moddang
Newbie
ออฟไลน์
กระทู้: 124
|
|
« ตอบ #81 เมื่อ: มกราคม 02, 2010, 07:59:22 PM » |
|
"100 คำพูดดีๆ ที่พ่อแม่ควรพูด"
ในระยะนี้มีข่าวคราวที่เกี่ยวกับเยาวชนไม่เว้นแต่ละวัน และที่มีอยู่เสมอเป็นระยะคือข่าวนักเรียนนักเลง ที่ตีกันจนมีนักเรียนต้องมาเสียชีวิตไป 1 รายจากการทะเลาะวิวาทกันครั้งนี้ นอกนั้นก็ยังมีข่าวเด็กนักเรียนชั้น ป3-ป6 ทำการสัก เรียนแบบภาพยนต์ไทยเรื่องหนึ่ง ผมไม่ทราบว่าสมัยนี้ สถาบันครอบครัว ซึ่งเสมือนสถาบันหลักของทุกคน ค่อนข้างอ่อนแอสวนทางกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี่ คนในครอบครัวได้พูดคุยกันมากน้อยเพียงไร? หรือที่พูดนั้นมีความจริงใจแค่ไหน อาจจะมีแต่เพียงคำโกหกหลอกลวงกันที่ได้ถูกนำมาพูดให้กันฟังหรือมีเพียงความ เงียบและการหลบหน้ากันเพราะคนพูดไม่อยากจะพูดในขณะที่คนฟังก็ไม่อยากจะฟัง
ผมอยากจะบอกว่าคนเราที่เรียกว่าเป็นสัตว์ชั้นสูงมีอารยธรรมก็ตรงที่มีภาษา พูด ภาษาเขียน แต่หากไม่ได้ใช้ภาษาไม่ว่าจะพูดหรือเขียนกันแล้วคนเราจะอยู่ด้วยกันด้วย ความเข้าใจกันได้อย่างไร? หรือหากพูดโดยใช้อารมณ์มากว่าเหตุผล การพูดก็ไรประโยชน์ และที่แย่กว่านั้นก็คือ คนพูดเอาแต่พูดแต่คนฟังไม่อยากจะฝังเพราะเบื่อที่จะฟัง หากเหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นในครอบครัวแล้ว อนาคตครอบครัวจะเป็นเช่นไร?
ผมได้ เคยได้อ่านบทความเรื่อง 100 คำพูดที่พ่อแม่ควรพูด และที่ลูกไม่อยากฟัง จึงอยากจะเอามาให้ได้อ่านกัน โดยหวังเพียงให้การพูดคุยกันในระหว่างครอบครัวได้เป็นไปด้วยดี เรียกว่าคนพูดรู้วิธีพูดคนฟังก็อยากจะฝัง อะไรๆก็คงจะดีขึ้นครับ
งาน วิจัยนี้เป็นของรศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ และคณะจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย งานศึกษาชิ้นนี้บอกทางออกสำหรับการแก้ปัญหา ของครอบครัวอย่างหนึ่ง ซึ่งยุคนี้พ่อแม่ลูกมักคุยกันไม่รู้เรื่อง ด้วยมีปัญหาในการ "สื่อสาร" ให้เข้าใจ มันกลายเป็นว่ามีช่องว่างของวัย และอคติของความรู้ และไม่รู้แฝงอยู่ ทำให้เด็กรุ่นนี้ไม่ค่อยเข้าใจหัวอกพ่อแม่ยุคปัจจุบัน และพ่อแม่ก็ไม่สามารถเข้าถึงความคิด ความรู้สึกของเด็กในยุคนี้ เรียกว่าไปด้วยกันไม่ได้ และผลที่ปรากฎออกมาพบว่า เด็ก เยาวชนที่มีปัญหานั้น ล้วนเป็นปัญหาสังคมที่มีแนวโน้มความเข้มข้นที่รุนแรงขึ้น
ดัง นั้น เพื่อเป็นวิธีป้องกันปัญหาสังคมด้วยการสร้างสายสัมพันธ์อันดีให้ครอบครัวและ สังคม ดร.สมพงษ์ จิตระดับ-พร้อมคณะ ก็ได้สำรวจความคิดเห็นของวัยรุ่นว่า เขาอยากฟังอะไรจากพ่อแม่บ้าง
100 คำพูดดีๆ ที่พ่อแม่ควรพูด 3 อันดับแรกสูงสุดที่เด็กๆ อยากได้ยิน เริ่มตั้งแต่?
1. พูดด้วยน้ำเสียงอันไพเราะ อ่อนหวานน่าฟัง 2. พูดให้กำลังใจ, ไม่เป็นไรทำใหม่ได้ และ 3. ให้คำปรึกษาหารือ เช่น ปรึกษาพ่อแม่ได้นะลูก ทำดีแล้วลูก ดีมากจ้ะ
นอกจากนั้นเป็นการแบ่งให้เห็นประเภทกลุ่มคำ
ความสัมพันธ์ในครอบครัว
ยอม รับในสิ่งที่เราเป็น, ให้ความรัก, พ่อแม่ดีใจที่หนูเป็นลูก, ดูแลตัวเองดีๆนะ, มีอะไรให้แม่ช่วยไหม, จำไว้ว่าพ่อเป็นห่วง, รักและหวังดี
การให้กำลังใจชมเชย
พูด ในสิ่งที่ดีกับตัวเรา, หนักแน่น มันจะช่วยให้เข้มแข็งในเวลาที่อ่อนแอ, พยายามเรียนอย่างเต็มที่, ไม่เป็นไรยินดีช่วยเสมอ, ลูกเล่นกีฬาเก่งมาก, ดูแลน้องให้ดี ไม่รังแกน้อง, สู้ต่อไป, จงทำดีเถิด, ค่อยเป็นค่อยไปทำดีที่สุด, ไม่ผิดหรอก, แก้ไขได้, ดีใจด้วย, เรียนเก่งๆนะ, ไม่ดีไม่เป็นไรเริ่มใหม่, อย่าท้อ, เราช่วยกันแก้ปัญหาได้, เวลาทำให้ทุกอย่างดีขึ้น, ทำสิ่งที่อยากทำก่อนถูกผิดไม่เป็นไร ลองทำก่อน, ทำอะไรก็ขอให้สำเร็จ, ลูกสาวพ่อไม่ใช่คนโง่ย่อมรู้ว่าอะไรควรอะไรไม่ควร, เก่งมากลูก, เก่งจริง, มีพรสวรรค์จริงๆ, คนเก่งไม่ต้องไปกลัว กลัวคนขยันเข้าไว้, แค่นี้ก็ดีแล้ว, คะแนนมากน้อยไม่สำคัญขอแค่อย่าตกก็พอแล้ว
การอบรมสั่งสอน
อย่า เพิ่งกลับนะมันดึกแล้ว, ไม่เป็นเด็กขโมย, ไม่ไปมั่วสุมยาเสพติด, บอกอะไรควรเชื่อฟัง, ไปไหนระวังตัวด้วยนะลูก, วันนี้รีบกลับนะ, ผิดเป็นครู, ทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว, ช่วยทำงานเสร็จแล้วค่อยไปเล่น, พ่อและแม่ไม่อยากให้ลูกลำบาก ขยันเข้าไว้นะ, ที่พ่อแม่ทำโทษเพราะรักลูกนะ อยากทำให้คิด ไม่อยากทำให้โกรธ ไม่ใช่ไม่รัก, ไหนลองยกเหตุผลมาซิ, ตั้งใจเรียนให้เก่ง อย่ามัวแต่เล่นเดี๋ยวเรียนไม่ทันเพื่อน, เพื่ออนาคตลูกต้องตั้งใจเรียน, ลำบากก่อนสบายทีหลัง, การทำสิ่งใดต้องรู้คุณค่าของคน คือความกตัญญู, พ่อแม่ลำบากเพื่อลูก, ลูกต้องลบคำดูถูกของคนทางบ้านเราให้ได้, เพื่อแบบนี้ต้องมีมั่ง อย่าทำอย่างเขาแล้วกัน
การแก้ปัญหา การให้คำปรึกษา
มี อะไรคุยกันได้ทุกเมื่อ, เงินทองของนอกกายแต่เก็บไว้บ้างก็ดีนะ, ไม่ว่าลูกจะตัดสินใจอย่างไร พ่อแม่หาทางช่วยเหลือหาทางออกให้, ใจเย็นๆทุกอย่างมีทางแก้
การถามถึงสารทุกข์ ชวน มากินข้าว, ไปไหนมาลูก, อยากกินอะไรไหม, ทำข้อสอบได้ไหม, ที่ไปเอ็นทรานซ์มาน่ะ ไม่ต้องเครียด, การบ้านทำเสร็จหรือยังลูก ทำให้เสร็จจะได้พัก, ทำไมเหรอ (พ่อ/แม่) อะไร ยังไงคะ
การแจ้งให้ทราบ แม่ ซื้อของมาฝาก, แม่จะไปธุระข้างนอก, เดี๋ยวแม่พาไปเที่ยว, พ่อจะเก็บเงินที่ไหนมาไว้ให้, พ่อจะพาพวกเรากลับบ้าน, วันนี้พ่อจะไม่กินเหล้าและเลิก, พ่อจะไปทำงาน (พ่อมีงานทำ), จะพาไปหาหมอ, จะพาไปโรงเรียน, จะหางานทำให้, จะพาไปต่อบัตรประชาชน, จะพาไปเข้าค่าย, ช่วยแม่ทำงานนี้หน่อยสิจ๊ะ
ลักษณะการพูดที่ดี พูด เป็นกันเองไม่ถือตัว, ไม่พูดเรื่องเล็กเป็นเรื่องใหญ่, เป็นผู้อ่อนน้อม, ไม่ตี ,พูดจริงทำจริง, สั้นๆง่ายๆได้ใจความ, คำพูดที่เข้าใจเราให้ความรู้สึกที่ดี, คำพูดที่ยอมรับไม่ซ้ำเติม, แม่พูดจาดีกับเด็ก, ตั้งใจสนทนา, รับฟังทุกเรื่องราว, ไม่ทำให้หงุดหงิด, ทำให้ความคิดไม่ถูกปิดกั้น, คำพูดมีสาระเนื้อน่าฟัง, ฟังความคิดผู้อื่น, การพูดที่ไม่โต้แย้งกัน, ลงท้ายคำพูด คะ ขา ข่ะ ออ?จ๋า
ผมขอฝากคำพูดที่น่าฟังเหล่านี้ไปถึงคุณพ่อ-แม่ทุกคนพูดกับลูกหลาน เพื่อเพิ่มความอบอุ่นให้แก่ครอบครัวของทุกๆคน นะครับ
คำพูดที่ลูกไม่อยากฟังจากพ่อแม่........
เมื่อได้พูดถึงคำพูดที่น่าฟังแล้วและเพื่อสร้างความตระหนักแก่พ่อแม่ ผู้ปกครองทั้งหลายว่า คำพูด หรือการสื่อสารในสิ่งที่ไม่ได้คิดไว้ก่อน มีผลต่อผู้ฟังอย่างมาก โดยเฉพาะวัยรุ่นวัยที่แข็งกร้าว ชอบการท้าทาย ซึ่ง ดร.สมพงษ์กล่าวว่า คนเป็นพ่อแม่นั้นอย่าใช้คำว่า "ห้าม" กับลูกวัยรุ่น เพราะผลการศึกษา เราพบเด็กสารภาพว่า ถ้าการขออนุญาตกระทำสิ่งใดแล้ว พ่อแม่ห้าม เขาจะทำในสิ่งที่ตรงกันข้าม เพราะอยากท้าทาย และอยากรู้ว่ามันจะเป็นอย่างไร ดังนั้น พ่อแม่ยุคนี้จึงต้องฟังลูกให้มาก บ่นให้น้อยลง อยู่กับเขาอย่างใจเย็น พูดคุยด้วยการดูจังหวะเวลาที่เหมาะสม
เพื่อเป็นการเตือนตัวเองว่า คำพูดรุนแรง ที่จะสร้างความรู้สึกไม่ดีให้กับลูก 3 อันดับแรกคือ พูดคำหยาบ คำไม่สุภาพ ตามมาด้วย การด่าทอ พูดเสียงดังโหวกเหวก พูดจาทานดัน ไม่ยอมรับฟังเหตุผล เมื่อจำแยกเป็นประเภท จะได้ดังนี้
ลักษณะคำพูดที่รุนแรง พูด บ่อยเกินไปซ้ำๆ ไม่มีสาระ, พูดมะนาวไม่มีน้ำ, รู้อย่างนี้เอาขี้เถ้ายัดปากตั้งแต่เด็ก, ไม่มีความเกรงใจ, ผลาญเงินเท่าไรผลาญไปเลย, ไม่รู้ว่าลับหลังเรามันจะขนาดไหน, อยู่เฉยๆไม่ตอบไม่พูดไม่จา, น้ำเสียงน่ากลัว, คะแนนห่วยแตก, คำพูดที่ทำให้ผู้อื่นเสียใจ
พูดดุด่า ด้วยอารมณ์ที่รุนแรง โต เป็นควาย หมาเลียตูดไม่ถึง ยังทำแบบนี้อีก, ไม่ได้เรื่อง, มีปัญหากับกูรึเปล่า, โง่อวดฉลาด, ลูกนอกคอก, เถียงคำไม่ตกฟาก, กลับดึกดื่น ค่ำมืด, เลี้ยงเสียข้าวสุก, เกิดมาทำไมเรื่องมาก วุ่นวาย, ฉันยังเป็นแม่แกอยู่นะ
พูดตักเตือน ว่ากล่าว อะไร เนี่ย อะไรถึงเป็นแบบนี้, หยุดพูดได้แล้ว, ว่ากล่าวตักเตือน, คำสั่งงานต่างๆ, เป็นลูกผู้หญิงไม่เคยช่วยงานพ่อแม่เลย, อย่าเสียมารยาทสิ, คุยอะไร โทรศัพท์บอกให้วาง, ทำไมไม่ระมัดระวังเลย ซุ่มซ่าม
พูดห้าม ออกคำสั่ง อย่า เพิ่งมากวน, นี่อย่าส่งเสียงดังได้ไหม, ขอออกไปข้างนอกบ้าน แต่พ่อแม่ปฏิเสธ "ไม่ต้องไป", จะไปหรือไม่ไป, เป็นเด็กเป็นเล็ก เรื่องผู้ใหญ่อย่ายุ่ง, อย่าทำอย่างนั้นสิ, อย่าออกไปไหนนะ, อย่าทำอีก
คำพูดขับไสไล่ส่ง เอา เงินกับเพื่อนแกโน่น, ตัดลูกตัดแม่กันไปเลย, เดี๋ยวตัดหางปล่อยวัด คำพูดดูถูกประณาม เหยียดหยาม สอนอะไรไม่จำ พูดจนปากเปียกปากแฉะ, ฉันจะดูว่าน้ำหน้าอย่างแกจะไปรอดไหม
พูดประชดประชัน ให้แต่เพื่อน, จะเอาเพื่อนมาเป็นพ่อแม่
ลักษณะคำพูดอื่นๆ อยากอยู่ใกล้ๆเพื่อน, อยากอยู่คนเดียว,พอเราแก่ลงลูกคงไม่เลี้ยงดูเราหรอก
คำพูดหลักๆข้างต้นเมื่อพูดไปแล้วส่งผลต่อจิตใจ กระทบความรู้สึกกับผู้ฟัง โดยเฉพาะคนเป็นลูกที่พ่อแม่ควรระวังอย่างยิ่ง
By: จากหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน 17/3/46 คอลัมน์ โลกวัยใส
|