พี่พี่ครับ อย่าว่างั้นงี้นะครับ คำว่า อนุโมทนาสาธุ นี่แปลว่าอะไรครับ
ถามซื่อๆ เลยนะครับ
อธิบายก็คงไม่ชัดเจนคลอบคลุมนัก ก็เลยเอาข้อความข้างล่างนี่มาลงค่ะ
?สาธุ? สะสมบุญโดยการอนุโมทนา
? on: September 27, 2009, 02:27:20 pm ?
--------------------------------------------------------------------------------
การทำบุญนอกจากการทำบุญด้วยตนเอง แล้วยังมีการทำบุญอีกวิธีหนึ่งนั่นก็คือ ?การอนุโมทนาบุญ?
การ อนุโมทนาบุญจัดเป็นการทำบุญ 1 ใน บุญ กิริยาวัตถุ 10
โดยแปลตามศัพท์จะแปลว่า การตามยินดี ซึ่งเป็นการยินดีที่บุคคลอื่นทำความดีต่างๆ เช่น
สมมติเมื่อคนอื่นได้บริจาคเงินเพื่อการสร้างเจดีย์ หรือ การปฏิบัติกรรมฐาน หรือ การรักษาศีล 8 แล้วตัวเราก็กล่าวเพียงคำว่า "สาธุ"
การ "สาธุ" กับการทำบุญของคนอื่นนั้น เราก็จะได้บุญได้ฐานะ ผู้อนุโมทนา ซึ่งก็ได้บุญได้ส่วนหนึ่ง
แต่จะได้น้อยกว่า คนที่ทำบุญนั้นด้วยตนเองมาก เพราะ ผู้ที่ทำบุญด้วยตนเองใช้ความพยายามมากกว่า
หลวงพ่อฤาษีลิงดำ แห่งวัดท่าซุง จังหวัดอุทัยธานี กล่าวเปรียบเทียบถึงอานิสงส์ที่พึงจะได้จากการอนุโมทนาบุญ คือ ปัตตานุโมทนามัย
เป็นผลกำไรจากการเจริญพระกรรมฐานไม่ต้องลงทุน ถ้าตั้งใจจริงถึง 90 เปอร์เซ็นต์ เจ้าของได้ 100 เปอร์เซ็นต์
เราได้ครั้งละ 90 ผ่านไป 10 คนเราได้ 900 มากกว่าเจ้าของ
แต่หลวงพ่อ ได้เน้นย้ำไว้ว่า การโมทนา เขาแปลว่า ยินดีด้วย ต้องยินดีด้วยความจริงใจนะ สักแต่ว่า สาธุ มันไม่ได้อะไร
คำว่า "สาธุ" ไม่จำเป็นต้องออกเสียง ไม่จำเป็นต้องยกมือไหว้ก็ได้ เอาใจยินดีใช้ได้เลย และหลวงพ่อยังกล่าวอีกว่า
?การโมทนานี่ทำให้ชุ่มชื่นใจ ใช่ไหม....เขาทำดีเรายินดีด้วย ยินดีกับความดีของเขา ไม่ช้าเราก็ดีตามเขา
เพราะเราเห็นเขาดี เราก็ชอบดีใช่ไหม... แต่อย่าไปชอบดีเฉยๆ นะ ต้องทำดีด้วยนะ ทำบุญด้วยตนเองบ้าง?
ยกตัวอย่างเช่นเรื่องที่ว่า "เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จไปเยี่ยม พระนางพิมพา ก็รู้อยู่ว่าเข้าไปในถึงตำหนักของ พระนางพิมพา
แล้วพระนางพิมพา จะอาศัยความรักเดิมเข้ามากอดขาของพระองค์ พระองค์จึงได้บอก พระโมคคัลลานะ กับพระสารีบุตร ก่อนจะเข้าไปว่า
ถ้าเราเข้าไป พระนางพิมพา จะเข้ามากอดขาเรา เธอจงอย่าห้ามนะ เพราะเราไม่มีอะไรแล้ว ความรู้สึกในกามารมณ์ไม่สำหรับเรา
ทว่าถ้าเธอห้าม พระนางพิมพา ล่ะก็ พระนางพิมพาจะอกแตกตาย เธอจะไม่มีโอกาสได้ผลของความดี ทั้งนี้เพราะอะไร
เพราะว่า พระนางพิมพา ไม่เคยบำเพ็ญบารมีด้วยตนเองเลย มีอย่างเดียว โมทนากับเราเท่านั้น
นับตั้งแต่เริ่มแรกบำเพ็ญบารมีเป็นต้นมาใช้ เวลาถึง 4 อสงไขยกับแสนกัป เป็นคู่บารมีกันมาไม่เคยคลาดกัน
แต่ว่าคนที่ทำบุญจริงๆ คือ องค์สมเด็จโลกนาถ เมื่อทำไปแล้วเธอ เธอก็บอกยินดีด้วย โมทนา
แม้ครั้งหลังที่มีความสำคัญสุด คือ ยกลูกทั้งสองให้เป็นทาสของชูชก เธอมีความเสียใจสลบไป
เมื่อฟื้นขึ้นมา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็น พระเวสสันดร จึงได้บอกเธอว่า เราให้ลูกกับ ชูชก ไป ทั้งนี้เพราะปรารถนาพระโพธิญาณ
ขอเธอจงโมทนาด้วย เธอก็ยินดี โมทนาด้วย นี่เป็นอันว่า พระนางพิมพา นี่ไม่เคยทำบุญเอง ได้แต่ใช้แต่ ปัตตานุโมทนามัย อย่างเดียว
ในทางกลับการ ถ้าอนุโมทนาบาป หรือตามยินดีในบาปของผู้อื่นก็จะได้บาปมากเช่นกัน
เรื่องที่จะนำมายกตัวอย่าง ก็เป็นเรื่องขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เช่นกัน
ในสมัยอดีตกาลพระพุทธองค์บังเกิดเป็นเด็กชาวประมง ในหมู่บ้านชาวประมง เห็นชาวประมงฆ่าปลาก็มีความชื่นชม โสมนัส
ด้วยผลแห่งกรรมนั้น พระองค์จึงเกิดเจ็บที่ศีรษะ ในขณะที่ วิฑูฑภะฆ่าพวกศากยะ เพราะโกรธว่าดูหมิ่นเอาน้ำนมสดล้างที่นั่ง
เมื่อคราวที่ตนไปเยี่ยมญาติ ณ กรุงกบิลพัสดุ์ วิฑูฑภะเป็นโอรสพระเจ้าปเสนทิโกศล และนางวาสภขัตติยาผู้เป็นบุตรี
เกิดจากนางทาสีของมหานามศากยะ คณะกษัตริย์ศากยะเลือกส่งมาถวายพระเจ้าปเสนทิ เมื่อคราวทรงขออภิเษกกับนาง กษัตริย์ศากยะ
ไม่น่าเชื่อว่าการอนุโมทนาบุญก็จะได้บุญถึงเพียงนี้ ใครที่มีโอกาสทำบุญ ทำความดีน้อย ก็คอยตั้งใจอนุโมทนาคนที่เขาทำบุญแล้วกัน
อย่างน้อยก็เก็บเล็กผสมไปเรื่อยๆ เพราะมันดีกว่าการไม่ได้ทำอะไรเลยนั่นเอง
อ้อ! แล้วอย่าเผลอไปอนุโมทนาบาปเข้าละ บาปก็สะสมเช่นกัน...สาธุ!!....
จากหนังสือพิมพ์ โลกวันนี้ ออนไลน์
ปีที่ 0 ฉบับที่ 0 ประจำวัน พุธ ที่ 16 กันยายน 2009
โดย รัตติกร รัตนเจริญ
ที่มา dailyworldtoday.com