรวบรวมนำมาตีพิมพ์เป็นเล่มชื่อ หัวข้อธรรมในคำกลอน (ฉบับสมบูรณ์) งานชิ้นสำคัญที่มักถูกนำมาพิมพ์ซ้ำบ่อยครั้งก็เช่น การงาน, มองแต่แง่ดีเถิด, อาจารย์ไก่, ตายก่อนตาย, พุทธทาสจักไม่ตาย






บันทึกการเข้า

ไม่มีน้ำหนักใด...หนักกว่ากรรม
ไม่มีหนทางใด...ยาวเท่าหนทางแห่งกรรม
biosz196
Newbie
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2


« ตอบ #3 เมื่อ: มิถุนายน 12, 2014, 10:17:43 AM »

ท่านเป็นพระอย่างแท้จริงจากข้างในเลยละ
บันทึกการเข้า

Realitye
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #4 เมื่อ: สิงหาคม 25, 2015, 09:59:05 AM »

อ่านแล้วรู้สึกใจชื่นมากๆ เลยครับผม
บันทึกการเข้า
Gold Price today, Gold Trend Price Prediction, ราคาทองคํา, วิเคราะห์ทิศทางทองคํา
   

images by free.in.th
Thanks: ฝากรูป dictionary ---------------------Charts courtesy of Moore Research Center, Inc. For more information on Moore Research products and services click here. --- http://www.mrci.com ---------- ---------------------------------------------รูปกราฟแสดงราคาทองในอดีตปี 1974-1999 ของ Moore Research Center, Inc. แสดงฤดูกาลที่ราคาทองขึ้นสูงสุดและตําสุด เอาแบบคร่าวๆ เส้นนําตาลหรือนําเงินก็ใกล้เคียงกัน เส้นนําตาลเฉลี่ย 15 ปี เส้นนําเงินเฉลี่ย 26 ปี ราคาตําสุดของเส้นนําตาล หรือเฉลี่ย 15 ปี ในเดือน ปลายเดือน เมษ และปลายเดือน สค ต่อต้นเดือน กย[/color] สูงสุดในเดือน กพ กับ พย / ส่วนเฉลี่ย 26 ปี ราคาตําสุด ต้น กค กับ ปลาย สค และราคาสูงสุดในเดือน กพ และ กลางเดือน ตค ----- แค่ดูคร่าวๆ เป็นแนวทาง อย่ายึดมั่นว่าจะต้องเป็นตามนี้ ข้างล่างเป็นกราฟราคานํามัน ตามฤดูกาล จาก Charts courtesy of Moore Research Center, Inc. images by free.in.th
Thanks: ฝากรูป dictionary
 บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
พิมพ์
กระโดดไป: