Forex-Currency Trading-Swiss based forex related website. Home ----- กระดานสนทนาหน้าแรก ----- Gold Chart,Silver,Copper,Oil Chart ----- gold-trend-price-prediction ----- ติดต่อเรา
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 7   ลงล่าง
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: วิธีสร้างบุญบารมี  (อ่าน 22172 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
paul711
Hero Member
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 4406


Gold is value because it's value!


« ตอบ #15 เมื่อ: ธันวาคม 21, 2011, 08:36:39 PM »

 เทวดา เทวดา เทวดา

อนุโมทนากับบทความที่คุณหนูใจ คุณ UMA และทุกท่าน
ที่นําธรรมอันประเสริฐของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มาลงให้ได้อ่านกัน

ท่านที่มีเวลา แวะมาอ่านวันละหัวข้อก็ได้ครับ ถ้าเกิดความสงสัยให้ตั้งคําถามไว้ครับ จะมีผู้พอมีความรู้มาช่วย
อธิบายครับ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 21, 2011, 08:38:52 PM โดย paul711 » บันทึกการเข้า

ผมไม่ใช่กูรูเรื่องทอง ไม่เคยเขียนหรือพูดแม้แต่ครั้งเดียวว่าเก่งเรื่องทองอ่านที่ผมเขียน แล้วตัดสินใจเอง เกิดผิดพลาด ต้องรับผิดชอบเองอย่าโทษผู้อื่นว่าพลาดเพราะไปเชื่อคนอื่น ไม่มีใครบังคับให้ท่านเชื่อ ผมเป็นแค่ชาวบ้านธรรมดา----Paul711 
จุดหมาย 1) ทองแท่ง ให้ได้กําไร อย่างน้อย 10% ทุก 3 เดือน 2) Gold Future ให้ได้กําไรอย่างน้อย 5% ทุกเดือน 3) gold online ให้ได้กําไร อย่างน้อย 5% ทุกเดือน 
ชีวิตต้องมีหลักและจุดหมายที่ดีและแน่นอน ชีวิตที่ไม่มีหลักที่ดีเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวก็เปรียบเหมือนเรือที่ไม่มีหางเสือ ใครชวนให้ทําดีก็ดีไป ใครชวนให้ทําเรื่องไม่ดี ก็จะพบกับความล้มเหลวและภัยพิบัติได้


http://ichpp.egat.co.th/

Gold2Gold.com
jainu
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #16 เมื่อ: ธันวาคม 22, 2011, 07:51:00 PM »

ความหมายของพระรัตนตรัย

คำว่า “รัตนตรัย” มาจากคำว่า “รัตน” แปลว่า แก้วหรือสิ่งประเสริฐ กับคำว่า “ตรัย” แปลว่า สาม ฉะนั้นพระรัตนตรัย แปลรวมกันว่า

แก้วสามดวง หรือ สิ่งประเสริฐสามสิ่ง ที่พุทธศาสนิกชนเคารพนับถือสูงสุดสามสิ่งนับเป็นองค์ประกอบของศาสนาพุทธ คือ พระพุทธ พระ

ธรรม และพระสงฆ์ ซึ่งจัดเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของศาสนา 3 อย่างใน 6 อย่าง อันได้แก่

1. ผู้ให้กำเนิดศาสนา คือพระพุทธเจ้า

2. คัมภีร์หรือหลักคำสอน คือ พระธรรม

3. สาวกหรือผู้สืบทอดศาสนา คือพระสงฆ์

4. พิธีกรรมทางศาสนาหรือการประกอบพิธีทางศาสนกิจตามความเชื่อ

5. ศาสนสถานหรือวัตถุที่ใช้เป็นสัญลักษณ์ทางศาสนา

6. ศาสนิกชนหรือผู้เลื่อมใสในศาสนา


พระพุทธ
       
 คำว่า พุทฺธ แปลว่า ผู้รู้แล้ว (รู้ในความเป็นไปในธรรมชาติทั้งปวง) ผู้ตื่นแล้ว (ตื่นจากความโง่เขลา ตื่นจากความงมงาย ) ผู้เบิกบาน ( ไม่มีสิ่งใดทำให้จิตใจเศร้าหมองอีกแล้ว )
หมายถึงผู้ที่ตรัสรู้อริยสัจ คือความเป็นจริงที่ประเสริฐ 4 ประการ

พุทธ จำแนกออกเป็น 3 ประเภทได้แก่

         1. ปัจเจกพุทธ หมายถึงผู้ตรัสรู้ชอบด้วยตนเองแต่ไม่สามารถสอนให้ผู้อื่นตรัสรู้ตามได้ มี 5 พระองค์แห่งภัทรกัปป์ปัจจุบันนี้ คือ พระกกุสันธะ พระโกนาคมนะ พระกัสสปะ พระโคดม และพระเมตเตยยะ (เรียกกันสามัญว่า พระศรีอาริย์ หรือ พระศรีอารยเมตไตรย)

         2. สัมมาสัมพุทธ หมายถึงผู้ตรัสรู้ชอบด้วยตนเองแล้วสามารถสอนให้ผู้อื่นตรัสรู้ตามได้มีองค์เดียวเท่านั้นคือ สัมมาสัมพุทธเจ้า

         3. สุตตันตพุทธ หมายถึงผู้ตรัสรู้ตามคำสอนขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า




พระธรรม


         ธรรม มีเสียงพ้องกับคำว่า ทำ ในภาษาไทย ถ้าข้อความไม่ชัดเจนอาจเติมสระ อะ เป็นธรรมะ แต่จะใช้คำว่า ธรรมะ เฉพาะเมื่อหมายถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเท่านั้น ธรรม (ทำ) หรือ ธรรมะ (ทำ-มะ) เป็นคำที่มาจากคำภาษาสันสกฤต ธรรม แปลว่าสิ่งที่แบกไว้ หมายถึง กฎหมาย หน้าที่ ยุติธรรม ความถูกต้อง คุณความดี คุณธรรม ธรรมชาติ เป็นต้น
ในภาษาไทยใช้คำว่า ธรรม หรือ ธรรมะ หมายถึง คำสั่งสอนขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า
เนื้อหาสาระเรื่องราวที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนทั้งหมดทั้งสิ่งที่ดีและชั่วเรียกว่า ธรรม หรือ ธรรมะ เช่น ทรงสอนเรื่องอริยสัจ 4 ความจริงอันประเสริฐ ทรงสอนเรื่องไตรลักษณ์ หรือ อนัตตลักขณสูตรสอนเรื่องกิเลส ก็เรียกว่า ทรงสอนธรรมเรื่องกิเลส หรือทรงสอนธรรมะเรื่องกิเลส
 
         ธรรมหมายถึงการประพฤติที่ดีที่ถูกต้องได้ เช่น ธรรมที่ประพฤติดีแล้วนำสุขมาให้ ผู้ประพฤติธรรมย่อมอยู่เป็นสุข ใครๆ ก็สรรเสริญการกระทำที่เป็นธรรม

         ธรรม หมายถึง ความยุติธรรม เช่น ถ้าผู้ปกครองประเทศปกครองด้วยความเป็นธรรม ประชาชนก็เป็นสุข
เมื่อพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการแล้ว ก็ทรงมีพระมหากรุณาปรารถนาจะให้สัตว์โลกพ้นทุกข์ จึงทรงสั่งสอนเหล่าสาวกและคนทั่วไปด้วยคำสอนต่าง ๆ คำสอนของพระพุทธเจ้านี้เรียกว่า พระธรรม
 
         พระธรรม คัมภีร์ ของพระพุทธศาสนา เรียกว่า พระไตรปิฎก ประกอบด้วย พระอภิธรรมปิฎก พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก
อภิธรรมปิฎก หรือพระอภิธรรม หมายถึง ประมวลพระพุทธพจน์หมวดพระอภิธรรม หลักคำสอนของพระพุทธเจ้าที่เป็นภาคทฤษฎีบท หลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักคำสอนล้วน ๆ ไม่เกี่ยวด้วยบุคคลหรือเหตุการณ์ เปรียบเสมือนวิชาวิทยาศาสตร์

พระวินัยปิฎก หรือ พระวินัย หมายถึง ประมวลพุทธพจน์หมวดพระวินัย คือพุทธบัญญัติเกี่ยวกับความประพฤติ ความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียมและการดำเนินกิจการต่าง ๆ ของภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์ เปรียบเสมือนวิชากฎหมาย

พระสุตตันตปิฎก หรือ พระสูตร หมายถึง ประมวลพุทธพจน์หมวดพระสูตร คือ พระธรรมเทศนาคำบรรยายธรรมต่างๆ ที่ตรัสยักเยื้องให้เหมาะกับบุคคลและโอกาสตลอดจนบทประพันธ์ เรื่องเล่า และเรื่องราวทั้งหลายที่เป็นชั้นเดิมในพระพุทธศาสนา ที่พระพุทธเจ้า สอนใคร สอนเรื่องอะไร สอนที่ไหนเปรียบเสมือนวิชาประวัติศาสตร์

          คำสอนที่พระพุทธเจ้าทรงเทศนานั้นมีสาระสำคัญ 3 ประการ หรือ โอวาท 3

คือ ให้ประพฤติดี ให้ละความชั่ว และทำจิตใจให้ผ่องใส

นอกจากสาระสำคัญทั้ง 3 ประการนี้ พระพุทธเจ้า ได้ทรงชี้ให้เห็นถึงสาเหตุแห่งการเกิดทุกข์ การดับทุกข์ และวิธีปฏิบัติตนของพุทธบริษัท 4 เพื่อให้หลุดพ้นจากวัฏสังสาร วงจรของการเกิดดับ หลุดพ้นจากความทุกข์ต่าง ๆ ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป

 


พระสงฆ์

         เรามักเรียกสมณเพศในพระพุทธศาสนาว่า “พระสงฆ์” แต่คำว่า “สงฆ์” นั้นหมายถึงองค์คณะของผู้เป็นสมณะมากกว่า แต่สมณะในพระพุทธศาสนาแต่ละรูปนั้นเรียกว่า  “ภิกษุ”  ซึ่งแปลตามรูปศัพท์ หมายถึง “ผู้ขอ” มีรากศัพท์เดียวกันกับคำว่า ภิกษาจาร พระสงฆ์ หมายถึง สาวกหรือนักบวชที่เป็นผู้ชายในพระพุทธศาสนา เป็น 1 ใน 4 ของพุทธบริษัท ซึ่งเดิมเรียกนักบวชผู้ชายในศาสนาพุทธว่า “ภิกขุ” ในภาษาบาลี “ภิกษุ” ในภาษสันสกฤต พระสงฆ์จัดว่าเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการสืบทอดพระศาสนาเพราะเป็นศาสนทายาทผู้สั่งสอนพระพุทธศาสนาให้ยืนยาวต่อไป พระสงฆ์จึงต้องประพฤติปฏิบัติตนให้ถึงพร้อมด้วยคุณสมบัติของพระสงฆ์ที่ดี ตามพุทธบัญญัติ

พระสงฆ์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

1. พระอริยสงฆ์
2. พระสมมุติสงฆ์

พระอริยสงฆ์ พระสงฆ์ผู้บรรลุธรรมวิเศษ 4 ชั้นคือ

1. พระโสดาบัน
2. พระสกทาคามี
3. พระอนาคามี
4. พระอรหันต์
 
พระอริยสงฆ์ 3 ชั้นแรกจัดเป็นเสขบุคคล ส่วนพระอรหันต์จัดเป็นอเสขบุคคล
เสขบุคคลมี 3 ขั้น ได้แก่
 
1.โสดาบัน 2. สกทาคามี หรือสกิทาคามี 3. อนาคามี ที่นับว่าเป็น “เสขบุคคล” เพราะผู้นั้น ยังต้องศึกษาต่อไปอยู่ ( เสข=ผู้ยังต้องศึกษา ) เนื่องจากยังไม่จบ “การศึกษา 3” (อธิศีลสิกขา-อธิจิตสิกขา-อธิปัญญาสิกขา) ผู้พัฒนาตนผ่าน “การศึกษา 3” บรรลุธรรมเป็น “อาริยชน” จึงนับเป็นผู้เข้าสู่ “เสขภูมิ” พื้นเพของพระเสขะ คือ เข้าสู่ชั้นอาริยชนแล้ว จะเป็นชั้นหนึ่งชั้นใดใน 3 ก็ตาม แต่ยังต้องศึกษาอยู่ ยังไม่จบถึง “อรหันต์” อันเป็นภูมิสุดท้าย ผู้ยังไม่บรรลุธรรมเข้าขั้น “อาริยะ” ยังไม่ได้ชื่อว่า “เสขบุคคล”


พระอรหันต์ แบ่งออกเป็น 4 ระดับ ได้แก่

1. พระสุกขวิปัสสก (ไม่มีญาณวิเศษใด ๆ นอกจากรู้การทำอาสวะให้สิ้นไป (อาสวักขยญาณ) อย่างเดียว)

2. พระเตวิชชะ (ผู้ได้วิชชา 3 คือ รู้ระลึกชาติได้(บุพเพนิวาสานุสสติญาณ) รู้จุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย(จุตูปปาตญาณ) รู้ทำอาสวะให้สิ้น(อาสวักขยญาณ)

3. พระฉฬภิญญะ (ผู้ได้อภิญญา 6 คือ แสดงฤทธิ์ได้(อิทธิฤทธิ์) หูทิพย์(ทิพยโสต) รู้จุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย(จุตูปปาตญาณ) ทายใจผู้อื่นได้(เจโตปริยญาณ) ระลึกชาติได้(บุพเพนิวาสานุสสติญาณ) และญาณที่ทำให้อาสวะสิ้นไป(อาสวักขยะญาณ)

4. พระปฏิสัมภิทัปปัตตะ (ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา 4)
ปฏิสัมภิทา ความแตกฉาน ความรู้แตกฉาน ปัญญาแตกฉาน มี 4 ขั้นได้แก่

4.1 อัตถปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในอรรถ ความแตกฉานสามารถอธิบายเนื้อความย่อของภาษิตโดยพิสดารและความเข้าใจ ที่สามารถคาดหมายผลข้างหน้าอันจะเกิดสืบเนื่องไปจากเหตุ
4.2 ธัมมปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในธรรม เห็นคำอธิบายพิสดาร ก็สามารถจับใจความมาตั้งเป็นหัวข้อได้เห็นผลก็สืบสาวไปหาเหตุได้
4.3 นิรุตติปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในภาษา คือเข้าใจภาษา รู้จักใช้ถ้อยคำให้คนเข้าใจ ตลอดทั้งรู้ภาษาต่างประเทศ
4.4 ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ความแตกฉานในปฏิภาณได้แก่ไหวพริบคือ โต้ตอบปัญหาเฉพาะหน้าได้ทันท่วงที หรือแก้ไขเหตุการณ์ฉุกเฉินได้ฉับพลันทันการ


พระสมมุติสงฆ์

         หมายถึงพระสงฆ์ที่กำลังศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย บ้างครั้ง เรียกว่า พระ, พระสงฆ์,ภิกษุ, พระภิกษุ, พระภิกษุสงฆ์ เมื่อพระสงฆ์ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ก็จะเป็นเหตุจูงใจประชาชนให้เกิดความศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา คำว่า พระสงฆ์ โดยทั่วไปจึงมุ่งถึงชายที่บวชเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนา ได้ปฏิบัติตามกฎหมายของสงฆ์ ที่เรียกว่า วินัยสงฆ์ ได้ศึกษาพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้วนำคำสอนนั้นไปถ่ายทอดแก่ประชาชนทั่วไป ไม่คำนึงว่าจะเป็นภิกษุรูปเดียว หรือเป็นคณะที่รวมตั้งแต่ 4 รูปขึ้นไป
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 22, 2011, 08:29:51 PM โดย nujai » บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #17 เมื่อ: ธันวาคม 22, 2011, 07:55:26 PM »

สมุดภาพพระพุทธประวัติ

ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร
 
ภาพที่ ๑

เทพเจ้าทุกชั้นฟ้าชุมนุมกันอัญเชิญเทพบุตรโพธิสัตว์ให้จุติมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า







เมื่อพระเวสสันดรโพธิสัตว์สวรรคตแล้ว  เสด็จไปอุบัติเป็นสันตุสิตเทพบุตรในสวรรค์ชั้นดุสิต
เมื่อก่อนพุทธกาลเล็กน้อย   เทวดาทุกสวรรค์ชั้นฟ้ามาประชุม ปรึกษากันว่า  ใครจะมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า 
ต่างก็เล็งว่า   พระโพธิสัตว์สถิตอยู่ในชั้นดุสิตจะมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า   จึงพากันไปทูลเชิญให้จุติลงมา
โปรดสัตวโลก  เพื่อให้สมกับพระปณิธานที่ตั้งไว้ว่า ทรงบำเพ็ญบารมีมาในชาติใดๆ  ก็มิได้ทรงมุ่งหวังสมบัติ
อันใด  นอกจากความเป็นพระพุทธเจ้า

   ก่อนที่พระโพธิสัตว์อันสถิตอยู่  ณ สวรรค์ชั้นดุสิต จะได้ทรงตรัสรู้บรรลุธรรมเป็นองค์สมเด็จ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่อโปรดชาวโลกนั้น  ศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า  ท่านได้ทรงบำเพ็ญบารมี ๑๐
ประการ  อันได้แก่


 
๑. พระเตมีย์ ทรงบำเพ็ญเนกขัมมบารมี คือ ความอดทนสูงสุด
 
๒. พระมหาชนก ทรงบำเพ็ญวิริยะบารมี คือ ความพากเพียรสูงสุด
 
๓. พระสุวรรณสาม ทรงบำเพ็ญเมตตาบารมี คือ ความเมตตาสูงสุด

๔. พระเนมิราช ทรงบำเพ็ญอธิษฐานบารมี คือ ความมีจิตที่แน่วแน่สมบูรณ์
 
๕. พระมโหสถ ทรงบำเพ็ญปัญญาบารมี คือ ความมีปัญญาสูงสุด
 
๖. พระภูริทัต ทรงบำเพ็ญศีลบารมี คือ ความมีศีลที่สมบูรณ์สูงสุด
 
๗. พระจันทกุมาร ทรงบำเพ็ญขันติบารมี คือ ความอดกลั้นสูงสุด
 
๘. พระนารทพรหม ทรงบำเพ็ญอุเบกขาบารมี คือ การมีอุเบกขาสูงสุด

๙. พระวิธูรบัณฑิต ทรงบำเพ็ญสัจจะบารมี คือ ความมีสัจจะสูงสุด

๑๐. พระเวสสันดร ทรงบำเพ็ญทานบารมี คือ การรู้จักการให้ทานสูงสุด 

 

บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงความอัศจรรย์เหล่านั้น จึงตรัสคำเป็นต้นว่า

ครั้งใด เราชื่อว่าท้าวสันดุสิตอยู่ในหมู่เทพชั้นดุสิต ครั้งนั้น หมื่นโลกธาตุ ก็พากันประคองอัญชลีอ้อนวอนเราว่า.
ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ พระองค์เมื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐ ทัศ มิใช่ปรารถนาสมบัติท้าวสักกะ มิใช่ปรารถนาสมบัติมาร มิใช่ปรารถนา สมบัติพรหม มิใช่ปรารถนาสมบัติจักรพรรดิ แต่พระองค์ ปรารถนาความเป็นพระพุทธเจ้าบำเพ็ญเพื่อช่วยขนสัตว์ข้ามโอฆสงสาร.
ด้วยเหตุนั้น ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า
(เทวดาในหมื่นโลกธาตุทูลวอนว่า)
 
ข้าแต่พระมหาวีระ นี้เป็นกาลสมควรสำหรับพระองค์ ขอพระองค์โปรดอุบัติในครรภ์พระมารดา ขอพระองค์ เมื่อจะทรงช่วยมนุษยโลกพร้อมเทวโลกให้ข้ามโอฆสงสาร โปรดจงตรัสรู้อมตบทเถิด.
ครั้งนั้น พระมหาสัตว์ แม้ถูกเทวดาทั้งหลายทูลวอนขอ ก็มิได้ ประทานปฏิญญาคำรับรองแก่เทวดาทั้งหลาย แต่ทรงตรวจดู มหาวิโลกนะ ๕ คือกำหนดกาล ทวีป ประเทศ ตระก้ล พระชนมายุของพระชนนี
 
บรรดามหาวิโลกนะ ๕ นั้น ทรงตรวจดูกาลก่อนว่า เป็นกาลสมควร หรือยังไม่เป็น กาลสมควร. ในกาลนั้น อายุกาล (ของสัตว์) สูงกว่าแสนปีขึ้นไป ยังไม่ชื่อว่า กาล เพราะเหตุไร. เพราะทุกข์มีชาติชรามรณะเป็นต้นไม่ปรากฏ ก็ธรรมดา พระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ที่ชื่อว่าพ้นจากไตรลักษณ์ ไม่มีเลย. เมื่อพระพุทธเจ้าเหล่านั้นตรัสว่า อนิจจัง ทุกขัง ดังนี้ สัตว์ทั้งหลาย ย่อมไม่เชื่อว่า พระพุทธเจ้าเหล่านั้นตรัสเรื่องอะไร แต่นั้น การตรัสรู้ก็ไม่มี เมื่อการตรัสรู้นั้นไม่มี คำสั่งสอนก็ไม่เป็นนิยยานิกกะนำสัตว์ออกจากทุกข์ เพราะฉะนั้น กาลนั้น จึงไม่เป็นกาลสมควร.
   
แม้อายุกาล (ของสัตว์) ต่ำกว่าร้อยปี ก็ยังไม่เป็นกาลสมควร เพราะเหตุไร เพราะกาลนั้น สัตว์ทั้งหลายมีกิเลส หนาแน่น และโอวาทที่ประทานแก่สัตว์ทั้งหลายที่มีกิเลสหนาแน่น ไม่อยู่ใน ฐานะควรโอวาท เพราะฉะนั้น กาลแม้นั้น ก็ไม่เป็นกาลสมควร อายุกาลอย่าง ต่ำตั้งแต่แสนปีลงมา อย่างสูงตั้งแต่ร้อยปีขึ้นไป ชื่อว่า กาลสมควร. บัดนี้ มนุษย์ทั้งหลายมีอายุร้อยปี เพราะเหตุนั้น ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ทรงเห็นว่า เป็นกาลที่ควรบังเกิด.
ต่อนั้น ทรงตรวจดู ทวีป ทรงเห็นทวีปว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมบังเกิดในชมพูทวีปเท่านั้น. ธรรมดาชมพูทวีป เป็นทวีปใหญ่มีเนื้อที่ ประมาณหมื่นโยชน์.

เมื่อทรงตรวจดู ประเทศ ว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายบังเกิดในประเทศ ไหนหนอ ก็ทรงเห็นมัชฌิมประเทศ.
ต่อจากนั้นก็ทรงตรวจดู ตระก้ล ว่า ธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลาย บังเกิดในตระก้ลที่โลกสมมติ. บัดนี้ ตระก้ลกษัตริย์เป็นตระก้ลที่โลกสมมติ จำเราจักบังเกิดในตระก้ลกษัตริย์นั้น พระราชาพระนามว่า
สุทโธทนะจักเป็นพระชนกของเรา.
 
แต่นั้นก็ตรวจดู พระชนนี ว่า สตรีนักเลงสุราเหลวไหลจะเป็นพุทธมารดาไม่ได้ จะต้องเป็นสตรีมีศีล ๕ ไม่ขาด ดังนั้นพระราชเทวีพระนามว่า มหามายานี้ก็เป็นเช่นนี้ พระนางเจ้ามหามายานี้จักเป็นชนนีของเรา. เมื่อทรง นึกว่าพระนางเจ้าจะทรงมี พระชนมายุ ได้เท่าไร ก็ทรงเห็นว่าได้ต่อไปอีก ๗ วัน หลังครบทศมาสแล้ว.

ครั้งทรงตรวจมหาวิโลกนะ ๕ ประการนี้แล้ว ก็ประทานปฏิญญา แก่เทวดาทั้งหลายว่า เป็นกาลสมควรที่เราเป็นพระพุทธเจ้า ทรงดำรงอยู่ใน ภพดุสิตนั้นตลอดชนมายุแล้วจุติจากภพดุสิตนั้น ทรงถือปฏิสนธิในพระครรภ์ พระนางเจ้ามายาเทวีในราชสกุลศากยะ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 25, 2011, 09:04:33 PM โดย nujai » บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #18 เมื่อ: ธันวาคม 22, 2011, 08:00:34 PM »

สมุดภาพพระพุทธประวัติ

ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร
 
ภาพที่ ๒

ทรงรับคำเชิญ แล้วจุติมากำเนิดในตระก้ลกษัตริย์ศากยะ ณ กรุงกบิลพัสดุ์






ภาพนี้เป็นภาพตอนที่พระโพธิสัตว์เจ้า  ซึ่งต่อมาคือเจ้าชายสิทธัตถะ  หรือพระพุทธเจ้ากำลัง
เสด็จจากสวรรค์ชั้นดุสิต  เพื่อเสด็จเข้าสู่พระครรภ์พระมารดา  วันที่เสด็จลงบังเกิดนั้น  ตรงกับวันขึ้น ๑๕
ค่ำ  เดือน ๘  ซึ่งเป็นเวลาที่พระเจ้าสุทโธทนะ  พระบิดา  กับพระนางสิริมหามายา  พระมารดา  ได้อภิเษก
สมรสไม่นาน

   คืนวันเดียวกันนั้น  พระนางสิริมหามายากำลังบรรทมหลับสนิทในแท่นที่บรรทมแล้ว  ทรง
สุบินนิมิตว่าพระนางไปอยู่ในป่าหิมพานต์   ได้มีช้างเผือกเชือกหนึ่งลงมาจากยอดเขาสูงเข้ามาหาพระนาง
ปฐมสมโพธิพรรณาเหตุการณ์ตอนนี้ไว้ว่า

   "...มีเศวตหัตถีช้างหนึ่ง...ชูงวงอันจับบุณฑริกปทุมชาติสีขาวเพิ่งบานใหม่  มีเสาวคนธ์หอม
ฟุ้งตรลบแล้วร้องโกญจนาทเข้ามาในกนกวิมาน     แล้วกระทำประทักษิณพระองค์อันบรรทมถ้วนสามรอบ
แล้วเหมือนดุจเข้าไปในอุทร  ฝ่ายทักษิณปรัศว์แห่งพระราชเทวี..."

   ภายหลังโหราจารย์ประจำราชสำนักทำนายว่าเป็นสุบินนิมิตที่ดี จะมีพระราชโอรสผู้ประเสริฐ
อุบัติบังเกิด   และเมื่อพระมารดาทรงครรภ์แล้ว   ปฐมสมโพธิได้พรรณาตอนที่พระโพธิสัตว์เสด็จอยู่ในพระ
ครรภ์พระมารดาว่า

   "...เหมือนดุจด้ายเหลือง  อันร้อยเข้าไปในแก้วมณีอันผ่องใส  เมื่อปรารถนาจะทอดพระเนตร
ในขณะใด  ก็เห็นพระโอรสนั่งเป็นบัลลังก์สมาธิ (นั่งขัดสมาธิ)  ผันพระพักตร์มาข้างหนึ่งพระอุทรแห่งพระ
มารดา  ดุจสุวรรณปฎิมาอันสถิตอยู่บนฝักอ่อนในห้องแห่งกลีบปทุมชาติ  แต่โพธิสัตว์มิได้เห็นองค์ชนนี..."

   วันที่พระโพธิสัตวเจ้าเสด็จลงสู่พระครรภ์  กวีผู้แต่งเรื่องเฉลิมพระเกียรติได้พรรณาว่า  มีเหตุ
มหัศจรรย์เกิดขึ้นเหมือนกับตอนประสูติ ตรัสรู้ และตรัสปฐมเทศนา  จะต่างกันบ้างก็แต่ในรายละเอียดเท่านั้น 
เช่นว่า  กลองทิพย์บันลือลั่นทั่วท้องเวหา  คนตาบอดกลับมองเห็น  คนหูหนวกกลับ  ได้ยิน

   ตอนนั้น  ถ้าจะถ่ายทอดพระพุทธเจ้าออกจากวรรณคดี  มาเป็นพระพุทธเจ้าในพุทธประวัติก็ว่า
กลองทิพย์บันลือลั่นนั้น  คือ  'นิมิต'  หมายถึง  พระเกียรติคุณของพระพุทธเจ้าที่จะแผ่ไปทั่วโลก   คนตาบอด 
หูหนวก  คือ  คนที่มีกิเลส  ได้สดับรสธรรมแล้วจะหายตาบอด  หูหนวก  หรือมีปัญญารู้แจ้งมองเห็นทางพ้น
ทุกข์นั้นเอง

 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 25, 2011, 09:05:16 PM โดย nujai » บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #19 เมื่อ: ธันวาคม 22, 2011, 08:02:34 PM »

สมุดภาพพระพุทธประวัติ

ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร
 
ภาพที่ ๓

พอประสูติจากพระครรภ์พระมารดา ณ ป่าลุมพินีวัน ก็ทรงดำเนินได้ ๗ ก้าว






ภาพนี้เป็นตอนประสูติ  คนที่เคยอ่านพุทธประวัติหรือปฐมสมโพธิ  และเคยเห็นภาพตามผนัง
โบสถ์ในวัดมาแล้ว  คงพอเข้าใจและดูออกว่าคืออะไร

   ทารกที่เห็นนั่นคือเจ้าชายสิทธัตถะ   หรือพระพุทธเจ้าในเวลาต่อมา   ซึ่งพอประวัติจากพระ
ครรภ์พระมารดา  ก็ทรงพระดำเนินด้วยพระบาทไปได้  ๗  ก้าว  พร้อมกับทรงยกพระหัตถ์ขวาและเปล่ง
พระวาจา  เบื้องใต้พระบาทมีดอกบัวรองรับ  พระวาจาที่ทรงเปล่งออกมานั้น  กวีท่านแต่งไว้เป็นภาษาบาลี
แปลถอดใจความเป็นภาษาไทยได้ว่า

   "เราจะเป็นคนเก่งที่สุดในโลกคนหนึ่ง  ซึ่งจะหาผู้ใดเสมอเหมือนไม่มี  ชาติที่เกิดนี้เป็นชาติ
สุดท้ายของเรา  เราจะไม่ได้เกิดต่อไปในเบื้องหน้าอีกแล้ว"


   กลุ่มสตรีที่อยู่ในท่านั่งบ้าง   คุกเข่าบ้าง   นั้นคือบรรดานางพระกำนัลที่ตามเสด็จพระนาง
มายา  ส่วนรูปสตรีที่ยืนหันหลังให้ต้นไม้ใหญ่นั้นคือพระมารดา  พระหัตถ์ขวาของท่านเหนี่ยวกิ่งไม้  ต้นไม้
ใหญ่นี้คือต้นสาละ  ที่แต่ก่อนมาเคยแปลกันว่าไม้รังหรือเต็งรังอย่างที่มีอยู่ในบ้านเรา  แต่ภายหลังได้เป็นที่รู้
กันว่า สาละไม่ใช่ไม้รัง  และไม่มีในป่าเมืองไทย  เป็นไม้พันธุ์ในตระก้ลยางซึ่งมีอยู่ในอินเดียที่คนอินเดียนิยม
ใช้ปลูกบ้านสร้างเรือนอยู่กัน  มีมากในเขาหิมาลัย

   สถานที่ประสูตินี้เรียกว่า  'ลุมพินี'  อยู่นอกเมืองกบิลพัสดุ์  เวลานี้อยู่ในเขตประเทศเนปาล

   แทรกเรื่องอื่นเข้าบ้างเล็กน้อย  กล่าวคือเมืองพระประยูรญาติของพระพุทธเจ้ามีสองเมือง  คือ
กบิลพัสดุ์   และเทวทหะ   กบิลพัสดุ์เป็นเมืองพ่อของพระพุทธเจ้า  นี้ว่าอย่างภาษาสามัญ  ส่วนเทวทหะเป็น
เมืองแม่  พระบิดาของพระพุทธเจ้าอยู่ที่เมืองกบิลพัสดุ์ ส่วนพระมารดาเดิมอยู่ที่เมืองเทวหะ  กษัตริย์และเจ้า
นายจากสองเมืองนี้ต่างเป็นญาติเกี่ยวดองกันโดยทางอภิเษกสมรส

   เมื่อพระนางมายาจวนครบกำหนดประสูติ   จึงทูลลาพระสามี   คือพระเจ้าสุทโธนะ  เพื่อประ
สูติพระโอรสที่เมืองอันเป็นราชตระก้ลของพระนาง  ตามธรรมเนียมพราหมณ์ที่ว่า สตรีเวลาจะคลอดลูกต้อง
ไปคลอดที่บ้านพ่อแม่ของตน  พระนางมายาเสด็จไปถึงระหว่างทางยังไม่ทันถึงเมืองเทวทหะ ทรงประชวร
เสียก่อน  เลยจึงประสูติที่นั่น

   วันที่พระพุทธเจ้าประสูตินั้นคือ  วันเพ็ญกลางเดือน  ๖

 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 25, 2011, 09:06:23 PM โดย nujai » บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #20 เมื่อ: ธันวาคม 22, 2011, 08:55:52 PM »

สมุดภาพพระพุทธประวัติ

ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร
 
ภาพที่ ๔

อสิตดาบสมาเยี่ยม เห็นกุมารประกอบด้วยมหาปุริสลักษณะก็ถวายบังคม



 



ภาพนี้เป็นตอนภายหลังพระพุทธเจ้าประสูติแล้วใหม่ๆ คือภายหลังพระพุทธบิดาทราบข่าว
พระนางมายาประสูติพระโอรสระหว่างทางที่สวนลุมพินี  แล้วรับสี่งให้เสด็จกลับเมืองแล้ว

   ผู้ที่มุ่นมวยผมเป็นชฎา  และมือทั้งสองประนมแค่อกที่เห็นอยู่นั้นคือ  'อสิตดาบส'  หรือบาง
แห่งเรียกว่า  'กาฬเทวินดาบส'   ท่านดาบสผู้นี้บวชเป็นฤาษีอยู่ข้างเขาหิมพานต์  หรือที่ทุกวันนี้เรียกว่าเขา
หิมาลัยนั่นเอง  ท่านเป็นที่เคารพนับถือของพระเจ้าสุทโธทนะและของราชตระก้ลนี้  และเป็นผู้คุ้นเคยด้วย

   เมื่อท่านทราบข่าวว่าพระเจ้าสุทโธทนะ   ประมุขกษัตริย์กรุงกบิลพัสดุ์ทรงมีพระราชโอรส
ใหม่   จึงออกจากอาศรมเชิงเขา   เข้าไปเยี่ยมเยียนเพื่อถวายพระพรยังราชสำนัก   พระเจ้าสุทโธทนะทรง
ทราบข่าวว่าท่านดาบสมาเยี่ยม   ก็ทรงดีพระพระทัยนักหนา    จึงตรัสสั่งให้นิมนต์ท่านนั่งบนอาสนะแล้ว
ทรงอุ้มพระราชโอรสออกมาเพื่อให้นมัสการท่านดาบส


   พอท่านดาบสได้เห็นเจ้าชายสิทธัตถะ   ก็ทำกริยาผิดวิสัยสมณะ  ๓ อย่าง  คือ  ยิ้มหรือแย้ม 
หรือที่ภาษากวีในหนังสือปฐมสมโพธิเรียกอย่างหนึ่งว่า  หัวเราะแล้วร้องไห้  แล้วกราบแทบพระบาทของ
เจ้าชายสิทธัตถะ


   ท่านยิ้มเพราะเห็นพระลักษณะของเจ้าชายสิทธัตถะต้องด้วยตำรับมหาบุรุษลักษณ์  ท่านเห็น
ว่า  คนที่มีลักษณะอย่างนี้  ถ้าอย่างครองเรือนจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงมีเดชานุภาพแผ่ไป
ไกล   แต่ถ้าได้ออกบวชจะได้เป็นพระศาสดาผู้มีชื่อเสียงที่สุดในโลก  ที่ท่านร้องไห้ก็เพราะเชื่อแน่ว่าเจ้าชาย
ราชกุมารนี้  จะต้องออกบวช  เพราะเหตุที่เชื่ออย่างนี้  เลยนึกถึงตัวท่านเองว่า  เรานี่แก่เกินการณ์เสียแล้ว เลย
เสียใจว่ามีบุญน้อย   ไม่มีโอกาสที่จะได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า   และที่กราบไหว้พระบาทราชกุมารที่เพิ่ง
ประสูติใหม่  ก็เพราะเหตุเดียวที่กล่าวนี้


   ฝ่ายเจ้านายในราชตระก้ลได้เห็นและได้ทราบข่าวว่า  ท่านดาบสกราบพระบาทราชกุมาร  ต่าง
ก็มีพระทัยนับถือพระราชกุมารยิ่งขึ้น  จึงทูลถวายโอรสของตนให้เป็นบริวารของเจ้าชายสิทธัตถะ  ตระก้ลละ
องค์ๆ  ทุกตระก้ล

