Forex-Currency Trading-Swiss based forex related website. Home ----- กระดานสนทนาหน้าแรก ----- Gold Chart,Silver,Copper,Oil Chart ----- gold-trend-price-prediction ----- ติดต่อเรา
หน้า: 1 [2]   ลงล่าง
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: คติธรรม  (อ่าน 2860 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 3 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
jainu
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #15 เมื่อ: มิถุนายน 16, 2013, 08:59:25 PM »

ชนะใคร ไม่เท่าชนะใจตน ตอนที่ 4. ทุกข์เพราะยึดมั่นถือมั่น
Posted by แค่ดูก็รู้แจ้ง
หมวด : ศาสนา
 
4.ทุกข์เพราะยึดมั่นถือมั่น




ในอินเดีย ลิงเป็นไม้เบื่อไม้เมากับชาวบ้านเพราะชอบขโมยผลไม้ในสวน
บ้านจึงคิดวิธีจับลิง โดยใช้กล่องไม้ซึ่งมีฝาด้านหนึ่งเจาะรูเล็กๆ พอให้ลิงสอดมือเข้าไปได้
ในกล่องมีถั่วซึ่งเป็นของโปรดของลิงวางไว้เป็นเหยือล่อ


วันดีคืนดีลิงมาที่สวนเห็นถั่วอยู่ในกล่อง
ก็เอามือล้วงเข้าไปหยิบถั่ว แต่พอถอนมือออกก็ติดฝากล้อง
เพราะกำมือของลิงนั้นใหญ่กว่าฝากล่องที่เจาะไว้
ลิงพยายามดึงมือเท่าไรก็ไม่ออก
พอชาวบ้านมาจับ ก็ปีนหนีขึ้นต้นไม้ไม่ได้ เพราะมีมือเปล่าอยู่ข้างเดียว
สุดท้ายถูกคนจับได้ลิงหาเฉลียวใจไม่ว่า เพียงแค่มันคลายมือออกเท่านั้น มันก็เอาตัวรอดได้
แต่เพราะยึดถั่วไว้แน่น ไม่ยอมปล่อยจึงต้องเอาชีวิตเข้าแลก






มีหลายอย่างที่เราอยากได้ใฝ่ฝัน
จนถึงกับยึดถือไว้อย่างเหนียวแน่นเวลาประสบปัญหา
เพียงแค่คลายสิ่งที่ติดยึดนั้นเสียบ้าง ปัญหาก็คลี่คลาย
แต่เป็นเพราะว่าเราไม่ยอมปล่อย จึงเกิดผลเสียตามมามากมาย
ไม่คุ้มกับสิ่งที่ยึดติด จะชอบหรือพึงพอใจกับอะไรก็ตาม
อย่าถึงกับยึดติดจนเหนียวแน่นเกินไป



เพราะโอกาสที่จะหน้ามืดตามัวนั้นมีสูงจนหาทางออกไม่เจอ
ปัญหาทั้งหลายในชีวิตนั้น ถ้าเรารู้จักปล่อยวางบางสิ่งเสียบ้าง
มันก็จะบรรเทาไปได้เยอะ บ่อยครั้งการปล่อยวางไม่เพียงแต่เป็นจุดเริ่มต้นของการแก้ปัญหาเท่านั้น
หากเป็นทางออกจากปัญหาเลยทีเดียว




จาก หนังสือ ชนะใคร ไม่เท่าชนะใจตน
โดย พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 17, 2013, 12:48:03 PM โดย jainu » บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #16 เมื่อ: มิถุนายน 16, 2013, 09:00:30 PM »

ชนะใคร ไม่เท่าชนะใจตน ตอนที่ 5.ทุกข์สุขเปรียบเหมือนหัวงูหางงู
Posted by แค่ดูก็รู้แจ้ง
5.ทุกข์สุขเปรียบเหมือนหัวงูหางงู


หลวงพ่อชาท่านเปรียบเทียบทุกข์กับสุขว่าเป็นเหมือนหัวงูกับหางงู
มนุษย์เราทั้งหลายไม่ต้องการทุกข์ ต้องการแต่สุขความจริงสุขนั้นก็คือทุกข์อย่างละเอียด
ส่วนทุกข์ก็คือทุกข์อย่างหยาบ พูดอย่างง่าย ๆ สุขและทุกข์นี้
ก็เปรียบเหมือนงูตัวหนึ่งทางหัวมันเป็นทุกข์ ทางหางมันเป็นสุข
เพราะถ้าลูบทางหัวมันก็มีพิษ ทางปากมันมีพิษ ไปใกล้ทางหัวมัน มันก็กัดเอา
ไปจับหางมันก็ดูเเหมือนเป็นสุข แต่ถ้าจับไม่วางมันก็หันกลับมากัดได้เหมือนกัน
เพราะทั้งหัวงูและหางงู มันก็อยู่ในงูตัวเดียวกัน



 
อารมณ์พอใจก็ดี ไม่พอใจก็ดี
หากเราไปจับยึดเมื่อไรก็เป็นทุกข์เมื่อนั้น พอใจ ดีใจ ไม่พอใจ เสียใจ
เป็นตัวเดียวกันเปรียบเหมือนงูเห่า ความดีใจ ความเสียใจเมนเกิดจากพ่อแม่เดียวกัน
คือ ตัณหา ความลุ่มหลงนั่นเอง
ฉะนั้น บางทีเมื่อมีสุขแล้วใจก็ยังไม่สบาย ไม่สงบ ทั้งที่ได้สิ่งที่พอใจแล้ว เช่น
ได้ลาภ ยศ สรรเสริญ ได้มาแล้วดีใจก็จริง แต่มันก็ยังไม่สงบจริง ๆ
เพราะยังมีความเคลือบแคลงใจว่ามันจะสูญเสียไป กลัวมันจะหายไป
ความกลัวนี่แหละ เป็นต้นเหตุให้มันไม่สงบ



 
บางทีมันเกิดสูญเสียไปจริงๆ ก็ยิ่งเป็นทุกข์มาก
นี่หมายความว่าถึงจะสุขก็จริงแต่ก็มีทุกข์เจือปนอยู่ในนั้นด้วย
แต่เราไม่รู้จัก เหมือนกันกับว่าเราจับงูเห่า ยึดในอารมณ์ไม่พอใจเปรียบเหมือนจับหัวงู
โดนงูกัดทุกข์ทันที ยึดในอารมณ์พอใจ เหมือนจับหางงู ดูเหมือนไม่อันตราย
แต่ถึงเราจับหางมันก็จริง ถ้าจับไม่วางมันก็หันกลับมากัดได้

ฉะนั้น ผู้แสวงหาความสุขที่แท้จริงต้องระมัดระวังความรู้สึกต่างๆ ที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นพอใจ หรือไม่พอ
ใจก็ตาม อย่าไปยึดมั่นถือมั่น




จาก หนังสือ ชนะใคร ไม่เท่าชนะใจตน
โดย พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 17, 2013, 12:50:34 PM โดย jainu » บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #17 เมื่อ: มิถุนายน 16, 2013, 09:02:52 PM »

ชนะใคร ไม่เท่าชนะใจตน ตอนที่ 6.ชนะใจตน คือชนะมาร
Posted by แค่ดูก็รู้แจ้ง ,
6.ชนะใจตน คือชนะมาร




สำหรับพวกเราทุกคน จริงๆ แล้วคนที่ตั้งใจจะทำความดีก็มีอยู่มาก บางช่วงเวลาก็ตั้งใจทำความดีเป็นพิเศษ ทำความดีถวายในหลวง รักษาศีล 8 ในวันพระ รักษาศีลปฏิบัติธรรมช่วงเข้าพรรษา เป็นต้น แต่หลายคนคงรู้สึกว่า ทำไมการทำความดีทำได้ยาก แม้เพียงแค่กำหนดรู้ลมหายใจเข้าลมหายใจออก ทำใจสงบต่อเนื่องกันสักแค่ 15 นาที 20 นาทีก็ทำได้ยาก เพราะมีมารมาขวางกั้นการทำดี "มาร" คืออุปสรรคกีดขว้างไม่ให้เกิดความดี ตามหลักพุทธศาสนา มีมาร 5 อย่าง ได้แก่ ขันธมาร กิเลสมาร อภิสังขารมาร เทวบุตรมาร และมัจจุราชมาร


1. ขันธมาร  เราเกิดเป็นมนุษย์มีขันธ์ 5 ขันธ์ ร่างกายของเราที่กว้างศอก ยาววา หนาคืบ เรียกว่า รูปขันธ์ ส่วนจิตใจ เรียกว่านามขันธ์ ประกอบด้วย เวทนาขันธ์ คือความรู้สึกทุกข์ สุข เฉยๆ สัญญาขันธ์ คือความจำได้หมายรู้ เช่นเห็นแก้วน้ำ ก็จำได้ว่าสิ่งนี้ใช้สำหรับใส่น้ำดื่ม เห็นปากกา ก็จำได้ว่าใช้สำหรับเขียนหนังสือ เป็นต้น สังขารขันธ์ คือการนึกคิดปรุงแต่งขึ้นมาเช่น เห็นผู้หญิงสวยๆ แล้วก็คิดปรุงแต่งอยากจะเป็นแฟนกับเขา วิญญาณขันธ์ คือการรับรู้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ


การที่เราตั้งใจนั่งสมาธิ กำหนดรู้ลมหายใจเข้า ลมหายใจออกเพียงแค่ 20 นาที ก็อาจทำได้ยากเพราะมีขันธมารเป็นอุปสรรคเช่น รูปขันธ์ คือร่างกายที่หิวข้าว หิวน้ำ ต้องการจะขับถ่าย หรือบางครั้งก็เจ็บป่วย หายใจไม่สะดวก เป็นต้น เวทนาขันธ์ รู้สึกร้อนไป หนาวไป แมลงกัดต่อยรู้สึกคน นั่งแล้วรู้สึกปวดเมื่อย เป็นต้น สัญญาขันธ์ เมื่อตั้งใจทำใจสงบ สัญญาคือความทรงจำต่างๆ จากอดีต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่เพิ่งเกิดขึ้น หรือเหตุการณ์ที่ผ่านมานานแล้ว ทั้งเรื่องที่น่าพอใจและไม่น่าพอใจก็มักจะเข้ามารบกวนจิตใจ ทำให้ไม่สามารถมีสติระลึกรู้ลมหายใจได้ สังขารขันธ์ คือจิตที่คิดปรุงแต่งไปต่างๆ นานา เช่น พรุ่งนี้จะทำอะไร งานที่จะต้องทำให้เสร็จมีอะไรเป็นต้น การนึกคิดปรุงแต่งเหล่านี้ทำให้จิตใจไม่สงบ และไม่ตั้งมั่นอยู่กับลมหายใจวิญญาณขันธ์ เมื่อเราตั้งใจกำหนดลมหายใจ เราต้องการรับรู้แต่ลมหายใจเพียงอย่างเดียว แต่การรับรู้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็เข้ามาหมด เช่น ได้ยินเสียง ได้กลิ่น เกิดความรู้สึกต่างๆ ทางกาย และรับรู้อารมณ์ทางใจ


โดยสรุปก็คือ เมื่อจะนั่งสมาธิกำหนดรู้ลมหายใจเข้า ลมหายใจออกติดต่อกันต่อเนื่องกันเพียงระยะเวลาสั้นๆ ก็ทำสำเร็จได้ยาก เพราะเพียงแต่มีขันธ์ 5 เป็นมาร เป็นอุปสรรค

2. กิเลสมาร กิเลสคือโลภะ โทสะ โมหะ เช่น เมื่อตั้งใจจะนั่งสมาธิ กำหนดลมหายใจเข้า ลมหายใจออก ทำใจสงบสัก 20 นาที ก็เกิดโลภะ เช่น จิตใจเกิดนึกคิดปรุงแต่งถึงสิ่งที่รักใคร่พอใจ นึกอยากจะกิน อยากจะไปเที่ยว คิดถึงแฟน ฯลฯ เกิดโทสะเช่น เบื่อหน่ายรำคาญ หรือจิตใจนึกคิดปรุงแต่งไปถึงคนที่เราไม่พอใจ เขาทำไม่ถูกใจเรา เขาพูดไม่ดีกับเรา เขาไม่ให้ความสำคัญกับเรา เป็นต้น เกิดโมหะ เช่น คิดลังเลสงสัย หรือเกิดฟุ้งซ่าน หดหู่ง่วงเหงาหาวนอน เป็นต้น

โลภะ โทสะ โมหะ รวมเรียกว่ากิเลสมารนี้จึงเป็นอุปสรรค ทำให้การฝึกสมาธิกำหนดรู้ลมหายใจเข้า ลมหายใจออกติดต่อกันแม้ในช่วงเวลาสั้นๆ ก็ทำได้ยาก


3. อภิสังขารมาร สังขารคือการนึกคิดปรุงแต่ง เช่น เมื่อเราตั้งใจจะนั่งสมาธิกำหนดลมหายใจ แล้วเจตนาคิดปรุงแต่งขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นเจตนาที่เป็นกุศล หรือเจตนาที่เป็นอกุศลก็ตาม การคิดปรุงแต่งในทางกุศล (ปุญญาภิสังขาร) เช่น คิดจะพิมพ์หนังสือธรรมะแจกเป็นธรรมทาน หรือคิดชักชวนเพื่อนๆ มาร่วมจัดผ้าป่าเพื่อสร้างกุฏิ วิหาร เจดีย์ ทั้งๆ ที่เวลานี้ตั้งใจจะกำหนดรู้ลมหายใจ ในทางตรงข้าม บางคนก็นึกคิดปรุงแต่งในทางอกุศล (อปุญญาภิสังขาร) เช่น เพื่อนบ้านชอบมาจอดรถขวางหน้าบ้านเรา คิดอยากจะแกล้งอย่างไรดีให้เขาเจ็บใจ ไม่กล้าเอารถมาจอดอีก น่าจะเอาตะปูมาวางให้ยางแตก ซึ่งเป็นการคิดเบียดเบียนผู้อื่น เป็นบาปอกุศล

เมื่อจิตใจนึกคิดปรุงแต่งไปในเรื่องต่างๆ ไม่ว่าจะคิดดี หรือคิดชั่วก็ตาม เวลาก็ผ่านไปๆ กับการคิดปรุงแต่ง ไม่ได้กำหนดรู้ลมหายใจเลย


4. เทวบุตรมาร หมายถึงมารคือเทพเทวดา ในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าก็ต้องผจญกับมาร ทั้งก่อนที่จะตรัสรู้และหลังจากที่ตรัสรู้แล้ว ในคืนวันตรัสรู้เป็นวันเพ็ญ 15 ค่ำเดือนวิสาขะ เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จประทับ ณ โคนต้นโพธิ์พระองค์ทรงตั้งใจอย่างแน่วแน่ว่า

"วันนี้จะเป็นวันสุดท้ายแห่งความเป็นความตายของเรา หากสำเร็จผลสมความมุ่งหมายของการออกบวช ก็จะมีชีวิตอยู่ต่อไปเพื่อประโยชน์แก่โลก หากไม่สำเร็จก็ขอทิ้งร่างกายไว้ที่นี่" ทรงอธิษฐานปรารภความเพียรว่า "แม้เลือดเนื้อจะเหือดแห้งไป เหลือแต่หนังหุ้มกระดูกก็ตาม สิ่งใดที่สำเร็จได้ด้วยความเพียร ความบากบั่นของตนแล้ว ถ้าเราไม่ถึงจุดนั้น จะไม่ลุกขึ้นจากที่นั่งเป็นอันขาด"



เมื่อตั้งใจดังนั้นแล้วก็ทรงสำรวมสิตสงบตั้งมั่นให้มีกำลังปัญญาแรงกล้าเพื่อที่จะทำลายอวิชชาให้หมดสิ้น ฝ่ายพญามารเมื่อรู้ว่าเจ้าชายสิทธัตถะกำลังจะพ้นไปจากอำนาจของตน จึงพยายามขัดขวางการบรรลุธรรม โดยแสดงฤทธิ์ให้ตนมีมือถึงหนึ่งพันมือ มีอาวุธครบมือ ขี่ช้างคีรีเมขละ มีบริวารหมู่ใหม่ห้อมล้อมกึกก้องมาทำลายมหาบุรุษเจ้าชายสิทธิตถะ แต่พระองค์ทรงชนะพญามารได้ด้วยพระบารมีอ้างเอาพระแม่ธรณีเป็นพยานในการบำเพ็ญเพียรบารมีของพระองค์ พระแม่ธรณีจึงขึ้นมาบิดมวยผมให้น้ำท่วมพวกมารเหล่านั้นพ่ายแพ้ไป เมื่อไม่สามารถเอาชนะเจ้าชายสิทธัตถะได้ พญามารจึงได้ขอร้องให้ธิดาทั้ง 3 ของตนคือนางตัณหา (ความอยากได้) นางราคา (ราคะ กำหนัด) และนางอรดี (ความเกลียดชัง ริษยา) ให้มาหลอกล่อยั่วยวนมหาบุรุษเจ้าชายสิทธัตถะ ด้วยอุบายต่างๆ เช่น เปลื้องเสื้อผ้าออกแปลงร่างเป็นสาวแรกรุ่นบ้าง เป็นสาวใหญ่บ้าง แต่หาบุรุษมิได้ไยดีแม้แต่น้อย ทรงพิจารณาถึงเหตุเกิดของกามและโทษของกามแล้วก็ทรงแน่วแน่อยู่ในสมาธิจิตที่ตั้งมั่นมีกำลังอานุภาพจนทำลายอวิชชาทั้งปวง ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า พระโคดมพุทธะ ผู้ซึ่งนำแสงสว่างแห่งสัจธรรมมาสู่ชาวโลกในยุคนี้ แม้เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว มารยังไม่หมดความพยายาม ยังได้ทูลขอให้พระองค์เสด็จดับขันธปรินิพพาน แต่พระองค์ก็มิได้รับคำขอของมาร เพราะทรงมีพระมหากรุณาต่อโลก


เรื่องเทวบุตรมารในสมัยพุทธกาลกล่าวไว้ว่า มารเป็นเทพบุตร สถิตอยู่ในสวรรค์ชั้นที่ 6 ซึ่งการที่จะเป็นเทพในสวรรค์ชั้นนี้ได้ ก็จะต้องทำบุญทำกุศลไว้ไม่น้อย แต่ว่าเป็นเทพฝ่ายที่มุ่งมนุษย์สมบัติสวรรค์สมบัติ ไม่ต้องการนิพพานสมบัติเพราะฉะนั้น เทพเหล่านี้ก็มิได้เที่ยวทำบาปทำกรรมอะไรแก่ใคร แต่มุ่งที่จะขัดขวางมิให้พระโพธิสัตว์ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า คือไม่ต้องการที่จะให้พระโพธิสัตว์พ้นไปจากอำนาจของมาร เมื่อไม่ตรัสรู้ พระองค์ก็ต้องอยู่ในอำนาจของมาร แต่เมื่อตรัสรู้แล้วพระองค์ก็ทรงพ้นจากอำนาจของมาร มารทำอะไรไม่ได้ และเมื่อพระองค์ตรัสรู้แล้วยังทรงแสดงธรรมสั่งสอน โปรดให้เวไนยสัตว์บรรลุมรรคผลนิพพานตามอีกอันจะทำให้เหล่าเวไนยสัตว์จำนวนมากพ้นไปจากอำนาจของมาร พ้นไปจากอำนาจของกิเลส ดังนั้นมารก็ไม่ได้ไปขัดขวางใครที่ทำบุญทำกุศลเพื่อมนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ แต่จะมุ่งขัดขวางเฉพาะผู้ที่ปฎิบัตให้พ้นจากอำนาจของกิเลสเท่านั้น ต้องการที่จะให้ติดอยู่ในโลก จะเป็นโลกมนุษย์หรือเป็นสวรรค์ก็ตาม ก็ยังติดอยู่ในอำนาจของโลก ยังไม่เป็นโลกุตระ พ้นจากโลก


สำหรับผู้ปฏิบัติธรรม เทวบุตรมารเป็นอุปสรรคขัดขวางต่อการปฏิบัติ เช่น เมื่อทำสมาธิเกิดนิมิตเห็น หรือได้ยินเสียงว่าเป็นเทพ เทวดา มาปรากฏ และแนะนำว่าควรทำอย่างนั้น อย่างนี้ ทำให้หลงติดอยู่กับนิมิต หลงเชื่อตามนั้นจริง ๆ

การเกิดนิมิตขณะนั่งสมาธิ แม้จะเป็นนิมิตว่า มีเทพ เทวดา ครูบาอาจารย์หรือแม้เป็นพระพุทธเจ้ามาสอน ทางที่ดีคืออย่าเพิ่งเชื่อ ให้ตั้งสติ ไม่ยินดียินร้าย ไม่ยึดมั่นถือมั่น ทำใจเป็นกลางๆ หากสิ่งที่เห็น สิ่งที่ได้ยินเป็นข้อธรรมคำสอน ก็ควรนำเป็นพิจารณาด้วยเหตุและผล หากเป็นประโยชน์จริงจึงนำมาปฏิบัติ


5. มัจจุราชมาร มารคือความตาย ซึ่งนอกจากจะหมายถึงความตายที่ต้องเกิดขึ้นเป็นธรรมดากับสังขารร่างกายแล้วมัจจุราชมาร หมายถึงความประมาท ความเกียจคร้านที่ทำให้เราตายจากการทำความดีซึ่งกล่าวได้ว่าเป็นมารที่อันตรายมากที่สุด



ความประมาท ความเกียจคร้านทำให้เราผัดวันประกันพรุ่งในการทำความดีบ้างก็ให้เหตุผลว่า ยังไม่มีเวลาปฏิบัติธรรมต้องทำงานหาเงิน ต้องเฝ้าบ้าน ดูแลลูก ดูแลคนนั้นคนนี้ บางคนก็อ้างว่าช่วงฤดูฝน ฝนตกมาก ไม่สะดวกในการปฏิบัติ รอไว้ตั้งใจปฏิบัตช่วงฤดูหนาว พอถึงฤดูหนาวอากาศเย็นเกินไป ปฏิบัติไม่ไหว ก็รอไว้ช่วงฤดูร้อนจะตั้งใจจริงๆ พอถึงฤดูร้อน อากาศร้อนมาก รู้สึกว่าร้อนจะปฏิบัติไม่ได้ ถ้าเข้าฤดูฝนแล้วอากาศเย็นขึ้น จะตั้งใจปฏิบัติ วันคืนจึงล่วงไปๆ ผ่านไปเป็นปี


หลายคนตั้งใจว่าจะปฏิบัติธรรม แต่ก็คิดว่าเย็นนี้ทำงานมาเหนื่อยแล้ว ขอนอนพักก่อน พรุ่งนี้ค่อยตื่นมาปฏิบัติแต่เช้า พอเช้าตื่นขึ้นมาก็ยังรู้สึกง่วง นอนต่ออีกสักหน่อยค่อยลุกขึ้น หรือบางทีรู้สึกปวดเมื่อยก็คิดว่าเจริญสติในอิริยาบถนอนก็ได้รู้สึกตัวอีกทีก็ต้องรีบตื่นไปทำงานแล้ว ตั้งใจใหม่ว่า ปฏิบัติตอนกลางคืนก่อนนอนจะดีกว่า พอกลางคืนถึงเวลานั่งสมาธิแล้วก็รู้สึกว่าวันนี้ไม่สบายใจ ฟุ้งซ่าน นั่งสมาธิคงไม่สงบ นอนให้หลับไปก่อน รู้สึกตัวเมื่อไรก็จะลุกนั่งสมาธิน่าจะดีกว่า แล้วก็นอนหลับผ่านไปอีกวัน วนไปเวียนมาอยู่อย่างนี้ ดังนั้นเพียงแค่การกำหนดรู้ลมหายใจวันล่ะ 20 นาทีก็ยากที่จะสำเร็จได้ เพราะผัดไปผัดมา ผ่านไปเป็นสัปดาห์ เป็นเดือนเป็นปี หลายๆ ปี


ชีวิตเราทุกคนอยู่ท่ามกลางมารทั้ง 5 นี้ การที่เราดำเนินชีวิตไปเรื่อยๆ อย่างทุกวันนี้เรียกว่ายังไม่รู้จักมาร ไม่รู้จักโทษของมารก็ไม่รู้จักที่จะเอาชนะมาร จึงมักทำความดีไม่สำเร็จ การคิด การพูด การกระทำที่เรารู้อยู่ว่าสมควรจะทำก็มีมาก แต่ทำไม่สำเร็จเพราะพ่ายแพ้แก่มาร

ดังนั้นหากเราต้องการพัฒนาชีวิตพัฒนาจิตใจ ก็ต้องฝึกตนเองให้มีขันติ ความอดทน อดกลั้น สร้างกำลังใจเพื่อเอาชนะมารให้ได้



กำลังใจตามหลักพระพุทธศาสนาคือ พละ 5 ได้แก่ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา


1. ศรัทธา คือความเชื่อมั่นว่าทำดีได้ดี




2. วิริยะ หมายถึงความขยันหมั่นเพียรถือคติว่าความพยายามอยู่ที่ไหน



ความสำเร็จอยู่ที่นั่น




3. สติ หมายถึง ความระลึกรู้ ระลึกได้ มีจิตใจจดจ่อในการทำความดีในปัจจุบันรู้ว่าสิ่งใดเป็นประโยชน์ และมิใช่ประโยชน์




4. สมาธิ คือจิตที่ตั้งมั่น มั่งคงต่อการทำความดี




5. ปัญญา คือเห็นชัดเจนว่าสิ่งใดผิดสิ่งใดถูก เห็นโทษของการทำชั่ว เห็นประโยชน์ของการทำความดี



หากเรามีกำลังใจตามที่กล่าวนี้แล้วก็เปรียบเหมือนมีอาวุธที่จะต่อสู้ เอาชนะกิเลส เอาชนะมารทุกอย่างได้


จาก หนังสือ ชนะใคร ไม่เท่าชนะใจตน
โดย พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 17, 2013, 12:58:10 PM โดย jainu » บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #18 เมื่อ: มิถุนายน 16, 2013, 09:07:02 PM »

ชนะใคร ไม่เท่าชนะใจตน ตอนที่ 7.วิธีปฎิบัติ (จบ)
Posted by แค่ดูก็รู้แจ้ง
7.วิธีปฎิบัต



1. รักษาใจด้วยคำว่า "พอดี"

ปกติคนเราเมื่อกระทบอารมณ์แล้ว จิตก็ปรุงแต่งไปตามอารมณ์ยินดี ยินร้ายเป็นสุขภาพใจที่ไม่ดี

เมื่อกระทบอารมณ์ที่ทำให้ไม่พอใจ โกรธ เสียใจ ก็ให้นึกในใจว่าดี แล้วหายใจออก เอาดี ดี เช็คความรู้สึกที่ไม่ดีออกไปเมื่อหายใจออก ให้ตั้งสติกดลมหายใจยาวๆ เบาๆ เช็ค ถู กวาดความรู้สึกที่ไม่ดีออกไป ทำความเข้าใจว่า เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปตามกฎแห่งกรรม เหตุการณ์ที่จะต้องเกิดมันก็เกิด


เมื่อกระทบอารมณ์ที่ทำให้พอใจ ดีใจ ก็ให้นึกในใจว่าพอ แล้วหายใจออกเอาพอ พอเช็คความรู้สึกตื่นเต้นดีใจที่มากเกินออกไป เมื่อหายใจออก ให้ตั้งสติกดลมหายใจยาวๆ เบาๆ เพื่อระงับความตื้นเต้นและทำใจให้สงบลง

เมื่อเรามีสติสัมปชัญญะ มีความรู้ตัวชัดเจนแล้ว เราจะมองเห็นชัดเจนว่า ความรู้สึกไม่ว่ายินดี ยินร้าย สุข ทุกข์ ก็ล้วนไม่แน่นอน เราไม่ไปหลงยึดไว้ เป็นทาสของความรู้สึกยินดี ยินร้าย ตั้งเจตนาที่จะสงบระงับความโลภ โกรธ หลง รักษาอารมณ์พอดีๆ เป็นมัชฌิมาปฏิปทา หรือเรียกว่า ทางสายกลาง

ชีวิตเราย่อมต้องเผชิญกับเหตุการณ์ต่างๆ ทั้งที่น่าปรารถนา และไม่น่าปรารถนา สิ่งเหล่านี้เปรียบเหมือนดิน ฟ้า อากาศ อากาศร้อน อากาศหนาย พายุฝน แผ่นดินไหว เป็นเรื่องของธรรมชาติที่เราบังคับไม่ได้

อย่างไรก็ตาม ใจเป็นประธาน ใจเป็นหัวหน้า หน้าที่สำคัญที่สุดในชีวิตของเรา คือระวังรักษาใจให้เป็นปกติ ใช้คาถาว่า "พอ" และ "ดี" เป็นอุบายปรับจิตใจให้เป็นกลางๆ รักษาอารมณ์พอดีๆ ไม่ยินดี ยินร้าย รักษาใจเป็นปกติ สุขาภาพใจดี สบายใจ ตั้งมั่นอยู่ในความดี ความถูกต้อง ทุกสถานการณ์



2. ตามดูจิต

ในสมัยพุทธกาล มีสาวกรูปหนึ่งชื่อว่า ตุจโฉโปฎฐิละ ซึ่งเป็นพระผู้มีปัญญามากแตกฉานในพระสูตร มีวัดสาขา 18 แห่ง เป็นครูบาอาจารย์ มีลูกศิษย์นับหน้าถือตาโดยทั่วถึง ถ้าใคได้ยินชื่อว่า ตุจโฉโปฏฐิละ ก็กลัวเกรง ไม่กล้าพูดไม่กล้าเถียงเมื่อท่านอธิบายธรรมะ ฉะนั้น ท่านตุจโฉโปฏฐิละจึงเป็นพระเถระผู้ยิ่งใหญ ในครั้งพุทธกาลเพราะการเรียนปริยัติ



วันหนึ่ง ท่านไปกราบพระพุทธเจ้า ขณะท่านกำลังกราบลงพระพุทธองค์ตรัสว่า
"มาแล้วหรือพระใบลานเปล่า" พอท่านจะกราบลาพระพุทธองค์กลับวัด
"กลับแล้วหรือพระใบลานเปล่า" พระพุทธองค์ตรัสแค่คำนั่น มาก็
"มาแล้วหรือพระใบลานเปล่า" กลับก็
"กลับแล้วหรือพระใบลานเปล่า" ท่านตรัสอยู่เท่านั้น ตุจโฉโปฏฐิละเป็นอาจารย์ใหญ่ก็คิดในใจว่า
"เอ ทำไมพระพุทธองค์จึงเรียกตนอย่างนั้น?" คิดไปคิดมา พิจารณาไปจนเห็นว่า
"เออ มันจริงที่พระองค์ว่า" พระใบลานเปล่า คือพระเรียนเฉยๆ ไม่ได้ปฏิบัติยังไม่บรรลุธรรม

เมื่อเข้าใจความหมายที่พระพุทธเจ้าตรัส รู้สึกวตัวว่าตนเองมีแต่สุตมยปัญญา จำคำสอนของพระพุทธเจ้าได้ แต่จิตใจก็เหมือนปุถุชน เมื่อสำนึกได้ดังนี้ ก็เกิดสลดสังเวช ตัดสินใจทิ้งวัดทิ้งความเป็นอาจารย์ใหญ่ หาหนทางปฏิบัติ แสวงหาไปยังสำนักที่เข้าใจกันว่าพระเถระ เณรทุกรูปในสำนักล้วนเป็นพระอรหันต์ ครั้งแรกก็เข้าไปหาพระเถระผู้ใหญ่ ขอคำแนะนำในการเจริญวิปัสสนา ท่านก็นิ่ง แล้วบอกว่าไม่สามารถจะสอนได้ เมื่อไปหารองเจ้าอาวาส ขอคำแนะนำในการปฏิบัติท่านก็ตอบว่า ไม่สามารถจะสอนได้ พอไปหาพระรูปที่ 3 รูปที่ 4 หาพระกี่รูปในสำนักท่านก็ตอบเหมือนกันหมด พระทุกรูปปฏิเสธว่า ไม่มีความสามารถที่จะอบรมตุจโปฎฐิละได้ จนในที่สุดท่านไปหาสามเณร ไปขอปฏิบัติกับเณรน้อย สามเณรบอกว่า


"พระคุณเจ้าจะมาปฏิบัติกับผม ถ้าทำจริงก็มาได้ แต่ถ้าทำไม่จริงมาไม่ได้"
ตุจโฉโปฏฐิละจึงมอบกายถวายชีวิตสามเณรให้ห่มจีวร เมื่อห่มจีวรเรียบร้อยแล้ว เผลิญมีหนองอยู่ใกล้ๆ ที่เป็นเลน เณรก็บอกว่า
"เอ้า ให้เดินเข้าไปในหนองนี่ เดินลงไปถ้ายังไม่บอกให้หยุด อย่าหยุด ถ้ายังไม่บอกให้ขึ้น อย่าขึ้น " ตุจโฉโปฏฐิละห่มจีวรดี ๆ แล้วก็เดินลงไปในหนอง ต่ำลงๆ เรื่อยๆ เณรน้อยไม่ได้บอกให้หยุด ท่านก็ลงไปจนตัวเปียก เปื้นตมและขี้เลนหมด สามเณรจึงบอก
"เอาละ หยุดได้"
ท่านจึงหยุด สามเณรบอกว่า
"เอาละขึ้นมา" ท่านจึงขึ้นมา เมื่อท่านขึ้นมาแล้ว สามเณรก็หยิบรองเท้าโยนเข้าไปในกอไผ่ แล้วก็บอกตุจโฉโปฏฐิละว่า


"เอ้า เข้าไปเก็บรองเท้า เอามาให้ผม" ตุจโฉโปฏฐิละก็เดินบุกกอไผ่ ฝ่าดงหนามเข้าไปเอารองเท้ามาให้สามเณรแต่โดยดีแสดงให้เห็นว่าท่านละทิฏฐิมานะแล้วจริงๆ จึงยอมทำตามคำสั่งของสามเณรทุกอย่าง สามเณรเห็นดังนั้นก็รู้ว่าตุจโฉโปฏฐิละมีจิตใจอ่อนโยนพร้อมที่จะรับธรรมะได้แล้ว สามเณรจึงสอนให้ โดยใช้วิธีกำหนดอารมณ์ จับอารมณ์ให้รู้จักจิตของตน ให้รู้จักอารมณ์ของตน เณรก็ยกอุบายอันหนึ่งขึ้นมาว่า ให้ใช้วิธีที่บุรุษทั้งหลายจะจับ ตัวหนึ่ง เข้าไปในโพรงจอมปลวกซึ่งมีรูอยู่หกรู ถ้าเข้าไปในที่นั้นจะทำอย่างไร เราจึงจะจับมันได้ จะต้องปิดไว้สักห้ารู เอาอะไรมาปิดมันไว้ ให้เหลือแค่รูเดียวสำหรับให้ออก นอกนั้นปิดไว้หมด แล้วให้นั่งจ้องมองอยู่ที่รูนั้นครั้งวิ่งออกมาก็จับได้ฉันใด การกำหนดจิตก็ฉันนั้น ตาก็ปิดไว้ หูก็ปิดไว้ จมูกก็ปิดไว้ ลิ้นก็ปิดไว้ กายก็ปิดเหลือแต่จิตอันเดียว ตา หู จมูก ลิ้น กาย ปิดมันไว้ คือสำรวมสังวร ภาวนาโดยกำหนดที่จิตอย่างเดียว



การภาวนา คือการมีสติระลึกรู้สังเกตดูความรู้สึกนึกคิดในจิตใจเรา การเจริญอานาปานสติ คือมีสติระลึกรู้ลมหายใจ ลมหายใจออก เปรียบลมหายใจเหมือนเป็นหน้าต่างที่เราใช้มองดูจิตใจ เห็นลมหายใจ คือเห็นจิต ถ้าเรามีสติระลึกรู้สมหายใจเข้า ลมหายใจออก เราก็สามารถติดตามดูความรู้สึกนึกคิดที่เกิดกับจิตใจได้ เมื่อเราตามดูจิต เฝ้าสังเกตจิตใจของเราแล้ว เมื่อมีความรู้สึกนึกคึดต่างๆ เกิดขึ้น เช่น ขี้เกียจ ขี้บ่น ขี้น้อยใจ ขี้อิจฉา ขี้โมโห ขี้โกรธ ขี้กลัว ขี้โกง ขี้เหนียว ขี้สงสัย ขี้วิตกกังวล ขี้ฟุ้งซ่าน ฯลฯ เราจะรู้ท่าทันความรู้สึกเหล่านี้ได้มากขี้น รู้เท่าทันหมายถึง เมื่อรู้สึกนึกขึ้นมาก็ดับไปพร้อมกัน นึกดีหรือนึกชั่วก็ตาม กำหนดรู้เท่าทันคือความดับ ไม่คิดปรุงแต่งต่อ ไม่คิดไปตามกิเลส ตัณหา มโนกรรมไม่เกิด จิตก็สักแต่ว่าจิต ชอบหรือไม่ชอบก็สักแต่ความรู้สึก วิปัสสนาก็จะสมบูรณ์ คือสักแต่ว่าเห็น สักแต่ว่าได้ยิน สักแต่ว่าได้กลิ่น สักแต่ว่ารู้รส สักแต่ว่าสัมผัส สักแต่ว่ารู้ทางใจ
จาก หนังสือ ชนะใคร ไม่เท่าชนะใจตน
โดย พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 17, 2013, 01:02:41 PM โดย jainu » บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #19 เมื่อ: กรกฎาคม 13, 2013, 01:03:13 PM »

บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #20 เมื่อ: กรกฎาคม 13, 2013, 01:03:39 PM »

บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #21 เมื่อ: กรกฎาคม 13, 2013, 01:04:12 PM »

บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #22 เมื่อ: กรกฎาคม 13, 2013, 01:04:44 PM »

บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #23 เมื่อ: กรกฎาคม 13, 2013, 01:05:35 PM »



บันทึกการเข้า

finghting!!!
jainu
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11494


« ตอบ #24 เมื่อ: กรกฎาคม 13, 2013, 01:12:07 PM »

บันทึกการเข้า

finghting!!!
Gold Price today, Gold Trend Price Prediction, ราคาทองคํา, วิเคราะห์ทิศทางทองคํา
   

images by free.in.th
Thanks: ฝากรูป dictionary ---------------------Charts courtesy of Moore Research Center, Inc. For more information on Moore Research products and services click here. --- http://www.mrci.com ---------- ---------------------------------------------รูปกราฟแสดงราคาทองในอดีตปี 1974-1999 ของ Moore Research Center, Inc. แสดงฤดูกาลที่ราคาทองขึ้นสูงสุดและตําสุด เอาแบบคร่าวๆ เส้นนําตาลหรือนําเงินก็ใกล้เคียงกัน เส้นนําตาลเฉลี่ย 15 ปี เส้นนําเงินเฉลี่ย 26 ปี ราคาตําสุดของเส้นนําตาล หรือเฉลี่ย 15 ปี ในเดือน ปลายเดือน เมษ และปลายเดือน สค ต่อต้นเดือน กย[/color] สูงสุดในเดือน กพ กับ พย / ส่วนเฉลี่ย 26 ปี ราคาตําสุด ต้น กค กับ ปลาย สค และราคาสูงสุดในเดือน กพ และ กลางเดือน ตค ----- แค่ดูคร่าวๆ เป็นแนวทาง อย่ายึดมั่นว่าจะต้องเป็นตามนี้ ข้างล่างเป็นกราฟราคานํามัน ตามฤดูกาล จาก Charts courtesy of Moore Research Center, Inc. images by free.in.th
Thanks: ฝากรูป dictionary
 บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2]   ขึ้นบน
พิมพ์
กระโดดไป: