Forex-Currency Trading-Swiss based forex related website. Home ----- กระดานสนทนาหน้าแรก ----- Gold Chart,Silver,Copper,Oil Chart ----- gold-trend-price-prediction ----- ติดต่อเรา
หน้า: 1 2 [3] 4 5   ลงล่าง
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: The important day  (อ่าน 5831 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 6 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
jainu
Moderator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #30 เมื่อ: พฤษภาคม 06, 2014, 04:20:01 PM »




เนื่องในศุภมงคล ทรงเจริญพระชันษา ๓๐ ปี พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ (พระองค์ติ๊ด)
ในวันที่ ๖ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗

ขอพระองค์ทรงเกษมสำราญ มีพระพลานามัยแข็งแรง ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน..

บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Moderator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #31 เมื่อ: พฤษภาคม 12, 2014, 01:13:06 PM »



130557


วิสาขบูชา
วันอุบัติตรัสรู้และนิพพาน
ปาฏิหาริย์ในเดือนหกสิบห้าค่ำ
จันทร์เพ็ญคู่วิสาขะดาวฤกษ์ล้ำ
แต่สามคำเกิดอัศจรรย์เป็นวันเดียว
บรรลุธรรมคือตรัสรู้คู่นิพพาน
เพราะดวงมานเปลื้องปลดสิ่งแน่นเหนียว
คือถอนรากตัณหาจนสิ้นเกลียว
ไม่ยึดเหนี่ยวจิตวิมุติหยุดและเย็น
อุบัติเป็นพุทธะเมื่อตรัสรู้
แจ่มแจ้งอยู่ซึ่งสัจจาตาในเห็น
อริสัจทั้งสี่ประเสริฐเป็น
สงบเย็นคงมั่นนิรันดร์กาล
เมื่อถึงวันวิสาขะพึงบูชา
พระธรรมาสูงค่ามหาศาล
ชนทั้งโลกแซ่ซ้องสาธุการ
ปาฏิหาริย์แห่งธรรมะพระพุทธองค์
ขอน้อมนำธรรมะชำระใจ
ให้ผ่องใสสมในพุทธประสงค์
อริยมรรคมีองค์แปดเป็นทางตรง
ให้หยุดหลงหลุดกรงอวิชชา ฯ




วันวิสาขบูชา 2557 ตรงกับวันอังคารที่ 13 พฤษภาคม
ในปีนี้นับเป็นอภิลักขิตกาลพิเศษ คือเป็นปีที่ครบ 2,600
พุทธศตวรรษ หรือ 2,600 ปี แห่งการอุบัติขึ้นของพระพุทธศาสนา
วันวิสาขบูชา ถือเป็นวันสำคัญที่สุดทางพระพุทธศาสนา
เนื่องจากล้วนมีเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการถือกำเนิดของ
พระพุทธศาสนา คือ เป็นวันที่พระศาสดา คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ดังนั้นพุทธศาสนิกชนทั่วโลกจึง
ให้ความสำคัญกับวันวิสาขบูชานี้ และในวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2542 องค์การสหประชาชาติได้ยอมรับญัตติที่ประชุม กำหนดให้
วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญของโลก โดยเรียกว่า Vesak Day
ตามคำเรียกของชาวศรีลังกา



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 12, 2014, 09:16:37 PM โดย jainu » บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Moderator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #32 เมื่อ: พฤษภาคม 21, 2014, 09:48:20 PM »

บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Moderator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #33 เมื่อ: กันยายน 08, 2014, 12:01:11 PM »

วันนี้ วันไหว้พระจันทร์








บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Moderator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #34 เมื่อ: กันยายน 24, 2014, 02:31:18 PM »






วันมหิดล 24 กันยายนของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม ราชชนก      

         วันที่ 24 กันยายน เป็นวันคล้ายวันทิวงคต (เสียชีวิต) ของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม ราชชนก (กรมหลวงสงขลานครินทร์) พระผู้ได้รับการถวายพระสมัญญาภิไธยจากแพทย์และประชาชนทั่วไปว่า "พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย"

          ด้วยพระราชกรณียกิจที่ได้ทรงบำเพ็ญแก่วงการแพทย์ และการสาธารณสุขของประเทศไทยมาตลอดระยะเวลา 12 ปีนั้น ได้เสริมสร้างความเป็นปึกแผ่นให้แก่โรงเรียนแพทย์ อีกทั้งได้ทรงพัฒนาการเรียนการสอน ตลอดจนการผลิตแพทย์ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ อันเป็นการวางรากฐานแก่การแพทย์ และการสาธารณสุขให้เจริญพัฒนาก้าวหน้าทัดเทียมอารยประเทศในกาลต่อมา

          คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลจึงได้ขนานนามวันสำคัญนี้ว่า "วันมหิดล" เพื่อเป็นการถวายสักการะ และน้อมรำลึกต่อพระองค์ท่าน

          และในปี พ.ศ. 2493 หรือ 21 ปี หลังจากที่สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม ราชชนก ได้ทิวงคต คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล บรรดาศิษย์เก่าศิริราช ตลอดจนประชาชนทั่วไป ได้ร่วมใจกันสร้างพระราชาอนุสาวรีย์ขึ้น ณ ใจกลางโรงพยาบาลศิริราช เพื่อน้อมเกล้าถวายความกตัญญูกตเวที และเฉลิมฉลองพระเกียรติคุณให้ไพศาล เป็นแบบฉบับให้อนุชนรุ่นหลังได้เจริญตามรอยพระยุคลบาทสืบไป โดยมอบให้กรมศิลปากรเป็นผู้ดำเนินการสร้าง มีศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี เป็นผู้ควบคุมงาน

          ในการนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาเสด็จพระราชดำเนินในพิธีเปิดพระราชอนุสาวรีย์เมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2493 และนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2494 เป็นต้นมา ทุกวันที่ 24 กันยายน คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้จัดงาน "วันมหิดล" โดยมีพิธีวางพวงมาลาถวายบังคมพระรูป พร้อมทั้งอ่านคำสดุดีพระเกียรติ เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ เป็นประจำทุกปี









          วันมหิดล 24 กันยายนของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม ราชชนก      

          วันที่ 24 กันยายน เป็นวันคล้ายวันทิวงคต (เสียชีวิต) ของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม ราชชนก (กรมหลวงสงขลานครินทร์) พระผู้ได้รับการถวายพระสมัญญาภิไธยจากแพทย์และประชาชนทั่วไปว่า "พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย"

          ด้วยพระราชกรณียกิจที่ได้ทรงบำเพ็ญแก่วงการแพทย์ และการสาธารณสุขของประเทศไทยมาตลอดระยะเวลา 12 ปีนั้น ได้เสริมสร้างความเป็นปึกแผ่นให้แก่โรงเรียนแพทย์ อีกทั้งได้ทรงพัฒนาการเรียนการสอน ตลอดจนการผลิตแพทย์ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ อันเป็นการวางรากฐานแก่การแพทย์ และการสาธารณสุขให้เจริญพัฒนาก้าวหน้าทัดเทียมอารยประเทศในกาลต่อมา

          คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลจึงได้ขนานนามวันสำคัญนี้ว่า "วันมหิดล" เพื่อเป็นการถวายสักการะ และน้อมรำลึกต่อพระองค์ท่าน

          และในปี พ.ศ. 2493 หรือ 21 ปี หลังจากที่สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม ราชชนก ได้ทิวงคต คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล บรรดาศิษย์เก่าศิริราช ตลอดจนประชาชนทั่วไป ได้ร่วมใจกันสร้างพระราชาอนุสาวรีย์ขึ้น ณ ใจกลางโรงพยาบาลศิริราช เพื่อน้อมเกล้าถวายความกตัญญูกตเวที และเฉลิมฉลองพระเกียรติคุณให้ไพศาล เป็นแบบฉบับให้อนุชนรุ่นหลังได้เจริญตามรอยพระยุคลบาทสืบไป โดยมอบให้กรมศิลปากรเป็นผู้ดำเนินการสร้าง มีศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี เป็นผู้ควบคุมงาน

          ในการนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาเสด็จพระราชดำเนินในพิธีเปิดพระราชอนุสาวรีย์เมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2493 และนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2494 เป็นต้นมา ทุกวันที่ 24 กันยายน คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้จัดงาน "วันมหิดล" โดยมีพิธีวางพวงมาลาถวายบังคมพระรูป พร้อมทั้งอ่านคำสดุดีพระเกียรติ เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ เป็นประจำทุกปี

สำหรับวัตถุประสงค์ของการจัดงานวันมหิดล


          1. เพื่อเผยแพร่เกียรติคุณและผลงานของผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรมระดับโลก ให้ปรากฏแก่ มวลสมาชิกทั่วโลก

          2. เพื่อเชิญชวนให้ประเทศสมาชิกมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมเฉลิมฉลอง ร่วมกับประเทศที่มีผู้ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ

          ในการนี้รัฐบาลไทย โดยคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม แห่งสหประชาชาติ กระทรวงศึกษาธิการ จะเป็นผู้สืบค้นบรรพบุรุษไทยผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมเพื่อให้ยูเนสโกประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติและได้ประกาศยกย่องสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม ราชชนก ทรงเป็นบุคคลผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรมระดับโลก ในวาระครบรอบ 100 ปี วันพระราชสมภพ เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2535

ประวัติสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม ราชชนก

          สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม ราชชนก มีพระนามเดิมว่า สมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า พระราชสมภพเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2434 และสวรรคตเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2472 รวมพระชนมายุ 37 พรรษา 8 เดือน 23 วัน

          ในเบื้องต้นได้ทรงศึกษาวิชาทหารเรือ ณ ประเทศเยอรมัน จากนั้นเสด็จกลับเข้ามารับราชการในกองทัพเรือ ต่อมา ทรงมีอาการประชวรเรื้อรังไม่ทรงสามารถรับราชการหนักเช่นการทหารเรือได้ ประกอบกับทรงสนพระทัยในกิจการทางด้านการแพทย์ จึงทรงพระอุตสาหะ เสด็จไปศึกษาวิชาการสาธารณสุขและวิชาแพทย์ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา ทรงสอบได้ประกาศนียบัตรการสาธารณสุข และปริญญาแพทยศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตเกียรตินิยม จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด

          ภายหลังทรงสำเร็จการศึกษา พระองค์ได้ทรงประกอบพระกรณียกิจทางด้านการแพทย์และการสาธารณสุขไว้อย่างมากมาย อาทิ

          1. ทรงเป็นอาจารย์สอนนักศึกษาแพทย์

          2. ทรงช่วยเหลือในการขยายกิจการของโรงพยาบาลศิริราช

          3. ประทานทรัพย์สินส่วนพระองค์ และจัดสร้างตึกคนไข้ และจัดหาที่พักสำหรับพยาบาลให้ได้อยู่อาศัย

          4. ทรงบริจาคทรัพย์เป็นทุนสำหรับส่งนักศึกษาแพทย์ และนักเรียนพยาบาลไปศึกษาต่อต่างประเทศ

          5. ประทานเงินเพื่อใช้ในการจัดหาเครื่องมือ สำหรับปฏิบัติการให้แก่โรงพยาบาล

          6. ทรงเป็นผู้แทนรัฐบาลติดต่อกับมูลนิธิรอคกีเฟลเลอร์ สาขาเอเซียบูรพา ในการปรับปรุง และวางมาตรฐานการศึกษา

          7. ทรงอุทิศเวลาส่วนใหญ่ในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยด้วยพระองค์เอง

ธงวันมหิดล






การจัดกิจกรรมในวันมหิดล

  
          หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องได้มีการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ขึ้น  อาทิ

          1. กิจกรรมรับบริจาคสมทบทุนศิริราชมูลนิธิ ตั้งแต่ ปี พ.ศ.2503 เป็นต้นมา คณะนักศึกษาแพทย์และพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดกิจกรรมออกรับบริจาคสมทบทุนศิริราชมูลนิธิเนื่องในวันมหิดล ในช่วงเดือนสิงหาคม - กันยายน ของทุกปี

          โดยกิจกรรมหนึ่งในการขอรับบริจาค คือ การจำหน่าย "ธงวันมหิดล" กิจกรรมดังกล่าว เริ่มมีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2503 ศ.นพ.กษาณ จาติกวนิช ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศิริราช ได้เสนอให้ศิริราชมีการจำหน่าย "ธงวันมหิดล" เพื่อให้ประชาชนทุกฐานะมีส่วนเกื้อกูลผู้ป่วยยากไร้ของโรงพยาบาลศิริราช

          ในปีแรกมีการจำหน่ายธงขนาดกลางราคา 10 บาท และธงเล็กทำด้วยริบบิ้น ราคา 1 บาท นักศึกษาทุกหมู่เหล่าในวิทยาเขตศิริราช ได้ช่วยกันออกไปจำหน่าย ซึ่งรายได้ทั้งหมดนำไปจัดซื้ออุปกรณ์ การรักษาพยาบาล และเครื่องอำนวยความสุขแก่ผู้ป่วยยากไร้

          โดยในครั้งแรกแบบธงวันมหิดลเป็นรูปสามเหลี่ยม มีรูปพระราชานุสาวรีย์ สมเด็จราชชนก พิมพ์อยู่ตรงกลางผืนเช่นเดียวกับในปัจจุบัน แต่พิมพ์เป็นรูปสีเขียวบนผ้าขาว ภายหลังได้มีการเปลี่ยนแปลงให้ใช้ผ้าสีที่ตรงกับวันมหิดลในปีนั้น และทำสติ๊กเกอร์ขึ้นแทนธงริบบิ้น ต่อมา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้ก่อตั้งศิริราชมูลนิธิขึ้นเพื่อบริหารจัดการด้านการเงินให้มีความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น คณะฯ จึงมอบให้ศิริราชมูลนิธิ รับผิดชอบการจำหน่ายธงวันมหิดล

          ใน พ.ศ.2502 การจำหน่ายธงได้ผลดีเกินคาด ธงไม่พอสำหรับวันขายใหญ่ "กลุ่มอาสามหาวิทยาลัยมหิดล" ซึ่งประกอบด้วยนักศึกษาจากทุกคณะ และทุกวิทยาเขตจึงอาสาทำธงให้ โดยระดมทำอยู่ 2 วัน 2 คืน จนมีธงพอจำหน่ายในวันที่ 23 กันยายน ในปีนั้น





 ปีต่อมาคณะกรรมการจำหน่ายธงวันมหิดล จึงมีมติให้จ้างกลุ่มอาสาฯ ทำธงแทนจ้างบริษัทเอกชน เพราะเล็งเห็นว่านักศึกษาทำได้ดีเทียบเท่ามืออาชีพ และยังเป็นการสนับสนุนการทำกิจกรรมของนักศึกษา นอกจากนี้ผลกำไรทางกลุ่มอาสาฯ ยังนำไปสร้าง โรงเรียนในชนบททุกปี เรียกว่าได้บุญ 1 ต่อ

          สำหรับสีของธงในแต่ละปีจะตรงกับวันมหิดลในปีนั้นๆ เช่น ปีนี้วันมหิดลตรงกับวันพุธ ธงจึงเป็นสีเขียว และเมื่อบริจาคเงินสมทบทุนศิริราชมูลนิธิ จะมีสติกเกอร์วันมหิดล มอบเป็นของที่ระลึก


          2. การจัดนิทรรศการ เช่น พระราชประวัติ และผลงานของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม ราชชนก

          3. การจัดสัมมนาทางวิชาการ เช่น การแพทย์ใหม่ในประเทศไทย

          4. การอภิปรายตามแนวพระราชดำริ เกี่ยวกับการแพทย์ไทย

          5. การประกวด หรือการแข่งขันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น การประกวดโรงพยาบาลดีเด่น

          6. อื่น ๆ เช่น การมอบรางวัลให้กับแพทย์ พยาบาล ดีเด่น และผู้เสียสละเพื่อชาวชนบท เพื่อสังคม
บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Moderator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #35 เมื่อ: ตุลาคม 31, 2014, 06:03:03 PM »









บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Moderator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #36 เมื่อ: ธันวาคม 05, 2014, 01:57:51 PM »








ดอกพุทธรักษา สีเหลืองงาม

ซึ่งตรงกับสีของวันพระราชสมภพของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

รวมทั้งเป็นไม้มงคลที่คนไทยเชื่อกันว่า เป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้า

ที่คอยคุ้มครองปกปักษ์รักษา ให้มี ความสงบสุข ไม่เดือดเนื้อร้อนใจ

และรอดพ้นจากภัยอันตรายทั้งปวง

ดังนั้น ดอกไม้วันพ่อที่มีคุณสมบัติ

ครบถ้วนเป็นอย่างดี จึงใช้เป็นตัวแทนในการมอบความเคารพบูชา

ให้พ่อ และอวยพรให้พ่อได้มีการคุ้มครอง

ปกป้องอย่างสงบสุขร่มเย็น โดยไม่ โดยไม่มีอันตรายใดๆนั่นเอง.
บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Moderator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #37 เมื่อ: ธันวาคม 05, 2014, 02:12:07 PM »

"...พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท่านเสด็จไปหาสมเด็จย่าทุกเย็น อาทิตย์ละ 5 วันเพื่อไปทานข้าวกับแม่ ไปทำให้แม่ชุ่มชื่นหัวใจ ในขณะที่เรามักกันพูดเสมอว่าไม่มีเวลา แต่พระองค์ท่านที่ทรงงานหนักกว่าเราไม่รู้กี่ร้อยกี่พันเท่า ทำไมท่านกลับแบ่งเวลาได้ เรื่องเราของพระองค์ท่านสอนให้รู้ว่า ความกตัญญูคือรักแรกและรักแท้ที่ทำให้เรารับรู้ถึงทุกข์สุขของบุพการี เสียสละเวลาเพื่อความสุขของท่าน เหมือนพระผู้เป็นต้นแบบความกตัญญูที่ยิ่งใหญ่ของชาวไทย..."

ขอพระองค์ทรงพระเจริญ


เครดิตภาพและข้อมูลจาก คลิป Why do Thai people love their King? เหตุผล...ที่คนไทยรักในหลวง









บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Moderator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #38 เมื่อ: ธันวาคม 05, 2014, 02:21:12 PM »




5 ธันวาคม วันดินโลก (ปี 2558 ปีดินสากล)

ประเทศไทยเตรียมจัดงานวันดินโลกอย่างยิ่งใหญ่พร้อมเปิดตัวปีดินสากล

วันที่ 5 ธันวาคมของทุกปี นอกจากจะเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือวันพ่อแห่งชาติ ที่พสกนิกรชาวไทยมีความปิติยินดีร่วมกันจัดงานและกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อเทิดพระเกียรติพระองค์ท่าน แต่วันที่ 5 ธันวาคมยังเป็นวันสำคัญของคนทั้งโลกอีกด้วย เนื่องจากองค์การสหประชาชาติ ได้ประกาศรับรองอย่างเป็นทางการ ให้วันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปีเป็นวันดินโลก (World Soil Day) นอกจากนี้ยังประกาศให้ปี 2558 เป็นปีดินสากล (International Year of Soil 2015) โดยจะมีการจัดงานเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่พร้อมกับประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก

นายอภิชาต จงสกุล อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน กล่าวว่า สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 16 เมษายน 2555 สมาคมดินและปุ๋ยแห่งประเทศไทย ได้ขอพระราชทานพระราชวโรกาสนำคณะกรรมการบริหารของสหภาพวิทยาศาสตร์ทางดินนานาชาติ เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อทูลเกล้า ทูลกระหม่อมถวายรางวัลนักวิทยาศาสตร์ทางดินเพื่อมนุษยธรรม (The Humanitarian Soil Scientist) เป็นพระองค์แรกของโลก เพื่อสดุดดีพระเกียรติคุณให้เป็นที่ประจักษ์ถึงพระวิสัยทัศน์และพระราชกรณีย กิจเกี่ยวกับการพัฒนาและอนุรักษ์ทรัพยากรดินอย่างยั่งยืน และในโอกาสเดียวกัน ได้ขอพระราชทานให้วันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปีเป็นวันดินโลก

กระทรวงการเกษตรและสหกรณ์ ได้ผลักดันเรื่องวันดินโลกเข้าสู่ที่ประชุมองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ หรือ เอฟ เอ โอ รวมทั้งเสนอให้ปี 2558 เป็นปีดินสากล โดยที่ประชุมสมัชชาสหประชาติ เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2556 ณ สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ นครนิวยอร์ค ได้มีมติให้การรับรองวันดินโลก (WorldSoil Day) ตรงกับวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี และในปี 2558 เป็นปีดินสากล (International Year of Soils in 2015) ซึ่งจะมีผลให้วันดินโลกได้รับการบรรจุในปฏิทินปฏิบัติงานขององค์การสหประชาชาติอย่างเป็นทางการนับตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นไป วันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี ประเทศสมาชิกองค์การสหประชาชาติกว่า 200 ประเทศจะจัดงานเฉลิมฉลองวันดินโลกพร้อมกัน

