Forex-Currency Trading-Swiss based forex related website. Home ----- กระดานสนทนาหน้าแรก ----- Gold Chart,Silver,Copper,Oil Chart ----- gold-trend-price-prediction ----- ติดต่อเรา
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 7   ลงล่าง
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: วิธีสร้างบุญบารมี  (อ่าน 22184 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 5 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
jainu
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #30 เมื่อ: ธันวาคม 25, 2011, 08:32:49 PM »

สมุดภาพพระพุทธประวัติ

ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร
 
ภาพที่ ๑๔

ทรงปลุกนายฉันนะให้ผูกม้ากัณฐกะ เพื่อประทับเป็นพาหนะเสด็จออกบรรพชา







   ม้าพระที่นั่งที่เจ้าชายเสด็จขึ้นทรง  เพื่อเสด็จออกบวชครั้งนี้  มีชื่อว่า 'กัณฐกะ'   เป็นสหชาติ
คือเกิดวันเดียวกับเจ้าชาย  หนังสือปฐมสมโพธิบอกส่วนยาวของม้านี้ไว้ว่า  "ยาวตั้งแต่คอจดท้ายมีประมาณ 
๑๘  ศอก"  แต่ส่วนสูงกี่ศอก  ไม่ได้บอกไว้  บอกแต่ว่า "โดยสูงก็สมควรกับกายอันยาว"  และแจ้งถึงลักษณะ
อย่างอื่นไว้ว่า    "สีขาวบริสุทธิ์ดุจสังข์อันขัดใหม่    ศีรษะนั้นดำดุจสีแห่งกา   มีเกศาในมุขประเทศ  (หน้า) 
ขาวผ่องดุจไส้หญ้าปล้องงามสะอาด  กอปรด้วยพหลกำลังมาก  แลยืนประดิษฐานอยู่บนแท่นแก้วมณี"

   ความที่ว่านั้นเป็นม้าในวรรณคดีที่กวีพรรณาให้เขื่อง   และให้เป็นม้าพิเศษกว่าม้าสามัญ  ถ้า
ถอดความเป็นอย่างธรรมดาก็ว่ากัณฐกะสูงใหญ่สีขาวเหมือนม้าทรงของจอมจักรพรรดิ   หรือบุคคลผู้ทรง
ความเป็นเอกในเรื่อง

   เมื่อเจ้าชายเสด็จเข้าใกล้ม้า  ทรงยกพระหัตถ์ขวาลูบหลังกัณฐกะ   ท่านว่าม้ากัณฐกะมีความ
ยินดีก็เปล่งเสียงร้องดังกึกก้องสนั่นไปทั่วกรุงกบิลพัสดุ์    ดังไปไกลถึงหนึ่งโยชน์   (ประมาณ  ๔๐๐  เส้น) 
โดยรอบ  ถ้าเป็นไปตามนี้ ทำไมคนทั้งเมืองจึงไม่ตื่นกัน ท่านผู้รจนาวรรณคดีเรื่องนี้ท่านบอกว่า  "เทพยดา
ก็กำบังเสียซึ่งเสียงนั้นให้อันตรธานหายไป..."  ท่านใช้เทวดาเป็นเครื่องเก็บเสียงม้านั่นเอง

   ถ้าถอดความจากเรื่องราวของวรรณคดีดังกล่าวออกมาก็คือ   เจ้าชายทรงชำนาญในเรื่องม้า
มาก  ทรงสามารถสะกดม้าไม่ให้ส่งเสียงร้องได้

   จากนั้นก็เสด็จขึ้นหลังกัณฐกะ  บ่ายพระพักตร์ออกไปทางประตูเมืองที่ชื่อ 'พระยาบาลทวาร'  
โดยมีนายฉันนะมหาดเล็กตามเสด็จไปข้างหลัง  วันที่เสด็จออกบวชนั้น  หนังสือปฐมสมโพธิบอกว่าเป็นวัน
เพ็ญเดือน  ๘  ท่านว่า   "พระจันทร์แจ่มในท่ามกลางคัคนาดลประเทศ  (ท้องฟ้า)  ปราศจากเมฆ   ภายใน
ห้องจักรวาลก็ขาวผ่องโอภาสด้วยนิศากรรังสี"  นิศากรรังสี คือ  แสงจันทร์ในวันเพ็ญ


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 25, 2011, 08:51:02 PM โดย nujai » บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #31 เมื่อ: ธันวาคม 25, 2011, 08:33:48 PM »

สมุดภาพพระพุทธประวัติ

ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร
 
ภาพที่ ๑๕

พระยามารห้ามบรรพชาว่า อีก ๗ วันจะได้เสวยสมบัติบรมจักรแต่ไม่ทรงฟัง

 




   เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จทรงม้าพระที่นั่งผ่านประเทศออกมาในเวลาราตรี ที่มีแสงจันทร์
กระจ่าง  ก็มีเสียงคล้ายเสียงดนตรีขึ้นที่ข้างประตูนอกเมือง  เสียงนั้นร้องห้ามเจ้าชายมิให้เสด็จออกบวช


   เจ้าชายสิทธัตถะ   "ท่านนี้มีนามชื่อใด"

   เจ้าของเสียง      "เราชื่อวัสสวดีมาร"



   พระยามารแจ้งข่าวให้เจ้าชายทรงทราบว่า  อีกเจ็ดวันในเบื้องหน้า  นับแต่วันนี้เป็นต้นไป  
จักรแก้วจักเกิดขึ้น  ผู้จะได้เป็นเจ้าของจักรแก้วนั้นคือเจ้าชาย  จักรแก้วตามความหมายของพระยามารใน
ที่นี้คือ  ความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ

   เจ้าชาย      "เรื่องนี้เราทราบแล้ว"

   พระยามาร      "ถ้าเช่นนั้น  ท่านจะเสด็จออกบวชเพื่อประโยชน์อันใด"

   เจ้าชาย      "เพื่อสัพพัญญุตญาณ"



   สัพพัญญุตญาณตามความหมายในพระดำรัสของเจ้าชาย   คือ   ความได้สำเร็จเป็นพระ
พุทธเจ้า   ความที่บรรยายมาทั้งหมดนั้น  บรรยายตามความในวรรณคดีที่กวีท่านแต่ไว้ในปฐมสมโพธิ  
และที่พระพุทธโฆษาจารย์รจนาไว้ในอรรถกถาธรรมบท  โดยท่านสาธกให้เห็นเป็นปุคคลาธิษฐาน

   ปุคคลาธิษฐาน  คือ   การแปลสิ่งที่มองไม่เห็นด้วยตา   หรือสัมผัสไม่ได้ด้วยประสาททั้ง  
๕  ที่เรียกว่า 'นามธรรม'   แปลออกมาให้เป็นฉาก  เป็นบุคคลซึ่งเป็นตัวแสดงในเรื่อง   เหมือนนักเขียน
นวนิยายที่ถ่ายทอดความรู้สึกออกมาตัวละคร  ถ้าไม่สาธกอย่างนี้คนก็จะไม่เข้าใจ  และท้องเรื่องก็จะจืด


 
 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 25, 2011, 08:54:46 PM โดย nujai » บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #32 เมื่อ: ธันวาคม 25, 2011, 08:34:56 PM »

สมุดภาพพระพุทธประวัติ

ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร

ภาพที่ ๑๖

ทรงตัดโมลีถือเพศบรรพชา ณ ฝั่งน้ำอโนมา ฆฏิการพรหมถวายอัฐบริขาร






   เจ้าชายสิทธัตถะพร้อมด้วยนายฉันนะที่ตามเสด็จ   ทรงขับม้าพระที่นั่งไปตลอดคืน   ไป
สว่างเอาที่แม่น้ำแห่งหนึ่ง  ซึ่งเป็นเขตแดนกั้นเมืองทั้ง ๓  คือ กบิลพัสดุ์  สาวัตถี  และไพศาลี  ทรงถาม
นามแม่น้ำนี้กับนายฉันนะ  นายฉันนะกราบทูลว่า  "พระลูกเจ้า!  แม่น้ำนี้มีชื่อว่า อโนมานที  พระเจ้าข้า"

   ทรงพาม้าและมหาดเล็กข้ามแม่น้ำ  แล้วเสด็จลงจากหลังม้าประทับนั่งบนหาดทราย  อัน
ขาวดุจแผ่นเงิน   พระหัตถ์ขวาจับพระขรรค์แสงดาบ   พระหัตถ์ซ้ายจับพระจุฬา   คือ   ยอดหรือปลาย
พระเกศา   กับพระโมฬี   คือ   มุ่นพระเกศา  หรือผมที่มุ่นเป็นมวย  แล้วทรงตัดด้วยพระขรรค์แสงดาบ
เหลือพระเกศาไว้ยาวประมาณ  ๒  นิ้ว  เป็นวงกลมเวียนไปทางขวา

   เสร็จแล้วทรงเปลื้องพระภูษาทรงออก  แล้วทรงครองผ้ากาสาวพัสตร์ที่ฆฏิการพรหมนำ
มาถวายพร้อมด้วยเครื่องบริขารอย่างอื่นของนักบวช   แล้วทรงอธิษฐานเพศเป็นนักบวชที่บนหาดทราย
ริมฝั่งแม่น้ำอโนมานั่นเอง

   ทรงมอบพระภูษาทรง   และม้าพระที่นั่งให้นายฉันนะนำกลับไปกราบทูลแจ้งข่าวแก่พระ
ราชบิดาให้ทรงทราบ   นายฉันนะมีความอาลัยรักองค์ผู้เป็นเจ้านาย  ถึงร้องไห้กลิ้งเกลือกแทบพระบาท
ไม่อยากกลับไป  แต่ขัดรับสั่งไม่ได้  ด้วยเกรงพระอาญา

   เจ้าชายหรือตั้งแต่นี้เป็นต้นไป  หนังสือพุทธประวัติเรียกว่า  'พระมหาบุรุษ'  ทรงลูบหลัง
ม้าที่กำลังจะจากพระองค์กลับเมือง    ม้าน้ำตาไหลอาบหน้า   แล้วแลบชิวหาออกเลียพื้นฝ่าพระบาทของ
พระองค์ผู้เคยทรงเป็นเจ้าของ

   ทั้งม้าทั้งคนคือนายฉันนะน้ำตาอาบหน้า    ข้ามน้ำกลับมาเมือง    แต่พอลับพระเนตรพระ
มหาบุรุษ  ม้ากัณฐกะก็หัวใจแตกออก  ๗  ภาค หรือหัวใจวายตาย  นายฉันนะจึงปลดเครื่องม้าออก  แล้ว
นำดอกไม้ป่ามาบูชาศพพญาสินธพ  แล้วฉันนะก็หอบพระภูษาทรงและเครื่องม้าเดินร้องไห้กลับเมืองคน
เดียว

 
 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 25, 2011, 08:57:46 PM โดย nujai » บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #33 เมื่อ: ธันวาคม 25, 2011, 08:35:54 PM »

สมุดภาพพระพุทธประวัติ

ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร
 
ภาพที่ ๑๗

เสด็จจาริกผ่านกรุงราชคฤห์ มหาชนเห็นแล้วโจษจันกันทั่วเมือง






   เมื่อนายฉันนะ  มหาดเล็กผู้ซื่อสัตย์กลับคืนไปแจ้งข่าวทางเมืองกบิลพัสดุ์แล้ว    พระมหา
บุรุษ  หรือก่อนแต่นี้คือเจ้าชายสิทธัตถะ  เสด็จจากหาดทรายชายฝั่งแม่น้ำอโนาไปยังตำบลที่มีป่ามะม่วง
มากแห่งหนึ่ง  ที่เรียกโดยชื่อว่า 'อนุปิยอัมพวัน'  ตำบลนี้อยู่ในเขตแขวงมัลลชนบท ประทับอยู่ที่นี่  หนึ่ง
สัปดาห์  ในวันที่  ๘   จึงเสด็จจารึกเข้าแคว้นมคธไปโดยลำดับจนถึงกรุงราชคฤห์     ซึ่งเป็นเมืองหลวง
ของแคว้นนี้ในสมัยนั้น

   แคว้นมคธเป็นแคว้นใหญ่  มั่งคั่ง  มากด้วยพลเมืองและมีอำนาจมากเท่าเทียบกับอีกแคว้น
หนึ่ง  ในสมัยเดียวกันนี้คือ  แคว้นโกศล  ซึ่งมีกรุงสาวัตถีเป็นเมืองหลวง

   กษัตริย์ผู้เป็นใหญ่ของกรุงราชคฤห์แห่งแคว้นมคธ ในสมัยที่กล่าวนี้ทรงพระนามว่า  พระ
เจ้าพิมพิสาร ทรงมีพระชนมายุรุ่นราวคราวเดียวกับพระมหาบุรุษ ขณะที่กล่าวนี้จึงทรงเป็นกษัตริย์หนุ่ม

   เวลาเช้า    พระมหาบุรุษเสด็จเข้าเมือง      ชาวเมืองเกิดอาการที่ปฐมสมโพธิรายงานไว้ว่า
"ตื่นเอิกเกริก  โกลาหลทั่วพระนคร"  เพราะได้เห็นนักบวชที่ทรงรูปสิริลักษณะเลิศบุรุษ จะว่าเป็นเทวดา
หรือ  นาค  สุบรรณ  (ครุฑ)  คนธรรพ์  ทานพ  (อสูรจำพวกหนึ่งในนิยาย)  ประการใดก็มิได้รู้   เข้ามาสู่
พระนคร  เที่ยวโคจรบิณฑบาตประหลาดนัก  ต่างก็โจษจันกันทั่วเมือง

   เจ้าชายสิทธัตถะ   หรือขณะนี้คือพระมหาบุรุษ   และต่อมาคือพระพุทธเจ้า   ทรงเกิด  ใน
ขัตติยสกุล   คือสกุลกษัตริย์   ทรงเป็นอุภโตสุชาต   คือ  ทรงมีพระชาติกำเนิดเป็นกษัตริย์บริสุทธิ์ทั้งฝ่าย
พระบิดาและฝ่ายมารดา   ทรงมีผิวพรรณที่ภาษาบาลี   เรียกว่า  'กาญจนวัณโณ'   แปลตามตัวว่าผิวทอง 
ความหมายก็คือผิวเหลืองขาว   ทรงมีพระรูปโฉมสง่างาม   ถึงแม้จะทรงปลงพระเกศา    และพระมัสสุ
และทรงนุ่มห่มผ้ากาสาวพัสดุ์อย่างนักบวชผู้สละทิ้งความงามทางฆราวาสวิสัยแล้วก็ตาม  แต่พระอาการ
กิริยาเวลาเสด็จดำเนินก็ยังคงลีลาของกษัตริย์ชัดเจน  คือสง่างามผิดแผกสามัญชน

   เพราะเหตุนี้  เมื่อชาวเมืองราชคฤห์ได้เห็น  จึงแตกตื่นกัน  จนความทราบไปถึงพระเจ้าพิม
พิสาร  ผู้เป็นพระราชาธิบดีแห่งกรุงราชคฤห์

 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 25, 2011, 09:00:36 PM โดย nujai » บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #34 เมื่อ: ธันวาคม 25, 2011, 08:36:49 PM »

สมุดภาพพระพุทธประวัติ

ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร
 
ภาพที่ ๑๘

พระเจ้าพิมพิสารเสด็จไปเฝ้า ทูลของปฏิญาณว่าถ้าตรัสรู้แล้วขอให้มาโปรดก่อน

 




   พระเจ้าพิมพิสารได้ทราบครามที่ชาวเมืองต่างโจษจันกันถึงเรื่องนักบวชหนุ่มผู้ทรงความ
สง่างามผิดจากนักบวชอื่นๆ   เข้ามาในเมือง   จึงทรงสั่งเจ้าพนักงานไปสืบความดู   หนังสือปฐมสมโพธิ
เรียบเรียงพระดำรัสสั่งของพระเจ้าพิมพิสารตอนนี้ไว้ว่า

   "ท่านจงสะกดตามบทจรไปดู    ให้รู้ตระหนักแน่      แม้เป็นเทพยดาก็จะเหาะไปในอากาศ 
ผิวะเป็นพญานาคก็ชำแรกปฐพีไปเป็นแท้  แม้ว่าเป็นมนุษย์  ก็จะไปนั่งบริโภคภัตตาหารโดยควรประมาณ
แก่ตนได้  จงไปพิจารณาดูให้รู้เหตุประจักษ์"

   ฝ่ายมหาบุรุษเมื่อทรงรับอาหารบิณฑบาตพอควรจากชาวเมืองแล้ว  ก็เสด็จออกจากเมืองไป
ที่เงื้อมภูเขานอกเมืองแห่งหนึ่ง  แล้วทรงตั้งสติพิจารณาปรารภที่จะเสวยอาหารที่ทรงได้มาจากการเสด็จ
บิณฑบาต  อาหารที่ว่าเป็นจำพวกที่เรียกว่า  'มิสกภัตร'  คือ  อาหารที่คละระคนปนกันทุกชนิด   ทั้งดีและ
เลว  ทั้งน้ำและแห้ง  ทั้งคาวและหวาน

   พระมหาบุรุษทรงเห็นแล้วทรงเกิดพระอาการอย่างหนึ่ง        ซึ่งปฐมสมโพธิพรรณาไว้ว่า 
"ปานประหนึ่งลำไส้ใหญ่จะกลับออกทางพระโอษฐ์   เหตุพระองค์เคยเสวยประณีตโภชนาหาร  ปานประ
ดุจ  ทิพย์สุธาโภชน์..."  แต่ทรงข่มพระทัยด้วยคุณธรรมของนักบวชเสียได้  จึงเสวยอาหารนั้นอย่างปกติ

   พระเจ้าพิมพิสารกับพระมหาบุรุษทรงเป็น 'อทิฏฐสหาย'  กัน  แปลว่า  ทรงเป็นพระสหาย
ที่เคยแต่ได้ยินพระนามกันมาก่อน   แต่ไม่เคยเห็นกันและกัน   เมื่อทรงทราบเรื่องจากเจ้าพนักงานกราบทูล
ให้ทรงทราบแล้ว   พระเจ้าพิมพิสารจึงเสด็จไปเฝ้าพระมหาบุรุษ   ทรงทราบว่าเป็นเจ้าชายจากศากยสกุล 
จึงตรัสเชิญพระมหาบุรุษให้เสด็จอยู่ครองเมืองด้วยกัน      พระมหาบุรุษทรงปฏิเสธและทรงแจ้งถึงความ
แน่วแน่ในพระทัยที่จะแสวงหาความตรัสรู้ 

   พระเจ้าพิมพิสารจึงตรัสขอปฏิญาณว่า  ถ้าได้ตรัสรู้แล้วขอให้เสด็จมาโปรด  พระมหาบุรุษ
ทรงรับปฏิญาณนั้น
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 25, 2011, 09:03:26 PM โดย nujai » บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #35 เมื่อ: ธันวาคม 27, 2011, 09:36:43 PM »

สมุดภาพพระพุทธประวัติ

ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร

ภาพที่ ๑๙

เสด็จไปศึกษาลัทธิฤาษีชีป่ากับอาฬารดาบส เห็นว่ามิใช่ทางตรัสรู้





ในสมัยที่กล่าวนี้    แคว้นมคธมีนักบวชที่ตั้งตนเป็นคณาจารย์ต่างๆ     ที่มีชื่อเสียงมากคณะ
ด้วยกัน   แต่ละคณะต่างก็มีศิษย์สาวกและมีคนนับถือมาก   กรุงราชคฤห์ก็เป็นที่สัญจรจาริกผ่านไปมาของ
เจ้าลัทธิต่างๆ  เพื่อเผยแพร่ลัทธิของตนให้คนเลื่อมใส

   คณาจารย์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุด  ตอนเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกบวช  ซึ่งอยู่ในแคว้นนี้มีสอง
คณะด้วยกันคือ  คณะอาฬารดาบสกาลาม    และคณะอุทกดาบสรามบุตร    ทั้งสองคณะนี้ตั้งอาศรม
สอนศิษย์อยู่ในป่านอกเมือง

   พระมหาบุรุษจึงเสด็จไปยังที่นี่  เพื่อทรงศึษาเล่าเรียนและทดลองดูว่าจะเป็นทางตรัสรู้หรือ
ไม่  เสด็จไปทรงศึกษาที่สำนักแรกก่อน  ทรงศึกษาจนสิ้นความรู้ของท่านคณาจารย์เจ้าสำนักแล้ว  ทรงเห็น
ว่ายังมิใช่ทางตรัสรู้    จึงเสด็จไปทรงศึกษาในสำนักคณาจารย์ที่สอง   ทรงได้ความรู้เพิ่มเติมขึ้นนิดหน่อย  
แต่ก็ได้เพียงสมาบัติแปด

   'สมาบัติ'  หมายถึง  ฌาณ  คือวิธีทำจิตให้เป็นสมาธิ  มีตั้งแต่อย่างหยาบขึ้นไปจนถึงละเอียด
ที่สุด   ทั้งหมดมีแปดขั้นด้วยกัน   ทรงเห็นว่า  จิตใจในระดับนี้ก็ยังอยู่ในชั้นของโลกีย์   ปุถุชนสามารถมีได้  
แต่มีแล้วยังเสื่อมได้   ยังไม่ใช่โลกุตตระคือทางหลุดพ้น


   ท่านคณาจารย์ทั้งสองสำนักชวนพระมหาบุรุษให้อยู่ด้วยกัน  เพื่อช่วยสั่งสอนศิษย์สาวกต่อไป  
ทั้งสองท่านสรรเสริญพระมหาบุรุษว่าทรงมีความรู้ยอดเยี่ยมเทียบกับตน    แต่พระมหาบุรุษทรงปฏิเสธคำ
เชิญชวนนั้นเสีย

   เมื่อทรงทดลองลัทธิของคณาจารย์ที่มหาชนยกย่องนับถือว่ามีความรู้สูงสุด    แต่ทรงเห็นว่า
มิใช่ทางตรัสรู้ได้ด้วยพระปรีชาญาณของพระองค์     พระมหาบุรุษจึงทรงดำริจะลองทดลองสิ่งที่นักบวช
นักพรตจำนวนมากสมัยนั้นนิยมปฏิบัติกัน  ว่าจะเป็นทางตรัสรู้หรือไม่   ทางนั้นก็คือทุกกรกิริยา  ที่หมายถึง
การบำเพ็ญเพียรที่เข้มงวด    เกินที่วิสัยสามัญมนุษย์จะทำได้   ที่คนทั่วไปเรียกว่าทรมานตนให้ได้รับความ
ลำบากนั่นเอง
บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #36 เมื่อ: ธันวาคม 27, 2011, 09:40:31 PM »

สมุดภาพพระพุทธประวัติ

ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร

ภาพที่ ๒๐

เสด็จถึงอุรุเวลาเสนานิคมอันสงัดเงียบ ทรงพอพระทัยประทับบำเพ็ญเพียรที่นั่น






พระมหาบุรุษทรงอำลาท่านคณาจารย์ทั้งสองแล้วออกจากที่นั่น    แล้วเสด็จจาริกแสวงหาที่
สำหรับทรงบำเพ็ญเพียร    เพื่อทดลองทุกกรกิริยาที่คนสมัยนั้นนิยมทำกันดังกล่าว    แล้วเสด็จไปถึงตำบล
แห่งหนึ่ง    ซึ่งอยู่ในเขตแขวงมคธเหมือนกัน   มีนามว่า  'อุรุเวลาเสนานิคม'   อุรุเวลา   แปลว่า  กองทราย 
เสนานิคม  แปลว่า  ตำบล  หมู่บ้าน


   พื้นที่ตำบลแห่งนี้เป็นที่ราบรื่น  มีแนวป่าเขียวสด  เป็นที่น่าเบิกบานใจ  มีแม่น้ำเนรัญชรา  น้ำ
ไหลใสสะอาด  มีท่าสำหรับลงอาบ มีหมู่บ้านตั้งอยู่โดยรอบ ไม่ใกล้เกินไป และไม่ไกลเกินไป  เหมาะสำหรับ
เป็นที่อาศัยเที่ยวบิณฑบาตของนักบวชบำเพ็ญพรต

   อุรุเวลาเสนานิคม  ถ้าจะเรียกอย่างไทยเราก็คงจะเรียกได้ว่า 'หมู่บ้านกองทราย'  หรือหมู่บ้าน
ทรายงาม  อะไรอย่างนั้น

   คัมภีร์อรรถกถาชื่อ  'สมันตปสาทิกา'  เล่ม  ๓  ซึ่งพระพุทธโฆษาจารย์ชาวอินเดีย  สมัยหลัง
พระพุทธเจ้านิพพานแล้วเป็นผู้แต่ง  ได้เล่าประวัติของกองทรายที่ตำบลนี้ไว้ว่า  ในอดีตสมัย  ที่นี่เคยเป็นที่
บำเพ็ญเพียรของพวกนักพรตจำนวนมาก     นักพรตที่มาตั้งอยู่ที่นี่ตั้งระเบียบข้อบังคับปกครองกันเองไว้ว่า 
ความผิดของคนที่แสดงออกทางกายและวาจานั้นพอมองเห็นได้   ส่วนทางใจไม่มีใครมองเห็นเลย   ใครจะ
คิดผิดคิดชั่วอย่างไรก็มองไม่เห็น    ลงโทษว่ากล่าวกันก็ไม่ได้   เพราะฉะนั้น   ถ้าใครเกิดคิดชั่ว   เช่น   เกิด
อารมณ์ความใคร่ขึ้นมาเมื่อใดละก็    ขอให้ผู้นั้นลงโทษตัวเอง    โดยวิธีนำบาตรไปตักเอาทรายมาเทกองไว้ 
หนึ่งคนหนึ่งครั้ง   ครั้งละหนึ่งบาตร   เป็นการประจานตัวเองให้คนอื่นรู้  ด้วยเหตุนี้  ภูเขากองทราย  หรือ
อุรุเวลา  ซึ่งเสมือนหนึ่งอนุสรณ์แห่งกองกิเลสของพระฤาษีเก่าก่อนจึงเกิดขึ้น

   สมัยพระพุทธเจ้า    บริเวณตำบลบ้านแห่งนี้ยังเรียกว่า   'อุรุเวลาเสนานิคม'   แต่มาสมัยหลัง 
กระทั่งทุกวันนี้เรียกบริเวณตำบลแห่งนี้ว่า  'พุทธคยา'   ซึ่งปัจจุบันวัดไทยพุทธคยาก็ตั้งอยู่ที่นั่น

   พระมหาบุรุษทรงเลือกตำบลนี้เป็นที่บำเพ็ญทุกกรกิริยา   ซึ่งเป็นบททดลองอีกบทหนึ่งว่าจะ
เป็นทางตรัสรู้หรือไม่
บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #37 เมื่อ: ธันวาคม 27, 2011, 09:43:30 PM »

สมุดภาพพระพุทธประวัติ

ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร
 
ภาพที่ ๒๑

ทรงบำเพ็ญทุกกรกิริยา ปัญจวัคคีย์เฝ้าปฎิบัติ พระอินทร์ดีดพิณถวายข้ออุปมา






ตอนนี้เป็นตอนที่พระมหาบุรุษบำเพ็ญทุกกรกิริยา  กลุ่มคนที่นั่งอยู่เบื้องหน้าพระพักตร์นั้นคือ
คณะปัญจวัคคีย์  มี  ๕  คนด้วยกัน  คือ  โกณฑัญญะ  วัปปะ  ภัททิยะ  มหานามะ  และอัสสชิ   ทั้งหมดตาม
เสด็จพระมหาบุรุษออกมาเพื่อเฝ้าอุปัฏฐาก  ส่วนผู้ที่ถือพิณอยู่บนอากาศนั้นคือพระอินทร์

   คนหัวหน้าคือโกณฑัญญะ  เป็นคนหนึ่งในจำนวนพราหมณ์ ๘ คน  ที่เคยทำนายพระลักษณะ
ของเจ้าชายสิทธัตถะ  ตอนนั้นยังหนุ่ม  แต่ตอนนี้แก่มากแล้ว  อีก  ๔  คน  เป็นลูกของพราหมณ์  ที่เหลือ  คือ
ในจำนวนพราหมณ์  ๗  คนนั้น

   ทุกกรกิริยาเป็นพรตอย่างหนึ่งซึ่งนักบวชสมัยนั้นนิยมทำกัน  มีตั้งแต่อย่างต่ำธรรมดา  จนถึง
ขั้นอาการปางตายที่เกินวิสัยสามัญมนุษย์จะทำได้อย่างยิ่งยวด  ปางตาย  คือ  กัดฟัน  กลั้นลมหายใจเข้าออก  
และอดอาหาร

   พระมหาบุรุษทรงทดลองดูทุกอย่าง จนบางครั้ง  เช่น  คราวลดเสวยอาหารน้อยลงๆ  จนถึง
งดเสวยเลย   แทบสิ้นพระชนม์   พระกายซูบผอม   พระโลมา (ขน)   รากเน่าหลุดออกมา  เหลือแต่หนังหุ้ม
กระดูก  เวลาเสด็จดำเนินถึงกับซวนเซล้มลง

   ทรงทดลองดูแล้วก็ทรงประจักษ์ความจริง  ความจริงที่ว่านี้  กวีท่านแต่งเป็นปุคคลาธิษฐาน  
คือ  พระอินทร์ถือพิณสามสายมาทรงดีดให้ฟัง  สายพิณที่หนึ่งลวดขึงตึงเกินไปเลยขาด  สายที่สองหย่อน
เกินไปดีดไม่ดัง  สายที่สามไม่หย่อนไม่ตึงนัก  ดีดดัง  เพราะ

   พระอินทร์ดีดพิณสายที่สาม  (มัชฌิมาปฏิปทา)   ดังออกมาเป็นความว่า   ไม้สดแช่อยู่ในน้ำ  
ทำอย่างไรก็สีให้เกิดไฟไม่ได้  ถึงอยู่บนบก  แต่ยังสด  ก็สีให้เกิดไฟไม่ได้  ส่วนไม้แห้งและอยู่บนบกจึงสีให้
เกิดไฟได้   อย่างแรกเหมือนคนยังมีกิเลสและอยู่ครองเรือน   อย่างที่สองเหมือนคนออกบวชแล้ว   แต่ใจยัง
สดด้วยกิเลส  อย่างที่สามเหมือนคนออกบวชแล้วใจเหี่ยวจากกิเลส

   พอทรงเห็นหรือได้ยินเช่นนั้น    พระมหาบุรุษจึงทรงเลิกบำเพ็ญทุกกรกิริยา    ซึ่งเป็นความ
เพียรทางกาย   แล้วเริ่มกลับเสวยอาหารเพื่อบำเพ็ญความเพียรทางใจ  พวกปัญจวัคคีย์ทราบเข้าก็เกิดเสื่อม
ศรัทธา   หาว่าพระมหาบุรุษคลายความเพียรเวียนมาเพื่อกลับเป็นผู้มักมากเสียแล้ว   เลยพากันละทิ้งหน้าที่
อุปัฏฐากหนีไปอยู่ที่อื่น

 
บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #38 เมื่อ: ธันวาคม 27, 2011, 09:48:09 PM »

สมุดภาพพระพุทธประวัติ

ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร
 
ภาพที่ ๒๒

เช้าวันตรัสรู้ นางสุชาดากับทาสีมาถวายข้าวมธุปายาส โดยสำคัญว่าเทวดา





นับตั้งแต่พระมหาเสด็จออกบวชเป็นต้นมาจนถึงวันที่เห็นอยู่ในภาพนี้  เป็นเวลาย่างเข้าปีที่  ๖
ตอนนี้พระมหาบุรุษเริ่มเสวยอาหารจนพระวรกายมีกำลังเป็นปกติแล้ว  และวันนี้เป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ  เดือน  ๖ 
ก่อนพระพุทธเจ้านิพพาน ๔๕  ปี  สตรีที่กำลังถวายของแด่พระมหาบุรุษคือนางสุชาดา  เป็นธิดาของคหบดี
ผู้หนึ่งในหมู่บ้าน   ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม  ของที่นางถวายคือข้าวมธุปายาส   คือ   ข้าวที่หุงด้วยนมโคล้วน 
เป็นอาหารจำพวกมังสวิรัติ  ไม่ปนเนื้อ  ไม่เจือปลา  ใช้สำหรับบวงสรวงเทพเจ้าโดยเฉพาะ


   ปฐมสมโพธิเล่าว่า  นางสุชาดาเคยบนเทพเจ้าไว้ที่ต้นไทรเพื่อให้ได้สามีผู้มีชาติสกุลเสมอกัน
และได้ลูกที่มีบุญ   เมื่อนางได้สมปรารถนาแล้ว   จึงหุงข้าวมธุปายาสเพื่อแก้บน  ก่อนถึงวันหุง  นางสุชาดา 
สั่งคนงานให้ไล่ต้อนฝูงโคนมจำนวนหนึ่งพันตัวเข้าไปเลี้ยงในป่าชะเอมเครือ  ให้แม่โคกินชะเอมเครือ  กิน
อิ่มแล้วไล่ต้อนออกมา     แล้วแบ่งแม่โคนมออกเป็นสองฝูงๆ  ละ  ๕๐๐  ตัว  แล้วรีดเอานมจากแม่โคนมฝูง
หนึ่งมาให้แม่โคนมอีกฝูงหนึ่งกิน   แบ่งและคัดแม่โคนมอย่างนี้เรื่อยๆ  ไปจนเหลือแม่โคนม  ๘  ตัว  เสร็จ
แล้วจึงรีดน้ำนมจากแม่โคนมทั้ง  ๘  มาหุงข้าวมธุปายาส

   หุงเสร็จแล้ว  นางสุชาดาสั่งให้นางทาสีหญิงรับใช้ไปทำความสะอาดปัดกวาดบริเวณต้นไทร 
นางทาสีไปแล้วกลับมารายงานให้นางสุชาดาทราบว่า  เวลานี้รุกขเทพเจ้าที่จะรับเครื่องสังเวยได้สำแดงกาย
ให้ปรากฏ  นั่งรออยู่ที่โคนต้นไทรแล้ว  นางสุชาดาดีใจเป็นกำลัง  จึงยกถาดข้าวมธุปายาสขึ้นทูนหัวเดินมาที่
ต้นไทรพร้อมกับนางทาสี   ก็ได้เห็นจริงอย่างนางทาสีเล่า   นางจึงน้อมถาดข้าวมธุปายาสเข้าไปถวาย   พระ
มหาบุรุษทรงรับแล้วพระเนตรดูนาง    นางทราบพระอาการกิริยาว่า     พระมหาบุรุษไม่มีบาตรหรือภาชนะ
อย่างอื่นรับอาหาร  นางจึงกล่าวคำมอบถวายข้าวมธุปายาสพร้อมทั้งถาดนั้น
   ถวายเสร็จแล้วก็ไหว้    แล้วเดินกลับบ้านด้วยความยินดี   และด้วยความสำคัญหมายว่า   พระ
มหาบุรุษนั้นเป็นรุกขเทพเจ้า

บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #39 เมื่อ: ธันวาคม 27, 2011, 09:53:37 PM »

สมุดภาพพระพุทธประวัติ

ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร

ภาพที่ ๒๓

ทรงลอยถาด ถาดจมลงไปกระทบกับถาดเดิม ๓ ใบ พญานาคก็รู้ว่า
พระพุทธเจ้าจะมาตรัสรู้





เมื่อนางสุชาดากลับไปบ้านแล้ว   พระมหาบุรุษเสด็จลุกขึ้นจากอาสนะ   ทรงถือถาดทองข้าว
มธุปายาส   เสด็จไปยังริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา    เสด็จลงสรงน้ำ    แล้วขึ้นมาประทับนั่งริมฝั่ง   ทรงปั้นข้าว
มธุปายาสออกเป็นปั้น  รวมได้  ๔๙  ปั้น  แล้วเสวยจนหมด  ปฐมสมโพธิว่า  'เป็นอาหารที่คุ้มไปได้  ๗  วัน
๗  หน'

   เสร็จแล้วทรงลอยถาดและทรงอธิษฐานว่า  ถ้าจะได้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า  ขอให้ถาดจงลอย
ทวนกระแสน้ำขึ้นไปไกลถึง  ๘๐  ศอก
  ไปจนถึงวังน้ำวนแห่งหนึ่ง   ถาดนั้นจึงจมดิ่งหายไปจนถึงพิภพของ
กาฬนาคราช  กระทบกับถาดสามใบของพระพุทธเจ้าในอดีตสามพระองค์เสียงดังกริ๊ก

   พระพุทธเจ้าในอดีตสามพระองค์นั้นคือ พระกกุสันธะ พระโกนาคมน์  และพระกัสสปะ  พระ
มหาบุรุษกำลังจะเป็นองค์ที่  ๔

   กาฬนาคราชหลับมาตั่งแต่สมัยพระพุทธเจ้าในอดีต  จะตื่นทุกครั้งที่ได้ยินเสียงถาด  พอได้ยิน
ก็รู้ได้ว่าพระพุทธเจ้าองค์ใหม่เกิดในโลกแล้ว     คราวนี้ก็เหมือนกัน    เมื่อได้ยินเสียงถาดของพระมหาบุรุษก็
งัวเงียขึ้นแล้วงึมงำว่า  "เมื่อวานนี้พระชินสีห์ (หมายถึงพระกัสสปพุทธเจ้า)  อุบัติในโลกพระองค์หนึ่ง  แล้ว
ซ้ำบังเกิดอีกพระองค์หนึ่งเล่า"  ลุกขึ้นมาไหว้พระพุทธเจ้าเกิดใหม่  แล้วก็หลับต่อไปอีก

   ความที่กล่าวมาถึงตอนพระมหาบุรุษทรงลอยถาด  แล้วถาดลอยทวนกระแสน้ำจนถึง  กาฬนาค
ราชได้บาดาลได้ยินเสียงถาดตกลงนั้น        ท่านพรรณาเป็นปุคคลาธิษฐานถ้าถอดความเป็นธรรมาธิษฐานก็ได้
ความอย่างนี้คือ    ถาดนั้นคือพระศาสนาของพระพุทธเจ้า  แม่น้ำคือ  โลกหรือคนในโลก   คำสั่งสอนหรือพระ
ศาสนาของพระพุทธเจ้า  พาคนไหลทวนกระแสโลกไปสู่กระแสนิพพาน คือความพ้นทุกข์ที่ไม่มีเกิด  แก่  เจ็บ 
และตาย  ส่วนกระแสโลกไหลไปสู่ความเกิด  แก่  เจ็บ  และตาย  พญานาคใต้บาดาลผู้หลับใหล  คือสัตวโลกที่
หนาแน่นด้วยกิเลส    เมื่อพระพุทธเจ้าทรงอุบัติบังเกิดขึ้นมาในโลกก็รู้ว่าเป็นพระพุทธเจ้า  รู้แล้วก็หลับใหลไป
ด้วยอำนาจแห่งกิเลสต่อไปอีก

 
บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #40 เมื่อ: ธันวาคม 27, 2011, 09:57:06 PM »

สมุดภาพพระพุทธประวัติ

ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร
 
ภาพที่ ๒๔

เสด็จกลับจากลอยถาด ทรงรับหญ้าคาซึ่งพราหมณ์โสตถิยะถวายในระหว่างทาง





เสร็จจากทรงลอยถาดอธิษฐานแล้ว  เวลาสายขึ้น   แดดเริ่มจัด   พระมหาบุรุษจึงเสด็จจากชาย
ฝั่งแม่น้ำเนรัญชราเข้าไปยังดงไม้สาละ ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากแม่น้ำแห่งนี้  ประทับอยู่ที่นี่ตลอดเวลากลางวัน  เวลา
บ่ายเกือบเย็นจึงเสด็จไปยังต้นพระศรีมหาโพธิ์

   พระศรีมหาโพธิ์เป็นต้นไม้ประเภทต้นโพธิ์ที่เราเห็นอยู่ในเมืองไทย   ในป่าก็มี   แต่ส่วนมากมี
ตามวัด   ก่อนพระพุทธเจ้าตรัสรู้ไม่ได้เรียกว่าพระศรีมหาโพธิ์   แต่เรียกโดยชื่อตามภาษาพื้นเมือง  ๒  อย่าง 
อย่างหนึ่งเป็นภาษาชาวบ้านเรียกว่า 'ต้นปีบปัน'   อีกอย่างหนึ่งเป็นภาษาหนังสือเรียกว่า  'ต้นอัสสถะ'   หรือ 
'อัสสัตถพฤกษ์'


   เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วจึงเรียกว่า 'โพธิ์'  แปลว่า  ต้นไม้เป็นที่อาศัยตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า 
ต่อมาเพิ่มคำนำหน้าขึ้นอีกเป็น มหาโพธิ์บ้าง พระศรีมหาโพธิ์บ้าง  และว่าเป็นต้นไม้สหชาติของพระพุทธเจ้า 
คือ  เกิดพร้อมกันในวันที่พระพุทธเจ้าสมัยที่เป็นเจ้าชายสิทธัตถะประสูติดังได้เคยเล่าไว้แล้ว

   ระหว่างทางเสด็จไปยังโคนต้นพระศรีมหาโพธิ์  พระมหาบุรุษได้สวนทางกับชายผู้หนึ่งซึ่งอยู่
ในวรรณะพราหมณ์ชื่อโสตถิยะ  พราหมณ์โสตถิยะเดินถือกำหญ้าคามา ๘  กำ  ได้ถวายหญ้าคาทั้ง ๘  กำแก่
พระมหาบุรุษ  พระมหาบุรุษทรงรับ แล้วทรงนำไปปูเป็นอาสนะสำหรับประทับนั่งที่โคนต้นพระศรีมหาโพธิ์

   พระมหาบุรุษประทับนั่งขัดสมาธิ   พระบาทขวาวางทับพระบาทซ้าย    และพระหัตถ์ขวาทับ
พระหัตถ์ซ้าย  ผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก  ผินพระปฤษฎางค์ คือ  หลัง  ไปทางำต้นพระศรีมหาโพธิ์ 
แล้วทรงตั้งพระทัยเป็นสัจจะแน่วแน่ว่า

   "ถ้าเรายังไม่ได้บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณตราบใด   เราจักไม่ยอมลุกขึ้นตราบนั้น  แม้ว่าเนื้อ
และเลือดจะเหือดแห้งไปเหลือแต่หนัง  เอ็น  และกระดูกก็ตามที"
บันทึกการเข้า

finghting!!!
paul711
Hero Member
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 4406


Gold is value because it's value!


« ตอบ #41 เมื่อ: ธันวาคม 28, 2011, 12:44:06 AM »

เทวดา ขอบคุณมากครับคุณหนูใจ
บันทึกการเข้า

ผมไม่ใช่กูรูเรื่องทอง ไม่เคยเขียนหรือพูดแม้แต่ครั้งเดียวว่าเก่งเรื่องทองอ่านที่ผมเขียน แล้วตัดสินใจเอง เกิดผิดพลาด ต้องรับผิดชอบเองอย่าโทษผู้อื่นว่าพลาดเพราะไปเชื่อคนอื่น ไม่มีใครบังคับให้ท่านเชื่อ ผมเป็นแค่ชาวบ้านธรรมดา----Paul711 
จุดหมาย 1) ทองแท่ง ให้ได้กําไร อย่างน้อย 10% ทุก 3 เดือน 2) Gold Future ให้ได้กําไรอย่างน้อย 5% ทุกเดือน 3) gold online ให้ได้กําไร อย่างน้อย 5% ทุกเดือน 
ชีวิตต้องมีหลักและจุดหมายที่ดีและแน่นอน ชีวิตที่ไม่มีหลักที่ดีเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวก็เปรียบเหมือนเรือที่ไม่มีหางเสือ ใครชวนให้ทําดีก็ดีไป ใครชวนให้ทําเรื่องไม่ดี ก็จะพบกับความล้มเหลวและภัยพิบัติได้


http://ichpp.egat.co.th/

Gold2Gold.com
jainu
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #42 เมื่อ: มกราคม 01, 2012, 11:51:19 AM »

สมุดภาพพระพุทธประวัติ

ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร
 
ภาพที่ ๒๕

ทรงลาดหญ้าคาประทับเป็นโพธิบัลลังก์ ตกเย็นพญามารก็กรีฑาพลมาขับไล่







   เหตุการณ์ที่เกิดกับพระมหาบุรุษตอนนี้เรียกว่า 'มารผจญ'   ซึ่งเกิดขึ้นในวันเพ็ญเดือนหก  ก่อน
ตรัสรู้ไม่กี่ชั่งโมง   พระอาทิตย์กำลังอัสดงลงลับทิวไม้   สัตว์สี่เท้าที่กำลังจะใช้งาทิ่มแทงพระมหาบุรุษนั้นมี
ชื่อว่า 'นาราคีรีเมขล์'  เป็นช้างทรงของพระยาวัสสวดีมารซึ่งเป็นจอมทัพ  สตรีที่กำลังบีบมวยผมนั้นคือพระ
นางธรณี  มีชื่อจริงว่า  'สุนธรีวนิดา'

   พระยามารตนนี้เคยผจญพระมหาบุรุษมาครั้งหนึ่งแล้ว  คือ   เมื่อคราวเสด็จออกจากเมือง  แต่
คราวนี้เป็นการผจญชิงชัยกับพระมหาบุรุษยิ่งใหญ่กว่าทุกคราว   กำลังพลที่พระยามารยกมาครั้งนี้มืดฟ้ามัว
ดิน  มาทั้งบนเวหา  บนดิน  และใต้บาดาลขนาดเทพเจ้าที่มาเฝ้ารักษาพระมหาบุรุษต่างเผ่นหนีกลับวิมานกัน
หมดเพราะเกรงกลัวมาร

   ปฐมสมโพธิพรรณนาภาพพลมารตอนนี้ไว้ว่า  "...บางจำพวกก็หน้าแดงกายเขียว  บางจำพวก
ก็หน้าเขียวกายแดง    ลางเหล่าจำแลงกายขาวหน้าเหลือง...บางหมู่กายลายพร้อยหน้าดำ...ลางพวกกายท่อน
ล่างเป็นนาค  กายท่อนต่ำหลากเป็นมนุษย์..."

   ส่วนตัวพระยามารเนรมิตพาหาคือแขนซ้ายและขวาข้างละหนึ่งพันแขน    แต่ละแขนถืออาวุธ
ต่างๆ   เช่น   ดาบ  หอก  ธนู  ศร  โตมร  (หอกซัด)  จักรสังข์  อังกัส  (ของ้าวเหล็ก)   คทา  ก้อนศิลา  หลาว
เหล็ก  ครกเหล็ก  ขวานถาก  ขวานผ่า  ตรีศูล  (หลาวสามง่าม)  ฯลฯ

   เหตุที่พระยามารมาผจญพระมหาบุรุษทุกครั้ง  เพราะพระยามารมีนิสัยไม่อยากเห็นใครดีเกิน
หน้าตน    เมื่อพระมหาบุรุษจะทรงพยายามเพื่อเป็นคนดีที่สุดในโลก   จึงขัดขวางไว้   แต่ก็พ่ายแพ้พระมหา
บุรุษทุกครั้ง   ครั้งนี้เมื่อเริ่มยกแรกก็แพ้   แพ้แล้วก็ใช้เล่ห์   คือ   กล่าวตู่พระมหาบุรุษว่ามายึดเอาโพธิบัลลังก์ 
คือตรงที่พระมหาบุรุษประทับนั่ง   ซึ่งพระยามารตู่เป็นที่ของตน    พระยามารอ้างพยานบุคคลคือพวกพ้อง
ของตน  ฝ่ายพระมหาบุรุษทรงมองหาใครเป็นพยานไม่ได้  เทพเจ้าเล่าก็เปิดหนีกันหมด  จึงทรงเหยียดพระ
หัตถ์ขวาออกจากชายจีวร      แล้วทรงชี้พระดัชนีลงยังพื้นพระธรณี    พระนางธรณีจึงผุดขึ้นตอนนี้เพื่อเป็น
พยาน

 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 01, 2012, 11:59:29 AM โดย nujai » บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #43 เมื่อ: มกราคม 01, 2012, 11:52:30 AM »

สมุดภาพพระพุทธประวัติ

ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร
 
ภาพที่ ๒๖

แม่พระธรณีบิดพระเกศา เกิดเป็นสมุทรธารา พระยามารก็พ่ายแพ้แก่พระบารมี







   สถานที่ที่พระมหาบุรุษประทับนั่งพื่อทรงบำเพ็ญเพียรทางใจ  แสวงหาทางตรัสรู้  ซึ่งอยู่ที่
โคนต้นพระศรีมหาโพธิ์นั้น  เรียกว่า  'โพธิบัลลังก์'   พระยามารกล่าวตู่ว่าเป็นสมบัติของตน  ส่วนพระมหา
บุรุษทรงกล่าวแก้ว่า   บังเกิดขึ้นด้วยผลแห่งบุญบารมีที่พระองค์ทรงบำเพ็ญมาแต่ชาติปางก่อน   แล้วทรง
อ้างพระนางธรณีเป็นพยาน

   ปฐมสมโพธิว่า  "พระธรณีก็มิอาจดำรงกายอยู่ได้...ก็อุบัติบันดาลเป็นรูปนารี   ผุดขึ้นจากพื้น
ปฐพี..."  แล้วกล่าวเป็นพยานมหาบุรุษ  พร้อมกับบีบน้ำออกจากมวยผม  น้ำนั้นคือสิ่งที่เรียกว่า  'ทักษิโณทก'  
อันได้แก่   น้ำที่พระมหาบุรุษทรงกรวดทุกครั้งที่ทรงบำเพ็ญบุญบารมีแต่ชาติปางก่อนเป็นลำดับมา  ซึ่งแม่
พระธรณีเก็บไว้ที่มวยผม  เมื่อนางบีบก็หลั่งไหลออกมา

   ปฐมสมโพธิว่า   "เป็นท่อธารมหามหรรณพ   นองท่วมไปในประเทศทั้งปวง    ประดุจห้วง
มหาสาครสมุทร...หมู่มารเสนาทั้งหลายมิอาจดำรงกายอยู่ได้   ก็ลอยไปตามกระแสน้ำ   ปลาสนาการไปสิ้น 
ส่วนคิรีเมขลคชินทร  ที่นั่งทรงองค์พระยาวัสสวดี   ก็มีบาทาอันพลาด  มิอาจตั้งกายตรงอยู่ได้   ก็ลอยตาม
ชลธารไปตราบเท่าถึงมหาสาคร...  พระยามารก็พ่ายแพ้ไปในที่สุด"

   บารมีนั้นคือความดี  พระมหาบุรุษท่านทรงรำพึงว่า  ชีวิต  ดวงหทัย  นัยน์เนตรที่ท่านทรง
บริจาคให้เป็นกุศลผลทานมาก่อนนั้น    ถ้าจะเก็บรวมไว้ก็จะมากกว่าผลาผลไม้ในป่า    มากกว่าดวงดาราใน
ท้องฟ้า

   ความดีที่ทำไว้นั้นไม่หนีไปไหน  ถึงใครไม่เห็น  ฟ้าดินก็เห็น  ดินคือแม่พระธรณี


 
 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 01, 2012, 12:02:38 PM โดย nujai » บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #44 เมื่อ: มกราคม 01, 2012, 11:53:37 AM »

สมุดภาพพระพุทธประวัติ

ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร
 
ภาพที่ ๒๗

พอรุ่งอรุณก็ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า เทวดาฝ่ายฟ้อนร่อนรำถวายเป็นพุทธบูชา






   เมื่อพระมหาบุรุษทรงชนะมารแล้วนั้น   พระอาทิตย์กำลังจะอัสดง  ราตรีเริ่มย่างเข้ามา  พระ
มหาบุรุษยังคงประทับนั่งไม่หวั่นไหวที่โพธิบัลลังก์  ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์  ทรงเริ่มบำเพ็ญสมาธิให้เกิดใน
พระทัยด้วยวิธีที่เรียกว่าเข้าฌาน  แล้วทรงบรรลุญาณ

   ฌาน  คือ วิธีทำจิตให้เป็นสมาธิ  คือ ให้จิตแน่วแน่  ไม่ฟุ้งซ่านคิดโน่นคิดนี่อย่างปุถุชนธรรมดา 
ส่วนญาณคือปัญญาความรู้แจ้ง  เปรียบให้เห็นความง่ายเข้าก็คือ  แสงเทียนที่นิ่งไม่มีลมพัด  คือ 'ฌาน'  แสง
สว่างอันเกิดจากแสงเทียนเท่ากับปัญญา  (ญาณ)


   พระมหาบุรุษทรงบรรลุญาณที่หนึ่งในตอนปฐมยาม (ประมาณ ๓  ทุ่ม)  ญาณที่หนึ่งนี้เรียกว่า
'บุพเพนิวาสานุสติญาณ'   หมายถึง   ความรู้แจ้งถึงอดีตชาติหนหลังทั้งของตนและของคนอื่น  พอถึงมัชฌิม
ยาม  (ประมาณเที่ยงคืน)  ทรงบรรลุญาณที่สอง  ที่เรียกว่า 'จุตูปปาตญาณ'  หมายถึงความรู้แจ้งถึงความจุติ 
คือ  ดับและเกิดของสัตวโลก ตลอดถึงความแตกต่างกันที่เรียกว่า 'กรรม' พอถึงปัจฉิมยาม (หลังเที่ยงคืนล่วง
แล้ว) ทรงบรรลุญาณที่สามคือ 'อาสวักขยญาณ'  หมายถึงความรู้แจ้งถึงความสิ้นไปของกิเลส  และอริยสัจ ๔ 
คือ  ความทุกข์  เหตุเกิดของความทุกข์  ความดับทุกข์  และวิธีดับทุกข์

   การได้บรรลุญาณทั้งสามของพระมหาบุรุษนั้นเรียกว่า   ตรัสรู้ความเป็นพระพุทธเจ้า   ซึ่งเกิด
ขึ้นในคืนวันขึ้น  ๑๕  ค่ำ  เดือน  ๖  หลังจากนั้น  พระนามว่า สิทธัตถะก็ดี  พระโพธิสัตว์ก็ดี  ที่เกิดใหม่  ตอน
ก่อนตรัสรู้ว่าพระมหาบุรุษก็ดี  ได้กลายเป็นพระนามในอดีตหนหลัง  เพราะตั้งแต่นี้ต่อไปทรงมีพระนามใหม่
ว่า  'อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า'   แปลว่าพระผู้ตรัสรู้ธรรมเครื่องหลุดพ้นจากกิเลสโดยชอบด้วยพระองค์เอง

   เหตุการณ์ครั้งนี้จึงเป็นที่มหัศจรรย์เป็นอย่างยิ่ง  กวีจึงแต่งความเป็นปุคคลาธิษฐานเฉลิมพระ
เกียรติพระพุทธเจ้าว่า   นำสัตว์   มนุษย์นิกร   และทวยเทพในหมื่นโลกธาตุ  หายทุกข์  หายโศก  สิ้นวิปโยค
จากผองภัย  สัตว์ทั้งหลายต่างมีเมตตาจิตต่อกันทุกถ้วนหน้า  เว้นจากเวรานุเวร  อาฆาตมาดร้ายแก่กัน

   ทวยเทพต่างบรรเลงดนตรีสวรรค์  ร่ายรำ  ขับร้อง  แซ่ซ้องถวายเป็นพุทธบูชาและกล่าวสรร
เสริญพระพุทธคุณกันทั่วหน้า

 
 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 01, 2012, 12:05:57 PM โดย nujai » บันทึกการเข้า

finghting!!!
Gold Price today, Gold Trend Price Prediction, ราคาทองคํา, วิเคราะห์ทิศทางทองคํา
   

images by free.in.th
Thanks: ฝากรูป dictionary ---------------------Charts courtesy of Moore Research Center, Inc. For more information on Moore Research products and services click here. --- http://www.mrci.com ---------- ---------------------------------------------รูปกราฟแสดงราคาทองในอดีตปี 1974-1999 ของ Moore Research Center, Inc. แสดงฤดูกาลที่ราคาทองขึ้นสูงสุดและตําสุด เอาแบบคร่าวๆ เส้นนําตาลหรือนําเงินก็ใกล้เคียงกัน เส้นนําตาลเฉลี่ย 15 ปี เส้นนําเงินเฉลี่ย 26 ปี ราคาตําสุดของเส้นนําตาล หรือเฉลี่ย 15 ปี ในเดือน ปลายเดือน เมษ และปลายเดือน สค ต่อต้นเดือน กย[/color] สูงสุดในเดือน กพ กับ พย / ส่วนเฉลี่ย 26 ปี ราคาตําสุด ต้น กค กับ ปลาย สค และราคาสูงสุดในเดือน กพ และ กลางเดือน ตค ----- แค่ดูคร่าวๆ เป็นแนวทาง อย่ายึดมั่นว่าจะต้องเป็นตามนี้ ข้างล่างเป็นกราฟราคานํามัน ตามฤดูกาล จาก Charts courtesy of Moore Research Center, Inc. images by free.in.th
Thanks: ฝากรูป dictionary
 บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 7   ขึ้นบน
พิมพ์
กระโดดไป: