jainu
|
|
« ตอบ #45 เมื่อ: มีนาคม 11, 2014, 08:50:14 PM » |
|
70 วิธี การใช้น้ำมันมะพร้าว 100% เพื่อสุขภาพและความงาม 1. ใช้น้ำมันมะพร้าวประกอบการทำอาหาร อบ ทอด ผัด แทนเนย น้ำมันพืช แทนน้ำมันโอลิฟ เนื่องจากจุดเดือดที่กลายเป็นควันสูง 2. ใช้น้ำมันมะพร้าวผสมในกาแฟแทนครีมเทียม เพิ่มพลังงานให้ร่างกายในแต่ละวัน 3. ใช้น้ำมันมะพร้าวเป็นโลชั่นทาผิว หรือเป็นส่วนประกอบโลชั่นที่ทำขึ้นใช้เอง 4. ใช้น้ำมันมะพร้าวเป็นส่วนประกอบ เพื่อความนุ่มและราบเรียบในเครื่องสำอางที่ทำใช้เอง 5. ใช้น้ำมันมะพร้าวเป็นส่วนประกอบในน้ำยาดับกลิ่นที่ทำใช้เอง 6. ใช้น้ำมันมะพร้าวเช็ดเครื่องสำอางที่บริเวณขอบตา 7. ใช้น้ำมันมะพร้าวทำความสะอาดลอยเปื้อนบนผ้าอ้อม เช่น ถูบริเวณที่ผ้าอ้อมสัมผัสก้นเด็ก 8. น้ำมันมะพร้าวเพิ่มแร่ธาตุในยาสีฟันที่ใช้ประจำ 9. น้ำมันมะพร้าวทำให้ผิวดูอ่อนวัยในจุดที่ทาน้ำมันมะพร้าว 10. ทาน้ำมันมะพร้าว ป้องกันท้องลายในระหว่างการตั้งครรภ์ 11. น้ำมันมะพร้าวส่งเสริมการทำงานของต่อมไธลอยด์ 12. น้ำมันมะพร้าวช่วยเพิ่มความทนทานต่อแสงแดดและหลีกเลี่ยงการถูกเผาไหม้จากแสงแดด เทียบได้กับครีมกันแดดระดับ SPF 4 13. น้ำมันมะพร้าวกำจัดเชื้อยีสต์หรือการติดเชื้อจากยีสต์เป็นรายเฉพาะ 14. ใช้น้ำมันมะพร้าวเป็นน้ำมันนวดตัวได้อย่างพอใจในเมืองร้อน 15. น้ำมันมะพร้าวมีกรด ลอริก Lauric acid และ MCFA อยู่มาก ช่วยส่งเสริมการเผาผลาญอาหารได้เป็นอย่างดี 16. หยดน้ำมันมะพร้าวเพียงเล็กน้อยบนฝ่ามือและลูบไล้ผมจะช่วยลดรอยหยิกของเส้นผมได้ 17. น้ำมันมะพร้าวให้ความชุ่มชื้นกับใบหน้าอย่างยาวนานในช่วงเวลากลางคืน 18. ใช้น้ำมันมะพร้าวผสมในสัดส่วนที่เท่ากันกับน้ำตาลสำหรับการขัดถูร่างกาย (ใช้ในห้องน้ำ) 19. ใช้น้ำมันมะพร้าวเป็นลิปสติกธรรมชาติด้วยการทาบนริมฝีปาก 20. น้ำมันมะพร้าวช่วยสมานแผลให้หายเร็วขึ้นจากการบาดเจ็บหรือติดเชื้อ 21. ทาน้ำมันมะพร้าวบนฝีเย็บ (บริเวณระหว่างทวารหนักและอวัยวะสืบพันธ์) ช่วยสมานแผลบนฝีเย็บ หลังคลอด 22. น้ำมันมะพร้าวเป็นตัวปรับสภาพเส้นผมแบบธรรมชาติได้ดีอย่างน่าประหลาดใจ ด้วยการนำน้ำมันมะพร้าวไปลูบผมแห้งแล้ว ใช้หมวกอาบน้ำคลุมผมไว้หลายชั่วโมงก่อนล้างออก 23. ทาน้ำมันมะพร้าวบนฝ่าเท้าเพื่อปัญหารองเท้ากัดเท้า หรือ เชื้อเห็ดราบนยอดเขา 24. ใช้น้ำมันมะพร้าวแทนครีมลาโนรีนในการระงับการระคายเคืองบนหัวนมจากการให้นมเด็ก (ดีกับเด็กด้วย) 25. น้ำมันมะพร้าวช่วยระงับอาการแผลติดเชื้อบนหนังศรีษะหรือบริเวณหูที่มีลักษณะเป็นผื่นแดง หรือ โรคเรื้อนกวาง 26. มีหลักฐานชัดเจนว่า การกลืนน้ำมันมะพร้าวเป็นประจำมีส่วนช่วยป้องกันโรคความจำเสื่อมในวัยชราได้ 27. ใช้น้ำมันมะพร้าวร่วมกับน้ำไซเดอร์แอปเปิ้ล น้ำส้มสายชู ในการรักษา เหา หมัด โลน ไร ได้ดี 28. น้ำมันมะพร้าวเป็นตัวป้องกันแดดได้ดีแบบธรรมชาติ 29. น้ำมันมะพร้าวเป็นอาหารว่างบำรุงสมองสำหรับเด็ก เช่น ขนมที่ทำจากมะพร้าว 30. ลูบน้ำมันมะพร้าวด้านในของจมูก เพื่อช่วยบรรเทาอาการระคายเคือง 31. แม่ที่ให้นมลูกสามารถทานน้ำมันมะพร้าววันละ 3-4 ช้อนโต๊ะ พร้อมวิตตามินดี เพื่อเพิ่มปริมาณนมและสารอาหาร 32. มีบางหลักฐานยืนยันว่า น้ำมันมะพร้าวช่วยระบบย่อยและอาจจะทำลายปรสิตในลำไส้หรือเชื้อยีสต์ 33. ผสมน้ำมันมะพร้าว 1 ช้อนโต๊ะกับสมุนไพรแม็กซิกัน1 ช้อนโต๊ะ เพื่อเพิ่มพลังงาน (ไม่ควรทานตอนกลางคืน) 34. น้ำมันมะพร้าวช่วยระดับเพิ่มอินซูลิน ช่อยดูแลระดับคลอเลสเตอร์รอลในร่างกาย 35. กลั้วปากด้วยน้ำมันมะพร้าวพร้อมผสมหยดเครื่องเทศจะช่วยดูแลสุขภาพเหงือก 36. ผสมน้ำมันมะพร้าว 1 ช้อนโต๊ะกับลงในชาร้อนจะช่วยให้อาการหวัดหายเร็วขึ้น 37. ใช้น้ำมันมะพร้าวผสมโลชั่นทากันแดดที่ทำขึ้นใช้เอง 38. น้ำมันมะพร้าวช่วยลดสภาพเส้นเลือดขอดบนผิวหนัง 39. น้ำมันมะพร้าวช่วยเร่งการรักษาจากแสงแดดเผา 40. เมื่อทานน้ำมันมะพร้าวเข้าไปจะให้พลังงานทันที แต่ไม่สะสมไขมัน ทานเป็นประจำช่วยลดน้ำหนัก ทานเป็นประจำทำให้กระชุ่มกระชวย 41. ใช้น้ำมันมะพร้าวทาหลังโกนหนวด 42. ใช้น้ำมันมะพร้าวเป็นครีมทาผิวธรรมชาติเพื่อป้องกันแบททีเรีย 43. น้ำมันมะพร้าวเป็นสารหล่อลื่นธรรมชาติที่ไม่ระคายเคืองช่องคลอด 44. ใช้น้ำมันมะพร้าวทาหลังโกนหนวด 45. เมื่อใช้น้ำมันมะพร้าวเป็นประจำอย่างต่อเนื่องจะช่วยกำจัดเซลลูไลท์ 46. น้ำมันมะพร้าวมีคุณสมบัติทานความร้อนช่วยลดอาการแผลอักเสบจากความร้อน 47. น้ำมันมะพร้าวลดอาการคันจากยุงกัด ช่วยระงับอาการคันจากอีสุกอีสัยหรือเผื่อนคันพิษ 48. น้ำมันมะพร้าวช่วยแก้ปัญหาสิว เมื่อใช้เป็นประจำ 49. ใช้น้ำมันมะพร้าวถูลงบนหนังศีรษะเพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโตของเส้นผม 50. น้ำมันมะพร้าวช่วยเร่งการรักษาการติดเชื้อในหูของเด็ก 51. โชลมน้ำมันมะพร้าวปลายผมเพื่อลดอาการหยิกงอ 52. เฉพาะหนังที่แวววาว ใช้น้ำมันมะพร้าวปริมาณน้อย ๆ ถูลงบนหนังแท้จะทำให้หนังนิ่มและปรับสภาพหนัง ควรทดลองที่จุดเล็ก ๆ ก่อน 53. ใช้น้ำมันมะพร้าวในการฟอกหนังได้ดี 54. น้ำมันมะพร้าวผสมกับเกลือใช้ขัดผิวที่แตกบนฝ่าเท้า 55. น้ำมันมะพร้าวช่วยในการนอนหลับเมื่อทานเป็นประจำ 56. น้ำมันมะพร้าวช่วยเร่งการรักษาการติดเชื้อจากเห็ดราเมื่อทานและทาเป็นประจำ 57. ผสมน้ำมันมะพร้าว 1 ช้อนโต๊ะกับลงในชาร้อนอุ่น ๆ ช่วยระงับอาการเจ็บคอ 58. มีหลักฐานบางอย่างว่า น้ำมันมะพร้าวช่วยในการดูดซึมแคลเซี่ยมและแม็กนีเซียม 59. มีหลักฐานว่าไขมันในน้ำมันมะพร้าวช่วยในเรื่องปัญหาความเครียดและความดันต่ำ 60. น้ำมันมะพร้าวมีคุณสมบัติดับกลิ่นโดยธรรมชาติ 61. ใช้น้ำมันมะพร้าวร่วมกับผงฟู (Baking Soda) สำหรับเป็นยาสีฟันขัดฟันขาวโดยธรรมชาติ 62. น้ำมันมะพร้าวผสมในน้ำชาขิงอุ่น ๆ ช่วยระงับ อาการเสียวอกหรือคลื่นเหียน 63. ใช้น้ำมันมะพร้าวเป็นโลชั่นธรรมชาติสำหรับเด็ก 64. ใช้น้ำมันมะพร้าวทามือหลังล้างจานเพื่อหลีกเลี่ยงผิวแห้ง ทาถูข้อศอกเป็นประจำจะช่วยบรรเทาข้อศอกแห้งแตกเป็นเกล็ด ทาบนหนังกำพร้าจะช่วยในการงอกของเล็บ 65. น้ำมันมะพร้าวผสมกับสมุนไพรกลิ่นหอม สาระแหน่ ใช้เป็นน้ำมันธรรมชาติป้องกันแมลงสัตว์กัดต่อย 66. น้ำมันมะพร้าวช่วยให้ใบหน้าดูอ่อนเยาว์ 67. ใช้น้ำมันมะพร้าวเป็นประจำช่วยกระตุ้นการสร้างออโมนท์ 68. น้ำมันมะพร้าวช่วยบรรเทาอาการเจ็บจากริดสีดวงทวารในรายบุคคล 69. น้ำมันมะพร้าวช่วยในการไหลเวียนของโลหิตและผู้ที่มักรู้สึกหนาวสั่นบ่อย ๆ 70. ในระหว่างตั้งครรภ์ จะช่วยให้ทารกได้ไขมันที่จำเป็นต่อการเติบโต โดยเฉพาะเมื่อใช้น้ำมันมะพร้าวร่วมกับน้ำมันตับปลา
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
finghting!!!
