Forex-Currency Trading-Swiss based forex related website. Home ----- กระดานสนทนาหน้าแรก ----- Gold Chart,Silver,Copper,Oil Chart ----- gold-trend-price-prediction ----- ติดต่อเรา
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7   ลงล่าง
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: วิธีสร้างบุญบารมี  (อ่าน 22187 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 7 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
jainu
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #60 เมื่อ: มกราคม 06, 2012, 10:03:23 AM »

สมุดภาพพระพุทธประวัติ

ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร

ภาพที่ ๔๓

ท้าวเธอทรงบำเพ็ญกุศลให้พระญาติที่เกิดเป็นเปรต

เปรตทั้งหลายต่างโมทนารับส่วนบุญ





   ในภาพที่  ๔๒  จะเห็นพระเจ้าพิมพิสารทรงหลั่งน้ำจากพระเต้าลงบนพระหัตถ์ของพระพุทธ
เจ้า   การหลั่งน้ำในที่นี้เรียกว่าตามภาษาสามัญว่า  'กรวดน้ำ'   หรือเรียกเป็นคำศัพท์ว่า  'อุททิโสทก'  แปลว่า 
กรวดน้ำมอบถวาย  ใช้ในกรณีเมื่อถวายของใหญ่โตที่ไม่อาจยกประเคนใส่มือพระได้  เช่น  ที่ดินและวัด  เป็น
ต้น

   ส่วนการกรวดน้ำของพระเจ้าพิมพิสารในภาพนี้เรียกว่า 'ทักษิโณทก'  แปลว่า  กรวดน้ำแผ่ส่วน
กุศลแก่คนตาย   ใช้ในกรณีที่จะมอบสิ่งหนึ่งสิ่งใดแก่ผู้หนึ่งผู้ใดซึ่งเป็นผู้รับอีกเหมือนกัน   ผิดแต่ว่า   สิ่งที่ให้
มองไม่เห็นตัวตน  เพราะเป็นบุญกุศล  ผู้รับก็มองไม่เห็น  เพราะเป็นคนที่ตายไปแล้ว  พิธีนี้เป็นที่นิยมกันอยู่ใน
เมืองไทยเวลาทำบุญทุกวันนี้

   ภาพที่เห็นนี้เป็นการบำเพ็ญพระราชกุศลครั้งที่สองของพระเจ้าพิมพิสาร  เมื่อครั้งแรกพระเจ้า
พิมพิสารไม่ได้ทรงอุทิศส่วนกุศลให้แก่พระญาติที่ล่วงลับไปแล้ว    ปฐมสมโพธิจึงว่า   ในคืนวันนั้นพวกเปรต
ซึ่งเคยเป็นพระญาติของพระเจ้าพิมพิสารได้ส่งเสียงอื้ออึงขึ้นในพระราชนิเวศน์  ที่แสดงให้เห็นก็มี

   ตามนิยายธรรมบทเล่าว่า    เปรตเหล่านี้เมื่อครั้งยังเป็นมนุษย์   เคยลักลอบ  (หรือจะเรียกอย่าง
ทุกวันนี้ว่าคอรัปชั่นก็ได้)  กินของที่คนเขานำมาถวายสงฆ์  ตายแล้วตกนรก  แล้วมาเป็นเปรต  และมาคอยรับ
ส่วนบุญที่พระเจ้าพิมพิสารอุทิศให้  แต่เมื่อผิดหวังจึงประท้วงดังกล่าว

   พระเจ้าพิมพิสารจึงเสด็จไปเฝ้าพระพุทธเจ้าในวันรุ่งขึ้น     ทูลถามทราบความแล้ว    จึงทรง
บำเพ็ญพระราชกุศลถวายอาหารและจีวรแก่พระพุทธเจ้าและพระสงฆ์ในวันรุ่งขึ้นอีกต่อมา  แล้วทรงหลั่งน้ำ
อุททิโสทกว่า   อิทัง  โน  ญาตีนัง  โหตุ    แปลว่า  "ขอกุศลผลบุญครั้งนี้จงไปถึงญาติพี่น้องของข้าพเจ้าด้วย
เทอญ"   เปรตเหล่านี้จึงต่างได้รับกุศลผลบุญกันทั่วหน้า  และพ้นจากความทุกข์ทรมานที่ได้รับอยู่

   คำว่า  "อิทัง  โน  ญาตีนัง  โหตุ"  ได้กลายเป็นบทกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้คนตายที่คนไทย
ใช้อยู่ในปัจจุบัน

 
 
_
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 02, 2012, 08:01:23 PM โดย nujai » บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #61 เมื่อ: มกราคม 06, 2012, 01:00:58 PM »

สมุดภาพพระพุทธประวัติ

ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร

ภาพที่ ๔๔

พระโมคคัลลาน์ สารีบุตร อัครสาวกซ้าย-ขวามาทูลขอบรรพชาเป็นเอหิภิกขุ






   ภาพที่เห็น  คือ พระโมคคัลลาน์ สารีบุตร กำลังบวชกับพระพุทธเจ้าที่วัดเวฬุวัน กรุงราชคฤห์ 
ก่อนบวช  ทั้งสองบวชเป็นปริพาชกในฐานะเป็นศิษย์สาวกของสญชัย

   สญชัยเป็นศาสดาปริพาชกที่มีชื่อเสียงมากผู้หนึ่งในแคว้นมคธ    มีลูกศิษย์  และคนนับถือมาก 
โมคคัลลาน์  สารีบุตร  เคยอยู่ที่นี่เพื่อศึกษาหาความรู้ทางพ้นทุกข์   แต่ครั้นศึกษาจบแล้วเห็นว่ายังไม่ใช่ทาง
พ้นทุกข์  จึงลาอาจารย์สญชัยออกแสวงหาความรู้ใหม่ต่อไป  แล้วจึงมาพบพระอัสสชิในเมืองราชคฤห์

   พระอัสสชิเป็นรูปหนึ่งในคณะพระปัญจวัคคีย์     ที่พระพุทธเจ้าทรงส่งออกไปประกาศพระ
ศาสนา    ท่านทราบว่าเวลานั้นพระพุทธเจ้าเสด็จมาประทับอยู่ที่เมืองราชคฤห์   ท่านจึงเดินทางเพื่อมาเฝ้า
พระพุทธเจ้าที่นั่น   ระหว่างทางมาได้พบพระสารีบุตร   ซึ่งขณะนั้นเรียกว่า  'อุปติสสปริพาชก'   พระสารี
บุตรเห็นกิริยาท่าทางพระอัสสชิน่าเลื่อมใสจึงเข้าใจสนทนาถามถึงทางปฏิบัติ  และผู้เป็นพระศาสดา    เมื่อ
ได้ฟังก็ชอบใจ   ภายหลังจากนั้นจึงกลับมาชวนสหายคือ  โมคคัลลาน์  หรือ  'โกลิตปริพาชก'   ก็เรียกไปเฝ้า
พระพุทธเจ้า  พร้อมด้วยปริพาชกบริวารที่ติดตามมาอีก  ๒๕๐  คน

   ครั้งนั้น  สารีบุตร โมคคัลลานะ  ได้พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค  ครั้นถึงแล้วได้ซบเศียร
ลงที่พระบาทของผู้มีพระภาค  แล้วทูลขอบรรพชาอุปสมบทต่อพระผู้มีพระภาคว่า  ขอพวกข้าพระพุทธเจ้า
พึงได้บรรพชา  พึงได้อุปสมบทในสำนักพระผู้มีพระภาค  พระพุทธเจ้าข้า

   พระผู้มีพระภาคตรัสว่า  พวกเธอจงเป็นภิกษุมาเถิด  ดังนี้  แล้วได้ตรัสต่อไปว่า  ธรรมอันเรา
กล่าวดีแล้ว  พวกเธอจงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด  พระวาจานั้นแลได้เป็นอุปสมบท
ของท่านผู้มีอายุเหล่านั้น

   คนทั้งหมดได้เป็นผู้ทรงบาตรจีวรอันสำเร็จด้วยฤทธิ์  ราวกะว่าพระเถระ  ๑๐๐  พรรษา

   ภายหลังบวชแล้วไม่นาน    ท่านทั้งสองได้ปฏิบัติธรรมจนสำเร็จอรหันต์   ได้เป็นกำลังสำคัญ
ในการประกาศพระศาสนาช่วยพระพุทธเจ้ามากที่สุด  พระพุทธเจ้าจึงทรงตั้งท่านทั้งสองให้ดำรงตำแหน่ง
พระอัครสาวก  พระสารีบุตรเป็นพระอัครสาวกฝ่ายขวา  พระโมคคัลลาน์ฝ่ายซ้าย  ว่าอย่างสามัญ  ก็เท่ากับ
เป็นมือขวามมือซ้ายของพระพุทธเจ้านั่นเอง    ท่านทั้งสองนี้นิพพานก่อนพระพุทธเจ้าไม่กี่เดือน    พระสารี
บุตรนิพพานด้วยโรคประจำตัว  ส่วนพระโมคคัลลาน์ถูกอันธพาลจากคนในศาสนาอื่น (เดียรถีย์)  จ้างมาฆ่า

 
 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 02, 2012, 08:02:42 PM โดย nujai » บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #62 เมื่อ: มกราคม 06, 2012, 01:02:24 PM »

ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร

ภาพที่ ๔๕

พระพุทธองค์ทรงประทาน โอวาทปาติโมกข์แก่พระอรหันต์สงฆ์

ในวันเพ็ญมาฆบูชา





   ภายหลังพระโมคคัลลาน์  สารีบุตร  บวชแล้วไม่นาน   พระพุทธเจ้าได้ทรงประชุมพระสาวก
ขึ้นในวันเพ็ญกลางเดือนสาม   ที่พระเวฬุวนาราม  เมืองราชคฤห์  โดยมีพระพุทธเจ้าทรงเป็นประธาน  การ
ประชุมพระสาวกครั้งนี้    ผู้นับถือศาสนาพุทธในสมัยก่อนต่อมาเห็นเป็นเหตุการณ์ที่มีความสำคัญมาก   จึง
กำหนดถือวันนี้เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาวันหนึ่ง  ที่เรียกกันอยู่ทุกวันนี้ว่า  'วันมาฆบูชา'

   การประชุมพระสาวกของพระพุทธเจ้าครั้งนี้  แปลกกว่าทุกคราวที่มีอยู่ในสมัยพุทธกาล  คือ 
พระสาวกมีจำนวน ๑,๒๕๐ รูป  แต่ละรูป แต่ละองค์ล้วนบวชกับพระพุทธเจ้า  มีพระอุปัชฌาย์องค์เดียวกัน 
คือ   พระพุทธเจ้า   ล้วนเป็นพระอรหันต์   ต่างมาประชุมโดยไม่ได้นัดหมาย    และพระพุทธเจ้าทรงแสดง
โอวาทปาติโมกข์ในที่ประชุม  การประชุมพระสาวกครั้งนี้จึงเรียกอีกอย่างหนึ่ง  ตามลักษณะแปลก ๔  ประ
การนี้ว่า  'จาตุรงคสันนิบาต'

   ในเวลานั้น  กรุงราชคฤห์เป็นศูนย์กลางของศาสนาพุทธ    พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่นี่บรรดา
พระสาวกแยกย้ายกันออกไปประกาศพระศาสนาต่างได้ทราบว่า  เวลานั้นพระพุทธเจ้ากำลังเสด็จประทับอยู่
ที่กรุงราชคฤห์   เมื่อเสร็จกิจประกาศพระศาสนาจึงต่างจาริกมาเฝ้า   เมื่อมาพร้อมหน้ามากตั้งพันกว่า  พระ
พุทธเจ้าจึงประชุมพระสาวกแสดงโอวาทปาติโมกข์

   'โอวาทปาติโมกข์'  คือ    หลักการโดยสรุปของศาสนาพุทธ    มีทั้งหลักคำสอนและหลักการ
ปกครองคณะสงฆ์   มีทั้งหมด  ๑๓  ข้อด้วยกัน   เช่นเป็นต้นว่า  ศาสนาพุทธสอนว่า   ละชั่ว   ทำดี   ทำจิต
บริสุทธิ์  สุดยอดของคำสอนอยู่ที่นิพพาน  ดับกิเลสพ้นทุกข์ และเป็นพระเป็นต้องสำรวม กินอยู่พอประมาณ
อดทน  ไม่กล่าวร้ายป้ายสีคนอื่น  ไม่เบียดเบียนคนอื่น

   สมัยที่กล่าวนี้  พระพุทธเจ้ายังไม่ทรงบัญญัติวินัยปกครอง  เพราะความเสียหายยังไม่เกิดจึง
ทรงวางหลักปกครองสงฆ์ไว้แต่โดยย่อ     เทียบให้เห็นคือ    เมืองไทยสมัยไม่กี่ปีมานี้   ไม่มีรัฐธรรมนูญปก
ครองราชอาณาจักร  แต่มีธรรมนูญเป็นหลักปกครองแทน  ธรรมนูญนี้เทียบได้กับโอวาทปาติโมกข์  ส่วนรัฐ
ธรรมนูญปกครองราชอาณาจักรก็เทียบได้กับวินัยพุทธบัญญัติทั้งหมดที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติขึ้นในเวลา
ต่อมา

 
 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 02, 2012, 08:03:33 PM โดย nujai » บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #63 เมื่อ: มกราคม 06, 2012, 01:04:06 PM »

สมุดภาพพระพุทธประวัติ

ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร

ภาพที่ ๔๖

เสด็จไปโปรดพระญาติที่กรุงกบิลพัสดุ์ พระญาติผู้ใหญ่ถือว่าสูงอายุไม่ถวายบังคม




   ตลอดเวลา ๖ ปีกว่า  คือ นับตั้งแต่เสด็จ

ออกบวช ตรัสรู้ และประกาศพระศาสนาในแคว้นมคธ  
จนมีพระสาวกและคนนับถือมาก   พระพุทธเจ้ายังมิได้เสด็จกลับกรุงกบิลพัสดุ์เป็นครั้งแรก    เพื่อโปรดพระ
ประยูรญาติตามคำอาราธนาของพระสุทโธทนะพุทธบิดา

   ด้วยพระทัยปรารถนาที่จะได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้ทรงอยู่ในฐานะหนึ่ง  คือ พระราชโอรส  เมื่อ
ทรงทราบว่าขณะนั้น      พระพุทธเจ้าเสด็จประทับ     เพื่อประกาศพระศาสนาอยู่ในแคว้นมคธ      พระเจ้า
สุทโธทนะจึงส่งคณะฑูตไปทูลอาราธนา

   คณะฑูตแต่ละคณะที่พระเจ้าสุทโธทนะส่งไปเพื่อทูลอาราธนาพระพุทธเจ้า      มีหัวหน้าและ
บริวาร  ซึ่งปฐมสมโพธิบอกว่าจำนวนหนึ่งพันคน  รวมทั้งหมด  ๑๐  คณะด้วยกัน  คณะที่  ๑  ถึง  ๙  ตาม
ลำดับ ได้ไปเฝ้าพระพุทธเจ้าได้ฟังธรรมแล้วสำเร็จอรหันต์   ยังมิได้กลับมาทูลรายงานให้พระเจ้าสุทโธทนะ
ได้ทราบ     พระเจ้าสุทโธทนะจึงทรงส่งคณะอำมาตย์    เป็นคณะฑูตที่  ๑๐  ไปอีก     คณะฑูตที่  ๑๐  นี้มี
กาฬุทายีเป็นหัวหน้า  ซึ่งเป็นผู้ที่คุ้นเคยและเป็นสหชาติ  คือ  เกิดวันเดียวกับพระพุทธเจ้า   ก่อนออกเดินทาง
ไปทูลอาราธนาพระพุทธเจ้า  กาฬุทายีทูลลาบวช   เมื่อบวชแล้วจะทูลอาราธนา   พระพุทธเจ้าให้เสด็จมายัง
กรุงกบิลพัสดุ์ให้จงได้  พระเจ้าสุทโธทนะทรงอนุมัติ

   ภายหลังเมื่อกาฬุทายีไปถึงสำนักพระพุทธเจ้าได้ธรรมจนสำเร็จอรหันต์    และได้ขอบวชเป็น
พระสาวกพร้อมทั้งบริวารที่ติดตามไปแล้ว    ไปทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าเสด็จกรุงกบิลพัสดุ์   ขณะนั้นเป็น
หน้าแล้ง  ย่างเข้าหน้าฝน

   พระพุทธเจ้าทรงรับคำทูลอาราธนาแล้ว   พร้อมด้วยพระสาวก   ที่ตำนานปฐมสมโพธิบอกว่า
จำนวน  ๒  หมื่นรูป     เสด็จออกเดินทางเป็นเวลาสองเดือน    จึงถึงกรุงกบิลพัสดุ์แล้ว    เสด็จเข้าประทับใน
อารามของเจ้าศากยะผู้หนึ่ง ซึ่งชื่อว่า 'นิโครธ'  ซึ่งพวกเจ้าศากยะพระญาติจัดถวายให้เป็นที่ประทับ  อาราม
ในที่นี้ไม่ใช่วัด   แต่เป็นสวน   เป็นอุทยานอยู่นอกเมือง  พวกพระประยูรญาติรวมทั้งพระเจ้าสุทโธทนะ  ได้
พากันมารับเสด็จและเฝ้าพระพุทธเจ้าที่อารามแห่งนี้

 
 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 03, 2012, 07:13:44 PM โดย nujai » บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #64 เมื่อ: มกราคม 06, 2012, 01:06:18 PM »

สมุดภาพพระพุทธประวัติ

ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร

ภาพที่ ๔๗

ทรงแสดงปาฏิหารย์เหาะให้เห็น หมู่พระญาติก็สิ้นทิฐิมานะถวายบังคมพร้อมกัน





   ภาพที่เห็นก็แสดงถึงเหตุการณ์ตอนหนึ่ง  ซึ่งต่อเนื่องมาจากตอนที่แล้ว  เป็นตอนที่เรียกว่าพระ
พุทธเจ้าทรงแสดงปาฏิหารย์ทำลายทิฐิมานะความถือตัวของพระประยูรญาติของพระพุทธเจ้า

   เจ้าศากยะ  พระญาติวงศ์ของพระพุทธเจ้าที่เป็นชั้นผู้ใหญ่  ต่างถือองค์ว่าเป็นพระญาติผู้ใหญ่  
มีพระชนม์สูงกว่าพระพุทธเจ้า  ซึ่งขณะนั้นเพียง ๓๖  ปีกว่าๆ  เมื่อมารับเสด็จและเฝ้าพระพุทธเจ้าที่นิโครธา
ราม  จึงไม่ถวายอภิวาทบังคม  คือไม่ไหว้พระพุทธเจ้า  แต่ส่งเจ้าชายเจ้าหญิงศากยะเยาว์วัยกว่าพระพุทธเจ้า
ออกไปอยู่แถวหน้า  ให้ไหว้พระพุทธเจ้าแทน  ส่วนพวกตนอยู่แถวหลังไม่ยอมไหว้

   ตำนานปฐมสมโพธิว่า     ด้วยเหตุดังกล่าวพระพุทธเจ้าจึงทรงแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ในอากาศ  
แล้วโปรยละอองธุลีพระบาทลงเหนือศีรษะของบรรดาเจ้าศากยะ

   พระเจ้าสุทโธทนะซึ่งเสด็จมารับเสด็จและเฝ้าพระพุทธเจ้า  ทรงเห็นเหตุอัศจรรย์เช่นนั้น จึง
ทรงประนมพระหัตถ์อภิวาทพระพุทธเจ้า  ฝ่ายพระประยูรญาติทั้งปวงในที่นั้น  ก็ต่างทิฐิมานะ  แล้วถวาย
อภิวาทพระพุทธเจ้าพร้อมกันทั่วทุกองค์

   ปฐมสมโพธิว่า   "ในทันใดนั่นเอง   มหาเมฆใหญ่ได้ตั้งเค้าขึ้นมา   แล้วหลั่งสายฝนลงมาห่า
ใหญ่  ฝนนั้นเรียกว่า 'โบกขรพรรษ'  มีสีแดง  ผู้ใดปรารถนาหรือประสงค์ให้เปียก  ย่อมเปียก  ไม่ปรารถนา
ให้เปียก  ก็ไม่เปียก  โดยเม็ดฝนจะกลิ้งหล่นจากกายเหมือนหยาดน้ำกลิ้งจากใบบัว"

 
 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 03, 2012, 07:14:04 PM โดย nujai » บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #65 เมื่อ: มกราคม 06, 2012, 01:09:00 PM »

สมุดภาพพระพุทธประวัติ

ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร

ภาพที่ ๔๘

เสด็จทรงบาตรในเมือง พระนางพิมพายโสธราเห็น

จึงชี้ให้พระราหุลดู ตรัสว่า "นั่นคือบิดาของเจ้า
"





   
                            เมื่อฝนโบกขรพรรษตกลงมาเป็นห่าใหญ่  พระสงฆ์สาวกที่ตามเสด็จพระพุทธเจ้าครั้งนี้  เห็น
เป็นที่อัศจรรย์  จึงสนทนากันด้วยพิศวงว่า  ฝนเช่นนี้ไม่เคยเห็นมาก่อน  พระพุทธเจ้าจึงตรัสบอกพระสงฆ์ว่า  
ฝนโบกขรพรรษตกในสมัยที่พระองค์ทรงเป็นพระพุทธเจ้านั้นไม่น่าอัศจรรย์เลย    แต่ที่น่าอัศจรรย์คือ    ฝน
โบกขรพรรษตกในสมัยที่พระองค์พระชาติเป็นพระเวสสันดร

   พระสงฆ์ทั้งปวงใคร่สดับเรื่องราวของเวสสันดร  จึงทูลอาราธนาพระพุทธเจ้า  พระพุทธเจ้า
จึงตรัสเรื่องเวสสันดรชาดก    ตั้งแต่ต้นจนถึงตอนพระเวสสันดรเสด็จนิวัติกลับเข้าเมือง   และเกิดฝนโบกขร
พรรษตกลงมาเป็นห่าใหญ่เหมือนคราวนี้     เรื่องเวสสันดรชาดกที่คนไทยผู้นับถือพระพุทธศาสนาอาราธนา
สงฆ์เทศน์ให้ฟังที่เรียกว่า   'เทศน์มหาชาติ'  ทุกวันนี้  เกิดขึ้นจากพระพุทธเจ้า   ตรัสเทศนาครั้งนี้  คือ   ใน
คราวเสด็จโปรดพระประยูรญาติเป็นครั้งแรกนี้เอง

   ฝ่ายประยูรญาติทั้งปวง   รวมทั้งพระเจ้าสุทโธทนะพุทธบิดาด้วย   ต่างถวายบังคมพระพุทธ
เจ้า  แล้วทูลลาเสด็จกลับเข้าเมือง  แต่จะได้มีผู้หนึ่งผู้ใดทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าไปทรงรับอาหารบิณฑบาต
ที่นิเวศน์ของตนก็หาไม่

   รุ่งเช้า พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระสงฆ์บริวารทั้งหมด จึงเสด็จเข้าไปบิณฑบาตในเมือง  ชาว
เมืองแตกตื่นกันโกลาหล    ด้วยไม่เคยคิดว่าพระพุทธเจ้าซึ่งกษัตริย์โดยพระชาติกำเนิด   จะเสด็จภิกขา  แปล
ความหมายให้เป็นภาษาสามัญที่สุภาพหน่อยก็ว่า  เที่ยวขอเขากิน

   ปฐมสมโพธิรายงานเหตุการณ์ตอนนี้ไว้ว่า "ในขณะนั้นบรรดามหาชนชาวเมืองแจ้งว่า  พระผู้
เป็นเจ้าชายสิทธัตถะราชกุมารเที่ยวภิกขาจารบิณฑิบาต    ดังนั้น   ก็ชวนกันเปิดแกลแห่งเรือนทั้งหลายต่างๆ  
อันมีพื้น  ๒  ชั้น แล  ๓  ชั้น เป็นต้น  แต่ล้วนขวนขวายในกิจที่จะเล็งแลดูพระสัพพัญญู   อันเสด็จเที่ยวบิณฑ
บาตทั้งสิ้น"

   แม้พระนางพิมพายโสธราผู้เคยเป็นพระชายาของเจ้าชายสิทธัตถะหรือพระพุทธเจ้า     ซึ่งมี
พระทัยไม่เคยสร่างพระโสกีตลอดมา    ได้ยินเสียงชาวเมืองอื้ออึงถึงเรื่องพระพุทธเจ้าเสด็จเข้าเมืองมาตาม
ถนน   ก็จูงพระหัตถ์ราหุลผู้โอรส    ซึ่งขณะนั้นมีพระชนมายุได้  ๗  ปี  เสด็จไปยังช่องพระแกล    ครั้นเห็น
พระพุทธเจ้าเสด็จนำหน้าพระสงฆ์มา  พระนางก็ทรงชี้ให้ราหุลดู  และตรัสบอกโอรสว่า  "นั่นคือพระบิดา
ของเจ้า"
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 03, 2012, 07:14:23 PM โดย nujai » บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #66 เมื่อ: มกราคม 06, 2012, 01:16:10 PM »

สมุดภาพพระพุทธประวัติ

ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร

ภาพที่ ๔๙

พระพุทธบิดาทราบข่าวก็เสด็จมาตัดพ้อ ทูลขอให้เสด็จไปประทับเสวยในวัง



   

ที่พระเจ้าสุทโธทนะพุทธบิดาเสด็จไปรับเสด็จและเฝ้าพระพุทธเจ้าที่นิโครธาราม  พร้อมด้วย
พระประยูรญาติ   แล้วไม่ได้ทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าเสด็จไปรับภัตตาหารบิณฑบาตในพระราชนิเวศน์ของ
พระองค์นั้น  ก็ด้วยเข้าพระทัยว่าพระพุทธเจ้าคงไม่เสด็จไปที่อื่นนอกจากพระราชนิเวศน์ของพระองค์

   แต่ครั้นทรงทราบจากที่พระนางพิมพาไปทูลว่า พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระสงฆ์สาวกจำนวน
มากมิได้เสด็จตรงไปยังพระราชนิเวศน์  แต่กลับเสด็จบิณฑบาตไปตามถนนหนทางในเมือง ก็ทรงเสียพระทัย
เป็นอันมาก

   ปฐมสมโพธิว่า   "พระหัตถ์ทรงผ้าสาฎกสะพักพระองค์   เสด็จลงจากพระราชนิเวศน์  บทจร
โดยด่วนไปหยุดยืนอยู่ในที่เฉพาะพระพักตร์พระศาสดาแล้วกราบทูลว่า..."

   "เหตุไฉนพระลูกเจ้าจึงมาเสด็จเที่ยวบิณฑบาตให้เป็นที่อัปยศ  ผิดธรรมเนียมของกษัตริย์ขัตติ
ยวงศ์ของเรา  ทำไมจึงไม่เสด็จไปเสวยที่พระราชนิเวศน์"

   พระพุทธเจ้าตรัสบอกพุทธบิดรว่า  ธรรมเนียมการเสด็จภิกขาจารเพื่อบิณฑบาตนี้  มิใช่ธรรม
เนียมของขัตติยวงศ์ก็จริง    แต่เป็นธรรมเนียมของพุทธวงศ์  (วงศ์ของพระพุทธเจ้า)   พระพุทธเจ้าตรัสว่า 
ธรรมเนียมของผู้สละบ้านเรือนออกบวชเป็นพระพุทธเจ้าและของพระสงฆ์สาวกนั้น      ต้องเที่ยวบิณฑบาต
เลี้ยงชีพ  การบิณฑบาตนั้น  เป็นอาชีพอันสุจริตของนักบวชในพุทธวงศ์

   พระพุทธเจ้าตรัสบอกพระเจ้าสุทโธทนะว่า   พระองค์ทรงขาดจากขัตติยวงศ์แล้ว   ขาดเมื่อ
ตอนเสด็จออกบวชก็หาไม่   ขาดเมื่อคราวบำเพ็ญเพียรใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ก็หาไม่    แต่ขาดเมื่อคราวได้
สำเร็จ  คือ  ภายหลังตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว  ตั้งแต่นั้นมาพระองค์ได้ชื่อว่าทรงตั้งอยู่ในพุทธวงศ์

   พระพุทธเจ้าประทับยืนตรัสพระธรรมเทศนาแก่พระเจ้าสุทโธทนะ  พอจบพระธรรมเทศนา 
พระเจ้าสุทโธทนะได้ทรงบรรลุโสดาปัตติผลในขณะที่ยืนอยู่นั่งเอง  ครั้นแล้วพระเจ้าสุทโธทนะจึงทรงรับ
บาตร  แล้วอาราธนาพระพุทธเจ้าพร้อมทั้งหมู่อริยสงฆ์บรรษัทไปยังพระราชนิเวศน์เพื่อทรงรับภัตตาหาร
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 02, 2012, 08:07:20 PM โดย nujai » บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #67 เมื่อ: มกราคม 06, 2012, 01:25:26 PM »

สมุดภาพพระพุทธประวัติ

ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร

ภาพที่ ๕๐

พระพิมพาพิลาปรำพันถึงพระพุทธองค์ เสด็จพุทธดำเนินไปโปรดถึงในปราสาท

 



   ภาพที่เห็นอยู่นั้น  เป็นตอนที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดพระนางพิมพายโสธรา  ผู้เคยเป็นพระ
ชายา  เมื่อสมัยพระพุทธเจ้ายังทรงเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ  คือเมื่อยังไม่ได้เสด็จออกบวช

   วันที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดพระนางพิมพานี้    เป็นวันเดียวกับที่เสด็จไปทรงภัตตาหารใน
พระราชนิเวศน์ของพระเจ้าสุทโธทนะพุทธบิดา  ดังได้บรรยายไว้แล้ว  สถานที่เสด็จไปโปรดพระนางพิมพา 
คือ  ปราสาทที่ประทับของพระนางนั่งเอง  ผู้ที่ตามเสด็จพระพุทธเจ้ามาในการนี้   มีพระสารีบุตร  พระโมค
คัลลานะ  ผู้สองอัครสาวก  และพระเจ้าสุทโธทนะ

   พระนางพิมพาทรงเศร้าโศกเสียพระทัย        ตั้งแต่สมัยพระพุทธเจ้าเสด็จออกบวชเป็นต้นมา 
ด้วยเข้าพระทัยว่า พระนางถูกพระพุทธเจ้าทรงทอดทิ้ง  ยิ่งเมื่อทราบว่าพระพุทธเจ้าเสด็จมาเมืองกบิลพัสดุ์
ครั้งนี้  ความเสียพระทัยยิ่งมีมากขึ้น ขนาดพระเจ้าสุทโธทนะรับสั่งให้มาเฝ้าพระพุทธเจ้า  พระนางยังเสด็จ
มาไม่ได้   แม้พระพุทธเจ้าจะเสด็จมาถึงปราสาทที่ประทับของพระนางแล้ว    พระนางยังเสด็จดำเนินมาเอง
ไม่ได้  พระนางก็ล้มฟุบลง  กลิ้งเกลือกพระเศียรลงเหนือพระบาทพระพุทธเจ้า  แล้วพิลาปรำพันกันแสงแทบ
สิ้นสมปฤดี

   พระเจ้าสุทโธทนะทูลพระพุทธเจ้าถึงความดีของพระนางพิมพาว่า  เป็นสตรีที่จงรักภักดีต่อ
พระพุทธเจ้า  ไม่เคยแปรพระทัยเป็นอื่นเลยตลอดเวลาที่พระพุทธเจ้าเสด็จจากไป   พระพุทธเจ้าตรัสสนอง
พระดำรัสของพุทธบิดาว่า  พระนางพิมพาจะได้ทรงซื่อสัตย์จงรักภักดีต่อพระองค์แต่เฉพาะในชาตินี้ก็หา
ไม่  แม้ในอดีตชาติหนหลังอีกหลายชาติ  พระนางก็เป็นคู่ทุกข์คู่ยากผู้ซื่อสัตย์ของพระองค์ตลอดมา     แล้ว
พระพุทธเจ้าตรัสชาดกอีกเป็นอันมากให้พระพุทธบิดา  และพระนางพิมพาฟัง

   พระนางฟังแล้ว  ทรงสร่างโศกและคลายความเสียพระทัย  ทรงเกิดปีติโสมนัสในพระธรรม
เทศนาของพระพุทธเจ้าเป็นอย่างยิ่ง  เมื่อพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมจบลง   พระนางพิมพายโสธรา  ก็ได้
ทรงบรรลุพระโสดาบัน  หรือโสดาปัตติผล

 
 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 02, 2012, 08:08:06 PM โดย nujai » บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #68 เมื่อ: มกราคม 06, 2012, 01:26:20 PM »

สมุดภาพพระพุทธประวัติ

ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร
 
ภาพที่ ๕๑

พระนันทะรับบาตรส่งเสด็จ นางคู่วิวาห์ร้องสั่งให้รีบกลับ พอถึงวัดกลับชวนให้ผนวช






   ในวันที่  ๕  นับแต่วันที่พระพุทธเจ้าเสด็จมาถึงเมืองกบิลพัสดุ์เป็นครั้งแรก  มีพิธีวิวาหมงคล
ระหว่างเจ้าชายศากยะที่ชื่อว่า  'นันทะ'  กับเจ้าหญิงที่มีชื่อว่า  'ชนบทกัลยาณี'

   นันทะเป็นพระอนุชาหรือน้องชายของพระพุทธเจ้า    แต่เป็นพระอนุชาต่างมารดา   กล่าวคือ
ภายหลังพระมารดาของพระพุทธเจ้า  คือ  พระนางสิริมหามายาสิ้นพระชนม์   แต่เมื่อพระพุทธเจ้าประสูติ
ได้ไม่กี่วันแล้ว   พระเจ้าสุทโธทนะทรงได้พระนางปชาบดีโคตมี   ผู้เป็นน้องสาวของพระนางสิริมหามายา
เป็นชายา

   เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จออกบวชแล้ว  รัชทายาทของพระเจ้าสุทโธทนะจึงตกอยู่แก่นันทะ  พระ
เจ้าสุทโธทนะทรงหมายพระทัยว่า  เมื่อนันทะอภิเษกสมรสแล้ว  จะได้ครองราชย์สืบต่อจากพระองค์

   ในงานวิวาหมงคลนั้น  พระพุทธเจ้าจึงได้เสด็จมาตามคำทูลอาราธนาของพระพุทธบิดา  เมื่อ
ทรงฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว  พระพุทธเจ้าได้เสด็จกลับ  ได้ทรงมอบบาตรของพระองค์ให้เจ้าชายนันทะทรง
ถือตามส่งเสด็จ   นันทะทรงดำริว่า    เมื่อถึงประตูพระราชนิเวศน์   พระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นพระเชษฐาคงจะ
ทรงหันมารับบาตรคืนไปจากตน   แต่ครั้นไปถึงที่นั่น   พระพุทธเจ้ามิได้ทรงทำอย่างนั้นเลย   ครั้นนันทะจะ
มอบบาตรถวายพระพุทธเจ้าก็ไม่กล้า   ด้วยเกรงพระทัยผู้ทรงเป็นพระเชษฐา  จนไปถึงพระอารามที่ประทับ 
พระพุทธเจ้าจึงหันมาตรัสกับพระอนุชาว่า  "บวชไหม"

   นันทะจะปฏิเสธก็เกรงใจพี่ชาย   นี่ว่าตามภาษาสามัญ  จึงทูลตอบพระพุทธเจ้าว่า  "บวชพระ
เจ้าข้า"

   นันทะไม่ได้ยอมบวชด้วยน้ำใสใจจริง  เพราะกำลังจะแต่งงาน   ทั้งตอนที่จะออกจากพระราช
นิเวศน์นำบาตรมาส่งพระพุทธเจ้า  นางชนบทกัลยาณีผู้เป็นเจ้าหญิงคู่อภิเษกสมรส  ยังร้องเรียกสั่งตามมาว่า 
"เจ้าพี่ไปแล้วให้รีบเสด็จกลับ"  แต่ที่ตอบเช่นนั้น  ก็เพราะความเกรงใจพระพุทธเจ้าดังกล่าวแล้ว

 
 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 02, 2012, 08:09:02 PM โดย nujai » บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #69 เมื่อ: มกราคม 06, 2012, 01:27:24 PM »

สมุดภาพพระพุทธประวัติ

ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร
 
ภาพที่ ๕๒

พระราหุลแสดงความรักซาบซึ้งในพระพุทธองค์ผู้เป็นบิดา จนลืมทูลขอราชสมบัติ

 





   ในวันที่  ๗    นับตั้งแต่วันที่พระพุทธเจ้าได้เสด็จถึงกรุงกบิลพัสดุ์    ซึ่งเป็นเวลาภายหลังที่เจ้า
ชายนันทะ   ผู้เป็นพระอนุชาของพระพุทธเจ้าได้บวชแล้ว    พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระสงฆ์บริวารได้เสด็จ
เข้าไปบิณฑบาต  ในพระราชนิเวศน์ของพระเจ้าสุทโธทนะอีก

   เจ้าชายนันทะเป็นรัชทายาทที่สองรองจากพระพุทธเจ้า      ที่จะครองราชย์สืบต่อจากพระเจ้า
สุทโธทนะ  แต่เมื่อนันทะออกบวช  หรือที่จริงถูกพระเชษฐา  คือพระพุทธเจ้าทรงจับให้บวชเสียแล้ว  รัชทา
ยาท  จึงตกอยู่แก่ราหุลกุมารผู้เป็นพระโอรสของเจ้าชายสิทธัตถะ  หรือพระพุทธเจ้าในเวลาต่อมา

   พระนางพิมพายโสธรา  พระมารดาของราหุล  ทรงเห็นเป็นโอกาสดี  เมื่อทรงทราบว่า  พระ
พุทธเจ้าเสด็จเข้ามารับบิณฑบาต  จึงแต่งองค์ให้ราหุลผู้โอรสงดงามด้วยเครื่องประดับของขัตติยกุมารแล้ว
ชี้บอกราหุลว่า  "พระสมณะผู้ทรงสง่า  มีผิวพรรณเหลืองดังทอง  มีพระสุรเสียงไพเราะดุจเสียงพรหม  ที่
พระสงฆ์สองหมื่นรูปแวดล้อมตามเสด็จ  นั่นแหละคือพระบิดาของเจ้า"

   พระนางพิมพาตรัสบอกพระโอรสให้ไปทูลขอรัชทายาท  และทรัพย์สินที่เป็นสมบัติของพระ
บิดาทั้งหมด    ซึ่งยังมิได้ทรงโอนกรรมสิทธิ์ให้ใครเลย    พระนางบอกผู้โอรสว่า    ธรรมดาย่อมมีสิทธิที่จะ
ครองกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ของผู้เป็นบิดา

   ในเวลาที่กล่าวนี้   ปฐมสมโพธิบอกว่าราหุลกุมารมีพระชนมายุได้  ๗  ปี  นับตั้งแต่ประสูติมา
ไม่เคยเห็นองค์ผู้ทรงเป็นพระบิดา     เพิ่งได้เห็นเป็นครั้งแรกก็เมื่อคราวพระพุทธเจ้าเสด็จยังกรุงกบิลพัสดุ์นี่
เอง   เมื่อได้เห็นและได้เข้าเฝ้าโดยใกล้ชิด   ราหุลจึงเกิดความรักในพระพุทธเจ้ายิ่งนัก   เป็นความรักอย่างลูก
จะพึงมีต่อพ่อ   ราหุลกราบทูลพระพุทธเจ้าประโยคหนึ่ง   ซึ่งถ้าจะถอดความให้เข้ากับสำนวนไทยก็ว่า  "อยู่
ใกล้พ่อนี่มีความสุขเหลือเกิน"   แล้วกราบทูลขอรัชทายาท   และกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สมบัติของพระราชบิดา 
ตามที่พระมารดาทรงแนะนำ

   พระพุทธเจ้าไม่ตรัสว่ากระไร  ทรงฉันอาหารบิณฑบาตเสร็จแล้ว   ทรงอนุโมทนา   แล้วเสด็จ
กลับไปที่นิโครธารามพร้อมด้วยพระสงฆ์  โดยมีราหุลตามเสด็จเพื่อทูลขอสิ่งที่ทรงประสงค์ดังกล่าวไปด้วย

 
 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 02, 2012, 08:09:51 PM โดย nujai » บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #70 เมื่อ: มกราคม 06, 2012, 01:28:35 PM »

สมุดภาพพระพุทธประวัติ

ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร

ภาพที่ ๕๓

ทรงมอบสมบัติพระนิพพานแก่พระราหุล โดยให้บรรพชาเป็นสามเณรองค์แรก





   เมื่อราหุลติดตามพระพุทธเจ้าไปถึงนิโครธาราม  เพื่อทูลขอรัชทายาทและกรรมสิทธิ์ในทรัพย์
สมบัติของพระพุทธเจ้า  พระพุทธเจ้าทรงพิจารณาเห็นว่าสิ่งที่ราหุลขอนั้นเป็นสมบัติทางโลกไม่ยั่งยืน   เต็ม
ไปด้วยความทุกข์ในการปกปักรักษา  ไม่เหมือนอริยทรัพย์ คือ  ธรรมะที่พระองค์ได้ตรัสรู้มา  ทรงพระพุทธ
ดำริว่า  "จำเราจะให้ทายาทแห่งโลกุตตระแก่ราหุล"

   พระพุทธเจ้าตรัสเรียกพระสารีบุตรมา  แล้วรับสั่งให้พระสารีบุตรเป็นอุปัชฌาย์ทำหน้าที่บวช
สามเณรให้ราหุล  ราหุลจึงเป็นสามเณรองค์แรกในทางพระพุทธศาสนา  เมื่ออายุครบบวช ต่อมาได้บวชเป็น
พระภิกษุและได้สำเร็จอรหันต์

   เมื่อคราวนันทะซึ่งกำลังจะเข้าพิธีวิวาหมงคล   แต่ยังไม่ทันเข้าพิธี   เพราะถูกพระพุทธเจ้าจับ
บวชเสียก่อนนั้น  พระเจ้าสุทโธทนะพุทธบิดา  ทรงทราบข่าวแล้วเสียพระทัยมาก  แต่ไม่สู้กระไรนัก   เพราะ
ยังทรงเห็นว่าราหุลกุมารรัชทายาทองค์ต่อไปยังมีอยู่    แต่ครั้นทรงทราบว่าราหุลกุมารได้บวชเป็นสามเณร
เสียแล้ว  พระเจ้าสุทโธทนะทรงเสียพระทัยมากยิ่งกว่าเมื่อคราวพระพุทธเจ้าเสด็จออกบวช    และเมื่อนันทะ
บวช

   พระเจ้าสุทโธทนะไม่อาจทรงระงับความทุกข์โทมนัสครั้งนี้ได้  จึงเสด็จไปเฝ้าพระพุทธเจ้าที่
นิโครธาราม  แล้วทูลขอร้องพระพุทธเจ้าว่า   ถ้าพระคุณเจ้ารูปใดจะบวชลูกหลานชาวบ้าน   ก็ได้โปรดให้พ่อ
แม่เขาได้อนุญาตให้ก่อน   เพราะถ้าไม่อย่างนั้นจะทำความเดือดร้อนให้แก่ผู้เป็นพ่อแม่มาก   ดุจที่พระองค์ได้
รับ  เมื่อราหุลบวชในคราวนี้

   พระพุทธเจ้าทรงรับตามที่พระเจ้าสุทโธทนะทรงขอร้อง  จึงทรงบัญญัติพระวินัยไว้เป็นธรรม
เนียมสืบมาจนทุกวันนี้ว่า  ถ้าใครจะบวช  ไม่ว่าบวชเป็นพระ หรือบวชเป็นสามเณร  ต้องได้รับอนุญาตจากพ่อ
แม่ผู้ปกครอง  ตลอจนญาติผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือทุกวันนี้จึงเกิดจากกรณีดังกล่าวนี้

 
 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 02, 2012, 08:10:37 PM โดย nujai » บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #71 เมื่อ: มกราคม 06, 2012, 01:29:48 PM »

สมุดภาพพระพุทธประวัติ

ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร

ภาพที่ ๕๔

ทรงพานันทะไปชมนางฟ้า พระนันทะใคร่จะได้เป็นชายา ทรงรับรองจะให้สมหวัง





   หลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จโปรดพุทธบิดา  และพระประยูรญาติที่กรุงกบิลพัสดุ์เป็นเวลาประ
มาณหนึ่งสัปดาห์แล้ว  ได้เสด็จกรุงราชคฤห์แห่งแคว้นมคธ   พร้อมด้วยพระสงฆ์บริวารที่ตามเสด็จในการ
นี้  พระภิกษุนันทะ  พระอนุชาผู้ถูกจับให้บวช  และราหุลสามเณรก็ได้ติดตามเสด็จไปด้วย

   ต่อมา พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระสงฆ์จำนวนมากได้เสด็จไปยังกรุงสาวัตถี  แห่งแคว้นโกศล 
ซึ่งเป็นเมืองและแคว้นใหญ่พอๆ   กับกรุงราชคฤห์แห่งแคว้นมคธ  พระนันทะก็ได้ติดตามเสด็จไปด้วย

   แต่ตลอดเวลานับตั้งแต่บวชแล้วเป็นต้นมา  พระนันทะไม่เป็นอันปฏิบัติกิจของสมณะ  ใจให้รุ่ม
ร้อนคิดจะลาสึกอยู่ท่าเดียว เพราะความคิดถึงนางชนบทกัลยาณี เจ้าสาวคู่หมั้นซึ่งกำลังจะเข้าพิธีวิวาห์กับตน

   ความเรื่องนี้ทราบถึงพระพุทธเจ้า    ครั้งนั้น   พระผู้มีพระภาคทรงจับท่านพระนันทะที่แขน
แล้วทรงหายจากพระวิหารเชตวัน ไปปรากฏในเหล่าเทวดาชั้นดาวดึงส์  เหมือนบุรุษมีกำลัง  พึงเหยียดแขน
ที่คู้ หรือพึงคู้แขนที่เหยียดฉะนั้น ฯ

   ก็สมัยนั้นแล นางอัปสรประมาณ  ๕๐๐  มีเท้าดุจนกพิราบ มาสู่ที่บำรุงของท้าวสักกะจอมเทพ
ครั้งนั้นแล   พระผู้มีพระภาคตรัสกะท่านพระนันทะว่า  ดูกรนันทะ  เธอเห็นนางอัปสร  ๕๐๐  เหล่านี้ผู้มีเท้า
ดุจนกพิราบหรือไม่  ท่านพระนันทะทูลรับว่า  เห็น  พระเจ้าข้า ฯ

   พ. ดูกรนันทะ  เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน  นางสากิยานีผู้ชนบทกัลยานี  หรือนางอัปสร
ประมาณ ๕๐๐ เหล่านี้ ซึ่งมีเท้าดุจนกพิราบไหนหนอแลมีรูปงามกว่า น่าดูกว่า หรือน่าเลื่อมใสกว่า ฯ

   น. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ   นางลิงผู้มีอวัยวะใหญ่น้อยถูกไฟไหม้  หูและจมูกขาด  ฉันใด   นาง
สากิยานีผู้ชนบทกัลยานี  ก็ฉันนั้นแล  เมื่อเทียบกับนางอัปสรประมาณ  ๕๐๐  เหล่านี้  ย่อมไม่เข้าถึงเพียงหนึ่ง
เสี้ยว   ไม่เข้าถึงเพียงส่วนหนึ่งของเสี้ยว  ไม่เข้าถึงเพียงการเอาเข้าไปเปรียบว่าหญิงนี้เป็นเช่นนั้น    ที่แท้นาง
อัปสรประมาณ  ๕๐๐  เหล่านี้มีรูปงามกว่า  น่าดูกว่า  และน่าเลื่อมใสกว่า  พระเจ้าข้า ฯ

   พ. ยินดีเถิดนันทะ  อภิรมย์เถิดนันทะ  เราเป็นผู้รับรองเธอเพื่อให้ได้  นางอัปสรประมาณ ๕๐๐
ซึ่งมีเท้าดุจนกพิราบ ฯ

   น. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  ถ้าพระผู้มีพระภาคทรงรับรองข้าพระองค์เพื่อ  ให้ได้นางอัปสรประ
มาณ  ๕๐๐ ซึ่งมีเท้าดุจนกพิราบไซร้  ข้าพระองค์จักยินดี  ประพฤติพรหมจรรย์  พระเจ้าข้า ฯ

   ลำดับนั้นแล   พระผู้มีพระภาคทรงจับท่านพระนันทะที่แขน    แล้วทรงหายจากเทวดาชั้นดาว
ดึงส์ไปปรากฏที่พระวิหารเชตวัน  เหมือนบุรุษมีกำลังพึงเหยียด  แขนที่คู้  หรือคู้แขนที่เหยียด   ฉะนั้น  ภิกษุ
ทั้งหลายได้สดับข่าวว่า    ท่านพระนันทะพระภาดาของพระผู้มีพระภาค   โอรสของพระมาตุจฉา  ประพฤติ
พรหมจรรย์เพราะเหตุแห่งนางอัปสร  ได้ยินว่า  พระผู้มีพระภาคเป็นผู้รับรองท่าน   เพื่อให้ได้นางอัปสรประ
มาณ  ๕๐๐  ซึ่งมีเท้าดุจนกพิราบ ฯ

   ครั้งนั้นแล    ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นสหายของท่านพระนันทะ   ย่อมร้องเรียกท่านพระนันทะด้วย
วาทะว่าเป็นลูกจ้าง  และด้วยวาทะว่าผู้อันพระผู้มีพระภาคทรงไถ่มาว่า   ได้ยินว่า  ท่านพระนันทะเป็นลูกจ้าง
ได้ยินว่า   ท่านพระนันทะเป็นผู้ที่พระผู้มีพระภาคทรงไถ่มา   ท่านประพฤติพรหมจรรย์เพราะเหตุนางอัปสร
ได้ยินว่า  พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้รับรองท่าน เพื่อให้ได้นางอัปสร  ๕๐๐ ซึ่งมีเท้าดุจนกพิราบ ฯ

   ครั้งนั้นแล  ท่านพระนันทะอึดอัดระอาเกลียดชังด้วยวาทะว่า  เป็นลูกจ้าง และด้วยวาทะว่าเป็น
ผู้อันพระผู้มีพระภาคทรงไถ่มาของพวกภิกษุผู้เป็นสหาย   จึงหลีกออกจากหมู่อยู่ผู้เดียว  ไม่ประมาท  มีความ
เพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่ไม่นานนักก็กระทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม  ที่กุลบุตรทั้งหลายออก
บวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการนั้น   ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน   เข้าถึงอยู่   รู้ชัดว่า   ชาติสิ้น
แล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว  กิจที่ควรทำทำสำเร็จแล้ว  กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี  ก็ท่านพระนันทะได้
เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง  ในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย ฯ

   ครั้งนั้นแล   เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้ว  เทวดาตนหนึ่งมีวรรณะ  งามยิ่งนัก  ยังพระวิหารเชตวัน
ทั้งสิ้นให้สว่างไสว    เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ   ถวายบังคมแล้ว   ได้ยืนอยู่  ณ  ที่ควรส่วนข้าง
หนึ่ง   ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า  ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  ท่านพระนันทะพระภาดาของพระผู้มี
พระภาค โอรสของพระมาตุจฉาทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ  ปัญญาวิมุติ  อันหาอาสวะมิได้เพราะอาสวะทั้งหลาย
สิ้นไป  ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่   แม้ญาณก็ได้เกิดขึ้นแก่พระผู้มีพระภาคว่า  พระนันทะทำให้
แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ  อันหาอาสวะมิได้  เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน
เข้าถึงอยู่ ฯ

   ครั้นพอล่วงราตรีนั้นไป    ท่านพระนันทะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ   ถวายบังคม
แล้ว  นั่งอยู่  ณ  ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง  ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า  ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  พระผู้มี
พระภาคทรงรับรองข้าพระองค์    เพื่อให้ได้นางอัปสร  ๕๐๐  ผู้มีเท้าดุจนกพิราบ  ข้าพระองค์ขอปลดเปลื้อง
พระผู้มีพระภาคจากการรับรองนั้น    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า  ดูกรนันทะ  แม้เราก็กำหนดรู้ใจของเธอด้วยใจ
ของเราว่า    นันทะทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ   ปัญญาวิมุติ   อันหาอาสวะมิได้  เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไปด้วย
ปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่  แม้เทวดาก็ได้บอกเนื้อความนี้แก่เราว่า  ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  ท่าน พระ
นันทะพระภาดาของพระผู้มีพระภาคโอรสของพระมาตุจฉา ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ  ปัญญาวิมุติ  อันหาอาส
วะมิได้  เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป  ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน  เข้าถึงอยู่    ดูกรนันทะ   เมื่อใดแล  จิต
ของเธอหลุดพ้นแล้ว  จากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่น  เมื่อนั้น  เราพ้นแล้วจากการรับรองนี้ ฯ

   ลำดับนั้นแล  พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว  ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า
            ภิกษุใดข้ามเปือกตมคือกามได้แล้ว  ย่ำยีหนาม  คือกามได้แล้ว  ภิกษุนั้นบรรลุถึงความสิ้นโมหะ 
ย่อมไม่หวั่นไหวในเพราะสุขและทุกข์ ฯ

 
 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 02, 2012, 08:11:38 PM โดย nujai » บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #72 เมื่อ: มกราคม 06, 2012, 01:30:47 PM »

สมุดภาพพระพุทธประวัติ

ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร

ภาพที่ ๕๕

พระเทวทัตสำแดงฤทธิ์ให้อชาตศัตรูราชกุมารเลื่อมใส เพื่อให้รับเป็นโยมอุปัฏฐาก





   การเสด็จกรุงกบิลพัสดุ์ของพรพุทธเจ้าครั้งแรก   ดังได้บรรยายมาแล้วนั้น  เป็นเหตุให้เจ้าชาย
ศากยะเสด็จออกบวชกันมาก  ในจำนวนนั้น  ที่มีชื่อเสียงและมีคนรู้จักกันดีจนถึงทุกวันนี้คือ  เจ้าอานนท์  หรือ
พระอานนท์ในเวลาต่อมา  นายภูษามาลาชื่ออุบาลี  หีอพระอุบาลี  และเจ้าชายเทวทัต

   เทวทัตเป็นพระเชษฐาหรือพี่ชายของพระนางพิมพายโสธรา    ทุกคนที่ออกบวชพร้อมกันกับ
เทวทัต  ต่างได้บรรลุมรรคผลในเวลาต่อมาทั้งนั้น  แต่เทวทัตได้สำเร็จเพียงฌานชั้นโลกีย์   ฌานชั้นนี้ทำให้
ผู้ได้สำเร็จแสดงฤทธิ์ได้เหาะก็ได้

   ครั้งหนึ่ง    พระพุทธเจ้ากับพระสงฆ์จำนวนมากรวมทั้งพระเทวทัต    เสด็จไปถึงกรุงโกสัมพี 
ชาวเมืองได้พากันออกมารับเสด็จ  และนำของมาถวายเป็นอันมาก   ถวายของแด่พระพุทธเจ้าแล้วก็ถวายสงฆ์ 
แต่ละคนเที่ยวถามไถ่กันว่า "พระสารีบุตรของข้าพเจ้าอยู่ที่ไหน  พระโมคคัลลานะของข้าพเจ้าอยู่ไหน" ฯลฯ 
เมื่อทราบแล้วก็นำของไปถวาย แต่ไม่มีใครเลยสักคนที่จะเอ่ยชื่อของพระเทวทัตว่า "พระเทวทัตของข้าพเจ้า
อยู่ที่ไหน"

   นั่นคือความไม่พอใจของพระเทวทัตที่เป็นสาเหตุให้พระเทวทัตก่อกรรม   หรือกระทำการรุน
แรง  ในเวลาต่อมา

   พระเทวทัตเข้าฌานโลกีย์   เนรมิตเป็นกุมารหนุ่มน้อยใช้งูมีพิษร้าย ๗  ตัว พันเป็นสังวาลตาม
ตัว  ตัวหนึ่งพันหัวต่างผ้าโพก อีกสี่ตัวพันข้อมือข้อเท้า อีกตัวหนึ่งพันคอ และอีกตัวหนึ่งทำเป็นสังวาลเฉวียง
บ่า   เหาะเข้าไปในวัง  ลงนั่งบนพระเพลาของอชาตศัตรูผู้เป็นมกุฎราชกุมาร  และพระราชโอรสของพระเจ้า
พิมพิสาร  ราชาแห่งแคว้นมคธ  เทวทัตแนะนำให้อชาตศัตรูปลงพระชนม์พระราชบิดา   แล้วเสด็จขึ้นครอง
ราชย์เสีย   ส่วนตัวเองจะปลงพระชนม์พระพุทธเจ้า   แล้วจะตั้งตัวเป็นพระพุทธเจ้าองค์ใหม่ประกาศศาสนา
ใหม่

   เวลาไปเฝ้าเจ้าชายอชาตศัตรู   พระเทวทัตเหาะไป   แต่ขากลับพระเทวทัตเหาะไม่ไหว  ต้อง
เดินกลับ  เพราะใจอกุศลเกิดขึ้น  ฌานโลกีย์เลยเสื่อมตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา

 
 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 02, 2012, 08:12:30 PM โดย nujai » บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #73 เมื่อ: มกราคม 06, 2012, 01:31:53 PM »

สมุดภาพพระพุทธประวัติ

ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร

ภาพที่ ๕๖

นายขมังธนูซึ่งพระเทวทัตส่งไปฆ่าพระพุทธองค์ ปลงอาวุธ ฟังธรรม สำเร็จมรรคผล






   บุรุษที่นั่งประนมมือวางคันธนูไว้กับพื้นอยู่เบื้องพระพักตร์ของพระพุทธเจ้า  ดังที่ปรากฎอยู่ใน
ภาพแสดงนั้น   คือนายขมังธนู  (คำหน้าอ่านว่าขะหมัง)  ขมัง  แปลว่า นายพราน  ขมังธนูก็คือนายพรานแม่น
ธนู  อาวุธร้ายแรงที่คนใช้ยิงสังหารกันในสมัยพระพุทธเจ้าคือธนู

   พระเทวทัตแนะนำอชาตศัตรู   มกุฎราชกุมารให้ปลงพระชนม์พระเจ้าพิมพิสารพระราชบิดา
ของพระองค์แล้ว  จึงไปเฝ้าพระพุทธเจ้า  ขณะนั้นพระพุทธเจ้าเสด็จกลับมาประทับอยู่ในกรุงราชคฤห์  พระ
เทวทัตกราบทูลว่าพระพุทธเจ้าทรงพระชราแล้ว  ขอให้ทรงมอบตำแหน่งกิจการบริหารคณะสงฆ์ให้แก่ตน
เสีย    เลยถูกพระพุทธเจ้าทรงทักด้วย เขฬาสิกวาท     เขฬาสิกวาทแปลตามตัวว่า   ผู้กลืนกินก้อนน้ำลายก้อน
เสลดที่บ้วนทิ้งแล้วความหมายเป็นอย่างนี้คือ   นักบวชนั้น    เมื่อออกบวชได้ชื่อว่าเป็นผู้เสียสละแล้วซึ่งทุกสิ่ง
ทุกอย่าง   เช่น  ลูก  เมีย  ทรัพย์  และตำแหน่งฐานันดรต่างๆ    พระเทวทัตก็ชื่อว่าสละสิ่งเหล่านี้เสียแล้วเมื่อ
ตอนออกบวช  แต่เหตุไฉนจึงย้อนกลับมายอมรับซึ่งเท่ากับมาขอกลืนกินสิ่งเหล่านี้อีก

   พระเทวทัตฟังแล้วเสียใจ  ผูกความอาฆาตพระพุทธเจ้ายิ่งขึ้น   จึงวางแผนการกระทำรุนแรง
เพื่อปลงพระชนม์พระพุทธเจ้าหลายแผน เฉพาะด้านการเมืองนั้น  พระเทวทัตได้ทำสำเร็จแล้วคือเกลี้ยกล่อม
อชาตศัตรูราชกุมารให้เลื่อมใสตนได้  แล้วราชกุมารผู้นี้ได้ปลงพระชนม์พระราชบิดา จนในที่สุดได้ขึ้นครอง
ราชย์ในเวลาต่อมา  ที่ยังไม่สำเร็จก็คือการปลงพระชนม์พระพุทธเจ้า

   ขั้นแรกพระเทวทัตได้ว่าจ้างพวกขมังธนูหลายคน  ล้วนแต่มือแม่นในการยิงธนูทั้งนั้น  ไปลอบ
ยิงสังหารพระพุทธเจ้าที่วัดเวฬุวนารามในกรุงราชคฤห์   ทั้งนี้โดยพระเจ้าอชาตศัตรูทรงรู้เห็นด้วย   แต่เมื่อ
พวกนายขมังธนูถืออาวุธมาถึงวัดที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่    ได้เห็นพระพุทธเจ้าแล้ว  เกิดมือไม้อ่อนเปลี้ยไป
หมด   ยิงไม่ลง   เพราะพุทธานุภาพอันน่าเลื่อมใสข่มใจให้สยบยอบลง   จึงต่างวางคันธนูแล้วกราบบาทพระ
พุทธเจ้า

   พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมให้พวกนายขมังธนูฟัง  ฟังจบแล้วนายขมังธนูต่างได้สำเร็จโสดา
หมดทุกคน

 
 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 02, 2012, 08:13:32 PM โดย nujai » บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #74 เมื่อ: มกราคม 06, 2012, 01:32:56 PM »

สมุดภาพพระพุทธประวัติ

ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร
 
ภาพที่ ๕๗

พระเทวทัตได้สำนึกในความผิดของตน ใคร่ทูลขอขมา แต่ถูกธรณีสูบเสียก่อนเข้าเฝ้า






   เมื่อแผนการของพระเทวทัตในการปลงพระชนม์ของพระพุทธเจ้าขั้นแรก   คือ   จ้างนายขมัง
ธนูลอบสังหารได้ล้มเหลวลง  พระเทวทัตจึงลงมือทำเอง  คือ  แอบขึ้นไปบนยอดเขาคิชฌก้ฏ  เพราะพระเทว
ทัตทราบได้แน่นอนว่า     ขณะนั้นพระพุทธเจ้าเสด็จประทับอยู่เชิงเขาเบื้องล่าง    พระเทวทัตจึงกลิ้งก้อนหิน
ใหญ่ลงมา    หมายให้ทับพระพุทธเจ้า   ก้อนหินเกิดกระทบกันแล้วแตกเป็นก้อนเล็กก้อนน้อย   สะเก็ดหินก้อน
หนึ่งกระเด็นปลิวมากระทบพระบาทพระพุทธเจ้า  จนทำให้พระโลหิตห้อขึ้น

   แผนการที่สองล้มเหลวลงอีก ต่อมา พระเทวทัตได้แนะนำให้พระเจ้าอชาตศัตรูสั่งเจ้าพนักงาน
เลี้ยงช้างปล่อยฝูงช้างดุร้ายออกไล่เหยียบพระพุทธเจ้า   ในขณะที่เสด็จบิณฑบาต  แต่ก็ล้มเหลวลงอีก   เพราะ
ฝูงช้างไม่กล้าทำร้ายพระพุทธเจ้า

   ตอนนี้เอง  ความชั่วของพระเทวทัตเป็นข่าวแดงโร่ออกมา  ประชาชนชาวเมืองต่างโจษจันกัน
เซ็งแซ่ว่า  ผู้จ้างนายขมังธนูก็ดี  ผู้กลิ้งก้อนหินกระทบพระบาทพระพุทธเจ้าก็ดี  ผู้ปล่อยกระบวนช้างก็ดี   แม้
ที่สุดพระเจ้าพิมพิสารที่เสด็จสวรรคตก็ดี   เป็นแผนการของพระเทวทัตทั้งสิ้น    แล้วต่างก็วิพากษ์วิจารณ์ว่า
พระราชาของเราคบพระที่ลามกเช่นนี้เองจึงเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น 

   พระเจ้าอชาตศัตรูทรงได้ยินเสียงชาวเมืองตำหนิเช่นนั้น  ทรงเกิดความละอายพระทัย จึงทรง
เลิกไปหาพระเทวทัต    สำรับกับข้าวของหลวงที่เคยพระราชทานให้พระเทวทัต  ก็ทรงสั่งให้เลิกนำไปถวาย 
คนในเมืองนั้นก็ไม่มีใครใส่บาตรให้พระเทวทัตเลย แต่พระเทวทัตก็ยังไม่สิ้นมานะทิฐิ ได้เข้าไปเฝ้าพระพุทธ
เจ้า  ขอให้ทรงปฏิรูปศาสนาพุทธเสียใหม่  เช่น ให้ห้ามพระสงฆ์ฉันเนื้อและปลา  เป็นต้น  แต่ถูกพระพุทธเจ้า
ปฏิเสธ  พระเทวทัตจึงตั้งคณะสงฆ์ขึ้นใหม่  แล้วสถาปนาตนเองขึ้นเป็นพระพุทธเจ้าองค์ที่สอง

   แต่ต่อมา   สาวกพระเทวทัตที่เข้าใจผิด   และเข้าไปเข้าข้างพระเทวทัต   ได้พากันผละหนีกลับ
มาหาพระพุทธเจ้า   เหลืออยู่กับพระเทวทัตไม่กี่รูป  พระเทวทัตเสียใจมาก  กระอักเลือดออกมา  พอรู้ว่าตนจะ
ตายก็สำนึกผิด  เลยให้สาวกที่เหลืออยู่หามตนมาเฝ้าพระพุทธเจ้า  เพื่อขอขมาเป็นครั้งสุดท้ายแต่ไม่ทันเข้าเฝ้า 
เพราะพอมาถึงสระท้ายวัด  พระเทวทัตเกิดอยากอาบน้ำ  พอหย่อนเท้าลงเหยียบพื้นสระโบกขรณี  เลยถูกแผ่น
ดินสูบเสียก่อน


 
 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 02, 2012, 08:14:25 PM โดย nujai » บันทึกการเข้า

finghting!!!
Gold Price today, Gold Trend Price Prediction, ราคาทองคํา, วิเคราะห์ทิศทางทองคํา
   

images by free.in.th
Thanks: ฝากรูป dictionary ---------------------Charts courtesy of Moore Research Center, Inc. For more information on Moore Research products and services click here. --- http://www.mrci.com ---------- ---------------------------------------------รูปกราฟแสดงราคาทองในอดีตปี 1974-1999 ของ Moore Research Center, Inc. แสดงฤดูกาลที่ราคาทองขึ้นสูงสุดและตําสุด เอาแบบคร่าวๆ เส้นนําตาลหรือนําเงินก็ใกล้เคียงกัน เส้นนําตาลเฉลี่ย 15 ปี เส้นนําเงินเฉลี่ย 26 ปี ราคาตําสุดของเส้นนําตาล หรือเฉลี่ย 15 ปี ในเดือน ปลายเดือน เมษ และปลายเดือน สค ต่อต้นเดือน กย[/color] สูงสุดในเดือน กพ กับ พย / ส่วนเฉลี่ย 26 ปี ราคาตําสุด ต้น กค กับ ปลาย สค และราคาสูงสุดในเดือน กพ และ กลางเดือน ตค ----- แค่ดูคร่าวๆ เป็นแนวทาง อย่ายึดมั่นว่าจะต้องเป็นตามนี้ ข้างล่างเป็นกราฟราคานํามัน ตามฤดูกาล จาก Charts courtesy of Moore Research Center, Inc. images by free.in.th
Thanks: ฝากรูป dictionary
 บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7   ขึ้นบน
พิมพ์
กระโดดไป: