Gold in Thai language was written by Paul711
Gold หรือ ในภาษาไทยคือ "ทองคํา "คือธาตุเคมีที่มีสัญลักษณ์ มาจากภาษาลาติน aurum แปลว่ารุ่งเช้า และหมายเลขอะตอมของ 79 ทองคําเกิดขึ้นตามธรรมชาติในลักษณะเป็นเม็ดเล็กๆ ปนอยู่ในหิน บางแหล่งจะอยู่
ลึกจากพื้นเปลือกโลกลงไป บางแหล่งอยู่ตามริมลําธารนําที่ก้อนหินมีทองปนอยู่ถุกนําพัดพามา
ทองคําเป็นแร่ที่ไม่ถูกทําปฎิกิริยากับก๊าซออกซิเจน ดังนั้นทองคําเก็บไว้นานเป็น 100 ปี พันปี ก็จะยังคงมีสีเหลืองทอง มันเงาเหลืออร่าม ทองคําละลายในปรอท แต่ไม่ทําปฎิกิริยากับปรอท ทองคําไม่ถูกละลายโดยกรดอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือในด่าง แต่ทองจะถูกละลายในกรดหลายๆชนิดผสมกันที่เรียกว่า aqua regia หรือ chloroauric acid
วิธีทดสอบว่าเป็นทองคําแท้หรือไม่ โดยใช้กรดไนตริก ( HNO3, Nitric Acid) ถ้าเป็นโลหะชนิดอื่นๆเช่น แร่เงิน ทองแดง เมื่อโดนกรดไนตริก จะละลาย แต่แร่ทองคําจะไม่ละลาย
ทองคําในปัจจุบัน มีที่ใช้คือโรงงานอุตสาหกรรมอิเล็กตรอนนิค เครื่องเพชร พลอย อุปกรณ์ฟันปลอมทางทันตแพทย์ และเครื่องมือแพทย์บางอย่าง
ในอดีตจนถึงปัจจุบันปี 2009 หรือ พศ 2552 แร่ทองถูกขุดมาทั้งหมด 165,000 ตัน เทียบเท่า 5,300,000,000 ounces troy หรือในแง่ของปริมาณประมาณ 8,500 ลูกบาศก์เมตรหรือลูกบาศก์ 20.4m
แร่ทองคําในประเทศไทย ข้อมูลจากแผนที่ทรัพยากรแร่ แสดงพื้นที่แร่ทองคำที่สำคัญในประเทศไทย ของสำนักทรัพยากรแร่ กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในไทยมีแหล่งทองคำ ในปริมาณมากอยู่อย่างน้อย 10 แหล่ง เท่าที่พบตอนนี้อยู่ทางภาคเหนือมากที่สุด 8 แหล่ง และภาคอีสาน ภาคใต้ มีภาคละ 1 แหล่ง โดยในเขตภาคเหนือแหล่งแร่ทองคำที่สำคัญมีอยู่ที่จังหวัด...พิจิตร, เพชรบูรณ์, สุโขทัย, ลำปาง, แพร่, เชียงราย โดยเฉพาะที่พิจิตร และลำปาง มีจังหวัดละ 2 แหล่ง ขณะที่ภาคอีสานมีอยู่ที่ เลย และภาคใต้ ที่ ประจวบคีรีขันธ์ จากทั้ง 10 แหล่งนี้ แหล่งที่ถูกสำรวจและ พัฒนาจนถึงขั้นเป็นอุตสาหกรรมเหมืองผลิตทองคำแล้วมี 2 จุด คือ “แหล่งแร่ทองคำชาตรี” ที่พิจิตร มีบริษัท อัครา ไมนิ่ง ได้รับประทานบัตร และอีกแหล่งคือ "แหล่งภูทับฟ้า" ซึ่งอยู่บริเวณ ต.เขาหลวง อ.วังสะพุง จ.เลย มีบริษัทเอกชนชื่อทุ่งคำ ได้รับประทานบัตรทำเหมืองทองคำ
สำหรับแหล่งทองคำชาตรีนั้น ได้รับประทานบัตรทำเหมืองมาตั้งแต่ปี 2544 ครอบคลุมพื้นที่ 1,200 ไร่ หลังการสำรวจพบแหล่งแร่ทองคำซึ่งเป็นสายแร่ควอตซ์แทรกอยู่ในหินภูเขาไฟ โดยมีปริมาณสินแร่ประมาณ 14.5 ล้านตัน และมีปริมาณทองคำเฉลี่ย 2.6 กรัม และเงิน 13.3 กรัม ต่อสินแร่หนัก 1 ตัน ปริมาณสินแร่ระดับนี้ เมื่อสกัดออกมาจนเป็นทองคำก็จะมีปริมาณ 32 ตัน หรือหากเทียบน้ำหนักเป็นกิโลกรัม...ทองคำที่ได้จากแหล่งนี้จะมีราว 32,000 กิโลกรัม คิดเป็นมูลค่ากว่า 1 หมื่นล้านบาท !!
ส่วนแหล่งภูทับฟ้า มีการสำรวจมาตั้งแต่ปี 2534 โดยมีการพบปริมาณเนื้อหินปนแร่ทองคำประมาณ 1 ล้านตัน เมื่อสกัดสินแร่ออกมาต่อน้ำหนักหิน 1 ตัน จะพบแร่ทองคำประมาณ 5 กรัม รวมน้ำหนักทองคำทั้งหมดที่จะสกัดได้ก็จะประมาณ 5 ตัน หรือ 5,000 กิโลกรัม คิดเป็นมูลค่าในปัจจุบันเกิน 2 พันล้านบาทขึ้นไป !! นอกจากทั้ง 2 แหล่งที่มีการทำเหมืองไปแล้ว แหล่งสายแร่ทองคำ ซึ่งถูกกล่าวขานในวงกว้าง คนไทยพอจะคุ้นหู มีอาทิ..."แหล่งแร่ทองคำบ้าน ป่าร่อน" หรือที่รู้จักกันในชื่อแหล่งทองบางสะพาน ที่ จ.ประจวบคีรีขันธ์, "แหล่ง ทองคำบ่อทอง" ในพื้นที่ อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี และ "แหล่งทองคำโต๊ะ โมะ" ในพื้นที่ จ.นราธิวาส และอีกแหล่งที่มีการดำเนินการจนพบภายหลังว่ามีสายแร่ทองคำอยู่จริง ๆ และเกิดเป็นกระแส "ตื่นทอง-แห่ขุดทอง" ในระดับชาวบ้าน เป็นข่าวเกรียวกราวอยู่ยุคหนึ่ง ก็คือ “แหล่งทองคำเขาพนมพา” ที่ ต.หนองพระ อ.วังทรายพูน จ.พิจิตร ที่ปัจจุบันองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิจิตรเป็นผู้รับดำเนินการ โดยกรมทรัพยากรธรณีได้ทำการ สำรวจในชั้นเปลือกดินหรือไม่ลึกมากนักจากผิวหน้าดิน พบว่ามีทองคำประมาณ 360 กิโลกรัม มูลค่าในขณะนั้นประมาณ 120 ล้านบาท !!
อย่างไรก็ตาม ย้อนดูสถิติปริมาณการผลิตทองคำที่กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กระทรวงอุตสาหกรรม รวบรวมไว้ระหว่างเดือน พ.ย. 2544 ที่เริ่มมีการทำเหมืองทองอย่างจริงจัง ในไทย จนถึงปี 2546 ในปี 2544 มีการผลิตทองคำได้ประมาณ 0.31 ตัน มูลค่า 124.69 ล้านบาท, ปี 2545 ผลิตได้ 4.95 ตัน มูลค่า 2,123.12 ล้านบาท และปี 2546 ผลิตได้ 4.43 ล้านตัน มูลค่า 2,117 ล้านบาท รวมแล้ว 9.69 ตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 4,364.81 ล้านบาท ถือว่ายังน้อยหากเทียบกับจำนวนแหล่งแร่ทองคำ ซึ่งคาดว่าน่าจะผลิตได้อีกมาก