Forex-Currency Trading-Swiss based forex related website. Home ----- กระดานสนทนาหน้าแรก ----- Gold Chart,Silver,Copper,Oil Chart ----- gold-trend-price-prediction ----- ติดต่อเรา
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 7   ลงล่าง
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: วิธีสร้างบุญบารมี  (อ่าน 22206 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
jainu
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #45 เมื่อ: มกราคม 01, 2012, 11:54:34 AM »

สมุดภาพพระพุทธประวัติ

ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร

ภาพที่ ๒๘

เสด็จไปประทับโคนต้นไทร สามธิดามารมาประโลมล่อให้หลง ก็ไม่ทรงใยดี








   ตรัสรู้แล้ว   พระพุทธเจ้าเสด็จประทับเสวยวิมุติสุขอยู่ภายใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์เป็นเวลา  ๗ 
วัน  คำว่า 'เสวยวิมุติสุข'  เป็นภาษาที่ใช้สำหรับท่านผู้ทรงหลุดพ้นแล้ว  เทียบกับภาษาสามัญชนคนมีกิเลสก็
คือพักผ่อนภายหลังที่ตรากตรำงานมานั่นเอง

   หลังจากนั้นจึงเสด็จไปยังต้นอชปาลนิโครธ  ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของต้นศรีมหาโพธิ์  ต้น
นิโครธคือต้นไทร  ส่วนคำหน้าคือ  'อชปาล'  แปลว่า  เป็นที่เลี้ยงแพะ  ตามตำนานบอกว่าที่ใต้ต้นไทรแห่งนี้
เคยเป็นที่อาศัยของคนเลี้ยงแพะมานาน    คนเลี้ยงแพะที่ตำบลแห่งนี้ได้เข้ามาอาศัยร่มเงาต้นไทรเป็นที่เลี้ยง
แพะเสมอมา

   ระหว่างที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่นี่  นักแต่งเรื่องเรื่องในยุคอรรถกถาจารย์  ยุคนี้เกิดขึ้นภาย
หลัง    พระพุทธเจ้านิพพานแล้วหลายร้อยปี   ได้แต่งเรื่องขึ้นเฉลิมพระเกียรติของพระพุทธเจ้าว่า    ลูกสาว
พระยามารซึ่งเคยยกทัพมาผจญพระพุทธเจ้าเมื่อตอน  ก่อนตรัสรู้เล็กน้อยแต่ก็พ่ายแพ้ไป  ได้ขันอาสาพระยา
มารผู้บิดาเพื่อประโลมล่อพระพุทธเจ้าให้ตกอยู่ในอำนาจของพระยามารให้จงได้     ลูกสาวพระยามารมี  ๓ 
คน  คือ  นางตัณหา  นางราคา  และนางอรดี

   ทั้งสามนางเข้าไปประเล้าประโลมพระพุทธเจ้าด้วยกลวิธีทางกามารมณ์ต่างๆ   เช่น   เปลื้อง
ภูษาอาภรณ์ทรงออก  แปลงร่างเป็นสาวรุ่นบ้าง  เป็นสาวใหญ่บ้าง  เป็นสตรีในวัยต่างๆ  บ้าง  แต่พระพุทธ
เจ้าผู้ทรงบริสุทธิ์สิ้นเชิงแล้วไม่ทรงแสดงพระอาการผิดปกติแม้แต่ลืมพระเนตรแลมอง

   เรื่องธิดาพระยามารประโลมพระพุทธเจ้าก็เป็นปุคคลาธิษฐาน  ถอดความได้ว่า  ทั้งสามธิดา
พระยามารนั้น  ล้วนหมายถึงกิเลสทั้งนั้น  อย่างหนึ่งคือความยินดี  อีกอย่างหนึ่งคือความยินร้ายหรือความ
เกลียดชัง   ความยินดีส่วนหนึ่งแยกออกเป็นตัรหา   คือความอยากได้ไม่มีที่สิ้นสุด     อีกส่วนหนึ่งเป็นราคา 
หรือราคะ    คือความใคร่หรือกำหนัด     ความเกลียดชังหรือยินร้ายออกมาในรูปของอรดี   อรดีในที่นี้คือ
ความริษยา

   ความที่ว่าพระพุทธเจ้าไม่ทรงแสดงพระอาการผิดปกติ  แม้แต่ทรงลืมพระเนตรนั้น  ก็หมาย
ถึงว่า  พระพุทธเจ้าอยู่ห่างไกลจากกิเลสดังกล่าวมาโดยสิ้นเชิงนั่นเอง

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 01, 2012, 12:09:02 PM โดย nujai » บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #46 เมื่อ: มกราคม 01, 2012, 11:55:35 AM »

สมุดภาพพระพุทธประวัติ

ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร

ภาพที่ ๒๙

ย้ายไปประทับโคนไม้จิก ฝนตกพรำ พญานาคมาขดขนดปกพระกาย กำบังฝน




   ระหว่างที่พระพุทธเจ้ายังไม่ตัดสินใจพระทัยว่าจะทรงแสดงธรรมโปรดใครเพื่อประกาศพระ
ศาสนา    นับตั้งแต่ตรัสรู้เป็นต้นมานี้    ได้เสด็จแปรสถานที่ประทับแห่งละ  ๗  วัน    ที่เห็นอยู่ตามภาพนี้เป็น
สัปดาห์ที่สาม  และสถานที่ประทับก็เป็นแห่งที่สาม  คือ ใต้ต้นมุจลินทร์  ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของ
ต้นพระศรีมหาโพธิ์

   มุจลินทร์เป็นต้นไม้ที่เกิดอยู่ในที่ทั่วไปในประเทศอินเดีย  มีชื่อปรากฏอยู่ในวรรณคดี  ทั้งประ
เภทชาดก   และอย่างอื่นมากหลาย    ในเวสสันดรชาดกก็กล่าวถึงสระมุจลินทร์ที่เวสสันดรไปประทับอยู่เมื่อ
คราวเสด็จไปอยู่ป่า

   ไทยเราแปลต้นมุจลินทร์กันว่าต้นจิก  เข้าใจว่าจะใช่  เพราะดูลักษณะที่เกิดคล้ายกัน  คือ  ชอบ
เกิดตามที่ชุ่มชื้น  เช่น  ตามห้วย  หนอง  คลอง  บึง  เป็นไม้เนื้อเหนียว  ดอกระย้า  มีทั้งสีขาวและสีแดง   ใบ
ประมาณเท่าใบชมพู่สาแหรก  ปกติใบดกหนา  เป็นต้นไม้ที่ให้ร่มเงาดี

   เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จมาประทับอยู่ที่นี่  ฝนเจือลมหนาวตกพรำตลอดเจ็ดวันไม่ขาดสาย  ท่าน
ผู้รจนาปฐมสมโพธิได้แต่งเล่าเรื่องไว้ว่า     พญานาคชื่อมุจลินทร์ขึ้นจากสระน้ำที่อยู่ในบริเวณแห่งเดียวกันนี้
เข้าไปวงขนด ๗ รอบ  แล้วแผ่พังพานปกพระพุทธเจ้าเพื่อป้องกันลมฝนมิให้พัดและสาดกระเซ็นมาต้องพระ
วรกาย  ครั้นฝนหาย ฟ้าสาง  พญานาคจึงคลาดขนดออก แล้วจำแลงแปลงเป็นเพศมาณพยืนเฝ้าพระพุทธเจ้า
ทางเบื้องพระพักตร์

   พระพุทธรูปนาคปรกที่พุทธศาสนิกชนสร้างขึ้น    ก็เป็นนิมิตหมายถึงเหตุการณ์ที่เกิดกับพระ
พุทธเจ้าในปางหรือในตอนนี้   เป็นพระพุทธรูปที่เชื่อถือกันว่าศักดิ์สิทธิ์ทางเมตตา  เพราะเป็นรูปหรือภาพที่
สอนคนโดยทางอ้อมให้เห็นอานิสงส์หรือผลดีของเมตตา  เพราะแม้แต่พญางูใหญ่ในสระน้ำก็ยังขึ้นจากสระ
เข้าไปถวายความอารักขาแก่พระพุทธเจ้า  ทั้งนี้พลานุภาพแห่งพระมหากรุณาของพระพุทธองค์

 
 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 02, 2012, 07:44:47 PM โดย nujai » บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #47 เมื่อ: มกราคม 02, 2012, 03:20:14 PM »

