Forex-Currency Trading-Swiss based forex related website. Home ----- กระดานสนทนาหน้าแรก ----- Gold Chart,Silver,Copper,Oil Chart ----- gold-trend-price-prediction ----- ติดต่อเรา
หน้า: [1]   ลงล่าง
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: วิธีการเขียนลายเซ็นต์ :)  (อ่าน 194850 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 5 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
nokeang
Moderator
Full Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 720



« เมื่อ: กันยายน 21, 2009, 09:33:47 AM »

วิธีการเขียนลายเซ็น

 
เรื่องการเปลี่ยนลายเซ็นนี้เป็นความเชื่อส่วนบุคคล บางคนก็ว่า ตัวเองเซ็นดีแล้ว แต่บางคนคิดอยากจะแก้ไขเปลี่ยนแปลง ถ้าหากการเปลี่ยนลายเซ็นทำให้ชีวิตคุณเปลี่ยนแปลงและ ดีขึ้นภายในสามเดือนโดยไม่ทำให้ใครเดือดร้อนและไม่ต้ องเสียงินเสียทอง คุณจะไม่สนใจบ้างหรือ

ความสำคัญของลายเซ็น
ลายเซ็นมีความสำคัญ บางคนมาทำงานตอนเช้า เซ็นลายเซ็นแต่ไม่รู้ว่ามันบอกอะไรได้บ้าง ลายเซ็นของคุณเป็นสัญลักษณ์และเครื่องหมายบ่งบอกว่าค ุณเป็นคนอย่างไร เป็นตัวแทนของคุณดังนี้

ลายเซ็นสามารถบอกได้ถึง
1.ชีวิตของผู้เซ็น
2.สุขภาพ
3.บุคลิกภาพ
4.บริวาร
5.ฐานะทางการเงิน (ฐานะ ความมันคง การดำเนินชีวิต)

โครงสร้างของลายเซ็น
1.ประธาน
2.บริวาร
3.ช่องไฟ
4.สกุล
5.เครือญาติ

ตำแหน่งประธาน หมายถึง พยัญชนะตัวแรกของเราถือว่าเป็นตำแหน่งของเรา ตำแหน่งที่สองคือบริวาร หมายถึงญาติพี่น้อง เพื่อนฝูงบริวารต่าง ๆ ต่อไป คือช่องไฟ และตามด้วยนามสกุล นามสกุลเป็นพยัญชนะตัวแรกของเรา แล้วก็ตามด้วยเครือญาติ

ลายเซ็นของเรามีหลายตำแหน่ง แต่ว่าสิ่งสำคัญที่สุดคือประธาน ประธานคือตำแหน่ง 1 เราต้องเขียนตัวประธานให้ใหญ่ เช่น ผมชื่อชาญณรงค์ ผมต้องเขียนพยัญชนะ ช. ให้อยู่ในกรอบของหมายเลข 1 และตามด้วยบริวาร หมายเลข 2 จำเป็นที่จะต้องเขียนเว้น อย่าเชื่อมติดกับประธาน เพราะอะไร ปกติหลายคนเขียนชื่อและก็บริวารติดกัน ความหมายก็คือบ่งบอกถึงเรื่องความผูกพันกับบริวารเดี ่ยวเราจะกล่าวถึงช่วงต่อไป

ตำแหน่งต่อไปคือตำแหน่งที่ 3 ช่องไฟ ง่าย ๆ คุณเพียงแค่เอาปากกาของคุณวางทาบ เว้นช่องไฟให้เท่ากับหนึ่งช่องปากกา และตัวต่อไปคือสกุล หมายเลข 4 พยัญชนะ พยัญชนะตัวแรกของคุณเป็นอะไร เช่น ผมนามสกุลขันทีท้าว ผมจะเขียน ข.จะอยู่ตำแหน่งเดียวกับประธาน แต่ว่าขนาดจะไม่เท่ากับประธานจะอยู่ประมาณ 3 ใน 4 และตัวต่อไปก็เป็นเครือญาติ คือบริวารในครอบครัว

คุณเขียนนามสกุลยาวบ่งบอกถึงเรื่องบางอย่างในเครือญา ติ เงินทอง ชื่อ เสียง เกียรติยศ ของคุณ
โครงสร้างของลายเซ็นตามช่วงอายุ
เราพูดถึงโครงสร้างลายเซ็นไปแล้วนะครับ ต่อไปเราจะเขียนลายเซ็นยังไงตามกฎเกณฑ์อายุ ผมตั้งไว้อย่างงี้ครับ เรามักเริ่มเขียนลายเซ็นตั้งแต่อายุ 15 จนถึงอายุ 35 ปี ผมถือว่าช่วงชีวิตของคนเราอยู่ในเกณฑ์ 70 ปี 35 ปี คือครึ่งของชีวิต เพราะฉะนั้น ช่วงต้นของชีวิตเราจะต้องเขียนพยัญชนะชื่อเราให้ยาวก ว่า นามสกุล อย่างงี้ครับ
กฎเกณฑ์ของลายเซ็นอายุต่ำกว่า 35 ปี ควรเซ็นชื่อให้ยาวกว่านามสกุล สามารถเซ็นได้ 2 วิธี
1.เซ็นเฉพาะชื่ออย่างเดียว
2.เซ็นชื่อและนามสกุลย่อ

พอเมื่ออายุเลย 35 ปีไปแล้ว คนจีนบอกว่าตกที่ตา หมายถึงว่าการเจริญเติบโตก้าวหน้า เราจะเขียนพยัญชนะชื่อเราสั้นกว่านามสกุล

กฎเกณฑ์ลายเซ็นอายุ 35 ปีขึ้นไป
 


ให้เซ็นนามสกุลยาวกว่าชื่อ และในกรณีที่ชื่อยาวกว่านามสกุล ให้เซ็นชื่อแบบย่อ และนามสกุลเต็ม

โซนของลายเซ็น
พูดถึงโซนของลายเซ็นมีความสำคัญยังไง หลายคนอาจจะไม่รูว่า ผมเขียนตรงนี้มันคืออะไร เป็นยังไง ตรงนี้ลากยาวลงมาคืออะไร
ความหมายของโซนในลายเซ็นแบ่งออกเป็น 3 ส่วนด้วยกัน
สูง จะเกี่ยวกับเรื่องอนาคต จินตนาการ
กลาง หมายถึงปัจจุบัน
ต่ำ หมายถึงอดีต กรรม ภาระ เรื่องเก่า ๆ
 


โซนกลางจะเป็นโซนที่เรียกว่า เป็นอักษรที่ใช้มากที่สุด เป็นพยัญชนะที่ใช้เป็นปกติ
ส่วนโซนต่ำจะเป็นเรื่องของสาระ เป็นเรื่องของอดีตชาติ ความหลัง กรรม ภาระ จิตใต้สำนึก และกามารมย์ หรือวัตถุนิยม รวมกันอยู่ในตำแหน่งของโซนต่ำ
ส่วนโซนสูง บ่งบอกในเรื่องของจินตนาการ ความฝัน อนาคต วิสัยทัศน์ อุดมคติ คุณธรรม ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องเพ้อฝัน อิมเมจิ้นทั้งหมด ยกตัวอย่างเช่น



ลายเซ็นอย่างนี้ ตรงกลางนี้คือโซนกลางหมดเลย ข้างล่างนี้คืออดีต ข้างตนนี้คืออนาคต
บางคนอย่างชื่อ อมร ไม่มีสระเลย เวลาเขียนเขียนลาก (ตามตัวอย่าง) ซึ่งจริง ๆ แล้วอมรมีแค่พยัญชนะ แต่ขาลากตำแหน่งบริวารลงมา แสดงว่าคนนี้เป็นคนค่อนข้างคิดถึงเรื่องบริวารเก่า ๆ ที่มีปัญหากับเก่า เพราะตำแหน่งบริวารเข้ามาติดอยู่ด้านหลังของพยัญชนะเ รา อันนี้บอกสัญลักษณ์ได้เลยว่า มีปัญหากับบริวารและจะทำให้คุณไม่สบาย ปวดหลัง ตำแหน่งนี้เสีย



เพราะฉะนั้น ถ้าเราจะดูโซนของการเขียนลายเซ็น พยัญชนะอยู่ตัวกลางลากลงมาตำแหน่งข้างล่างเนี่ยเป็นเ รื่องอดีตเก่า ๆ
สมมุติว่าผมเขียนชื่อชาญณรงค์ ผมเขียนตัว ช. อย่างงี้ ผมลากอย่างงี้ (ตามตัวอย่างข้างบน) อันนี้บอกเลยว่า ชาญณรงค์แยกออกมาจริง แต่ว่าบริวารของคุณชาญณรงค์มาถึงเรื่องอดีตเก่า ๆ แล้วก็เป็นคนแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี แต่ว่าไม่วายคิดถึงเรื่องอดีต
แต่ถ้าหากว่าคุณชาญณรงค์เขียนตามตัวอย่างข้างล่าง คุณชาญณรงค์มีจินตนาการมาก และมีชั้นเชิง ประกอบกับมีบริวารที่มีจินตนาการหรือมีพลังมากกว่าคุ ณชาญณรงค์ เพราะแนวตลอดข้างบนนี้เป็นเรื่องของอนาคตเรื่องของจิ นตนาการ แนวข้างล่างเป็นอดีต



ความลาดเอียงของลายเซ็น
ความลาดเอียงของลายเซ็นแบ่งออกเป็น 3 แบบด้วยกัน
1.ลายเซ็นเอียงขึ้น
2.ลายเซ็นแนวระนาบ
3.ลายเซ็นเอียงลง

ลายเซ็นเอียงขึ้น ลายเซ็นแบบนี้บ่งบอกถึงความทะเยอทะยาน มุ่งไปสู่อนาคต กล้าได้กล้าเสีย มีความมั่นใจสูง


ลายเซ็นแนวระนาบ แสดงถึงความมั่นคงทางอารมณ์และจิตใจ หนักแน่น มีวินัย มีการควบคุมตัวเองได้อย่างดี เป็นลายเซ็นที่ดี ละเอียด ประณีต รอบคอบ ลึกซึ้ง



ลายเซ็นเอียงลง น้อยคนที่จะเขียน บ่งบอกถึงจิตใจต่ำ หดหู่ มองโลกในแง่ร้าย ขาดเพื่อน ขาดสังคม คนที่เซ็นลายเซ็นอย่างนี้จะค่อนข้างไม่ประสบความสำเร ็จในอาชีพการงาน



ความลาดเอียงของตัวอักษร
ความลาดเอียงของตัวอักษรแบ่งออกเป็น
1.เอนขวา (ตำแหน่ง ก.,ข.)
2.ตั้งตรง (ตำแหน่ง ค.)
3.เอนซ้าย (ตำแหน่ง ง.,จ.)



ความลาดเอียงของตัวอักษรมีความหมายหลายอย่าง ผมจะใช้สัญลักษณ์ ก.,ข.,ค.,ง.,จ. ถ้าสมมุติว่าคนเขียนลายเซ็นเป็นลายเซ็นที่ตรงอย่างตำ แหน่ง ค. บ่งบอกถึงความมั่นคง ยึดมั่น



แต่สวนมากคนถนัดขวาจะเขียนเอียงไปทางขวามือ อย่างตำแหน่ง ง. ก็เป็นคนอ่อนไหว เป็นคนที่เซ็นซิทีฟ อ่อนไหว อารมณ์คล้อยตามจินตนาการ



ยิ่งเอียงมาก ตำแหน่ง จ.ยิ่งมีอารมณ์อ่อนไหวมาก หลงใหล คลั่งใคล้ เพ้อฝันมาก



แต่ถ้าไม่เอียงขวา ไปเอียงทางซ้าย ตำแหน่ง ข. จะหมายถึงว่าเป็นคนเชื่อมั่นในตัวเอ
ค่อนข้างทะเยอทะยานสูง


ถ้ายิ่งเอียงมากไปตำแหน่ง ก.หยุมหยิม คิดเล็กคิดน้อย แล้วเป็นคนที่เอาตัวเองเป็นหลัก

ขนาดของลายเซ็น
ขนาดของลายเซ็นมีความสำคัญครับ ถ้าเขียนลายเซ็นใหญ่ (ตามตัวอย่างลายเซ็นแรก) จะบ่งบอกว่าเป็นคนที่มีพลังอำนาจยิ่งใหญ่



แต่ถ้าเขียนลายเซ็นผมและสูง (ตามตัวอย่างลายเซ็นที่สอง) บ่งบอกว่าเป็นคนใจแคบ เป็นคนไม่มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี และเป็นคนที่มองโลกในแง่ร้าย
ยิ่งเขียนตัวเล็ก (ตามตัวอย่างลายเซ็นที่สาม) บ่งบอกถึงศักยภาพของตัวเองว่า ทำงานใหญ่ไม่ได้ พยายามจะปิดบังพยามยามจะไม่อยากให้ใครรู้เรื่องราวบา งสิ่งบางอย่าง ไม่มีสิทธิ์ใหญ่
เพราะฉะนั้นสิ่งที่สำคัญที่สุดคือพยัญชนะต้องเขียนให ญ่

วิธีการแก้ไขลายเซ็น
กรอบของลายเซ็นเน้นเฉพาะในตำแหน่งประธาน หลักการคือ
-เขียนให้อยู่ในกรอบ
-ตัวอักษรมีหางสามารถลากเกินกรอบได้

กรอบแบบที่ 1 กลุ่มอักษรปกติ การเขียนพยัญชนะที่ถูกต้องจะต้องอยู่ในกรอบ ไม่ให้ขาดไม่ให้เกิน ถ้าเขียนเกินนอกกรอบ จะทำให้เป็นคนที่เชื่อมั่นในตัวเองมากเกินไป ถ้าเซ็นอักษรส่วนบนอยู่ห่างจากกรอบ จะทำให้ขาดอำนาจ ควรเขียนให้อยู่ในกรอบ



กรอบแบบที่ 2 กลุ่มอักษรหางตวัดกลับ ได้แก่ จ ล ว อ



วิธีการเขียน คือ อย่าปล่อยให้โค้งของพยัญชนะตวัดลงมาแตะตัวอักษร และลงต่ำกว่า 60 %

กรอบแบบที่ 3 อักษรที่มีเส้นด้านล่าง ได้แก่ ฤ ฐ เช่นคนที่มีชื่อฐานันทร์ เป็นต้น ต้องเซ็นให้รู้ว่าอยู่ในกรอบ ส่วนใหญ่จะอยู่สูงต่ำต้องถูกต้องตามวิธีเขียนถึงจะดี



ลายเซ็นกับสุขภาพ

หลักการแก้ไขลายเซ็นทีทำร้ายสุขภาพเรามีหลักง่าย ๆ ดังต่อไปนี้
ห้ามเซ็นตัดหรือแทงในตำแหน่งที่ 1 ในตำแหน่งพยัญชนะหรือประธานจะเทียบท่ากับร่างกายเรา อย่าเซ็นตัดตัวหรือเซ็นแทงลงในตำแหน่งนี้ จะบอกถึงสุขภาพของผู้เซ็น เซ็นตัดตำแหน่งไฟก็จะเกิดผลร้ายที่ตำแหน่งนั้น



การแก้ไขอักษร ส ศ
แก้อักษร ส. เพื่อเปลี่ยนปัญหาปวดศรีษะเป็นเจ็บคอแทน
แก้อักษร ศ.เพื่อเปลี่ยนอาการปวดศรีษะเป็นเจ็บข้อเท้าแทน
ศ.ส. เป็นอักษรที่มีเส้นแทงโดยธรรมชาติข้างบน ตำแหน่งนี้จะบอกถึงความรุนแรงของเรื่องระบบความคิดจะ มีการปวดหัว วิธีการแก้ปัญหาคือ ลากเส้น ส. ให้สะบัดคล้องเพื่อตวัดขึ้นเป็นหัว จะลดอาการปวดหัวมาเป็นเจ็บคอแทน



ส่วน ศ. ถ้าสมมุติลากจาก ค. แล้วมีอักษรแทงที่หัว จะมีอาการปวดหัว มีปัญหาเรื่องระบบความคิด วิธีการแก้คือลากเป็น ค. ไปแล้วมีเส้นแยงขึ้นไป มันจะลดความรุนแรงของการปวดหัวลงให้เหลือเป็นเจ็บขา



การแก้ไขเหลี่ยมคมในพยัญชนะ
เหลี่ยมคมในพยัญชนะหมายถึง ความก้าวร้าว แข็งกร้าว รุนแรง การต่อสู้ปะทะ การลบเหลี่ยมคมช่วยบรรเทาลักษณะดังกล่าวลง
ตัวอักษรในลายะเซ็นส่วนมากจะมีรูปทรงแหลมคมหรือเหลี่ ยมมุม ซึ่งรูปทรงเหล่านี้เป็นลักษณะของความแข็งกร้าว การต่อสู้ ปะทะ การโต้แย้ง ซึ่งจริง ๆ แล้วจะว่าไม่ดีก็ไม่เชิง ซึ่งลักษณะอันนี้อาจจะเหมาะสมกับอาชีพตำรวจทหาร แต่ถ้าคนทั่วไปวิธีการแก้ปัญหาคือ อาจจะเปลี่ยนเป็นโค้งมน เพื่อลดความรุนแรง



จากการที่เราได้ทราบเบื้องต้นเกี่ยวกับการใช้ลายเซ็น ไม่ว่าจะเป็นการใช้ตัวอักษร องค์ประกอบตัวอักษร และการแก้ไขลายเซ็นแบบต่าง ๆ เมื่อท่านได้อ่านแล้ว ท่านสามารถนำไปปรับเปลี่ยนจากลายเซ็นเดิมของท่าน ซึ่งอาจจะไม่ดี แต่เมื่อเราปรับเปลี่ยนแล้วจะดีขึ้น ให้นำส่วนที่เสียออกไป สิ่งที่เหลือจะเป็นสิ่งที่ดี การใช้ลายเซ็นเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ ตัวผู้ใช้ลายเซ็น ต้องเป็นคนดีด้วย ลายเซ็นจึงจะสมบูรณ์

หลังการเขียนลายเซ็นแบบง่าย ๆ
ถูกต้องตามลักษณะและเป็นลายเซ็นที่ดีควรจะทำอย่างไรบ ้าง
1.ต้องใช้สติในการเขียน ให้เขียนลายเซ็นด้วยสติ อย่าใช้อารมณ์เขียนเขียนจรดปากกาอย่างมีสติ ควบคุมเส้นให้มั่นคงและเขียนตามโครงสร้างของลายเซ็น การเขียนแบบหวัดมากมันจะมีผลต่อการเขียนลายเซ็น เพราะว่าอารมณ์เราคอนโทรลต้องใช้สติคอนโทรล มันถึงจะทำให้คุณมีพลังในการเขียน

2.เริ่มเขียนจากพยัญชนะนำตำแหน่งที่ 1 เขียนให้ใหญ่ เต็มตัวแบบสมบูรณ์ และหัวในพยัญชนะหรือสระที่มีหัว คือเรื่องของความคิดในเชิงสร้างสรรค์



ถ้ามีหัวควรจะเซ็นให้มีหัว ถ้าไม่มีหัวอย่าเติม ไม่เซ็นให้ขาหรือเกิน เช่น ส. ต้องเป็น ส.ที่มีหาง ไม่ใช่ ล.ลิง หรือการเซ็น ค. เซ็นเป็น ศ.ศาลาเป็นต้น



และที่สำคัญคืออย่าเขียนย้อนกลับมา เพราะจะหมายถึงความคิดแปรปรวน



3.ตำแหน่งบริวารเว้นวรรคกับตำแหน่งประธาน (ตำแหน่ง 1 กับ 2) เว้นช่องไฟขนาดเศษหนึ่งส่วนสองของตัวอักษร อย่าเซ็นให้ติดกัน



ลายเซ็นให้มีขนาดเล็กกว่าตำแหน่งที่ 1 ให้อยู่ในตำแหน่งที่ 2.1
ถ้าอยู่ในตำแหน่ง 2.2 ก็จะทำให้ตำแหน่งของพยัญชนะนำหรือประธานล้ำมาอยู่ในโ ซนต่ำ แสดงว่าบริวารจะมีอิทธิพลเหนือกว่าตัวเรา



หรือถ้าตำแหน่งที่ 2 ไม่มีช่องไฟกับตำแหน่งที่ 1 ก็จะแสดงว่าบริวารและตัวเราเข้ามาพัวพันหรือเข้ามามี อิทธิพลต่อเรา ซึ่งอาจจะเป็นทางร้ายก็ได้



4.เว้นช่องไฟให้ถูกต้อง ขนาดของตำแหน่งช่องไฟระหว่าง 1 กับ 2 และ 4 กับ 5 ควรมีขนาดเศษหนึ่งส่วนสองของตัวอักษร



ส่วนช่องไฟระหว่าง 2 กับ 4 ควรมีขนาดเท่ากับหนึ่งตัวอักษร เทียบจากขนาดตัวอักษรในการเซ็นของคุณ การเว้นระยะที่เหมาะสมของช่องไฟในแต่ละชุดจะทำให้ชีว ิตคุณดำเนินได้อย่างไม่สมดุล ไม่วุ่นวาย

5.ตำแหน่งพยัญชนะนำของนามสกุลต้องมีขนาดเท่ากับ 1 หรือไม่น้อยกว่าเศษสามส่วนสี่ของตำแหน่งที่ 1 และควรเขียนให้มีความสมบูรณ์ครบถ้วน



ในอีกความหมายหนึ่งของตำแหน่งที่ 1 และ 4 ซึ่งเป็นตำแหน่งสำคัญ ตำแหน่งที่ 1 คือหมายถึงหาทรัพย์เข้ามา และตำแหน่งที่ 4 หมายถึง การจ่ายออก



ถ้า 1 เล็กกว่า 4 ก็แปลว่าหาได้น้อยกว่าจ่าย ซึ่งจะทำให้เกิดความไม่สมดุลทางด้านการเงิน

6.เว้นวรรคตำแหน่ง 4 กับ 5 ตำแหน่งพยัญชนะนำต้องเว้นช่องไฟให้กับบริวาร ตำแหน่งญาติพี่น้อง ลูกหลานก็มีหลักการเดียวกัน



เว้นระยะช่องไฟระหว่าง 4 กับ 5 ขนาดเศษหนึ่งส่วนสองตัวอักษร เซ็นให้ตัวเล็กกว่า 4 และอยู่ในตำแหน่งที่ 5.1 อย่าเซ็นให้ติดกัน

7.การเซ็นสระและวรรณยุกต์ต้องเซ็นที่หลัง สระที่อยู่ในชื่อมักจะทำให้รูปแบบของลายเซ็นเสียหาย และเป็นเรื่องที่ควบคุมยาก สระเอกับสระแอที่นำหน้าส่วนใหญ่มักจะลากเป็นกำแพง ดังนี้



หลักในการเขียนสระและวรรณยุกต์คือ ให้เซ็นหลังสุดหลังจากที่เขียนชื่อแล้วและเขียนนามสก ุลแล้ว ไม่ให้สระเออยู่สูงกว่าพยัญชนะนำ ยกเว้นสระ โ ไ ใ ซึ่งอยู่สูงกว่าธรรมชาติ เพราะฉะนั้นการเขียนสระทีหลังเพื่อให้เรามีสติควบคุม เส้นไม่ให้เกินตำแหน่งที่กำหนดไว้



และนี่คือเป็นหลักการของการเขี่ยนลายเซ็น ถ้าคุณเลือกเซ็นลายเซ็นอย่างนี้ละก็ รับรองว่าลายเซ็นคุณสมบูรณ์แน่นอน

ลักษณะต้องห้ามในลายเซ็น
1.เซ็นตัดตัวเอง ห้ามเซ็นตัดตัวเองในตำแหน่งที่ 1 จะมีความหมายไม่ดีต่อสุขภาพ ร่างกาย เป็นการตัดหือทิ่มแทงตัวเอง
หรือเซ็นตัดทุกตำแหน่ง ต้องแก้ไขนะ เป็นเรื่องที่ซีเรียสมากสำหรับลายเซ็น เดี่ยวจะขยายความเรื่องลายเซ็นกับสุขภาพ

ตัวอย่างลายเซ็นตัดตัวเอง



2.เซ็นเป็นเส้นแทง เส้นแทงมีความหมายถึงการทำร้ายตำแหน่งของตัวเอง ตัวอย่างเส้นแทงที่พบบ่อยคือ เกิดจากรูปแบบตัวอักษร ส. ศ.
เกิดจากวิธีการเขียน ธ. ร.



เส้นที่เกิดจากการลากตวัดมือ



3.เซ็นพยัญชนะเกินกรอบ ไม่มีอักษรส่วนเกินอกนอกเส้นกรอบ เดี๋ยวจะอธิบายเรื่องกรอบของพยัญชนะ แต่หลักการคืออย่าเขียนออกนอกกรอบและเขียนเกินตัวอักษร



4.เซ็นพันกัน อย่าเซ็นพันกัน ลายเซ็นที่มีลักษณะที่พันกันยุ่งเหยิงเหมือนเส้นด้าย เปรียบเสมือนชีวิตที่พบกับความยุ่งยาก ไม่สามารถสะสางปัญหาได้ และจะมีอุปสรรคในชีวิต ขาดระบบระเบียบ ขาดการจัดการ ระบบความคิดไม่ดี ส่วนมากลายเซ็นแบบนี้จะเป็นโรคประสาท



5.เซ็นสระยาวเกินไป อย่าลากสระยาวเกินความจำเป็น การลากสระอุ สระอู ยาวเกินไปจะบ่งบอกถึงว่า ลายเซ็นส่วนใหญ่อยู่ในโซนต่ำ สิ่งเหล่านี้จะบอกถึงเรื่องอดีตเก่า ๆ ที่ผ่านมา



6.เซ็นตัวอักษรขาด อย่าลากตัวอักษรขาด หมายความว่า เซ็นพยัญชนะเดียวแต่ยกปากกาขึ้น ทำให้ตัวพยัญชนะขาดออกจากกัน เช่น คำว่า ?ปกรณ์? แบบนี้ จะทำให้พยัญชนะนำของตัวอักษรสำคัญขาด อันนี้เสียหายมาก เป็นอันตรายทีเดียว
หรือย่างเช่น ทศธรรม ถ้าเขียนอย่างนี้ ความไม่สมบูรณืของตัวอักษรตัวพยัญชนะประธานก็คือความ ไม่สมบูรณ์ของตัวคุณเอง



7..เซ็นสระที่อยู่หน้าเป็นกำแพง อย่าเซ็นสระเป็นกำแพงกั้นตัวเอง อย่างที่อธิบายไปแล้วในวิธีการเซ็นสระ ซึ่งบางคนอาจจะเห็นว่ายุ่งยากก็สามารถตัดออกจากลายเซ ็นได้นะครับ โดยไม่เสียหายอะไร



8.เซ็นกลับหลัง อย่าเซ็นกลับหลัง เช่น เซ็น ส. แทนที่จะเป็น ส. ก็เซ็นเป็น s การทำแบบนี้ทำให้ระบบต่าง ๆ ในความคิดผิดปกติ พยัญชนะขาดพลังและขาดทิศทางที่ถูกต้อง

บันทึกการเข้า

ไม่มีน้ำหนักใด...หนักกว่ากรรม
ไม่มีหนทางใด...ยาวเท่าหนทางแห่งกรรม
MIJI
Hero Member
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2900



« ตอบ #1 เมื่อ: กันยายน 21, 2009, 11:32:17 AM »

โอ้โหยาวเหยียด Shocked ต้องค่อยๆ ศึกษาสะแล้ว O0
บันทึกการเข้า

บทวิเคราะห์คือแนวทาง  การตัดสินใจคือตัวเราเอง
soda
Full Member
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 712


« ตอบ #2 เมื่อ: กันยายน 21, 2009, 11:49:03 AM »

ก๊อปไปเก็บไว้ค่อยๆอ่านดีกว่า Grin Grin Grin
บันทึกการเข้า
mint
Hero Member
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1374


อย่ารับมีดที่ตกจากท้องฟ้า


เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: กันยายน 21, 2009, 07:07:25 PM »

ขอบอก  ลองเปลี่ยนแล้ว  ดีมากกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก Grin Grin Grin Grin Grin
บันทึกการเข้า

  สมอง ช่วยตัดสินใจได้ดีกว่า ต่อมอดีนาลีน     
verb2be
Jr. Member
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 278



« ตอบ #4 เมื่อ: กันยายน 21, 2009, 07:48:10 PM »

สวัสดีค่ะ พี่เอี้ยง
ขอบคุณนะคะ จะลองเล่นดูค่ะ

ขอบอก  ลองเปลี่ยนแล้ว  ดีมากกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก Grin Grin Grin Grin Grin

อะไรดีคะ เซ็นง่ายดีเหรอคะ Grin
บันทึกการเข้า
Theephat
Hero Member
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2435



« ตอบ #5 เมื่อ: กันยายน 25, 2009, 11:01:47 PM »

สวัสดีครับคุณเอี้ยง ถ้าชื่อขึ้นต้นเป็นตัวอักษร ธ แต่เวลาเซ็นแล้วรู้สึกว่าไม่สวยจะสมารถเซ็นเป็นภาษาอังกฤษโดยใช้อักษรขึ้นต้นเป็นตัว T จะดีหรือเปล่าครับ Cheesy Cheesy Cheesy
บันทึกการเข้า
nokeang
Moderator
Full Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 720



« ตอบ #6 เมื่อ: กันยายน 26, 2009, 06:38:33 PM »

สวัสดีครับคุณเอี้ยง ถ้าชื่อขึ้นต้นเป็นตัวอักษร ธ แต่เวลาเซ็นแล้วรู้สึกว่าไม่สวยจะสมารถเซ็นเป็นภาษาอังกฤษโดยใช้อักษรขึ้นต้นเป็นตัว T จะดีหรือเปล่าครับ Cheesy Cheesy Cheesy
สวัสดีค่ะ คุณ Theephat
   คิดว่าน่าจะได้นะค่ะ อยู่ที่ว่าเราเขียนให้สมดุลกันนะค่ะ ตามหลักที่เค้าให้มา เอี๊ยงก็เซ็นต์ไม่ค่อยจะเหมือนเท่าไรเช่นกัน ต้องหัดเซ็นต์บ่อยๆค่ะ
แต่เคยมะก่อน เซ็นต์ตัดลำตัว ปวดท้องบ่อยมากกกก เลิกเซ็นต์แบบนั้นก็หายเลยเช่นกันค่ะ   Grin แปลกดีเหมือนกันค่ะ  Smiley 
บันทึกการเข้า

ไม่มีน้ำหนักใด...หนักกว่ากรรม
ไม่มีหนทางใด...ยาวเท่าหนทางแห่งกรรม
Theephat
Hero Member
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2435



« ตอบ #7 เมื่อ: กันยายน 26, 2009, 10:56:23 PM »

ขอบคุณคุณเอี้ยงที่ให้คำแนะนำครับ Grin Grin Grin
บันทึกการเข้า
wantita
Newbie
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 7



« ตอบ #8 เมื่อ: ตุลาคม 11, 2009, 11:27:15 AM »

กำลังหาข้อมูลอยู่พอดีเพราะว่าเพิ่งเปลี่ยนชื่อมาใหม่

ขอบคุณมากนะค่ะ.. Grin
บันทึกการเข้า
brabus
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #9 เมื่อ: ตุลาคม 11, 2009, 11:46:20 PM »

ขอบคุณมากค่ะ มีประโยชน์มากเลยค่ะ Grin Grin Grin
บันทึกการเข้า
Theephat
Hero Member
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2435



« ตอบ #10 เมื่อ: ตุลาคม 20, 2009, 07:44:19 AM »

อรุณสวัสดิ์ครับคุณนกเอี้ยง
บันทึกการเข้า
nokeang
Moderator
Full Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 720



« ตอบ #11 เมื่อ: ตุลาคม 20, 2009, 09:02:23 AM »

อรุณสวัสดิ์ครับคุณนกเอี้ยง

 อรุณสวัสดิ์ค่ะ คุณ Theephat 
บันทึกการเข้า

ไม่มีน้ำหนักใด...หนักกว่ากรรม
ไม่มีหนทางใด...ยาวเท่าหนทางแห่งกรรม
heng88
Newbie
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 96

สูงสุดคืนสู่สามัญ


« ตอบ #12 เมื่อ: พฤศจิกายน 12, 2009, 07:47:03 PM »

ขอถามครับ
ถ้าชื่อยาวเช่น จริยธรรม  ตัวแรก จำเป็นต้องเป็น จ หรือไม่  จะใช้ตัวอื่นในชื่อเป็นตัวแรกได้ไหมเช่น ธ หรือ ร   รบกวนอยากทราบครับ
บันทึกการเข้า

nokeang
Moderator
Full Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 720



« ตอบ #13 เมื่อ: พฤศจิกายน 12, 2009, 08:08:57 PM »

ขอถามครับ
ถ้าชื่อยาวเช่น จริยธรรม  ตัวแรก จำเป็นต้องเป็น จ หรือไม่  จะใช้ตัวอื่นในชื่อเป็นตัวแรกได้ไหมเช่น ธ หรือ ร   รบกวนอยากทราบครับ


     Smiley สวัสดีค่ะคุณheng88
       ต้องขอบอกก่อนว่าดูลายเซ็นต์ไม่เป็นนะค่ะ แต่อ่านและเข้าใจตามความคิดของตัวเองนะค่ะว่า ชื่อตัวแรกน่าจะเป็น จ เพราะเป็นประธาน
ตัวหลังคือบริวาร ประธานหมายถึงตัวเราเอง จึงคิดว่าน่าจะต้องเป็น จ ค่ะ  Cheesy ถ้าเราใช้ตัวอื่นก็คิดว่าไม่ใช่ตัวเรานะค่ะ ตามตัวอย่างที่เค้าให้มาว่า


ตำแหน่งประธาน หมายถึง พยัญชนะตัวแรกของเราถือว่าเป็นตำแหน่งของเรา ตำแหน่งที่สองคือบริวาร หมายถึงญาติพี่น้อง เพื่อนฝูงบริวารต่าง ๆ ต่อไป คือช่องไฟ และตามด้วยนามสกุล นามสกุลเป็นพยัญชนะตัวแรกของเรา แล้วก็ตามด้วยเครือญาติ

ลายเซ็นของเรามีหลายตำแหน่ง แต่ว่าสิ่งสำคัญที่สุดคือประธาน ประธานคือตำแหน่ง 1 เราต้องเขียนตัวประธานให้ใหญ่ เช่น ผมชื่อชาญณรงค์ ผมต้องเขียนพยัญชนะ ช. ให้อยู่ในกรอบของหมายเลข 1 และตามด้วยบริวาร หมายเลข 2 จำเป็นที่จะต้องเขียนเว้น อย่าเชื่อมติดกับประธาน เพราะอะไร ปกติหลายคนเขียนชื่อและก็บริวารติดกัน ความหมายก็คือบ่งบอกถึงเรื่องความผูกพันกับบริวารเดียวเราจะกล่าวถึงช่วงต่อไป
บันทึกการเข้า

ไม่มีน้ำหนักใด...หนักกว่ากรรม
ไม่มีหนทางใด...ยาวเท่าหนทางแห่งกรรม
Gold Price today, Gold Trend Price Prediction, ราคาทองคํา, วิเคราะห์ทิศทางทองคํา
   

images by free.in.th
Thanks: ฝากรูป dictionary ---------------------Charts courtesy of Moore Research Center, Inc. For more information on Moore Research products and services click here. --- http://www.mrci.com ---------- ---------------------------------------------รูปกราฟแสดงราคาทองในอดีตปี 1974-1999 ของ Moore Research Center, Inc. แสดงฤดูกาลที่ราคาทองขึ้นสูงสุดและตําสุด เอาแบบคร่าวๆ เส้นนําตาลหรือนําเงินก็ใกล้เคียงกัน เส้นนําตาลเฉลี่ย 15 ปี เส้นนําเงินเฉลี่ย 26 ปี ราคาตําสุดของเส้นนําตาล หรือเฉลี่ย 15 ปี ในเดือน ปลายเดือน เมษ และปลายเดือน สค ต่อต้นเดือน กย[/color] สูงสุดในเดือน กพ กับ พย / ส่วนเฉลี่ย 26 ปี ราคาตําสุด ต้น กค กับ ปลาย สค และราคาสูงสุดในเดือน กพ และ กลางเดือน ตค ----- แค่ดูคร่าวๆ เป็นแนวทาง อย่ายึดมั่นว่าจะต้องเป็นตามนี้ ข้างล่างเป็นกราฟราคานํามัน ตามฤดูกาล จาก Charts courtesy of Moore Research Center, Inc. images by free.in.th
Thanks: ฝากรูป dictionary
 บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
พิมพ์
กระโดดไป: