Forex-Currency Trading-Swiss based forex related website. Home ----- กระดานสนทนาหน้าแรก ----- Gold Chart,Silver,Copper,Oil Chart ----- gold-trend-price-prediction ----- ติดต่อเรา
หน้า: [1]   ลงล่าง
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: ธรรมะ...กับการเงิน (เอามาช่วยแจมหน่อย)  (อ่าน 2407 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
zyme
บุคคลทั่วไป
« เมื่อ: สิงหาคม 31, 2009, 11:18:19 PM »

ธรรมะ...กับการเงิน

Financial Intelligence
คุณอัจฉรา โยมสินธุ์
 

"ธรรมะ...กับการเงิน" ได้ยินแล้วหลายคนอาจจะแปลกใจไม่น้อย ว่าสองเรื่องนี้มาจะหลอมรวมกันเป็นเรื่องเดียวกันได้อย่างไร ฟังๆ ดูน่าจะเป็นเรื่องที่อยู่กันคนละขั้ว คนละฝั่ง คนละฝา หรือหลายคนอาจจะคิดว่าคงมีหลักธรรมคำสอนเพื่อการใช้ชีวิตทั่วๆ ไปที่พอจะประยุกต์มาใช้จัดการทางการเงินได้บ้าง

 

แต่ที่จริงแล้วมีหลักธรรม คำสอนที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการจัดการทางเงินมากมาย ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ตั้งแต่สมัยพุทธกาล คงเป็นเพราะมีผู้คนเป็นทุกข์เพราะเรื่องทรัพย์สินเงินทองกันมานานแล้ว อย่างที่เราเคยได้ยินเรื่องราวของเศรษฐี พ่อค้า คหบดีผู้มั่งคั่ง หรือยาจกเข็ญใจที่ได้มีโอกาสฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าหลายเรื่อง

 

เป็นที่ทราบกันดีว่า "ธรรมะ" คือ ธรรมชาติ พระพุทธเจ้าทรงสอนให้พวกเราใช้ชีวิตให้เป็นไปตามธรรมดา ตามความจริงของธรรมชาติ คนธรรมดาๆ อย่างเราๆ ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์เงินเดือน เป็นเถ้าแก่ เป็นคุณหมอ เป็นวิศวกร เป็นแม่ค้า พ่อค้า ต่างต้องทำงาน ต้องหาเงิน ต้องใช้จ่าย ต้องทำมาหากินทุกวันเป็นธรรมดา เพราะการทำมาหากินเป็นหน้าที่ เป็นเรื่องปกติธรรมดา เป็นธรรมชาติของคนทำงานอย่างเรา จึงไม่น่าแปลกใจที่มีหลักธรรมเกี่ยวกับเรื่องทรัพย์สินเงินทองมากมาย และเพราะการเปลี่ยนแปลงเป็นธรรมชาติอย่างหนึ่ง การเปลี่ยนแปลงทางสังคม สภาพแวดล้อม และสภาวะเศรษฐกิจ ช่วงที่ผ่านมาเป็นไปอย่างรวดเร็ว จนหลายคนตั้งรับไม่ทัน ปัจจัยหลายอย่างที่เคยเกื้อหนุนต่อการทำมาหากินก็เปลี่ยนแปลงไปด้วย จากที่เคยซื้อง่ายขายคล่อง จะหยิบจับอะไรก็กลายเป็นเงินเป็นทอง จากที่เคยได้โบนัสปีละหลายเดือน เคยมีรายได้จากดอกเบี้ยเงินฝากเป็นกอบเป็นกำ ได้เงินปันผลงามๆ เคยจับจ่ายใช้สอยได้สบายๆ

 

ทุกวันนี้ หลายอย่างเปลี่ยนไป รายได้ไม่เป็นไปอย่างที่เคยได้ ส่วนรายจ่ายกลับสวนทางเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ความผันผวน ความไม่แน่นอนกลายเป็นเรื่องธรรมดาที่เกิดขึ้นทุกวัน การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ทำร้ายความมั่นคงทางการเงินของเรามากน้อยแตกต่างกันไป

 

หนทางหนึ่งที่จะช่วยให้เรารับมือกับการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ได้อย่างมั่นคง ก็คือการสร้างเกราะคุ้มกัน หรือภูมิต้านทานที่เข้มแข็งให้ตัวเราเองโดยการน้อมนำหลักธรรมะมาปฏิบัติอย่างจริงจัง เพราะธรรมะ In trend เสมอไม่ว่ายุคสมัยจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ไม่ว่าสภาวะเศรษฐกิจจะเป็นเช่นไร หากเรายืนได้อย่างมั่นคง เราก็จะตั้งรับได้อย่างเข้มแข็ง และเราก็จะเดินหน้าก้าวต่อไปได้อย่างมั่นใจ

 

วันนี้ Financial Intelligence ขอนำเสนอหลักธรรมที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับทรัพย์สินเงินทองมาเผยแผ่เพื่อให้คนทำงาน คนธรรมดาอย่างเราๆ ได้เห็นความจริงตามธรรมชาติว่า แท้จริงแล้วเรื่องเงินๆ ทองๆ เป็นเรื่องธรรมดาที่จัดการได้

 

"อุฏฺฐาตา กมฺมเธยฺเยสุ อปฺปมตฺโต วิธานวา สมํ กปฺเปติ ชีวิตํ สมฺภตํ อนุรกฺขติ

ขยันทำงาน

ไม่ประมาท

ฉลาดในการจัดการ

เลี้ยงชีพแต่พอดี

 ย่อมรักษาทรัพย์สมบัติให้คงอยู่และเพิ่มทวี"

 

จะเห็นว่าแนวปฏิบัติสี่ข้อสั้นๆ นี้ทำได้ไม่ยากนัก เริ่มต้นด้วยการหารายได้ ที่ต้องขยันทำงาน คงต้องลองพิจารณาให้รอบคอบอีกสักครั้งหนึ่งว่าเราขยันแล้วหรือยัง แล้วเราขยันอย่างฉลาดหรือไม่ เราทำงานอย่างมีประสิทธิภาพแล้วหรือยัง การทำงานเยอะๆ แบบขาดประสิทธิภาพอาจจะไม่ให้ผลผลิตที่ดี และไม่คุ้มค่า

 

นอกจากนี้ การขยันทำงานยังต้องรวมไปถึงการขยันพัฒนางานที่ทำอยู่ด้วย คือหมั่นหาความรู้เพิ่มเติม และพัฒนาทักษะที่เกี่ยวข้องกับงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างคุณภาพงานและความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน

 

ข้อต่อมาต้องไม่ประมาท เพราะความประมาททำให้เกิดความเสื่อม ความเสียหาย ทั้งเสื่อมเสียทรัพย์สิน เสียชื่อเสียง เสียสุขภาพ เสียงานเสียการ ซึ่งความประมาทที่เป็นตัวการสำคัญ เป็นเหตุแห่งความเสื่อมเสียทรัพย์สิน ก็คือ อบายมุขทั้งหกประการ ได้แก่ การเล่นพนันรวมทั้งแทงบอลซื้อหวย การดื่มสุรายาเสพติด การเที่ยวกลางคืน การคบเพื่อนไม่ดี การเกียจคร้านในการทำงาน และการดูหนัง ดูละครเป็นประจำ อบายมุขทั้งหกนี้ ใครต้องการมีทรัพย์ไว้ใช้ในบั้นปลายชีวิต ต้องการรักษาทรัพย์สินไว้ให้ลูกให้หลานใช้ในอนาคตต้องหลีกให้ไกล

 

ข้อสำคัญ ในการรักษาทรัพย์ต่อมาก็คือ ต้องฉลาดในการจัดการ ยิ่งในยุคดอกเบี้ยต่ำ น้ำมันแพง ข้าวของแพง เงินเฟ้อสูงแบบนี้ ยิ่งต้องฉลาด ต้องหาวิธีวางแผนและจัดการเงินของเราอย่างรอบคอบ อาจจะใช้หลัก โภควิภาคสี่ มาลองจัดการแบ่งเงินเป็นสี่ส่วน โดยส่วนที่หนึ่งไว้สำหรับใช้จ่ายเลี้ยงชีพ และเลี้ยงดูพ่อแม่ ส่วนที่สองและส่วนที่สามให้รวมกันแล้วใช้ในการประกอบการงานอาชีพ และส่วนสุดท้ายให้กันไว้ใช้ในยามจำเป็น และข้อสุดท้ายต้องรู้จักเลี้ยงชีพแต่พอดี ไม่ใช้จ่ายเกินฐานะ ต้องรู้จักใช้เงินให้น้อยกว่าที่หาได้เสมอ ยิ่งในยุคสังคมนิยมบริโภคอย่างในปัจจุบัน ยิ่งต้องระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น เพราะมีสิ่งเร้ามากมาย ทั้งลดแลกแจกแถม โปรโมชั่นพิเศษที่คอยเชิญชวนให้เราจับจ่ายใช้สอยตลอดเวลา รวมทั้งการซื้อก่อนผ่อนทีหลังก็ทำได้ง่ายดายแสนสบายชวนให้เป็นหนี้ได้ทั้งที่ไม่จำเป็น

 

ดังนั้น ทุกครั้งที่จะใช้จ่ายต้องถามตัวเองเสมอว่าเราจำเป็นต้องใช้จริงๆ หรือไม่

 

จะเห็นว่าแนวปฏิบัติสี่ข้อสั้นๆ ในการรักษาทรัพย์ให้คงอยู่และเพิ่มทวีนี้เป็นแนวปฏิบัติที่ครบถ้วนสมบูรณ์และทำได้จริง สำคัญที่ว่าจะลงมือทำจริงๆ หรือไม่


 O0 O0 O0 O0 O0 O0

บันทึกการเข้า
zyme
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #1 เมื่อ: สิงหาคม 31, 2009, 11:21:25 PM »

เอามาช่วย ๆ แจมหน่อยครับ อิ อิ....

หวังว่ามีประโยชน์สำหรับเพื่อนสมาชิกผู้สนใจในการลงทุน 
  Grin Grin Grin Grin Grin
บันทึกการเข้า
เพชร
Newbie
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 66



« ตอบ #2 เมื่อ: สิงหาคม 31, 2009, 11:26:28 PM »

ขอบคุณค่ะ 
โอกาสหน้าจะมาแจมด้วยค่ะ
วันนี้เอาดอกไม้มาฝากค่ะ

               
บันทึกการเข้า

ET
Newbie
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 20


« ตอบ #3 เมื่อ: กันยายน 09, 2009, 11:09:38 PM »

ขอบคุณมากค่ะ  Grin
บันทึกการเข้า
Gold Price today, Gold Trend Price Prediction, ราคาทองคํา, วิเคราะห์ทิศทางทองคํา
   

images by free.in.th
Thanks: ฝากรูป dictionary ---------------------Charts courtesy of Moore Research Center, Inc. For more information on Moore Research products and services click here. --- http://www.mrci.com ---------- ---------------------------------------------รูปกราฟแสดงราคาทองในอดีตปี 1974-1999 ของ Moore Research Center, Inc. แสดงฤดูกาลที่ราคาทองขึ้นสูงสุดและตําสุด เอาแบบคร่าวๆ เส้นนําตาลหรือนําเงินก็ใกล้เคียงกัน เส้นนําตาลเฉลี่ย 15 ปี เส้นนําเงินเฉลี่ย 26 ปี ราคาตําสุดของเส้นนําตาล หรือเฉลี่ย 15 ปี ในเดือน ปลายเดือน เมษ และปลายเดือน สค ต่อต้นเดือน กย[/color] สูงสุดในเดือน กพ กับ พย / ส่วนเฉลี่ย 26 ปี ราคาตําสุด ต้น กค กับ ปลาย สค และราคาสูงสุดในเดือน กพ และ กลางเดือน ตค ----- แค่ดูคร่าวๆ เป็นแนวทาง อย่ายึดมั่นว่าจะต้องเป็นตามนี้ ข้างล่างเป็นกราฟราคานํามัน ตามฤดูกาล จาก Charts courtesy of Moore Research Center, Inc. images by free.in.th
Thanks: ฝากรูป dictionary
 บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
พิมพ์
กระโดดไป: