jainu
|
|
« ตอบ #30 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 02, 2012, 08:36:30 PM » |
|
จงแยกแยะความรัก เพื่อไม่ให้เกิดทุกข์ชื่นชอบ ความชื่นชอบมีลักษณะดังนี้ พอใจในสิ่งนั้น อยากได้ อยากเป็นเจ้าของในสิ่งนั้น มีความชื่นชมยินดีที่ได้ครอบครองสิ่งนั้น ไม่พอใจที่ผู้อื่นครอบครองหรือสิ่งนั้นไม่อยู่ หายไป จากไป หรือผู้ใดครอบครองให้เห็น ได้รับรู้ จนอยากจะกลายเป็นความโกรธ ที่นี้ถ้าหลงแก่การชื่นชอบหรือได้ครอบครอง เมือสิ่งนั้นต้องจากไป ก็จะกลายเป็นความพยาบาท หาหนทางเพื่อให้ได้มาซึ่งการครอบครอง แต่ถ้าไม่ได้ก็จะกลายเป็นการทำลาย
ความรัก มักมีลักษณ์ที่ชื่นชมยินดี เห็นคุณค่าของสิ่งนั้น ทะนุถนอมสิ่งนั้น มีความพอใจเมื่อมีผู้อื่นชื่นชมสิ่งเหล่านั้น และยิ่งรู้สึกว่าสิ่งนั้นมีค่ายิ่งขึ้น มีความอยากหรือความพยามยามให้สิ่งมีค่ามากขึ้น มีความสุข ความเจริญ และอาจจะเสียดายหากสิ่งนั้นถูกครอบครองโดยผู้อื่นแต่จะทำใจได้หากเห็นว่าผู้ ครอบครองทำสิ่งนั้นให้ดีขึ้นสุขขึ้น มีค่ามากขึ้น พูดง่ายๆคือดีขึ้นกว่าอยู่ที่เรา พอใจ ยินดีกับความเจริญงอกงาม เช่นความรักของพ่อแม่ที่มีต่อบุตร
ความหลง อันนี้ เป็นความขาดสติ มุ่งมั่น ดุดัน มุทะลุ ความเป็นตัวตน ยืดมั่นถือมั่น เห็นแก่ตัว ขาดการพิจารณา ขาดการยับหยั่ง มีแต่ความต้องการเพื่อตนเอง
เมื่อความหลง ไปรวมกับความชื่นชอบ ไปรวมกับความรัก ก็จะเป็นอันตราย ความสูญเสียความน่ากลัวอีกมากมาย ฉะนั้น รักได้แต่อย่าหลง ชอบแต่อย่าเห็นแก่ตัว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
finghting!!!
|
|
|
jainu
|
|
« ตอบ #31 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 05, 2012, 09:06:20 AM » |
|
รู้เอง เห็นเอง (หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน)ละเรื่องการปฏิบัติ ถ้าปฏิบัติจริงๆ มันก็รู้จริงๆ เห็นจริงๆ เพราะธรรมของพระพุทธเจ้าคือตลาดแห่งมรรคผลนิพพาน ไม่ใช่เป็นธรรมโมฆะ
ขอให้มีผู้ปฏิบัติตาม ท่านเรียกว่า สวากขาตธรรม ตรัสไว้ชอบแล้ว ชอบตั้งแต่พื้นๆ ขึ้นไปถึงวิมุตติพระนิพพาน ไม่มีผิดมีพลาด ขอให้ปฏิบัติตามนั้นเถิด ผลจะได้เป็นที่พอใจโดยลำดับ จนกระทั่งทะลุถึงนิพพานเลย
ศาสนาของพระพุทธเจ้าคือ พุทธศาสนา เป็นศาสนาที่แม่นยำมากที่สุด ในโลกอันนี้มีกี่ศาสนา เป็นศาสนาของผู้มีกิเลส เจ้าของศาสนาเป็นคลังกิเลส สอนออกมาก็ไม่พ้นที่จะนำกิเลสออกมากระจายให้สกปรกโสมม
ผู้ฟังทั้งหลายก็จะเห็นผิดเห็นพลาดไปตามๆ กัน แต่ พุทธศาสนาคือศาสนาของท่านผู้บริสุทธิ์ ออกมาด้วยใจที่บริสุทธิ์ถูกต้องแม่นยำ ผู้ฟังถึงใจๆ สุดท้ายก็ถึงมรรคผลนิพพานด้วยกัน
นี่ ละธรรมของพระพุทธเจ้า ให้พิสูจน์กันทางภาคปฏิบัติ เพียงอ่านตำรับตำราเฉยๆ ไม่หายสงสัย ถ้าลงได้เข้าภาคปฏิบัติแล้ว เปิดออกๆ รู้ตรงไหนหายสงสัยๆ ไม่ต้องหาใครมาเป็นสักขีพยาน
สันทิฏฐิโก รู้เอง เห็นเอง ประกาศก้องขึ้นมา ดังพระพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมา ท่านไปหาใครมาเป็นสักขีพยาน ไม่มี สาวกทั้งหลายตรัสรู้ธรรมอยู่ที่ไหน ถึงธรรมที่ไหนเรียกว่า สันทิฏฐิโก ขั้นสุดยอดๆ ประกาศป้างๆ หายสงสัย ไม่ต้องไปทูลถามพระพุทธเจ้า เพราะ
สันทิฏฐิโก เป็นพระโอวาทที่ทรงประทานไว้แล้วอย่างเฉียบขาด สันทิฏฐิโก ผู้ปฏิบัติจะรู้ผลงานของตนไปโดยลำดับจนกระทั่งถึงสุดท้าย สันทิฏฐิโก ขั้นสุดท้ายได้แก่เป็นพระอรหันต์ เป็นอย่างนั้นละ ให้พากันจำเอา
อย่าพากันขี้เกียจขี้คร้าน การทำบุญให้ทาน เป็นทางก้าวเดินเพื่อความพ้นทุกข์ การรักษาศีล การภาวนา ให้พากันอบรมจิตใจ ถ้าจะปล่อยให้แต่กิเลสตัณหามันขยี้ขยำนี้ ก็ไม่มีวันดีคืนไหนแหละที่จะพ้นทุกข์ไปได้
ให้ มีศีลมีธรรมเข้าไปเปิดไปชะไปล้าง แล้วจะค่อยบริสุทธิ์ขึ้นไป และมีทางที่จะผ่านพ้นจนกระทั่งถึงนิพพานได้ เข้าใจเหรอ เอ้า วันนี้พูดเพียงเท่านี้แหละ
: หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
finghting!!!
|
|
|
jainu
|
|
« ตอบ #32 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 07, 2012, 08:34:45 PM » |
|
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 07, 2012, 08:51:19 PM โดย nujai »
|
บันทึกการเข้า
|
finghting!!!
|
|
|
jainu
|
|
« ตอบ #33 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 07, 2012, 08:37:10 PM » |
|
วู่วาม…(หลวงปู่หล้า เขมปตฺโต)วันหนึ่งหลวงปู่หล้าได้วิสัชนาขึ้นว่า
“อารมณ์วู่วามนั้น หากบุคคลใดรู้ตัวก็ต้องถือว่าเป็นคนมีปัญญาแล้ว และหากถ้ามันเห็นว่าไม่มีประโยชน์มันก็จะวางไปเอง แต่ถ้าหากเห็นว่ามีประโยชน์มันก็วางไม่ได้
อย่างไรก็ตาม มันจะถึงกับฆ่าหรือตีเขาหรือไม่ ข้อนี้ก็เป็นส่วนที่จะต้องรู้อีก ถ้ามันหมายจะฆ่าจะตีเขาก็ส่อแสดงให้เห็นว่ามันยังมีกิเลสมากอยู่ เรื่องนี้เราต้องพิจารณา”
“ใครๆ ในโลกนี้ก็เหมือนกัน ถ้าหากเห็นว่าโลภ โกรธ หลง มันเป็นของอร่อยอยู่ มันก็ลดละไม่ได้ มันต้องไปสังเวยเป็นอาหารของกิเลสต่อไปเรื่องความวู่วามโผงผางนี้ ศาสดากล่าวว่า เป็นตามนิสัยก็มี เพราะบางคนอุปมาเหมือนน้ำใสกลางขุ่นขอบ คือมารยาทไม่งามพูดจาโผงผาง แต่จิตใจเป็นธรรมอยู่
บางคนเหมือนน้ำใสทั้งขอบทั้งกลาง หมายความว่าจิตใจก็เป็นธรรม มารยาทก็เป็นธรรม
ส่วนบางคนที่เหมือนน้ำขุ่นทั้งกลางทั้งขอบ ก็หมายความว่าจิตใจก็ไม่เป็นธรรม คำพูดก็ไม่เป็นธรรม”
“เรื่องของธรรมะของพระพุทธศาสนา ความจริงแล้วเราควรจะต้องปฏิบัติให้ควบคู่กับอารมณ์ของเราไป ดีกว่าที่จะปล่อยให้อารมณ์ไหวไปทางอื่น”
“ยกอุทาหรณ์ คนเราจะสะอาดหรือไม่สะอาดขาดตัวก็ตาม แต่ก็ต้องได้อาบน้ำอยู่นั่นเอง ถ้าไม่อาบน้ำก็ยิ่งไปใหญ่ เข้าสังคมใดๆ ก็ไม่ได้ ฉันใดก็ฉันนั้น ถ้าเราไม่ประพฤติศีลประพฤติธรรมแล้ว ไม่มีอะไรจะมาล้างหัวจิตหัวใจให้สะอาดได้”ที่มา…(คัดลอกจากหนังสือ “หลวงปู่สอนธรรม: หลวงปู่หล้า เขมปตฺโต”)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
finghting!!!
|
|
|
jainu
|
|
« ตอบ #34 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 07, 2012, 08:40:38 PM » |
|
ศีลธรรมกับคน (ท่านพุทธทาสภิกขุ)ศีลธรรมเลว คนก็ได้ กลายเป็นผี หาความดี ไม่ประจักษ์ สักเส้นขน ศีลธรรมดี ผีก็ได้ กลายเป็นคน ที่เลิศล้น ภูมิใจ ไหว้ตัวเอง
ศีลธรรมต่ำ เปลี่ยนคน จนคล้ายสัตว์ จะกินกัด โกงกัน ขมันเขม็ง ศีลธรรมสูง คนสดใส ไม่อลเวง ล้วนยำเกรง กันและกัน ฉันเพื่อนตาย
ศีลธรรมนี้ ทุกวัน มันตายซาก คนมีปาก ก็ไม่พล่าม ศีลธรรมหาย ศีลธรรมกลับ มาเมื่อไร ทั้งใจกาย คนจะหาย จากทุกข์ เป็นสุขเอง ฯ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
finghting!!!
|
|
|
|
jainu
|
|
« ตอบ #36 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 15, 2012, 08:45:16 PM » |
|
ขอบคุณครับคุณหนูใจ สวัสดีค่ะ ด้วยความยินดีค่ะ หนูก็ได้อ่านไปด้วย สะสมความรู้คู่ความดีค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
finghting!!!
|
|
|
jainu
|
|
« ตอบ #37 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 15, 2012, 08:48:11 PM » |
|
อย่าเลี้ยงความไม่สบายใจ คำว่า "ไม่สบายใจ" อย่าใช้ และอย่าให้มีขึ้นในใจต่อไป "Let it go and get it out" ก่อนมันจะเกิด ต้อง "Let it go." ปล่อยให้มันผ่านไป อย่ารับความเอาความไม่สบายใจไว้
ถ้าเผลอไปมันแอบเข้ามาอยู่ในใจได้ พอมีสติรู้สึกตัวว่า ความไม่สบายใจเข้ามาแอบอยู่ในต้อง Get it out! ขับมันออกไปทันที อย่าเลี้ยงเอาความไม่สบายใจไว้ในใจ มันจะเคยตัว ทีหลังจะเป็นคนอ่อนแอ ออดแอด ทำอะไรผิดพลาดนิดๆ หน่อยๆ ก็ไม่สบายใจเคยตัว
เพราะความไม่สบายใจนี้แหละ เป็นศัตรู เป็นมาร ทำให้ใจไม่สงบ ประสาทสมองไม่ปกติ เป็นเหตุให้ร่างกายผิดปกติ พลอยไม่สงบไม่สบายไปด้วย ทำให้สมองทึบไม่ปลอดโปร่งแจ่มใสเป็น habit ความเคยชินที่ไม่ดี เป็นอุปสรรคกีดกั้นขัดขวางสติปัญญาไม่ให้ปลอดโปร่งแจ่มใส
ต้องฝึกหัดแก้ไขปรับปรุงจิตใจเสียใหม่ ทั้งก่อนที่จะทำอะไรหรือกำลังกระทำอยู่ และเมื่อเวลากระทำเสร็จแล้ว ต้องหัดให้จิตใจแช่มชื่น รื่นเริง เกิดปีติปราโมทย์ เป็นสุขสบายอู่เสมอ เป็นเหตุให้เกิดกำลังกายกำลังใจ "Enjoy living" มีชีวิตอยู่ด้วยความเบิกบาน สมองจึงจะเบิกบานจะศึกษาเล่าเรียนก็เข้าใจง่าย เหมือนดอกไม้ที่แย้มบานต้องรับหยาดน้ำค้าง และอากาศอันบริสุทธิ์ฉะนั้น คำสอนบางส่วนของ ท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิต (ธมฺมวิตกฺโกภิกขุ) จากหนังสือ ตามรอยธรรมย้ำรอยครู
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
finghting!!!
|
|
|
|
jainu
|
|
« ตอบ #39 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 15, 2012, 08:57:59 PM » |
|
พุทธศาสนสุภาษิต...การพลัดพราก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
finghting!!!
|
|
|
jainu
|
|
« ตอบ #40 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 26, 2012, 11:41:43 AM » |
|
ยาระงับสรรพทุกข์ยาระงับสรรพทุกข์ / ท่านพุทธทาส
ต้น ‘ไม่รู้ไม่ชี้’ นี่เอาเปลือก
ต้น ‘ชั่งหัวมันเลือก’ เอาแก่นแข็ง
‘อย่างนั้นเอง’ เอาแต่รากฤทธิ์มันแรง
‘ไม่มีกูของกู’ แสวงเอาแต่ใบ
‘ไม่น่าเอาน่าเป็น’ เฟ้นเอาดอก
‘ตายก่อนตาย’ เลือกออกลูกใหญ่ๆ
หกอย่างนี้อย่างละชั่งตั้งเกณฑ์ไว้
‘ดับไม่เหลือ’ สิ่งสุดท้ายใช้เมล็ดมัน
หนักหกชั่งเท่ากับยาทั้งหลาย
เคล้ากันไปเสกคาถาที่อาถรรพณ์
‘สัพเพ ธัมมานาลัง อภินิเวสายะ’
อัน เป็นธรรมชั้นหฤทัยในพุทธนาม
จัดลงหม้อใส่น้ำพอท่วมยา
เคี่ยวไฟกล้าเหลือได้หนึ่งในสาม
หนึ่งช้อนชาสามเวลาพยายาม
กินเพื่อความหมดสรรพโรคเป็นโลกอุดร
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
finghting!!!
|
|
|
jainu
|
|
« ตอบ #41 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 26, 2012, 11:43:37 AM » |
|
ขั้นตอนของความโกรธ ๑๓ ประการขั้นตอนของความโกรธ ๑๓ ประการ (พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๙ ขุททกนิกาย มหานิทเทส ปุราเภทสุตตนิทเทสที่ ๑๐)
๑. ทำจิตให้ขุ่นมัว
๒. ทำให้หน้าเง้าหน้างอ หน้าบูดหน้าเบี้ยว
๓. ทำให้คางสั่น ปากสั่น
๔. เปล่งผรุสวาจา (คำหยาบ)
๕. เหลียวดูทิศต่าง ๆ เพื่อหาท่อนไม้
๖. จับท่อนไม้และศาสตรา
๗. เงื้อท่อนไม้และศาสตรา
๘. ให้ท่อนไม้และศาสตราถูกต้อง (ผู้อื่น)
๙. ทำให้เป็นแผลเล็กแผลใหญ่
๑๐. ทำให้กระดูกหัก
๑๑. ทำให้อวัยวะน้อยใหญ่หลุดไป
๑๒. ทำให้ชีวิต (ผู้อื่น) ดับ
๑๓. ฆ่าผู้อื่น แล้วจึงฆ่าตน (ความโกรธขั้นสูงสุด)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
finghting!!!
|
|
|
jainu
|
|
« ตอบ #42 เมื่อ: มีนาคม 02, 2012, 10:37:12 PM » |
|
ของเก่าปกปิดความจริง...(หลวงปู่แหวน สฺจิณฺโณ)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
finghting!!!
|
|
|
jainu
|
|
« ตอบ #43 เมื่อ: มีนาคม 02, 2012, 10:40:27 PM » |
|
ลืมวันพระ ลืมของดี ลืมความสุข (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม) วันพระนี้ ท่านลองไปดูตามวัดซิว่า มีคนเข้าวัดไหม ไม่มีหรอกเขาไปเที่ยวกัน ลืมวันพระ ลืมของดี ลืมความสุข มีแต่ความทุกข์ไม่ลืม ความสุขกลับลืม แต่อยากได้ความสุขไม่ต้องการทุกข์ แต่ท่านวิ่งไปหากองทุกข์ วิ่งไปหาหนี้สิน วิ่งไปหาหายนะ วิ่งไปหาบุญแต่กรรมมันบัง อยากนั่งกรรมฐานเพียง ๓ วัน เดินจงกรมยังไม่ได้กลับแล้ว ไม่มีความเห็นจริงเลย คนเรามันแย่ลงไป จึงหาความสุขในยุคปัจจุบันไม่ได้ เรามาอยู่ร้อนนอนทุกข์กันแท้ๆ ไม่มีเหาก็หาเหาใส่หัว ไม่มีอะไรก็หาอะไรใส่ตัว ก็ไม่เป็นไรจะไม่ขอกล่าวต่อไป แต่ความละเอียดอ่อนของชีวิตนี้ทุกคนหายาก
ความดีจึงหายากมาก ทำได้ยากมาก แต่ความชั่วทำได้ง่าย ลอยละล่องไปตามสายธารและสายชล เหมือนล่องเรือไปตามสายน้ำฉะนั้น แต่ทำความดีเหมือนพายเรือขึ้นมันฝืนใจ ความดีนี้มันฝืนใจเราท่านทั้งหลายเอ๋ย มันไม่มีปล่อยไปตามอารมณ์ตามใจตัวของท่านหรอก ความดีต้องฝืนใจ ท่านฝืนใจได้ ท่านมีขันติความอดทนฝืนใจได้แล้วท่านจะพบธรรมะ เป็นดวงใจใสสะอาดในตัวท่าน ฝืนใจไม่ได้ ปล่อยไปตามอารมณ์ตามใจตนของตนแล้ว ท่านจะพบแต่หายนะ ท่านจะไม่พบความรู้ที่แน่นอน และความจริงที่เป็นอยู่ของชีวิตอย่างแน่นอน ท่านจะได้ของที่เลวร้ายติดตัวตลอด ข้อมูลจาก jarjarun.org
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
finghting!!!
|
|
|
jainu
|
|
« ตอบ #44 เมื่อ: มีนาคม 02, 2012, 10:42:01 PM » |
|
นินทาว่าร้าย เพราะอิจฉาริษยาเป็นเหตุนินทาและสรรเสริญ อันเป็นกระแสแห่งกรรม แห่งโลกธรรม ที่สำคัญอย่างยิ่ง
เป็น เหตุแห่งทุกข์โทษภัยนานาประการ แก่จิตใจที่ขาดสติ ขาดปัญญา เมื่อผจญกับกระแสเสียงสรรเสริญก็ตาม กระแสเสียงนินทาก็ตาม ไม่มีสติ ไม่มีปัญญาปิดกั้น ปล่อยให้เข้าไปทำร้ายจิตใจ หนักหนาเพียงไรก็ได้ เพียงไม่หนักหนานักก็มี
กระแสเสียงนินทาน่าจะหนักหนารุนแรงกว่ากระแสแห่งการยกย่องสรรเสริญ ดังที่เห็นอยู่ก็เช่นนี้ คือโบราณท่านว่าไว้ว่าจะถึงสมัยหนึ่งที่ คนดีจะต้องเดินตรอก ขี้ครอกจะได้เดินถนน กระเบื้องจะเฟื่องฟูลอย น้ำเต้าน้อยจะถอยจม
ผู้ใหญ่ ในสมัยโบราณ ท่านอธิบายให้ลูกหลานเข้าใจความหมายของคำที่ว่านี้คือ คนดีจะถูกเหยียบย่ำ จนไม่อาจเผยอหน้าให้ใครเห็นได้ คนชั่วร้ายจะได้รับการยกย่อง จนแทบจะล่องลอยฟ้า
ผู้ใหญ่สมัยก่อนที่ ท่านเป็นผู้ดี เป็นคนดี ท่านสอนลูกสอนหลาน ให้มีเหตุผลในการพูดในการฟัง นั่นก็คืออย่าไม่มีเหตุผล ไม่มีสติ ไม่มีปัญญา ในการพูด ในการฟัง ใครพูดอะไร ใครบอกอะไร ได้ยินก็เชื่อ ก็ฟังก็พูดต่อ
ท่านว่านี้เป็นเหตุสำคัญให้ถึงสมัยผู้ดีต้องเดินตรอก น่าจะหมายความว่า ผู้ดีหรือคนดี ถูกประณามหยามเหยียด จนอับอายขายหน้า ไม่อาจให้เห็นหน้าค่าตาได้ พิจารณา ให้เห็นเหตุผล น่าจะเห็นได้ว่าเสียงนินทามีความสำคัญไม่น้อย ทำให้คนดีกลายเป็นคนไม่ดี หรือคนถูกกลายเป็นคนผิดไปได้มากมายยิ่งขึ้น ในทุกวันนี้
จนเป็นเหตุให้มีคำกล่าวว่า กระเบื้องจะเฟื่องฟูลอย น้ำเต้าน้อยจะถอยจม หรือผู้ดีจะเดินตรอก ขี้ครอกจะเดินถนน นั่นเอง
ได้ ยินใครพูดถึงใครอย่างไร ถ้าเป็นผู้ได้ยิน ที่ไม่เคยพบเคยผ่านเรื่องราวที่ฟังเสียงบอกเสียงเล่าด้วยตนเอง ไม่รู้จักผู้ที่ถูกกล่าวถึง ไม่เคยรู้เคยเห็นด้วยตนเอง ในการพูดการทำของแต่ละคน เขาจะเป็นคนดีคนชั่วหรือเป็นคนถูกคนผิดอย่างไร แม้ไม่เคยพบ ไม่เคยเห็น ไม่เคยได้ยิน ไม่เคยได้ฟัง จากปากเขา เป็นภาพเป็นเสียงจากคนอื่นทั้งสิ้น
แม้คนอื่นนั้นเราพอรู้จักอยู่ แต่ก็จงมั่นคงในสติปัญญาของตน จงรอบคอบให้อย่างยิ่ง ในการเชื่อ
ผู้ รอบคอบในการเชื่อ ก็คือรอบคอบในการฟัง เมื่อเป็นผู้รอบคอบในการเชื่อ ก็ย่อมเป็นผู้รอบคอบในการพูดด้วยเป็นธรรมดา การนินทาว่าร้ายที่เต็มไปทุกแห่งทั่วโลกก็ว่าได้ มิได้เกิดแต่เหตุใดอื่น แต่เกิดจากความเชื่อและนอกจากความเชื่อ ก็คือความอิจฉาริษยา
ที่ทรงมีพระพุทธภาษิตว่า“ความริษยาเป็นเหตุให้โลกฉิบหาย” จะกล่าวว่าการนินทาว่าร้าย เป็นเหตุให้โลกฉิบหาย ก็น่าจะไม่ผิด น่าจะเหมือนกันกับที่ทรงมีพระพุทธภาษิตว่า “ความริษยาเป็นเหตุให้โลกฉิบหาย”
เพราะการนินทาว่าร้ายจะไม่เกิด แม้ไม่มีความริษยาเป็นเหตุ เมื่อได้ฟังการนินทาว่าร้าย ก็ไม่ควรลืมพระพุทธภาษิตที่ว่า “ความริษยาเป็นเหตุให้โลกฉิบหาย”
ได้ยินเสียงนินทาว่าร้าย ไม่ว่าจะจากผู้ใดก็ตาม ให้นึกถึงพระพุทธภาษิตทันทีที่ว่า “ความริษยาเป็นเหตุให้โลกฉิบหาย” อย่ายอมเข้าร่วมในการนินทาว่าร้าย หรือในความริษยา แม้เพียงด้วยการเชื่อ โดยมิได้บอกกล่าวเล่าขานต่อไปก็ตาม
แต่ ถ้าเชื่อตามเสียงนินทาว่าร้ายและเป็นการเชื่อด้วยจริงใจ เชื่ออย่างปราศจากความเคลือบแคลงสงสัยในเรื่องที่ได้ยินได้ฟังจากคำบอกเล่า ของคนอื่น ซึ่งอาจจะป็นผู้ที่มีความน่าเชื่อถือ น่าไว้ใจ มีความจริงใจ มีความหวังดี ในการนำเรื่องมาบอกกล่าวเล่าให้ฟัง
จงรอบคอบให้อย่างยิ่งในการฟัง ไม่ว่าผู้พูดผู้เล่าจะเป็นใครก็ตาม นึกไว้อย่างหนึ่งว่า
การนินทาว่าร้าย ถ้าจริงก็เสียหายแก่ผู้พูดผู้ฟังพอสมควร แต่ถ้าไม่จริง ไม่เพียงแต่ผู้พูดเสียหายเป็นอย่างยิ่ง ผู้ฟังผู้เชื่อก็จะเสียหายมาก
แสงส่องใจ (๒๔) ๓ ตุลาคม ๒๕๔๙ : สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมกาสังฆปริณายก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
finghting!!!
|
|
|
Gold Price today, Gold Trend Price Prediction, ราคาทองคํา, วิเคราะห์ทิศทางทองคํา
|
Thanks: ฝากรูป dictionary
---------------------Charts courtesy of Moore Research Center, Inc. For more information on Moore Research products and services click here. --- http://www.mrci.com ----------
---------------------------------------------รูปกราฟแสดงราคาทองในอดีตปี 1974-1999 ของ Moore Research Center, Inc.
แสดงฤดูกาลที่ราคาทองขึ้นสูงสุดและตําสุด เอาแบบคร่าวๆ เส้นนําตาลหรือนําเงินก็ใกล้เคียงกัน เส้นนําตาลเฉลี่ย
15 ปี เส้นนําเงินเฉลี่ย 26 ปี ราคาตําสุดของเส้นนําตาล หรือเฉลี่ย 15 ปี ในเดือน ปลายเดือน เมษ และปลายเดือน สค
ต่อต้นเดือน กย[/color] สูงสุดในเดือน กพ กับ พย / ส่วนเฉลี่ย 26 ปี ราคาตําสุด ต้น กค กับ ปลาย สค และราคาสูงสุดในเดือน
กพ และ กลางเดือน ตค -----
แค่ดูคร่าวๆ เป็นแนวทาง อย่ายึดมั่นว่าจะต้องเป็นตามนี้
ข้างล่างเป็นกราฟราคานํามัน ตามฤดูกาล จาก Charts courtesy of Moore Research Center, Inc.
Thanks: ฝากรูป dictionary
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|