 
 

 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 25, 2011, 09:07:08 PM โดย nujai » บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #21 เมื่อ: ธันวาคม 22, 2011, 09:00:45 PM »

สมุดภาพพระพุทธประวัติ

ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร
 
ภาพที่ ๕

พราหมณาจารย์รับพระลักษณะสมโภชพระกุมาร ถวายพระนามว่า พระสิทธัตถะ






   ภายหลังเจ้าชายราชกุมารผู้พระราชโอรสประสูติได้ ๕ วันแล้ว  พระเจ้าสุทโธทนะ  พระราช
บิดาได้โปรดให้มีการประชุมใหญ่   ผู้เข้าประชุมมีพระญาติวงศ์   ทั้งฝ่ายพระบิดาและฝ่ายพระมารดา  มุข
อำมาตย์  ราชมนตรี  และพราหมณ์ผู้รอบรู้ไตรเวท  เพื่อทำพิธีมงคลในการนี้คือพราหมณ์ มีทั้งหมด  ๑๐๘
แต่พราหณ์ผู้ทำหน้าที่นี้จริงๆ  มีเพียง ๘  นอกนั้นมาในฐานะคล้ายพระอันดับ  พราหมณ์ทั้ง  ๘  มีรายนาม
ดังนี้  คือ

 
    ๑. รามพราหมณ์                     ๕. โภชพราหมณ์
    ๒. ลักษณพราหมณ์                     ๖. สุทัตตพราหมณ์
    ๓. อัญญพราหมณ์                      ๗. สุยามพราหมณ์
    ๔. ธุชพราหมณ์                         ๘. โกณทัญญพราหมณ์


 
   ที่ประชุมลงมติขนานพระนามพระราชกุมารว่า   'เจ้าชายสิทธัตถะ'  ซึ่งเป็นมงคลนาม   มี
ความหมายสองนัย   นัยหนึ่งหมายความว่า  ผู้ทรงปรารถนาสิ่งใดจะสำเร็จสิ่งนั้นดังพระประสงค์  อีกนัย
หนึ่งหมายความว่าพระโอรสพระองค์แรกสมดังที่พระราชบิดาทรงปรารถนา แปลให้เป็นเข้าสำนวณไทย
ในภาษาสามัญก็ว่า  ได้ลูกชายคนแรกสมตามที่ต้องการ

   พระนามนี้  คนอินเดียทั่วไปในสมัยนั้นไม่นิยมเรียก  แต่นิยมเรียกพระแทน  'พระ' 
ตรงกับภาษาไทยทุกวันนี้ว่า  'นามสกุล'  คนจึงนิยมเรียกพระราชกุมารว่า  'เจ้าชายโคตมะ'  หรือ 'โคดม'


   พร้อมกันนี้  พราหมณ์ทั้ง ๘  ก็พยากรณ์พระลักษณะ   คำพยากรณ์แตกความเห็นเห็นเป็น  ๒
กลุ่ม  พราหมณ์ ๗ คน  ตั้งแต่หมายเลข ๑ ถึงหมายเลข ๗  ตามรายนามที่ระบุไว้แล้ว  มีความเห็นเป็นเงื่อน
ไขในคำพยากรณ์   ถ้าเจ้าชายนี้เสด็จอยู่ครองราชสมบัติ   จักได้ทรงเป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงมี
เดชานุภาพมาก  แต่ถ้าเสด็จออกทรงผนวชจักได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ผู้เป็นศาสดาเอกของโลก

   มีพราหมณ์หนุ่มอายุเยาว์คนเดียวที่พยากรณ์เป็นมติเดียวโดยไม่มีเงื่อนไขว่า  พระราชกุมารนี้
จักเสด็จออกทรงผนวช   และได้เป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน  พราหมณ์ผู้นี้ต่อมาได้เป็นหัวหน้าพระปัญจวัคคีย์
ออกบวชตามเสด็จพระพุทธเจ้า  และได้เป็นพระอรหันตสาวกองค์แรกที่รู้จักกันในนามว่า  'พระอัญญาโกณ
ทัญญะ'   นั่นเอง  ที่เหลืออีก  ๗  ไม่ได้ตามเสด็จออกบวช  เพราะชรามาก  อยู่ไม่ทันสมัยพระพุทธเจ้าเสด็จ
ออกทรงผนวช

 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 25, 2011, 09:07:59 PM โดย nujai » บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #22 เมื่อ: ธันวาคม 22, 2011, 09:02:35 PM »

สมุดภาพพระพุทธประวัติ

ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร
 
ภาพที่ ๖

ทรงบรรลุปฐมฌานตั้งแต่ทรงพระเยาว์ ขณะประทับใต้ร่มหว้าในพิธีแรกนาขวัญ






   ภาพนี้เป็นตอนที่เจ้าชายสิทธัตถะโคตมะมีพระชนมายุ ๗ ปี  พระราชบิดาตรัสให้ขุดสระโบก
ขรณี  ๓ สระภายในพระราชนิเวศน์  ให้เป็นที่สำราญพระทัยพระโอรส  สระโบกขรณี   คือ  สระที่ปลูกดอก
บัวประทับในสระ   แล้วพระราชทานเครื่องทรงคือ   จันทน์สำหรับทาผ้าโพกพระเศียร   ฉลองพระองค์ผ้า
ทรงสะพัก  พระภูษาทั้งหมดเป็นของมีชื่อมาจากเมืองกาสีทั้งนั้น



   ตอนที่เห็นในภาพนี้   เป็นตอนที่เจ้าชายประทับนั่งสมาธิอยู่ใต้ต้นไม้  ที่ภาษาปฐมสมโพธิเรียก
ว่า 'ชมพูพฤกษ์'  ซึ่งคนไทยเราเรียกต้นหว่านั่นเอง  เหตุที่เจ้าชายมาประทับอยู่ใต้ต้นหว้าแห่งนี้ ก็เพราะพระ
ราชบิดาทรงจัดให้มีพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ที่ทุ่งนานอกเมืองกบิลพัสดุ์ตามพระราชประเพณี 
พระราชบิดา  ซึ่งเสด็จแรกนาด้วยพระองค์เอง หรือจะเรียกว่าทรงเป็นพระยาแรกนาเสียเองก็ได้  ได้โปรดให้
เชิญเสด็จเจ้าชายไปด้วย


   ภาพที่เห็นนี้อีกเหมือนกัน จะเห็นเจ้าชายประทับนั่งขัดสมาธิอยู่ลำพังพระองค์เดียว ไม่เห็นพระ
สหาย พระพี่เลี้ยง และมหาดเล็กอยู่เฝ้าเลย  เพราะทั้งหมดไปชมพระราชพิธีแรกนากัน  เจ้าชายเสด็จอยู่ลำพัง
พระองค์ภายใต้ต้นหว้าที่กวีท่านพรรณาไว้ว่า  "กอปรด้วยสาขาแลใบ  อันมีพรรณอันเขียว  ประหนึ่งอินทนิล
คีรี  มีปริมณฑลร่มเย็นเป็นรมณียสถาน..."   พระทัยอันบริสุทธิ์   และอย่างวิสัยผู้จะสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าใน
ภายหน้า  ได้รับความวิเวกก็เกิดเป็สมาธิขั้นแรกที่เรียกว่า  "ปฐมฌาน"


   แรกนาเสร็จตอนบ่าย  พระพี่เลี้ยงวิ่งมาหาเจ้าชาย ได้เห็นเงาไม้ยังอยู่ที่เดิมเหมือนเวลาเที่ยงวัน
ไม่คล้อยตวงตะวันก็เกิดอัศจรรย์ใจ  จึงนำความไปกราบพระเจ้าสุทโธนะให้ทรงทราบ  พระราชบิดาเสด็จมา
ทอดพระเนตรก็เกิดความอัศจรรย์ในพระทัย   แล้วก็ทรงออกพระโอษฐ์อุทานว่า   "กาลเมื่อวันประสูติ  จะให้
น้อมพระองค์ลงถวายนมัสการพระกาฬเทวินดาบสนั้น  ก็ทำปาฎิหาริย์ขึ้นไปยืนเบื้องบนชฎาพระดาบส  อาตม
ก็ประณตเป็นปฐมวันทนาการครั้งหนึ่งแล้ว  ครั้งนี้อาตมก็ถวายอัญชลีเป็นทุติยวันทนาการคำรบสอง"


   พระเจ้าสุทโธทนะทรงไหว้พระพุทธเจ้าที่สำคัญ ๓ ครั้งด้วยกัน  ครั้งแรกเมื่อภายหลังประสูติ
ที่ดาบสมาเยี่ยม  เห็นท่านดาบสไหว้ก็เลยไหว้   ครั้งที่สองก็คือ   ครั้งทรงเห็นปาฏิหาริย์  ครั้งที่สามคือ  ภาย
หลังพระพุทธเจ้าเสด็จออกผนวช  ได้สำเร็จพระพุทธเจ้า  แล้วเสด็จกลับไปโปรดพระพุทธบิดาครั้งแรก

 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 25, 2011, 09:08:42 PM โดย nujai » บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #23 เมื่อ: ธันวาคม 22, 2011, 09:03:54 PM »

สมุดภาพพระพุทธประวัติ

ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร
 
ภาพที่ ๗

ทรงประลองศิลปศาสตร์ยกศรอันหนัก ดีดสายศรเสียงสนั่นกระหึ่มเมือง






   พอเจ้าชายสิทธัตถะทรงมีพระชนมายุพอสมควรแล้ว    พระราชบิดาจึงทรงส่งไปศึกษาศิลป
วิทยาที่สำนักครูที่มีชื่อว่า 'วิศวามิตร'  เจ้าชายทรงศึกษาการใช้อาวุธ และการปกครองได้ว่องไวจนสิ้นความ
รู้ของอาจารย์

   ภาพที่เห็นนี้  เป็นตอนเจ้าชายสิทธุตถะทรงมีพระชนมายุได้  ๑๖  ปีแล้ว  และทรงศึกษาศิลป
วิทยาจบแล้ว  พระราชบิดาจึงตรัสสั่งให้สร้างปราสาท ๓  ฤดู  เป็นจำนวน ๓ หลัง ให้ประทับเป็นที่สำราญ
พระทัย  ปราสาทหลังที่หนึ่งเหมาะสำหรับประทับในฤดูหนาว  หลังที่สองสำหรับฤดูร้อน  ทั้งสองหลังนี้จะ
มีอะไรเป็นเครื่องควบคุมอุณหภูมิไม่ทราบได้  และหลังที่สามสำหรับประทับในฤดูฝน

   หลังจากนั้น  พระราชบิดาได้ทรงแจ้งไปยังพระญาติวงศ์ทั้งสอง  คือฝ่ายพระมารดาและฝ่าย
พระบิดา  ให้จัดส่งพระราชธิดามาเพื่อคัดเลือกสตรีผู้สมควรจะอภิเษกสมรสกับเจ้าชาย ทั้งนี้เพราะพราะราช
บิดาทรงต้องการจะผูกมัดพระราชโอรสให้เสด็จอยู่ครองราชสมบัติมากกว่าที่จะให้เสด็จออกทรงผนวช

   แต่พระญาติวงศ์ทั้งปวงเห็นว่า  ควรจะให้เจ้าชายได้แสดงความสามารถในศิลปศาสตร์ที่ทรง
เล่าเรียนมาให้เป็นที่ประจักษ์แก่หมู่พระญาติก่อน   พระราชบิดาจึงอัญเชิญพระญาติวงศ์มาประชุมกันที่หน้า
พระมณฑปที่ปลูกสร้างขึ้นใหม่  ณ ใจกลางเมืองเพื่อชมเจ้าชายแสดงการยิงธนู

   ธนูที่เจ้าชายยิงมีชื่อว่า 'สหัสถามธนู'   แปลว่า  ธนูที่มีน้ำหนักขนาดที่คนจำนวนหนึ่งพันคนจึง
จะยกขึ้นได้  แต่เจ้าชายทรงยกธนูนั้นขึ้นได้  ปฐมสมโพธิให้คำอุปมาว่า   'ดังสตรีอันยกขึ้นซึ่งไม้กงดีดฝ้าย'
บรรดาพระญาติวงศ์ทั้งปวงได้เห็นแล้วต่างชื่นชมยิ่งนัก   แล้วเจ้าชายทรงลองดีดสายธนูก่อนยิง  เสียงสายธนู
ดังกระหึ่มครึ้มคราวไปทั้งกรุงกบิลพัสดุ์  จนคนทั้งเมืองที่ไม่รู้และไม่ได้มาชมเจ้าชายยิงธนู  ต่างถามกันว่านั่น
เสียงอะไร

   เป้าที่เจ้าชายยิงธนูวันนั้น  คือ  ขนหางทรายจามรีที่วางไว้ในระยะหนึ่งโยชน์  ปรากฏว่า  เจ้า
ชายทรงยิงถูกขาดตรงกลางพอดี   ทั้งนี้ท่านว่า   'ด้วยพระเนตรอันผ่องใสพร้อมด้วยประสาททั้ง  ๕    อัน
บริสุทธิ์อันปราศจากมลทิน'   พระญาติวงศ์ทั้งปวง  จึงยอมถวายพระราชธิดา  ซึ่งมีนางพิมพายโสธรารวม
อยู่ด้วย  เพื่อคัดเลือกเป็นพระชายา

 

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 25, 2011, 09:09:19 PM โดย nujai » บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #24 เมื่อ: ธันวาคม 22, 2011, 09:07:17 PM »

สมุดภาพพระพุทธประวัติ

ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร
 
ภาพที่ ๘

พระบิดาทรงอภิเษกสมรสพระสิทธัตถะกับพระนางพิมพายโสธรา

 





   ดังได้เคยบรรยายไว้  ณ ที่นี้มาแล้วว่า  พระญาติวงศ์ของพระพุทธเจ้านั้นมีสองฝ่าย  คือฝ่าย
พระมารดา  และฝ่ายบิดา  ทั้งสองฝ่ายอยู่คนละเมือง  มีแม่น้ำโรหิณีไหลผ่านเป็นเขตกั้นพรมแดนพระญาติ
วงศ์ฝ่ายมารดามีชื่อว่า 'โกลิยวงศ์'  ครองเมืองเทวทหะ  พระญาติวงศ์ฝ่ายพระบิดาชื่อ 'ศากยวงศ์'  ครอง
เมืองกบิลพัสดุ์

   ทั้งสองนครนี้เกี่ยวดองเป็นพระญาติกัน   มีความรักกันฉันพี่น้องร่วมสายโลหิต   ต่างอภิเษก
สมรสกันและกันเสมอมา   สมัยพระพุทธเจ้า   ผู้ทรงอยู่ในฐานะประมุขครองเมืองเทวทหะ   คือ   พระเจ้า
สุปปพุทธะ  ส่วนผู้ครองเมืองกบิลพัสดุ์ก็เป็นที่ทราบอยู่แล้ว  คือ  พระเจ้าสุทโธทนะ


   พระชายาของพระเจ้าสุปปพุทธะ  มีพระนามว่าพระนางอมิตา  เป็นกนิษฐภคินี  คือ  น้องสาว
คนเล็กของพระเจ้าสุทโธทนะ  กลับกันคือ พระชายาของพระเจ้าสุทโธทนะหรือพระมารดาของพระพุทธเจ้า
มีพระนามว่าพระนางมายา  พระนางเป็นน้องสาวของพระเจ้าสุปปพุทธะ   ทั้งสองทรงอภิเษกสมรสกับพระ
ภคินีของกันและกัน  พระเจ้าสุปปพุทธะมีโอรสและพระธิดาอันเกิดกับพระนางอมิตาสองพระองค์ พระโอรส 
คือ  เทวทัต  พระธิดา  คือ  พระนางพิมพายโสธรา

   ปฐมสมโพธิว่าพระนางพิมพายโสธราเป็นผู้หนึ่งในจำนวน ๗  สหชาติของพระพุทธเจ้า  สห
ชาติคือ  สิ่งที่เกิดพร้อมกันกับวันที่พระพุทธเจ้าเกิด  ๗  สหชาตินั้น  คือ


             ๑.     พระนางพิมพายโสธรา

       ๒.   พระอานนท์

       ๓.   กาฬุทายีอำมาตย์

       ๔.   นายฉันนะ  มหาดเล็ก

       ๕.   ม้ากัณฐกะ

       ๖.   ต้นพระศรีมหาโพธิ์

       ๗.   ขุมทองทั้ง  ๔  (สังขนิธี,  เอลนิธี,  อุบลนิธี,  บุณฑริกนิธี)



   พระญาติวงศ์ทั้งสองฝ่ายทรงเห็นพร้อมกันว่า พระนางพิมพายโสธราทรงพร้อมด้วยคุณสมบัติ
ทุกอย่าง  สมควรจะอภิเษกสมรสกับเจ้าชายสิทธัตถะ   พระราชพิธีอภิเษกสมรสจึงได้มีขึ้นในสมัยที่ทั้งเจ้าชาย
และเจ้าหญิงทรงมีพระชนมายุได้  ๑๖  ปีพอดี

 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 23, 2011, 09:27:52 AM โดย nujai » บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #25 เมื่อ: ธันวาคม 23, 2011, 09:07:36 AM »

สมุดภาพพระพุทธประวัติ

ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร

ภาพที่ ๙

เสด็จประพาสสวน ทรงเห็นเทวฑูต ๔ คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และบรรพชิต






   พระเจ้าสุทโธทนะผู้มีพระราชบิดา   และ  พระญาติวงศ์ทั้งปวงปรารถนาที่จะให้เจ้าชาย
สิทธัตถะเสด็จอยู่ครองราชสมบัติ  มากกว่าที่จะให้เสด็จออกบรรพชาอย่างที่คำทำนายของพราหมณ์บาง
ท่านว่าไว้  จึงพยายามหาวิธีผูกมัดพระโอรสให้เพลิดเพลินในกามสุขทุกอย่าง  แต่เจ้าชายสิทธัตถะทรงมี
พระอัธยาศัยเป็นนักคิดสมกับที่ทรงเกิดมาเป็นพระศาสดาโปรดชาวโลก    จึงทรงยินดีในความสุขนั้นไม่
นาน  พอพระชนมายุมากขึ้นจนถึง  ๒๙  ก็ทรงเกิดนิพพิทา  คือ  ความเบื่อหน่าย


   ต้นเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดความรู้สึกในพระทัยเช่นนั้น   อยู่ที่ทรงเห็นสิ่งที่เรียกว่า   เทวฑูต
ทั้ง  ๔   ระหว่างทางในวันเสด็จประพาสพระราชอุทยานนอกเมืองด้วยรถม้าพระที่นั่ง   พร้อมด้วยสารถี
คนขับ  เทวฑูตทั้ง  ๔  คือ  คนแก่  คนเจ็บ  คนตาย  และนักบวช  ทรงเห็นคนแก่ก่อน



   ปฐมสมโพธิบรรยายลักษณะของคนแก่ไว้ว่า   "มีเกศาอันหงอก   แลสีข้างก็คดค้อม  กายนั้น
ง้อมเงื้อมไปในเบื้องหน้า    มือถือไม้เท้าเดินมาในระหว่างมรรควิถี    มีอาการอันไหวหวั่นสั่นไปทั่วทั้งกาย
ควรจะสังเวช..."


   ก็ทรงสังเวชสลดพระทัย  เช่นเดียวกับเมื่อทรงเห็นคนเจ็บและคนตายในครั้งที่สอง  และที่
สาม   เมื่อเสด็จประพาสพระราชอุทยาน  ทรงปรารภถึงพระองค์ว่าจะต้องเป็นอย่างนั้น  ทรงพระดำริว่า  
สภาพธรรมดาในโลกนี้ย่อมมีสิ่งตรงกันข้ามคู่กัน   คือ   มีมืดแล้ว  มีสว่าง   มีร้อน  แล้วมีเย็น    เมื่อมีทุกข์  
ทางแก้ทุกข์ก็น่าจะมี

   ในคราวเสด็จประพาสพระราชอุทยานครั้งที่  ๔ ทรงเห็นนักบวช  "นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์
กอปรด้วยอากัปกิริยาสำรวม..."


   เมื่อทรงเห็นนักบวชก็ทรงเกิดพระทัยน้อมไปในทางบรรพชา  ทรงรำพึงในพระทัยที่เรียก
อีกอย่างหนึ่ง  ทรงเปล่งอุทานออกมาว่า  "สาธุ  ปัพพชา"  สองคำนี้เป็นภาษาบาลี   แปลให้ตรงกับสำนวน
ไทยว่า  "บวชท่าจะดีแน่"  แล้วก็ตัดสินพระทัยว่า  จะเสด็จออกบวชตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา

 
บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #26 เมื่อ: ธันวาคม 23, 2011, 09:18:35 AM »

สมุดภาพพระพุทธประวัติ

ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร
 
ภาพที่ ๑๐

ทรงสรงสนานน้ำในสระ ราชบุรุษไปทูลว่า พระนางพิมพาประสูติพระโอรสแล้ว

 





   ภายหลังที่เจ้าชายสิทธัตถะทรงเห็นเทวฑูตที่ ๔  คือนักบวช  จนตัดสินพระทัยว่าจะเสด็จออก
บวชแน่นอนแล้ว  ก็เสด็จด้วยรถพระที่นั่ง  ที่ปฐมสมโพธิว่า   "เทียมด้วย  มงคลวรสินธพทั้ง  ๔  มีสีดังดอก
โกกนุทปทุมบุปฝาชาติ (ดอกบัวสีแดง)"  เสด็จไปถึงพระราชอุทยาน


   เมื่อเสด็จไปถึง   เจ้าชายสิทธัตถะซึ่งแวดล้อมไปด้วยคณานางอเนกนิกรสุรางคศักยราชกัญญา
ก็เสด็จลงสรงสนานในสระโบกขรณี  ที่เรียงรายระดาดาดด้วยเบญจปทุมชาติ


   เสด็จอยู่ที่พระราชอุทยานเกือบทั้งวัน  จนเกือบเย็นจึงมีเจ้าพนักงานจากราชสำนักผู้หนึ่ง  ซึ่ง
พระเจ้าสุทโธทนะรับสั่งให้นำข่าวมาทูลให้เจ้าชายสิทธัตถะทรงทราบ     เจ้าพนักงานกราบทูลว่าพระนาง
พิมพายโสธราประสูติพระโอรสแล้ว


   พระพุทธโฆษาจารย์ผู้แต่งอรรถกถาธรรมบทได้พรรณาความตอนนี้ไว้ว่าเมื่อเจ้าชายสิทธัตถะ
ได้ทรงทราบข่าวว่า   พระชายาของพระองค์ประสูติพระโอรสแล้ว   ทรงเกิดความรู้สึกอย่างหนึ่งซึ่งไม่เคย
เกิดกับพระองค์มาก่อนเลย  คือ  ความรักลูกยิ่งนัก


   ความรักนั้นเกิดขึ้นแล้ว   หนักหน่วงในพระทัย   ผูกมัดรัดรึงพระทัยยิ่งกว่าสิ่งใดในโลก  จน
ทรงอุทานออกมาว่า  "พันธนัง  ชาตัง  ราหุลัง  ชาตัง"


   แปลเป็นภาษาไทยได้ว่า "ห่วงเกิดขึ้นเสียแล้ว"  คำที่แปลว่า "ห่วง" ในพระอุทานของเจ้าชาย
สิทธัตถะคือ  ราหุลัง  หรือ  ราหุล   ต่อมาคำนี้ได้ถวายเป็นพระนามของราหุลกุมาร

   ที่เจ้าชายสิทธัตถะเปล่งอุทานขึ้นมาว่า "ห่วงเกิดขึ้นเสียแล้ว" นั้น หมายถึงว่า  พระองค์กำลัง
ตัดสินพระทัยจะเสด็จออกบวช   กำลังจะตัดห่วงหาอาลัยในฆราวาสอย่างอื่น   ก็เกิดมีห่วงใหม่ขึ้นมาผูกมัด
เสียแล้ว
 
บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #27 เมื่อ: ธันวาคม 23, 2011, 09:26:28 AM »

สมุดภาพพระพุทธประวัติ

ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร
 
ภาพที่ ๑๑

ทรงเปลื้องสังวาลประทานนางกีสาโคตมีซึ่งสดุดีพระคุณ ขณะเสด็จขึ้น
สู่ประสาท








   เป็นภาพตอนต่อเนื่องมาจากตอนที่เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จประพาสพระราชอุทยาน  แต่ตอนนี้
เป็นตอนเสด็จกลับเข้าเมืองพร้อมด้วยราชบริพารที่ตามเสด็จ   สตรีที่ยืนเยี่ยมมองทางสิงหบัญชรหรือหน้า
ต่างพระตำหนักที่เห็นอยู่นั้น   ปฐมสมโพธิบอกว่าเป็น   'นางขัตติยราชกัญญาองค์หนึ่งแห่งเมืองกบิลพัสดุ์' 
ทรงพระนามว่า  'กีสาโคตมี'  เกี่ยวข้องกับเจ้าชายสิทธัตถะในทางพระญาติวงศ์อย่างไร  ไม่ได้บอกไว้


   แต่ในอรรถกถาธรรมบทที่พระพุทธโฆษาจารย์ชาวอินเดียรจนาไว้บอกว่า     เธอเป็นธิดาของ
พระเจ้าอา (หญิง)  ของพระพุทธเจ้า  ซึ่งหมายถึงพระนางปมิตา  และพระนางอมิตา ทั้งสองพระนางนี้เป็น
พระกนิษฐา  หรือน้องสาวของพระเจ้าสุทโธทนะ   แต่เป็นธิดาของพระเจ้าอาพระองค์ไหนแน่   ท่านก็ไม่ได้
บอกไว้


   พระนางกีสาโคตมี  ได้ทรงเห็นเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จกลับจากสรงสนานในสระโบกขรณี  ใน
พระราชอุทยานผ่านมา  และทรงเห็นเจ้าชายงามบริบูรณ์ด้วยพระรูปศิริโสภาคย์  ก็ทรวปีติโสมนัส  จึงตรัส
พระคาถา  ชมเจ้าชายสิทธัตถะบทหนึ่ง    พระคาถา   คือคำกลอนหรือโศลกที่กวีแต่งร้องกรองความเดิมเป็น
ภาษาบาลีว่า


           "นิพพุตา  นูน  สา  มาตา

      นิพพุโต  นูนโส  ปิตา

      นิพพุตา  นูน  สา  นารี

      ยัสสายัง  อีทิโส  ปติ"



   ถอดเป็นร้อยแก้วในภาษาไทยว่า    "ผู้ใดได้เป็นพระราชมารดาและพระราชบิดาของเจ้าชาย
สิทธัตถะ  ผู้นั้นจะมีความสุขดับทุกข์เข็ญ  สตรีใดได้เป็นพระชายาสตรีนั้น  ก็จะมีความสุขดับทุกข์เข็ญ"


   เจ้าชายสิทธัตถะทรงได้ยินก็ชอบพระทัย   ที่ทรงชอบที่สุดคือคำว่า  'ดับ'  ซึ่งพระองค์ทรง
หมายพระทัยถึง  'นิพพุต'  หรือนิพพาน   จึงทรงเปลื้อง  'แก้วมุกดาหาร'  เครื่องประดับพระศอราคาแสน
กหาปณะ  มอบให้ราชบุรุษนำไปมอบให้แก่นางกีสาโคตมี  พระนางสำคัญหมายในพระทัยว่า  เจ้าชายทรง
มีพระทัยปฏิพัทธ์เสน่หาในพระนางก็ทรงเกิดโสมนัสยินดีเป็นอันมาก
 
บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #28 เมื่อ: ธันวาคม 25, 2011, 08:30:25 PM »

สมุดภาพพระพุทธประวัติ

ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร
 
ภาพที่ ๑๒

ตื่นบรรทมกลางดึกเห็นสาวสนมกรมในนอนระเกะระกะ ระอาพระทัยใคร่ผนวช






   ตั้งแต่เจ้าชายสิทธัตถะทอดพระเนตรเห็นเทวฑูตทั้งสี่แล้ว    ทรงตัดสินพระทัยแน่วแน่ว่าจะ
เสด็จออกบรรพชาเป็นต้นมา  แม้ว่าภายหลังจากนั้นจะทรงเกิดบ่วงขึ้นในพระทัย  คือทรงมีพระโอรสและมี
ความรัก  แต่ความที่ตั้งพระทัยไว้ว่าจะเสด็จออกบวชก็ไม่เปลี่ยนแปลง

   ในคืนวันเสด็จกลับจากพระราชอุทยาน  ปฐมสมโพธิพรรณาไว้ตอนหนึ่งว่า "...วันนั้น  สมเด็จ
โพธิสัตว์มีพระทัยยินดียิ่งนักในบรรพชา  กอปรด้วยพระปัญญาเป็นปราชญ์อันประเสริฐ  ปราศจาก
อาลัยในเบญจกามคุณ  มิได้ยินดีในฟ้อนขับแห่งนางทั้งหลาย  อันเป็นที่เจริญหฤทัยเห็นปานดังนั้น  ก็หยั่งลง
สู่นิทรารมณ์ประมาณมุหุตหนึ่ง.."  มุหุตหนึ่งคือครู่หนึ่ง

   ภายในปราสาทที่เจ้าชายประทับอยู่ สว่างรุ่งเรืองด้วยประทีปโคมไฟที่  "ตามด้วยน้ำมันหอม
ส่งสว่างขจ่างจับแสงแก้วแสงทอง..."    บรรดานางบำเรอฟ้อนรำขับร้องที่อยู่เฝ้า     เมื่อเห็นเจ้าชายบรรทม
หลับแล้วต่างก็เอนกายลงนอนทับเครื่องดนตรี

   มุหุตหนึ่งคือครู่หนึ่ง  เจ้าชายตื่นบรรทมแล้วก็ทรงเห็นอาการวิปลาสของนางบำเรอ  ที่นอน
หลับไม่สำรวม   ปฐมสมโพธิพรรณาไว้ว่า  "แลนางบางจำพวกก็นอนกลิ้งเกลือก  มีเขฬะ (น้ำลาย)  อันหลั่ง
ไหล   นางบางเหล่าก็นอนกรนสำเนียงดังเสียงกา   นางบางหมู่ก็นอนเคี้ยวทนต์   นางบางพวกก็นอนละเมอ
เพ้อฝันจำนรรจาต่างๆ บางหมู่ก็นอนโอษฐ์อ้าอาการวิปลาส  บางเหล่านางก็นอนมีกายเปลือยปราศจากวัตถา
สำแดงที่สัมพาธฐานให้ปรากฏ..."

   เจ้าชายเสด็จจากพระแท่นที่บรรทม    เสด็จลุกขึ้นทอดพระเนตรภายในปราสาทที่ประทับ 
แม้จะสว่างรุ่งเรืองด้วยดวงประทีป  และงามตระการด้วยเครื่องประดับ   แต่ทรงเห็นเป็นที่มืด  และทรง
เห็นเป็นดุจป่าช้าผีดิบ   สิ่งที่มีชีวิตที่ยังหายใจได้ที่กำลังนอนระเนระนาดปราศจากอาการสำรวมคือ  นาง
บำเรอปรากฏแก่พระองค์เป็นซากศพผีดิบในสุสาน   จึงออกพระโอษฐ์ลำพังพระองค์ว่า  "อาตมาจะออกสู่
มหาภิเนษกรมณ์ในสมัยราตรีนี้"    แล้วเสด็จไปยังพระทวารปราสาท      และตรัสเรียกมหาดเล็กเฝ้าพระ
ทวารว่า  "ใครอยู่ที่นั่น"

 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 25, 2011, 08:41:24 PM โดย nujai » บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #29 เมื่อ: ธันวาคม 25, 2011, 08:31:51 PM »

สมุดภาพพระพุทธประวัติ

ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร
 
ภาพที่ ๑๓

เสด็จไปเยี่ยมพระนางพิมพา ซึ่งกำลังบรรทมหลับสนิทเป็นนิมิตอำลาผนวช

 




   พอสิ้นพระดำรัสถามของเจ้าชายสิทธัตถะ  ก็มีเสียงทูลขานรับ เจ้าของเสียงระบุชื่อ  ตัวเองว่า 
'ฉันนะ'  นายฉันนะ  คือ  มหาดเล็กคนสนิทของเจ้าสิทธัตถะและเป็นสหชาติ  คือเกิดวันเดียวกับเจ้าชายด้วย

   ถ้าจะอุปมาเรื่องราวของพระพุทธเจ้าเป็นดุจบทละคร     นายฉันนะก็เป็นตัวละครที่สำคัญคน
หนึ่งในเรื่อง  ความสำคัญนั้นคือ  เป็นผู้มีส่วนร่วมในการเสด็จออกบวชของพระพุทธเจ้า  อีกอย่างหนึ่งที่รู้จัก
กันดี   คือ   เมื่อภายหลังเจ้าชายได้เสด็จออกบวชและได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว    นายฉันนะได้โดยเสด็จ
ออกบวชด้วย  พระฉันนะกลายเป็นพระหัวแข็ง   ใครว่ากล่าวไม่ได้นอกจากพระพุทธเจ้าองค์เดียวเพราะพระ
ฉันนะถือตัวว่าเป็นข้าเก่า   เขาใช้สรรพนามเรียกเจ้าชายสิทธัตถะหรือพระพุทธเจ้าติดปากมาจนกระทั่งบวช
เป็นพระอยู่เดียวว่า 'พระลูกเจ้า'

   ในตอนที่กล่าวนี้    นายฉันนะนอนอยู่ที่ภายนอกห้องบรรทมของเจ้าชาย   ศีรษะหนุนกับธรณี
พระทวาร  เมื่อเจ้าชายรับสั่งให้ไปเตรียมผูกม้า  นายฉันนะก็รับพระบัญชารีบลงไปที่โรงม้า

   ส่วนเจ้าชายผู้ทรงตัดสินพระทัยแน่วแน่แล้วว่าจะเสด็จออกบวช  เสด็จไปยังห้องบรรทมของ
พระนางพิมพายโสธราผู้ชายาก่อน    เมื่อเสด็จไปถึง   ทรงเผยบานพระทวารออก   ทรงเห็นพระชายากำลัง
หลับสนิท  พระนางทอดพระกรไว้เหนือเศียรราหุล  โอรสผู้เพิ่งประสูติ  พระองค์ทรงเกิดความเสน่หาอาลัย
ในพระชายาและพระโอรสที่เพิ่งได้ทอดพระเนตรเห็นเป็นครั้งแรกอย่างหนัก

   ทรงหมายพระทัยว่า "จะทรงยกพระหัตถ์นางผู้ชนนี  จะอุ้มเอาองค์โอรส..."  ก็ทรงเกรงพระ
นางจะตื่นบรรทม   และจะเป็นอุปสรรคแก่การเสด็จออกบวช   จึงข่มพระทัยเสีย  ได้ว่าอย่าเลย  เมื่อได้สำเร็จ
เป็นพระพุทธเจ้า  "จะกลับมาทัศนาการพระพักตร์พระลูกแก้วเมื่อภายหลัง"

   แล้วเสด็จออกจากที่นั้น  ลงจากปราสาทไปยังที่ที่นายฉันนะเตรียมผูกม้าไว้เรียบร้อยแล้ว

 
 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 25, 2011, 08:46:55 PM โดย nujai » บันทึกการเข้า

finghting!!!
Gold Price today, Gold Trend Price Prediction, ราคาทองคํา, วิเคราะห์ทิศทางทองคํา
   

images by free.in.th
Thanks: ฝากรูป dictionary ---------------------Charts courtesy of Moore Research Center, Inc. For more information on Moore Research products and services click here. --- http://www.mrci.com ---------- ---------------------------------------------รูปกราฟแสดงราคาทองในอดีตปี 1974-1999 ของ Moore Research Center, Inc. แสดงฤดูกาลที่ราคาทองขึ้นสูงสุดและตําสุด เอาแบบคร่าวๆ เส้นนําตาลหรือนําเงินก็ใกล้เคียงกัน เส้นนําตาลเฉลี่ย 15 ปี เส้นนําเงินเฉลี่ย 26 ปี ราคาตําสุดของเส้นนําตาล หรือเฉลี่ย 15 ปี ในเดือน ปลายเดือน เมษ และปลายเดือน สค ต่อต้นเดือน กย[/color] สูงสุดในเดือน กพ กับ พย / ส่วนเฉลี่ย 26 ปี ราคาตําสุด ต้น กค กับ ปลาย สค และราคาสูงสุดในเดือน กพ และ กลางเดือน ตค ----- แค่ดูคร่าวๆ เป็นแนวทาง อย่ายึดมั่นว่าจะต้องเป็นตามนี้ ข้างล่างเป็นกราฟราคานํามัน ตามฤดูกาล จาก Charts courtesy of Moore Research Center, Inc. images by free.in.th
Thanks: ฝากรูป dictionary
 บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 7   ขึ้นบน
พิมพ์
กระโดดไป: