ว่าด้วยเรื่อง ต้อหิน อีกครั้ง.....
glaucoma : ต้อหินต้อหิน เกิดจากสภาพความดันของนัยน์ตา (Intra-ocular pressure : I.O.P.) สูงขึ้นกว่าระดับปกติ (15-20 มิลลิเมตรปรอท) หรือภาวะความดันภายในลูกตาสูงกว่าปกติ ต้อหินเป็นโรคที่ร้ายแรง พบได้ค่อนข้างบ่อย พบมากในคนสูงอายุ แต่จะพบได้ตั้งแต่อายุ 40 ปีขึ้นไป ผู้ชายและ ผู้หญิงมีโอกาสเป็นพอ ๆ กัน
ต้อหินเป็นโรคตาที่ร้ายแรงชนิดหนึ่ง หากได้รับการรักษาเสียแต่เนิ่นๆ ก็มีทางรักษาให้หายขาดได้ ต้อหินจะทำให้ประสาทตาเสื่อม เกิดอาการตามัวตาบอดได้ คนที่มีอายุมากกว่า 40 ปี หากมีประวัติว่ามีคนในครอบครัวเป็นโรคนี้มาก่อน ควรตรวจวัดความดันลูกตาเป็นประจำทุกปี สาเหตุเกิดจาก 1. anterior chamber ช่องลูกตาหน้า/ ภายในลูกตามีการสร้างของเหลวหลายอย่างของเหลวที่สำคัญอันหนึ่งอยู่ตรงช่อง ว่างระหว่างกระจกตากับแก้วตาเรียกว่า ช่องลูกตาหน้า
2. aqueous humor น้ำเลี้ยงลูกตา/ มีลักษณะใส ไหลเวียนจากด้านหลังของม่านตา (iris) ผ่านรูม่านตา (pupil) เข้าไปในช่องลูกตาหน้า แล้วระบายออกนอกลูกตาโดยผ่านมุมแคบ ๆ ระหว่างม่านตากับกระจกตาดำเข้าไปในตะแกรงระบายเล็ก ๆ ที่มีชื่อว่า ท่อชเลมส์ (Schlemms canal)เข้าสู่หลอดเลือดดำที่อยู่นอกลูกตา
3. ความดันภายในลูกตาเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ/ หากการระบายของน้ำเลี้ยงลูกตาดังกล่าวเกิดจากติดขัดด้วยสาเหตุใดก็ตาม จนในที่สุดจะทำลายประสาทตา เป็นผลให้เกิดโรคต้อหิน
ส่วนประกอบของนัยน์ตา/ ความดันของนัยน์ตา 1. น้ำเอเควียส/ น้ำใส ซึ่งสร้างจากเส้นเลือด capillary บริเวณซิเลียรีบอดี โดยกระบวนการซึ่งประกอบด้วย dialysis,utrafiltration และ secretion
* น้ำเอเควียส/ เข้าสู่ช่องหลังม่านตาก่อน แล้วเข้าสู่หน้าม่านตาทางรูม่านตา และมีบางส่วนซึ่งซึมเข้าสู่วิเทรียส
* น้ำเอเควียส/ เกี่ยวกับ metabolism ของตาดำ และเลนซ์ตา ซึ่งเป็นส่วนของนัยน์ตาซึ่งไม่มีเส้นเลือดมาหล่อเลี้ยงโดยตรง ทำหน้าที่ทำให้ความดันของนัยน์ตาคงที่ Refractive index ของน้ำเอเควียสประมาณ 1.336 มีโปรตีนประมาณ 0.02% (blood plasma มี 7%) ส่วนน้ำตาล urea และ bicarbonate ต่ำกว่าใน plasma
* น้ำเอเควียส/ascorbic acid และ chloride สูงกว่าใน plasma จากช่องหน้าม่านตา มักถูกถ่ายเทจากนัยน์ตาทาง filtration angle และมีส่วนน้อยจะถูกดูดซึมผ่านเส้นเลือดของม่านตาใน stromal space ของม่านตา น้ำเอเควียสบางส่วน diffuse เข้าสู่วิเทรียสและผ่านออกทาง posterior ciliary veins
2. ช่องหลังม่านตา (Posterior Chamber) ช่องแคบๆ อยู่ระหว่างด้านหน้าของเลนซ์ตาและด้านหลังของม่านตาทางด้านหลังจะยื่นไปตาม ด้านในของซิเลียรีบอดีไปจนถึงบริเวณออราเซอราตา
3. ช่องหน้าม่านตา (Anterior Chamber) อยู่ระหว่างด้านหลังของตาดำ และด้านหน้าของม่านตาและเลนซ์ตา มี filtration angle อยู่โดยรอบ ส่วนที่แคบที่สุดของช่องหน้าม่านตาอยู่ระหว่างด้านหลังของตาดำกับรอยนูนอัน สุดท้ายของม่านตา ส่วนลึกที่สุดของช่องหน้าม่านตาอยู่บริเวณรูม่านตา ซึ่งอาจแตกต่างกันระหว่าง 3-3.6 มิลลิเมตร มุมของช่องหน้าม่านตา (Chamber Angle) อยู่ระหว่างรอยต่อระหว่างตาดำกับตาขาวกับโคนของม่านตา ถัดออกไปทางด้านข้างตรงส่วนที่ตาดำต่อกับตาขาว ซึ่งเรียกว่า canal of Schlemm -น้ำเอเควียสจากช่องหน้าม่านตา ซึมผ่าน trabecular meshwork เข้าสู่ Schlemm canal เส้นเลือดดำเล็ก ๆ เรียกว่า aqueous vein นำน้ำเอเควียสเข้าสู่ episcleral vein (anterior ciliary veins)
ต้อหินชนิดเฉียบพลัน (Acute angle-closure glaucoma)
* เกิดเนื่องจากโครงสร้างของลูกตาผิดแปลงไปจากคนปกติ เกิดมากในคนที่สายตามีกระบอกตาสั้น และช่องลูกตาหน้าแคบ เกิดในคนสูงอายุเป็นส่วนมาก เพราะแก้วตาจะหนาขึ้นตามอายุทำให้ช่องลูกตาหน้า ที่แคบอยู่แล้วแคบมากขึ้นไปอีกจึงมีโอกาสเกิดต้อหินมากขึ้น -ภาวะที่มีลูกตาหน้าแคบและตื้น/ มีมุมระบายน้ำเลี้ยงลูกตา (มุมระหว่างกล้ามเนื้อม่านตากับกระจกตา) แคบกว่าปกติ
* ภาวะที่มีลูกตาหน้าแคบและตื้น/ ทำให้กล้ามเนื้อม่านตาหดตัว (รูม่านตาขยายตัว) เช่น อยู่ในที่มืดหรือโรงภาพยนต์ มีอารมณ์โกรธ ตกใจเสียใจ
* ยาหยอดตาที่เข้ากลุ่มยาอะโทรพีน/ ทำให้รูม่านตาขยาย
* ยาแอนติสปาสโมดิก/ ทำให้มุมระบายน้ำเลี้ยงลูกตาถูกปิดกั้น น้ำเลี้ยงลูกตาเกิดคั่งอยู่ในลูกตา ทำให้เกิดความดันในลูกตาสูงขึ้นฉับพลันเป็นผลให้เกิดอาการต้อหินเฉียบพลัน ผู้ป่วยที่เป็นต้อหินควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ทำให้รูม่านตาขยายตัว เช่น อะโทรพีน และกลุ่มยาแอนติสปาสโมดิก
ต้อหินชนิดเรื้อรัง (Chronic open-angle glaucoma)
* ผู้ป่วยมีช่องลูกตาหน้าและมุมระบายน้ำเลี้ยงตากว้างตามปกติ ท่อชเลมส์ซึ่งเป็นตะเกรงระบายน้ำเลี้ยงลูกตาเกิดการอุดกั้น ซึ่งค่อย ๆ เกิดขึ้นเป็นเวลาแรมปีโดยไม่ทราบสาเหตุ ทำให้น้ำเลี้ยงลูกตาคั่ง และความดันในลูกตาสูงขึ้น
* เกี่ยวข้องกับกรรมพันธุ์ มักพบว่ามีญาติพี่น้องเป็นโรคนี้ด้วย
* ภาวะแทรกซ้อนของโรคตาอื่น ๆ เช่น ม่านตาอักเสบ ต้อกระจก เนื้องอกในลูกตา เลือดออกในลูกตา ตาถูกกระแทกแรง ๆ เป็นต้น
* เกิดจากการใช้ยาหยอดตาที่เข้าสเตอรอยด์นาน ๆ ยาสเตอรอยด์ทำให้ความดันในลูกตาสูง คนที่มีความดันในลูกตาสูงอยู่ก่อนแล้ว หากใช้ยานี้ก็จะเกิดโรคต้อหินได้โดยมากจะเกิดอาการหลังหยอดยานาน 6-8 สัปดาห์ หลังหยุดยาความดันในลูกตาจะลดลงสู่ระดับเดิม ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยายาหยอดตาที่เข้าสเตอรอยด์นี้ นาน ๆ
อาการ
ต้อหินเฉียบพลัน *
ผู้ป่วยมักจะมีอาการเพียงข้างเดียว แต่ตาอีกข้างหนึ่งก็มีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นต้อหินชนิดเฉียบพลันปวดลูกตาและ ศีรษะข้างหนึ่งรุนแรง และฉับพลันรุนแรงและนานเป็นวัน ๆ ร่วมกับอาการตาพร่ามัว มองเห็นแสงสีรุ้ง และคลื่นไส้อาเจียน มีอาการตาแดงเรื่อ ๆ ที่บริเวณ ตาดำมากกว่าบริเวณที่อยู่ห่างจากตาดำออกไป กระจกตา มีลักษณะขุ่นมัวไม่ใสเช่น ปกติ รูม่านตาข้างที่ปวดจะโตกว่าข้างปกติและเมื่อใช้ไฟฉายจะไม่หดลง หากใช้นิ้วกดลูกตา โดยผู้ป่วยมองต่ำ ใช้นิ้วชี้ทั้งสองข้างกดลงบนเปลือกตาบน จะรู้สึกว่าตาข้างที่ปวดมีความแข็งมากกว่าข้างที่ไม่ปวด
ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการปวดตา ตาแดง ตาพร่า เห็นแสงสีรุ้งเป็นพัก ๆ นำมาก่อนเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน ซึ่งมักจะเป็นตอนหัวค่ำ (เมื่อท้องฟ้าเริ่มมืด) และเป็นอยู่นานครั้งละ 1-2 ชั่วโมง ก็บรรเทาได้เองในรายที่เป็นต้อหินเรื้อรัง ผู้ป่วยมีอาการตามัวลงทีละน้อย ๆ เป็นแรมปี ซึ่งมักจะไม่รู้สึกมีอาการผิดปกติแต่อย่างไร ในระยะแรก แต่ผู้ป่วยจะมีลานสายตาแคบลงกว่าเดิมมาก ในเวลาต่อมา มีอาการตามัวอย่างมาก อาจมีอาการปวดตาร่วมด้วย ประสาทตาก็มักจะเสียจนแก้ไขไม่ได้
* ลานสายตาแคบลงกว่าเดิมมาก มองได้อาณาบริเวณไม่กว้าง อาจขับรถลำบาก เพราะมองไม่เห็นรถที่อยู่ทางซ้ายและขวาหรือรถแซงรถสวน หรือเวลาเดินอยู่ในบ้านอาจชนถูกขอบโต๊ะของเตียง ผู้ป่วยบางรายอาจรู้สึกมึนศีรษะเล็กน้อย อาจรู้สึกอ่านหนังสือแล้วปวดเมื่อยตาเล็กน้อยหรือเพลียตา และตาพร่าเร็วกว่าธรรมดา
* มักตรวจพบโดยบังเอิญขณะที่ไปตรวจรักษาด้วยโรคอื่น ส่วนใหญ่ผู้ป่วยบางรายอาจรู้สึกว่าตามัวลงเรื่อย ๆ ต้องคอยเปลี่ยนแว่นอยู่บ่อย ๆ ก็ไม่รู้สึกดีขึ้นในระยะสุดท้าย
การรักษา
ในรายที่เป็นเฉียบพลัน * ตรวจตา และวัดความดันลุกตา ซึ่งจะพบว่าสูงกว่าปกติ (ค่าปกติประมาณ 15-20 มิลลิเมตรปรอท)
* ยาลดความดันในลูกตา เช่น ไดอาม็อก (Diamox) ขนาด 250 มิลลิกรัม 2 เม็ดทุก 4 ชั่วโมง (ถ้าไม่ได้ผลอาจใช้ชนิดฉีดในขนาด 500 มิลลิกรัมเข้าทางหลอดเลือดดำ) และหยอดตาด้วย ยาหยอดตาไพโลคาร์พีน (Pilocarpine) ชนิด 4% ทุก 15-20 นาทีเพื่อให้รูม่านตาหดตัว (กล้ามเนื้อ ม่านตาคลายตัว)
* เมื่ออาการดีขึ้นอาจให้ยาห่างขึ้น
*
การผ่าตัด/ ถ้าสามารถทำใน 12-48 ชั่วโมง หลังมีอาการก็จะมีโอกาสหายได้ แต่ถ้าไม่ได้รักษาประสาทตาจะเสียและตาบอดได้ภายใน 2-5 วัน หลังมีอาการ ซึ่งการผ่าตัดปิดท่อระบายน้ำเลี้ยงตาที่ตาข้างที่ปกติให้ด้วย เพราะปล่อยไว้มีโอกาสกลายเป็นต้อหินเฉียบพลันในภายหลังได้
รายที่เป็นเรื้องรัง * ต้อหิน/ หากสงสัย เช่นมีประวัติว่ามีคนในครอบครัวเป็นโรคดังกล่าวหรือมีอาการตามัวลงเรื่อย ๆ จนต้องเปลี่ยนแว่นบ่อย ควรตรวจวัดความดันลูกตา และควรให้ยาหยอดตาไพโลคาร์พีน และให้กิน / ไดอาม็อก 1/ 2 - 1 เม็ด วันละ 4 ครั้งเพื่อลดความดันในลูกตาถ้าได้ผลอาจต้องกินยา
* ตรวจวัดความดันลูกตาไปเรื่อย ๆ แต่ถ้าไม่ได้ผลมักต้องรักษาด้วยการผ่าตัด -ยาหยอดตาที่เข้าอะโทรพีน หรือ ยาที่ทำให้รูม่านตาขยายตัว/ อาจกระตุ้นให้เกิดอาการต้อหิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีความดันลูกตาสูง (โดยไม่รู้ตัว) อยู่ก่อนแล้ว
นิตยสาร Medical Link ฉบับ 021
http://www.meedee.net/magazine/med/cover/3479