ใครอ่านแล้วเข้าใจช่วยอธิบายให้ด้วยนะคะ
การวิเคราะห์หลักทรัพย์โดยวิธีทางเทคนิค
เทคนิคพ้อยท์แอนด์ฟิคเกอร์ (Point & Figure)
เทคนิคพ้อยท์แอนด์ฟิคเกอร์
POINT & FIGURE TECHNIQUE
เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ที่นิยมใช้กันมากชนิดหนึ่ง ในการหาจังหวะเวลาในการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ โดยมีข้อดีในแง่ที่ว่าเข้าใจง่าย และมีสัญญาณชัดเจนในการบอกให้ซื้อหรือขาย ข้อมูลที่ใช้ต้องการเพียงระดับราคาหุ้นสูงสุด และต่ำสุดในแต่ละวันเท่านั้น (หรือระดับราคาสุดท้ายในแต่ละช่วงเวลา ในกรณี POINT & FIGURE แบบ INTRADAY)
วิธีการกำหนด BOX SIZE
สำหรับทำแผนภูมิพ้อยท์แอนด์ฟิคเกอร์
ตามแนวตั้งของตารางกราฟ จะแสดงการเปลี่ยนแปลงของระดับราคาหุ้นที่นำมาทำ โดยใช้อัตราส่วน 1 ช่อง (BOX) ต่อ 1 ช่วงราคาตามที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนดไว้ อาทิเช่น หุ้น ABC ระดับราคาอยู่ประมาณ 150 บาท ตลาดหลักทรัพย์กำหนดให้ช่วงการเปลี่ยนแปลงของราคาช่วงละ 1 บาท ดังนั้น ในกระดาษกราฟ 1 ช่องจะเท่ากับ 1 บาทนั่นเอง และเมื่อหุ้น ABC มีราคาขึ้นไปเกิน 200 บาท ซึ่งตลาดหลักทรัพย์กำหนดให้ช่วงการเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้นเป็นช่วงละ 2 บาท ช่องถัดไปจากช่องที่ราคา 200 บาทขึ้นไปจะคิดเป็น 1 ช่องเท่ากับ 2 บาท
ตารางการเปลี่ยนแปลงช่วงราคา
ราคาหุ้น (บาท)
ช่วงละ (บาท)
ตั้งแต่ 0 ถึงน้อยกว่า 2
0.01
ตั้งแต่ 2 ถึงน้อยกว่า 5
0.02
ตั้งแต่ 5 ถึงน้อยกว่า 10
0.05
ตั้งแต่ 10 ถึงน้อยกว่า 25
0.10
ตั้งแต่ 25 ถึงน้อยกว่า 50
0.25
ตั้งแต่ 50 ถึงน้อยกว่า 100
0.50
ตั้งแต่ 100 ถึงน้อยกว่า 200
1.00
ตั้งแต่ 200 ถึงน้อยกว่า 400
2.00
ตั้งแต่ 400 ขึ้นไป
4.00
หมายเหตุ ดัชนีตลาดหลักทรัพย์สามารถเลือกใช้ BOX SIZE ตามตารางข้างต้น หรือ ใช้ BOX SIZE เท่ากับ 0.5-1.0% ของดัชนีตลาดหลักทรัพย์
วิธีการสร้างแผนภูมิ POINT AND FIGURE แบบ DAILY
1. ในวันเริ่มทำแผนภูมิ ถ้าราคาปิดเป็นบวก จากราคาปิดครั้งก่อน ให้เขียนเครื่องหมาย X ตั้งแต่ราคาต่ำสุดของวันนั้นขึ้นไปจนถึงราคาสูงสุดของวันนั้น แต่ถ้าราคาปิดเป็นลบ ก็ให้เขียนเครื่องหมาย O ตั้งแต่ราคาสูงสุด ลงมาจนถึงราคาต่ำสุดของวันนั้น (ถ้าเป็นหุ้นใหม่เข้าตลาดในวันแรก ก็ให้ดูว่าราคาปิดสูงกว่าหรือต่ำกว่าราคาเปิด ถ้าสูงกว่าให้ถือว่าราคาปิดเป็นบวกแล้วเขียนเครื่องหมาย O)
2. ในวันต่อมา กรณีที่ในแผนภูมิเป็นแถวของ X อยู่ หากราคาสูงสุดยังคงสูงขึ้นกว่าเดิมก็ให้เขียนเครื่องหมาย X ต่อขึ้นไปจนถึงราคาสูงสุดของวันนั้น และในทางกลับกันกรณีที่ในแผนภูมิเป็นแถวของ O และราคาต่ำสุดของวันก็ยังต่ำกว่าครั้งก่อนให้เขียนเครื่องหมาย O ต่อลงมาจนถึงราคาต่ำสุดนั้น
3. กรณีที่ราคาหุ้นเริ่มมีการเปลี่ยนทิศทาง คือเมื่อเราอยู่ในแถวของเครื่องหมาย X ซึ่งวันต่อมาเราต้องดูที่ราคาสูงสุด แต่เมื่อปรากฎว่าราคาสูงสุดของวันใหม่ที่เรากำลังดูมีราคาเท่าเดิม หรือต่ำกว่าเดิมก็ให้ไปพิจารณาดูที่ราคาต่ำสุด ถ้าราคาต่ำสุดต่ำกว่าราคาสูงสุดเดิมที่ทำไว้ในกระดาษกราฟเมื่อครั้งก่อน ตามช่วงราคาที่กำหนดไว้ (REVERSAL) เช่น ตั้งแต่ 3 ช่วงราคาเป็นต้นไป ก็ให้เขียนเครื่องหมาย O ในแถวถัดมาด้านขวามือ โดยให้ O ตัวบนสุดอยู่ต่ำกว่า X ในแถวเดิม 1 ช่วง แล้วเขียน O ลงมาจนถึงราคาต่ำสุดในวันนั้น แต่ถ้าราคาต่ำสุดในวันนั้นต่างจากราคาสูงสุดเดิมน้อยกว่าช่วงราคาที่กำหนดไว้ จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงในกราฟ
ในทางกลับกัน ถ้าเดิมเราอยู่ในแถวของเครื่องหมาย O ซึ่งวันต่อมาเราต้องดูที่ราคาต่ำสุด แต่ปรากฏว่าราคาต่ำสุดใหม่ที่เราดูนั้นเท่าเดิมหรือสูงกว่าเดิม ก็ให้ไปพิจารณาดูราคาสูงสุด ซึ่งถ้าราคาสูงสุดต่างจากราคาต่ำสุดเดิมที่ทำไว้ในกระดาษกราฟเมื่อครั้งก่อนตามช่วงราคาที่กำหนดไว้ เช่น ตั้งแต่ 3 ช่วงราคาเป็นต้นไป ก็ให้เขียนเครื่องหมาย X ในแถวถัดมาทางขวามือ โดย X ตัวล่างสุดอยู่สูงกว่า O ในแถวเดิม 1 ช่องแล้วเขียน X ขึ้นไปจนถึงราคาสูงสุดในวันนั้น แต่ถ้าราคาสูงสุดในวันนั้นต่างจากราคาต่ำสุดเดิมน้อยกว่าช่วงราคาที่กำหนดไว้ จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงในกราฟ
http://taladhoon.com/taladhoon/lib/irsta01/irsta01-3.htm