สวัสดีครับ
คุณ NN โชคดีที่ไม่ต้องไปถามไกล มี
คุณหมอ richyrichy เป็นวิสัญญ๊แพทย์ [แพทย์ดมยา]
ปกติ แพทย์เฉพาะด้านนี้หายากส์ แต่ก็มาเหมาะเจาะกันจนได้
ขอบคุณคุณหมอ richyrichy มากๆที่ช่วยอธิบายอย่างดี
ส่วนเรื่องวิธีการดมยา
1.ครอบหน้ากาก
2.สอดท่อครอบกล่องเสียง
3.สอดท่อเข้าหลอดลม
ผมว่าคุณหมอ richyrichy น่าจะตอบได้ดีที่สุด
ถ้าให้ผมต้องก็
ต้องเดา[ในระหว่างรอคุณหมอ richyrichy] ตามหนังสือที่เคยอ่านอีก
คุยเล่นๆแล้วกัน
1]ครอบหน้ากาก เคยอ่านเจอว่าคงใช้กับการผ่าตัดที่ไม่ต้องใช้เวลานานมาก 10-20 นาที เป็นแค่การเสริมฤทธิ์ ให้ ออกซิเจน
เข้าปอดได้มากขึ้น หลังจากฉีดยาคลายกล้ามเนื้อ เช่นการผ่าตัดเล็กๆ ทําหมันหญิงหลังคลอดมานานแล้ว ส่วนคลอดใหม่แล้วทําหมัน
เลยส่วนใหญ่ ไม่ต้องดมยา แค่ฉีดยาชาเฉพาะที่
2]ส่วนสอดท่อครอบกล่องเสียง ผมยังไม่เคยอ่านเจอในหนังสือ สงสัยเทคนิคใหม่
3]ส่วนสอดท่อเข้าหลอดลม คงใช้ผ่าตัดทั่วไปที่ต้องใช้เวลานาน เพราะช่วยให้มีความปลอดภัยสูงขึ้น ให้ได้รับออกซิเจน
ได้เต็มที่ ตาม% ที่สามารถกําหนดได้ ป้องกันการสําลักนําลาย แต่อาจมีข้อเสียเล็กน้อยเช่นเจ็บคอ แต่ไม่นานก็หาย
ผมตอบเล่นๆนะครับ
ผมอ่านจากหนังสือหมอชาวบ้านครับ แล้วคุณหมอ richyrichy หรือท่านที่รู้จริง อย่าหัวเราะผมนะครับ
ระหว่างที่รอคุณหมอ richyrichy
ผมแนะนําให้คุณ NN ทําบุญตักบาตรพระสงฆ์ 5 หรือ 9 รูปพรุ่งนี้เช้า ถวายอาหารเสร็จ กรวดนําส่งบุญพูดว่า
ด้วยอํานาจแห่งบุญ ขอส่งบุญนี้ให้กับ
พ่อแม่ ญาติพี่น้อง ของคุณ NN ให้กับเจ้ากรรมนายเวรของคุณ NN ทุกคน ให้กับเจ้ากรรมนายเวรของลูกคุณ NN ทุกคน
ให้กับเชื้อโรค [ความจริงไม่ใช่เชื้อโรค] แต่พูดไปตามนี้แล้วกัน ที่ทําให้ลูกคุณ NN ไม่สบาย ให้ทุกท่านได้รับบุญนี้
และมีความสุข ช่วยให้ลูกปลอดภัย แข็งแรงดีหลังผ่าตัดถ้าตัดบาตรพระไม่ทัน ให้ไปที่วัด ถวายอาหาร หรือข้าวสารอาหารแห้ง แล้วกรวดนําตามนั้น
แต่ถ้าไม่ใช่พุทธ ให้ไปทําบุญหรือบริจาคทาน ที่ โรงพยาบาลไหนก็ได้ ช่วยคนป่วยอนาถาที่ยากจน แล้วพูดตามนั้น
ขอโทษจริง ๆค่ะ ที่เข้ามาตอบช้า เพราะเมื่อวานทำงานหนักมาก เลยหลับไป ไม่ได้ตอบตั้งแต่เมื่อคืน
พี่พอลมีความรู้มากมายหลายด้านจริง ๆค่ะ ขอนับถือเลย เพราะตอบได้ละเอียดดีมาก ยิ่งกว่าหมอดมยาเองอีกค่ะ
อย่างที่พี่พอลอธิบายน่ะ ถูกต้องแล้วค่ะ คุณแม่ NN ไม่ต้องกังวลไปค่ะ
ทั้งสามวิธี เรียกว่าการระงับความรู้สึกชนิดทั่วไป (general anesthesia) ทั้งสามอย่าง ต่างกันที่การช่วยหายใจ
ขอเสริมพี่พอลนะคะ
1.ครอบหน้ากาก undermask technique ก็จะเป็นหน้ากากที่นิ่ม ๆ ครอบปากและจมูก ให้มีแก๊สสูดสลบออกมา ร่วมกับออกซิเจน และแก๊สหัวเราะ และให้เด็กหายใจเอง เหมาะสำหรับการผ่าตัดที่ไม่นาน ไม่เสียเลือดมาก และเป็นเด็กที่ไม่เป็นโรคหอบหืด โรคหวัดมาก่อนในช่วง 2 อาทิตย์ก่อนการผ่าตัด เพราะวิธีนี้ไม่ป้องกันหลอดลม จากการสำลักอาหาร ดังนั้นน้องจะต้องงดน้ำ งดอาหารก่อนผ่าตัด อย่างน้อย 6 ชั่วโมงอย่างเคร่งครัด ที่โรงพยาบาลที่ richy ทำงานอยู่ จะมี ห้องสำหรับผู้ป่วยเด็กและผู้ปกครอง ให้ความรู้ แก่ผู้ปกครองในเรื่องการดมยาสลบ มีของเล่นให้เด็ก ๆเล่น และมีการ์ตูนให้ดูด้วย ระหว่างรอผ่าตัด ระหว่างรอนั้น หมอดมยา จะเอา น้ำหวานปริมาณเล็กน้อยที่ไม่เสี่ยงต่อการสำลัก ผสมยานอนหลับมาให้เด็กดื่ม และเมื่อเด็กดื่มน้ำหวานเข้าไปแล้ว สัก 10 นาทีต่อมา จะง่วง และเคลิบเคลิ้ม เวลาแยกจากพ่อแม่ ก็จะไม่ร้องโวยวาย และเข้าไปในนำสลบในห้องผ่าตัด อย่างที่ได้บอกไปแล้วค่ะ เด็กจะหายใจเองทั้งหมด ผ่านหน้ากากครอบ และตื่นมาเมื่อผ่าตัดเสร็จ
2. การสอดท่อครอบกล่องเสียง เป็นวิธีที่ต้องอาศัยอุปกรณ์ ที่เรียกว่า LMA laryngeal mask airway ปัจจุบัน ทำจากซิลิโคน หรือยาง หรือพลาสติก อย่างดี มีหลายขนาด ต่างแต่น้ำหนักของผู้ป่วย หลักการจะเหมือน under mask technique แต่ ไม่ต้องเมื่อยมือสำหรับผู้ดมยาสลบ เพราะเราจะใส่ LMA ลงไปคลอบที่ฝาปิดกล่องเสียง ให้แก๊สสูดสลบเข้าไปใน หลอดลมโดยตรง ซึ่งจริง ๆ หลักการเหมือน undermask เลยค่ะ เพียงแต่เปลี่ยนที่คลอบเฉย ๆ ทั้งสองวิธี ไม่ป้องกัน การสำลักอาหารเข้าหลอดลม แต่เด็กจะหายใจเอง ตลอดการผ่าตัด และตื่นเมื่อผ่าตัดเสร็จ ซึ่งเหมาะสำหรับการผ่าตัดท่านอนหงาย (เช่นไส้เลื่อนขาหนีบ) และเป็นการผ่าตัดไม่นาน ที่ไม่เสียเลือดมาก(โดยส่วนตัว คิดว่า ถ้าผ่าตัดไม่นาน เช่นไส้เลื่อน ชอบ under mask มากกว่า LMA ค่ะ เพราะLMA ขนาดใหญ่ คับช่องปาก อาจครูดในปากได้ โดยเฉพาะ เด็กเล็ก 1 ขวบ น้ำหนักก็น่าจะประมาณ 10-*12 กก. undermask จะต้องอาศัยความชำนาญ และเมื่อยมือมากกว่า แต่ก็ smoothดีค่ะ)
3. สอดท่อช่วยหายใจ วิธีนี้ control การหายใจ และท่อจะป้องกันหลอดลมและปอดจากการสำลัก มีข้อดีมากมายเรื่องปลอดภัย และสามารถใช้ได้กับการผ่าตัดทุกอย่าง ผ่าตัดนาน และเสียเลือดมากก็ได้ค่ะ ข้อเสียคือ ถ้าเลือกขนาดท่อไม่เหมาะสม ใหญ่เกินไป หรือใส่ท่อหลายครั้ง ก็อาจจะเจ็บคอได้ แต่ไม่นานก็หายเจ็บค่ะ
ส่วนเรื่องที่ถามว่า แพ้ยา หรือแพ้อาหารอะไรไหม ต้องถามในคนไข้ทุกรายค่ะ ถ้าไม่เคยมีก็ตอบว่าไม่เคยมี แต่อย่างลูก ของ richy เองจะเป็นโรคเม็ดเลือดแดงแตกง่ายหากเจอ ภาวะ stress หรือ ได้รับยาบางชนิด เรียกว่าโรค G6PD deficiency ก็จะรู้ตอนแรกเกิดเพราะตัวเหลืองแล้วหาสาเหตุ อย่างนี้ก็บอกหมอได้ค่ะ เพราะจะได้หลีกเลี่ยงยาบางตัว ที่ไปกระตุ้นทำให้เม็ดเลือดแดงแตกค่ะ หรืออย่างเด็กบางคนเป็นภูมิแพ้ หอบหืด พ่อแม่ก็จะรู้ ก็จะต้องบอกหมอดมยาค่ะ (ที่พูด
ูนี่เพราะว่าลูกของ richy เป็นทุกอย่างที่กล่าวมา ถ้าต้องดมยาสลบก็จะมีความเสี่ยงมากกว่า เด็กที่ไม่มีโรคประจำตัวค่ะ) ถ้าเด็กไม่มีโรคประจำตัว หรือแพ้ยา แพ้อาหาร ก็บอกไปตามนั้น แสดงว่าไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องการใช้ยา แต่ในเด็กฝรั่งจะมี อุบัติการณ์ของโรค malignant hyperthermia มากกว่าชาวเอเชีย คือ ถ้าได้ trigger agent เช่นยานำสลบ บางตัวหรือแก๊สสูดสลบ จะทำให้อุณหภูมิกายสูงขึ้น ถึงขั้นเสียชีวิต heat stroke ซึ่ง อุบัติการณ์ในประเทศไทยน้อยๆๆๆๆมากค่ะ
ส่วนเรื่องดมยาสลบแล้วไม่ตื่น พบได้ เหมือนกัน แต่ที่เคยเจอปัญหาในเด็ก คือ เด็กอาจมีโรคประจำตัวอยู่แล้ว เช่น หอบหืด โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด โรคเกี่ยวกับในสมอง หรือเป็นหวัดในช่วง สองอาทิตย์ก่อนผ่าตัด หรือไม่ได้งดน้ำงดอาหาร มีเหมือนกัน ลูกเป็นหวัด แต่ไม่ยอมบอกหมอ เพราะกลัวไม่ได้ผ่าตัด เพราะแม่ลางานมาได้แค่วันนั้น หรือลูกแอบกินขนม หรือมีใครในบ้านให้ลูกกินขนม นม เพราะกลัวเด็กหิว แต่เม่กลัวลูกไม่ได้ผ่าตัด ก็ไม่ยอมบอก แล้วมาสำลักอาหาร หรือ ถ้าเป็นหวัด ก็จะมี หลอดลมหรือ ถุงลมตีบ( bronchospasm , laryngospasm) ระหว่างผ่าตัด ทำให้สมองขาดอากาศ ก็ไม่ตื่น หรือเป็นปอดอักเสบตามมาได้ จากการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของแม่
ปัจจุบัน วิวัฒนาการทางการแพทย์ ก้าวหน้าไปมาก เพราะเด็ก ก็ตัวเล็กลง แต่ก่อน ถ้าน้ำหนักเด็กแรกคลอดน้อยกว่า 1000 กรัมถือว่าแท้ง แต่ปัจจุบัน 600 หรือ 700 กรัม ก็เลี้ยงไว้ในตู้อบค่ะ และก็มาผ่าตัด บ่อย ๆ ไป เพราะเด็กตัวเล็กมาก ก็จะมีภาวะแทรกซ้อนตามมาหลายอย่าง เช่น ผนังลำไส้ขาดเลือด ตาบอด จากการได้รับออกซิเจนมาก และนานเกินไป เด็กพวกนี้ต้องมารับการผ่าตัด ทำให้ปัจจุบัน ดมเด็กเล็กลงไปเรื่อย ลองคิดดูสิคะ ตัวแค่ ไม่ถึงหนึ่งขีด ยังกับนกตากแห้ง ก็ยังมาดมยาได้เลยค่ะ นี่ลูกคุณแม่อายุ 1 ขวบ ตัวโตกอดได้เต็มไม้เต็มมือแล้ว ไม่ต้องห่วงค่ะ ถ้าได้รับการดูแลจากทีมแพทย์ และพยาบาลผู้มีความชำนาญ
ที่โรงพยาบาล มีเด็กที่มารับการผ่าตัดไส้เลื่อน และถุงน้ำรังไข่ ในวันหนึ่ง 8-10 ราย พบปัญหาน้อยมาก ซึ่งส่วนหนึ่งก็อาจจะเป็น ทำบ่อย เลยมีความชำนาญก็ได้ แต่ละรายประมาณ ครึ่งชั่วโมงก็ตื่นฟื้นดีค่ะ (เป็นโรงพยาบาลประจำจังหวัด) แต่เคยไปดมยาcase แบบเดียวกัน ที่รพ.เอกชน ทีมไม่ค่อยชำนาญ เพราะไม่ค่อยได้ผ่าตัดเด็ก ( ไม่ใช่เฉพาะ หมอดมยาและหมอผ่าตัดจะเก่งอย่างเดียวนะคะ ต้องอาศัยทีมมพยาบาลและห้องผ่าตัด และวิสัญญีพยาบาลผู้ช่วยหมอดมยาด้วยค่ะ ทุกคนควรจะมีความชำนาญเพราะเด็กเป็นอะไรที่บอบบางกว่าผุ้ใหญ่)
ไม่รู้ตอบปัญหาได้หมดหรือเปล่า มีอะไร ก็ถามมาได้อีกนะคะ ยินดีค่ะ เพราะอย่างที่บอกว่า วิสัญญี คือความลี้ลับ ที่ไม่ค่อยมีใครให้ความสนใจ เท่าใดนัก ทั้ง ๆ ที่เป็นสาขาขาดแคลน เนื่องจาก เป็นผู้อยู่เบื้องหลัง แต่คนไข้ ไม่ค่อยคิดว่า จำเป็นต้องใช้หมอดมยา ก็จะคิดว่า ผ่าตัดสำเร็จเพราะ หมอผ่าตัดเท่านั้น...ไม่เอาแล้ว เหมือนออกแนวน้อยใจชีวิต
ยินดีนะคะ สำหรับทุกคำถามที่เกี่ยวกับวิสัญญีวิทยา ดีใจที่สามารถทำประโยชน์อะไรในเวปนี้ได้บ้างน่ะค่ะ..