jainu
|
|
« ตอบ #5835 เมื่อ: ธันวาคม 07, 2016, 11:07:31 AM » |
|
ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ ชื่อภาพ "ในอ้อมพระกร" ภาพนี้มีความคิดและความหมายลึกซึ้งยิ่งนัก เพราะหากจะดูในเรื่องเทคนิคการถ่ายภาพ พระองค์ทรงใช้เลนส์ตาปลา (fish eye) เพื่อให้ได้ภาพมุมกว้างที่มีขอบโค้งกลม ทรงใช้พระหัตถ์โอบหน้าเลนส์ไว้เล็กน้อยให้พอเห็นเบลอๆที่ขอบภาพ เป็นการถ่ายในมุมเสยขึ้นบนเพดาน ในภาพมองเห็นพระองค์ท่านเองและเหล่าผู้ร่วมงานหรือผู้ติดตาม (อาจเรียกว่าเป็นการเซลฟี่ในยุคแรกๆเลยก็ว่าได้)
... และถ้าหากมองในเชิงความหมาย รวมถึงความรู้สึกของคนที่มองภาพนี้ เราจะรู้สึกว่าพระองค์ทรงทอดพระเนตรมาหาเราด้วย ... ซึ่งอาจตีความได้ว่าชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนชาวไทยอยู่ในสายพระเนตรของพระองค์ตลอดเวลาเช่นกัน ... ถ้ายังไม่กระจ่างพอ ให้ลองมองภาพนี้ในระยะไกลออกมา จะเห็นเป็นภาพดวงตาขนาดใหญ่ (สีเข้มของฝ้าเพดานเปรียบเสมือนตาดำ) ... การตีความนี้ไม่ใช่การคิดไปเอง เพราะภาพนี้ได้รับการยกย่องจากศิลปินหลายต่อหลายคนว่าเป็นงานศิลปะสร้างสรรค์ นั่นคือ การถ่ายภาพภาพหนึ่งแต่มองเห็นเป็นภาพอีกภาพหนึ่ง ... จะเห็นได้ว่าพระอัจฉริยภาพด้านการถ่ายภาพ มิใช่แค่ภาพสวย แต่แฝงไว้ด้วยความสร้างสรรค์และความหมายอันลึกซึ้ง
ภาพนี้แสดงอยู่ที่ หออัครศิลปิน จ.ปทุมธานี === ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ในหลวงรัชกาลที่ 9 “ในอ้อมพระกร” ณ สถานกงสุลใหญ่ ณ นครซิดนีย์ ออสเตรเลีย Royal Thai Consulate-General Sydney, Australia ถ่ายเมื่อปีค.ศ.1962 (พ.ศ.๒๕๐๕) ภาพจาก:: OHM (Office of His Majesty′s Principal Private Secretary), Thailand ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ในหลวงรัชกาลที่ 9 “ในอ้อมพระกร” ณ สถานกงสุลใหญ่ ณ นครซิดนีย์ ออสเตรเลีย Royal Thai Consulate-General Sydney, Australia ถ่ายเมื่อปีค.ศ.1962 (พ.ศ.๒๕๐๕) ภาพจาก:: OHM (Office of His Majesty′s Principal Private Secretary), Thailand
.
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
finghting!!!
|
|
|
jainu
|
|
« ตอบ #5836 เมื่อ: ธันวาคม 07, 2016, 11:11:34 AM » |
|
by DINHIN แม่เฒ่าตุ้ม จันทนิตย์ หญิงชราวัย 102 ปี บ้านธาตุน้อย ที่เฝ้ารับเสด็จในหลวง ถวายดอกบัวสามดอกที่เหี่ยวโรย เป็นที่ชาวไทยคุ้นตา และประทับใจในหัวใจเป็นที่สุด ตามที่ท่านเจ้าคุณพระราชธีราจารย์ เจ้าคณะจังหวัดนครพนม/เจ้าอาวาสวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร ให้ความรู้“ ดอกบัวในใจยังคงบานไม่มีโรยรา” บนเส้นทางเสด็จพระราชดำเนินทางสามแยกชยางกูร- เรณูนคร ตำบลพระกลางทุ่ง อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม เมื่อบ่ายวันที่ 13 พฤศจิกายน 2498 เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูอดุลยเดชเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมพสกนิกรภาคอีสานเป็นครั้งแรก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
finghting!!!
|
|
|
|
|
|
jainu
|
|
« ตอบ #5840 เมื่อ: ธันวาคม 07, 2016, 11:49:23 AM » |
|
คนปลายซอย อังคาร ๖ ธันวาคม ๒๕๕๙ ว่าด้วยเรื่อง"อรัญวาสี-คามวาสี" ----------------------------------------- เป็นมหามงคล"รัชกาลที่ ๑๐"และเป็นบุญประเทศยิ่ง ที่เมื่อวาน(๕ ธค.๕๙) "สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรทิพยวรางกูร"รัชกาลที่ ๑๐ ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุปทาน เนื่องในวันคล้ายวันเฉลิมพระชนมพรรษา"พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูอดุลยเดช" รัชกาลที่ ๙ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสถาปนาเลื่อน-แต่งตั้งสมณศักดิ์พระเถรานุเถระ ๑๕๙ รูป ในจำนวน ๑๕๙ รูปนั้น ที่ยังความปลาบปลื้มยินดีให้บังเกิดแก่พุทธศาสนิกชนเป็นพิเศษ ก็ดังความที่"ราชกิจจานุเบกษา"เผยแพร่ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์ เมื่อวาน ดังนี้
"สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ประกาศว่า โดยที่ทรงพระราชอนุสรณ์คำนึงถึง พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูอดุลยเดชมหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร สมเด็จชนกนาถซึ่งเสด็จสวรรคต เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ ๑๓ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๕๙ ว่า ทรงเป็นพุทธมามกะ และอัครศาสนูปถัมภก ทรงใส่พระราชหฤทัยในการทะนุบำรุงและสืบทอดพระพุทธศาสนา โดยทรงพระกรุณาโปรดสถาปนา เลื่อนและตั้งสมณศักดิ์ถวายแก่พระสังฆาธิการ ซึ่งดำรงในสมณคุณ มีอุปการะยิ่งแก่การพระศาสนาเป็นประจำทุกปี
บัดนี้ เพื่อเป็นการบำเพ็ญพระราชกุศลถวายแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูอดุลยเดชมหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร
จึงสมควรจะสถาปนาอิสริยยศและเลื่อนอิสริยฐานันดรพระสงฆ์ที่ดำรงอยู่ในสมณคุณ และมีอุปการะยิ่งแก่การพระศาสนาดังกล่าวสูงขึ้นเพื่อจักได้บริหารพระศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองสถาพร ตามโบราณราชประเพณีสืบต่อไป
จึงทรงพระกรุณาโปรดสถาปนา
๑.พระพรหมคุณาภรณ์ ขึ้นเป็น สมเด็จพระราชาคณะ มีราชทินนามตามที่จารึกในสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ญาณอดุลสุนทรนายก ปาพจนดิลก วรานุศาสน์ อารยางกูรพิลาสนามานุกรม คัมภีรญาณอุดมวิศิษฏ์ ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสีอรัญวาสี สถิต ณ วัดญาณเวศกวัน จังหวัดนครปฐม มีฐานานุศักดิ์ ตั้งฐานานุกรมได้ ๑๐ รูป
๒. พระธรรมวราจารย์ ขึ้นเป็น พระราชาคณะเจ้าคณะรอง มีราชทินนามตามที่จารึกในหิรัญบัฏว่าพระสุธรรมาธิบดี ปูชนียฐานประยุต มงคลวุฒคณาทร บวรศีลาจาร ศาสนภารธุราทร ธรรมยุตติกคณิสสรบวรสังฆาราม คามวาสี สถิต ณ วัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร พระอารามหลวง กรุงเทพมหานคร มีฐานานุศักดิ์ ตั้งฐานานุกรมได้ ๘ รูป
๓. พระธรรมสุธี ขึ้นเป็น พระราชาคณะเจ้าคณะรอง มีราชทินนามตามที่จารึกในหิรัญบัฏว่าพระธรรมปัญญาบดี ศรีสังฆวรนายก มหาจุฬาลงกรณดิลกสุพพิธาน นายกสภาบริหารบัณฑิตปริยัติกิจวรธาดา มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี สถิต ณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร พระอารามหลวง กรุงเทพมหานคร มีฐานานุศักดิ์ ตั้งฐานานุกรมได้ ๘ รูป
๔.พระธรรมมังคลาจารย์ ขึ้นเป็น พระราชาคณะเจ้าคณะรอง มีราชทินนามตามที่จารึกในหิรัญบัฏว่า พระพรหมมงคล ภาวนาโกศลสุพพิธาน วิปัสสนาบริหารพิสุทธิ์ ปาวจนุตตมานุศาสน์คัมภีรญาณพิลาสธำรง มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี สถิต ณ วัดพระธาตุศรีจอมทอง วรวิหารพระอารามหลวง จังหวัดเชียงใหม่ มีฐานานุศักดิ์ ตั้งฐานานุกรมได้ ๘ รูป
ขออาราธนาพระคุณผู้ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณฐานันดร เพิ่มอิสริยยศ ในครั้งนี้ จงรับธุระพระพุทธศาสนา เป็นภาระสั่งสอน ช่วยระงับอธิกรณ์ และอนุเคราะห์พระภิกษุสามเณรในคณะและในพระอาราม ตามสมควรแก่กำลัง และอิสริยยศซึ่งพระราชทานนี้ และจงเจริญอายุ วรรณ สุข พลปฏิภาณ คุณสารสิริสวัสดิ์ จิรัฏฐิติ วิรุฬหิไพบูลย์ ในพระพุทธศาสนาเทอญ
ประกาศ ณ วันที่ ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๙ เป็นปีที่ ๑ ในรัชกาลปัจจุบัน ผู้รับสนองพระราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
ครับ...สมณศักดิ์ของสงฆ์ไทย ทั้งหมดมี ๙ ชั้น ๒๑ อันดับ ที่ควรสนใจระดับปกครองคณะสงฆ์ ก็
· ชั้น ๑ สกลมหาสังฆปรินายก เป็นตำแหน่งสังฆราช
ชั้น ๒ มหาสังฆนายก เจ้าคณะใหญ่ ชั้นสุพรรณบัตร
คือสมเด็จพระราชาคณะ มี ๔ ตำแหน่ง คือ พระพุทธโฆษาจารย์,พระวันรัต,พระพุทธาจารย์, มหาวีรวงศ์
· ชั้น ๓ พระราชาคณะเจ้าคณะรอง มี ๒ อันดับ คือพระราชาคณะเจ้าคณะรอง ชั้นหิรัญบัตร
· เอาเท่านี้พอ..........
จะเห็นว่า"สมเด็จพระราชาคณะ"ชั้นสุพรรณบัฎที่"พระพรหมคุณาภรณ์ หรือท่านเจ้าคุณประยุทธ์ ปยุตโต ได้รับสถาปนา ราชทินนามตามที่จารึกว่า"สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์"นั้น รองลงมาจากสมเด็จพระสังฆราช สูงกว่าพระราชาคณะเจ้าคณะรองในชั้น"หิรัญบัฎ" และโปรดสังเกต..........
ราชทินนามตามจารึกในสุพรรณบัฏว่า"สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ญาณอดุลสุนทรนายก ปาพจนดิลก วรานุศาสน์ อารยางกูรพิลาสนามานุกรม คัมภีรญาณอุดมวิศิษฏ์ ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสีอรัญวาสี สถิต ณ วัดญาณเวศกวัน จังหวัดนครปฐม"นั้น
ระบุทั้ง"คามวาสีและอรัญวาสี" "อรัญวาสี-คามวาสี"คืออะไร หลายท่านอาจอยากทราบ? ทั้ง ๒ อย่างนั้น ใช้เป็นสร้อยนามสมณศักดิ์ สำหรับระดับพระราชาคณะขึ้นไปเท่านั้น เพื่อบ่งบอกว่า "อรัญวาสี"หมายถึงพระราชาคณะรูปนั้น เป็นพระป่า วัตรปฏิบัติจะมุ่งเน้น ๒ อย่าง คือการเจริญจิตภาวนาด้วยวิปัสสนากรรมฐาน และสอนคนให้เดินอยู่ในเส้นทางศีล-สมาธิ-ปัญญา ไม่เน้นงานด้านบริหารปกครองคณะสงฆ์
"คามวาสี"หมายถึงพระราชาคณะรูปนั้น เป็นพระบ้าน คือพระในเมือง มุ่งงานด้านบริหารปกครอง ก่อสร้าง พัฒนา ด้านวัตถุ ด้านปริยัติ งานสวด งานเผา งานแต่ง ก็ต้องพระคามวาสีเป็นหลัก
สรุป พระอรัญวาสี มุุ่งพัฒนาจิต พระคามวาสี มุ่งพัฒนาวัตถุ นี่เป็นหลักกว้างๆ เมื่อทราบหลักเช่นนี้แล้ว ก็ลองย้อนขึ้นไปดูราชทินนาม"สมเด็จพระราชาคณะ"คือสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ และพระราชาคณะเจ้าคณะรอง อีก ๓ รูปดู ก็จะทราบว่า รูปไหนเป็นพระป่า-พระบ้าน
"สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์"มีทั้งคำว่า "อรัญวาสี"และ"คามวาสี" หมายถึง นับต่อจากนี้ เมื่อได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น"สมเด็จพระราชาคณะ"รูปแรกและรูปเดียว เป็นปฐมแห่งแผ่นดินรัชกาลที่ ๑๐ แล้ว จากที่มุ่งทางอรัญวาสีแต่เดิม ก็จะต้องรับธุระด้าน"คามวาสี"คืองานปกครองคณะสงฆ์ควบคู่ไปด้วย
ตามคำประกาศ ดังปรากฎในราชกิจจา ว่าด้วยการสถาปนาสมณศักดิ์ความเบื้องต้นว่า "เพื่อจักได้บริหารพระศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองสถาพร ตามโบราณราชประเพณีสืบต่อไป" และความเบื้องปลาย ว่า........... "จงรับธุระพระพุทธศาสนา เป็นภาระสั่งสอน ช่วยระงับอธิกรณ์ และอนุเคราะห์พระภิกษุสามเณรในคณะและในพระอารามตามสมควรแก่กำลังและอิสริยยศซึ่งพระราชทานนี้ "
ทีนี้มาดู พระราชาคณะเจ้าคณะรอง ในชั้นหิรัญบัฎ อีก ๓ รูป พระสุธรรมาธิบดี วัดบวรฯ กทม. พระธรรมปัญญาบดี วัดมหาธาตุ กทม. พระพรหมมงคล วัดศรีจอมทอง เชียงใหม่
เห็นชัด ว่าทั้ง ๓ รูป เป็นพระบ้าน คือพระทำหน้าที่ด้านคันถธุระ หมายถึงงานทางบริหาร-ปกครอง เพราะจารึกในหิรัญบัฎระบุ"คามวาสี"อย่างเดียว มีบางคนเข้าใจว่า คามวาสี ใช้กับพระมหานิกาย และอรัญวาสี ใช้กับพระฝ่ายธรรมยุต ไม่น่าถูกต้องนะ
ดูตัวอย่างนี่ก็ได้"สมเด็จพระญาณสังวร"สมเด็จพระสังฆราช วัดบวรนิเวศวิหาร ฝ่ายธรรมยุต จารึกในสุพรรณบัฎ มีคำว่า"คามวาสี อรัญวาสี" เพราะพระองค์ทรงปฏิบัติทั้งวิปัสสนาธุระ ทั้งทรงทำหน้าที่ปกครองคณะสงฆ์ อันเป็นฝ่ายคันถธุระ
สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ วัดปากน้ำ ซึ่งเป็นฝ่ายมหานิกายก็เช่นกัน นามตามจารึกในสุพรรณบัฏ ก็มี"คามวาสี อรัญวาสี" ในตำแหน่ง"สมเด็จพระราชาคณะ"ซึ่งต้องปกครองคณะสงฆ์ ก็ต้องทำหน้าที่ทั้งด้านพระป่าและพระบ้าน
วันนี้"มึนตึ๊บ"อ่านไม่รู้เรื่องกันใช่มั้ย ผมเองยังมึนเลย! แต่รู้ไว้บ้างก็ดี ........ เพราะนี่เป็นครั้งแรกในวงการสงฆ์ ที่พระจากวัดราษฏร์ คือวัดญานเวศกวัน"ทั้งเป็นพระป่า คือท่านเจ้าคุณประยุทธ์ ได้รับสถาปนาขึ้นระดับสมเด็จพระราชาคณะที่"สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์"มาทำหน้าที่พระบ้านอีกด้านหนึ่ง และรู้ไว้ด้วยก็ไม่น่าเสียหาย..........
ในการสถาปนาเลื่อน-แต่งตั้งสมณศักดิ์ ปี ๕๙ นี้ ในจำนวน"พระราชาคณะชั้นสามัญ" ๘๗ รูป อันดับที่ ๖๘"พระมหาโชว์"วัดศรีสุดาราม ที่คุ้นๆหน้าจากเวทีเสื้อแดง ได้เป็นเจ้าคุณด้วยที่"พระสุธีวีรบัณฑิต" ขอท่านเจ้าคุณโชว์จงงอกงามในกรรม.
====
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
finghting!!!
|
|
|
jainu
|
|
« ตอบ #5841 เมื่อ: ธันวาคม 07, 2016, 11:51:33 AM » |
|
ทำเนียบรัฐบาล อัญเชิญฉายาลักษณ์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ประดิษฐานด้านหน้าตึกไทยคู่ฟ้า 6 ธ.ค. 59- ผู้สื่อข่าวรายงานจากทำเนียบรัฐบาลว่า ในวันเดียวกันนี้ทางทำเนียบรัฐบาลได้อัญเชิญฉายาลักษณ์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ประดิษฐาน ณ ด้านหน้าตึกไทยคู่ฟ้า โดยประดับครุฑพ่าห์อยู่เบื้องล่างฉายาลักษณ์ เหนืออักษรข้อความทรงพระเจริญ พร้อมวางพานพุ่มเงินพานพุ่มทองเพื่อถวายราชสักการะ และได้อัญเชิญฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ประดิษฐาน ณ ด้านหน้าตึกสันติไมตรี พร้อมประดับพานพุ่มดอกไม้และเครื่องทองน้อยเป็นราชศักดิ์การะ นอกจากนี้ที่บริเวณรั้วด้านหน้าทำเนียบรัฐบาล และด้านหน้าตึกไทยคู่ฟ้าได้มีการประดับประดา ตกแต่งด้วยดอกดาวเรืองสีเหลือง ซึ่งเป็นสีประจำวันพระชลมวาร (วันจันทร์) หรือวันพระราชสมภพของทั้งสองพระองค์ และยังมีการตกแต่งบริเวณภายในทำเนียบรัฐบาล โดยนำต้นไม้นานาพันธุ์มาปรับแต่ง เพื่อความสวยงามด้วย.
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
finghting!!!
|
|
|
|
|
|
|
|
|
jainu
|
|
« ตอบ #5848 เมื่อ: ธันวาคม 10, 2016, 10:53:00 PM » |
|
ภาพพิมพ์บนผ้าใบ " ทรงพระเมตตาต่อไพร่ฟ้าผู้ทุกข์ยาก " วันมหา มงคล ๕ ธ.ค. ๕๕ Cr พุทธศิลป์ร่วมสมัย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
finghting!!!
|
|
|
|
Gold Price today, Gold Trend Price Prediction, ราคาทองคํา, วิเคราะห์ทิศทางทองคํา
|
Thanks: ฝากรูป dictionary
---------------------Charts courtesy of Moore Research Center, Inc. For more information on Moore Research products and services click here. --- http://www.mrci.com ----------
---------------------------------------------รูปกราฟแสดงราคาทองในอดีตปี 1974-1999 ของ Moore Research Center, Inc.
แสดงฤดูกาลที่ราคาทองขึ้นสูงสุดและตําสุด เอาแบบคร่าวๆ เส้นนําตาลหรือนําเงินก็ใกล้เคียงกัน เส้นนําตาลเฉลี่ย
15 ปี เส้นนําเงินเฉลี่ย 26 ปี ราคาตําสุดของเส้นนําตาล หรือเฉลี่ย 15 ปี ในเดือน ปลายเดือน เมษ และปลายเดือน สค
ต่อต้นเดือน กย[/color] สูงสุดในเดือน กพ กับ พย / ส่วนเฉลี่ย 26 ปี ราคาตําสุด ต้น กค กับ ปลาย สค และราคาสูงสุดในเดือน
กพ และ กลางเดือน ตค -----
แค่ดูคร่าวๆ เป็นแนวทาง อย่ายึดมั่นว่าจะต้องเป็นตามนี้
ข้างล่างเป็นกราฟราคานํามัน ตามฤดูกาล จาก Charts courtesy of Moore Research Center, Inc.
Thanks: ฝากรูป dictionary
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|