สมุดภาพพระพุทธประวัติ

ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร

ภาพที่ ๓๐

ขณะประทับโคนไม้เกด ท้าวโลกบาลถวายบาตร เทวดาบอกสองพาณิชให้ไปเฝ้า






   เสด็จประทับอยู่ภายใต้ต้นจิก  หรือมุจลินทร์ตลอด ๗  วันแล้ว  พระพุทธเจ้าเสด็จไปประทับอยู่
ใต้ต้นไม้ที่ภาษาบาลีเรียกว่า 'ราชายตนะ'  อยู่ถัดไปทางทิศใต้ของต้นพระศรีมหาโพธิ์   ราชายตนะแปลกันว่า 
ไม้เกด  เป็นไม้ที่อยู่ในตระก้ลพิกุล  ผู้บรรยายเคยเห็นที่ชานพระทักษิณาด้านนอกขององค์ปฐมเจดีย์  นครปฐม 
ที่ทางราชการนำมาปลูกไว้ตั้งแต่สมัยที่  ๕  เป็นต้นใหญ่แล้ว  จำได้ว่าใบเหมือนประดู่

   ตอนพระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่นี่   มีพ่อค้านายกองเกวียนสองคนเข้ามาเฝ้า  และนำของมาถวาย
คนหนึ่งชื่อ 'ตปุสสะ'  อีกคนหนึ่งชื่อ 'ภัลลิกะ'  เดินทางด้วยขบวนเกวียนหลายร้อยเล่ม (ปฐมสมโพธิว่า  ๕๐๐
เล่ม)  มาจากอุกกลชนบท  ได้เห็นพระพุทธเจ้าประทับอยู่ใต้ต้นไม้เกด   ก็ให้นึกเลื่อมใสจึงนำข้าวสัตตุก้อนและ
สัตตุผง   ซึ่งเป็นเสบียงสำหรับเดินทางเข้าไปถวาย   ข้าวสัตตุนี้   ไทยเราเรียกว่าข้าวตู  พจนานุกรมฉบับราช
บัณฑิตยสถานอธิบายว่า  "ข้าวตากคั่วแล้วตำเป็นผลเคล้ากับน้ำตาลและมะพร้าว"

   พระพุทธเจ้าทรงรับอาหารนายกองเกวียนสองคนนั้นด้วยบาตรศิลาที่ท้าวจตุมหาราชทั้ง   ๔ 
นำมาถวาย      เสวยเสร็จแล้ว     นายกองเกวียนทั้งสองคนเกิดความเลื่อมใสได้แสดงตนเป็นอุบาสก    ขอถึง
พระพุทธเจ้าและพระธรรมเจ้าเป็นสรณะ

   กล่าวอย่างสั้นๆ  ก็ว่า  ทั้งสองประกาศตนเป็นพุทธศาสนิกชน  ทั้งสองจึงนับได้ว่าอุบาสกหรือ
พุทธศาสนิกชนคู่แรกก่อนใครในโลก    นับแต่พระพุทธเจ้าตรัสรู้เป็นต้นมา   ที่ทั้งสองนายประกาศตนนับถือ
พระรัตนะทั้งสองดังกล่าวแล้วนั้น  เพราะตอนที่กล่าวนี้  สังฆรัตนะ คือ  พระสงฆ์ยังไม่เกิดมี  ด้วยพระพุทธ
เจ้ายังมิได้ตรัสเทศนาโปรดใครเลย

   ปฐมสมโพธิเล่าว่าเมื่อสองนายกองเกวียนประกาศตนเป็นอุบาสกแล้ว      ก่อนที่จะถวายบังคม
กราบทูลลาพระพุทธเจ้าไป  ได้กราบทูลขอสิ่งของเป็นที่ระลึกจากพระพุทธเจ้า อพระพุทธเจ้าจึงทรงยกพระ
หัตถ์ขวาลูบเบื้องพระเศียรและว่า "ลำดับนั้นพระเกศาธาตุ (ผม)  ทั้ง ๘  เส้นมีสีดุจแก้วอินทนิล  แลปีกแมลง
ภู่...ก็หล่นลงประดิษฐานในฝ่าพระหัตถ์"

   แล้วทรงประทานเส้นพระเกศาทั้งแปดแก่นายกองเกวียนเพื่อนำไปบูชาเป็นที่ระลึก   ทั้งสอง
เมื่อได้รับต่างโสมนัสยิ่งนัก  แล้วถวายอภิวาทกราบทูลลาพระพุทธเจ้าจากไป

 
 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 02, 2012, 07:45:52 PM โดย nujai » บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #48 เมื่อ: มกราคม 02, 2012, 03:21:27 PM »

สมุดภาพพระพุทธประวัติ

ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร

ภาพที่ ๓๑

สองพาณิชถวายข้าวสัตตุก้อนสัตตุผง แล้วทูลปฎิญาณตนเป็นอุบาสกคู่แรกในโลก





   ภาพที่เห็นอยู่นี้    เป็นเหตุการณ์ที่เกิดกับพระพุทธเจ้าในสถานที่และในสัปดาห์เดียวกันกับที่ได้
บรรยายไว้แล้วในภาพที่ ๓๐  สถานที่ที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่  คือ  ต้นราชายตนะหรือต้นเกด  ส่วนสัปดาห์
ที่ประทับอยู่ที่นี่ตั้งแต่ตรัสรู้แล้วเป็นต้นมา  นับเป็นสัปดาห์ที่  ๔

   สัปดาห์ที่  ๑   ประทับที่ภายใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์    สัปดาห์ที่  ๒   ที่ใต้ต้นไทรที่เคยเป็นที่
อาศัยของคนเลี้ยงแพะ  ที่เรียกว่า  'อชปาลนิโครธ'  สัปดาห์ที่  ๓    ที่ใต้ต้นมุจลินทร์  หรือต้นจิก  และที่  ๔ 
คือ  ที่กำลังเห็นอยู่นั้น

   ในภาพที่เห็นนั้นคือ  คนหนึ่งในจำนวนนายพาณิช  หรือนายกองเกวียนสองพี่น้องกำลังยกข้าว
สัตตุก้อนและสัตตุผงถวายพระพุทธเจ้า  พระพุทธเจ้าทรงรับด้วยบาตรศิลา  ที่ท้าวจาตุมหาราชหรือท้าวจตุ
โลกบาลก็เรียก  นำมาถวาย  ดังได้บรรยายไว้แล้ว

   ท้าวจาตุมหาราช  เป็นเทพเจ้าผู้ใหญ่  ผู้ทำหน้าที่รักษาโลก  ประจำอยู่ในทิศทั้ง  ๔  คือ  ท้าว
ธตรฐ  เป็นหัวหน้าฝ่ายคนธรรพ์  อยู่ทางทิศตะวันออก    ท้าววิรุฬหก  เป็นหัวหน้าฝ่ายเทวดา  อยู่ทางทิศใต้ 
ท้าววิรูปักษ์  เป็นหัวหน้าฝ่ายนาค  อยู่ทางทิศตะวันตก  และท้าวกุเวร  เป็นหัวหน้าฝ่ายยักษ์  อยู่ทางทิศเหนือ

   เทพเจ้าทั้ง  ๔  นำบาตรองค์ละหนึ่งใบ  รวมเป็น  ๔  ใบ  มาถวายพระพุทธเจ้า  พระพุทธเจ้า
ทรงรับแล้วทรงอธิษฐานให้เป็นใบเดียวกัน  แล้วรับอาหารจากสองนายกองเกวียนพี่น้อง

   ปฐมสมโพธิเล่าไว้ว่า  บาตรใบแรกของพระพุทธเจ้าที่ฆฏิการพรหมนำมาถวายพร้อมทั้งจีวร
เมื่อคราวเสด็จออกทรงผนวช  และเสด็จถึงฝั่งแม่น้ำอโนมานั้น  เกิดหายไปในตอนจะรับข้าวมธุปายาส  จาก
นางสุชาดา  คือ  ตอนก่อนตรัสรู้ได้หนึ่งวัน

   เมื่อสองพี่น้องนายกองเกวียนนำอาหารเสบียงมาถวายพระพุทธเจ้า เกิดไม่มีบาตรจะรับอาหาร 
เทพเจ้าทั้ง ๔  จึงนำบาตรมาถวายดังกล่าวแล้ว ทั้งนี้เป็นธรรมเนียมของพระศาสดาชั้นพระพุทธเจ้าทั้งหลาย 
ที่ไม่รับของถวายจำพวกอาหารด้วยพระหัตถ์  แต่จะรับด้วยภาชนะคือบาตรเท่านั้น

 
 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 02, 2012, 07:46:59 PM โดย nujai » บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #49 เมื่อ: มกราคม 02, 2012, 03:22:29 PM »

สมุดภาพพระพุทธประวัติ

ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร

ภาพที่ ๓๒

กลับมาประทับโคนต้นไทร ท้อพระทัยในอันโปรดสัตว์ สหัสบดีพรหมต้องทูลวิงวอน






   ประทับอยู่ภายใต้ต้นราชายตนะหรือไม้เกดครบ  ๗   วันแล้ว   พระพุทธเจ้าเสด็จแปรสถานที่
ประทับ กลับไปประทับอยู่ภายใต้ต้นอชปาลนิโครธหรือต้นไทร  ซึ่งเคยเสด็จไปประทับหนหนึ่งมาแล้ว  ครั้ง
นี้นับเป็นสัปดาห์ที่  ๕

   ระหว่างที่ประทับอยู่  ณ ที่นี่  พระพุทธเจ้าทรงพิจารณาถึงธรรมที่พระองค์ได้ตรัสรู้มา  ทรง
เห็นว่า    เป็นธรรมที่มีความหมายสุขุมละเอียด    ก็ทรงบังเกิดความท้อพระทัยว่า   จะมีใครสักกี่คนที่จะฟัง 
ธรรมของพระองค์รู้เรื่อง  พระทัยหนึ่งจึงเกิดความมักน้อยว่าจะไม่แสดงธรรมเพื่อโปรดใครเลย

   ท่านผู้รจนาคัมภีร์เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า  ได้แต่งเรื่องสาธกให้เห็นเป็นปุคคลธิษฐานประกอบเข้า
ในตอนนี้ว่า พระดำริของพระพุทธเจ้าเรื่องนี้ได้ทราบไปถึงท้าวสหัมบดีพรหมในเทวโลก ท้าวสหัมบดีพรหม
จึงตกพระทัยเป็นอย่างยิ่ง ถึงกับทรงเปล่งศัพท์สำเนียงอันดังถึงสามครั้งว่า "โลกจะฉิบหายในครั้งนี้"

   ปฐมสมโพธิว่า   "เสียงนั้นก็ดังแผ่ไปทั่วหมื่นโลกธาตุ    ท้าวสหัมบดีพรหมจึงพร้อมด้วยเทวา
คณานิกรลงมากราบทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าให้ทรงแสดงธรรม"

   ตอนท้าวสหัมบดีพรหมลงมาทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าให้ทรงแสดงธรรมโปรดชาวโลกนี้  กวี
ท่านแต่งเป็นอินทรวงศ์ฉันท์ภาษาบาลีไว้ว่า

           "พรหฺมา  จ  โลกาธิปตี  สหมฺปติ
      กตฺอญฺชลี  อนฺธิวรํ  อยาจถ
      สนฺตีธ  สตฺตาปฺปรชกฺขชาติกา
      เทเสตุ  ธมฺมํ  อนุกมฺปิมํ  ปชํ"

   แปลว่า  "ท้าวสหัสบดีพรหม  ประณมกรกราบอาราธนาพระพุทธเจ้าผู้ทรงคุณอันประเสริฐว่า 
สัตว์ในโลกนี้  ที่มีกิเลสบางเบาพอที่จะฟังธรรมเข้าใจนั้นมีอยู่  ขอพระองค์ได้โปรดแสดงธรรมช่วยเหลือชาว
โลกเทฮญ"

   ต่อมาภาษาบาลีที่เป็นฉันท์บทนี้       ได้กลายเป็นคำสำหรับอาราธนาพระสงฆ์ในเมืองไทยให้
แสดงธรรมมาจนทุกวันนี้

 
 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 02, 2012, 07:47:50 PM โดย nujai » บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #50 เมื่อ: มกราคม 02, 2012, 03:23:41 PM »

สมุดภาพพระพุทธประวัติ

ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร

ภาพที่ ๓๓

ทรงคำนึงเห็นอุปนิสัยเวไนยสัตว์เปรียบด้วยดอกบัว ๔ เหล่าจึงรับอาราธนา






   ท้าวสหัมบดีพรหมที่เสด็จมากราบทูลอาราธนา พระพุทธเจ้าให้ทรงแสดงธรรมประกาศพระ
ศาสนาโปรดชาวโลก  ดังที่ได้บรรยายไว้ในภาพที่  ๓๒  นั้น  เป็นเรื่องที่กวีแต่งเป็นปุคคลาธิษฐาน  คือ  แต่ง
เป็นนิยายมีบุคคลเป็นตัวแสดงในเรื่อง  ถ้าถอดความเป็นธรรมาธิษฐาน  หรืออธิบายกันตรงๆ  ก็คือ   สหัมบดี
พรหมนั้น  ได้แก่พระมหากรุณาของพระพุทธเจ้านั่นเอง

   ถึงพระพุทธเจ้าจะทรงท้อพระทัยว่าจะไม่แสดงธรรม  แต่อีกพระทัยหนึ่งซึ่งมีอำนาจเหนือกว่า 
คือพระมหากรุณา    และพระมหากรุณานี่เองที่เป็นเหตุให้พระพุทธเจ้าตัดสินพระทัยว่า  จะทรงแสดงธรรม 
หลังจากตัดสินพระทัยแล้ว    จึงทรงพิจารณาดูอัธยาศัยของของคนในโลก   แล้วทรงเห็นความแตกต่างแห่ง
ระดับสติปัญญาของคนถึง  ๔  ระดับ  หรือ  ๔  จำพวก

   ๑.  อุคฆฏิตัญญู   ผู้อาจรู้ธรรมแต่พอท่านยกหัวข้อขึ้นแสดง
   ๒.  วิปจิตัญญู       ผู้อาจรู้ธรรมต่อเมื่อท่านอธิบายความแห่งหัวข้อนั้น
   ๓.  เนยยะ        ผู้พอแนะนำได้
   ๔.  ปทปรมะ      ผู้มีบทเป็นอย่างยิ่ง

   จำพวกที่หนึ่ง  เหมือนดอกบัวเปี่ยมน้ำ  พอได้รับแสงอาทิตย์ก็บาน  ที่สอง  เหมือนดอกบัวใต้น้ำ
ที่จะโผล่พ้นน้ำ  และที่จะบานในวันรุ่งขึ้น  ที่สาม  เหมือนดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำลึกลงไปหน่อย  ซึ่งจะแก่กล้าขึ้นมา
บานในวันต่อๆ  ไป   และที่สี่  เหมือนดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำลึกลงไปมาก   ถึงขนาดไม่อาจขึ้นมาบานได้   เพราะตก
เป็นภักษาของปลาและเต่าเสียก่อน

   ครั้นแล้วพระพุทธเจ้าทรงพิจารณาถึงบุคคลที่พระองค์จะเสด็จไปโปรด  ทรงมองเห็นภาพของ
ดาบสทั้งสอง   ที่พระองค์เคยเสด็จไปทรงศึกษาอยู่ด้วย   แต่ทั้งสองนั้นก็สิ้นชีพเสียแล้ว  ทรงเห็นเบญจวัคคีย์
ว่ายังมีชีวิตอยู่  จึงทรงตั้งพระทัยเสด็จไปโปรดเบญจวัคคีย์เป็นอันดับแรก

 
 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 02, 2012, 07:50:20 PM โดย nujai » บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #51 เมื่อ: มกราคม 02, 2012, 03:24:40 PM »

สมุดภาพพระพุทธประวัติ

ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวช

ภาพที่ ๓๔

เสด็จพระพุทธดำเนินไปโปรดเบญจวัคคีย์ พบอุปกาชีวกในระหว่างทาง





   ในสัปดาห์ที่  ๖  ถึงที่  ๘   เป็นระเวลาที่พระพุทธเจ้าเสด็จแปรสถานที่ประทับไปมาที่ระหว่าง
ต้นศรีมหาโพธิ์กับต้นอชปาลนิโครธหื่อต้นไทร  จนถึงวันขึ้น  ๑๔  ค่ำ เดือน  ๘  ในสัปดาห์ที่  ๘  นับแต่ตรัส
รู้มา  พระพุทธเจ้าจึงเสด็จออกจากบริเวณสถานที่ตรัสรู้   เพื่อเสด็จไปยังป่าอิสิปตนมฤคทายวัน  หรือที่ทุกวัน
นี้เรียกว่าสารนาถ  ซึ่งอยู่ในเขตแดนเมืองพาราณสี  เวลาที่กล่าวนี้พวกเบญจวัคคีย์ที่เคยตามเสด็จออกบวชและ
อยู่เฝ้าอุปัฏฐากได้พากันผละหนีพระพุทธเจ้ามาอยู่ที่นี่

   ระหว่างทาง คือ  เมื่อเสด็จถึงแม่น้ำคยาอันเป็นที่สุดเขตตำบลของสถานที่ตรัสรู้  พระพุทธเจ้า
ได้ทรงพบอาชีวกผู้หนึ่งนามว่า  'อุปกะ'  เดินสวนทางมา  อาชีวกคือนักบวชนอกาสนาพุทธนิกายหนึ่งในสมัย
พระพุทธเจ้า

   ตอนที่เดินยังไม่เข้าใกล้และได้เห็นพระพุทธเจ้านั้น    อาชีวกผู้นี้ได้เห็นพระรัศมีที่แผ่ซ่านออก
จากพระวรกายพระพุทธเจ้ามากระทบเข้าที่หน้าตนก่อน  พระรัศมีนั้น  สมัยนั้นเรียกว่า 'ฉัพพรรณรังสี'  คือ 
พระรัศมี  ๖  ประการที่ซ่านออกจากพระวรกายของพระพุทธเจ้า  ได้แก่

        ๑.   นีละ   สีเขียวเหมือนดอกอัญชัน
        ๒.   ปีตะ   สีเหลืองเหมือนหรดาลทอง
        ๓.   โลหิตะ   สีแดงเหมือนแสงตะวันอ่อน
        ๔.   โอทาตะ   สีขาวเหมือนแผ่นเงิน
        ๕.   มัญเชฐะ   สีแสดเหมือนดอกหงอนไก่
        ๖.   ประภัสสระ   สีเลื่อมพรายเหมือนแก้วผลึก

   มาถึงสมัยสร้างพระพุทธรูปฉัพพรรณรังสีนี้เรียกกันว่า  'ประภามณฑล'  คือ  พระรัศมีที่พุ่ง
ขึ้นจากเบื้องพระเศียรที่เป็นรูปกลมรีขึ้นข้างบนนั่นเอง

   พอพระพุทธเจ้าเสด็จเข้ามาใกล้   อาชีวกจึงได้เห็นที่มาของรัศมี  พอเห็นก็เกิดความสนใจจึง
เข้าไปทูลถามพระพุทธเจ้าว่า  ใครเป็นพระศาสดาของพระพุทธเจ้า  พอพระพุทธเจ้าตรัสว่า  พระองค์ไม่มี
ศาสดาผู้เป็นครูสอน   พระพุทธองค์เป็นสยัมภู  คือ  ผู้ตรัสรู้ธรรมด้วยพระองค์เอง  อาชีวกได้ฟังแล้วแสดง
อาการสองอย่างคือสั่นศีรษะและแลบลิ้น  แล้วเดินหลีกพระพุทธเจ้าไป

 
 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 02, 2012, 07:51:21 PM โดย nujai » บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #52 เมื่อ: มกราคม 02, 2012, 03:26:04 PM »

สมุดภาพพระพุทธประวัติ

ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร

ภาพที่ ๓๕

ถึงป่าอิสิปตนะ เบญจวัคคีย์เห็นแต่ไกล นัดกันว่าจะไม่ต้อนรับ แต่แล้วก็กลับใจ






   พระพุทธเจ้าเสด็จไปถึงป่าอิสิปตนมฤคทายวันในเย็นวันเดียวกัน  ที่ว่านี้ว่าตามวันเวลาที่ระบุ
ไว้ในหนังสือปฐมสมโพธิ

   ขณะนี้พวกเบญจวัคคีย์   ซึ่งมีโกณฑัญญะเป็นหัวหน้ากำลังสนทนากันอยู่   เรื่องที่สนทนากัน
ก็เกี่ยวกับพระพุทธเจ้าโดยตรงว่า    นับตั้งแต่ผละหนีจากพระพุทธเจ้ามาก็นานแล้ว    ป่านนี้จะประทับอยู่ที่
ไหน  จะทรงระลึกถึงพวกตนอยู่หรือหาไม่

   ทันใด  เบญจวัคคีย์ทั้ง  ๕  คือ  โกณฑัญญะ  วัปปะ  ภัททิยะ  อัสสชิ  และมหานามะ  ก็เห็น
พระฉัพพรรณรังสีสว่างรุ่งเรืองมาแต่ไกล    เมื่อเหลียวแลลำแสงพระรัศมี    ก็เห็นพระพุทธเจ้ากำลังเสด็จ
ดำเนินมา

   ทั้ง  ๕  จึงนัดหมายกันว่าจะไม่รับเสด็จพระพุทธเจ้า  และจะไม่ถวายความเคารพ  คือจะไม่
ลุกขึ้นออกไปรับบาตรและจีวร  จะปูแต่อาสนะถวายให้ประทับนั่ง  จะไม่ถวายบังคม  แต่ต่างจะนั่งอยู่เฉยๆ  
ทำเป็นไม่รู้  ไม่สนใจว่าพระพุทธเจ้าเสด็จมา

   แต่ครั้นพอพระพุทธเจ้าเสด็จมาถึงจริง  เบญจวัคคีย์ทั้งหมดต่างลืมนัดหมายกันเสียสิ้น  เพราะ
ต่างก็ลุกขึ้นรับเสด็จ  ถวายบังคม  และรับบาตรและจีวรด้วยความเคารพอย่างแต่ก่อนเคยทำมา ผิดแต่ว่าเวลา
ทั้ง  ๕  กราบทูลพระพุทธเจ้านั้นได้ใช้ถ้อยคำที่พวกตนไม่เคยใช้มาก่อนเท่านั้น

   เบญจวัคคีย์ใช้โวหารเรียกพระพุทธเจ้าว่า  'อาวุโส  โคดม'   คำท้ายคือ   โคดม   หมายถึงชื่อ
ตระก้ลของพระพุทธเจ้า   ส่วน  อาวุโส   เป็นคำเดียวกับที่คนไทยเรานำมาใช้ในภาษาไทย  ผิดแต่หมายต่าง
กันในทางตรงกันข้าม   ภาษาไทยใช้และหมายกับผู้สูงอายุและคุณวุฒิ   แต่ภาษาบาลีใช้เรียกบุคคลผู้อ่อนทั้ง
วัยและวุฒิ  คือเป็นคำที่ผู้ใหญ่ใช้เรียกผู้น้อย  'อาวุโส'  จึงเท่ากับคำว่า  'คุณ'  ในภาษาไทย

   พระพุทธเจ้าตรัสเตือนสติเบญจวัคคีย์ว่า     เคยใช้โวหารนี้กับพระองค์มาก่อนหรือไม่     เมื่อ
เบญจวัคคีย์ได้สติ  พระพุทธเจ้า  พระพุทธเจ้าจึงตรัสเล่าเรื่องให้ฟังว่าพระองค์ได้บรรลุความเป็นพระพุทธ
เจ้าแล้ว  ที่เสด็จมาที่นี่ก็เพื่อจะมาแสดงธรรมโปรดนั้นเอง


เรื่องพระปัญจวัคคีย์
[๑๒] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกโดยลำดับ ถึงป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี เสด็จเข้าไปทางสำนักพระปัญจวัคคีย์. พระปัญจวัคคีย์ได้เห็นพระผู้มีพระภาค เสด็จมาแต่ไกล แล้วได้นัดหมายกันและกันว่า ท่านทั้งหลาย พระสมณะโคดมนี้เป็นผู้มักมาก คลายความเพียร เวียนมาเพื่อความเป็นคนมักมาก กำลังเสด็จมา พวกเราไม่พึงอภิวาท ไม่พึง ลุกขึ้นต้อนรับพระองค์ ไม่พึงรับบาตรจีวรของพระองค์ แต่พึงวางอาสนะไว้ ถ้าพระองค์ปรารถนา ก็จักประทับนั่ง. ครั้นพระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปถึงพระปัญจวัคคีย์ พระปัญจวัคคีย์นั้นไม่ตั้งอยู่ ในกติกาของตน ต่างลุกขึ้นต้อนรับพระผู้มีพระภาค รูปหนึ่งรับบาตรจีวรของพระผู้มีพระภาค รูปหนึ่งปูอาสนะ รูปหนึ่งจัดหาน้ำล้างพระบาท รูปหนึ่งจัดตั้งตั่งรองพระบาท รูปหนึ่ง นำกระเบื้องเช็ดพระบาทเข้าไปถวาย พระผู้มีพระภาคประทับนั่งบนอาสนะ ที่พระปัญจวัคคีย์ จัดถวาย แล้วทรงล้างพระบาท. ฝ่ายพระปัญจวัคคีย์เรียกพระผู้มีพระภาคโดยระบุพระนาม และ ใช้คำว่า "อาวุโส" เมื่อพระปัญจวัคคีย์กล่าวอย่างนั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสห้ามพระ ปัญจวัคคีย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธออย่าเรียกตถาคตโดยระบุชื่อ และอย่าใช้คำว่า "อาวุโส" ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ พวกเธอจงเงี่ยโสตสดับ เราได้บรรลุ อมตธรรมแล้ว เราจะสั่งสอน จะแสดงธรรม พวกเธอปฏิบัติอยู่ตามที่เราสั่งสอนแล้ว ไม่ช้า สักเท่าไร จักทำให้แจ้งซึ่งคุณอันยอดเยี่ยม อันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่กุลบุตรทั้งหลาย ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว. พระปัญจวัคคีย์ได้ทูลค้านพระผู้มีพระภาคว่า อาวุโสโคดม แม้ด้วยจริยานั้น แม้ด้วยปฏิปทานั้น แม้ด้วยทุกกรกิริยานั้น พระองค์ก็ยังไม่ได้ บรรลุอุตตริมนุสสธรรม อันเป็นความรู้ความเห็นพิเศษอย่างประเสริฐ อย่างสามารถ ก็บัดนี้ พระองค์เป็นผู้มักมาก คลายความเพียรเวียนมาเพื่อความเป็นคนมักมาก ไฉนจักบรรลุอุตตริมนุสสธรรม อันเป็นความรู้ความเห็นพิเศษอย่างประเสริฐ อย่างสามารถได้เล่า.
เมื่อพระปัญจวัคคีย์กราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตไม่ใช่เป็นคนมักมาก ไม่ได้เป็นคนคลายความเพียร ไม่ได้เวียนมาเพื่อความเป็นคนมักมาก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ พวกเธอจงเงี่ยโสตสดับ เราได้ บรรลุอมตธรรมแล้ว เราจะสั่งสอน จะแสดงธรรม พวกเธอปฏิบัติอยู่ตามที่เราสั่งสอนแล้ว ไม่ช้าสักเท่าไร จักทำให้แจ้งซึ่งคุณอันยอดเยี่ยม อันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่กุลบุตรทั้งหลาย ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.
แม้ครั้งที่สอง พระปัญจวัคคีย์ได้ทูลค้านพระผู้มีพระภาคว่า ...
แม้ครั้งที่สอง พระผู้มีพระภาคก็ได้ตรัสว่า ...
แม้ครั้งที่สาม พระปัญจวัคคีย์ได้ทูลค้านพระผู้มีพระภาคว่า อาวุโสโคดม แม้ด้วยจริยา นั้น แม้ด้วยปฏิปทานั้น แม้ด้วยทุกกรกิริยานั้น พระองค์ก็ยังไม่ได้บรรลุอุตตริมนุสสธรรม อันเป็นความรู้ความเห็นพิเศษอย่างประเสริฐ อย่างสามารถ ก็บัดนี้พระองค์เป็นผู้มักมาก คลาย ความเพียร เวียนมาเพื่อความเป็นคนมักมาก ไฉนจักบรรลุอุตตริมนุสสธรรม อันเป็นความรู้ ความเห็นพิเศษอย่างประเสริฐ อย่างสามารถได้เล่า.
เมื่อพระปัญจวัคคีย์กราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอยังจำได้หรือว่า ถ้อยคำเช่นนี้เราได้เคยพูดแล้วในปางก่อน แต่กาลนี้.
พระปัญจวัคคีย์กราบทูลว่า คำนี้ไม่เคยได้ฟังเลย พระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ พวกเธอจงเงี่ยโสตสดับ เราได้บรรลุอมตธรรมแล้ว เราจะสั่งสอน จักแสดงธรรม พวกเธอ ปฏิบัติอยู่ตามที่เราสั่งสอนแล้ว ไม่ช้าสักเท่าไร จักทำให้แจ้งซึ่งคุณอันยอดเยี่ยม อันเป็นที่สุด แห่งพรหมจรรย์ ที่กุลบุตรทั้งหลายออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการนั้น ด้วย ปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่. พระผู้มีพระภาคทรงสามารถให้พระปัญจวัคคีย์ ยินยอมได้แล้ว. ลำดับนั้นพระปัญจวัคคีย์ ได้ยอมเชื่อฟังพระผู้มีพระภาค เงี่ยโสตสดับ ตั้งจิต เพื่อรู้ยิ่ง.

  
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 02, 2012, 07:52:51 PM โดย nujai » บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #53 เมื่อ: มกราคม 02, 2012, 03:27:00 PM »

สมุดภาพพระพุทธประวัติ

ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร

ภาพที่ ๓๖

สำแดงปฐมเทศนาธัมมจักกัปปวัตตนสูตรโปรดเบญจวัคคีย์ ให้ได้ดวงตาเห็นธรรม

 




   วันที่พระพุทธเจ้ากำลังทรงแสดงธรรม   'ปฐมเทศนา'   ดังที่เห็นอยู่ในภาพนั้น   คือ   วันขึ้น 
๑๕  ค่ำ  เดือน  ๘  เป็นรุ่งขึ้นหลังจากเสด็จมาถึงและพบเบญจวัคคีย์  คือ  วันอาสาฬหบูชานั่นเอง

   ผู้ฟังธรรมมี  ๕  คน  ที่เรียกว่า 'เบญจวัคคีย์'  เรื่องที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงเป็นเรื่องเกี่ยวกับ
ทรงปฏิเสธสิ่งที่คนคือนักบวชสมัยนั้นนิยมทำกัน  คือ  เรื่องทรมานตนให้ลำบาก   และการปล่อยชีวิตไปตาม
ความใคร่  ทรงปฏิเสธว่าทั้งสองทางนั้น  พระองค์เคยทรงผ่านและทรงทดลองมาแล้ว  ไม่ใช่ทางตรัสรู้เลย 
แล้วทรงแนะนำทางทางสายกลางที่เรียกว่า  'มัชฌิมาปฏิปทา'  คือปฏิบัติดีปฏิบัติตามมรรค  ๘  ที่กล่าวโดย
ย่อคือ  ศีล  สมาธิ  และปัญญา

   เมื่อพระพุทธเจ้านิพพานแล้ว  พระสาวกรุ่นทำสังคายนาตั้งชื่อเรื่องเทศน์กัณฑ์ที่พระพุทธเจ้า
ทรงแสดงครั้งแรกนี้ว่า  'ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร'   หรือเรียกโดยย่อว่าธรรมจักร  โดยเปรียบเทียบการแสดง
ธรรมของพระพุทธเจ้าครั้งนี้ว่า       เหมือนพระเจ้าจักรพรรดิทรงขับจักรหรือรถศึกแผ่เดชานุภาพ 
ต่างแต่จักรหรือรถศึกของพระพุทธเจ้าเป็นธรรม  หรือธรรมจักร

   พอแสดงธรรมกัณฑ์นี้จบลง   โกณฑัญญะ  ผู้หัวหน้าเบญจวัคคีย์ได้เกิดดวงตาเห็นธรรม   คือ 
ได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน  พระพุทธเจ้าจึงเปล่งอุทานด้วยความเบิกบานพระทัย   เมื่อเห็นโกณฑัญญะได้ฟัง
ธรรมแล้วสำเร็จมรรคผลที่แม้จะเป็นขั้นต่ำ  "อัญญาสิ  วตโก  โกณฑัญโญ  ฯลฯ"  แปลว่า "โอ!  โกณฑัญญะ
ได้รู้แล้ว  ได้สำเร็จแล้ว"  ตั้งแต่นั้นมา  ท่านโกณฑัญญะจึงมีคำหน้าชื่อเพิ่มขึ้นว่า  'อัญญาโกณฑัญญะ'

   โกณฑัญญะฟังธรรมจบแล้ว ได้ทูลขอบวชเป็นพระภิกษุ  พระพุทธเจ้าจึงทรงประทานอนุญาต
ให้ท่านบวช  ด้วยพระดำรัสรับรองเพียงว่า  "เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด  ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว  เธอจงประพฤติ
พรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด"  พระวาจานั้นแล ได้เป็นอุปสมบทของท่าน  ส่วนอีก  ๔   ที่เหลือ
นอกนั้น   ต่อมาได้สำเร็จและได้บวชเช่นเดียวกับพระโกณฑัญญะ


 
 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 02, 2012, 07:53:51 PM โดย nujai » บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #54 เมื่อ: มกราคม 02, 2012, 03:27:56 PM »

สมุดภาพพระพุทธประวัติ

ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร
 
ภาพที่ ๓๗

ยสกุลบุตรหน่ายสมบัติ เดินไปสู่ป่าอิสิปตนะ พบพระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมโปรด






   พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระอริยสาวกทั้ง ๕  เสด็จจำพรรษาอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน  หรือ
สถานที่ทรงแสดงธรรม   ซึ่งนับเป็นพรรษาที่หนึ่ง  ตอนนี้ยังมิได้เสด็จไปโปรดใครที่ไหนอีก   เพราะย่างเข้า
หน้าฝน  แต่มีกุลบุตรผู้หนึ่งนามว่า  'ยส'  มาเฝ้า

   ยสกุลบุตรเป็นลูกชายเศรษฐีในเมืองพาราณสี    บิดามารดาสร้างปราสาทเปลี่ยนฤดูให้อยู่   ๓ 
หลัง  แต่ละหลังมีนางบำเรอเฝ้าปรนนิบัติจำนวนมาก  เที่ยงคืนหนึ่ง  ยสกุลบุตรตื่นขึ้นมาเห็นนางบำเรอนอน
สลบไสลด้วยอาการที่น่าเกลียด  (ท้องเรื่องเหมือนตอนก่อนพระพุทธเจ้าเสด็จออกบรรพชา)     ก็เกิดนิพพิทา 
คือความเบื่อหน่าย

   ยสกุลบุตรจึงแอบหนีจากบ้านคนเดียวยามดึกสงัด   เดินมุ่งหน้าไปทางป่าอิสิปตนมฤคทายวัน 
พลางบ่นไปตลอดทางว่า   "อุปัททูตัง  วต  อุปสัคคัง  วต"    แปลให้ภาษาไทยว่า   "เฮอ!  วุ่นวายจริง!  เฮอ! 
อึดอัดขัดข้องจริง!"  หมายถึง  ความร้อนรุ่มกลุ้มใจ

   ขณะนั้นมีเสียงดังตอบออกมาจากชายป่าว่า  "โน  อุปัททูตัง  โน  อุปสัคคัง" (ที่นี่ไม่มีความวุ่น
วาย  ที่นี่ไม่มีความอึดอัดขัดข้อง)  เป็นพระดำรัสตอบของพระพุทธเจ้านั่นเอง

   ตอนที่กล่าวนี้เป็นเวลาจวนย่ำรุ่งแล้ว พระพุทธเจ้ากำลังเสด็จจงกรมอยู่  จงกรมคือการเดินกลับ
ไปกลับมา  เป็นการบริหารร่างกายให้หายเมื่อยขบและบรรเทาความง่วง  เป็นต้น

   พระพุทธเจ้าตรัสบอกยสกุลบุตรว่า  "เชิญเข้ามาที่นี่แล้วนั่งลงเถิด  เราจะแสดงธรรมให้ฟัง"

   ยสกุลบุตรจึงเข้าไปกราบแทบพระบาทพระพุทธเจ้าแล้วนั่งลง    พระพุทธเจ้าตรัสพระธรรม
เทศนาให้ฟัง     ฟังจบแล้วยสกุลบุตรได้บรรลุสำเร็จเป็นพระอรหันต์       แล้วจึงทูลขอบวชเป็นพระภิกษุกับ
พระพุทธเจ้า

   ยสกุลบุตรบวชแล้วไม่นาน   ได้มีสหายรุ่นราวคราวเดียวกับท่านอีก  ๕๔  คนรู้ข่าวก็ออกบวช
ตามได้มาเฝ้าพระพุทธเจ้า  ได้ฟังธรรม  แล้วได้สำเร็จอรหันต์เช่นเดียวพระยสกุลบุตร  ตกลงภายในพรรษา
ที่หนึ่งของพระพุทธเจ้าได้มีพระอรหันต์เกิดขึ้นในโลกทั้งหมด  ๖๑  องค์ด้วยกัน

 
 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 02, 2012, 07:54:55 PM โดย nujai » บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #55 เมื่อ: มกราคม 02, 2012, 03:28:47 PM »

สมุดภาพพระพุทธประวัติ

ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร

ภาพที่ ๓๘

เสด็จไปหาชฎิลอุรุเวลากัสสป ขอพักในโรงไฟ ชฎิลบอกว่ามีนาคร้ายก็ไม่ทรงฟัง





   ออกพรรษาแล้ว  ล่วงมาจนถึงวันขึ้น ๑๕  ค่ำ เดือน ๑๒  พระพุทธเจ้าได้ทรงประชุมพระสาวก 
๖๐  รูปที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน    พระสาวกเหล่านี้ล้วนเป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้น   วัตถุประสงค์ที่พระพุทธเจ้า
ทรงจัดประชุมพระสาวกดังกล่าวนี้  ก็เพื่อจัดส่งพระสาวกออกไปประกาศพระศาสนาตามเมืองต่างๆ

   ในการประชุมนี้  พระพุทธเจ้าทรงมีพระพุทธเจ้าดำรัสปราศรัยว่า

   "ภิกษุทั้งหลาย!  เราหลุดพ้นแล้วจากบ่วงเครื่องผูกมัดทั้งปวงแล้ว  แม้พวกท่านทุกรูปก็เหมือน
กัน   ขอพวกท่านจงจาริกไปประกาศพระศาสนาในชนบทต่างๆ   เพื่อยังประโยชน์และความสุขให้เกิดแก่คน
เป็นอันมาก    จงแยกกันไปแห่งละรูป    จงแสดงธรรมชั้นเบื้องต้น    ชั้นกลาง   และชั้นสูงอันบริสุทธิ์ที่เราได้
ประกาศไว้แล้ว  ภิกษุทั้งหลาย!  คนในโลกนี้ที่มีกิเลสบางเบา  แต่มีสติปัญญาที่พอจะฟังธรรมรู้  เรื่องนั้นมีอยู่ 
แต่เพราะเหตุที่คนเหล่านั้นไม่มีโอกาสที่จะได้ฟังธรรม จึงเสื่อมจากคุณความดีที่จะพึงได้รับ  พวกท่านไปกัน
เถิด  แม้เราก็จะไปยังตำบลอุรุเสานานิคม  เพื่อประกาศพระศาสนา"

   รุ่งขึ้นวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๒  พระสาวก ๖๐ รูปจึงต่างแยกย้ายกันออกไปประกาศพระศาสนา
ตามพระดำรัสของพระพุทธเจ้า   ส่วนพระพุทธเจ้าเสด็จกลับมายังตำบลอุรุเวลาเสนานิคม    ซึ่งเคยเป็นสถาน
ประทับตรัสรู้     แล้วพระพุทธเจ้าเสด็จโดยลำพังพระองค์ไปยังสำนักของนักบวชใหญ่แห่งหนึ่ง   ซึ่งเรียกว่า 
'ชฎิลสามพี่น้อง'

   ชฎิลผู้พี่ชายใหญ่ชื่อ 'อุรุเวลกัสสป'  มีสาวกบริวาร  ๕๐๐ คน  ตั้งอาศรมบำเพ็ญพรต  บูชาไฟ
อยู่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชราตอนเหนือ  น้องชายคนกลางชื่อ 'นทีกัสสป'  มีบริวาร  ๓๐๐  และน้องชายคนเล็กชื่อ 
'คยากัสสป'  มีบริวาร  ๒๐๐  ตั้งอาศรมอยู่คนละแห่ง  ที่คุ้งน้ำทางใต้ถัดลงมา

   พระพุทธเจ้าเสด็จไปยังสำนักของผู้พี่ชายใหญ่ก่อน    ทรงพบหัวหน้าชฎิล     แล้วตรัสขอที่พัก 
หัวหน้ชฎิลบอกพระพุทธเจ้าว่ามีอยู่แห่งเดียวคือโรงบูชาไฟ  แต่ในที่นั้นมีพญานาคใหญ่อาศัย  พิษร้ายกาจนัก

 
 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 02, 2012, 08:00:01 PM โดย nujai » บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #56 เมื่อ: มกราคม 02, 2012, 03:29:40 PM »

สมุดภาพพระพุทธประวัติ

ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร

ภาพที่ ๓๙

ทรงทรมานนาคราชร้าย ขดกายพญานาคใส่บาตรให้ชฎิลดู ชฎิลก็ยังไม่เลื่อมใส




   ชฎิลสามพี่น้อง  โดยเฉพาะอุรุเวลกัสสปผู้พี่ชายใหญ่เป็นหัวหน้านักบวช  ที่ชาวเมืองราชคฤห์
นับถือมาก  ท่านผู้นี้ประกาศตนเป็นผู้วิเศษ  เป็นพระอรหันต์  บำเพ็ญพรตบูชาไฟ

   เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จไปถึง  และตรัสขอพักอาศัยในโรงไฟ    ซึ่งพวกชฎิลถือว่าเป็นสถานศักดิ์
สิทธิ์    และเป็นอันตรายแก่ผู้จะไปอยู่อาศัยภายในโรงไฟ    เพราะมีพญานาค    หรือพญางูใหญ่มีพิษร้ายกาจ
อาศัยอยู่ในนั้น  ชฎิลจึงนึกในใจว่า  พระพุทธเจ้าทรงอวดดีที่ไม่กลัวอันตราย

   ตามท้องเรื่องในปฐมสมโพธิกล่าวว่า เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จเข้าไปประทับภายในโรงไฟ  พญา
นาคก็มีจิตขึ้งเคียดทุกขโทมนัส   คือ   โกรธมาก  จึงพ่นพิษใส่พระพุทธเจ้า   พระพุทธเจ้าเสด็จเข้าเตโชกสิน
สมาบัติ (หมายถึง  การเข้าฌานชนิดหนึ่ง ซึ่งบันดาลให้เกิดเปลวไฟขึ้นจากายได้)  พิษของพญานาคและเปลว
เพลิงจากเตโชกสินของพระพุทธเจ้าได้บังเกิดขึ้นเป็นแสงแดงสว่าง  ดุจเผาผลาญโรงเพลิงนั้นให้เป็นภัสมธุลี 
(แหลกละเอียด)

   พวกชฎิลได้เห็นแสงเพลิงนั้นก็ปริวิตกว่า  พระสมณะรูปนี้  (หมายถึงพระพุทธเจ้า)   เห็นทีจะ
วอดวายด้วยพิษพญานาคคราวนี้เป็นแน่

   ปฐมสมโพธิว่า  "ครั้นล่วงราตรีรุ่งเช้า  พระสัพพัญญูเจ้าก็ยังเดชแห่งพญานาค  ให้อันตรธาน
หาย  บันดาลให้นาคนั้นขนดกายลงในบาตร  แล้วทรงสำแดงแก่อุรุเวลกัสสป  ตรัสบอกว่า  นาคนี้สิ้นฤทธิ์ด้วย
เดชตถาคต..."

 
 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 02, 2012, 07:59:02 PM โดย nujai » บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #57 เมื่อ: มกราคม 02, 2012, 03:30:39 PM »

สมุดภาพพระพุทธประวัติ

ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร
 
ภาพที่ ๔๐

วันหนึ่ง ฝนตักหนัก น้ำท่วม แต่ไม่ท่วมที่ประทับ ชฎิลเห็นอัศจรรย์จึงทูลขอบรรพชา





   การที่พระพุทธเจ้าเสด็จมาโปรดชฎิลสามพี่น้องดังได้บรรยายไว้แล้ว    ก็เพราะนักบวชสามพี่
น้องนี้เป็นคณาจารย์ใหญ่ที่คนเคารพนับถือมากในสมัยนั้น      การให้นักบวชที่มีอิทธิพลทางความนับถือมาก 
ได้หันมานับถือพระองค์นั้น    เป็นนโยบายสำคัญของพระพุทธเจ้าในการประกาศพระพุทธศาสนา    ซึ่งเป็น
ศาสนาที่เพิ่งเกิดใหม่      เพราะถ้าปราบนักบวชที่มีอิทธิพลมากลงได้เสียแล้ว    การประกาศพระศาสนาของ
พระองค์ก็ง่ายขึ้นและจะได้ผลรวดเร็ว

   พระพุทธเจ้าจึงเสด็จมาสำนักของชฎิลสามพี่น้องซึ่งตั้งตนว่าเป็นอรหันต์      และพระองค์ได้
ทรงทรมาน   คือ   การแสดงหรือพิสูจน์ให้เห็นว่าพวกชฎิลไม่ใช่พระอรหันต์อย่างที่อ้าง  คุณธรรมใดๆ  ที่
พวกชฎิลถือว่าพวกตนมีและว่าวิเศษ  พระพุทธเจ้าก็ทรงแสดงให้เห็นว่าหาเป็นเช่นนั้นไม่

   ที่ถือว่าพญางูใหญ่มีพิษร้ายกาจ  พระองค์ก็จับขดลงในบาตรเสีย  เมื่อเกิดอุทกภัยน้ำท่วมใหญ่ 
พวกชฎิลเข้าใจว่าพระพุทธเจ้าจมน้ำตายเสียแล้ว   ต่างลงเรือพายมาดู   ก็เห็นพระพุทธเจ้าเดินจงกรมอยู่ภาย
ใต้ท้องน้ำ

   ปฐมสมโพธิว่า  พระพุทธเจ้าทรงใช้เวลากลับใจพวกชฎิลอยู่ถึงสองเดือนจึงสำเร็จ  โดยชฎิลผู้
หัวหน้าคณาจารย์ใหญ่  คือ  อุรุเวลกัสสป   เกิดความสังเวชสลดใจว่าตนมิใช่พระอรหันต์อย่างที่เคยหลงเข้า
ใจผิด  ทั้งนี้ด้วยพุทธานุภาพที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงให้ประจักษ์เห็นได้

   หัวหน้าชฎิลจึงลอยเครื่องบริขารและเครื่องบูชาไฟทิ้งลงในแม่น้ำเนรัญชรา    แล้วกราบแทบ
พระบาทพระพุทธเจ้า  ขอบวชยอมเป็นพระสาวก    ฝ่ายน้องชายอีกสองคน  ที่ตั้งอาศรมอยู่คุ้งน้ำทางใต้ลง
ไป  เห็นบริขารพี่ชายลอยมาก็จำได้  นึกว่าอันตรายเกิดแก่พี่ชายตนก็พากันมาดู

   ทั้งสองได้ทราบเรื่องโดยตลอด    ก็ยอมตนเป็นพระสาวกทั้งสิ้น    พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดง
ธรรมโปรดชฎิลทั้งหมดได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์    พระพุทธเจ้าเลยมีนักบวชเป็นพระสาวกเพิ่มขึ้นใหม่อีก 
๑,๐๐๐  รูป


 
 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 02, 2012, 07:57:56 PM โดย nujai » บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #58 เมื่อ: มกราคม 02, 2012, 03:31:53 PM »

สมุดภาพพระพุทธประวัติ

ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร

ภาพที่ ๔๑

พระอุรุเวลกัสสปประกาศตนเป็นพุทธสาวกต่อหน้าพระเจ้าพิมพิสาร ณ สวนตาลหนุ่ม





   เมื่อพระพุทธเจ้าทรงปราบนักบวชสามสำนักสามพี่น้องให้สิ้นพยศ  คือหมดทิฐิมานะที่ว่าตน
เป็นพระอรหันต์ลงราบคาบ  จนยอมเป็นพระสาวกแล้ว  ก็ทรงดำเนินนโยบายในการประกาศพระศาสนาขั้น
ต่อไป  คือเสด็จเข้าเมืองราชคฤห์

   ราชคฤห์เป็นเมืองหลวงของแคว้นมคธและแคว้นอังคะในสมัยนั้น  มีผู้คนมาก  มีพระราชาผู้
เป็นใหญ่     คือพระเจ้าพิมพิสารปกครอง    พระราชาพระองค์นี้เคยทรงพบพระพุทธเจ้าครั้งหนึ่งเมื่อตอน
ก่อนตรัสรู้  ดังได้เคยบรรยายไว้แล้ว

   พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระสาวกที่แต่ก่อนเป็นพวกชฎิลครองหนังเสือ  แต่มาบัดนี้  เป็นพระ
ภิกษุครองจีวร  จำนวนหนึ่งพันรูป  เสด็จไปถึงอุทยานนอกเมืองที่เรียกว่า  ลัฏฐิวัน  หรือสวนตาลหนุ่ม  แล้ว
เสด็จพักที่นี่

   พวกชาวเมืองแตกตื่นกันมากเมื่อรู้ข่าวว่า  มีคณะนักบวชศาสนาใหม่   โดยมีพระสมณโคดม
พระพุทธเจ้าเข้ามาถึงชานเมือง  จึงออกไปเฝ้ากันล้นหลาม   แม้พระเจ้าพิมพิสารก็แสดงไปเฝ้าพระพุทธเจ้า
ด้วย

   ชาวเมืองที่มาเฝ้าพระพุทธเจ้ามีอาการกิริยาแตกต่างกัน   บ้างไหว้  บ้างนั่งเฉย  บ้างแนะนำ
ตนเองว่าอยู่ในวรรณะและตระก้ลอะไร  แต่มีเป็นจำนวนมากที่สงสัยไม่อาจทราบได้ว่า  ระหว่างพระพุทธ
เจ้ากับอุรุเวลกัสสป  ผู้เป็นหัวหน้าชฎิลที่เคยมีชื่อเสียงใครเป็นศาสดา  และใครเป็นสาวก   ต่างสงสัยกันนัก
หนา

   เพื่อตัดข้อสงสัยนี้     พระพุทธเจ้าจึงตรัสถามอุรุเวลกัสสปถึงเหตุผลที่ละทิ้งลัทธิเดิมที่เคย
ปฏิบัติอยู่  ท่านได้กราบทูลดังๆ  ต่อหน้าฝูงชนว่า  ไร้สาระ  ไม่ใช่ทางพ้นทุกข์   ว่าแล้วก็ลุกขึ้นกราบแทบ
พระบาทพระพุทธเจ้า    แสดงให้ชาวเมืองเห็นว่า    ใครเป็นพระศาสดา     ชาวเมืองเห็นแล้วต่างทึ่งและ
อัศจรรย์ใจมาก

   เมื่อชาวเมืองสงบแล้ว   พระพุทธเจ้าจึงทรงแสดงธรรม  เมื่อจบลง    ชาวเมืองจำนวนมาก
ประกาศตนเป็นพุทธศาสนิกชน  อีกจำนวนหนึ่งรวมทั้งพระเจ้าพิมพิสารด้วยได้สำเร็จโสดาบัน

 
 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 02, 2012, 07:57:01 PM โดย nujai » บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #59 เมื่อ: มกราคม 02, 2012, 03:33:00 PM »

สมุดภาพพระพุทธประวัติ

ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร

ภาพที่ ๔๒

พระเจ้าพิมพิสารเลื่อมใส ทรงหลั่งน้ำถวายวัดเวฬุวันเป็นปฐมสังฆาราม






   เมื่อพระเจ้าพิมพิสาร  ราชาแห่งแคว้นมคธ  ได้ทรงฟังธรรมพระพุทธเจ้าจบลง   และได้ทรง
บรรลุโสดาแล้ว    ก็เสด็จลุกขึ้นอภิวาทแทบพระบาทพระพุทธเจ้า   ทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระ
สาวกหนึ่งพันรูปเสด็จไปเสวยที่พระราชนิเวศน์ในวันรุ่งขึ้น      พระพุทธเจ้าทรงรับคำทูลอาราธนาด้วยพระ
อาการดุษณี

   นั่นเป็นธรรมเนียมการรับนิมนต์ของพระพุทธเจ้าและพระสงฆ์สมัยนั้น  ถ้าดุษณีหรือนิ่ง  แปล
ว่า    รับได้   ถ้ารับไม่ได้   เช่น   มีคนทูลอาราธนาว่า    ขอให้เสด็จไปรับบาตรที่บ้านของตนแห่งเดียวตลอด
พรรษานี้   พระพุทธเจ้าจะตรัสว่า   "คนในโลกนี้ใครๆ   ก็อยากทำบุญกับเราทั้งนั้น   จะผูกขาดไม่ได้หรอก" 
อย่างนี้แปลว่ารับนิมนต์ไม่ได้  หรือไม่รับ

   รุ่งขึ้น   พระพุทธเจ้าเสด็จจากสวนตาลหนุ่ม   เข้าไปในพระราชนิเวศน์ของพระเจ้าพิมพิสาร 
เจ้าพนักงานที่ได้ตระเตรียมอาหารบิณฑบาตรไว้พร้อมแล้ว      พระเจ้าพิมพิสารได้ทรงถวายอาหารแก่พระ
พุทธเจ้าและพระสงฆ์สาวก

   เมื่อพระพุทธเจ้าเสวยแล้ว   และพระสงฆ์ทั้งนั้นก็ฉันอิ่มกันทั่วแล้ว  พระเจ้าพิมพิสารจึงเสด็จ
เข้าไปใกล้พระพุทธเจ้า  ประทับนั่ง  ณ ที่ควรข้างหนึ่ง  แล้วทรงมีพระราชดำรัสทูลพระพุทธเจ้าว่า  ที่สวน
ตาลหนุ่มเป็นสถานที่อยู่ห่างไกลเมืองและทุรกันดารมาก  ไม่สะดวกแก่การไปมา

   แล้วมีพระราชดำรัสว่าพระราชอุทยานสวนไม้ไผ่    หรือเวฬุวันของพระองค์ตั้งอยู่ไม่ใกล้ไม่
ไกลจากตัวเมืองนัก  ไปมาสะดวก  กลางวันไม่พลุกพล่านด้วยผู้คน  กลางคืนสงบสงัด  สมควรเป็นที่ประทับ
อยู่ของพระพุทธเจ้าและพระสงฆ์

   เมื่อพระพุทธเจ้าทรงรับด้วยพระอาการดุษณี    พระเจ้าพิมพิสารจึงทรงหลั่งน้ำจากพระเต้า
ลงบนพระหัตถ์พระพุทธเจ้า  ถวายเวฬุวนารามให้เป็นวัดพระพุทธศาสนาแห่งแรกในโลก

   ปฐมสมโพธิว่า   "กาลเมื่อพระสัพพัญญูทรงรับพระเวฬุวันเป็นอาราม   ครั้งนั้นอันว่า   มหา
ปฐพีดลก็วิกลกัมปนาท  ดุจรู้ประสาทสาธุการว่า  มูลที่ตั้งพระพุทธศาสนา  หยั่งลงในพื้นพสุธา  กาลบัดนี้"

 
 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 02, 2012, 07:56:06 PM โดย nujai » บันทึกการเข้า

finghting!!!
Gold Price today, Gold Trend Price Prediction, ราคาทองคํา, วิเคราะห์ทิศทางทองคํา
   

images by free.in.th
Thanks: ฝากรูป dictionary ---------------------Charts courtesy of Moore Research Center, Inc. For more information on Moore Research products and services click here. --- http://www.mrci.com ---------- ---------------------------------------------รูปกราฟแสดงราคาทองในอดีตปี 1974-1999 ของ Moore Research Center, Inc. แสดงฤดูกาลที่ราคาทองขึ้นสูงสุดและตําสุด เอาแบบคร่าวๆ เส้นนําตาลหรือนําเงินก็ใกล้เคียงกัน เส้นนําตาลเฉลี่ย 15 ปี เส้นนําเงินเฉลี่ย 26 ปี ราคาตําสุดของเส้นนําตาล หรือเฉลี่ย 15 ปี ในเดือน ปลายเดือน เมษ และปลายเดือน สค ต่อต้นเดือน กย[/color] สูงสุดในเดือน กพ กับ พย / ส่วนเฉลี่ย 26 ปี ราคาตําสุด ต้น กค กับ ปลาย สค และราคาสูงสุดในเดือน กพ และ กลางเดือน ตค ----- แค่ดูคร่าวๆ เป็นแนวทาง อย่ายึดมั่นว่าจะต้องเป็นตามนี้ ข้างล่างเป็นกราฟราคานํามัน ตามฤดูกาล จาก Charts courtesy of Moore Research Center, Inc. images by free.in.th
Thanks: ฝากรูป dictionary
 บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 7   ขึ้นบน
พิมพ์
กระโดดไป: