Forex-Currency Trading-Swiss based forex related website. Home ----- กระดานสนทนาหน้าแรก ----- Gold Chart,Silver,Copper,Oil Chart ----- gold-trend-price-prediction ----- ติดต่อเรา
หน้า: 1 ... 8 9 [10] 11 12 ... 14   ลงล่าง
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: ศรัทธา ธรรม  (อ่าน 13621 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 8 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
jainu
Moderator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #135 เมื่อ: พฤษภาคม 21, 2014, 10:56:07 PM »

บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Moderator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #136 เมื่อ: พฤษภาคม 22, 2014, 01:30:47 PM »

พระไพศาล วิสาโล - Phra Paisal Visalo
ชดใช้กรรม หรือ เลือกทำความดี

พยาบาลผู้หนึ่งเมื่อรู้ว่าคนไข้ของตนอยู่ในระยะสุดท้าย
เธออยากทำความประสงค์ครั้งสุดท้ายของเขาให้เป็นจริง นั่นคือ
ขอกลับไปตายที่บ้านท่ามกลางญาติพี่น้อง แต่เขาเป็นคนยากจน
ไม่มีเงินจ้างรถจากหาดใหญ่ไปยังบ้านเกิดที่ชัยภูมิซึ่งไกลกว่าพันกิโลเมตร
เธอจึงวิ่งเต้นขอเงินช่วยเหลือจากโรงพยาบาล แต่ก็ยังไม่พอ
ต้องเรี่ยไรเพิ่มเติมจากผู้มีจิตศรัทธา
ขณะเดียวกันก็ต้องติดต่อประสานงานกับโรงพยาบาลตำบลที่ชัยภูมิ
เพื่อให้การดูแลเขาเมื่อกลับถึงบ้าน รวมทั้งจัดหาอุปกรณ์ที่จำเป็น เช่น ออกซิเจน
เพื่อให้เขาจากไปอย่างสงบ

ทั้งหมดนี้เธอต้องทำเองหมดเพราะโรงพยาบาลของเธอไม่มีระบบรองรับสำหรับกรณีแบบนี้
งานประจำของเธอก็มากอยู่แล้ว เมื่อมาช่วยเหลือคนไข้รายนี้ให้กลับถึงบ้านด้วยดี
ซึ่งเป็นเรื่องนอกเหนือความรับผิดชอบของเธอ เธอจึงเหนื่อยมาก
เพื่อนหลายคนยื่นมือมาช่วยเหลือเธอ แต่มีบางคนไม่เพียงยืนดูเฉย ๆ แต่ยังพูดว่า
สงสัยเธอเคยทำกรรมกับคนไข้คนนี้มาก่อนในชาติที่แล้ว
ชาตินี้ก็เลยต้องชดใช้กรรมด้วยการวิ่งช่วยเขาจนเหนื่อยอ่อน

คำพูดดังกล่าวนับว่าน่าสนใจ เพราะระยะหลังมีคนคิดแบบนี้มากขึ้น เคยมีสามีผู้หนึ่งทิ้งงานมาดูแลภรรยาที่ป่วยเป็นมะเร็งด้วยความใส่ใจ เขาทุ่มเทให้กับเธอตลอดทั้งวันทั้งคืน ไม่เว้นแม้กระทั่งเช็ดอุจจาระปัสสาวะให้เธอ เพื่อนบ้านหลายคนเมื่อรู้เช่นนี้ก็พูดขึ้นว่า ชาติที่แล้วเขาคงทำกรรมกับผู้หญิงคนนี้เอาไว้ ชาตินี้จึงต้องมาชดใช้กรรม ด้วยการรับใช้เธออย่างลำบากลำบน

อันที่จริงสิ่งที่พยาบาลและสามีผู้ป่วยทำนั้น เป็นเรื่องที่น่าชื่นชมอย่างยิ่ง
แต่เมื่อมองว่าทั้งสองท่านกำลังชดใช้กรรม(ไม่ดี)ที่เคยทำในอดีต
การกระทำซึ่งควรถือเป็นแบบอย่างที่พึงปฏิบัติตาม
จึงมีสถานะไม่ต่างจากชะตากรรมจากของนักโทษที่กำลังชดใช้ความผิดที่ได้ทำ
คำพูดเช่นนี้แทนที่จะให้กำลังใจเขา กลับเป็นการซ้ำเติมเสียอีก
คำถามก็คืออะไรทำให้ผู้คนมีความคิดเช่นนั้น

คำตอบเห็นจะอยู่ตรงที่ว่า ผู้คนจำนวนไม่น้อยมีความคิดเหมารวมว่า เมื่อใดที่ใครก็ตามประสบความยากลำบาก แม้เป็นผลจากการทำความดี ก็ถือว่าเป็นการใช้กรรมไปหมด แต่เหตุใดจึงไม่มองว่า การทำความดีแม้ประสบความยากลำบากนั้น เป็นการสร้างกรรมดี หาใช่การชดใช้กรรมไม่ พูดอีกอย่างก็คือ ทุกวันนี้ผู้คนจำนวนมาก แยกไม่ออกระหว่าง การสร้างกรรมดี กับ การชดใช้กรรม

การชดใช้กรรมนั้น หมายถึง การ “ถูกกระทำ”
หรือจำต้องเผชิญกับสภาพที่ไม่พึงปรารถนาอันเป็นผลจากการกระทำของตน
อย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้( เช่น ขโมยที่ถูกจำคุกเพราะลักทรัพย์ หรือป่วยหนักเพราะติดเหล้า)
ส่วนการสร้างกรรมดีนั้น หมายถึงการ “เลือกที่จะทำดี”
ทั้ง ๆ ที่ไม่ทำก็ได้ ดังเช่นพยาบาลและสามีผู้ป่วยที่กล่าวถึง หากจะนิ่งดูดาย
ไม่ยอมขวนขวายช่วยเหลือคนไข้และภรรยา ก็ย่อมได้ แต่ทั้งสองเลือกทำสิ่งตรงข้าม
ไม่มีอะไรมาบังคับหรือกระทำให้ทั้งสองต้องเสียสละอย่างนั้น
นอกจากมโนธรรมสำนึกหรือเมตตากรุณาในจิตใจของตน

พระไพศาล วิสาโล


บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Moderator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #137 เมื่อ: พฤษภาคม 24, 2014, 10:26:34 PM »

บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Moderator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #138 เมื่อ: มิถุนายน 10, 2014, 09:56:02 AM »




บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Moderator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #139 เมื่อ: มิถุนายน 11, 2014, 01:31:21 PM »




พระมหาเจดีย์ชัยมงคล ตั้งอยู่บริเวณวัดผาน้ำทิพย์เทพประสิทธิ์วราราม ตำบลผาน้ำย้อย อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด ระยะทางจากตัวเมืองร้อยเอ็ดประมาณ80 ก.ม มีลักษณะเป็นมหาเจดีย์ขนาดใหญ่ที่วิจิตรพิสดาร ใช้ศิลปกรรมร่วมสมัยระหว่างภาคกลางและภาคอีสานเป็นการผสมกันระหว่างพระปฐมเจดีย์และพระธาตุพนม ใช้งบประมาณก่อสร้างถึงปัจจุบันกว่า 3,000 ล้านบาท ดำเนินการสร้างโดย “พระอาจารย์ศรี มหาวิโร” ซึ่งเป็นศิษย์พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

พระมหาเจดีย์ชัยมงคลออกแบบโดยกรมศิลปากร เป็นสีขาวตกแต่งลวดลายตระการตาด้วยสีทองเหลืองอร่าม รายล้อมด้วยเจดีย์องค์เล็กทั้ง 8 ทิศสร้าง ในเนื้อที่ 101 ไร่ กว้าง 101 เมตร ยาว 101 เมตร ความสูง 101 เมตร รวมยอดทองคำเป็น 109เมตร ใช้ทอง คำหนัก 4,750 บาท หรือประมาณ 60 กิโลกรัม ภายในองค์พระมหาเจดีย์เหมือน อยู่บนวิมานแดนสวรรค์

ชั้นที่ 1 เป็นห้องโถงกว้างใหญ่ โอ่อ่า ผนังจารึกนามทานาธิบดีต่าง ๆ ใช้เป็นห้องประชุม บำเพ็ญบุญ

ชั้นที่ 2 เป็นห้องโถงโอ่อ่าเช่นกัน ผนังติดตั้งรูปพระพุทธประวัติ ลวดลายไทยวิจิตรพิสดาร

ชั้นที่ 3 เป็นที่ประดิษฐานรูปพระณาจารย์ ปราชญ์ อีสานในอดีต เป็นรูปเหมือนสลักหินอ่อน และหุ่นรูปเหมือนพระสุปฏิปันโน 101 องค์

ชั้นที่ 4 จัดเป็นพิพิธภัณฑ์แสดงวัดวาอาราม สถานปฏิบัติสม ถะวิปัสสนา กรรมฐานที่หลวงปู่ศรี เคยบำเพ็ญธรรมมา

ชั้นที่ 5 บันไดเวียน 119 ชั้น เป็นห้องโถงรูประฆัง 8 เหลี่ยมบรรจุสารีริกธาตุ















บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Moderator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #140 เมื่อ: มิถุนายน 11, 2014, 01:35:51 PM »

บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Moderator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #141 เมื่อ: กันยายน 08, 2014, 08:12:40 AM »








คติธรรมท่านเจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ

"...พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงสอนว่า ทรงมีพุทธานุภาพให้ผู้นับถือไปรบใครแล้วก็ชนะ
หรือว่าไปแข่งขันอะไรกับใครแล้วก็ชนะ มีพุทธานุภาพที่จะทำให้ไม่ต้องเจ็บไม่ต้องตาย
มีพุทธานุภาพที่จะทำให้พ้นจากผลกรรมของตนที่พึงได้รับ ปัดเป่าให้พ้นจากผลร้าย
อันจะเกิดจากผลกรรมที่ตนเองทำไว้ได้ พระพุทธเจ้าได้ตรัสสอนไว้ว่าทุกคนมีกรรมเป็นของตน
ทำกรรมดีจักได้ดี ทำกรรมชั่วจักได้ชั่ว
เพราะฉะนั้น ถ้าพระองค์ไปทรงช่วยได้ว่าทำกรรมชั่วแล้วไม่ต้องได้ชั่ว
ธรรมที่พระองค์ทรงสอนไว้กลับกลายเป็นไม่จริง ไม่ใช่เป็นสัจธรรม ธรรมที่เป็นตัวความจริง

 พระพุทธเจ้าได้ทรงชนะ คือทรงชนะพระหฤทัยของพระองค์แล้ว
ด้วยพระบารมีคือความดีที่ทรงสร้างมาจนบริบูรณ์
ใครมีเรื่องจะต้องผจญใจก็ให้ระลึกถึงพระพุทธเจ้า ผู้ทรงพิชิตมารดังกล่าวนี้เถิด
จะสามารถชนะใจตนเอง และจะเอาชนะเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้
แต่ขอให้ระลึกถึงด้วยความตั้งใจจริง จนเกิดความสงบ แล้วจักเห็นหนทางชนะขึ้นเองอย่างน่าอัศจรรย์

 ผู้ชนะนั้น มักเข้าใจว่าตนเองเป็นผู้ได้ แต่โดยที่แท้เป็นผู้เสีย
คือเสียไมตรีจิตของอีกฝ่ายหนึ่งไปหมดสิ้น หรือจะเรียกว่าได้ก็คือได้เวร
เพราะผู้แพ้ก็จะผูกใจเพื่อจะเอาชนะต่อไป จึงเป็นอันว่าไม่ได้ความสุขด้วยกันทั้งสองฝ่าย
ส่วนผู้ที่ละได้ทั้งแพ้และชนะ จึงจะได้ความสงบสุข ทั้งนี้ก็ด้วยการไม่ก่อเรื่องที่จะต้องเกิดมีแพ้มีชนะกันขึ้น
แต่เมื่อจะต้องให้มีเรื่องให้แพ้ฝ่ายหนึ่งชนะฝ่ายหนึ่งก็ควรจะต้องมีใจหนักแน่นพอที่จะเผชิญได้ทุกอย่าง..."

เกล้ากระหม่อมขอถวายอภิสัมมานสักการะ
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
ด้วยสำนึกในพระเมตตาคุณและพระกรุณาธิคุณของพระองค์ ด้วยเศียรเกล้าฯ




บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Moderator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #142 เมื่อ: กันยายน 08, 2014, 08:22:22 AM »




ความกลัว


 ความกลัว เป็นสิ่งที่มีอำนาจมากสิ่งหนึ่ง
 ในบรรดา สิ่งที่ทำลาย ความสุข สำราญ
 หรือ รบกวนประสาท ของมนุษย์ เป็นอย่างยิ่ง ด้วยกัน

ความกลัวนี้ ย่อมมีลักษณะ และพิษสง มากน้อยกว่ากัน เป็นขั้นๆ
 ตามความรู้สึก อันสูงต่ำ ของจิต


 


เด็กๆ สร้างภาพ ของสิ่งที่น่ากลัว ขึ้นในใจ ตามที่ผู้ใหญ่ นำมาขู่
 หรือได้ยิน เขาเล่า เรื่อง อันน่ากลัว เกี่ยวกับผี เป็นต้น สืบๆ กันมา
 แล้วก็กลัว เอาจริงๆ จนเป็นผู้ใหญ่ ความกลัวนั้น ก็ไม่หมดสิ้นไป

ความกลัว เป็นสัญชาตญาณ อันหนึ่งของมนุษย์ เหมือนกันหมด
 แต่ว่า วัตถุที่กลัว นั่นแหละต่างกัน ตามแต่เรื่องราวที่ตนรับ
 เข้าไว้ในสมอง

วัตถุอันเป็น ที่ตั้งของความกลัว ที่กลัวกันเป็นส่วนมากนั้น
 โดยมากหาใช่วัตถุ ที่มีตัวตน จริงจัง อะไรไม่ มันเป็นเพียงสิ่งที่ใจสร้างขึ้น
 สำหรับกลัวเท่านั้น ส่วนที่เป็น ตัวตน จริงๆ นั้น ไม่ได้ ทำให้เรากลัวนาน
 หรือ มากเท่าสิ่งที่ใจสร้างขึ้นเอง มันมักเป็น เรื่องเป็นราวลุล่วงไปเสียในไม่ช้านัก

บางที เราไม่ทันนึก กลัว ด้วยซ้ำไป
 เรื่องนั้นก็ได้มาถึงเรา เป็นไปตามเรื่องของมัน
 และผ่านพ้นไปแล้ว มันจึงมิได้ทรมานจิตของมนุษย์
 มากเท่าเรื่องหลอกๆ ที่ใจสร้างขึ้นเอง





เด็กๆ หรือคนธรรมดา เดินผ่านร้านขายโลง ซึ่งยังไม่เคย ใส่ศพเลย
 ก็รู้สึกว่า เป็นที่น่ารังเกียจ หรือเป็นที่ อวมงคล เสียจริงๆ
 เศษกระดาษ ชนิดที่เขา ใช้ปิดโลง ขาดตก อยู่ในที่ใด
 ที่นั้น ก็มี ผี สำหรับเด็กๆ




เมื่อเอาสีดำ กับกระดาษ เขียนกันเข้า เป็น รูปหัวกระโหลก ตากลวง
 ความรู้สึกว่าผี ก็มาสิง อยู่ใน กระดาษ นั้นทันที

เอากระดาษฟาง กับกาวและสี มาประกอบกัน เข้าเป็น หัวคนป่า ที่น่ากลัว
 มีสายยนต์ ชักให้แลบลิ้น เหลือกตา ได้ มันก็พอที่ทำให้ใคร ตกใจเป็นไข้ได้
 ในเมื่อนำไปแอบ คอยที่ชักหลอกอยู่ในป่า หรือที่ขมุกขมัว
 และแม้ที่สุด แต่ผู้ที่เป็นนายช่าง ทำมันขึ้นนั่นเอง ก็รู้สึกไปว่า
 มันมิใช่กระดาษฟาง กับกาวและสี เหมือนเมื่อก่อน เสียแล้ว
 ถ้าปรากฏว่า มันทำให้ใคร เป็นไข้ ได้สักคนหนึ่ง

เราจะเห็นได้ ในอุทาหรณ์ เหล่านี้ ว่า
 ความกลัวนั้น ถูกสร้างขึ้น ด้วยสัญญาในอดีตของเราเอง ทั้งนั้น
 เพราะปรากฏว่า สิ่งนั้นๆ ยังมิได้เนื่องกับผีที่แท้จริง แม้แต่นิดเดียว และ




สิ่งที่เรียกว่า ผี ผี , มันก็ เกิดมาจากกระแส ที่เต็มไปด้วย อานุภาพอันหนึ่ง
 อันเกิดมาจาก กำลังความเชื่อแห่งจิต
 ของคนเกือบทั้งประเทศ หรือ ทั้งโลก เชื่อกันเช่นนั้น
 อำนาจนั้นๆ มัน แผ่ซ่าน ไปครอบงำจิตของคนทุกคน
 ให้สร้าง ผีในมโนคติ ตรงกันหมด
 และทำให้เชื่อ ในเรื่องผี ยิ่งขึ้น และผีก็มีชีวิต อยู่ในโลกนี้ได้



จนกว่าเมื่อใด เราจะหยุดเชื่อเรื่องผี หรือ เรื่องหลอก นี้กันเสียที ให้หมดทุกๆ คน
 ผีก็จะตายหมดสิ้นไปจากโลกเอง จึงกล่าวได้ว่า
 ความกลัวที่เรากลัวกันนั้น เป็นเรื่องหลอก ที่ใจสร้างขึ้นเอง
 ด้วยเหตุผล อันผิดๆ เสียหลายสิบเปอร์เซ็นต์

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 08, 2014, 09:09:12 AM โดย jainu » บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Moderator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #143 เมื่อ: กันยายน 08, 2014, 09:30:40 AM »



ความกลัว เป็นภัยต่อความสำราญ เท่ากับความรัก โกรธ เกลียด หลงใหล และอื่นๆ
 หรือบางที จะมากกว่าด้วยซ้ำ ดูเหมือนว่า
 ธรรมชาติ ได้สร้างสัญชาตญาณ อันนี้ให้แก่สัตว์ ตั้งแต่ เริ่มออกจากครรภ์ ทีเดียว,
ลูกนก หรือ ลูกแมว พอลืมตา ก็กลัวเป็นแล้ว แสดงอาการหนี
 หรือป้องกันภัย ในเมื่อเราเข้าไปใกล้



เด็กๆ จะกลัวที่มืด หรือการถูกทิ้ง ไว้ผู้เดียว
 ทั้งที่ เขายังไม่เคย มีเรื่องผูกเวร กับใครไว้
 อันจะนำให้กลัวไปว่า จะมีผู้ลอบทำร้าย
 เพียงแต่ผู้ใหญ่ ชี้ไปตรงที่มืด แล้วทำท่ากลัว ให้ดูสักครั้งเท่านั้น
 เด็กก็จะกลัว ติดอยู่ในใจไปได้นาน
 คนโตแล้วบางคน นั่งฟังเพื่อนกันเล่าเรื่องผีเวลากลางคืน
 มักจะค่อยๆ ขยับๆ จนเข้าไป นั่งอยู่กลางวง โดยไม่รู้สึกตัว
 และยังไปนอนกลัว ในที่นอนอีกมาก กว่าจะหลับไปได้




เดินผ่านป่าช้าโดยไม่รู้ เพิ่งมารู้และกลัวเอาที่บ้านก็มี
 สำหรับบางคน ทั้งหมดนี้ เป็น เครื่องแสดงว่า
 ความกลัว เป็นเรื่องของจิต มากกว่า วัตถุ
 ผู้ใด ไม่มี ความรู้ ในการควบคุม จิตของตน ในเรื่องนี้
 เขาจะถูกความกลัวกลุ้มรุมทำลายกำลังประสาท
 และความสดชื่นของใจเสียอย่างน่าสงสาร



ในทำนอง ตรงกันข้าม สำหรับผู้ที่มีอุบายข่มขี่ความกลัว
 ย่อม จะได้รับ ความผาสุก มากกว่า มีกำลังใจ เข้มแข็งกว่า
 เหมาะที่จะเป็น หัวหน้าหมู่ หรือ ครอบครัว

เมื่อปรากฏว่า ความกลัว เป็นภัย แก่ความผาสุก เช่นนี้แล้ว
 บัดนี้ เราก็มาถึง ข้อปัญหาว่า เราจะเอา ชนะความกลัว ได้อย่างไร สืบไป
 เพราะเหตุว่า การที่ทราบแต่เพียงว่า
 ความกลัว เป็นภัย ของความผาสุกนั้น
 เรายังได้รับผลดีจากความรู้นั้น น้อยเกินไป
 เราอาจปัดเป่า ความกลัวออกไปเสียจากจิต โดยววิธีต่างๆ กัน

แต่เมื่อจะสรุปความ ขึ้นเป็นหลักสำคัญๆ แล้ว อย่างน้อย เราจะได้สามประการ คือ

๑. สร้างความเชื่ออย่างเต็มที่ ในสิ่งที่ยึดเอาเป็นที่พึ่ง
 ๒. ส่งใจไปเสียในที่อื่น ผูกมัดไว้กับสิ่งอื่น
 ๓. ตัดต้นเหตุ ของความกลัวนั้นๆ เสีย

ในประการต้น อันเราอาจเห็นได้ทั่วไป คือ วิธีของ เด็กๆ ที่เชื่อตะกรุด หรือ
 เครื่องราง ฯลฯ ตลอดจน พระเครื่ององค์เล็ก ที่แขวนคอ
 และเป็นวิธีของผู้ใหญ่บางคน ที่มีความรู้สึกอยู่ในระดับเดียวกับเด็กด้วย




คนในสมัยอนารยะ ถือภูเขาไฟ ต้นไม้ ฟ้า หรือ สิ่งที่ตนเห็นว่า มีอำนาจน่ากลัว
 ควรถือเอา เป็นที่มอบกายถวายตัว ได้อย่างหนึ่ง นี่ก็อยู่ในประเภทเดียวกัน
 ที่ยังเหลือมาจนทุกวันนี้ เช่น พวกที่บนบานต้นโพธิ์ พระเจดีย์ เป็นต้น
 เพื่อความเบาใจของตน ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
 วิธีนี้ เป็นผลดีที่สุด ได้ตลอดเวลา ที่ตน ยังมีความเชื่อมั่นคงอยู่
 ความเชื่อที่เป็นไปแรงกล้า อาจหลอกตัวเอง
 ให้เห็นสิ่งที่ควรกลัวกลายเป็นสิ่งที่ไม่ควรกลัวไปก็ได้
 ถ้าหากจะมีอุบายสร้างความเชื่อชนิดนั้น ให้เกิดขึ้นได้มากๆ

เมื่อใดความเชื่อหมดไป หรือมีน้อย ไม่มีกำลังพอที่จะหลอกตัวเองให้กล้าหาญแล้ว
 วิธีนี้ ก็ไม่มีประโยชน์ กลายเป็นของน่าหัวเราะเท่านั้น




บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Moderator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #144 เมื่อ: กันยายน 08, 2014, 10:26:33 AM »



เล่ากันมาว่า เคยมีคนๆ หนึ่ง อมพระเครื่อง เข้าตะลุมบอน ฆ่าฟันกัน
เชื่อว่า ทำให้อยู่คง ฟันไม่เข้า เป็นต้น ดูเหมือนได้ผล เป็นที่น่าพอใจ เขาจริงๆ
 ขณะหนึ่ง พระตกจากปากลงพื้นดิน ในท้องนา
 ตะลีตะลานคว้าใส่ปากทั้งที่เห็นไม่ถนัด



 แทนที่ จะได้พระ กลับเป็นเขียดตัวหนึ่ง เข้าไปดิ้นอยู่ในปาก
 ก็รบ เรื่อยไป โดยยิ่งเชื่อมั่นขึ้นอีกว่า พระในปาก แสดงปาฏิหาริย์
 ดิ้นไปดิ้นมา เมื่อเลิกรบ รีบคายออกดู เห็นเป็นเขียดตาย
 ก็เลยหมดความเชื่อ ตั้งแต่นั้นมา
 ไม่ปรากฏว่า พระเครื่ององค์ใด ทำความพอใจ ให้เขาได้อีก



พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า วิธีนี้ ไม่ใช่ ที่พึ่ง อันเกษม คือ
 ทำความปลอดภัยให้ได้อย่างแท้จริง
 ไม่ใช่ วิธีสูงสุด, เนตํ สรณํ เขมํ เนตํ สรณมุตฺตมํ

ประการที่สอง สูงขึ้นมาสักหน่อย พอที่จะเรียกได้ว่า
 อยู่ในชั้นที่จัดว่า เป็นกุศโลบาย
หลักสำคัญอยู่ที่ส่งความคิดนึก ของใจไปเสียที่อื่น



ซึ่งจะเป็นความรักใครที่ไหน โกรธใครที่ไหน เกลียดใครที่ไหน ก็ตาม
 หรือหยุดใจเสียจากความคิดนึก ทุกอย่าง (สมาธิ) ก็ตาม เรียกว่า
 ส่งใจไปเสียในที่อื่น คือจากสิ่งที่เรากลัวนั้นก็แล้วกัน
 ที่เราเห็นกันได้ทั่วไป เช่น กำลังเมารัก บ้าเลือด เหล่านี้เป็นต้น
 จะไม่มีความกลัวผี กลัวเสือ กลัวเจ็บ
 แม้เรื่องราวในหนังสือข่าวรายวัน ก็เป็นพยาน ในเรื่องนี้ได้มาก
 แต่เรื่องชนิดนี้ เป็นได้โดย ไม่ต้องเจตนา ทำความรู้สึก เพื่อส่งใจไปที่อื่น
 เพราะมันส่งไปเองแล้ว ถึงกระนั้น




 ทุกๆ เรื่อง เราอาจปลูกอาการเช่นนี้ขึ้นได้ในเมื่อต้องการ
 และมันไม่เป็นขึ้นมาเอง การคิดนึกถึงผลดีที่จะได้รับ คิดถึงสิ่งที่เรารักมาก
 จนใฝ่ฝัน คิดถึง ชาติประเทศ คิดถึงหัวหน้าที่กล้าหาญ ดูสิ่งที่ยั่วใจให้กล้า เช่น
 ระเบียบให้มองดู ธงของผู้นำทัพ ในเมื่อตนรู้สึกขลาด
 อันปรากฏอยู่ในนิยาย เทวาสุรสงคราม ในพระคัมภีร์ เป็นต้น
 เหล่านี้ ล้วน แต่ช่วยให้ใจแล่นไปในที่อื่น จนลืมความกลัว ได้ทั้งนั้น ในชั้นนี้
 พระผู้มีพระภาคทรงสอนให้ระลึกถึงพระองค์
 หรือพระธรรม หรือพระสงฆ์ อย่างใดอย่างหนึ่ง
 ในเมื่อภิกษุใดเกิดความกลัวขึ้นมา ในขณะที่ตนอยู่ในที่เงียบสงัด
 เช่นในป่าหรือถ้ำ เป็นต้น



 อาการเช่นนี้ทำนองค่อนไปข้างสมาธิ แต่ยังมิใช่สมาธิแท้ทีเดียว
 แต่ถ้าหากว่า ผู้ใดแม้ระลึกถึง พระพุทธองค์ก็จริง แต่ระลึกไปในทำนองเชื่อมั่น
 มันก็ไปตรงกันเข้ากับประการต้น คือความเชื่อ เช่น
 เชื่อพระเครื่อง หรือคนป่าเชื่อปู่เจ้าเขาเขียว
 ต่อเมื่อระลึก ในอาการเลื่อมใสปิติในพระพุทธคุณ เป็นต้น
 จึงจะเข้ากับประการที่สองนี้

ส่วนอาการที่สงบใจไว้ด้วยสมาธินั้น เป็นอุบายข่มความกลัว ได้สนิทแท้
 เพราะว่า ในขณะแห่งสมาธิ ใจไม่มีการคิดนึก อันใดเลย
 นอกจากจับอยู่ที่สิ่งซึ่งผู้นั้น ถือเอาเป็นอารมณ์ หรือนิมิต
 ที่เกาะของจิตอยู่ในภายในเท่านั้น



แต่ว่าใจที่ เต็มไป ด้วยความกลัว ยากที่จะเป็นสมาธิ
 เพราะฉะนั้น ต้องเป็นสมาธิ ที่ชำนาญ อย่างยิ่งจริงๆ
 จนเกือบกลายเป็นความจำอันหนึ่งไป พอระลึกเมื่อใด
 นิมิตนั้นมาปรากฏเด่นอยู่ที่ "ดวงตาภายใน" ได้ทันที
 นั่นแหละ จึงจะเป็นผล แม้ข้อที่ พระองค์สอนให้ระลึกถึงพระองค์
 หรือพระธรรม พระสงฆ์ ตามนัยแห่งบาลี ธชัคคสูตรนั้น ก็หมายถึง
 พุทธานุสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ อยู่แล้ว
 แม้ว่าจะเป็นเพียง อุปจารสมาธิ ยังไม่ถึงขึดฌาณก็ตาม
 ล้วนแต่ต้องการความชำนาญ
 จึงอาจเปลี่ยนอารมณ์ที่กลัวให้เป็นพุทธานุสสติ เป็นต้นได้



ส่วนสมาธิ ที่เป็นได้ถึงฌาณ เช่น พรหมวิหาร เป็นต้น
 เมื่อชำนาญแล้ว สามารถที่จะข่มความกลัว ได้เด็ดขาดจริงๆ
 ยิ่งโดยเฉพาะ เมตตา พรหมวิหาร ยิ่งเป็นไปได้ง่ายที่สุด

แต่พึงทราบว่า ทั้งนี้เป็นเพียงข่มไว้เท่านั้น เชื้อของความกลัว ยังไม่ถูกรื้อถอนออก
 เมื่อใดหยุดข่ม มันก็เกิดขึ้นตามเดิม อีกประการหนึ่ง ไม่ใช่วิธีที่ง่ายสำหรับคนทั่วไป
 สำหรับการข่มด้วยสมาธิ
 คนธรรมดาเหมาะสำหรับเพียงแต่เปลี่ยนเรื่องคิดนึกของใจเท่านั้น 
หาอาจทำ การหยุด พฤติการของจิต ให้ชะงักลงได้ง่ายๆ เหมือน นักสมาธิไม่
 และค่อนข้าง จะเป็นการแนะให้เอา ลูกพรวน เข้าไปแขวนผูกคอแมวไป
 ในเมื่อสอนให้ คนธรรมดาใช้วิธ๊นี้

และน่าประหลาดใจอีกอย่างหนึ่งว่า วิธีที่สาม ที่จะกล่าวต่อไปข้างหน้า
 ฃึ่งเป็นวิธีที่สูงนั้น กลับจะเหมาะสำหรับคนทั่วไป และได้ผลดีกว่าเสียอีก
 วิธีนั้น คือ ตัดต้นเหตุ แห่งความกลัวเสีย ตามแต่ที่กำลังปัญญาความรู้ของผู้นั้น
 จะตัดได้มากน้อยเพียงไร ดังจะได้พิจารณากันอย่างละเอียด กว่าวิธีอื่น ดังต่อไปนี้


บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Moderator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #145 เมื่อ: กันยายน 08, 2014, 11:19:17 AM »



เมื่อมาถึงประการ ที่สามนี้ ขอให้เราเริ่มต้นด้วย อุทาหรณ์ง่ายๆ
 ของท่านภิกขุ อานันท เกาศัลยายนะ
[เขียนไว้ในเรื่อง คนเราเอาชนะความกลัวได้อย่างไร ในหนังสือพิมพ์มหาโพธิ
 และบริติชพุทธิสต์ แต่เขียนสั้นๆ เพียงสองหน้ากระดาษเท่านั้น และกล่าวเฉพาะ
 การประพฤติ กายวาจาใจ ให้สุจริตอย่างเดียว ว่า เป็นการตัดต้นเหตุแห่งความกลัว]
เขียนไว้เรื่องหนึ่งเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายในข้อที่ว่า
การสะสางที่มูลเหตุ นั้นสำคัญเพียงไร




อุทาหรณ์ นั้น เป็นเพียงเรื่องที่ผูกขึ้นให้เหมาะสมกับความรู้สึกของคนเราทั่วไป
 เรื่องมีว่า เด็กคนหนึ่งมีความกลัวเป็นอันมาก ในการที่จะเข้าไปใน ห้องมืดห้องหนึ่ง
 ในเรือนของบิดาของเขาเอง เขาเชื่อว่า มีผีดุตัวหนึ่งในห้องนั้น และจะกินเขา
 ในเมื่อเขาเพียงแต่เข้าไป บิดาได้พยายามเป็นอย่างดีที่สุด ที่จะทำได้ ทุกๆ ทาง
 เพื่อให้บุตรของตน เข้าใจถูกว่า ไม่มีอะไร ในห้องนั้น เขากลัวไปเอง
 อย่างไม่มีเหตุผล แต่เด็กคนนั้น ได้เคยนึกเห็นตัวผีมาแล้ว เขาเชื่อว่า
 ไม่มีทางใดที่จะช่วยบุตรของตน ให้หลุดพ้นจากการกลัวผี




 ซึ่งเขาสร้างขี้นเป็นภาพใส่ใจของเขาเองด้วยมโนคติได้จริงแล้ว
 ก็คิดวางอุบาย มีคนใช้คนหนึ่ง เป็นผู้ร่วมใจด้วย ฤกษ์งามยามดีวันหนึ่ง
 เขาเรียกบุตร คนนั้นมา แล้วกล่าวว่า "ฟังซิ ลูกของพ่อ ตั้งนานมาแล้ว
 ที่พ่อเข้าใจว่า พ่อเป็นฝ่ายถูก เจ้าเป็นฝ่ายผิด ก่อนหน้านี้ พ่อคิดว่า
 ไม่มีผีดุ ในห้องนั้น บัดนี้ พ่อพบด้วยตนเองว่า มันมีอยู่ตัวหนึ่ง
 และเป็นชนิดที่น่าอันตรายมาก เสียด้วย พวกเราทุกคน จักต้องระวังให้ดี"

ต่อมาอีกไม่กี่วัน บิดาได้เรียกบุตรมาอีก ด้วยท่าทาง เอาจริงเอาจัง กล่าวว่า
"หลายวันมาแล้ว ผีพึ่งปรากฏตัววันนี้เอง พ่อคิดจะจับและฆ่ามันเสีย
 ถ้าเจ้าจะร่วมมือกับพ่อด้วย ไปเอาไม้ถือ ของเจ้า มาเร็วๆ เข้าเถิด
 ไม่มีเวลาที่จะรอ แม้นาทีเดียว เพราะมันอาจหนีไปเสีย" เด็กน้อยตื่นมาก
 แต่ไม่มีเวลาคิด ไปเอาไม้ถือมาทันที พากันไปสู่ห้องนั้น เมื่อเข้าไปก็ได้พบผี
(ซึ่งเรารู้ดีว่า เป็นฝีมือของคนใช้ทำขึ้น และคอยเชิดมันในห้องมืดนั้น)
สองคนพ่อลูกช่วยกันระดมตีผี ด้วยไม้ถือ และไม้พลอง จนมันล้มลง
 มีอาการของคนตาย พ่อลูกดีใจ คนในครอบครัวทั้งหลาย มีการรื่นเริง
 กินเลี้ยงกันในการปราบผี ได้สำเร็จ ฉลองวันชัย และเป็นวันแรก ที่เด็กนั้น
 กล้าเข้าไปในห้องนั้น โดยปราศจากความกลัวสืบไป
 นี่เราจะเห็นได้ว่า เพียงทำลายล้างผี ที่เด็กสร้างขึ้น ด้วยมันสมองของเขาเอง
 บิดาต้องสร้างผี ขึ้นตัวหนึ่งจริงๆ จึงทำลายได้สำเร็จ โดยอาศัยความฉลาด
 รู้เท่าทันการ รู้จักตัดต้นเหตุ คนโง่ กับคนฉลาด นั้น ผิดกันในส่วนที่ ระงับเหตุร้าย ลงไปจากทางปลาย หรือตัดรากเหง้า ขึ้นมาจากภายใต้




เสือย่อมกระโดด สวนทาง เสียงปืน เข้าไปหาผู้ยิง ในเมื่อรู้สึกว่า ตนถูกยิง
 แต่สุนัข ย่อมมัว ขบกัด ตรงปลายไม้ ที่มีผู้แหย่ ตนนั่นเอง
 หาคิดว่าต้นเหตุสำคัญ อยู่ที่ผู้แหย่ไม่


เมื่อเราพบจุดสำคัญว่า การตัดต้นเหตุเป็นวิธีที่ดีที่สุด ดังนี้แล้ว
 เราก็ประจัญกันเข้ากับปัญหาว่า อะไรเล่า ที่เป็นต้นเหตุแห่งความกลัว ?

เมื่อเราคิดดูให้ดีแล้ว อาจตอบได้ว่า เท่าที่คนเราส่วนมาก จะคิดเห็นนั้น
 ความกลัวผี มีต้นเหตุมากมาย คือ ความไม่เข้าใจในสิ่งนั้นบ้าง
 การมีความกลัวติดตัวอยู่บ้าง ใจอ่อนเพราะเป็นโรคประสาทบ้าง
 อาฆาตจองเวรไว้กับคนไม่ชอบพอกันบ้าง รักตัวเองไม่อยากตายบ้าง
 เหล่านี้ ล้วนเป็น เหตุแห่งความกลัว




มูลเหตุอันแท้จริง เป็นรวบยอด แห่งมูลเหตุทั้งหลาย คืออะไรนั้น
 ค่อนข้างยากที่จะตอบได้ เพราะเท่าที่เห็นกันนั้น เห็นว่า มันมีมูลมากมายเสียจริงๆ
 แต่แท้ที่จริงนั้น ความกลัวก็เป็นสิ่งที่ เกิดมาจากมูลเหตุอันสำคัญอันเดียว
 เช่นเดียวกับ ความรัก ความโกรธ ความเกลียด และ ความหลง
 เพราะว่า ความกลัว ก็เป็นพวกเดียวกันกับ ความหลง (โมหะ หรือเข้าใจผิด)
มูลเหตุอันเดียวที่ว่านั้น ก็คือ อุปาทาน
 ความยึดถือต่อตัวเองว่า ฉันมี ฉันเป็น นั่นของฉัน นี่ของฉัน เป็นต้น
 อันเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อัสมิมานะ (เรื่องนี้ ข้าพเจ้าเคย อธิบายไว้บ้างแล้ว
 ในเรื่อง "สุขกถา" ที่คณะธรรมทาน เคยพิมพ์โฆษณาแล้ว)

ความรู้สึก หรือ ยึดถืออยู่เอง ในภายในใจ ตามสัญชาตญาณนั้น
 มันคลอดสิ่งที่เราเรียกกันว่า "ฉัน" ขึ้นมา และความรู้สึกนั้น ขยายตัวออกสืบไปว่า
 ฉันเป็นผู้ทำเช่นนั้น เช่นนี้ ฉันจะได้รับนั่น รับนี่ หรือเสียนั่น เสียนี่ไป
 นั่นจะส่งเสริมฉัน เป็นมิตรของฉัน นี่จะตัดรอนฉัน ทำลายฉัน เป็นศัตรูของฉัน
"ฉัน" สิ่งเดียวนี้ เป็นรากเหง้า ของความรัก โกรธ เกลียด กลัว หลงใหล  
 อันจักทำลาย ความผาสุก และอิสรภาพ ของคนเรา
 ยิ่งไปกว่าที่เพื่อนมนุษย์ด้วยกันทำแก่เรา มากกว่ามากหลายเท่า หลายส่วนนัก

อุปาทาน ผูกมัดเรา ทำเข็ญให้เรา
 ยิ่งกว่าที่หากเราจะถูกแกล้งหาเรื่องจับจองจำในคุกในตะรางเสียอีก
 เพราะปรากฏว่ามันไม่เคยผ่อนผันให้เราเป็นอิสระ หรือพักผ่อน แม้ชั่วครู่ชั่วยาม



เมื่อมี "ฉัน" ขึ้นมาในสันดานแล้ว "ฉัน" ก็อยากนั่น อยากนี่
 อยากให้เปนอย่างนั้นอย่างนี้ อยากไม่ให้ เป็นอย่างนั้น อย่างนี้
ซึ่งเมื่อพิจารณาดู ซ้ำอีกทีหนึ่งแล้ว จะเห็นว่า เต็มไปด้วย ความเห็นแก่ตนเอง
 หรือ "ฉัน" นั้น ร้อยเปอร์เซ็นต์ "ฉัน" ไม่อยากเจ็บปวด ไม่อยากตาย
 หรือแหลก ละลายไปเสีย ฉัน จึงกลัวเจ็บกลัวตาย เป็นสัญชาตญาณ ของ "ฉัน"
เมื่อกลัวตายอย่างเดียว อยู่ภายในใจแล้ว ก็กลัวง่าย ไปทุกสิ่งที่เชื่อกันว่า
 มันจะทำให้ตาย หรือทำให้เจ็บป่วย ซึ่งเป็นน้องของตาย ทำให้ฉันกลัว
 ผีจะหักคอฉัน กินฉันหลอกฉันขู่ฉัน กลัวเสือซึ่งไม่เคยปรากฏว่าเป็นเพื่อนกันได้




และ
 กลัวสัตว์อื่นๆ แม้แต่งูตัวนิดๆ กลัวที่มืดซึ่งเป็นที่อาศัยของสิ่งน่ารังเกียจเหล่านั้น
 กลัวที่เปลี่ยว ซึ่งไม่มีโอกาส ที่ตนจะต่อสู้ป้องกันตัวได้
 กลัวคู่เวร จะลอบทำฉันให้แตกดับ
 กลัวฉันจะอับอายขายหน้าสักวันหนึ่ง เพราะฉัน มีความผิดปกปิดไว้  
บางอย่าง ฉันกลัว เพราะไม่เข้าใจว่า สิ่งนั้นจะเป็นอะไรก็ไม่รู้ เช่น
 ผลไม้ดีๆ บางอย่าง แต่ไม่เคยรู้จักมาก่อน ถ้ารูปร่าง หรือ สีมันชอบกลแล้ว
 ฉันก็กลัว ไม่กล้ากิน หรือแม้แต่จะชิมก็ขนลุก และในที่สุดเมื่อ
"ฉัน" ปั่นป่วน ในปัญหาการอาชีพ หรือ ชื่อเสียงเป็นต้นของฉัน
 กลัวว่า ฉันจะเสื่อมเสียอยู่เสมอ ฉันก็เป็นโรคใจอ่อน หรือโรคประสาท
 สะดุ้งง่าย ใจลอย ความยึดถือว่า ฉันเป็นฉัน เหล่านี้เป็น มูลเหตุของความกลัว
 ซึ่งเกิดขึ้นแล้ว ก็กวาดความสดใส ชุ่มชื่นเยือกเย็น ให้หมดเตียนไปจากดวงจิตนั้น




เมื่อพบว่า ต้นเหตุ ของความกลัว คืออะไร ดังนี้แล้ว
 เราก็มาถึง ปัญหา ว่าจะตัดต้นเหตุนั้นได้อย่างไร เข้าอีกโดยลำดับ
 ในตอนนี้เป็นการจำเป็น ที่เราจะต้องแบ่งการกระทำ ออกเป็นสองชั้น
 ตามความสูงต่ำ แห่งปัญญา หรือความรู้ ของคนผู้เป็นเจ้าทุกข์
 คือถ้าเขามีต้นทุนสูงพอ ที่จะทำลายอุปาทาน ให้แหลกลงไปได้
 ก็จะได้ ตรงเข้าทำลาย อุปาทาน ซึ่งเมื่อทำลายได้แล้ว
 ความทุกข์ทุกชนิด จะพากันละลายสาบสูญไปอย่างหมดจดด้วย นี้ประเภทหนึ่ง
 และอีกประเภทหนึ่ง คือ พยายาม เพียงบรรเทาต้นเหตุให้เบาบางไปก่อน
 ได้แก่ การสะสางมูลเหตุนั้น ให้สะอาดหมดจด ยิ่งขึ้น






ประเภทแรก สำเร็จได้ด้วยการปฏิบัติธรรมทางใจ ให้ก้าวหน้าสูงขึ้นตามลำดับๆ
 จนกว่าจะหมดอุปาทาน ตามวิธีแห่งการปฏิบัติธรรม อันเป็นเรื่องยาวอีกเรื่องหนึ่ง
 ผู้สำเร็จ ในประเภทนี้ คือ พระอรหันต์ จึงเป็นอันว่า จักงดวิธีนี้ไว้ก่อน
 เพราะไม่เป็นเรื่องที่สาธารณะแก่บุคคลทั่วไป
 และเป็นเรื่องที่เคยอธิบายกันไว้อย่างมาก ต่างหากแล้ว

ส่วนประเภทหลัง นั้นคือ การพยายาม ประพฤติ ความดี ทั้งทางโลก และทางธรรม
 ทั้งในที่แจ้งและในที่ลับ จนตนติเตียนตนเองไม่ได้ ใครที่เป็นผู้รู้ แม้จะมีทิพยโสต
 หรือทิพยจักษุ มาค้นหา ความผิด เพื่อติเตียนก็ไม่ได้
 เป็นผู้เชื่อถือ และเคารพตัวเองได้เต็มเปี่ยม ไม่เบียดเบียนตน ไม่เบียดเบียนท่าน
 ไม่มีเวรภัยที่ผูกกันไว้กับใครรู้กฏความจริงของโลกศึกษาให้เข้าใจในหลักครองชีพ
 หาความ หนักแน่น มั่นใจให้แก่ตัวเอง ในหลักการครองชีพ และรักษา ชื่อเสียง
 หรือคุณความดี พยายามทำแต่สิ่งที่เป็นธรรมด้วย ความหนักแน่น เยือกเย็น
 ไม่เปิดโอกาสให้ใครเหยียดหยามได้ ก็จะไม่ต้องเป็นโรคใจอ่อน หรือโรคประสาท
 เพราะมีความ แน่ใจตัวเอง เป็นเครื่องป้องกัน และสำเหนียก อยู่ในใจ เสมอว่า
 สิ่งทั้งปวงเป็น อนัตตา เป็นไปตามเรื่อง คือ เหตุปัจจัยของมัน ไม่เป็นของแปลก
 หรือได้เปรียบ เสียเปรียบ อะไรแก่กัน ในเรื่องนี้




เมื่อเป็นเช่นนี้ ความกลัว ก็หมดไป ใจได้ที่พึ่ง ที่เกษม ที่อุดม ยิ่งขึ้น
 สมตาม พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสการเห็นแจ้ง อริยสัจ สี่ประการ ไว้ในรองลำดับ
 แห่งการถือ ที่พึ่งด้วยการถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะ
 อริยสัจ ก็คือการรู ้ เหตุผลของความทุกข์ และของความพ้นทุกข์
 ความกลัว ก็รวมอยู่ในพวกทุกข์ เห็นอริยสัจอย่างเพลา
 ก็คือ การเห็น และตัดต้นเหตุแห่งความกลัว
 ประเภททีหลังนี้ เห็นอริยสัจ เต็มที่ถึงที่สุด ก็คือ
 พระอรหันต์ หรือ การตัดต้นเหตุประเภทแรก ได้เด็ดขาด



ข้าพเจ้าขอจบ เรื่องนี้ลง ด้วย พระพุทธภาษิต
 ที่เราควร สำเหนียก ไว้ในใจ อยู่เสมอ
 อันจะเป็นดุจ เกราะ ป้องกันภัย จาก ความกลัว ได้อย่างดี ดังต่อไปนี้

"มนุษย์ทั้งหลายเป็นอันมาก ถูกความกลัว คุกคาม เอาแล้ว
  ย่อม ยึดถือเอา ภูเขาบ้าง ป่าไม้ที่ศักดิ์สิทธิ์บ้าง
  สวนที่ศักดิ์สิทธิ์บ้าง รุกขเจดีย์บ้าง เป็นที่พึ่งของตนๆ
  นั่นไม่ใช่ ที่พึ่ง อันทำความ เกษม ให้ได้เลย
  นั่นไม่ใช่ที่พึ่งอันสูงสุด ผู้ใดถือสิ่งนั้นๆ เป็นที่พึ่งแล้ว
  ก็ยังไม่อาจ หลุดพ้น ไปจากความทุกข์ ทั้งปวงได้







  ส่วนผู้ใดที่ถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งแล้ว
  เห็นอริยสัจทั้งสี่ ด้วยปัญญาอันถูกต้อง คือ เห็นทุกข์ เห็นเหตุ
  เครื่องให้เกิดทุกข์ เห็นการก้าวล่วงไปเสียได้จากทุกข์ และ
  เห็นหนทาง อันประกอบด้วยองค์แปดประการ อันประเสริฐ
  อันเป็นเครื่องยังผู้นั้น ให้เข้าถึง ความรำงับแห่งทุกข์ นั่นแหละ
  คือ ที่พึ่งอันเกษม นั่นแหละ คือที่พึ่งอันสูงสุด
  ผู้ใด ถือเอา ที่พึ่ง นั้นแล้ว ย่อมหลุดพ้น จากทุกข์ทั้งปวงได้ (ธ. ขุ. ๔๐)

 ความโศก ย่อมเกิดแต่ความรัก
  ความกลัว ย่อมเกิดแต่ความรัก
  สำหรับผู้ที่พ้นแล้ว จากความรัก
  ย่อมไม่มีความโศก
  ความกลัว จักมีมาแต่ที่ไหนเล่า



 ความโศก ย่อมเกิดมาจาก ตัณหา (ความอยากอย่างนั้นอย่างนี้)
   ความกลัว ย่อมเกิดมาจาก ตัณหา (เพราะกลัวไม่สมอยาก)
   สำหรับผู้ที่พ้นแล้วจาก ตัณหา ย่อมไม่มีความโศก
  ความกลัว จักมีมา แต่ที่ไหนเล่า " (ธ. ขุ. ๔๓)



ขอให้ความกลัว หมดไปจากจิต ความสุข จงมีแต่ สรรพสัตว์ เทอญ

 

พุทธทาสภิกขุ


๑ สิงหาคม ๒๔๗๙



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 08, 2014, 11:56:59 AM โดย jainu » บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Moderator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #146 เมื่อ: กันยายน 19, 2014, 04:14:01 PM »

บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Moderator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #147 เมื่อ: มิถุนายน 23, 2015, 06:59:43 PM »

บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Moderator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #148 เมื่อ: กรกฎาคม 30, 2015, 01:03:34 AM »


หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม วัดอัมพวัน
"ความกตัญญู" เป็นพื้นฐานของความดี..
คนที่มีบุญวาสนา จะกตัญญูกับพ่อแม่ คนเถียงพ่อเถียงแม่เอาดีไม่ได้ คนไม่พูดกับพ่อแม่ นั่งกรรมฐานร้อยปี ก็ไม่ได้อะไร ถ้าไม่ขออโหสิกรรมฯ
ขออโหสิกรรม ที่คิดไม่ดีกับพ่อแม่ คิดไม่ดีกับครูบาอาจารย์ คิดไม่ดีกับพี่ๆ น้องๆ จะไม่เอาอีกแล้ว เอาน้ำไปขันหนึ่ง เอาดอกมะลิโรย กายกัมมัง วจีกัมมัง มโนกัมมัง โยโทโส อันว่าโทษอันใด ความผิดอันใด ที่ข้าพเจ้าพลั้งเผลอสติไป ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ขอให้คุณพ่อคุณแม่ คุณปู่คุณย่า คุณตาคุณยาย คุณพี่คุณน้อง อโหสิกรรมให้ด้วย แล้วเอาน้ำรดมือรดเท้า


นี่แหละท่านทั้งหลายเอ๋ย เป็นหนี้บุญคุณพ่อแม่มากมาย ยังจะไปทวงนาทวงไร่ ทวงตึก มาเป็นของเราอีกหรือ ตัวเองก็พึ่งตัวเองไม่ได้ สอนตัวเองไม่ได้ เป็นคนอัปรีย์จัญไรในโลกมนุษย์ไปทวงหนี้พ่อแม่ พ่อแม่ให้แล้ว (ให้ชีวิต ให้... ให้... ให้... ฯลฯ) เรียนสำเร็จแล้ว ยังช่วยตัวเองไม่ได้ มีหนี้ติดค้าง รับรองทำมาหากินไม่ขึ้น..
ลูกหลานโปรดจำไว้ เมื่อแยกครอบครัว ไปมีสามีภรรยาแล้ว อย่าลืมไปหาพ่อแม่ ถึงวันว่างเมื่อไร ต้องไปหาพ่อแม่ ถึงวันเกิดของลูกหลาน อย่าลืมเอาของไปให้พ่อแม่รับประทาน อย่ากินเหล้า เข้าโฮเต็ลฯ
ชื่อที่พ่อแม่ตั้งให้เป็นมงคลนาม ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยน เพราะชื่อเป็นเพียงนามสมมุติแทนตัวเรา อย่างหลวงพ่อชื่อ จรัญ ปู่ตั้งให้ หมอดูบอกเป็นกาลกิณี แต่ทำไมเจริญรุ่งเรือง ขอให้เชื่อพระพุทธเจ้าทำดีได้ดี..
คำสอน..หลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน
บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Moderator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #149 เมื่อ: สิงหาคม 05, 2015, 09:51:45 PM »


บูชาคุณหลวงพ่อคำเขียน สุวณฺโณ
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

ก า ย เ ค้ า ก็ แ ส ด ง ใ จ เ ค้ า ก็ แ ส ด ง
เค้าไม่หลบไม่ลี้ไปไหนหรอก แสดงก็แสดงแบบโง่ๆ

ก็ต้องมีสติเห็น เห็นชัดถึงสุด
เห็นสุขก็เห็นว่าเป็นสุข เห็นทุกข์ก็เห็นว่าเป็นทุกข์
เห็นร้อนเห็นหนาวก็เห็นว่าเป็นร้อนเป็นหนาว

เราก็เห็นเรื่อยไป เห็นเรื่อยไป อะไรที่เขาแสดง
เขาแสดงหลายครั้งหลายหน ก็เหลวใหลทั้งนั้นแหละ
เหมือนเราไปดูหนัง เรื่องเดียว สองรอบสามรอบ

หรือเหมือนกับวิทยากรพวกอบรมนักเรียน
ที่ไปอบรมที่ไหนก็เอาเรื่องเก่าเรื่องเก่าไปอบรม
นักเรียนเขาก็รู้ล่วงหน้าแล้ว ต่อไปก็จะเป็นอย่างนั้น
ต่อไปก็จะเป็นอย่างนี้
มันก็เบื่อ ไม่อยากฟัง ไม่อยากสนใจ

เราเห็นตัวเราหลอกตัวเรา
เราเห็นตัวเราทำให้เราเป็นทุกข์ เราก็ถูกความทุกข์หลอก
เราเห็นเราทำให้เราเป็นสุข ถูกความสุขหลอก

ถ้ามีสติมันหลอกไม่ได้ถึงไหนหรอก
เหมือนคนที่หลอกเรา มันหลอกไม่ได้ถึงไหน
แต่มันก็จะมีปัญญาตรงนั้นด้วย
การปฎิบัติธรรมมันเป็นไปทำนองนี้

ฟังได้ที่นี่ค่ะ
23 พบกัน ณ ที่มีสติ: หลวงพ่อคำเขียน สุวณฺโณ
https://www.youtube....h?v=SyqZwdWGeqQ
นาทีที่ 4:00 - 5:20
บันทึกการเข้า

finghting!!!
Gold Price today, Gold Trend Price Prediction, ราคาทองคํา, วิเคราะห์ทิศทางทองคํา
   

images by free.in.th
Thanks: ฝากรูป dictionary ---------------------Charts courtesy of Moore Research Center, Inc. For more information on Moore Research products and services click here. --- http://www.mrci.com ---------- ---------------------------------------------รูปกราฟแสดงราคาทองในอดีตปี 1974-1999 ของ Moore Research Center, Inc. แสดงฤดูกาลที่ราคาทองขึ้นสูงสุดและตําสุด เอาแบบคร่าวๆ เส้นนําตาลหรือนําเงินก็ใกล้เคียงกัน เส้นนําตาลเฉลี่ย 15 ปี เส้นนําเงินเฉลี่ย 26 ปี ราคาตําสุดของเส้นนําตาล หรือเฉลี่ย 15 ปี ในเดือน ปลายเดือน เมษ และปลายเดือน สค ต่อต้นเดือน กย[/color] สูงสุดในเดือน กพ กับ พย / ส่วนเฉลี่ย 26 ปี ราคาตําสุด ต้น กค กับ ปลาย สค และราคาสูงสุดในเดือน กพ และ กลางเดือน ตค ----- แค่ดูคร่าวๆ เป็นแนวทาง อย่ายึดมั่นว่าจะต้องเป็นตามนี้ ข้างล่างเป็นกราฟราคานํามัน ตามฤดูกาล จาก Charts courtesy of Moore Research Center, Inc. images by free.in.th
Thanks: ฝากรูป dictionary
 บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 8 9 [10] 11 12 ... 14   ขึ้นบน
พิมพ์
กระโดดไป: