Forex-Currency Trading-Swiss based forex related website. Home ----- กระดานสนทนาหน้าแรก ----- Gold Chart,Silver,Copper,Oil Chart ----- gold-trend-price-prediction ----- ติดต่อเรา
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 11   ลงล่าง
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: เมื่อสุขแท้ ก็ถึงธรรม  (อ่าน 16591 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 5 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ไม่สามารถโหลดไฟล์ภาษา 'Aeva.thai-utf8' ได้
jainu
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #45 เมื่อ: มีนาคม 02, 2012, 10:44:11 PM »



ปล่อยวางแบบควาย




เรียบเรียงโดย ศรีวรา อิสสระ

ลูกศิษย์วัยรุ่นมักจะอ้างเรื่องการปล่อยวาง เมื่อขี้เกียจไม่อยากจะทำอะไรสักอย่าง

ท่านอาจารย์จึงเล่าว่า

ในช่วงเข้าพรรษาปีหนึ่ง หลวงพ่อชาเดินตรวจพระลูกศิษย์ที่กุฏิหลังหนึ่ง พระท่านเอาของไปวางไว้ตรงมุมที่ไม่ใช่ที่ๆ ควรจะวาง

ท่านจึงถามว่า “ทำไมจึงต้องเอาของไปไว้ตรงนั้น”

ลูกศิษย์ให้เหตุผลว่า “เพราะหลังคามันรั่ว”

เมื่อหลวงพ่อถามว่า “ทำไมจึงไม่ซ่อมหลังคา”

ท่านก็ว่า “ท่านกำลังฝึกเรื่องความอดทนและการปล่อยวาง”

หลวงพ่อจึงว่า

นี่คือการปล่อยวางของควาย

ท่านอาจารย์สรุปว่า

พระ พุทธเจ้าไม่ได้สอนว่า อะไรๆก็ต้องปล่อยวาง อะไรๆก็ต้องอดทน เราต้องมีปัญญาแยกแยะว่าอะไรเป็นอะไร สิ่งไหนควรอดทนก็ต้องอดทน บางสิ่งบางอย่างก็ไม่ใช่เรื่องที่ต้องทน บางสิ่งบางอย่างก็ควรจะแก้ไข การปล่อยวางของเราต้องมีปัญญา เป็นตัวกำกับอยู่ด้วยเสมอ



ที่มาื่ : “เรื่องท่านเล่า” เรียบเรียงจากนิทาน และธรรมบรรยาย ที่พระอาจารย์ชยสาโรเคยแสดงไว้เพื่อเป็นธรรมทานโดย ศรีวรา อิสสระ, พิมพ์เพื่อการกุศล โดยกองทุนสื่อธรรมะทอสี ครั้งที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๕๓, หน้า ๒๔๐
บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #46 เมื่อ: มีนาคม 02, 2012, 10:45:18 PM »

ธรรมะสอนใจ / หลวงพ่อฤาษี ลิงดำ



” สิ่งทั้งหลายในโลกนี้ ไม่มีอะไรเป็นปัจจัยแห่งความสุข มันเป็นปัจจัยของความทุกข์ ทุกข์เพราะอะไร ทุกสิ่งทุกอย่างที่เราอยากได้มัน ตัวอยากนี่แหละ ท่านเรียกว่า ตัณหา ตัวทำให้เกิดทุกข์ ”
บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #47 เมื่อ: มีนาคม 02, 2012, 10:46:41 PM »

เมื่อโกรธ ควรทำอย่างไร


ถ้าท่านมีโทสะในขณะภาวนา ให้แก้ด้วยเมตตาจิต ถ้ามีใครทำไม่ดีหรือโกรธ อย่าโกรธตอบ ถ้าท่านโกรธตอบ ท่านจะโง่ยิ่งกว่าเขา จงเป็นคนฉลาดสงสารเห็นใจเขา เพราะว่าเขากำลังได้ทุกข์ จงมี เมตตาเต็มเปี่ยมเหมือนหนึ่งว่าเขาเป็นน้องชายที่รักยิ่งของท่าน เพ่งอารมณ์เมตตาเป็นอารมณ์ภาวนา แผ่เมตตาไปยังสรรพสัตว์ทั้งหลายในโลก เมตตาเท่านั้นที่เอาชนะโทสะและความเกลียดได้

บางครั้งท่านอาจจะเห็นพระภิกษุรูปอื่นปฏิบัติไม่สมควร ท่านอาจจะรำคาญใจ ทำให้เป็นทุกข์โดยใช่เหตุ นี้ไม่ใช่ธรรมะของเรา ท่านอาจจะคิดอย่างนี้ว่า “เขาไม่เคร่งเท่าฉัน เขาไม่ใช่พระกรรมฐานที่ เอาจริงเอาจังเช่นฉัน เขาไม่ใช่พระที่ดี” นี่เป็นกิเลสเครื่องเศร้าหมองอย่างยิ่งของตัวท่านเอง อย่าเปรียบเทียบ อย่าแบ่งเขาแบ่งเรา จงละทิฐิของท่านเสีย และเฝ้าดูตัวท่านเอง นี่แหละคือธรรมะของเรา ท่านไม่ สามารถบังคับให้ทุกคนประพฤติปฏิบัติตามที่ท่านต้องการหรือเป็นเช่นท่านได้ ความต้องการเช่นนี้มีแต่ จะทำให้ท่านเป็นทุกข์ ผู้ปฏิบัติภาวนามักจะพากันหลงผิดในข้อนี้ การจับตาดูผู้อื่นไม่ทำให้เกิดปัญญาได้ เพียงแต่พิจารณาตนเองและความรู้สึกของตน แล้วท่านก็จะเข้าใจได้
บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #48 เมื่อ: มีนาคม 02, 2012, 10:48:09 PM »

พลิกมุมคิด ชีวิตเปลี่ยน


ความ จริงของชีวิตคือทุกข์ ชีวิตของเราทุกคนกำลังเดินทางอยู่ท่ามกลางทุกข์โทษภัยนานาชนิด ภัยธรรมชาติอุบัติเหตุ ไฟไหม้ โจรผู้ร้าย โรคภัยไข้เจ็บ

กล่าว ได้ว่าชีวิตของคนเราโดยทั่วไปแล้วก็มีเหตุการณ์ต่างๆ ที่ไม่น่าปรารถนา มากดดัน บีบบังคับชีวิตของเรามากมาย หมายถึง โลกธรรมแปดฝ่ายที่ไม่น่าปรารถนา คือ เสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา ทุกข์

พระ พุทธเจ้าจึงตรัสไว้ว่า ชีวิตคือทุกข์ ความจริงของชีวิตคือทุกข์ หมายความว่า ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตายเป็นทุกข์ การประสบกับสิ่งที่ไม่รัก การพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้นเป็นทุกข์ ความเศร้าโศกร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ ก็เป็นทุกข์

สมมติว่า เรากำลังอิจฉาใครคนใดคนหนึ่งอยู่เป็นอย่างมาก เพราะเห็นเขามีแต่สุขสมหวัง หรือนึกๆ ดูว่าในโลกนี้มีชีวิตใครที่น่าอิจฉาบ้าง

แต่จริงๆ แล้วไม่ว่าใครจะน่าอิจฉาขนาดไหนก็ตาม เขาเหล่านั้นต่างก็กำลังยืนอยู่ท่ามกลางภัยอันตรายในวัฏสงสารเหมือนๆ กันทุกคน

เรา ทุกคนในโลกนี้ต่างอยู่ท่ามกลางโทษภัยอันตรายที่น่ากลัวในวัฏสงสารกันทั้ง นั้น เพราะฉะนั้นเราไม่ต้องไปคิดน้อยใจอะไร ไม่ต้องไปคิดอิจฉาใคร ไม่ต้องรู้สึกว่า เรามีปมด้อย

ไม่ว่าเราจะเกิดมาในตระกูลดี มีฐานะร่ำรวยขนาดไหน พ่อแม่พี่น้องทุ่มเทความรักความเมตตาให้เรามากแค่ไหน ไม่ว่าเราจะมีกำลังกาย กำลังใจ กำลังทรัพย์ กำลังสติปัญญามากเพียงไรก็ตาม ชีวิตทุกชีวิตย่อมต้องมีอุปสรรคที่ทำให้เราต้องเจ็บกาย เจ็บใจอยู่ไม่มากก็น้อย

พระพุทธเจ้าจึงสอนให้เราต้องสร้างกำลังใจให้หนักแน่น ให้พร้อม ถ้าเราประมาท ชีวิตก็จะพังทลายได้ง่ายๆ

อย่างที่เราก็มองเห็นตัวอย่างอยู่บ่อยๆ เมื่อผิดหวังในชีวิตแล้วก็ทำใจไม่ได้ ทุกข์ทรมานใจจนถึงกับฆ่าตัวตายก็มี

ถ้าเราเปิดตาเปิดใจกว้างแล้ว เราก็จะเห็นว่าโลกนี้มีคำสอนดีๆ ที่มีคุณค่ามากมาย

เรา สามารถเรียนรู้ได้จากประสบการณ์ชีวิตคนอื่น คำสอนต่างๆ จากนักปราชญ์ นักบุญ ครูบาอาจารย์ มีมาตั้งแต่โบราณกาล มีอยู่ทั่วทุกมุมโลก จากฮีบรู อาหรับ จีน ทิเบต อินเดีย ฯลฯ

คำสอนต่างๆ มีความเป็นสากลที่เราสามารถนำมาใช้ในการดำเนินชีวิต เมื่อเกิดทุกข์ มีปัญหาชีวิต กุญแจหรือเคล็ดลับที่จะไขปัญหาก็มีอยู่เสมอ

เมื่อมี ทุกข์เปรียบเหมือนเราตกลงจากที่สูง แต่ถ้ามีปัญญาแล้วก็เหมือนกับว่าเรามีลวดสปริงติดอยู่ที่เท้า พร้อมที่จะกระโดดหนีขึ้นมาได้ทันที

เมื่อตกลงไปข้างล่างพาตัวเองก้าวพ้นจากอุปสรรค พร้อมที่จะก้าวไปข้างหน้าได้เสมอ

หากมีปัญญาแล้ว ไม่ว่าจะมีทุกข์ มีวิกฤตในชีวิต ก็สามารถหาทางออกได้ในทุกสถานการณ์

ที่มา…หนังสือ โชคดี พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก


บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #49 เมื่อ: มีนาคม 04, 2012, 06:03:22 PM »

ทางสายเดียว




การทำสมาธิภาวนานี้ ก็คือ พระพุทธเจ้าทรงสอนให้เราเดินทางสายเดียว (เอกายนมรรค)

ปกติ นั้น พวกเราพากันเดินทางทั้ง ๖ สาย คือ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ของเรานี้ เมื่อไปรับอารมณ์ภายนอกเข้ามา ใจก็ไปติดกับรูปบ้าง ไปติดกับสัมผัสบ้าง

เมื่อจิตของเราไม่ตั้งอยู่ในอารมณ์อันเดียว ความสงบที่เกิดจากดวงจิตของเราก็ไม่มี เพราะธรรมดาทางที่มีมากหลายๆ สายนั้น เราจะเดินพร้อมๆ กันทีเดียวทุกๆ สายย่อมไม่ได้ เราจะต้องเดินสายนั้นบ้าง สายนี้บ้าง ผลัดเปลี่ยนกันอยู่เรื่อยๆ

ดังนั้นหนทางเหล่านี้ก็ย่อมจะราบเรียบไปไม่ได้

เพราะทางสายหนึ่งๆเราไม่ได้เดินอยู่เสมอเป็นนิจ ทางสายนั้นย่อมจะต้องรกและเต็มไปด้วยอันตรายต่างๆ เช่น

๑.เราอาจจะต้องเหยียบเอาหนามหรืออิฐหินที่ขรุขระก็ได้

๒.อาจจะถูกกิ่งไม้ข้างทางเกี่ยวหู ตา ขา แขนเอาบ้างก็ได้

๓.ธรรมดา ที่รกก็มักจะมีมดง่าม งู ตะขาบ แมลงป่อง ฯลฯ ซุกซ่อนอยู่ เมื่อเรามองไม่เห็นไปเหยียบเข้า มันก็อาจจะขบกัดหรือต่อยเอาให้เป็นพิษหรือถึงตายได้

๔.ถ้าเรามี กิจธุระจะเดินตรงหรือรีบลัดตัดทางไปก็ย่อมลำบากไปไม่สะดวก เพราะติดโน่นบ้างนี่บ้างที่เป็นสิ่งกีดขวางทางเดิน ทำให้เราต้องไปถึงเนิ่นช้า หรือมิฉะนั้นก็ไม่ทันการ ถ้าเป็นกลางวันเราก้พอจะแลเห็นทาง ถ้าเป็นกลางคืนก็ยิ่งลำบากมาก

พระ พุทธองค์ทรงเห็นว่า การเดินทางหลายสายนี้ย่อมเป็นภัยอันตรายแก่บุคคล พระองค์จึงทรงวางหลักแนะนำ ให้เราเดินทางแต่สายเดียว ซึ่งเป็นหนทางที่บริสุทธิ์บริบูรณ์และปลอดภัยอันตรายทุกสิ่งทุกประการ

คือ ให้เราทำจิตให้อยู่นิ่งในอารมณ์อันเดียวเรียกว่า “สมาธิภาวนา”


ทาง สายเดียวนี้แหละเป็นทางที่เราจะเดินไปถึงก้อนทรัพย์ ๔ ก้อน คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ซึ่งเป็นสมบัติอันประเสริฐ เป็นของจริงที่ไม่เปลี่ยนแปลงเลย เรียกว่า “อริยสัจจ์” คือ “อริยทรัพย์”

ธรรมโอวาท ของ พระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์ พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร
วัดอโศการาม อ.เมือง จ.สมุทรปราการ
แสดงธรรมเทศนา ณ ศาลาอุรุพงศ์ เมื่อ ๑๖ กันยายน พ.ศ.๒๔๙๗

คัดลอกเนื้อหาจาก
หนังสือแนวทางวิปัสสนา-กัมมัฏฐาน
พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร.จัดพิมพ์เผยแพร่โดยชมรมกัลยาณธรรม ปี พ.ศ. ๒๕๕๒.

ลี ธมฺมธโร. แนวทางวิปัสสนา-กัมมัฏฐาน. พิมพ์ครั้งที่ ๑.
กรุงเทพฯ : ขุมทองอุตสาหกรรมและการพิมพ์, ๒๕๕๒. หน้า ๒๖๗-๒๖๘
บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #50 เมื่อ: มีนาคม 04, 2012, 06:04:58 PM »

ทำใจได้..สบายทุกอย่าง



ทำใจได้สบายทุกอย่าง..


…คน เรานี้เมื่อยังเป็นอยู่ก็เรียกว่ามีชีวิต เมื่อชีวิตนั้นสิ้นไปก็เรียกว่าตาย ชีวิตจึงคู่กันกับความตาย เรียกง่ายๆ ว่า “เป็น” กับ “ตาย” แต่ มองอีกแง่หนึ่ง ความตายที่เป็นความสิ้นสุดของชีวิตนั้น เป็นเพียงปลายด้านหนึ่ง ชีวิตก่อนจะมาถึงจุดจบสิ้นคือความตายนั้น ได้ดำเนินต่อเนื่องมาโดยเริ่มแต่จุดตั้งต้น จุดที่ชีวิตเริ่มต้นนั้นเรียกว่า “เกิด” การเริ่มต้นเป็นคู่กันกับการสิ้นสุด เมื่อมองในแง่นี้ ความตายหาใช่เป็นคู่กับชีวิตไม่ แต่เป็นเพียงการสิ้นสุดที่เป็นคู่กันกับการเริ่มต้นของชีวิตเท่านั้น ดังนั้น ความตายจึงต้องคู่กับความเกิด เรียกง่ายๆ ว่า “เกิดกับตาย”

คน ทั่วไป มักตกอยู่ในแง่มองแบบที่หนึ่ง กล่าวคือ มองเห็นความตายคู่กับชีวิต เมื่อนึกถึงความตาย ก็โยงเข้ามาหาชีวิต แล้วติดอยู่แค่นั้น คือนึกแค่เป็น กับตาย เมื่อความคิดมาหยุดอยู่ที่ชีวิต นึกถึงชีวิตกับความตาย หรือเป็นกับตาย โดยยึดมั่นว่าตายตรงข้ามกับเป็น ความคิดนั้นก็จะหน่วงเหนี่ยวพัวพันและ วนเวียนอยู่กับความรู้สึกในความเป็นตัวตน และนึก ถึงความตายโดยสัมพันธ์กับตัวตน ด้วยอาการที่ให้เกิดความรู้สึกเป็นเรื่องกระทบตัวตน หรือจะสูญเสียตัวตนนั้นไป คือสั่นสะท้านเสียวใจว่า เราจะตาย เราจะไม่มีชีวิต จะไม่เป็นอยู่ต่อไป

เพราะเหตุนี้ คนทั่วไปเหล่านั้นเมื่อนึกถึงความตาย เห็นคนตาย หรือเผชิญกับความตาย จึงเกิดความรู้สึกหวาดกลัวประหวั่นพรั่นพรึง หรือไม่ก็รู้สึกสลดหดหู่ ตลอดจน เศร้าโศกแห้งเหี่ยวหัวใจ ถ้านึกถึงความตายของคนที่ตนเกลียดชังหรือเป็นศัตรู ก็รู้สึกว่าตัวตนนั้นได้สิ่งที่ต้องการ แล้วกลายเป็นเกิดความยินดีลิงโลดใจ

คน ทั่วไปคุ้น ชิน และตกร่องอยู่กับความรู้สึกนึกคิด อย่างนี้ จนกระทั่งในวัฒนธรรมบางสาย ภาษาที่ใช้จะเอ่ยอ้างแต่คำว่า ชีวิตกับความตาย โดยไม่รู้ตระหนักเลยถึงคู่ที่แท้ของมัน คือ เกิดกับตาย เกิดกับตายนั้นถูกกล่าวถึงอย่างแยกต่างหากกัน เป็นคนละเรื่อง ไม่ต่อเนื่องโยงถึงกัน เหมือนดังว่าไม่สัมพันธ์กัน การมองแบบนี้เปิดช่องให้แก่การดำเนินชีวิตที่ผิดพลาดได้มาก ดังจะเห็นว่า เมื่อมีการเกิด ก็สนุกสนานบันเทิง เฉลิมฉลองกันเต็มที่ เมื่อมีการตาย ก็โศกเศร้าพิไรรำพันปานว่าจะตายตามไป ในท่ามกลางระหว่างนั้น ก็ดำเนินชีวิตอย่างลืมตัวมัวเมา หรือได้แต่โลดแล่นลุ่มหลงไป แก่งแย่งเบียดเบียนกัน ไม่มีสติกำกับ ไม่ใช้ปัญญานำทางให้พอดีต่อการที่จะเกิดประโยชน์สุขที่แท้แก่ชีวิตและสังคม

ใน ทางตรงข้าม ถ้ามองความตายคู่กับการเกิด ความคิดจะไม่มาติดตันอยู่ที่ตัวตน เพราะมองจากปลายหรือสุดทางด้านหนึ่งของชีวิต ข้ามเลยไปถึงปลายหรือสุดทางอีกด้านหนึ่ง ชีวิตจะกลายเป็นสภาวะธรรมชาติอย่างหนึ่งที่ถูกเรามองดูเหมือนเป็นของนอกตัว ทั่วไป แลเห็นเป็นกระบวนการที่คืบเคลื่อน ดำเนินไปตามเหตุปัจจัยของมัน จากจุดเริ่มต้นคือเกิด ไปสู่จุดอวสานคือตาย ไม่ติดพันผูกยึดอยู่กับความรู้สึกในตัวตน การมองอย่างนี้สอดคล้องกับความเป็นจริงของชีวิตนั้นเอง เปิดโอกาสแก่สติปัญญาได้มากกว่า จึงนำไปสู่ความเข้าใจรู้เท่าทัน มองเห็นชีวิตตามที่มันเป็นของมัน อาจทำให้ลดละ ตลอดจนลอยพ้นทั้งความหวาดกลัว และความหดหู่โศกเศร้า ในคราวที่นึกถึง พบเห็น หรือแม้เผชิญหน้ากับความตาย

ความตาย เป็นความจริงอย่างหนึ่งที่มนุษย์ทุกคนจะต้องเผชิญ เมื่อจะต้องเผชิญอยู่แล้วก็ควรรู้จักปฏิบัติต่อมันอย่างถูกต้อง ให้เกิดผลดีมากที่สุด และเกิดโทษน้อยที่สุด ดังนั้น พระพุทธเจ้าจึงทรงสอนให้รู้จักระลึกถึงความตาย ดังปรากฏว่า หลักธรรมที่มากับเรื่องนี้ มีทั้งคำสอนสำหรับผู้มองแบบหนึ่ง ซึ่งเห็นความตายมาตันอยู่แค่ชีวิตของตน โดยสอนให้เบนจากความรู้สึกหดหู่และหวาดกลัวที่เป็นโทษ ไปสู่ความรู้สึกที่ดีงามเป็นประโยชน์ และ มีทั้งคำสอนที่ชักนำไปสู่การมองแบบที่สอง ที่จะให้เกิดปัญญา ซึ่งทำจิตใจให้เป็นอิสระบรรลุสันติสุขได้โดยสมบูรณ์

ในระดับที่เน้นการมองแบบที่หนึ่ง


๑. ให้เห็นความจริง ว่า ชีวิตของมนุษย์นั้น นอก จากจะสั้น ไม่ยืนยาวแล้ว ยังไม่มีกำหนดแน่นอนอีกด้วย อย่างที่ว่า จะตายวันตายพรุ่งไม่รู้ที่ ทำให้เห็นคุณค่าของเวลาแล้วเกิดความไม่ประมาท กระตือรือร้นเร่งทำกิจหน้าที่ บำเพ็ญคุณความดี และฝึกฝนพัฒนาตนในทุกทาง ให้ชีวิตเป็นอยู่อย่างมีค่า และเข้าถึงจุดหมายที่ประเสริฐ

๒. ให้รู้เท่าทันความจริง ว่า ทรัพย์สินเงินทองโภคสมบัติ ตลอดจนบุคคลที่รักใคร่ยึดถือครอบครองอยู่นั้น หาใช่เป็นของตนแท้จริงไม่ ไม่สามารถป้องกันความตายได้ และตายแล้วก็ตามไปไม่ได้ มีไว้สำหรับใช้บริโภคหรือสัมพันธ์กันในโลกนี้เท่านั้น

ก. ในด้านทรัพย์สินเงินทอง สมบัติพัสถาน จะได้ไม่โลภและสั่งสมจนเกินเหตุ หรือหวงแหนตระหนี่ไว้ให้เป็นเสมือนของสูญเปล่า แต่จะรู้จักจัดสรรใช้สอย ให้เกิดคุณประโยชน์แก่ชีวิตของตน แก่ญาติมิตรและเพื่อนมนุษย์ สมคุณค่าและความหมายที่แท้จริงของมัน

ข. ในด้านบุคคลผู้เป็นที่รัก และคนในความดูแลรับผิดชอบ จะได้ไม่ยึดติดถือมั่นและห่วงหวงเกินไป จนทำให้เกิดทุกข์เกินเหตุ และทำให้จิตใจไม่สงบ กระสับกระส่าย ทุรนทุราย หลงฟั่นเฟือนในยามพลัดพราก นอกจากนั้นยังรู้ตระหนักว่าตนจะไม่อยู่กับเขาตลอดไป ทำให้เอาใจใส่ให้การศึกษาอบรมตระเตรียมคนเหล่านั้นให้รู้จักพึ่งตนเองได้

ค. ในด้านเพื่อนบ้านและคนอื่นทั่วไป จะได้เห็นอกเห็นใจช่วยเหลือสงเคราะห์กัน ถึงแม้มีเรื่องกระทบกระทั่งกัน หรือโกรธแค้นเคืองขุ่น ก็อาจระงับดับได้ เพราะมาได้คิดว่าจะโกรธเคืองกันไปทำไม อีกไม่นานก็จะต้องตายจากกันไป รักกันและทำดีต่อกันไว้ดีกว่า

๓. ให้รู้ตระหนักในหลักความจริง ว่า ทุกคนมีกรรมเป็นของตน มีแต่กรรมเท่านั้นที่เป็นของของตน เป็นสมบัติติดตัวที่แท้จริง ซึ่งจะตามตนไป และตนก็จะต้องไปตามกรรม เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว ก็จะได้เลิกละ และหลีกเว้นกรรมชั่ว ทำแต่กรรมดี ทำการต่างๆ ที่เป็นประโยชน์

การทำใจตระหนักในหลักกรรมนี้ เมื่อถึงคราวพบเห็นหรือเผชิญกับความตายเข้าจริงๆ ก็จะอำนวยผลดีพิเศษให้อีก ดังนี้

ก. เมื่อเผชิญหน้ากับความตายของตนเอง ระลึกถึงกรรมดีที่ได้ทำไว้ และไม่เห็นกรรมชั่วในตัวเอง ก็จะเกิดปีติโสมนัส เผชิญความตายด้วยความสุขสงบ และความมีสติ แม้เมื่อยังไม่ถึงเวลาตาย ก็ดำเนินชีวิตด้วยความมั่นใจ ไม่หวาดหวั่นกลัวภัย และไม่กลัวต่อความตาย

ข. เมื่อเกิดเหตุพลัดพราก มีผู้ตายจากไป ก็จะทำใจได้ทันเวลาหรือเร็วไวกว่า ทุกคนมีกรรมเป็นของตน เขาไปแล้วตามทางของเขา ตามที่กรรมจะนำพาไป การร้องไห้เศร้าโศกเสียใจของเรา ช่วยอะไรเขาไม่ได้ แต่นั้นก็จะไม่เกิดความโศกเศร้า หรือแม้เกิดก็ระงับดับได้ ทำให้จางคลายหายไปโดยไว พร้อมกันนั้น เมื่อตัดใจจากความอาลัยในผู้ตายแล้ว ก็จะได้หันเหความสนใจกลับมาเอาใจใส่ผู้ที่ยังอยู่ ซึ่งถูกทิ้งอยู่เบื้องหลัง ว่า คนเหล่านี้ที่เราช่วยเหลือได้ มีทุกข์โศกอันใดที่ควรจะไปช่วยขจัดปัดเป่า แล้วหันไปช่วยเหลือ อย่างน้อยก็มองกันด้วยสายตาและน้ำใจแห่งความมีเมตตาปรานี เห็นซึ้งว่าคนที่ตายแล้ว ก็จากไปตามทางของเขา เราช่วยอะไรไม่ได้แล้ว แต่คนที่ยังเหลืออยู่นี้ อีกไม่ช้าก็จะต้องจากกันไปอีก ในเวลาที่เหลืออยู่นี้ควรมาเมตตาอารีช่วยเหลือกัน อย่าให้ต้องเสียใจภายหลังอีกว่า โถ เราตั้งใจไว้ แต่ยังไม่ทันได้ทำอะไรให้ เขาก็จากไปเสียอีกแล้ว

๔. ให้ระลึกถึงหลักแห่งธรรมดา ที่ว่า ทุกคนหวาดหวั่นต่อการทำร้าย ทุกคนกลัวต่อความตาย ชีวิตเป็นที่รักของทุกคน เราฉันใด เขาก็ฉันนั้น นึกถึงอกเขาอกเราแล้ว ไม่ควรฆ่าฟันบั่นทอนกัน การระลึกได้อย่างนี้ จะทำให้เห็นอกเห็นใจกัน ไม่เบียดเบียนกัน หันมาช่วยเหลือสงเคราะห์กัน อยู่ร่วมกันและปฏิบัติต่อกันด้วยดี ถึงขั้นที่ว่า ทำกับเขาเหมือนที่คิดจะทำให้แก่ตัวเราเอง หรือทำต่อคนอื่นเหมือนที่อยากให้เขาทำต่อเรา ซึ่งจะเป็นการช่วยกันสร้างสรรค์โลกหรือสังคมนี้ ให้เป็นโลกหรือสังคมแห่งสันติสุข

ในระดับของการมองแบบที่สอง


๕. ให้รู้เท่าทันตามคติแห่งธรรมดา ว่า ชีวิตนี้ตกอยู่ในอำนาจของกฎธรรมชาติ มีความเป็นไปตามธรรมดา ว่าได้เริ่มต้นขึ้นแล้วด้วยการเกิด เมื่อมีการเริ่มต้นแล้วก็จะต้องมีการสิ้นสุด การตายคือการสิ้นสุดของชีวิตที่เกิดแล้วนั้น ดังนั้น เมื่อเกิดแล้วก็จะต้องตาย หรือมีเกิดก็ต้องมีตาย ชีวิตมีเกิด (แก่ เจ็บ) ตาย เป็นธรรมดา ความตายเป็นธรรมดาของชีวิตนั้น นี้คือลักษณะแห่งความเป็นอนิจจัง เขาไปแล้วตามคติแห่งธรรมดานี้ ทุกคนจะต้องเป็นอย่างนี้ ตัวเราเองก็ต้องเป็นอย่างนี้ มันเป็นเรื่องของธรรมดา เป็นเรื่องของอนิจจัง อนิจจังทำหน้าที่ของมันแล้ว จึงไม่สมควรและไม่มีเหตุผลใดๆ ที่จะต้องเศร้าโศกเสียใจ คิดได้อย่างนี้แล้ว ก็จะไม่กลัว และไม่เกิดความทุกข์ หรือถ้าทุกข์เกิดขึ้นแล้ว ก็จะบรรเทาหรือขจัดปัดเป่าไปได้ในเวลาอันรวดเร็ว

๖. ให้หยั่งรู้สภาวะของสังขาร (ก้าวต่อเลยมรณสติไปสู่วิปัสสนา) รู้เท่าทันความจริงทะลุตลอดไปว่า ชีวิตนี้เป็นสังขาร อาศัยองค์ประกอบทั้งหลายมาประชุมกันขึ้น เกิดจากปัจจัยต่างๆ ปรุงแต่ง เป็นของไม่เที่ยง เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป การเกิดและการตายเป็นธรรมดาของชีวิตนั้น ไม่ใช่แต่ชีวิตที่มองเห็นเป็นตัวเป็นตนเท่านั้น แม้แต่องค์ประกอบต่างๆ ทุกส่วนของชีวิต และสิ่งทั้งหลายทั้งปวง ทั้งรูปธรรมและนามธรรม ต่างก็ตกอยู่ภายใต้กฎธรรมดาแห่งความไม่เที่ยงนี้ ทั้งหมดล้วนเกิดขึ้น ดำรงอยู่ แล้วก็ดับสลาย จะปรากฏรูปลักษณ์อย่างไร ก็เป็นไปตามเหตุปัจจัย ไม่เป็นไปตามความอยากความยึดของผู้ใด ใครต้องการจะทำอะไรให้เป็นอย่างไร ก็ต้องทำที่เหตุปัจจัย

เมื่อรู้เข้า ใจเท่าทันความเป็นจริงอย่างนี้แล้ว ก็จะหลุดลอยพ้นออกมาจากความยึดติดถือมั่นในสิ่งทั้งหลาย จิตใจจะเป็นอิสระ ปลอดโปร่งโล่งเบา ผ่องใสสว่างด้วยปัญญา เป็นอยู่ด้วยปัญญา และทำการต่างๆ ด้วยปัญญา เป็นสุขเบิกบานใจได้ทุกเวลา อยู่พ้นเหนือความทุกข์ บรรลุอิสรภาพและสันติสุขที่แท้จริง ผู้ที่สำเร็จผลของการมองชีวิตแบบที่หนึ่ง จะมีท่าทีต่อความตาย ตามแนวแห่งพุทธศาสนสุภาษิตที่ว่า

“ข้าพเจ้าไม่มีความชั่วที่ทำไว้ ณ ที่ไหนๆ เลย ฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่หวั่นกลัวความตายที่จะมาถึง”
(ขุ.ชา.๒๘/๑๐๐๐/๓๕๐)

“ตั้งอยู่ในธรรมแล้ว ไม่ต้องกลัวปรโลก”
(สํ.ส.๑๕/๒๐๘/๕๙)

ส่วน ท่านที่ประจักษ์แจ้งสมบูรณ์ในการมองชีวิตตามแบบที่สอง จะมีท่าทีต่อชีวิตและความตาย ตามนัยแห่งธรรมภาษิตที่ว่า “จะ มีชีวิตอยู่ ก็ไม่เดือดร้อน ถึงจะตายก็ไม่เศร้าสร้อย ถ้าเป็นปราชญ์ มองเห็นที่หมายแล้ว ถึงอยู่ท่ามกลางความเศร้าโศก ก็หาเศร้าโศกไม่”
(ขุ.อุ.๒๕/๑๐๘/๑๔๒)

“ความ ตายเราก็มิได้ชื่นชอบ ชีวิตเราก็มิได้ติดใจ เราจักทอดทิ้งกายนี้อย่างมีสัมปชัญญะ มีสติมั่น; ความตายเราก็มิได้ชื่นชอบ ชีวิตเราก็มิได้ติดใจ เรารอท่าเวลา เหมือนคนรับจ้างทำงานเสร็จแล้ว รอรับค่าจ้าง”
(ขุ.เถร.๒๖/๓๙๖/๔๐๓)

บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #51 เมื่อ: มีนาคม 14, 2012, 08:13:41 PM »

โพธิธรรมคำสอน (ปรมาจารย์ตั๊ก ม้อ)



''ถ้ามี อสรพิษทั้ง 3 อยู่ในจิตของท่าน ท่านก็ตกอยู่ใน

ดินแดนแห่ง ความสกปรกเมื่ออสรพิษทั้งสาม ( ความโลภ โกรธ หลง )

ออกไปจากจิตของท่าน ท่านก็อยู่ในดินแดนแห่งความบริสุทธิ์ สะอาด

พระสูตรกล่าวว่า “ ถ้าท่านอยู่ในดินแดนที่มีแต่ความ สกปรก พุทธ

ภาวะ ก็ไม่ปรากฏ ,ความเศร้าหมองและความสกปรก หมายถึง ความ

หลงและ กิเลส อันเป็นอสรพิษร้าย ,พุทธะ หมายถึง จิตที่สะอาด สว่าง สงบ ”
บันทึกการเข้า

finghting!!!