|
|
|
jainu
|
|
« ตอบ #46 เมื่อ: มีนาคม 11, 2014, 08:54:14 PM » |
|
กระชายดำสด ช่วยให้ เส้นผมแข็งแรง ผมขาวกลับดำ ผมบางกลับหนา มีแคลเซียมสูง ช่วยบำรุงเส้นเอ็นให้แข็งแรง กระดูกไม่เปราะบาง ช่วยบำรุงหัวใจ ระบบกล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรง เต้นสม่ำเสมอ ช่วยให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงหัวใจได้ดีขึ้นช่วยย่อยอาหาร แก้โรคกระเพาะ ขับลม แก้ลมจุกเสียด แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยเจริญอาหาร แก้โรคในช่องปากและคอ แก้โลหิตเป็นพิษ ถอนพิษต่างๆ แก้ปวดมวนในท้อง แก้บิดมูกเลือด ขับปัสสาวะ รักษาริดสีดวงทวาร รักษาแผลในปาก กลาก เกลื้อนบำรุงสมอง เพราะช่วยให้เลือดเลี้ยงสมองส่วนกลางดีขึ้น ถ้ากินคู่กับใบบัวบก จะบำรุงสมองได้โดยตรงต้องกินเป็นประจำเพื่อป้องกันความจำเสื่อม ปรับสมดุลของความดันโลหิตให้พอดี บำรุงตับไตให้แข็งแรง ช่วยให้ไตทำงานได้ดีขึ้น ดูแลระบบมดลูก รังไข่ ดูแลหูรูดกระเพาะปัสสาวะให้แข็งแรง บำรุงฮอร์โมนเพศชาย ทำให้ชายเหนือชาย กระตุ้นประสาท ทำให้กระชุ่มกระชวย บำรุงกำลัง เป็นยาอายุวัฒนะ ชลอความแก่
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
finghting!!!
|
|
|
jainu
|
|
« ตอบ #47 เมื่อ: มีนาคม 11, 2014, 08:57:13 PM » |
|
สมุไพรที่ใช้กับโรคผิวหนัง
1. กลากเกลื้อน ขนานที่ 1 ใช้ใบชุมเห็ดเทศขยี้เอาน้ำทา ให้ทาบ่อย ๆ ถ้ามีปูนแดง ขยี้ผสมลงไปด้วย จะทำให้มีสรรพคุณดี
ขนานที่ 2 ใช้ใบหรือรากทองพันชั่งแห้ง แ่ช่เหล้าพอท่วมยา 7 วัน ใช้ทาบ่อย ๆ
ขนานที่ 3 ใช้กระเทียมฝานเป็นแว่นบาง ๆ ทาวันละ 2-4 ครั้ง (ระวังอย่าขยี้กระเทียมถูทาผิวหนังแรงไป เพราะกระเทียมจะกัดผิวมาก)
ขนานที่ 4 เอาใบน้อยหน่า ตำให้ละเอียดทาบ่อย ๆ หรือวันละ 4-5 ครั้ง
ขนานที่ 5 ใช้ใบชุมเห็ดไทยขยี้ หรือตำผสมน้ำมะนาว วันละ 3-4 ครั้ง
ขนานที่ 6 เอาเหว้าข่าแก่ ๆ ตำให้แหลก ใส่เหล้าพอท่วมยาแช่เหล้าไว้ 1 คืน เอาน้ำยาทาวันละ 3-4 ครั้ง
2.อาการ เคล็ด ขัด ยอก ฟกช้ำ
ขนานที่ 1 เมื่อแรกเป็นใหม่ ๆ ให้เอาน้ำแข็งใส่ถุงพลาสติกประคบ หลังจากเป็นเกิน 1 วัน แล้วใช้น้ำร้อนใส่ถุงพลาสติกประคบ วันละ 2-4 ครั้ง ครั้งหนึ่งนาน 15-30 นาที
ขนานที่ 2 ใช้เหง้าไพล ตำให้แหลกพอก เอาผ้าพันไว้ เปลี่ยนยาวันละ 2-4 ครั้ง
ขนานที่ 3 ใช้หญ้าใต้ใบชนิดแดงทั้งต้น ตำพอกถอนพิษฟกช้ำได้ดี เปลี่ยนยาวันละ 3-4 ครั้ง
ขนานที่ 4 ใช้ใบพลับพลึงลนไฟอ่อน พันตามอวัยวะที่เคล็ด ขัด ยอก บวม แพลง และถอนพิษได้ดี
ขนานที่ 5 ใช้ใบว่านมหากาฬ โขลกพอกที่บวมช้ำ วันละ 2-4 ครั้ง
ขนานที่ 6 ใช้หญ้าแพรกทั้งต้นและราก ตำกับเหล้า คั้นเอาน้ำทา จะทำให้เย็น ถอนพิษเจ็บปวด แก้อักเสบ
ขนานที่ 7 ใช้ยาดำฝนกับเหล้า ให้ข้น ๆ ทาแก้อาการปวดฟกช้ำ ทาวันละ 3-4 ครั้ง
3. ผิวหนังแห้ง เอาน้ำมันมะพร้าว ทาวันละ 2 - 3 ครั้ง
4. ผิวหนังคันจากตัวหนอน หรือใบไม้คัน
ขนานที่ 1 เอาใบตำลึงมาขยี้ให้ช้ำ ทาบ่อย ๆ
ขนานที่ 2 เอาใบผักบุ้ง มาขยี้แล้วถูบริเวณที่คัน
ขนานที่ 3 เอากะปิมาปั้น คลึงตรงที่ถูก ขนใบไม้คัน กะปิจะช่วยดูดขนใบไม้พิษ ด้วย
ขนานที่ 4 เอาขี้ผึ้งลนไฟให้ร้อน คลึงแผลที่ถูกขนหนอนยังไม่เปื่อยชักขนหนอนในแผล
ขนานที่ 5 เอาเปลือกต้นเพกา ฝนด้วยน้ำปูนใส ทาแก้แผลถูกขนหนอน เมื่อเปื่อยแล้ว ทาวันละ 3-4 ครั้ง
ขนานที่ 6 เอาเปลือกต้นมะขาม ฝนกับน้ำปูนใส ทาวันละ 3-4 ครั้ง แก้แผลถูกขนหนอนเมื่อ เปื่อยแล้ว
กลุ่มสมุนไพรนำมาต้มล้างแผล
ขนานที่ 1 ใช้เปลือกต้นมะขาม 1 กำมือ ต้มกับน้ำ 3 แก้ว ให้เดือดนาน 20-30 นาที เอาน้ำมาล้างแผล ช่วยสมานแผลด้วย
ขนานที่ 2 ใช้ต้นผักเบี้ยใหญ่สด 1 กำมือ ตำให้ละเอียดและต้มกับน้ำ 4-5 แก้วให้เดือดนาน 2-3 นาที ตั้งทิ้งไว้ให้พออุ่นนิด ๆ เอาน้ำยาล้างแผล
ขนานที่ 3 ใช้ใบฝรั่ง 1 กำมือ ต้มกับน้ำ 3-4 แก้วให้เดือดนาน 1/2 - 1 ชั่วโมง เอาน้ำยาล้างแผล
ขนานที่ 4 ใช้เปลือกต้นแค 1 กำมือ ใส่ต้มกับน้ำ 3-5 แก้วให้เดือด นาน 30 นาที เอาน้ำยาที่ใช้ชะล้างบาดแผล
5. แก้ผื่นคันหรือตุ่มคัน ยาทา ขนานที่ 1 ใช้ข้าวสุก ตำพอก บรรเทาอาการผื่นคัน และผื่นแสบร้อนที่ผิวหนัง
ขนานที่ 2 เอาดินสอพอง 3 ส่วน ผสมกับพิมเสน 1 ส่วน บดให้ละเอียด ทาผิวหนัง
ขนานที่ 3 ใช้ผงขมิ้นชัน ละลายน้ำทาทุกครั้งที่คัน หรือวันละ 3-4 ครั้ง
ยาอาบ ขนานที่ 1 ให้เอาใบเลี่ยน และเปลือกเลี่ยนรวมกันให้ได้ 1/4 หม้อใหญ่ ๆ เกลือ 1 ถ้วยชา เติมน้ำเต็มหม้อ ต้มอาบ ก่อนอาบให้อาบน้ำฟองสบู่ ให้สะอาดเสียก่อน จึงอาบยานี้ วันละ 1-2 ครั้ง ยาหม้อหนึ่งใช้ต้มอาบได้ ใบเลี่ยน 5-6 ครั้ง อาบแล้วไม่ต้องล้างออก
ขนานที่ 2 ให้เอาต้นเหงือกปลาหมอ ทั้งราก สดหรือแห้งก็ได้ สับเป็นท่อนเล็ก ๆ 1 ขัน ผสมกับน้ำ 3-4 ขัน ต้มให้เดือด 10 นาที ก่อนอาบ ให้อาบน้ำ ฟอกสบู่ให้สะอาดเสียก่อน อาบน้ำยา เมื่อยังอุ่น ๆ อยู่ วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ครั้งละ 3-4 ขัน (อาบแล้ว ไม่ต้องอาบน้ำธรรมดาอีก)
ขนานที่ 3 ใช้ชุมเห็ดเทศ (ดูภาพข้อที่ 1) 3-4 ก้าน ใส่น้ำให้ท่วมยา ต้มให้เดือดนาน 5-10 นาที ใช้น้ำยานี้อาบในขณะอุ่น ๆ วันละ 2 ครั้งเช้า-เย็น (อาบหลังจากอาบน้ำเสร็จแล้ว และไม่ต้องล้างน้ำยาออก) เหงือกปลาหมอ โดย ทางแพทย์สายพุทธ ที่มา : เคล็ดลับสมุนไพร ฉบับเมษายน 2551
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
finghting!!!
|
|
|
jainu
|
|
« ตอบ #48 เมื่อ: มีนาคม 17, 2014, 09:26:04 PM » |
|
ขิง.....มีบันทึกในตำนานมา ๓๐๐๐ ปีแล้ว
ขิง เป็นสมุนไพรที่มีมาตั้งแต่สมัยอดีตกาลนานมาแล้ว โดยปรากฏอยู่ในคัมภีร์อัลกุรอ่านและผลงานเขียนของขงจื๊อ (เมื่อกว่า 3000 ปีมาแล้ว) และขิงก็มีอยู่ในประวัติศาสตร์ของประเทศไทยมายาวนาน
ผลการวิจัยล่าสุดพบว่าผู้หญิงที่มีอายุในช่วง 50-60 ปีที่รับประทานขิงเป็นประจำมีประสิทธิภาพของสมองดีขึ้น "ขิง มีส่วนช่วยให้ neuroprotective function ดีขึ้น" Kathleen McFarlane ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพของออสเตรเลียกล่าว "นั่นก็หมายความว่าขิงมีส่วนช่วยในการลดโอกาสการเป็นโรคอัลไซเมอร์ได้เช่น กัน"
นอกจากนี้การใส่ขิงป่น 100 กรัมลงไปในสลัดหรือผัดผักที่ท่านรับประทานเป็นประจำ ก็เป็นการเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการให้กับอาหารได้อย่างดีเยี่ยมอีกด้วย นอกจากจะช่วยบำรุงสมองแล้ว ขิงยังมีฤทธิ์เป็นยาแก้ปวดได้อีกด้วย ขิงมีประสิทธิภาพในการยับยั้งอาการอักเสบของข้อต่อและกล้ามเนื้อ เปรียบเสมือนยาบรรเทาปวด (Analgesic) "สำหรับการบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ, การรับประทานอาหารที่ประกอบด้วยขิงในส่วนผสมควบคู่กับการรับประทานยา ปฏิชีวนะ ช่วยให้อาการปวดกล้ามเนื้อหายได้ไวขึ้น" Pam Stone ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจากประเทศออสเตรเลียกล่าว
สำหรับประโยชน์ของน้ำขิงก็สามารถช่วยบรรเทาอาการของโรคภูมิแพ้ได้เช่นกัน
การดื่มน้ำขิงอุ่นๆ สามารถช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอ อาการคัดจมูกและบรรเทาอาการหวัดได้ การใส่น้ำมะนาว แล้วน้ำผึ้งผสมกับชาขิงร้อนๆก็มีสรรพคุณเป็นยาที่ดีมากมาย รวมไปถึงอาการปวดท้องจากอาการลำไส้แปรปรวน(IBS)ท้องอืดท้องเฟ้อ"การ ดื่มน้ำขิงอุ่นๆทุกเช้าสามารถช่วยให้ลำไส้ของท่านทำงานได้ดีมากขึ้น" McFarlane กล่าว และการวิจัยของประเทศออสเตรเลียก็ค้นพบอีกว่าขิงช่วยควบคุมระดับน้ำตาลใน เลือด และอาจช่วยต่อต้านโรคเบาหวานได้
ขิง ช่วยให้อินซูลินทำงานได้ดีขึ้น รวมไปถึงการทำงานของช่องท้องและลำไส้ซึ่งมีความสัมพันธ์กับความดันโลหิตและ หัวใจของเรา และอวัยวะเหล่านี้ก็จะทำงานดีขึ้นหากได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์จากขิง
ขิงช่วยป้องกันไม่ให้ bad cholesterol LDL แข็งเป็นแผ่น ซึ่ง bad cholesterol นี้จะส่งผลเสียกับระบบโลหิตภายในร่างกายและเป็นสาเหตุของโรคหัวใจ
"การรับประทานอาหาร หรือเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมจากขิงเป็นประจำ สามารถช่วยบำรุงร่างกายของท่านได้ดีเยี่ยม แต่อย่างไรก็ตามก็ควรอยู่ในปริมาณที่เหมาะสมกับร่างกาย และควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่เป็นดีที่สุด" McFarlane กล่าวทิ้งท้าย
ที่มา ...108health.com
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
finghting!!!
|
|
|
jainu
|
|
« ตอบ #49 เมื่อ: มีนาคม 17, 2014, 09:27:39 PM » |
|
หวานเป็นลม...ขมเป็นยา
มะระ ความขมของมะระนั้นสามารถช่วยให้เราเจริญอาหาร เพราะสารขมที่อยู่ในมะระนั้นจะช่วยกระตุ้นให้น้ำย่อย ออกมามากจึงทำให้รับประทานอาหารได้มากขึ้น ซึ่งเราอาจจะนำมะระไปลวก หรือเผาไฟจิ้ม แล้วนำมาจิ้มกับน้ำพริกก็ได้นะคะ
ต่อมา..ก็คือ คุณสมบัติในการการบำบัดและรักษาโรคเบาหวานระยะเริ่มต้น ด้วยสารอาหารในมะระ ซึ่งทำหน้าที่เพิ่มเบต้าเซลล์ในตับอ่อน โดยการกระตุ้นให้เกิดการสร้างอินซูลิน (ฮอร์โมนควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด) อีกทั้งมะระยังมีเอนไซม์ที่ทำหน้าที่ย่อยน้ำตาลและคาร์โบไฮเดรต สารอาหารจะผสมอยู่ในรูปของโปรตีน ซึ่งสามารถบรรเทาอาการเจ็บป่วยที่เกิดจากโรคตับและโรคเบาหวานได้ มะระยังสามารถแก้โรคตับอักเสบ ปวดหัวเข่า ม้ามอักเสบได้ค่ะ โดยรับประทานมะระดิบเป็นประจำจะช่วยได้ค่ะ
นอกจากนี้มะระยังมีคุณค่าทางอาหารมากมาย เพราะอุดมไปด้วยฟอสฟอรัส แคลเซียม วิตามินซี วิตามินบี1 - บี3, เบต้าแคโรทีน, ไฟเบอร์, ธาตุเหล็ก, โพแทสเซียม, เป็นต้น
เมนูอาหารจากมะระ ได้แก่ ต้มจืดมะระยัดไส้, มะระต้มจับฉ่าย, ผัดมะระหมูสับ, มะระผัดกุ้ง, มะระผัดน้ำมันหอย เป็นต้น หากจะลดความขมของมะระต้องลวกหรือต้มนาน ๆ โดยคลุกเคล้ากับเกลือก่อนที่จะนำไปปรุง หรือต้มน้ำแล้วเทน้ำทิ้ง 1 ครั้ง ก่อนนำมารับประทาน จะช่วยให้กินมะระได้อย่างสบายใจ
ข้อควรระวัง เราทานมะระที่ดิบ ๆ กันได้ แต่ห้ามรับประทานมะระที่มีผลสุกนะค่ะ เพราะอาจทำให้คลื่นไส้ อาเจียนได้ค่ะ เนื่องจากมีสารซาโปนินอยู่มาก ซึ่งสารนี้จะทำให้เป็นพิษต่อร่างกายค่ะ อีกอย่าง อย่าทานมะระมากจนเกินไปนะค่ะ เพราะจะทำให้ท้องเสีย เนื่องจากมีฤทธิ์เป็นยาระบาย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
finghting!!!
|
|
|
jainu
|
|
« ตอบ #50 เมื่อ: มีนาคม 18, 2014, 09:02:57 PM » |
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
finghting!!!
|
|
|
|
jainu
|
|
« ตอบ #52 เมื่อ: มีนาคม 19, 2014, 06:56:02 PM » |
|
สมุนไพรที่มีความโดดเด่นมากที่สุด.......ในการรักษาเบาหวานคือ มะระขี้นก ตำลึง และผักเชียงดา
มะระขี้นก เป็นผักพื้นบ้านของไทย คนไทยทุกภาคนำยอดอ่อนและผลอ่อนมาปรุงเป็นอาหารโดยนำมาลวกเป็นผักจิ้ม อาจจะนำไปผัดหรือแกงร่วมกับผักอื่นแต่นิยมลวกน้ำและเทน้ำทิ้งก่อนเพื่อลดความขม มีวิตามินเอและซีสูง ในส่วนของจีน พม่า อินเดีย แอฟริกาและอเมริกาใต้ก็กินเป็นผักเช่นเดียวกัน โดยอินเดียจะปรุงเป็นแกง ศรีลังกานำไปปรุงเป็นผักดอง อินโดนีเซียกินเป็นผักสด
การใช้ประโยชน์ทางยา มีการนำมาใช้รักษาโรคเบาหวาน พบในตำรับยาพื้นบ้านของทางอินเดียและศรีลังกา ซึ่งแพทย์แผนปัจจุบันในประเทศอินเดีย แพทย์แผนเดิมของพม่าและแพทย์จีน มีการสั่งจ่ายมะระขี้นกเป็นสมุนไพรเดี่ยวให้กับผู้ป่วยเบาหวาน
รายงานการศึกษาวิจัย สรรพคุณลดน้ำตาลในเลือด มีรายงานการศึกษาที่ประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และอินเดีย พบฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดในสัตว์ทดลอง และผู้ป่วยเบาหวาน และสามารถชะลอการเกิดต้อกระจกซึ่งเป็นอาการแทรกซ้อนของโรคเบาหวานได้
จากผลการวิจัยสรุปว่ามะระมีกลไกการออกฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดได้หลายวิธี คือ ออกฤทธิ์คล้ายอินซูลิน ออกฤทธิ์เกี่ยวกับการหลั่งอินซูลินจากตับอ่อน ออกฤทธิ์ยับยั้งการสังเคราะห์กลูโคส และเพิ่มการใช้กลูโคสในตับ องค์ประกอบทางเคมีที่มีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดคือ อินซูลิน คาแรนทิน (charantin) และไวซีน (vicine)
ส่วนการทดลองทางคลินิกมีรายงานว่าน้ำคั้นจากมะระขี้นก ๕๐ มิลลิลิตร และ ๑๐๐ มิลลิลิตร เพิ่มความทนต่อน้ำตาลของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ ๒ ได้ และยังพบเช่นเดิมในผู้ที่กินผลมะระแห้ง ๐.๒๓ กิโลกรัมต่อวันเป็นเวลา ๘-๑๑ สัปดาห์ และกินผงมะระขี้นกแห้ง ๕๐ มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว ๑ กิโลกรัม เป็นเวลา ๗ วัน
ความเป็นพิษ การศึกษาด้านพิษวิทยาและความปลอดภัยของมะระขี้นก พบว่าเมล็ดมีสารโมมอร์คาริน (momorcharin) ประกอบที่เป็นพิษต่อระบบสืบพันธุ์ในสัตว์ทดลองคือ สารดังกล่าวมีฤทธิ์ทำให้แท้งในหนูถีบจักร ไม่มีพิษต่อเซลล์ แต่มีผลกระทบต่อเซลล์ของตัวอ่อนในระยะสร้างอวัยวะ ทำให้ส่วนหัว ลำตัว และขามีรูปร่างผิดปกติ แต่เมล็ดก็สามารถแยกส่วนออกไปได้ง่าย ดังนั้น จึงน่าจะมีความปลอดภัยในการนำมาใช้พอสมควร ตัวอย่างตำรับยาเบาหวาน ตำรับยา ๑ : น้ำคั้นสด นำผลมะระขี้นกสด ๘-๑๐ ผล นำเมล็ดในออก ใส่น้ำลงไปเล็กน้อย ปั่นให้ละเอียด กรองกากออกจะได้น้ำดื่มประมาณ ๑๐๐ มิลลิลิตร (หรือกินทั้งกากก็ได้) กินทุกวันติดต่อกัน แบ่งกินวันละ ๓ เวลา ตำรับยา ๒ : ทำเป็นชา นำเนื้อมะระผลเล็ก (มีตัวยามาก) ผ่านำเมล็ดออก หั่นเนื้อมะระเป็นชิ้นเล็กๆ ตากแดดให้แห้ง แล้วนำมาชงกับน้ำเดือด (มะระ ๑-๒ ชิ้น น้ำ ๑ ถ้วย) ดื่มเป็นน้ำชา ครั้งละ ๒ ถ้วย วันละ ๓ เวลา หรือจะต้มน้ำดื่มก็ได้ หรือใส่กระติกน้ำร้อนต้มดื่มเป็นกระติกปริมาณมากก็สะดวกดื่มไปเรื่อยๆ แทนน้ำเป็นเวลาประมาณ ๓ สัปดาห์ ไม่เกิน ๑ เดือนก็เห็นผลให้ ตำรับยา ๓ : ทำเป็นแคปซูลหรือลูกกลอน กินมะระขี้นก ๕๐๐-๑,๐๐๐ มิลลิกรัม วันละ ๑-๒ ครั้ง ข้อควรระวังคือ คนท้อง เด็กและคนที่มีน้ำตาลในเลือดต่ำไม่ควรกิน
ผักตำลึง ยาเบาหวาน คลานตามรั้ว ตำลึงเป็นผักที่นิยมนำยอดมาลวกหรือนึ่ง เป็นผักจิ้มน้ำพริก หรือนำยอดอ่อน ใบอ่อนมาปรุงเป็นอาหารได้หลากหลาย เช่น แกงจืด แกงเลียง ใส่ก๋วยเตี๋ยว ผัดน้ำมัน ใส่ในแกงแค แกงปลาแห้ง ผลอ่อนนำมานึ่งกิน ดองกินกับน้ำพริกได้ ผลอ่อนที่ก้านดอกเริ่มจะหลุดกินสดได้กรอบอร่อย ไม่ขม เป็นยาบำรุงสุขภาพ รักษาปากเป็นแผล ผลอ่อนที่ยังหนุ่มๆ อยู่จะมีรสขมต้องคั้นน้ำเกลือให้หายขมก่อนนำมาแกง ส่วนผลสุกคนกินได้ สัตว์ก็ชอบกิน
นอกจากนี้ ตำลึงยังเป็นผักที่ใช้แทนผงชูรสได้ โดยนำใบทั้งแก่ทั้งอ่อนประมาณกำมือใส่ต้มไก่ ต้มปลา ต้มเป็ด จะมีรสชาติออกมาหวานนัวเหมือนกับใส่ผงชูรส
ตำลึงมีวิตามินเอสูงเหมาะกับผู้ป่วยที่มีอาการตามัวจากการขาดวิตามินเอ และเหมาะกับคนผิวแห้งไม่มีน้ำมีนวล เพราะนอกจากจะมีวิตามินเอสูงแล้วยังมีวิตามินบี ๓ ช่วยบำรุงผิวหนังได้เป็นอย่างดี ตำลึงเป็นผักที่อุดมด้วยวิตามินและแร่ธาตุ มากคุณค่าทางโภชนาการ ให้แคลเซียมสูงน้องๆ นม การกินผักตำลึงเป็นประจำจะช่วยให้ร่างกายแข็งแรง กระดูกแข็งแรง
การใช้ประโยชน์ทางยา ตำลึงเป็นสมุนไพรที่นิยมใช้รักษาโรคผิวหนังพวกผื่นแพ้ ตำแย หมามุ่ย หนอนคัน บุ้ง หอยคัน มดคันไป ผื่นคันจากน้ำเสีย ผื่นคันจากละอองข้าว ผื่นคันชนิดที่ไม่รู้สาเหตุ เริม งูสวัด สุกใส หิด สิว ฝีหนอง เป็นต้น ส่วนการกินตำลึงจะช่วยระบายท้อง ลดการอึดอัดท้องหลังกินอาหารเนื่องจากมีสารช่วยย่อยแป้ง และช่วยแก้ร้อนใน เป็นต้น ที่สำคัญคือตำลึงเป็นยาพื้นบ้านใช้รักษาเบาหวาน ทั้งราก เถา ใบ ใช้ได้หมด มีสูตรตำรับหลากหลาย และในตำราอายุรเวทก็มีการใช้เป็นยารักษาเบาหวานมานานนับพันปี ชาวเบงกอลในอินเดียใช้ตำลึงเป็นยาประจำวันสำหรับแก้โรคเบาหวาน
รายงานการศึกษาวิจัย
สำหรับการรักษาเบาหวานด้วยตำลึงนั้น ปัจจุบันมีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับตำลึงจำนวนมากและเป็นสมุนไพรที่น่าเชื่อถือได้มากที่สุดตัวหนึ่ง จากการทบทวนผลการศึกษาวิจัยอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับสรรพคุณของสมุนไพรลดน้ำตาลในเลือดของทีมนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด พบว่าตำลึงและโสมมีหลักฐานสนับสนุนประสิทธิผลการลดน้ำตาลดีที่สุด ตำลึงแสดงผลการลดน้ำตาลทั้งในคนและสัตว์ทดลอง
สรรพคุณของตำลึงที่ช่วยลดน้ำตาล คือ ใบ ราก ผล มีการศึกษาพบว่าการกินตำลึงวันละ ๕๐ กรัม (ครึ่งขีด) ทุกวันสามารถรักษาระดับน้ำตาลให้คงที่ได้ ข้อดีของตำลึงคือปลูกง่าย หาง่ายและราคาถูกกว่าโสมมากโดยเฉพาะในบ้านเรา ตัวอย่างตำรับยาเบาหวาน ตำรับ ๑ : นำรากผักตำลึง รากผักหวานป่า รากฟักข้าว รากกุ่มน้ำ รากุ่มบก ต้มกินติดต่อกันไปเรื่อยๆ ตำรับ ๒ : ข้อรากผักตำลึงฝนกับน้ำดื่ม หรือใช้เถาผักตำลึงสับเป็นท่อนๆ ยาว ๒-๓ นิ้ว จำนวน ๑ กำมือ ใส่น้ำพอท่วม ต้มนาน ๑๕-๒๐ นาที นำมาดื่มเช้า-เย็น ติดต่อกันอย่างน้อย ๗-๑๐ วัน ช่วยลดน้ำตาลในเลือด หรืออาจใช้ส่วนของต้น ใบ และราก ต้มรวมกันแทนเถาอย่างเดียวก็ได้ ตำรับ ๓ : นำยอดตำลึง ๑ กำมือหรือขนาดที่กินพออิ่มโรยเกลือหรือเหยาะน้ำปลา (เพื่อให้อร่อยพอกินได้) ห่อด้วยใบตอง นำไปเผาไฟให้สุกแล้วกินให้หมด หรือกินจนอิ่ม กินก่อนนอนติดต่อกัน ๓ เดือน
ผักเชียงดา เกิดมาฆ่าน้ำตาล ยอดอ่อนและใบอ่อนของผักเชียงดา นำมากินเป็นผัก มีรสขมอ่อนๆ และมีสารต้านอนุมูลอิสระสูงมาก
ผักเชียงดานิยมนำมาปรุงอาหารรวมกับผักอื่นๆ เช่น ใช้อุ๊บรวมกับผักอื่น ผสมในแกงแค แกงเขียว แกงเลียง ต้มเลือดหมู ผัดรวมกับมะเขือ ไม่นิยมนำมาแกงหรือผัดเฉพาะผักเชียงดาอย่างเดียวเพราะรสชาติจะออกขมเฝื่อน (แต่ก็มีบางคนชอบ)
การใช้ประโยชน์ทางยา ผักเชียงดาเป็นผักที่หมอยาพื้นบ้านใช้เป็นผักเพิ่มกำลังในการทำงานหนักและใช้เป็นยารักษาเบาหวานเช่นเดียวกับอินเดียและประเทศแถบเอเชียมานานกว่า ๒ พันปีแล้ว
ผักเชียงดาสามารถนำไปใช้ลดน้ำหนัก เพราะว่าผักเชียงดาช่วยให้มีการนำน้ำตาลไปเผาผลาญมากกว่าการนำไปสร้างเป็นไขมันสะสมอยู่ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย และพบมีรายงานการศึกษาว่าผักเชียงดาสามารถช่วยลดน้ำหนักได้จริง
แคปซูลผักเชียงดายังมีวางขายในร้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ในรูปแบบผงแห้งที่มีการควบคุมมาตรฐานของกรดไกนีมิก (gynemic acid) ต้องมีไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๒๕ คือ ๑ แคปซูลส่วนใหญ่จะมีผงยาของเชียงดาอยู่ ๕๐๐ มิลลิกรัม
การศึกษาในคนพบว่าใช้สารออกฤทธิ์ประมาณ ๔๐๐-๖๐๐ มิลลิกรัมต่อวัน หรือประมาณ ๘-๑๒ กรัมของผงแห้งต่อวันโดยกินครั้ง ๔ กรัม วันละ ๒-๓ ครั้งก่อนอาหาร
รายงานการศึกษาวิจัย
นักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่าผักเชียงดามีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๖๙ และปี พ.ศ.๒๕๒๔ มีการยืนยันผลการลดน้ำตาลในเลือดและเพิ่มปริมาณอินซูลินในสัตว์ทดลองและในคนที่เป็นอาสาสมัครที่แข็งแรง พบว่าผักเชียงดาไปฟื้นฟูบีตาเซลล์ของตับอ่อน (อวัยวะที่สร้างอินซูลิน) ทำให้ผักเชียงดาสามารถช่วยคุมน้ำตาลได้ในคนเป็นเบาหวานทั้งชนิดที่ ๑ และชนิดที่ ๒
นอกจากนี้ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๓ เป็นต้นมามีการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์ที่ค้นพบประสิทธิภาพ กลไกออกฤทธิ์ ในการลดน้ำตาลในเลือดและมีการศึกษาความเป็นพิษอย่างมากมาย ยกตัวอย่างเช่น การศึกษาที่มหาวิทยาลัยมาดราส ประเทศอินเดียโดยศึกษาผลของผักเชียงดาในหนูด้วยการให้สารพิษที่ทำลายบีตาเซลล์ในตับอ่อนของหนู พบว่าหนูที่ได้รับผักเชียงดา (ทั้งในรูปของผงแห้งและสารสกัด) มีระดับน้ำตาลในเลือดกลับมาเป็นปกติภายใน ๒๐-๖๐ วัน ระดับอินซูลินกลับมาเป็นปกติ และจำนวนของบีตาเซลล์เพิ่มขึ้น
ในปีเดียวกันนี้ มีการศึกษาผลของผักเชียงดาในผู้ป่วยโรคเบาหวานพบว่าผักเชียงดาสามารถลดการใช้ยารักษาเบาหวานแผนปัจจุบัน และบางรายสามารถเลิกใช้ยาแผนปัจจุบันโดยใช้แต่ผักเชียงดาอย่างเดียวสำหรับการคุมระดับน้ำตาลในเลือด
จากการศึกษานี้ ยังพบว่าปริมาณของระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสม (hemoglobin A1c) ลดลง (ปริมาณสารตัวนี้แสดงให้เห็นว่าการกินผักเชียงดาทำให้ระดับของน้ำตาลในเลือดในช่วง ๒-๔ เดือนที่ผ่านมามีความสม่ำเสมอ ถ้าลดลงแสดงว่าคุมระดับน้ำตาลได้ดี ซึ่งเป็นการลดโอกาสที่จะเกิดโรคแทรกซ้อน เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด จากการป่วยเป็นโรคเบาหวาน) และปริมาณอินซูลินเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับการรักษาเบาหวาน นอกจากปริมาณอินซูลินจะไม่เพิ่มขึ้นแล้วปริมาณของระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมยังเพิ่มขึ้นอีกด้วย
นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาพบว่าสารสกัดผักเชียงดาสามารถลดปริมาณการใช้อินซูลินได้ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ต้องพึ่งอินซูลินได้อีกด้วย ในปี พ.ศ.๒๕๔๐ นักวิทยาศาสตร์ญี่ปุ่นได้ค้นพบว่าผักเชียงดาสามารถยับยั้งการดูดซึมของน้ำตาลจากลำไส้เล็ก
ปี พ.ศ.๒๕๔๔ นักวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัย Nippon Veterinary and Animal Science University ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่นได้ตีพิมพ์ผลงานวิเคราะห์สารบริสุทธิ์ (pure compound) ที่เป็นตัวออกฤทธิ์ในการลดน้ำตาลจากใบของผักเชียงดาโดยใช้วิธีเทียบเคียงสูตรโครงสร้างของสารออกฤทธิ์ตามธรรมชาติด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ด้วยเทคนิคที่เรียกว่า Structure-activity relationship (SAR) และได้ออกแบบสูตรโครงสร้างของสาระสำคัญ ๔ ตัว (GIA-1, GiA-2, GIA-5, และ GIA-7) ซึ่งพิสูจน์ฤทธิ์ในหนูทดลองแล้วว่าสามารถลดระดับน้ำตาลได้ จึงทำการสังเคราะห์สารสำคัญดังกล่าวขึ้นมา วิธีการนี้ได้สารออกฤทธิ์ที่แม่นยำและมีปริมาณสูง ช่วยลดปริมาณความต้องการใช้สารออกฤทธิ์ตามธรรมชาติจากใบของผักเชียงดาอย่างมาก
ปี พ.ศ.๒๕๔๖ นักวิทยาศาสตร์รายงานถึงผลของสารสกัดผักเชียงดาในหนูซึ่งนอกจากจะพบฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดและเพิ่มปริมาณอินซูลินแล้ว ยังลดปริมาณของอนุมูลอิสระในกระแสเลือดของหนูที่เป็นเบาหวานได้อีกด้วย ทั้งยังเพิ่มปริมาณของสารกลูตาไทโอน วิตามินซี วิตามินอี ในกระแสเลือดของหนูได้อีกด้วย และยังพบอีกว่าสารสกัดผักเชียงดามีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดสูงกว่ายาแผนปัจจุบันที่ใช้รักษาเบาหวานที่มีชื่อว่า ไกลเบนคลาไมด์ (glibenclamide)
นักวิทยาศาสตร์ได้มีการศึกษาความเป็นพิษของผักเชียงดาไม่พบความเป็นพิษแต่อย่างใด ผักเชียงดาไม่ได้ลดน้ำตาลในเลือดในคน และถ้าใช้แต่ผักเชียงดาอย่างเดียวไม่ได้ทำให้น้ำตาลในเลือดต่ำแต่อย่างใดยกเว้นการใช้ร่วมกับยาแผนปัจจุบันที่ใช้ลดน้ำตาล
ตำรับยาแก้ไข้ แก้เบาหวาน ใช้ราก เถา หรือใบ ตากแห้ง บด ชงเป็นชาดื่ม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
finghting!!!
|
|
|
|
jainu
|
|
« ตอบ #54 เมื่อ: มีนาคม 30, 2014, 08:25:39 PM » |
|
หลักการทำงานของม้าม (วักกัง)
วักกัง ม้าม คือก้อนเนื้อ มีสีแดงคล้ำ ๒ ก้อน มีขั้วอันเดียวกัน เหมือนกับผลมะม่วง ๒ ผลมีขั้วอันเดียวกันฉะนั้น อยู่ข้างซ้ายเคียงกับหัวใจ
ม้าม ทางการแพทย์จีนยังคงเป็นอีกอวัยวะหนึ่งที่ให้ความหมายแตกต่างจากการแพทย์ตะวันตก โดยให้ความหมายถึงอวัยวะที่มีหน้าที่ย่อยอาหาร เก็บอาหาร ส่งอาหารที่ดี แล้วยังมีหน้าที่ถ่ายเทพลังออก.
พลังของม้าม จะทำการส่งของใส(อากาศดี+อาหารดี) ให้เดินขึ้นสู่เบื้องบน(ผีจู่หวิ้นฮั้ว) ตำแหน่งของม้ามจะอยู่ติดกับกระเพาะอาหารมื่ออาหารถูกนำเข้าถึงกระเพาะโดยจะต้องผ่านม้ามเพื่อทำการย่อยสารอาหาร และกระจายสารอาหารไปทั่วร่างกาย3
หากม้ามเกิดภาวะบกพร่องอ่อนแอ แปลว่า ม้ามไม่สามารถเอาของไม่ดีออกจากร่างกายได้ หรือไม่สามารถกระจายสารอาหารดีๆส่งไปในร่างกายได้อย่างทั่วถึง ในสภาวะที่ควรจะเป็น อาการที่พบคือ ท้องเสียไม่มีแรง กินข้าวได้น้อยถึงขั้นผอมและเบื่ออาหาร ถ่ายเป็นของเหลว หรือทางตรงกันข้ามคือกินมากไม่ยอมอ้วนไม่เกิดเนื้อ หรือกินน้อยๆแต่อ้วนเร็ว ท้องแน่นท้องแข็ง อาการแบบนี้ระบบย่อยจะไม่ปกติ ต้องบำรุงม้าม เพื่อให้ม้ามแข็งแรง สิ่งที่สังเกตได้ชัดว่าม้ามปกติหรือไม่ก็คือการตรวจอุจจาระ
ม้ามยังมีหน้าที่นำของเหลวส่งไปถึงปอด โดยอาศัยปอดเป็นตัวกระจายของเหลว หากปอดกระจายของเหลวไม่ดี จะกลายเป็นเสมหะ ดังที่กล่าวไว้ในเรื่องปอด หากพลังของม้ามไม่พอไม่สามารถส่งของเหลวไปให้ปอดได้ ลักษณะที่พบคือตัวจะบวม แปลว่าน้ำมาก กระจายออกไม่ได้ หากอยู่บนลำคอ ก็จะกลายเป็นเสมหะ หากค้างอยู่ช่องท้อง ก็จะทำให้ท้องเสีย หากไปค้างอยู่ที่ขา ขาก็จะบวม แบบนี้ก็มาบำรุงให้ม้ามให้มีพลัง ของเหลวจะได้ไม่ถูกกักไว้ที่อวัยวะต่างๆ
ม้ามยังเกี่ยวกับเลือดส่งให้เห็นเป็นชีพจร ชีพจรต้องอาศัยพลังของน้ำมาควบคุม หากพลังม้ามอ่อนแอ ไม่สามารถควบคุมเรื่องเลือดได้ เลือดก็จะออกง่าย ถ่ายเป็นเลือด. ประจำเดือนออกมาก ตกเลือด อาการที่เห็นชัดจากภายนอกคือ ผิวหนังแห้ง หรือถูกกระแทกนิดหน่อยอาอาการ เขียว ช้ำง่ายเกินไป วิธีแก้เบื้องต้นคือการบำรุงด้วยโสมเกาหลี
ม้ามยังเกี่ยวกับกล้ามเนื้อ มือและเท้า ถ้าม้ามแข็งแรง กล้ามเนื้อจะมีพลัง มีเนื้อเต็ม กล้ามเนื้อหากไม่แข็งแรง มือเท้าไม่มีแรง กล้ามเนื้อตัวนิ่มๆ แสดงว่าม้ามมีปัญหา.
ม้าม มีทวารคือ ริมฝีปากกับปาก หากม้ามแข็งแรง จะทำให้กินอาหารเก่ง กินอะไรก็อร่อย ริมฝีปากมีสีสัน หากม้ามอ่อนแอ ระบบย่อยก็จะไม่ดี ออกอาการเบื่ออาหาร กินอะไรก็ไม่อร่อย หากทุกคนกินอร่อยแต่ตัวเองกินไม่อร่อยบ่อยๆ หลายๆครั้ง แสดงว่ารสชาติของการรับรู้เริ่มมีปัญหา ส่งออกมาทางลิ้น ทำให้ริมฝีปากซีด
ธรรมชาติของพลังในกระเพาะอาหารเป็นหยาง จะชอบลักษณะที่ชุ่ม ไม่ชอบแห้งๆ กระเพาะร้อน กระเพาะมีไฟ จะทำให้ปากแห้ง ชอบกินน้ำ ไม่หิว ไม่มีน้ำลาย หากเปรียบถึงม้ามคือภายนอก กระเพาะก็คือภายใน พลังของกระเพาะจึงต้องลงข้างล่าง หากขึ้นข้างบนอาการ ก็จะท้องอืด ลมขึ้น และพลังของม้ามต้องขึ้นสู่เบื้องบน หากพลังลงล่างจะส่งผลกับระบบย่อยอาหาร และระบบขับถ่าย ดังที่กล่าวมาตอนต้น
http://www.siamfengshui.com/
โดย... บ้านต้นยาแพทย์แผนไทย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
finghting!!!
|
|
|
jainu
|
|
« ตอบ #55 เมื่อ: มีนาคม 30, 2014, 08:27:07 PM » |
|
กัลปพฤกษ์.... ต้นไม้สารพัดนึก เนื้อในฝัก รสหวานเอียนขม ระบายอุจจาระธาตุ แก้พรรดึกไม่ไซร้ท้อง ระบายท้องเด็กได้ดีมาก (ฤทธิ์อ่อนกว่าเนื้อฝักคูน)
จากข้อมูลในพจนานุกรมศัพท์ศิลปกรรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ได้พูดถึงเรื่องกัลปพฤกษ์ไว้ว่า “ตามคติโบราณเชื่อกันว่า ต้นกัลปพฤกษ์มีอยู่ในแดนสวรรค์ หากผู้ใดปรารถนาสิ่งใด ก็อาจจะไปนึกเอาจากต้นไม้นี้ได้" ดังนั้น สมัยโบราณจึงได้มีการทำรูปแบบจำลองต้นกัลปพฤกษ์ต้นไม้สารพัดนึกขึ้น โดยเกี่ยวเนื่องกับงานที่เป็นพิธีหลวง ต่อมาในระยะหลังๆ ก็ยังจัดทำต้นกัลปพฤกษ์จำลองขึ้นอีก ตามงานเทศกาลรื่นเริง เช่น ปีใหม่ ก็จะนำสลากของขวัญไปติดไว้ที่ต้นกัลปพฤกษ์ ให้ผู้ร่วมงานได้สอยกัลปพฤกษ์รับของขวัญกันเป็นที่สนุกสนาน
สำหรับปัจจุบัน ต้นไม้ที่เรียกกันว่า
กัลปพฤกษ์ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cassia bakeriana Craib อยู่ในวงศ์ Leguminosae
มีชื่อพื้นเมืองที่เรียกกันต่างไปในแต่ละท้องถิ่นของไทย คือ กัลปพฤกษ์ (ภาคกลาง, ภาคเหนือ), กานล์ (เขมร-สุรินทร์) เป็นต้น
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ผลัดใบ สูงราว 12-15 เมตร เรือนยอดแผ่กว้าง เปลือกสีเทา ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ปลายคู่เรียงสลับมีขนนุ่มปกคลุมทั้งสองด้าน และจะทิ้งใบหมดยามออกดอกระหว่างเดือนมกราคม-เมษายน เป็นไม้ขนาดเล็กที่มีดอกดกมาก ออกเป็นพวงห้อยลง หรือเป็นช่อตั้งขึ้นตามกิ่งหรือซอกใบ ดอกมี 5 กลีบมีเกสรตัวผู้สีเหลืองอยู่ตรงกลาง ออกดอกสะพรั่งทั่วทุกกิ่งก้าน แลดูสวยงามไปทั้งต้น มีกลิ่นหอม ยามแรกบานเป็นสีชมพูอ่อนสดใสและค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีขาว ไปเรื่อยๆ จนใกล้ร่วงโรย ส่วนผลเป็นฝักกลม สีน้ำตาลดำ ยาวประมาณ 20-30 ซม. ภายในมีเมล็ดแบนๆ กลมรีสีน้ำตาลเป็นมันเรียงตัวอยู่ราว 30-40 เมล็ด เนื่องจากกัลปพฤกษ์มีดอกดกสวยงาม จึงมักปลูกเป็นไม้ประดับตามอาคารบ้านเรือนและถนนหนทางต่างๆ
การใช้ประโยชน์ด้านสมุนไพร - เปลือกฝัก เมล็ด รสขมเอียน ทำให้อาเจียน ถ่ายพิษไข้ - เนื้อในฝัก รสหวานเอียนขม ระบายอุจจาระธาตุ แก้พรรดึกไม่ไซร้ท้อง ระบายท้องเด็กได้ดีมาก (ฤทธิ์อ่อนกว่าเนื้อฝักคูน)
ปัจจุบัน ต้นกัลปพฤกษ์เป็นพันธุ์ไม้พระราชทานประจำจังหวัดขอนแก่น
คนไทยโบราณเชื่อว่าบ้านใดปลูกต้นกัลปพฤกษ์ไว้ประจำบ้านจะช่วยทำให้เกิดความประสบผลสำเร็จในชีวิตเพราะต้นกัลปพฤกษ์ เป็นต้นไม้ที่เป็นสัญลักษณ์แห่งความชัยชนะ และความอิสระแห่งผล นอกจากนี้ยังเชื่ออีกว่าต้นกัลปพฤกษ์เป็นต้นไม้ของเทพเจ้า เพราะต้นกัลปพฤกษ์เป็นต้นไม้ที่ศักดิ์สิทธิ์ไม้ทิพย์มีคุณวิเศษตามตำนานพระพุทธเจ้าในสมัยโบราณ
ดังนั้นต้นกัลปพฤกษ์จึงเป็นไม้มงคลนาม เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัยควรปลูกต้นกัลปพฤกษ์ไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ผู้ปลูกควรปลูกในวันเสาร์เพราะโบราณเชื่อว่าการปลูกไม้มีคุณทั่วไปให้ปลูกในวันเสาร์ถ้าจะให้เป็นมงคลยิ่งขึ้นผู้ปลูกควรเป็นผู้ใหญ่ที่ควรเคารพนับถือและเป็นผู้ประกอบคุณงามความดี ก็จะเป็นสิริมงคลยิ่งนัก
http://www.pompernpong.net/ http://www.oknation.net/ http://www.thaikasetsart.com/
โดย... บ้านต้นยาแพทย์แผนไทย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
finghting!!!
|
|
|
jainu
|
|
« ตอบ #56 เมื่อ: มีนาคม 30, 2014, 08:28:26 PM » |
|
ราชพฤกษ์ หรือ คูน .... เนื้อในฝัก เป็นยาระบาย ช่วยบรรเทาการแน่นหน้าอก แก้ขัดข้อ
ไม้ราชพฤกษ์ หมายถึง ความเป็นใหญ่และมีอำนาจวาสนา (อังกฤษ: Golden shower; ชื่อวิทยาศาสตร์: Cassia fistula) เป็นไม้ดอกในตระกูล Fabaceae
เป็นพืชพื้นเมืองของเอเชียใต้ ตั้งแต่ทางตอนใต้ของปากีสถาน ไปจนถึงอินเดีย พม่า และศรีลังกา
ดอกราชพฤกษ์เป็นดอกไม้ประจำชาติไทย
นิยมปลูกเป็นไม้ประดับในพื้นที่เขตร้อนและกึ่งเขตร้อน เจริญเติบโตได้ดีที่สุดในที่โล่งแจ้ง สามารถปลูกได้ทั้งดินร่วนซุย ดินร่วนปนทราย ดินร่วนเหนียว ทนต่อความแห้งแล้งและดินเค็มได้ดี แต่ไม่ทนในอากาศหนาวจัด ซึ่งอาจติดเชื้อราหรือโรคใบจุดได้
ราชพฤกษ์เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีความสูง 10-20 เมตร ดอกขึ้นเป็นช่อยาว 20-40 เซนติเมตร
แต่ละดอกมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 4-7 เซนติเมตร มีกลีบดอกสีเหลืองขนาดเท่ากัน 5 กลีบ
ผลยาว 30-62 เซนติเมตร และกว้าง 1.5-2.5 เซนติเมตร มีกลิ่นฉุน และมีเมล็ดที่มีพิษเป็นจำนวนมาก
ชื่อของราชพฤกษ์นั้นมีการเรียกแตกต่างกันออกไปในแต่ละท้องถิ่น ซึ่งส่วนใหญ่จะเรียกราชพฤกษ์ว่า คูน
เนื่องจากจำง่ายกว่า (แต่มักจะเขียนผิดเป็น คูณ) ทางภาคเหนือเรียกว่า ลมแล้ง
ทางภาคใต้เรียกว่า ราชพฤกษ์ ลักเกลือ หรือ ลักเคย ชาวกะเหรี่ยงและในกาญจนบุรีเรียกว่า กุเพยะ
ในช่วงแรกๆต้นราชพฤกษ์จะเจริญเติบโตได้ช้าในระยะเวลาประมาณ 1-3 ปีแรก หลังจากนั้นต้นราชพฤกษ์จะเจริญเติบโตเร็วขึ้น
เปลือกจะเป็นสีน้ำตาลเรียบ มีรากแก้วยาวสีเหลือง และ มีรากแขนงเป็นจำนวนมาก
เมื่อต้นราพฤกษ์มีอายุ 4-5 ปี จึงออกดอกและเมล็ด
ออกดอก กุมภาพันธ์ - พฤษภาคม ทิ้งใบก่อนออกดอก
ขยายพันธุ์ โดยเมล็ด วิธีการเตรียมเมล็ดก่อนเพาะ นำเมล็ดมาตัดหรือทำให้เกิด บาดแผลที่ปลายเมล็ดแล้ว แช่น้ำไว้ 12 ชั่วโมง หรือแช่กรดซัลฟูริคเข้มข้น 1.84 ประมาณ 15 นาที แล้วล้างน้ำให้สะอาด แช่น้ำทิ้งไว้ 12 ชั่วโมง วิธีนี้สะดวกแต่อันตราย และอีกวิธีหนึ่งคือ ต้มน้ำให้เดือดแล้วเทลงในเมล็ด ทิ้งไว้ข้ามคืน ทั้ง 2 วิธีนี้จะทำ ให้เมล็ดดูดน้ำเข้าไปและพร้อมที่จะงอก
วิธีเพาะ อาจหยอดลงในถุงดินที่เตรียมไว้หรือจะเพาะในแปลงเพาะแล้วย้ายชำกล้าในภายหลัง ควรให้เมล็ดอยู่ใต้ผิวดิน 3-5 มิลลิเมตร รดน้ำให้ชุ่ม เมล็ดจะงอกภายใน 1-2 สัปดาห์
ประโยชน์
- ราก ฝนทาแก้กลาก เป็นยาระบาย - รากและแก่นเป็นยาขับพยาธิ เปลือกและไม้ใช้ฟอกหนัง และใช้บดทาผื่นตามร่างกาย - เนื้อไม้สีแดงแกมเหลืองทนทานใช้ทำเสา ล้อเกวียน - ใบต้มกินเป็นยาระบาย - ดอกแก้ไข้ - ฝัก เนื้อในฝัก รสหวาน เป็นยาระบาย ช่วยบรรเทาการแน่นหน้าอก แก้ขัดข้อ
http://www.oknation.net/
โดย... บ้านต้นยาแพทย์แผนไทย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
finghting!!!
|
|
|
jainu
|
|
« ตอบ #57 เมื่อ: มีนาคม 30, 2014, 08:29:23 PM » |
|
ชัยพฤกษ์.... เนื้อในฝักเป็นยาระบายอ่อน ๆ
ไม้ชัยพฤกษ์ หมายถึง การมีโชคชัย ชัยชนะ ชนะศัตรู ชนะอุปสรรคต่างๆ
ต้นชัยพฤกษ์ ที่มักไปเรียกกันจนติดปาก กับต้่นราชพฤกษ์นั้น กลับมีสีที่ตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิง มีลักษณะหลายอย่างคล้ายกับต้นกัลปพฤกษ์ เช่น สีดอก และลักษณะของใบ
ชื่อสามัญ Javanese Cassia ชื่อวิทยาศาสตร์ Cassia javanica L. วงศ์ LEGUMINOSAE-CAESALPINIOIDEAE
ดอกสีชมพูเข้ม เมื่อออกดอกไม่ทิ้งใบ ฝ้กเกลี้ยงใช้ทำยาได้ (จาก พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒)
ชัยพฤกษ์ เป็นไม้มงคล ตามชื่อ หมายถึงต้นไม้แห่งชัยชนะ ใบใช้ประดิษฐ์เป็นพวงมาลัยสวมศีรษะ เพื่อเป็นเกียรติยศยิ่งใหญ่ แก่กวีและนักดนตรีในสมัยโบราณ สำหรับของไทย ช่อชัยพฤกษ์ประดับเป็นมงคลหลายที่ เช่น บนอินทรธนูข้าราชการ และประดับประกอบดาวบนอินทรธนูและหมวกของทหารและตำรวจทั้งหลาย
ตำนานชัยพฤกษ์...
ตำนานนี้ปรากฏในเทพปกรณัมของกรีก มีอยู่ว่า มีนางอัปสรนางหนึ่งชื่อ ดาฟเน่ (daphne) เป็นลูกสาวของเทพประจำแม่น้ำสายหนึ่งชื่อพีนีอูส
วันหนึ่งดาฟเน่ออกไปเที่ยวเล่นริมป่าไม่ไกลจากแม่น้ำ เธอได้พบกับเทพอพอลโลหรือสุริยเทพเข้าโดยบังเอิญ เทพอพอลโลหลงรักเธอโดยทันที และพยายามฝากรักด้วยคำที่นุ่มนวล แต่ความพยายามนั้นไร้ผล เมื่ออพอลโลสืบเท้ายังไม่ทันเข้าใกล้ เธอก็วิ่งไม่คิดชีวิต เค้ายิ่งวิ่งตามเธอก็ยิ่งวิ่งหนี และวิ่งหน้าสู่แม่น้ำ โดยตระหนักว่าตัวเธอเองเริ่มอ่อนแรง และเค้าที่เป็นคนแปลกหน้าใกล้ถึงตัวแล้ว พอดีถึงริมฝั่งน้ำจึงร้องขอให้พ่อของเธอช่วย สิ้นคำร้องขอ ร่างของเธอค่อยกลายเป็นต้นไม้โดยเท้าทั้งคู่เปลี่ยนเป็นราก แขนทั้งสองข้างและผมพลิ้วสยายกลายเป็นกิ่งก้านใบ เสื้อผ้าเปลี่ยนเป็นเปลือกห่อหุ้มลำต้นที่ยังสั่นไหวด้วยความกลัว ดาฟเน่ได้กลายเป็นต้นชัยพฤกษ์ไปแล้วด้วยความช่วยเหลือของบิดา อพอลโลมาถึงก็ทราบทันทีว่าเธอได้จากไปแล้ว แต่ก็ไม่ได้ถือโทษโกรธเคืองเธอแต่อย่างใด จึงมีบัญชาให้ไม้ชัยพฤกษ์เป็นไม้ที่พึงใจส่วนพระองค์ และใครๆ สามารถเก็บช่อใบร้อยเป็นพวงสวมศีรษะเป็นเกียรติยศแก่กวีและนักดนตรีได้ตลอดไป
ลักษณะ....
ไม้ต้น สูงถึง 15 เมตร ลำต้นสีน้ำตาล ทรงพุ่มใบกลมคล้ายร่ม เมื่อต้นยังอ่อนมีหนาม ใบประกอบรูปขนนกปลายคู่ เรียงสลับ มีใบย่อย 5 - 15 คู่ แผ่นใบรูปไข่แกมรูปรี หรือรูปขอบขนาน ขนาดกว้าง 1.5 - 2.5 เซนติเมตร ยาว 2.5 - 5เซนติเมตร ปลายใบมน โคนใบกลม ดอก เริ่มบานสีชมพู แล้วเปลี่ยนเป็นสีแดงเข้ม ใกล้โรยดอกสีขาว ออกเป็นช่อตามกิ่งยาว 5 - 16 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงสีแดง หรือแดงปนน้ำตาล ดอกเส้นผ่าศูนย์กลาง 3.5 เซนติเมตร ผลเป็นฝักกลมสีดำ ยาว 20 - 60 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 - 1.5 เซนติเมตร เมื่อแก่ไม่แตกมีเมล็ดจำนวนมาก
นิเวศวิทยา ถิ่นกำเนิดอินโดนีเซีย
ออกดอก กุมภาพันธ์ – เมษายน
ขยายพันธุ์ โดยใช้เมล็ด วิธีเพาะเช่นเดียวกับราชพฤกษ์
ประโยชน์ เนื้อในฝักเป็นยาระบายอ่อน ๆ ปลูกประดับดอกสวยงาม
ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยกรุงเทพ http://www.oknation.net/
โดย... บ้านต้นยาแพทย์แผนไทย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
finghting!!!
|
|
|
jainu
|
|
« ตอบ #58 เมื่อ: มีนาคม 30, 2014, 08:30:47 PM » |
|
คุณค่าสมุนไพรไทย.... รากสามสิบ / สาวร้อยผัว / ผักชีช้าง
"สาวร้อยผัว" เป็นสมุนไพรที่คนทั่วไปรู้จักดี เพียงแต่ชื่อสวิงสวายแบบนี้ไม่ค่อยมีคนรู้จัก คนส่วนใหญ่รู้จักในชื่อเรียกแตกต่างกันไปในแต่ละภาค ภาคกลางหรือชื่อที่คนทั่วไปเรียกขานว่า "รากสามสิบ" หรือ "สามร้อยราก" นั่นเอง อาหารหวานของคนภาคกลางยังมีเมนูหนึ่งชื่อว่า "รากสามสิบแช่อิ่ม" ส่วนในภาคอีสานเรียกว่า "ผักชีช้าง" รับประทานเป็นผักได้ ใช้ยอดอ่อน ผลอ่อน โดยรับประทานสดๆนำมาต้มหรือแกงอ่อมก็ได้เช่นกัน ซึ่งให้กลิ่นหอมคล้ายผักชีลาว ทางภาคเหนือมักจะเรียกว่า "ม้าสามต๋อน" ใช้เป็นยาดองเป็นยาบำรุงสำหรับเพศชาย ส่วนภาคใต้รับประทาน เป็นผักเช่นกันเรียกว่า "ผักหนาม" เพราะลำต้นมีหนาม นอกจากรับประทานเป็นผักแล้ว รากของสมุนไพรชนิดนี้ยังสามารถนำมาทุบหรือขูดกับน้ำ เพื่อใช้ซักเสื้อผ้าได้อีกด้วย สมุนไพรชนิดนี้ยังมีรูปร่างของต้นที่รวมกิ่งก้าน ใบ ดูแล้วสวยงามมาก สามารถนำมาเป็นไม้ประดับ หรือใช้จัดดอกไม้ได้ดีทีเดียว
หมอยาโบราณส่วนใหญ่จะรู้ว่าสาวร้อยผัวเป็นยาบำรุงสำหรับสตรี จึงให้ชื่อว่า "สาวร้อยผัว" ชื่อนี้หมายถึง ไม่ว่าสาวใดจะอายุเท่าไรก็ยังสามารถมีลูกมีผัวได้ (ไม่ได้หมายถึงสาวใจแตกนะค่ะ) มีอารมณ์ทางเพศได้ แม้จะสูงวัย (ความหมายคล้ายๆ สาวสองพันปี ทำนองนั้น) โดยจะใช้รากมาต้มกินหรือปั้นเป็นลูกกลอนกินกับน้ำผึ้ง แต่มีน้อยคนที่จะรู้จักสมุนไพรตัวนี้
ตอนที่ชาวบ้านพูดถึงต้นนี้ รู้สึกว่ามันน่ากลัวจัง แต่เขาก็บอกว่าสมัยก่อนมีสมุนไพรที่มีชื่อตรงๆ แบบนี้มากมาย เขาไม่ถือหรืออายกันเพราะเป็นเรื่องธรรมดา เช่น ต้น "ซิ่นบ่หี่" คือไม่ต้องใส่ผ้าซิ่น (ผ้าถุง) กันล่ะ วิธีใช้ นำรากมาต้มกินหรือรากตากแห้งบดแล้วปั้นเป็นลูกกลอนกินกับน้ำผึ้ง
แต่ชื่อสาวร้อยผัวในปัจจุบันแทบไม่มีใครรู้จักแล้ว ยกเว้นลูกหลานหมอยาบางคนที่เคยได้ยินปู่และพ่อที่เป็นหมอยาพูดถึงต้นนี้อยู่บ้าง เช่น หลานหมอยาที่บุรีรัมย์ นายพิทักษ์ ตีเหล็ก ปัจจุบันเป็นพนักงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร เป็นหลานของหมอยาชื่อ นายอ่ำ ตีเหล็ก และหมอยาอีกท่านหนึ่งที่มีพระคุณต่อการพัฒนาสมุน ไพรของโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ชื่อ นายส่วน สีมะพริก (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว) ได้เรียกสมุนไพรชนิดนี้ว่า "สาวร้อยผัว" เช่นกัน และเป็นที่น่าแปลกใจว่าในอินเดียก็เรียกสมุนไพรชนิดนี้คล้ายกับเมืองไทย โดยในภาษาสันสกฤต เรียกว่า ศตาวรี (Shtavari) มีความหมายว่า ต้นไม้ที่มีรากหนึ่งร้อยราก หรือบางตำราบอกว่าหมายถึงผู้หญิงที่มีร้อยสามี "Satav ari" (this is an India word meaning'a woman who has a hundred husbands) รากสามสิบเป็นสมุนไพรที่ถูกกล่าวถึงในคัมภีร์พระเวท ซึ่งเป็นคำภีร์ที่มีมาก่อนอายุรเวทด้วยซ้ำ จึงน่าจะถือได้ว่า เป็นสมุนไพรที่มีการใช้มานานหลายพันปีแล้ว และในอินเดียใช้รากสามสิบทำเป็นของหวานเช่นเดียวกับเมืองไทย
ในตำราอายุรเวทใช้รากสามสิบเป็นสมุนไพรหลักสำหรับบำรุงในผู้หญิงในการทำให้ผู้หญิงกลับมาเป็นสาว (female rejuvention) นอกจากนี้ยังช่วยแก้ปัญหาอื่นๆของผู้หญิงเช่น ภาวะประจำเดือนไม่ปกติ ปวดประจำเดือน ภาวะมีบุตรยาก ตกขาว ภาวะอารมณ์ทางเพศเสื่อมถอย ภาวะหมดประจำเดือน (menopause) และใช้บำรุงน้ำนม บำรุงครรภ์ ป้องกันการแท้ง (habitual abortion)
แม้สมุนไพรชนิดนี้จะโดดเด่นต่อสตรีเพศแล้ว ในอินเดียยังใช้ในการเพิ่มพลังทางเพศให้กับผู้ชายอีกด้วย ซึ่งก็คงคล้ายกับทางภาคเหนือของไทยที่ใช้สาวร้อยผัวหรือ "ม้าสามต๋อน" เป็นยาดองเพื่อเพิ่มพลังทางเพศชาย ในอินเดียยังใช้เพื่อสรรพคุณทางยาอื่นๆอีกมาก เช่น ยาแก้ไอ ยารักษาโรคกระเพาะ ยาแก้บิด แก้ไข้ แก้อักเสบ ซึ่งจัดได้ว่าสมุนไพรชนิดนี้เป็นสมุนไพรที่ใช้มากที่สุดในอินเดียชนิดหนึ่งในปี ค.ศ.1992-2000 อินเดียใช้สมุนไพรชนิดนี้ถึง 8,460 ตัน เป็นอันดับสองรองจากมะขามป้อมที่ใช้อยู่ที่ 15,147 ตัน ปัจจุบันมีสารสกัดด้วยน้ำของรากสามสิบจากอินเดียไปจำหน่ายที่สหรัฐอเมริกา ในลักษณะเป็น dietary supplement หรือพวกอาหารเสริมที่สามารถขายได้ทั่วไปไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์
สาวร้อยผัวหรือรากสามสิบ เป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งที่มีการศึกษาวิจัยกันมากพอสมควร ในด้านการศึกษาวิจัย ในห้องทดลองพบฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา คือ ต้านเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา คลายกล้ามเนื้อของมดลูก บำรุงหัวใจ แก้การอักเสบ แก้ปวด มีฤทธิ์เหมือนฮอร์โมนเอสโตรเจน ยับยั้งเบาหวาน เป็นพิษต่อเซลล์มะเร็ง กระตุ้นภูมิคุ้มกัน ต้านอาการเม็ด เลือดขาวต่ำ ลดระดับไขมันในเลือด ป้องกันกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ลดอาการหัวใจโตที่เกิดจากความดันโลหิตสูง ขับน้ำนม ยับยั้งการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร ยับยั้งพิษต่อตับ ในการศึกษาด้านความเป็นพิษในสัตว์ทดลองพบว่า การใช้ในขนาดสูง 2 กรัมต่อกิโลกรัมด้วยการกิน ไม่พบพิษและการใช้ในระยะยาวด้วยการต้มน้ำ ความเข้มข้น 100 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมแล้ว ให้กินทั้งเนื้อและน้ำนาน 4 และ 32 สัปดาห์ ไม่พบความผิดปกติเมื่อเปรียบเทียบกับหนูในกลุ่มควบคุม
การศึกษาที่กล่าวข้างต้นเป็นการศึกษาในห้องทดลอง ทำการทดลองกับสัตว์ทดลอง ดังนั้นการนำมาใช้เป็นยากับคน จึงต้องมีการทดลองกันต่อไป ส่วนที่มีการทดลองทางคลินิก (การใช้ในคนจริงๆ) มีการศึกษาการใช้รักษาโรคกระเพาะ โดยการให้รับประทานผงแห้งของรากพบว่าได้ผลดีในการรักษาแผลที่กระเพาะและลำไส้เล็ก การที่มีกรดเกิน (acid dyspepsia) อย่างไรก็ตามเนื่องจากสมุนไพรชนิดนี้หายไปจากสังคมไทยเสียนาน การที่จะนำมาใช้เป็นยาอีกครั้งจึงควรระมัดระวัง เพราะเป็นสมุนไพรที่ออกฤทธิ์คล้ายเอสโตรเจนนั้น ห้ามใช้ในสตรีที่มีความเสี่ยงต่อการ เป็นมะเร็ง เช่น ผู้ป่วยโรค uterine fribrosis หรือ fibrocystic breast "สาวร้อยผัว" หรือ "รากสามสิบ" เป็นสมุนไพรที่มีศักยภาพน่าจะฟื้นฟูนำกลับมาสู่สังคมไทยในรูปอาหาร ยา และสบู่ก็ยังได้ รวมทั้งสมุนไพรชนิดนี้ยังเป็นสมุนไพรที่อยู่ในรายการสินค้าที่จะลดภาษี ภายใต้ขอบเขตการค้าเสรีอาเซียน - จีน ในข้อตกลงไทย - จีนตามพิกัดศุลกากร ซึ่งมีตัวเลขการส่งออกสมุนไพรชนิดนี้จากเมืองไทย ซึ่งหากมองด้วยสายตามูลค่าทางเศรษฐกิจ รากสามสิบก็มีศักยภาพเช่นกันค่ะ...
ที่มา: http://www.thaihof.org/herb/abstract/mati616.htm
โดย... บ้านต้นยาแพทย์แผนไทย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
finghting!!!
|
|
|
jainu
|
|
« ตอบ #59 เมื่อ: มีนาคม 30, 2014, 08:32:10 PM » |
|
สมุนไพรรักษาโรค..... ไมเกรน
โรคไมเกรนเป็นโรคที่เกิดจากการบีบตัว และคลายตัวของหลอดเลือดในสมองมากกว่าปกติ ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะขึ้นอย่างรุนแรง และรวดเร็ว พร้อมกับมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ในบางรายอาจมีอาการตาพร่ามัว หรือเห็นแสงระยิบระยับร่วมด้วย พบมากในช่วงอายุ 10-30 ปี โดยเฉพาะผู้หญิง มักเป็นมากกว่าผู้ชาย
อาการ
1. ปวดศีรษะครึ่งซีก อาจเป็นบริเวณขมับหรือท้ายทอยแต่บางครั้งก็อาจเป็นสองข้างพร้อมกันหรือสลับข้างกันได้ 2. ลักษณะการปวดศีรษะส่วนมากมักจะปวดตุ๊บ ๆ นานครั้งหนึ่งเกิน 20 นาที ผู้ป่วยบางรายอาจมีปวดตื้อ ๆ สลับกับปวดตุ๊บ ๆ ในสมองก็ได้ 3. อาการปวดศีรษะมักเป็นรุนแรง และส่วนมากจะคลื่นไส้หรืออาเจียนร่วมด้วยเสมอ โดยอาจเป็นขณะปวดศีรษะก่อนหรือหลังปวดศีรษะก็ได้4. อาการนำจะเป็นอาการทางสายตาโดยจะมีอาการนำมาก่อนปวดศีรษะราว 10-20 นาที เช่น เห็นแสงเป็นเส้น ๆ ระยิบระยับ แสงจ้าสะท้อน หรือเห็นภาพบิดเบี้ยวก่อนปวด
“กระเทียม” กับสูตรปวดท้ายทอย
กระเทียม เป็นพืชครัวตัวหนึ่ง ที่นอกจากจะใช้รับประทานและปรุงเป็นอาหารหลายอย่างแล้ว “กระเทียม” ยังมีสรรพคุณทางยา ใช้รักษาโรคได้อีกด้วย โดยเฉพาะใครที่มีอาการปวดท้ายทอยบ่อย ๆ ซึ่งดูเหมือนจะเป็นอาการเพียงเล็กน้อยเป็น ๆ หาย ๆ ในช่วงที่เป็น จะรู้สึกตึงคล้ายจะเป็นลม ต้องนั่งหลับตา หรือนั่งพัก อาการจะทุเลาและหายเองได้ อาการดังกล่าว เป็นเฉพาะจุด ถ้าไม่รักษาหรือให้แพทย์ตรวจอาการอาจทำให้ผู้เป็นเกิดอาการ “โรควูบ” ได้ ซึ่งสาเหตุที่กล่าวข้างต้นเกิดจากเส้นเลือดบริเวณท้ายทอยตีบตันนั่นเอง โดยในส่วนของสมุนไพร ที่มีสรรพคุณรักษาอาการปวดท้ายทอยมีเหมือนกัน คือ
ให้เอา “กระเทียม” จำนวน 2 กลีบ ปอกเอาเปลือกหุ้มกลีบออกแล้วหั่นเป็นชิ้นบาง ๆ นำไปผึ่งลมให้แห้ง จากนั้นเอาไปใส่ถ้วยเติมน้ำส้มสายชูของ อสม. เล็กน้อย กินให้หมดทั้งน้ำและเนื้อวันละครั้ง จะก่อนอาหารหรือหลังอาหาร หรือกินตอนไหนก็ได้ โดยกิน 3 วันครั้ง ทำกินได้เรื่อย ๆ จะช่วยให้อาการปวดท้ายทอย หรือชาวบ้านชอบเรียกว่า ท้ายทอยเย็น ค่อย ๆ ทุเลาลง และหายได้ในที่สุด คนที่เป็นไม่รุนแรง หรือเพิ่งจะมีอาการใหม่ ๆ จะเห็นผลเร็ว
กระเทียม หรือ ALLIUM SATIVUM LINN. อยู่ในวงศ์ ALLIACEAE เป็นพืชล้มลุก มีหัวใต้ดิน ต้นสูง 30 – 40 ซม. ใบรูปแถบยาว ดอกเป็นสีขาวแกมม่วง หรืออมชมพู หัวใต้ดินประกอบด้วยหัวย่อยจำนวนมาก เรียกว่า “กลีบ” มีสรรพคุณเฉพาะ ใบรสร้อนฉุน ทำให้เสมหะแห้ง กระจายโลหิต แก้ลมปวดบวมในท้อง หัว แก้ไอ แกโรคผิวหนัง กลากเกลื้อน แก้แผลเน่าเปื่อย เนื้อร้าย บำรุงธาตุ ขับโลหิตระดู แก้โรคประสาท แก้ปวดหู หูอื้อ ระบายพิษไข้ แก้ริดสีดวงงอก ขับพยาธิในท้อง แก้โรคในปาก แก้อัมพาต แก้ลมเข้าข้อ แก้จุกแน่นเฟ้อ แก้ขัดปัสสาวะ บำรุงปอด แก้วัณโรคปอด แก้เสมหะ แก้เลือดออกตามไรฟัน แก้ฟกบวม และแก้สะอึก สอบถามผลิตภัณฑ์สมุนไพร กระเทียมโทน แก้หืดหอบ ละลายเสมหะ แก้ไอที่เกิดจาหืดหอบ แก้ถุงลมโป่งพอง
”แมงลัก” สูตรแก้ปวดหัวเรื้อรัง
โรคปวดหัวเรื้อรัง มีคนเป็นเยอะ สาเหตุมาจากหลายอย่าง เป็นแล้วทรมานมาก บางครั้งถึงกับหน้ามืดตามัวเลยทีเดียว ต้องกินยาจากแพทย์จึงจะหาย ในทางสมุนไพรมีวิธีแก้ได้
โดยให้เอาต้น ใบ และดอก ของ “แมงลัก” กับ “ผักเสี้ยนผี” แบบแห้ง และแก่นต้น “ขี้เหล็ก” จำนวนเท่ากัน อย่างละ 15 กรัม หากเป็นแบบสด ต้องเพิ่มเป็น 20 กรัม ต้มกับน้ำ 3 แก้ว เคี่ยวให้เหลือ 1 แก้ว ดื่มวันละ 3 ครั้ง ครั้งละครึ่งแก้ว ต้มดื่มเรื่อย ๆ อาการปวดหัวเรื้อรังจะดีขึ้นและหายได้ เคยมีคนเป็นไมเกรนดื่มแล้วดีขึ้น เรื่องนี้ต้องทดลองดู ซึ่งตัวยาทั้ง 3 ชนิดมีขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสบดี บริเวณโครง 21 แผง คุณพร้อมพันธุ์ ราคาสอบถามกันเอง
แมงลัก มีลักษณะดอกใบและผลคล้ายโหระพา จะต่างกันที่เมล็ด “แมงลัก” แช่น้ำให้พองลื่น รับประทานทำให้ระบายท้องดี บางคนอยากผอม กินแล้วทำให้ไม่อยากอาหาร “ผักเสี้ยนผี” มีสรรพคุณเด่น ได้แก่ ใบ แก้โรคเช่าเสื่อม ถุงน้ำในหัวเข่า และโรคพยาธิด่างขาวด้วย ส่วน “ขี้เหล็ก” มีประโยชน์ทางอาหารแลทางยาเยอะ ที่ดัง ๆ คือ เอาทั้ง 5 ของ “ขี้เหล็ก” กะจำนวนตามต้องการ ต้มน้ำดื่มเรื่อย ๆ เป็นยาช่วยลดความดนโลหิตสูงได้เร็วมาก
http://headacheofmigraine.blogspot.com/
โดย.... บ้านต้นยาแพทย์แผนไทย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
finghting!!!
|
|
|
Gold Price today, Gold Trend Price Prediction, ราคาทองคํา, วิเคราะห์ทิศทางทองคํา
|
Thanks: ฝากรูป dictionary
---------------------Charts courtesy of Moore Research Center, Inc. For more information on Moore Research products and services click here. --- http://www.mrci.com ----------
---------------------------------------------รูปกราฟแสดงราคาทองในอดีตปี 1974-1999 ของ Moore Research Center, Inc.
แสดงฤดูกาลที่ราคาทองขึ้นสูงสุดและตําสุด เอาแบบคร่าวๆ เส้นนําตาลหรือนําเงินก็ใกล้เคียงกัน เส้นนําตาลเฉลี่ย
15 ปี เส้นนําเงินเฉลี่ย 26 ปี ราคาตําสุดของเส้นนําตาล หรือเฉลี่ย 15 ปี ในเดือน ปลายเดือน เมษ และปลายเดือน สค
ต่อต้นเดือน กย[/color] สูงสุดในเดือน กพ กับ พย / ส่วนเฉลี่ย 26 ปี ราคาตําสุด ต้น กค กับ ปลาย สค และราคาสูงสุดในเดือน
กพ และ กลางเดือน ตค -----
แค่ดูคร่าวๆ เป็นแนวทาง อย่ายึดมั่นว่าจะต้องเป็นตามนี้
ข้างล่างเป็นกราฟราคานํามัน ตามฤดูกาล จาก Charts courtesy of Moore Research Center, Inc.
Thanks: ฝากรูป dictionary
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|