แม้ว่าประเทศไทยจะมีการจัดงานเฉลิมฉลองวันดินโลกมาก่อนหน้านี้แล้ว 2 ปี แต่ในปี 2557 นี้ กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะจัดงานเฉลิมฉลองวันดินโลกอย่างยิ่งใหญ่ เพราะเป็นการเฉลิมฉลองอย่างเป็นทางการ หลังจากที่องค์การสหประชาชาติมีมติให้การรับรอง ที่สำคัญจะมีการเปิดตัว ปีดินสากล ที่จะมีการขับเคลื่อนกิจกรรมทั้งในประเทศไทยและประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกตลอดปี 2558 เพื่อให้เป็นปีแห่งการรณรงค์ในการสร้างความตื่นรู้ถึงความสำคัญของทรัพยากรดิน ตลอดจนการใช้ การปรับปรุง และการอนุรักษ์ทรัพยากรดินอย่างถูกต้อง เพื่อให้สามารถใช้ทรัพยากรดินอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน เนื่องจากดินเป็นแหล่งสร้างอาหารปลอดภัย ลดปริมาณผู้หิวโหยและขาดอาหารสร้างความมั่นคงทางอาหาร และลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นำไปสู่การลดปัญหาความยากจน และการพัฒนาอย่างยั่งยืนในอนาคต

นายอภิชาต กล่าวเพิ่มเติมว่า การจัดงานวันดินโลก ประจำปี 2557 กรมพัฒนาที่ดินได้กำหนดจัดงานภายใต้ชื่อ "ตามรอยปฐพีใต้ธุลีพระบาท นักวิทยาศาสตร์ดิน เพื่อมนุษยธรรม" ระหว่างวันที่ 3-5 ธันวาคม 2557 ตั้งแต่เวลา 08.30 น.-18.00 น. ณ กรมพัฒนาที่ดิน ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ซึ่งกรมพัฒนาที่ดิน ได้เชิญ เอฟ เอ โอ ประจำภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิค และกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ร่วมจัดงานในครั้งนี้ด้วย เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงทุ่มเทพระวรกาย พระสติปัญญา จนมีพระราชดำริเกี่ยวกับการแก้ปัญหาฟื้นฟู อนุรักษ์ทรัพยากรดินมากมาย เพื่อนำไปสู่ความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืน ขจัดซึ่งความยากจนและหิวโหยบนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง คือให้ประชาชนอยู่ในสังคมได้อย่างเข้มแข็งและสามารถพึ่งพาตนเองได้ในที่สุด โดยพิธีเปิดงานในวันพุธที่ 3 ธันวาคม 2557 เวลา 10.00 น. ได้รับเกียรติจาก ฯพณฯ อำพล เสนาณรงค์ องคมนตรี เป็นประธานในพิธี

สำหรับกิจกรรมภายในงานประกอบด้วย นิทรรศการเกี่ยวกับความสำคัญของดิน นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนิทรรศการวิทยาศาสตร์ ทางดิน การประกวดร้องเพลงเพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยเฉพาะจะมีการแข่งขันเกม Online "LDD's IM-Farm" ที่ต้องการให้เด็กนักเรียน เยาวชนได้เรียนรู้การประกอบอาชีพเกษตร ต้องมีการจัดการดินอย่างไร ควรจะปลูกพืชชนิดไหนช่วงใด จึงจะขายผลผลิตได้รายได้ที่ดี ซึ่งนอกจากจะได้รับความบันเทิงแล้วยังได้รับความรู้กลับไปถ่ายทอดให้ผู้ปกครองที่ประกอบอาชีพทางการเกษตรได้อีกด้วย

พร้อมกันนี้ ยังมีการบรรยายพิเศษ การเสวนากิจกรรมเล่าเรื่อง "วันดินโลกและปีดินสากล" กิจกรรมตอบปัญหาเกี่ยวกับวันดินโลกและปีดินสากล โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุมิที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญ ของกรมพัฒนาที่ดินและหน่วยงานภายนอก มาร่วมเสวนาและบรรยายพิเศษทั้งภาคเช้าและภาคบ่าย รวมทั้งกิจกรรมการเรียนรู้โดยให้ผู้เข้าชมงานได้ทดลองปฏิบัติจริงทั้งนี้ ขอเชิญชวนผู้สนใจเข้าร่วมงานได้ทดลองปฏิบัติจริงทั้งนี้ ขอเชิญชวนผู้สนใจเข้าร่วมงานในวันและเวลาที่กำหนด

โดยเฉพาะที่สำคัญในวันที่ 5 ธันวาคม ขอเชิญทุกท่านร่วมกันแสดงพลังสามัคคีโดยพร้อมเพรียงกัน ในพิธีจุดเทียนชัยถวายพระพร ณ ลานสนามหญ้ากรมพัฒนาที่ดิน เพื่อแสดงออกถึงความจงรักภักดีถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมกับรับสัญญาณถ่ายทอดสด ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง ในเวลา 19.09 น. เป็นต้นไป

"ทรัพยากรดินมีจำกัด และนับวันจะเสื่อมโทรมลงไปทุกขณะ เกษตกรผู้ใช้ดินอาจจะไม่ได้สังเกตถึงความเปลี่ยนแปลง เพราะเป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างช้าไม่เด่นชัดเหมือนทรัพยากรน้ำที่เห็นทันทีว่า น้ำท่วมน้ำแล้ง แต่ความจริงแล้วดินเปลี่ยนแปลงไปทุกเวลาจากการใช้ประโยชน์ที่ดินต่อเนื่อง และขาดการบำรุงรักษาอย่างถูกต้อง ซึ่งในเรื่องดังกล่าวพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเข้าพระทัยในการเปลี่ยนแปลงของดินเป็นอย่างดี เนื่องจากแม้มีทรัพยากรน้ำ แต่ถ้าดินไม่ดีก็ปลูกอะไรไม่ได้ ดังนั้น จึงอยากให้ทุกคนหันมาให้ความใส่ใจดูแลทรัพยากรดิน ที่ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการดำรงชีพของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดบนโลกเป็นแหล่ง ผลิตอาหาร ยารักษาโรค เครื่องนุ่มห่ม เชื้อเพลิง ตลอดจนเป็นที่อยู่อาศัย ทรัพยากรดินจึงควรค่าที่ทุกคนจะต้องช่วยกันรักษาให้มีสภาพที่สมบูรณ์สามารถ ใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนสืบไป" อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน กล่าวย้ำ

ข่าวจากหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์
บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Moderator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #39 เมื่อ: เมษายน 01, 2015, 10:33:57 AM »

บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Moderator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #40 เมื่อ: เมษายน 06, 2015, 10:09:43 AM »

วันจักรี จักรี ประวัติวันจักรี ตราจักรี ความเป็นมาวันจักรี 6 เมษายน ของทุกปี





วันจักรี หมายถึง วันที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ ปฐมบรมจักรี เสด็จกรีฑาทัพถึงพระมหานครทรงรับอัญเชิญขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ ดำรงราชอาณาจักรสยามประเทศ   
ประวัติ ความเป็นมา   

วันที่ระลึกมหาจักรี หรือที่เรียกกันโดยย่อว่าวันจักรี นั้น สืบเนื่องจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ทรงพระราชดำริว่ารูปพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รูปพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รูปพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และรูปพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกอบพระราชพิธี ทรงหล่อรูปลักษณะเหมือนพระองค์จริงฉลองพระองค์แบบไทย ณ โรงหล่อหลังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (บริเวณศาลาสหทัยสมาคมในปัจจุบัน) เพื่อสนองพระมหากรุณาธิคุณสมเด็จพระปฐมบรมราชบุพการี แล้วโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระที่นั่งศิวาลัยมหาปราสาทขึ้นในมหาราชวัง เชิญรูปทั้ง ๔ รัชกาลนั้น ประดิษฐานเพื่อเป็นราชานุสรณ์ สำหรับถวายบังคมสักการะ ในงานพระราชพิธีฉัตรมงคลและพระราชพิธีพระชนมพรรษา   
   ครั้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสืบราชสันติวงศ์ ได้โปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้างรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวชนกนาถ จากต่างประเทศ แล้วอัญเชิญขึ้นประดิษฐานร่วมกับรูปทั้ง ๔ รัชกาลนั้น   
   ต่อมาทรงพระราชดำริว่า พระที่นั่งศิวาลัยมหาปราสาทยังไม่เหมาะสมที่จะมีงานถวายบังคม สักการะรูปสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ซ่อมแปลงพระพุทธปรางค์ปราสาท ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เพื่อประดิษฐานรูปสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชทั้ง ๕ รัชกาล พระราชทานนามใหม่ว่า ปราสาท พระเทพบิดร โดยทรงพระอนุสรณ์คำนึงถึงพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ซึ่งได้ประดิษฐานจักรี ทรงมีพระเดชพระคุณต่อประเทศ เมื่อมีโอกาสก็ควรแสดงความเชิดชูและระลึกถึง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีเชิญ รูปจากพระที่นั่งศิวาลัยมหาปราสาท มาประดิษฐานที่ปราสาทพระเทพบิดร เมื่อวันที่ ๖ เมษายน ๒๔๖๑ อันเป็นดิถีคล้ายวันที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกเสด็จกรีธาทัพถึงพระนคร ได้รับอันเชิญขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงบรรจุพระกรัณฑ์ทองคำลงยาราชาวดีซึ่งบรรจุทนต์(ฟัน) พระสุพรรณบัฏจารึกพระปรมาภิไธย พระดวงราชสมภพ พระดวงบรมราชาภิเษก พระดวงสวรรคต ลง ณ เบื้องสูงของพระเศียรรูปทั้ง ๕ รัชกาลครั้นถึงวันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๖๑ (สมัยนั้นขึ้นปีใหม่วันที่ ๑ เมษายน)   
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี(ม.ร.ว. ปุ้ม มาลากุล) เสนาบดีกระทรวงวัง ประกาศราชโองการให้มีการกราบ ถวายบังคมรูปสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเป็นการ ประจำปีกำหนดใน วันที่ ๖ เมษายน เป็นประเพณีสืบไป   
   ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้มีพระราชพิธีทรงหล่อรูป พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวณ โรงหล่อกรมศิลปากร ครั้นตกแต่งรูปเรียบร้อยแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ กำหนดการพระราชพิธีประดิษฐาน รูปที่ปราสาทพระเทพบิดร โดยเสด็จพระราชดำเนิน มาทรงบรรจุทนต์พระสุพรรณบัฎจารึก พระปรมาภิไธยและดวงราชสมภพ พระดวงบรมราชาภิเษก พระดวงสวรรคต ในพระกรัณฑ์ทองคำลงยา แล้วทรงบรรจุที่เบื้องสูงของพระเศียรรูป เมื่อวันที่ ๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๐   
   ต่อมาพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชปรารภว่า ในปี ๒๔๗๕ อายุพระนครจะบรรจบครบ ๑๕๐ ปี สมควรมีการสมโภชและสร้างสิ่งสำคัญ เป็นอนุสรณ์ขึ้นไว้ให้ปรากฎแก่อารยชนในนานาประเทศ ว่าชาวไทยมีความกตัญญูรู้คุณบรรพบุรุษ ที่ได้สร้างกรุงเทพฯเป็นราชธานีแล้วบำรุงรักษาประเทศ ให้เป็นอิสระสืบมาทรงปรึกษาพระราชปรารภ แก่อภิรัฐมนตรีและเสนาบดี ซึ่งเห็นชอบด้วยพระราชดำริว่า ควรสร้างปฐมบรมราชานุสรณ์มี ๒ สิ่งประกอบกัน คือ รูปพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก องค์ปฐมกษัตริย์ และสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเชื่อมพระนครธนบุรี รูปพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงออกแบบ ให้ศาสตรจารย์ศิลปพีระศรี ปั้นหุ่นหล่อ ส่วนสะพานทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยากำแพงเพชรอัครโยธิน อำนวยการสร้าง และพระราชทานนามว่า สะพานพระพุทธยอดฟ้า เงินที่ใช้ในการก่อสร้างปฐมบรมราชานุสรณ์นี้ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวบริจาคพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ส่วน ๑ รัฐบาลจ่ายเงินแผ่นดินส่วน ๑ อีกส่วน ๑ ทรงพระราชดำริให้บอกบุญเรี่ยไรชาวไทยทุกคน พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดปฐมบรมราชานุสรณ์ โดยกระบวนพยุหยาตรา เมื่อ วันที่ ๖ เมษายน ๒๔๗๕ ซึ่งเป็นวันครบ ๑๕๐ ปี และมีการพระราชพิธี เฉลิมฉลองกรุงเทพมหานคร   
   ครั้นถึง รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ ๘ ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงหล่อรูปพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ โรงหล่อกรมศิลปากร และได้อัญเชิญมาประดิษฐานที่ที่ปราสาทพระเทพบิดร เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๒   
   เมื่อพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลสวรรคต และได้ถวายพระเพลิงศพตามขัตติยราชประเพณีแล้ว พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูอดุลยเดช รัชกาลปัจจุบัน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีพระราชพิธีหล่อรูป พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ที่โรงหล่อกรมศิลปากร ครั้นตกแต่งรูปเสร็จเรียบร้อยแล้วจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กำหนดการพระราชพิธีเชิญรูปไปประดิษฐาน ณ ปราสาทพระเทพบิดร เมื่อวันที่ ๓ เมษายนพ.ศ. ๒๕๐๒ โดยเสด็จพระราชดำเนินไปทรงบรรจุเส้นพระเจ้า(เส้นผม) พระสุพรรณบัฎจารึกพระปรมาภิไธย พระดวงราชสมภพ พระดวงเสวยราชย์ พระดวงสวรรคต ลงในพระกรัณฑ์ทองคำลงยา แล้วทรงบรรจุพระกรัณฑ์ลง ณ เบื้องสูงของพระเศียรแห่งรูป และในพระราชพิธีนี้ได้ทรงบรรจุเส้นพระเจ้า พระสุพรรณบัฎจารึกพระปรมาภิไธย พระดวงราชสมภพ พระดวงเสวยราชย์ พระดวงสวรรคต ลงในพระกรัณฑ์ทองคำลงยาแล้วทรงบรรจุ ณ เบื้องสูงของพระเศียรแห่งรูปพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวด้วย   
   การถวายบังคมรูปสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช ที่ปราสาทพระเทพบิดรเป็นราชประเพณีประจำปี ตั้งแต่วันที่ ๖ เมษายน ๒๔๖๑ เป็นต้นมา ครั้นได้สร้างรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ประดิษฐาน ณ ปฐมบรมราชานุสรณ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๕ เนื่องในการเฉลิมพระนครบรรจบครบ ๑๕๐ ปีแล้ว ในปีต่อมาทางราชการได้ประกาศให้ถือวันที่ ๖ เมษายน เป็นวันที่ระลึกมหาจักรีและเป็นวันสำคัญของชาติวันหนึ่ง กำหนดให้หยุดราชการและให้ ชักธงชาติ และได้กำหนดให้มี การถวายบังคมรูป พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกที่ปฐมราชานุสรณ์ สำนักพระราชวัง ได้ออกหมายกำหนดการเสด็จพระราชดำเนิน ไปถวายสักการะรูปที่ปฐมบรมราชานุสรณ์ และถวายบังคมสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช ที่ปราสาทพระเทพบิดร   
   การถวายราชสักการะรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ที่ปฐมบรมราชานุสรณ์นั้น ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๗๕ เป็นต้นมา เป็นการเสด็จของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต่อมาในระหว่าง พ.ศ. ๒๔๙๕ ถึง พ.ศ. ๒๔๙๖ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูอดุลยเดช รัชกาลปัจจุบัน ได้เสด็จพระราชดำเนินถวาย พวงมาลาเป็นราชสักการะ ภายหลังจากนั้นทรงมีพระราชปรารถพระราชทาน พลตรีหม่อมทวีวงศ์ถวัลศักดิ์ (ม.ร.ว.เฉลิมลาภ ทวีวงศ์)เลขาธิการพระราชวัง ว่าการวางพวงมาลาตามคตินิยมของชาวไทย ใช้สำหรับการไว้อาลัยแก่ชีวิตของผู้ที่จากไป แต่วันที่ระลึกมหาจักรี ๖ เมษายนนั้น เป็นมงคลดิถีคล้ายวันที่ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เสด็จขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ สถาปนาจักรี การถวายพวงมาลาจึงไม่เป็นการงดงามเหมาะสม ในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ สำนักพระราชวังได้เปลี่ยนเป็น จัดพานพุ่มดอกไม้สดทูลเกล้าฯ ถวายเป็นเครื่องราชสักการะอนึ่ง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานราชานุญาต ให้สาธุชนเข้าถวายบังคมสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช ที่ปราสาทพระเทพบิดร ตั้งแต่เวลา ๘ นาฬิกา จนถึงเวลา ๑๘ นาฬิกา   
http://www.zabzaa.com/event/chakri.htm
บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Moderator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #41 เมื่อ: เมษายน 15, 2015, 12:55:24 PM »




บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Moderator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #42 เมื่อ: เมษายน 28, 2015, 09:18:25 PM »

๖๕ ปี วันราชาภิเษกสมรส (๒๘ เมษายน ๒๕๕๘ )









นับตั้งแต่ทรงเข้าพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส และ พระราชพิธีบรมราชาภิเษก
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ ราชินีนาถ
ก็ทรงทุ่มเทพระวรกายเพื่อพสกนิกรชาวไทยกว่า 65 ปี อย่างไม่ทรงรู้สึกเหน็ดเหนื่อย

ทรงรับทุกข์สุขของประชาชน เฉกเช่นทุกข์และสุขของพระองค์เอง

…ขอทั้งสองพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน…

วันบรมราชาภิเษกสมรสครบ 65 ปี ซึ่งตรงกับวันที่ 28 เมษายน 2558 นี้เอง
ย้อนกลับไปเมื่อกว่า 66 ปีที่ผ่านมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประกอบพิธีหมั้นกับ
หม่อมสิริกิติ์ กิติยากร เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พุทธศักราช 2492
ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

 หลังจากนั้นรัฐบาลได้แจ้งให้ประชาชนชาวไทยทราบว่า
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จนิวัตประเทศไทยพร้อมด้วยพระคู่หมั้น
ในวันที่ 24 มีนาคม พุทธศักราช 2493




พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงกำหนดให้วันที่ 28 เมษายน พุทธศักราช 2493
เป็นวันประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส ณ วังสระปทุม
อันเป็นที่ประทับของสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า




เมื่อใกล้ถึงเวลาพระฤกษ์ เวลา 09.30 น. หม่อมเจ้านักขัตรมงคล กิติยากร ทรงนำหม่อมสิริกิติ์ กิติยากร ไปยังวังสระปทุม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงลงพระปรมาภิไธย และ ม.ร.ว.สิริกิติ์ ลงนามในสมุดทะเบียนสมรส

 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ราชสักขี 2 คน คือ จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี
และพล.อ.มังกร พรหมโยธี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ร่วมลงนามด้วย
นับเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกแห่งราชจักรีวงศ์ที่ทรงจดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย

 เมื่อสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เสด็จออก ณ ชั้น 2
ของพระตำหนักแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและม.ร.ว.สิริกิติ์ ทูลเกล้าฯ
ถวายดอกไม้ธูปเทียนเครื่องราชสักการะ


สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ประทานน้ำพระพุทธมนต์ เทพมนต์แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระราชทานน้ำพระพุทธมนต์ เทพมนต์แก่ ม.ร.ว.สิริกิติ์ ตามโบราณราชประเพณี

 วงศานุวงศ์ ข้าราชการ และบุคคลที่ได้รับเชิญมาร่วมในพระราชพิธี ทูลเกล้าฯ
ถวายของขวัญ ในโอกาสนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
พระราชทานของที่ระลึกเป็นหีบบุหรี่เงินขนาดเล็ก
ประดับอักษรพระนามาภิไธยย่อ ภ.อ. และ ส.ก









ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อาลักษณ์อ่านประกาศสถาปนา ม.ร.ว.สิริกิติ์ พระอัครมเหสี
เป็นสมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ และพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์มหาจักรีบรม
แก่สมเด็จพระราชินีในศุภมงคลโอกาสนี้ด้วย




เมื่อเวลา 16.00 น. ของวันเดียวกันนี้ ทั้งสองพระองค์ได้เสด็จออกมหาสมาคม
ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ ในมหาราชวัง
พระราชทานพระราชวโรกาสให้วงศานุวงศ์เข้าเฝ้าฯ ถวายพระพรชัยมงคล
แล้วเสด็จฯ ออก ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ให้คณะองคมนตรี คณะรัฐมนตรี สมาชิกรัฐสภา ข้าราชการและคณะทูตานุทูต เฝ้าฯ ถวายพระพรชัยมงคล

 ในวันรุ่งขึ้น คือวันที่ 29 เมษายน พุทธศักราช 2493
ทั้งสองพระองค์เสด็จแปรพระราชฐานโดยรถไฟพระที่นั่งไปประทับ
ณ วังไกลกังวล อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ เป็นเวลา 5 วัน

 ขอทั้งสองพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน

 ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ
Cr Sompong Jitpaipoon
บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Moderator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #43 เมื่อ: พฤษภาคม 05, 2015, 09:38:32 AM »

5 พฤษภาคม วันฉัตรมงคล


ความสำคัญ
วันฉัตรมงคล เป็นวันที่ระลึกในการครบรอบปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูอดุลยเดช ทรงรับราชาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์แห่งประเทศไทยโดยสมบูรณ์ คือพระองค์ได้ขึ้นครองราชสมบัติสืบต่อจากสมเด็จเชษฐาธิราช พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ.2489 แล้วเสด็จพระราชดำเนินไปทรงศึกษาอยู่ ณ ทวีปยุโรป จนกระทั่งทรงบรรลุนิติภาวะแล้วจึงได้เสร็จนิวัติประเทศไทย และรัฐบาลไทยได้น้อมเกล้าฯ จักพระราชพิธีบรมราชาภิเษกถวาย เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ.2493 เหล่าพสกนิกรชาวไทย ได้ถือเอาวันที่ 5 พฤษภาคมของทุกปี เป็นวันฉัตรมงคลรำลึก

พระราชพิธีราชาภิเษก



ขั้นเตรียมงานพระราชพิธี เริ่มตั้งแต่พิธีตักน้ำ และทำพิธีเสกน้ำ ณ เจดีย์สถานสำคัญจากสถานที่ตักน้ำ ก่อนที่จะส่งเข้ามาทำพิธีต่อไปในพระนคร น้ำที่เสกนี้ใช้สำหรับถวายสำหรับถวายเป็น น้ำอภิเษก และสรงมุรธาภิเษก โดยมีระเบียบกำหนดให้ใช้น้ำจากแม่น้ำ 5 สาย ได้แก่ แม่น้ำคงคา ยมนา อิรวดี มหิ และสรภู ในชมพูทวีป หรือที่เรียกว่า "ปัญจมหานที" แต่เนื่องจากประเทศไทยอยู่ห่างจากชมพูทวีปมาก ไม่สะดวกในการเดินทาง จึงเปลี่ยนมาใช้น้ำจากแม่น้ำ18 แห่ง จากภายในพระราชอาณาจักรแทน นอกจากนี้ยังมีพิธีจารึกดวงพระราชสมภพในพระสุพรรณบัฏ และแกะพระราชสัญจกร

พิธีเบื้องต้น เริ่มตั้งแต่ตั้งนำวงด้าย จุดเทียนชัย และเจริญพระพุทธมนต์


พระราชพิธีราชาภิเษก เริ่มจากสรงมุรธาภิเษก ต่อจากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จพระราชดำเนินไปประทับเหนือพระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และพราหมณ์นั่งประจำทิศทั้ง 8 กล่าวคำถวายพระพรชัยมงคล และถวายดินแดนให้อยู่ในความคุ้มครองของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ต่อจากนั้นทรงรับน้ำอภิเษก ขึ้นสู่พระที่นั่งภัทรบิฐพระราชอาสน์องค์ใหม่ พระมหาราชครูเริ่มร่ายเวทย์พิธีพราหมณ์เมื่อร่ายเวทย์เสร็จแล้วจึงกราบทูลเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวลงพระปรมาภิไธย ถวายเครื่องราชกกุธภัณฑ์ คือ เครื่องหมายแสดงความเป็นพระมหากษัตริย์ ได้แก่พระมหาพิชัยมงกุฎ พระแสงขรรค์ชัยศรี ธารพระกร วาลวิชนี ฉลองพระบาทเมื่อทรงรับพระมหาพิชัยมงกุฎมาสวมพระเศียร เจ้าพนักงานจะประโคมดนตรี ทหารยิงปืนใหญ่ พระสงฆ์เคาะระฆัง และสวดชัยมงคลคาถาทั่วพระราชอาณาจัก หลังจากนั้นพราหมณ์ถวายพระแสงศาสตราวุธเป็นอันเสร็จพระราชพิธีราชาภิเษก
พิธีเบื้องปลาย เมือเสร็จพระราชพิธีราชาภิเษกแล้ว จะเสด็จออก ณ มหาสมาคม เพื่อให้เหล่าข้าราชการ และประชาชนได้ถวายพระพรชัยมงคลเนื่องในวโรกาสทรงเข้าพระราชพิธีราชาภิเษก และตั้งแต่รัชกาลที่ 7 เป็นต้นมา ได้มีพระราชพิธีประกาศสถาปนาสมเด็จราชินี นอกจากนั้นเสร็จพระราชดำเนินเพื่อประกาศพระองค์เป็นศาสนูปถัมภกษัตริยาธิราชเจ้า ในมหาราชวัง

เสด็จเยี่ยมราษฎร เมื่อทรงเสร็จพระราชพิธีต่างๆ ที่เกี่ยงข้องแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จพระราชดำเนิน
ให้ราษฎรได้มีโอกาสชมพระบารมี

การจัดพระราชพิธีเฉลิมฉลองวันฉัตรมงคลในอดีต
แต่เดิมเป็นงานพิธีเฉลิมฉลองของเจ้าพนักงานในพระราชฐานที่มีหน้าที่รักษาเครื่องราชชูปโภคและพระทวารประตูวัง
ได้จัดการสมโภชสังเวยเครื่องราชูปโภคที่ตนรักษาทุกปีในหกเดือน ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเจ้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริว่า
ในอารยประเทศย่อมนับถือว่า วันคล้ายวันบรมราชาบรมราชาภิเษกเป็นวันมงคลสมัยควรเฉลิมฉลอง
จึงทรงริเริ่มวันฉัตรมงคลขึ้นแต่เนื่องจากเป็นธรรมเนียมใหม่อธิบายให้ฟังก็ไม่เข้าใจ
เผอิญวันบรมราชาภิเษกไปตรงกับวันสมโภชเครื่องราชูปโภคที่มีแต่เดิม
จึงทรงอธิบายว่า ฉัตรมงคลเป็นวันสมโภชเครื่องราชูปโภคทำให้ไม่มีใครติดใจสงสัย

พระบาทสมเด็จพระจอมเจ้าอยู่หัวได้มีการเฉลิมฉลองโดยนิมนต์พระสงฆ์มาสวดเจริญพุทธมนต์ในวันขึ้น 13 ค่ำเดือน 6
รุ่งขึ้นมีการถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทด้วยเหตุนี้จึงถือว่า
การเฉลิมฉลองพระราชพิธีฉัตรมงคลเริ่มมีในรัชกาลของพระบาลสมเด็จพระจอมเจ้าเจ้าอยู่หัวเป็นครั้งแรก

ในสมัยรัชกาลที่ 5 วันบรมราชาภิเษกตรงกับเดือน 12 จะโปรดเกล้าฯ ให้จัดงานฉัตรมงคลในเดือน 12
ก็ไม่มีผู้ใหญ่ท่านใดยินยอม จึงทรงแก้ไขด้วยการออกพระราชบัญญัติว่าด้วยตราจุลจอมเกล้าสำหรับตระกูลขึ้น
ให้มีพระราชทานตรานี้ตรงตรงกับวันคล้ายบรมราชาภิเษก
ท่านผู้หลักผู้ใหญ่จึงยินยอมให้เลื่อนงานฉัตรมงคลมาตรงกับวันบรมราชาภิเษก
แต่ยังให้รักษาประเพณีสมโภชเครื่องราชูโภคอยู่ตามเดิม รูปงานวันฉัตรมงคลจึงเป็นดังนี้จนถึงปัจจุบัน

การจัดงานวันฉัตรมงคลในปัจจุบัน

ในขั้นตอนการจัดงานวันฉัตรมงคลในปัจจุบัน มักกำหนดให้เป็น 3 วัน คือ วันที่ 3 พฤษภาคม
มีงานบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุประทาน คือ พิธีทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ราชบุพการี
ซึ่งเป็นพิธีสงฆ์ ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ซึ่งในวันนี้ได้เพิ่มพระราชพิธีตรึงหมุดธงชัยเฉลิมพล
ที่จะพระราชทานแก่หน่วยทหารบางหน่วยเข้าไว้ด้วย

ในวันที่ 4 พฤษภาคม เป็นวันเริ่มพระราชพิธีฉัตรมงคล
เจ้าพนักงานจะได้อัญเชิญเครื่องราชกกุธภัณฑ์ขึ้นประดิษฐานบนพระแท่นใต้พระมหาปฎลเศวตฉัตร
พระครูหัวหน้าพราหมณ์อ่านประกาศพระราชพิธีฉัตรมงคล แล้วทรงสดับพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์
ในวันที่ 5 ซึ่งเป็นวันฉัตรมงคล พระบาทสมเด็จเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์
ทรงบูชาเครื่องกกุธภัณฑ์ พราหมณ์เบิกแว่นเวียนเทียนสมโภช พระมหาเศวตฉัตรและราชกกุธภัณฑ์
ตอนเย็นพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าแก่ผู้มีความดีความชอบ
ล้วเสด็จนมัสการพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร
และถวายบังคมรูปสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้าที่ปราสาทพระเทพบิดร เป็นเสร็จพระราชพิธี
ในวันฉัตรมงคลสำนักพระราชวังได้เปิดปราสาทหลายแห่งให้ประชาชนได้เข้าชมและถวายบังคม



งานพระราชพิธีฉัตรมงคล เป็นเครื่องหมายยืนยันว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ได้เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติมาครบรอบปีด้วยดีอีกวาระหนึ่ง และตลอดเวลาที่ผ่านมา
พระองค์ได้ประกอบพระราชกรณียกิจอันเป็นคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติ และปวงชนชาวไทยนับอเนกอนันต์
ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ ประชาชนชาวไทยจึงได้จัดให้มีการเฉลิมฉลอง
เนื่องในวันฉัตรมงคลเป็นประจำทุกปี
และเนื่องในมหามงคลสมัย ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะเสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติครบรอบปี 50 ปีในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ.2539 ทางราชการจัดงานพระราชพิธีกาญจนาภิเษก เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองวาระอันเป็นมงคลยิ่ง





กิจกรรมที่ควรปฏิบัติเนื่องในวันฉัตรมงคล
1. ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือนและสถานที่ราชการ
2. ร่วมทำบุญตักบาตร ประกอบพิธีทางศาสนาถวายเป็นพระราชกุศล
3. น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายพระพรชัยพร้อมเพรียงกัน กล่าวคำถวายอาศิรวาทราชสดุดี ถวายชัยมงคลให้ทรงพระเกษมสำราญ ทรงเจริญพระชนมายุยิ่งยืนนาน เป็นมหามิ่งขวัญแก่พสกนิกรชาวไทยไปชั่วกาลยิ่งยืนนาน
แหล่งอ้างอิง
1. ธนากิต วันสำคัญของไทย. กรุงเทพฯ : ชมรมเด็ก,2541.
2. ธนากิต ประเพณี พิธีมงคล และ วันสำคัญของไทย. กรุงเทพฯ : ชมรมเด็ก,2539.
3. วรนุช อุษณกร. ประวัติวันสำคัญที่ควรรู้จัก. กรุงเทพฯ : โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์,2528.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 05, 2015, 09:50:12 AM โดย jainu » บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Moderator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #44 เมื่อ: มิถุนายน 26, 2015, 11:22:39 AM »


26 มิถุนายน วันสุนทรภู่

ประวัติสุนทรภู่

https://www.youtube....h?v=vO2y06fxKuA



คำมั่นสัญญา

https://www.youtube....h?v=uDYgvn1qYnA





บันทึกการเข้า

finghting!!!
Gold Price today, Gold Trend Price Prediction, ราคาทองคํา, วิเคราะห์ทิศทางทองคํา
   

images by free.in.th
Thanks: ฝากรูป dictionary ---------------------Charts courtesy of Moore Research Center, Inc. For more information on Moore Research products and services click here. --- http://www.mrci.com ---------- ---------------------------------------------รูปกราฟแสดงราคาทองในอดีตปี 1974-1999 ของ Moore Research Center, Inc. แสดงฤดูกาลที่ราคาทองขึ้นสูงสุดและตําสุด เอาแบบคร่าวๆ เส้นนําตาลหรือนําเงินก็ใกล้เคียงกัน เส้นนําตาลเฉลี่ย 15 ปี เส้นนําเงินเฉลี่ย 26 ปี ราคาตําสุดของเส้นนําตาล หรือเฉลี่ย 15 ปี ในเดือน ปลายเดือน เมษ และปลายเดือน สค ต่อต้นเดือน กย[/color] สูงสุดในเดือน กพ กับ พย / ส่วนเฉลี่ย 26 ปี ราคาตําสุด ต้น กค กับ ปลาย สค และราคาสูงสุดในเดือน กพ และ กลางเดือน ตค ----- แค่ดูคร่าวๆ เป็นแนวทาง อย่ายึดมั่นว่าจะต้องเป็นตามนี้ ข้างล่างเป็นกราฟราคานํามัน ตามฤดูกาล จาก Charts courtesy of Moore Research Center, Inc. images by free.in.th
Thanks: ฝากรูป dictionary
 บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5   ขึ้นบน
พิมพ์
กระโดดไป: