มีพวกพืชอาหารที่ทานแล้วช่วยลดอาการปวดบวมหรือปวดอักเสบบ้างป่ะครับ ขอบคุณครับ
เท่าทีเคยอ่านนะคะ เอาที่ตัวเองทานได้ อันที่ได้ผลกับตัวเองนะคะ เถาวัลย์เปรียง ของอภัยภูเบศร์ ทานแล้วโอเค ....บัวบก ก็อ่านพบว่าลดการอักเสบแต่ตอนที่ปวดจริงๆไม่ได้ทาน ส่วน ขมิ้นชัน ก็มีรายงานที่ทำวิจัยเคยอ่านในหนังสือ ว่าแก้ปวดเทียบกับยาของแผนปัจจุบัน ไม่อยากเอ่ย เพราะไม่แน่ใจ แต่ตัวเองทานไม่ได้เอาฤิทธ์แก้ปวด เลยคงตอบได้ไม่ดีนักค่ะ ทั้งหมดส่วนมากทานในรูปแคปซูล แล้วจะหามาฝากค่ะ
ข้อมูลทางพฤกษศาสตร์
ชื่อวิทยศาสตร์ Centella asiatica (Linn.) Urban.
ชื่อวงศ์ Umbelliferae
ชื่ออังกฤษ Asiatic pennywort
ชื่อท้องถิ่น ผักแว่น, ผักหนอก, ปะหนะ, เอขาเด๊าะ
หลักฐานทางวิทยาศาสตร์1. ฤทธิ์ลดการอักเสบ
สารสกัดเอทานอลจากใบ มีฤทธิ์ลดการอักเสบอย่างอ่อนในหนูขาว โดยไปยับยั้งเอนไซม์ cyclooxygenase-1 ซึ่งเกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์ prostraglandin (1) เมื่อป้อนสารสกัดน้ำจากทั้งต้น ขนาด 0.1 และ 0.25 ก./กก. และ asiaticoside ขนาด 5 และ 10 มก./กก. พบว่ามีผลลดการอักเสบในหนูขาวที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารด้วยกรดอะซีติก โดยจะยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ inducible nitric oxide synthase (iNOS) (2) สาร saponin จากบัวบก จะลดอาการอักเสบและอาการบวมในหนูถีบจักรที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดอาการบวมที่หูด้วย croton oil (3) บัวบกมีสาร triterpenes หลายชนิด ได้แก่ asiaticoside, madecassic acid, madecassosid, asiatic acid ซึ่งมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ (4) สาร madecassoside จากบัวบก มีฤทธิ์ลดการอักเสบที่เกิดจากการที่ผิวหนังแบ่งตัวผิดปกติ (5) ขี้ผึ้ง Madecassol ซึ่งประกอบด้วยสาร asiatic acid, madecassic acid และ asiaticoside สามารถลดการอักเสบ เมื่อใช้ทาที่ผิวหนังหนูซึ่งเกิดการอักเสบจากการฉายรังสี (6)
ยาเตรียมที่มีสาร asiaticoside ประกอบอยู่ 0.3% ที่ความเข้มข้นของยาเตรียม 0.5, 1 และ 1.5% มีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของ NF-kB การสร้าง IL-8 และ TNF-a ในเซลล์ human monocytes (THP-1) ที่ถูกกระตุ้นด้วย lipopolysaccharide รวมทั้งยับยั้งการสร้าง IL-2 ในเซลล์ Jurkat ที่ถูกกระตุ้นด้วย Phytochematoglutinin ผลิตภัณฑ์รูปแบบต่างๆ ได้แก่ สบู่เหลวล้างหน้าและตัว โลชั่น และซีรั่มทาผิว ที่มียาเตรียมผสมอยู่ 1, 1.5 และ 3% ตามลำดับ เมื่อนำมาทดลองใช้กับผู้ป่วยที่มีอาการผิวหนังอักเสบเรื้อรัง พบว่าสามารถลดการอักเสบของผิวหนังได้ (7) ผงแห้งจากส่วนเหนือดินของบัวบก ให้คนรับประทาน สามารถลดอาการอักเสบได้ (
มีการจดสิทธิบัตรสารสกัดบัวบกซึ่งประกอบด้วยสาร madecassoside และ terminoloside ในการนำมาใช้ในเครื่องสำอางและยาเพื่อลดการอักเสบ (9) และตำรับยาซึ่งมีบัวบกเป็นส่วนประกอบ เพื่อใช้ในการรักษาการอักเสบของไตและกรวยไต กระเพาะปัสสาวะ และทางเดินปัสสาวะ (10)
2. ฤทธิ์ต้านฮีสตามีนสารสกัดใบบัวบกด้วยแอลกอฮอล์ผสมน้ำ (1:1) สามารถต้านอาการแพ้ได้ จึงช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวด หรืออักเสบเนื่องจากแมลงกัดต่อย (11)
3. ฤทธิ์แก้ปวด
สารสกัด 60% เอทานอลจากใบ ขนาด 20 มก./กก (12) และสารสกัด 95% เอทานอลจากทั้งต้น ขนาด 100 มก./กก. (13) มีฤทธิ์แก้ปวดในหนูขาวและหนูถีบจักร แต่สารสกัด 50% เอทานอลจากทั้งต้นในขนาด 125 มก./กก. ไม่มีฤทธิ์แก้ปวด เมื่อฉีดเข้าช่องท้องหนูถีบจักร (14)
4. ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย
สารสกัดเฮกเซนจากส่วนราก มีฤทธิ์ต้านเชื้อBacillus subtilis, Escherichia coli, Proteus vulgaris และ Pseudomonas cichorii แต่ไม่มีผลต่อเชื้อ Salmonella typhimurium (15) สารสกัดเอทานอล (16-18) และสารสกัดด้วยน้ำร้อน (16, 19) จากส่วนเหนือดิน มีฤทธิ์ต้านเชื้อ Staphylococcus aureus (16-19), b-streptococcus group A, Pseudomonas aeruginosa (18, 19) และ B. subtilis (17)
สารสกัดเฮกเซน สารสกัดไดคลอโรมีเทน สารสกัดเอทิลอะซีเตท สารสกัดอีเทอร์ และสารสกัดเมทานอลจากใบ มีฤทธิ์ต้านเชื้อ S. aureus, B. subtilis, Klebsiella aerugenes, P. vulgaris แต่ไม่มีผลต่อเชื้อ E. coli และ P. aerogenase (20) สารสกัดเมทานอลจากใบและลำต้น มีฤทธิ์ต้านเชื้อ S. aureus, E. coli, B. subtilis,และ P. aeruginosa (21) สารสกัดอัลกอฮอล์จากใบ (22, 23) และน้ำหมักชีวภาพจากใบ (23) มีฤทธิ์ต้านเชื้อ S. aureus (22, 23)
สารสกัดอัลกอฮอล์จากทั้งต้น มีฤทธิ์ต้านเชื้อ S. aureus, E. coli, B. subtilis, P. aeruginosa และ S. typhimurium (24) สารสกัด 95% เอทานอล ไม่ระบุส่วนสกัด มีฤทธิ์ต้านเชื้อ Aeromonas hydrophila ได้ โดยมีค่า MIC 312.5 มก./มล. (25) น้ำมันหอมระเหย ไม่ระบุความเข้มข้น (26, 27) และความเข้มข้น 0.05% (28) มีฤทธิ์ต้านเชื้อ B. subtilis, P. aeruginosa, Shigella sonnei (26), S. aureus (26, 28)และ E. coli (26-28) สาร oxyasiaticoside ซึ่งเป็นอนุพันธ์ของ asiaticoside สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อวัณโรคในหลอดทดลอง และสามารถลดปริมาณแผลที่เกิดจากเชื้อวัณโรคในตับ ปอด ปมประสาทของหนูตะเภาที่ทำให้เป็นวัณโรคได้ (29)
5. ฤทธิ์สมานแผลสารสกัด 95% เอทานอลจากใบ ขนาด 1 มล./กก. พบว่ามีผลเพิ่มการเจริญเติบโตของเซลล์เยื่อบุผิว เพิ่มการสร้างคอลลาเจน เมื่อให้ทางปากและทาที่แผลของหนูขาว (30) สารสกัดจากบัวบก (titrated extract) ซึ่งประกอบด้วยสาร asiatic acid, madecassic acid และ asiaticoside มีฤทธิ์สมานแผล (31, 32) โดยจะเร่งการสร้าง connective tissue เพิ่มปริมาณคอลลาเจน และกรด uronic ในหนูขาว (31) และกระตุ้นการแสดงออกของยีนในเซลล์ human fibroblast ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างหลอดเลือดและเนื้อเยื่อประสานในบริเวณที่เนื้อเยื่อถูกทำลาย (32) เมื่อนำสารสกัดมาใช้ทาภายนอกเพื่อรักษาแผลในหนูขาว พบว่าทำให้แผลหายเร็วขึ้น และแผลมีขนาดเล็กลง แต่ถ้าใช้รับประทานจะไม่ได้ผล (33) ขณะที่รายงานบางฉบับ พบว่าเมื่อให้หนูขาวกินสารสกัดในขนาดวันละ 100 มก./กก. มีผลในการรักษาแผลโดยทำให้การสร้างผิวหนังชั้นนอกเร็วขึ้น และบาดแผลมีขนาดเล็กลง (34)
ครีม ขี้ผึ้งและเจลที่มีสารสกัดน้ำจากบัวบก 5% เมื่อใช้ทาที่แผลของหนูขาว 3 ครั้ง/วัน นาน 24 วัน พบว่ามีผลเพิ่มการเจริญเติบโตของเยื่อบุผิว เพิ่มการสร้างคอลลาเจนและเพิ่ม tensile strength ซึ่งสูตรที่อยู่ในรูปเจลจะให้ผลดีกว่าขี้ผึ้งและครีม (35) เจลที่ละลายน้ำได้ (hydrogel) ที่มีสารสกัดจากบัวบก (titrated extract) ซึ่งประกอบด้วย asiaticoside, asiatic acid และ madecassic acid มีฤทธิ์สมานแผลได้ โดยจะลดขนาดของแผลที่ผิวหนังของหนูขาวใน 9 วัน (36) และเจลที่มีสารสกัดบัวบกอยู่ 0.5, 1 และ 2% มีฤทธิ์สมานแผลในเยื่อบุผิวในปากได้ (37)
สาร asiaticoside มีฤทธิ์สมานแผล เร่งการหายของแผล เมื่อทดลองในหนูขาว (38-40) หนูถีบจักร (41, 42) และในคน (43) เมื่อให้สาร asiaticoside ขนาด 1 มก./กก. ทางปากแก่หนูตะเภา และใช้ทาที่ผิวหนังในหนูตะเภาปกติและหนูขาวที่เป็นเบาหวานซึ่งแผลหายช้า ที่ความเข้มข้น 0.2% และ 0.4% ตามลำดับ พบว่ามีผลเพิ่มความแข็งแรงของเนื้อเยื่อ ( tensile strength) เพิ่มปริมาณของคอลลาเจน และลดขนาดของแผล (44) tincture ที่มี asiaticoside เป็นส่วนประกอบ 89.5% จะเร่งการหายของแผล เมื่อใช้ทาที่แผลของหนูตะเภา (45) สาร ethoxymethyl 2-oxo-3,23-isopropylidene-asiatate ซึ่งเป็นอนุพันธ์ของ asiatic acid มีฤทธิ์ดีในการเร่งการหายของแผล โดยมีแผลเป็นเกิดขึ้นน้อยมาก (46)
สำหรับการทดลองในคน มีรายงานว่าครีมที่มีสารสกัดอัลกอฮอล์จากบัวบกเป็นส่วนประกอบ 0.25-1% สามารถช่วยรักษาและสร้างผิวหนังในคนสูงอายุ (47) ครีมที่มีสารสกัดจากบัวบก 1% สามารถรักษาแผลอักเสบและแผลแยกหลังผ่าตัดในผู้ป่วยจำนวน 14 ราย ภายใน 2-8 สัปดาห์ โดยพบว่าได้ผลดี 28.6% ผลปานกลาง 28.6% และผลพอใช้ 35.7% ไม่ได้ผล 1 ราย (48, 49) และรักษาแผลเรื้อรังที่เกิดจากอุบัติเหตุ ในผู้ป่วยจำนวน 22 ราย ภายใน 21 วัน พบว่าขนาดของแผลจะลดลง มีแผลหายสนิท 17 ราย ยังไม่หายสนิท 5 ราย (50) tincture ที่อยู่ในรูป aerosol ซึ่งมี asiaticoside 89.5% เมื่อใช้ฉีดที่แผลของผู้ป่วยซึ่งเป็นแผลชนิดต่างๆ จำนวน 20 ราย พบว่าสามารถรักษาแผลหายได้ 16 ราย (64%) และทำให้อาการดีขึ้น 4 ราย (16%) โดยมีอาการข้างเคียงคือ การไหม้ของผิวหนัง (burning sensation) (45) เมื่อให้ผู้ป่วยที่เป็น postphlebitic syndrome รับประทานสารสกัด triterpenoid ในขนาด 90 มก./วัน นาน 3 สัปดาห์ พบว่าจะลดการเพิ่มจำนวนของการพบเซลล์เยื่อบุหลอดเลือดในเลือด (51)
ตำรับยาซึ่งมีส่วนสกัดที่ละลายน้ำได้จากบัวบกที่มี asiaticoside อยู่ 60% นำมาใช้ในการรักษาแผลบาดเจ็บ แผลผ่าตัด ไฟไหม้ แผลเป็น ผิวหนังหนา รวมทั้งลดการสร้างเนื้อเยื่อเส้นใยที่ผิดปกติของตับและไต (52) ยาเม็ดซึ่งมีสารซาโปนินจากบัวบกเป็นส่วนผสม มีผลในการเร่งการหายของแผล กระตุ้นการสร้าง granulation และหนังกำพร้าที่แผล (53)
6. ทำให้เลือดหยุดเร็วสารสกัดบัวบกด้วยน้ำทำให้เลือดหยุดเร็ว activated partial thromboplastin time และ prothrombin time ลดลง (54, 55)
7. ฤทธิ์ต้านเชื้อราสารสกัดเอทานอลจากทั้งต้น มีผลต้านเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคกลาก Trichophyton mentagrophytes และ T. rubrum (56) ในขณะที่สารสกัดด้วยน้ำร้อน ไม่มีผลต้านเชื้อราทั้ง 2 ชนิดนี้ และเชื้อ Candida albicans (57) น้ำมันหอมระเหย มีฤทธิ์ต้านเชื้อ Aspergillus niger, Rhizopus oryzae, Fusarium solani, Candida albicans และ Colletotrichum musae (27)
8. รักษาแผลในกระเพาะอาหารสารสกัดเอทานอลจากทั้งต้น ขนาด 21.8 มก./กก. (58) และจากราก ขนาด 100 มก./กก. (59) สารสกัดน้ำจากทั้งต้น (60) และจากใบ (61) ขนาด 250 มก./กก. มีฤทธิ์รักษาแผลในกระเพาะอาหารในหนูขาวที่เหนี่ยวนำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารด้วยความเครียดและกรดเกลือในเอทานอล (61) เมื่อป้อนสารสกัดจากทั้งต้น ขนาด 0.05, 0.1 และ 0.25 ก./กก. และสาร asiaticoside ขนาด 1, 5 และ 10 มก./กก. แก่หนูขาวที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารด้วยกรดอะซีติก พบว่ามีฤทธิ์รักษาแผลในกระเพาะอาหาร โดยจะลดขนาดของแผล เพิ่มจำนวนของหลอดเลือดขนาดเล็กในเนื้อเยื่อ เพิ่มจำนวนและการแพร่กระจายของเซลล์ที่แผล นอกจากนี้ยังเพิ่มการแสดงออกของ basic fibroblast growth factor และกดการทำงานของเอนไซม์ myeloperoxidase (62)
น้ำคั้นขนาด 200 และ 600 มก./กก. เมื่อป้อนให้หนูขาว วันละ 2 ครั้ง นาน 5 วัน มีผลรักษาแผลในกระเพาะอาหารหนูที่ถูกเหนี่ยวนำด้วยเอทานอล แอสไพริน ความเย็น และการผูกกระเพาะอาหารได้ น้ำคั้นที่ขนาด 600 มก./กก. จะเพิ่มการหลั่ง gastric juice mucin และเพิ่ม mucosal cell glycoproteins (63) เมื่อให้น้ำคั้นขนาด 1, 2, 4 และ 8 ก./กก. โดยการฉีดเข้าลำไส้เล็กหนูขาวที่ถูกกระตุ้นให้เกิดการหลั่งสารในกระเพาะอาหารด้วย histamine และ carbachol พบว่าไม่มีผลต่อการหลั่งกรด เอนไซม์เปปซิน เมือกที่ละลายในน้ำย่อย และเมือกที่เคลือบเยื่อบุกระเพาะอาหารที่ถูกกระตุ้นด้วย histamine แต่ที่ขนาด 4 และ 8 ก./กก. มีแนวโน้มที่จะเพิ่มการหลั่งเมือกที่ละลายในน้ำย่อยที่กระตุ้นด้วย carbachol น้ำคั้นขนาด 4 ก./กก. มีฤทธิ์กระตุ้นการไหลเวียนโลหิตบริเวณเยื่อบุกระเพาะอาหาร ขณะที่ขนาด 8 ก./กก. จะลดการกระตุ้นการไหลเวียนโลหิตบริเวณเยื่อบุกระเพาะอาหารที่ถูกกระตุ้นด้วย histamine (64)
การทดลองในคนพบว่า สารสกัดจากบัวบก (Madecassol) มีฤทธิ์ในการรักษาแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ได้เช่นกัน (65, 66)
หลักฐานความเป็นพิษและการทดสอบความเป็นพิษ
1. การทดสอบความเป็นพิษ
ไม่พบความเป็นพิษของสารสกัดด้วย 50% เอทานอล เมื่อฉีดเข้าทางช่องท้องของหนูถีบจักร ขนาด 250 มก./กก. (67) และฉีดเข้าใต้ผิวหนังหรือให้ทางปากของหนูขาว ขนาด 10 ก./กก. (68) สารสกัด 70% เอทานอลมีค่า LD50 เท่ากับ 675 มก./กก. ในหนูขาวเพศผู้ (ไม่ระบุวิธีการให้) (69)
2. พิษต่อเซลล์
สารไทรเทอร์ปีนส์จากทั้งต้น มีความเป็นพิษต่อเซลล์ fibroblast ของคน (70) สารสกัดเมทานอลและสารสกัดอะซีโตน ไม่เป็นพิษต่อเซลล์ human lymphocyte (71)
3. ฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์
สารสกัดอัลกอฮอล์มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ในแบบที่ต้องการเอนไซม์จากตับกระตุ้นการออกฤทธิ์ต่อเชื้อ Salmonella typhimurium TA98, TA100 (72) โดยมีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์แบบ frameshift เท่านั้น ไม่พบแบบ base-pair substitution สารสกัดน้ำจากส่วนเหนือดิน ไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ต่อเชื้อ S. typhimurium TA98, TA100 (73)
4. พิษต่อระบบสืบพันธุ์
น้ำคั้นจากทั้งต้น ขนาด 0.5 มล. มีผลคุมกำเนิดในหนูถีบจักร 55.60% (74) สารสกัดจากบัวบกขนาด 0.2 มล. ฉีดเข้าใต้ผิวหนังของหนูถีบจักร พบว่าไม่มีผลต่อการฝังตัวของตัวอ่อน (75) สาร saponin จากทั้งต้น ขนาด 2% ไม่มีผลฆ่าเชื้ออสุจิของคน (76)
5. ทำให้เกิดอาการแพ้
สารสกัด 30% อีเทอร์ ทำให้เกิดการระคายเคืองอย่างอ่อนต่อผิวหนังหนูตะเภา (77) ในคนมีรายงานการแพ้และอักเสบต่อผิวหนัง เมื่อใช้ผงแห้ง (78) สารสกัดกลัยโคไซด์ 2% (79) สารสกัดน้ำ (80) สารสกัดจากทั้งต้น 2% (ไม่ระบุชนิดสารสกัด) และสารสกัด Madecassol ที่ประกอบด้วย asiatic acid, madecassic acid และ asiaticoside (81) oinment ที่มีบัวบกเป็นส่วนประกอบ 1% ทำให้เกิด acute erythematobullous (82) การระคายเคืองต่อผิวหนังเกิดได้ทั้งการใช้พืชสดหรือแห้ง (83) อาการระคายเคืองต่อผิวหนังของบัวบกมีผลค่อนข้างต่ำ (84)
การใช้บัวบกรักษาอาการเนื่องจากแมลงกัดต่อย
ใช้ใบขยี้ทาแก้แมลงกัดต่อย (85, 86)
การใช้บัวบกรักษาแผลใช้ใบสดพอกแผลสด วันละ 2 ครั้ง (85)
http://www.medplant.mahidol.ac.th/pubhealth/centella.html