Forex-Currency Trading-Swiss based forex related website. Home ----- กระดานสนทนาหน้าแรก ----- Gold Chart,Silver,Copper,Oil Chart ----- gold-trend-price-prediction ----- ติดต่อเรา
หน้า: 1 ... 5 6 [7]   ลงล่าง
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: วิธีสร้างบุญบารมี  (อ่าน 22135 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 7 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ไม่สามารถโหลดไฟล์ภาษา 'Aeva.thai-utf8' ได้
jainu
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #90 เมื่อ: สิงหาคม 02, 2012, 07:43:25 PM »

สมุดภาพพระพุทธประวัติ
ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร
ภาพที่ ๗๓
เสด็จถึงสาลวันกรุงกุสินารา โปรดให้พระอานนท์จัดที่บรรทมระหว่างไม้รังทั้งคู่



พระพุทธเจ้าพร้อมกับพระสงฆ์บริวารเสด็จไปถึงชานเมืองกุสินาราในเวลาจวนค่ำ  เสด็จข้าม
แม่น้ำหิรัญวดี  แล้วเสด็จเข้าไปในอุทยานนอกเมืองนั้น  ที่มีชื่อว่า  'สาลวโนทยาน'

   เมืองต่างๆ  ในสมัยพระพุทธเจ้าส่วนมาก   มีอุทยานเหมือนสวนสาธารณะอย่างทุกวันนี้   สำ
หรับประชาชนในเมืองและชนชั้นปกครองได้อาศัยเป็นที่พักผ่อนกันทั้งนั้น  กรุงราชคฤห์ก็มีอุทยานชื่อ  ลัฏฐิ
วันที่เรียกว่าสวยตาลหนุ่ม   กบิลพัสดุ์เมืองประสูติของพระพุทธเจ้าก็มีลุมพินีวัน   กุสินาราจึงมีสาลวโนยาน
ดังกล่าว

   สาลวโนทยานอยู่นอกเมืองกุสินารา     มีต้นไม้ใหญ่สองต้นเคียงคู่กันอยู่   เรียกว่า   'ต้นสาละ' 
อุทยานแห่งนี้จึงได้นามตามต้นสาละว่าสาลวโนยานดังกล่าว

   เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จไปถึงอุทยานแห่งนี้แล้ว   ตรัสสั่งให้พระอานนท์ตั้งเตียง  หันทางเบื้อง
ศีรษะ  ไปทางทิศเหนือ  ให้เตียงอยู่ระหว่างใต้ต้นสาละทั้งคู่  ตรัสว่า  "เราลำบากและเหน็ดเหนี่อยมาก  จัก
นอนระงับความลำบากนั้น"

   พระอานนท์จัดตั้งเตียงและปูผ้ารองเสร็จแล้ว  พระพุทธเจ้าเสด็จบรรทมตะแคงข้างขวา หัน
พระเศียรไปทางทิศเหนือ  ตั้งพระบาทซ้อนเหลี่ยมกัน   ดำรงสติสัมปชัญญะแล้วตั้งพระทัยจะเสด็จบรรทม
เป็นไสยาวสาน  (นอนเป็นครั้งสุดท้าย)  เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า  'อนุฐานไสยา'  แปลว่า  นอนโดยจะไม่ลุกขึ้นอีก

   ปฐมสมโพธิว่า  "ในขณะนั้นเอง   มิใช่ฤดูกาลจะออกดอกเลย   แต่สาละทั้งคู่ก็ผลิดอกออกบาน 
ตั้งแต่โคนรากเบื้องต้นถึงยอด และทั่วทุกกิ่งสาขาก็ดาดาด (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานใช้  ดารดาษ 
หรือดาษดา)  ด้วยดอกแลสะพรั่ง   แล้วดอกสาละนั้น   ก็ร่วงหล่นลงบูชาพระพุทธเจ้า  ดอกมณฑารพดอกไม้
ทิพย์ของสวรรค์ตลอดถึงจุณจันทน์สุคนธชาติของทิพย์ก็โปรยปรายลงจากอากาศ  ดนตรีสวรรค์ก็บันลือประ
โคม  เป็นมหานฤนาทโกลาหลเพื่อจะบูชาพระพุทธเจ้าในกาลอันเป็นอวสานพระองค์"

 
 
บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #91 เมื่อ: สิงหาคม 02, 2012, 07:45:43 PM »

สมุดภาพพระพุทธประวัติ
ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร
ภาพที่ ๗๔
พระอานนท์ไปยืนเหนี่ยวสลักเพชรพระวิหาร ร้องไห้รำพันถึงพระพุทธองค์





พระอานนท์เป็นพระภิกษุอุปัฏฐานของพระพุทธเจ้า  ก่อนท่านรับตำแหน่งนี้   เคยมีพระภิกษุ
หลายรูปทำหน้าที่นี้มาก่อน  แต่ท่านเหล่านั้นรับหน้าที่ดังกล่าวไม่นาน  ก็กราบทูลลาพระพุทธเจ้าออกไป  ผู้
รับหน้าที่อุปัฏฐานพระพุทธเจ้าเป็นเวลานานที่สุด  จนพระพุทธเจ้านิพพาน  จึงได้แก่พระอานนท์

   โดยความสัมพันธ์ทางพระญาติ  พระอานนท์มีศักดิ์เป็นพระอนุชาหรือน้องชายของพระพุทธ
เจ้า  เพราะบิดาของท่านเป็นน้องชายของบิดาของพระพุทธเจ้า  นี่ว่าอย่างสามัญ

   ตลอดเวลาที่รับหน้าที่อุปัฏฐากพระพุทธเจ้า  พระอานนท์ตามเสด็จพระพุทธเจ้าไปทุกหนทุก
แห่ง  คอยปรนนิบัติอุปัฏฐากพระพุทธเจ้ามิได้บกพร่อง  ด้วยเหตุดังกล่าวท่านจึงไม่มีเวลาบำเพ็ญกิจส่วนตัว 
พรรคพวกรุ่นเดียวกันที่ออกบวชพร้อมกัน  (ยกเว้นพระเทวทัต)   ต่างได้สำเร็จอรหันต์กันทั้งสิ้น   ส่วนพระ
อานนท์ได้สำเร็จมรรคผลเพียงชั้นโสดาเท่านั้น

   เมื่อพระพุทธเจ้าจวนจะนิพพาน  ท่านจึงมีภาระเพิ่มมากขึ้น  เหนื่อยทั้งกายและใจ  ใจท่านว้า
วุ่นไม่เป็นส่ำ    พอได้ยินพระพุทธเจ้าบอกพระสงฆ์เกี่ยวกับเรื่องพระองค์จะนิพพาน    พระอานนท์ไม่อาจจะ
อดกลั้นความเสียใจและอาลัยพระพุทธเจ้าไว้ได้      ท่านจึงหลบหลีกออกจากที่เฝ้า   เข้าไปยังวิหารแห่งหนึ่ง 
ไปยืนอยู่ข้างบานประตูวิหาร   มือเหนี่ยวสลักเพชรหรือลิ่มสลักกลอนประตูแล้วร้องไห้   โฮๆ  พลางรำพันว่า
ตัวเรา   ยังเป็นอริยบุคคลชั้นต่ำ  ยังไม่สำเร็จอรหันต์   พระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นทั้งพระศาสดาและพระเชษฐา
ของเราก็จักมานิพพานจากเราไปก่อนเสียแล้ว

   พระพุทธเจ้าทรงเห็นพระอานนท์หายไปจากที่เฝ้า จึงตรัสถามพระสงฆ์ถึงพระอานนท์ ทรง
ทราบแล้วรับสั่งให้ท่านเข้าเฝ้า  แล้วตรัสพระธรรมเทศนาเตือนสติพระอานนท์ว่าอย่าได้เศร้าโศกเสียใจ

