jainu
|
|
« ตอบ #570 เมื่อ: มิถุนายน 13, 2016, 09:54:47 PM » |
|
เปรียบเทียบการรักษาทางคลินิกแผนจีน - แผนตะวันตก (ตอนที่ 2) รักษาแบบองค์รวมกับรักษาเฉพาะส่วน
โพสโดย Anonymous เมื่อ 1 สิงหาคม 2551 00:00
บทนำต้นๆ ของคนที่ศึกษาศาสตร์ แพทย์แผนจีนจะได้รับการเน้นย้ำเสมอว่า แพทย์แผนจีนมีจุดเด่น ที่สำคัญยิ่งประการหนึ่งคือ ทัศนะองค์รวม
เพื่อให้เกิดความเข้าใจรูปธรรมของการเปรียบเทียบ กับการแพทย์แผนปัจจุบันที่มักเน้นการรักษาเฉพาะส่วน จึงขอนำตัวอย่างผู้ป่วยจริงที่พบเห็นทางคลินิกมาเป็นตัวอย่าง
ผู้ป่วยนอนไม่หลับ ฝัน ประจำเดือนมามากผิดปกติ ผู้ป่วยหญิงอายุ 25 ปี มาปรึกษาแพทย์จีนด้วยปัญหานอนไม่หลับมานาน 3 เดือน ได้ปรึกษาแพทย์แผนปัจจุบัน แพทย์ให้ยาคลายเครียดและยานอนหลับมากินก็ยังนอนไม่หลับ ผู้ป่วยเป็นคนขี้กังวล ใจสั่น ตกใจง่าย มึนงงศีรษะเป็นประจำ ขณะจะนอนหลับมักมีเรื่องที่ผ่านเข้ามาในสมองให้คิดตลอดเวลา ยับยั้งการคิดไม่ได้
นอกจากนั้นยังมีอาการเบื่ออาหาร อาหารไม่ย่อย อ่อนเพลีย และมีประจำเดือนปริมาณมากมาแต่ละครั้งนาน 7 วัน ขณะมีประจำเดือนก็จะเมื่อยล้า ปวดเมื่อยทั้งตัว บางเดือนต้องลาหยุดงานบ่อยๆ
ผู้ป่วยเป็นคนที่ร่างกายอ่อนแอมาตลอด เพราะป่วยเรื้อรังด้วยอาการปวดศีรษะไมเกรนเป็นประจำ ขณะเดียวกันหน้าที่การงานก็เป็นเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งหนึ่ง ที่ต้องเคร่งเครียดกับงานตลอดเวลา การตรวจด้วยแผนปัจจุบันและทำ MRI ไม่พบความผิดปกติ
มุมมองของแพทย์แผนปัจจุบัน เบื้องต้นสรุปได้ว่าผู้ป่วยรายนี้มีปัญหาความเครียด ทางจิตใจที่เป็นผลจากความเจ็บป่วยของร่างกายและการงาน การพักผ่อนไม่เพียงพอ ทำให้ร่างกายทรุดโทรมต่อเนื่อง ความเครียดทำให้มีผลต่อการทำงานของระบบย่อยและดูดซึมอาหาร และความอยากอาหารลดลง ทำให้ร่างกายได้รับอาหารไม่เพียงพอ ซ้ำเติมให้ภาวะร่างกายแย่ลงไปอีก
การรักษาต้องเน้นที่การแก้ภาวะจิตใจและให้ยาแก้อาการเฉพาะหน้าเพื่อบรรเทาอาการ เช่น ยาคลายเครียด ยานอนหลับ ยาช่วยย่อยอาหารหรือยากระตุ้นความอยากอาหาร ถ้าปวดไมเกรนก็ให้ยาบรรเทาอาการปวดไมเกรน
ส่วนปัญหาเรื่องประจำเดือนออกมากผิดปกติ อาจจะต้องตรวจเช็กเกล็ดเลือดว่าต่ำหรือไม่ ถ้าต่ำอาจต้องพิจารณาให้ยาสเตียรอยด์ และให้การบำรุงเลือด เช่น เหล็ก โฟลิก วิตามิน
ทั้งหมดที่กล่าวมา ถึงแม้จะเห็นความสัมพันธ์ต่อเนื่องของปัญหาความเครียดที่ส่งผลต่อภาวะร่างกาย ทำให้เกิดปัญหาต่างๆ อธิบายได้บ้างไม่ได้บ้าง แต่วิธีการรักษาจะมีลักษณะแยกส่วนรักษาเป็นเรื่องๆ ตามอาการ รอให้ร่างกายสามารถปรับสมดุลได้เอง การใช้ยาก็จะหมดความจำเป็น โดยเฉพาะปัญหาความเครียด เป็นเรื่องใหญ่ที่ไม่สามารถใช้ยาเป็นด้านหลักของการรักษา
มุมมองของแพทย์แผนจีน ปัจจัยของการเกิดโรคที่มีผลกระทบต่ออวัยวะภายใน (จั้งฝู่) โดยตรงคือปัญหาทางจิตใจและอารมณ์ แพทย์แผนจีนอธิบายว่าอารมณ์ทั้ง 7 (โมโห ดีใจ กังวล เศร้าโศก เสียใจ ตกใจ กลัว) มีผลโดยตรงต่อสุขภาพ โดยเฉพาะการทำงานของอวัยวะภายในที่ควบคุมการทำงานทั้งหมดของร่างกาย
อวัยวะแรกที่กระทบคือ หัวใจ (มีความหมายกว้าง รวมถึงสมองและระบบประสาทอัตโนมัติ) กรณีที่ผู้ป่วยมีความวิตกกังวลเป็นอารมณ์พื้นฐานจะส่งผลกระทบต่อ อวัยวะม้าม (เกี่ยวข้องกับความอยากอาหาร การย่อยและการดูดซึมอาหาร)
เมื่อร่างกายอยู่ในภาวะเครียด วิตกกังวลนานๆ จะทำให้ 1. พลังหัวใจอ่อนพร่อง ทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับ ฝัน สมาธิไม่ดี ตกใจง่าย ความจำเสื่อม 2. พลังกระเพาะอาหารและม้ามพร่อง ทำให้ไม่อยากอาหาร การย่อยและดูดซึมอาหารแย่ลง ร่างกายอ่อนเพลีย ท้องอืด บางครั้งท้องเสีย อาหารไม่พอจะไปเลี้ยงสมอง ทำให้เกิดอาการมึนงง 3. พลังม้ามพร่อง นอกจากการสร้างเลือดน้อยแล้ว อาจเกิดภาวะเกล็ดเลือดต่ำ ทำให้ประจำเดือนมีมากผิดปกติ ตามทฤษฎีแพทย์จีน ม้ามควบคุมเลือดให้อยู่ในหลอดเลือด ถ้าพลังม้ามพร่องทำให้ประจำเดือนออกมาก
การรักษาด้วยแพทย์แผนจีน นอกจากจะเห็นพ้องกันกับแผนปัจจุบันเรื่องการแก้ไขความเครียดหรืออารมณ์ที่เป็นปัญหาหลักแล้ว แพทย์จีนสรุปการวินิจฉัย กลุ่มอาการของผู้ป่วยรายนี้ว่าเป็นภาวะ เลือดและพลังของหัวใจ และม้ามพร่อง และภาวะม้ามไม่สามารถควบคุมเลือด การตรวจร่างกาย นอกจากประวัติข้างต้นแล้ว พบว่าผู้ป่วยมีลิ้นซีด ชีพจรเล็กอ่อนแรง
เปรียบเทียบการรักษาระหว่างแพทย์แผนปัจจุบันและแพทย์แผนจีน 1. ปัญหาการนอนไม่หลับ ผู้ป่วยบางรายเมื่อได้ยานอนหลับแบบแพทย์แผนปัจจุบัน กลับไม่หลับ แต่ถ้าให้ยานอนหลับที่แรงมาก จะหลับและเพลียตลอดทั้งวัน มึนงงทั้งวัน
แพทย์แผนปัจจุบันเน้นการคลายหรือกดประสาท แต่แพทย์แผนจีนมองว่าต้องบำรุงประสาท (บำรุงพลังและเลือดของหัวใจ) ให้มีกำลังพอเป็นหลัก เสริมฤทธิ์ด้วยยาสมุนไพรจีนช่วยนอนหลับเป็นด้านรอง มีแต่การบำรุง (เพราะพลังหัวใจพร่องมาก) เป็นหลักเท่านั้นจึงทำให้หลับ ถ้ายังไปใช้วิธีการกดประสาท พลังหัวใจจะยิ่งอ่อนแอมากขึ้น ไม่สามารถแก้ปัญหาระยะยาวได้
2. ปัญหาระบบย่อยอาหาร แพทย์แผนปัจจุบันเน้นที่การกระตุ้นความอยากอาหาร ใช้ยาช่วยย่อยอาหารและเสริมบำรุงวิตามิน ธาตุเหล็ก กรดโฟลิก กรณีโลหิตจาง
แพทย์แผนจีนเน้นบำรุงระบบม้าม เพื่อทำให้ความอยากอาหาร การย่อยและดูดซึมอาหารทำงานดีขึ้น ก่อน การบำรุงด้วยธาตุเหล็กหรือวิตามิน ในขณะที่ระบบย่อยอาหารไม่ดี จะทำให้ไม่สามารถดูดซึมได้ บางรายกลับท้องเสีย ปวดท้องเนื่องจากระคายเคืองจากธาตุเหล็กที่ได้ เมื่อพลังม้ามดีขึ้น การลำเลียงอาหารไปสมองดีขึ้น สมองได้อาหารหล่อเลี้ยง จะไม่มึนงง สมาธิดีขึ้น สมองได้รับการบำรุง
3. ภาวะประจำเดือนมามากผิดปกติ ถ้าพบว่าเกล็ดเลือดต่ำโดยไม่พบสาเหตุ ทางแพทย์แผนปัจจุบันอาจพิจารณาใช้ยาสเตียรอยด์ เพื่อทำให้เกล็ดเลือดสูงขึ้น ทำให้เลือดหยุด แต่การศึกษาวิจัยพบว่า ถ้าเพิ่มพลังและเลือดของระบบม้ามด้วยยาสมุนไพรจีน จะมีผลทำให้เกล็ดเลือดสูงขึ้นได้ และทางคลินิกสามารถรักษาภาวะเลือดออกมากโดยไม่รู้สาเหตุในระบบต่างๆ รวมถึงการรักษาภาวะโลหิตจางได้ด้วย
การใช้สเตียรอยด์ระยะยาวจะมีผลข้างเคียงจากการใช้ยา ไม่ว่าจะเกิดสิว ตัวบวม เบาหวาน หน้ากลมเหมือนพระจันทร์ มีโหนกที่คอ กระดูกพรุน ติดเชื้อง่าย เป็นต้น แต่การใช้หลักการบำรุงม้ามเพื่อควบคุมเลือด จะปลอดภัยกว่ามาก
สรุป แพทย์จีนมองปัญหาโรคและอาการต่างๆของผู้ป่วยเชื่อมโยงกันและวางการแก้ไขปัญหาหลักพื้นฐานด้วยการปรับสมดุล
ส่วนยาแก้อาการเป็นเพียงตัวประกอบเพื่อให้การรักษาปรากฏการณ์ เรียกว่า รักษาทั้งแก่นและปรากฏการณ์ โดยวิธีนี้เท่านั้นจึงจะแก้ไขปัญหา ระยะยาวได้โดยไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงของยา แผนปัจจุบัน แม้จะมีการมองปัญหาที่เชื่อมโยงกัน แต่ในทางปฏิบัติของการรักษา การใช้ยา มักคิดแบบวิธีแยกส่วน เช่น นอนไม่หลับ ต้องให้ยากดประสาท (ไม่มียาบำรุงให้หลับ นอกจากอาจพิจารณาใช้วิตามิน) ระบบย่อยไม่ดี (ต้องใช้ยากระตุ้นอาหาร ยาช่วยย่อย) เลือดออกมาก (ต้องหยุดเลือดหรือทำให้เกล็ดเลือดเพิ่ม) ยารักษาโลหิตจาง (วิตามิน ธาตุเหล็ก โฟลิก) เป็นต้น จะเห็นว่ายาที่ให้บางครั้งขัดแย้งกัน บางครั้งมีผลข้างเคียงที่ไม่ต้องการ เมื่อให้รวมๆกันไม่มีลักษณะผสมกลมกลืน เพื่อบรรลุจุดหมายเดียวกัน เมื่อต้องกินนานๆ จะมีผลอันไม่พึงประสงค์ตามมามาก
การพิจารณาเปรียบเทียบแผนจีนกับแผนปัจจุบัน จะทำให้เราเลือกบริหารจัดการกับปัญหาผู้ป่วยในมุมมองที่กว้างขึ้น สามารถแก้อาการเฉพาะได้รวดเร็ว และการรักษาองค์รวมเพื่อให้ร่างกายฟื้นตัวกลับสู่สมดุลโดยเร็ว และไม่มีผลแทรกซ้อนจากการใช้ยา ข้อมูลสื่อ ชื่อไฟล์: 352-010 นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่: 352 เดือน/ปี: สิงหาคม 2551
คอลัมน์: แพทย์แผนจีน
นักเขียนหมอชาวบ้าน: นพ.วิทวัส (ภาสกิจ) วัณนาวิบูล https://www.doctor.or.th/article/detail/5728
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
finghting!!!
|
|
|
jainu
|
|
« ตอบ #571 เมื่อ: มิถุนายน 13, 2016, 09:57:10 PM » |
|
เปรียบเทียบการรักษาทางคลินิกแผนจีน - แผนตะวันตก (ตอนที่ 3)วิธีรักษาแบบข่มกับวิธีรักษาแบบระบาย
โพสโดย Anonymous เมื่อ 1 กันยายน 2551 00:00
ผู้ป่วยที่มีอาการปวด มักจะคิดถึงยาแก้ปวด เมื่อไปหาเภสัชกรประจำร้านยา หรือหาหมอแผนปัจจุบัน ก็มักจะได้ยาแก้ปวดชนิดต่างๆ ตามแต่โรคที่เป็น เช่น ยาแก้ปวดไมเกรน ยาแก้ปวดประจำเดือน ยาแก้ปวดข้อ ยาแก้ปวดกระเพาะอาหาร ยาแก้ปวดกล้ามเนื้อ (บางรายได้คลายกล้ามเนื้อร่วมด้วย)
ถ้ามีอาการอักเสบก็จะได้ยาต้านอักเสบ ถ้ามีความดันโลหิตสูงก็จะได้ยาลดความดันโลหิต ถ้ามีไขมันในเลือดสูงก็จะได้ยาลดไขมันในเลือด ถ้านอนไม่หลับ ก็จะได้ยาคลายเครียด หรือยากดประสาทช่วยให้นอนหลับ
ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ เรียกว่า เป็นการรักษาแบบข่มหรือแบบกด เป็นวิธีแก้ปัญหาแบบควบคุมบังคับ ใช้ความเหนือกว่าไปสยบและควบคุมปัญหาหรืออาการที่เกิดขึ้น การรักษาแบบนี้เป็นวิธีการที่พบบ่อยในการรักษาโรคทางอายุรกรรมในการใช้ยาแบบการแพทย์แผนปัจจุบัน
มีผู้ป่วยบางรายที่ไปรักษากับแพทย์แผนจีน ได้รับการวินิจฉัยว่าอาการปวดเกิดจากเลือดและพลังอุดกั้น ไม่ทะลวงก็ปวด-ทะลวงก็ไม่ปวด การรักษาอาการปวดจึงมักใช้วิธีการระบายทำให้การไหลเวียนคล่อง ตัวอย่างเช่น วิธีการฝังเข็มเพื่อทะลวงหรือระบายการอุดกั้นของเส้นพลังลมปราณ ใช้สมุนไพรจีน ทำให้เลือดไหลเวียนสลายการคั่งค้างของเลือดหรือการรักษาแบบปล่อยเลือด การเคาะเอาเลือดคั่งค้างออก ทั้งหมดนี้เรียกว่า การรักษาด้วยวิธีการระบาย
ความคิดที่แตกต่าง วิธีการรักษาแบบข่มหรือกด เป็นแนวคิดการรักษาโรคทางอายุรกรรมที่เป็นด้านหลักของแผนปัจจุบัน มีรากฐานความคิดแบบวิทยาศาสตร์ ที่มองปัญหาแบบกลไกที่มีลักษณะจำเพาะสูง และมุ่งเน้นการเอาชนะธรรมชาติ ทั้งนี้เป็นผลจากวิธีการศึกษาที่ลงลึกถึงรายละเอียดในระดับเซลล์และระดับชีวเคมี (biochemistry) เป็นการมองปัญหาแบบเจาะลึก จึงเกิดแนวโน้มการรักษาเฉพาะส่วน และการรักษาตามอาการ โดยไม่พิจารณาปัจจัยที่สัมพันธ์เกี่ยวข้องแบบองค์รวม
ตัวอย่างผู้ป่วยไทรอยด์เป็นพิษ เนื่องจากไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอน แต่มีการกระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์หลั่งฮอร์โมนออกมามากผิดปกติ วิธีแก้แบบแผนปัจจุบัน เมื่อรู้ว่ามีการกระตุ้นมากผิดปกติ ก็ใช้ยาไปกดการสร้างฮอร์โมนไทรอยด์ หรือไม่ก็ใช้การผ่าตัดต่อมไทรอยด์ทิ้ง หรือดื่มน้ำแร่กัมมันตภาพรังสี เพื่อทำลายต่อมไทรอยด์ จะได้ลดการสร้างฮอร์โมนไทรอยด์ที่เป็นตัวปัญหา
ผู้ป่วยปฏิกิริยาภูมิไวเกิน เนื่องจากร่างกายตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นมากผิดปกติ ก็ใช้ยากดภูมิคุ้มกัน ยากลุ่มสตีรอยด์หรือยากดภูมิน้องๆ ยามะเร็ง เพื่อลดปฏิกิริยาภูมิไวเกินจะได้ไม่มีอาการแพ้ต่างๆ ผู้ป่วยกล้ามเนื้อใบหน้าอัมพาต (bell's palsy) สาเหตุการเกิดไม่ชัดเจน บ้างก็ว่ามาจากไวรัส แต่ผลสรุป เกิดจากการอักเสบของประสาทสมองคู่ที่ 7 สุดท้ายการรักษาก็ใช้ยาลดการอักเสบด้วยยาสตีรอยด์ แล้วปล่อยให้ร่างกายฟื้นตัวเอง
ผู้ป่วยไขมันในเลือดสูง ยาเคมีกลุ่มที่ใช้มากที่สุดคือกลุ่มสะเททิน (statin) กลไกออกฤทธิ์คือการยับยั้งหรือกดการสร้างเอนไซม์ HMG-CoA reductase เพื่อลดการสร้างคอเลสเตอรอลของตับที่ส่งเข้าสู่กระแสเลือด แต่ผลที่ตามมาคือทำให้เกิดการอักเสบของตับ และเกิดการปวดเกร็งของกล้ามเนื้อทั่วร่างกาย
อีกตัวอย่างของการแก้ปัญหาการกดและข่มเพียงด้านเดียวที่พบบ่อยในทางคลินิก คือการรักษาโรคมะเร็ง ในผู้ป่วยก้อนมะเร็งระยะแรกที่สามารถผ่าตัดนำก้อนออกได้ ถือว่าการรักษาโดยการผ่าตัดหรือทำลายมะเร็งเป็นผลสำเร็จได้ผลที่เป็นประโยชน์มาก แต่เมื่อยังผนวกการรักษาด้วยเคมีบำบัด หรือการใช้รังสีบำบัด โดยมุ่งเน้นการกดหรือทำลายต่อไปเพียงด้านเดียว กลับสร้างเงื่อนไขที่เป็นโทษตามมา ทำให้เกิดตกค้างของสารเคมี มีการสะสมพิษในร่างกายมากขึ้นอีก การที่เนื้อเยื่อดีถูกทำลาย ก็เป็นการซ้ำเติมภูมิคุ้มกันของร่างกายอีก การไหลเวียนเลือดและพลังก็จะติดขัดไปหมด
การใช้วิธีการรักษาแบบข่มหรือกด แม้ว่าจะทำให้เห็นผลการรักษาเฉพาะหน้าที่ชัดเจน แต่ไม่สามารถแก้ปัญหาระยะยาวของผู้ป่วยได้ การควบคุมโดยสารเคมีเพื่อระงับอาการอย่างต่อเนื่อง นอกจากจะเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุแล้ว มักจะเกิดผลข้างเคียง และการสะสมพิษของสารเคมีตามมาอย่างมากมาย จึงพบว่าผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง ผู้ป่วยมะเร็ง มีแนวโน้มมากขึ้น หลังจากพบการกินยาเคมีเป็นเวลาหลายๆ ปี
วิธีการรักษาแบบระบาย เป็นแนวคิดที่ทำให้เกิดการไหลเวียนที่คล่องตัวไม่ติดขัด เพื่อปรับสภาพทั้งระบบ สร้างเงื่อนไขให้กับการฟื้นตัวของโรค เพราะถ้าการไหลเวียนของเลือดและพลังคล่องตัวก็จะไม่เกิดโรค ในทางปฏิบัติอาจต้องพิจารณาเสริมยาบำรุงเลือด พลัง หรือยิน-หยางควบคู่ไปด้วย (เสริมส่วนที่พร่อง)
วิธีรักษาแบบระบายของศาสตร์แพทย์แผนจีน มีหลายวิธี เช่น การทำให้เหงื่อออก การทำให้อาเจียน การทำให้ถ่าย การขับพิษขับร้อน การสลายก้อน รวมถึงการฝังเข็ม และการปล่อยเลือด
ผู้ป่วยมีอาการปวดประจำเดือน ปวดแน่นหัวใจ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะไมเกรน ปวดแน่นท้อง ฯลฯ มีหลายสาเหตุ เช่น ภาวะหยางพร่อง ร่างกายมีความเย็นมากเกินไป ภาวะเลือดและพลังพร่อง บางรายเกิดจากเลือดหนืดข้น ผลตามมาทำให้เลือดไหลเวียนติดขัด
โดยหลักการระบายคือการทำให้พลังหรือเลือดมีการไหลเวียนปกติ ไม่ติดขัด อาการหรือการปวดติดขัดถือเป็นจุดเริ่มต้นของความผิดปกติของการขาดเลือดและพลังมาหล่อเลี้ยง เป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดพยาธิสภาพ นำมาซึ่งการเกิดโรคในเวลาต่อมา เช่น ก้อนเนื้อ มะเร็ง
การใช้หลักการรักษาแบบระบายหรือสลายการอุดกั้นของเลือดและพลัง การสลายอาหารหรือเสมหะที่ตกค้าง (เป็นสาเหตุของเสียและการเกิดก้อนไขมันในเลือด) การนำเลือดออก (blood letting) การขับพิษขับร้อนโดยการถ่ายหรือขับออกทางเหงื่อ จึงมีลักษณะรักษาอาการปวดและป้องกันยับยั้งการดำเนินของโรคไปในทางที่เลวร้ายพร้อมๆ กันไป
ประสาน "วิธีรักษาแบบข่ม" กับ "วิธีรักษาแบบระบาย" โดยพื้นฐานถ้าอาการไม่รุนแรงมาก การใช้วิธีการรักษาแบบระบายปรับการไหลเวียนเลือดและพลัง สามารถแก้อาการปวดและปัญหาพื้นฐานของโรคได้โดยไม่ต้องใช้วิธีการกด ซึ่งนับว่าปลอดภัย เป็นการรักษาและป้องกันไปพร้อมกัน
การใช้วิธีรักษาแบบกดมีประโยชน์มากถ้าเป็นการใช้ระยะสั้น และเป็นมาตรการที่ต้องการผลรวดเร็วในการแก้อาการเฉพาะหน้า แต่ไม่ใช่วิธีแก้พื้นฐานของปัญหา
นี่คงเป็นเหตุผลที่พบได้บ่อยๆ ว่าทำไมผู้ป่วยไมเกรน ผู้ป่วยปวดท้องประจำเดือน ผู้ป่วยมะเร็ง ผู้ป่วยปวดเรื้อรัง เป็นต้น เมื่อรักษาด้วยการแพทย์แผนปัจจุบันเพียงอย่างเดียว จึงไม่ประสบผลการรักษาที่ประทับใจ แต่เมื่อลองมาใช้การรักษาแบบการแพทย์แผนจีนร่วมด้วย ทำให้การรักษาได้ผลดีขึ้นกว่าเดิม
มุมมองที่แตกต่างกัน มาจากพื้นฐานปรัชญาความคิด องค์ความรู้ ทฤษฎีที่แตกต่างกัน วิธีการแก้ปัญหาก็ต่างกัน การแก้ปัญหาใดๆ ก็ตาม จะต้องแยกแยะปัญหาหลัก ปัญหารอง ต้องพิจารณา 2 ด้านเสมอ ต้องแก้ทั้งปัจจัยหลักและปัจจัยแวดล้อมที่เป็นเงื่อนไขของการเกิดปัญหา การแก้ปัญหาต้องพิจารณา ทั้งวิธีรักษาแบบกดอาการและต้องมีวิธีรักษาแบบระบายควบคู่กันไป
การผสมกลมกลืนทั้งวิธีการตรวจวินิจฉัย หลักการรักษา และวิธีการรักษาของศาสตร์การแพทย์แผนจีน และการแพทย์แผนปัจจุบัน จะทำให้สามารถนำข้อดีของแต่ละแผนมาดูแลผู้ป่วยได้ดียิ่งขึ้น ข้อมูลสื่อ
ชื่อไฟล์: 353-015 นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่: 353 เดือน/ปี: กันยายน 2551
คอลัมน์: แพทย์แผนจีน
นักเขียนหมอชาวบ้าน: นพ.วิทวัส (ภาสกิจ) วัณนาวิบูล https://www.doctor.or.th/article/detail/5755
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
finghting!!!
|
|
|
jainu
|
|
« ตอบ #572 เมื่อ: มิถุนายน 13, 2016, 10:00:11 PM » |
|
เปรียบเทียบการรักษาทางคลินิกแผนจีน - แผนตะวันตก (ตอนที่ 4) การรักษาด้วยยาเคมีกับการรักษาด้วยยาสมุนไพรจีน โพสโดย Anonymous เมื่อ 1 ตุลาคม 2551 00:00
ผู้ป่วยที่ไปรักษาโรคกับหมอแผนปัจจุบัน จะได้ยาเคมีมารักษาบำบัดโรค เวลาไปหาหมอจีน ถ้าต้องให้ยา ก็จะได้ยาสมุนไพรมากิน
ปัญหาที่ผู้ป่วยมักถามเสมอคือ ยาฝรั่งกินคู่กับยาจีนจะตีกันหรือไม่? กินยาจีนแล้วต้องกินยาฝรั่งไหม?
ความแตกต่างระหว่างยาเคมีกับยาสมุนไพรจีน ยาเคมี : แพทย์แผนปัจจุบันใช้ยาที่เป็นเคมีสังเคราะห์พัฒนาเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเคมีของยาในการรักษาโรค โดยยาเคมีไปมีผลต่อเนื้อเยื่อหรืออวัยวะโดยเปลี่ยนแปลงกลไกชีวเคมีระดับเซลล์เป็นสำคัญ
การทำงานระบบต่างๆ ของร่างกาย ถ้าเจาะลึกลงไประดับเซลล์ เราพบว่ามีปฏิกิริยาเคมีเกิดขึ้นมากมาย ทำให้ร่างกายสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ตั้งแต่การย่อยสลาย และดูดซึมอาหาร การหายใจ การขับของเสียออกจากเซลล์ การขจัดพิษตกค้างภายในร่างกาย
มุมมองการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมี หรือสารเคมีระดับเซลล์ มีลักษณะจำเพาะสูง และมีแนวโน้มของการรักษาไปทิศทางเดียว
ตัวอย่างของกลุ่มยาเคมี - ยาลดความดันโลหิตสูง - ยาลดระดับน้ำตาลในเลือด - ยารักษาหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ - ยาระงับการหอบหืด ยาขยายหลอดลม - ยาละลายลิ่มเลือด ยาลดการจับตัวของเลือด - ยาปฏิชีวนะ ต้านแบคทีเรีย ต้านไวรัส - ยาต้านมะเร็ง
เนื่องจากการวินิจฉัยโรคแบบแผนปัจจุบันเป็นการ พยายามสืบค้นสาเหตุหรือสิ่งก่อโรค ที่มีลักษณะรูปธรรม (เชื้อโรค มะเร็ง ความผิดปกติของยีน ความผิดปกติของโครงสร้าง การกดทับหลอดเลือดหรือเส้นประสาท) ดังนั้นเมื่อพบความผิดปกติที่ชัดเจนก็ใช้วิธีการทำลายหรือยับยั้งด้วยยาหรือการผ่าตัดตามแต่กรณี แต่ถ้าไม่พบสิ่งก่อโรคที่ชัดเจน ก็จะใช้ยาเคมีเข้าไปเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบทางชีวเคมีของร่างกายที่ผิดปกติ ที่ทำให้เกิดโรค จึงมีลักษณะการแก้ปัญหาแบบแยกส่วน และการแก้ปัญหาตามอาการที่เกิดขึ้น
ยาสมุนไพรจีน : มีลักษณะการปรับเปลี่ยนทางกายภาพหรือทางฟิสิกส์เป็นหลัก ทำให้สภาพของร่างกายมีเงื่อนไขที่เหมาะสมในการทำงาน ทำให้เกิดสมดุล ซึ่งสภาพทางกายภาพที่เหมาะสม เป็นภาพรวมที่ใหญ่กว่าและมีผลโดยอ้อม ทำให้เกิดภาวะที่เหมาะสมต่อการเกิดปฏิกิริยาเคมีของร่างกาย มีการปรับตัวเพื่อให้เกิดภาวะสมดุล
นอกจากการปรับเปลี่ยนทางกายภาพแล้ว พบว่าสมุนไพรยังมีสารเคมีที่มีฤทธิ์เป็นยาหรือพฤกษเคมี (phytochemical) มีบทบาทการปรับเปลี่ยนชีวเคมีในปฏิกิริยาเคมีของร่างกายโดยตรงอีกด้วย ซึ่งจะพบได้จากการศึกษาวิจัยยาสมุนไพรและกลไกการออกฤทธิ์ที่มีการตีพิมพ์มากมาย
ตัวอย่างและแนวคิดของแพทย์แผนจีน กับกลไกการออกฤทธิ์ของยาสมุนไพรจีน 1. การปรับสมดุลทางกายภาพของร่างกาย โดยการปรับสมดุล ยิน-หยาง ตัวยาสมุนไพรจีนจะมีฤทธิ์ของยาใหญ่ 4 อย่าง เรียกว่าฤทธิ์ทั้ง 4 คือ เย็น ร้อน อุ่น ค่อนข้างเย็น การใช้ยาสมุนไพรปรับยิน-หยาง หรือภาวะร้อน-เย็น เพื่อสร้างภาวะแวดล้อมของร่างกายหรือเซลล์ เป็นเงื่อนไขพื้นฐานสำคัญต่อการทำงานเป็นปกติของเซลล์ เสมือนกับการเตรียมดิน ปุ๋ย น้ำและแสงสว่าง ที่เหมาะสำหรับการเพาะปลูกพืช
2. การรักษาโรคเน้นสรรพคุณของยา อาศัยความแตกต่างของรสชาติทั้ง 5 ของสมุนไพร ยาจีนแบ่งเป็น 5 รส - รสเผ็ด มีสรรพคุณ ขับเหงื่อ กระจาย ทำให้พลังเคลื่อนไหว - รสหวาน มีสรรพคุณ บำรุง แก้ปวดเกร็ง ทำให้ชุ่ม ไม่แห้ง - รสขม มีสรรพคุณ สลายความชื้น ทำให้ถ่าย - รสเปรี้ยว มีสรรพคุณ ดึงรั้ง พยุงของเหลวในร่างกาย - รสเค็ม มีสรรพคุณ สลายก้อน ทำให้นิ่ม
3. การเน้นกลไกพลังเพื่อปรับทิศทางพลังของร่างกาย ยาสมุนไพรจีนแบ่งกลไกการขับเคลื่อนพลังร่างกาย 4 ทิศทาง - ขึ้นบน เพื่อนำยาสู่ส่วนบนร่างกาย - ลงล่าง เพื่อนำยาลงส่วนล่างร่างกาย - ลอย เพื่อนำยาสู่ผิวภายนอกร่างกาย - จม เพื่อนำยาสู่ภายในร่างกาย
ตัวอย่างเช่น - ผู้ป่วยที่ถ่ายท้องบ่อยๆ และมีลำไส้ใหญ่ส่วนทวารปลายหย่อน (prolapse rectum) หรือผู้ป่วยที่มีมดลูกหย่อน แสดงถึงพลังส่วนกลางอ่อนแอ ต้องบำรุงพลังและทำให้พลังขึ้นบน - ผู้ป่วยหอบหืด ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยกรดไหลย้อน อาเจียน เรอ เป็นปัญหาของกลไกพลังย้อนทิศทางกับสภาพปกติ ต้องใช้ยาสมุนไพรที่มีสรรพคุณดึงลงล่างเป็นตัวประกอบในการรักษา - ผู้ป่วยไข้หวัด ลมพิษ (โรคที่อยู่ส่วนบนร่างกาย หรืออยู่บริเวณผิวหนังภายนอกระยะแรก) ต้องใช้ยารสเผ็ดมาช่วยกระจายปัจจัยก่อโรคให้ออกจากร่างกาย - ผู้ป่วยที่เป็นโรคภายในต้องใช้ยาที่เสริมบำรุงเข้าไปภายใน ภาวะภายในร้อนมากต้องใช้ยาขับความร้อนจากภายใน
4. เน้นการนำยาเข้าสู่อวัยวะเป้าหมาย เรียกว่า กุยจิง การเข้าเส้นลมปราณของยาสมุนไพรจีน เนื่องจากสมุนไพรแต่ละตัวมีการออกฤทธิ์ต่ออวัยวะภายในต่างๆกันไป การเลือกยาที่มีความจำเพาะต่ออวัยวะที่เกิดโรค ตามทฤษฎีแพทย์จีนจึงมีความสำคัญต่อการรักษาโรคอย่างมาก
นอกจากการพิจารณาปรับสมดุล โดยภาพรวม (ยิน-หยาง) การเลือกตัวยาที่มีสรรพคุณเหมาะสม มีการควบคุมทิศทางของยาเพื่อปรับทิศทางพลัง รวมถึงกำหนดการใช้ยาให้เข้าสู่เป้าหมายที่ต้องการแล้ว เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการรักษาโรค ยังต้องคำนึงถึงการจัดยาให้เสริมฤทธิ์ ลดอาการต่างๆ ลดผลข้างเคียงของยา และการประสานยาให้เป็นหนึ่งเดียวของตำรับยาทั้งตำรับ ซึ่งเป็นจุดเด่นของการประกอบตำรับยาสมุนไพรจีน (การใช้ยาสมุนไพรตัวเดียว กรณีผู้ป่วยที่มีโรคค่อนข้างซับซ้อนจึงมักไม่ค่อยได้ผล)
เปรียบเทียบความแตกต่างโดยสรุป ยาเคมีมีฤทธิ์ทิศทางเดียว เข้าสู่อวัยวะและเนื้อเยื่อที่แน่นอน เปลี่ยนแปลงชีวเคมีของร่างกายเพื่อแก้ความผิดปกติขององค์ประกอบทางเคมีระดับเซลล์ ระดับโมเลกุลไม่มีการปรับสมดุลทางกายภาพ (ยิน-หยาง) จึงเกิดผลเฉพาะส่วนที่รวดเร็ว แต่ไม่ได้สร้างเงื่อนไขการฟื้นตัว หรือสร้างภาวะที่เหมาะสมต่อการปรับตัวของร่างกาย เช่นตัวทำลายมะเร็ง แล้วสภาพแวดล้อมก็เหมือนเดิม หรือเลวร้ายมากขึ้นจากสารเคมีเป็นพิษตกค้างจากการใช้เคมีระยะยาว จึงเป็นการซ้ำเติมร่างกายโดยองค์รวม
แพทย์แผนปัจจุบันไม่มีทัศนะเรื่องคุณสมบัติของยาในทัศนะ ยิน-หยาง ไม่มีความหมายยาในเรื่องของร้อน เย็น อุ่น ค่อนข้างเย็น จึงไม่มีการให้ยาในการปรับทิศทางภาพรวมทางกายภาพของร่างกาย แนวคิดส่วนใหญ่เป็นการมองระดับลึกที่มุ่งแก้ความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับชีวเคมีของร่างกาย จึงเกิดปัญหาผลข้างเคียงของยา หรือแม้ว่าโรคต่างๆ ควบคุมได้ดี แต่สภาพร่างกายโดยองค์รวมของผู้ป่วยกลับทรุดลง ทำให้มีแนวโน้มใช้ยามากขึ้นเรื่อยๆ เป็นการแก้ปัญหาแบบกลไก
ยาสมุนไพรจีน ยาสมุนไพรมักมีฤทธิ์ปรับสมดุล ยิน-หยาง โดยองค์รวม ในตัวยาแม้จะเป็นสมุนไพรตัวเดียวก็ยังมีองค์ประกอบของพฤกษเคมีที่มากมายมีการควบคุมและการออกฤทธิ์ที่สลับซับซ้อน ยาบางตัวมีฤทธิ์ 2 ทิศทาง เช่น - โสมคน สามารถช่วยให้ความดันโลหิตของผู้ป่วย (ความดันต่ำ) สูงขึ้น และทำให้ความดันลดลงได้ (กรณีผู้ป่วยความดันโลหิตสูง) - ยาขาวยูนาน สามารถยืดหยุ่นได้กรณีที่เลือดออก แต่ก็สามารถสลายเลือดได้กรณีที่มีการตกค้างของเลือด (เมื่อเกิดช้ำใน)
เมื่อใช้หลักของการประกอบตำรับยาเพื่อการรักษาโรคจะเห็นว่า การวินิจฉัยแยกแยะสภาพร่างกายของผู้ป่วยแต่ละรายมีความสำคัญมาก การจัดตัวยาต้องพิจารณาทั้งสภาพ ยิน-หยาง การเลือกสรรพคุณยา การเสริมฤทธิ์ยา การควบคุมฤทธิ์ยา การลดพิษของยา การประสานยาเข้าเป็นหนึ่งเดียว ด้วยการจัดวางบทบาทของยาอย่างเหมาะสม ทำให้การใช้ยาสมุนไพรมีประสิทธิภาพสูงและรักษาโรคได้อย่างเป็นองค์รวมขณะเดียวกันพิษข้างเคียงของยาจึงน้อยกว่าการใช้ยาเคมี
การบูรณการยารักษาโรคของแพทย์จีนกับแพทย์แผนปัจจุบัน แพทย์แผนปัจจุบัน ถ้าได้เรียนรู้ แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับแพทย์จีน จะทำให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ทางคลินิก และเข้าใจผลข้างเคียงของยาเคมีได้ดีขึ้น ตัวอย่างเช่น
1. ยาปฏิชีวนะโดยทั่วไปจะมีคุณสมบัติเป็นรสขม จึงสามารถรักษาโรคติดเชื้อที่มีลักษณะอักเสบ ร้อนได้ เช่น ทอนซิลอักเสบ คออักเสบที่มีไข้ เสมหะเหลือง
แต่ยาปฏิชีวนะไปรักษาผู้ป่วยแผลร้อนในเรื้อรังที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ร่างกายอ่อนแอไม่แข็งแรงหรือมีภาวะพลังหยางพร่อง จะไม่สามารถแก้ปัญหาได้ แต่กลับจะไปซ้ำเติมให้ร่างกายผู้ป่วยและภาวะภูมิคุ้มกันยิ่งแย่ลงไปอีก
2. กลูโคสและวิตามินซี มีรสหวานเปรี้ยว มีสรรพคุณที่จะบำรุงพลังและตับ (รสเปรี้ยวเข้าตับ รสหวานบำรุงพลัง)
3. ผู้ป่วยที่มีภาวะหยางแกร่ง ควรหลีกเลี่ยงยาบำรุงฤทธิ์ร้อน ยาที่มีฤทธิ์กระตุ้นการทำงานของร่างกาย เช่น กลุ่มยาลดการบวมแน่นจมูก (อีฟีดรีน) เป็นต้น
แพทย์แผนจีนต้องเรียนรู้การวิจัยใหม่ๆเกี่ยวกับสมุนไพร และเข้าใจตัวยาเคมีในสมุนไพรและกลไกการออกฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา เช่น ชิงเฮาซู่ สามารถรักษามาลาเรีย สารสกัดใบแปะก๊วย มีฤทธิ์ลดความดันโลหิต เพิ่มการไหลเวียนเลือด ฯลฯ
การศึกษาความเป็นองค์รวมในการบริหารยาจีนและประสบการณ์ทางคลินิกตามศาสตร์แพทย์แผนจีน การเข้าใจกลไกออกฤทธิ์ของยาเคมีจากการวิจัยแบบแผนปัจจุบัน จะทำให้เราสามารถใช้ยาเคมีรักษาโรคร่วมกับการใช้ยาจีนได้อย่างเหมาะสม จะทำให้เราใช้ยาเคมีน้อยลงได้ และทำให้การรักษากลับไปสู่แนวธรรมชาติมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ยาสมุนไพรจีนเองก็ไม่ใช่สิ่งที่ใครๆ จะกินกันเป็นโดยไม่มีข้อบ่งใช้ เพราะขึ้นชื่อว่ายาแล้วถ้าไม่มีความจำเป็น การกินยาสมุนไพรอย่างผิดๆ ก็มีภัยไม่แพ้ยาเคมีเหมือนกัน ข้อมูลสื่อ
ชื่อไฟล์: 354-012 นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่: 354 เดือน/ปี: ตุลาคม 2551
คอลัมน์: แพทย์แผนจีน
นักเขียนหมอชาวบ้าน: นพ.วิทวัส (ภาสกิจ) วัณนาวิบูล https://www.doctor.or.th/article/detail/5780
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
finghting!!!
|
|
|
jainu
|
|
« ตอบ #573 เมื่อ: มิถุนายน 13, 2016, 10:02:08 PM » |
|
เปรียบเทียบการรักษาแผนจีนกับแผนตะวันตก (ตอนที่ 5) เงื่อนไขการเกิดโรคกับสิ่งที่ทำให้เกิดโรค
โพสโดย Anonymous เมื่อ 1 พฤศจิกายน 2551 00:00
ได้กล่าวมาหลายตอนเกี่ยวกับแนวคิดการรักษาแบบแผนจีนกับแผนตะวันตก ฉบับนี้จะขยายความลงรายละเอียด ถึงความแตกต่างของการมองปัญหา เหตุของการเกิดโรคของทั้งสองแผน
เหตุแห่งโรคของแผนปัจจุบัน : ความพยายาม ค้นหา "สิ่งที่ทำให้เกิดโรค" ตำราการแพทย์ของแผนปัจจุบันให้ความสำคัญเกี่ยวกับรักษาโรคเป็นหลัก คนทั่วไปอ่านเข้าใจยาก เพราะจะเน้นหนักไปที่โรคต่างๆ มีสาเหตุจากอะไร ทำให้เกิดโรคได้อย่างไร มีกลไกการเกิดโรค การดำเนินของโรคอย่างไร ใช้ยาเคมีอะไรรักษา ยามีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไรหรือต้องใช้วิธีการอื่น เช่น การผ่าตัด กายภาพบำบัด เป็นต้น
ปรากฏว่าปัจจุบันมีโรคจำนวนมากที่มักจะตรวจหาสาเหตุหรือตัวก่อให้เกิดโรคไม่ได้ รู้แต่ว่ามีปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลายอย่าง แต่ก็ไม่สามารถฟันธงลงไปได้ว่าเป็นเพราะสาเหตุใด สุดท้ายก็สรุปว่าไม่รู้สาเหตุ และให้การดูแลรักษาด้วยการควบคุมและแก้ไขอาการเฉพาะหน้าไป บางรายโชคดีอาจฟื้นตัวหายได้หรือบรรเทาไปได้ ผู้ป่วยอีกจำนวนมากก็ต้องให้ยาควบคุมอาการไปเรื่อยๆ
แนวคิดการหาสาเหตุ หรือค้นหาตัวทำให้เกิดโรคเป็นแนวคิดที่มาจากพื้นฐานความรู้ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์แขนงต่างๆ โดยเฉพาะทางชีววิทยา พยาธิวิทยา ชีวโมเลกุล คือเมื่อมีการค้นพบกล้องจุลทรรศน์มองเห็นเซลล์เนื้อเยื่อ เห็นรายละเอียดของร่างกายสภาพปกติ และมองเห็นร่างกายภาวะไม่ปกติ (มีพยาธิสภาพ) มองเห็นตัวเชื้อโรค เช่น เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส เชื้อรา สิ่งกระตุ้นให้เกิดภูมิแพ้ เซลล์ผิดปกติสารก่อภูมิแพ้ในร่างกาย ความผิดปกติของยีน เป็นต้น
การรักษาของแผนปัจจุบัน จึงมุ่งเน้นทำลายตัวก่อโรค เช่น ติดเชื้อแบคทีเรีย ติดเชื้อไวรัส ติดเชื้อรา จึงมีแนวทางการศึกษาวิจัยยาใหม่ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำลายหรือฆ่าแบคทีเรีย ไวรัสหรือเชื้อรา หรือทำลายเซลล์มะเร็ง กรณีของโรคติดต่อก็จะเพิ่มการควบคุมครบวงจรของตัวพาหะกับตัวก่อโรค ทำให้ขอบเขตวิเคราะห์ปัญหาและการแก้ไขอยู่ปริมณฑลที่กว้างขึ้น แต่ยังจำกัดอยู่กับสิ่งที่มองเห็นเป็นรูปธรรมคือ ตัวก่อโรค หรือตัวพาหะนำโรคที่เกี่ยวข้อง
สำหรับโรคติดเชื้อหรือโรคระบาด ที่มักหาสาเหตุได้ค่อนข้างชัดเจน เมื่อใช้แนวคิดนี้การรักษาโรคจึงได้ผลที่ดี
สำหรับโรคที่ไม่รู้สาเหตุที่แน่นอน เมื่อนำแนวคิดนี้ไปใช้ ก็เลยไม่รู้จะใช้ยาเคมีไปทำลายอะไร หรือควบคุมอะไร คงให้การรักษาไปตามอาการจึงไม่ประสบผลสำเร็จในการรักษาโรคเท่าที่ควร
เหตุแห่งโรคของแพทย์แผนจีน : ความพยายาม ค้นหา "เงื่อนไขของการเกิดโรค" แพทย์แผนจีนให้ความสำคัญที่เงื่อนไขของการเกิดโรคมากกว่าพยายามค้นหาสาเหตุ หรือสิ่งที่ทำให้เกิดโรค ทั้งนี้ เนื่องจากการเกิดและพัฒนาองค์ความรู้ของแพทย์ จีนมีพื้นฐานต่างจากการแพทย์แผนปัจจุบัน
แพทย์แผนจีนถือกำเนิดในยุคที่วิทยาศาสตร์การแพทย์ยังไม่เจริญก้าวหน้า จึงไม่สามารถลงลึกและเข้าใจถึงพยาธิสภาพแบบแผนปัจจุบัน ไม่รู้จักสาเหตุหรือชื้อโรค หรือสิ่งที่ทำให้เกิดโรคที่สามารถมองเห็นได้ หรือค้นพบได้
การศึกษาจึงมุ่งเน้นไปยังเงื่อนไขต่างๆ ที่ทำให้คนมีสุขภาพ หรือมีสุขภาพไม่ดี (เกิดโรค) จึงมีแนวคิดที่กว้างครอบคลุมปัจจัยหรือเงื่อนไขแวดล้อมภาย นอกและภายในต่างๆ คือความสมดุลเป็นหนึ่งเดียวระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ ซึ่งคนทั่วไปที่ไม่ต้องเรียนทางการแพทย์ก็สามารถเรียนรู้และนำไปปฏิบัติได้ เป็นแนวการรักษาและการป้องกันโรคส่งเสริมและฟื้นฟูอยู่ในตัว
ทัศนะเกี่ยวกับเจิ้งชี่ กับเสียชี่ - เจิ้งชี่ ไม่พอ หรือพลังพื้นฐาน ร่างกายที่อ่อนแอ เป็นเงื่อนไขของร่างกายที่สำคัญที่สุดในการทำให้เกิดโรค - เสียชี่ ที่แกร่งหรือสิ่งก่อโรคจากภายนอกที่มากและรุนแรง เป็นเงื่อนไขภายนอกที่ทำให้เกิดโรค การเกิดโรคหรือไม่เกิดโรค เป็นกระบวนการต่อสู้ของเสียชี่กับเจิ้งชี่ ถ้าร่างกายยังดำรงความ สมดุลอยู่ได้ ก็จะไม่เกิดโรค ถ้าเสียสมดุลบ้างแต่มีการปรับตัวได้บ้าง ก็จะเป็นๆ หายๆ ถ้าเสียสมดุลปรับตัวไม่ได้ก็จะเกิดโรค
คัมภีร์แพทย์จีนในการสร้างสมดุล เพื่อไม่ให้เกิดโรคหรือเมื่อเป็นโรคแล้ว ทำอย่างไรจึงจะหายได้เร็ว จึงมุ่งเน้นที่การสอนความรู้ การปฏิบัติตัว เพื่อหลีกเลี่ยงการทำลายเจิ้งชี่ ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญที่สุดของการเกิดโรค (เงื่อนไขภายใน) ขณะเดียวกันก็พยายามหลีกเลี่ยงการกระทำของเสียชี่ที่เป็นเงื่อนไขภายนอกของการเกิดโรค
คัมภีร์ซู่เวิ่นยี่เพียนได้สรุปว่าเจิ้งชี่ยังดำรงอยู่ เสียชี่ไม่สามารถทำอะไรได้
ขจัดปัจจัยก่อโรคภายนอก เสียชี : เงื่อนไขภายนอก เงื่อนไขภายนอกร่างกาย ได้แก่ 1. การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ 6 ชนิด ได้แก่ ลม ความเย็น ความร้อน ความชื้น ความแห้ง และไฟ การแปรเปลี่ยนของสภาพอากาศแสดงออกถึงฤดูกาลที่เปลี่ยนแปลงไป ถ้าการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลที่เป็นไปอย่างช้าๆ ไม่แปรปรวนรวดเร็ว ร่างกายคนปกติก็จะปรับตัว ทำให้ไม่เกิดการเสียสมดุลจนเกิดโรค กรณีที่การเปลี่ยนแปลงที่รุนแรง รวดเร็วจนร่างกายปรับตัวไม่ทัน บางครั้งภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงไม่รุนแรงเป็นปกติ แต่ร่างกายอ่อนแอ (เจิ้งชี่ไม่พอ) ก็ทำให้เกิดโรคเช่นกัน การเปลี่ยนแปลงของอากาศแบบนี้เรียกว่าเป็นเสียชี่ คือ ลิ่วหยิน สรุปว่าอากาศที่เปลี่ยนแปลงแล้วทำให้คนเกิดโรคได้ก็เรียกว่าเสียชี่ ทั้งนั้น - ฤดูใบไม้ผลิ อากาศอบอุ่นมีลมแรง มีโอกาสเกิดโรคที่เกิดจากลมและความอุ่น - ฤดูร้อน อากาศร้อน ฝนตก มีความชื้น มีโอกาสเกิดโรคจากความร้อนชื้น - ฤดูใบไม้ร่วง อากาศเย็น และแห้ง มีโอกาสเกิดโรคเกี่ยวกับปอด ไอแห้งๆ - ฤดูหนาว อากาศหนาวเย็น โอกาสเกิดโรคจากการกระทบลมเย็นได้ง่าย 2. เหตุภายนอกอื่นๆ เช่น โรคระบาด พยาธิ และการได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุภายนอก
เงื่อนไขภายในร่างกาย ตัวอย่างที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน เช่น 1. การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ เรียกว่า อารมณ์ทั้ง 7 คือ โกรธ ดีใจ วิตก กังวล โศกเศร้า กลัว ตกใจ อารมณ์เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ตามปกติ เมื่อคนเราต้องประสบกับสิ่งกระตุ้นภายนอกต่างๆ ถ้าการเปลี่ยน แปลงดังกล่าวไม่รุนแรงและไม่นานเกินไป ร่างกายจะปรับตัวได้ แต่ถ้ากระทบรุนแรงและยาวนาน จะมีผลต่อการทำงานของอวัยวะภายในโดยตรง ทำให้การไหลเวียนเลือดและพลังผิดปกตินำมาซึ่งการทำลายความสมดุลของร่างกาย ฉะนั้น การควบคุมอารมณ์ทั้ง 7 ได้ดีจึงเป็นการป้องกันการทำลายเจิ้งชี่ที่สำคัญอย่างยิ่ง
2. การกินอาหารที่ถูกต้องและเหมาะสม เน้นการกินที่ไม่ซ้ำซาก เวลาที่เหมาะสม ปริมาณ ประเภท และเทคนิคต่างๆ เพราะอาหารจะเป็นแหล่งที่มาของเลือดและพลัง การกินอาหารที่ไม่เหมาะสม ไม่ถูกต้องจะทำลายระบบการย่อยดูดซึม (ม้ามและกระเพาะอาหาร) ทำให้การสร้างพลังและเลือดของร่างกายลดน้อยลง รวมทั้งพลังภูมิคุ้มกัน สรุปแล้วคือเจิ้งชี่นั่นเอง
นอกจากนี้ การตกค้างของอาหารก็ทำให้เกิดความชื้น และเสมหะ ของเหลวตกค้าง เป็นของเสียที่ไปบั่นทอนการไหลเวียนของเลือดและพลังไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายอีก
การติดขัดของพลังทำให้เลือดไม่ไหลเวียนเกิดเลือดอุดกั้น ทำให้ส่วนต่างๆ ของร่างกายขาดเลือดและพลังไปหล่อเลี้ยงทั้งหมด ของการติดขัด ตกค้าง ไม่ว่าจะเป็นของเหลว ความชื้น เสมหะ เลือด ก็ถือว่าเป็นเสียชี่ ภายในร่างกายที่มีผลกระทบต่อ เจิ้งซี่ (พลังพื้นฐานของร่างกาย)
3. การพักผ่อน-การทำงาน การพักผ่อน การนอนหลับ ก็มีกฎเกณฑ์และต้องเป็นไปตามกฎเกณฑ์ธรรมชาติ การใช้แรงงานทางกายและใจต้องสมดุลเช่นเดียวกัน มิฉะนั้นพลังเจิ้งชี่ของร่างกายจะถูกบั่นทอน
4. เรื่องเพศสัมพันธ์ ต้องมีกฎเกณฑ์ธรรมชาติที่ต้องเข้าใจ เพราะเกี่ยวข้องกับการมีสุขภาพที่ดี
สรุป เรื่องโรคภัยไข้เจ็บเมื่อวิเคราะห์แบบแผนปัจจุบันแล้ว จะรู้สึกว่าเป็นเรื่องของแพทย์หรือผู้ที่ต้องทำการรักษา เวลารักษาก็เน้นไปที่ตัวการที่ทำให้เกิดโรค ต้องอาศัยคนที่เรียนทางการแพทย์เท่านั้นที่จะรักษาได้ อ่านตำราแพทย์แผนปัจจุบันแล้ว คนทั่วไปไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร ต้องหมั่นตรวจเช็กร่างกายสม่ำเสมอ เพื่อค้นพบความผิดปกติให้เร็วที่สุด เมื่อเป็นโรคแล้วรีบไปปรึกษาแพทย์ไม่ควรรักษาด้วยตนเอง
แต่ถ้าเป็นแพทย์แผนจีน ตำราแพทย์นอกจากหมอจีนจะทำการรักษาแล้ว ยังสอนวิธีป้องกัน หรือแนะนำให้ผู้ป่วยดูแลตัวเอง เพื่อเสริมเจิ้งชี่ ที่เป็นเงื่อนไขภายในร่างกายหลีกเลี่ยงเสียชี่ สอนการเรียนรู้การดูแลตัวเอง เพื่อไม่สร้างเงื่อนไขของการเกิดโรคซึ่งสามารถปฏิบัติได้จริงในชีวิตประจำวัน การปฏิบัติบางอย่างได้รับการบอกเล่าสืบต่อกันมายาวนาน เช่น ไม่ควรกินน้ำแข็งและของเย็นๆ เพราะจะทำลายเจิ้งชี่ทำให้ไม่แข็งแรง
เหตุที่เป็นเช่นนี้ก็คงสรุปได้ง่ายๆ ว่า แพทย์แผนปัจจุบันมองว่าการเกิดโรคเกิดจากมีสิ่งที่ทำให้เกิดโรคเป็นหลัก จึงพุ่งเป้าไปที่ต้องทำลาย แต่แพทย์แผนจีนมองว่าการเกิดโรคเกิดจากเงื่อนไขภายในของร่างกาย คือ เจิ้งชี่อ่อนแอเป็นหลัก และปัจจัยก่อโรคเสียชี่ซึ่งเป็นเงื่อนไขภายนอก (ที่มาจากภายนอก และที่สะสมอยู่ภายในร่างกาย) การเกิดโรคหรือไม่เป็นผลจากให้เกิดการต่อสู้ของเจิ้งชี่กับเสียชี่ จึงต้องปรับเสริมเงื่อนไขเหล่านี้ โรคนี้จะหายได้อย่างรวดเร็ว และจะสามารถป้องกันการเกิดซ้ำได้ ข้อมูลสื่อ
ชื่อไฟล์: 355-011 นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่: 355 เดือน/ปี: พฤศจิกายน 2551
คอลัมน์: แพทย์แผนจีน
นักเขียนหมอชาวบ้าน: นพ.วิทวัส (ภาสกิจ) วัณนาวิบูล https://www.doctor.or.th/article/detail/5801
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
finghting!!!
|
|
|
jainu
|
|
« ตอบ #574 เมื่อ: มิถุนายน 13, 2016, 10:03:52 PM » |
|
เปรียบเทียบการรักษาทางคลินิกแผนจีนกับแผนตะวันตก (ตอนที่ 6) วิธีการรักษาอาการปวด
โพสโดย Anonymous เมื่อ 1 มกราคม 2552 00:00
ทุกคนคงมีประสบการณ์เกี่ยวกับการเจ็บการปวดมาแล้ว เวลารู้สึกไม่สบาย เป็นไข้หวัด เวลามีการอักเสบติดเชื้อ เวลามีการปวดเกร็งกล้ามเนื้อจากการทำงาน หรือมีอาการปวดไมเกรน ปวดประจำเดือน ปวดหลัง ปวดเอว ปวดจากมะเร็ง ความรุนแรงของการปวดวัดได้ยาก เป็นความรู้สึกที่ผู้ป่วยบอกให้เราทราบ อาการปวดมีนัยสำคัญของการบ่งบอกความผิดปกติบางสิ่งบางอย่างของร่างกาย ซึ่งต้องค้นหาสาเหตุที่แน่ชัด เพื่อการรักษาต้นเหตุที่แท้จริง
อาการปวดในทัศนะแพทย์แผนปัจจุบัน อาการปวดเป็นอาการที่พบบ่อยทางคลินิกที่ผู้ป่วยมาพบแพทย์ เป็นความรู้สึกที่ผู้ป่วยบอกกับแพทย์ สาเหตุโดยสรุปเกิดจากการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อของร่างกาย ทำให้เกิดการหลั่งสารชีวเคมีชนิดต่างๆ ที่ไปกระตุ้นปมประสาทรับความรู้สึกก่อให้เกิดอาการปวดในรูปแบบต่างๆ
การกระตุ้นเริ่มต้นที่ระบบประสาทส่วนปลายที่รับความเจ็บปวด นำกระแสประสาทไปยังตัวเซลล์ประสาทรับความรู้สึกที่ไขสันหลังบริเวณด้านหลัง แล้วส่งต่อไปยังก้านสมอง (brain stem) แล้วต่อไปยังทาลามัส (thalamus) และไปแปลผลที่สมองใหญ่ ส่วนผิว (cortex) บริเวณที่เกี่ยวข้องการรับความรู้สึกทำให้ร่างกายแปลผล และบอกตำแหน่งการเจ็บปวดของร่างกายได้แน่นอน
เมื่อมีการบาดเจ็บ เนื้อเยื่อร่างกายจะหลั่งสารที่เป็นตัวกระตุ้นออกมามากมาย ไปกระตุ้นให้ปมประสาทรับความรู้สึกส่วนปลาย สารต่างๆ เหล่านี้ ได้แก่ อะเซทิลโคลิน (acetylcholine) เซอราโทนิน (seratonin) ฮิสทามีน (histamine) แบรดดี้ไคนิน (bradykinin) โดพามีน (dopamin) ประจุโพแทสเซียม (K+), ประจุไฮโดรเจน (H+) เป็นต้น
การรักษาหรือบรรเทาการเจ็บปวดในทัศนะแพทย์แผนปัจจุบันมีหลักการสำคัญคือ 1. ใช้ยาเคมีที่มีฤทธิ์ต้านหรือรบกวนการหลั่งสารที่เป็นตัวกระตุ้น เช่น พาราเซตามอล ยาแอสไพริน ยาแก้ปวดกลุ่ม N-SAID 2. สกัดกั้นการนำสัญญาณความเจ็บปวด เช่น ยาชาเฉพาะที่ 3. เปลี่ยนแปลงการแปลผลของสมองเพื่อลดความรู้สึกการเจ็บปวด เช่น มอร์ฟีน 4. ลดความเครียดความกังวล กล่อมประสาทเพื่อลดความรู้สึกต่อการเจ็บปวด
อาการปวดในทัศนะแพทย์แผนจีน แพทย์แผนจีนอธิบายสาเหตุของอาการปวดเกิดจากการไหลเวียนของเลือดและพลังลมปราณในเส้นลมปราณ (Meridian) ติดขัด ไม่คล่อง : ความคล่อง-ไม่ติดขัด (ของเลือดและพลัง) ทำให้ไม่เจ็บปวด การปวดก็เพราะการติดขัด-ไม่คล่อง (ของเลือดและพลัง)
ลักษณะการปวดแบบแพทย์แผนจีน 1. การปวดแบบเคลื่อนที่ เช่นการปวดตามข้อ และเปลี่ยนตำแหน่ง เป็นๆ หายๆ เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เหมือนลม เรียกว่า ปวดแบบลม 2. การปวดแบบลึกๆ หนักๆ เหมือนผ้าชุบน้ำ เรียกว่า ปวดแบบความชื้น 3. การปวดแบบอักเสบ บวม แดง ร้อน เรียกว่า ปวดแบบร้อน 4. ปวดแบบรุนแรงมาก โดยเฉพาะเวลากระทบความเย็น เรียกว่า ปวดแบบเย็น 5. ปวดแบบเข็มแทง เฉพาะที่ เป็นมากตอนกลางคืน เรียกว่า ปวดแบบเลือดคั่ง 6. ปวดแบบเรื่อยๆ ไม่รุนแรง เป็นมากเวลาอ่อนเพลีย เรียกว่า ปวดแบบร่างกายพร่องอ่อนแอ
ตำแหน่งการปวด บอกถึงการกระทบกระเทือน เส้นลมปราณอะไร เช่น 1. ปวดบริเวณหน้าผาก - ปวดเส้นลมปราณหยางหมิง 2. ปวดศีรษะด้านข้าง - ปวดเส้นลมปราณซ่าวหยาง 3. ปวดท้ายทอย - ปวดเส้นลมปราณไท่หยาง 4. ปวดกลางกระหม่อม - ปวดเส้นลมปราณเจี๊ยะยิน 5. ปวดศีรษะไปถึงฟัน - ปวดเส้นลมปราณซ่าว- ยิน 6. ปวดศีรษะร่วมกับเวียนศีรษะ ท้องเสีย - ปวดเส้นลมปราณไท่ยิน 7. ปวดเอว เอ็นร้อยหวาย - ปวดเส้นลมปราณเกี่ยวข้องกับไต 8. ปวดชายโครง - ปวดเส้นลมปราณเกี่ยวข้องกับตับ-ถุงน้ำดี
การวิเคราะห์แนวคิดเกี่ยวกับเลือดและพลังอุดกั้นกับอาการปวด 1. การไหลเวียนเลือดสู่เนื้อเยื่อผิดปกติ 1.1 การขาดเลือดของเนื้อเยื่อจากเลือดอุดกั้นไหลเวียนไม่ดี อาการปวดจะเป็นแบบปวดเหมือนเข็มแทงเฉพาะที่ปวดร้าว เช่น การปวดจากหลอดเลือดหัวใจตีบ ปวดท้องประจำเดือน ปวดบริเวณที่เคยปวดถูกกระทบกระแทกฟกช้ำมาก่อน
1.2 การปวดจากเลือดน้อยหรือพลังชี่น้อย หรือภาวะพร่องทำให้เลือดไหลเวียนช้ากว่าปกติ อาการปวดจะเนิบๆ คลุมเครือไม่ชัดเจน ถ้าขาดเลือดและพลังมากจนภายในร่างกายมีความเย็นมาก ขาดพลังหยาง อาการปวดจะรุนแรง การปวดแบบนี้เมื่อใช้มือกดหรือใช้ความร้อนประคบจะรู้สึกสบายขึ้น
1.3 การปวดจากเลือดมาคั่งค้าง เกิดจากการอักเสบ อาจเนื่องจากการติดเชื้อหรือไม่ติดเชื้อ ที่มีอาการปวดบวมแดงร้อน ซึ่งถือเป็นการอุดกั้นชนิดหนึ่ง การรักษาต้องใช้หลักการระบายภาวะความร้อนและอุดกั้น อาการปวดแบบนี้ไม่ถูกกับความร้อน จะถูกกับการประคบความเย็น
2. การไหลเวียนของระบบน้ำเหลืองผิดปกติ การปวดแบบนี้มีลักษณะตึงๆ แน่นๆ ซึ่งตรงมักเกี่ยวข้องกับการบวมน้ำ เช่นขาบวม ท้องมาน (มีน้ำในช่องท้อง) ในแพทย์แผนจีนคือการปวดจากภาวะความชื้นหรือเสมหะตกค้าง
เนื่องจากระบบน้ำเหลืองกับระบบเลือดมักสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด ในทางคลินิกเวลารักษาการปวดจากเลือดอุดกั้นหรือความชื้นเสมหะอุดกั้นต้องพิจารณาการให้ยารักษาร่วมกัน
3. การปวดจากการอุดกั้นในอวัยวะกลวง ร่างกายคนมีอวัยวะภายในที่ตัน เรียกว่า อวัยวะจั้ง มีหน้าที่ในการเก็บ
อวัยวะภายในที่กลวงเรียกว่า อวัยวะฝู่ มีหน้าที่ลำเลียงส่งผ่านอาหารหรือสารคัดหลั่งหรือของเสียของระบบต่างๆ
การระบายของสิ่งต่างๆ ที่ไม่คล่อง-ติดขัดทำให้ เกิดอาการปวด เช่น ปวดนิ่วถุงน้ำดี การปวดแน่นอกเนื่องจากเสมหะไม่ออก การปวดท้องเนื่องจากท้องผูก การปวดตับอ่อนเนื่องจากการกดทับ การปวดร้าวเนื่องจากนิ่วอุดตันท่อไต
การรักษาด้วยแพทย์แผนจีน ใช้หลักการคือทะลวงการอุดกั้นร่วมกับการบำรุงส่วนที่พร่อง ทะลวงการอุดกั้น 1. เลือดอุดกั้น 2. พลังอุดกั้น 3. ความชื้น-เสมหะ (ของเหลว) อุดกั้น 4. ความเย็นอุดกั้น 5. ทะลวงการอุดกั้นของอวัยวะกลวง 6. ขับเหงื่อ ขับลมที่มากระทบผิว บำรุงส่วนที่พร่อง - ซึ่งเป็นพื้นฐานที่ทำให้เกิดภาวะอุดกั้น (โดยเฉพาะกรณีปวดเรื้อรัง) - ภาวะเลือดพร่อง หรือพลังพร่อง หรือหยางพร่องหรือยินพร่อง - ระบบอวัยวะภายใน เช่น ม้าม ไต ตับ ที่อ่อนแอ - รวมถึงพิจารณาเส้นลมปราณที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมักเป็นตัวแสดงอาการปวดที่สะท้อนให้เห็นออกสู่ภายนอก
ตัวอย่างการรักษาอาการปวด - ปวดชายโครง ผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บจากการกระทบกระเทือนชายโครง แม้ว่าจะมีกระดูกซี่โครงหักหรือไม่ก็ตาม เนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อบริเวณชายโครงย่อมได้รับบาดเจ็บ ผู้ป่วยบางรายจะมีอาการปวดแน่นๆ หายใจไม่สะดวก (ทั้งนี้รวมถึงผู้ป่วยที่เป็นโรคงูสวัด) ตามแนวชายโครง
แพทย์แผนปัจจุบัน : มักให้การรักษาด้วยยาระงับปวด ยากล่อมประสาท หรือฉีดยาชาเฉพาะที่ที่มีการกดเจ็บ
แพทย์แผนจีน : มองว่าเส้นลมปราณ ถุงน้ำดี และตับ ซึ่งเป็นเส้นลมปราณบริเวณด้านข้างลำตัวถูกกระทบกระเทือนทำให้เลือดและพลังติดขัด การรักษาจึงต้องทะลวงการอุดกั้นของเส้นลมปราณให้คล่องตัว อาการปวดจึงจะทุเลา ในทางคลินิกจะพบว่าผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีภาวะทางอารมณ์หงุดหงิดร่วมด้วย (เพราะการไหลเวียนติดขัดของถุงน้ำดี จะสัมพันธ์กับพลังของตับ)
- ผู้ป่วยไส้ติ่งอักเสบ ถุงน้ำดีอักเสบ แพทย์แผนปัจจุบัน : มักให้การรักษาด้วยการผ่าตัดไส้ติ่งหรือถุงน้ำดีทิ้ง แพทย์แผนจีน : มองว่าการอักเสบเป็นผลจาก อุดกั้นของของเสียในลำไส้ใหญ่ จนเกิดความร้อน ความชื้นตกค้าง การระบายความร้อนความชื้นของอวัยวะกลวง ลำไส้ใหญ่ และถุงน้ำดี จะทำให้ลดอาการอักเสบ การปวดได้ บางครั้งไม่จำเป็นต้องใช้การผ่าตัดตามความเชื่อของการแพทย์แผนปัจจุบันทั้งหมด
- คออักเสบ แพทย์แผนปัจจุบัน : มักให้การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะที่ไวต่อเชื้อกับยาแก้ปวดลดไข้ แพทย์แผนจีน : นอกจากจะใช้ยาสมุนไพรขับพิษขับร้อนแล้ว คออักเสบมีความเกี่ยวกับเส้นลมปราณปอด การขับความร้อนบนเส้นลมปราณลำไส้ใหญ่ (สัมพันธ์กับปอด)ออกโดยการถ่ายอุจจาระหรือระบายความร้อนบนจุดฝังเข็มปลายทางของเส้นลมปราณปอด (จุดซ่าวซาง) ทำให้อาการเจ็บคอและการอักเสบจะทุเลาได้เร็วขึ้น
- ปวดประจำเดือน ผู้หญิงที่ปวดประจำเดือนที่ไม่ได้เป็นโรคเกี่ยวกับมดลูกหรือรังไข่ หรือที่อาจถือว่าเป็นธรรมดาของผู้หญิงส่วนใหญ่ แผนปัจจุบันเชื่อว่ามีสาเหตุมาจากการแปรปรวนของฮอร์โมนระหว่างที่มีประจำเดือนและมีการหลั่งสารพรอสตาแกลนดิน (prostaglandins) มากผิดปกติ ทำให้มดลูกหดเกร็งตัว เกิดอาการปวดที่บริเวณท้องน้อย
แพทย์แผนปัจจุบัน : การบรรเทาอาการจะเน้นไปที่ให้ยาแก้ปวด ยาลดการบีบเกร็งของกล้ามเนื้อมดลูก ถ้าเป็นมากอาจต้องใช้ยาฉีดลดการเกร็งตัว บางรายอาจต้องกินยาคุมกำเนิดระยะหนึ่ง ประมาณ 3-4 เดือน แล้วลองหยุดยาดูว่าร่างกายสามารถปรับสภาพสมดุลของฮอร์โมนต่อได้หรือไม่ แต่รายที่อายุมากกว่า 25 ปี หรือรายที่สงสัยจะมีพยาธิสภาพ เกี่ยวกับมดลูก รังไข่ ก็ต้องทำการตรวจค้นหาสาเหตุกันต่อไป
แพทย์แผนจีน : รักษาทั้งอาการและพื้นฐานความไม่สมดุล เพื่อให้เลือดและพลังในเส้นลมปราณบริเวณชงม่ายไหลเวียนได้ดี อาการปวดจึงจะหายไปได้และจะป้องกันการเกิดโรคเกี่ยวกับมดลูกและรังไข่ที่อาจเกิดขึ้นตามมาภายหลังได้
สรุป การรักษาหรือบรรเทาอาการปวดของแพทย์แผนปัจจุบัน มุ่งเน้นไปที่รักษาแต่อาการปวด โดยใช้ยายับยั้ง หรือรบกวนการหลั่งสารที่เนื้อเยื่อสร้างขึ้นมา ทำให้ตัดตัวที่กระตุ้นปมประสาทหรือตัดกระแสนำประสาทหรือดัดแปลงการแปลผลการเจ็บปวดร่วมกับการรักษาสาเหตุ ซึ่งถ้าเป็นสาเหตุที่ชัดเจน เช่น การอักเสบติดเชื้อ ก้อนเนื้อมีการกดทับ การรักษาที่ต้นเหตุร่วมกับการระงับอาการก็จะได้ผลที่ดีชัดเจน การรักษาหรือบรรเทาอาการปวดแบบแพทย์แผนจีน เน้นกระตุ้นให้การไหลเวียนเลือดและพลังเดินได้คล่อง ไม่ติดขัด ซึ่งสาเหตุการติดขัด ต้องพิจารณาเป็นรายๆไป อาจเกิดจากลม ความเย็น ความชื้น เลือด หรือพลังอุดกั้น และพิจารณาภาวะพร่องของร่างกายว่ามีจุดอ่อนที่ส่วนไหน เลือด พลัง ยิน หยาง หรืออวัยวะภายในอะไร เพื่อทำให้เกิดสมดุล รวมทั้งการฝังเข็มกระตุ้นการไหลเวียนของเส้นลมปราณต่างๆ ควบคู่กันไปด้วย
กรณีเกิดการเจ็บปวดที่หาพยาธิสภาพไม่ชัดเจน ที่มีปัจจัยร่วมที่ประกอบเป็นเหตุมากมาย ไม่ใช่การติดเชื้อ หรือก้อนเนื้อ หรือการกดทับทางโครงสร้าง การรักษาจะได้ผลดีมาก ดังนี้ การรักษาอาการปวดของแพทย์แผนจีน จะแฝงด้วยการปรับสมดุลและแก้ต้นเหตุไปด้วย
กรณีมีพยาธิสภาพที่เป็นรูปธรรมชัดเจน เช่นการฆ่าเชื้อโรค การผ่าตัดก้อนเนื้อออก การผ่าตัดแก้การกดทับที่รุนแรงซึ่งต้องใช้การรักษาแบบตะวันตก ถ้าได้ใช้หลักการรักษาแบบแผนจีนร่วมด้วย จะทำให้โรคหายเร็วขึ้นป้องกันการเกิดซ้ำ แต่สำหรับกรณีที่เป็นน้อยอาจหลีกเลี่ยงการผ่าตัดที่เกินความจำเป็นลงได้ ข้อมูลสื่อ
ชื่อไฟล์: 357-014 นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่: 357 เดือน/ปี: มกราคม 2552
คอลัมน์: แพทย์แผนจีน
นักเขียนหมอชาวบ้าน: นพ.วิทวัส (ภาสกิจ) วัณนาวิบูล https://www.doctor.or.th/article/detail/5851
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
finghting!!!
|
|
|
jainu
|
|
« ตอบ #575 เมื่อ: มิถุนายน 15, 2016, 09:49:23 AM » |
|
กินอย่างไรเมื่อเป็นโรคเกาต์ ทุกวันนี้คนจำนวนมากจึงหันมาสนใจและใส่ใจเรื่องอาหารการกินมากขึ้น เพราะรู้ว่ากินไม่ดีมีโอกาสเกิดโรคต่างๆ ได้ง่ายขึ้น แต่ถ้ากินดีกินให้เหมาะสม นอกจากห่างไกลโรคแล้ว หลายโรคยังทุเลาเบาบางได้เช่นกัน แนวปฏิบัติตนในการกินเมื่อเป็นโรคเกาต์ดังนี้ 1.ควรงดอาหารที่มีพิวรีนสูงอย่างเด็ดขาด ซึ่งได้แก่ เครื่องในสัตว์ เนื้อสัตว์ปีก ปลาซาร์ดีน ไข่ปลา น้ำต้มกระดูก น้ำสกัดเนื้อ ผักยอดอ่อน เป็นต้น การกินอาหารที่มีพิวรีนสูงลดลงทำให้ร่างกายได้รับกรดยูริกลดลง 2.ควรกินอาหารประเภทข้าว-แป้งให้มากพอ (โดยทั่วไปวันละ 8-12 ทัพพี) เพื่อให้ร่างกายได้รับพลังงานเพียงพอในการทำกิจกรรมต่างๆ โดยไม่ต้องเผาผลาญโปรตีนที่มีอยู่ในกล้ามเนื้อเพื่อใช้เป็นพลังงาน 3.ไม่ควรกินอาหารจำพวกเนื้อสัตว์มากเกินไป ควรกินพอประมาณ ละเว้นอาหารประเภทบุฟเฟต์หมูกระทะ 4.ดื่มน้ำมากๆ อย่างน้อยวันละ 2-3 ลิตร ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการสะสมของผลึกกรดยูริก ป้องกันโรคนิ่วในไตได้ 5.หมั่นกินผักและผลไม้ให้มากขึ้น ช่วยให้ปัสสาวะมีภาวะเป็นด่าง ช่วยขับกรดยูริกออกจากร่างกายดีขึ้น อย่างไรก็ตาม คนเป็นโรคเกาต์ควรหลีกเลี่ยงไม่กินผักยอดอ่อนจำพวก กระถิน ชะอม สะเดา เพราะผักเหล่านี้มีสารพิวรีนสูง 6.หลีกเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลและไขมันมาก ร่วมกับการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เป็นวิธีควบคุมน้ำหนักที่ถูกต้องและเหมาะสม เพราะอาหารเหล่านี้นอกจากจะให้พลังงานสูงแล้ว ยังทำให้ระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงได้ ซึ่งจะไปขัดขวางการขับกรดยูริกออกจากร่างกายเช่นกัน 7.งดหรือลดการดื่มเหล้า เบียร์ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ลง เพราะเมื่อร่างกายเผาผลาญแอลกอฮอล์ จะทำให้มีการเพิ่มสารแล็กเทสในเลือด สารนี้จะไปยับยั้งการขับกรดยูริกออกจากไต
(เครดิตภาพ : travelnan, chiangmainews)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
finghting!!!
|
|
|
jainu
|
|
« ตอบ #576 เมื่อ: มิถุนายน 15, 2016, 06:27:37 PM » |
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
finghting!!!
|
|
|
|
|
jainu
|
|
« ตอบ #579 เมื่อ: สิงหาคม 23, 2016, 11:54:34 AM » |
|
เซ็นต์สำเนาบัตรประชาชนอย่างไร ไม่ให้ติดหนี้!! แก้ด้วยวิธีง่ายๆเพียง 4 ขั้นตอน#
หลายๆคนมองว่าการเซ็นต์สำเนาบัตรประชาชนเป็นเรื่องง่ายๆเซ็นต์อย่างไร มันก็เรื่องของฉัน ว่ากันแบบง่ายๆเลย " ตามใจฉันก็แล้วกัน" แต่บางครั้งเราอาจเปิดช่องทางหรือช่องว่างให้มิจฉาชีพบางกลุ่ม นำสำเนาบัตรประชาชนของเราไปใช้ในทางที่ผิดแล้วนำมาซึ่งความเดือดร้อนสู่ตัวเรา ดังนั้นวันนี้ เพจทนายเพื่อนคุณ จะใส่กุญแจปิดตายหนทางทำมาหากินของมิจฉาชีพที่อาศัยสำเนาบัตรประชาชนของเราไปใช้ในทางที่ผิด
สำเนาบัตรประชาชนเซ็นต์ง่ายๆด้วย 4 ขั้นตอน
1.ขีดเส้นคู่ขนานจากมุมล่างซ้ายลากไปมุมบนขวาเรียกง่ายๆว่า"ลากเป็นเส้นทะแยงมุม"(ดังภาพ)
2.ในระหว่างเส้นคู่ขนาน ให้เขียนข้อความว่าใช้เพื่อทำการอะไร แล้วลงท้ายด้วยคำว่า .......เท่านั้น พร้อมทั้งเขียนเครื่องหมาย# ปิดหัวปิดท้ายข้อความ ทั้งนี้เพื่อป้องกันการเพิ่มเติมข้อความ
3.บนเส้นคู่ขนาน(ดังภาพ)เขียนวัน เดือน ปี เพื่อยืนยันวันที่ใช้งาน
4ใต้เส้นคู่ขนาน เขียนคำว่า" สำเนาถูกต้อง" พร้อมทั้งเซ็นต์รับรอง โดยลายเซ็นต์ของเราให้เซ็นต์ทับรูปบนบัตรประชาชน ทั้งนี้เพื่อป้องกันการลบออกแล้วถ่ายเอกสารใหม่ของมิจฉาชีพ
เราสามารถใช้งานสำเนาบัตรประชาชนของเราด้วยวิธีการเซ็นต์ง่ายๆเพียง4 ขั้นตอนเเค่นี้ก็ปลอดภัยไร้กังวลแล้วครับ อ๋อ!! เกือบลืม!! ถ้าบัตรประชาชนหมดอายุให้รีบไปติดต่อขอทำใหม่ภายใน 60 วันหลังจากวันหมดอายุ แต่ถ้าเพิกเฉยโดนปรับ 100 บาทครับ
ขอขอบคุณภาพจาก www.kaazip.com
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
finghting!!!
|
|
|
|
jainu
|
|
« ตอบ #581 เมื่อ: สิงหาคม 26, 2016, 10:23:26 AM » |
|
Things That Happen To Your Body When You Eat Eggs 12 สุดยอดประโยชน์จากไข่..อาหารง่ายๆที่เราควรรับประทานเป็นประจำเราควรรับประทานไข่เพื่อเพิ่มโปรตีนให้แก่ร่างกาย ไข่หนึ่งฟองซึ่งมีสารอาหารในการเสริมสร้างกล้ามเนื้อประมาณ 7 กรัมจะมีแคลอรี่เพียง 85 แคลอรี่เท่านั้น นอกจากนี้ไข่ยังประกอบไปด้วยกรดอะมิโน สารต้านอนุมูลอิสระ และธาตุเหล็ก อย่างไรก็ตามอย่าลืมรับประทานไข่แดงด้วยเนื่องจากไข่แดงมีสารอาหารต่อต้านไขมันหรือที่เรียกกันว่าโคลีน ที่สำคัญเราควรตรวจสอบฉลากทุกครั้งก่อนที่จะซื้อไข่และควรเลือกไข่ออร์แกนิกเนื่องจากปลอดวัคซีน ยาปฏิชีวนะ หรือฮอร์โมนต่างๆ ส่วนสีของไข่ก็เลือกตามใจชอบได้เลยเพราะสีของไข่จะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ของไก่ และนี่คือ12 เหตุผลว่าทำไมเราควรรับประทานไข่เป็นประจำ
1. ป้องกันความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ
คลอเรสเตอรอล LDL หรือคลอเลสเตอรอลชนิดไม่ดีมีหน้าที่ส่งโมเลกุลไขมันเข้าไปในผนังหลอดเลือดและทำให้เกิดโรคหลอดเลือดแดงตีบ ขณะที่คลอเรสเตอรอล HDL จะช่วยกำจัดโมเลกุลไขมันออกไปจากผนังหลอดเลือด สาเหตุที่คนเราควรรับประทานไข่ก็เป็นเพราะบางคนมีแนวโน้มว่าจะมีคลอเลสเตอรอลชนิดไม่ดีเพิ่มขึ้น
2. เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
เพื่อลดโอกาสเสี่ยงในการเจ็บป่วยหรือติดเชื้อต่างๆเราควรรับประทานไข่อย่างน้อยวันละ 1-2 ฟอง ไข่หนึ่งฟองจะมีเซเลเนียมเกือบหนึ่งในสี่ของปริมาณที่แนะนำให้รับประทานในแต่ละวันซึ่งจะช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันและควบคุมฮอร์โมนไทรอยด์ เด็กๆจำเป็นต้องรับประทานไข่เนื่องจากถ้าพวกเขาขาดเซเลเนียมก็จะเป็นโรคคีชานซึ่งส่งผลต่อข้อต่อ กระดูก และหัวใจ
3. ปรับสมดุลระดับคลอเรสเตอรอล
นี่คือความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับคลอเรสเตอรอล•คลอเรสเตอรอลสูงจะส่งผลเสียต่อสุขภาพของเรา
•คลอเรสเตอรอลมีทั้งชนิดดีและไม่ดี
•ไข่มีระดับคลอเลสเตอรอลสูง แพทย์ส่วนใหญ่มักจะกังวลเกี่ยวกับอัตราส่วนระหว่างคลอเรสเตอรอลชนิดดีกับชนิดไม่ดี แม้ว่าไข่จะมีคลอเรสเตอรอลมากถึง 212 มก. แต่ไม่ได้หมายความว่าไข่จะทำให้ระดับคลอเรสเตอรอลชนิดไม่ดีเพิ่มขึ้นในกระแสเลือด อันที่จริงร่างกายของเราก็ผลิตคลอเรสเตอรอลได้เช่นกัน
4. เพิ่มพลังงาน
ไข่เพิ่มพลังงานให้แก่เราได้เนื่องจากไข่หนึ่งฟองจะมีวิตามินบี2 หรือไรโบฟลาวินถึงร้อยละ 15 ซึ่งมีส่วนช่วยในกระบวนการเปลี่ยนอาหารให้เป็นพลังงาน
5. เพื่อสุขภาพผิวและเส้นผมที่ดีขึ้น
ไข่จะช่วยบำรุงผิว ตับ เส้นผม และดวงตาเนื่องจากทั้งหมดนี้ต้องการวิตามินบีรวม ยิ่งไปกว่านั้นไข่ยังอุดมไปด้วยวิตามินบี5 บี12 และบี2 ซึ่งจำเป็นต่อประสิทธิภาพในการทำงานของระบบประสาท
6. ทำให้รู้สึกอิ่มกว่าปกติ
ไข่ถือว่าเป็นแหล่งโปรตีนชั้นดีเมื่อเปรียบเทียบกับอาหารชนิดอื่นๆ แถมไข่ยังมีคะแนนค่าดัชนีความเต็มอิ่มสูงซึ่งหมายความว่าคุณจะรู้สึกอิ่มเร็วขึ้น
7. ลดไขมัน
เนื่องด้วยไข่มีคะแนนค่าดัชนีความเต็มอิ่มสูงจึงทำให้เกี่ยวข้องกับการลดไขมันด้วย มีการทดลองให้ผู้คนกลุ่มหนึ่งบริโภคไข่และอีกกลุ่มหนึ่งบริโภคขนมปังนานติดต่อกันเป็นเวลา 8 สัปดาห์ ปรากฏว่ากลุ่มที่บริโภคไข่จะสูญเสียไขมันในร่างกายมากกว่าร้อยละ 65 และดัชนีมวลกายลดลงร้อยละ 61 ขณะเดียวกันรอบเอวของพวกเขาก็ลดลงถึงร้อยละ 34 ด้วย
8. ปกป้องสมอง
เนื่องด้วยไข่มีสารอาหารที่ชื่อว่าโคลีน ไข่จึงเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับสมองของคนเรา การขาดโคลีนจะทำให้ความสามารถในการเรียนรู้ลดลงรวมถึงทำให้เป็นโรคทางสมองด้วย
9. ไข่ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยชีวิต
ร่างกายของเราสามารถผลิตกรดอะมิโนที่จำเป็นในการดำรงชีวิตได้ถึง 11 ชนิด แต่อันที่จริงคนเราต้องการมากถึง 20 ชนิดต่างหาก ด้วยเหตุนี้ไข่จึงจำเป็นมากเนื่องจากกรดอะมิโนอีก 9 ชนิดนั้นสามารถพบได้ในไข่ การขาดกรดอะมิโน 9 ชนิดดังกล่าวจะทำให้ผิวพรรณเปลี่ยนสี โครงสร้างของเส้นผมเปลี่ยน ภูมิคุ้มกันตอบสนองลดลง เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย และกล้ามเนื้อลีบ
10. ลดความเครียดและความวิตกกังวล
การศึกษาในปี 2004 อ้างว่าระดับความเครียดกับความวิตกกังวลจะลดลงได้เมื่อมีการเสริมไลซีนซึ่งช่วยปรับระดับเซโรโทนินในระบบประสาทของเรา
11. ปกป้องดวงตา
เนื่องจากในไข่แดงจะมีสารต้านอนุมูลอิสระที่ชื่อว่าลูทีนกับซีแซนทีนซึ่งจะช่วยลดโอกาสในการเป็นโรคต้อกระจกกับโรคจอประสาทตาเสื่อม
12. บำรุงกระดูกและสุขภาพฟัน
วิตามินดีเป็นสารอาหารที่สำคัญต่อสุขภาพฟันและกระดูก แม้ว่าโดยธรรมชาติวิตามินชนิดนี้จะหาได้ค่อนข้างยากแต่ไข่ก็เป็นอาหารที่มีส่วนประกอบของวิตามินดี ยิ่งไปกว่านั้นวิตามินดียังมีส่วนช่วยในการบำรุงสุขภาพของลำไส้ใหญ่ หัวใจ และกระบวนการเผาผลาญด้วย Source : fhfn.org .
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
finghting!!!
|
|
|
jainu
|
|
« ตอบ #582 เมื่อ: มีนาคม 08, 2017, 03:22:25 PM » |
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
finghting!!!
|
|
|
jainu
|
|
« ตอบ #583 เมื่อ: มีนาคม 12, 2017, 09:25:08 AM » |
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
finghting!!!
|
|
|
|
Gold Price today, Gold Trend Price Prediction, ราคาทองคํา, วิเคราะห์ทิศทางทองคํา
|
Thanks: ฝากรูป dictionary
---------------------Charts courtesy of Moore Research Center, Inc. For more information on Moore Research products and services click here. --- http://www.mrci.com ----------
---------------------------------------------รูปกราฟแสดงราคาทองในอดีตปี 1974-1999 ของ Moore Research Center, Inc.
แสดงฤดูกาลที่ราคาทองขึ้นสูงสุดและตําสุด เอาแบบคร่าวๆ เส้นนําตาลหรือนําเงินก็ใกล้เคียงกัน เส้นนําตาลเฉลี่ย
15 ปี เส้นนําเงินเฉลี่ย 26 ปี ราคาตําสุดของเส้นนําตาล หรือเฉลี่ย 15 ปี ในเดือน ปลายเดือน เมษ และปลายเดือน สค
ต่อต้นเดือน กย[/color] สูงสุดในเดือน กพ กับ พย / ส่วนเฉลี่ย 26 ปี ราคาตําสุด ต้น กค กับ ปลาย สค และราคาสูงสุดในเดือน
กพ และ กลางเดือน ตค -----
แค่ดูคร่าวๆ เป็นแนวทาง อย่ายึดมั่นว่าจะต้องเป็นตามนี้
ข้างล่างเป็นกราฟราคานํามัน ตามฤดูกาล จาก Charts courtesy of Moore Research Center, Inc.
Thanks: ฝากรูป dictionary
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|