   ตอนหนึ่งพระพุทธเจ้าตรัสบอกอานนท์ว่า  ท่านเป็นคนมีบุญ  อย่าได้ประมาท  เมื่อพระองค์
นิพพานแล้วไม่ช้า    ท่านจักได้สำเร็จอรหันต์  (พระอานนท์ได้สำเร็จอรหันต์ภายหลังพระพุทธเจ้านิพพาน
ได้สามเดือน)
บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #92 เมื่อ: สิงหาคม 02, 2012, 07:47:59 PM »

สมุดภาพพระพุทธประวัติ
ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร
ภาพที่ ๗๕
ทรงแสดงธรรมโปรดสุภัททะปริพาชกให้สำเร็จมรรคผล นับเป็นปัจฉิมเวไนย



พระอานนท์สร่างจากความเสียใจถึงร้องไห้แล้ว  ท่านก็เข้าไปแจ้งข่าวในเมืองตามพระดำรัส
รับสั่งของพระพุทธเจ้า  เพื่อรายงานให้เจ้ามัลลกษัตริย์แห่งเมืองกุสินาราทราบว่า   พระพุทธเจ้าจะนิพพาน
ในตอนสิ้นสุดแห่งราตรีวันนี้แล้ว  แจ้งว่าใครจะไปเฝ้าพระพุทธเจ้าก็ให้รีบไปเฝ้าเสียแต่ในขณะนี้   จะได้ไม่
เสียใจเมื่อภายหลังว่าไม่ได้เฝ้า

   พวกเจ้ามัลลกษัตริย์ที่กำลังประชุมกันอยู่ในเมือง        ด้วยเรื่องพระพุทธเจ้านิพพานต่างก็ถือ
เครื่องสักการะมาเฝ้าพระพุทธเจ้ากันเนืองแน่นที่สุด  แต่ละคนน้ำตานองหน้า  ร่ำไห้รำพันต่างๆ นานา  เมื่อ
ทราบว่าพระพุทธเจ้าจะนิพพาน

   ในจำนวนคนที่มาเฝ้าพระพุทธเจ้าครั้งนี้  มีปริพาชกคนหนึ่งนามว่า  'สุภัททะปริพาชก'  คือ 
นักบวชนอกศาสนาพุทธพวกหนึ่ง

   สุภัททะปริพาชกเข้าหาพระอานนท์  ภายหลังเจ้ามัลลกษัตริย์แห่งเมืองกุสินาราได้เข้าเฝ้าแล้ว 
บอกว่าใคร่จะขออนุญาตเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า    เพื่อทูลถามปัญหาบางอย่างซึ่งข้องใจมานาน     พระอานนท์
ปฏิเสธปริพาชกผู้นี้ว่าอย่าเลย  อย่าได้รบกวนพระพุทธเจ้าเลย  เพราะตอนนี้กำลังจะนิพพาน

   ขณะนั้น    พระพุทธเจ้าซึ่งทรงได้ยินการโต้ตอบกันระหว่างพระอานนท์กับสุภัททะปริพาชก 
จึงตรัสบอกพระอานนท์ว่าพระองค์ทรงอนุญาตให้สุภัททะปริพาชกเข้าเฝ้าได้        เมื่อสุภัททะปริพาชกได้
โอกาสเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า  จึงทูลถามปัญหาที่ข้องใจมานาน  ปัญหาข้อหนึ่งว่าสมณะผู้ได้บรรลุมรรคผลใน
ศาสนาอื่นนอกจากพระพุทธศาสนามีหรือไม่    พระพุทธเจ้าตรัสว่า  ไม่มี   แล้วทรงแสดงธรรมให้ปริพาชก
ฟังโดยละเอียด

   สุภัททะปริพาชกฟังแล้วเสื่อมใส    ทูลขอบวชเป็นพระสาวกของพระพุทธเจ้า   พระพุทธเจ้า
ตรัสว่านักบวชในศาสนาอื่นจะมาขอบวชเป็นพระภิกษุในศาสนาของพระองค์นั้น  จะต้องอยู่ปริวาสครบ  ๔ 
เดือนก่อนจึงจะบวชได้  สุภัททะปริพาชกกราบทูลพระพุทธเจ้าว่าอย่าว่าแต่  ๔  เดือนเลย จะให้อยู่ถึง  ๔  ปี 
ก็ยอม

   พระพุทธเจ้าจึงทรงอนุญาตเป็นกรณีพิเศษ    ให้พระสงฆ์จัดการบวชให้สุภัททะปริพาชกใน
คืนวันนั้น  สุภัททะปริพาชกจึงนับเป็นสาวกองค์สุดท้ายของพระพุทธเจ้า

บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #93 เมื่อ: สิงหาคม 02, 2012, 07:50:17 PM »

สมุดภาพพระพุทธประวัติ
ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร
ภาพที่ ๗๖
ทรงยกพระธรรมวินัยไตรปิฎกเป็นศาสดา ประทานปัจฉิมโอวาทแล้วปรินิพพาน


ก่อนเสด็จนิพพานเล็กน้อย  คือภายหลังทรงโปรดสุภัททะปริพาชกแล้ว  พระพุทธเจ้าประทาน
โอวาทพระสงฆ์  โอวาทนั้นเป็นพระพุทธดำรัสสั่งเป็นครั้งสุดท้าย  มีหลายเรื่องด้วยกัน  เช่น  เรื่องหนึ่งเกี่ยว
กับพระสงฆ์ยังใช้ถ้อยคำเรียกขานกันลักลั่นอยู่  คือ  คำว่า  'อาวุโส'  และ  'ภันเต'   อาวุโสตรงกับภาษาไทยว่า 
'คุณ'  และภัตเตว่า  'ท่าน'

   พระพุทธเจ้าตรัสสั่งว่า  พระที่มีอายุพรรษามากให้เรียกพระบวชภายหลังตน  หรือที่อ่อนอายุ
พรรษากว่าว่า  'อาวุโส'  หรือ  'คุณ'  ส่วนพระภิกษุที่อ่อนอายุพรรษา  พึงเรียกพระที่แก่อายุพรรษากว่าตนว่า 
'ภันเต'  หรือ  'ท่าน'

   ครั้นแล้วทรงเปิดโอกาสให้พระสงฆ์ทั้งปวงทูลถาม  ว่าท่านผู้ใดสงสัยอะไรในเรื่องที่พระองค์
ทรงสั่งสอนไว้แล้วก็ให้ถามเสียจะได้ไม่เสียใจเมื่อภายหลังว่าไม่มีโอกาสถาม

   ปรากฏตามท้องเรื่องใน มหาปรินิพพานสูตร ว่า  ไม่มีพระสงฆ์องค์ใดทูลถามพระพุทธเจ้าใน
ข้อสงสัยที่ตนมีอยู่เลย

   เมื่อก่อนพระพุทธเจ้าจะเสด็จนิพพานนั้น พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงตั้งสาวกองค์ใดให้รับตำแหน่ง
เป็นพระศาสดาปกครองพระสงฆ์สืบต่อจากพระองค์เหมือนพระศาสดาในศาสนาอื่น  เรื่องนี้ก็ไม่มีพระสงฆ์
องค์ใดทูลถามพระพุทธเจ้า   แต่พระพุทธเจ้าก็ตรัสสั่งพระสงฆ์ไว้ฃัดเจนก่อนจะนิพพานว่า  พระภิกษุรูปใด

   ตรัสบอกพระอานนท์ว่า  "ดูก่อนอานนท์  ธรรมก็ดี  วินัยก็ดี  ที่เราได้แสดงไว้   และ
บัญญัติไว้ด้วยดี  นั่นแหละจักเป็นพระศาสดาของพวกท่านสืบแทนเราตถาคต  เมื่อเราล่วงไป
แล้ว"

   ครั้นแล้ว  พระพุทธเจ้าตรัสเป็นปัจฉิมโอวาทครั้งสุดท้ายว่า  "ภิกษุทั้งหลาย!  บัดนี้เราขอเตือน
พวกท่านให้รู้ว่า  สิ่งทั้งหลายที่เกิดมาในโลกมีความเสื่อมสลายเป็นธรรมดา  ท่านทั้งหลายจงทำหน้าที่อันเป็น
ประโยชน์แก่ตนและคนอื่นให้สำเร็จบริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด"

   หลังจากนั้นไม่ได้ตรัสอะไรอีกเลย     จนกระทั่งนิพพานในเวลาสุดท้ายของคืนวันขึ้น  ๑๕  ค่ำ 
เดือน  ๖  หรือวันเพ็ญวิสาขะ  ณ  ภายใต้ต้นสาละทั้งคู่ที่ออกดอกบานสะพรั่งเป็นพุทธบูชานั่นเอง


 
 
 
บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #94 เมื่อ: สิงหาคม 02, 2012, 07:52:28 PM »

สมุดภาพพระพุทธประวัติ
ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร
ภาพที่ ๗๗
พระสงฆ์ปุถุชนได้ฟังข่าวปรินิพพานซึ่งอาชีวกบอกแก่พระมหากัสสปก็ร้องไห้




ภาพที่เห็นอยู่นี้เป็นตอนภายหลังพระพุทธเจ้านิพพานแล้ว    คือตอนพระมหากัสสปกำลังเดิน
ทางมาเฝ้าพระพุทธเจ้า    ตอนก่อนพระพุทธเจ้าจะนิพพานนั้น    พระสงฆ์สาวกที่จาริกออกไปประกาศพระ
ศาสนาตามแคว้นและเมืองต่างๆ     ในสมัยนั้น    เมื่อได้ทราบข่าวว่าพระพุทธเจ้าจะนิพพานที่เมืองกุสินารา
ต่างก็เดินทางมุ่งหน้ามาเมืองนี้เป็นจุดเดียวกัน  ที่อยู่ใกล้ก็มาทันเฝ้าพระพุทธเจ้า  ส่วนที่อยู่ไกลไปก็มาไม่ทัน

   พระมหากัสสปเป็นพระเถระชั้นผู้ใหญ่  ที่พระพุทธเจ้าทรงเคยยกย่องให้เกียรติเทียบเท่าพระ
องค์   ท่านรีบเดินทางมาพร้อมด้วยพระสงฆ์หลายร้อยรูป   มาถึงเมืองปาวา   แดดกำลังร้อนจัด   จึงพาพระ
สงฆ์แวะพักชั่วคราวระหว่างทางภายใด้ร่มไม้แห่งหนึ่ง    ขณะนั้น    ท่านเห็นอาชีวกคือนักบวชนอกศาสนา
พุทธคนหนึ่ง   เดินทางสวนมาจากเมืองกุสินารา  มือถือดอกมณฑารพ   พระมหากัสสปจึงถามข่าวพระพุทธ
เจ้า  อาชีวกตอบว่าพระสมณโคดมนั้นนิพพานมาได้เจ็ดวันแล้ว   แล้วชูดอกมณฑารพให้ดูว่าตนเก็บได้มาจาก
สถานที่ที่พระพุทธเจ้านิพพาน  ดอกมณฑารพตามตำนานว่าเป็นดอกไม้สวรรค์  ออกดอกและบานในเวลาคน
สำคัญของโลกมีอันเป็นไป

   ทันใดนั้น    ก็บังเกิดอาการสองอย่างขึ้นในหมู่พระสงฆ์ที่เดินทางมาพร้อมกับพระมหากัสสป 
พระสงฆ์ฝ่ายหนึ่งที่สำเร็จอรหันต์แล้วต่างดุษณีภาพด้วยธรรมสังเวชว่า  พระพุทธเจ้านิพพานเสีย  ฝ่ายพระ
สงฆ์ปุถุชนต่างอดกลั้นความเศร้าโศกเสียใจไว้ไม่ได้   บางองค์ร้องไห้  โฮ...     บางองค์ยกมือทั้งสองขึ้นร้อง
คร่ำครวญ  บางองค์ล้มกลิ้งลงกับพื้นดิน  มหาปรินิพพานสูตร บันทึกไว้ว่า  อาการล้มกลิ้งของภิกษุนั้นเหมือน
คนถูกตัดขาทั้งสองขาดในทันที

   แต่มีอยูรูปหนึ่งนามว่าสุภัททะ  (คนละองค์กับที่บวชพระสาวกอง๕สุดท้ายของพระพุทธเจ้า) 
เป็นพระที่บวชเมื่อแก่   เข้าไปพูดปลอบโยนพระสงฆ์ทั้งปวงที่กำลังร้องไห้ว่า  "คุณ!  คุณ!  จะร้องไห้เสียใจ
ทำไม  พระพุทธเจ้านิพพานเสียได้นั่นดีนักหนา  ถ้าพระองค์ยังอยู่  พวกเราทำอะไรตามใจไม่ได้   ล้วนแต่ว่า
อาบัติทั้งนั้น  ต่อนี้ไปพวกเราจะสบาย  พระองค์นิพพานเสียได้นั่นดีแล้ว"

   พระมหากัสสปได้เห็นเหตุการณ์ดังกล่าวก็อดสังเวชมิได้ว่า  พระพุทธเจ้าเพิ่งนิพพานได้เพียง 
๗  วัน  เสี้ยนหนามพระศาสนาก็บังเกิดขึ้นเสียแล้ว  แล้วท่านก็พาพระสงฆ์รีบออกเดินทางมุ่งหน้าไปยังเมือง
กุสินารา  เพื่อให้ทันถวายบังคมพระศพพระพุทธเจ้า
บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #95 เมื่อ: สิงหาคม 02, 2012, 07:54:41 PM »

สมุดภาพพระพุทธประวัติ
ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร
ภาพที่ ๗๘
พอพระมหากัสสปถวายบังคมบาทพระพุทธศพ เพลิงสวรรค์ก็บันดาล ลุกโชติช่วง




เมื่อพระพุทธเจ้านิพพานแล้ว     ทางคณะสงฆ์และทางบ้านเมือง   คือ  เจ้ามัลลกษัตริย์ผู้ครอง
เมืองกุสินารา  ได้ทำพิธีสักการบูชาพระศพพระพุทธเจ้าอยู่เป็นเวลาถึง  ๖  วัน    ในวันที่  ๗  จึงเชิญพระศพ
เป็นขบวนไปทางทิศเหนือของเมือง   ผ่านใจกลางเมือง   แล้วเชิญพระศพไปมกุฏพันธนเจดีย์   ที่อยู่ทางด้าน
ทิศตะวันออกของเมือง  เพื่อถวายพระเพลิง  วันที่กำหนดจะถวายพระเพลิงนั้น  ตรงกับวันแรม  ๘  ค่ำเดือน 
๖  ซึ่งทุกวันนี้ทางเมืองไทยเราถือว่าเป็นวันสำคัญวันหนึ่ง  เรียกว่า  'วันอัฐมีบูชา'

   ผู้เชิญหรือหามพระศพพระพุทธเจ้า   เรียกว่า  'มัลลปาโมกข์'   มีจำนวน  ๘  นาย   แต่ละนาย
รูปร่างใหญ่กำยำล่ำสัน  มีกำลังมาก  'มัลลปาโมกข์'  แปลว่า  หัวหน้านักมวยปล้ำ

   พระศพพระพุทธเจ้าห่อด้วยผ้าใหม่  ที่ปฐมสมโพธิบอกจำนวนไว้ว่ามีถึง  ๕๐๐  ชั้น  ถอดเอา
ใจความว่ามีหลายชั้นนั่นเอง  แต่ละชิ้นซับด้วยสำลี  แล้วเจ้าหน้าที่เชิญลงประดิษฐานในหีบทองที่เต็มไปด้วย
น้ำหอม  แล้วปิดฝาครอบไว้  แล้วเชิญขึ้นจิตกาธานที่ทำด้วยไม้หอมหลายชนิด

   พอได้เวลาเจ้าหน้าที่ได้จุดไฟขึ้นทั้ง  ๔   ด้าน   ตำนานว่าจุดเท่าไรไฟก็ไม่ติด    เจ้าหน้าที่ทาง
บ้านเมืองจึงเรียนถามพระอนุรุทธ์  (พระอนุรุทธ์เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้มีทิพยจักษุ  มีศักดิ์เป็นพระอนุชาของ
พระพุทธเจ้าเป็นพระสาวกได้สำเร็จพระอรหันต์) พระอนุรุทธ์จึงแจ้งให้ทราบว่า  เป็นเพราะเทพเจ้าต้องการ
ให้รอพระมหากัสสป  ซึ่งกำลังเดินทางมายังไม่ถึงได้ถวายบังคมพระศพเสียก่อน    ต่อมาเมื่อพระมหากัสสป
พร้อมด้วยพระสงฆ์บริวารเดินทางมาถึง     ได้ถวายบังคมพระศพพระพุทธเจ้าแล้ว    จึงเกิดเพลิงทิพย์ด้วย
เทวาฤทธานุภาพ

   ภายหลังจากนั้น  เพลิงได้ไหม้พระสรีระของพระพุทธเจ้าจนหมดสิ้น  เหลืออยู่แต่พระอัฐิ  พระ
เกศา  พระทนต์  และผ้าอีกคู่หนึ่ง  พระพวกมัลลกษัตริย์ได้นำน้ำหอมหลั่งลงดับถ่านไฟที่จิตกาธาน    แล้วเชิญ
สารีริกธาตุไปประดิษฐานไว้ที่สัณฐาคารศาลา  คือหอประชุมกลางเมือง  รอบหอประชุมนั้นจัดทหาร
ถืออาวุธพร้อมสรรพคอยพิทักษ์รักษา  และทำสักการบูชาด้วยฟ้อนรำ   ดนตรี  ประโคมขับ   และดอกไม้นานา
ประการ  และมีนักขัตฤกษ์เอิกเกริกกึกก้องฉลองถึง  ๗  วันเป็นกำหนด
บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #96 เมื่อ: สิงหาคม 02, 2012, 07:57:02 PM »

สมุดภาพพระพุทธประวัติ
ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร
ภาพที่ ๗๙
โทณพราหมณ์แบ่งสรรธาตุแก่พราหมณ์และกษัตริย์ ๗ พระนคร


ข่าวพระพุทธเจ้านิพพานที่เมืองกุสินาราแล้ว    เจ้ามัลลกษัตริย์แห่งนครนี้พร้อมด้วยคณะสงฆ์
ได้ถวายพระเพลิงแล้วนั้น ได้แพร่ไปถึงบรรดาเจ้านครแห่งแคว้นต่างๆ  บรรดาเจ้านครเหล่านั้นจึงได้ส่งคณะ
ฑูตรีบรุดมายังเมืองกุสินาราพร้อมด้วยพระราชสาส์น

   คณะฑูตทั้งหมดมี  ๗  คณะ  มาจาก  ๗  นคร   มีทั้งจากนครใหญ่  เช่น  นครราชคฤห์  แห่ง
แคว้นมคธ ที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระศาสนาเป็นแห่งแรก  และนครอื่นๆ เช่น  กบิลพัสดุ์  เมืองประสูติ
ของพระพุทธเจ้า  คณะฑูตทั้ง ๗ เมื่อเดินทางมาถึงเมืองกุสินาราก็ได้ยื่นพระราชสาส์นนั้นแก่เจ้ามัลลกษัตริย์ 
ในพระราชสาส์นนั้นมีความว่า  เจ้านครทั้ง ๗ มาขอส่วนแบ่งสารีริกธาตุเพื่อนำไปบรรจุในสถูปให้
เป็นที่สักการบูชาไว้ที่นครของตน  พวกเจ้ามัลลกษัตริย์ตอบปฏิเสธแข็งขันไม่ยอมให้  โดยอ้างเหตุผลว่าพระ
พุทธเจ้านิพพานที่เมืองของตน  สารีริกธาตุจึงเป็นสมบัติของเมืองนี้เท่านั้น

   เมื่อเจ้ามัลลกษัตริย์ไม่ยอมแบ่ง  บรรดาเจ้านครทั้ง ๗  ก็ไม่ยอม จะขอส่วนแบ่งให้ได้  สงคราม
แย่งสารีริกธาตุก็ทำท่าจะเกิดขึ้น  แต่พอดีท่านผู้หนึ่งซึ่งชื่อ 'โทณพราหมณ์' ได้ระงับสงครามไว้เสีย
ก่อน   โทณพราหมณ์อยู่ในเมืองกุสินารา  ตามประวัติแจ้งว่าเป็นผู้เฉลียดฉลาดในการพูด  เป็นที่เคารพนับถือ
ของบรรดาเจ้านคร และเป็นผู้มีชื่อเสียงในเรื่องเกียรติคุณ ได้ทำหน้าที่เสมือนหนึ่งเป็นเลขาธการสหประชาติ
ในสมัยปัจจุบัน  คือได้ระงับสงครามไว้เสียทัน  โดยได้ปราศรัยให้ที่ประชุมฟังว่า

   "พระพุทธเจ้าเป็นผู้ทรงสรรเสริญขันติธรรมและสามัคคีธรรม  แล้วเราทั้งหลายจะมาทะเลาะ
วิวาททำสงครามกันเพราะสารีริกธาตุเป็นเหตุทำไม    มาแบ่งกันให้ได้เท่าๆ    กันดีกว่า   
สารีริกธาตุจักได้แพร่หลายและเป็นประโยชน์แก่มหาชนทั่วโลก"

   ที่ประชุมเลยตกลงกันได้  โทณพราหมณ์จึงทำหน้าที่แบ่งสารีริกธาตุออกเป็น ๘ ส่วน
โดยใช้ตุมพะ  คือทะนานทองเป็นเครื่องตวง  ให้เจ้านครทั้ง  ๗  คนละส่วน  เป็น  ๗  ส่วน   อีกส่วนหนึ่งเป็น
ของเจ้านครกุสินารา  แล้วเจ้านครทั้งหมดต่างอัญเชิญสารีริกธาตุนั้นไปเป็นที่ระลึก  แล้วนำไปบรรจุ
ไว้ในสถูปต่างหาก  การแจกสารีริกธาตุก็เสร็จสิ้นสุดลงด้วยความเรียบร้อย

 
 
บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #97 เมื่อ: สิงหาคม 02, 2012, 07:59:00 PM »

สมุดภาพพระพุทธประวัติ
ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร
ภาพที่ ๘๐
พระมหากัสสปกับพระอริยสงฆ์ยกปฐมสังคายนา สืบอายุพระศาสนามาถึงบัดนี้



ตอนถวายพระเพลิงพระศพพระพุทธเจ้าที่เมืองกุสินารา  เป็นเวลาที่พระสงฆ์สาวกซึ่งเดินทาง
มาชุมนุมกันที่เมืองนี้มีจำนวนมากกว่าครั้งใดๆ    จึงเมื่อถวายพระเพลิงเสร็จแล้ว   พระมหากัสสปซึ่งเป็นพระ
เถระชั้นผู้ใหญ่ได้จัดให้มีการประชุมพระสงฆ์สาวกเป็นครั้งแรกขึ้นที่เมืองกุสินารา

   เรื่องที่ประชุมคือ       เรื่องจะสังคายนาพระธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงและบัญญัติไว้
ท่านได้ปรารภเรื่องเสี้ยนหนามพระศาสนาที่ท่านได้ประสบเมื่อระหว่างเดินทางมา ที่พระภิกษุแก่กล่าวแสดง
ความยินดีที่พระพุทธเจ้านิพพานให้ที่ประชุมทราบด้วย

   ที่ประชุมมีมติเลือกพระสงฆ์เถระ  ๓ รูปเป็นประธานทำหน้าที่สังคายนา  คือ  พระมหากัสสป 
พระอุบาลี  และพระอานนท์  ในการนี้ให้พระมหากัสสปเป็นประธานใหญ่  ให้มีหน้าที่คัดเลือกจำนวนสมาชิก
สงฆ์ผู้จะเข้าประชุมทำสังคายนา  พระมหากัสสปคัดเลือกพระสงฆ์ได้ทั้งหมด  ๕๐๐  รูปแล้วตกลงเลือกเอา
นครราชคฤห์แห่งแคว้นมคธเป็นสถานที่สถานที่ประชุม    ส่วนเวลาประชุมคือตั้งแต่วันเข้าพรรษาเป็นต้นไป 
หรืออีก  ๓  เดือนนับแต่นี้

   หลังจากนั้น  พระสงฆ์ที่ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมประชุมทำสังคายนา  ต่างเดินทางมุ่งหน้าไป
ยังเมืองราชคฤห์  เมื่อไปถึงทางคณะสงฆ์ได้ขอความอุปถัมภ์จากบ้านเมืองแห่งนี้  ในด้านการซ่อมวิหารที่พัก
สงฆ์  ตกแต่งสถานที่ประชุมซึ่งจัดขึ้นในถ้ำปาสาณคูหาในภูเขาเวภารบรรพตซึ่งอยู่นอกเมือง

   ทางคณะสงฆ์ได้ขอให้ทางบ้านเมืองประกาศห้ามนักบวชและพระสงฆ์อื่นๆ  ที่ไม่มีหน้าที่เกี่ยว
ข้องกับการประชุมทำสังคายนาเข้ามาอยู่ในเมืองราชคฤห์    ตลอดเวลาที่สงฆ์ทั้งหมดทำสังคายนาอยู่    ทั้งนี้
เพื่อป้องกันอุปสรรคขัดขวาง  อันอาจจะเกิดมีเป็นเหตุให้การประชุมทำสังคายนาเป็นไปโดยความไม่เรียบร้อย
นั่นเอง


 
 
บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #98 เมื่อ: สิงหาคม 02, 2012, 08:07:56 PM »

สมุดภาพพระพุทธประวัติ
ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร
ศัพทานุกรม


-------------------------------------------------------------------------------------
นิพพาน การดับกิเลสและกองทุกข์ เป็นโลกุตตรธรรม และเป็นจุดหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา


 
ปฐมสมโพธิกถา ชื่อคัมภีร์แสดงเรื่องราวของพระพุทธเจ้า ตั้งแต่ประทับบนสวรรค์ชั้นดุสิต และเทวดาอัญเชิญ ให้มาอุบัติในมนุษยโลก ออกบวช ตรัสรู้ ประกาศศาสนา ปรินิพพาน จนถึงแจกพระธาตุ ต่อท้ายด้วยเรื่องพระเจ้าอโศกยกย่องพระศานา และการอันตรธานแห่งพระศาสนาในที่สุด หนังสือปฐมสมโพธิกถาที่เป็นวรรณคดีสำคัญ คือ ฉบับที่เป็นพระนิพนธ์ของพระมหาสมณเจ้า กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส โดยทรงชำระฉบับของเก่า ตัดและขยายความสำคัญบางตอน จัดเป็นบทตอนเพิ่มขึ้น มีทั้งฉบับบาลี และฉบับแปลเป็นไทย (ฉบับบาลีมี ๓๐ ปริเฉท แบ่งปริเฉทที่ ๑ เป็น ๒ ตอน ฉบับแปลไทยมี ๒๙ ปริเฉท)


 
ไตรปิฎก "ปิฎกสาม" ปิฎก แปลว่า กระจาดหรือตะกร้า ในความหมายว่า เป็นที่รวบรวมคำสอนในพระพุทธศาสนาที่จัดเป็นหมวดหมู่แล้ว โดยนัยนี้ ไตรปิฎกจึงแปลว่า คัมภีร์ที่บรรจุพุทธพจน์ (และเรื่องราวชั้นเดิมของพระพุทธศาสนา) ๓ ชุด หรือ ประมวลแห่งคัมภีร์ที่รวบรวมพระธรรมวินัย ๓ หมวด กล่าวคือ วินัยปิฎก สุตตันตปิฎก และอภิธรรมปิฎก
พระไตรปิฎก จัดแบ่งหมวดหมู่โดยย่อดังนี้ ...
ดู  ความหมายพระไตรปิฎก  ประกอบ


 
ธรรมวินัย ธรรมและวินัย คำสั่งสอนทั้งหมดของพระพุทธเจ้า ประกอบด้วย ธรรม--คำสอนแสดงหลักความจริง และแนะนำความประพฤติ วินัย--เครื่องควบคุมกายและวาจา


 
โพธิสัตว์ ผู้ที่จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ซึ่งกำลังบำเพ็ญบารมี ๑๐ คือ ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐาน เมตตา อุเบกขา


 
พระพุทธเจ้า ผู้ตรัสรู้โดยชอบแล้วสอนผู้อื่นให้รู้ตาม ท่านผู้รู้ดีรู้ชอบด้วยตนเองก่อนแล้วสอนประชุมชนให้ประพฤติชอบด้วยกาย วาจา ใจ
พระพุทธเจ้า ๗ พระองค์ที่ใกล้กาลปัจจุบันที่สุด และ คัมภีร์กล่าวถึงบ่อยๆ คือ พระวิปัสสี พระสิขี พระเวสสภู พระกกุสันธะ พระโกนาคมน์ พระกัสสป และพระโคดม
พระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ แห่งภัทรกัป ปัจจุบันนี้ คือ พระกกุสันธะ พระโกนาคมน์ พระกัสสป พระโคดม และพระเมตเตยยะ (เรียกกันสามัญว่า พระศรีอาริย์ หรือ พระศรีอริยเมตไตรย)
พระพุทธเจ้า ๒๕ พระองค์นับแต่พระองค์แรกที่พระโคดมพุทธเจ้า (พระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน) ได้ทรงพบและทรงได้รับการพยากรณ์ว่าจะได้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า (รวม ๒๔ พระองค์) จนถึงพระองค์เองด้วย คือ ๑.พระทีปังกร ๒. พระโกณฑัญญะ ๓. พระมังคละ ๔. พระสุมนะ ๕. พระเรวตะ ๖. พระโสภิตะ ๗. พระอโนมทัสสี ๘. พระปทุมะ ๙. พระนารทะ ๑๐. พระปทุมุตตระ ๑๑. พระสุเมธะ ๑๒. พระสุชาตะ ๑๓. พระปิยทัสสี ๑๔. พระอัตถทัสสี ๑๕. พระธัมมทัสสี ๑๖. พระสิทธัตถะ ๑๗. พระติสสะ ๑๘. พระปุสสะ ๑๙. พระวิปัสสี ๒๐. พระสิขี ๒๑. พระเวสสภู ๒๒.  พระกกุสันธะ ๒๓.  พระโกนาคมน์ ๒๔. พระกัสสป ๒๕.  พระโคตมะ (จาก คัมภีร์พุทธวงศ์ แห่งขุททกนิกาย พระสุตตันตปิฎก) พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน คือ โคตมพุทธเจ้า เจริญในศากยสกุล ดังเรื่องราวปรากฏในหนังสือนี้


 
พระพุทธโฆษาจารย์ พระอรรถกถาที่ยิ่งใหญ่ที่สุด บุตรพราหมณ์ เกิดในหมู่บ้านแห่งหนึ่งใกล้พุทธคยา เมื่อประมาณ พ.ศ. ๙๕๖ เรียนจบไตรเพท ต่อมาพบพระเรวตะ โต้ตอบปัญหาสู้พระเรวตะไม่ได้ จึงขอบวชเรียนพระธรรมวินัย มีความสามารถมาก ได้รจนาคัมภีร์ญาโณทัย เป็นต้น พระเรวตะเถระจึงแนะนำให้ไปเกาะลังกา เพื่อแปลอรรถกถาสิงหฬกลับเป็นภาษามคธ ท่านถูกพระเถระแห่งมหาวิหารในเกาะลังกาทดสอบความรู้ โดยให้คาถามา ๒ บท พระพุทธโฆสได้แต่งคำอธิบายคาถา ๒ บทนั้น เป็นคัมภีร์วิสุทธิมรรค และได้ทำงานแปลคัมภีร์ได้ตามประสงค์ ทำงานเสร็จแล้ว ท่านก็เดินทางกลับชมพูทวีป


 
พุทธกิจประจำวัน กิจที่พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญในแต่ละวัน ๕ อย่าง คือ ๑. เวลาเช้าเสด็จบิณฑบาต ๒. เวลาเย็นทรงแสดงธรรม ๓. เวลาค่ำประทานโอวาทแก่เหล่าภิกษุ ๔. เวลาเที่ยงคืนทรงตอบปัญหาเทวดา ๕. จวนสว่างทรงตรวจพิจารณาสัตว์ที่สามารถ และที่ยังไม่สามารถบรรลุธรรมอันควรจะเสด็จไปโปรดหรือไม่


 
พุทธกิจ ๔๕ พรรษา พรรษาที่ ๑ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน โปรดปัญจวัคคีย์ พรรษาที่ ๒-๓-๔ วัดเวฬุวัน กรุงราชคฤห์ ระยะประดิษฐานพระพุทธศาสนา พรรษาที่ ๕ กูฏาคารในป่ามหาวัน นครเวสาลี โปรดพุทธบิดาที่กรุงกบิลพัสดุ์ โปรดพระญาติที่วิวาทเรื่องแม่น้ำโรหิณี พระนางมหาปชาบดีผนวช เกิดภิกษุณีสงฆ์ พรรษาที่ ๖ มกุลบรรพต ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ที่นครสาวัตถี พรรษาที่ ๗ ดาวดึงสเทวโลก แสดงพระอภิธรรมโปรดพุทธมารดา พรรษาที่ ๘ เภสกลาวัน ใกล้เมืองสุงสุมารคีรี แคว้นภัคคะ พบนกุลบิดาและนกุลมารดา พรรษาที่ ๙ โฆษิตาราม เมืองโกสัมพี พรรษาที่ ๑๐ ป่าตำบลปาริเลยยกะ ใกล้เมืองโกสัมพี (ในคราวที่ภิกษุชาวเมืองโกสัมพีทะเลาะกัน) พรรษาที่ ๑๑ หมู่บ้านพราหมณ์ชื่อเอกนาลา พรรษาที่ ๑๒ เมืองเวรัญชา พรรษาที่ ๑๓ จาลิยบรรพต พรรษาที่ ๑๔ พระเชตวัน พระราหุลอุปสมบท พรรษาที่ ๑๕ นิโครธาราม นครกบิลพัสดุ์ พรรษาที่ ๑๖ เมืองอาฬวี (ทรมานอาฬวกยักษ์) พรรษาที่ ๑๗ พระเวฬุวัน นครราชคฤห์ พรรษาที่ ๑๘-๑๙ จาลิบรรพต พรรษาที่ ๒๐ พระเวฬุวัน นครราชคฤห์ โปรดมหาโจรองคุลีมาล พระอานนท์ได้รับหน้าที่เป็นพุทธอุปัฏฐากประจำ พรรษาที่ ๒๑-๔๕ ประทับสลับไปมา ณ พระเชตวันกับบุพพาราม นครสาวัตถี (อรรถกถาว่า ประทับที่เชตวัน ๑๙ พรรษา ที่บุพพาราม ๖ พรรษา) พรรษาที่ ๔๕ เวฬุคาม ใกล้นครเวสาลี


 
พุทธธรรม ๑. ธรรมของพระพุทธเจ้า พระคุณสมบัติของพระพุทธเจ้า คัมภีร์มหานิทเทสระบุจำนวนไว้ว่ามี ๖ ประการ แต่ไม่ได้จำแนกข้อไว้ อรรถกถาโยงความให้ว่า ได้แก่ ๑. กายกรรมทุกอย่างของพระพุทธเจ้าเป็นไปตามญาณ (จะทำอะไรก็ทำด้วยปัญญา ด้วยความรู้ความเข้าใจ) ๒. วจีกรรมทุกอย่างเป็นไปตามพระญาณ ๓. มโนกรรมทุกอย่างเป็นไปตามพระญาณ ๔. ทรงมีพระญาณไม่ติดขัดในอดีต ๕. ทรงมีพระญาณไม่ติดขัดในอนาคต ๖. ทรงมีพระญาณไม่ติดขัดในปัจจุบัน, คัมภีร์สุมังคลวิลาสินี อรรถกถาแห่งฑีฆนิกาย จำแนกพุทธธรรมว่ามี ๑๘ อย่าง คือ ๑. พระตถาคตไม่ทรงมีกายทุจริต ๒. ไม่ทรงมีวจีสุจริต ๓. ไม่ทรงมีมโนทุจริต ๔. ทรงมีพระญาณไม่ติดขัดในอดีต ๕. ทรงมีพระญาณไม่ติดขัดในอนาคต ๖. ทรงมีพระญาณไม่ติดขัดในปัจจุบัน ๗. ทรงมีกายกรรมทุกอย่างเป็นไปตามพระญาณ ๘. ทรงมีวจีกรรมทุกอย่างเป็นไปตามพระญาณ ๙. ทรงมีมโนกรรมทุกอย่างเป็นไปตามพระญาณ ๑๐. ไม่มีความเสื่อมฉันทะ (ฉันทะไม่ลดถอย) ๑๑. ไม่มีความเสื่อมวิริยะ (ความเพียรไม่ลดถอย) ๑๒. ไม่มีความเสื่อมสติ ๑๓. ไม่มีการเล่น ๑๔. ไม่มีการพูดพลาด ๑๕. ไม่มีการทำพลาด ๑๖. ไม่มีความผลุนผลัน ๑๗. ไม่มีพระทัยที่ขวนขวาย ๑๘. ไม่มีอกุศลจิต
๒. ธรรมที่ทำให้พระพุทธเจ้า ได้แก่ พุทธการกธรรม คือ บารมี ๑๐
๓. ธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ คือ สติปัฏฐาน ๔ ฯลฯ มรรคมีองค์ ๘ ขันธ์ ๕ ปัจจัย ๒๔ เป็นอาทิ


 
มหาบุรุษลักษณ์
ดู . . .
     ลักขณสูตร
  . . . ประกอบ  ลักษณะของมหาบุรุษ  มี  ๓๒  ประการ  คือ
            ๑.   มีฝ่าพระบาทเรียบเสมอกัน
            ๒.   ลายพื้นพระบาทเป็นจักร
            ๓.   มีส้นพระบาทยาว  (ถ้าแบ่ง  ๔  พระชงฆ์ตั้งอยู่ในส่วนที่  ๓)
            ๔.   มีนิ้วยาวเรียว  (นิ้วพระหัตถ์  และพระบาทด้วย)
            ๕.   ฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทอ่อนนุ่ม
            ๖.   ฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทมีลายดุจข่าย
            ๗.   มีพระบาทเหมือนสังข์คว่ำอัฐิข้อพระบาทตั้งลอยอยู่หลังพระบาท  กลับกลอกได้
   คล่อง  เมื่อทรงดำเนินผิดกว่าสามัญชน
            ๘.   พระชงฆ์เรียวดุจแข้งเนื้อทราย
            ๙.   เมื่อยืนตรง  พระหัตถ์ทั้งสองลูบจับถึงพระชานุ
            ๑๐.   มีพระคุยหะเร้นอยู่ในฝัก
            ๑๑.   มีฉวีวรรณดุจสีทอง
            ๑๒.   พระฉวีละเอียด  ธุลีละอองไม่ติดพระกาย.
            ๑๓.   มีเส้นพระโลมาเฉพาะขุมละเส้นๆ
            ๑๔.   เส้นพระโลมาดำสนิท  เวียนเป็นทักษิณาวัฏ  มีปลายงอนขึ้นข้างบน
            ๑๕.   พระกายตั้งตรงดุจท้าวมหาพรหม
            ๑๖.   มีมังสะอูมเต็มในที่  ๗  แห่ง  (คือหลังพระหัตถ์ทั้ง  ๒  และหลังพระบาท
   ทั้ง  ๒  พระอังสะทั้ง  ๒  กับลำพระศอ)
            ๑๗.   มีส่วนพระสรีรกายบริบูรณ์  (ล่ำพี)  ดุจกึ่งท่อนหน้าแห่งพญาราชสีห์
            ๑๘.   พระปฤษฎางค์ราบเต็มเสมอกัน
            ๑๙.   ส่วนพระกายเป็นปริมณฑลดุจปริมณฑลแห่งต้นไทร 
   (พระกายสูงเท่ากับวาของพระองค์)
            ๒๐.   มีลำพระศอ กลมงามเสมอตลอด
            ๒๑.   มีเส้นประสาทสำหรับรับรสพระกระยาหารอันดี
            ๒๒.   มีพระหนุดุจคางแห่งราชสีห์  (โค้งเหมือนวงพระจันทร์)
            ๒๓.   มีพระทนต์  ๔๐  ซี่  (ข้างละ  ๒๐  ซี่)
            ๒๔.   พระทนต์เรียบเสมอกัน
            ๒๕.   พระทนต์เรียบสนิทมิได้ห่าง
            ๒๖.   เขี้ยวพระทนต์ทั้ง  ๔  ขาวงามบริสุทธิ์
            ๒๗.   พระชิวหาอ่อนและยาว  (อาจแผ่ปกพระนลาฏได้)
            ๒๘.   พระสุรเสียงดุจท้าวมหาพรหม  ตรัสมีสำเนียงดุจนกการเวก
            ๒๙.   พระเนตรดำสนิท
            ๓๐.   ดวงพระเนตรแจ่มใสดุจตาลูกโคเพิ่งคลอด
            ๓๑.   มีอุณาโลมาระหว่างพระขนงเวียนขวาเป็นทักษิณาวัฏ
            ๓๒.   มีพระเศียรงามบริบูรณ์ดุจประดับด้วยกรอบพระพักตร์
   มหาปุริสลักษณะ  ก็เรียก


 
วันสำคัญต่างๆ ๑. วิสาขบูชา--การบูชาในวันเพ็ญเดือน ๖ คือ วันคล้ายวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระพุทธเจ้า
๒. มาฆบูชา--การบูชาในวันเพ็ญเดือน ๓ ในโอกาสวันคล้าย วันประชุมใหญ่ แห่งพระสาวก เรียกว่า 'จาตุรงคสันนิบาต' ณ พระเวฬุวันหลังจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว ๙ เดือน ที่พระองค์ทรงแสดง 'โอวาทปาฏิโมกข์' (การปลงพระชนมายุสังขารก็ตรงกับวันนี้)
๓. อาสาฬหบูชา--การบูชาในวันเพ็ญเดือน ๘ เพื่อรำลึกถึง คุณพระรัตนตรัย เป็นการพิเศษ เนื่องในวันที่ พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา คือ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ทำให้เกิดมีปฐมสาวก คือ พระอัญญาโกณฑัญญะ และเกิดสังฆรัตนะ ทำให้ครบพระรัตนตรัย
๔. เข้าพรรษา--อยู่ประจำวัดสามเดือนในฤดูฝน คือ
ตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ (เรียกปุริมพรรษา แปลว่า พรรษาต้น)
หรือตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๙ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๒ (เรียกปัจฉิมพรรษา แปลว่า พรรษาหลัง)
วันเข้าพรรษาต้น คือ แรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ เรียกว่า ปุริมิกา วัสสูปนายิกา
วันเข้าพรรษาหลัง คือ แรม ๑ ค่ำ เดือน ๙ เรียกว่า ปัจฉิมิกา วัสสูปนายิกา


 
สมันตปาสาทิกา ชื่อคัมภีร์อรรถกถา อธิบายความใน พระวินัยปิฎก พระพุทธโฆษาจารย์เรียบเรียงขึ้น เมื่อ พ.ศ. ใกล้จะถึง ๑๐๐๐ โดยปรึกษาอรรถกถาภาษาสิงหฬ ที่มีอยู่ก่อน ชื่อ มหาปัจจริยและกุรุนที


 
สังคายนา การสวดพร้อมกัน การร้อยกรองพระธรรมวินัย การประชุมตรวจชำระสอบทานและ จัดหมวดหมู่ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า วางลงเป็นแบบแผนอันหนึ่งอันเดียว
สังคายนาครั้งที่ ๑ ถึง ๕ มีดังนี้
ครั้งที่  ๑ ปรารภเรื่องสุภัททภิกษุ ผู้บวชเมื่อแก่ กล่าวจ้วงจาบพระธรรมวินัย และเพื่อให้พระธรรมอยู่สืบไป ประชุมทำหลังพุทธปรินิพพาน ๓ เดือน โดยพระอรหันต์ ๕๐๐ รูป พระมหากัสสปเป็นประธาน และเป็นผู้ถาม พระอุบาลีเป็นผู้วิสัชนาพระวินัย พระอานนท์เป็นผู้วิสัชนาพระธรรม ประชุมสังคายนาที่ถ้ำสัตตบรรณคูหา ภูเขาเวภารบรรพต เมืองราชคฤห์ พระเจ้าอชาตศัตรูเป็นศาสนูปถัมภก์ สิ้นเวลา ๗ เดือน
ครั้งที่  ๒ ปรารภพวกภิกษุวัชชีบุตรแสดงวัตถุ ๑๐ ประการ นอกธรรมนอกวินัย พระยศกากัณฑกบุตรเป็นผู้ชักชวนได้พระอรหันต์ ๗๐๐ รูป พระเรวตะเป็นผู้ถาม พระสัพกามีเป็นผู้วิสัชนา ประชุมทำที่วาสิการาม เมืองเวลาลี เมื่อ พ.ศ. ๑๐๐ โดยพระเจ้ากาลาโศกราช เป็นศาสนูปถัมภก์ สิ้นเวลา ๘ เดือน
ครั้งที่  ๓ ปรารภเดียรถีย์ปลอมบวชในพระพุทธศาสนาเพราะมีลาภสักการะเกิดขึ้นมาก พระโมคคัลลีบุตรติสสะเป็นประธาน ประชุมทำที่อโศการาม เมืองปาฏลีบุตร เมื่อ พ.ศ. ๒๓๔ พระเจ้าอโศกมหาราช เป็นศาสนูปถัมภก์ สิ้นเวลา ๙ เดือน
ครั้งที่  ๔ ปรารภจะให้พระศาสนาประดิษฐานมั่นคงในลังกาทวีป พระสงฆ์ ๖๘,๐๐๐ รูป มีพระมหินทเถระเป็นประธานและเป็นผู้ถาม พระอริฏฐะเป็นผู้วิสัชชนา ประชุมทำที่ถูปาราม เมืองอนุราชบุรี เมื่อ พ.ศ. ๒๓๖ พระเจ้าเทวานัมปิยะติสสะ เป็นศาสนูปถัมภก์ สิ้นเวลา ๑๐ เดือน
ครั้งที่  ๕ ปรารภพระสงฆ์แตกกันเป็น ๒ พวก คือ พวกมหาวิหารกับพวกอภัยคีรีวิหาร และคำนึงว่าสืบไปภายหน้ากุลบุตรจะถอยปัญญา ควรจารึกพระธรรมวินัยลงในใบลาน พระอรหันต์ ๕๐๐ รูป ประชุมกันสวดซ้อมแล้วจารพระพุทธพจน์ลงในใบลาน ณ อาโลกเลณสถาน ในมลยชนบท ประเทศลังกา เมื่อ พ.ศ. ๔๕๐ (ว่า ๔๓๖ ก็มี) โดยพระเจ้าวัฏฏคามณีอภัย เป็นศาสนูปถัมภก์ (ครั้งที่ ๔ และ ๕ ไม่เป็นที่รับรองทั่วไป)


 
อรรถกถา คัมภีร์อธิบายความในพระไตรปิฎก แต่งโดยพระอาจารย์รุ่นหลังๆ ตัวอย่างเช่น คัมภีร์วิสุทธิมรรค ที่แต่งโดย พระพุทธโฆษาจารย์ เป็นต้น


 
อรหันต์ ผู้สำเร็จธรรมวิเศษสูงสุดในพระพุทธศาสนา พระอริยบุคคลชั้นสูงสุด
พระอรหันต์ ๒  คือ ๑. พระสุกขวิปัสสก--ผู้เจริญวิปัสสนาล้วน มิได้ทรงคุณวิเศษอย่างอื่น
๒. พระสมถยานิก--ผู้มีสมถะเป็นญาณ ผู้เจริญสมถะกรรมฐาน จนได้ฌานก่อนแล้ว จึงเจริญวิปัสสนาต่อ
พระอรหันต์ ๔  คือ ๑. พระสุกขวิปัสสก ๒. พระเตวิชชะ (ผู้ได้วิชชา ๓ คือ รู้ระลึกชาติได้ รู้จุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย รู้ทำอาสวะให้สิ้น) ๓. พระฉฬภิญญะ (ผู้ได้อภิญญา ๖ คือ แสดงฤทธิ์ได้ หูทิพย์ ทายใจผู้อื่นได้ ระลึกชาติได้ ตาทิพย์ ญาณที่ทำให้อาสวะสิ้นไป) ๔. พระปฏิสัมภิทัปปัตตะ (ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ๔)
พระอรหันต์ ๕  คือ ๑.พระปัญญาวิมุต ๒.พระอุภโตภาควิมุต ๓.พระเตวิชชะ ๔.พระฉฬภิญญะ ๕.พระปฏิสัมภิทัปปัตตะ
พระอรรถกถาจารย์แสดงความหมายของพระอรหันต์ไว้ ๕ นัย คือ ๑. ไกลจากกิเลส ๒. กำจัดกิเลสได้หมดสิ้น ๓. เป็นผู้หมดสังสารวัฏ คือ การเวียนว่ายตายเกิด ๔. เป็นผู้ควรแก่การบูชาพิเศษของเทพและมนุษย์ทั้งหลาย ๕ ไม่มีที่ลับในการทำบาป ไม่มีความชั่วเสียหายที่จะต้องปิดบัง


 
อริยบุคคล บุคคลผู้เป็นอริยะ ท่านผู้บรรลุธรรมวิเศษ มี ๔ ชั้น คือ ๑. พระโสดาบัน ๒. พระสกทาคามี ๓. พระอนาคามี ๔. พระอรหันต์


 
อริยสัจ ความจริงอย่างประเสริฐ มี ๔ คือ ๑. ทุกข์ ๒. สมุทัย ๓. นิโรธ ๔. มรรค


 
โอวาทปาฏิโมกข์ หลักคำสอนสำคัญ หรือคำสอนอันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ได้แก่ พระพุทธพจน์ ๓ คาถากึ่ง ที่พระพุทธเจ้าตรัสแก่พระอรหันต์ ๑,๒๕๐ รูป ผู้ไปประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย ณ พระเวฬุวนาราม ในวันเพ็ญเดือน ๓ ที่เราเรียกกันว่าวันมาฆบูชา (อรรถกถา กล่าวว่า พระพุทธเจ้าทรงแสดง โอวาทปาฏิโมกข์นี้ แก่ที่ประชุมสงฆ์ทุกกึ่งเดือน เป็นเวลา ๒๐ พรรษา ก่อนที่จะโปรดให้ สวดปาฏิโมกข์อย่างปัจจุบันนี้ แทนต่อมา)

คาถาโอวาทปาฏิโมกข์  (โอวาทปาติโมกข์  ก็เขียน)  มีดังนี้
   สพฺพปาปสฺส  อกรณํ   กุสลสฺสูปสมฺปทา
   สจิตฺตปริโยทปนํ   เอตํ  พุทฺธานํ  สาสนํ ฯ
                  ขนฺตี  ปรมํ  ตโป  ตีติกฺขา
                  นิพฺพานํ  ปรมํ  วทนฺติ  พุทฺธา
                  น  หิ  ปพฺพชิโต  ปรูปฆาตี
                  สมโณ  โหติ  ปรํ  วิเหฐยนฺโต ฯ
   อนูปวาโท  อนูปฆาโต   ปาติโมก์เข  จ  สํวโร
   มตฺตญฺญุตา  จ  ภตฺตสฺมึ   ปนฺตญฺจ  สยนาสนํ
   อธิจิตฺเต  จ  อาโยโค   เอตํ  พุทฺธานํ  สาสนํ ฯ
แปล :
การไม่ทำความชั่วทั้งปวง  ๑     การบำเพ็ญแต่ความดี  ๑ 
การทำจิตของตนให้ผ่องใส  ๑     นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
   ขันติ  คือ  ความอดกลั้น  เป็นตบะอย่างยิ่ง 
   พระพุทธเจ้าทั้งหลายกล่าวว่า  นิพพานเป็นบรมธรรม 
   ผู้ทำร้ายผู้อื่น  ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต
   ผู้เบียดเบียนผู้อื่น  ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะเลย
การไม่กล่าวร้าย  ๑  การไม่ทำร้าย  ๑     การสำรวมในปาฏิโมกข์  ๑
ความเป็นผู้รู้จักประมาณในอาหาร  ๑     ที่นั่งที่นอนอันสงัด  ๑
ความเพียรในอธิจิต  ๑      นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ที่เข้าใจกันโดยทั่วไป และจำกันโดยมาก ก็คือ ความในคาถาแรกที่ว่า
ไม่ทำชั่ว ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ผ่องใส
 
 

ศัพทานุกรม

บันทึกการเข้า

finghting!!!
paul711
Hero Member
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 4406


Gold is value because it's value!


« ตอบ #99 เมื่อ: สิงหาคม 03, 2012, 04:11:26 PM »

 เทวดา ขอบคุณ คุณหนูใจ มากครับ ที่มีความเพียรช่วยนําภาพและเรื่องพุทธประวัติมาลงในนี้
ผมจะค่อยๆอ่านครับ เคยอ่านมาแล้ว แต่ลืมไปก็มาก อนุโมทนาในความตั้งใจดี ส่งเสริมพุทธศาสนาครับ
บันทึกการเข้า

ผมไม่ใช่กูรูเรื่องทอง ไม่เคยเขียนหรือพูดแม้แต่ครั้งเดียวว่าเก่งเรื่องทองอ่านที่ผมเขียน แล้วตัดสินใจเอง เกิดผิดพลาด ต้องรับผิดชอบเองอย่าโทษผู้อื่นว่าพลาดเพราะไปเชื่อคนอื่น ไม่มีใครบังคับให้ท่านเชื่อ ผมเป็นแค่ชาวบ้านธรรมดา----Paul711 
จุดหมาย 1) ทองแท่ง ให้ได้กําไร อย่างน้อย 10% ทุก 3 เดือน 2) Gold Future ให้ได้กําไรอย่างน้อย 5% ทุกเดือน 3) gold online ให้ได้กําไร อย่างน้อย 5% ทุกเดือน 
ชีวิตต้องมีหลักและจุดหมายที่ดีและแน่นอน ชีวิตที่ไม่มีหลักที่ดีเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวก็เปรียบเหมือนเรือที่ไม่มีหางเสือ ใครชวนให้ทําดีก็ดีไป ใครชวนให้ทําเรื่องไม่ดี ก็จะพบกับความล้มเหลวและภัยพิบัติได้


http://ichpp.egat.co.th/

Gold2Gold.com